-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ปลูกผักสวนครัว แนวทางอินทรีย์ตกขอบ
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ปลูกผักสวนครัว แนวทางอินทรีย์ตกขอบ
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ปลูกผักสวนครัว แนวทางอินทรีย์ตกขอบ

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 27/08/2009 12:23 pm    ชื่อกระทู้: ปลูกผักสวนครัว แนวทางอินทรีย์ตกขอบ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ลุงคิมคะ

จากแนวทางของลุงคิมและประสบการณ์ตรงของกลุ่มสมาชิก
ชมรมสีสันชืวิตไทย

ถ้าเราจะปลูกผักสวนครัว ให้ได้คุณภาพเกรดเอ โดยไม่ใช้ปุ๋ย
เคมีเลย ไม่ทราบว่าเราจะทำได้หรือเปล่าคะ?
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 30/08/2009 9:09 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

กล่าวนำ :
สิ่งมีชีวิต มนุษย์-สัตว์-พืช-จุลินทรีย์ ต่างมีความต้องการ “สารอาหาร” เพื่อการ
ดำรงชีวิตเหมือนกันทั้งสิ้น ต่างกันที่ ต้องการสารอาหารตัวไหน.....ปริมาณ
เท่าไร.....อยู่ในรูปใด.........ช่วงพัฒนาการใด......เงื่อนไขสภาวะแวดล้อมอย่าง
ไร.....ฯลฯ

สารอาหารสำหรับ มนุษย์-สัตว์-พืช-จุลินทรีย์ ดังกล่าว ประกอบด้วย ธาตุต่างๆ
ได้แก่ ไนโตรเจน – ฟอสฟอรัส – โปแตสเซียม - แคลเซียม –แม็กเนเซียม -
กำมะถัน – เหล็ก – ทองแดง – สังกะสี – แมงกานิส –โมลิบดินั่ม – โบรอน – ซิลิ
ก้า – โซเดียม - คลอรีน – ฯลฯ โดยทั่วไปเรียกว่า “ปุ๋ย” ซึ่งหมายถึงสารอาหาร
สำหรับพืชโดยเฉพาะ และฮอร์โมน ได้แก่ จิ๊บเบอเรลลิน – เอ็นเอเอ – ไซโต
คินนิน – ไคตินไคโตซาน –อีเทฟอน – อีเทรล – พาโคลบิวทาโซล – ไอบีเอ -
ฯลฯ ทั้งนี้ฮอร์โมนไม่ใช่ปุ๋ยและไม่ใช่สารอาหาร แต่เป็นสารตัวหนึ่งที่พืชมีความต้อง
การเพื่อพัฒนาการ.....ธาตุและฮอร์โมน แต่ละตัวมีประสิทธิภาพหรือมีประโยชน์
ต่างกันเมื่อใช้กับสิ่งมีชีวิตที่ต่างกัน ในขณะที่สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด ต้องการธาตุ
อาหารและฮอร์โมน ในสถานะที่ต่างรูปกัน

หมายเหตุ :
จุลินทรีย์. ไม่ใช่สารอาหาร หรือปุ๋ย หรือฮอร์โมน. แต่เป็นสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่ง มี
หน้าที่ผลิตสารอาหารและสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมให้แก่พืช



แหล่งที่มาของธาตุอาหารและฮอร์โมน

1. กำเนิดจากงธรรมชาติ เรียกว่า " อินทรีย์สาร,สารอินทรีย์"
หรือ " ปุ๋ยอินทรีย์, ฮอร์โมนธรรมชาติ"

2. กำเนิดโดยการสังเคราะห์(มนุษย์ผลิตขึ้นมา) เรียกว่า " อนิน
ทรีย์สาร หรือ สารสังเคราะห์
- ถ้าเป็น "ปุ๋ย" จะเรียกว่า " ปุ๋ยเคมี หรือ ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ และ
ถ้าเป็น “ฮอร์โมน” ก็จะเรียกว่า “ฮอร์โมนวิทยาศาสตร์”
- ทั้งสารอาหาร-ฮอร์โมน ที่มาจากแหล่งธรรมชาติและโดย
การสังเคราะห์ต่างก็มี “จุดด้อย-จุดเด่น” เฉพาะตัว


หลักการและเหตุผล :

1…… เกษตรอินทรีย์หรือพืชอินทรีย์ หมายถึง การทำเกษตร
หรือปลูกพืชโดยปฏิเสธปุ๋ยเคมี หรือปุ๋ยวิทยาศาสตร์ ฮอร์โมน
วิทยาศาสตร์ และสารสังเคราะห์ทุกชนิดอย่างสิ้นเชิง

