-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-* หัวใจเกษตรไท ท้อง 3 "เทคโนโลยี "
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - * หัวใจเกษตรไท ท้อง 3 "เทคโนโลยี "
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

* หัวใจเกษตรไท ท้อง 3 "เทคโนโลยี "

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 25/01/2024 8:37 am    ชื่อกระทู้: * หัวใจเกษตรไท ท้อง 3 "เทคโนโลยี " ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.

******************************************************

หัวใจเกษตรไท ห้อง 3 “เทคโนโลยี”

** ขาดทุนเพราะเทคโนโลยีผิด หรือปฏิเสธเทคโนโลยี 20%
** ซูเรียม พรีเมียม เกรด เอ. จัมโบ้ โกอินเตอร์ ขึ้นห้าง ออกนอกฤดู ปลอดสาร เคมี คนนิยม ไม่พอขาย จองล่วงหน้าข้ามปี

** เครื่องทุ่นแรง ประหยัด เพิ่มประสิทธิภาพประสิทธิผลเนื้องาน กว่า 100 เท่า

** นาข้าว 2รุ่น ล้างหนี้ 1ล้านแล้ว ยังเหลือ 2ล้าน
** ขายข้าว 1 แสน เหลือเงิน 40 บาท

** ชาวนาญี่ปุ่น ต้นทุน 23,000 ขายได้ 100,000
** ชาวนาไทย ต้นทุน 3,000 ขายได้ 100,000

****************************************************



หลักการละเหตุผล :
เทคโนโลยี คือ การนำความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติให้เกิดผลเป็นสิ่งที่วัดได้ หรือจับต้องได้ เทคโนโลยีจะอยู่ภายใต้อิทธิพลของปัจจัยทางเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้นเทคโนโลยีจึงถูกกำหนดเป็นสินค้าอย่างหนึ่งที่มีราคาซื้อขายกันในตลาด

เทคโนโลยีชีวภาพ คือ เทคโนโลยีซึ่งนำเอาความรู้ทางด้านต่างๆ ของวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้กับสิ่งมีชีวิต หรือชิ้นส่วนของสิ่งมีชีวิต หรือผลผลิตของสิ่งมีชีวิต เพื่อเป็นประโยชน์ต่อมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นทางการผลิต หรือทางกระบวนการของสินค้า หรือบริการ เพื่อใช้ประโยชน์เฉพาะอย่างตามที่ต้องการ สามารถใช้ประโยชน์ทางด้านต่างๆ เช่น เกษตร อาหาร สิ่งแวดล้อม การแพทย์ เป็นต้น
http://www.thaibiotech.info/biotechnology-herbal-medicine.php

เทคโนโลยีการเกษตร :
ผักอินทรีย์ :
หมายถึง ผักที่ผลิตจากวัตถุธรรมชาติ 100% ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี ไม่ใช้สารเคมียาฆ่าแมลงและสารกำจัดวัชพืช ไม่ใช้ฮอร์โมนสังเคราะห์ และไม่ใช้เมล็ดพันธุ์ดัดแปลงพันธุกรรม

ปุ๋ยอินทรีย์ : หมายถึง สารอาหารพืชที่ได้จากการวัสดุธรรมชาติ ที่ผ่านกระบวน การผลิตอย่างถูกต้องเหมาะสม จนพืชสามารถรับได้ ทั้งทาง และ/หรือ ทางราก เช่น น้ำหมักชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง (วัสดุธรรมชาติ : กุ้งหอยปูปลาทะเล เลือด ไขกระดูก นม น้ำมะพร้าว มูลค้างคาว)

ผักปลอดสารพิษ : หมายถึง ผักที่ไม่มีสารเคมียาฆ่าแมลงตกค้าง ในผลผลิตมีสารตกค้างไม่เกินระดับมาตรฐานที่กำหนด

ผักไร้สารพิษ : หมายถึง ผักที่ไม่ใช้สารเคมียาฆ่า หรือปุ๋ยเคมี แต่ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ในผลผลิตต้องไม่มีสารพิษใดๆตกค้าง ทั้งสิ้น

ผักอนามัย : หมายถึง ผักที่ใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช ใช้ปุ๋ยเคมีเพื่อการเจริญ เติบโตได้ มีสารตกค้างไม่เกินปริมาณที่กำหนด มีวิธีการปฏิบัติก่อนและหลังการเก็บเกี่ยว การขนส่ง และการบรรจุหีบห่อมาตรฐาน

ไม่ไถพรวน : หมายถึง การไม่ไถพรวน คือ พื้นฐานของเกษตรธรรมชาติ เนื่องมาจากธรรมชาตินั้น พื้นดินมีการไถพรวนโดยตัวของมันเองอยู่แล้ว โดยการแทรกชอนของรากพืช และการกระทำของจุลินทรีย์ทั้งหลาย รวมถึงสัตว์เล็กๆ และไส้เดือน

งดเว้นปุ๋ยเคมี : หมายถึง การปล่อยให้ดินอยู่ในสภาพของมันเอง ดินจะสามารถรักษาความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติเอาไว้ได้ ซึ่งเป็นไปตามวงจรพืชและสัตว์อย่างเป็นระเบียบเกษตรยั่งยืนแบบไร้สารพิษ

ไม่กำจัดศัตรูพืช : หมายถึง วัชพืช ที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดิน และช่วยให้เกิดความสมดุลในสิ่งแวดล้อมทางชีวภาพ

ไม่ใช้สารเคมี : หมยถึง ในสภาพของเกษตรธรรมชาตินั้น หากปล่อยไว้ตามลำพังจะอยู่ในสภาพที่สมดุล แมลงที่เป็นอันตราย และโรคพืชมักมีเสมอ แต่ไม่เคยเกิดขึ้นในธรรมชาติ จนถึงระดับที่ต้องใช้สารเคมีที่มีพิษเกษตรยั่งยืนแบบไร้สารพิษ หมายถึง ระบบการผลิตที่ไม่ใช้สารเคมีใดๆทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นสารเคมีเพื่อป้องกันหรือปราบปรามศัตรูพืชหรือปุ๋ยเคมีทุกชนิด จะใช้แต่ปุ๋ยอินทรีย์ทั้งหมดและผลผลิตที่เก็บเกี่ยวแล้ว ต้องไม่มีสารพิษใดๆ ทั้งสิ้น

( “สาระน่ารู้” เทคโนโลยีชาวบ้าน. 2545 : 55 )

เตรียมดิน เตรียมแปลง :
เกษตร อินทรีย์-เคมี ผสมผสาน :

- ไถดิน ขี้ไถขนาดใหญ่ ตากแดดจัด 15 แดด ถ้าฝนตกให้ไถใหม่เริ่มนับ 1 ตากแดดใหม่

- ตากแดดดินครบกำหนด ใส่อินทรีย์วัตถุ "ยิบซั่ม ปุ๋ยอินทรีย์ กระดูกป่น. ขี้วัวขี้ไก่แกลบเก่า" ผสมเข้ากันแล้วหว่านทั่วแปลง แล้วไถพรวน ปรับสันแปลงให้เป็นหลังเต่า คลุมหน้าแปลงด้วยฟางหนาๆ

- คลุมหน้าแปลงแล้วรดด้วยน้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 แล้วทิ้งไว้ 10-20 วัน จึงลงมือปลูก (หว่านเมล็ด ปลูกกล้า)

( ไม่ต้องปุ๋ยเคมี รองพื้น-แต่งหน้า-กระแทก-กระทุ้ง เพราะในน้ำหมักระเบิดเถิดเทิงมีแล้ว อนาคตยังมีทางใบ ทั้งปุ๋ยเคมีและฮอร์โมนธรรมชาติ ให้อีก ที่สำคัญ ดินดี ได้แล้วกว่าครึ่ง ดินไม่ดี เสียแล้วกว่าครึ่ง .... เอาเงินค่าปุ๋ยเคมีมาซื้อปุ๋ยอินทรีย์ จ่ายน้อยกว่า แต่ประโยชน์ต่อพืชมากกว่า )

หมายเหตุ :
- ระยะเวลาจากให้น้ำหมักฯ 10-20 วัน เป็นการบ่มดิน เพื่อให้เวลาแก่จุลินทรีย์เข้าทำการย่อยสลายอินทรีย์วัตถุและปรับสภาพดิน

- น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิงมีส่วนผสม "ปลาทะเล. กากน้ำตาล. เลือด. ขี้ค้าง คาว. ไขกระดูก. นม. น้ำมะพร้าว." หมักนานข้าม 1-2-3 ปี จากส่วน ผสมทุกอย่างเป็น "อินทรีย์" แท้ๆ .... เมื่อเติม 30-0-0, แม็กเนเซียม, สังกะสี, ธาตุรอง/ธาตุเสริม ลงไปเป็น “เคมี” นี่คือ อินทรีย์เคมี ผสมผสาน

- อย่ากังวลว่า ไม่ใส่ปุ๋ยเคมี รองพื้น-แต่งหน้า-กระทุ้ง-กระแทก แล้วต้นผักจะไม่โต สาเหตุที่ผักไม่โตไม่ใช่เพราะปุ๋ยน้อย แต่เป็นเพราะ “ดิน” .... ตราบใดที่ดินไม่ดี ดินไม่สมบูรณ์ ดินไม่มีอินทรีย์วัตถุ ดินไม่มีจุลินทรีย์ ดินเป็นกรด ต่อให้ใส่ปุ๋ยไร่ละกระสอบ สองสามกระสอบ ใส่ไร่ละตันต้นผักก็ไม่โต ตรงกันข้าม จะเล็กลงๆ ๆๆ เพราะ “ปุ๋ยเป็นพิษ-ดินไม่กินปุ๋ย”

- กรณีพืชอายุสั้น ฤดูกาลเดียว (พืชสวนครัว-พืชไร่-ไม้ดอก-นาข้าว) จำนวนต้นมากต่อพื้นที่ปลูก นั่นคือ ระบบรากย่อมกระจายไปทั่วทุกตารางนิ้วของพื้นที่ปลูกในแปลง การใส่ปุ๋ยชนิดเม็ด (อินทรีย์อัดเม็ด-เคมี) โดย “หว่านด้วยมือ” เม็ดปุ๋ยจะตกกระ จายกว้างไกลเท่าแรงคนหว่านทำได้ ซึ่งเม็ดปุ๋ยคงไม่ตกลง ณ โคนกอพืช ทุกกอ กอละ 1-2-3 เม็ด เท่ากันตามต้องการ แบบนี้กอไหนได้ปุ๋ย กอนั้นจะเขียวงาม กอไหนไม่ได้ปุ๋ยก็ไม่เขียวงาม คนหว่านปุ๋ยบอกบ่า “ปุ๋ยน้อย” ว่าแล้วหว่านปุ๋ยเพิ่มอีก .... ปัญหานี้แก้ไขได้ด้วยวิธีของเกษตรกร อเมริกา-ยุโรป-ออสเตรเลีย โดยผสม “ปุ๋ยอินทรีย์แห้ง+ปุ๋ยเคมี+ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ+อื่นๆ+น้ำ” ปริมาณตามต้องการ

( ยกตัวอย่าง .... นาข้าว : น้ำ 200 ล.+ยิบซั่ม 25 กก.+กระดูกป่น 10 กก.+ปุ๋ยน้ำชีวภาพ 2 ล.+ ปุ๋ยเคมี 10 กก.+อื่นๆ 2-3 ล. สำหรับนาข้าว 1 ไร่ )

ในถังติดตั้งหน้ารถไถ คนเคล้าให้เข้ากันดี ขณะวิ่งรถไถ เปิดวาล์ว ซ้าย-ขวา ที่ก้นถังให้น้ำละลายสารอาหารออกมา เร็ว/ช้า ตามต้องการ ขณะที่น้ำสารอาหารหยดลงพื้นด้านหน้ารถไถนั้น ผานโรตารี่ที่ไต้ท้องรถไถจะตีพรวน ให้ดินและน้ำสารอาหารเข้าเป็นเนื้อเดียวกัน กระจายทั่วแปลงทุกตารางนิ้ว ส่งผลให้ต้นพืชได้รับสาร อาหาร (อินทรีย์-เคมี) เท่ากันทุกต้นทุกกอ


ผักสวนครัวแบบ เกษตรอินทรีย์-เคมี :
ความสำเร็จ :

- เกิดจาก หัว+ใจ = ใจ....
“หัว” คือ สมอง ..... สมอง คือ ความรู้ .... ความรู้ คือ เรียน+ทำ .... เรียน+ทำ ตามคนที่ประสบความสำเร็จ ....

“ใจ” คือ สติ (ไม่หลงตัวเอง), พฤติกรรม (ไม่ยึดติดแบบเดิมๆ), สัมมาทิฐิ (มุ่งมั่นแน่วแน่ ทำตามแนวทางที่ถูกต้องของธรรมชาติของพืช)

- เกษตรอินทรีย์ แรกๆดี เพราะปุ๋ยอินทรีย์ต้นทุนเดิมในดินเหลือตกค้างมาก จุลินทรีย์ในชีวภาพเป็นผู้ดึงออกมาให้พืชได้กิน

- รอบรู้/รู้รอบ ว่าด้วย “สมการเกษตร” ทุกอย่างที่ เกี่ยวเนื่อง/เกี่ยวข้อง กับเกษตรแบบอินทรีย์ 100%

ความล้มเหลว ด้านปุ๋ย :
-ไม่ยึดหลักสมการปุ๋ยอินทรีย์
- ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ “น้ำ/แห้ง” แบบไม่มีสารอาหาร เพราะทำผิด .... แก้ไข ปรับเป็นสูตร “มั่วซั่วซุปเปอร์” หรือ “ฟาจีก้า”

- ในปุ๋ยอินทรีย์แห้งไม่มีสารอาหาร เพราะทำผิด .... แก้ไข ปรับเป็นสูตร “ปุ๋ยคอกซุปเปอร์” หรือ ไบโอโซลิต หรือ ไบโอซัมมิต”

- ดิน/จุลินทรีย์ ไม่พร้อม ..... แก้ไขโดย ทำ/ใส่ สิ่งที่ถูกต้องอย่างมีหลักวิชาการรองรับ (ไม่มีความรู้ ให้ทำตามโผ) .... แม้ไม่ได้ ใส่/ให้/ทำ ในสิ่งที่ถูกต้อง ก็ไม่ควร ทำ/ใส่/ให้ ในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง .... ความ ถูกต้อง/ไม่ถูกต้อง วัดที่พืช ไม่ใช่วัดที่คน .... และความถูกต้องที่สุด คือ ต่อเนื่องสม่ำเสมอ จนกลายเป็น “ประวัติดิน”

ความล้มเหลว ด้านสารสมุนไพร :
- ไม่ยึดหลัก “สมการสารสมุนไพร”
-ไม่ยึดหลักทฤษฎี “ป้องกัน กับ กำจัด”
- ทำไม่ทัน/ไม่ได้ทำ เพราะเครื่องทุ่นแรงแบบเก่าๆ (เปรียบเทียบ ลากสายยาง กับ สปริงเกอร์/หม้อปุ๋ย)

=====================================================
ดินต้องมาก่อน
ฯลฯ ..... เตรียมดิน เตรียมแปลง .... ฯลฯ

- ประวัติดิน ปลอด 100% ปุ๋ยเคมี สารเคมียาฆ่าแมลง ยาฆ่าหญ้า ติดต่อกันมานาน 2-3 ปี
- ไถดิน ขี้ไถขนาดใหญ่ ตากแดดจัด 15 แดด ถ้าฝนตกให้ไถใหม่เริ่มนับ 1 ตากแดดใหม่
- ตากแดดดินครบกำหนด ใส่อินทรีย์วัตถุ "ยิบซั่ม ปุ๋ยอินทรีย์ กระดูกป่น. ขี้วัวขี้ไก่แกลบเก่า" ผสมเข้ากันแล้วหว่านทั่วแปลง แล้วไถพรวน ปรับสันแปลงให้เป็นหลังเต่า คลุมหน้าแปลงด้วยฟางหนาๆ

- คลุมหน้าแปลงแล้วรดด้วยน้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง (ไม่ปุ๋ยเคมี) แล้วทิ้งไว้ 10-20 วัน จึงลงมือปลูก (หว่านเมล็ด ปลูกกล้า)

หมายเหตุ :
- ระยะเวลาจากให้น้ำหมักฯ 10-20 วัน เป็นการบ่มดิน เพื่อให้เวลาแก่จุลินทรีย์เข้าทำการย่อยสลายอินทรีย์วัตถุและปรับสภาพดิน

- น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิงมีส่วนผสม "ปลาทะเล. กากน้ำตาล. เลือด. ขี้ค้าง คาว. ไขกระดูก. นม. น้ำมะพร้าว." หมักนานข้าม 1-2-3 ปี จากส่วนผสมทุกอย่างเป็น "อินทรีย์" แท้ๆ

- เพื่อชดเชยหรือทดแทนสารอาหารในปุ๋ยอินทรีย์ (ยิบซั่ม ปุ๋ยอินทรีย์ กระดูกป่น. ขี้วัวขี้ไก่แกลบเก่า และน้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง) ที่อาจมีน้อย ไม่เพียงต่อความต้องการของผัก แก้ไขด้วยการ เสริม/เติม/เพิ่ม/บวก ฮอร์โมนธรรมชาติ ด้วยการให้บ่อยๆ

=======================================================

เตรียมเมล็ดพันธุ์ :
- แช่เมล็ดพันธุ์ใน น้ำ 50 องศา +ไคโตซาน. สังกะสี. โบรอน. 3-6 ชม. แล้วนำขึ้นผึ่งลมให้แห้ง แห้งแล้วนำไปหว่านในแปลงเพาะกล้าได้เลย หรือจะเพาะในแปลงเพาะกล้าก่อนก็ได้

- หว่านเมล็ดในแปลงจริงทำให้สิ้นเปลืองเมล็ดพันธุ์ เพราะเมื่องอกขึ้นมาแล้วต้องถอนแยกบางต้นที่เบียดกันออก แต่ถ้าเพาะเมล็ดในกระบะเพราะเมล็ด (1 ช่อง : 1 เมล็ด) เป็นกล้าก่อน เมื่อต้นกล้าโตได้ 2-3 ใบจึงย้ายไปปลูกในแปลงจริง นอกจากไม่สิ้นเปลืองเมล็ดพันธ์แล้ว ยังได้ต้นกล้าที่สมบูรณ์แข็งแรงดีอีก

บำรุง :
ผักกินผล :
(เถา .... ถั่วฝักยาว ถั่วพู มะระ ฟัก บวบ แตง ฯลฯ)
ทางใบ : ฟาจีก้า (เน้น ขี้ค้างคาว นมสด น้ำต้มก้นหม้อก๋วยเตี๋ยว) + สมุนไพร
ทางราก : น้ำหมักระเบิดเถิดเทิง ส่วนปุ๋ยอินทรีย์ เดือนละครั้ง

ผักกินผล : (พุ่ม .... มะเขือ พริก ฯลฯ)
ทางใบ : ฟาจีก้า (เน้น ขี้ค้างคาว นมสด น้ำต้มก้นหม้อก๋วยเตี๋ยว) + สมุนไพร
ทางราก : น้ำหมักระเบิดเถิดเทิง 8-24-24 เดือนละครั้ง

ผักกินยอด : (ตำลึง มะระแม้ว ชะอม หวานบ้าน หวานป่า ฯลฯ)
ทางใบ : ฟาจีก้า (เน้น น้ำมะพร้าวอ่อน น้ำต้มก้นหม้อก๋วยเตี๋ยว) + สมุนไพร
ทางราก : น้ำหมักระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 เดือนละครั้ง

ผักกินดอก : (ขจร แค ฯลฯ)
ทางใบ : ฟาจีก้า (เน้น ขี้ค้างคาว) + สมุนไพร
ทางราก : น้ำหมักระเบิดเถิดเทิง 8-24-24 เดือนละครั้ง

ผักกินหัว : (ขิง ข่า ไชเท้า แคร็อท หอม กระเทียม ฯลฯ)
ทางใบ : ฟาจีก้า (เน้น ขี้ค้างคาว) + สมุนไพร
ทางราก : น้ำหมักระเบิดเถิดเทิง 5-10-40 เบียร์สด สาโท เดือนละครั้ง

ผักกินใบ : (คะน้า ผักกาด โหระพา แมงลัก กระเพา ฯลฯ)
ทางใบ : ฟาจีก้า (เน้น นมสด น้ำต้มก้นหม้อก๋วยเตี๋ยว) + สมุนไพร
ทางราก : น้ำหมักระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 ครั้งเดียว เริ่มปลูก

ผักกินใบ อายุยืน : (ผักหวานบ้าน, ผักหวานป่า, มะกรูด, ยอ ฯลฯ)
ทางใบ : ฟาจีก้า เหล็กคีเลต น้ำมะพร้าวอ่อน น้ำต้มก้นหม้อก๋วยเตี๋ยว + สมุนไพร
ทางราก : น้ำหมักระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 เดือนละครั้ง

เคล็ด (ไม่) ลับบำรุง เฉพาะผักบางชนิด :
ผักกาดขาวปลี : ............... ให้โมลิบดินั่ม ช่วยให้ปลีแน่น
ผักคะน้า : ..................... ให้แคลเซียม โบรอน ช่วยให้ต้นไม่มีเสี้ยน
ผักกาดแก้ว : .................. ให้แม็กเนเซียม. สังกะสี. (ในไบโออิ) ตอนบ่าย ใบไม่ตกปรกดิน
ผักชี : ......................... ให้ 12-60-0 หรือ ขี้ค้างคาวหมักข้ามปี อาทิตย์ละครั้ง ช่วยให้รากใหญ่

ผักชีไทย (ใบฝอย) : .... ให้มีฟางแห้ง แข็ง คลุมหน้าปลง หมั่นยกฟางให้ฟูขึ้น ก้านฟางจะช่วยรองรับก้านใบผักชีไม่ให้ลู่เอนลง เพราะก้านใบลู่ลงแล้วฉีดขาด จึงเป็นช่องทางให้เชื้อโรคเข้าได้

กุยช่าย : ................ ให้แคลเซียม โบรอน สม่ำเสมอ เสี้ยนน้อยลง
ผักบุ้งจีน : .............. ให้แคลเซียม โบรอน + นมสด ต้นอ่อนถึงโคน รากอ่อนนิ่มกินได้
แตงกวา : ............... ผลมีรสขม สาเหตุเพราะขาดธาตุรอง/ธาตุเสริม
มะเขือเปราะ : .......... ให้แคลเซียม โบรอน. สม่ำเสมอ เนื้อนุ่มกรอบ เมล็ดขาวอ่อน
ถั่วงอก : ................ ให้ฮอร์โมนสมส่วน น้ำคั้นเมล็ดเริ่มงอก+น้ำคั้นไชเท้า หรือ น้ำมะพร้าวอ่อน+น้ำมะพร้าวแก่ ถั่วงอกขาวยาวใหญ่

สะระแหน่ : ............. ให้น้ำล้างเขียงปลา ใบใหญ่ ยอดใหญ่
ผักเถากินผล : .......... อากาศหนาว ดอกตัวผู้มากกว่าดอกตัวเมีย แก้ไขโดย ระยะจ้นเล็ก มีใบ 10-12 ใบ ให้จิ๊บเบอเรลลิน 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน จะช่วยให้ได้ดอกตัวเมียมากขึ้น

เห็ดโรงเรือน : ...... ให้ ยูเรก้า 1.5 ซีซี./น้ำ 20 ล. ตอนค่ำ วันเว้นวัน เมื่อดอกเริ่มเกิด ฉีดขึ้นเพดานให้ละอองปลิวลงมาสัมผัสดอกเห็ด

พืชสมุนไพร : ...... ทางใบ : ให้ฟาจีก้า (เดี่ยวๆ) .... ทางราก : ให้น้ำหมักระเบิดเถิดเทิง ขั้น 2 (งดปุ๋ยเคมีเด็ดขาด)


การ ป้องกัน/กำจัด ศัตรูพืช :
สปริงเกอร์ :

* เช้ามืด .............. ฉีดล้างน้ำค้างกำจัดราน้ำค้าง
* สาย ................ 10 โมงเช้า ให้ ปุ๋ย/ฮอร์โมน +ยาสมุนไพร
* เที่ยง มีแดด ........ กำจัดเพลี้ยไฟ
* เที่ยง ไม่มีแดด .... กำจัดไรแดง
* กลางวันฝนตก ..... วันฝนตกต่อแดด ล้างน้ำฝนป้องกันกำจัดแอนแทร็คโนส
* กลางวันฝนตก ..... ก่อนฝนตก หรือหลังฝนตก ให้ปุ๋ยกดใบอ่อนสู้ฝน
* ค่ำ .................. ล้างช่อกำจัดราดำ กำจัดเพลี้ยจักจั่น, หนอนเจาะช่อดอก
* มืด ................. กำจัดแม่ผีเสื้อเข้าวางไข่. หนอนออกหากิน

ไอพีเอ็ม :
- กับดักสีเหลือง กาวเหนียว (กลางวัน)
- กับดัก กาวเหนียว แสงไฟ (กลางคืน)
- บำรุงต้นให้สมบูรณ์ เป็นภูมิต้านทาน
- ปลูกพืชกลิ่นไล่ แซม/แทรก
- อนุรักษ์แมลงธรรมชาติ


พืชไร่ :
เตรียมดิน เตรียมแปลงเกษตร แบบ อินทรีย์-เคมี สำหรับพืชไร่โดยเฉพาะ :

- เพราะพื้นที่ปลูกพืชไร่มีน้ำน้อยเมื่อเทียบกับพื้นที่ปลูกพืชนิดอื่น นั่นคือ พื้นที่ปลูกพืชไร่มีความแห้งแล้งมากที่สุด กอร์ปกับเพราะพืชไร่เป็นพืชต้องการน้ำน้อย ระดับ “ชื้น” (ชื้น ชุ่ม โชก แฉะ แช่) เท่านั้น จึงอยู่ได้ แต่มิได้หมายความว่า พืชไร่ไม่ต้องการน้ำเลย วิธีการหนึ่งที่สามารถช่วยพืชไร้ได้ คือ สร้างหรือใส่วัสดุอุ้มน้ำให้หน้าที่เสมือนฟองน้ำไว้ไต้ดิน นั่นคือ เศษซากพืชโดยเฉพาะ “แกลบ” ที่ย่อยสลายยาก อยู่ในเนื้อดินได้นานนับ 10 ปี

รูปแบบบำรุงดินด้วยอินทรีย์วัตถุ :
แบบใช้เงิน : ซื้อ 100% ยิบซั่ม กระดูกป่น ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ (มากๆ) 3 อย่างรวมกันประมาณ 2-3 ตัน/ไร่ แล้วไถกกลบลงดินลึก

แบบใช้เงิน ไม่ได้เงิน แต่ได้ดิน .... ปลูกถั่วบำรุงดินของกรมพัฒนาที่ดิน เมื่อต้นถั่วเริ่มออกดอกให้ไถกลบ ทำซ้ำ 2-3 รุ่น

แบบใช้เงิน ได้เงิน ได้ดิน : ปลูกถั่วไร่ (เขียว เหลือง-แดง-ดำ-ขาว), งา, ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์, ทานตะวัน เก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วใส่ ยิบซั่ม กระดูกป่น ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ (มากๆ) 3 อย่างรวมกันประมาณ 2-3 ตัน/ไร่ ไถกลบเศษซากต้นลงดิน ทำซ้ำ 2-3 รอบ

- ไถดิน ขี้ไถขนาดใหญ่ ตากแดดจัด 15 แดด ถ้าฝนตกให้ไถใหม่เริ่มนับ 1 ตากแดดใหม่
- ตากแดดดินครบกำหนด ใส่อินทรีย์วัตถุ "ยิบซั่ม ปุ๋ยอินทรีย์ กระดูกป่น. ขี้วัวขี้ไก่แกลบเก่า" ผสมเข้ากันแล้วหว่านทั่วแปลง แล้วไถพรวน ปรับสันแปลงให้เป็นหลังเต่า คลุมหน้าแปลงด้วยฟางหนาๆ

- คลุมหน้าแปลงแล้วรดด้วยน้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 แล้วทิ้งไว้ 10-20 วัน จึงลงมือปลูก (หว่านเมล็ด ปลูกกล้า)

( ...ไม่ต้องปุ๋ยเคมี รองพื้น-แต่งหน้า-กระแทก-กระทุ้ง เพราะในน้ำหมักระเบิดเถิดเทิงมีแล้ว อนาคตยังมีทางใบ ทั้งปุ๋ยเคมีและฮอร์โมนธรรมชาติ ให้อีก ที่สำคัญ ดินดี ได้แล้วกว่าครึ่ง ดินไม่ดี เสียแล้วกว่าครึ่ง ... เอาเงินค่าปุ๋ยเคมีมาซื้อปุ๋ยอินทรีย์ จ่ายน้อยกว่า แต่ประโยชน์ต่อพืชมากกว่า.. )

- ระยะเวลาจากให้น้ำหมักฯ 10-20 วัน เป็นการบ่มดิน เพื่อให้เวลาแก่จุลินทรีย์เข้าทำการย่อยสลายอินทรีย์วัตถุและปรับสภาพดิน

- น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิงมีส่วนผสม "ปลาทะเล. กากน้ำตาล. เลือด. ขี้ค้าง คาว. ไขกระดูก. นม. น้ำมะพร้าว." หมักนานข้าม 1-2-3 ปี จากส่วนผสมทุกอย่างเป็น "อินทรีย์" แท้ๆ .... เมื่อเติม 30-0-0, แม็กเนเซียม, สังกะสี, ธาตุรอง/ธาตุเสริม ลงไปเป็น “เคมี” นี่คือ อินทรีย์เคมี ผสมผสาน

- อย่ากังวลว่า ไม่ใส่ปุ๋ยเคมี รองพื้น-แต่งหน้า-กระทุ้ง-กระแทก แล้วต้นผักจะไม่โต สาเหตุที่ผักไม่โตไม่ใช่เพราะปุ๋ยน้อย แต่เป็นเพราะ “ดิน” .... ตราบใดที่ดินไม่ดี ดินไม่สมบูรณ์ ดินไม่มีอินทรีย์วัตถุ ดินไม่มีจุลินทรีย์ ดินเป็นกรด ต่อให้ใส่ปุ๋ยไร่ละกระสอบ สองสามกระสอบ ใส่ไร่ละตันต้นผักก็ไม่โต ตรงกันข้าม จะเล็กลงๆ ๆๆ เพราะ “ปุ๋ยเป็นพิษ-ดินไม่กินปุ๋ย”

- กรณีพืชอายุสั้น ฤดูกาลเดียว (พืชสวนครัว-พืชไร่-ไม้ดอก-นาข้าว) จำนวนต้นมากต่อพื้นที่ปลูก นั่นคือ ระบบรากย่อมกระจายไปทั่วทุกตารางนิ้วของพื้นที่ปลูกในแปลง การใส่ปุ๋ยชนิดเม็ด (อินทรีย์อัดเม็ด-เคมี) โดย “หว่านด้วยมือ” เม็ดปุ๋ยจะตกกระ จายกว้างไกลเท่าแรงคนหว่านทำได้ ซึ่งเม็ดปุ๋ยคงไม่ตกลง ณ โคนกอพืช ทุกกอ กอละ 1-2-3 เม็ด เท่ากันตามต้องการ แบบนี้กอไหนได้ปุ๋ย กอนั้นจะเขียวงาม กอไหนไม่ได้ปุ๋ยก็ไม่เขียวงาม คนหว่านปุ๋ยบอกบ่า “ปุ๋ยน้อย” ว่าแล้วหว่านปุ๋ยเพิ่มอีก .... ปัญหานี้แก้ไขได้ด้วยวิธีของเกษตรกร อเมริกา-ยุโรป-ออสเตรเลีย โดยผสม “ปุ๋ยอิน ทรีย์แห้ง+ปุ๋ยเคมี+ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ+อื่นๆ+น้ำ” ปริมาณตามต้องการ

( ยกตัวอย่าง .... นาข้าว : น้ำ 200 ล.+ยิบซั่ม 25 กก.+กระดูกป่น 10 กก.+ปุ๋ยน้ำชีวภาพ 2 ล.+ ปุ๋ยเคมี 10 กก.+อื่นๆ 2-3 ล. สำหรับนาข้าว 1 ไร่ )

ในถังติดตั้งหน้ารถไถ คนเคล้าให้เข้ากันดี ขณะวิ่งรถไถ เปิดวาล์ว ซ้าย-ขวา ที่ก้นถังให้น้ำละลายสารอาหารออกมา เร็ว/ช้า ตามต้องการ ขณะที่น้ำสารอาหารหยดลงพื้นด้านหน้ารถไถนั้น ผานโรตารี่ที่ไต้ท้องรถไถจะตีพรวน ให้ดินและน้ำสารอาหารเข้าเป็นเนื้อเดียวกัน กระจายทั่วแปลงทุกตารางนิ้ว ส่งผลให้ต้นพืชได้รับสาร อาหาร (อินทรีย์-เคมี) เท่ากันทุกต้นทุกกอ

========================================================
========================================================


อ้อย
แรงบันดาลใจ :

* “วังขนาย” ทำอ้อยได้ 100 ตัน/ไร่ เพราะอินทรีย์วัตถุและสารอาหารในดินจำนวนมาก จุลินทรีย์ทำหน้าที่เสมือนฟองน้ำ คอยอุ้มน้ำไว้ให้ที่ไต้พื้นดิน

* “มิตรผล” ทำได้ 50 ตัน/ไร่ เพราะอินทรีย์วัตถุและสารอาหารในดินจำนวนมาก จุลินทรีย์ทำหน้าที่เสมือนฟองน้ำ คอยอุ้มน้ำไว้ให้ที่ไต้พื้นดิน

* ช่วงแล้งจัด (ม.ค.-ก.พ.-มี.ค.-เม.ย.) อ้อยไม่ใบเหลืองแต่ยังเขียวสดได้ เพราะมีอินทรีย์วัตถุในดินจำนวนมาก และจุลินทรีย์ทำหน้าที่เสมือนฟองน้ำ คอยอุ้มน้ำไว้ให้ที่ไต้พื้นดิน

* อ้อยน้ำขังค้าง (ลึก 1 ม.) แช่นาน 2-3 เดือน (ปี 54) บำรุงด้วยไบโออิ โดยฉีดพ่นทางใบ ด้วยเครื่องโอเวอร์เฮด เดือนละ 1 ครั้ง แล้วไม่ตายกระทั่งน้ำลดปกติยังเหลือขายได้กำไร เพราะอ้อยรับสารอาหารทางปากใบได้

บำรุง : ให้ "ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 8-24-24 (2-3 ล.)/ไร่" เนื้อปุ๋ยเท่านี้ แต่น้ำมากๆ ปล่อยน้ำเข้าไปตามร่องระหว่างแถวปลูก ให้ท่วมเต็มร่อง เท่ากับเป็นการให้น้ำไปในตัว .... ให้สูตรนี้ตั้งแต่เริ่มปลูกถึงตัด

หมายเหตุ :
- อ้อยต้องการน้ำ 4 ครั้งตลอดอายุ ....
* ครั้งที่ 1 หลังปลูก (ตอ 1) หรือหลังเจียนตอ (ตอ 2-3-4-5-) เสร็จภายใน 3 วัน....
* ครั้งที่ 2 เริ่มยางปล้อง....
* ครั้งที่ 3 และ 4 อ้อยโต
- ในน้ำหมักระเบิดเถิดเทิงมี .... ปุ๋ยเคมี (8-24-24, แม็กเนเซียม, สังกะสี, ธาตุรอง/ธาตุเสริม, ฮิวมิก แอซิด, เรียบร้อยแล้ว .... ปุ๋ยอินทรีย์ (จาก ปลาทะเล, ไขกระดูก, เลือด, ขี้ค้างคาว, นม, น้ำมะพร้าว) จึงไม่จำเป็นต้องใส่ปุ๋ยเคมีเพิ่มอีก

- เครื่องมือในการให้น้ำ .... พื้นที่ลาดเอียง : ปล่อย น้ำ+ปุ๋ย ไหลจากลาดสูงไปลาดต่ำ .... พื้นที่ราบ : ใช้เครื่องฉีดพ่นน้ำ หรือโอเวอร์เฮด ฉีดพ่นจากใบลงพื้น

- สิ่งที่อ้อยต้องการมากที่สุด คือ น้ำ ....วันนี้มีงานวิจัยจากนักวิชาการ (อุดม การณ์) จาก 4 มหาวิทยาลัย ยืนยันผลงานวิจัยตรงกันว่า อ้อยต้องการน้ำ 4-5 ครั้ง

======================================================
======================================================


สำปะหลัง

เครื่องปลูกมันสำปะหลังแบบพ่วงท้ายรถแทรกเตอร์ แบบ 1 แถว
นายประสาท แสงพันธุ์ตา กลุ่มวิจัยวิศวกรรมผลิตพืช
สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม 0 2579 2757, 0 2940 5583

ข่าว ทีวี. สำปะหลัง อู่ทอง สุพรรณบุรี ทำได้ 60 ตัน/ไร่ ในข่าวไม่มีรายละเอียดว่า พันธุ์อะไร ? ให้ปุ๋ยยังไง ? ให้น้ำหรือเปล่า ? แต่เท่าที่สังเกตจากภาพในจอ ทีวี. เห็นชัด ใบดกตั้งแต่ยอดถึงดิน ใบใหญ่เท่าฝ่ามือ ดินร่วน ตัดต้นเหลือตอสูงจากพื้นครึ่งศอกแขนแล้วใช้มือถอนสำปะหลังขึ้นมาทั้งกอได้ .... งานนี้เราเอาแค่ 30 ตัน/ไร่ ก็น่าจะพอ เพราะที่ทำกันอยู่ทุกวันนี้ ได้แค่ 3-5 ตัน/ไร่ เท่านั้น

สำปะหลัง 60 ตัน เอาแค่ 30 ตัน :
เตรียมท่อนพันธุ์ :

- เตรียมถังขนาดใหญ่ ใส่น้ำ 100 ล. + ไบโออิ 100 ซีซี. + แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี. + ยูเรก้า 100 ซีซี. .... สังกะสี ในไบโออิ, โบรอน ในแคลเซียม โบรอน ส่งเสริมการงอกของรากของท่อนพันธุ์, ไคโตซาน ในยูเรก้า ช่วยกำจัดเชื้อโรคที่ปนเปื้อนมากับท่อนพันธุ์

- ตัดท่อนพันธุ์ตั้งฉาก ท่อนพันธุ์ยาว 1 ศอกแขน ตัดแล้วร่วงลงน้ำทันที
- แช่ท่อนพันธุ์ในน้ำ 5-6 ชม. นำขึ้นผึ่งลมให้แห้ง แล้วนำไปปลูก
- ปลูกแบบปักท่อนพันธุ์ให้ตั้งฉากกับพื้น ลึกลงดิน 3 ใน 4 ส่วนของความยาว (ความยาว 1/2 ศอกแขน)

บำรุง :
ทางใบ : น้ำ 200 ล. + ไบโออิ 5-10-40 (200 ซีซี.) + สารสมุนไพร 1 ล. ให้เปียกโชกทั้งไต้ใบบนใบ ทุก 15 วัน

ทางราก : ให้น้ำตามความเหมาะสมเป็นการให้น้ำไปในตัว +น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 5-10-40 (2 ล./ไร่) เดือนละครั้ง

หมายเหตุ :
- บำรุงตั้งแต่เริ่มปลูกถึงขุด
- การให้ น้ำ + ปุ๋ย “ทางใบ” เป็นการสร้างความชื้นโดยตรง กับการให้ น้ำ+ ปุ๋ย หรือน้ำ เปล่า “ทางราก” น้ำที่ระเหยจากดินขึ้นไปบนอากาศจะเป็นการสร้างความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศ ซึ่งนอกจากช่วยป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้งได้แล้ว ยังสร้างความสมบูรณ์ของต้น ส่งผลให้ผลผลิตดีอีกด้วย

- สำปะหลังที่ไม่มีการให้น้ำ ต้นเรียวเล็ก-ใบเล็ก-จำนวนใบน้อย ที่ปลายยอด นอกจากผลผลิตได้น้อย โรคมากแล้ว เอาต้นไปทำพันธุ์ต่อก็ไม่ดี ผิดกับสำปะหลังที่ได้ “น้ำ+ปุ๋ย” ทั้งทางใบทางราก มีใบมาก สังเคราะห์อาหารได้มาก ผลผลิตมาก โรคน้อย ต้นใหญ่สมบูรณ์ ใช้หรือจำหน่ายต้นพันธุ์ได้ราคาอีกด้วย

สำปะหลังแบบก้าวหน้า :
1. ปลูกแบบ “แถวตอนเรียง 1” ยาวตามร่องปลูกแบบเดิม สำปะหลัง 1 กอจะให้หัว 1 พวง ถ้าปรับใหม่เป็นปลูกแบบ “แถวตอนเรียง 2” ยาวตามร่องปลูกเดิม เป็นสำปะหลัง 2 กอ เท่ากับได้หัวสำปะหลัง 2 พวง บนพื้นที่เท่าเดิม .... ติดสปริงเกอร์ ให้น้ำ ให้ปุ๋ยทั้งทางใบทางราก รุ่นเดียวที่ได้ทุนคืน ถ้าไม่มีสปริงเกอร์จะลากสายยางก็ได้ ที่สำคัญขอให้สำปะ หลังได้น้ำได้ปุ๋ยก็แล้วกัน

2. ปลูกสำปะหลังแบบแถวตอนเรียง 2 แต่ละกอทำเป็น “สำปะหลังคอนโด” โดย 1 กอให้ 2-3 พวง บำรุงเต็มที่ตามความเหมาะสมของสำปะหลัง จะได้หัวสำปะหลังมากกว่า 2 พวง/กอ บนพื้นที่เท่าเดิม .... จากสำปะหลัง 1 กอได้หัว 1 พวง ถ้าสำปะหลัง 2 กอ 3 กอ 4 กอ ได้หัวกอละ 1 พวง บนเนื้อเท่าเดิมจะได้ไหม ?
3. ระยะยังไม่ลงหัว บำรุงต้นให้ลำต้น “สูง-ใหญ่-ใบมาก” เมื่อถึงระยะเริ่มลงหัวให้ตัดต้นไปขายก่อน แล้วบำรุงตอสร้างต้นใหม่ ซึ่งการบำรุงตอสร้างต้นใหม่นี้ จะไม่ส่งผลเสียต่อการสร้างหัวแต่อย่างใด

สร้างแรงบันดาลใจให้กับตัวเอง :
- สำปะหลัง “ต้นเดี่ยว-คนเลี้ยง” อู่ทอง สุพรรณบุรี ...... ได้ 60 ตัน /ไร่
- สำปะหลังแบบเดิม “ต้นเดี่ยว-เทวดาเลี้ยง” ................. ได้ 4 ตัน /ไร่
- สำปะหลังแบบเดิม “ต้นเดี่ยว-คนเลี้ยง” ...................... ได้ 10 ตัน /ไร่
- สำปะหลัง แบบก้าวหน้า “ต้นคู่-เทวดาเลี้ยง” .............. ได้ 8 ตัน /ไร่
- สำปะหลัง แบบก้าวหน้า “ต้นคู่-คนเลี้ยง” ................... ได้ 20 ตัน /ไร่
4. ปลูกสำปะหลังแบบก้าวหน้า 10 ไร่ ลงทุนให้น้ำกับผลผลิตที่ได้ คุ้มเกินคุ้ม
5. ออกแบบสร้างอีแต๋นอีต๊อกบรรทุกน้ำ มีอุปกรณ์เครื่องมือให้น้ำ แรงงานคนเดียว ให้น้ำเปล่า หรือน้ำ + ปุ๋ย ใช้ในแปลงตัวเองแล้ว รับจ้างแปลงข้างๆเป็นรายได้ กะรวยด้วยกัน

6. ได้ดินดี เลิกสำปะหลัง จะปลูกอะไรก็ได้ .... ได้อีแต๋น บรรทุกน้ำไว้ใช้งาน ให้น้ำกับพืชอะไรก็ได้

7. อายุสำปะหลัง ตั้งแต่เริ่มเตรียมดินเตรียมแปลง ปลูกถึงขุด รวมเวลา 8 เดือน ติดสปริงเกอร์แบบถอดประกอบได้ ติดตั้งก่อนปลูก ก่อนขุดก็ถอดเก็บ ทำสำปะหลังก้าว หน้า รุ่นเดียวได้ทุนคืน ได้กำไรด้วย

หมายเหตุ :
- ช่วงหน้าแล้ง สปริงเกอร์ฉีดพ่นน้ำจากใบลงถึงราก นอกจาก ช่วยป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้งสีชมพู (เพลี้ยตัวนี้มาช่วงหน้าแล้ง) แล้ว ยังช่วยบำรุงต้นสำปะหลังตาม ปกติ และบำรุงสำปะหลังช่วงแล้ง ป้องกันอาการกินตัวเองของสำปะหลังได้อีกด้วย

- สำปะหลังที่บำรุงเต็มที่ ได้ลำต้นสมบูรณ์ ใหญ่ยาว ขายเป็นต้นพันธุ์ดี

หมายเหตุ :
- สู้กับเพลี้ยแป้งสำปะหลังให้ได้ทั้ง ป้องกัน/ฆ่าเพลี้ย แถมบำรุงสำปะหลังด้วย “น้ำ” เท่านั้น ประหยัดและประโยชน์สูงสุด น้ำเปล่าๆ หรือ “น้ำ + สารสมุนไพร” หรือ “น้ำ + สมุนไพร + ปุ๋ย” .... สมุนไพรก็ บอระเพ็ด ฟ้าทะลายโจร เมล็ดน้อยหน้า หัวกลอย สะเดา เมล็ดมันแกว .... ปุ๋ยก็ แม็กเนเซียม. สังกะสี. 5-10-40 (ไบโออิ) ยืนพื้น .... ทุกครั้งที่ใช้ให้ +น้ำยาล้างจาน +ไบโอเจ๊ต ฉีดพ่นให้เปียกโชกเพื่อน้ำยาล้างจานซึมทะลุแป้งเข้าถึงตัวเพลี้ยที่อยู่ข้างใน ช่วงระบาดหนักให้ฉีดพ่นแบบวันเว้นวัน ช่วงยังไม่ระบาดอาจจะห่างหน่อยตามความเหาะสม

- ธรรมชาติของเพลี้ยแป้งสำปะหลังชอบมากๆกับ “ความแห้งแล้ง” แล้งเมื่อไรมาเมื่อนั้น ออกลูกออกหลานขยายพันธุ์เต็มไร่ .... ในทางกลับกันเพลี้ยแป้งสำปะหลังไม่ชอบเอามากๆ กับ “ความชื้น” ฝนตก ให้น้ำ สร้างความชื้นขึ้นมา เพลี้ยแป้งในแปลงตาย แถมแปลงข้างเคียงก็ไม่เข้ามาอีกด้วย เมื่อรู้นิสัยเพลี้ยแป้งว่าไม่ชอบน้ำก็ให้น้ำซี่ นอกจากช่วย ป้องกัน/กำจัด เพลี้ยแป้งได้แล้วยังมีผลดีต่อต้นสำปะหลังอีกด้วย

- ไม่มีพืชใดในโลกไม่ต้องการน้ำ สำปะหลังต้องการน้ำระดับ “ชื้น” จากปริมาณน้ำ ชื้น/ชุ่ม/โชก/แฉะ/แช่ .... สังเกตุ : ฝนดี-ฝนพอดี-ฝนสม่ำเสมอ สำปะหลังแตกใบใหม่ เพลี้ยแป้งไม่มี เมื่อรู้ว่า สำปะหลังชอบฝนแต่เพลี้ยแป้งไม่ชอบฝน ถ้าฝนไม่ตกคนก็ทำเป็นฝนตกซะเอง โดยการฉีดพ่นน้ำเข้าไป ก็ได้ .... ความแห้งแล้งเป็นภาวะจำยอมโดยธรรมชาติ แม้จะต้องซื้อน้ำจากที่อื่นมาให้แก่สำปะหลังก็ต้องยอม มิเช่นนั้นจะไม่เหลืออะไรเลย แต่หากได้ให้น้ำ นอกจากสู้กับเพลี้ยแป้งได้แล้ว ยังได้ผลผลิตเพิ่มขึ้นอีกด้วย .... นี่แหละการเกษตรที่ น้ำต้องมาก่อนน้ำต้องมาก่อนและน้ำต้องมาก่อน ....... (ย้ำจัง ! )

