kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11604
|
ตอบ: 04/01/2023 4:43 pm ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 5 ม.ค. * มะม่วงรุ่นเดียวกัน ขนาด |
|
|
.
ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 5 ม.ค.
***********************************************************************
สวัสดีครับ ท่านผู้ฟัง ที่เคารพ
กองทัพบก เพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตรและอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดย กองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก
จุดยืนรายการ ....
* เกษตรแบบ อินทรีย์นำ - เคมีเสริม - ตามความเหมาะสม .. ? ..
* ปัจจัยพื้นฐาน ดิน - น้ำ - แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล - สารอาหาร - สายพันธุ์ - โรค
* หัวใจเกษตร ปุ๋ย-ยา-ไฟฟ้า-เวลา-ค่าแรง-ค่าที่-อารมย์-เทคนิค-เทคโนฯ-โอกาส-ตลาด-ต้นทุน
* พร้อมทำเองสอนวิธีทำ พร้อมซื้อสอนวิธีซื้อ
กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการ
เช่นเคย รายการเรา....
*** 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม-ฝากข่าว-สายตรง ที่ (081) 913-4986, ....
*** FB วีระ ใจหนักแน่น, ....
*** อินเตอร์เน็ต เกษตรลุงคิม ดอทคอม .... เว้บนี้ ถาม 1 บรรทัด ตอบ 1 หน้า
ถนัดช่องทางไหนเลือกช่องทางนั้นตามอัธยาศัย นักรบไม่ว่ากัน THANK YOU ....
รายการวิทยุ :
*** AM 594 ปตอ. เวลา 0815-0900 จันทร์-ศุกร์ คลื่นนี้ครอบคลุมพื้นที่ 40+ จังหวัด ***
งานสัญจรปกติตามวงรอบ :
* วันเสาร์ของสัปดาห์แรกของเดือน ....... ไปที่วัดพยัคฆาราม (วัดเสือ) ศรีประจันต์ สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สองของเดือน ..... ไปที่วัดอัมพวัน (หลวงพ่อโหน่ง) สองพี่น้อง สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สามของเดือน ..... ไปวัดท่าตำหนัก เพชรเกษม แยกนครชัยศรี นครปฐม,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สี่ของเดือน ........ ไปวัดส้มเกลี้ยง ใกล้โรงกรองประปา ถ.วงแหวนตะวันตก
* เดือนที่มี 5 เสาร์ เสาร์ที่ 5 ของเดือน ... ไปวัดทุ่งสะเดา แปลงยาว ฉะเชิงเทรา
** ถึงจุดนี้ เกษตรกรอยากให้งานสัญจรไปลง ที่ไหนก็ได้ ติดต่อมา พูดคุยกันในรายละเอียด
*** วันจันทร์ ทุกวันจันทร์ เฉพาะวันจันทร์ สมช.สีสันชีวิตไทย คุณล่า (081) 944-8494 ไปที่ตลาดนัดวัดอมรญาติ ดำเนินสะดวก ราชบุรี พร้อมกับ ระเบิดเถิดเทิง. ไบโออิ. ไทเป. ยูเรก้า. ยาน็อค. กับหนังสือหัวใจเกษตรไทย มินิ ไปจำหน่าย....
*** ด้วยประสบการณ์ร่วม 20 ปี พบเห็นทั้งความสำเร็จและความล้มเหลวมามากมาย ใครสนใจใคร่รู้ก็ไปคุยกัน แล้วจะรู้ว่า อ้อออ เป็นอย่างนี้นี่เอง....
*** งานสีสันสัญจรวันเสาร์ เสาร์นี้วันที่ 7 ม.ค. ลุงคิม กับ อ.ณัฐ (086) 983-1966 สมุนไพรสำหรับคน ไปที่วัดพยัคฆาราม (วัดเสือ) ศรีประจันต์ สุพรรณบุรี, ....