2...... ในขณะที่พืชต้องพัฒนาการนั้นพืชย่อมต้องการสารอา
หาร เมื่อปฏิเสธสารอาหารประเภทสารสังเคราะห์ก็จะต้องมีสาร
อาหารประเภทสารอินทรีย์-ฮอร์โมนธรรมชาติทดแทน โดยที่
“ชนิด-ปริมาณ” ต้องพอเพียงต่อความต้องการของพืชที่ปลูก


สารอินทรีย์แทนสารสังเคราะห์:

1. สารอาหารในน้ำหมักชีวภาพ

น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง สูตรข้ามปี.
มีส่วนผสม
ที่มาจากสิ่งมีชีวิต (อินทรีย์วัตถุ) ได้แก่ ปลาทะเล. กากน้ำตาล.
จุลินทรีย์. สับปะรด. น้ำมะพร้าว. เลือด. ไขกระดูก. มูลค้างคาว.
นม. ผ่านกรรมวิธีในการหมักอย่างเหมาะสมนานข้ามปี (2-3 ปี)
จนเกิดสารอาหารและฮอร์โมนในรูปที่พืชสามารถนำไปใช้เพื่อพัฒ
นาการได้ส่วนผสมในน้ำหมักฯ ทุกตัวมีสารอาหารและฮอร์โมน
ต่างๆเป็นองค์ประกอบเฉพาะตัวอยู่แล้ว เมื่อเข้าสู่กระบวนการเอ็น
ไซม์โดยมีจุลินทรีย์เป็นตัวดำเนินการ สารอาหารและฮอร์โมนใน
องค์ประกอบเหล่านั้นจะเปลี่ยนรูปมาอยู่ในรูปที่พืชสามารถนำไปใช้
ได้ทันที

หมายเหตุ :
- ในกากน้ำตาลใหม่มีสารที่เป็นพิษต่อพืชอยู่ 18 ชนิด อันเกิดจาก
กระบวนการผลิตระดับอุตสาหกรรม แต่เมื่อกากน้ำตาลใหม่ได้เข้าสู่
กระบวนการหมักนานข้ามปี สารพิษเหล่านั่นจะสลายไปเองจนกลาย
เป็นกากน้ำตาลบริสุทธิ์ ...... การสลายสารพิษในกากน้ำตาลอีกวิธี
หนึ่ง ที่ได้ผล คือ ต้มกากน้ำตาลด้วยความร้อน 70 องศาเซลเซียส
นาน 30 นาที
- ในกระบวนการย่อยสลายโดยต่อซากพืชและสัตว์ทำให้ได้ “ฮิวมัส”
ซึ่งประกอบด้วย โพลิตินอล. ควินนอยด์. อโรเมติค แอซิด. ซิลิลิค
แอซิด. ออร์แกนิค แอซิด. ไตรโครเดอร์มา. แอ็คติโนมัยซิส. คีโต
เมียม. ไรโซเบียม. ไมโครไรซ่า. ไรซ็อคโธเนีย. แบคทีเรีย. ไซโต
คินนิน. ไคโตซาน. จิ๊บเบอเรลลิน. อ๊อกซิน. และท็อกซิก.......
นอกจากนี้ โปรตีน.จากซากสัตว์ยังเปลี่ยนรูปเป็น “อะมิโน โปรตีน”
ซึ่งเป็นสารอาหารพืชโดยตรงอีกด้วย


น้ำหมักชีวภาพ สูตรกล้อมแกล้ม
มีส่วนผสมของ “พืชและ
ซากสัตว์” เป็นหลัก หากพิจารณาเลือกใช้เฉพาะส่วนผสมที่เป็นพืช
เพื่อให้ได้ “วิตามิน-แร่ธาตุ” ก็จะเป็นการเสริมทั้ง “ชนิด และ ปริมาณ”
ของสารอาหารให้มากขึ้น

