kimzagass หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11804
|
ตอบ: 14/10/2023 4:48 pm ชื่อกระทู้: * หัวใจเกษตรไท ห้อง 3..............เทคโนโลยี |
|
|
.
.
หัวใจเกษตรไท ห้อง 3 เทคโนโลยี
** ขาดทุนเพราะเทคโนโลยีผิด หรือปฏิเสธเทคโนโลยี 20%
** ซูเรียม พรีเมียม เกรด เอ. จัมโบ้ โกอินเตอร์ ขึ้นห้าง ออกนอกฤดู ปลอดสาร เคมี คนนิยม ไม่พอขาย จองล่วงหน้าข้ามปี
** เครื่องทุ่นแรง ประหยัด เพิ่มประสิทธิภาพประสิทธิผลเนื้องาน กว่า 100 เท่า
** นาข้าว 2รุ่น ล้างหนี้ 1ล้านแล้ว ยังเหลือ 2ล้าน
** ขายข้าว 1 แสน เหลือเงิน 40 บาท
** ชาวนาญี่ปุ่น ต้นทุน 23,000 ขายได้ 100,000
** ชาวนาไทย ต้นทุน 3,000 ขายได้ 100,000
เครื่อง ปลูกพืช/พรวนดิน/ใส่ปุ๋ย/ อัตโนมัติ
http://tinytu.be/w/7N1g4M94NPk
หลักการละเหตุผล :
เทคโนโลยี คือ การนำความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติให้เกิดผลเป็นสิ่งที่วัดได้ หรือจับต้องได้ เทคโนโลยีจะอยู่ภายใต้อิทธิพลของปัจจัยทางเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้นเทคโนโลยีจึงถูกกำหนดเป็นสินค้าอย่างหนึ่งที่มีราคาซื้อขายกันในตลาด
เทคโนโลยีชีวภาพ คือ เทคโนโลยีซึ่งนำเอาความรู้ทางด้านต่างๆ ของวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้กับสิ่งมีชีวิต หรือชิ้นส่วนของสิ่งมีชีวิต หรือผลผลิตของสิ่งมีชีวิต เพื่อเป็นประโยชน์ต่อมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นทางการผลิต หรือทางกระบวนการของสินค้า หรือบริการ เพื่อใช้ประโยชน์เฉพาะอย่างตามที่ต้องการ สามารถใช้ประโยชน์ทางด้านต่างๆ เช่น เกษตร อาหาร สิ่งแวดล้อม การแพทย์ เป็นต้น
http://www.thaibiotech.info/biotechnology-herbal-medicine.php
เทคโนโลยีการเกษตร :
ผักอินทรีย์ : หมายถึง ผักที่ผลิตจากวัตถุธรรมชาติ 100% ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี ไม่ใช้สารเคมียาฆ่าแมลงและสารกำจัดวัชพืช ไม่ใช้ฮอร์โมนสังเคราะห์ และไม่ใช้เมล็ดพันธุ์ดัดแปลงพันธุกรรม
ปุ๋ยอินทรีย์ : หมายถึง สารอาหารพืชที่ได้จากการวัสดุธรรมชาติ ที่ผ่านกระบวน การผลิตอย่างถูกต้องเหมาะสม จนพืชสามารถรับได้ ทั้งทาง และ/หรือ ทางราก เช่น น้ำหมักชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง (วัสดุธรรมชาติ : กุ้งหอยปูปลาทะเล เลือด ไขกระดูก นม น้ำมะพร้าว มูลค้างคาว)
ผักปลอดสารพิษ : หมายถึง ผักที่ไม่มีสารเคมียาฆ่าแมลงตกค้าง ในผลผลิตมีสารตกค้างไม่เกินระดับมาตรฐานที่กำหนด
ผักไร้สารพิษ : หมายถึง ผักที่ไม่ใช้สารเคมียาฆ่า หรือปุ๋ยเคมี แต่ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ในผลผลิตต้องไม่มีสารพิษใดๆตกค้าง ทั้งสิ้น
ผักอนามัย : หมายถึง ผักที่ใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช ใช้ปุ๋ยเคมีเพื่อการเจริญ เติบโตได้ มีสารตกค้างไม่เกินปริมาณที่กำหนด มีวิธีการปฏิบัติก่อนและหลังการเก็บเกี่ยว การขนส่ง และการบรรจุหีบห่อมาตรฐาน
ไม่ไถพรวน : หมายถึง การไม่ไถพรวน คือ พื้นฐานของเกษตรธรรมชาติ เนื่องมาจากธรรมชาตินั้น พื้นดินมีการไถพรวนโดยตัวของมันเองอยู่แล้ว โดยการแทรกชอนของรากพืช และการกระทำของจุลินทรีย์ทั้งหลาย รวมถึงสัตว์เล็กๆ และไส้เดือน
งดเว้นปุ๋ยเคมี : หมายถึง การปล่อยให้ดินอยู่ในสภาพของมันเอง ดินจะสามารถรักษาความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติเอาไว้ได้ ซึ่งเป็นไปตามวงจรพืชและสัตว์อย่างเป็นระเบียบเกษตรยั่งยืนแบบไร้สารพิษ
ไม่กำจัดศัตรูพืช : หมายถึง วัชพืช ที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดิน และช่วยให้เกิดความสมดุลในสิ่งแวดล้อมทางชีวภาพ
ไม่ใช้สารเคมี : หมยถึง ในสภาพของเกษตรธรรมชาตินั้น หากปล่อยไว้ตามลำพังจะอยู่ในสภาพที่สมดุล แมลงที่เป็นอันตราย และโรคพืชมักมีเสมอ แต่ไม่เคยเกิดขึ้นในธรรมชาติ จนถึงระดับที่ต้องใช้สารเคมีที่มีพิษเกษตรยั่งยืนแบบไร้สารพิษ หมายถึง ระบบการผลิตที่ไม่ใช้สารเคมีใดๆทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นสารเคมีเพื่อป้องกันหรือปราบปรามศัตรูพืชหรือปุ๋ยเคมีทุกชนิด จะใช้แต่ปุ๋ยอินทรีย์ทั้งหมดและผลผลิตที่เก็บเกี่ยวแล้ว ต้องไม่มีสารพิษใดๆ ทั้งสิ้น
(สาระน่ารู้ เทคโนโลยีชาวบ้าน. 2545 : 55)
เตรียมดิน เตรียมแปลง :
เกษตร อินทรีย์-เคมี ผสมผสาน :
- ไถดิน ขี้ไถขนาดใหญ่ ตากแดดจัด 15 แดด ถ้าฝนตกให้ไถใหม่เริ่มนับ 1 ตากแดดใหม่
- ตากแดดดินครบกำหนด ใส่อินทรีย์วัตถุ "ยิบซั่ม ปุ๋ยอินทรีย์ กระดูกป่น. ขี้วัวขี้ไก่แกลบเก่า" ผสมเข้ากันแล้วหว่านทั่วแปลง แล้วไถพรวน ปรับสันแปลงให้เป็นหลังเต่า คลุมหน้าแปลงด้วยฟางหนาๆ
- คลุมหน้าแปลงแล้วรดด้วยน้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 แล้วทิ้งไว้ 10-20 วัน จึงลงมือปลูก (หว่านเมล็ด ปลูกกล้า)
(....ไม่ต้องปุ๋ยเคมี รองพื้น-แต่งหน้า-กระแทก-กระทุ้ง เพราะในน้ำหมักระเบิดเถิดเทิงมีแล้ว อนาคตยังมีทางใบ ทั้งปุ๋ยเคมีและฮอร์โมนธรรมชาติ ให้อีก ที่สำคัญ ดินดี ได้แล้วกว่าครึ่ง ดินไม่ดี เสียแล้วกว่าครึ่ง .... เอาเงินค่าปุ๋ยเคมีมาซื้อปุ๋ยอินทรีย์ จ่ายน้อยกว่า แต่ประโยชน์ต่อพืชมากกว่า....)