*** งานนี้ ซื้อหนังสือหัวใจเกษตรไท มินิ 1 เล่ม แถม หนังสือไม้ผลแนวหน้า 1 เล่ม........ใครไม่ซื้อ ไม่ซื้อแต่แจก แจกหนังสือไม้ผลแนวหน้า คนละ 1 เล่ม
***********************************************************************
***********************************************************************
จาก : 09 612x 843x
ข้อความ :
1. มะม่วงรุ่นเดียวกัน ต้นเดียวกัน บำรุงแบบเดียวกัน ขนาดผลเล็กใหญ่ไม่เท่ากัน
2. บำรุง ลดปุ๋ยทางรากเหลือ 1 ใน 4 แล้วเพิ่มปุ๋ยทางใบ อัตราเดิมแต่ให้ถี่ขึ้น
3. มะม่วงส่งออกไม่ได้ ขายในประเทศได้ จับหลักลุง ผลผลิตเพิ่ม ต้นทุนลด อนาคตดี
MOTIVATION แรงบันดาลใจ :
เทคนิคการผลิตมะม่วงนอกฤดู ที่วังทับไทร :
แหล่งปลูกมะม่วงบนดินลูกรัง ไม่มีแหล่งน้ำ แต่พลิกชีวิตชาวไร่...สู่เศรษฐีหลักสิบล้านทั้งหมู่บ้าน หากมีโอกาสมาเยือน อ.วังทับไทร คุณจะไม่แปลกใจเลยว่าทำไมที่นี่จึงเป็นแหล่งปลูกมะม่วงแหล่งใหญ่ของภาคเหนือ เพราะตลอดสองข้างทางเต็มไปด้วยล้งรับซื้อมะม่วงทั้งรายเล็ก รายใหญ่เรียงรายอยู่ตลอดเส้นทางเพื่อรับซื้อผลผลิตมะม่วงของชาวสวน ซึ่งไม่เพียงในพื้นที่วังทับไทรเท่านั้น ที่นี่ยังเป็นศูนย์รวมการซื้อขายมะม่วงจากพื้นที่ใกล้เคียงอีกด้วย โดยเฉพาะพิษณุโลก เพชรบุรณ์ พิจิตรซึ่งเป็นแหล่งปลูกมะม่วงแหล่งใหญ่เช่นกัน แต่ผลผลิตส่วนใหญ่จะนำมาขายที่นี่ และเมื่อเห็นชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้าน บ้านหลังใหญ่ๆ แทบทุกหลังราคาหลักล้านทั้งนั้น คงไม่ต้องบอกว่าชาวบ้านเหล่านี้มีฐานะความเป็นอยู่ดีขนาดไหน จนทำให้แทบจะนึกภาพในอดีตของที่นี่ไม่ออกเลยว่าเมื่อ 20 ปีที่แล้ว (ไม่นานเลย) ชาวบ้านที่นี่จะมีอาชีพปลูกพืชไร่ที่มีชีวิตความเป็นอยู่ไม่ต่างจากชาวบ้านในพื้นที่อื่นๆ เพราะด้วยสภาพพื้นที่ของดินลูกรัง แห้งแล้ง ไม่มีระบบชลประทานพืชไร่คือทางเลือกที่ดี แต่วันนี้วังทับไทรกลายเป็นแหล่งปลูกมะม่วงใหญ่สุดของภาคเหนือและเป็นศูนย์กลางการซื้อขายมะม่วงทั้งส่งตลาดในประเทศและต่างประเทศ
พื้นที่หมื่นกว่าไร่ 70% ส่งออกตลาดต่างประเทศ :
นายสายัณห์ บุญยิ่ง แกนนำของกลุ่ม บอกว่า มะม่วงเป็นพืชที่เหมาะสมที่สุดสำหรับพื้นที่วังทับไทร เนื่องจากมะม่วงเป็นพืชที่ใช้น้ำน้อย สามารถเติบโตได้ในดินลูกรัง ระบบการปลูกมะม่วงที่นี่จะไม่มีระบบน้ำ การปลูกจะมีการให้น้ำเพียงช่วง 2-3 ปีแรกเท่านั้น โดยชาวบ้านจะนิยมปลูกช่วงฝนและให้น้ำช่วงแล้งประมาณเดือน ธ.ค.- มี.ค. พอเดือน เม.ย.ที่นี่ก็เริ่มจะมีฝนแล้ว หลังจากนั้นมะม่วงก็จะสามารถเลี้ยงตัวเองได้แล้วโดยไม่ต้องพึ่งระบบน้ำ
