kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11618
|
ตอบ: 22/12/2022 4:49 pm ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 23 ธ.ค. * ข้าว ข้าวรักษ์ และข้าว |
|
|
.
ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 23 ธ.ค.
***********************************************************************
สวัสดีครับ ท่านผู้ฟัง ที่เคารพ
กองทัพบก เพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตรและอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดย กองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก
จุดยืนรายการ ....
* เกษตรแบบ อินทรีย์นำ - เคมีเสริม - ตามความเหมาะสม .. ? ..
* ปัจจัยพื้นฐาน ดิน - น้ำ - แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล - สารอาหาร - สายพันธุ์ - โรค
* หัวใจเกษตร ปุ๋ย-ยา-ไฟฟ้า-เวลา-ค่าแรง-ค่าที่-อารมย์-เทคนิค-เทคโนฯ-โอกาส-ตลาด-ต้นทุน
* พร้อมทำเองสอนวิธีทำ พร้อมซื้อสอนวิธีซื้อ
กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการ
เช่นเคย รายการเรา....
*** 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม-ฝากข่าว-สายตรง ที่ (081) 913-4986, ....
*** FB วีระ ใจหนักแน่น, ....
*** อินเตอร์เน็ต เกษตรลุงคิม ดอทคอม .... เว้บนี้ ถาม 1 บรรทัด ตอบ 1 หน้า
ถนัดช่องทางไหนเลือกช่องทางนั้นตามอัธยาศัย นักรบไม่ว่ากัน THANK YOU ....
รายการวิทยุ :
*** AM 594 ปตอ. เวลา 0815-0900 จันทร์-ศุกร์ คลื่นนี้ครอบคลุมพื้นที่ 40+ จังหวัด ***
งานสัญจรปกติตามวงรอบ :
* วันเสาร์ของสัปดาห์แรกของเดือน ....... ไปที่วัดพยัคฆาราม (วัดเสือ) ศรีประจันต์ สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สองของเดือน ..... ไปที่วัดอัมพวัน (หลวงพ่อโหน่ง) สองพี่น้อง สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สามของเดือน ..... ไปวัดท่าตำหนัก เพชรเกษม แยกนครชัยศรี นครปฐม,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สี่ของเดือน ........ ไปวัดส้มเกลี้ยง ใกล้โรงกรองประปา ถ.วงแหวนตะวันตก
* เดือนที่มี 5 เสาร์ เสาร์ที่ 5 ของเดือน ... ไปวัดทุ่งสะเดา แปลงยาว ฉะเชิงเทรา
** ถึงจุดนี้ เกษตรกรอยากให้งานสัญจรไปลง ที่ไหนก็ได้ ติดต่อมา พูดคุยกันในรายละเอียด
*** วันจันทร์ ทุกวันจันทร์ เฉพาะวันจันทร์ สมช.สีสันชีวิตไทย คุณล่า (081) 944-8494 ไปที่ตลาดนัดวัดอมรญาติ ดำเนินสะดวก ราชบุรี พร้อมกับ ระเบิดเถิดเทิง. ไบโออิ. ไทเป. ยูเรก้า. ยาน็อค. กับหนังสือหัวใจเกษตรไทย มินิ ไปจำหน่าย....
*** ด้วยประสบการณ์ร่วม 20 ปี พบเห็นทั้งความสำเร็จและความล้มเหลวมามากมาย ใครสนใจใคร่รู้ก็ไปคุยกัน แล้วจะรู้ว่า อ้อออ เป็นอย่างนี้นี่เอง....
*** งานสีสันสัญจรวันเสาร์ เสาร์นี้วันที่ 24 ธ.ค. ลุงคิม กับ อ.ณัฐ (086) 983-1966 สมุนไพรสำหรับคน
ไปวัดส้มเกลี้ยง ใกล้โรงกรองประปามหาสวัสดิ์ ถ.วงแหวนตะวันตก กาญจนาภิเษก ....