หมายเหตุ :
- ระยะเวลาจากให้น้ำหมักฯ 10-20 วัน เป็นการบ่มดิน เพื่อให้เวลาแก่จุลินทรีย์เข้าทำการย่อยสลายอินทรีย์วัตถุและปรับสภาพดิน
- น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิงมีส่วนผสม "ปลาทะเล. กากน้ำตาล. เลือด. ขี้ค้าง คาว. ไขกระดูก. นม. น้ำมะพร้าว." หมักนานข้าม 1-2-3 ปี จากส่วน ผสมทุกอย่างเป็น "อินทรีย์" แท้ๆ .... เมื่อเติม 30-0-0, แม็กเนเซียม, สังกะสี, ธาตุรอง/ธาตุเสริม ลงไปเป็น เคมี นี่คือ อินทรีย์เคมี ผสมผสาน
- อย่ากังวลว่า ไม่ใส่ปุ๋ยเคมี รองพื้น-แต่งหน้า-กระทุ้ง-กระแทก แล้วต้นผักจะไม่โต สาเหตุที่ผักไม่โตไม่ใช่เพราะปุ๋ยน้อย แต่เป็นเพราะ ดิน .... ตราบใดที่ดินไม่ดี ดินไม่สมบูรณ์ ดินไม่มีอินทรีย์วัตถุ ดินไม่มีจุลินทรีย์ ดินเป็นกรด ต่อให้ใส่ปุ๋ยไร่ละกระสอบ สองสามกระสอบ ใส่ไร่ละตันต้นผักก็ไม่โต ตรงกันข้าม จะ
เล็กลงๆ ๆๆ เพราะ ปุ๋ยเป็นพิษ-ดินไม่กินปุ๋ย
- กรณีพืชอายุสั้น ฤดูกาลเดียว (พืชสวนครัว-พืชไร่-ไม้ดอก-นาข้าว) จำนวนต้นมากต่อพื้นที่ปลูก นั่นคือ ระบบรากย่อมกระจายไปทั่วทุกตารางนิ้วของพื้นที่ปลูกในแปลง การใส่ปุ๋ยชนิดเม็ด (อินทรีย์อัดเม็ด-เคมี) โดย หว่านด้วยมือ เม็ดปุ๋ยจะตกกระ จายกว้างไกลเท่าแรงคนหว่านทำได้ ซึ่งเม็ดปุ๋ยคงไม่ตกลง ณ โคนกอพืช ทุกกอ กอละ 1-2-3 เม็ด เท่ากันตามต้องการ แบบนี้กอไหนได้ปุ๋ย กอนั้นจะเขียวงาม กอไหนไม่ได้ปุ๋ยก็ไม่เขียวงาม คนหว่านปุ๋ยบอกบ่า ปุ๋ยน้อย ว่าแล้วหว่านปุ๋ยเพิ่มอีก .... ปัญหานี้แก้ไขได้ด้วยวิธีของเกษตรกร อเมริกา-ยุโรป-ออสเตรเลีย โดยผสม ปุ๋ยอินทรีย์แห้ง+ปุ๋ยเคมี+ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ+อื่นๆ+น้ำ ปริมาณตามต้องการ
(ยกตัวอย่าง .... นาข้าว : น้ำ 200 ล.+ยิบซั่ม 25 กก.+กระดูกป่น 10 กก.+ปุ๋ยน้ำชีวภาพ 2 ล.+ ปุ๋ยเคมี 10 กก.+อื่นๆ 2-3 ล. สำหรับนาข้าว 1 ไร่)
ในถังติดตั้งหน้ารถไถ คนเคล้าให้เข้ากันดี ขณะวิ่งรถไถ เปิดวาล์ว ซ้าย-ขวา ที่ก้นถังให้น้ำละลายสารอาหารออกมา เร็ว/ช้า ตามต้องการ ขณะที่น้ำสารอาหารหยดลงพื้นด้านหน้ารถไถนั้น ผานโรตารี่ที่ไต้ท้องรถไถจะตีพรวน ให้ดินและน้ำสารอาหารเข้าเป็นเนื้อเดียวกัน กระจายทั่วแปลงทุกตารางนิ้ว ส่งผลให้ต้นพืชได้รับสาร อาหาร (อินทรีย์-เคมี) เท่ากันทุกต้นทุกกอ
ผักสวนครัว
ผักสวนครัวแบบ เกษตรอินทรีย์-เคมี :
ความสำเร็จ :
- เกิดจาก หัว+ใจ = ใจ....
หัว คือ สมอง ..... สมอง คือ ความรู้ .... ความรู้ คือ เรียน+ทำ .... เรียน+ทำ ตามคนที่ประสบความสำเร็จ ....
ใจ คือ สติ (ไม่หลงตัวเอง), พฤติกรรม (ไม่ยึดติดแบบเดิมๆ), สัมมาทิฐิ (มุ่งมั่นแน่วแน่ ทำตามแนวทางที่ถูกต้องของธรรมชาติของพืช)
- เกษตรอินทรีย์ แรกๆดี เพราะปุ๋ยอินทรีย์ต้นทุนเดิมในดินเหลือตกค้างมาก จุลินทรีย์ในชีวภาพเป็นผู้ดึงออกมาให้พืชได้กิน
- รอบรู้/รู้รอบ ว่าด้วย สมการเกษตร ทุกอย่างที่ เกี่ยวเนื่อง/เกี่ยวข้อง กับเกษตรแบบอินทรีย์ 100%
ความล้มเหลว ด้านปุ๋ย :
-ไม่ยึดหลักสมการปุ๋ยอินทรีย์
- ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ น้ำ/แห้ง แบบไม่มีสารอาหาร เพราะทำผิด .... แก้ไข ปรับเป็นสูตร มั่วซั่วซุปเปอร์ หรือ ฟาจีก้า
- ในปุ๋ยอินทรีย์แห้งไม่มีสารอาหาร เพราะทำผิด .... แก้ไข ปรับเป็นสูตร ปุ๋ยคอกซุปเปอร์ หรือ ไบโอโซลิต หรือ ไบโอซัมมิต
- ดิน/จุลินทรีย์ ไม่พร้อม ..... แก้ไขโดย ทำ/ใส่ สิ่งที่ถูกต้องอย่างมีหลักวิชาการรองรับ (ไม่มีความรู้ ให้ทำตามโผ) .... แม้ไม่ได้ ใส่/ให้/ทำ ในสิ่งที่ถูกต้อง ก็ไม่ควร ทำ/ใส่/ให้ ในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง .... ความ ถูกต้อง/ไม่ถูกต้อง วัดที่พืช ไม่ใช่วัดที่คน .... และความถูกต้องที่สุด คือ ต่อเนื่องสม่ำเสมอ จนกลายเป็น ประวัติดิน
ความล้มเหลว ด้านสารสมุนไพร :
- ไม่ยึดหลัก สมการสารสมุนไพร
-ไม่ยึดหลักทฤษฎี ป้องกัน กับ กำจัด
- ทำไม่ทัน/ไม่ได้ทำ เพราะเครื่องทุ่นแรงแบบเก่าๆ (เปรียบเทียบ ลากสายยาง กับ สปริงเกอร์/หม้อปุ๋ย)
.........................................................................................................................................................................