หมายเหตุ :
- ในซากสัตว์ประกอบด้วย “โปรตีน” เป็นหลัก ในขณะที่ซากพืชประ
กอบด้วย “วิตามิน – แร่ธาตุ – ฮอร์โมน” เป็นหลัก
- ในซากพืชประกอบด้วย ธาตุหลัก – ธาตุรอง – ธาตุเสริม – ฮอร์โมน
ครบทุกตัวเป็นสารอินทรีย์ที่พืชสามารถนำไปใช้ได้ทันที ส่วนปริมาณ
หรือชนิดของธาตุต่างๆจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับชนิดของพืชที่นำเข้า
กระบวนการและกรรมวิธีในการหมัก
- เลือกสรรพืชและสัตว์ที่มีสารอาหารธรรมชาติ (รายละเอียดที่ “เมนูหลัก
– อินทรีย์ชีวภาพ – สารอาหารพืชในธรรมชาติ) นำมาเข้ากระบวนการหมัก
– สารอาหารจากนมสดใหม่. นมสดหมัก. นมเปรี้ยวหรือโยเกิร์ต. น้ำ
ตาลสดจากมะพร้าว/ตาล/จาก.
– สารอาหารจากมูลสัตว์ตั้งท้องสดใหม่ละลายน้ำ (กรองกากออกใช้แต่น้ำ)


2. ฮอร์โมนธรรมชาติ
พิจารณาเลือกใช้ฮอร์โมนธรรมชาติอย่าง
แท้จริง ได้แก่ ฮอร์โมนสมส่วน. ฮอร์โมนเขียว. ฮอร์โมนนมสดน้ำซาว
ข้าว. (รายละเอียดที่ “เมนูหลัก –ฮอร์โมน)

หมายเหตุ
– ข้อจำกัดของฮอร์โมนธรรมชาตินอกจาก ความไม่เสถียรแล้วยังมีปริมาณ
ที่น้อยและไม่คงที่ด้วย



3. จุลินทรีย์
พิจารณาเลือกใช้น้ำผักดองเพื่อหลักเลี่ยงการใช้
กากน้ำตาลที่อาจมีสารพิษเจือปน หรือหากจำเป็นต้องใช้จุลินทรีย์ที่กระ
บวนการผลิตมีกากน้ำตาลเป็นส่วนผสม ก็จะต้องสลายพิษด้วยความร้อน
ก่อน

หมายเหตุ :
- จุลินทรีย์มีหลายกลุ่ม แต่ละกลุ่มมีคุณสมบัติต่อพืชไม่เหมือนกัน ดังนั้น
การใช้จุลินทรีย์ควรเลือกสรรจุลินทรีย์ที่เหมาะสมต่อพืชที่ปลูก



4. อินทรีย์วัตถุ
หมายถึงมูลสัตว์ พิจารณาเลือกชนิดของมูล
สัตว์ที่มีสารอาหารตรงกับชนิดของพืชที่ปลูก (รายละเอียดที่ “เมนูหลัก
– อินทรีย์ชีวภาพ – แหล่งธาตุอาหารพืช” ) สารอาหารพืชในธรรมชา
ติ มูลสัตว์ที่ใช้จะต้องผ่านการหมักหรือเก่าค้างปี และไม่ควรใช้มูลสัตว์
ที่ได้รับสารหรือฮอร์โมนวิทยาศาสตร์

หมายเหตุ :
- การใช้สารปรับปรุงบำรุงดินจากธรรมชาติ เช่น ยิบซั่ม. กระดูกป่น.
ขี้แดดนาเกลือ. ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยของการผลิตเกษตรอินทรีย์ที่สา
มารถใช้ได้



แนวทางการปฏิบัติ
1. เตรียมดิน

เป็นขั้นตอนสำคัญที่สุดของการเพาะปลูก นัยว่า ดินดีได้แล้วกว่าครึ่ง
ทั้งนี้ปริมาณสารอาหารทั้งสิ้นที่ต้นพืชใช้เพื่อพัฒนาการนั้น จำนวน
3 ใน 4 ส่วนได้จากดิน เมื่อมีเป้าหมายจะไม่ใช้ “ปุ๋ยเคมี” เลยนี้ จึง
จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องให้มี “ปุ๋ยอินทรีย์” ทดแทน แนวทางในการสร้าง
ปุ๋ยอินทรีย์ให้มีในดินตามขั้นตอน ดังนี้


ขั้นตอนที่ 1
........ ไถดินให้ได้ขี้ไถขนาดใหญ่ ไถแล้วปล่อย
ตากแดดจัด 15-20 แดด เพื่อกำจัดเชื้อโรค ระหว่างนี้ถ้ามีฝนตกวันใด
ต้องไถใหม่แล้วเริ่มนับ 1 วันตากแดดใหม่

ขั้นตอนที่ 2
..... ครบกำหนดตากแดดดินแล้ว รดด้วยน้ำหมัก
ชีวภาพระเบิดเถิดเทิง แล้วไถพรวนให้น้ำหมักคลุกเคล้าเข้ากับเนื้อดิน
จนทั่ว