*** งานนี้ ซื้อหนังสือหัวใจเกษตรไท มินิ 1 เล่ม แถม ไม้ผลแนวหน้า 1 เล่ม....
***********************************************************************
***********************************************************************
จาก : 09 415x 778x
ข้อความ : ข้าวรักษ์โลก ข้าวรักษ์โลก และข้าวรักษ์โลก ลุง คิด วิเคราะห์ เปรียบเทียบ ฟันธง ยังไง
MOTIVATION แรงบันดาลใจ
ข้าวรักษ์โลก กับการแก้ไขปัญหาข้าวไทย
1. ต้นทุนการผลิตที่สูงมาก ปัจจุบันราคา ปุ๋ยเคมี/ยาฆ่าแมลง/ยาฆ่าหญ้า มีราคาที่สูงเพิ่มมากขึ้น แรงงานในการทำนาไม่มีจึงต้องใช้เครื่องจักรโดยการเช่า ราคาน้ำมันที่สูงเพิ่มขึ้น ทั้งหมดนี้จึงเป็นแรงส่งทำให้ต้นทุนในการเพาะปลูกของชาวนาและเกษตรกรสูงขึ้น
2. คุณภาพข้าวที่ลดลง จากการดำเนินนโยบายที่ผิดพลาดของรัฐบาลที่ผ่านมาทำให้ชาวนาไม่สนใจถึงการทำนาข้าวเพื่อให้ได้คุณภาพเลย เร่งแต่ทำนาเพื่อให้ได้ผลผลิตออกมามากที่สุดโดยใช้สารเคมีปุ๋ยเคมีที่หวังว่าจะได้จำนวนข้าวที่เพิ่มขึ้นโดยไม่ได้สนใจถึงคุณภาพและสารพิษที่ตกค้างในข้าวแต่อย่างใดเพื่อนำไปขายในระบบจำนำข้าวของรัฐบาลที่ผ่านมา อันส่งผลกระทบถึงกระบวนการผลิตข้าวไทยพังทั้งระบบ
3. ราคาขายข้าวที่ตกต่ำ จากการผลิตข้าวที่มีคุณภาพต่ำปนเปื้อนสารพิษและผลิตออกมาจำนวนมาก และทำการส่งออกไปยังต่างประเทศแล้วผลจากตอบรับผู้บริโภคพบว่าคุณภาพข้าวไทยตกต่ำเป็นอย่างมากปัจจุบันจากเป็นผู้นำด้านข้าวอันดับที่ 1 ตกลงเป็นอันดับที่ 3 ไปแล้ว อินเดีย และเวียดนามแซงขึ้นไปแทน
4. ชาวนาภาคอีสานเองนั้นส่วนใหญ่ทำได้แต่นาปีเท่านั้นคือปีละครั้ง ชาวนาทำนาปีละ 5-6 เดือนได้ผลผลิต 300 กิโลกรัมต่อไร่ หากเพาะปลูกข้าวหอมมะลิ 105 ราคาขาย 12,000 บาทต่อตัน ชาวนาที่มีที่ดิน 10 ไร่จะขายข้าวได้ 36,000 บาท หักค่าใช้จ่าย 4,500 บาทต่อไร่ สรุป ขาดทุน 9,000 บาท
5. การปลูกข้าวแบบผสมไม่เป็นไปตามความต้องการของตลาด ปัจจุบันเกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกข้าวตามๆ กันไม่ได้ดูเลยว่าตลาดต้องการข้าวอะไรและการเพาะปลูกใช้เมล็ดพันธ์ข้าวที่ไม่มีมาตรฐานอีกทั้งเพราะปลูกผสมผสานหลายชนิดในพื้นที่เวลาเก็บเกี่ยวข้าวปนเปื้อนจึงทำให้ได้ข้าวที่ ไม่มีคุณภาพ ข้าวปนเปื้อน จึงทำให้ราคาข้าวตกต่ำ
6. ขาดแคลนทรัพย์กรน้ำในการเพาะปลูก ในหลายพื้นที่เพาะปลูกข้าวอยู่นอกเขตชลประทานมีปัญหาขาดแคลนทรัพย์กรน้ำในการเพาะปลูกโดยเฉพาะภาคอีสานประสบปัญหาด้านนี้เป็นอย่างมาก ฝนตกมากก็น้ำท่วม ฝนไม่ตกก็แล้ง จากปัญหาข้าวไทยที่เกิดให้ชาวนากลับมา ทำนาอย่างประณีต ใช้จุลินทรีย์เพื่อการเกษตร แทนปุ๋ยเคมี สารเคมี ยาฆ่าแมลง ยาฆ่าหญ้า เพื่อลดต้นทุนในการผลิตและไม่ต้องสัมผัสสารเคมี