ดินต้องมาก่อน ฯลฯ ..... เตรียมดิน เตรียมแปลง .... ฯลฯ
- ประวัติดิน ปลอด 100% ปุ๋ยเคมี สารเคมียาฆ่าแมลง ยาฆ่าหญ้า ติดต่อกันมานาน 2-3 ปี
- ไถดิน ขี้ไถขนาดใหญ่ ตากแดดจัด 15 แดด ถ้าฝนตกให้ไถใหม่เริ่มนับ 1 ตากแดดใหม่
- ตากแดดดินครบกำหนด ใส่อินทรีย์วัตถุ "ยิบซั่ม ปุ๋ยอินทรีย์ กระดูกป่น. ขี้วัวขี้ไก่แกลบเก่า" ผสมเข้ากันแล้วหว่านทั่วแปลง แล้วไถพรวน ปรับสันแปลงให้เป็นหลังเต่า คลุมหน้าแปลงด้วยฟางหนาๆ
- คลุมหน้าแปลงแล้วรดด้วยน้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง (ไม่ปุ๋ยเคมี) แล้วทิ้งไว้ 10-20 วัน จึงลงมือปลูก (หว่านเมล็ด ปลูกกล้า)
หมายเหตุ :
- ระยะเวลาจากให้น้ำหมักฯ 10-20 วัน เป็นการบ่มดิน เพื่อให้เวลาแก่จุลินทรีย์เข้าทำการย่อยสลายอินทรีย์วัตถุและปรับสภาพดิน
- น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิงมีส่วนผสม "ปลาทะเล. กากน้ำตาล. เลือด. ขี้ค้าง คาว. ไขกระดูก. นม. น้ำมะพร้าว." หมักนานข้าม 1-2-3 ปี จากส่วนผสมทุกอย่างเป็น "อินทรีย์" แท้ๆ
- เพื่อชดเชยหรือทดแทนสารอาหารในปุ๋ยอินทรีย์ (ยิบซั่ม ปุ๋ยอินทรีย์ กระดูกป่น. ขี้วัวขี้ไก่แกลบเก่า และน้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง) ที่อาจมีน้อย ไม่เพียงต่อความต้องการของผัก แก้ไขด้วยการ เสริม/เติม/เพิ่ม/บวก ฮอร์โมนธรรมชาติ ด้วยการให้บ่อยๆ
.........................................................................................................................................................................
เตรียมเมล็ดพันธุ์ :
- แช่เมล็ดพันธุ์ใน น้ำ 50 องศา +ไคโตซาน. สังกะสี. โบรอน. 3-6 ชม. แล้วนำขึ้นผึ่งลมให้แห้ง แห้งแล้วนำไปหว่านในแปลงเพาะกล้าได้เลย หรือจะเพาะในแปลงเพาะกล้าก่อนก็ได้
- หว่านเมล็ดในแปลงจริงทำให้สิ้นเปลืองเมล็ดพันธุ์ เพราะเมื่องอกขึ้นมาแล้วต้องถอนแยกบางต้นที่เบียดกันออก แต่ถ้าเพาะเมล็ดในกระบะเพราะเมล็ด (1 ช่อง : 1 เมล็ด) เป็นกล้าก่อน เมื่อต้นกล้าโตได้ 2-3 ใบจึงย้ายไปปลูกในแปลงจริง นอกจากไม่สิ้นเปลืองเมล็ดพันธ์แล้ว ยังได้ต้นกล้าที่สมบูรณ์แข็งแรงดีอีก
บำรุง :
ผักกินผล : (เถา .... ถั่วฝักยาว ถั่วพู มะระ ฟัก บวบ แตง ฯลฯ)
ทางใบ : ฟาจีก้า (เน้น ขี้ค้างคาว นมสด น้ำต้มก้นหม้อก๋วยเตี๋ยว) + สมุนไพร
ทางราก : น้ำหมักระเบิดเถิดเทิง ส่วนปุ๋ยอินทรีย์ เดือนละครั้ง
ผักกินผล : (พุ่ม .... มะเขือ พริก ฯลฯ)
ทางใบ : ฟาจีก้า (เน้น ขี้ค้างคาว นมสด น้ำต้มก้นหม้อก๋วยเตี๋ยว) + สมุนไพร
ทางราก : น้ำหมักระเบิดเถิดเทิง 8-24-24 เดือนละครั้ง
ผักกินยอด : (ตำลึง มะระแม้ว ชะอม หวานบ้าน หวานป่า ฯลฯ)
ทางใบ : ฟาจีก้า (เน้น น้ำมะพร้าวอ่อน น้ำต้มก้นหม้อก๋วยเตี๋ยว) + สมุนไพร
ทางราก : น้ำหมักระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 เดือนละครั้ง
ผักกินดอก : (ขจร แค ฯลฯ)
ทางใบ : ฟาจีก้า (เน้น ขี้ค้างคาว) + สมุนไพร
ทางราก : น้ำหมักระเบิดเถิดเทิง 8-24-24 เดือนละครั้ง
ผักกินหัว : (ขิง ข่า ไชเท้า แคร็อท หอม กระเทียม ฯลฯ)
ทางใบ : ฟาจีก้า (เน้น ขี้ค้างคาว) + สมุนไพร
ทางราก : น้ำหมักระเบิดเถิดเทิง 5-10-40 เบียร์สด สาโท เดือนละครั้ง
ผักกินใบ : (คะน้า ผักกาด โหระพา แมงลัก กระเพา ฯลฯ)
ทางใบ : ฟาจีก้า (เน้น นมสด น้ำต้มก้นหม้อก๋วยเตี๋ยว) + สมุนไพร
ทางราก : น้ำหมักระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 ครั้งเดียว เริ่มปลูก
ผักกินใบ อายุยืน : (ผักหวานบ้าน, ผักหวานป่า, มะกรูด, ยอ ฯลฯ)
ทางใบ : ฟาจีก้า เหล็กคีเลต น้ำมะพร้าวอ่อน น้ำต้มก้นหม้อก๋วยเตี๋ยว + สมุนไพร
ทางราก : น้ำหมักระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 เดือนละครั้ง
เคล็ด (ไม่) ลับบำรุง เฉพาะผักบางชนิด :
ผักกาดขาวปลี : ........... ให้โมลิบดินั่ม ช่วยให้ปลีแน่น
ผักคะน้า : .................. ให้แคลเซียม โบรอน ช่วยให้ต้นไม่มีเสี้ยน
ผักกาดแก้ว : ............... ให้แม็กเนเซียม. สังกะสี. (ในไบโออิ) ตอนบ่าย ใบไม่ตกปรกดิน
ผักชี : ...................... ให้ 12-60-0 หรือ ขี้ค้างคาวหมักข้ามปี อาทิตย์ละครั้ง ช่วยให้รากใหญ่
ผักชีไทย (ใบฝอย) : ..... ให้มีฟางแห้ง แข็ง คลุมหน้าปลง หมั่นยกฟางให้ฟูขึ้น ก้านฟางจะช่วยรองรับก้านใบผักชีไม่ให้ลู่เอนลง เพราะก้านใบลู่ลงแล้วฉีดขาด จึงเป็นช่องทางให้เชื้อโรคเข้าได้
กุยช่าย : ................... ให้แคลเซียม โบรอน สม่ำเสมอ เสี้ยนน้อยลง
ผักบุ้งจีน : ................. ให้แคลเซียม โบรอน + นมสด ต้นอ่อนถึงโคน รากอ่อนนิ่มกินได้
แตงกวา : .................. ผลมีรสขม สาเหตุเพราะขาดธาตุรอง/ธาตุเสริม
มะเขือเปราะ : .............. ให้แคลเซียม โบรอน. สม่ำเสมอ เนื้อนุ่มกรอบ เมล็ดขาวอ่อน
ถั่วงอก : ................... ให้ฮอร์โมนสมส่วน น้ำคั้นเมล็ดเริ่มงอก+น้ำคั้นไชเท้า หรือ น้ำมะพร้าวอ่อน+น้ำมะพร้าวแก่ ถั่วงอกขาวยาวใหญ่
สะระแหน่ : ................ ให้น้ำล้างเขียงปลา ใบใหญ่ ยอดใหญ่
ผักเถากินผล : ............ อากาศหนาว ดอกตัวผู้มากกว่าดอกตัวเมีย แก้ไขโดย ระยะจ้นเล็ก มีใบ 10-12 ใบ ให้จิ๊บเบอเรลลิน 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน จะช่วยให้ได้ดอกตัวเมียมากขึ้น
เห็ดโรงเรือน : .............. ให้ ยูเรก้า 1.5 ซีซี./น้ำ 20 ล. ตอนค่ำ วันเว้นวัน เมื่อดอกเริ่มเกิด ฉีดขึ้นเพดานให้ละอองปลิวลงมาสัมผัสดอกเห็ด