- การลงทุนติดสปริงเกอร์แบบหัวพ่นสูงเหนือยอด (สูง 1.5 ม.) ถอดประกอบได้ แบ่งเป็นโซนๆ มีหม้อปุ๋ยหน้าโซน หลังจากทำแปลงชักร่องเสร็จก็เริ่มให้น้ำได้ และให้ “น้ำ + ปุ๋ย” บำรุงต้นตั้งแต่เริ่มปลูกจนถึงขุด ก่อนขุดก็ให้ถอดปสริงเกอร์ออกไว้ใช้งานใหม่ได้ .... หากไม่ใช้ระบบสปริงเกอร์ก็ต้องมีเครื่องมือในการให้น้ำแบบอื่นที่เหมาะสม เครื่องมืออะไรก็ได้ที่สามารถส่งน้ำไปให้สำปะหลัง ณ เวลาที่ต้องการและจำเป็น

- การปลูกสำปะหลังแบบเดิม (เตรียมดิน เตรียมแปลง เตรียมท่อนพันธุ์ การใส่ปุ๋ย ไม่มีการให้น้ำ) ปีไหนฝนดี ได้ผลผลิต 4-6 ตัน/ไร่ ถ้าฝนไม่ดี ได้ผลผลิต 2-4 ตัน/ไร่

สำปะหลังกับระบบน้ำ :
ระบบน้ำหยด :

- ระบบน้ำหยด หมายถึง น้ำไหลจากที่สูงไปที่ต่ำ ตามท่อไปถึงหัวน้ำหยด กรณีนี้ย่อมเป็นธรรมดาที่หัวต้นทางต้องหยด (ไหล) แรงกว่าหัวปลายทางแน่ นั่นคือ ปริมาณน้ำที่พืชแต่ละต้นได้รับไม่เท่ากัน โดยต้นแรกได้รับมากกว่าต้นท้ายปลายทาง

- น้ำที่ออกมาจากหัวน้ำหยด 1 หัว ลงพื้นได้เนื้อที่กว้างราว 30 x 30 ซม. กรณีพื้นที่สำปะหลัง 1 กอ หรือ 1 หัว กว้างราว 50 x 50 (ขนาดกลาง) ถึง 80 x 80 ซม. (ขนาดใหญ่) ปริมาณน้ำที่หยดลงมาจึงไม่ทั่วทรงพุ่ม กรณีนี้ต้องเพิ่มจำนวนหัวต่อต้นให้มากขึ้นจนเต็มพื้นที่

- ระบบน้ำหยดลงไปเฉพาะที่พื้นดิน ช่วงหน้าแล้งที่เพลี้ยแป้งสีชมพูระบาดทางใบ ต้องใช้เครื่องมือฉีดพ่นโดยเฉพาะ ..... ธรรมชาติของเพลี้ยแป้งสีชมพู ชอบความแห้งแล้งแต่ไม่ชอบความชื้น แต่น้ำจากหัวน้ำหยดที่พื้นดินไม่สามารถส่งความชื้นขึ้นไปบนต้นสำปะหลังได้ จึง ป้องกัน/กำจัด เพลี้ยแป้งสีชมพูไม่ได้

- ระบบน้ำหยด ไม่สามารถส่ง ปุ๋ย/ยา ไปกับระบบน้ำหรือทางท่อได้

สรุป :
- ระบบน้ำหยดได้ประสิทธิภาพเพียงให้น้ำทางรากเท่านั้น
- น้ำที่ไหลไปตามท่อ จากที่สูงลงไปที่ต่ำ จำนวนหัวน้ำหยดมาก ต้องใช้ เวลา/แรงงาน มาก ในการตรวจว่า หัวไหนอุดตันหรือไม่

ระบบหัวพ่นน้ำ :
- ติดสปริงเกอร์ระบบกะเหรี่ยง ถอด/ประกอบ ได้ นั่นคือ หลังเตรียมดิน
- เตรียมแปลงเสร็จให้ประกอบ ติดสปริงเกอร์แต่ละครั้งใช้งานนาน 8-9 เดือน ..... แปลงผักบางที่ ถอด/ประกอบ สปริงเกอร์ครั้งละ 3 เดือน (เตรียมแปลง ถึง เก็บเกี่ยว)

- หัวพ่นน้ำรัศมี 4 ม. พ่นน้ำออกไปโดนใบแล้วตกลงดิน เท่ากับเป็นการให้น้ำทางรากไปในตัว
- สปริงเกอร์มีหม้อปุ๋ยหน้าโซน หรือถังปุ๋ยที่ปั๊ม ให้ปุ๋ยสูตรสำปะหลังโดนใบ ผ่านปากใบเข้าสู่ต้น ตกลงดิน รากดูดเข้าสู่ต้น เท่ากับได้ 2 เด้ง

- น้ำเปล่า หรือ น้ำ+ปุ๋ย สร้างความชื้นทั่วแปลง ช่วย ป้องกัน/กำจัด เพลี้ยแป้งสีชมพู และศัตรูพืชอื่นๆได้อีกด้วย-

ระบบโอเวอร์เฮด :
- ใช้แบบเคลื่อนที่ เข้า-ออก แปลงได้ทุกเวลาที่ต้องการ
- รัศมีพ่นน้ำอยู่ที่รุ่นหรือแบบ
- มีหม้อปุ๋ยหน้าโซน หรือถังปุ๋ยที่ปั๊ม ให้ปุ๋ยสูตรสำปะหลังโดนใบ ผ่านปากใบเข้าสู่ต้น ตกลงดิน รากดูดเข้าสู่ต้น เท่ากับได้ 2 เด้ง

- น้ำเปล่า หรือ น้ำ+ปุ๋ย สร้างความชื้นทั่วแปลง ช่วย ป้องกัน/กำจัด เพลี้ยแป้งสีชมพู และศัตรูพืชอื่นๆได้อีกด้วย เหมือนสปริงเกอร์แบบหัวพ่น

หมายเหตุ :
- ระบบน้ำหยดเหมาะสำหรับพืชในถุง หรือภาชนะปลูก เพราะสามารถควบคุมปริมาณน้ำทั้งหมดให้อยู่ในพื้นที่ๆต้องการได้ และระบบรากอยู่ในพื้นที่จำกัดจึงรับน้ำได้

- ข้ออ้างที่ว่า น้ำหยดเป็นการใช้น้ำอย่างประหยัด ในความเป็นจริงนั้น ต้นพืชไม่รู้จักประหยัด เขาใช้เท่าที่ใช้จริงกินจริงเท่านั้น หากต้องการให้เขาโตก็ต้องให้เขา


ปาล์มน้ำมัน
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับปาล์มน้ำมัน :

- ปาล์มต้องการน้ำมาก ต้องการความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศสูง สังเกต ปาล์มน้ำมันภาคใต้ ที่นั่น ฝนแปด-แดดสี่ กับตามลำต้นจะมีพืชประเภท เฟิร์น-มอสส์ ขึ้น พืชพวกนี้ไม่ใช่กาฝากที่ดูดกินน้ำเลี้ยงจากปาล์ม ตรงกันข้าม กลับสร้างความชุ่มชื้นให้แก่ต้นปาล์มอย่างดีอีกด้วย

- เดือนใดของปีนี้ ปาล์มน้ำมันขาดน้ำ เดือนเดียวกันนี้ของปีรุ่งขึ้น ผลจะขาดคอ คือ ไม่ออกจั่น
- ช่วงใดปาล์มขาดน้ำหรือกระทบแล้งมาก ช่วงนั้นจั่นหรือดอกที่ออกมาจะเป็นตัวผู้มากกว่าตัวเมีย หรืออาจจะเป็นตัวผู้ทั้งหมดก็ได้

- ระยะห่างระหว่างต้นเมื่อต้นเริ่มให้ผลผลิตแล้ว ไม่ควรห่างกันจนแดดจัดส่องลงพื้นดินได้ แล้วก็ต้องไม่ปลายทางชนกัน เกยกัน จนแสงแดดส่องลงพื้นไม่ได้

- สารอาหารหรือปุ๋ยที่ปาล์มน้ำมันต้องการ คือ แม็กเนเซียม. สังกะสี. กำมะถัน. โบรอน. เป็นตัวหลัก ที่เหลือเป็นตัว เสริม/เติม/เพิ่ม/บวก ตามความจำเป็นหรือตามความเหมาะสม อีกทั้งวัสดุที่เหลือ ใช้จากกระบวนการสกัดน้ำมันปาล์ม เช่น กะลาปาล์ม เส้นใยปาล์ม สามารถนำมาเป็นเชื้อเพลิงให้ความร้อน เพื่อแปลงเป็นพลังงานไฟฟ้าได้อีกด้วย...ส่วนกากเนื้อในปาล์ม สามารถนำมาเป็นส่วนผสมอาหารสัตว์ ที่ให้ ทั้งโปรตีนและพลังงานสูง ส่วนที่มีความสำคัญที่เหลือจากกระบวนการสกัดน้ำมันอีกอย่าง คือ ทะลายปาล์มเปล่า ซึ่งเป็นแหล่งของ อินทรียวัตถุ อย่างดี เมื่อย่อยสลายจะให้ ธาตุโปแตสเซียมค่อนข้างสูง

บำรุง :
- พืชตระกูลปาล์ม คือ ปาล์มน้ำมัน มะพร้าว หมาก จาก อินทผลัม ปลูกในสวนยกร่องน้ำหล่อดีที่สุด .... พืชตระกูลปาล์ม เดือนใดของปีนี้ขาดน้ำ เดือนเดียวกันของปีรุ่งขึ้น ทะลายจะขาดคอ ดอกที่ออกมาจะกลายเป็นดอกตัวผู้ทั้งหมด ไม่ติดลูก นั่นคือ พืชตระกูลปาล์มตอบสนอง ต่อน้ำและปุ๋ยข้ามปี .... ให้น้ำให้ปุ๋ยปีนี้ ต้นจะออกดอกให้ผลในปีหน้า

- สวนยกร่องน้ำหล่อ ได้น้ำหล่อเลี้ยงต้นปาล์มทางรากแล้ว น้ำที่ระเหยขึ้นไปในอากาศ ทำให้เกิดความชื้นสัมพัทธ์ ยังช่วยบำรุงปาล์มอีกทางหนึ่ง พืชตระกูลปาล์มชอบแบบนี้....น้ำในร่องยังใช้ประโยชน์อย่างอื่นได้อีก ถ้าขยันพอ เลี้ยงปลาในร่อง เลี้ยงกบริมร่อง เลี้ยงกบในกระชัง แม้แต่เลี้ยงเป็ด เลี้ยงห่าน ได้ทั้งนั้น ดีนะ จะได้มีปุ๋ยคอกทั้งในน้ำบนบกบำรุงปาล์มอีกด้วย

บำรุงปาล์มน้ำมัน :
ทางราก :
- ใส่ยิบซั่ม ปุ๋ยอินทรีย์ กระดูกป่น, ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ ปีละ 2 ครั้ง
- ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 8-24-24 (2 ล.) /ไร่ /เดือน รดทั่วแปลงทุกตารางนิ้ว
- ให้ขี้แดดนาเกลือ หรือเกลือแกง 1 กก. /ต้น /ปี
- ใส่กากทะลายปาล์มจากโรงงาน คลุมโคนต้น 2 ปี /ครั้ง
- ให้น้ำสม่ำเสมอ พอหน้าดินชื้น

ทางใบ :
- ให้ไบโออิ 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ หางกันรอบละ 15-20 วัน

หมายเหตุ :
- พืชตระกูลปาล์ม ชอบและตอบสนองต่อ แม็กเนเซียม-สังกะสี ดีมากๆ
- ปาล์มน้ำมัน จ.ชุมพร กว่า 20,000 ไร่ ถึงยิบซั่ม ได้ผลผลิตดีมากๆ

ปาล์มน้ำมัน :
ช่วงหน้าแล้งหรือน้ำน้อย ใช้ปุ๋ย สูตร 15-30-15 (1:2:1) .... ช่วงหน้าฝนหรือน้ำสม่ำเสมอ ใช้สูตร 9-27-9 (1:3:1) .... เป็นปุ๋ยทางรากทั้ง 2 สูตร....จะช่วยบำรุงให้ "ดอกดก-ผลดก- ผลใหญ่" หากมีการให้เสริมหรือเพิ่มทางใบด้วย 21-7-14 (3:1:2) ก็จะดีขึ้นไปอีก

เทคนิคการให้ปุ๋ยทางรากสูตร 15-30-15 หรือ 9-27-9 สูตรใดสูตรหนึ่งตามสภาพแวดล้อมแล้ว สลับด้วย 6-24-24 (1:4:4) จะช่วยเพิ่มเปอร์เซ็นต์น้ำมันให้ดียิ่งขึ้น

การให้ แคลเซียม โบรอน.สม่ำเสมอจะช่วยบำรุงสร้างเนื้อ. เปลือก.
การให้ยิบซั่ม. สม่ำเสมอทำให้ได้กำมะถัน. จะช่วยสร้างกลิ่น

========================================================
========================================================



ยางพารา
พันธุ์น้ำยางสูง : พันธุ์สถาบันวิจัยยาง 251, สถาบันวิจัยยาง 226, BPM 24, RRIM 600
พันธุ์ให้เนื้อไม้สูง : ฉะเชิงเทรา 50, AVPOS 2037, BPM 1, ฉะเชิงเทรา 50 (RRIT 402)
พันธุ์ให้น้ำยางและเนื้อไม้สูง : PB 235, PB 255, PB 260, RRIC 110, PB 235
พันธุ์ใหม่ ทนแล้ง : "RRIT 408" เหมาะสำหรับปลูกในพื้นที่ภาคอีสาน


บำรุง ภาคอื่น : ทางราก : ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพ ระเบิดเถิดเทิง 21-7-14 (2 ล.) /ไร่ /2 เดือน รดทั่วแปลงทุกตารางนิ้ว +21-7-14 (1/2 กก.) /ต้น /2 เดือน ละลายน้ำรดโคนต้น บริเวณทรงพุ่ม

ทางใบ : ใช้ "ยูเรก้า" 1-2 เดือน/ครั้ง

บำรุง ภาคไต้ :
ทางราก : ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพ ระเบิดเถิดเทิง 18-9-18 (2 ล.) /ไร่ /2 เดือน รดทั่วแปลงทุกตารางนิ้ว +21-7-14 (1/2 กก.) /ต้น /2 เดือน ละลายน้ำรดโคนต้น บริเวณทรงพุ่ม

ทางใบ : ใช้ "ยูเรก้า" 1-2 เดือน/ครั้ง


===================================================
===================================================



สับปะรด
เตรียมพันธุ์ :

- แช่หน่อ (ตะเกียง) พันธุ์ในน้ำ +ไบโออิ + ยูเรก้า + แคลเซียม โบรอน 3-6 ชม. แล้วนำขึ้นผึ่งลมให้แห้ง แห้งแล้วนำไปปลูกในแปลงจริงได้เลย

บำรุง :
ระยะต้นเล็ก :

ทางใบ : ให้ไบโออิ 25-5-5 เดือนละครั้ง
ทางราก : ให้น้ำหมักชีวภาพ +30-10-10 หรือ 25-7-7 เดือนละครั้ง ให้น้ำเดือนละ 2 ครั้ง

ระยะออกดอก :
ทางใบ : ให้แคลเซียม คาร์ไบด์ กระตุ้นการออกดอกตามปกติ
ทางราก : ให้น้ำสม่ำเสมอ พอหน้าดินชื้น ถ้าแล้งมากๆ สับปะรดจะไม่ออกดอก หรือออกไม่ดี

ระยะลงหัว :
ทางใบ : ให้ไบโออิ 5-10-40. ทุก 15 วัน
ทางราก : ให้น้ำหมักชีวภาพ 5-10-40 (2 ล.) เดือนละครั้ง ให้น้ำสม่ำเสมอพอหน้าดินชื้น

หมายเหตุ :
- สับปะรดเป็นพืชอวบน้ำ ถ้าไม่ให้น้ำเขา เขาจะเอาน้ำที่ไหนไปสร้างความอวบ นั่นคือ คิดจะปลูกสับปะรดต้องสร้าง “ดินและน้ำ” ให้พร้อมจริงๆ หาไม่แล้ว จะไม่ได้อะไรเลย

- โมลิบดินั่ม. คือตัวช่วยปรับโครงสร้างไนโตรเจนในหัวสับปะรดไม่ให้เหลือตกค้างมากเกินไป จนเป็นเหตุให้กลายเป็นไนเตรท

- สับปะรดที่เร่งหวานก่อนเก็บเกี่ยวด้วย 13-0-46 จะได้หัวสีเขียวสด รสชาติหวานจัดดี โรงงานชอบ

- สับปะรดที่เร่งหวานก่อนเก็บเกี่ยวด้วย 0-0-50 จะได้หัวสีเหลือง คนกินสดชอบ แต่โรงงานไม่ชอบ

- บำรุงหัวให้โตเท่ากันหรือหัวเป็นรูปทรงกระบอกด้วย 1 : 2 : 8 ทั้งทางรากและทางใบ
- สับปะรด 300 ไร่ ที่สวนผึ้ง ราชบุรี ให้น้ำด้วยสปริงเกอร์โอเวอร์เฮด ทุก 15 วัน ทั้งรุ่นคิดต้นทุนตกหัวละ 2.80 ตังค์ ขายโรงงานได้หัวละ 5.40 ตังค์ สับปะรด 300 ไร่ มีหลายแสนหัวคุ้มเกินคุ้ม

โอเวอร์เฮด สับปะรด 300 ไร่...
หน่อพันธุ์ที่ตัดออกมาจากโคนต้นแม่ เอามาวางบนต้นแม่แบบนี้เป็นการช่วยบังแดดไม่ให้เผาหัวสับปะรดได้เป็นอย่างดี....ปกติหน่อพันธุ์วางบนต้นแม่แบบนี้ แล้วไม่มีการให้น้ำเลย จะอยู่ได้นานนับเดือนโดยไม่กระทบกระเทือนต่อการงอกใหม่ เพียงแต่ต้นหน่อพันธุ์อาจจะไม่สมบูรณ์เท่าที่ควรเท่านั้น แต่หากมีการให้น้ำแก่ต้นแม่ซึ่งก็เท่ากับเป็นการรักษาต้นหน่อพันธุ์ไปด้วยนี้ หน่อพันธุ์สามารถอยู่ได้นานถึง 3 เดือน ช่วยให้การยืดเวลา (ปัญหาแรงงาน) ที่จะเอาไปปลูกต่อได้นานขึ้น.... นอกจากเป็นการให้น้ำแก่ต้นแม่แล้ว ยังเป็นการบำรุงและยืดอายุต้นหน่อพันธุ์อีก ด้วย นี่คือ ประโยชน์ที่ได้รับอย่างเห็นได้ชัด

====================================================
====================================================



ถั่วฯ - งา
(ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วดำ ถั่วแดง-งาดำ-งาขาว)

เตรียมเมล็ดพันธุ์ :
- แช่เมล็ดพันธุ์ใน น้ำ 50 องศา + ไบโออิ + ยูเรก้า + แคลเซียม โบรอน 3-6 ชม. แล้วนำขึ้นผึ่งลมให้แห้ง แห้งแล้วนำไปหว่านในแปลงเพาะกล้าได้เลย หรือจะเพาะในแปลงเพาะกล้าก่อนก็ได้

บำรุง :
ระยะต้นเล็ก : ให้ไบโออิ 2 รอบ สลับแคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน ฉีดพ่นให้เปียกโชกลงถึงพื้น

ระยะก่อนออกดอก : ให้ไทเป 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน ฉีดพ่นให้เปียกโชกลงถึงพื้น

ระยะเป็นฝัก (ผล) แล้ว : ให้ไบโออิ + ยูเรก้า 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน ฉีดพ่นให้เปียกโชกลงถึงพื้น

หมายเหตุ :
- การให้ทางใบโชกๆ จนน้ำลงถึงพื้น เท่ากับเป็นการให้น้ำไปในตัว ทั้งนี้พืชไร่กลุ่มนี้ต้องการน้ำเพียงแค่ “ชื้น” เท่านั้น

- การเตรียมดิน เตรียมแปลง ถ้าได้ใส่อินทรีย์วัตถุ (เศษซากพืช) มากๆ นอก จากช่วยอุ้มน้ำ รักษาความชื้นสำหรับดิน และจุลินทรีย์แล้ว ยังเป็นสารอาหารสำหรับพืชอีกด้วย

=================================================
==================================================



ข้าวโพดฝักสด
เตรียมเมล็ดพันธุ์ :

- แช่ น้ำ+ไบโออิ+ยูเรก้า+แคลเซียม โบรอน นาน 24 ชม. ครบกำหนดแล้วนำขึ้นห่มชื้นต่อ 24-36-48 ชม. เมล็ดไหนรากงอกก่อน เอาไปปลูกก่อน

ตรวจเมล็ด : เมล็ดไม่มีตุ่มราก หรือรากใม่งอก เอาไปปลูกก็ไม่งอก

ฝักใหญ่ เนื้อทะลุนอกเปลือก ด้วย “ไบโออิ+ยูเรก้า”

เมล็ดเต็มเพราะเกสร (ไหม) สมบูรณ์ แข็งแรง ผสมกัน,
เนื้อไม่มีเปลือก ไม่ติดหัน เพราะแคลเซียม โบรอน

(ประสบการณ์ตรง เทคนิคนี้ เมื่อครั้งลูกๆ นศ.ลาดระบัง ไปฝึกงานที่ไร่กล้อม แกล้ม เพาะเมล็ดข้าวโพดหวาน เปอร์เซ็นต์งอก 200% คือ 1 เมล็ดงอก 2-3 ต้น จำนวนกว่า 100 ต้นจากทั้งแปลง 300 หลุม .... (สังกะสี. โบรอน. ส่งเสริมการงอกของรากของเมล็ด, ไคโตซาน. ช่วยกำจัดเชื้อโรคที่อาจปนเปื้อนมากับเมล็ดพันธุ์ และเป็นฮอร์โมนขยายขนาดโดยสะสมไว้ตั้งแต่ก่อนงอกเป็นต้น)

บำรุงระยะต้นเล็ก : รดด้วยน้ำหมักชีวภาพ 30-10-10 (1 ล.) +25-7-7 หรือ 16-8-8 สูตรใด สูตรใดสูตรหนึ่ง 2 กก. ละลายให้เข้ากันดี สำหรับเนื้อที่ 1 ไร่ โดยรดโคนต้น ให้ตอนเย็นก่อนค่ำดีกว่าให้ตอนกลางวัน .... ให้ 2 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน .... ระยะนี้หาโอกาสให้แคลเซียม โบรอน ฉีดทางใบ 1 ครั้ง

บำรุงระยะก่อนออกดอกยอด :
ทางดิน : ให้น้ำหมักชีวภาพ 8-24-24 (1 ล.) + 8-24-24 (1 กก.) ละลายให้เข้ากันดี สำหรับเนื้อที่ 1 ไร่ 1 รอบ รดโคนต้น ตอนเย็นก่อนค่ำดีกว่าให้ตอนกลางวัน

ทางใบ : ให้ฮอร์โมนไข่ไทเป 3-4 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน ระยะนี้หาโอกาสให้แคลเซียม โบรอน ฉีดทางใบ 1 ครั้ง

หมายเหตุ :
- เริ่มให้ตั้งแต่ก่อนออกดอกยอด 7 วัน ให้ไปเรื่อยๆ 7 วัน/ครั้ง กระทั่งมีดอกยอดแล้วมีฝักแรกออกมา กระนั้นก็ยังให้ต่อไปอีกจะได้ฝักที่สอง ฝักที่สาม และอาจะแถมฝักที่สี่ด้วย ถ้าปัจจัยพื้นฐานพร้อม

บำรุงระยะเป็นฝักแล้ว :
ทางดิน : ให้น้ำหมักชีวภาพ 21-7-14 (1 ล.) +21-7-14 (1 กก.) ละลายให้เข้ากันดี สำหรับเนื้อที่ 1 ไร่ ให้ 1 รอบ รดโคนต้น ตอนเย็นก่อนค่ำ ดีกว่าให้ตอนกลางวัน

ทางใบ : ให้ไบโออิ + ยูเรก้า 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน

หมายเหตุ :
- การให้ทางดินตอนเย็นได้ผลดีกว่าให้ตอนกลางวัน เพราะต้นพืชดูดสารอาหารจากรากขึ้นสู่ต้น (ล่างขึ้นบน) ไปไว้ที่ใบตอนกลางคืน เพื่อรอสังเคราะห์แสงตอนกลาง วันในวันรุ่งขึ้น

- การให้ทางใบตอนกลางวัน แดด 100% ได้ผลดี เพราะต้นพืชจะสังเคราะห์อาหารที่สะสมไว้ตั้งแต่ตอนกลางคืน แล้วส่งลงไปให้ส่วนต่างๆ ของต้น (บนลงล่าง) ในตอนกลางวัน

- สังกะสี. โบรอน. บำรุงให้ออกดอกดี ทั้งดอกยอด (ดอกตัวผู้) และไหมที่ฝัก (ดอกตัวเมีย)
- สังกะสี. ช่วยสร้างแป้งและน้ำตาลโดยตรง ช่วยทำให้คุณภาพของข้าวโพดดี
- แมกเนเซียม. ช่วยสร้างคลอโรฟีลด์ ใบข้าวโพดจะเขียวสังเคราะห์อาหารได้จนถึงวันเก็บเกี่ยว
- การให้ 21-7-14 (สูตรขยายขนาดผล) ทั้งทางใบทางราก เท่ากับให้ 2 เด้ง ช่วยให้ได้ฝักขนาดใหญ่

- การให้แคลเซียม โบรอน ทำให้คุณภาพดี เนื้อมาก เปลือกหุ้มเมล็ดบางและนิ่ม เวลาทาน ไม่ติดฟัน
- ข้าวโพดฝักสดต้องให้น้ำสม่ำเสมอ พอหน้าดินชื้น แยกให้ออกระหว่าง ชื้น-ชุ่ม-โชก-แฉะ-แช่

===================================================
===================================================



นาข้าว
ชาวนามั่งคั่ง ประเทศชาติมั่นคง
เพราะ.... ชาวนา คือ ประชากร/เกษตรกร กลุ่มใหญ่สุดของประเทศ คนทั้งโลกกินข้าว

เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเรื่องนาข้าว
1. ปัจจุบันประชากรทั่วโลกกว่า 3,000 ล้านคน (มากกว่าครึ่งของประชากรทั้งโลก) นิยมบริโภคข้าวมากกว่าขนมปังและมีแนวโน้มว่าจะมากเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นั่นหมายถึงตลาดข้าว โลกที่มีโอกาสโตขึ้น

ประเทศอุตสาหกรรมปลูกข้าวหรือทำการเกษตรด้านเพาะปลูกพืชไม่ได้ เพราะลักษณะทางภูมิศาสตร์โลกไม่อำนวย แต่คนในประเทศอุตสาหกรรมต้องกิน นี่คือโอกาสของประเทศเกษตรกรรมที่ควรปลูกข้าวขายให้ประเทศอุตสาหกรรมกิน

สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศเกษตรกรรม โดยประชากร 48% ทำอาชีพอุตสาหกรรม แต่ประชากร 52% ทำอาชีพเกษตร ในจำนวน 52% นี้ ยกเป็น 4% ปลูกพืชเป็นอาชีพ 48% ทำธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการเกษตร เช่น ขายปุ๋ย ขายยา ขายพัสดุภัณฑ์ เป็นคนกลาง เป็นต้น

2. ทั่วโลกมีข้าวประมาณ 120,000 สายพันธุ์ .... ปริมาณผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ที่ได้มากหรือน้อยต่างกันนั้นนอกจากข้อจำกัดของลักษณะทางสายพันธุ์แล้ว สภาพอากาศสภาพแวดล้อมและเทคนิคการปฏิบัติบำรุงก็มีส่วนเกี่ยวข้องด้วย

พันธุ์ข้าวจ้าวที่ทางราชการแนะนำ ได้แก่
กข-7 : ทนทานต่อโรคขอบใบแห้ง โรคไหม้ และค่อนข้างทนต่อดินเปรี้ยว,
กข-23 : ทนทานต่อโรคใบไหม้ โรคใบหงิก เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยจั๊กจั่นสีเขียว,
หอมคลองหลวง-1 : กลิ่นหอมคล้ายขาวดอกมะลิ ทนทานต่อโรคไหม้ โรคขอบใบแห้ง เพลี้ยกระโดดหลังขาว,

หอมสุพรรณ : กลิ่นหอมคล้ายขาวดอกมะลิ ทนทานต่อโรคขอบใบไหม้ เพลี้ยกระโดดหลังขาว,
สุพรรณบุรี-1 : ทนทานต่อโรคใบไหม้ โรคใบหงิก โรคขอบใบแห้ง เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยจั๊กจั่นสีเขียว,

สุพรรณบุรี-2 : ทนทานต่อโรคขอบใบแห้ง เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล, สุพรรณบุรี-60 ทนทานต่อโรคใบไหม้ โรคขอบใบแห้ง เพลี้ยจักจั่นสีเขียว เพลี้ยกระโดดหลังขาว,

สุพรรณบุรี-90 : ทนทานต่อโรคใบไหม้ โรคขอบใบแห้ง โรคขอบหงิก โรคใบสีส้ม เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล,

ชัยนาท-1 : ทนทานต่อโรคใบหงิก เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยกระโดดหลังขาว,
ปทุมธานี-1 : ทนทานต่อโรคใบไหม้ โรคขอบใบแห้ง เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยกระโดดหลังขาว,

พิษณุโลก-2 : ทนทานต่อโรคใบไหม้ เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยกระโดดหลังขาว เพลี้ยจักจั่นสีเขียว,

สุรินทร์-1 : ทนทานต่อโรคใบไหม้ โรคขอบใบแห้ง ทนต่อดินเค็มและความแห้งแล้ง,

พันธุ์ข้าวเหนียวที่ทางราชการแนะนำ ได้แก่
กข-10 : ทนทานต่อโรคใบไหม้
แพร่-1 : ทนทานต่อโรคใบไหม้ โรคขอบใบไหม้ โรคใบหงิก เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล,
สกลนคร : ทนทานต่อโรคใบไหม้ โรคใบหงิก เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล,
สันป่าตอง : ทนทานต่อโรคใบไหม้ โรคขอบใบแห้ง

ข้าวหอมพันธุ์พื้นบ้าน ได้แก่
หอมหาง. หอมเศรษฐี. หอมนายพล. หอมแดงน้อย. หอมลาย.หอมนางมล. หอมพวง. หอมเม็ดเล็ก.หอมเขมร. หอมทุเรียน. หอมมาล่า. หอมไผ่. หอมครัว. หอมใบ. หอมโพ. หอมบาว. หอมนางนวล. หอมนวล. หอมสวน. หอมอุดม. หอมแพ พะโล้. หอมดอ. หอมหวน. หน่วยเขือ. เล้าแตก. ก่ำเปลือกดำ. ช่อขิง. มันเป็ด. ปะกาอำปึล. หอมทุ่ง. ป้องแอ๊ว. หอมมะลิหรือขาวดอกมะลิ. หอมปทุมธานี. หอมคลองหลวง. หอมสุพรรณ. หอมพิษณุโลก. หอมกุหลาบแดง. หอมนิล.

ข้าวไวแสง หมายถึง ข้าวสายพันธุ์ที่ปลูกแล้วเจริญเติบโตได้ดีในช่วงกลางวันสั้นกว่ากลางคืน หรือวันสั้นซึ่งมีแสงน้อยกว่า 12 ชม. เหมาะสำหรับปลูกเป็นข้าวนาปีหรือปลูกในฤดูฝนแล้วให้ออกดอกในต้นฤดูหนาว

ข้าวไม่ไวแสง หมายถึง ข้าวสายพันธุ์ที่ปลูกแล้วเจริญเติบโตได้ดีทุกฤดูกาลตราบเท่าที่มีน้ำอย่างเพียงพอ ปริมาณแสงไม่มีอิทธิผลต่อการเจริญเติบโต เหมาะสำหรับปลูกเป็นข้าวนาปรังหรือช่วงฤดูร้อน

- ข้าวพันธุ์พื้นเมืองไม่ตอบสนองต่อปุ๋ยเคมี แต่ตอบสนองต่อปุ๋ยอินทรีย์ดีมากทั้งนี้เป็นเพราะสายพันธุ์ได้ผ่านกระบวนการพัฒนามาโดยธรรมชาติ ในขณะที่ข้าวลูก ผสมหรือสายพันธุ์ที่สร้างขึ้นมาใหม่จำเป็นต้องพึ่งพาปุ๋ยเคมี คงเป็นเพราเทคโนโลยีในการพัฒนาสายพันธุ์ที่มีเรื่อง “เชิงพานิช” เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยนั่นเอง



[/i]


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 25/03/2024 1:22 pm, แก้ไขทั้งหมด 17 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 26/01/2024 11:50 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
หมายเหตุ :
- ข้าวปอซาน (Pearl Paw San) ของพม่า ซึ่งเป็นข้าวชนะเลิศในการประกวดข้าวที่ดีที่สุดของโลกในปี 2554 (ข้าวหอมพม่า "Pearl Paw San" ข้าวที่ชนะการประกวดข้าวอร่อยที่สุดในโลก เป็นข้าวเม็ดสั้น แต่พอหุงออกมาแล้วเม็ดข้าวจะยาวเหมือนข้าวหอมมะลิไทย สนใจติดต่อ 086-1196464 ..... คุณมนตรี)

- ข้าวแคลโรสเป็นข้าวที่ถูกพัฒนาสายพันธ์โดยนักวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัย แคลิฟฟอร์เนีย ที่เมืองเดวิส (UC Davis) เมื่อ พ.ศ.2491 และเริ่มมีการปลูกแพร่หลายตั้งแต่ปี พ.ศ.2504 เป็นข้าวเมล็ดขนาดกลาง รูปร่างคล้ายดอกกุหลาบตูม หากปลูกในรัฐ Louisiana จะเรียกว่า Blue rose มี

การปลูกข้าวแคลโรสในหลายประเทศ เช่นที่ ออสเตรเลีย และแถบหมู่เกาะ แปซิฟิค ข้าวแคลโรส เป็นข้าวชนิดนุ่ม เหนียว เหมาะที่จะทำข้าวซูชิ

ส่วนข้าวพกามะลิ จากประเทศกัมพูชา จะเป็นข้าวที่มีผลกระทบต่อการส่งออกข้าวหอมมะลิของไทย เนื่องจากข้าวพกามะลิ เป็นข้าวเมล็ดยาว การหุงต้มเหมือนข้าวหอมมะลิของไทย จริงๆแล้ว น่าจะพูดได้ว่าข้าวพกามะลิ ก็คือข้าวหอมมะลิที่ปลูกในกัมพูชานั่นเอง Phka Malis ในภาษาเขมร Phka หมายถึง ดอกไม้ ข้าวพกามลิ จึงมีความหมาย ข้าวดอกไม้มะลิ หรือข้าวดอกมะลิ

ข้าวหอมของกัมพูชามีหลายสายพันธ์ เช่น ข้าว Phka Romdul, ข้าว Phka Khnei, ข้าว Cammalis

ข้าวผกาลำดวน (Phka Malis) เป็นข้าวของกัมพูชาเองที่ปลูกตามพื้นที่ที่จำกัด มีคุณภาพดีมาก แต่เนื่องจากเมล็ดพันธ์หายาก จึงนิยมปลูกน้อยกว่าข้าวผกามะลิ ซึ่งหาซื้อพันธ์ได้ง่ายกว่า

การปลูกข้าวผกามะลิมีอยู่แพร่หลายทั้งที่บันเตียนเมียนเจย (ศรีโสภณเดิม) พระตะบอง กัมปงธม กัมปงจาม โพธสัด ข้าวที่ปลูกในพื้นที่ดังกล่าวมีคุณสมบัติของข้าวไม่ว่าจะความนุ่ม ความหอม ใกล้เคียงการปลูกในประเทศไทย เพราะมีการใส่ปุ๋ยเคมีค่อนข้างน้อย ปัญหาที่พบก็คือ ข้าวเริ่มมีพันธ์ปน เนื่องจากชาวนาในกัมพูชา ที่ปลูกข้าวหอมมะลิได้ 3 ปี ยังไม่ค่อยเปลี่ยนเมล็ดพันธ์ ทำให้ความบริสุทธ์ของเมล็ดพันธ์เริ่มลดลง

ส่วนราคา ข้าวผกามะลิของกัมพูชาราคาถูกกว่าข้าวหอมมะลิของประเทศไทย โดยข้าวผกามะลิราคาขายอยู่ที่ $900-920 ต่อตัน F.O.B. สีหนุวิลล์ ขณะที่ข้าวไทย ราคาส่งออก $980-1080 ต่อตัน F.O.B . แหลมฉบัง

3. ข้าวเป็นพืชอายุสั้นฤดูกาลเดียว ปลูกได้ทุกพื้นที่และทุกฤดูกาลที่มีน้ำ โดยหลังเมล็ดงอก 90-120 วัน (ตามชนิดของสายพันธุ์) ก็สามารถเก็บเกี่ยวได้ เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกชนิดที่มีอินทรีย์วัตถุมากๆ โปร่งร่วนซุย น้ำและอากาศผ่านสะดวก

4. ข้าวไม่มีฤดูกาล ลงมือหว่าน/ดำเมื่อใดให้นับต่อไปอีก 90-120 วัน ก็เก็บเกี่ยวได้ การทำนาข้าวส่วนใหญ่รอน้ำฝนอย่างเดียว โดยเริ่มลงมือดำ/หว่านเมื่อถึงฤดูฝน จึงทำให้มีข้าวออกสู่ตลาดพร้อมกันทั้งประเทศ (พ.ย. และ มี.ค. ข้าวเปลือกล้นตลาด) ส่งผลให้ราคาข้าวเปลือกถูกลง เพื่อหลีกเลี่ยงสภาวะข้าวล้นตลาด นาในเขตชลประทานซึ่งมีน้ำบริบูรณ์ สามารถผันน้ำเข้าแปลงนาได้ทุกเวลาที่ต้องการ ควรวางแผนหว่าน/ดำ ก่อนหรือหลังนาน้ำฝน 1½ เดือน - 2 เดือน จะทำให้เก็บเกี่ยวได้ก่อนหรือหลังนาน้ำฝน 1½-2 เดือน ซึ่งช่วงนี้ข้าวเริ่มมีราคาดีขึ้นแล้ว หลังจากจัดตารางช่วงการทำนาได้ ในปีแรกก็จะใช้ตารางช่วงการทำนานี้ได้ตลอดไป

ข้าวเปลือกเก็บในที่ควบคุม (ไซโล) ยังไม่สีเอาเปลือก (แกลบ) ออก จะยังคงรักษากลิ่นไว้ได้ เมื่อนำออกสีก็ยังได้กลิ่นเดิม แต่หากสีเอาแกลบออกแล้วกลิ่นจะอยู่ได้ไม่นานแม้จะจัดเก็บอย่างดี

ข้าวกล้องหรือข้าวซ้อมมือ (ไม่มีแกลบ) แต่จมูกข้าวยังอยู่ สามารถนำไปเพาะขายพันธุ์ได้เหมือนเมล็ดที่ยังมีแกลบห่อหุ้มทุกประการ .... เมล็ดข้าวกล้องหรือข้าวซ้อมมือไม่มีแกลบ ทดสอบด้วยการใช้ฟันกัดเมล็ดด้านปลาย (ตรงข้ามกับจมูกข้าว) จะสัมผัสได้กับกลิ่นตามสายพันธุ์ของข้าวพันธุ์นั้น

5. นาข้าวเป็นกิจกรรมทางการเกษตรที่มีประชากรทำมากที่สุด หรือมีพื้นที่ปลูกมากที่สุดจนได้รับสมญาว่าเป็นชาวนา คือ กระดูกสันหลังของชาติ และข้าวเป็นพืชอายุสั้นฤดูกาลเดียว ชนิดเดียวที่มีโรคและแมลงศัตรูพืชมากที่สุด

6. เมล็ดพันธุ์ข้าวบางสายพันธุ์ไม่มีระยะพักตัว บางสายพันธุ์มีระยะพักตัวยาว หรือ 0-80 วัน ดังนั้น ก่อนหว่าน/ดำจำเป็นต้องรู้ระยะพักตัวของเมล็ดพันธุ์ด้วย .... เมล็ดพันธุ์ที่เก็บเกี่ยวในช่วงแล้ง อุณหภูมิร้อนมักมีระยะพักตัวสั้น ความสำคัญของระยะพักตัว คือ เมล็ดพันธุ์ที่ผ่านระยะพักตัวครบกำหนดตามธรรมชาติของสายพันธุ์ จะให้เปอร์เซ็นต์งอกสูงกว่าเมล็ดพันธุ์ที่พักตัวไม่ครบกำหนด หรือไม่ได้พักตัวเลย หรือพักตัวเกินกำหนด

7. ใส่ปุ๋ยเคมีแก่ต้นข้าวให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด 2 ช่วงเท่านั้น คือ ช่วงทำเทือก (เตรียมดิน) กับช่วงตั้งท้อง-แต่งตัว การใส่ปุ๋ยในช่วงอื่นๆ จะไม่เกิดประโยชน์ใดๆ

8. การใส่ปุ๋ยแต่งหน้า หรือใส่ปุ๋ยทันทีหลังปักดำ (นาดำ) หรือเมล็ดพันธุ์เริ่มงอก (นาหว่าน) ไม่เกิดประโยชน์ เพราะต้นกล้ายังไม่พร้อมรับและยังไม่มีความจำเป็นต้องให้ ทั้งนี้ระยะที่ต้นกล้างอกใหม่ๆ จะใช้สาร อาหารที่มีอยู่ในเมล็ดตัวเอง (แป้งโปรตีน ไขมัน วิตามิน ฯลฯ) เป็นหลัก

9. แปลงนาน้ำพอแฉะหน้าดิน ตอบสนองต่อปุ๋ย(เคมี-อินทรีย์)ดีกว่าแปลงนาน้ำขัง สังเกตแปลงนาต้นข้าวที่ขึ้นในแปลงบริเวณรอยต่อระหว่างที่ลุ่มกับที่ดอนซึ่งมีน้ำพอแฉะดินไม่ท่วมโคนต้น ต้นข้าวบริเวณนั้นมักเจริญเติบโต สมบูรณ์ แตกกอมีจำนวนลำมาก กว่าต้นข้าวในบริเวณที่มีน้ำหล่อโคนต้น แสดงว่าธรรมชาติหรือนิสัยของต้นข้าวชอบน้ำพอดินแฉะเท่านั้น

10. แก๊สคาร์บอนไดอ๊อกไซด์จากอากาศมีประโยชน์ต่อต้นข้าวในการสร้างแป้งหรือเปลี่ยนธาตุอาหารต่างๆ ให้เป็นแป้ง

11. ข้าวที่ปลูกระยะระหว่างกอห่างๆ แล้วบำรุงให้แต่ละกอแตกหน่อเกิดเป็นลำใหม่จำนวนมากจะให้ผลผลิตดีกว่าทั้งคุณภาพและปริมาณ เมื่อเทียบกับการปลูกระยะระหว่างกอชิดมากๆ แต่ละกอจะแตกหน่อเกิดเป็นลำใหม่น้อยๆ ปริมาณและคุณภาพไม่ดีนัก

12. การลดความสูงต้นของต้นข้าว ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการเพิ่มปริมาณผลผลิตและคุณภาพ นอกจากนี้ยังทำให้ต้นแข็งแรงไม่ล้มหักง่าย และโรคแมลงเข้ารบกวนน้อยอีกด้วย .... ลำต้นสูงมากๆ ทำให้สิ้นเปลืองน้ำเลี้ยงไปสร้างลำต้น จึงทำให้มีสารอาหารเหลือไปเลี้ยงรวงน้อย หรือ ฟางมากเมล็ดน้อย-ฟางน้อยเมล็ดมาก .... ต้นข้าวในน้ำที่ระดับพอเปียกหน้าดิน (ดินแฉะเล็กน้อย) จะแตกกอได้จำนวนมากกว่าต้นข้าวที่ปลูกในน้ำขังค้าง หรือท่วมโคน .... ข้าวลำต้นสูง (น้ำมาก ไนโตรเจนมาก) จะมีรวงสั้น แต่ข้าวลำต้นสั้น (น้ำพอแฉะหน้าดิน สารอาหารสมดุลทุกตัว)จะมีรวงยาว .... ต้นข้าวช่วงระยะกล้าที่ไม่ได้ให้ 46-0-0 แต่ให้ 16-8-8 แทน ควบคู่กับช่วงตั้งท้องแต่งตัวให้ 0-42-56 โดยฉีดพ่นพอเปียกใบ 1-2 รอบ จะช่วยให้ต้นข้าวไม่สูงแต่กลับเจริญเติบโตข้างอวบอ้วนเหมือนต้นไม้ผลมีอาการอั้นตาดอก .... การตัดใบยอดช่วงตั้งท้องแต่งตัวก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ทำให้ต้นข้าวไม่สูงต่อ แล้วอวบอ้วนเหมือนอั้นตาดอกได้เช่นกัน

13. ต้นข้าวที่ปลูกโดยวิธีปักดำ ฐานรากยึดดินลึกและแน่น สามารถต้านทานการล้มได้ดีกว่าปลูกแบบหว่าน .... เทคโนโลยีสมัยใหม่ ปัจจุบันมีเครื่อง (รถ) ดำนา ด้วยการปักต้นกล้าข้าวลงดินโดยตรง สามารถจัดปรับระยะห่างระหว่างกอได้ตามความต้องการและ ทำงานด้วยแรงงาน 2 คน .... เครื่อง (รถ) หยอดเมล็ดพันธุ์ข้าว ขับเคลื่อนตัวเองหรือลากด้วยรถไถเดินตาม หยอดเมล็ดเป็นหน้ากว้าง 2.5-3 ม. ทำงานด้วยแรงงานเพียง 1 คน เมล็ดพันธุ์ที่ถูกหยอดลงบนผิวขี้เทือกจึงเหมือนเมล็ดพันธุ์ที่หว่านด้วยมือ แต่ระยะห่างระหว่างเมล็ดต่อเมล็ดสามารถกำหนดได้ตามความต้องการ

14. ดอกข้าวเป็นดอกสมบูรณ์เพศ มีทั้งเกสรตัวผู้และตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกันและผสมกันเองได้ .... ดอกจะเริ่มบานจากส่วนปลายรวงลงมาโคนรวง ดอกบานครบทั้งรวงใช้ระยะเวลาประมาณ 7 วัน และช่วงดอกบานควรงดการฉีดพ่นทางใบเพราะอาจทำให้เกสรเปียกชื้นจนผสมไม่ติดได้ หรือผสมติดก็ได้คุณภาพเมล็ดไม่ดี

ดอกข้าวที่บานในวันอากาศสดใสแสงแดดดีช่วงเช้าถึงเที่ยงจะผสมเกสรติดเป็นผล(เมล็ด)ได้ดี ซึ่งดอกข้าวจะบานและเกสรพร้อมผสมได้ภายในระยะเวลา 30-60 นาที

- ระยะข้าวเป็นน้ำนม ใช้เวลาประมาณ 7 วันหลังผสมติด
- ระยะข้าวเม่าหรือเป็นไต ใช้เวลาประมาณ 14-21 วันหลังผสมติด
- ระยะเมล็ดแก่เต็มที่หรือระยะเก็บเกี่ยว ใช้เวลาประมาณ 30 วันหลังผสมติด

15. อากาศหนาว (15-20 องศา /ภาคเหนือเกิดน้ำค้างแข็ง) ติดต่อกัน 10 วันมีผลต่อต้นข้าวหลายอย่าง เช่น เมล็ดไม่งอก ต้นกล้าโตช้า ต้นแคระแกร็น ใบเหลือง ออกดอกช้าและช่วงออกดอกเป็นช่อดอกอ่อนเกสรจะฝ่อผสมไม่ติด หรือผสมติดก็เป็นเมล็ดลีบ แก้ไขโดยให้ แม็กเนเซียม+สังกะสี+กลูโคส ล่วงหน้าก่อนหนาว 2-3 วัน และให้ระหว่างอากาศหนาว ทุก 2-3 วัน จนกว่าอากาศหายหนาว

16. อากาศร้อน (สูงกว่า 35 องศา) ช่วงข้าวหลังผสมเกสรติดหรือเริ่มเป็นน้ำนม จะกลายเป็นข้าวลีบมาก แก้ไขโดยการให้ ธาตุรอง/ธาตุเสริม + เอ็นเอเอ. ล่วงหน้าก่อนอากาศร้อน 2-3 วัน และให้ระหว่างอากาศร้อน ทุก 2-3 วัน จนกว่าอากาศจะปกติ

17. สายลมแรงมากทำให้ต้นข้าวเครียด เนื่องจากต้องคายน้ำมาก มีผลทำให้เมล็ดข้าวลีบ รวงจะเป็นสีขาวคล้ายถูกหนอนกอทำลาย วิธีแก้ไขเหมือนช่วงอากาศร้อนจัด

18. การนับอายุข้าว นาดำเริ่มนับที่วันปักดำ ส่วนนาหว่านเริ่มนับที่วันหว่าน แต่อย่างไรก็ตาม ในธรรมชาติไม่มีตัวเลข ทุกอย่างต้องขึ้นกับปัจจัยพื้นฐานด้านการเกษตรทั้งสิ้น

*** ข้าวอายุ 120วัน
- ระยะกล้า 0-18วัน
- ระยะแตกกอ 20-30 วัน
- ระยะสร้างรวง 50-60 วัน
- ระยะออกดอก 70-85 วัน (พอข้าวผสมเกสร ปลายข้าวเมล็ดเหลือง 2-3 เมล็ด ให้ฉีดเร่งแป้ง)
- ระยะเกี่ยว ระยะพลับพลึง ระยะข้าวช่วงไม่เกิน 110วัน
-สำหรับข้าวนาดำ ตามรูปของท่าน ให้นับวันที่ปักดำ เป็นวันแรก ไม่ใช่บวกวันตกกล้า เช่นเพราะกล้าวันที่ 1 วันดำกล้าวันที่ 18 ให้นับวันที่ 18 เป็นวันที่ 1 ก็จะตรงกัน

19. ตกกล้าสำหรับนาดำ ระหว่างการตกกล้าในกระบะ (ตาป๊อก) กับการตกกล้าในแปลงบนพื้นใช้เวลา 16-20 วัน เท่ากัน แต่ต้นกล้าในแปลงบนพื้นจะสูงกว่า .... ต้นกล้าในกระบะเหมาะสำหรับใช้ปักดำด้วยเครื่องดำนา ส่วนต้นกล้าในแปลงบนพื้นเหมาะสำหรับปักดำด้วยมือ

20. ในนาหว่าน ถ้าระดับน้ำท่วมเมล็ดมาก (น้ำลึก) เมล็ดจะงอกช้าเพราะในน้ำมีอากาศน้อย หลังจาก งอกขึ้นมาแล้วลำต้นจะสูงและอ่อนแอ แต่ถ้าหว่านเมล็ดระดับน้ำพอท่วมเมล็ดหรือท่วมน้อยที่สุดจะงอกเร็วเพราะเมล็ดพันธุ์ได้รับอากาศดี

21. ระดับอุณหภูมิ 30 องศา เมล็ดพันธุ์งอกได้ดีที่สุด....อุณหภูมิต่ำกว่า 10 องศา เมล็ดพันธุ์จะไม่งอก .... การทำให้เมล็ดพันธุ์อบอุ่น โดยหลังจากแช่น้ำ 24 ชม. แล้วนำขึ้นกองบนพื้นซีเมนต์ ปิดทับด้วยพลาสติกนาน 24 ชม. อุณหภูมิในกองจะสูงขึ้นส่งผลให้ได้เปอร์เซ็นต์งอกสูง

22. ต้นข้าวที่เจริญเติบโตในช่วงอุณหภูมิสูง จะเจริญเติบโตเร็ว และให้ผลผลิตดีกว่าต้นข้าวที่เจริญเติบโตในช่วงที่อุณหภูมิต่ำ

23. ต้นกล้าที่มีขนาดอวบอ้วน น้ำหนักมาก จะเจริญเติบโตเร็ว และให้คุณภาพผลผลิตดีกว่าต้นกล้าผอม น้ำหนักน้อย .... ต้นข้าวที่สมบูรณ์ ภายใต้ปัจจัยพื้นฐานแห่งการเพาะปลูกจะแตกใบใหม่ทุก 7 วัน

24. นาดำ ปักดำกล้ากอละ 1 หรือ 2 ต้น หรือมากว่า ให้ผลผลิตไม่ต่างกัน แต่สิ้น เปลืองต้นกล้า แรงงาน และเวลาต่างกัน

25. การใส่ปุ๋ยเคมีที่มีอัตราส่วนไนโตรเจน.สูง ฟอสฟอรัส. และโปแตสเซียม.ต่ำ เช่น 16-8-8 หรือ 25-7-7 หรือ 46-0-0 + 16-16-16 อัตรา 1:1 จะช่วยให้ต้นข้าวแตกหน่อดีกว่าการใส่ไนโตรเจน. เดี่ยวๆ

26. ข้อมูลทางวิชาการระบุว่า ข้าวหอมมะลิ กข.105 เป็นข้าวไวแสง ปลูกได้เฉพาะเขตอิสาน ปลูกได้ปีละ 1 รุ่น ได้ผลผลิต 30-50 ถัง/ไร่ .... แต่ข้อมูลแห่งความเป็นจริง ข้าวหอมมะลิ เมล็ดพันธุ์จากอิสาน ปลูกที่ จ.ลำพูน, จ.พิจิตร, จ.นครสวรรค์ ปลูกได้ปีละ 2 รุ่น ได้ผลผลิต 80 ถัง/ไร่.