ทำให้เกิดการลดต้นทุนในการเพาะปลูกลงเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผล และเมื่อผลผลิตข้าวออกมาจะเป็นข้าวที่ดีมีคุณภาพ เป็นไปตามความต้องการของตลาด
โครงการข้าวรักษ์โลก BCG Model โครงการนำร่องระยะที่ 1 พบว่าผลผลิตข้าวต่อไร่ในภาคอีสานเพิ่มขึ้นสูงถึง 550 กิโลกรัมต่อไร่ ราคาขายข้าวได้ราคาสูงถึง 13,000-14,000 บาทต่อตัน หากคิดที่ราคาขาย 13,000 บาทต่อตันแล้ว ต้นทุนในการเพาะปลูกเหลือ 2,500 บาทต่อไร่แล้วเกษตรกรเหลือกำไร 4,650 บาทต่อไร่ จึงเป็นการแก้ปัญหาอย่างตรงจุดตรงประเด็นในเรื่อง ลดต้นทุนในการผลิต ทำให้คุณภาพข้าวดีมีคุณภาพ และเมื่อข้าวดีมีคุณภาพโรงสีกลับมารับซื้อในราคาที่สูงเพิ่มขึ้น
โครงการข้าวรักษ์โลก BCG Model โครงการโรงสีข้าวพลังงานอัจฉริยะ โครงการเครื่องอบเมล็ดข้าว โครงการแลกเปลี่ยนเมล็ดพันธ์ข้าว โครงการยุ้งฉางข้าว silo ในระดับ ตำบลผ่านศูนย์ข้าวชุมชน และในระดับอำเภอผ่านศูนย์บริหารจัดการข้าว และในระดับจังหวัดผ่านศูนย์เมล็ดพันธ์ข้าว กรมการข้าวที่มีอยู่ 57 ศูนย์ทั่วประเทศ
สมาคมพัฒนาเศรษฐกิจเกษตรรักษ์โลก
สมาคมศูนย์ข้าวชุมชน (ประเทศไทย)
สมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย
สมาคมโรงสีข้าวไทย
ทางสมาคมโรงสีข้าวไทยจะเป็นผู้กำหนดชนิดของข้าวที่โรงสีต้องการในแต่ละพื้นที่และเป็นผู้ที่จะกลับมาซื้อข้าวรักษ์โลกเมื่อทำการเก็บเกี่ยว
สมาคมพัฒนาเศรษฐกิจเกษตรรักษ์โลก ช่วยเหลือส่งเสริม อบรมให้ความรู้ กำกับดูแล โครงการ และติดตามความก้าวหน้าของโครงการข้าวรักษ์โลก BCG Model ในระดับกองทุนหมู่บ้านผ่านสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง และในระดับตำบลและอำเภอผ่าน กรมการข้าวกระทรวงเกษตร
เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2565 สมาคมพัฒนาเศรษฐกิจเกษตรรักษ์โลก นำเสนอโครงการ ข้าวรักษ์โลก BCG Model ที่ต้องการยกระดับเป็น กำแพงเพชรโมเดล ภายใต้ยุทธศาสตร์ นา น้ำ นวัตกรรม โดยท่านผู้ว่าจะทำการจัดประชุมหารือกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องและยกระดับสู่ โครงการข้าวรักษ์โลก BCG Model กำแพงเพชรโมเดล ที่เป็นการส่งเสริมพัฒนาในระดับจังหวัดที่สามารถบูรณาการได้ในหลายมิติและสามารถทำการจัดสรรทรัพย์ษากรที่มีอยู่ให้ก่อเกิดประโยชน์ได้อย่างสูงสุดอย่างแท้จริง
https://www.prd.go.th/th/content/category/detail/id/39/iid/136186
ตอบ :
คนถามใหม่ คำถามเก่า คำตอบเดิม :
เก็บตกงานสัญจร 5 ธ.ค. วัดพยัคฆาราม (วัดเสือ) ศรีประจันต์ สุพรรณบุรี (1) ... นาข้าว :
สมช.1 : ลุงครับ ยาฆ่าหญ้าเอาหญ้าไม่อยู่ มีสูตรไหมครับ ?