พืชสมุนไพร : ............... ทางใบ : ให้ฟาจีก้า (เดี่ยวๆ) .... ทางราก : ให้น้ำหมักระเบิดเถิดเทิง ขั้น 2 (งดปุ๋ยเคมีเด็ดขาด)
การ ป้องกัน/กำจัด ศัตรูพืช :
สปริงเกอร์ :
* เช้ามืด ............... ฉีดล้างน้ำค้างกำจัดราน้ำค้าง
* สาย .................. 10 โมงเช้า ให้ ปุ๋ย/ฮอร์โมน +ยาสมุนไพร
* เที่ยง มีแดด ......... กำจัดเพลี้ยไฟ
* เที่ยง ไม่มีแดด ...... กำจัดไรแดง
* กลางวันฝนตก ....... วันฝนตกต่อแดด ล้างน้ำฝนป้องกันกำจัดแอนแทร็คโนส
* กลางวันฝนตก ....... ก่อนฝนตก หรือหลังฝนตก ให้ปุ๋ยกดใบอ่อนสู้ฝน
* ค่ำ .................... ล้างช่อกำจัดราดำ กำจัดเพลี้ยจักจั่น, หนอนเจาะช่อดอก
* มืด .................... กำจัดแม่ผีเสื้อเข้าวางไข่. หนอนออกหากิน
ไอพีเอ็ม :
- กับดักสีเหลือง กาวเหนียว (กลางวัน)
- กับดัก กาวเหนียว แสงไฟ (กลางคืน)
- บำรุงต้นให้สมบูรณ์ เป็นภูมิต้านทาน
- ปลูกพืชกลิ่นไล่ แซม/แทรก
- อนุรักษ์แมลงธรรมชาติ
พืชไร่ :
เตรียมดิน เตรียมแปลงเกษตร แบบ อินทรีย์-เคมี สำหรับพืชไร่โดยเฉพาะ :
- เพราะพื้นที่ปลูกพืชไร่มีน้ำน้อยเมื่อเทียบกับพื้นที่ปลูกพืชนิดอื่น นั่นคือ พื้นที่ปลูกพืชไร่มีความแห้งแล้งมากที่สุด กอร์ปกับเพราะพืชไร่เป็นพืชต้องการน้ำน้อย ระดับ ชื้น (ชื้น ชุ่ม โชก แฉะ แช่) เท่านั้น จึงอยู่ได้ แต่มิได้หมายความว่า พืชไร่ไม่ต้องการน้ำเลย วิธีการหนึ่งที่สามารถช่วยพืชไร้ได้ คือ สร้างหรือใส่วัสดุอุ้มน้ำให้หน้าที่เสมือนฟองน้ำไว้ไต้ดิน นั่นคือ เศษซากพืชโดยเฉพาะ แกลบ ที่ย่อยสลายยาก อยู่ในเนื้อดินได้นานนับ 10 ปี
รูปแบบบำรุงดินด้วยอินทรีย์วัตถุ :
แบบใช้เงิน : ซื้อ 100% ยิบซั่ม กระดูกป่น ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ (มากๆ) 3 อย่างรวมกันประมาณ 2-3 ตัน/ไร่ แล้วไถกกลบลงดินลึก
แบบใช้เงิน ไม่ได้เงิน แต่ได้ดิน : .... ปลูกถั่วบำรุงดินของกรมพัฒนาที่ดิน เมื่อต้นถั่วเริ่มออกดอกให้ไถกลบ ทำซ้ำ 2-3 รุ่น
แบบใช้เงิน ได้เงิน ได้ดิน : ปลูกถั่วไร่ (เขียว เหลือง-แดง-ดำ-ขาว), งา, ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์, ทานตะวัน เก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วใส่ ยิบซั่ม กระดูกป่น ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ (มากๆ) 3 อย่างรวมกันประมาณ 2-3 ตัน/ไร่ ไถกลบเศษซากต้นลงดิน ทำซ้ำ 2-3 รอบ
- ไถดิน ขี้ไถขนาดใหญ่ ตากแดดจัด 15 แดด ถ้าฝนตกให้ไถใหม่เริ่มนับ 1 ตากแดดใหม่
- ตากแดดดินครบกำหนด ใส่อินทรีย์วัตถุ "ยิบซั่ม ปุ๋ยอินทรีย์ กระดูกป่น. ขี้วัวขี้ไก่แกลบเก่า" ผสมเข้ากันแล้วหว่านทั่วแปลง แล้วไถพรวน ปรับสันแปลงให้เป็นหลังเต่า คลุมหน้าแปลงด้วยฟางหนาๆ
- คลุมหน้าแปลงแล้วรดด้วยน้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 แล้วทิ้งไว้ 10-20 วัน จึงลงมือปลูก (หว่านเมล็ด ปลูกกล้า)
(....ไม่ต้องปุ๋ยเคมี รองพื้น-แต่งหน้า-กระแทก-กระทุ้ง เพราะในน้ำหมักระเบิดเถิดเทิงมีแล้ว อนาคตยังมีทางใบ ทั้งปุ๋ยเคมีและฮอร์โมนธรรมชาติ ให้อีก ที่สำคัญ ดินดี ได้แล้วกว่าครึ่ง ดินไม่ดี เสียแล้วกว่าครึ่ง .... เอาเงินค่าปุ๋ยเคมีมาซื้อปุ๋ยอินทรีย์ จ่ายน้อยกว่า แต่ประโยชน์ต่อพืชมากกว่า....)
- ระยะเวลาจากให้น้ำหมักฯ 10-20 วัน เป็นการบ่มดิน เพื่อให้เวลาแก่จุลินทรีย์เข้าทำการย่อยสลายอินทรีย์วัตถุและปรับสภาพดิน
- น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิงมีส่วนผสม "ปลาทะเล. กากน้ำตาล. เลือด. ขี้ค้าง คาว. ไขกระดูก. นม. น้ำมะพร้าว." หมักนานข้าม 1-2-3 ปี จากส่วนผสมทุกอย่างเป็น "อินทรีย์" แท้ๆ .... เมื่อเติม 30-0-0, แม็กเนเซียม, สังกะสี, ธาตุรอง/ธาตุเสริม ลงไปเป็น เคมี นี่คือ อินทรีย์เคมี ผสมผสาน
- อย่ากังวลว่า ไม่ใส่ปุ๋ยเคมี รองพื้น-แต่งหน้า-กระทุ้ง-กระแทก แล้วต้นผักจะไม่โต สาเหตุที่ผักไม่โตไม่ใช่เพราะปุ๋ยน้อย แต่เป็นเพราะ ดิน .... ตราบใดที่ดินไม่ดี ดินไม่สมบูรณ์ ดินไม่มีอินทรีย์วัตถุ ดินไม่มีจุลินทรีย์ ดินเป็นกรด ต่อให้ใส่ปุ๋ยไร่ละกระสอบ สองสามกระสอบ ใส่ไร่ละตันต้นผักก็ไม่โต ตรงกันข้าม จะเล็กลงๆ ๆๆ เพราะ ปุ๋ยเป็นพิษ-ดินไม่กินปุ๋ย
- กรณีพืชอายุสั้น ฤดูกาลเดียว (พืชสวนครัว-พืชไร่-ไม้ดอก-นาข้าว) จำนวนต้นมากต่อพื้นที่ปลูก นั่นคือ ระบบรากย่อมกระจายไปทั่วทุกตารางนิ้วของพื้นที่ปลูกในแปลง การใส่ปุ๋ยชนิดเม็ด (อินทรีย์อัดเม็ด-เคมี) โดย หว่านด้วยมือ เม็ดปุ๋ยจะตกกระ จายกว้างไกลเท่าแรงคนหว่านทำได้ ซึ่งเม็ดปุ๋ยคงไม่ตกลง ณ โคนกอพืช ทุกกอ กอละ 1-2-3 เม็ด เท่ากันตามต้องการ แบบนี้กอไหนได้ปุ๋ย กอนั้นจะเขียวงาม กอไหนไม่ได้ปุ๋ยก็ไม่เขียวงาม คนหว่านปุ๋ยบอกบ่า ปุ๋ยน้อย ว่าแล้วหว่านปุ๋ยเพิ่มอีก .... ปัญหานี้แก้ไขได้ด้วยวิธีของเกษตรกร อเมริกา-ยุโรป-ออสเตรเลีย โดยผสม ปุ๋ยอิน ทรีย์แห้ง+ปุ๋ยเคมี+ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ+อื่นๆ+น้ำ ปริมาณตามต้องการ
(ยกตัวอย่าง .... นาข้าว : น้ำ 200 ล.+ยิบซั่ม 25 กก.+กระดูกป่น 10 กก.+ปุ๋ยน้ำชีวภาพ 2 ล.+ ปุ๋ยเคมี 10 กก.+อื่นๆ 2-3 ล. สำหรับนาข้าว 1 ไร่)
ในถังติดตั้งหน้ารถไถ คนเคล้าให้เข้ากันดี ขณะวิ่งรถไถ เปิดวาล์ว ซ้าย-ขวา ที่ก้นถังให้น้ำละลายสารอาหารออกมา เร็ว/ช้า ตามต้องการ ขณะที่น้ำสารอาหารหยดลงพื้นด้านหน้ารถไถนั้น ผานโรตารี่ที่ไต้ท้องรถไถจะตีพรวน ให้ดินและน้ำสารอาหารเข้าเป็นเนื้อเดียวกัน กระจายทั่วแปลงทุกตารางนิ้ว ส่งผลให้ต้นพืชได้รับสาร อาหาร (อินทรีย์-เคมี) เท่ากันทุกต้นทุกกอ