(จากงานวิจัยโดย ม.จุฬาลงกรณ์ ระบุว่า ดินและสภาพแวดล้อมของพื้นที่ปลูกที่ทำให้ข้าวหอมมะลิ กข.105 มีกลิ่นหอมนั้นเกิดจากจุลินทรีย์ชนิดหนึ่งได้สารอินทรีย์ขึ้นมาให้แก่ต้นข้าว)

27. ข้าวหอมมะลิ กข.105 ถือกำเนิดที่ จ.ฉะเชิงเทรา ดังนั้นจึงไม่น่าที่จะปลูกในพื้นที่จังหวัดอื่นๆไม่ได้ การที่ข้าวหอมมะลิ กข.105 มีกลิ่นหอมเฉพาะตัวนั้น นอกจากเป็นผลงานของจุลินทรีย์แล้ว ลักษณะสภาพโครงสร้างของดินที่มีเกลือสินเธาว์ก็น่าจะมีส่วนด้วย .... ข้าวขาวดอกมะลิ คือข้าวขาวหอมมะลิ ฉายรังสีนิวตรอน

(ฉายรังสีนิวตรอนเร็วปริมาณ 20 30 40 50 และ 60 เกร์ย เมล็ดพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 เพื่อชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์ เริ่มทำการทดลองปี 2539 ผลการทดลองพบว่า สายพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ที่ฉายรังสีปริมาณ 20 เกร์ย จำนวน 21 สายพันธุ์ แสดงลักษณะต้นเตี้ย ไม่ไวต่อช่วงแสง มีคุณภาพเมล็ดและความหอมใกล้เคียงกับข้าวขาวดอกมะลิ 105 ทำการคัดเลือกสายพันธุ์ดีที่ให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์เดิม ทดลองเปรียบเทียบผลผลิตระหว่างสถานีจำนวน 5 สายพันธุ์ เนื่องจากสายพันธุ์เหล่านี้ไม่ไวต่อช่วงแสง อายุเก็บเกี่ยวสั้นเพียง 100 วัน เหมาะสำหรับแนะนำให้ปลูกในเขตชลประทาน สามารถปลูกได้ปีละ 3 ครั้งเพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร...)

28. ต้นข้าวที่ขึ้นห่างๆ จะแตกกอจำนวนมาก แต่ละกอมี 20-30 ลำ 1 ลำ ได้ผล ผลิต 1 รวง ต้นและใบที่ได้รับแสงแดดเต็มที่จะส่งผลให้คุณภาพผลผลิตดี โรคแมลงรบกวนน้อย การเดินเข้าไปตรวจแปลงง่ายและสะดวก .... ต้นข้าวที่ขึ้นถี่ๆ จะแตกกอน้อยต้นและใบได้รับแสงแดดน้อย ส่งผลให้คุณภาพผลผลิตไม่ดี กับทั้งโรคแมลงรบกวนมากด้วย

ใช้ “กากก้นถัง” ปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิงที่มีส่วนผสมของ ฮิวมิค แอซิด รวมอยู่ด้วย ใส่แปลงนาช่วงทำเทือกจะช่วยให้ต้นข้าวแตกกอได้มากขึ้น

ช่วงต้นข้าวระยะน้ำนม สามารถตรวจสอบปริมาณผลผลิตในเนื้อที่ 1 ไร่ ได้โดยเดินทแยงมุม จากมุมกระทงหนึ่งไปยังมุมกระทงตรงข้าม เก็บข้าวรวงแรก แล้วดินต่อไปอีก 10 ก้าวให้เก็บรวงที่สอง และให้เก็บรวงข้าวทุกๆ ระยะเดิน 10 ก้าว จนสุดมุมกระทงนา เก็บรวงข้าวมาแล้วนับจำนวนรวงที่เก็บมา จากนั้นให้เด็ดเมล็ดข้าวออกจากรวงทุกรวง นับจำนวนเมล็ดทั้งหมดแล้วหารด้วยจำนวนรวง เพื่อหาค่าเฉลี่ย ตัวเลขผล ารคือ ผลผลิตโดยประมาณของผลผลิตข้าวในเนื้อที่ 1ไร่นั้น เช่น เก็บรวงข้าวมาได้ 10 รวง เด็ดเมล็ดออกมานับรวมกันได้ 1,230 เมล็ด ค่าเฉลี่ย (1,230 หารด้วย 10) เท่ากับ 123.3 แสดงว่านาข้าวไร่นั้นจะได้ผลผลิตโดยประมาณ 123 ถัง นั่นเอง

29. ต้นข้าวที่ขึ้นห่างๆ ใบแผ่กางรับแสงแดดได้เต็มหน้าใบ จะสมบูรณ์แข็งแรงให้ผลผลิตมาก และคุณภาพดีกว่าต้นข้าวที่ขึ้นเบียดชิดจนใบไม่สามารถแผ่กางรับแสงแดดเต็มหน้า ใบได้

30. สารที่ทำให้ข้าวหอมมะลิมีกลิ่นหอม เป็นสารตัวเดียวกันกับน้ำคั้นใบเตย ดังนั้น ข้าวหอมมะลิ ที่ปลูกนอกพื้นที่ทุ่งกุลาร่าเริง ระยะพลับพลึง (ก่อนเกี่ยว) แต่ใบยังเขียวหรือเขียวอมเหลือง ให้น้ำ 100 ล.+ น้ำคั้นใบเตยสด 250-300 ซีซี.+ กลูโคสน้ำ 100 ซีซี. ฉีดพ่นทางใบ ก่อนเกี่ยว 5-7 วัน จะช่วยบำรุงให้ข้าวมีกลิ่นหอมดีขึ้น

31. ระยะน้ำนม รวงข้าวเริ่มโค้งลง ถ้าลำต้นสูงมากหรือความสมบูรณ์ต่ำ เมื่อถูกลมพัดมัก จะล้มหรือหัก อาการล้มหรือหักของต้นทำให้น้ำเลี้ยงจากรากลำเลียงไปสู่รวงไม่ได้ จึงทำให้ไดเมล็ดข้าวคุณภาพต่ำ แนวทางแก้ไข คือ ช่วงตั้งท้องต้องบำรุงด้วย 0-42-56 ย่างน้อย 2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน จะช่วยลำต้นไม่สูงแต่อวบอ้วนดี

32. นาข้าวเขตภาคกลางแบบ อินทรีย์นำ เคมีเสริม รุ่นแรกใช้ต้นทุนไม่เกิน 2,000-2,500 บาท/ไร่ ได้ข้าว 100 ถัง จากรุ่นแรกแล้วทำต่อรุ่น 2-3 และรุ่นต่อไปเรื่อยๆ ต้นทุนจะลดลงมาอยู่ที่ประมาณ 1,500-1,800 ได้ข้าวเพิ่มเป็น 120-130 ถัง

33. นา 20 ไร่ แรงงานสองคนผัวเมีย ปลูกข้าว 4 สายพันธุ์ สายพันธุ์ละ 5 ไร่ ได้ผลผลิตมาแล้วสีเป็นข้าวกล้อง จากข้าวกล้องทำเป็นข้าว “เบญจรงค์” (ข้าว 5 สี) ขายปลีก กก.ละ 100 บาท รูปการณ์น่าจะดีกว่าทำข้าวเปลือกขายให้โรงสี

34. นาข้าวที่ได้ 100 ถัง จะมีฟางประมาณ 1,200 กก. .... ปริมาณฟาง 1 ตัน จะให้สารอาหารพืช ประกอบ ด้วย ไนโตรเจน 6.0 กก. ฟอสฟอรัส 1.4 กก. โปแตสเซียม 17.0 กก. แคลเซียม 1.2 กก. แม็กเนเซียม 1.3 กก. ซิลิก้า 50.0 กก.

ถ้าได้ไถกลบเศษซากต้นถั่วเหลือง (ปลูกจากเมล็ดพันธุ์ 12 กก./ไร่) ลงไปอีกก็จะได้ ไนโตร เจน 45 กก. เมื่อรวมฟางกับต้นถั่วเหลืองแล้ว จะทำให้ได้ปุ๋ยสำหรับต้นข้าวมากมาย

ดินที่สภาพโครงสร้างดีตามมาตรฐานกรมพัฒนาที่ดินระบุว่า เมื่อใส่ปุ๋ยเคมีลงไปแต่ละครั้ง ต้นพืชได้นำไปใช้จริงเพียง 4 ส่วน แล้วเหลือตกค้างอยู่ในดิน 6 ส่วนเสมอ ดังนั้นการใส่ปุ๋ยเคมี 1-2 รุ่นแล้วเว้น 1 รุ่น ก็จะยังคงมีปุ๋ยเคมีเหลือตกค้างจากการใส่แต่ละรุ่นที่ผ่านมาบำรุงต้นข้าวรุ่นปัจจุบันได้อย่างเพียงพอ

มาตรการบำรุงดินโดยปรับปรุงบำรุงดินด้วยอินทรีย์วัตถุ สารปรับปรุงบำรุงดิน และจุลินทรีย์ อย่างสม่ำ เสมอ-ต่อเนื่อง-รุ่นต่อรุ่น-หลายๆรุ่น-หลายๆปี จะทำให้เกิดการ สะสมอยู่ในเนื้อดิน ส่งผลให้สภาพโครงสร้างของดิน ดีขึ้น ดีขึ้นและดีขึ้น ตามลำดับ

35. ไม่ควรปลูกข้าวอย่างเดียวแบบต่อเนื่อง รุ่นต่อรุ่น หลายๆรุ่น หลายๆปี แต่ควรเว้นรุ่นทำนา 2-3 รุ่นแล้วปลูกพืชตระกูลถั่ว 1 รุ่น นอกจากจะได้เศษซากพืชตระกูลถั่วไถกลบปรับปรุงบำรุงดินแล้วยังเป็นการตัดวงจรชีวิตของแมลง และเชื้อโรคได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

36. นาหว่านที่หว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวปลูกร่วมกับเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว ต้นข้าวจะงอกและโตพร้อมๆกับต้นถั่วเขียว เลี้ยงต้นกล้าข้าวให้นานที่สุดเท่าๆกับได้ต้นถั่วสูงสุด จาก นั้น จึงปล่อยน้ำเข้าท่วมนา จะทำให้ต้นถั่วตายแล้วเน่าสลายกลายเป็นปุ๋ย (ไนโตรเจน/จุลินทรีย์) สำหรับต้นข้าว

37. นาดำหลังจากปักดำแล้ว ใส่แหนแดงหรือแหนเขียว อัตรา 2-3 ปุ้งกี๋/ไร่ หรือกระทงนา ปล่อยไว้ประมาณ 3-4 สัปดาห์ แหนจะแพร่ขยายพันธุ์จนเต็มกระทง ระดับน้ำที่เคยมีเมื่อตอนดำนาก็จะลดลงจนถึงผิวหน้าดินพร้อมๆกับแหนลงไปอยู่ที่ผิวดินด้วยแล้วเน่าสลายกลายเป็นปุ๋ย (ไนโตรเจน) พืชสดสำหรับต้นข้าว

38. ดินที่อุดมสมบูรณ์ดี (ตามหลักวิชาการ) เมื่อใส่ปุ๋ยเคมีลงไปจะช่วยให้ต้นเจริญ เติบโตทางใบ (บ้าใบ/เฝือใบ) ดีมาก แต่ผลผลิตกลับลดลง .... แปลงนาข้าวที่มีอินทรีย์วัตถุ และสารปรับปรุงบำรุงดินมากจะให้ผลผลิตดีมากไม่เฝือใบ ทั้งๆที่ใส่ปุ๋ยเคมีน้อยกว่า ต้นข้าวงามใบ (บ้าใบ) แก้ไขโดยการให้ “โมลิบดินั่ม + แคลเซียม โบรอน” 1 ครั้ง

39. สภาพดินเหนียว ดินทราย ดินดำ ดินร่วน ฯลฯ ในดินแต่ละประเภทต่างก็มีสารอาหารพืชและปริมาณแตกต่างกัน สารอาหารพืชเหล่านี้เกิดขึ้นเองตามกลไกทางธรรมชาติ หรือเกิดจากกระบวนการสารพัดจุลินทรีย์ย่อยสลายสารพัดอินทรีย์วัตถุ

วันนี้ สารอาหารธรรมชาติในดินหมดไป หรือเหลือน้อยมากจนไม่พอพียงต่อความต้องการของพืชเพื่อการพัฒนาเจริญเติบโต สาเหตุหลักเกิดจากการปลูกพืชแบบซ้ำรุ่น ต่อเนื่อง รุ่นแล้วรุ่นเล่า ซึ่งพืชคือผู้นำ สารอา หารเหล่านั้นไปใช้ สาเหตุรองลงมา คือ เกิดจากมนุษย์ทำลายวงจรการเกิดใหม่ของสารอาหารตามธรรมชาติ และทำลายผู้ผลิตสารอาหาร (จุลินทรีย์) นั่นเอง ดังนั้นจากคำกล่าวที่ว่า ดินมีสารอาหารพืช ต้องเปลี่ยนใหม่เป็นพูดว่าดินเคยมีสารอาหารจึงจะถูกต้องตามข้อเท็จจริง

แนวทางแก้ไข คือ จัดการให้มีวัตถุดิบที่ก่อให้เกิดสารอาหารพืช และ ส่งเสริมผู้ผลิตสารอาหารพืช ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่สุด แล้วดินจะกลับคืนมาเป็นดินดี เหมือนป่าเปิดใหม่อีกครั้ง และจะเป็นดินดีตลอดไปอย่างยั่งยืนตราบเท่าที่ได้จัดการและส่งเสริมอย่างถูกวิธีสม่ำเสมอ

40. การดัดแปลงคันนาให้กว้าง 3-4 ม. แล้วปลูกพืชสวนครัว เช่น พริก มะเขือ ข่า ตะไคร้ ฯลฯ บนคันนานั้น ผลผลิตที่ได้เมื่อเทียบกับจำนวนเนื้อที่แล้วจะได้มากกว่าข้าว

41. การเลี้ยงปลาในนาข้าวโดยการทำร่องน้ำรอบแปลงนาเพื่อให้ปลาอยู่นั้น ร่องน้ำกว้าง 2.5-3 ม. ลึกจากพื้นระดับในแปลงนา 80 ซม.- 1 ม. มีน้ำจากแหล่งธรรมชาติที่สามารถหล่อเลี้ยงปลาในร่องได้ตลอดอายุของปลา หรือบางครั้งให้น้ำล้นจากร่องน้ำเข้าสู่แปลงนาหล่อเลี้ยงต้นข้าวได้ด้วย แนะนำให้เลี้ยงปลากินเนื้อ โตเร็ว
จำหน่ายได้ทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่

การเลี้ยงปลาในนาข้าวสามารถทำได้หลายรูปแบบ เช่น ดัดแปลงปรับปรุงพื้นที่ลุ่มที่มีอยู่เดิมในแปลงนาให้กักเก็บน้ำได้ตลอดฤดูกาลหรืออายุปลา ทำร่องล้อมรอบแปลงนาหรือ ขุดเป็นบ่อขึ้นมาใหม่ที่บริเวณลาดต่ำในแปลงนา ข้อควรคิดต่อการเลี้ยงปลาในนาข้าวที่จำเป็นต้องวางแผนแก้ปัญหาล่วงหน้าก่อนลงมือเลี้ยง ได้แก่ อายุปลาตั้งแต่เริ่มปล่อยลงน้ำถึงจับนาน 6 เดือน-1 ปี ซึ่งระยะเวลาขนาดนี้ปลูกข้าวได้ 2-3 รุ่น ระหว่างที่ต้นข้าวกำลังเจริญเติบโตนั้นสามารถปล่อยน้ำจากแหล่งที่อยู่ของปลาเข้าไปในแปลงนา จนกระทั่ง น้ำท่วมต้นข้าวเพื่อให้ปลาจับกินแมลงได้ และก่อนเกี่ยวข้าวต้องงดน้ำให้ข้าว ช่วงนี้ปลาจะกลับเข้าไปอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำที่เตรียมไว้ให้อย่างเดิม

42. ตั้งเป้าหมายทำนาข้าวเพื่อขายเป็นพันธุ์ข้าวปลูก หรือเพื่อสีเป็นข้าวกล้องอินทรีย์ โอท็อป จะได้ราคาดีกว่าปลูกข้าวแล้วขายเป็นข้าวเปลือกแก่โรงสี

43. ข้าวนาดำ ให้ผลผลิตเหนือกว่านาหว่าน ทั้งคุณภาพ ปริมาณ และต้นทุน
44. ข้าวนาดำ ต้นกล้าที่ถอนขึ้นมาจากแปลงตกกล้า มัดรวมแล้วนำไปตั้งไว้ใน น้ำ 100 ล. + มูลค้างคาว 250 กรัม นาน 12 ชม. จึงนำไปปักดำ เมื่อต้นข้าวโตขึ้นจะแตกกอดีกว่ากล้าที่ไม่ได้แช่ในน้ำมูลค้างคาว

45. นาปี หมายถึง นาข้าวที่ทำหรือหว่าน/ดำในช่วงฤดูฝนโดยรอแต่น้ำฝนในฤดูกาลเท่านั้น เช่น นาข้าวที่หว่านวันแม่ (ก.ค.-ส.ค.) เกี่ยววันพ่อ (พ.ย.-ธ.ค.) มักมีปัญหาข้าวเปลือกล้นตลาดเนื่องจากชาวนาส่วนใหญ่หว่าน/ดำพร้อมกันทั้งประเทศ

46. นาปรัง (ปรัง.เป็นภาษาเขมร แปลว่า แล้ง.) หมายถึง นาข้าวที่ทำหรือ หว่าน/ดำ ในช่วงหน้าแล้ง หรือทำนารุ่น 2 ต่อจากนาปี โดย หว่าน/ดำ ในเดือน พ.ย.-ธ.ค.แล้วเก็บเกี่ยวช่วงเดือน ก.พ.-มี.ค. ซึ่งต้นข้าวจะต้องเจริญเติบโตตลอดหน้าแล้ง บางปีบางแหล่งได้น้ำจากชลประทาน แต่บางปีบางแหล่งที่น้ำจากชลประทานมีน้อยไม่สามารถปล่อยออกมาช่วยเหลือได้ บางปีบางแหล่งรอน้ำฝนอย่างเดียว นาประเภทนี้มักมีปัญหาขาดแคลนน้ำเสมอ บ่อยครั้งที่ชาวนาบางแหล่งบางที่ต้องยอมเสี่ยงทำนาปรัง เพราะผล ผลิตราคาดี เนื่องจากมีคน ทำนาน้อย

ชาวนาบางรายลงทุนแก้ปัญหานาปรังขาดแคลนน้ำโดยเจาะบ่อบาดาลในแปลงนาโดยตรง ต้องการใช้น้ำเมื่อใดก็สูบขึ้นมาใช้เมื่อนั้น

เมื่อไม่มีน้ำบนหน้าดินหล่อเลี้ยงแปลงนาก็ให้อาศัยแหล่งน้ำใต้ดิน โดยใส่อินทรีย์ วัตถุประเภทเศษซากพืชลงไปในดินลึกมากๆ ติดต่อกันหลายๆรุ่น อินทรีย์วัตถุประเภท เศษซากพืชจะช่วยกักเก็บและอุ้มน้ำไว้ในเนื้อดินลึกอยู่ได้นานนับเดือนถึงหลายๆ เดือน

เตรียมอินทรีย์วัตถุประเภทเศษซากพืชไว้ใต้ดิน แนะนำให้เลือกพืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วเขียว-เหลือง-แดง-ดำ หรือถั่วปรับปรุงดินของกรมพัฒนาที่ดิน ฯลฯ เนื่องจากเป็นพืชโตเร็ว พันธุ์เบา อายุ 80 วัน. พันธุ์หนัก อายุ 130 วัน (พันธุ์หนักให้ผลผลิตมากกว่าพันธุ์เบา) ต้องการน้ำน้อยมาก ไม่ยุ่งยากในการปลูกและบำรุง เศษซากเปื่อยสลายตัวเร็ว (ภายใน 7-15 วัน) .... กรณีถั่วเหลืองนั้นดีมาก เพราะมีระบบรากลึกถึง 1-1.20 ม. แผ่ออกทางข้าง 30-50 ซม. ซึ่งรากที่หยั่งลึกลงไปในเนื้อดินนี้ จะช่วยนำร่องให้น้ำจากผิวดินซึมลึกลงไปได้ง่าย .... เนื้อที่ 1 ไร่ ปลูกถั่วเหลืองเพื่อเอาผลผลิตให้ใช้เมล็ดพันธุ์ประมาณ 10-13 กก./ไร่ ซึ่งจะได้ไนโตรเจนมากถึง 45 กก./1 รุ่น แต่ถ้าต้อง

การเอาเศษซากต้นถั่วไถกลบลงดินจำนวนมากๆ เพื่อไม่ให้เสียเวลาก็ให้ใช้เมล็ดพันธุ์ 20-25 กก./ไร่ ไปเลย ทั้งนี้ที่รากพืชตระกูลถั่วทุกชนิดนอกจากจะมีปมไนโตรเจนแล้ว ยังมีจุลินทรีย์กลุ่มคีโตเมียม. ไรโซเบียม. ไมโครไรซ่า. แอ็คติโนมัยซิส. และอื่นๆ อีกมาก ซึ่งล้วนมีประโยชน์ต่อดิน จุลินทรีย์ประจำถิ่น และพืชข้างเคียงทั้งสิ้น

ต้นข้าวระยะกล้า ผิวดินมีน้ำหล่อ ใส่แหนแดง 2 ปุ้งกี๋ /ไร่ ทิ้งไว้จนกว่าน้ำแห้งลงถึงผิวหน้าดินแหนแดงจะขยายพันธุ์จนเต็มพื้นที่ 1 ไร่ เมื่อน้ำแห้งแหนแดงจะยังคงติดอยู่ที่ผิวหน้าดินแล้วรอเวลาเน่าสลายกลายเป็นไนโตรเจน (อินทรีย์) บำรุงต้นข้าวได้เป็นอย่างดี

47. นาหว่านสำรวย หมายถึง แปลงนาในที่ดอน ไม่มีน้ำหล่อหน้าดิน (หน้าดินแห้งไม่เปรอะเปื้อนเท้า) ทำนาโดยหว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวแล้วไถดินกลบ เมื่อฝนตกลงมาเมล็ดพันธุ์ก็จะงอกแล้วเจริญเติบโตตามธรรมชาติภายใต้ปริมาณน้ำฝน ถ้าฝนตกซ้ำก็ดีแต่ถ้าไม่มีฝนตกอีกเลยก็เสียหาย ทุกอย่างดำเนินไปตามธรรมชาติแท้ๆ

48. นาหว่านน้ำตม หมายถึง แปลงนาในที่ลุ่มมีน้ำหล่อหน้าดินตลอดเวลา บางแปลงสามารถควบคุมปริมาณน้ำได้ บางแปลงควบคุมไม่ได้ ในเมื่อธรรมชาติของต้นข้าวชอบน้ำพอแฉะหน้าดิน แต่นาหว่านน้ำตมมีน้ำมากจนขังค้างโคนต้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องควบคุมปริมาณน้ำให้ได้ด้วยการ สูบเข้า-สูบออก เพื่อให้ตรงกับความต้องการที่แท้จริงของต้นข้าวซึ่งจะส่งผลให้ได้ผลผลิตสูงสุด

49. นาไร่ หรือ ข้าวไร่ หมายถึง นาในที่ดอนหรือบนไหล่เขาที่มีน้ำน้อยหรือไม่มีน้ำหล่อหน้าดิน (เหมือนาสำรวย) นิยมทำโดย ไถ-พรวน ดินก่อนแล้วใช้วิธีปลูกแบบหยอดเมล็ดพันธุ์ จากนั้นปล่อยให้ต้นข้าวเจริญเติบ โตเองโดยอาศัยน้ำฝนและน้ำค้าง

50. นาลุ่ม หรือ นาเมือง หรือ นาข้าวขึ้นน้ำ หมายถึง แปลงนาในพื้นที่ลุ่มก้นกระทะ (ลักษณะทางภูมิ ศาสตร์) มีน้ำมาก บางแหล่งลึกถึง 3 ม. ซึ่งต้นข้าวก็สามารถเจริญเติบโตให้ผลผลิตได้ นิยมใช้ข้าวพันธุ์โตเร็ว ต้นสูง สามารถทนต่อสภาพน้ำท่วมมิดต้นระยะสั้นๆได้ แล้วเร่งโตจนยอดโผล่พ้นน้ำได้ทันการเก็บเกี่ยวบางปีระดับน้ำมากถึงกับพายเรือเกี่ยวข้าวด้วยมือ เมล็ดข้าวที่ได้มักมีความชื้นสูงมาก

51. นาสวน หมายถึง นาข้าวแบบปักดำด้วยมือที่ระดับน้ำลึกไม่เกิน 80 ซม.- 1 ม. ในฤดูน้ำมากแต่ไม่มากเท่านาเมืองหรือนาข้าวขึ้นน้ำ

52. นาขั้นบันได หมายถึง นาบนไหล่เขาที่ดัดแปลงกระทงนาเป็นเหมือนขั้นบันได้เพื่อกักเก็บน้ำ เนื้อดินนาแบบนี้อุ้มน้ำได้ดีระดับหนึ่งแต่ก็อยู่ได้ไม่นานนัก เนื่องจากความลาดเอียงของไหล่เขาที่น้ำต้องไหลหรือซึมจากที่สูงไปหาที่ต่ำเสมอ

53. นาร่องน้ำ หมายถึง นาข้าวริมร่องน้ำในสวนยกร่องน้ำหล่อ มีแสงแดดส่องถึงตลอดทั้งวัน นิยมปลูกข้าวเพื่อเอาผลผลิตไว้เลี้ยงสัตว์

54. นอกจาก ข้าวจ้าว-ข้าวเหนียว ที่คนไทยนิยมกินเป็นอาหารหลักแล้ว สภาพภูมิอากาศทางภาคเหนือของประเทศไทยยังสามารถปลูกข้าวมอลท์. ข้าวบาเลย์. สำหรับใช้ในอุตสาหกรรมเบียร์ได้ ซึ่งวันนี้ต้องนำเข้าจากต่างประเทศหรือแม้แต่ข้าวจาปอนนิก้า. สำหรับตลาดญี่ปุ่นก็สามารถปลูกได้เช่นกัน คงจะเป็นการดีไม่ใช่น้อยที่ชาวนาเขตภาค เหนือส่วนหนึ่งจะหันมาปลูก ข้าวมอลท์. ข้าวบาเล่ย์. หรือข้าวจาปอนนิก้า. ซึ่งนอก จากมีตลาดรองรับแน่นอนแล้ว ยังเป็นการลดปริมาณ ข้าวจ้าว-ข้าวเหนียว ที่ต่างก็แย่งตลาดกันเองอยู่ขณะนี้อีกด้วย

55. ผลจากการทำนาข้าวที่ทำให้เกิดแก๊ส ซึ่งส่งผลต่อสภาวะโลกร้อน ได้แก่ แก๊สจากปุ๋ยเคมี และจากการย่อยสลายเศษซากอินทรียวัตถุ หรือฟอสซิล แต่เมื่อเทียบกับปริมาณแก๊สที่เกิดจากโรงงานอุตสาหกรรมแล้ว แก๊สจากนาข้าวน้อยกว่ามาก

56. ข้าวเปลือก 1 ตัน ความชื้น 1% หมายถึงมีน้ำปนอยู่ในข้างเปลือก 15 กก.
57. "ข้าวเมาตอซัง" คือ ต้นข้าวตั้งแต่ระยะกล้า - แตกกอ มีอาการต้นเหลือง ใบ เหลือง เกิดจากก๊าซไฮโดรเจน ซัลไฟด์ (ก๊าซไข่เน่า) ซึ่งก๊าซนี้เกิดจากการไถกลบฟางแล้วฟางหรือซากวัชพืชที่ย่อยสลายยังไม่เรียบร้อย .... การตรวจสอบ คือ หลังจากปล่อยน้ำเข้านาพร้อมกับใส่จุลินทรีย์ลงไปส่วนหนึ่งเพื่อการหมักฟาง 7-10 วันแล้ว ให้เดินย่ำลงไปในแปลงนา จะมีฟองอากาศเกิดขึ้น ให้สังเกตกลิ่นที่ออกมาจากฟอง ถ้ามีกลิ่นหอมหรือไม่มีกลิ่นเหม็น หรือหยิบเนื้อดินขึ้นมาดมจะมีกลิ่นหอม แบบนี้แสดงว่า กระบวน การย่อยสลายเรียบร้อยแล้ว ให้ลงมือทำนาต่อได้เลย .... แต่ถ้าฟองนั้นมีกลิ่นเหม็น หรือหยิบดินขึ้นมาดมแล้วมีกลิ่นเหม็น นั่นคือ กลิ่นของก๊าซไข่เน่า ขืนปลูกข้าวลงไป ต้นข้าวที่โตขึ้นมาจะเป็นโรคเมาตอซัง เทคนิคการแก้ไขเรื่องก๊าซไข่เน่าทำโดยปล่อยน้ำออกจากแปลงให้หมด เหลือน้ำติดผิวดินแค่ระดับรอยตีนวัวตีนควาย แล้วฉีดพ่นจุลินทรีย์หน่อกล้วยลงไปให้ทั่วแปลง ทิ้งไว้ 5-7 วัน เพื่อให้เวลาจุลินทรีย์มีประโยชน์กำจัดก๊าซไข่ เน่า จากนั้นให้เดินย่ำลงไปในแปลงตรวจสอบกลิ่นดินซ้ำอีกครั้ง ถ้ายังคงมีกลิ่นเหม็นเหมือนเดิมอยู่ ให้ฉีดพ่นซ้ำจุลินทรีย์หน่อกล้วย แล้วทิ้งไว้อีก 5-7 วัน ให้ตรวจสอบซ้ำอีก ทำซ้ำอย่างนี้หลายๆรอบจนกว่าจะหมดกลิ่น .... แต่ถ้าหลังจากใส่จุลินทรีย์หน่อกล้วยครั้งแรก ครบกำหนดแล้วตรวจสอบ ไม่มีกลิ่นก๊าซไข่เน่า ก็ให้ปล่อยน้ำเข้าแล้วลงมือทำเทือกได้เลย

วิธีป้องกันการเกิดไข่เน่าวิธีหนึ่ง คือ ก่อนไถกลบฟาง ให้เอาฟางออกครึ่งหนึ่ง หรือเอาออก 3 ใน 4ส่วนของฟางที่มีทั้งหมด ทั้งนี้ การมีปริมาณฟางมากๆ ต้องใช้เวลาในการย่อยสลายนานมากกว่าการมีฟางน้อยๆ ดังนั้น ชาวนาจะต้องพิจารณา เอาฟางออกหรือเอาฟางไว้ทั้งหมด ด้วยความเหมาะสม

จุลินทรีย์กลุ่มที่ใช้ย่อยฟางดีที่สุด คือ จุลินทรีย์ฟางเน่าในแปลง จุลินทรีย์จาวปลวก จุลินทรีย์ประจำถิ่น (ในแปลงตัวเอง)

58. ตรวจสอบความสมบูรณ์ของต้นข้าวที่ "ใบ" ..... ลักษณะใบใหญ่ หนา เขียวเข้ม ตอนเช้า 7-9 โมง ใบธงไม่มีอาการโค้งงอลง ใช้ท้องแขนกดลงที่ปลายใบ (ให้ปลายใบแทงท้องแขน) จะรู้สึกเจ็บที่ท้องแขน

59. ตรวจสอบความสมบูรณ์ของต้นข้าวที่ "ราก" .... ถอนต้นข้าวทั้งต้นขึ้นมาดูราก ถ้ามีรากขาวมากกว่ารากดำ มีจำนวนมาก ขนาดความยาวเท่าครึ่งหนึ่งของลำต้น แสดงว่าระบบรากดี ในทางตรงกันข้าม ถ้ามีรากดำมากกว่ารากขาว จำนวนรากน้อย รากสั้น แสดงว่าต้นไม่สมบูรณ์กรณีนี้ควรเปรียบเทียบระหว่างต้นที่โตสมบูรณ์ กับต้นที่มีลักษณะแคระแกร็น ก็จะเห็นความแตกต่างชัดเจน

60. ต้นข้าวต้องการสารอาหาร (ปุ๋ย) 14 ตัว ประกอบด้วย ธาตุหลัก 3 ตัว ธาตุรอง 3 ตัว และธาตุเสริม 9 ตัว ..... การใส่ปุ๋ยยูเรียทำให้ต้นข้าวได้รับปุ๋ยเพียงไนโตรเจนเพียงตัวเดียว กับใส่ 16-20-0 ก็จะได้ไนโตรเจน.กับฟอสฟอรัส.เท่านั้น....ชาวนาที่ใส่ยูเรีย 1 กส. (50 กก.) ใส่ 16-20-0 อีก 1 กส. (50 กก.) ใส่ 2 สูตรรวม 100 กก. ต้นข้าวก็ยังได้ปุ๋ยเพียง 2 ตัวเท่านั้น

61. ลักษณะ เด่น/ด้อย ทางพันธุกรรม เกิดจากการนำพันธุ์ข้าว 2 สายพันธุ์มาผสมกันให้เป็นข้าวสายพันธุ์ใหม่ตามต้องการ ระหว่าง 2 สายพันธุ์ที่นำมาผสมกันนี้ แต่ละสายพันธุ์ย่อมมีทั้ง "ลักษณะด้อย และ ลักษณะเด่น" ทางสายพันธุ์ ซึ่งลักษณะใดลักษณะหนึ่งของสายพันธุ์หนึ่งอาจไปปรากฏในสายพันธุ์ที่ถูกผสมขึ้นมาใหม่ได้ การแก้ปัญหาลักษณะด้อยประจำสายพันธุ์สามารถทำได้โดยการ "เน้น" สารอาหารเพื่อบำรุงส่วนนั้นโดยตรงให้มากขึ้น เช่น สายพันธุ์ที่เปอร์เซ็นต์เป็นเมล็ดลีบสูง แก้ไขด้วยการให้ธาตุสังกะสี สายพันธุ์ที่มีอัตราการแตกกอน้อย แก้ไขด้วยการธาตุอาหาร P และ K สูงในช่วงแตกกอ เป็นต้น การเน้นสารอาหารเพื่อให้พืชได้รับมากเป็นกรณีพิเศษ ควรให้ทางรากโดยใส่ไว้ในเนื้อดินตั้งแต่ตอนทำเทือก หลังจากนั้นจึงให้เสริมทางใบเป็นระยะสม่ำ เสมอ

สาเหตุอื่นที่ทำให้ข้าวเป็นเมล็ดลีบ เช่น ข้าวระยะออกดอก ระยะตากเกสร ระยะน้ำนม ถ้าสภาพอากาศอุณหภูมิผิดปกติ (หนาว-ร้อน กว่าปกติ)การพัฒนาของต้นจะชะงัก แก้ไขด้วยการให้ธาตุสังกะสี โดยให้แบบล่วงหน้าและระหว่างอุณหภูมิผิดปกติ

62. การให้แคลเซียม โบรอน ทางใบแก่ต้นข้าวก่อนเกี่ยว 7-10 วัน จะทำให้ระแง้คอรวงเหนียว เครื่องเกี่ยวสลัดเมล็ดข้าวไม่หลุด

63. การใช้สารกำจัดวัชพืชประเภท "ยาฆ่า-ยาคุม" หญ้า/วัชพืช ทุกชนิดในนาข้าว จะส่งผลให้ต้นข้าวชะงักการเจริญเติบโต 7-15 วัน แล้วแต่ความเข้มข้นของสาร แนวทาง แก้ไข คือ หลังจากฉีดพ่นสารกำจัดวัชพืชไปแล้ว 3 วัน (วัชพืชเริ่มใบเหี่ยว) ให้ฉีดพ่นสาร อาหาร แม็กเนเซียม + สังกะ สี + น้ำตาลทางด่วน ที่ต้นข้าว ฉีดพ่น 2 รอบ ห่างกันรอบละ 3 วัน ต้นข้าวจะไม่ชะงักการเจริญเติบ โตแล้วโตต่อตามปกติ

64. ข้าวไรซ์เบอร์รี่ เป็นพันธุ์ข้าวที่เกิดขึ้นภายใต้ความร่วมมือระหว่างศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าวและคณะ กรรมการกรมวิจัยแห่งชาติ ซึ่งร่วมกันวิจัยและปรับปรุงพันธุ์ขึ้นมา โดยใช้การผสมพันธุ์ข้าวระหว่างข้าวหอมนิลและข้าวหอมมะลิ 105 ทำให้ได้ข้าวพันธุ์ใหม่ที่มีลักษณะเด่นประจำสายพันธ์ คือ เมล็ดข้าวจะมีสีม่วง มีลักษณะเรียวยาว และมีผิวที่มันวาว ปลูกได้ตลอดทั้งปี มีคุณสมบัติต้านทานต่อโรครากไหม้ และทนต่อสภาพธาตุเหล็กเป็นพิษในดินมีไส้เดือนเต็มไปหมด

65. เตรียมดิน/ทำเทือก พืชอายุสั้น ฤดูกาลเดียว (พืชสวนครัว-พืชไร่-ไม้ดอก-นาข้าว) จำนวนต้นมากต่อพื้นที่ปลูก นั่นคือ ระบบรากย่อมกระจายไปทั่วทุกตารางนิ้วของพื้นที่ปลูกในแปลง การใส่ปุ๋ยชนิดเม็ด (อินทรีย์อัดเม็ด-เคมี) โดย “หว่านด้วยมือ” เม็ดปุ๋ยจะตกกระ จายกว้างไกลเท่าที่แรงคนหว่านทำได้ ซึ่งเม็ดปุ๋ยคงไม่ตกลง ณ โคนกอพืช ทุกกอ กอละ 1-2-3 เม็ด เท่ากันตามต้องการ แบบนี้กอไหนได้ปุ๋ย กอนั้นจะเขียวงาม กอไหนไม่ได้ปุ๋ยก็ไม่เขียวงาม คนหว่านปุ๋ยบอกบ่า “ปุ๋ยน้อย” ว่าแล้วหว่านปุ๋ยเพิ่มอีก .... ปัญหานี้แก้ไขได้ด้วยวิธีของเกษตรกร อเมริกา-ยุโรป-ออสเตรเลีย โดยผสม “ปุ๋ยอินทรีย์แห้ง+ปุ๋ยเคมี+ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ+อื่นๆ+น้ำ” ปริมาณตามต้องการ

ติดตั้งถัง “น้ำละลายสารอาหารอินทรีย์-เคมี” ที่หน้ารถไถ คนเคล้าให้เข้ากันดี ขณะวิ่งรถไถเปิดวาล์ว ซ้าย-ขวา ที่ก้นถังให้น้ำละลายสารอาหารออกมา เร็ว/ช้า ตามต้องการ ขณะที่น้ำสารอา หารหยดลงพื้นด้านหน้ารถไถนั้น ผานโรตารี่ที่ไต้ท้องรถไถจะตีพรวน .... หรือติดตั้งเครื่องโปรยปุ๋ยอินทรีย์ผง (BIO SOLID) หน้ารถ แทร็คเตอร์ แล้วให้ผานไต้ท้อง หรือท้ายแทร็คเตอร์ตีพรวนทำให้ดินและน้ำสารอาหารเข้าเป็นเนื้อเดียวกัน กระจายทั่วแปลงทุกตารางนิ้ว ส่งผลให้ต้นพืชได้รับสารอาหาร (อินทรีย์-เคมี) เท่ากันทุกต้นทุกกอ

66. การใส่ปุ๋ยแก่พืชอายุสั้น ฤดูกาลเดียว (พืชสวนครัว-พืชไร่-ไม้ดอก-นาข้าว) ต้นโตแล้ว ผสม “ปุ๋ยเคมี +ปุ๋ยน้ำชีวภาพ/จุลินทรีย์” ในน้ำก่อน ปรับหัวฉีดให้เม็ดน้ำใหญ่ๆ แล้วฉีดพ่นลงดิน ทั่วบริเวณที่มีรากพืช จะส่ง ผลให้ต้นพืชได้รับสารอาหาร (อินทรีย์-เคมี) เท่ากันทุกต้นทุกกอ .... งานวิจัยจาก IRRI ระบุ ข้าวต้องการปุ๋ยธาตุหลัก 10 กก. /ไร่ /รุ่นแนวทางปฏิบัติที่ดีคือ ทำธาตุหลักธรรมดาๆ ให้เป็น “ธาตุหลัก ซุปเปอร์” ด้วยการ +เพิ่ม ธาตุรอง/ธาตุเสริม, ปุ๋ยชีวภาพ, จุลินทรีย์, สารสมุนไพร และอื่นๆ ตามความจำเป็น

สรุปสูตรปุ๋ยนาข้าว :
* เตรียมเมล็ดพันธุ์ :

แช่เมล็ดพันธุ์ใน ไบโออิ + ยูเรก้า + แคลเซียม โบรอน (สังกะสี. โบรอน. ส่งเสริมการงอกของรากของเมล็ด, ไคโตซาน.กำจัดเชื้อโรคที่ปนเปื้อนมากับเมล็ดพันธุ์)

* เตรียมแปลง ทำเทือก :
ก่อนย่ำเทือกรอบแรก ใส่ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 (2 ล.) +เพิ่ม 25-7-7 หรือ 46-0-0 +16-16-16 อัตรา 1:1 (10 กก.) + น้ำตามความจำเป็น ต่อไร่ คนให้ปุ๋ยละลายเข้ากันดี สาดทั่วแปลง อีขลุบ/ลูกทุบจะกวาด เนื้อปุ๋ยให้กระจายทั่วแปลง ทุกตารางนิ้ว ทำให้ต้นข้าวทุกกอได้รับปุ๋ยเท่ากันทั้งแปลง

* บำรุงกล้าในแปลงเพาะกล้า :
ก่อนนำกล้าไปดำ 3 วัน ให้แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ช่วยให้ต้นกล้าแข็งแกร่งดี +สารสมุนไพรด้วย

* บำรุงระยะกล้า เร่งแตกกอ :
ทางใบ ....ไบโออิ 18-38-12 (ไม่ต้อง +เพิ่มปุ๋ยเคมี) ครั้งที่ 1 เมื่อกล้าอายุ 20 วัน, ครั้งที่ 2 เมื่อกล้าอายุ 30 วัน, ครั้งที่ 3 เมื่อกล้าอายุ 40 วัน, +สารสมุนไพรด้วยทุกครั้ง

* บำรุง ระยะตั้งท้อง :
ทางใบ : ไทเป (ไม่ต้อง +เพิ่มปุ๋ยเคมี) 2 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน, +สารสมุนไพรด้วยทุกครั้ง

ทางราก : ฉีดพ่นปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 (2 ล.) +เพิ่ม 25-7-7 (2 กก.) +น้ำตามความจำเป็นเหมาะสม ต่อ 1 ไร่ ปรับหัวฉีดให้เม็ดน้ำใหญ่ๆ ฉีดแหวกต้นข้าวลงที่พื้นโคนกอข้าว +สารสมุนไพรด้วย

* บำรุงเร่ง ระยะออกรวง : ทางใบ .... ฉีดพ่น เอ็นเอเอ. 2 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน เมื่อรวงข้าว (หางแย้) ออกมาได้ 1 ใน 4 ของความยาวรวงทั้งหมด, +สารสมุนไพรด้วยทุกครั้ง

* บำรุง ระยะน้ำนม : ทางใบ .... ฉีดพ่น ไบโออิ + ยูเรก้า ทุก 7 วัน +สารสมุนไพรร่วมด้วยทุกครั้ง

* บำรุง ระยะก่อนเกี่ยว : ทางใบ .... ฉีดพ่น นมสด + น้ำคั้นใบเคย 1 รอบ ก่อนเกี่ยว 5-7 วัน +สารสมุน
ไพรร่วมด้วย

67. เปรียบเทียบปริมาณผลผลิต นาดำ - นาหว่าน :
* พื้นที่ 1 ตร.ศอกแขน .... นาดำ :
ข้าว 1 เมล็ด = 1 กอ แตกกอได้ 50 ลำ ลำใหญ่เท่าหลอดดูดเฉาก๊วย
1 ลำ = 1 รวง, 1 รวง = 100 เมล็ด, 50 ลำ/รวง = 5,000 ม.
* พื้นที่ 1 ตร.ศอกแขน .... นาหว่าน :
ข้าว 10 เมล็ด = 10 กอ ไม่แตกกอได้ 10 ลำเท่าเดิม ลำใหญ่เท่าหลอดดูดยาคูลท์
1 ลำ = 1 รวง, 1 รวง = 100 เมล็ด, 10 ลำ/รวง = 1,000 เมล็ด

68. ธรรมชาติเมล็ดข้าว เริ่มแก่จากเมล็ดปลายรวงเข้ามาหาเมล็ดที่โคนรวง เมื่อเมล็ด 3 ใน 4 จากปลายรวงแก่ ใบธงจะเริ่มเหลือง ส่วนใบต่ำกว่าใบธงเหลืองไปก่อนแล้ว ใบเหลือง คือ ใบหยุดสังเคราะห์อาหาร ส่งผลให้เมล็ด 1 ใน 4 ของรวงที่โคนรวงไม่ได้รับสารอาหาร จึงเป็นเมล็ดลีบ แนวทางแก้ไข คือ ให้ไบโออิ แล้วแม็กเนเซียมจะบำรุงใบให้เขียวจนถึงวันเกี่ยว กับสังกะสี. ช่วยสร้างแป้ง ส่งผลให้เมล็ดข้าวไม่เป็นเมล็ดลีบแล้ว ยังมีน้ำหนักดี แกร่ง ใส อีกด้วย

69. ข้าวต้นสูงยาว-รวงสั้น คุณภาพไม่ดี โรคมาก.... ข้างต้นเตี้ยสั้น-รวงยาว คุณ ภาพดี โรคน้อย
70. ปุ๋ยสำหรับนาข้าว .... แม็กเนเซียม. สร้างคลอโรฟีลด์ คลอโรฟีลด์ สร้างสาร อาหาร ใบข้าวเขียวเข้มแข็ง .... สังกะสี สร้างแป้ง

71. ข้าวได้ยูเรีย จะใบบาง เขียวตองอ่อน ปลายใบอ่อน แทงท้องแขนไม่เจ็บ ถึงช่วงบ่ายใบโค้งก้มลง ... ข้าวได้แม็กเนเซียม ใบหนาเขียวเข้ม ปลายใบแข็งแทงท้องแขนเจ็บ ถึงช่วงบ่ายใบยังตั้งตรง ไม่โค้งก้มลง

72. ข้าวระยะกล้าก่อนดำ (มือ/เครื่อง) ได้แคลเซียม โบรอน จะช่วยให้ต้นแข็ง ไม่ชะงักการเจริญเติบโต .... ข้าวระยะพลับพลึงก่อนเกี่ยว ได้แคลเซียม โบรอน จะทำให้ระแง้ (ขั้วเมล็ด) เหนียว ระบบสีข้าวในรถเกี่ยวสลัดไม่หลุด

73. ชาวนาญี่ปุ่น ต้นทุน 23,000 ขายได้ 130,000 ไม่รวยแต่พออยู่ได้ เพราะค่าครองชีพสูง (ก๋วยเตี๋ยวชามละ 150) .... ชาวนาไทย * นายกสมาคมชาวนา ต้นทุน 8,000/ไร่, * ประธานสภาเกษตรกร ต้นทุน 3,000/ไร่, * ชาวนาสุพรรณ ต้นทุน 1,000/ไร่ ข้าวกล้องหอมมะลิ ข้าวไรซ์เบอร์รี่ ข้าวเบญจรงค์ กก.ละ 50 บาท = เกวียนละ 50,000 ยังไม่รวม น้ำมันรำ จมูกข้าวแค็ปซูล ไทยอยู่ได้สบาย เพราะค่าครองชีพต่ำกว่า (ก๋วยเตี๋ยวชามละ 30 บาท)

.......................................................................................................
ไทย ต้นทุน 3,000 ขายได้ 50,000
ญี่ปุ่น ต้นทุน 23,000 ขายได้ 130,000
ถามว่า ญี่ปุ่น-ไทย ใครได้มากกว่ากัน ?