สมช.2 : ลุงครับ ทำยังไงชาวนาถึงจะล้างหนี้ได้ครับ ?
สมช.3 : ลุงครับ นาข้าว ขอสูตรเลยตามเลยด้วยครับ
ลุงคิม : ยาฆ่าหญ้า ตอนที่ใช้ ใช่น้อยไปหรือเปล่า ?
สมช. 1 : ก็ไม่น้อยนะครับ ใช้เท่าที่เคยใช้นั่นแหละครับ
ลุงคิม : แสดงว่าได้แค่นั้น ใช้นานๆเข้า ส่วนที่ไม่ได้ผลจะสะสมมากขึ้นๆ อย่างที่เห็นๆนี่แหละ เดี๋ยวเอาสูตร หญ้าครึ่งข้าวครึ่งได้ 120 ถัง ....แล้วนาข้าว ทำแล้วขาย ขายแล้วเป็นหนี้ หนี้มาได้ยังไง รู้ไหม ?
สมช. 2 : ข้าวราคาถูกครับ
ลุงคิม : ราคาถูก อืมมม โรงสีให้ราคาตามที่รัฐบาลกำหนดไหม ?
สมช. 2 : ข้าวก็ตามที่รัฐกำหนดครับ แต่ราคาก็ยังต่ำ โรงสีบอกความชื้นสูงครับ
ลุงคิม : ความชื้นนี่ไม่ใช่โรงสีเป็นต้นเหตุนะ เทวดาต่างหาก ต้นเหตุ นี่แหละ ระหว่างเทวดาเลี้ยงกับคนเลี้ยง ....แล้วรายการอื่นที่โรงสีตัดราคามีไหม ?
สมช. 2 : มีครับ แต่เขาไม่ได้บอก
ลุงคิม : เขาไม่บอก แล้วเราได้ถามเขาไหม ?
สมช. 2 : ไม่ได้ถามครับ
ลุงคิม : จุดนี้ปัญหานี้นี่แหละต้นเหตุของการเป็นหนี้ ข้าวไม่มีคุณภาพไง ข้าวลีบ ข้าวท้องไข่ ข้าวป่นบดแล้วเป็นแป้ง แม้แต่ข้าวไม่มีน้ำหนัก บอกแล้วเพราะยูเรียนี่แหละ .... เจ้านี้ล่ะ ขอสูตรนาเลยตามเลย ถามหน่อย รู้เรื่องนี้มาจากไหน ?
สมช. 3 : ข้างบ้านใช้แล้วบอกครับ
ลุงคิม : ข้างบ้านใช้ ใช้แล้วได้ผลไหม ?
สมช. 3 : ได้ครับ
ลุงคิม : O.K. ที่นี่มีให้ 2 สูตรนะ สูตรเลยตามเลย แบบเหมาจ่าย กับ สูตรเลยตามเลยแบบประณีต เลือกเอา
สมช. 3 : ขอบคุณครับ
ลุงคิม : ....