อ้อย :
อ้อย 100 ตัน/ไร่....วังขนาย
https://encrypted.google.com
แรงบันดาลใจ :
* วังขนาย ทำอ้อยได้ 100 ตัน/ไร่ เพราะอินทรีย์วัตถุและสารอาหารในดินจำนวนมาก จุลินทรีย์ทำหน้าที่เสมือนฟองน้ำ คอยอุ้มน้ำไว้ให้ที่ไต้พื้นดิน
* มิตรผล ทำได้ 50 ตัน/ไร่ เพราะอินทรีย์วัตถุและสารอาหารในดินจำนวนมาก จุลินทรีย์ทำหน้าที่เสมือนฟองน้ำ คอยอุ้มน้ำไว้ให้ที่ไต้พื้นดิน
* ช่วงแล้งจัด (ม.ค.-ก.พ.-มี.ค.-เม.ย.) อ้อยไม่ใบเหลืองแต่ยังเขียวสดได้ เพราะมีอินทรีย์วัตถุในดินจำนวนมาก และจุลินทรีย์ทำหน้าที่เสมือนฟองน้ำ คอยอุ้มน้ำไว้ให้ที่ไต้พื้นดิน
* อ้อยน้ำขังค้าง (ลึก 1 ม.) แช่นาน 2-3 เดือน (ปี 54) บำรุงด้วยไบโออิ โดยฉีดพ่นทางใบ ด้วยเครื่องโอเวอร์เฮด เดือนละ 1 ครั้ง แล้วไม่ตายกระทั่งน้ำลดปกติยังเหลือขายได้กำไร เพราะอ้อยรับสารอาหารทางปากใบได้
บำรุง : ให้ "ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 8-24-24 (2-3 ล.)/ไร่" เนื้อปุ๋ยเท่านี้ แต่น้ำมากๆ ปล่อยน้ำเข้าไปตามร่องระหว่างแถวปลูก ให้ท่วมเต็มร่อง เท่ากับเป็นการให้น้ำไปในตัว .... ให้สูตรนี้ตั้งแต่เริ่มปลูกถึงตัด
หมายเหตุ :
- อ้อยต้องการน้ำ 4 ครั้งตลอดอายุ ....
* ครั้งที่ 1 หลังปลูก (ตอ 1) หรือหลังเจียนตอ (ตอ 2-3-4-5-) เสร็จภายใน 3 วัน....
* ครั้งที่ 2 เริ่มยางปล้อง....
* ครั้งที่ 3 และ 4 อ้อยโต
- ในน้ำหมักระเบิดเถิดเทิงมี .... ปุ๋ยเคมี (8-24-24, แม็กเนเซียม, สังกะสี, ธาตุรอง/ธาตุเสริม, ฮิวมิก แอซิด, เรียบร้อยแล้ว .... ปุ๋ยอินทรีย์ (จาก ปลาทะเล, ไขกระดูก, เลือด, ขี้ค้างคาว, นม, น้ำมะพร้าว) จึงไม่จำเป็นต้องใส่ปุ๋ยเคมีเพิ่มอีก
- เครื่องมือในการให้น้ำ .... พื้นที่ลาดเอียง : ปล่อย น้ำ+ปุ๋ย ไหลจากลาดสูงไปลาดต่ำ .... พื้นที่ราบ : ใช้เครื่องฉีดพ่นน้ำ หรือโอเวอร์เฮด ฉีดพ่นจากใบลงพื้น
- สิ่งที่อ้อยต้องการมากที่สุด คือ น้ำ ....วันนี้มีงานวิจัยจากนักวิชาการ (อุดม การณ์) จาก 4 มหาวิทยาลัย ยืนยันผลงานวิจัยตรงกันว่า อ้อยต้องการน้ำ 4-5 ครั้ง
สำปะหลัง :
เครื่องปลูกมันสำปะหลังแบบพ่วงท้ายรถแทรกเตอร์ แบบ 1 แถว
นายประสาท แสงพันธุ์ตา กลุ่มวิจัยวิศวกรรมผลิตพืช
สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม 0 2579 2757, 0 2940 5583
ข่าว ทีวี. สำปะหลัง อู่ทอง สุพรรณบุรี ทำได้ 60 ตัน/ไร่ ในข่าวไม่มีรายละเอียดว่า พันธุ์อะไร ? ให้ปุ๋ยยังไง ? ให้น้ำหรือเปล่า ? แต่เท่าที่สังเกตจากภาพในจอ ทีวี. เห็นชัด ใบดกตั้งแต่ยอดถึงดิน ใบใหญ่เท่าฝ่ามือ ดินร่วน ตัดต้นเหลือตอสูงจากพื้นครึ่งศอกแขนแล้วใช้มือถอนสำปะหลังขึ้นมาทั้งกอได้ .... งานนี้เราเอาแค่ 30 ตัน/ไร่ ก็น่าจะพอ เพราะที่ทำกันอยู่ทุกวันนี้ ได้แค่ 3-5 ตัน/ไร่ เท่านั้น
สำปะหลัง 60 ตัน เอาแค่ 30 ตัน :
เตรียมท่อนพันธุ์ :
- เตรียมถังขนาดใหญ่ ใส่น้ำ 100 ล. + ไบโออิ 100 ซีซี. + แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี. + ยูเรก้า 100 ซีซี. .... สังกะสี ในไบโออิ, โบรอน ในแคลเซียม โบรอน ส่งเสริมการงอกของรากของท่อนพันธุ์, ไคโตซาน ในยูเรก้า ช่วยกำจัดเชื้อโรคที่ปนเปื้อนมากับท่อนพันธุ์
- ตัดท่อนพันธุ์ตั้งฉาก ท่อนพันธุ์ยาว 1 ศอกแขน ตัดแล้วร่วงลงน้ำทันที
- แช่ท่อนพันธุ์ในน้ำ 5-6 ชม. นำขึ้นผึ่งลมให้แห้ง แล้วนำไปปลูก
- ปลูกแบบปักท่อนพันธุ์ให้ตั้งฉากกับพื้น ลึกลงดิน 3 ใน 4 ส่วนของความยาว (ความยาว 1/2 ศอกแขน)
บำรุง :
ทางใบ : น้ำ 200 ล. + ไบโออิ 5-10-40 (200 ซีซี.) + สารสมุนไพร 1 ล. ให้เปียกโชกทั้งไต้ใบบนใบ ทุก 15 วัน
ทางราก : ให้น้ำตามความเหมาะสมเป็นการให้น้ำไปในตัว +น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 5-10-40 (2 ล./ไร่) เดือนละครั้ง
หมายเหตุ :
- บำรุงตั้งแต่เริ่มปลูกถึงขุด
- การให้ น้ำ + ปุ๋ย ทางใบ เป็นการสร้างความชื้นโดยตรง กับการให้ น้ำ+ ปุ๋ย หรือน้ำ เปล่า ทางราก น้ำที่ระเหยจากดินขึ้นไปบนอากาศจะเป็นการสร้างความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศ ซึ่งนอกจากช่วยป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้งได้แล้ว ยังสร้างความสมบูรณ์ของต้น ส่งผลให้ผลผลิตดีอีกด้วย
- สำปะหลังที่ไม่มีการให้น้ำ ต้นเรียวเล็ก-ใบเล็ก-จำนวนใบน้อย ที่ปลายยอด นอกจากผลผลิตได้น้อย โรคมากแล้ว เอาต้นไปทำพันธุ์ต่อก็ไม่ดี ผิดกับสำปะหลังที่ได้ น้ำ+ปุ๋ย ทั้งทางใบทางราก มีใบมาก สังเคราะห์อาหารได้มาก ผลผลิตมาก โรคน้อย ต้นใหญ่สมบูรณ์ ใช้หรือจำหน่ายต้นพันธุ์ได้ราคาอีกด้วย
สำปะหลังแบบก้าวหน้า :
1. ปลูกแบบ แถวตอนเรียง 1 ยาวตามร่องปลูกแบบเดิม สำปะหลัง 1 กอจะให้หัว 1 พวง ถ้าปรับใหม่เป็นปลูกแบบ แถวตอนเรียง 2 ยาวตามร่องปลูกเดิม เป็นสำปะหลัง 2 กอ เท่ากับได้หัวสำปะหลัง 2 พวง บนพื้นที่เท่าเดิม .... ติดสปริงเกอร์ ให้น้ำ ให้ปุ๋ยทั้งทางใบทางราก รุ่นเดียวที่ได้ทุนคืน ถ้าไม่มีสปริงเกอร์จะลากสายยางก็ได้ ที่สำคัญขอให้สำปะ หลังได้น้ำได้ปุ๋ยก็แล้วกัน
2. ปลูกสำปะหลังแบบแถวตอนเรียง 2 แต่ละกอทำเป็น สำปะหลังคอนโด โดย 1 กอให้ 2-3 พวง บำรุงเต็มที่ตามความเหมาะสมของสำปะหลัง จะได้หัวสำปะหลังมากกว่า 2 พวง/กอ บนพื้นที่เท่าเดิม .... จากสำปะหลัง 1 กอได้หัว 1 พวง ถ้าสำปะหลัง 2 กอ 3 กอ 4 กอ ได้หัวกอละ 1 พวง บนเนื้อเท่าเดิมจะได้ไหม ?