พื้นที่ปลูกมะม่วงของชาวสวนส่วนใหญ่ (60-70%) อยู่ที่ 20-50 ไร่ ชาวสวนรายใหญ่ที่มีพื้นที่ปลูกระดับ 100 ไร่ ขึ้นไปมีอยู่ประมาณ 5-10% สำหรับสมาชิกของกลุ่มจะมีประมาณ 80 คน โดยมีพื้นที่ปลูกมะม่วงของสมาชิกกว่าหมื่นไร่ ขณะที่มะม่วงใน 3 จังหวัดที่เป็นแหล่งใหญ่ คือพิษณุโลก พิจิตร เพชรบูรณ์รวมแล้วนับแสนไร่เลยทีเดียว มะม่วงที่ปลูกกว่า 60%เป็นน้ำดอกไม้สีทองกับน้ำดอกไม้เบอร์ 4 รองลงมาเป็นฟ้าลั่น โชคอนันต์ อีก 5%เป็นมะม่วงพันธุ์อื่นๆ เช่น มหาชนก
การผลิตมะม่วงของวังทับไทรจะเน้นผลผลิตที่มีคุณภาพเพื่อป้อนตลาดส่งออก โดย 70% ของผลผลิตจะป้อนตลาดต่างประเทศ โดยพันธุ์ฟ้าลั่น น้ำดอกไม้จะส่งไปยังตลาดมาเลย์ เวียดนาม สิงคโปร์ ส่วนที่ป้อนตลาดญี่ปุ่นซึ่งถือเป็นตลาดเกรดบนยังปีปริมาณไม่มาก ประมาณ 300 ตัน/ปี เป็นมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองกับเบอร์ 4 ส่งไปยังญี่ปุ่น เกาหลี ยุโรปผ่านบริษัทส่งออกที่เข้ามารับซื้ออยู่หลายบริษัท เช่น สยามเอ็กซ์ปอร์ตมาร์ท, สวิฟท์, ซีพี, ไชน์ไฟร์ทสยามธานียามา เป็นต้น อีกส่วนหนึ่งประมาณ 100-200 ตัน/ปี จะส่งเข้าโรงงานแปรรูปของปริ้นเซส และทิมฟูดส์เป็นมะม่วงมหาชนกและน้ำดอกไม้ โดยบริษัทส่งออกต่างๆเหล่านี้จะเข้ามาตั้งจุดรับซื้อในพื้นที่
คุณสายัณห์นั้น ทำสวนมา 20 กว่าปีแล้ว โดยเริ่มจาก 10 กว่าไร่ เริ่มขยายพื้นที่มากๆในปี 30-33 ปัจจุบันมีพื้นที่ 300 ไร่ ให้ผลผลิตแล้ว 200 ไร่ อีก 200 ไร่ยังไม่ให้ผลผลิต การผลิตจะแบ่งล็อคในการทำให้มะม่วงเก็บไม่พร้อมกัน จริงๆรายละเอียดในการผลิตมีเยอะ แต่ขอแบบคร่าวๆ ส่วนใครที่ต้องการแบบละเอียด สามารถสอบถามคุณสายัณห์ได้ การผลิตมะม่วงเริ่มจาก หลังจากเก็บมะม่วงในฤดูเสร็จเดือนเมษายนจะตัดแต่งกิ่ง เตรียมต้น เตรียมใบ โดยฉีดสะสมอาหารด้วยปุ๋ยทางใบ 0-52-34 +ซุปเปอร์ เค ประมาณ 3-4 ครั้ง ส่วนทางดินใส่ 8-24-24 ช่วงหลังราดสารประมาณปลายเดือน ก.ค.-ต้น ส.ค. เพียงครั้งเดียว อัตรา 1 กก./ต้น(ต้น 20 ปี) เพื่อให้มะม่วงออกดอกสม่ำเสมอ ออกช่อพร้อมกัน พอช่วง ก.ย.ถ้าใบแก่ ใบพร้อม สภาพอากาศพร้อมหมายความว่าไม่มีฝนชุก ก็จะเปิดตาดอก โดยใช้ไทโอยูเรีย 2 กก. โปแตสเซียมไนเตรท 13-0-46 อัตรา 12.5 กก.พ่น 2 ครั้ง ห่างกัน 5 วัน ถ้าเตรียมต้นมาดี ใบพร้อม ก็จะได้ดอก 70-80% ถ้าโชคไม่ดีเจอฝน ดอกออกไม่เยอะก็ต้องสะสมใหม่ รอเปิดตาดอกอีกครั้ง 20 วันหลังจากนี้ จากนั้นก็ปล่อยให้มะม่วงเติบโตไปตามแกติ ขนาดผลเท่าไข่เป็ดหรือประมาณ 45 วัน จะห่อผลด้วยถุงห่อคาร์บอน มะม่วงรุ่นแรกนี้จะสามารถเก็บได้ในช่วงปลาย ธ.ค.- ต้นเดือน ม.ค. จากนั้นมะม่วงจะกระทบนาวและออกดอกมาตามธรรมชาติ แทบไม่ต้องดูแลอะไรก็มีมะม่วงให้ได้เก็บอีกรุ่นในเดือน เม.ย.ซึ่งเป็นรุ่นในฤดู เท่ากับว่าปีหนึ่งจะได้เก็บมะม่วง 2 รุ่น