คนถามใหม่ คำถามเก่า คำตอบเดิม :
ชาวนามือใหม่ สิงห์บุรี :
หญ้าขี่ข้าว : แก้ไขโดยการให้ปุ๋ยทางใบเป็นหลัก บำรุงทั้งสองอย่างไปเลย โตทั้งสองอย่างก็ช่างมัน เพราะถ้ามัวแต่กลัวหญ้าโตเลยไม่ให้ ต้นข้าวก็เลยอดด้วย เอาเถอะ ให้ปุ๋ยทางใบแล้ว ใบหญ้าไม่โน้มใบมาแย่งอาหารต้นข้าวที่ใบข้าวหรอก แต่ถ้าให้ปุ๋ยทางราก อันนี้ต้องยอมรับก่อนว่า ต้นหญ้าหาอาหารเก่งกว่าต้นข้าว ใส่ปุ๋ยลงไป 10 ส่วน หญ้าเอาไปกิน 8 ส่วน ต้นข้าวได้แค่ 2 ส่วนเท่านั้น
* ทำไงได้ นาข้าวรุ่นนี้ ต้องเลยตามเลย ไหนไหนก็ไหนไหน รุ่นหน้าเอาใหม่ เกี่ยวข้าวแล้วเอาปุ๋ยที่หญ้าเอาไปนั้นกลับคืนมาโดยการไถกลบ
* ประสบการณ์ตรง นาข้าวริมถนนสายบายพาส สิงห์บุรี ข้าวครึ่งหญ้าครึ่ง บำรุงทางใบทุก 7 วัน ไม่ให้ปุ๋ยทางดิน ยังได้ข้าวตั้ง 120 ถัง
- การที่จะทำได้ประสบความสำเร็จอยู่ที่ ใจ ใจเอาใจสู้ ใจมาก่อนฝีมือมาทีหลัง คนเราความเก่งเท่าๆกัน แต่แพ้ชนะกันที่โอกาส โอกาสลอยอยู่ในอากาศ ใครคว้าไว้ได้ก็ได้ ไม่คว้าก็ลอยหายไปหาคนอื่น....ระหว่าง ทำกับไม่ได้ทำ....ทำถูก = ได้ คือ กำไร, ทำผิด = ไม่ได้ คือ ขาดทุนเป็นหนี้ ....ไม่ได้ทำ = ไม่ได้ คือ เท่าทุน หรือ ขาดทุน ลงท้ายเป็นหนี้
- เกษตรที่ทำอยู่ ณ วันนี้ คิด/วิเคราะห์/เปรียบเทียบ/ฟันธง ซิ ...
* ให้ได้ปริมาณมากกว่านี้ ทำยังไง ? .... ได้น้อย ได้เท่าเดิม ได้เท่าข้างบ้าน สาเหตุเกิดจากอะไร ? ปรับ/เปลี่ยน/แก้ไข ยังไง ?
* ให้ได้คุณภาพเหนือกว่านี้ ทำยังไง ? .... คุณภาพต่ำ คุณภาพเท่าเดิม คุณภาพเท่าข้างบ้าน สาเหตุเกิดจากอะไร ? ปรับ/เปลี่ยน/แก้ไข ยังไง ?
* ให้ต้นทุน ทุนซื้อ/ทำเอง ต่ำกว่านี้ ทำยังไง ? .... สาเหตุเกิดจากอะไร ? ปรับ/เปลี่ยน/แก้ไข ยังไง ?
* ให้ได้เครดิตความน่าเถือมากกว่านี้ ถึงขนาดจองล่วงหน้า ซื้อเหมายกสวน ทำยังไง ? .... สาเหตุเกิดจากอะไร ? ปรับ/เปลี่ยน/แก้ไข ยังไง ?
* วิธีทำ รูปแบบการทำ ของตัวเองคือทำแบบเดิม ผลรับทุกอย่างเหมือนเดิม เพราะอะไร ? .... สาเหตุเกิดจากอะไร ? ปรับ/เปลี่ยน/แก้ไข ยังไง ?
* วิธีทำ รูปแบบการทำ ของคนอื่น ผลรับทุกอย่างเหนือกว่าของเรา เพราะอะไร ? .... สาเหตุเกิดจากอะไร ? ปรับ/เปลี่ยน/แก้ไข ยังไง ?