3. ระยะยังไม่ลงหัว บำรุงต้นให้ลำต้น สูง-ใหญ่-ใบมาก เมื่อถึงระยะเริ่มลงหัวให้ตัดต้นไปขายก่อน แล้วบำรุงตอสร้างต้นใหม่ ซึ่งการบำรุงตอสร้างต้นใหม่นี้ จะไม่ส่งผลเสียต่อการสร้างหัวแต่อย่างใด
สร้างแรงบันดาลใจให้กับตัวเอง :
- สำปะหลัง ต้นเดี่ยว-คนเลี้ยง อู่ทอง สุพรรณบุรี ...... ได้ 60 ตัน /ไร่
- สำปะหลังแบบเดิม ต้นเดี่ยว-เทวดาเลี้ยง ............. ได้ 4 ตัน /ไร่
- สำปะหลังแบบเดิม ต้นเดี่ยว-คนเลี้ยง ................. ได้ 10 ตัน /ไร่
- สำปะหลัง แบบก้าวหน้า ต้นคู่-เทวดาเลี้ยง ........... ได้ 8 ตัน /ไร่
- สำปะหลัง แบบก้าวหน้า ต้นคู่-คนเลี้ยง ............... ได้ 20 ตัน /ไร่
4. ปลูกสำปะหลังแบบก้าวหน้า 10 ไร่ ลงทุนให้น้ำกับผลผลิตที่ได้ คุ้มเกินคุ้ม
5. ออกแบบสร้างอีแต๋นอีต๊อกบรรทุกน้ำ มีอุปกรณ์เครื่องมือให้น้ำ แรงงานคนเดียว ให้น้ำเปล่า หรือน้ำ + ปุ๋ย ใช้ในแปลงตัวเองแล้ว รับจ้างแปลงข้างๆเป็นรายได้ กะรวยด้วยกัน
6. ได้ดินดี เลิกสำปะหลัง จะปลูกอะไรก็ได้ .... ได้อีแต๋น บรรทุกน้ำไว้ใช้งาน ให้น้ำกับพืชอะไรก็ได้
7. อายุสำปะหลัง ตั้งแต่เริ่มเตรียมดินเตรียมแปลง ปลูกถึงขุด รวมเวลา 8 เดือน ติดสปริงเกอร์แบบถอดประกอบได้ ติดตั้งก่อนปลูก ก่อนขุดก็ถอดเก็บ ทำสำปะหลังก้าว หน้า รุ่นเดียวได้ทุนคืน ได้กำไรด้วย
หมายเหตุ :
- ช่วงหน้าแล้ง สปริงเกอร์ฉีดพ่นน้ำจากใบลงถึงราก นอกจาก ช่วยป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้งสีชมพู (เพลี้ยตัวนี้มาช่วงหน้าแล้ง) แล้ว ยังช่วยบำรุงต้นสำปะหลังตาม ปกติ และบำรุงสำปะหลังช่วงแล้ง ป้องกันอาการกินตัวเองของสำปะหลังได้อีกด้วย
- สำปะหลังที่บำรุงเต็มที่ ได้ลำต้นสมบูรณ์ ใหญ่ยาว ขายเป็นต้นพันธุ์ดี
- สู้กับเพลี้ยแป้งสำปะหลังให้ได้ทั้ง ป้องกัน/ฆ่าเพลี้ย แถมบำรุงสำปะหลังด้วย น้ำ เท่านั้น ประหยัดและประโยชน์สูงสุด น้ำเปล่าๆ หรือ น้ำ + สารสมุนไพร หรือ น้ำ + สมุนไพร + ปุ๋ย .... สมุนไพรก็ บอระเพ็ด ฟ้าทะลายโจร เมล็ดน้อยหน้า หัวกลอย สะเดา เมล็ดมันแกว .... ปุ๋ยก็ แม็กเนเซียม. สังกะสี. 5-10-40 (ไบโออิ) ยืนพื้น .... ทุกครั้งที่ใช้ให้ +น้ำยาล้างจาน +ไบโอเจ๊ต ฉีดพ่นให้เปียกโชกเพื่อน้ำยาล้างจานซึมทะลุแป้งเข้าถึงตัวเพลี้ยที่อยู่ข้างใน ช่วงระบาดหนักให้ฉีดพ่นแบบวันเว้นวัน ช่วงยังไม่ระบาดอาจจะห่างหน่อยตามความเหาะสม
- ธรรมชาติของเพลี้ยแป้งสำปะหลังชอบมากๆกับ ความแห้งแล้ง แล้งเมื่อไรมาเมื่อนั้น ออกลูกออกหลานขยายพันธุ์เต็มไร่ .... ในทางกลับกันเพลี้ยแป้งสำปะหลังไม่ชอบเอามากๆ กับ ความชื้น ฝนตก ให้น้ำ สร้างความชื้นขึ้นมา เพลี้ยแป้งในแปลงตาย แถมแปลงข้างเคียงก็ไม่เข้ามาอีกด้วย เมื่อรู้นิสัยเพลี้ยแป้งว่าไม่ชอบน้ำก็ให้น้ำซี่ นอกจากช่วย ป้องกัน/กำจัด เพลี้ยแป้งได้แล้วยังมีผลดีต่อต้นสำปะหลังอีกด้วย
- ไม่มีพืชใดในโลกไม่ต้องการน้ำ สำปะหลังต้องการน้ำระดับ ชื้น จากปริมาณน้ำ ชื้น/ชุ่ม/โชก/แฉะ/แช่ .... สังเกตุ : ฝนดี-ฝนพอดี-ฝนสม่ำเสมอ สำปะหลังแตกใบใหม่ เพลี้ยแป้งไม่มี เมื่อรู้ว่า สำปะหลังชอบฝนแต่เพลี้ยแป้งไม่ชอบฝน ถ้าฝนไม่ตกคนก็ทำเป็นฝนตกซะเอง โดยการฉีดพ่นน้ำเข้าไป ก็ได้ .... ความแห้งแล้งเป็นภาวะจำยอมโดยธรรมชาติ แม้จะต้องซื้อน้ำจากที่อื่นมาให้แก่สำปะหลังก็ต้องยอม มิเช่นนั้นจะไม่เหลืออะไรเลย แต่หากได้ให้น้ำ นอกจากสู้กับเพลี้ยแป้งได้แล้ว ยังได้ผลผลิตเพิ่มขึ้นอีกด้วย .... นี่แหละการเกษตรที่ น้ำต้องมาก่อนน้ำต้องมาก่อนและน้ำต้องมาก่อน ....... (ย้ำจัง ! )
- การลงทุนติดสปริงเกอร์แบบหัวพ่นสูงเหนือยอด (สูง 1.5 ม.) ถอดประกอบได้ แบ่งเป็นโซนๆ มีหม้อปุ๋ยหน้าโซน หลังจากทำแปลงชักร่องเสร็จก็เริ่มให้น้ำได้ และให้ น้ำ + ปุ๋ย บำรุงต้นตั้งแต่เริ่มปลูกจนถึงขุด ก่อนขุดก็ให้ถอดปสริงเกอร์ออกไว้ใช้งานใหม่ได้ .... หากไม่ใช้ระบบสปริงเกอร์ก็ต้องมีเครื่องมือในการให้น้ำแบบอื่นที่เหมาะสม เครื่องมืออะไรก็ได้ที่สามารถส่งน้ำไปให้สำปะหลัง ณ เวลาที่ต้องการและจำเป็น
- การปลูกสำปะหลังแบบเดิม (เตรียมดิน เตรียมแปลง เตรียมท่อนพันธุ์ การใส่ปุ๋ย ไม่มีการให้น้ำ) ปีไหนฝนดี ได้ผลผลิต 4-6 ตัน/ไร่ ถ้าฝนไม่ดี ได้ผลผลิต 2-4 ตัน/ไร่