........................................................................................................

74. ข้าวเปลือก ข้าวสาร ข้าวสุก ทั้งข้าวเหนียว ข้าวเจ้า ข้าวต่างประเทศทั่วโลก เอามาทำปุ๋ยอินทรีย์ มีค่าเพียงอินทรีย์วัตถุ (O.M. - ORGANIGS MATTER) ประเภทแป้ง ทำเป็นปุยอินทรีย์แล้วจะได้เพียง “น้ำตาล” เท่านั้น ไม่มีสารอาหารตัวอื่น .... จุลินทรีย์เปลี่ยนแป้งเป็นน้ำตาล น้ำตาลเอามากลั่นได้แอลกอฮอร์

75. พันธุ์ข้าวปลูก ค็อปแรกจากศูนย์ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว เอามาปลูกติดต่อกันได้เพียง 3 รอบ จากนั้นจะเริ่มเรื้อ (กลายพันธุ์) เพราะได้รับการผสมจากพันธุ์อื่นจากแปลงข้างเคียง

76. ข้าว จีไอ. คือ สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications : GI) ข้าวที่ได้รับการขึ้นทะเบียนข้าวสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทยมี 9 สินค้า คือ ข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง, ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้, ข้าวหอมมะลิสุรินทร์, ข้าวฮางหอมทองสกลทวาปี, ข้าวเจ๊กเชยเสาไห้, ข้าวเหลืองปะทิวชุมพร, ข้าวเหนียวเขาวงกาฬสินธุ์, และข้าวไร่ลืมผัวเพชรบูรณ์.

ข้าวที่ได้รับการขึ้นทะเบียนข้าวสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ในสหภาพยุโรป มี 1 สินค้า คือ ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ และอยู่ระหว่างการดำเนินการขอขึ้นทะเบียนข้าวสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์สหภาพยุโรป มี 1 สินค้า คือ ข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง

77. ทีวี.ค่ำวันหนึ่ง จำช่องจำวันที่ไม่ได้ อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์จุฬาฯ กับผู้ดำเนินรายการ (ชาย) นำเสนอเรื่อง “เศรษฐกิจ-อาชีพ” คนไทย

ดีเจ.ทีวี. : สมมุติว่าอาจารย์จะลาออกจากอาชีพอาจารย์ แล้วอาจารย์ต้องเลือกอาชีพใหม่ อาจารย์จะเลือกอาชีพอะไรครับ ?
อาจารย์ : ตอบได้เลย ไม่ต้องคิด ..... เกษตรครับ

ดีเจ.ทีวี. : เกษตร เกษตร กว้างไปหน่อยครับ อาจารย์บีบให้แคบลงได้ไหมครับว่า เกษตร อะไร ?
อาจารย์ : ตอบได้เลย ไม่ต้องคิดอีก .... ทำนา นาข้าวครับ

ดีเจ.ทีวี. : ขอเหตุผลด้วยครับอาจารย์
อาจารย์ : นาข้าวเป็นอาชีพที่ ต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ต่ำที่สุด ได้ผลตอบแทนสูงที่สุด ด้วยระยะเวลา เมื่อเทียบ
กับการเกษตรอย่างอื่น หรืออาชีพอื่นก็เถอะ

ดีเจ.ทีวี. : อยากให้อาจารย์ขยายความ KEYWORD ตัวนี้หน่อยครับ
อาจารย์ : เมื่อเทียบกับพืชอื่นด้านเศรษฐศาสตร์การลงทุน ใช้พื้นที่เท่ากัน ต้นทุนนาข้าว ชนิดผลิตภัณฑ์-ผลิต ภัณฑ์เกี่ยวเนื่อง-เวลา-ราคามูลค่าเพิ่ม-ตลาด แม้แต่ เครื่อทุ่นแรง-แรงงาน-เทคโนโลยี-อนาคต นาข้าวเหนือกว่าทั้งนั้น

ดีเจ.ทีวี. : แล้วชาวนาไทย ไม่ใช่ยากจนอย่างเดียว แถมมีหนี้สินด้วย แบบนี้เป็นเพราะอะไรครับ ?
อาจารย์ : เพราะขาดการ ส่งเสริม-สนับสนุน อย่างบูรณาการ คือ ไม่ครบวงจรครับ
ดีเจ.ทีวี. : มีสาเหตุอื่นอีกไหมครับ ?

อาจารย์ : ตัวเกษตรกรชาวนาเอง ไม่พัฒนาปรับปรุง นอกจากไม่รับสิ่งใหม่แล้ว ยังยึดติด สิ่งเดิมๆ อย่างเหนียวแน่นอีกด้วย
ดีเจ.ทีวี. : ขอบคุณอาจารย์มากครับ.....


นาข้าว .... ขาดทุน-กำไร
สัจจะธรรม :

- ขาดทุน กำไร คือ การซื้อขายแลกเปลี่ยน .... ขาดทุน คือ จ่ายมากกว่ารับ.... กำไร คือ รับมากกว่าจ่าย

- ทุน มิได้หมายถึง “เงิน” ที่จ่ายเท่านั้น แต่ยังหมายถึง พื้นที่ เวลา แรงงาน โอกาส แยกเป็น 2 ประ เภท คือ ทุนที่ก่อให้เกิดรายได้ กับ ทุนที่สูญเปล่า

- กำไร มิได้หมายถึงสิ่งที่ได้รับ ณ วันนี้เดี๋ยวนี้เท่านั้น แต่ยังหมายถึง โอกาสข้างหน้าหรืออนาคต ที่เรียกว่า “ระยะสั้น ระยะปานกลาง ระยะยาว” อีกด้วย

- ยั่งยืน หมายถึง ดีขึ้น ดีขี้นเรื่อยๆ ดีตลอด ดีแน่นอน .... วงการเกษตร “คนส่งเสริมยั่งยืน รวยขึ้นรวยขึ้น คนรับการส่งเสริมล้มทั้งยืน จนลงจนลง” .... “?”

- กำไร ขาดทุน มี “ตัวเลข” ชี้ชัดสัมผัสได้พิสูจน์ได้ เป็นวิทยาศาสตร์ ว่าอะไรเป็นอะไร

ต้นเหตุแห่งปัญหา :
- การจัดการปัจจัยพื้นฐาน “ดิน-น้ำ-แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล/สารอาหาร/สายพันธุ์/โรค” ตามธรรมชาตินิสัยของพืชตระกูลข้าว ปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งไม่เหมาะสม

- ขาดองค์ความรู้ทางวิชาการ
- การจัดการด้านคุณภาพผลผลิต ไม่สอดคล้องตามความต้องการของตลาด
- ขาดการรวมกลุ่มสร้างพลังในการซื้อปัจจัยการผลิต .... สั่งซื้อแบบส่งถึงที่
- ขาดการรวมกลุ่มสร้างพลังในการขายผลผลิต .......... การค้าแบบพันธะสัญญา
- ขาดการรวมกลุ่มซื้อ 100% หรือซื้อ 50% ทำเอง 50% หรือรวมกลุ่มทำเอง 100%
- ไม่ทำบัญชีฟาร์ม
- ไม่เข้าใจหลักเศรษฐศาสตร์การลงทุน

กรอบความคิด :
- ทำแบบเดิม จะเลวร้ายไปกว่าเดิม เพราะเหตุปัจจัยแห่งปัญหา และสภาพสังคมเปลี่ยน แปลงไป

- ทำตามคนที่ล้มเหลว จะล้มเหลวยิ่งกว่า เพราะต้องการเอาชนะ เขาลงทุน 100 ตัวเองต้องเพิ่มทุนเป็น 200

- ทำตามคนที่สำเร็จ จะสำเร็จยิ่งกว่า เพราะรู้ว่าเขาทำอย่างไร จึงอาวิธีการนั้นมาต่อยอดขยายผล เป็นสูตรของตัวเอง

- ใส่ปุ๋ยเคมีทางดินจำเป็น (เน้นย้ำ....จำเป็น) อย่างยิ่งยวดที่ต้องมีสภาพโครงสร้างดินรองรับ นั่นคือ ดินดี มีความสมบูรณ์ และดินมีความสมบูรณ์ คือดินที่มีอิทรีย์วัตถุ และจุลินทรีย์ ร่วน โปร่ง น้ำและอากาศผ่านสะดวก

- ปลูกพืชตามใจพืช ไม่ใช่ตามใจคน สรรพสิ่ง ขาด=ไม่ดี - เกิน=ไม่ได้
- บำรุงเต็มที่แต่ผิด = ไม่ได้ผล
- รายการต้นทุน .... ค่าสูบน้ำ, ค่าไถ, ค่าย่ำเทือก, ค่าหว่าน, ค่ายาฆ่าหญ้า/ค่าฉีด, ค่ายาฆ่าแมลง/ค่าฉีด, ค่ารถเกี่ยว, ค่ารถเข็น, ค่าข้าวปลูก, ค่าปุ๋ย/ค่าหว่าน

- แยกรายการ “ต้นทุน” แต่ละรายการทั้งที่จ่ายเป็นเงิน (ซื้อ จ้าง) และไม่ได้จ่ายเป็นเงิน (ที่ดิน เวลา แรงงานทำเอง ผลรับ โอกาส ฯลฯ) ทุกอย่าง อย่างละเอียด เพื่อเตือนสติ สร้างแรงบันดาลใจ .... บางบ้านทำ “บัญชีข้างฝา” เขียนบนแผ่นไวท์บอร์ดติดบนผนังข้างจอ ทีวี. ทุกคนหรือใครก็ตามที่แว้บสายตาไปอ่านก็จะรู้ทันทีว่า “ต้นทุนท่วมราคาขาย” นั่นคือ “ขาดทุน” ตั้งแต่ยังไม่ได้ขาย .... บัญชีฟาร์มบันทึกในสมุดแล้วเก็บไว้ในลิ้นชัก

วิธีแก้ปัญหา :
ปุ๋ย :

- ปฏิบัติตามหลักสมการปุ๋ย
- ทำเอง 50 ซื้อ 50 .... ซื้อ 100% ..... ทำเอง 100%
- พฤติกรรมของชาวนาในการใส่ปุ๋ยนาข้าว คือ ยูเรีย 46-0-0 (1 กส.), 16-20-0 (1 กส.) รวม 2 กส./ไร่/รุ่น หากต้นข้าวเขียวไม่สะใจ บางแปลงอาจเพิ่มยูเรีย 46-0-0 อีก 1 กส.

- พืชตระกูลข้าวต้องการกินปุ๋ย 14 ตัว (หลัก 3, รอง 3, เสริม 9) แต่ให้แค่ 2 ตัว คือ ไนโตรเจน จาก 46-0-0, กับฟอสฟอรัส จาก 16-20-0 เท่านั้น ทั้งนี้ข้อมูลตามตำราว่าด้วยปุ๋ยสำหรับนาข้าว ระบุ โปแตส เซียม มีอยู่แล้วในดินเหนียว (ภาคกลาง) จึงไม่ต้องให้ ในความเป็นจริง นั่นคืออดีตเมื่อ 40-50 ปีที่แล้ว ปัจจุบันธาตุโปแตสเซียมในดินไม่มีหรือมีน้อยไม่พอใช้เพราะต้นข้าวเอาไปใช้หมดแล้ว แถมไม่มีการ เสริม/เติม/เพิ่ม/บวก ลงไปอีก ต้นข้าวจึงขาดธาตุโปรแตสเซียม

- ไนโตรเจน ทำให้ใบเขียวเร็ว ให้วันนี้ถึงวันรุ่งขึ้นเขียวปร๋อทันที แต่เขียวต
อองอ่อน ใบบาง ต้นอวบล่อแมลง ไม่นานก็หายเขียว ..... ในขณะที่แม็กเนเซียม ให้วันนี้ อีก 3 วันต้นข้าวจึงจะใบเขียว แต่เขียวเข้ม ใบหนา ต้นแข็งแมลงไม่ชอบ ต้นข้าวจะใบเขียวทน เขียวนานถึงวันเกี่ยว

- การใส่ปุ๋ยแบบเดินหว่านด้วยมือหรือเครื่องฉีดพ่น ยิ่งหว่านแรงมาก ฉีดพ่นแรงมาก เม็ดปุ๋ยยิ่งกระจายกว้างไกลมาก นั่นคือ ต้นข้าวได้รับปุ๋ยไม่ทั่วถึงเท่ากันทุกกอ กอไหนได้ปุ๋ยกอนั้นจะเขียวสด กอไหนไม่ได้รับก็ไม่ขียว ชาวนาคิดว่าปุ๋ยไม่พอ ต้องหว่านซ้ำอีก 1 ครั้ง ด้วยวิธีการเดิม นั่นคือ ความสูญเสียสิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ ... กรณีนี้แก้ ไขโดย “ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 (2 ล.) + 16-8-8 หรือ 25-7-7 หรือ 46-0-0+16-16-16 (1:1) สูตรใดสูตรหนึ่ง 10 กก. + น้ำ 50 ล.” คนให้ละลายเข้ากันดี เดินสาดด้วยมือทั่วแปลง หรือใส่ถังติดตั้งหน้ารถไถ เปิดก๊อกก้นถัง ให้ปุ๋ยที่ละลายดีแล้วๆไหลลงพื้น “ช้า/เร็ว” ปรับที่ก๊อก ปุ๋ยอัตรานี้สำหรับเนื้อที่ 1 ไร่ ปฏิบัติก่อนลงมือย่ำเทือก ทั้งนี้ ลูกทุบหรืออีขลุบจะกวาดเนื้อปุ๋ยให้กระจายทั่วแปลง ทุกตารางนิ้วเองโดยอัตโนมัติ เมื่อเนื้อปุ๋ยไปรออยู่ในเนื้อดินทุกตารางนิ้วแบบนี้ นอกจากส่งผลให้ข้าว “ทุกกอ” ได้รับเนื้อปุ๋ ถูกสูตร ครบทุกตัว เท่าเสมอกันทั้งแปลงแล้ว ยังประหยัดต้นทุนค่าปุ๋ย ประหยัดแรงงานคนเดินหว่าน ประหยัดเวลา อีกด้วย .... นาที่ประวัติดินดี ใส่ปุ๋ยทางดินครั้งเดียวตอนทำเทือก เหลือจากนั้นให้ทางใบ ต้นข้าวก็โตให้ผลผลิตดีได้ หากประวัติดินยังไม่ดีจริง อาจให้รอบสองเมื่อข้าวเริ่ม “ตั้งท้อง” ด้วยสูตรเดิมและวิธีเดิมอีกรอบ

หมายเหตุ :
* ประวัติดินดี ..... ให้ปุ๋ยทางดิน 1 ครั้ง ช่วงก่อนลงมือทำเทือก เท่ากับให้ปุ๋ย 10 กก./ไร่/รุ่น (IRRI)

* ประวัติดินไม่ดี หรืออยู่ระหว่างสร้างประวัติดิน .... ให้ปุ๋ทางดิน 2 รอบ . รอบแรกก่อนลงมือทำเทือก, รอบสอง ให้ช่วงตั้งท้องก่อนออกรวง โดยใช้ถังฉีดพ่น ปรับหัวฉีดให้เม็ดน้ำใหญ่ๆ ฉีดแหวกต้นข้าวลงพื้นไปเลย เท่ากับ ให้ปุ๋ย 20 กก./ไร่ /รุ่น

- ข้อเสียของ “ยูเรีย” ที่ชาวนาไม่เคยถาม .... คนขายไม่เคยพูด นักส่งเสริมไม่เคยบอก :
ผลเสียต่อต้น .....ทำให้ข้าวเขียวตองอ่อน เขียวไม่ทน ใบบาง ใบอ่อน ต้นสูงล้ม ต้นหลวม ผนังเซลล์อ่อนแอ โรคแมลงมาก

ผลเสียต่อเมล็ด.....เมล็ดลีบมาก เป็นท้องไข่มาก ข้าวป่นมาก น้ำหนักไม่ดี ทำพันธุ์ข้าวปลูกไม่ดี นักส่งเสริมบางคนพูดว่า ธาตุรอง/ธาตุเสริม มีอยู่ในดินตามธรรมชาติอยู่แล้ว ส่วนฮอร์โมน ต้นข้าวสร้างขึ้นเองได้ ซึ่งในความเป็นจริงนั้น ธาตุรอง ธาตุเสริม จะเกิดเองบนดินได้ สภาพโครงสร้างของดินต้องดีและถูกต้องอย่างแท้จริง ส่วนฮอร์โมนที่ว่า ต้นข้าวสร้างขึ้นเองได้ สภาพความสมบูรณ์ของต้นข้าวต้องสูงจริงๆ ในเมื่อดินไม่ดีสภาพต้นจะสมบูรณ์ได้อย่างไร เมื่อสภาพต้นไม่สมบูรณ์ก็ไม่อาจสร้างฮอร์โมนขึ้นมาเองได้

...........................................................................................................
...........................................................................................................
- ลดปุ๋ยเคมี แล้วเพิ่มปุ๋ยอินทรีย์ จุลินทรีย์ ..........................
- ลดปุ๋ยธาตุหลัก แล้วเพิ่มปุ๋ยธาตุรอง ธาตุเสริม ฮอร์โมน .........
- ลดปุ๋ยทางดิน แล้วเพิ่มปุ๋ยทางใบ .................................
- ลดซื้อ แล้วเพิ่มทำเอง ............................................

..........................................................................................................
...........................................................................................................

ลดลด-ลดลด “4 ลดเบื้องต้น” คือ แนวทางที่ถูกต้อง ตรงกับความต้องการของพืชตระกูลข้าวที่สุด กับทั้งช่วยลดต้นทุน เอาเงินค่าปุ๋ยทางดินมาจ่ายค่าปุ๋ยทางใบ ปุ๋ยอินทรีย์ และสารปรับปรุงบำรุงดิน จ่ายน้อยกว่า แถมช่วยเพิ่มปริมาณ คุณภาพผลผลิต และมีอนาคตที่ยั่งยืนขึ้นอีก

- ชาวนาไม่รู้ว่า แม็กเนเซียม.สร้างคลอโรฟีลด์ (ใบเขียว ต้นแกร่ง), สังกะสี.สร้างแป้ง (ไม่เป็นข้าวลีบ ท้องไข่)

ยา :
- ปฏิบัติตามหลักสมการสารสมุนไพร
- ยังไม่มีศัตรูพืชระบาด ให้ฉีดพ่นทางใบทุก 7 วัน เพื่อ “กันก่อน” .... แปลงข้างเคียงกำลังระบาด ให้ฉีดพ่นถี่ขึ้น อาจะฉีดวันเว้นวัน หรือวันเว้น 2 วัน ก็ให้พิจารณาตามความเหมาะสมและจำเป็น ทั้งนี้ ฉีดพ่นสาร สมุนไพร 3 รอบ รวมระยะเวลาประมาณ 7 วัน ศัตรูพืชนั้นก็หมดอายุขัย ตายไปเองแล้ว

- สารสมุนไพรผสมรวมไปกับปุ๋ยทางใบได้ หากได้วงรอบการให้ปุ๋ยทางใบ
-ไอพีเอ็ม. การใช้สารสมุนไพรจะช่วยสร้างสภาพแวดล้อมให้แมลงธรรมชาติเข้ามาอาศัย แล้วช่วยกำจัดแมลงศัตรูพืชได้อีกทางหนึ่งด้วย

- ทำเอง 50 ซื้อ 50 .... ซื้อ 100% ..... ทำเอง 100%

แรงงาน :
- ไม่จ้างแรงงาน ทำได้โดยลดพื้นที่แล้วทำเองด้วยคนในบ้าน พื้นที่น้อยแต่สร้างมูลค่าให้ข้าว
- จ้างแรงงาน ให้ลูกจ้างทำตามสั่งทุกรายการ
- ใช้เครื่องทุ่นแรง ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพประสิทธิผลของเนื้องาน

โอกาสสูญเสีย :
- เพราะ ขาดการส่งเสริมอย่างบูรณาการจากภาครัฐ
- เพราะ ขาดจิตรสำนึกในการพัฒนาตัวเอง เพื่อไปสู่จุดที่ดีขึ้น
- เพราะ ความเป็นตัวของตัวเองสูง แม้แต่ทำตามคนที่สำเร็จกว่าก็ไม่ทำ เพราะกลัวเสียศักดิ์ศรี กลัวเสียเหลี่ยม
- เพราะ มิจฉาทิฐิ กะรวยคนเดียว
- เพราะ ขี้เกียจ อ้างยุ่งยาก เสียเวลา ไม่เคยทำ ไม่มีใครทำ
- เพราะ ไม่เข้าหาปัญหา แต่รอให้ปัญหาเข้ามาหา
- เพราะ ไม่ไปตลาด แต่รอให้ตลาดมาหา

ตลาด :
- CONTRACT FARMING (เกษตรพันธะสัญญา)
- BYPRODUCT (ผลิตภัณฑ์เกี่ยวเนื่อง)
- START UP FARM (แปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่ม ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ)-


.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 27/01/2024 11:20 am, แก้ไขทั้งหมด 4 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 26/01/2024 11:54 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
จาก : (086) 771-32xx
ข้อความ : ผู้พันครับ นาข้าว 50 ไร่ ต้นทุนค่าแรง ปุ๋ย ยา สูงมาก เมื่อเทียบกับราคาขายที่ได้ ผมดูแล้วเห็นว่า เป็นต้นทุนที่จำเป็น ลดหรือตัดไม่ได้ ผู้พันมีความคิดเห็น หรือมีแนวทางแก้ ปัญหานี้อย่างไรบ้างครับ .... ขอบคุณครับ

ตอบ :
- ทุกคำตอบต่อไปนี้ เกิดจาก “คิดเอง” ของคนที่ไม่ได้ทำนาข้าวเป็นอาชีพ ชนิดทำกับมือ ทุกเรื่องทุกประเด็น คือ ความจริงที่ไม่อาจปฏิเสธ ฟังแล้วคิดต่อ เสริม/เติม/เพิ่ม/บวก ด้วยเรื่องหรือประเด็นที่ตัวเองหรือคนข้างบ้านประสบมา .... สำคัญที่สุด คือ ยอมรับไหมว่า นี่คือปัญหาที่แท้จริง นี่คือต้นเหตุแห่งความล้มเหลวทั้งมวล

- ปัญหาเดิม ปัญหาเดียวกัน แต่ต่างเจ้าของกัน เช่น ปัญหาข้าวก็ว่าไม่ใช่ข้าวฉัน ไม่ใช่ข้าวผม เป็นข้าวของคนอื่น จึงเกิด คนถามใหม่-ปัญหาเดิม-คำตอบเดิม นี่คือ จุดอ่อนหนึ่งแห่งปัญหาการเกษตรบ้านเรา ซึ่งก็ไม่รู้เหมือนกันว่า บ้านอื่นประเทศอื่นเขาเป็นเยี่ยงนี้บ้างไหม

- เท่าที่ได้สัมผัสกับเกษตรกรมา 20 ปี พอจะสรุปได้ว่า คิดไม่เป็น กับ ไม่ยอมคิด มันคนละเรื่องคนละอย่างกัน .... “คิดไม่เป็น” คือ ความไม่มีความรู้ ไม่รู้จริงๆ แต่ “ไม่ยอมคิด” คือ รู้ทั้งรู้ เพราะยึดติด คำพระเรียกมิจฉาทิฐิ

- ว่ามั้ย ทุกปัญหา ตัวเองทำเอง ทั้งนั้น .... คนไม่มีความรู้จริงๆ อันนี้น่าสงสาร ถ้าคิดซักหน่อยก็น่าจะบอกตัวเองได้ว่านั่นมัน ใช่หรือไม่ใช่ .... คนมีความรู้ รู้ทั้งรู้แต่ยึดติด อันนี้ให้ปล่อยไป บอกยังไงก็ไม่เชื่อ พูดยังไงก็ไม่ฟัง

- ความชะล่าใจ หรือความประมาท หรือความไม่ใส่ใจ หรือเจ็บไม่จำ ไม่ทำไม่คิดอะไรทั้งสิ้น รู้ทั้งรู้ก็ได้แต่รอให้ปัญหามันเกิดซะก่อน .... ที่ว่า :

.... ไม่มีพืชใดในโลกนี้ที่ไม่มีศัตรูพืชประจำตระกูลเผ่าพันธุ์ วันนี้ไม่มีเพราะยังไม่มา หรือศัตรูพืชกำลังขยายพันธุ์

.... ไม่มีสารเคมี หรือสารสมุนไพรใดในโลกนี้ ที่ทำให้ส่วนของพืชที่ถูกทำลายไปแล้ว ฟื้นคืนดีอย่างเดิมได้ เป็นแล้วเป็นเลย เสียหายแล้วเสียหายเลย ต้องกันก่อนแก้

.... ข้าวเป็นพืชที่มีศัตรูพืชมากที่สุดในบรรดาพืชด้วยกัน คือมากถึง 200 ชนิด/ชื่อ เขียนหนังสือได้เป็นเล่มๆ

- นาข้าว 50 ไร่ เมื่อไม่ทำเองก็ต้องจ้าง จ้างคือจ้าง ต้องจ่ายค่าจ้างอยู่แล้ว สำคัญที่ จ้างให้ทำอะไร ? ทำอย่างไร ? ทำเพื่ออะไร ? ทำแล้วได้อะไร ? ได้เท่าไหร่ ?

- ระหว่าง “จ้างให้ทำสินค้าราคาถูก” กับ “จ้างให้ทำสินค้าราคาแพง” อย่างไหนคุ้มค่าจ้างกว่ากัน
- กรณีนาข้าว ได้ข้าวมาแล้ว ระหว่างขายเป็น ....
* ข้าวพันธุ์รวมกองให้โรงสี .... หรือ
* ขายเป็นข้าวปลูก ทำพันธุ์ .... หรือ
* สีเป็นข้าวกล้องขาย .... หรือ
* สีเป็นข้าวกล้องงอกขาย .... ตลาดไหนได้ราคาดีกว่ากัน ? หรือแม้แต่ทำ....
* ข้าวเบญจรงค์ 5 สี .... หรือ
* น้ำมันรำ .... หรือ
* จมูกข้าวบรรจุแคปซูล .... แต่ละอย่าง หรือทุกอย่าง มูลค่าเพิ่มเท่าไหร่ ?

แม้แต่แกลบฟางเอามาทำปุ๋ยอินทรีย์ แบบนี้จ้างแรงงานก็จ้างไปเถอะ คุ้มค่าจ้างทั้งนั้น นี่แหละที่เรียกว่า “คิดเป็น-ทำเป็น-ขายเป็น” ในเมื่อมีคนทำได้ แต่เราทำไม่ได้ อันนี้ก็ว่ากันไป

วิเคราะห์ปัญหาแบบแยก “มูลเหตุ และการแก้ไข” ทีละประเด็น :
* “ต้นทุนค่าแรง” :
- แรงงานหายาก ... แก้ไขโดย จ้างให้น้อยคนที่สุด แล้วใช้เครื่องทุ่นแรงช่วย
- เครื่องทุ่นแรงประเภทภูมิปัญญาพื้นบ้าน .... แก้ไขโดย เปลี่ยนเป็นใช้เครื่องทุ่นแรงเทคโนโลยีรุ่นใหม่

- เครื่องฉีดพ่นแบบไทยประดิษฐ์ สุพรรณบุรี บรรทุก “น้ำ+ปุ๋ย+ยาสมุนไพร” ครั้งละ 200 ล. มีแขนหัวฉีดยื่นออกข้าง ข้างละ 10 ม. (2 ข้าง = 20 ม.) ทำงานได้วันละ 50 ไร่ แรงงานคนเดียว

(คุณพนมฯ ใช้ประจำ ถามเบอร์โทรที่ชาตรี 081-841-9874 .... ลูกหลานที่เรียนเทคนิคเครื่องจักรกลก็ทำได้ ทำใช้-ทำรับจ้าง-ทำขาย-ทำแจก-ทำทิ้ง .... คนเป็นพ่อเป็นแม่ต้องให้โอกาสเขา)

- จ้างแรงงานไม่ทำตามสั่ง ชอบอ้างว่า ไม่เคยทำ/แถวนี้ไม่มีใครทำ/ไม่ได้ผล .... แก้ไขโดยทำความตกลงให้แน่นอนก่อนว่าจ้าง ไม่ตกลงก็ไม่จ้าง

- แรงงานพูดยาก .... แก้ไขโดย บอกจ้างประจำ เพื่อให้มีรายได้ประจำ
- แปลงใหญ่ 50 ไร่ .... แก้ไขโดย ลดขนาดเหลือ 20 ไร่ ทำเองสองคนผัวเมีย ที่เหลือให้เขาเช่า
* “ต้นทุนค่าปุ๋ย”
- ต้นทุนค่าปุ๋ยสูง ....แก้ไขโดย จับหลักสมการปุ๋ย เพื่อให้ปุ๋ยเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ด้วยต้นทุนที่ต่ำสุด

- ใส่ปุ๋ยมากเพราะดินไม่กินปุ๋ย .... แก้ไขโดย ปรับสภาพดินด้วย ปุ๋ยอินทรีย์/จุลินทรีย์ ดีรุ่นนี้แล้ว ดีต่อรุ่นหน้า รุ่นต่อๆ ไปด้วย เลิกปลูกข้าวเปลี่ยนเป็นปลูกอะไรก็ได้ เพราะดินดีเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว

- ต้นทุนค่าปุ๋ยทางดินสูง .... แก้ไขโดย ซื้อปุ๋ยทางใบ แล้วดูเนื้อในส่วนผสม ไม่ใช่ดูแค่ ยี่ห้อ/โฆษณา/ราคาแพง เพื่อความชัวร์ ทำเอง 50 ซื้อ 50 หรือทำเอง 100 หรือซื้อ 100

- ค่าขนส่งแพง .... แก้ไขโดย สั่งซื้อแบบให้ส่งถึงที่หรือทาง ปณ. สั่งซื้องวดเดียว 1 รุ่น หรือแบ่งสั่งซื้อ 2 งวด

- ซื้อปุ๋ยผิด .... แก้ไขโดย ตรวจสอบคนขายปุ๋ย เมื่อมั่นใจแล้วเป็นลูกค้าประจำ มีบริการหลังการขาย ให้คำปรึกษาได้

* “ต้นทุนค่ายา (สารเคมียาฆ่าแมลง)”
- ราคา แก้ไขโดยจับหลักสมการ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ด้วยต้นทุนที่ต่ำสุด
- ไม่มีมีความรู้เกี่ยวกับ ตัวศัตรูพืช (ชื่อ วงจรชีวิต สภาพแวดล้อม ฯลฯ) แก้ไขโดยรวมกลุ่มสอบถาม จนท.เกษตร, ให้ลูกหลานเปิดอินเตอร์เน็ต

- ไม่มีมีความรู้เกี่ยวกับ ชื่อสามัญ ชื่อการค้า ออกฤทธิ์ต่อศัตรูพืช แก้ไขโดย อ่านฉลาก ถามย้อนไปที่บริษัทผู้ผลิต, รวมกลุ่มสอบถาม จนท.เกษตร, ให้ลูกหลานเปิดอินเตอร์เน็ต

- ไม่มีมีความรู้เกี่ยวกับ ผลเสียจากการใช้สารเคมีต่อพืช สภาพแวดล้อม แก้ไขโดย อ่านฉลาก ถามย้อนไปที่บริษัทผู้ผลิต, รวมกลุ่มสอบถาม จนท.เกษตร, ให้ลูกหลานเปิดอินเตอร์เน็ต

- ไม่มีมีความรู้เกี่ยวกับ ผลเสียจากการใช้สารเคมีต่อคน สัตว์เลี้ยง แก้ไขโดย อ่านฉลาก ถามย้อนไปที่บริษัทผู้ผลิต, รวมกลุ่มสอบถาม จนท.เกษตร, ให้ลูกหลานเปิดอินเตอร์เน็ต

- รู้เทคนิคการตลาดของคนขาย อย่ายึดติดแค่ ยี่ห้อ/โฆษณา/ราคา เท่านั้น แก้ไขโดย ถามคนในกระจก

- ระวังสารเคมียาฆ่าแมลงประเภท ลด/แลก/แจก/แถม แก้ไขโดย ถามคนในกระจก
- ระวังสัมภเวสี เร่ขายตามบ้าน แก้ไขโดย ถามคนในกระจก

* “ต้นทุนที่จำเป็น”
- จ่ายทุนตามใจคน (ตัวเอง ข้างบ้าน) ไม่จ่ายทุนตามความเหมาะสมของพืชตระกูลข้าว
- จ่ายทุนทุกครั้งนึกถึงผลรับ ระยะสั้น/ระยะปานกลาง/ระยะยาว
- คิด/วิเคราะห์/เปรียบเทียบ ให้ออกว่าการลงทุนทำได้ด้วย ลงทุนด้วยเงิน ลงทุนด้วยเวลาเอาผลผลิต ลงทุนด้วยเวลาไม่เอาผลผลิต

* “ลดหรือตัด”
- พิจารณาผลต่อต้นข้าว ทุกอย่างขึ้นอยู่กับตามความเหมาะสมของต้นข้าว
- พิจารณาผลที่เกี่ยวข้องกับค่านิยมทางสังคม เพื่อผลประโยชน์ระยะยาวของเรา

ต้นทุนนาข้าว อินทรีย์นำ เคมีเสริม :
- เขียนรายจ่ายที่เป็นเงินทุกรายการ .... (ปุ๋ย ยา น้ำมัน แรงงาน ค่าเช่า เทคโนโลยี) แล้วมาพิจารณา ความจำเป็น, ความถูกต้อง, ทำเอง/ซื้อ, ความคุ้มค่ารุ่นนี้/รุ่นหน้า/รุ่นต่อๆไป

- เขียนรายจ่ายที่ไม่ไม่เป็นเงินทุกรายการ .... ที่ดิน, เวลา, โอกาส,
- เขียนรายรับจากการตลาด .... ผลตอบแทน(มูลค่า) จากการขายที่ โรงสี, ร้านข้าวปลูก, แปลงข้างบ้าน, แปรรูปขายปลีก/ส่ง,

- บัญชีข้างฝา .... ทุกคนเห็น อ่านแล้วคิดตามอัธยาศัย ช่วยเตือนสติทุกคนในบ้าน เพื่อนบ้าน, สร้างนวัตกรรมทางความคิดใหม่ ผิดกับบัญชีบนสมุดที่เรียกว่า บัญชีฟาร์ม บัญชีครัวเรือน เขียนแล้วเก็บไว้บนโต๊ะหรือในลิ้นชักโต๊ะ บัญชีแบบนี้คนเขียนรู้แค่คนเดียว เชื่อว่าคงไม่มีใครในบ้าน แม้ แต่ลูกเมียผัวของตัวเองหยิบมาอ่านหรอกนะ


นาข้าวสูตรเลยตามเลย
เหตุ ผล ลุย ! :

เผาฟาง : เผาคือเผา เหมือนเผาบ้านฆ่าหนู ฆ่าผู้ก่อการร้าย 1 คน เกิดใหม่ 5 คน (ญาติพี่น้องโกรธ)

ผล .... จุลินทรีย์ประจำถิ่น ตาย, ดินแข็งแน่น น้ำอากาศผ่านไม่สะดวก .... ลงท้าย ดินตาย ดินไม่กินปุ๋ย

ลุย ....ทำต่อไป เติมจุลินทรีย์ใหม่ เติมสารอาหารสำหรับจุลินทรีย์ประจำถิ่น ให้สารอาหาร (อินทรีย์-เคมี) ทดแทนสารอาหารที่ได้จากฟาง..... ฟาง 1 ตัน ได้ปุ๋ย 18 กก. (อ้างอิง : จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย)

ย่ำเทือกไม่ประณีต :
เหตุ ..... ย่ำผิดย่ำถูก มากรอบน้อยรอบ ..... ย่ำถูกน้อยรอบ ดีกว่า ย่ำผิดมากรอบ
ผล .... ดินแน่น ขี้เทือกตื้น
ลุย .... ใส่ปุ๋ยน้ำชีวภาพ ระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 (1 รอบ) แล้วหาโอกาส เสริม/เติม/เพิ่ม/บวก จุลินทรีย์หน่อกล้วย หรือจุลินทรีย์จาวปลวก 2-3 รอบ ห่างกันรอบละ 1 เดือน

สารเคมี (ยาฆ่าหญ้า) :
เหตุ ..... ยาฆ่าหญ้าใช้ตามเกณท์ข้างขวด หญ้าไม่ตายแค่ใบไหม้เท่านั้น ไม่เกิน 10-15 วัน งอกใหม่ใหญ่กว่าเก่า 60 วันสูงแซงต้นข้าว เพราะ หัว/ไหล/เหง้า ใหญ่ขึ้น

ลุย .... (ยาฆ่าหญ้า) งานนี้ต้อง "เลยตามเลย ไหนไหนก็ไหนไหน" บำรุงทั้ง "ข้าวและหญ้า" ไปพร้อมกัน โดยการให้สารอาหารทางใบเป็นหลัก ไม่ต้องกลัว หญ้า/วัชพืช แย่งอาหารต้นข้าว .... ให้สารอาหารทางใบ ต้น หญ้า/วัชพืช คงไม่โน้มใบตัวองมาแย่งสารอาหารข้าวที่ใบข้าวได้หรอก .... บำรุงแบบนี้ทั้ง “ต้นข้าว/ต้นหญ้า/วัชพืช” งามทั้งคู่ ก็ให้ปล่อยไป ใจเย็นๆ งวดหน้ารุ่นหน้า ให้เตรียมการไถกลบลงดิน สารอาหารที่ต้น หญ้า/วัชพืช ได้ไปก็จะกลับคืนลงดินเหมือนเดิม .... ว่าแต่ นาแปลงนี้มีปัญหาเรื่องน้ำชลประทาน ปีหน้ารุ่นหน้าก็ปัญหาเดิมอีกนั้นแหละ ว่ามั้ย แล้วจะจัดการยังไงกับปัญหาโลกแตกแบบนี้ ถ้ากังวลว่า ต้นหญ้า/วัชพืช จะได้สารอาหารด้วย ว่าแล้วจึงไม่ให้ ฉะนี้แล้ว เราก็จะไม่ได้ข้าวด้วย หรือเท่ากับไม่ได้อะไรเลย

เทคนิคการทำนาแบบเดิมๆ คือ ให้แต่สารอาหาร (ปุ๋ย) ทางดิน แบบนี้ต้น หญ้า/วัชพืช ซึ่งธรรมชาติหาอาหารเก่งกว่าต้นข้าวอยู่แล้ว ก็จะแย่งอาหารไปจากต้นข้าวจนหมด แล้วโตกว่าต้นข้าวแน่นอน นี่คือ "หญ้าขี่ข้าว" เป็นธรรมดา

การลบล้างความคิดเก่าๆ ของคนรุ่นเก่าๆ สามารถทำได้ด้วยวิธีเดียว นั่นคือ "หลักวิชาการ" เพราะฉะนั้นเราต้อง "แม่นสูตร แม่นหลักการ" จากนั้นรอเวลา สร้างประสบการณ์ ด้วยการทำความจริงให้ปรากฏ ว่าแต่ตัวเองแม่นสูตร แม่นหลักการ ในการทำนาข้าวมากน้อยแค่ไหน เท่านั้นแหละ

เลิกเชื่อข้างบ้าน เลิกเชื่อคนขายปุ๋ย แต่ให้เชื่อตัวเอง .... ว่าแต่ ตัวเองมีอะไรให้เชื่อได้บ้าง

อย่าหวังว่าจะต้องได้ผลผลิตมากเท่านั้นเท่านี้ แต่ให้ดูต้นทุนเป็นหลักว่าได้จ่ายลงไปแล้วเท่าไหร่ .... การได้ข้าว 90 ถัง เท่าข้างบ้าน แต่เงินต้นทุนที่จ่ายไปน้อยกว่า ก็เท่ากับ ได้มากกว่าอยู่แล้ว จากนั้นดู ข้าวลีบ-ข้าวปน-ข้าวป่น-น้ำหนัก ว่าใคร มาก/น้อย กว่ากัน

การกำจัด หญ้า/วัชพืช แบบหนึ่ง คือ เมื่อต้นข้าวสูงประมาณ 1 ฝ่ามือ ให้ปล่อยน้ำเข้าจนท่วมทั้งข้าว และ หญ้า/วัชพืช ทำให้ หญ้า/วัชพืช ส่วนหนึ่งจมน้ำตายแต่ต้นข้าวจะไม่ตาย แล้วจะเหลือ หญ้า/วัชพืช เพียงส่วนหนึ่งที่รอดจากน้ำท่วมได้ นี่เท่ากับลดจำนวน หญ้า/วัชพืช ได้ส่วนหนึ่งแล้ว

ถึงวันนี้คงทำอะไร หญ้า/วัชพืช ไม่ได้แล้ว แนะนำให้เดินหน้าต่อด้วยสูตร "เลยตามเลย-ไหนไหนก็ไหนไหน
........................................................................................................................
ประสบการณ์ตรง .... มีคนทำได้ หญ้าครึ่งหนี่ง ข้าวครึ่งหนึ่ง บำรุงทางใบตามระยะ สม่ำเสมอ ได้ข้าว 120 ถัง
........................................................................................................................

ยาฆ่าหอยเชอรี่ ยาฆ่าปูนา .... เอาน้ำออก น้ำไม่มีหอยอยู่ไม่ได้ น้ำน้อย (เปียกดสลับแห้ง) ต้นข้าว = ดี, หอย = ไม่ได้

ยาฆ่าหนู ....ใช้สมุนไพร “ขมจัด” ฉีดต้นข้างระยะพลับพลึง (ใกล้เกี่ยว งดน้ำ....หนูเดินได้) หนูเจอต้นข้าวรสขมก็จะไม่กินเอง

นาหว่าน :
เหตุ ..... เพราะชอบหว่าน
ผล .... ต้นข้าวเบียดกัน ไม่แตกกอ
ลุย .... บำรุงด้วยสูตรนาข้าวตามระยะ ทั้งทางใบ และทางราก ตั้งแต่เริ่มถึงเกี่ยว เชื่อว่า บำรุงต้องดีกว่าไม่ได้บำรุงแน่นอน

ยูเรีย 16-20-0 :
เหตุ ..... เพราะยึดติดแบบเดิมๆ
ผล .... ทุกส่วนของต้นข้าวไม่สมบูรณ์ เพราะได้รับสารอาหรไม่ครบ
ลุย ....ให้ปุ๋ยสูตรนาข้าว ทั้งทางใบทางราก ต้นข้าวจะได้รับปุ๋ยครับทุกตัว

ข้าวปน :
เหตุ ..... เพราะเอาข้าวปนไปปลูก
ผล .... ถูกตัดราคา
ลุย .... ปนให้ปน บำรุงด้วยสูตรนาข้าว ถึงปนก็เป็นข้าวมีคุณภาพ

@@ ชาวนามือใหม่ สิงห์บุรี :
1. “หญ้าขี่ข้าว” .... แก้ไขโดยการให้ปุ๋ยทางใบเป็นหลัก บำรุงทั้งสองอย่างไปเลย โตทั้งสองอย่างก็ช่างมัน เพราะถ้ามัวแต่กลัวหญ้าโตเลยไม่ให้ ต้นข้าวก็เลยอดด้วย เอาเถอะ ให้ปุ๋ยทางใบแล้ว ใบหญ้าไม่โน้มใบมาแย่งอาหารต้นข้าวที่ใบข้าวหรอก แต่ถ้าให้ปุ๋ยทางราก อันนี้ต้องยอม รับก่อนว่า ต้นหญ้าหาอาหารเก่งกว่าต้นข้าว ใส่ปุ๋ยลงไป 10 ส่วน หญ้าเอาไปกิน 8 ส่วน ต้นข้าวได้แค่ 2 ส่วนเท่านั้น

* ทำไงได้ นาข้าวรุ่นนี้ ต้องเลยตามเลย ไหนไหนก็ไหนไหน รุ่นหน้าเอาใหม่ เกี่ยวข้าวแล้วเอาปุ๋ยที่หญ้าเอาไปนั้นกลับคืนมาโดยการไถกลบ

* ประสบการณ์ตรง นาข้าวริมถนนสายบายพาส สิงห์บุรี ข้าวครึ่งหญ้าครึ่ง บำรุงทางใบทุก 7 วัน ไม่ให้ปุ๋ยทางดิน ยังได้ข้าวตั้ง 120 ถัง

2. “ใส่น้ำหมักระเบิดเถิดเทิงแล้วขี้เทือกลึกไม่เท่ากัน” .... สาเหตุมาจากสภาพโครงสร้างเดิมของดินบริเวณนั้น บอกแล้วไงว่า ดินเขาดินเรา แม้แต่ดินของเราเอง ดินตรงนั้นกับดินตรงนี้ มันยังไม่เหมือนกันเลย แม้ว่าจุลินทรีย์ที่ไปจากน้ำหมักโดยตรง กับจุลินทรีย์ประจำถิ่นที่ได้รับสารอาหารจากน้ำหมักจะช่วยปรับสภาพดินได้ แต่ก็ต้องอาศัยระยะเวลาด้วย ....