นอกจากจะไม่ให้ปุ๋ยทางใบและโคตรธาตุอาหารอย่างดุเดือดเหมือนการผลิตมะม่วงในเขตอื่นแล้ว สำหรับการจัดการกับโรค-แมลงนั้นที่นี่ก็จะไม่ฉีดยาดุเดือดเหมือนที่อื่นด้วย โดยการพ่นสารเคมีจะพ่นแค่ช่วงดอกถึงติดผลอ่อน ใช้เวลาประมาณ 1.5 เดือน ซึ่งช่วงนี้ฝนที่นี่ค่อนข้างชุก ถ้าฝนตกวันไหนต้องพ่นยาทันที บางครั้งพ่นกันทุกวัน ยาเชื้อราจะใช้โพ คลอราซ อมิสตา แอนทราโคล ส่วนยาฆ่าแมลงใช้เมโทมิล แลมป์ด้า ไซฮาโลทรินฆ่าหนอน ส่วนแมลงปีกแข็งใช้คาร์บาริล แลมป์ด้า ไซฮาโลทริน
รายได้และต้นทุนการผลิต :
ต้นทุนการผลิตมะม่วงที่นี่คุณสายัณห์บอกว่าอยู่ที่ประมาณไร่ละ 1.3-1.5 หมื่นบาท ส่วนมะม่วงที่ไม่ห่อผลจะอยู่ที่ 5,000-7,000 บาท แต่มะม่วงส่งออกจะต้องห่อผลทั้งหมด สำหรับผลผลิตมะม่วงต่อไร่โดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ ไร่ละ 1 ตัน (จากมะม่วง 2 รุ่น) อย่างที่สวน 200 ไร่ ผลผลิตต่อปีก็อยู่ที่ 200 กว่าตัน โดยผลผลิต 50% ส่งญี่ปุ่น อีก 50% ขายในบ้านเรา ส่วนรายได้ก็ขึ้นอยู่กับว่าส่งตลาดที่ไหน ส่งออกหรือขายในบ้านเรา ราคามะม่วงช่วงนั้นเท่าไหร่ ถ้ามะม่วงราคา 15-30 บาท/กก. ก็จะมีรายได้ 2-3 หมื่นบาทต่อไร่ ถ้ามะม่วงราคา 50-60 บาท/กก. ก็จะมีรายได้ 5-6 หมื่นบาทต่อไร่ ก็ลองคิดดูว่าพื้นที่มะม่วง 200 ไร่ของคุณสายัณห์จะทำรายได้ขนาดไหน และพื้นที่ปลูกมะม่วงนับ 10,000 ไร่ของวังทับไทร จะทำเงินสะพัดในชุมชนขนาดไหน อยากเห็นภาพก็ลองแวะไปเยี่ยมดูการปลูกมะม่วงที่นี่กัน กำลังคึกคักกับผลผลิตมะม่วงที่ออกสู่ตลาดในช่วงสูงสุดเลยทีเดียว เชื่อแน่ว่ามันจะทำให้คุณอยากเปลี่ยนมาเป็นชาวสวนมะม่วงหรือไม่ก็ไปปักหลักหาซื้อที่ทำสวนมะม่วงที่นั่นสักแปลงกันเลยทีเดียว
ใครอยากได้ข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อ คุณสายัณห์ บุญยิ่ง 77 ม.1 ต.วังทับไทร อ.สากเหล็ก จ.พิจิตร โทร.081-8871964
ติดตามความรู้ด้านการเกษตรดีๆได้ที่ กลุ่มเกษตรก้าวใหม่ cr.Rakkaset Nungruethail
http://www.vigotech.in.th/index.php?lay=show&ac=article&Id=539804319&Ntype=8
ตอบ :
ไม่ใช่คำถาม แต่เป็น แง่คิด แรงบันดาลใจ แผลงแต่สร้างสรรค์ ฯลฯ
คนถามใหม่ คำถามเก่า คำตอบเดิม .....