สำปะหลังกับระบบน้ำ :
ระบบน้ำหยด :
- ระบบน้ำหยด หมายถึง น้ำไหลจากที่สูงไปที่ต่ำ ตามท่อไปถึงหัวน้ำหยด กรณีนี้ย่อมเป็นธรรมดาที่หัวต้นทางต้องหยด (ไหล) แรงกว่าหัวปลายทางแน่ นั่นคือ ปริมาณน้ำที่พืชแต่ละต้นได้รับไม่เท่ากัน โดยต้นแรกได้รับมากกว่าต้นท้ายปลายทาง
- น้ำที่ออกมาจากหัวน้ำหยด 1 หัว ลงพื้นได้เนื้อที่กว้างราว 30 x 30 ซม. กรณีพื้นที่สำปะหลัง 1 กอ หรือ 1 หัว กว้างราว 50 x 50 (ขนาดกลาง) ถึง 80 x 80 ซม. (ขนาดใหญ่) ปริมาณน้ำที่หยดลงมาจึงไม่ทั่วทรงพุ่ม กรณีนี้ต้องเพิ่มจำนวนหัวต่อต้นให้มากขึ้นจนเต็มพื้นที่
- ระบบน้ำหยดลงไปเฉพาะที่พื้นดิน ช่วงหน้าแล้งที่เพลี้ยแป้งสีชมพูระบาดทางใบ ต้องใช้เครื่องมือฉีดพ่นโดยเฉพาะ ..... ธรรมชาติของเพลี้ยแป้งสีชมพู ชอบความแห้งแล้งแต่ไม่ชอบความชื้น แต่น้ำจากหัวน้ำหยดที่พื้นดินไม่สามารถส่งความชื้นขึ้นไปบนต้นสำปะหลังได้ จึง ป้องกัน/กำจัด เพลี้ยแป้งสีชมพูไม่ได้
- ระบบน้ำหยด ไม่สามารถส่ง ปุ๋ย/ยา ไปกับระบบน้ำหรือทางท่อได้
สรุป :
- ระบบน้ำหยดได้ประสิทธิภาพเพียงให้น้ำทางรากเท่านั้น
- น้ำที่ไหลไปตามท่อ จากที่สูงลงไปที่ต่ำ จำนวนหัวน้ำหยดมาก ต้องใช้ เวลา/แรงงาน มาก ในการตรวจว่า หัวไหนอุดตันหรือไม่
ระบบหัวพ่นน้ำ :
- ติดสปริงเกอร์ระบบกะเหรี่ยง ถอด/ประกอบ ได้ นั่นคือ หลังเตรียมดิน
- เตรียมแปลงเสร็จให้ประกอบ ติดสปริงเกอร์แต่ละครั้งใช้งานนาน 8-9 เดือน ..... แปลงผักบางที่ ถอด/ประกอบ สปริงเกอร์ครั้งละ 3 เดือน (เตรียมแปลง ถึง เก็บเกี่ยว)
- หัวพ่นน้ำรัศมี 4 ม. พ่นน้ำออกไปโดนใบแล้วตกลงดิน เท่ากับเป็นการให้น้ำทางรากไปในตัว
- สปริงเกอร์มีหม้อปุ๋ยหน้าโซน หรือถังปุ๋ยที่ปั๊ม ให้ปุ๋ยสูตรสำปะหลังโดนใบ ผ่านปากใบเข้าสู่ต้น ตกลงดิน รากดูดเข้าสู่ต้น เท่ากับได้ 2 เด้ง
- น้ำเปล่า หรือ น้ำ+ปุ๋ย สร้างความชื้นทั่วแปลง ช่วย ป้องกัน/กำจัด เพลี้ยแป้งสีชมพู และศัตรูพืชอื่นๆได้อีกด้วย
ระบบโอเวอร์เฮด :
- ใช้แบบเคลื่อนที่ เข้า-ออก แปลงได้ทุกเวลาที่ต้องการ
- รัศมีพ่นน้ำอยู่ที่รุ่นหรือแบบ
- มีหม้อปุ๋ยหน้าโซน หรือถังปุ๋ยที่ปั๊ม ให้ปุ๋ยสูตรสำปะหลังโดนใบ ผ่านปากใบเข้าสู่ต้น ตกลงดิน รากดูดเข้าสู่ต้น เท่ากับได้ 2 เด้ง
- น้ำเปล่า หรือ น้ำ+ปุ๋ย สร้างความชื้นทั่วแปลง ช่วย ป้องกัน/กำจัด เพลี้ยแป้งสีชมพู และศัตรูพืชอื่นๆได้อีกด้วย เหมือนสปริงเกอร์แบบหัวพ่น
หมายเหตุ :
- ระบบน้ำหยดเหมาะสำหรับพืชในถุง หรือภาชนะปลูก เพราะสามารถควบคุมปริมาณน้ำทั้งหมดให้อยู่ในพื้นที่ๆต้องการได้ และระบบรากอยู่ในพื้นที่จำกัดจึงรับน้ำได้
- ข้ออ้างที่ว่า น้ำหยดเป็นการใช้น้ำอย่างประหยัด ในความเป็นจริงนั้น ต้นพืชไม่รู้จักประหยัด เขาใช้เท่าที่ใช้จริงกินจริงเท่านั้น หากต้องการให้เขาโตก็ต้องให้เขา
ปาล์มน้ำมัน
สวนปาล์มย้ำมัน คุณอักษร น้อยสว่าง หนองเสือ ปทุมธานี (02) 059-9996
สังเกต : สวนยกร่องน้ำหล่อ ต้นปาล์มได้น้ำทางราก และความชื้นทางใบ
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับปาล์มน้ำมัน :
- ปาล์มต้องการน้ำมาก ต้องการความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศสูง สังเกต ปาล์มน้ำมันภาคใต้ ที่นั่น ฝนแปด-แดดสี่ กับตามลำต้นจะมีพืชประเภท เฟิร์น-มอสส์ ขึ้น พืชพวกนี้ไม่ใช่กาฝากที่ดูดกินน้ำเลี้ยงจากปาล์ม ตรงกันข้าม กลับสร้างความชุ่มชื้นให้แก่ต้นปาล์มอย่างดีอีกด้วย
- เดือนใดของปีนี้ ปาล์มน้ำมันขาดน้ำ เดือนเดียวกันนี้ของปีรุ่งขึ้น ผลจะขาดคอ คือ ไม่ออกจั่น
- ช่วงใดปาล์มขาดน้ำหรือกระทบแล้งมาก ช่วงนั้นจั่นหรือดอกที่ออกมาจะเป็นตัวผู้มากกว่าตัวเมีย หรืออาจจะเป็นตัวผู้ทั้งหมดก็ได้
- ระยะห่างระหว่างต้นเมื่อต้นเริ่มให้ผลผลิตแล้ว ไม่ควรห่างกันจนแดดจัดส่องลงพื้นดินได้ แล้วก็ต้องไม่ปลายทางชนกัน เกยกัน จนแสงแดดส่องลงพื้นไม่ได้