วิธีการแก้ไข : ถ้าตอนทำเทือกไม่ได้ใส่ ยิบซั่ม ปุ๋ยอินทรีย์ กระดูกป่น ก็ให้ใส่ ถ้าใส่แล้วก็ไม่ต้องใส่ แต่ให้ใส่ซ้ำน้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิงอีกครั้ง ด้วยสูตรเดิม อัตราเดิม ไม่ต้อง +ปุ๋ยเคมีเพิ่ม วิธีให้คราวนี้คงใช้วิธีผสมน้ำแล้วเดินสาดอย่างเดิมไม่ ได้ แต่ให้ใช้เครื่องฉีดพ่น ปรับหัวฉีดให้เม็ดน้ำใหมญ่ๆ ฉีดแหวกต้นข้าวลงดินไปเลย เน้นเฉพาะ บริเวณที่ขี้เทือกยังตื้น ประมาณ 7-10 วัน ลงไปสำรวจอีกครั้งจะรู้สึกเลยว่าดีขึ้น

3. “แมลงอะไรไม่รู้กัดใบข้าว เห็นใบเหลือแต่เส้นใบสีขาว” .... ไม่บอกว่าแมลงชื่ออะไร ถ้าบอกต่อไปก็จะรู้แต่แมลงตัวนี้ ตัวอื่นไม่ยอมรู้ เอาเป็นว่า แมลง คือ แมลง ตัวนี้คือแมลงปากกัดปากดูด ก็คุณบอกมันกัดกินใบข้าวไงล่ะ

* แมลงทุกแมลงที่กัดกินใบข้าวเพราะมันชอบรส ชาดของใบข้าว ถ้าเราเปลี่ยนรสใบข้าวให้เป็นรสชาดอย่างอื่น แมลงก็จะไม่กิน กับแมลงรู้จักกลิ่นใบข้าว ถ้าเราเปลี่ยนกลิ่นใบข้าวเป็นกลิ่นอย่างอื่นซะล่ะ แมลงก็จะไม่เข้าหา ว่าแล้วก็ให้จัดการเปลี่ยนทั้งรสและกลิ่นใบข้าวซะเลย ทำสารสมุนไพร “ขมจัด + เผ็ดจัด + กลิ่นจัด” ให้เอา บอระเพ็ด ฟ้าทะลายโจร พริกแกง ขิง ข่า ตะไคร้ สาบเสือ ดาวเรือง

* วิธีทำง่ายๆ เอาฟ้าทะลายโจร บอระเพ็ด สาบเสือ ดาวเรือ รวมกัน ต้มพร้อมกัน ส่วนพริกแกงก็ให้ใส่เพิ่ม ข่า ตะไคร้ ขิง ใส่เยอะๆ แล้วโขลกด้วยกันไปเลย เวลาใช้ก็เอาทั้งที่ต้มแล้ว กับที่โขลกแล้วมาใช้รวมกันเลย งานนี้ต้องฉีดบ่อยหน่อย แรกๆ อาจจะวันเว้นวัน แมลงเบาลงแล้วอาจจะวันเว้น 3-5 วัน ก็ดูเอาตามความเหมาะสม ยังไงๆ อย่าลืม “กันก่อนแก้” ก็แล้วกัน

@@ ชาวนา บรรพตพิสัย :
- คำศัพท์เทคนิคคำนี้ ลุงคิม “คิดเอง” ไม่มีในเอกสารตำราใดๆทั้งสิ้น ที่ตั้งชื่ออย่างนี้เพื่อให้การสื่อสารระหว่าง “คนที่ไม่ได้ร่ำเรียน กับ คนที่ไม่ได้รำเรียน” ทางวิชาการมาเหมือนๆ กันได้พูดคุยกันรู้เรื่อง ขออย่ายึดติดกับคำศัพท์ แต่ให้ดู “วิธีการทำกับผลรับ” ออกมา ถ้าเหมือนกัน คุณจะเรียกว่าอย่างไรก็ได้ ขอแต่ให้คนอื่นรู้เรื่องด้วยก็แล้วกัน .... คำศัพท์เทคนิคทางเกษตรที่ลุงคิมตั้งขึ้นมาเอง เช่น นาข้าวแบบไบโอไดนามิก, หญ้าเก้าข้าวหนึ่ง, น้ำเจ๊าะแจ๊ะ, ต้นยาวรวงสั้น ต้นสั้นรวงยาว, กับอีกหลายๆ คำที่เกี่ยวกับเกษตร...

- ถามว่า “สูตรนาข้าว เลยตามเลย ไหนไหนก็ไหนไหน .... ทำอย่างไร ?" หมายถึงการปฏิบัติในการทำนาข้าวบางขั้นตอน ไม่ได้ทำหรือทำไม่สำเร็จ เช่น ....

* “ทำเทือก” .... เลยตามเลย ไหนไหนก็ไหนไหน แก้ไขอะไรไม่ได้แล้ว ถ้ายังไม่ได้ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ (ยิบซั่ม เฟอร์มิกซ์, ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, กระดูกป่น,) น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง เพื่อเอาสารอาหารอินทรีย์ สารอาหารเคมี จุลินทรีย์ และสารอาหารสำหรับจุลินทรีย์ประจำถิ่น ก็ให้ใส่ซะ แม้ว่าต้นข้าวโตแล้วก็ใส่ได้ เรียกว่า ดีกว่าไม่ได้ใส่ก็แล้วกัน

* “ฉีดยาฆ่าหญ้าแล้วต้นข้าวชงักการเจริญเติบโต” .... เลยตามเลย ไหนไหนก็ไหนไหน แก้ไขอะไรไม่ได้แล้ว หลังฉีดยาฆ่ายาคุมหญ้าไปแล้ว 3 วัน รอให้สารในยาฆ่าหญ้าออกฤทธิ์เรียบร้อยก่อน ให้ฉีดพ่น “ไบโออิ (แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม) +ยูเรีย จี. +กลูโคสหรือน้ำมะพร้าว” ทันที ให้ฉีด 2-3 รอบ ห่างกันรอบละ 3-4 วัน

* “ ใส่ยูเรียแล้วอยากเปลี่ยนสูตร” .... เลยตามเลย ไหนไหนก็ไหนไหน แก้ไขอะไรไม่ได้แล้ว ก็ให้ “น้ำหมักระเบิดเถิดเทิง 2 ล. +16-8-8 (2-3 กก.)” ต่อไร่ซะเลย ละลายปุ๋ยในน้ำหมักแล้วฉีดลงดินให้ทั่วแปลง จากต้นข้าวที่เคยได้รับแต่ไนโตรเจน อย่างเดียว มาได้รับฟอสฟอรัส กับโปแตสเซียมด้วย คราวนี้ได้ปุ๋ยครบทั้ง 3 ตัวธาตุหลัก

* “ข้าวระยะต้นกลม ต้นแบน เนื้อหลวม ” .... เลยตามเลย ไหนไหนก็ไหนไหน เมื่อแก้ไขไม่ได้ สูบน้ำออกแล้วให้น้ำหมักระเบิดเถิดเทิง +16-8-8 (10 กก.) / ไร่ ปรับหัวฉีดให้เม็ดใหญ่ๆ ฉีดแหวกต้นข้าวลงดิน

* “ข้าวใบโค้ง” .... ช่วง 8-10 โมงเช้า โดยประมาณ ใบธงจะโค้งลง ผ่าน 10 โมงเช้าไปแล้วใบจะตั้งตรงอย่างเดิม สาเหตุเพราะได้รับยูเรียกมากเกิน กับขาด ธาตุรอง/ธาตุเสริม ทั้งทางรากและทางใบอย่างรุนแรง นาข้าวแบบนี้เกี่ยวมาแล้วได้ “ข้าวลีบ-ท้องไข่-ข้าวป่น-น้ำหนักน้อย” งานนี้ต้อง เลยตามเลย ไหนไหนก็ไหนไหน เมื่อแก้ไขไม่ได้ก็จงให้ ไบโออิ + แม็กเนเซียม ยืนพื้นเข้าไว้

* “ข้าวระยะออกรวง น้ำมาก ต้นข้าวสูง” .... เลยตามเลย ไหนไหนก็ไหนไหน เมื่อแก้ไขไม่ได้ ให้สูบน้ำออกเหลือแค่เจ๊าะแจ๊ะเท่ารอยตีนวัวตีนควาย ให้ไทเป + 0-52-34 ซัก 2 รอบ

* “ข้าวออกรวงไม่พร้อมกัน” .... เลยตามเลย ไหนไหนก็ไหนไหน เมื่อแก้ไขอะไรไม่ได้ ก็ให้สารลมเบ่ง “ไทเป + ยูเรีย จี.” หรือ “ยูเรีย จี. เดี่ยวๆ” ให้ 2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน .... ยูเรีย จี. ทำหน้าที่เหมือนสารลมเบ่ง

* “ข้าวแก่ไม่พร้อมกัน” .... เลยตามเลย ไหนไหนก็ไหนไหน แก้ไขอะไรไม่ได้แล้ว ให้ฉีดพ่นทางใบด้วย 0-21-74 หรือ 14-7-21 ก่อนเกี่ยว 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน ให้รอบสุดท้ายก่อนวันเกี่ยว 5 วัน

.... “ ยูเรียมาก ข้าวลีบ” .... เลยตามเลย ไหนไหนก็ไหนไหน แก้ไขอะไรไม่ได้ ให้ ยูเรก้า 4-1-2 สลับด้วย ไบโออิ จนถึงเกี่ยว

* “ข้าวเกี่ยว ความชื้นสูง” .... เลยตามเลย ไหนไหนก็ไหนไหน แก้ไขอะไรไม่ได้ ก่อนเกี่ยว 10-15 วัน ให้ทางใบด้วย “นมสด” 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน ให้ครั้งสุดท้ายก่อนเกี่ยว 5-7 วัน


ชาวนามิติใหม่
สร้างทัศนคติใหม่ คิดใหม่ ทำใหม่ :

- เปิดใจรับเทคโนโลยี ใหม่/ถูกต้อง/เหมาะสม/คุ้มทุน/ทำได้ .... เทคโนโลยี แปลว่า “วิธี”

- เขียนรายการงานที่ “เคยทำ/จะทำ/ไม่ทำ” แล้ว ปรับ/เปลี่ยน
- ปรับ/เปลี่ยน วิธีการทำแบบเดิมสู่วิธีการทำแบบใหม่ (เดิม-ทำอย่างไร .... ใหม่-ทำอย่างไร)
- ส่งเสริมซึ่งกันและกัน ติดต่อ/ขอความช่วยเหลือ คนนอกมาส่งเสริม
- สร้างพลังใจตั้งเป้าหมายชีวิต รวยด้วยกันแทนรวยคนเดียว
- คิดบวก คิดใหม่ทำใหม่ ทำแล้วขาย ขายแล้วต้องได้กำไร
- เนื้อที่น้อย ต้นทุนน้อย ได้ผลผลิตน้อย แต่ขายแล้วได้มาก
- เนื้อที่น้อยหลายแปลงรวมกัน รวมแล้วเท่ากับเนื้อที่ใหญ่

ประหยัดต้นทุน สร้างมูลค่า สร้างอนาคต :
- น้ำหมักชีวภาพฯ ซื้อครึ่งหนึ่ง + ทำเองครึ่งหนึ่ง = ต้นทุนลด 50%
- ปุ๋ยทางใบ ทำเอง = ต้นทุนลด 30%
- สมุนไพร ทำเอง = ต้นทุนลด 90%
- ทำเทือกไม่ไถแต่ย่ำ 3 รอบ ได้กำจัดวัชพืช ได้เทือก = ต้นทุนต่ำกว่า ไถ+ย่ำ+ยาฆ่าหญ้า

- ฉีดพ่นทางใบ ทุก 7 วัน สมุนไพร + ปุ๋ย = ประหยัดค่าสารเคมี ได้ปุ๋ยบำรุงต้นข้าว
- ทำ นาดำ/นาหยอด ด้วยเครื่อง = ประหยัดค่าเมล็ดพันธุ์ ได้ต้นข้าวคุณภาพดี
- ได้ข้าวขายเป็นข้าวปลูก ขายให้โรงสี ขายให้ร้านขายข้าวปลูก ขายให้แปลงข้างบ้าน
- แปรรูป สีเป็นข้าวกล้อง ขายส่ง-ขายปลีก เหลือแกลบรำ
- รวมกลุ่ม (รวมพื้นที่) สั่งซื้อปุ๋ย ส่งถึงที่ ประหยัดค่าขนส่ง
- รวมกลุ่ม (รวมพื้นที่) ใช้เทคโนโลยีเดียวกัน ให้ได้ผลผลิตเกรดเดียวกัน
- รวมกลุ่ม (รวมพื้นที่) สร้างความสนใจ และเป็นพลังต่อรองกับคนรับซื้อ

ปุ๋ยสูตรปรุงเอง (ก. ทำกับมือ) :
1. ทำเทือก ..... น้ำหมักชีวภาพสูตรไหนก็ได้ ที่มีทั้งสารอาหารอินทรีย์และสารอาหารสังเคราะห์ (เคมี) ครั้งที่ 1 อัตรา 2-3 ล./ไร่ + 16-8-8 (10 กก.) หรือ 16-16-16 (1 กส.) + 46-0-0 (ครึ่ง กส.) 10 กก. สูตรใดสูตรหนึ่ง ละลายปุ๋ยในน้ำหมัก .... ผสมน้ำเท่าไหร่ก็ได้ตามความเหมาะสม สาดให้ทั่วแปลงแล้วย่ำเทือกประณีต .... ไถกลบฟาง ใส่ยิบซั่ม 1 กส. ปุ๋ยอินทรีย์ 1 กส. กระดูกป่น 10 กก.

2. เตรียมเมล็ดพันธุ์ ..... แช่ “น้ำ 100 ล. + ไคโตซาน 100 ซีซี. + สังกะสี 100 ซีซี.” นาน 12 ชม. ครบกำหนดแล้ว ห่มต่อ 24-36 ชม. เมล็ดเริ่มโชว์ตุ่มรากจึงนำไปหว่าน

3. บำรุงระยะกล้า (เร่งแตกกอ) .... ช่วงอายุ 20-30-40 วัน ด้วย “น้ำ 200 ล. + น้ำส้มสายชู 200 ซีซี. + แม็กเนเซียม 25 กรัม + สังกะสี 25 กรัม + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 25 กรัม + ยูเรีย จี 50 กรัม” .... ให้ 3 รอบ ฉีดทางใบได้ครั้งละ 4-5 ไร่

4. ระยะตั้งท้องต้นกลม .... น้ำหมักชีวภาพสูตรไหนก็ได้ที่มีทั้งสารอาหารอินทรีย์และสารอาหารสังเคราะห์ (เคมี) ครั้งที่ 2 อัตรา 2-3 ล./ไร่ + 16-8-8 (10 กก.) หรือ 16-16-16 (1 กส.) + 46-0-0 (ครึ่ง กส.) 10 กก. สูตรใดสูตรหนึ่ง .... ปรับหัวฉีดเม็ดใหญ่ ฉีดแหวกต้นข้าวลงถึงพื้น ผสมน้ำเท่าไหร่ก็ได้ตามความเหมาะสม

5. ระยะออกรวง .... “น้ำ 200 ล. + น้ำส้มสายชู 200 ซีซี. + แม็กเนเซียม + 25 กรัม + สังกะสี 25 กรัม + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 25 กรัม + ยูเรีย จี 50 กรัม + 13-0-46 (25 กรัม) + 0-52-34 (25 กรัม)” .... ให้ 3 รอบ ฉีดทางใบได้ครั้งละ 4-5 ไร่

6. ระยะน้ำนม .... “น้ำ 200 ล. + น้ำส้มสายชู 200 ซีซี. + แม็กเนเซียม 25 กรัม + สังกะสี 25 กรัม + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 25 กรัม + 21-7-14 (25 กรัม) + ไคโตซาน 25 ซีซี. + อะมิโนโปรตีน 25 ซีซี.” .... ให้ 3-4 รอบ ฉีดทางใบได้ครั้งละ 4-5 ไร่

ปุ๋ยสูตรซื้อ (ก. จ่ายกับมือ) :
1. ย่ำเทือก (ดินดี เทือกดี) .... น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 ครั้งที่ 1 อัตรา 2-3 ล./ไร่ + 16-8-8 (10 กก.) หรือ 16-16-16 (1 กส.) + 46-0-0 (ครึ่ง กส.) 10 กก. ละลายปุ๋ยในน้ำหมัก .... ผสมน้ำเท่าไหร่ก็ได้ตามความเหมาะสม สาดให้ทั่วแปลงแล้วย่ำเทือกประณีต .... ไถกลบฟาง ใส่ยิบซั่ม 1 กส. ปุ๋ยอินทรีย์ 1 กส. กระดูกป่น 10 กก.

2. เตรียมเมล็ดพันธุ์ (เมล็ดสมบูรณ์) .... แช่ “น้ำ 100 ล. + ไบโออิ 50 ซีซี. + ไคโตซาน 50 ซีซี. + แคลเซียม โบรอน 50 ซีซี.” นาน 12 ชม. ครบกำหนดแล้ว ห่มต่อ 24-36 ชม. เมล็ดเริ่มโชว์ตุ่มรากจึงนำไปหว่าน

3. บำรุงระยะกล้า .... ช่วงอายุ 20-30-40 วัน ด้วย “น้ำ 200 ล. + น้ำส้มสายชู 200 ซีซี. + ไบโออิ 200 ซีซี. + 18-38-12 (1 กก. ) + ยูเรีย จี 500 กรัม.” .... ให้ 3 รอบ .... ฉีดทางใบได้ครั้งละ 4-5 ไร่

4. บำรุงระยะแตกกอต้นกลม (เตรียมต้นก่อนออกรวง) .... น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง ครั้งที่ 2 อัตรา 2-3 ล./ไร่ + 16-8-8 (10 กก.) หรือ 16-16-16 (1 กส.) + 46-0-0 (ครึ่ง กส.) 10 กก. สูตรใดสูตรหนึ่ง .... ปรับหัวฉีดเม็ดใหญ่ๆ ฉีดแหวกต้นข้าวลงถึงพื้น ผสมน้ำเท่าไหร่ก็ได้ตามความเหมาะสม

5. บำรุงระยะออกรวง (หยุดความสูง เพิ่มลมเบ่ง) .... “น้ำ 200 ล. + น้ำส้มสายชู 200 ซีซี. + ไทเป 200 ซีซี. + ยูเรีย จี 500 กรัม + 0-52-34 (500 กรัม)” .... ให้ 2 รอบ ฉีดทางใบได้ครั้งละ 4-5 ไร่

6. บำรุงระยะน้ำนม (สร้างแป้ง ขยายขนาด เพิ่ม นน.) .... “น้ำ 200 ล. + น้ำส้มสายชู 200 ซีซี. + ไบโออิ 100 ซีซี. + ยูเรก้า 100 ซีซี.” .... ให้ 3-4 รอบ ฉีดทางใบได้ครั้งละ 4-5 ไร่

7. บำรุงระยะพลับพลึง (สุกพร้อมกัน ลดความชื้น) .... "น้ำ 200 ล. + น้ำส้มสายชู 200 ซีซี. + นมสด 200 ซีซี." .... ให้ 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5 วัน ให้ครั้งสุดท้ายก่อนเกี่ยว 5 วัน ฉีดทางใบได้ครั้งละ 5 ไร่

หมายเหตุ :
- เมื่อตอนทำเทือก ถ้าไม่ใด้ใส่น้ำหมักชีวภาพ ขณะที่วันนี้ต้นข้าวยังเล็กอยู่ สามารถใส่น้ำหมักฯ ตามหลังได้ ด้วยอัตราและวิธีการที่กำหนด

- ถ้าหว่านยูเรีย.ไปก่อนแล้ว ณ วันนี้ให้ +ปุ๋ยทางดินกับน้ำหมักชีวภาพฯ ทับลงไป ตามอัตราและวิธีการที่กำหนดได้เลย

- ทุกครั้งที่ฉีดพ่นทางใบให้ +สารสมุนไพร (สูตรรวมมิตร ป้องกัน หรือ สูตรเฉาะ กำจัดโดยตรง) เข้าไปด้วย

ปุจฉา วิสัชนา :
- เปรียบเทียบดินนาข้าว ขี้เทือกลึกแค่ตาตุ่ม กับขี้เทือกลึกครึ่งหน้าแข้ง .... อย่างไหนดีกว่ากัน ?

- ยาฆ่ายาคุมหญ้า ทำให้ต้นข้าวชงักการเจริญเติบโต 7-10-15 วัน .... ดีหรือเสียต่อต้นข้าว ?

- สารเคมีทำให้ศัตรูพืชตาย .... สารสมุนไพรก็มีสารออกฤทธิ์ทำให้ศัตรูพืชตายได้เช่นกัน....หรือไม่ ?

- นาข้าว 1 ไร่ใส่ ยูเรีย + 16-20-0 รวม 2 กส. .... เป็นเงินเท่าไร ? ได้ปุ๋ยกี่ตัว ?

- เปรียบเทียบ ปุ๋ยอินทรีย์/เคมี ที่ให้ทั้งทางใบและทางราก ระหว่างทำเองกับซื้อ .... ราคาต่างกันเท่าไร ? ได้ปุ๋ยกี่ตัว ?

- ปุ๋ยทั้งทางใบและทางราก ไม่ใช่เพียงสิ่งเดียวที่ต้นข้าวต้องการ ไม่ใช่ของวิเศษ ต้นข้าวไม่รู้จักยี่ห้อ ไม่รู้จักโฆษณา ต้นข้าว (พืช) รู้จักแต่สารอาหารในเนื้อปุ๋ยเท่านั้น .... จริงมั้ย ?

- นาหว่าน ต้นข้าวลำต้นโตขนาดหลอดยาคูลท์ .... รวงใหญ่หรือรวงเล็ก ?
- นาดำ ต้นข้าวลำต้นโตขนาดหลอดดูดเฉาก๊วย .... รวงเล็กหรือรวงใหญ่ ?

- วัชพืชหากินเก่งกว่าข้าว เมื่อให้ปุ๋ยทางดิน วัชพืชเอาไปกิน 8 ส่วน ต้นข้าวได้ดิน 2 ส่วน .... ควรทำอย่างไร ?

- ฆ่าหญ้าไม่ตาย ข้าวครึ่งหนึ่ง หญ้าครึ่งหนึ่ง ใช้สูตรเลยตามเลย ไหนไหนก็ไหนไหน .... ทำอย่างไร ?

- ปุ๋ยมี กี่สูตร กี่ประเภท กี่ชนิด มีประสิทธิภาพต่อพืชอย่างไร .... รู้หรือไม่ ?

สมการปุ๋ย ....
ปุ๋ยถูก + ใช้ผิด = ไม่ได้ผล
ปุ๋ยผิด + ใช้ถูก = ไม่ได้ผล
ปุ๋ยผิด + ใช้ผิด = ไม่ได้ผล ยกกลังสอง
ปุ๋ยถูก + ใช้ถูก = ได้ผล ยกกำลังสอง

VISION 60 คิดใหม่ทำใหม่ :
* ทำรุ่นนี้ได้รุ่นนี้ ได้ต่อเนื่องถึงรุ่นหน้า รุ่นต่อๆไป .....
- ลงทุนด้วยเงิน ..... ซื้อ 100% ยิบซั่ม. ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, กระดูกป่น, ขี้วัวขี้ไก่แลบดิบ, เศษพืชแห้ง, น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง

- ลงทุนด้วยเวลา ไม่เอาเงิน ............ ปลูกถั่วไร่บำรุงดิน เริ่มออกดอกแล้วไถกลบ 2 รุ่น
- ลงทุนด้วยเวลา เอาเงิน ................. ปลูกถั่วไร่ เอาผลผลิต แล้วไถกลบ 2 รุ่น
- ลงทุน ประหยัดเวลา เอาเงิน ........ ปลูกพืชไร่แล้วปลูกถั่วระหว่างแถวพืชไร่ ถั่วเริ่มออกดอกให้ไถกลบ หรือเลี้ยงถั่วเอาผลผลิตแล้วจึงไถกลบ

ปลูกข้าวเอาเงิน ไม่เอาหนี้ :
* ใน 1ปี, นาข้าวรุ่นละ 4เดือน, ปีละ 2รุ่น, = 8 เดือน, เหลือเวลา 4เดือน ....
* ใน 1ปี, ปลูกข้าว 2รุ่น, เวลาที่เหลือ 4เดือน ปลูก ถั่ว/งา 1รุ่น แล้วไถกลบเศษซาก ได้ดินดี

* ปลูกข้าว ขายข้าวปลูก, แปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่ม,
* ปลูก ถั่ว/งา ขายลานรับซื้อพืชไร่

หลากหลายวิธีไม่เผาฟาง
หลักการและเหตุผล :

ฟาง คือ อินทรีย์วัตถุประเภทเศษซากพืชที่มีราคาประหยัดที่สุด และมีประโยชน์ต่อต้นข้าวมากที่สุด กล่าวคือ ฟางคือต้นข้าว ในต้นข้าวย่อมมีสารอาหารที่ต้นข้าวต้องใช้พัฒนาตัวเอง เมื่อฟางถูกย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ สารอาหารที่เคยมีในฟางก็จะออกมากลายเป็นสารอาหารพืชสำหรับข้าวต้นใหม่ นอกจากเป็นสาร อาหารพืชแล้ว ฟางยังมีคุณสมบัติที่ดีต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าวอีกหลายประการ อาทิ เป็นแหล่งอาหารจุลินทรีย์ ทำให้ดินโปร่งร่วนซุย น้ำและอากาศผ่านสะดวก ช่วยซับหรืออุ้มน้ำไว้ใต้ดินโคนต้น เป็นต้น

ต้นข้าวในแปลงปลูกที่ดินมีความความชื้นสูง (ดินแฉะ)จะเจริญเติบโต แตกกอ สมบูรณ์แข็งแรง มีภูมิต้านทานสูงและให้ผลผลิตดีกว่าต้นข้าวในแปลงปลูกที่ดินมีน้ำขังท่วม

มาตรการทำให้ดินมีความชื้นสูง มีน้ำใต้ผิวดินมากๆ ทั้งๆ ที่หน้าดินแห้งจนแตกระแหง ก็คือ การให้มีอินทรีย์วัตถุ (เศษซากพืช เศษซากสัตว์ และจุลินทรีย์)อยู่ในเนื้อดินมากๆ ถึงอัตราส่วน 1:1 สะสมต่อเนื่องติดต่อกันมานานหลายๆปี

แนวทางปฏิบัติ :
หลังจากรถเกี่ยวข้าวออกไปแล้ว ให้ดำเนินการส่งฟาง และ/หรือ เศษซากพืช-อินทรีย์วัตถุอื่นๆ ลงไปอยู่ใต้ผิวดิน ผสมคลุกกับเนื้อดินให้เข้ากันดี ตามขั้นตอน หรือ ลัดขั้นตอนก็ได้ ดังนี้

1. ตากฟาง-ไม่ตากฟาง : วัตถุประสงค์คือ ต้องการให้ฟางแห้ง เพื่อให้จุลินทรีย์ช่วยย่อยสลายทำให้ฟางเปื่อยได้เร็วขึ้น อันที่จริงนั้น จุลินทรีย์สามารถย่อยสลายได้ทั้งฟางสดและฟางแห้ง เพียงแต่การย่อยสลายฟางแห้งทำได้ง่ายและเร็วกว่าฟางสดเท่านั้นเอง ดังนั้น การตากฟางหรือไม่ตากก่อนไถกลบจึงไม่ต่างกันนัก ก็ให้พิจารณาตามความเหมาะสม

2. เกลี่ยฟาง-ไม่เกลี่ยฟาง : วัตถุประสงค์คือ ต้องการให้ฟางกระจายตัวเท่าๆกันทั่วแปลง และแห้งเร็วๆ เมื่อไถกลบลงไปในดินแล้วเนื้อดินผสมกับฟางสม่ำเสมอกันซึ่งจะส่งผลให้ดินมีคุณภาพเท่าๆกันทั้งแปลงนั่นเอง .... ล้อรถเกี่ยวข้าวเป็นสายพานตีนตะขาบ ขณะที่รถเกี่ยววิ่งไปนั้น ตอซังที่ถูกสายพานตีนตะขาบเหยียบย่ำจะแบนราบแนบติดพื้น ส่วนตอซังที่อยู่บริเวณใต้ท้องรถเกี่ยวจะไม่ถูกเหยียบย่ำ ยังคงเป็นตอตั้งตรงเหมือนเดิม

นอกจากนี้เศษฟางที่รถเกี่ยวพ่นออกมา ซึ่งรถเกี่ยวข้าวบางรุ่นพ่นเศษฟางให้ฟุ้งแผ่กระจายไปทั่วได้ แต่รถเกี่ยวบางรุ่นพ่นเศษฟางตรงๆลงทับบนตอซังกลายเป็นกองเศษฟาง กรณีนี้ ถ้าต้อง การให้ฟางแผ่กระจายก็ให้ใช้ไม้เขี่ยฟางที่เป็นกองออก แต่ถ้าไม่ต้องการให้ฟางแผ่กระจายก็ไม่จำเป็นต้องเขี่ยออก เพราะช่วงที่รถไถผานโรตารี่เข้าทำเทือกนั้น ผานโรตารี่ก็จะช่วยกระจายฟางไปในตัวเองได้แต่อาจจะไม่กระจายดีกับการเกลี่ยก่อนเท่านั้น

3. ย่ำฟาง-ไม่ย่ำฟาง : วัตถุประสงค์คือ ทำให้ฟาง ฉีก-ขาด-ช้ำ เพื่อเป็นช่องทางให้จุลินทรีย์ผ่านเข้าไปง่ายๆแล้วย่อยสลายฟาง ปฏิบัติโดยการใช้รถไถเดินตามล้อเหล็กวิ่งย่ำไปบนเศษฟางให้ทั่วแปลง วิ่งย่ำซ้ำหลายๆรอบ ฟางที่ถูกล้อเหล็กย่ำจะ ฉีก-ขาด-ช้ำ เกิดเป็นบาดแผลช่วยให้จุลินทรีย์ย่อยสลายฟางให้เปื่อยยุ่ยได้เร็วกว่าฟางที่ยังคงเป็นชิ้นๆอยู่

4. หมักฟาง : วัตถุประสงค์ เพื่อให้ฟางเปื่อยยุ่ยโดยเร็ว ไม่ว่าฟางในแปลงนาจะตากแห้งแล้วหรือยังสด เกลี่ยกระจายแล้วหรือยังเป็นกลุ่มกอง ย่ำให้เป็นแผลช้ำแล้วหรือยังเป็นชิ้นเดิมๆ ทุกสภาพของฟางไม่อาจรอดพ้นฝีมือของจุลินทรีย์ไปได้ เริ่มด้วยการปล่อยน้ำเข้าแปลงพร้อมกับใส่จุลินทรีย์ 2-5 ล./ไร่ รักษาระดับน้ำให้ลึกราว 20-30 ซม. ทิ้งไว้ราว 10-20 วัน น้ำจะเปลี่ยนสีเป็นสีชาอ่อนๆ สภาพของฟางเริ่มเปื่อยยุ่ย เมื่อเดินย่ำลงไปจะมีฟองเกิดขึ้น ให้สังเกตฟอง ถ้ามีกลิ่นเหม็นแสดงว่าจุลินทรีย์เป็นพิษให้ ระบายน้ำออกทั้งหมดแล้วเติมน้ำใหม่ พร้อมกับจุลินทรีย์ชุดใหม่เข้าไปแทน แล้วเริ่มหมักใหม่อีกรอบ .... ถ้าฟองนั้นไม่มีกลิ่นเหม็นแสดงว่าจุลินทรีย์ดี ให้หมักต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าฟางจะเปื่อยยุ่ยได้ที่ตามต้องการแล้วจึงลงมือทำเทือก

ถ้าหมักฟางยังไม่ได้ที่หรือยังมีกลิ่นเหม็น (แก๊ส) จะมีผลต่อต้นข้าวระยะกล้า (ต้นเหลืองโทรม) เรียกว่า
“เมาตอซัง” กรณีนี้แก้ไขโดยระบายน้ำเก่าออกพร้อมๆกับส่งน้ำใหม่เข้าไปแทนที่หรือใช้น้ำดีไล่น้ำเสีย จากนั้นบำรุงต้นกล้าด้วยฮอร์โมนทางด่วน 2-3 รอบ ห่างกันรอบละ 3-5 วัน

5. ไถกลบฟาง : วัตถุประสงค์คือ การส่งฟางลงไปคลุกเคล้ากับเนื้อดินจนเป็นเนื้อเดียวกันแล้วให้จุลินทรีย์ย่อยสลายจนเปื่อยยุ่ยกลายเป็นปุ๋ยฟางที่อยู่ในแปลงนานั้นจะตากหรือไม่ตาก เกลี่ยหรือไม่เกลี่ย ย่ำหรือ
ไม่ย่ำ หมักหรือยังไม่หมัก สามารถไถกลบลงดินได้ทั้งสิ้น เพียงแต่แบบไหนจะยากง่ายกว่ากัน ด้วยเครื่องมือต่างๆ ดังนี้

- ไถด้วยรถไถจอบหมุนโรตารี่ เป็นรถไถขนาดกลางนั่งขับ ขณะไถมักมีฟางพันผาน แก้ไขโดยการเดินหน้าสลับกับถอยหลังเพื่อสลัดฟาง หรือยกผานขึ้น ใส่เกียร์ถอยหลังแล้วเร่งเครื่องแรงๆ ผานจะหมุนฟรีแล้วสลัดฟางออกเองได้

- ไถด้วยรถไถเดินตาม (ควายเหล็ก) ผานเดี่ยว (ผานหัวหมู) ขณะไถมักมีฟางพันผาน แก้ไขโดยต่อใบผานให้ยาวขึ้น 10-12 นิ้ว หรือมากกว่า เพื่อส่งขี้ไถและฟางให้ตกห่างจากผานมากๆ

- ย่ำด้วยลูกทุบ (อีขลุบ) ลากด้วยควายเหล็ก ลูกทุบจะย่ำฟางให้ยุบลงแนบกับเนื้อดินบริเวณผิวหน้าดินเท่านั้นไม่ได้ลงไปคลุกหรือจมลงไปในเนื้อดิน เมื่อหว่านเมล็ดข้าวลงไป เมล็ดพันธุ์ส่วนหนึ่งจะติดค้างอยู่บนหญ้าที่หน้าดิน ช่วงที่เมล็ดเริ่มงอก ระบบรากยังแทงไม่ทะลุกองหญ้าลงไปถึงเนื้อดินด้านล่างได้ ครั้นเมื่อปล่อยน้ำเข้าแปลง ฟางจะลอยขึ้นพร้อมกับยกต้นกล้าข้าวให้ลอยตามขึ้นมาด้วย กรณีนี้แก้ไขโดย ปล่อยให้รากต้นข้าวเจริญยาวลงไปถึงเนื้อดินล่างดีแล้วจึงปล่อยน้ำเข้า หรือนำเส้นฟางออกเหลือแต่เหง้ากับรากต้นข้าวแล้วย่ำ ....วิธีการหมักฟางนานๆจนเปื่อยยุ่ยดี แล้วย่ำด้วยอีขลุบหลายรอบให้มากรอบที่สุดเท่าที่จะมากได้ ฟางที่เปื่อยยุ่ยแล้วถูกย่ำด้วยล้อเหล็กจนแหลกละเอียดจะคลุกเคล้าผสมกับเนื้อดินบริเวณผิวหน้าดิน กรณีนี้แม้ต้นกล้าข้าวจะงอกบนเศษฟางเปื่อย เมื่อปล่อยน้ำเข้าก็จะไม่ยกต้นกล้าข้าวให้ลอยตามขึ้นมา นาข้าวที่ผ่านการไถกลบฟางมา 2-3 รุ่น จนขี้เทือกลึกระดับครึ่งหน้าแข้งแล้ว การทำนารุ่นใหม่ไม่จำเป็นต้องไถอีก แต่ให้ปล่อยน้ำเข้าเพื่อหมักฟางหรือล่อให้วัชพืชขึ้นจากนั้นหมักทิ้งไว้ 10-15 วัน จนแน่ใจว่าฟางเปื่อยยุ่ย ไม่มีกลิ่นเหม็นเน่าและเมล็ดวัชพืชงอกขึ้นมาจนหมดแล้วก็ให้ลงมือย่ำด้วย “อีขลุบหรือลูกทุบ” ได้เลย ทั้งนี้ลูกทุบหรืออีขลุบจะช่วยคลุกเคล้าเนื้อดินกับฟางและวัชพืชให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกันได้ ซึ่งจะช่วยให้ประหยัดต้นทุนค่าไถลงได้

6.ไม่ไถ : หลังจากรถเกี่ยวเสร็จสิ้นภารกิจ ในแปลงมีตอซังและเศษฟาง แนวทางการทำเทือกโดยไม่ต้องไถ ไม่ว่าจะเป็นการไถด้วยรถไถใหญ่ผานจาน 3 หรือผาน 7 รถไถเดินตามผานจานเดี่ยวหรือคู่ รถไถโรตารี่สามารถทำได้โดยจัดการกับตอซังและเศษฟาง ตากฟางหรือไม่ตาก เกลี่ยหรือไม่เกลี่ยก็ได้ แล้วเริ่มด้วยการสูบน้ำเข้าให้ลึกประมาณ 30 ซม. ใส่จุลินทรีย์หน่อกล้วยหรือกากน้ำตาล 5-10 ล./ไร่สาดให้ทั่วแปลง ทิ้งไว้ 7-10 วัน จนน้ำเปลี่ยนสีเป็นสีชาอ่อนๆ จากนั้นให้ลงมือย่ำด้วย อีขลุบ หรือ ลูกทุบ ได้เลย ย่ำหลายๆรอบจนกว่าตอซังและเศษฟางรวมทั้งเศษซากต้นวัชพืชแหลกละเอียดลงไปคลุกกับเนื้อดิน

เสร็จแล้วทิ้งไว้อีก 7-10 วัน ก็ให้ลงมือย่ำรอบสองด้วยวิธีการเดิม แล้วทิ้งไว้อีก 7-10 วัน ตรียมการย่ำต่อรอบสามเป็นรอบสุดท้าย ก่อนลงมือย่ำรอบสามให้ใส่อินทรีย์วัตถุ และปุ๋ยสำหรับนาข้าวตามปกติ เสร็จแล้วให้ลงมือปลูก(ดำหรือหว่าน)ข้าวได้เลย ถ้าเป็นนาข้าวที่เตรียมแปลงแบบไม่เผาฟางหรือไถกลบฟางครั้งแรก จะพบว่าชี้เทือกลึกเหนือ กว่าตาตุ่มอย่างชัดเจนซึ่งถือว่าเพียงต่อการเพาะปลูกข้าวแล้วทั้งดำและหว่าน .... หากเป็นนาที่เคยไม่เผาฟางแต่ไถกลบมาหลายรุ่นแล้ว การย่ำเพียงรอบแรกรอบเดียวก็จะได้ขี้เทือกลึกถึงระดับครึ่งหน้าแข้ง

ประโยชน์ที่ได้จากการย่ำเทือกหลายๆ รอบที่เห็นชัดที่สุด คือ นอกจากได้กำจัดวัชพืชโดยไม่ต้องพึ่งสารเคมีกำจัดวัชพืชแล้วยังได้ปุ๋ยอินทรีย์จากเศษซากพืชอีกด้วย

หมายเหตุ :
- ไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือแบบใด ที่ด้านหน้ารถดัดแปลงให้มีตะแกงสำหรับตั้งถังขนาดจุ 20-50 ล. เจาะรูก้นถัง 2-3 รู มีก๊อกปรับอัตราการไหลช้า/เร็วได้ ในถังใส่ปุ๋ยน้ำชีวภาพหรือจุลินทรีย์น้ำ แล้วปล่อยให้ไหลออกมช้าๆ ขณะที่รถไถวิ่งไปนั้นก็จะปล่อยปุ๋ยน้ำชีวภาพหรือจุลินทรีย์หยดลงพื้นที่ด้านหน้า แล้วถูกผานด้านหลังไถผสมลงไปคลุกผสมกับเนื้อดินเอง

- การทำนาแบบไถกลบฟางลงดินรุ่นแรก หมักฟางนานๆจนเปื่อยยุ่ยดี แล้วย่ำซ้ำหลายๆรอบ จะทำให้ได้ “ขี้เทือก” ลึก 20-30 ซม.(ครึ่งหน้าแข้ง) ในขณะที่การทำเทือกแบบเผาฟางก่อนนั้นจะได้เทือกลึกน้อยกว่ามาก
- นาข้าวแบบไถกลบฟาง จากรุ่นแรกที่ไถกลบนั้นจะมีฟางลงไปอยู่ในเนื้อดินราว 1 ตัน ต่อมารุ่นที่ 2 ก็จะมีฟางชุดใหม่ลงไปสมทบอีก 1 ตัน หรือทำนาข้าวจะได้ฟางรุ่นละ 1 ตัน และจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆแบบรุ่นต่อรุ่น ทั้งนี้เนื่องจากฟางรุ่นแรกๆ แม้จะเปื่อยยุ่ยดีแล้วแต่ก็ยังคงมีเศษซากหลงเหลืออยู่ ยิ่งมีเศษซากฟางอยู่ในดินมากเท่าใดยิ่งทำให้ได้ขี้เทือกลึกมากเท่านั้น

จากประสบการณ์ตรงพบว่า การทำเทือกแบบไถกลบฟางสี่รุ่นติดต่อกัน ปรากฏว่าได้ขี้เทือกลึกถึงหัวเข่าซึ่งถือว่ามากเกินไป ผลเสียคือ เดินเข้าไปสำรวจแปลงได้ยาก ก่อนเกี่ยวซึ่งต้องงดน้ำ 7-10 วัน เพื่อให้หน้าดินแห้งทำไม่ได้ และทำให้รถเกี่ยวเข้าทำงานไม่ได้อีกด้วย

แนวแก้ไข คือ ไถกลบฟาง 2 รุ่นติดต่อกันไปก่อน เมื่อจะทำนารุ่น 3 ให้นำฟางออกเหลือแต่เหง้ากับรากในดินก็พอ ต่อมาเมื่อจะทำนารุ่น 4 ก็ให้วิเคราะห์ปริมาณเศษซากฟางในดินก่อนว่า สมควรนำฟางของนารุ่น 3 ออก แล้วเหลือแต่เหง้ากับราก หรือต้องไถกลบฟางรุ่นใหม่เติมลงไปอีก ทั้งนี้ความลึกของขี้เทือกจะเป็นตัวชี้บอก ประเด็นสำคัญก็คือ จะต้อง “ไม่เผา” อย่างเด็ดขาด.ตามเกณฑ์ของการเตรียมดินปลูกข้าว ควรมีอินทรีย์ วัตถุประเภทเศษซากพืช 2-3 ตัน/ไร่/รุ่น

- ฟางข้าวในนาข้าว คือ อินทรีย์วัตถุหรือปุ๋ยพืชสดที่มีราคาต่ำที่สุดและมีประโยชน์มากที่สุด ฟางข้าวเป็นทั้งแหล่งสารปรับปรุงบำรุงดิน บำรุงจุลินทรีย์ และเป็นแหล่งสารอาหารสำหรับต้นข้าวทั้งรุ่นปัจจุบัน รุ่นหน้า และรุ่นต่อๆไป นอกจากฟางแล้วควรจัดหาแหล่งเศษซากพืชอื่นๆเสริมเพื่อเพิ่มปริมาณอินทรีย์วัตถุให้มากขึ้น

เกษตรกรชาวนาและชาวไร่ของสหรัฐอเมริกา หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตในนาหรือในไร่แล้วไม่มีการเผาทิ้งหรือนำออก แต่ใช้วิธีการไถกลบด้วยรถไถกลบขนาดใหญ่ ซึ่งขณะไถกลบนั้นก็จะเติมอินทรีย์วัตถุสารปรับปรุงบำรุงดิน จุลินทรีย์ และสารอาหารอื่นๆไปพร้อมๆกัน เพื่อประหยัดเวลา แรงงาน และให้เกิดความหลากหลายตามธรรมชาติ



นาข้าว ไรซ์เบอร์รี่ ล้มตอซัง ประหยัดต้นทุน (คุณบังอรฯ)
- คุณบังอร เข้าของฉายา ไรซ์เบอร์รี่ 9 เมล็ด รับจากมืออาจารย์ ม.เกษตรกำแพง แสน นำมาขยายพันธุ์ต่อ รุ่นที่ 3 ได้ข้าวปลูกพันธุ์แท้ปลูกต่อได้ 30 ไร่ ถึงวันนี้ทำมาแล้ว 4-5 รอบ

- ทำนาแบบ อินทรีย์นำ เคมีเสริม สั่งซื้อปุ๋ยจากชาตรี ทุกรุ่น .... ยิ่งใช้ปุ๋ยจากคุณชาตรี ประจำหลายๆรุ่น จะยิ่งใช้น้อยลง จำนวนครั้งฉีดทางใบน้อยลง ให้ทางดินก็ใส่น้อยลงด้วย อันนี้น่ะจะเป็นเพราะ “ดินดีแบบสะสม” กับต้นสมบูรณ์ที่ได้จากดิน ให้ปุ๋ยทางใบน้อยครั้งลงต้นก็ยังงามได้ ออกรวงดี น้ำหนักดี สำคัญที่สุด คือ โรคแมลงไม่วอแววี้ดว้ายกระตู้วูเลย

- ไถกลบฟาง ย่ำเทือกประณีตกำจัดวัชพืชไปในตัว เลิกยาฆ่าหญ้าแต่ใช้วิธีถอนเพราะมีไม่มาก เลิกสาร เคมีฆ่าแมลงแต่ใช้สารสมุนไพรแบบเดี่ยวๆ หรือแบบผสมปุ๋ยทางใบ ฉีดบ่อยๆ ฉีดล่วงหน้าก่อนศัตรูพืชมา ถือหลัก กันก่อนแก้แย่แล้วแก้ไม่ทัน

- หลายๆรุ่นมานี้ เฉพาะต้นทุนค่าปุ๋ย ค่ายาฆ่าแมลง ลดสุดๆ ลดกว่าเดิมหลายเท่า ตัวเห็นได้ชัด .... ไม่จ้างแรงงาน ทำเองสองคนผัวเมียเท่านั้น ลงแปลงเดินย่ำลงไปในนาทุกวัน .... ขยันจนน่ากลัว ขยันแล้วรวยใครจะไม่เอา ผิดกับบางคนที่ "ขี้เกียจ" อ้างโน่นอ้างนี่ ไม่มีเวลา ยุ่งยากเสียเวลา ทำไม่เป็น ไม่มีความรู้ ไม่มีใครมาส่งเสริม แบบนี้ก็จง "จน+หนี้" ต่อไปเถอะ

- รู้ดีว่า สายพันธุ์ข้าวไรซ์เบอร์รี่ยังไม่นิ่ง เพราะฉะนั้น ทุกรุ่นทุกรอบที่ปลูก จะแยกข้าวปนโดยการเดินลุยลงไปแล้ว “ถอนทิ้งทั้งกอ” ถอนทุกอย่าง วัชพืช ข้าวสีขาวที่ติดมากับรถเกี่ยว ไรซ์เบอร์รี่เมล็ดสีขาวอมเทา อย่าเสียดาย อย่างก

- รุ่นนี้ทำนาไรซ์เบอร์รี่แบบ “ย่ำตอซัง” ได้ผลชัดเจนมากๆ ประหยัด “ค่าไถ ค่ำย่ำเทือก ค่าเมล็ดพันธุ์ ค่าดำ ค่าแรง ฯลฯ” ....