162. มะม่วง มะม่วง และมะม่วง :
จาก : (090) 481-55xx
ข้อความ : มะม่วงรุ่นหลังขนาดปลายนิ้วก้อย รุ่นแรกขนาดไข่เป็ด บำรุงอย่างไรครับ .... ขอบคุณครับ
จาก : (089) 153-06xx
ข้อความ : มะม่วงแม่ลูกดก สวนลุงช้าง ออกลูกไม่เลิก ในต้นเดียวมีลูกหลายรุ่น บำรุงอย่างไร.... ขอบคุณครับ
จาก : (067) 942-59xx
ข้อความ : มะม่วงรุ่นแรกขนาดไข่ มีลูกเล็กออกตามมาอีก 2 รุ่น ใช้ปุ๋ยลุงคิมสูตรไหนครับ .... ขอบคุณครับ
จาก : (089) 167-32xx
ข้อความ : มะม่วงแฟนซี ต้นตอน้ำดอกไม้ อายุ 4 ปี เปลี่ยนยอดเป็น มันศาลายา มันขุนศรี อาร์ทูอีทู แก้วลืมคอน เขียวเสวยรจนา หนองแซง ขาวนิยม ทุกพันธุ์มาจากไร่กล้อมแกล้ม ตอนนี้อายุ 2-3 ปี ออกลูกทุกพันธุ์ เริ่มบำรุงตามสูตรลุงคิม .... ขอบคุณ ขอบคุณทุกอย่างที่ให้ครับ
จาก : (091) 167-62xx
ข้อความ : มะม่วงพวงเดียวกัน มีลูกเล็กลูกใหญ่ บำรุงอย่างไร ....
ตอบ :
มีผลหลายรุ่น ในต้นเดียวกัน .... บำรุง :
ทางใบ : ไบโออิ + ยูเรก้า 2 รอบ สลับด้วย แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน หาโอกาสหรือจังหวะ + สารสมุนไพรร่วมไปด้วย
ทางราก : ใส่ระเบิดเถิดเทิง +21-7-14 (ต้นเล็ก 1/2 กก. ต้นใหญ่ 1 กก.) /ต้น /เดือน หว่านบริเวณปลายราก
หมายเหตุ :
ศ.ดร.สัมฤทธิ์ เฟื่องจันทร์ แห่ง ม.ขอนแก่น ได้ทำการวิจัยการตอบสนองของมะม่วงต่อการใส่ปุ๋ยทางรากด้วยวิธีการต่างๆ แบ่งมะม่วงในแปลงเป็น 3 โซน เป้าประสงค์ต้องการให้มะม่วงได้รับปุ๋ยทางราก ต้นละ 3 กก./3 เดือน โดยแบ่งการให้ ดังนี้
โซนที่ 1 ใส่ต้นละ .5 กก. /15 วัน เท่ากับใส่ 6 ครั้ง ในรอบ 3 เดือน
โซนที่ 2 ใส่ต้นละ 1 กก./เดือน เท่ากับใส่ 3 ครั้ง ในรอบ 3 เดือน
โซนที่ 3 ใส่ต้นละ 3 กก./เดือน เท่ากับใส่ 1 ครั้ง ในรอบ 3 เดือน
ผลการวิจัยพบว่า....
โซนที่ 1 แสดงอาการเจริญเติบโตชัดเจนที่สุด และดีที่สุด
โซนที่ 2 แสดงอาการเจริญเติบโตน้อยกว่าโซนที่ 1 และดีกว่าโซนที่ 3
โซนที่ 3 แสดงอาการเจริญเติบโตน้อยที่สุด
สรุป :
การให้ปุ๋ยแบบ "ให้น้อย บ่อยครั้ง ตรงเวลา" ดีที่สุด
หมายเหตุ :
เรื่องอื่นๆ ที่รู้ควรรู้ ควรมี ควรใช้ ....
- เทคนิค เทคโนฯ เกี่ยวกับปุ๋ย ................................ ?
- ปุ๋ยทางราก VS ปุ๋ยทางใบ .................................. ?
- เครื่องทุ่นแรง ................................................ ?
- ปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เกี่ยวเนื่อง เกี่ยวพัน เกี่ยวก้อย ..... ?