ขั้นตอนที่ 3
...... หว่านเมล็ดถั่วปรับปรุงบำรุงดิน บำรุงเลี้ยงต้น
ถั่วจนเริ่มออกดอกให้ไถกลบต้นถั่วลงดิน ไถรอบแรกแล้วให้หว่านปุ๋ยอิน
ทรีย์หรือมูลสัตว์ที่มีสารอาหารธรรมชารติตรงกับประเภทของพืชที่ปลูก
โดยปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยคอกต้องผ่านการหมักจนพร้อมใช้แล้ว จากนั้น
ไถพรวนอีก 1-2 ครั้งเพื่อให้เศษซากต้นถั่วและปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยคอก
กระจายทั่วแปลงดีๆ ไถกลบดินเสร็จแล้วรดด้วยน้ำหมักชีวภาพระเบิด
เถิดเทิง

ขั้นตอนที่ 4
..... คลุมหน้าดินด้วยฟางหรือหญ้าแห้งหนาๆ
เพื่อรักษาความชื้นหน้าดิน


2. เตรียมแปลง

ทำแปลงปลูกกว้าง 2-3 ม. ยาวตามความเหมาะสม ยกแปลงปลูกให้
สูงจากพื้นระดับ 30-50 ซม. สันแปลงราบ หรือโค้งหลังเต่า


3. เตรียมเมล็ดพันธุ์


ขั้นตอนที่ 1
...... ตรวจสอบเมล็ดพันธุ์โดยแช่ในน้ำละลายเกลือ
(น้ำ + เกลือ ...... วางไข่สดลงน้ำ ไข่ลอยน้ำ ส่วนของไข่ที่ลอยพ้นน้ำ
ขนาดเท่าเหรียญ 5 บาท ถือว่าความเข้มข้นใช้ได้) ใส่เมล็ดพันธุ์ลงไป
คนๆแล้วคัดเลือกเมล็ดที่ลอยน้ำทิ้ง เพราะเสื่อมคุณภาพ เมื่อนำไปเพาะ
หรือปลูกแล้วไม่งอก เลือกใช้เฉพาะเมล็ดจมน้ำ

ขั้นตอนที่ 2
...... แช่เมล็ดพันธุ์ใน “น้ำ 1 ล. + ไคโตซาน 10
ซีซี.” นาน 6-12 ชม. แล้วจึงนำไปเพาะหรือปลูก


4. ขั้นตอนการบำรุง
ระยะต้นเล็ก

- ให้ “น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง” ทุก 3-4 วัน
- ให้ “สารสกัดสมุนไพร” ทุก 2-3 วัน
– ให้น้ำตามปกติ

ระยะต้นโต ถึง เก็บเกี่ยว

– ให้ “น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง” ทุก 3-4 วัน
- ให้ “ฮอร์โมนสมส่วน หรือ ฮอร์โมนเขียว” ทุก 5-7 วัน
– ให้ “สารสกัดสมุนไพร” ทุก 2-3 วัน – ให้น้ำตามปกติ

หมายเหตุ :
- การให้น้ำปกติ หมายถึง ชนิดของพืชที่ปลูกซึ่งต้องการน้ำมากหรือ
น้อยไม่เท่ากัน
- การเพิ่มปริมาณสารอินทรีย์จากวัสดุส่าวนผสมบางตัว สำหรับพืช
บางชนิด เช่น สารอินทรีย์จากเลือดจะช่วยเพิ่มน้ำหนักแก่ผักกินใบ
หรือเพิ่มสารอินทรีย์จากนมสดหรือโยเกิร์ตจะช่วยให้ผักกินใบอย่าง
ผักชีโตเร็ว รากใหญ่ เป็นต้น
– นอกจากน้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิงแล้ว อาจพิจารณาใช้น้ำหมัก
ชีวภาพสูตรกล้อมแกล้มซึ่งมีวิตามิน.แร่ธาตุ.ที่ได้จากวัสดุส่วนผสมประ
เภทพืชแทน หรือร่วม หรือเสริม ก็จะทำให้พืชได้รับทั้งปริมาณและชนิด
ของสารอาหารเพิ่มขึ้น
– เนื่องจากปริมาณสารอาหารและฮอร์โมนในน้ำหมัก (ทุกสูตร) มีปริมาณ
ไม่มากนัก ดังนั้นเพื่อประกันความพอเพียงต่อความต้องการของพืชที่
ปลูก จึงควรให้บ่อยๆ โดยถือหลัก “ให้น้อย – บ่อยครั้ง” ซึ่งอาจจะถี่
ระดับวันเว้นวันก็ได้ ก็จะช่วยช่วยให้พืชเจริญเติบโตมีคุณภาพดีได้
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©