วิธีการ :
- เกี่ยวข้าวเสร็จ เกลี่ยฟางให้เสมอกัน แล้วใช้ล้อย่ำตอทันที
- บริเวณกลางแปลงล้อย่ำทำงานเรียบร้อยดี แต่ตอข้าวริมคันนาล้อย่ำทำงานไม่สะดวก ต้องใช้เครื่องตัดหญ้าช่วยตัดตอแทน ดูแล้วเรียบร้อยดีกว่าย่ำ

.............................................................................................................................
(..... คิด/วิเคราะห์/เปรียบเทียบ .... ใช้เครื่องตัดหญ้าแบบเส้นเอ็น ดีกว่าวิธีใช้ใบมีดเหล็กหรือวิธีใช้ล้อย่ำ ทั้งนี้ ต้นข้าวจะขาดตอเสมอกันทั่วทั้งแปลง ส่งผลให้การแทงหน่อใหม่ดี....)
...............................................................................................................................

- หลังย่ำตอ 5-7 วัน หน่อข้าวเริ่มแทงขึ้นมาจากพื้นดิน สำรวจได้ประมาณ 75-80% ทิ้งไว้อีก 3-5 วัน ส่วนที่เหลือเริ่มงอก รวมข้าวงอกมากกว่า 95 % ที่เหลือช่วยเขาโดยแซะข้าวกอข้างเคียงมาดำเสริม

- เมื่อมั่นใจ ทั้งหน่อข้าวแตกใหม่ หน่อใหม่ที่ปลูกซ่อม ยืนต้นได้แล้ว สิริรวมระยะเวลาทั้งสิ้นกว่า 10-12 วัน ใครเห็นก็คิดว่า ตอข้าวขาดน้ำนานปานนี้น่าจะตายหมด แล้ว แต่ในความเป็นจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ นอกจากในดินมีฟองน้ำคอยอุ้มน้ำไว้ให้แล้ว ระบบรากที่สมบูรณ์แข็งแรง จากการบำรุงต้นข้าวส่งผลให้ตอข้าวยืนรอแตกหน่อใหม่ได้อย่างไม่สะทกสะท้าน จึงสูบน้ำเข้านา จากนั้นทุกอย่างทุกขั้นตอน ปฏิบัติเหมือนการทำนาปกติ

- ฟางในดินอุ้มน้ำไว้ในเนื้อดินได้นานนับเดือน เป็นน้ำระดับ "ชื้น" งานนี้นอก จากได้น้ำแล้วยังมีจุลินทรีย์ประจำถิ่น +จุลินทรีย์ที่ใส่ลงไปอีกด้วย
- แปลงข้างๆ เห็นนาแปลงนี้มาตลอด ตั้งแต่ครั้งแรกที่ได้ข้าวปลูกมา 9 เมล็ด, การเปลี่ยนจากข้าวสีขาวมาเป็นข้าวสีดำ, การปฏิบัติบำรุง, ทุกอย่างทุกขั้นตอนประจักษ์แจ้งเห็นกับตา จับกับมือ แม้กระทั่งรายได้แต่ละรุ่นก็รู้อยู่แก่ใจ .... งานนี้นอกจาก ไม่ใส่ใจ-ไม่คิด-ไม่วิเคราะห์-ไม่เปรียบเทียบ กับนาตัวเอง กับนาแปลงอื่นๆ แล้ว ยังค่อนขอดนาๆว่า นาอินทรีย์ไปไม่รอด ข้าวสีดำโรงสีไม่รับซื้อ มาถึงรุ่นนี้ ไรซ์เบอร์รี่ล้มตอซัง ก็ยังค่อน ขอดอีกว่า ต้นข้าวไม่ใช่ต้นกล้วย ถึงจะเอาหน่อได้ กระทั่งหน่อข้าวขึ้นมาเต็มแปลง เห็นเต็มตาว่านั้นคือต้นข้าว ก็ยังไม่วายสงสัยอีกว่า มันมาได้ยังไง ?

กรอบแห่งความคิด :
คุณภาพเพิ่ม :

- ไม่อยู่ในเกณฑ์ถูกตัดราคา (ปลอม ปน ป่น ไข่ เรื้อ ลีบ)
- ปริมาณเท่ากัน แต่ขายได้ราคามากกว่า
- ผลิตตามความต้องการของตลาด หรือผู้รับซื้อ (การตลาด นำการผลิต)
- แปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่ม (ขายส่ง ขายปลีก)
- ปรับ/เปลี่ยน วิธีการปฏิบัติเมื่อสภาพอากาศผิดปกติ เพื่อให้ได้ผลผลิต
- อินทรีย์นำ เคมีเสริม หรือ เคมีนำ อินทรีย์เสริม ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม
- ฯลฯ

ต้นทุนลด :
- เขียนรายการต้นทุนที่เป็นเงิน (เช่า ไถ ย่ำ พันธุ์ หว่าน/ดำ ฉีด ปุ๋ย ยา ฯลฯ) ขึ้นมาก่อน ทุกรายการ

- เขียนรายการต้นทุนที่ไม่ได้ซื้อ (ที่ดิน เวลา แรงงานตัวเอง โอกาส ฯลฯ) ขึ้นมาก่อน ทุกรายการ
- ประมาณการตลาดล่วงหน้าราคาขายว่า ขายแล้วจะได้เท่าไหร่
- คิด/วิเคราะห์/เปรียบเทียบ ต้นทุนระหว่างทำเอง 100% กับ ทำเองครึ่งนึ่งซื้อครึ่งนึง
- ลงทุนแก้ปัญหาครั้งเดียว เพื่อป้องกันปัญหาระยะยาว
- ใช้ เทคโนโลยีวิชาการ ผสมผสาน เทคโนโลยีชาวบ้าน
- ฉลาดเลือก ฉลาดซื้อ ฉลาดใช้ ฉลาดวางแผน ฉลาดทำ เพื่อต้นทุนที่ต่ำกว่าแต่ประสิทธิภาพเหนือกว่า
- ใช้เครื่องทุ่นแรง เพื่อประสิทธิภาพประสิทธิผลของเนื้องาน
- ฯลฯ

อนาคตดี :
- ดิน น้ำ ดีขึ้นเรื่อยๆ
- ชื่อเสียง เคดิต
- รวมกลุ่มสร้างผลผลิตเพื่อผู้รับซื้อมั่นใจ
- เปิดตัวเปิดใจรับรู้ข้อมูลทางวิชาการ แล้วต่อยอดขยายผล สำหรับรุ่นหน้า รุ่นต่อๆไป
- ฯลฯ

**** ทฤษฎีนี้ นำไปใช้กับนาข้าวได้ทุกชนิด ทุกสายพันธุ์ ทุกประเทศ ****



นาข้าว กล้าต้นเดียว
...............................................................................................................
..............................................................................................................
ที่มา (คัดย่อ) :
การปลูกข้าวต้นเดียว (SRI) แบบอินทรีย์ เป็นวิธีการจากมาดากัสการ์ ศรีลังกา กัมพูชา สู่การทดลองครั้งสำคัญบนผืนนาไทย การปักเดี่ยว ซึ่งประหยัดเมล็ดพันธุ์ ช่วยให้ต้นข้าวแสดงศักยภาพเต็มที่ใน การแตกกอและออกรวง

อองรี เดอ โลลานี ชาวฝรั่งเศสที่พัฒนาวิธีการ SRI ขึ้นระหว่างที่เขาทำงานร่วมกับชาวนาในมาดากัสกา ระหว่างปี 2504-2538 บอกว่า การปักต้นกล้าทีละหลายต้นอย่างที่ชาวนาทั่วโลก ปฏิบัติกันอยู่ทุกวันนี้จะทำให้ต้นข้าวแย่งอาหาร และแสงแดดกัน ทำให้เติบโตได้ไม่เต็มที่และออกรวงน้อย ดังนั้นแม้ว่าวิธีการปลูกข้าวแบบเดิมนี้ จะช่วยเลี้ยงประชาชนนับพันล้านคนมานานนับศตวรรษ แต่เกษตรกรจำเป็นต้องไตร่ตรองถึงการปลูกข้าวด้วยวิธีใหม่ที่ต่างออกไป เพื่อให้ได้ผลผลิตจำนวนมากขึ้น โดยไม่ต้องลงทุนเพิ่มและไม่ทำลายดิน น้ำ อากาศเหมือนกับการใช้สารเคมีเร่งผลผลิต

* ปลูกข้าวแบบ SRI ในพื้นที่ 2 ไร่ ปักต้นกล้าประมาณ 500 ต้น ได้ผลผลิตเฉลี่ย 720 กิโลกรัมต่อไร่ โดยต้นกล้า 1 ต้นแตกกอได้ถึง 40 ต้น ข้าวหนึ่งรวงมีเมล็ดข้าวประมาณ 230 เมล็ด (ข้าวที่ใช้ปุ๋ยเคมีจะมี 170-180 เมล็ดต่อหนึ่งรวง

* ปลูกข้าวแบบ SRI ในพื้นที่ 1 งาน ปักต้นกล้าไปประมาณ 100 กว่าต้น ได้ผลผลิต 160 กิโลกรัม (4 กระสอบ) ต้นกล้า 1 ต้น แตกกอได้มากที่สุดถึง 44 ต้น (ข้าวอินทรีย์ทั่วไปจะแตกกอได้ 5-10 ต้นเท่านั้น

* การปลูกข้าวทีละต้นทำให้เราเห็นได้ชัดว่าต้นไหนไม่ใช่ข้าวมะลิ 105 หรือเป็นข้าวเมล็ดลีบที่ปะปนมา เพราะดูจากเมล็ดข้าวเราไม่มีทางรู้ ต่อเมื่อข้าวแตกกอขึ้นมาเราถึงจะรู้ว่าเมล็ดข้าวนั้นเป็นพันธุ์อะไร ถ้าเป็นพันธุ์อื่นเราก็ถอนทิ้งไป เก็บแต่ต้นที่เป็นพันธุ์แท้เอาไว้ วิธีนี้จะช่วยลดปัญหาการปนเปื้อนของเมล็ดพันธุ์ข้าวลงได้มาก


SRI 7 t/ha ปลูกแบบกล้าต้นเดียว, NON-SRI 4 t/ha ปลูกแบบปกติ
http://farmthai.blogspot.com/2012/01/sri.html
http://farmthai.blogspot.com/2012/01/1.html

..................................................................................................................
..................................................................................................................


จาก : (089) 871-49xx
ข้อความ : ผู้พันครับ หลายวันแล้วได้ยินผู้พันพูดถึง ปลูกข้าวกล้าด้วยต้นเดียว ผมคิดแล้ว ผมว่าใช้เมล็ดพันธุ์น้อยมาก ใช้เมล็ดพันธุ์น้อย เราก็คัดเลือกเมล็ดพันธุ์แท้ได้ อยากให้ผู้พันพูดถึงการบำรุงว่า เหมือนหรือต่างกับปลูกข้าวแบบปกติ หรือไม่ อย่างไร .... ขอบคุณครับ

ตอบ :
- คำตอบเบื้องต้น การปลูก-การบำรุง-การปฏิบัติ ทุกอย่างเหมือน นาหว่าน-นาดำ-นาหยอด-นาโยน ทุกประการ บำรุงข้าวตามใจข้าว

- เรื่อง “ปลูกข้าวด้วยกล้าต้นเดียว” นี้เริ่มมาจากการ คิด/วิเคราะห์/เปรียบเทียบ โดยมี เทคโนโลยีชาวบ้าน + เทคโนโลยีวิชาการ เป็นพื้นฐานแล้วเกิดเป็น “แรงบันดาลใจ” ให้ ต่อยอด-ขยายผล-ปรับ-เสริม-เติม-เพิ่ม-บวก บนพื้นฐาน “คิดใหม่ คิดบวก คิดยกกำลังสอง” ให้เหมาะสมสอดคล้องทุกแง่มุมของสถานการณ์ ตามภาษาทหารที่เรียกว่า FLEXIBILITY คือ ปรับตัวให้เข้ากับสถาน การณ์ หรือที่ภาษิตสิบล้อบอกว่า กลิ้งไว้ก่อนพ่อสอนไว้ กับ สมช.เน็ต เกษตรลุงคิมบอกว่า ไม่บ้าไม่กล้าทำ ประมาณนี้ .... การเกษตรปลูกเพื่อขายต้องยึดหลัก ผลผลิตเพิ่ม (คุณภาพและปริมาณ) ต้นทุนลด อนาคตดี

**** ข้อมูลโดย มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย) ****

ปลูกข้าวด้วยต้นกล้าต้นเดียว (System of Rice Intensification)
วัตถุประสงค์ :
- เพื่อการเพิ่มผลผลิตต่อพื้นที่
- เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พันธุ์ข้าวพื้นบ้าน
- เพื่อคัดเลือก และผลิตเมล็ดพันธุ์

การเตรียมเมล็ดพันธุ์ :
เลือกพันธุ์ข้าวที่เหมาะสมกับพื้นที่ คัดเลือกเมล็ดข้าวที่สมบูรณ์ คือ อวบ ใส และมีตาข้าว แช่เมล็ดพันธุ์ในน้ำประมาณ 12-24 ชม. ในน้ำอุ่น 30-40 องศา ซ. หากต้องการป้องกันโรคหรือแมลงไว้ล่วงหน้า เช่น โรคบั่ว ควรนำเมล็ดพันธุ์แช่น้ำเกลือ หรือ น้ำสะเดา ไว้ 1 คืน จากนำเมล็ดพันธุ์ผึ่งลมให้แห้ง

หมายเหตุ : เนื้อที่ปลูก 1 ไร่ ใช้เมล็ดพันธุ์ 1 กก.

เตรียมแปลงเพาะกล้า :
เลือกแปลงเพาะกล้าใกล้แปลงที่จะปลูกข้าว ทำแปลงเพาะกล้าให้เหมือนแปลงผัก โดยผสมปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักเพื่อให้ดินร่วนซุย เอาฟางคลุมพื้นที่แปลงไว้ จากนั้นรดน้ำให้มีความชุ่มชื้น เช้า-เย็น (ไม่ควรรดน้ำในขณะที่แดดร้อนจัด) ความชื้นในแปลงควรเหมาะสม ไม่ควรให้น้ำท่วม แปลงโดยการทำทางระบายน้ำเล็กๆ เพื่อให้น้ำไหลออก หรืออีกวิธีหนึ่งที่สะดวกต่อการขนย้ายต้นกล้า คือ การเพาะเมล็ดในกระบะ ซึ่งจะช่วยลด เวลาในการขนย้ายแล้ว ยังช่วยทะนุถนอมต้นกล้าขณะเวลาปักดำ

เตรียมแปลงปักดำ :
หลังจากการเก็บเกี่ยวผลผลิต ควรไถกลบตอซังแล้ว บำรุงดินด้วยปุ๋ยอินทรีย์ชนิดต่างๆ เช่น พืชตระกูลถั่ว ปลูกพืชหลังนา เช่น โสนอัฟริกัน หรือจะทำปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก หว่านในนาก็ได้ ก่อนปักดำควรปรับที่นาให้ได้ระดับเดียวกัน และทำร่องน้ำตามขอบคันนาเพื่อช่วยระบายน้ำเข้า-ออก สูบน้ำเข้าแปลงนาให้ดินเป็นโคลนเหนียวข้น ไม่ควรปล่อยให้ดินเละหรือมีน้ำท่วมขัง

การขนย้ายต้นกล้าออกจากแปลงเพาะ :
ถอนกล้าเมื่อมีอายุ 8-12 วัน (มีใบ 2-3 ใบ) อย่างระมัดระวัง ให้ต้นกล้ากระทบ กระเทือนน้อยที่สุด ถอนต้นกล้าเบาๆ ตรงโคนต้น ใช้เครื่อง มือเล็กๆ เช่น เกรียง หรือเสียม ขุดให้ลึกถึงใต้ราก อย่าให้ต้นกล้าหลุดออกจากเมล็ดพันธุ์และให้มีดินเกาะรากไว้บ้าง ระหว่างการย้ายกล้าต้องทำอย่างเบามือ ไม่ควรทิ้งกล้าไว้กลางแดด และรีบนำกล้าไปปักดำทันที (ภายใน 15-30 นาที)

การปักดำ :
นำต้นกล้ามาปักดำอย่างเบามือ ใช้นิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้จับโคนราก แล้ว นำไปปักให้รากอยู่ในแนวนอน ลึกประมาณ 1 ซม. ปักดำกล้าทีละต้น ให้มีความห่างของระยะต้นไม่น้อยกว่า 25 ซม. เท่าๆ กัน จนเหมือนสี่เหลี่ยมจัตุรัส (ควรปักดำในระยะห่าง 30 x 30 ซม.) สำหรับแปลงนาขนาดเล็ก หรือ 40 x 40 ซม. สำหรับแปลงนาขนาดใหญ่)

การบำรุงดูแลรักษา :
การจัดการน้ำ :

- แปลงเพาะปลูกควรปรับให้เรียบสม่ำเสมอ และทำร่องน้ำเพื่อช่วยในการระบายน้ำ เข้า-ออก แปลงปักดำไม่ควรมีน้ำท่วมขัง เพียงแต่ทำให้ดินเป็นโคลนเท่านั้น ขณะที่ข้าวแตกหน่อ (1-2 เดือนหลังปักดำ) ปล่อยน้ำเข้านาให้สูง 2 ซม. ทุกๆ เช้า แล้วปล่อยน้ำออกในช่วงบ่าย หรือปล่อยทิ้งให้นาแห้งประมาณ 2-6 วัน

- เมื่อข้าวแตกกอ ปล่อยให้แปลงข้าวแห้งลงไปในเนื้อดิน ไม่ต้องกังวล หากหน้าดินจะเป็นรอยแตกบนผิวโคลน ขณะที่ข้าวตั้งท้องจนเริ่มออกรวง ปล่อยให้น้ำท่วมสูงประมาณ 1-2 เม. เท่านั้น ทันทีที่ต้นข้าวเริ่มลู่ลง เพราะน้ำหนักของเมล็ดข้าว ให้ปล่อยน้ำออกจากนาจนกว่าจะแห้งและถึงเวลาเก็บเกี่ยว

การกำจัดวัชพืช
ควรมีการกำจัดวัชพืชอย่างน้อย 3 ครั้ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะ สม .... ครั้งที่ 1 เมื่ออายุข้าว 10 วัน .... ครั้งที่ 2 เมื่ออายุข้าว 25-30 วัน .... ครั้งที่ 3 เมื่ออายุข้าว 50-60 วัน ทั้งนี้การกำจัดวัชพืช สามารถใช้เครื่องทุ่นแรง

นอกจากนี้การจัดน้ำเข้าออกอย่างสม่ำเสมอ หรือใช้ฟางคลุมแปลงจะช่วยกำจัดวัชพืชได้ดี สำหรับการกำจัดศัตรูของข้าว เช่น ปู หอยเชอร์รี่ ทำได้โดยการเลี้ยงกบ เลี้ยงเป็ดในนาข้าว แต่เมื่อข้าวออกรวงห้ามเป็ดเข้านาโดยเด็ดข้าว หรือทำน้ำหมักชีวภาพฉีดพ่น 1-2 ครั้งก็เพียงพอ สำ หรับวิธีการป้องกันนก ทำได้โดยการขึงเชือกเทปล้อมรอบแปลงนา เมื่อลมพัดจะทำให้เกิดเสียงดัง แล้วนกจะไม่มารบกวน

เหตุใด ปลูกข้าวต้นเดียว จึงได้ผลผลิตดีกว่า ?
- การใช้กล้าอายุสั้นและปักดำต้นเดียว ต้นกล้าที่มีอายุ 8-12 วัน หรือมีใบเล็กๆ 2 ใบ และยังมีเมล็ดข้าวอยู่ จะช่วยให้ประสิทธิภาพในการเจริญเติบโตดีและการผลิตหน่อดีมาก .... การใช้กล้าต้นเดียวปักดำ จะช่วยในการแพร่ขยายของราก สามารถดูดซับธาตุอาหารได้ดีกว่าปลูกกล้าหลายต้น .... การปักดำให้ปลายรากอยู่ในแนวนอน ปลายรากจะชอน ไชลงดินได้ง่ายและทำให้ต้นข้าวตั้งตัวได้เร็ว .... การปักดำในระยะห่างช่วยให้รากแผ่กว้าง ได้รับแสงแดดมากขึ้น ง่ายต่อการกำจัดวัชพืช และประหยัดเมล็ดพันธุ์ ทำให้ข้าวแตกกอใหญ่ ....การจัดการน้ำ การปล่อยให้ข้าวเจริญเติบโตในดินที่แห้งสลับเปียกทำให้ข้าวสามารถดึงออกซิเจนจากอากาศได้โดยตรง และรากของต้นข้าวสามารถงอกยาวออกเพื่อหาอาหาร

- การปล่อยให้มีน้ำท่วมขังในแปลง ทำให้ซากพืชเน่าเปื่อย และก่อให้เกิดก๊าซมีเทนปลด ปล่อยขึ้นไปในชั้นบรรยากาศทำให้โลกร้อนขึ้น .... การปล่อยให้ต้นข้าวเจริญเติบโตในน้ำท่วมขัง ทำให้รากต้นข้าวต้องสร้างถุงลมเล็กๆ เพื่อดูดออกซิเจนจากผิวดินทำให้การส่งอาหารไปสู่หน่อและใบถูกรบกวน รากข้าวจะหายใจลำบาก ประโยชน์ที่ได้รับ คือ

** ประหยัดเมล็ดพันธุ์ในการเพาะปลูก
** ประ หยัดน้ำได้ครึ่งหนึ่งจากการทำนาแบบปกติ
** ประหยัดแรงงานในการลงกล้า
** ประหยัดต้นทุนในการกำจัดวัชพืช เพราะมีช่องว่างระหว่างกอข้าว
** ประหยัดต้นทุนการควบคุมน้ำ เข้า-ออก

- หากต้องการผลผลิตสูงควรเลือกพันธุ์ข้าวที่เหมาะสมกับพื้นที่ และสภาพอากาศ จากประสบการณ์ของเกษตรกร พบว่า หากเป็นนาอินทรีย์ ผล ผลิตจะเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 60% และในประเทศลาว พบว่าเพิ่มขึ้นถึง 100% และสามารถใช้ได้กับทุกสายพันธุ์ข้าวตามใจข้าว ไม่ใช่ตามใจคน

***** นาข้าวกล้าต้นเดียว สไตล์ไร่กล้อมแกล้ม : ******

ทำเทือก-เตรียมสารอาหาร-กำจัดวัชพืช-บ่มดิน :
- ใส่ยิบซั่ม ปุ๋ยอินทรีย์ กระดูกป่น, หว่านทั่วแปลง
- ใส่น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 (2 ล) +16-8-8 (5 หรือ 10 กก.) +น้ำ ตามความจำเป็นสำหรับเนื้อที่ 1 ไร่....ข้าวพันธุ์พื้นเมืองให้ 16-8-8 (5 กก.) ข้าวพันธุ์ลูกผสมให้ 16-8-8 (10 กก.) ละลายให้เข้ากินดี สาดทั่วแปลง
..................................................................................................................
...................................................................................................................
**** ดินต้องมาก่อน จากน้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิงเดิมให้เป็นซุปเปอร์ ด้วยการ “เสริม/เติม/เพิ่ม/บวก” จุลินทรีย์หน่อกล้วย จุลินทรีย์จาวปลวก จุลินทรีย์ฟางเน่า น้ำละลายปุ๋ยคอก (วัว/ไก่/ค้างคาว) นม ฯลฯ มากน้อยตามความถนัด เป้าหมาย คือ เพิ่มจุลินทรีย์ เพื่ออาศัยจุลินทรีย์ ปรับสภาพดิน สร้างสารอาหาร กำจัดศัตรูพืชในดิน ให้พร้อมไว้ก่อนปลูกข้าว นั่นเอง .... ****
....................................................................................................................
.....................................................................................................................

- เติมน้ำลึกเหนือตาตุ่ม ปล่อยทิ้งไว้ 7 วัน เพื่อล่อให้วัชพืชงอก
- ย่ำเทือกด้วยอีขลุบ หรือลูกทุบ ย่ำประณีต 3 รอบใน 1 กระทง ย่ำแล้วทิ้งไว้ 7-10 วัน .... สำรวจจำนวนวัชพืชที่ยังหลงเหลือ แล้วย่ำซ้ำรอบที่ 2 ย่ำประณีตเหมือนรอบที่ 1 ย่ำแล้วทิ้งไว้ 7-10 วัน .... สำรวจจำนวนวัชพืชที่ยังหลงเหลือแล้วย่ำซ้ำรอบที่ 3 ย่ำประณีต รอบที่ 1 ย่ำแล้วทำร่องระบายน้ำ เตรียม “ดำกล้า”

หมายเหตุ :
- ก่อนเริ่มย่ำรอบแรก ตรวจสอบว่าบรรดาวัชพืชทุกชนิด ทุกต้น งอกขึ้นมาแน่ นอนแล้ว ถ้ายังงอกไม่หมดให้ทิ้งระยะต่ออีก 3-5 วัน

- ก่อนย่ำแต่ละรอบสำรวจจำนวนต้นวัชพืชว่ามีกี่เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ หลังจากย่ำรอบต่อๆ มาแล้วแต่ละรอบๆ จะพบว่าจำนวนต้นวัช พืชลดลงตามลำดับ กระทั่งย่ำรอบ 3 ซึ่งเป็นรอบสุดท้าย ถ้ามั่นใจว่าไม่มีต้นวัชพืชขึ้นอีกก็ให้ลงมือดำกล้าได้เลย แต่หากพบว่ายังมีวัชพืชบาง ส่วนหลงเหลืองอกขึ้นมาได้อีก ก็ให้พิจารณาย่ำซ้ำรอบ 4

- การย่ำเทือกแบบประณีต ขอให้ประณีตจริงๆ แม้ไม่ต้องไถก็จะได้ขี้เทือกลึกดี กว่าการไถก่อนแล้วย่ำเทือก กับกำจัดวัชพืชได้ผลแน่นอนกว่ายาฆ่ายาคุมหญ้า

- ระยะเวลาย่ำเทือก 3-4 รอบ ๆละ 7-10 วัน รวมใช้ระยะเวลาทั้ง สิ้น 1 เดือน เท่า กับเป็นการ “บ่มดิน” ซึ่งจะส่งให้สภาพดินดี พร้อมสำหรับต้นกล้าที่ดำลงไป

- การกำจัดวัชพืชแบบ “ย่ำประณีต” แล้วต่อด้วยการทำนาดำ สภาพที่ต้นข้างขึ้นห่างกัน ช่วยให้การเดินลงไปถอนด้วยมือ ทั้งต้นวัชพืชและต้นข้าวปน สามารถทำได้ง่าย ต้นวัชพืชที่ถูกถอนแล้วจะไม่มีอีก เท่ากับเป็นการกำจัดวัชพืชอย่างถาวรนั่นเอง

สรุปงานนี้ได้ :
1. ประหยัดค่าไถ
2. ประหยัดค่ายาฆ่ายาคุมหญ้า
3. ประหยัดค่าปุ๋ย
4. ได้ขี้เทือกลึกดี
5. ได้ดินดี
6. ดินดีต่อถึงอนาคตรุ่นหน้า รุ่นต่อๆไป



.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 27/01/2024 11:54 am, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 26/01/2024 12:39 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.

เตรียมเมล็ดพันธุ์ :
- ตรวจสอบเมล็ดพันธุ์ ที่มาของเมล็ดพันธุ์, แหล่งปลูก, วิธีการปลูก, เมล็ดปลอม ปน, วิธีการเก็บรักษา, ความชื้น, ระยะพักตัว,

- เมล็ดพันธุ์ที่ยังไม่ได้สี คัดด้วยมือ ทีละเมล็ดๆ ๆๆ ดูด้วยสายตาว่าตรงตามสายพันธุ์อย่างแท้จริง .... เพื่อความมั่นใจสูงสุด ให้แกะแกลบ ดูเนื้อใน เห็นจมูกข้าว .... เมล็ดพันธุ์ที่สีเป็นข้าวกล้องแล้ว ให้ดูจมูกข้าว ทั้งนี้ต้นกล้างอกจากจมูกข้าว

- ลักษณะเนื้อในเมล็ด ใส แกร่ง รูปทรงตรงตามสายพันธุ์
- แช่เมล็ดพันธุ์ในสังกะสี (ไบโออิ) + ไคโตซาน (ยูเรก้า) + โบรอน (แคลเซียบม โบรอน) ในน้ำอุ่น 50 องศา นาน 24 ชม. .... ครบกำหนดแล้วนำขึ้นห่มชื้น (ผ้าชุดน้ำที่ใช้แช่) นาน 24-48 ชม. แล้วสำรวจ ถ้าเมล็ดเริ่มมีตุ่มรากงอกขึ้นมาให้นำไปเพาะได้

เพาะกล้า :
- เตรียมวัสดุเพาะ ขี้เถ้าแกลบเก่าข้ามปีบดละเอียด + ขุยมะพร้าวแห้งเก่า แช่น้ำมะพร้าวแก่นาน 48 ชม. อัตรา 1 : 1 ใส่ลงในช่องเพาะเมล็ดในกระบะเพาะเต็มช่อง กดให้แน่น

- ข้าวพันธ์แตกกอดี เพาะเมล็ดหลุมละ 1 เมล็ด .... ข้าวพันธุ์แตกกอน้อย เพราะเมล็ดหลุมละ 2 เมล็ด แต่คิดเป็น 1 ต้น

- วางเมล็ดที่เริ่มมีตุ่มรากแล้วบนวัสดุเพาะ กดพอมิดเมล็ด ให้น้ำพอหน้าดินชื้น
- วางกระเพาะไว้ในร่ม อากาศผ่านสะดวก
- ต้นกล้าเริ่มงอก หลังงอกได้ 5-7 วัน นำออกแดดเพื่อให้คุ้นเคย กระทั่งต้นกล้าได้ 8-10 วัน (ไม่ควรเกิน 15 วัน) ให้นำไปปักดำได้

- ก่อนนำไปปักดำ 3-5 วัน ให้ แคลเซียม โบรอน เจือจาง (น้ำ 20 ล. + แคลเซียม โบรอน 8-10 ซีซี.) 1 รอบ
- พื้นที่ปลูก 1 ไร่ ใช้เมล็ดพันธุ์ 1 กก.

ดำกล้า :
- งดน้ำต้นกล้าในกระบะเพาะก่อนถอนต้นกล้าจากกระบะเพาะ 3-4 วัน เพื่อให้รากเกาะติดวัสดุเพาะดี

- ยกกระบะเพาะไปที่แปลง เพื่อถอนต้นกล้าจากกระบะแล้วลงแปลงทันที ไม่ควรถอนต้นกล้าจากกระบะก่อนแล้วถือไปที่แปลง เพราะอาจทำให้รากช้ำได้

- ขึงเชือกแนวปักต้นกล้า จัดระยะห่าง 30 x 30 ซม.
- ถอนต้นกล้าจากกระบะเบาๆ ประณีตๆ อย่าให้ต้นกล้าหลุดจากเมล็ด และอย่าให้รากหลุดจากวัสดุเพาะ

- ถอนต้นกล้าขึ้นจากกระบะแล้วนำลงปักดำทันที ไม่ควรปล่อยให้กล้าตากแดดนาน
- ปักต้นกล้าทีละต้นลึก 1 ซม.

บำรุง :
ระยะกล้า (เร่งแตกกอ) :

- ให้ “น้ำ 200 ล. + ไบโออิ 200 ซีซี. + 18-38-12 (1 กก.) สำหรับเนื้อที่ 4 ไร่ .... ให้ครั้งที่ 1 ต้นกล้าอายุ 20 วัน .... ให้ครั้งที่ 2 ต้นกล้าอายุ 30 วัน....ให้ครั้งที่ 3 ต้นกล้าอายุ 40 วัน .... ให้ครั้งที่ 4 ต้นกล้าอายุ 50 วัน

- ให้ปุ๋ยทางใบ + สารสมุนไพรสูตรรวมมิตรร่วมด้วยทุกครั้ง เพื่อไม่ให้เสียเวลา และเป็นการกันก่อนแก้

- ให้น้ำเลี้ยงกล้าแบบแห้งสลับเปียก ต้นกล้าจะแตกกอดี

ระยะต้นกลม :
- ให้น้ำหมักระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 (2 ล.) +16-8-8 (10 กก.) / 1 ไร่ ปรับหัวฉีดเม็ดใหญ่ ฉีดแหวกต้นลงพื้น

- ให้ “น้ำ 200 ล. + แคลเซียม โบรอน 200 ซีซี. + สมุนไพร 2 ล.” / 4 ไร่ ให้ 1 รอบ
- ถอนแยก ข้าวปน/วัชพืช ครั้งที่ 1

ระยะออกรวง :
- ให้ “น้ำ 200 ล. + ไทเป 200 ซีซี. + 0-52-34 (1 กก.) + สมุนไพร 2 ล.” /4 ไร่ ให้ 2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน

- ออกรวงระยะหางแย้หรือหางปลาทู ให้ “น้ำ 200 ล. + เอ็นเอเอ. 200 ซีซี. + สารสมุนไพร 2 ล.” / 4 ไร่ ให้ 2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน

ระยะน้ำนม :
- ให้ “น้ำ 200 ล. + ไบโออิ 100 ซีซี. + ยูเรก้า 100 ซีซี. + สารสมุนไพร 2 ล.” / 4 ไร่ ให้ 4-5 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน

- ถอนแยก ข้าวปน/วัชพืช รอบที่ 2

ระยะก่อนเกี่ยว :
- ให้ “น้ำ 200 ล. + นมสด 200 ซีซี. + สารสมุนไพร 2 ล” / 4 ไร่ ให้ 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน ให้รอบสุดท้ายก่อนเกี่ยว 5-7 วัน


จาก : (080) 512-83xx
ข้อความ : คุณตาขา หนูชื่อปอ ลูกสาวคนเดียวของพ่อสนธิ แม่นงคราญ พ่อกับแม่มีลูกชาย 4 คน อยู่กบินทร์บุรี ที่บ้านทำนา 20 ไร่ ตอนนี้น้ำลงให้เริ่มทำนาได้แล้ว เคยใส่ยูเรียไร่ละ 2 ลูก กับ 16-20-0 อีก 1 ลูก ซื้อเงินสดลูกละ 700 บางรุ่นได้กำไรไม่มาก รุ่นที่แล้วขาดทุน 300 เปอร์เซ็นต์ จะเปลี่ยนมาทำตามแนวคุณตา อยากให้คุณตาคำนวณต้นทุนใช้ปุ๋ยคุณตาตลอดรุ่นให้ด้วยค่ะ คุณตาตอบทางวิทยุตอนเช้า 6 พ.ย. กับตอบในเน็ตด้วยนะคะ ...ปอค่ะ
ตอบ :
- แปลงนี้โชคดีที่ ธรรมชาติให้โอกาสแก้ตัว แม่โพสพให้โอกาสทำใหม่ ผีบ้านผีเรือนดลใจให้ คิด-วิเคราะห์-เปรียบเทียบ ที่เคยทำๆมามันไม่ได้อะไร ทำอีกก็ไม่ได้อะไรอีก เพราะทำแบบเดิมๆ มันจึงเหมือนเดิม สู้มาเสี่ยง เสี่ยงอย่างมีเหตุมีผล เสี่ยงอย่างมีหลักวิชาการ ทำแบบใหม่ อินทรีย์นำ เคมีเสริม ตามความเหมาะสมของนาข้าว .... แบบเดิมมีแต่เจ๊ากับเจ๊ง แบบใหม่มีแต่เจ๊ากับได้ .... บอกได้เลยงานนี้ ยากหรือง่าย อยู่ที่ “ใจ” เท่านั้น
- นา 20 ไร่ คิดต้นทุนเฉพาะค่าปุ๋ย ยูเรีย + 16-20-0 รวม 60 กส. ๆละ 700 เป็นเงิน 42,000

..................................................................................................................................................................................
** สารอาหารที่ “ได้” จากปุ๋ยเคมีเพียง 2 ตัว คือ ไนโตรเจน. กับฟอสฟอรัส. .... สิ่งที่ “เสีย” คือ .... 1) ข้าวลีบ .... 2) เมล็ดไม่ใส .... 3) เมล็ดไม่แกร่ง .... 4) เป็นท้องไข่ .... 5) ไม่มีน้ำหนัก .... 6) โรคมาก .... 7) ต้นสูง ล้ม .... 8 ) ใช้ทำพันธุ์ไม่ได้ .... 9) ดินเสีย .... 10) จุลินทรีย์ ตาย .... 11) สิ้นเปลือง
......................................................................................................

อัตราใช้ปุ๋ยลุงคิม :
- ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 4 ล. / ไร่ = 80 ล. / 20 ไร่
- ไบโออิ, ไทเป, ยูเรก้า, ขนาดจุ 1 ล. .... ทุกอย่างอัตราใช้ น้ำ 200 ล. + 200 ซีซี. ใช้กับนาข้าวได้ 4 ไร่ .... นั่นคือ นาข้าว 20 ไร่ อัตราใช้ 1 ล.

ต้นทุนค่าปุ๋ยลุงคิม :
- น้ำหมักฯ ให้ทำเทือก 1 ครั้ง, ระยะต้นกลม 1 ครั้ง รวม 80 ล. = 8,000
- ให้ไบโออิ ระยะกล้า 3 ครั้ง ๆละ 1 ล. = 3 ล. = 600
- ให้ไทเป ระยะออกรวง 2 ครั้ง ๆละ 1 ล. = 2 ล. = 400
- ให้ ไบโออิ 2 ล. + ยูเรก้า 2 ล. ระยะน้ำนม 4 ครั้ง = 4 ล. = 1,000
- รวมต้นทุน น้ำหมักฯ 8,000 + ไบโออิ 1,000 + ไทเป 400 + ยูเรก้า 600 = 10,000

- สารอาหารที่ได้จากปุ๋ยลุงคิม .... สารอาหารอินทรีย์ : ธาตุหลัก / ธาตุรอง / ธาตุเสริม / ฮอร์โมน /จุลินทรีย์ / สารอาหารสำหรับจุลินทรีย์ประจำถิ่น .... สารอาหารเคมี : ธาตุหลัก/ธาตุรอง/ธาตุเสริม รวม 14 ตัว

ต้นทุนค่าปุ๋ยเสริม:
- 16-8-8 ทำเทือก (10 กก.) + ต้นกลม (10 กก.) ต่อไร่ หรือ 400 กก. = 4,000
- 18-38-12 เร่งแตกกอ 15 กก. ๆละ 150 = 2,250
- 0-52-34 หยุดความสูง ออกรวง 10 กก. ๆละ 150 = 1,500
- รวม 7,750

แนวทางเปรียบเทียบต้นทุนค่าปุ๋ย :
- ยูเรีย (2 กส.) + 16-20-0 (1 กส.) ............................ 42,000
- น้ำหมักระเบิดเถิดเทิง, ไบโออิ, ไทเป, ยูเรก้า, ปุ๋ยเสริม ......... 17,750

ต้นทุนที่ลดได้ :
ไม่ไถแต่ย่ำประณีต : ย่ำ 3 รอบ / กระทง .... ย่ำ 4 เที่ยว ห่างกันเที่ยวละ7-10 วัน.... สิ่งที่ได้ เปรียบเทียบระหว่าง “ปกติไถ 2 รอบ ย่ำด้วยอีขลุบ 2 รอบ รวมเป็น 4 รอบ ได้ขี้เทือกไม่ลึกนัก ไม่ได้กำจัดวัชพืช” กับ “ไม่ไถแต่ย่ำด้วยอีขลุบ 4 รอบ จำนวนรอบเท่ากันแต่ ได้เทือกลึกกว่า กำจัดวัชพืชได้มากกว่า” .... รถไถติดผานไถดินใช้น้ำมันมากกว่ารถไถเดินตามลากอีขลุบ

ดำนาด้วยด้วยเครื่อง : ต้นทุนรวม “ค่าเมล็ดพันธุ์ + ค่าตกกล้า + ค่าดำ” สิ่งที่ได้ ต้นข้าวขึ้นห่าง ต้นโต แตกกอดี โรคแมลงน้อย แยกข้าวปนได้ คุณภาพดี ขายหรือใช้เป็นข้าวปลูกต่อได้ ไม่มีแรงงาน ..... นาหว่าน เมล็ดพันธุ์มาก ต้นข้าวขึ้นถี่ ต้นเล็ก โรคแมลงมาก แยกข้าวปนไม่ได้ คุณภาพไม่ดี ขายหรือใช้เป็นข้าวปลูกไม่ได้ จ้างแรงงาน

ใช้สารสมุนไพร : ทำเอง ทำไว้ล่วงหน้าสำหรับ 1 รุ่น ฉีดพ่นพร้อมปุ๋ยทางใบไม่ต้องจ้างแรงงาน หรือจ้างแต่ไม่เสียเวลา

ขายข้าวปลูก : ปลูกข้าวพันธุ์ในพื้นที่นิยม ไม่มีข้าวปน ไม่มีข้าวนกข้าวดีด เมล็ดข้าวสมบูรณ์ดี ไม่มีเมล็ดลีบ ท้องไข่

ข้าวข้าวพันธุ์นิยม : ไรซ์เบอร์รี่, หอมนิล, ลืมผัว, สังข์หยด, หอมมะลิ. ขายเป็นข้าวเปลือก หรือข้าวกล้อง แบบขายส่งหรือขายปลีก

อนาคต : ทำติดต่อกัน 3 รุ่น จะพบประวัติดินดีขึ้นๆ ๆๆ ๆๆ การใช้ปุ๋ยทางดิน 16-8-8 จะลดลง ใช้แต่น้ำหมักระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 ตอนทำเทือกก็พอ, การกำจัดวัชพืชลดลง, คุณภาพข้าวดีขึ้นๆ

รวมกลุ่มทำเอง : “น้ำหมักฯ. ไบโออิ. ไทเป. ยูเรก้า.” .... รวมพื้นที่แล้วสั่งซื้อ ประหยัดค่าขนส่ง .... ข้าวทุกแปลงคุณภาพเกรดเดียวกัน คนรับซื้อพอใจ รวมกลุ่มเทคโนโลยี-รวมกลุ่มทำ-รวมกลุ่มขาย รวยทุกบ้าน รวยทั้งหมู่บ้าน

นาข้าวแบบอินทรีย์เกาะขอบ :
จาก : (084) 644-90xx
ข้อความ : (คัดย่อ) ตอนนี้ทำนาข้าวไรซ์เบอร์รี่แบบเกาะขอบ ใช้ปุ๋ยเคมีเท่าที่มีในระเบิดเถิดเทิงเท่านั้น ไม่ใส่ปุ๋ยเคมีเพิ่มทุกชนิด ทุกสูตร ก็ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ คนรับข้าวกล้องไปขายได้ กก.ละ 180 คนซื้อไม่ต่อเลย โดยเฉพาะลูกค้าในประเทศ ต่างประเทศ ทุกรายพอใจมาก วันนี้ไม่พอส่ง รุ่นหน้าจะทำแบบอินทรีย์เพียวๆ ในระเบิดเถิดเทิงไม่ต้องใส่ปุ๋ยเคมีเพิ่ม มั่นใจว่าทำได้ ตอนนี้รวมกลุ่มทำ ถึงจะอยู่คนละพื้นที่แต่ติดต่อประสานงาน ปรึกษากันตลอดเวลา ทุกคนมีใจต่อกันจริงๆ.... จาก สมศักดื์ ฉะเชิงเทรา
ตอบ :
สมศักดิ์ : ผู้พันครับ ผมสมศักดิ์ ฉะเชิงเทราครับ
ลุงคิม : ครับ คุณสมศักดิ์ ข้าวเป็นไงบ้างล่ะ ว่าแต่นาข้าวนะ ถ้าจำไม่ผิด

สมศักดิ์ : ไม่ผิดครับนาข้าว ทำแนวผู้พันมารุ่นนี้เป็นรุ่นที่ 3 รุนนี้คาแปลงอยู่กำลังแตกกอ ใครๆ มาเห็นร้องอื้อฮือตามๆ กัน ก็เพราะระเบิดเถิดเทิงผู้พันนี่แหละครับ ใช้ตัวนี้ตัวเดียวมาตลอด ได้ผลแล้วก็ประหยัดสุดๆ เลยครับ
ลุงคิม : อืมมม คุณไปเอามาจากไหนน่ะ ?

สมศักดิ์ : สั่งที่ชาตรีฯ คาราวานวัดทุ่งสะเดา แปลงยาว นั่นแหละครับ ดีตรงที่ได้คำปรึกษาวิธีการใช้ กับได้คุยกับชาวนาชาวสวนอีกหลายคน อย่างที่ผู้พันบอกว่า วันนี้ทำเกษตรแล้วไม่เปิดตัวไปรับรู้เรื่องราวของคนอื่นบ้าง จะไปไม่รอดจริงๆ ผมน่ะได้อะไรต่อมิอะไรก็เพราะตรงนี้ คนแถวนี้ยังงง ผมเพิ่งทำนาครั้งแรก แค่รุ่นแรกก็ฟันแล้วครับ กำไรเนื้อๆ อันนี้ต้องขอบคุณผู้พัน ขอบคุณคาราวานจริงๆครับ
ลุงคิม : เลิกทำนาเหอะ ทำสวนยอดีกว่ามั้ง

สมศักดิ์ : ไม่ใช่ยอครับ เรื่องจริงครับ .... รุ่นหน้าผมจะเอาใหม่ ผมจะสั่งระเบิดเถิดผู้พัน แล้วให้คุณชาตรีฯ เอามาที่วัดทุ่งสะเดาด้วย เอาระเบิดเถิดเทิงอินทรีย์แท้ๆ ไม่มีปุ๋ยเคมีเลยเลยนะครับ
ลุงคิม : อินทรีย์แท้ๆ หมายความว่าไง ?