หลักการและเหตุผล :
- อย่ากังวลกับตัวเลขนัก เพราะในความ "ได้ผล/ไม่ได้ผล" ของปุ๋ยเคมี มิใช่เกิดจากปุ๋ยเคมีเพียงลำพังเท่านั้น แต่ยังมีปัจจัยอื่นที่เป็นทั้งปัจจัยเสริม/ปัจจัยต้าน ประกอบอีกหลายรายการ อาทิ อินทรีย์วัตถุ, จุลินทรีย์, ค่ากรด-ด่าง, ค่า อีซี, ความชื้น, อุณหภูมิ, ฯลฯ บางครั้งใส่ปุ๋ยมากแต่ในดินมีปัจจัยต้าน ประสิทธิภาพของปุ๋ยที่ใส่ก็ไม่เกิด (เกษตรกรเรียกว่า ดินไม่กินปุ๋ย) ในทางตรงกันข้าม ใส่ปุ๋ยน้อย แต่ในดินอุดมไปด้วยปัจจัยเสริม ประสิทธิภาพของปุ๋ยที่ใส่ย่อมเกิดได้เต็มร้อย
- นอกจากสูตรปุ๋ยแล้ว วิธีการใส่, เวลาที่ใส่, ช่วงพัฒนาการของต้น, ประวัติต้น, ประวัติดิน และอื่นๆ ทั้งทางเคมีและทางกายภาพล้วนแต่เกี่ยวข้องกับการที่ต้นมะม่วงสามารถนำปุ๋ยไปได้ทั้งสิ้น
คิดนอกกรอบ แผลงๆแต่สร้างสรรค์ :
"น้ำ 100 ล.+ น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 250 ซีซี.+ 8-24-24 (10 กก.)" ฉีดด้วยสายยาง ลงบริเวณทรงพุ่ม เป็นจุดๆ แต่ละจุดห่างกัน 1 ม. ทำเป็นวงรอบทรงพุ่ม 1 จุดให้ได้ปุ๋ย 1/2-1 ล. ....แบบนี้ ต้นอายุ 3 ปี ที่ขนาดทรงพุ่มเล็กกว่า จะได้ น้อยจุดกว่า ขณะที่ต้นอายุ 10 ปี ที่ขนาดทรงพุ่มใหญ่กว่าก็จะได้มากจุดกว่า....
สรุปก็คือ ต้นขนาดทรงพุ่มเล็กกว่าย่อมได้ปุ๋ยน้อยกว่าต้นที่ขนาดทรงพุ่มใหญ่กว่า ลงท้าย ทั้งต้นเล็กต้นใหญ่ ได้รับปุ๋ยทั่วทรงพุ่มเหมือนๆกัน
ถามปุ๋ยทางราก แล้ว ปุ๋ย/ฮอร์โมน ทางใบล่ะ....อย่าลืมนะ
ข้อดีของการใช้ปุ๋ยทางใบ :
1. ช่วยให้พืชรับเข้าสู่ต้น ส่งผลให้พืชเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว
2. เพื่อชดเชยธาตุอาหารที่ขาด หรือเพิ่มเติมเพื่อเร่งการเจริญเติบโตแก่พืชได้
3. ใช้ผสมร่วมไปกับสารเคมี หรือสารสกัดสมุนไพร อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งสองอย่าง ได้ เพื่อประหยัดเวลาและแรงงาน
4. ใช้กับพืชที่มีปัญหาเกี่ยวกับดิน เช่น ดินเค็ม ดินเปรี้ยวจัด ดินทรายจัด ดินเหนียวจัด หรือดินที่มีปัจจัยแวดล้อมต่อต้านการดูดใช้ธาตุอาหารทางระบบราก
5. พืชสามารถรับธาตุอาหารโดยทางใบได้มากกว่า และเร็วกว่าการดูดทางราก
6. ช่วยให้พืชฟื้นตัวเร็วหลังจากชะงัก เนื่องจากกระทบแล้ง น้ำท่วม หรือถูกโรคแมลงทำลาย
7. ปุ๋ยชนิดน้ำมีความสม่ำเสมอของเนื้อปุ๋ยแน่นอนกว่าปุ๋ยชนิดแข็งและปุ๋ยชนิดเกล็ด มีปริมาณเนื้อปุ๋ยรวม (N + P2O5 + K2O) สูงกว่าปุ๋ยเม็ด ทำให้ได้ประสิทธิภาพเหนือกว่า
8. ปุ๋ยชนิดน้ำผลิตง่าย และเปลี่ยนแปลงปรับปรุงสูตรได้ง่าย จึงผลิตได้มากสูตรกว่าปุ๋ยชนิดแข็งหรือชนิดเกล็ด
วัตถุประสงค์หลักในการให้ปุ๋ยทางใบ :
1. เพื่อแก้ไขอาการขาดธาตุอาหาร
2. เพิ่มคุณภาพและผลผลิต
3. เพื่อช่วยให้พืชฟื้นตัวจากปัญหาความขาดแคลนในบั้นปลาย
http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=6004
ในต้นเดียวมีผลหลายรุ่น มีดอกออกซ้อน .... บำรุง :
มะม่วงออกดอกไม่พร้อมกันทั้งต้น เมื่อดอกออกมาประมาณ 1 ใน 4 ของทั้งต้น ช่อที่ออกมาแล้ว ยาวประมาณ 1-10 ซม. ....