* ฯลฯ
นาข้าว ทุกชนิด-ทุกสายพันธุ์-ทุกพื้นที่ ปลูกไปแล้ว :
* ทำแบบเดิมๆ เดิมทุกอย่าง ปล่อยให้ข้าวเกิดเองแล้วโตเองตามธรรมชาติของต้นข้าว คงได้ข้าวไม่เกิน 80 ถัง ค่าโรงสีตัดราคาข้าวลีบ ข้าวท้องไข่ ลงท้ายได้ราคา 8,000 หักต้นทุนจ่ายแล้ว 4,800 กับที่ยังไม่ได้จ่ายอีก 2,000 รวมเป็น 6,800 งานนี้เหลือคงกำไรแค่ 1,200 ....นา 40 ไร่ x ไร่ละ 1,200 = 48,000
* ทำแบบเดิมๆ เดิมทุกอย่าง ทำแล้วทำเลย ใส่แล้วใส่เลย แก้ไม่ได้ เอาออกไม่ได้ ให้บำรุง เสริม/เติม/เพิ่ม/บวก ด้วยสูตรเลยตามเลย ไหนๆก็ไหนๆ แบบสูตรเหมาจ่าย จะแก้ปัญหา ค่าโรงสีตัดราคาข้าวลีบ ข้าวท้องไข่ อันนี้โรงสีไม่ตัดราคา กับข้าวรัฐบาลเกวียนละหมื่น ได้หมื่นเต็มๆ แถมปริมาณข้าวที่ได้ต่อไร่เพิ่มขึ้น จากไร่ละ 80 ถัง 100 ถัง
* ทำแบบเดิมๆ เดิมทุกอย่าง ทำแล้วทำเลย ใส่แล้วใส่เลย แก้ไม่ได้ เอาออกไม่ได้ ให้บำรุง เสริม/เติม/เพิ่ม/บวก ด้วยสูตรเลยตามเลย ไหนๆก็ไหนๆ แบบประณีต ปัญหา ค่าโรงสีตัดราคาข้าวลีบ ข้าวท้องไข่ อันนี้โรงสีไม่ตัดราคา กับข้าวรัฐบาลเกวียนละหมื่น ได้หมื่นเต็มๆ แถมปริมาณผลข้าวเปลือกต่อไร่เพิ่มขึ้น จากไร่ละ 80 ถัง เป็น 120 ถัง
* ทำนารอบหน้า นาข้าวสูตรเลยตามเลย แบบประณีต ....
- ลดปุ๋ยเคมีจาก 2 กส. 100 กก. /ไร่ ลงเหลือ 10 กก./ไร่ เปลี่ยนสูตรยูเรีย 16-20-0 เป็น 16-8-8 กับใช้น้ำหมักระเบิดเถิดเทิงเตรียมดินทำเทือก
- ทำเทือกแบบประณีต ย่ำ 4 รอบ ใส่ปุ๋ยตอนย่ำเทือก (ไม่ต้องจ้างหว่าน), ไม่ต้องยาฆ่ายาคุมหญ้า (ย่ำเทือกกำจัดหญ้าให้), ขี้เทือกดี (จุลินทรีย์ในระเบิดเถิดเทิงช่วย), เนื้อปุ๋ยกระจายทั่วแปลง ทุกตารางนิ้ว ข้าวทุกต้นได้กินปุ๋ย (เครื่องใส่ปุ๋ย เคมี+อินทรีย์ ลงหน้ารถย่ำเทือก แล้วลูกทุบท้ายรถกวาดเนื้อปุ๋ยกระจายทั่วแปลง)
- ทำนาดำ (ดำด้วยเครื่อง), นาหยอด (หยอดด้วยเครื่องหยอด แรงคนลาก หรืออีต๊อกลาก), ได้ต้นข้าวดี เมล็ดดี ทำพันธุ์ได้.... ลดต้นทุน ค่าแรง ค่าเมล็ดพันธุ์ ลดโรค....
- นา 200 ไร่ นาข้าวแบบประณีต ซื้อทุกอย่าง จ้างทุกอย่าง ตั้งแต่ก้าวแรกลงนา ถึงก้าวสุดท้ายขายข้าวกลับเข้าบ้าน ได้ข้าว 100 ถึงขึ้น ได้กำไรเป็นล้าน
- ที่นา 40 ไร่แค่นี้ เตรียมใจทำนารอบหน้า นาข้าวแบบประณีต นะ....รึว่าไง ?