- สารอาหารหรือปุ๋ยที่ปาล์มน้ำมันต้องการ คือ แม็กเนเซียม. สังกะสี. กำมะถัน. โบรอน. เป็นตัวหลัก ที่เหลือเป็นตัว เสริม/เติม/เพิ่ม/บวก ตามความจำเป็นหรือตามความเหมาะสม อีกทั้งวัสดุที่เหลือ ใช้จากกระบวนการสกัดน้ำมันปาล์ม เช่น กะลาปาล์ม เส้นใยปาล์ม สามารถนำมาเป็นเชื้อเพลิงให้ความร้อน เพื่อแปลงเป็นพลังงานไฟฟ้าได้อีกด้วย...ส่วนกากเนื้อในปาล์ม สามารถนำมาเป็นส่วนผสมอาหารสัตว์ ที่ให้ ทั้งโปรตีนและพลังงานสูง ส่วนที่มีความสำคัญที่เหลือจากกระบวนการสกัดน้ำมันอีกอย่าง คือ ทะลายปาล์มเปล่า ซึ่งเป็นแหล่งของ อินทรียวัตถุ อย่างดี เมื่อย่อยสลายจะให้ ธาตุโปแตสเซียมค่อนข้างสูง
บำรุง :
- พืชตระกูลปาล์ม คือ ปาล์มน้ำมัน มะพร้าว หมาก จาก อินทผลัม ปลูกในสวนยกร่องน้ำหล่อดีที่สุด .... พืชตระกูลปาล์ม เดือนใดของปีนี้ขาดน้ำ เดือนเดียวกันของปีรุ่งขึ้น ทะลายจะขาดคอ ดอกที่ออกมาจะกลายเป็นดอกตัวผู้ทั้งหมด ไม่ติดลูก นั่นคือ พืชตระกูลปาล์มตอบสนอง ต่อน้ำและปุ๋ยข้ามปี .... ให้น้ำให้ปุ๋ยปีนี้ ต้นจะออกดอกให้ผลในปีหน้า
- สวนยกร่องน้ำหล่อ ได้น้ำหล่อเลี้ยงต้นปาล์มทางรากแล้ว น้ำที่ระเหยขึ้นไปในอากาศ ทำให้เกิดความชื้นสัมพัทธ์ ยังช่วยบำรุงปาล์มอีกทางหนึ่ง พืชตระกูลปาล์มชอบแบบนี้....น้ำในร่องยังใช้ประโยชน์อย่างอื่นได้อีก ถ้าขยันพอ เลี้ยงปลาในร่อง เลี้ยงกบริมร่อง เลี้ยงกบในกระชัง แม้แต่เลี้ยงเป็ด เลี้ยงห่าน ได้ทั้งนั้น ดีนะ จะได้มีปุ๋ยคอกทั้งในน้ำบนบกบำรุงปาล์มอีกด้วย
บำรุงปาล์มน้ำมัน :
ทางราก :
- ใส่ยิบซั่ม ปุ๋ยอินทรีย์ กระดูกป่น, ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ ปีละ 2 ครั้ง
- ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 8-24-24 (2 ล.) /ไร่ /เดือน รดทั่วแปลงทุกตารางนิ้ว
- ให้ขี้แดดนาเกลือ หรือเกลือแกง 1 กก. /ต้น /ปี
- ใส่กากทะลายปาล์มจากโรงงาน คลุมโคนต้น 2 ปี /ครั้ง
- ให้น้ำสม่ำเสมอ พอหน้าดินชื้น
ทางใบ :
- ให้ไบโออิ 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ หางกันรอบละ 15-20 วัน
หมายเหตุ :
- พืชตระกูลปาล์ม ชอบและตอบสนองต่อ แม็กเนเซียม-สังกะสี ดีมากๆ
- ปาล์มน้ำมัน จ.ชุมพร กว่า 20,000 ไร่ ถึงยิบซั่ม ได้ผลผลิตดีมากๆ
ปาล์มน้ำมัน :
ช่วงหน้าแล้งหรือน้ำน้อย ใช้ปุ๋ย สูตร 15-30-15 (1:2:1) .... ช่วงหน้าฝนหรือน้ำสม่ำเสมอ ใช้สูตร 9-27-9 (1:3:1) .... เป็นปุ๋ยทางรากทั้ง 2 สูตร....จะช่วยบำรุงให้ "ดอกดก-ผลดก- ผลใหญ่" หากมีการให้เสริมหรือเพิ่มทางใบด้วย 21-7-14 (3:1:2) ก็จะดีขึ้นไปอีก
เทคนิคการให้ปุ๋ยทางรากสูตร 15-30-15 หรือ 9-27-9 สูตรใดสูตรหนึ่งตามสภาพแวดล้อมแล้ว สลับด้วย 6-24-24 (1:4:4) จะช่วยเพิ่มเปอร์เซ็นต์น้ำมันให้ดียิ่งขึ้น
การให้ แคลเซียม โบรอน.สม่ำเสมอจะช่วยบำรุงสร้างเนื้อ. เปลือก.
การให้ยิบซั่ม. สม่ำเสมอทำให้ได้กำมะถัน. จะช่วยสร้างกลิ่น
ยางพารา
ยางพาราต้นแรก กับความภาคภูมิใจของชาวบ้านโซ่พิสัย บึงกาฬ
http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=1468490474
พันธุ์น้ำยางสูง : พันธุ์สถาบันวิจัยยาง 251, สถาบันวิจัยยาง 226, BPM 24, RRIM 600
พันธุ์ให้เนื้อไม้สูง : ฉะเชิงเทรา 50, AVPOS 2037, BPM 1, ฉะเชิงเทรา 50 (RRIT 402)
พันธุ์ให้น้ำยางและเนื้อไม้สูง : PB 235, PB 255, PB 260, RRIC 110, PB 235
พันธุ์ใหม่ ทนแล้ง : "RRIT 408" เหมาะสำหรับปลูกในพื้นที่ภาคอีสาน
http://pararubbertips.blogspot.com/2013/05/blog-post_7347.html
บำรุง ภาคอื่น :
ทางราก : ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพ ระเบิดเถิดเทิง 21-7-14 (2 ล.) /ไร่ /2 เดือน รดทั่วแปลงทุกตารางนิ้ว +21-7-14 (1/2 กก.) /ต้น /2 เดือน ละลายน้ำรดโคนต้น บริเวณทรงพุ่ม
ทางใบ : ใช้ "ยูเรก้า" 1-2 เดือน/ครั้ง
บำรุง ภาคไต้ :
ทางราก : ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพ ระเบิดเถิดเทิง 18-9-18 (2 ล.) /ไร่ /2 เดือน รดทั่วแปลงทุกตารางนิ้ว +21-7-14 (1/2 กก.) /ต้น /2 เดือน ละลายน้ำรดโคนต้น บริเวณทรงพุ่ม
ทางใบ : ใช้ "ยูเรก้า" 1-2 เดือน/ครั้ง
กระชายแซมในสวนยางพารา
http://projectd.idublog.com
------------------------------------------------------------------------------
.
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 06/01/2024 9:03 am, แก้ไขทั้งหมด 20 ครั้ง |
|