วิธีที่ 1 ให้เปิดตาดอก ซ้ำด้วยสูตรเดิม 2-3 รอบ ห่างกันรอบละ 3-5 วัน ....
วิธีที่ 2 เปิดตาดอกซ้ำด้วย สูตรเดิม 2 รอบ แล้วซ้ำด้วย 0-42-56 อีก 1 รอบ ....
ทั้ง 2 วิธี ถ้าต้นมีความสมบูรณ์พร้อม ยอดที่ยังไม่ออกดอกก็จะมีดอกออกมาให้เห็น แต่ถ้าดอกไม่ออกก็คือไม่ออก เนื่องจากต้นมีความสมบูรณ์ไม่พร้อมจริง (เน้นย้ำ....พร้อมจริง) ต้องรอรุ่นต่อไป
กรณีที่ 1. ตัดยอดที่เป็นใบด้วยกรรไกคมๆ เหลือส่วนตอไว้ประมาณ 1 ซม. แล้วสะสมตาดอกด้วย 0-42-56 เฉพาะยอดที่ตัด 2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน จากนั้นเปิดตาดอกด้วย 13-0-46 + ไธโอยูเรีย อีก 2 รอบ คอยสังเกต มะม่วงกิ่งนั้นจะออกดอกที่กลางกิ่ง หรืออาจจะออกที่ปลายยอดได้ ถ้ายังมีตุ่มตาที่ปลาย ยอดที่เหลืออยู่ ....ถ้าให้ 13-0-46+ไธโอยูเรีย ไป 2 รอบแล้วดอกยังไม่ออกให้ซ้ำด้วย 0-42-56 อีก 1 รอบ คราวนี้ ออกคือออก ไม่ออกคือไม่ออก ขึ้นกับความสมบูรณ์สะสมของต้น
กรณีที่ 2. อายุผลรุ่นแรกใหญ่ขนาดในภาพแล้ว โอกาสที่จะเปิดตาดอกยอดที่ยังไม่ออกนั้นค่อนข้างยากหรือทำไม่ได้เลย ....
เกมส์นี้เสี่ยงเพื่อหาคำตอบ ก. ทำกับมือ. เอาสูตรไต้หวันซี่ ....
ใช้ 13-0-46 + 0-52-34 (1:3) ฉีดพ่นใส่ เฉพาะยอดที่ยังไม่ออกดอก 3-4 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน เพื่อสะสมตาดอก จากนั้นสำรวจอาการอั้นตาดอก ถ้าเห็นว่าอั้นตาดอกดีก็ให้เปิดตาดอกด้วย "13-0- 46 + ไธโอยูเรีย" 2 รอบ ห่างกันรอบละ 3-5 วัน ถ้าออกคือออก ถ้าไม่ออกฉีด ซ้ำด้วย 0-42-56 อีก 1 รอบ คราวนี้ เป็นรอบตัดสิน ออกคือออก-ไม่ออกคือไม่ออก
หมายเหตุ :
- ไม้ผลอย่างมะม่วงมีเกมส์ให้เล่นเยอะนะ ลองๆศึกษาดู
- ทำมะม่วงออกกลางต้น กลางกิ่ง ก็สามารถแก้ปัญหาไม่ออกที่ปลายยอดได้
- ทุกอย่างของความสำเร็จขึ้นอยู่กับ "ความสมบูรณ์สะสม" ของต้น และความสมบูรณ์สะสมของต้นขึ้นอยู่กับ "ปัจจัยพื้นฐาน"
http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=6078
.... ฯลฯ ....