วันนี้ถึงยุคถึงสมัยที่เราจะต้อง กล้าคิด-กล้าทำ แล้ว เพราะทำแบบเดิมๆยังไงๆมันคงไม่ดีไปกว่าเดิมแน่ เผลอๆจะแย่กว่าเดิมด้วย เพราะทุกอย่างเปลี่ยนไป เปลี่ยนไปในทางลบด้วย ดินแย่ลงๆ ปุ๋ยแพงขึ้นๆ ค่าแรงแพงหนักๆ แถมหายากอีกต่างหาก....ขอบอกว่าทุกอย่างอยู่ที่ ใจ เท่านั้น
บำรุงต้นข้าวสูตรเลยตามเลย แบบหมาจ่าย :
- ให้ไบโออิ อย่างเดียวตั้งแต่ระยะกล้าถึงเกี่ยว ห่างกัน 7-10 วัน ....ทุกครั้งที่ให้ทางใบ + ยาน็อค สารสมุนไพรร่วมด้วยทุกครั้ง
- ป้องกันศัตรูพืช :
มาตรการ กันก่อนแก้ : คือ แม็กเนเซียม. สังกะสี. ช่วยสร้างภูมิตานทานให้แก่ต้นข้าวเป็นพื้นฐาน แถมฉีดพ่นสารสมุนไพรทับเข้าไปอีก นี่คือ 2 เด้ง
มาตรการ ป้องกัน + กำจัด : ถ้าแปลงข้างๆกำลังเกิดระบาด ช่วงว่างระหว่าง 7-10 วัน ให้ฉีดพ่นสารสมุนไพรเดี่ยวๆ 2-3 รอบ ห่างกันวันเว้นวัน
บำรุงต้นข้าวสูตรเลยตามเลย ไหนไหนก็ไหนไหน แบบประณีต :
นาข้าวที่กำจัดวัชพืชไม่หมด ต้นข้าวโตขึ้นมาแล้วมีต้นข้าวกับต้นวัชพืช "ครึ่ง : ครึ่ง" จนเต็มนา แนะนำให้ใช้สูตร "เลยตามเลย หรือ ไหนไหนก็ไหนไหน" เพราะกำจัดวัชพืชไม่ได้แล้ว โดยเน้นบำรุงทางใบเป็นหลัก.....ดังนี้
ระยะกล้า :
- ฉีดพ่น "ไบโออิ + ยาน็อค" ทุก 7-10 วัน ระยะนี้หาโอกาสให้แคลเซียม โบรอน 1 รอบ
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร "สูตรเฉพาะ" เมื่อมีศัตรูพืชเฉพาะชนิดก่อนการระบาด (ป้องกัน) และระหว่างการระบาด (กำจัด) ทุก 3 วัน
ระยะตั้งท้อง ออกรวง :
- ฉีดพ่น "ไทเป + ยาน็อค" 2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร "สูตรเฉพาะ" เมื่อมีศัตรูพืชเฉพาะชนิดก่อนการระบาด (ป้องกัน) และระหว่างการระบาด (กำจัด) ทุก 3 วัน
ระยะน้ำนม :
- ฉีดพ่น "ไบโออิ 100 ซีซี. + ยูเรก้า + ยาน็อค" ทุก 7-10 วัน
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร "สูตรเฉพาะ" เมื่อมีศัตรูพืชเฉพาะชนิดก่อนการระบาด (ป้องกัน) และระหว่างการระบาด (กำจัด) ทุก 3 วัน
หมายเหตุ :
- การให้ทางใบเท่ากับบำรุงทั้งต้นข้าวและต้นวัชพืช แม้จะสิ้นเปลืองปุ๋ยแต่จำเป็นต้องทำ เพราะไม่เช่นนั้นแล้ว ต้นข้าวก็จะไม่ได้ปุ๋ยเลย ส่งผลให้ไม่ได้ผลผลิตข้าวไปด้วย
- หลังจากต้น (ข้าว-วัชพืช) โตแล้ว ไม่ควรใส่ปุ๋ยทางราก เพราะธรรมชาติของต้นวัชพืชจะดูดสารได้เก่งกว่าต้นข้าว นี่คือ ต้นวัชพืชแย่งอาหารต้นข้าวนั่นเอง
- ปุ๋ยทางใบอยู่ที่ใบข้าว ต้นวัชพืชไม่สามารถแย่งได้ นั่นคือ ต้นข้าวยังได้รับปุ๋ยเท่าที่ให้อย่างแน่นอน
- หลังจากเกี่ยวข้าวแล้ว ก่อนทำนารุ่นต่อไป ทำการไถกลบฟางพร้อมต้นวัชพืช ก็จะได้ปุ๋ยที่ต้นวัชพืชเอาไปกลับคืนมา
http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=10
------------------------------------------------------------------------------------
.
|
|