10. บำรุงผลเล็ก-กลาง :
ทางใบ :
- ให้ ไบโออิ + ยูเรก้า + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7-10 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ
- ในรอบ 1 เดือน หาโอกาสให้น้ำตาลทางด่วน (กลูโคส) 1 รอบ
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
ทางราก :
- ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยคอก (ขี้วัวขี้ไก่ไข่ แกลบดิบ แห้งเก่าข้ามปี) กระดูกป่น ครั้งที่ 2 ของรุ่น หรือปีการผลิต
- ใส่ 21-7-14 (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นใหญ่) /ต้น /เดือน ละลายน้ำรดโคนต้น บริเวณทรงพุ่ม
- คลุมโคนต้นด้วยเศษพืชแห้งหนาๆ เต็มพื้นที่บริเวณทรงพุ่ม ล้ำออกไปถึงนอกเขตทรงพุ่ม
- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 21-7-14 (2 ล.) /ไร่ /เดือน รดทั่วแปลง ทุกตาราง นิ้ว
หมายเหตุ :
- เริ่มบำรุงเมื่อผลเท่าเมล็ดถั่วเขียว หรือหลังกลีบดอกร่วง
- ช่วงผลเล็กเริ่มโชว์รูปทรงผลแล้วให้ น้ำ 100 ล. + จิ๊บเบอเรลลิน 10 กรัม ฉีดพ่น 1 รอบพอเปียกใบ จะช่วยบำรุงผลไม่ให้เกิดอาการผลแตกผลร่วงตลอดอายุผลได้ดี
- เริ่มบำรุงเมื่อเปลือกหุ้มเมล็ดเริ่มแข็ง (เข้าไคล) การที่จะรู้ว่าเมล็ดเริ่มเข้าไคลให้ใช้วิธีสุ่มเก็บลงมาผ่าดูลักษณะภายในผล
- วัตถุประสงค์เพื่อขยายขนาดผลและลดขนาดเมล็ด (หยุดเมล็ด-สร้างเนื้อ) ทำให้ผลมีเนื้อมาก แต่เมล็ดเล็กหรือลีบ
11. บำรุงผลแก่ :
ทางใบ :
- ให้ไบโออิ 0-21-74 + สารสมุนไพร 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน และให้รอบสุดท้ายก่อนเก็บเกี่ยว 7-10 วัน ด้วยการฉีดพ่นพอเปียก
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
ทางราก :
- เปิดหน้าดินโคนต้น และนำอินทรีย์วัตถุออก
- ให้ 13-13-21 หรือ 8-24-24 สูตรใดสูตรหนึ่ง (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก. ต้นใหญ่) /ต้น ละลายน้ำรดโคนต้น บริเวณทรงพุ่ม แล้วงดน้ำเด็ดขาด
หมายเหตุ :
- เริ่มให้ก่อนเก็บเกี่ยว 7-10 วัน 1-2 รอบห่างกันรอบละ 5-7 วัน
- การให้ 13-13-21 เหมาะสำหรับต้นที่มีผลรุ่นเดียวกันทั้งต้น แต่หลังจากเก็บเกี่ยวผล ผลิตแล้วต้นมักโทรมจึงต้องเร่งบำรุงฟื้นฟูความสมบูรณ์ของต้น (เรียกใบอ่อน) กลับคืนมาโดยเร็วแล้วจึงเข้าสู่วงรอบการบำรุงใหม่
- การให้ 8-24-24 เหมาะสำหรับต้นที่มีผลหลายรุ่นในต้นเดียวกันหรือประเภททะวายทยอยออก แบบไม่มีรุ่นซึ่งหลังจากเก็บเกี่ยวผลแก่จัดไปแล้วต้นไม่โทรม ใน 8-24-24 เป็นปุ๋ยประเภทสะสมอาหารเพื่อการออกดอกซึ่งจะส่งผลให้กิ่งที่ยังไม่ออกดอกเกิดอาการอั้นแล้วออกดอกติดผลเป็นผลรุ่นใหม่ได้
- ระยะผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยวถ้ามีการให้กลูโคสสำหรับมะม่วงกินสุกเมื่อผลสุกเนื้อในจะนิ่มหรือเละ
.... ฯลฯ ....
-------------------------------------------------------------------------------------
.
|
|