สมศักดิ์ : คือ ไม่มีปุ๋ยเคมีเลยน่ะครับ
ลุงคิม : อืมมม ในน้ำหมักระเบิดเถิดเทิงมีส่วนที่เป็นอินทรีย์ แล้วเติมปุ๋ยเคมีลงไป เป็นอินทรีย์เคมีผสมกัน ปุ๋ยเคมีนี่ใช่ไหมที่บอกไม่ต้องใส่

สมศักดิ์ : ใช่ครับ ผมจะทำไรซ์เบอร์รี่เกาะขอบ
ลุงคิม : (คิด...เกาะขอบ-เกาะขอบ ไม่ใช่ตกขอบ) มันเป็นยังไง อินทรีย์เกาะขอบ

สมศักดิ์ : ก็หมายความว่า จะใช้แต่ปุ๋ยอินทรีย์ที่เป็นอินทรีย์แท้ๆ แต่มีสารอาหาร แล้วไม่ต้องมีปุ๋ยเคมีเพิ่มเลย แต่ถ้าอินทรีย์เอาแค่ผักผลไม้มาหมักแล้วไม่มีสารอาหารน่ะ อันนั้นอินทรีย์ตกขอบ แต่แนวผมอินทรีย์มีสารอาหารเลยแค่เกาะขอบ ยังมีตกครับ
ลุงคิม : เอางั้นนะ

สมศักดิ์ : เอายังงี้แหละครับ เพราะ 2 รุ่นที่ผ่านมา ผมยอมรับ ลูกค้ายอมรับ ออร์เดอร์ในประเทศเพียบ ออร์เดอร์ต่างประเทศด้วย แต่เขากำหนดเลยว่าต้องไม่ใช้ปุ๋ยเคมีเด็ดขาด ในเมื่อคนซื้อกำหนดมายังงี้ เราทำขายเราก็ต้องทำตามใจลูกค้าซิครับ
ลุงคิม : มันก็อาจจะ อาจจะนะ อาจจะได้ ทีนี้ข้าวไรซ์เบอร์รี่เป็นข้าวพันธุ์ลูกผสม ถ้าไม่ใส่ปุ๋ยเคมีเลย กลัวว่าสารอาหารจะไม่พอน่ะซี แต่ถ้าเป็นข้าวพื้นเมืองอย่าง สังข์หยด เจ๊กเชย เสาไห้ คงได้ คุณแน่ใจนะว่าไม่ปุ๋ยเคมี

สมศักดิ์ : แน่ใจซิครับ ตอนนี้มีคนเข้ามาหาผม ชวนให้ผมตั้งกลุ่มทำไรซ์เบอร์รี่อินทรีย์แท้ๆ เพราะเขาเห็นตลาดแล้วว่าไปได้แน่ ขนาดมีสมาชิกสีเป็นข้าวกล้องไปขายตามงานจังหวัดกิโลละ 180 ไม่พอขายครับ ยิ่งตอนนี้มีบริษัทมาติดต่อเอาไปวางขายเอง บางบริษัทจะทำส่งออก ราคาประกันข้าวเปลือก ปีแรกเกวียนละ 20,000 แล้วรุ่นถัดจะให้ราคา 25,000 แล้วก็ 30,000 รุ่นถัดไป
ลุงคิม : ผมกำลัง งงๆ อยู่ ไรซ์เบอร์รี่ข้าวลูกผสมจะไม่เอาปุ๋ยเคมีเลย เอาแต่สารอาหารอินทรีย์ในระเบิดเถิดเทิงเท่านั้น เอาเป็นว่า ถ้าคุณยืนยันไม่เอาปุ๋ยเคมีเลย ผมก็จะไม่ใส่ แต่จะใส่เพิ่มส่วนที่เป็นอินทรีย์ให้เข้มข้นเพิ่มขึ้นอีก แบบนี้ใช่ไหม ?

สมศักดิ์ : ไม่รู้ซิครับ รู้แต่ว่าไม่ต้องใส่ปุ๋ยเคมีเท่านั้น
ลุงคิม : (ทบทวนความทรงจำเดิมจากที่ได้รับ รายงาน + ปรึกษา .... นาแปลงนี้ เริ่มรุ่นแรกด้วย อินทรีย์นำ เคมีเสริม ไม่ยูเรีย ไม่เผาฟาง ไม่ยาฆ่าหญ้า ไม่สารเคมีกำจัดแมลง) วันนี้คิดว่าดินคงจะ O.K. แล้วไหม ?

สมศักดิ์ : ไม่นาจะมีปัญหานะครับ ตอนนี้ผมรวมกลุ่มกันทำไรซ์เบอร์รี่ ทุกคนตกลงจะตามแนวนี้นี่แหละครับ
ลุงคิม : อินทรีย์เกาะขอบเนี่ยนะ แล้วจะบริหารกลุ่มยังไงบ้างล่ะ ?

สมศักดิ์ : ใจครับ ผมบอกว่าทุกคนต้องมีใจให้กัน บอกกัน สอนกัน แก้ปัญหาทุกอย่างด้วยกัน ทำข้าวออกมาแล้วต้องคุณภาพเดียวกัน ตอนนี้มีคนมาติดต่อขอซื้อพันธุ์ข้าว ข้าวเปลือกก็เอา ข้าวกล้องก็ได้ แต่กลุ่มเราไม่มีขายให้ น่าเสียดายนะครับ
ลุงคิม : นี่แหละ ตลาดมาหาถึงบ้าน อยู่ที่เราคนผลิตคนขาย จะจับตลาดยังไงเท่านั้นแหละ

สมศักดิ์ : ในเมื่อเขาต้องการปริมาณมากๆ แต่เนื้อที่เรามีน้อยก็ต้องรวมเนื้อที่กัน ผมบอกเขาว่า คุณภาพเราต้องเกรดเดียวกันหมดนะ ไม่ใช่ต่างคนต่างเกรด เพราะต่างคนต่างทำ สมาชิกก็คนแถวๆ นี้นี่แหละครับ
ลุงคิม : ฟังเหมือนง่าย แต่ยาก ยากที่ใจนั่นแหละ

สมศักดิ์ : ต้องลองครับผู้พัน
ลุงคิม : แน่นอน ไม่ลองไม่รู้ ลุยว่ะ

จาก : (084) 644-90xx
ข้อความ : (คัดย่อ) ....รายงานผลไรช์เบอร์รี่อินทรีย์เกาะขอบ ใช้ “ฟาจีก้า” อินทรีย์เพียวๆ ไม่ปุ๋ยเคมีทุกสูตร 100% ตามออร์เดอร์ ตั้งแต่ทำเทือก แช่เมล็ด หว่านน้ำแห้ง การงอกดีมาก ระยะกล้าอากาศหนาวให้ทางใบไม่เหลืองไม่แดง แต่นาข้าวยูเรียข้างๆเหลืองโทรมทั้งแปลง ตอนนี้รวมกลุ่มได้กว่า 100 ไร่ รับซื้อเกวียนละ 18,000 ข้อแม้ต้องไม่ปุ๋ยเคมี ไม่สารเคมี เด็ดขาด
ตอบ :
สมศักดิ์ : ผู้พันครับ ผมสมศักดิ์ นครนายก รายงานผลไรซ์เชอร์รี่อินทรีย์เกาะขอบครับ
ลุงคิม : O.K. คุณสมศักดิ์ กำลังคอยข่าวนี้อยู่พอดี ร่ายยาวเลย...

สมศักดิ์ : ครับผู้พัน ไม่ผิดหวัง ระเบิดเถิดเทิงอินทรีย์ ไบโออิอินทรีย์ ไทเปอินทรีย์ แล้วก็ยูเรก้าอินทรีย์ ที่ผู้พันบอกว่าใช้ชื่อนี้ไปก่อน ถ้าได้ผลแล้วจะตั้งชื่อให้ใหม่ ตอนนี้ทุกอย่างเป็นไปตามคาดแล้ว ผู้พันตั้งชื่อหรือยังครับ
ลุงคิม : O.K. เอาเรื่องนี้ก่อนเลย ชื่อนั้นสำคัญไฉน ต้นไม้ต้นพืชมันไม่รู้จักชื่อหรอก มันรู้จักแต่เนื้อใน แต่ถ้าไม่มีชื่อก็พูดกันไม่รู้เรื่อง ว่ามั้ย คิดไว้แล้วชื่อ “ฟาจิก้า” ....ที่มาคือ ฟา. มาจากคำว่าฟาโรห์ อียิปต์, จี. มาจากคำ ว่า จิ๋นซี ฮ่องเต้ จีน, ก้า.มาจากคำว่าอเมริกา. เอา 3 ต้นตำรับมารวมกัน .... เอาเถอะ เรื่องชื่อใจเย็นๆ เรียกชื่อเดิมๆไปก่อน วันนี้ดูผลงาน ฟาจีก้า.ซิ เป็นไงบ้างล่ะ ?

สมศักดิ์ : ครับผู้พัน ว่ากันตั้งแต่แช่เมล็ดเลยนะครับ เปอร์เซ็นต์งอก 100% งอกไว แค่อาทิตย์เดียวเขียวเต็มแปลงเลย ถอนต้นขึ้นมาดูราก รากใหญ่ยาว รากขาวมาก ต้นอ้วนดีมากเลยครับ
ลุงคิม : เดี๋ยวๆ .... คุณแช่ในปุ๋ยอินทรีย์เพียวๆ ที่ผมให้ไปน่ะนะ ?

สมศักดิ์ : ใช่ครับ แช่ในระเบิดอินทรีย์เพียวๆ ไม่มีปุ๋ยเคมีผสมเลยตัวนั้นนั่นแหละครับ
ลุงคิม : อืมมม เข้าทางว่ะ คุณสมศักดิ์....เอ้า ว่าต่อ

สมศักดิ์ : ตอนทำเทือกผมก็ใช้ระเบิดอินทรีย์ ใช้ปกติ 2 ลิตร/ไร่ สาดทั่วแปลงแล้วย่ำเลย ตอนย่ำน้ำไม่มาก ไม่เหนื่อยดีครับ
ลุงคิม : ย่ำกี่รอบน่ะ

สมศักดิ์ : ผมย่ำประณีตอย่างที่ผู้พันบอกในวิทยุนั่นแหละครับ ย่ำ 2 รอบ ใช้ได้เลยครับ
ลุงคิม : กำจัดวัชพืชล่ะ ?

สมศักดิ์ : ไม่มีปัญหาครับ ผมใช้วิธีย่ำประณีต พอข้าวโตแล้วถอนช่วย ทำมา 3 รุ่นติดต่อกัน ในนาผมนี่ไม่มีวัชพืชทุกชนิดแม้แต่ต้นเดียว
ลุงคิม : (คิด....แบบนี้เขาทำไมไม่ทำกันนะ) .... คุ้มเกินคุ้มว่ะสมศักดิ์ ยิ่งถอนรุ่นหลังๆยิ่งถอนน้อย เพราะถอนแล้วสิ้นซากไปเลย นี่ขนาดนาหว่านยังทำได้ แล้วที่บางคนทำนาดำ ยิ่งถอนง่าย แต่ก็ไม่ทำกัน

สมศักดิ์ : ครับตอนหว่าน ผมหว่านแบบไม่มีน้ำหน้าดินเลย ทำเทือกเสร็จผมปล่อยให้แห้งแล้วค่อยหว่าน
ลุงคิม : งั้นนะ เมล็ดข้าวไม่มีน้ำหล่อเลยก็ได้ ปกติมันควรต้องมีน้ำซักครึ่งเมล็ดนะ หรือไม่ก็จมลงไปในเนื้อดิน
หน่อยนึง

สมศักดิ์ : ไม่ต้องครับผู้พัน ผมว่าเจ้าไรซ์เบอร์รี่มันไม่ยุ่งยากเองนั่นแหละครับ
ลุงคิม : O.K. อาจเป็นได้

สมศักดิ์ : วิธีบำรุง ผมก็ทำอย่างเดิมนั่นแหละครับ จะต่างกันที่ปุ๋ยที่ให้เป็นระเบิดอินทรีย์เพียวๆ ไม่ต้องไม่มีปุ๋ยเคมีเพิ่มเท่านั้น
ลุงคิม : อืมมม นี่ก็เหมือนกัน บอกตรงๆ ครั้งแรกผมไม่มั่นใจเลยว่า สารอาหารแค่ในปุ๋ยอินทรีย์จะพอเหรอ ข้าวไรซ์เบอร์รี่ไม่ข้าว จีไอ. มันเป็นข้าวลูกผสม พวกนี้ต้องมีปุ๋ยเคมีด้วย อินทรีย์อย่างเดียวเพียวๆ ไม่พอหรอก

สมศักดิ์ : พอครับผู้พัน ผมว่ามันโตดีกว่าข้าวลูกผสมใหม่ พวก กข.ที่ใส่ปุ๋ยเคมีซะอีก หลายคนมาดูก็บอกว่าใช้ได้ บางคนยังว่าดีกว่าใส่ปุ๋ยเคมีครับ
ลุงคิม : เขาเห็นยังงี้แล้ว ยอมรับไหม ?

สมศักดิ์ : มีครับผู้พัน ตอนนี้หลายคนยอมรับแล้ว รวมเนื้อที่ได้กว่า 100 ไร่ จะทำแนวนี้ ผมเลยบอกพวกเขาว่า ทำแล้วเอามาขายให้ผม ผมให้เกวียนละ 18,000 แต่มีข้อแม้ต้องทำแนวนี้เท่านั้น งดปุ๋ยเคมีเด็ดขาด เอาอินทรีย์ล้วนๆ ทั้งทางใบทางราก ใครจะว่าเราตกขอบอะไรก็ช่าง แล้วก็ห้ามสารเคมียาฆ่าแมลงทุกชนิดด้วย
ลุงคิม : นี่แหละสมศักดิ์ ที่ผมบอกว่า กู.จะเผาตำราทิ้ง ละ แค่ทำสารอาหารที่เป็นโปรตีนธรรมดาๆ โมเลกุลใหญ่ ให้เป็นอะมิโน โปรตีน โมเลกุลขนาดเล็ก ผ่านรากเข้าต้นได้ ผ่านปากใบเข้าต้นได้ แล้วมันจะไปไหนวะ นี่แหละชัดเจนเลย .... แล้วที่ห้ามสารเคมีฆ่าแมลง เขายอมรับเหรอ ?

สมศักดิ์ : ยอมรับครับ ผมบอกเขาว่า เราฉีดปุ๋ยทางใบบ่อยๆ แล้วก็ใส่สารสมุนไพรเข้าไปด้วย ฉีดพร้อมกันเลย อันนี้เราเจตนาฉีดสมุนไพรมากกว่าฉีดปุ๋ย เพราะสมุนไพรต้องฉีดบ่อยๆมันถึงจะได้ผลแน่นอน
ลุงคิม : อืมมม ยอมรับง่ายจังวะสมศักดิ์ ?

สมศักดิ์ : ผมบอกเขาว่า ไม่มีความยากจนในหมู่คนขยัน ผมพูดตามที่ผู้พันบอกนั่นแหละครับ กับที่ผมทำก็เป็นตัวอย่าง 3 รอบขึ้นรอบที่ 4 ของผมไม่ได้ใช้สารเคมีฆ่าแมลงเลย ยังอยู่ได้ แถมยังได้ราคาดีอีกต่างหาก
ลุงคิม : ราคา 18,000 น่าจะสนใจอยู่ เพราะนาข้าวรุ่นหน้า รุ่นต่อๆไป รัฐบาลใหม่จะรับซื้อราคาประกันเหมือนเดิมหรือเปล่าก็ไม่รู้

สมศักดิ์ : ที่นี่เขาไม่เอากับรัฐบาลแล้วแหละครับ ขายให้รัฐบาลเรื่องมาก ไม่ใช่แค่ข้าวต้องพันธุ์ที่รัฐบาลกำหนดท่านั้น ทำได้มากเกิน รัฐบาลก็ไม่ได้รับทั้งหมด รับแค่บาง ส่วน ที่เหลือก็ต้องขายให้โรงสี โรงสีให้ราคาต่ำอีกต่างหาก เขาว่า แบบนี้ขยันไปก็ไม่ได้อะไร
ลุงคิม : แล้วบริษัทที่รับซื้อจากคุณล่ะ เขายอมเรื่องสเป็ค ไม่ปุ๋ยเคมี-ไม่สารเคมี ของกลุ่มคุณด้วยเหรอ ?

สมศักดิ์ : ยอมครับ บริษัทเขาให้ผมเป็นคนคอยตรวจสอบ เรื่องนี้ผมไม่กลัวหรอกครับ ถ้าบริษัทไม่รับจริง ผมกะจะสีขายเอง สีแล้วขายส่งหรือขายปลีกก็ได้ ผมมีเครื่องสีของผมเองอยู่แล้ว แหล่งรับซื้อก็มีอยู่แล้ว
ลุงคิม : อือว่ะ แบบนี้ก็ง่ายขึ้นน่ะซี เหลือแต่ชาวนาเองนี่แหละ จะเอาด้วยหรือเปล่า

สมศักดิ์ : ยืนยันแน่นอนทุกคนเอาครับ นี่เขาให้ผลช่วยไปตรวจแปลง แล้วก็บอกขั้นตอนบำรุงด้วย ทุกคนยืนยันเอาปุ๋ยอินทรีย์เกาะขอบสูตรของผู้พันนี่แหละครับ
ลุงคิม : เขามองเห็นต้นทุนไหมว่า ค่าปุ๋ยลดลงแล้ว กับใส่ความขยันฉีดอีกตัว ไปรอดแน่

สมศักดิ์ : เห็นครับ ผมบอกเขาว่าต้นทุนค่าปุ๋ยลิตรละร้อย ไร่นึงใช้แค่ 4-5 ลิตร ก็ 500 บาทเท่านั้น ส่วนค่าสารสมุนไพรก็ทำเอง มาทำที่บ้านผมก็ได้ ค่าฉีดก็ฉีดเอง คนเดียวทำได้ ไม่ต้องจ้าง
ลุงคิม : กลุ่มที่เข้ามามีนาคนละซักกี่ไร่ล่ะ

สมศักดิ์ : มากสุด 15 ไร่ น้อยสุด 5 ไร่ครับ
ลุงคิม : แบบนี้ทำได้ สำคัญแต่ใจเท่านั้น จะเอาหรือไม่เอา นี่ถ้าได้ไร่ละเกวียนก็คุ้มเกินคุ้ม

สมศักดิ์ : นั่นนะซีครับ ผมก็บอกเขายังงี้ แต่ผมบอกเขาว่า เอาแค่ไร่ละ 80 ถังก็พอ อย่าตั้งความหวังมากนัก
ลุงคิม : อืมมม มันต้องดูประวัติดินด้วยนะสมศักดิ์ อย่างนาคุณ ประวัติดินเคยทำมาแล้ว 3 รุ่น อะไรๆมันสะสมอยู่ในดินมากแล้ว พอเติมเข้าไปหน่อยเดียว ข้าวมันก็เลยโตได้

สมศักดิ์ : นี่แหละครับผู้พัน ที่ผมเป็นห่วง ถึงอยากปรึกษาผู้พันว่า เราจะแก้ไขประวัติดิน ที่เพิ่งทำรอบแรกแล้วให้ได้ผลมากที่สุด ทำยังไง
ลุงคิม : เอาวะ ถึงในธรรมชาติจะไม่มีตัวเลขแล้วก็มีสูตรสำเร็จแต่มีหลักการ เพราะฉะนั้นงานนี้วิธีเพิ่มปริมาณการให้ ให้มากขึ้น เพราะถึงยังไงปุ๋ยอินทรีย์มากเกินยังไงก็ไม่เป็นไร เพียงแต่เปลืองเท่านั้น

สมศักดิ์ : เพิ่มซักเท่าไหร่ดีครับ ?
ลุงคิม : ทางดิน ตอนทำเทือกใส่ไปเลย 3 ลิตรต่อไร่ บ่มดินทิ้งไว้ก่อนซัก 10-15 วัน ช่วงแตกกอต้นกลมให้ทางดินซ้ำอีกรอบ 2 ลิตรต่อไร่ ส่วนทางใบก็ 5 วัน 7 วัน ถือโอกาสฉีดสมุนไพรไปในตัว

สมศักดิ์ : ได้ครับผู้พัน แบบนี้คิดแล้วต้นทุนก็ยังต่ำอยู่ ต่ำกว่าที่พวกเขาเคยทำเยอะเลยครับ ยิ่งมีเกษตรอำเภอเข้ามา บอกจะให้ จีเอพี. กับหมอจากโรงพยาบาลเสริมอีกแรงด้วย
ลุงคิม : เอ้อ นึกขึ้นมาได้.... สมศักดิ์ คุณไปหาจาวปลวกมาหน่อยนะ ได้มาแล้วเท่าไหร่ก็ได้ สดๆใหม่ๆ บดให้ละเอียดหน่อยใส่ลงไปในน้ำหมักระเบิด คนให้เข้ากันดีแล้วใส่ลงไปในนาเลย ในจาวปลวกมีจุลินทรีย์ช่วยย่อยสลายเศษซากพืช โดยเฉพาะฟางดีมากๆเลย ตัวนี้ก็เป็นอินทรีย์เหมือนกัน

สมศักดิ์ : ลองแล้วครับผู้พัน ใช้ได้จริงๆ สังเกตุฟางแห้ง ฟางสด เศษวัชพืชที่ผมถอนแล้วทิ้งไว้ในแปลง แค่ไม่ถึง 2 อาทิตย์ละลายหายไปหมดเลยครับ
ลุงคิม : หลุดจากนั้น อาจจะหา น้ำมะพร้าว นมสด ให้ทางใบเสริมไบโออิอินทรีย์ ไทเปอินทรีย์ด้วย เรียกว่า เสริม/เติม/เพิ่ม/บวก ก็ได้ หรือจะให้เดี่ยวๆก็ได้อีก ถ้าไม่กลัวเปลือง พวกนี้อินทรีย์แท้ๆทั้งนั้น

สมศักดิ์ : โอโฮ ดีเลย แบบนี้พวกเขาเอาทั้งนั้นเลยครับ
ลุงคิม : แน่ใจนะสมศักดิ์ อะไรมันจะง่ายปานนั้นวะ

สมศักดิ์ : (หัวเราะ) ก็เพราะหนี้สินนี่แหละผู้พัน ตอนนี้จนตรอกตามๆกันแล้ว ไม่คิดใหม่ทำใหม่ไปไม่รอดอย่างผู้พันว่าจริงๆ
ลุงคิม : เอาวะ สมศักดิ์ .... ขอบคุณมาก รายงานผลวันนี้ มันให้ผมเห็นอะไรต่อมิอะไรที่จะทำไอ้เจ้า ระเบิดเถิดเทิงอินทรีย์ ไบโออิอินทรีย์ ไทเปอินทรีย์ ยูเรก้าอินทรีย์ ชัดเจนเลย

สมศักดิ์ : ขอบคุณครับผู้พัน คงได้อุดหนุนกันต่อไปนะครับ
ลุงคิม : แน่นอนสมศักดิ์ รวยด้วยกันไง

สมศักดิ์ : ครับ ขอบคุณครับ
ลุงคิม : ขอบคุณครับ

นาข้าวแบบเปียกสลับแห้ง
จาก : (094) 117-34 xx
ข้อความ : ลุงคิมครับ ช่วงนี้เกษตรพูดถึงนาข้าว เปียกสลับแห้ง กันมาก นาผมยังไม่ได้ทำ กำลังรอฝนสิ้นเดือนนี้ อยากให้คุณลุงพูดเรื่องนาข้าวเปียกสลับแห้งให้ฟังบ้าง คนอื่นพูดไม่ขลัง สู้ผู้พันไม่ได้ครับ .... ชาวนาตาคลี ขอบคุณครับ
ตอบ :
ทำนา “เปียกสลับแห้ง แกล้งข้าว”
หลักการและเหตุผล :
- ก่อนอื่น ขอออกแขกก่อนว่า วัฒนธรรมของเกษตรกรเราอย่างหนึ่งคือ ให้อะไรแล้วรับไปแค่ครึ่งเดียว รับไปแล้วก็ทำแค่ครึ่งเดียวของที่ัรับไปอีก จึงพบว่า งานส่งเสริมมักประสบความสำเร็จแค่ครึ่งของครึ่งเดียวเท่านั้น ....

ก็ให้น่าสงสัยเหมือนกันว่า แนวทางหรือขั้นตอนการปฏิบัติต่อนาข้าวแบบ "เปียกสลับแห้ง" ที่นำเสนอกันออกไปนั้น คล้ายๆกับบอกความจริงแค่ครึ่งเดียว อีกครึ่งที่ไม่ได้บอก ก็ไม่รู้เหมือนกันว่า เจตนาไม่บอก หรือผู้นำเสนอไม่รู้ ....

หมายเหตุ : คิด/วิเคราะห์/เปรียบเทียบ

เหมือนนาโยน เขาโยนกอข้าวให้ตกลงพื้นห่างกัน 20 x 20 ซม.เป๊ะๆ ทุกกอเลยเหรอ ถ้ามันตกห่าง 10 ซม.x 1 ม.ล่ะ มิเสียเนื้อที่เปล่าหรอกรึ แล้วเขาแก้ปัญหานี้กันอย่าง ไรหรือไม่ ดูเหมือนว่า วิธีการแก้ปัญหานี้ไม่มีใครนำเสนอเลย แล้วไม่กลัวหรือว่า ชาวนาซึ่งมักรับข้อมูลได้เพียงครึ่งเดียว แล้วเอาไปใช้ไปปฏิบัติแค่ครึ่งเดียวอีก....

แปลงนาโยนที่ "สาธิต" ใช้ชาวนา 20-30 คน ใส่เสื้อสีเดียวกันทั้งหมดได้ไง ช่วยกันโยน โยน โยน โยน โยนพร้อมๆกัน โยนครั้งละ 20-30 กอกล้า กอกล้าเลยไปกองกันชิดก้น ห่างกัน บางกอกองเอ๊าะเยาะ ซ้อนกันทับกัน ก็ยังดี เพราะนาหว่านเมล็ดพันธุ์กองทับกันแย่งกันงอก ยังโตได้ แต่กรณีเอาคนมา 20-30 คนน่ะ ถ้าชาวนาจะทำนาโยนบ้าง เจ้าของนาจะเอาคนมาจากไหน...)

- เปียกแห้ง-แห้งเปียก หมายถึง ผิวหน้าดิน มีน้ำคือเปียก ไม่มีน้ำคือแห้ง ในการทำนาข้าวแบบ “เปียกสลับแห้ง” มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่ง คือ “นาน้ำน้อย”

- ต้นข้าวไม่ใช่พืชประเภทต้องการน้ำมาก ต้องมีน้ำขังค้างตลอดเวลาเหมือน โสน ธูปฤาษี กก แต่โดยธรรมชาติของต้นข้าวต้องการน้ำเพียงหล่อโคนต้น ที่เรียกแบบชาว บ้านว่า น้ำผิวดิน หรือน้ำเจ๊าะแจ๊ะ หรือขังรอยตีนควาย หรือน้ำแค่ตาตุ่ม เท่านั้น

- สัจจะธรรมธรรมชาติ ไม่มีพืชใดในโลกนี้ที่ไม่ต้องการน้ำ ต้นข้าวก็เช่นกัน เมื่อไม่มีน้ำบนผิวดินก็ให้มีที่ไต้ผิวดิน ต้นข้าวที่มีน้ำอยู่ไต้ผิวดินลึก (ครึ่งหน้าแข้ง) แต่น้ำบนผิวดินตื้น (ตาตุ่ม) จะเจริญเติบโตและพัฒนาการดีกว่าต้นข้าวที่มีน้ำไต้ดินตื้น (ตาตุ่ม) แต่น้ำบนผิวดินลึก (ครึ่งหน้าแข้ง หรือค่อนต้นข้าว)

- การเจริญเติบโตของต้นข้าวที่ น้ำไต้ผิวดินลึกครึ่งหน้าแข้ง-น้ำบนผิวดินตื้นแค่ตาตุ่ม ที่เห็นชัด ได้แก่ รากยาว (มากกว่าครึ่งความสูงของลำต้น), รากจำนวนมาก, รากสีขาวมากกว่ารากสีดำ, ต้นแตกกอมาก, ลำต้นที่แตกกอใหญ่ (เท่าหลอดดูดเฉาก๊วย), ต้นไม่สูง (ต้นสั้นรวงยาว), ต้นโตขึ้นไม่ล้ม, รวงยาว, เมล็ดมาก, เมล็ดสมบูรณ์, โรคแมลงน้อย

- การเจริญเติบโตของต้นข้าวที่ น้ำไต้ผิวดินตื้นแค่ตาตุ่ม-น้ำบนผิวดินลึกครึ่งหน้าแข้งหรือค่อนต้นข้าว ที่เห็นชัด ได้แก่ รากจำนวนน้อย, รากสีดำมากกว่ารากสีขาว, ต้นแตกกอน้อย, ลำต้นที่แตกกอเล็ก (เท่าหลอดดูดยาคูลท์), ต้นสูง (ต้นยาวรวงสั้น), ต้นโตขึ้นล้ม, รวงสั้น, เมล็ดน้อย. เมล็ดไม่สมบูรณ์, โรคแมลงมาก

- ขี้เทือก คือ ดิน+อินทรีย์วัตถุ+จุลินทรีย์ ลึกมาก=มีมาก ลึกน้อย=มีน้อย เทือกที่มีอินทรีย์วัตถุมากย่อม “รับและกักเก็บ” น้ำได้มากด้วย ในทางกลับกัน ขี้เทือกตื้น คือ เทือกที่มีอินทรีย์วัตถุน้อย เมื่อมีอินทรีย์วัตถุน้อยย่อม “รับและกักเก็บ” น้ำได้น้อย เป็นธรรมดา

สรุป :
- เปียกสลับแห้ง แท้จริงคือ บนผิวดินแห้งแต่ไต้ผิวดินมีน้ำ และต้องมีอย่างเพียงสำหรับพืชตระกูลข้าวด้วย หรือ "บนผิวดิน เปียกสลับแห้ง-แห้งสลับเปียก....ไต้ผิวดินต้อง เปียกตลอด" จนถึงก่อนเกี่ยว

- เทือกลึกครึ่งหน้าแข้ง เมื่อน้ำบนผิวหน้าดินแห้งจนแตกระแหง แต่ยังมีน้ำไต้ผิวดินหล่อเลี้ยงต้นข้าวได้นานนับเดือน

- เทือกลึกครึ่งหน้าแข้ง ระบบรากจะเจริญยาวหยั่งลงลึกเองตามธรรมชาติ
- จะทำนา เปียกสลับแห้ง ให้ได้ผลอย่างแท้จริง นาแปลงนั้นต้องผ่านการทำนาไถกลบฟาง ผ่านการกำจัดวัชพืชแบบล่อให้งอกแล้วย่ำทำลาย และผ่านการย่ำเทือประณีตมาแล้ว 2-3 รุ่น

เตรียมดิน ทำเทือก :
- หว่านยิบซั่ม ปุ๋ยอินทรีย์ กระดูกป่น, น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 (กุ้งหอยปูปลาทะเล เลือด ไขกระดูก นม ขี้ค้างคาว น้ำมะพร้าว แม็กเนเซียม สังกะสี ฮิวมิก ธาตุรอง ธาตุเสริม ธาตุหลัก .... 2 ล.) + 16-8-8 (10 กก.) + น้ำตามความเหมาะสม สำหรับเนื้อที่ 1 ไร่ คนให้ละลายเข้ากันดี สาดทั่วแปลง ปล่อยทิ้งไว้ 3-5 วัน จึงปล่อยน้ำเข้าแปลง

- เริ่มไถกลบฟาง แล้วย่ำเทือกกำจัดวัชพืช

หมายเหตุ :
- เศษซากฟาง เศษซากวัชพืช ยิบซั่ม ปุ๋ยอินทรีย์ กระดูกป่น ในเนื้อเทือกเปรียบ เสมือนฟองน้ำ ช่วย อุ้ม/ซับ/กัก/เก็บ น้ำไว้ไต้ดินได้เป็นอย่างดี ยิ่งมีมากยิ่งรับน้ำได้มาก ยิ่งมีลึกยิ่งช่วยให้น้ำลงได้ดินได้ลึกมาก

- เศษซากฟาง เศษซากวัชพืช ยิบซั่ม ปุ๋ยอินทรีย์ กระดูกป่น นอกจากจัดการเรื่องน้ำแล้ว ยังเป็นสารอาหารแก่ต้นข้าวอีกด้วย

- ตรวจสอบปริมาณน้ำหรือความลึกของน้ำไต้ผิวดินง่ายๆ โดย ใช้ไม้ขนาดข้อมือ หรือหน้าแข้ง ปลายแหลม แทงลงดินลึก 30-50 ซม. แล้วถอนไม้ขึ้น เห็นน้ำในรูที่แทงก็รู้ได้ทันทีว่า ระดับไต้ผิวดินอยู่ลึกหรือต่ำกว่าผิวดินแค่ไหน ซึ่งหมายถึงปริมาณน้ำ และอนาคตของการเจริญเติบโตของต้นข้าวด้วย

ปลูกข้าว :
- ทำนาดำ/นาหยอด ระยะห่าง 20 x 30 ซม. ได้ผลดีกว่านาหว่าน
- ระดับน้ำ ณ วันดำ/หยอด ไต้ผิวดินลงลึกได้เท่าที่เทือกลึก ผิวดินลึก 5 ซม. หรือท่วมตาตุ่ม หรือรอยตีนควาย หรือเจ๊าะแจ๊ะหน้าดิน

ปฏิบัติการ ให้น้ำ-งดน้ำ :
ให้น้ำครั้งแรก : ต้นข้าวได้น้ำจากตอนทำเทือก แล้วปล่อยให้แห้งเอง
ให้น้ำครั้งที่สอง : ต้นข้าวอายุ 40 วัน แล้วปล่อยให้แห้งเอง วัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นให้ต้นข้าว แตกราก-แตกกอ ใหม่ให้มากที่สุด

ให้น้ำครั้งครั้งที่สาม : ข้าวอายุประมาณ 60 วัน แล้วปล่อยให้แห้งเอง วัตถุประ สงค์เพื่อกระตุ้นให้หน่อต้นข้าวที่เกิดใหม่ กระชับผนังเซลล์แข็งแรง ต้านทานโรคแมลง และสร้างผลผลิตได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เป็นการลดต้นทุนที่ดีที่สุด

หมายเหตุ :
- ระหว่างที่ต้นข้าวกำลังเจริญเติบโต ถ้าไม่มีน้ำบนผิวดินแต่มีน้ำไต้ผิวดิน ต้นข้าวก็จะเจริญเติบโตปกติ หากน้ำบนผิวดินไม่มี และน้ำไต้ผิวดินก็ไม่มี ก็คือ ต้นข้าวขาดน้ำ หรือพบกับสภาวะแห้งแล้งนั้นเอง

- มาตรการให้หน้าดินแห้ง หรือแตกระแหงได้มากน้อย หรือนานแค่ไหนนั้น เจ้าของนาจะต้องรู้ว่า “อินทรีย์วัตถุ” อุ้มน้ำ หรือกักเก็บน้ำไต้ดินมีมากน้อยแค่ไหน ถ้าอินทรีย์วัตถุอุ้มน้ำไต้ดินมีน้อย ก็ต้องเพิ่มน้ำผิวดินตามความจำเป็น

บำรุงต้นข้าว (เหมือนนาน้ำขัง ทุกประการ) :
ระยะกล้า :
ทางใบ : ให้ไบโออิ 18-38-12 ครั้งแรก อายุกล้า 20 วัน, ครั้งที่สอง อายุกล้า 30 วัน, ครั้งที่สาม อายุกล้า 40 วัน, +สารสมุนไพรด้วยทุกครั้ง เพื่อไม่เสียเที่ยว

ระยะต้นกลม :
ทางราก : ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 (2 ล.) +16-8-8 (10 กก.) ฉีดแหวกต้นข้าวลงพื้น .... ถอนแยกข้าวปนครั้งที่ 1

ระยะตั้งทอง :
ทางใบ : ให้ไทเป 2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน +สารสมุนไพรด้วยทุกครั้ง เพื่อไม่เสียเที่ยว

ระยะออกรวง :
ทางใบ : ให้เอ็นเอเอ. 2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน +สารสมุนไพรด้วยทุกครั้ง เพื่อไม่เสียเที่ยว .... ถอนแยกข้าวปนครั้งที่ 1

ระยะน้ำนม :
ทางใบ : ให้ ไบโออิ + ยูเรก้า 2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน +สารสมุนไพรด้วยทุกครั้ง เพื่อไม่เสียเที่ยว .... ถอนแยกข้าวปนครั้งที่ 1

สรุปเด็ดขาด :
นาข้าวเปียกสลับแห้ง "บนผิวดิน เปียกสลับแห้ง-แห้งสลับเปียก ตามระยะการเจริญเติบโต ของต้นข้าว .... แต่ไต้ผิวดินต้อง มีน้ำเปียกตลอด" จนถึงก่อนเกี่ยว

นาข้าวแบบประณีต
ระยะกล้า (เร่งแตกกอ) : ให้ไบโออิ + 18-38-12 + ยูเรีย จี + สารสมุนไพร 1 ล. เริ่มให้ครั้งที่ 1 หลังดำ 20 วัน, ให้ครั้งที่ 2 หลังดำ 30 วัน, ให้ครั้งที่ 3 หลังดำ 40 วัน

หมายเหตุ : ใช้น้ำหมักฯ +16-8-8 อัตรานี้สำหรับเนื้อที่ 1 ไร่ .... ถ้าเนื้อที่น้อยกว่านี้ก็ให้ลดอัตราใช้ลงมาตามความเหมาะสม

ระยะ ต้นกลม-แต่งตัว-ตั้งท้อง : ให้ “ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 (2 ล.) + 16-8-8 (5 กก.)” ฉีดแหวกผ่านต้นลงดิน ปรับหัวฉีดให้เม็ดใหญ่ๆ

หมายเหตุ :
- ใช้น้ำหมักฯ +16-8-8 อัตรานี้สำหรับเนื้อที่ 1 ไร่ .... ถ้าเนื้อที่น้อยกว่านี้ก็ให้ลดอัตราใช้ลงมาตามความเหมาะสม

- ระยะนี้ให้แคลเซียม โบรอน 1-2 รอบ ตามความสะดวก จะช่วยให้ต้นสมบูรณ์ แข็งแรงขึ้น
- สำรวจแปลง ต้นวัชพืชเริ่มสูงเท่าต้นข้าวขึ้นมาให้เห็น ให้ถอนด้วยมือ
- กำจัดข้าวปนครั้งที่ 1 ดูลักษณะต้นที่ผิดแผกไปจากพันธุ์แท้ชัดเจน คือ ความสูง ทรงกอ มุมยอดใบ ขนาดใบ สีใบ สีกาบใบ สีปล้อง ให้ถอนด้วยมือ

หมายเหตุ : ถ้าตอนคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ที่ได้มาครั้งแรก ทำดี-ประณีต โอกาสที่จะเกิดข้าวปนย่อมมีน้อย)

ระยะออกรวง (เพิ่มลมเบ่ง หยุดความสูง ต้นแข็งไม่ล้ม) : ให้ไทเป + 0-52-34 + ยูเรีย จี + สารสมุนไพร 1 ล. 2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน

หมายเหตุ :
- เมื่อจำนวนต้นประมาณ 1 ใน 4 ของทั้งแปลงเริ่มออกรวงเป็นหางแย้ หรือหางปลาทู ให้ เอ็นเอเอ. 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน ช่วยบำรุงเกสรให้สมบูรณ์ ทำให้ดอกเป็นเมล็ดมากขึ้น

- สำรวจแปลงเพื่อกำจัดข้าวปนรอบที่ 2 โดยสังเกต ความสูง ทรงกอ มุมยอดใบ ขนาดใบ สีใบ ความพร้อมเพียงในการออกดอก มุมใบธง ขนาด และสีใบธง สีของดอกข้าว การยืดคอรวง ความหนาแน่นของรวง และรูปร่างของเมล็ด ต้นที่ผิดเพี้ยนไปจากนี้ให้ถอนด้วยมือ

- ถ้าตอนคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ที่ได้มาครั้งแรก และการกำจัดข้าวปนระยะที่ผ่านมา ทำดี-ประณีต โอกาสที่จะเกิดข้าวปนย่อมมีน้อยลงอีก)

ระยะน้ำนม (ป้องกันเมล็ดลีบ ไม่เป็นท้องไข่ เมล็ดใส แกร่งน้ำหนักดี) : ให้ไบโออิ + ยูเรก้า + สารสมุน ไพร 1 ล. 3-4 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน

ระยะพลับพลึง : สำรวจแปลงเพื่อกำจัดข้าวปนรอบที่ 3 โดยสังเกต ความพร้อมเพียงในการสุกแก่ของเมล็ด การแก่ของใบ ขนาดรูปร่าง และสีของเมล็ด ต้นที่ผิดเพี้ยนไปจากนี้ให้ถอนด้วยมือ

หมายเหตุ : ถ้าตอนคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ที่ได้มาครั้งแรก และการกำจัดข้าวปนระยะที่ผ่านมา ทำดี-ประณีต โอกาสที่จะเกิดข้าวปนย่อมมีน้อยลงอีก)
- ก่อนเกี่ยว 5-7 วัน ให้นมสด 1 รอบ จะช่วยลดความชื้นหลังเกี่ยว

นาข้าว แบบล้มตอซัง
ปี 2539 เกษตรกรประเภท "หัวไวใจสู้" ชื่อ นายละเมียด ครุฑเงิน อายุ 43 ปี อยู่บ้านเลขที่ 46 หมู่ 9 ตำบลระแหง อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี เป็นคนช่างสังเกต และสะสมประสบการณ์ในการทำนามานาน ได้สังเกตเห็นว่าตอซังข้าวที่ถูกล้อรถเก็บเกี่ยว (combine) เหยียบย่ำล้มลงราบกับพื้นนาในขณะที่ดินมีความชื้นหมาด ๆ คือ ไม่แห้งและเปียกเกินไป หลังจากเก็บเกี่ยวเสร็จแล้ว 7-10 วันนั้น จะมีหน่อข้าวแทงขึ้นมาจากโคนตอซังส่วนที่ติดอยู่กับดิน เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว และต่อ เนื่องเท่าที่ดินยังมีความ ชื้นเพียงพอ แต่ตอซังข้าวที่ไม่ถูกล้อรถเก็บเกี่ยวทับ จะมีหน่อแตกงอกออกจากข้อของต้นตอซังข้าว สังเกตเห็นว่าหน่อจะงอกช้ากว่า และขนาดเล็กกว่าหน่อที่งอก ออกจากตอซังที่ล้มลงด้วยล้อรถเก็บเกี่ยวทับ

จากการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อตอบสนองความอยากรู้ของเกษตรกรเอง และคิดว่าสามารถลดต้นทุนลงหลายอย่าง เช่น ค่าเมล็ดพันธุ์ ค่าเตรียมดิน นายละเมียด ครุฑเงิน ได้ทำการทดสอบ 4 ฤดู โดยปลูกข้าวพันธุ์สุพรรณบุรี 1 พบว่า ได้ผลผลิตสูงไม่แตกต่างจากการใช้เมล็ดหว่าน อีกทั้งยังประหยัดเรื่องของเมล็ดพันธุ์ การเตรียมดิน และอายุสั้นเพียง 90 วันเท่านั้น ซึ่งวิธีการปลูกข้าวเช่นนี้เกษตรกรเรียกว่า "การปลูกข้าวด้วยตอซัง" ปี 2543 มีเกษตรกรอำเภอลาดหลุมแก้วทำตามกรรมวิธีของนายละเมียด ครุฑเงิน รวมพื้นที่ 45,000 ไร่/ฤดู และยังได้ขยายผลไปสู่เกษตรกรจังหวัดใกล้เคียง เช่น สิงห์บุรี

"การปลูกข้าวแบบล้มตอซัง" เป็น เทคโนโลยีชาวบ้านซึ่งเกิดจาก “ภูมิปัญญาท้องถิ่น” (local wisdom หรือ indigenous knowledge) เกษตรกรเป็นผู้ค้นพบโดยบังเอิญ มีเทคนิคและวิธีการปฏิบัติ โดยไม่ต้องเตรียมดิน และไม่ใช้เมล็ดพันธุ์ปลูก ซึ่งมีเทคนิคในการปฏิบัติ โดยเกลี่ยฟางข้าวให้กระจายทั่วแปลงและย่ำตอซังให้ราบติดพื้นนา ในขณะที่ดินต้องมีความชื้นหมาด ๆ การปลูกข้าวด้วยวิธีนี้เกษตรกรบางพื้นที่เรียกว่า “การปลูกข้าวด้วยตอซัง” และนักวิชากาด้านข้าว เรียกว่า “การปลูกข้าวข่มตอ” (lodge ratoon rice)

เทคนิคการปลูกข้าวแบบล้มตอซัง :
1. แปลงที่ปลูกข้าวรุ่นแรก ต้องมีการเตรียมดินและทำเทือก ให้ได้ระดับสม่ำเสมอ และปลูกข้าวโดยวิธีหว่านน้ำตม ใช้พันธุ์ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง อัตราเมล็ดพันธุ์ 15-20 กก./ไร่ อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 120 วัน

2. ก่อนเก็บเกี่ยวข้าวรุ่นแรกประมาณ 10 วัน ถ้ามีน้ำขังให้ระบายออกจากแปลง ถ้าไม่มีน้ำขังให้ระบายน้ำเข้าแปลง เมื่อดินในแปลงเปียกทั่วกันแล้วให้ระบายน้ำออก เพื่อให้ดินมีความชื้นหมาด ๆ คือ ไม่แห้งหรือเปียกเกินไปหลังเก็บเกี่ยวข้าว

3. เก็บเกี่ยวข้าวในระยะ “พลับพลึง” ห้ามเผาฟางเด็ดขาด และเกษตรกรจะต้องเกลี่ยฟางข้าวให้ทั่วทั้งแปลง อย่างสม่ำเสมอภายใน 1–3 วัน ด้วยอุปกรณ์ติดท้ายแทรก เตอร์ขนาดเล็ก หรือใช้แรงงานคน เพื่อรักษาความชื้น คลุมวัชพืช และเป็นปุ๋ยหมักให้แก่ต้นข้าว

4. ย่ำตอซังให้ล้มนอนราบกับดินที่มีความชื้นหมาด ๆ โดยใช้รถแทรกเตอร์หรือล้อยางย่ำไปในทิศทางเดียวกัน 2–3 เที่ยว เกษตรกรนิยมย่ำตอนเช้ามืด เนื่องจากมีน้ำค้างช่วยให้ฟางข้าวนุ่มและตอซังล้มง่าย

5. หลังจากย่ำตอซังแล้ว ต้องคอยดูแลไม่ให้น้ำเข้าแปลง โดยทำร่องระบายน้ำเมื่อมีฝนตกลงมาต้องรีบระบายออกให้ทัน ถ้าปล่อยไว้หน่อข้าวจะเสียหาย

6. เมื่อหน่อข้าวมีใบ 3–4 ใบ หรือ 10–15 วัน หลังล้มตอซัง ให้ระบายน้ำเข้าแปลงให้ดินแฉะแต่ไม่ท่วมขัง ใส่ปุ๋ยครั้งแรก สูตร 46-0-0 อัตรา 15–20 กก./ไร่ เพื่อเป็นปุ๋ยแก่ต้นข้าว และช่วยการย่อยสลายฟางได้ดีขึ้น

7. หลังจากใส่ปุ๋ยครั้งแรก 5–7 วัน ระบายน้ำเข้าท่วมขังในแปลงระดับสูง 5 ซม.
8. เมื่อข้าวอายุได้ 35–40 วัน หลังล้มตอซัง ใส่ปุ๋ยครั้งที่สอง สูตร 16-20-0 อัตรา 20 – 25กก./ไร่

9. เมื่อข้าวอายุได้ 50-55 วัน หลังล้มตอซัง ถ้าข้าวเจริญเติบโตไม่ดีให้ ใส่ปุ๋ยครั้งที่สาม สูตร 46-0-0 อัตรา 15–20 กก./ไร่

10. เมื่อข้าวอายุใกล้เก็บเกี่ยว (ประมาณ 80 วันหลังล้มตอซัง) ให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับข้อ 2 เพื่อให้ดินมีความชื้น พอเหมาะแก่การงอกของตาข้าว ซึ่งเรียกว่า “ข้าวตอที่ 2” ต่อไป

เงื่อนไขและข้อจำกัด การปลูกข้าวแบบล้มตอซัง :
1. อยู่ในเขตที่มีน้ำชลประทานสมบูรณ์
2. เก็บเกี่ยวข้าวในระยะ “พลับพลึง” ซึ่งต้นข้าวจะยังสดไม่แห้งเกินไปเวลาใช้ทำเป็น “ต้นพันธุ์ (clone)” หน่อข้าวจะแตกเป็นต้นข้าวใหม่ที่แข็งแรงและเจริญเติบโตดี

3. เกลี่ยฟางข้าวคลุมตอซังให้สม่ำเสมอทั่วทั้งแปลง
4. ตอซังที่ใช้ปลูกข้าวแบบล้มตอซังต้องไม่มีโรคและแมลงรบกวน ถ้ามีโรคและแมลงรบกวนต้องไถทิ้ง เตรียมดินและปลูกแบบหว่านน้ำตมใหม่

5. การปลูกข้าวแบบล้มตอซังไม่ต้องหว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวเสริม

ข้อดีของการปลูกข้าวแบบล้มตอซัง :
1. ผลผลิต 800-900 กก./ไร่ ขณะที่อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 90 วัน
2. ลดค่าเตรียมดินประมาณ 150 บาท/ไร่
3. ลดค่าเมล็ดพันธุ์ 300-400 บาท/ไร่
4. ลดค่าสารเคมีควบคุมและกำจัดวัชพืช 100-200 บาท/ไร่
5. ลดค่าสารเคมีกำจัดหอยเชอรี่ 60-80 บาท/ไร่
6. ลดต้นทุนรวมทั้งสิ้น 500-700 บาท/ไร่ หรือ 30-40 % ของต้นทุนทั้งหมด

แหล่งขยายผลและพัฒนาการปลูกข้าวแบบล้มตอซัง :
ปี 2542 เกษตรกรบ้านจ่า ตำบลเชิงกลัด อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี นำวิธี การปลูกข้าวด้วยตอซังมาปฏิบัติ และพัฒนาเทคนิคบางอย่าง เช่น ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร16-20-0 แทนสูตร 46-0-0 คิดค้นเครื่องเกลี่ยฟางข้าวติดท้าย รถแทรกเตอร์เพื่อเกลี่ยฟางข้าวให้กระจายคลุมตอซังทั่วทั้งแปลง และประดิษฐ์เครื่องมือย่ำล้มตอซังขึ้นมาใช้ โดยนำล้อยางรถยนต์ที่เสื่อมสภาพมาประดิษฐ์เป็นชุดพวงล้อยาง จำนวน 8-10 เส้น ลากทับตอซังโดยติดท้ายรถแทรกเตอร์ เพื่อย่ำล้มตอซังให้ติดแนบกับพื้นนา และรับจ้างเกษตรกรรายอื่น ได้ค่าจ้างไร่ละ 100 บาท ค่าเกลี่ยฟางข้าวไร่ละ 50 บาท โดยเรียกวิธีการนี้ว่า "การปลูกข้าวแบบล้มตอซัง"

ปี 2543 พื้นที่อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี มีเกษตรกรปลูกข้าวแบบล้มตอซัง มีพื้นที่ปลูกมากกว่า 10,000 ไร่ และขยายผลไปยังพื้นที่ใกล้เคียง เช่น จังหวัดชัยนาท และสุพรรณบุรี

ที่มา : เอกสารคำแนะนำสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 5 การปลูกข้าวแบบล้มตอซัง :
อัครินทร์ ท้วมขำ สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 5 กรมวิชาการเกษตร




นาข้าว แบบไม่พึ่งพาปุ๋ยเคมี
หลักการและเหตุผล :

ในการทำเกษตรนั้นแม้จะปฏิเสธ “ปุ๋ยเคมี” ได้ แต่ไม่อาจปฏิเสธ “สารอาหาร” ได้ นั่นคือ หากจะไม่พึ่งพาสารอาหารพืชจากปุ๋ยเคมี ก็จะต้องสร้างหรือให้สารอาหารจากธรรมธรรมชาติหรือจากแหล่งอื่นแทน ในปริมาณที่เหมาะสมต่อความต้องการเพื่อพัฒนาการของพืชอย่างแท้จริง

วัสดุส่วนผสมในปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง ได้แก่ กุ้ง หอย ปู ปลา รก เลือด นม น้ำมะพร้าว ฮอร์โมนไข่ ฮอร์โมนบำรุงราก ฮิวมิคแอซิด สาหร่ายทะเล ไคตินไคโตซาน ปุ๋ยคอกน้ำ และจุลินทรีย์ ผ่านกระบวนการหมักนานข้ามปี อุดมไปด้วยสารอาหาร (ธรรมชาติ) ที่ได้จากอินทรีย์วัตถุที่สามารถพิสูจน์ได้เพราะทำและใส่กับมือตัวเอง

ประกายความคิด :
ดร.อรรถ บุญนิธี ใช้น้ำสกัดชีวภาพ บีอี. ซึ่งทำจาก ผัก + กากน้ำตาล 1:1 เพียงอย่างเดียวในการทำนาข้าวแบบไถกลบฟาง ไม่ได้ใส่ปุ๋ยเคมีแม้แต่เม็ดเดียว ได้ผลผลิต 80 ถัง/ไร่

เนื่องจากต้นข้าวเป็นพืชอายุสั้นฤดูกาลเดียว ย่อมต้องการสารอาหารไม่มากนัก ปริมาณสารอาหารที่เกิดเองตามธรรมชาติโดยการสะสมอย่างต่อเนื่องยาวนานมาก่อน กับส่วนที่ใส่เติมเพิ่มให้ใหม่นั้น ถือว่าเพียงพอต่อความต้องการแล้ว

ดินที่มีความสมบูรณ์ 100 % เมื่อใส่ปุ๋ยเคมีลงไปแต่ละครั้งต้นพืชสามารถนำไป ใช้หรือได้นำไปใช้จริงเพียง 4 ใน 10 ส่วนเท่านั้น ทำให้ 6 ใน 10 ส่วนยังคงเหลือตกค้างอยู่ในดิน นั่นหมายความว่า แปลงนาที่เคยใส่ปุ๋ยเคมี 10 กก./ไร่ จะเหลือตกค้างอยู่ในดิน 6 กก.ต่อการใส่ 1 ครั้งเสมอ

ข้าวพันธุ์พื้นเมืองที่สายพันธุ์ถูกพัฒนาขึ้นมาโดยกระบวนทางธรรมชาติร้อยเปอร์เซ็นต์ เหมาะสำหรับการทำนาข้าวแบบไม่พึ่งพาปุ๋ยเคมีมากที่สุด นอกจากไม่พึ่งพาแล้วยังไม่ตอบสนองอีกด้วย ส่วนข้าวสายพันธุ์ใหม่ที่นักวิทยาศาสตร์สร้างขึ้นมานั้น เป็นข้าวสายพันธุ์ที่ต้องพึ่งพาปุ๋ยเคมีร้อยเปอร์เซ็นต์ หากไม่ได้รับสารอาหารจากปุ๋ยเคมีการเจริญเติบโตจะไม่เต็มที่

สรุป :
เมื่อไม่คิดจะพึ่งพาสารอาหารพืชจากปุ๋ยเคมี ก็จะต้องจัดเตรียมให้มีสารอาหารจากธรรมชาติ (อินทรีย์ วัตถุ) ทดแทนให้มากที่สุดเท่าที่ต้นข้าวต้องการ และทำนาดำจะได้ผลดีกว่านาหว่าน

ขั้นตอนการทำนาข้าว แบบไม่พึ่งพาพึ่งพาปุ๋ยเคมี :
เตรียมดิน :
- เป็นแปลงนาที่ผ่านการทำนาแบบ อินทรีย์ นำ-เคมี เสริม. ไถกลบฟาง. และ ไม่ใช้สารเคมีทุกชนิด. ติดต่อกันมาไม่น้อยกว่า 2-3 ปี

- ก่อนลงมือทำนาข้าวแบบไม่พึ่งพาปุ๋ยเคมีต้องทำนาแบบปีละ 2 รุ่นติดต่อกัน และช่วงพักดินได้พักดินปรับปรุงบำรุงดินด้วยพืชตระกูลถั่ว ไถกลบเศษซากต้นถั่วลงดินมาแล้ว อย่างน้อย 1 รอบการผลิต

- แปลงนา 1 ไร่ ให้ทำเทือกโดยการใช้ “ไถกลบฟาง + ยิบซั่ม 50 กก. + กระดูกป่น 10 กก. + ปุ๋ยน้ำชีวภาพ สูตรฟาจีก้า 2 ล. + จุลินทรีย์หน่อกล้วย + ปุ๋ยอินทรีย์หมักสูตรซุปเปอร์ห้าดาว (หมักข้ามปี) 20-30 กระสอบปุ๋ย” ไถกลบลงดินแล้วหมักทิ้งไว้ 7-10 วัน เพื่อเป็นการบ่มดิน ก่อนลงมือหว่านดำให้ตีเทือกซ้ำอีกครั้ง

เตรียมเมล็ดพันธุ์ :
แช่เมล็ดพันธุ์ใน น้ำ 100 ล.+ น้ำคั้นขิงสด 1 ล. หรือ ไคตินไคโตซาน 200 ซีซี. + จุลินทรีย์หน่อกล้วย 1 ล. นาน 24 ชม. ครบกำหนดแล้ว ห่มชื้น ต่ออีก 24-48 ชม. เมื่อเห็นว่ารากเริ่มงอกแล้วก็ให้นำไปหว่านได้

หมายเหตุ :
- ในน้ำคั้นขิงสด-น้ำคั้นเมล็ดข้าวโพดสด-น้ำมะพร้าวอ่อน. มีฮอร์โมนเร่งราก
- จุลินทรีย์แอ็คติโนมัยซิส ในหน่อกล้วย ช่วยกำจัดเชื้อโรคที่ปนเปื้อนมากับเมล็ดพันธุ์ได้

บำรุง :
1. ระยะกล้า

ทางใบ :
- ให้น้ำ 100 ล. + ปุ๋ยน้ำชีวภาพ สูตรฟาจีก้า 100 ซีซี.+ สารสมุนไพร 200 ซีซี.ทุก 5-7 วัน ด้วยการฉีดพ่นให้เปียกโชกลงถึงพื้นดิน

- ฉีดพ่นสารสัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- ควบคุมปริมาณน้ำพอแฉะหน้าดินให้เสมอกันทั่วทั้งแปลง

หมายเหตุ :
ในน้ำมะพร้าวอ่อน หรือในเมล็ดเริ่มงอก มีฮอร์โมนเร่งยอด ถ้าให้แก้ต้นข้าวระยะกล้า 2-3 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน จะช่วยให้ต้นกล้าโตเร็ว

2. บำรุงระยะแตกกอ- ตั้งท้อง
ทางใบ :
- ให้น้ำ 100 ล. + ไทเป (ไม่ปุ๋ยเคมี) 100 ซีซี. + สารสมุนไพร 200 ซีซี. ทุก 5-7 วัน ฉีดพ่นให้เปียกโชกลงถึงพื้นดิน

- ฉีดพ่นสารสัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- ควบคุมปริมาณน้ำพอแฉะหน้าดินให้เสมอกันทั่วทั้งแปลง

3. บำรุงระยะออกรวง
ทางใบ :
- ให้น้ำ 100 ล. + ไทเป (ไม่ปุ๋ยเคมี) 100 ซีซี. + เอ็นเอเอ.(ทำเอง) 100 ซีซี. + สารสมุนไพร 200 ซีซี. ทุก 5-7 วันด้วย ฉีดพ่นให้เปียกโชกลงถึงพื้นดิน

- ฉีดพ่นสารสัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- ควบคุมปริมาณน้ำพอแฉะหน้าดินให้เสมอกันทั่วทั้งแปลง

หมายเหตุ :
- ไทเป (ไม่ปุ๋ยเคมี) ช่วยให้พืชประเภทออกดอกติดผลง่ายอย่างข้าวออกดอกดี

4. บำรุงระยะน้ำนม
ทางใบ :
- ให้น้ำ 100 ล. + ปุ๋ยน้ำชีวภาพ สูตรฟาจีก้า 100 ซีซี.+ ฮอร์โมนสมส่วน 200 ซีซี.+ เอ็นเอเอ.(ทำเอง) 50 ซีซี. ทุก 5-7 วัน ฉีดพ่นให้เปียกโชกลงถึงพื้นดิน

- ฉีดพ่นสารสัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
ทางราก :
- ควบคุมปริมาณน้ำพอแฉะหน้าดินให้เสมอกันทั่วทั้งแปลง
หมายเหตุ :

.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 28/01/2024 10:57 am, แก้ไขทั้งหมด 4 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 26/01/2024 12:43 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
หมายเหตุ :
- ฮอร์โมนสมส่วน (ทำเอง) ช่วยขยายขนาดทั้งต้นและเมล็ดให้มีขนาดใหญ่ขึ้น
- ไทเป (ไม่ปุ๋ยเคมี) และ เอ็นเอเอ. (ทำเอง) ช่วยให้ต้นได้รับสารอาหารเสริมเพิ่มขึ้น
- ในฮอร์โมนไข่มีส่วนผสมของนม และในนมมีแคลเซียมช่วยบำรุงเมล็ด (ผล) ให้สมบูรณ์ดียิ่งขึ้น

- การให้เลือดสดสูตรปรับโมเลกุล, ปุ๋ยน้ำชีวภาพ สูตรฟาจีก้า ฉีดพ่นให้เปียกโชกลงถึงพื้น 2-3 รอบ ห่างกันรอบละ 7-10 วัน จะช่วยเพิ่มน้ำหนักเมล็ดข้าวได้ดี

4. บำรุงระยะก่อนเกี่ยว
ทางใบ :
- ให้น้ำ 100 ล.+ นมสด 200 ซีซี. + สารสมุนไพร 200 ซีซี. ฉีดพ่นให้เปียกโชกลงถึงพื้นดิน 1 รอบก่อนเกี่ยว 7-10 วัน

- ฉีดพ่นสารสัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- ควบคุมปริมาณน้ำพอแฉะหน้าดินให้เสมอกันทั่วทั้งแปลง
- งดน้ำก่อนเกี่ยว 7-10 วัน

หมายเหตุ :
ให้ “น้ำคั้นใบเตยสด + น้ำมะพร้าวแก่” โดยฉีดพ่นพอเปียกใบ 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน ให้ครั้งสุดท้ายก่อนเกี่ยว 5-7 วัน ช่วยให้ข้าวมีกลิ่นหอมดีขึ้น และช่วยลดความชื้น

=========================================================


ไม้ผลยอดนิยม

กระท้อน
ลักษณะทางธรรมชาติ :

- เป็นไม้ผลยืนต้นขนาดใหญ่อายุนับร้อยปี หากปล่อยให้โตอย่างอิสระอยู่ในสภาพ แวดล้อมที่เหมาะสม และได้รับการปฏิบัติบำรุงดีสามารถสูงได้ถึงกว่า 20 ม. ขนาดทรงพุ่มกว้าง 10-20 ม. เมื่ออายุต้นมากขึ้นหรือเป็นต้นแก่แล้ว การให้ผลผลิตจะลดลงทั้งความดกและคุณภาพ แก้ไขโดยตัดแต่งกิ่งทำสาวให้เหลือขนาดทรงพุ่มสูงและกว้าง 3-4 ม. แล้วบำรุงสร้างกิ่งใหม่ก็จะกลับคืนสภาพเป็นต้นสาวที่ให้ผลดกและคุณภาพดีเหมือนเดิม

- เป็นผลไม้เขตร้อนสามารถปลูกได้ในพื้นที่ทุกภาค ทุกพื้นที่ และทุกฤดูกาล ชอบดินเหนียวปนทราย ดินเหนียวร่วนหรือดินลูกรังแดงร่วน มีอินทรีย์วัตถุมากๆ สารอาหารสมบูรณ์ โปร่ง น้ำและอากาศผ่านสะดวก เนื้อดินลึกไม่น้อยกว่า 1.5 ม.

- ผลผลิตออกสู่ตลาดในช่วงเดือน พ.ค.- มิ.ย.- ก.ค. เป็นกระท้อนปีหรือในฤดูกาล แม้ว่าจะไม่ใช่ผลไม้ยอดนิยมระดับแนวหน้า แต่มีเสน่ห์ตรงที่ออกสู่ตลาดในช่วงที่ผลไม้ระดับแนวหน้าอย่างมะม่วง ทุเรียน เงาะ
มังคุด วายหรือหมดไปจากตลาดแล้วและออกก่อนลำไย จะมีคู่แข่งก็แต่ผลไม้ประเภทออกตลอดปีเท่านั้น

- ให้ผลผลิตปีละ 1 รุ่น ปัจจุบันยังไม่มีฮอร์โมนหรือสารใดๆบังคับให้ออกนอกฤดูได้ และก็ไม่มีสายพันธุ์ทะวายอีกด้วย การบังคับจึงทำได้เพียงบำรุงให้ออกก่อนฤดูหรือหลังฤดูด้วยช่วงสั้นๆ เท่านั้น

- ต้นที่ปลูกจากกิ่งตอน กิ่งทาบ ติดตา เสียบยอด มีแต่รากฝอยจะเริ่มให้ผลผลิตได้เมื่ออายุ 3-4 ปี แต่ถ้าเป็นต้นที่ได้รับการเสริมราก 1-2 รากสามารถให้ผลได้ภายใน 2-3 ปี แล้วจะให้ผลผลิตได้ต่อเนื่องนานถึง 30 ปี

เนื่องจากกระท้อนเป็นไม้ยืนต้นอายุนับ 100 ปี ถ้าต้นนั้นปลูกจากกิ่งที่มีแต่รากฝอยเมื่อต้นใหญ่มากขึ้นทรงพุ่มต้านลมมากๆอาจทำให้ต้นล้มได้ แนวทางแก้ไข คือ เสริมราก 1-2 รากด้วยต้นที่มีรากแก้ว (เพาะเมล็ด) ซึ่งนอกจากจะช่วยยึดต้นได้ดีแล้วยังช่วยเพิ่มจำนวนรากในการหาอาหารอีกด้วย

- กระท้อนสายพันธุ์เดียวกัน ปลูกในแปลงเดียวกัน และบำรุงอย่างเดียวกัน แต่คุณภาพผลผลิตแตกต่างกันเนื่องมาจากสภาพโครงสร้างภายในประจำตัว กระท้อนต้นที่หลังใบมีขนปุยคล้ายกำมะหยี่มักให้ผลผลิตคุณภาพเหนือกว่าต้นที่หลังใบเรียบมันวาว

- ต้นพันธุ์ระยะกล้าสังเกตได้ยากมากว่าต้นไหนเป็นพันธุ์ไหน เพราะระยะกล้ากระท้อนทุกสายพันธุ์จะมีลักษณะคล้ายกันมาก การให้ได้สายพันธุ์แท้ตามต้องการต้องมาจากแหล่งเชื่อถือได้จริงๆเท่านั้น

- ดอกเป็นดอกสมบูรณ์เพศ เกสรตัวเมียพร้อมรับการผสมทั้งจากเกสรตัวผู้ทั้งในดอกเดียวกัน และเกสรตัวผู้จากดอกอื่นในต้นเดียวกันหรือจากต่างต้น

- อายุดอกตูม-ดอกบาน (ผสมติด) 25-30 วัน และอายุผลเล็ก-ผลแก่เก็บเกี่ยว 5-6 เดือน
- ออกดอกจากซอกใบปลายกิ่งของกิ่งอายุข้ามปี ออกได้ทั้งกิ่งชายพุ่มและกิ่งในทรงพุ่มแบบทยอยออกนาน 7-10 วัน

- การติดผลมีทั้งผลเดี่ยวและเป็นพวงตั้งแต่ 2-5 ผล ขนาดผลขึ้นอยู่กับสายพันธุ์และการบำรุง
- ปลูกกระท้อนสายพันธุ์ให้ผลดกถึงดกมาก ระยะห่างระหว่างต้น 8 x 8 ม. (1 ไร่ = 11 ต้น) เลี้ยงทรงพุ่มให้สูงอิสระ 5-6 ม. (ตัดยอดประธาน) ทรงพุ่มกว้างชนต้นข้างเคียง เว้นช่องว่าระหว่างต้นพอให้แสงแดดส่องผ่านได้ ตัดแต่งกิ่งภายในโปร่งให้แสงแดดผ่านเข้าไปได้เท่ากันดีทั่วพื้นที่ภายในทรงพุ่ม 40-50% ต้นได้รับการเสริมราก 2-3 ราก และได้รับการปฏิบัติบำรุงอย่างถูกต้องสม่ำเสมอต่อเนื่องนานหลายปีติดต่อกัน เมื่ออายุต้นโตเป็นสาวเต็มที่สามารถให้ผลผลิตมากถึง 2,000 ผล

- แต่ละช่วงของการพัฒนาทั้งต้นและผลต้องการน้ำค่อนข้ามากและสม่ำเสมอ แต่ช่วง ปรับ ซี/เอ็น เรโช ถึง ก่อนเปิดตาดอก ต้องการน้ำน้อย ดังนั้น การเตรียมพื้นที่ปลูกจะต้องสามารถควบคุมปริมาณน้ำใต้ดินโคนต้นให้ได้อย่างแท้จริง

- ธรรมชาติกระท้อนมักออกดอกแล้วติดผลเล็กครั้งละจำนวนมาก จากนั้นจะสลัดผลเล็กทิ้งเองจนเหลือไม่มาก แก้ไขโดยบำรุงต้นให้สมบูรณ์จริงๆด้วยวิธีให้มีสารอาหารกินตลอด 24 ชม.ต่อเนื่องนานหลายๆปี กับทั้งให้ฮอร์โมนบำรุงดอก. บำรุงผลเล็ก. อย่างถูกต้องตรงตามจังหวะ และเมื่อผลโตขึ้นการซอยผลออกบ้างเท่าที่จำเป็น

- เกสรตัวผู้หรือเกสรตัวเมียอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างไม่สมบูรณ์ ซึ่งเกิดจากขาดสารอาหาร/ฮอร์โมน หรือสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม (อากาศร้อนหรือฝนตกชุก) แล้วผสมกัน เมื่อพัฒนาเป็นผลจะเป็นผลไม่สมบูรณ์ ไม่โต รูปทรงบิดเบี้ยว

- ขั้นตอนการปรับ ซี/เอ็น เรโช.โดยการงดน้ำนั้น แม้จะได้เตรียมความสมบูรณ์ของต้นไว้พร้อมก่อนแล้ว ถ้ามาตรการควบคุมปริมาณน้ำ (งดน้ำ) จนทำให้ใบแก่โคนกิ่งสลดจนแห้งแล้วร่วงไม่ได้ก็จะทำให้เปิดตาดอกไม่ออก หรือเปิดตาดอกแล้วออกมาเป็นใบอ่อนแทนได้

- การห่อผลมีความจำเป็นอย่างยิ่ง นอกจากช่วยป้องกันแมลงวันทองแล้วยังช่วยทำให้ผิวสวย ผิวเป็นกำมะหยี่ดี และเนื้อในดีอีกด้วย

- เริ่มห่อผลเมื่อผลอายุ 50-55 วัน หรือขนาดมะนาว หรือผลเริ่มเปลี่ยนสีจากเขียวเป็นเหลืองอ่อน และเก็บเกี่ยวได้หลังจากห่อผล 1 เดือน หรือเมื่ออายุผลได้ 5-6 เดือนหลังออกดอก

- สังเกตลักษณะผลแก่ได้จากเส้นบนผิวผลจากขั้วผลถึงก้นผล ถ้าเส้นยังนูนเด่นชัดแสดงว่ายังแก่ไม่จัด ถ้าเส้นหายไปหรือเรียบเนียนกับผิวผลแสดงว่าผลแก่จัดแล้ว หรือสังเกตที่สีเปลือกผลเปลี่ยนเป็นสีน้ำหมาก

- การห่อด้วยถุงพลาสติกจะทำให้ผลเสียหายเพราะระบายความชื้นไม่ดี ควรห่อด้วยกระดาษถุงปูนซีเมนต์เท่านั้น วัสดุห่อผลดีที่สุด คือ ใบตองแห้ง เรียกว่า กระโปรง แต่เนื่อง จากมีราคาแพงและจัดทำยากจึงไม่ได้รับความนิยม

การห่อผลด้วยกระโปรงใบตองชั้นในก่อน แล้วห่อทับซ้อนด้วยถุงกระดาษปูนซิเมนต์อีกชั้นหนึ่งจะทำให้คุณภาพผลดีกว่าการห่อแบบชั้นเดียว

- ห่อผลต้องทำด้วยความประณีต มือเบาๆ ถ้าทำแรงมือหนักจนขั้วได้รับความกระทบกระเทือน ผลจะไม่ร่วงเดี๋ยวนั้นแต่จะร่วงหลังจากห่อผลแล้ว 7-10 วัน

- ควรเลือกใช้ถุงห่อขนาดใหญ่ๆ เพื่อให้อากาศภายในถุงถ่ายเทสะดวก โดยเฉพาะผลกระท้อนที่ติดเป็นพวงจะต้องใช้ถุงห่อขนาดใหญ่พิเศษ

- ผลที่ไม่ได้ห่อ คุณภาพผลนอกจากเนื้อจะแข็งกระด้าง ปุยน้อยแล้ว ผิวเปลือกก็ไม่เป็นกำมะหยี่อีกด้วย ผลแบบนี้เหมาะสำหรับทำกระท้อนดอง

- เป็นผลไม้ที่ไม่ต้องบ่มหลังเก็บเกี่ยว คุณภาพของผลแก่จัด (ผลสุก) ขณะอยู่บนต้นเป็นเช่นไรเมื่อเก็บลงมาแล้วก็คงเป็นเช่นนั้น ผลที่ครบอายุเก็บเกี่ยวแล้วหากปล่อยทิ้งคาต้นนานหลายวันเกินไปคุณภาพจะด้อยลง ดังนั้นจึงให้เก็บเกี่ยวกระท้อน ณ วันที่ครบอายุผลพอดีรับประทาน

- กระท้อนทุกสายพันธุ์ มีความอร่อยตามธรรมชาติของตัวเอง เป็นเอกลักษณ์อยู่แล้ว สารอาหารหรือปุ๋ยที่จะช่วยดึงความอร่อยประจำสายพันธุ์ออก มาได้ คือ ธาตุรอง/ธาตุเสริม โดยเฉพาะ Mg Zn CaB ทั้งทางใบทางราก ทั้งช่วงมีผลบนต้นไม่มีผลบนต้น เรียกว่า “รสจัดจ้าน” นั่นแหละ

- กระท้อนก็เหมือนกับผลไม้อื่นอีกหลายชนิด หลังจากเก็บลงมาจากต้นแล้วปล่อยทิ้งไว้เพื่อให้ลืมต้น สัก 2-3 วันจะทำให้มีรสชาติหวานขึ้น เก็บในอุณหภูมิปกติอยู่ได้นาน 5-7วัน หรือเก็บในอุณหภูมิ 15-17 องศาอยู่ได้นาน 20 วัน

- ความดกและคุณภาพของผลด้านขนาด รูปทรง สีผิว ความนุ่มหนาของเนื้อและปุย ความเล็กของเมล็ด กลิ่นและความหวาน ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ที่ได้รับจากการบำรุงมากกว่า คุณลักษณะของสายพันธุ์

- สายพันธุ์ผลใหญ่แม้จะได้รับการปฏิบัติบำรุงไม่เต็มที่ ผลที่ออกมากก็ยังใหญ่หรืออาจย่อมลงมาเล็กน้อยแต่จะไม่ดก ส่วนสายพันธุ์ผลเล็กแม้จะได้รับการปฏิบัติบำรุงดีเพียงใด ผลที่ออกมาก็ยังเป็นผลขนาดเล็ก หรืออาจใหญ่กว่าปกติเล็กน้อยแต่การติดผลจะดกขึ้น

- ผลไม้ทั่วไปช่วงผลแก่จัดใกล้เก็บเกี่ยวต้องงดน้ำเพื่อให้เนื้อแห้งกรอบ กรณีของกระท้อนไม่ต้องงดน้ำแต่กลับต้องให้น้ำสม่ำเสมอ เพื่อให้เนื้อฉ่ำนิ่มจนใช้ช้อนตักรับประทานได้ ถ้างดให้น้ำช่วงผลแก่จัดใกล้เก็บเกี่ยวเนื้อแข็งไม่เหมาะสำหรับรับประทานผลสด แต่ดีสำหรับทำกระท้อนแปรรูป

- ออกดอกติดผลจากกิ่งอายุข้ามปี การตัดแต่งกิ่งหลังเก็บเกี่ยวผลผลิตควรตัดเฉพาะกิ่งที่มีผลผลิตแล้วบำรุงสร้างยอดขึ้นมาใหม่สำหรับใช้เป็นกิ่งให้ออกดอกติดผลในปีต่อไปส่วนกิ่งที่ปีนี้ยังไม่ออกดอกติดผลไม่ต้องตัดแต่ให้บำรุงต่อไปเลย เมื่อได้รับการบำรุงต่อก็จะออกดอกติดผลได้ในฤดูกาลถัดไป

- เนื่องจากผลมีขนาดใหญ่ น้ำหนักมาก เมื่อลมพัดจะทำให้ผลแกว่งไปมาแล้วไปกระทบกับกิ่งข้างๆ ทำให้ผลเสียหาย แก้ไขด้วยการปลูกไม้บังลม

- ขนาดลำต้นใหญ่ความสูงมากๆ ทรงพุ่มกว้าง ให้ทำค้างไม้แบบถาวรเป็นคอกสี่เหลี่ยมล้อมรอบต้น จัดให้มีไม้พาดเป็นทางเดินภายในทรงพุ่มสูง 1-2-3 ชั้นตามความเหมาะสมจะช่วยให้การเข้าปฏิบัติงานในทรงพุ่ม เช่น การตัดแต่งกิ่ง ห่อผล ทำได้สะดวกยิ่งขึ้น

- หลังจากต้นเป็นสาวพร้อมให้ผลผลิตแล้วให้บำรุงแบบทำให้ต้นมีสารอาหารกินตลอด 24 ชม.ต่อเนื่องทั้งปีและหลายๆปีติดต่อกัน โดยฝังซากสัตว์ (หอยเชอรี่ หัว/พุงปลา ซี่ โครงไก่) ที่ชายพุ่ม 4-5 หลุม/ต้น (ทรงพุ่ม 5 ม.) ปีละครั้ง และปีรุ่งขึ้นให้ฝังระหว่างหลุมของปีที่แล้ว

- ติดตั้งระบบสปริงเกอร์ในใจกลางทรงพุ่มและเหนือทรงพุ่ม เป็นการเพิ่มทั้งประ สิทธิภาพและประสิทธิผลของงานฉีดพ่นทางใบได้ดีกว่าเครื่องมือฉีดพ่นทุกประเภท

- ค่อนข้างอ่อนแอต่อปุ๋ยน้ำชีวภาพที่มีกากน้ำตาลเป็นส่วนผสมทุกชนิด ทั้งๆที่ใช้ในอัตราเข้มข้นเท่ากับไม้ผลอื่นๆ ดังนั้น ถ้าจะใช้ปุ๋ยน้ำชีวภาพฉีดพ่นทางใบจะต้องใช้ในอัตราน้อยกว่าไม้ผลอื่นๆ 1 เท่าตัวเสมอ

- การปลูกกล้วยลงในแปลงปลูกก่อนเพื่อเตรียมให้เป็นไม้พี่เลี้ยง เมื่อกล้วยยืนต้นได้แล้วจึงลงต้นกล้ากระท้อนพร้อมกับทำบังร่มเงาช่วยอีกชั้นหนึ่งจะช่วยให้ต้นกล้ายืนต้นได้เร็วสมบูรณ์แข็งแรง

- การพูนโคนต้นด้วยอินทรียวัตถุปีละ 1-2 ครั้งจะช่วยให้ต้นแตกรากใหม่ดี และต้นที่ได้รับการเสริมราก 1-2รากนอกจากจะช่วยให้ต้นมีรากหาอาหารมากขึ้นแล้วยังช่วยให้ต้นอายุยืนนานขึ้นอีกด้วย

- อายุต้น 3-4 ปีขึ้นไป หรือได้ความสูง 3-5 ม. แล้ว ให้ตัดยอดประธาน (ผ่ากบาล) เพื่อควบคุมขนาดความสูง จากนั้นจึงตัดแต่งกิ่งเพื่อควบคุมขนาดความกว้างทรงพุ่มต่อไป

- การตัดแต่งกิ่งให้เหลือกิ่งกระจายรอบทรงพุ่มเสมอกันจนแสงแดดส่องทั่วภายในทรงพุ่มจะช่วยให้กิ่งภายในทรงพุ่มออกดอกติดผลแล้วพัฒนาผลจนมีคุณภาพดีได้

- ใบกระท้อนแก่ตากแห้ง บดละเอียด ใช้ผสมพริกป่น เพื่อลดความเผ็ดของพริกลง และเพิ่มสีพริกให้จัดขึ้นได้ ทำให้การปลูกกระท้อนเพื่อขายใบกลายเป็นรายได้เสริมอีกทางหนึ่งที่น่าพิจารณา

- ต้นไม้ไม่รู้ปฏิทิน วันที่ผลสุดท้ายหลุดจากต้น คือ วันสุดท้ายของปีการผลิต หรือรุ่นการผลิต และ รุ่งขึ้น คือ วันแรกของปีการผลิต หรือรุ่นการผลิต

ขั้นตอนการปฏิบัติบำรุงกระท้อน
1. เรียกใบอ่อน :

ทางใบ :
- ให้ ไบโออิ 25-5-5 + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับด้วยแคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- ใส่ยิบซั่ม ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยคอก (ขี้วัวขี้ไก่ไข่ แกลบดิบ แห้งเก่าข้ามปี) กระดูกป่น ครั้งที่ 1 ของรุ่นหรือปีการผลิต

- ใส่ 25-7-7 (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นกลาง, 2 กก.ต้นใหญ่) ละลายน้ำรดโคนต้น บริเวณทรงพุ่ม

- คลุมโคนต้นด้วยเศษพืชแห้งหนาๆ เต็มพื้นที่บริเวณทรงพุ่ม ล้ำออกไปถึงนอกเขตทรงพุ่ม
-ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 (2 ล.) /ไร่ รดทั่วแปลงทุกตารางนิ้ว

หมายเหตุ :
- เริ่มปฏิบัติทันที่ ณ วันรุ่งขึ้น หลังจากผลลูกสุดท้ายหลุดจากต้น และหลังตัดแต่งกิ่ง
- ต้นไม้ไม่รู้ปฏิทิน วันที่ผลสุดท้ายหลุดจากต้น คือ วันสุดท้ายของปีการผลิต หรือรุ่นการผลิต และวันรุ่งขึ้น คือ วันแรกของปีการผลิต หรือรุ่นการผลิต

- เทคนิคการ ตัดแต่ง-เรียกใบอ่อน แบบ “บำรุงก่อนตัด” กล่าวคือ ระหว่างที่ต้นเลี้ยงลูกนั้น ต้นต้องใช้พลังงานอย่างมาก จนทำให้ต้นโทรม หลังจากผลลูกสุดท้ายหลุดจากต้นแล้วให้บำรุงด้วยสูตรเรียกใบอ่อน ทั้งทางใบและทางราก หรือเฉพาะทางใบอย่างเดียวก่อน 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน เพื่อให้ต้นได้ใช้ใบเดิมที่มีสังเคราะห์อาหาร เมื่อเห็นว่า ต้นมีอาการสมบูรณ์ดี ทำท่าจะแตกยอดใหม่ ก็ให้ปฏิบัติการเรียกใบอ่อนทันที การที่ต้นมีความสมบูรณ์อยู่ ต้นก็จะแตกใบอ่อนใหม่ เร็ว ดี มาก และพร้อมกันทั่วทั้งต้น

- ตัดทิ้งกิ่งกระโดง กิ่งคด กิ่งงอ กิ่งไขว้ กิ่งชี้เข้าในทรงพุ่ม กิ่งชี้ลงล่าง กิ่งเป็นโรค ซึ่งเป็นกิ่งที่เหมาะสมต่อการออกดอก และกิ่งที่มีผลแล้ว ทั้งนี้ กระท้อนจะออกดอกติดลูกจากกิ่งข้ามปี เพราะฉะนั้นกิ่งอายุปีนี้ ตำแหน่งที่เหมาะสมต่อการออกดอกให้คงเก็บไว้ให้ออกดอกปีหน้า

2. เร่งใบอ่อนเป็นใบแก่ :
ทางใบ :
- ให้ไบโออิ 0-21-74 หรือ 0-39-39 + สารสมุนไพร 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
ให้น้ำปกติ ทุก 2-3 วัน
หมายเหตุ :
- เริ่มลงมือปฏิบัติเมื่อใบอ่อนเริ่มแผ่กางรับแสงแดดได้
- วัตถุประสงค์เพื่อเร่งใบชุดใหม่ให้สามารถสังเคราะห์อาหารได้ และเร่งระยะเวลาเรียกใบอ่อนชุดต่อไปได้เร็วขึ้น กับทั้งเพื่อให้ใบอ่อนรอดพ้นจากทำลายของแมลงประเภทปากกัดปากดูด

- ถ้าต้องการให้ใบแก่เร็วขึ้นอีกก็ให้ฉีดพ่นตั้งแต่ใบเริ่มแผ่กางเพียงเล็กน้อย หรือฉีดพ่นก่อนที่ใบแผ่กาง (เพสลาด) นั่นเอง

- สารอาหารในกลุ่มเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่มีฟอสฟอรัส. และโปแตสเซียม.สูง นอก จากช่วยทำให้ใบเป็นใบแก่แล้ว ยังเสริมประสิทธิภาพขั้นตอนสะสมอาหารเพื่อการออกดอกได้อีกด้วย

- ถ้าปล่อยให้ใบอ่อนออกมาแล้วเป็นแก่เองตามธรรมชาติต้องใช้เวลา 30-45 วัน

3. สะสมอาหารเพื่อการออกดอก :
ทางใบ :
- ให้ไบโออิ 0-42-56 + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับด้วยแคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน นาน 1-2 เดือน .... ในรอบเดือนหาโอกาสให้น้ำตาลทางด่วน (กลูโคส) 1 ครั้ง

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
-ใส่ 8-24-24 (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นกลาง, 2 กก.ต้นใหญ่) /ต้น /เดือน ละลายน้ำรดโคนต้น บริเวณทรงพุ่ม

- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 8-24-24 (2 ล.) /เดือน รดทั่วแปลง ทุกตารางนิ้ว
- ให้น้ำปกติทุก 2-3 วัน

หมายเหตุ :
- เริ่มปฏิบัติหลังจากใบอ่อนชุดสุดท้ายเพสลาด
- ปริมาณ 8-24-24 ใส่มากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับปริมาณการติดผลในรุ่นปีผลิตที่ผ่านมา กล่าวคือ ถ้ารุ่นปีผลิตที่ผ่านมาติดผลดกมาก ผลผลิตมีคุณภาพดีมาก ให้ใส่ในปริมาณที่มากขึ้น แต่ถ้ารุ่นปีผลิตที่ผ่านมาติดผลดกน้อยหรือไม่ติดผลเลย ให้ใส่ในปริมาณปานกลาง

- การเพิ่มปริมาณปุ๋ยให้มากขึ้น หมายถึง การให้อัตราเดิมแต่ระยะเวลาให้ถี่ขึ้น เช่น จากเคยให้ 15 วัน/ครั้ง ก็ให้เปลี่ยนเป็น 10 วัน/ครั้ง

- แนวทางบำรุงให้ต้นได้สะสมอาหารเพื่อการออกดอกไว้มากที่สุดควรเตรียมแผนใช้เวลาบำรุง 2-3 เดือน ในห้วง 2-3 เดือนนี้ให้น้ำตาลทางด่วน (กลูโคส) 1-2 รอบ โดยรอบแรกให้เมื่อเริ่มลงมือบำรุง และให้รอบ 2 ห่างจากรอบแรก 20-30 วัน

- การสะสมอาหารเพื่อการออกดอกมีความสำคัญมาก ช่วงนี้จำเป็นต้องให้สาร อาหารกลุ่ม “สร้างดอก-บำรุงผล” ทั้งทางใบและทางรากให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้

- ก่อนเข้าสู่ขั้นตอนปรับ ซี/เอ็น เรโช ให้ทบทวนความทรงจำเมื่อครั้งเรียกใบอ่อนแล้วใบอ่อนออกมาพร้อมกันเป็นชุดเดียวทั่วทั้งต้นหรือไม่ ถ้าใบอ่อนออกมาพร้อมกันดีทั่วทั้งต้นให้ลงมือปรับ ซี/เอ็น เรโช ต่อไปได้เลย แต่ถ้าใบอ่อนออกมาไม่พร้อมกันเป็นชุดเดียวทั่วทั้งต้นและค่อนข้างต่างรุ่นกันมากให้บำรุงสะสมอาหารเพื่อการออกดอกต่อไปอีก 2-3 รอบ เพื่อรอให้ใบอ่อนชุดหลังได้สะสมอาหารจนอั้นตาดอกดีเท่ากับใบอ่อนชุดแรกเสียก่อน จาก นั้นจึงลงมือปรับ ซี/เอ็น เรโช ทั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อทำให้มีดอกออกมาพร้อมกันเป็นชุดเดียว กันทั่วทั้งต้นนั่นเอง

4. ตรวจสอบสภาพอากาศ ก่อนปรับ ซี/เอ็น เรโช :
ก่อนเริ่มลงมือปรับ ซี/เอ็น เรโช (งดน้ำ) และก่อนลงมือเปิดตาดอกต้องแน่ใจว่า ระหว่างที่กำลังบำรุงทั้งสองขั้นตอนนี้จะต้องไม่มีฝน เพราะถ้ามีฝนตกลงมาการงดน้ำก็ล้ม เหลว และดอกที่ออกมาจะได้รับความเสียหาย

ถ้ารู้แน่ว่าช่วงงดน้ำและเปิดตาดอกถึงช่วงดอกออกมาแล้วจะมีฝนก็ให้ระงับการปรับ ซี/เอ็น เรโช และเปิดตาดอกไว้ก่อน ให้บำรุงต้นต่อไปอีกด้วยสูตรสะสมอาหารเพื่อการออกดอก จากนั้นอาจจะปรับแผนการบำรุงเพื่อทำให้กระท้อนออกล่าฤดูด้วยการเลื่อนเวลาเริ่มปรับ ซี/เอ็น เรโช และเปิดตาดอกให้ช้าออกไปเท่าที่สภาพภูมิ อากาศจะอำนวยก็ได้

5. ปรับ ซี/เอ็น เรโช :
ทางใบ :
- ให้ไบโออิ 0-42-56 + สารสกัดสมุนไพร 1-2 รอบ สลับด้วยแคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ ระวังอย่าให้โชกจนตกลงถึงพื้น

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- เปิดหน้าดินโคนต้นโดยนำอินทรีย์วัตถุคลุมโคนต้นออกให้แดดส่องได้ทั่วพื้นดินทรงพุ่ม
- งดให้น้ำเด็ดขาด กรณีสวนยกร่องน้ำหล่อจะต้องสูบน้ำออกให้หมด

หมายเหตุ :
- วัตถุประสงค์เพื่อ “เพิ่ม” ปริมาณ ซี. (อาหารกลุ่มสร้างดอก-บำรุงผล) และ “ลด” ปริมาณ เอ็น. (อาหารกลุ่มสร้างใบ-บำรุงต้น) ซึ่งจะส่งผลให้ต้นออกดอกแน่นอนหลังการเปิดตาดอก

- เริ่มปฏิบัติหลังจากแน่ใจว่าต้นได้สะสมอาหาร หรือมีลักษณะอั้นตาดอกเต็มที่แล้วโดยสังเกตได้จากใบแก่โคนกิ่ง 2-3 ใบ ซึ่งเป็นใบอายุข้ามปีเหลืองร่วงพร้อมกันทั้งต้น

- ก่อนลงมือปรับ ซี/เอ็น เรโช ต้องติดตามข่าวพยากรณ์อากาศให้มั่นใจว่าระหว่างปรับ ซี/เอ็น เรโช จะไม่มีฝนตก เพราะถ้ามีฝนตกลงมามาตรการงดน้ำก็ต้องล้มเหลว

- ขั้นตอนการปรับ ซี/เอ็น เรโช ได้ผลสมบูรณ์หรือไม่ให้สังเกตจากต้น ถ้าต้นเกิดอาการใบสลดแสดงว่าในต้นมีปริมาณ ซี.มาก ส่วนปริมาณ เอ็น.เริ่มลดลง ความพร้อมของต้น อั้นตาดอก ก่อนเปิดตาดอก สังเกตได้จากลักษณะใบใหญ่หนาเขียวเข้ม ใบคู่สุดท้ายปลายกิ่งแก่จัด กิ่งและใบกรอบเปราะ ข้อใบสั้น หูใบอวบอ้วน ตาดอกโชว์นูนเห็นชัด

- เมื่อต้นมีอาการอั้นตาดอกดีจนพอใจแล้วไม่ต้องฉีดพ่นน้ำตาลทางด่วน (กลูโคส) เพิ่มอีก แต่ถ้าต้นมีอาการอั้นตาดอกไม่ดีหรือยังไม่น่าพอใจ แนะนำให้ฉีดพ่นน้ำตาลทางด่วนทางใบอีกซ้ำอีก 1 รอบ โดยเว้นระยะเวลาให้ห่างจากที่เคยให้เมื่อช่วงสะสมอาหารไม่น้อยกว่า 20-30 วัน

- การให้สารอาหารทางใบซึ่งมีน้ำเป็นส่วนผสมนั้น อย่าให้โชกจนตกลงถึงพื้นเพราะจะกลายเป็นการให้น้ำทางราก แนวทางปฏิบัติ คือ ให้บางๆ เพียงเปียกใบเท่านั้น

- เมื่องดน้ำหรือไม่รดน้ำแล้วจำเป็นต้องควบคุมปริมาณน้ำใต้ดินโคนต้นไม่ให้มากเกินไป โดยทำร่องระบายน้ำใต้ดินหรือร่องสะเด็ดน้ำด้วย

- กรณีสวนยกร่องน้ำหล่อต้องใช้ระยะเวลาในการงดน้ำนานมากกว่าสวนพื้นราบยกร่องแห้งจึงจะทำให้ใบสลดได้ อาจส่งผลให้แผนการผลิตที่กำหนดไว้คลาดเคลื่อน ดังนี้จึงจำ เป็นต้องสูบน้ำออกตั้งแต่ก่อนปรับ ซี/เอ็น เรโช โดยกะคะเนให้ดินโคนต้นแห้งถึงขนาดแตก ระแหง และมีความชื้นไม่เกิน 10% ตรงกับช่วงปรับ ซี/เอ็น เรโช พอดี

- มาตรการเสริมด้วยการ “รมควัน” ทรงพุ่มช่วงหลังค่ำ ครั้งละ 10-15 นาที 3-5 รอบห่างกันรอบละ 2-3 วัน จะช่วยให้การปรับ ซี/เอ็น เรโช สำเร็จเร็วขึ้น

6. ตรวจสอบสภาพอากาศ ก่อนเปิดตาดอก :
ก่อนลงมือเปิดตาดอกให้ตรวจสอบข่าวสภาพอากาศให้แน่ใจว่าในอีก 15-20 วัน ข้างหน้าหรือวันที่ช่อดอกเริ่มแทงออกมานั้น จะต้องไม่มีฝนตกหรือมีสภาพอากาศปิด (ครึ้มฟ้าครึ้มฝน) เพราะสภาพอากาศปิดหรือมีฝน ต้นกระท้อนจะเปิดตาดอกไม่ออก แม้จะอั้นตาดอกดีเพียงใดก็ตาม แต่กลับแทงใบอ่อนออกมาแทน กรณีนี้ให้ระงับการเปิดตาดอกไว้ก่อนแล้วบำรุงต้นด้วยสูตร “สะสมอาหารเพื่อการออกดอก” ต่อไปจนกว่าจะมั่นใจว่าในวันที่ช่อดอกออกมานั้นไม่มีฝนหรืออากาศเปิดแน่จึงลงมือเปิดตาดอก

7. สำรวจความพร้อมของต้น ก่อนเปิดตาดอก :
เนื้อใบหนาเขียวเข้มส่องแดดไม่ทะลุ เส้นใบนูนเด่น หูใบอวบอ้วน ข้อใบสั้น ใบคู่สุดท้ายปลายกิ่งแก่จัด ใบคู่แรกที่โคนกิ่งเหลืองร่วง ทรงต้นมองจากภายนอกระยะไกลๆ เห็นความสมบูรณ์ทางทรงพุ่มชัดเจน

8. เปิดตาดอก :
ทางใบ :
สูตร 1 .... น้ำ 100 ล. + 13-0-46 (1 กก.) + 0-52-34 (500 กรัม) + สาหร่ายทะเล 50 กรัม + สารสมุนไพร 250 ซีซี.

สูตร 2 .... น้ำ 100 ล. + ไทเป 100 ซีซี. + สารสมุน ไพร 250 ซีซี.

ทางราก :
- ยังคงเปิดหน้าดินโคนต้นเหมือนช่วงปรับ ซี/เอ็น เรโช
- ให้ 8-24-24 (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นกลาง, 2 กก.ต้นใหญ่) /ต้น
- ให้น้ำปกติ ทุก 2-3 วัน

หมายเหตุ :
- เริ่มปฏิบัติเมื่อต้นมีอาการอั้นตาดอกดีทั่วต้นและสภาพอากาศพร้อม
- ระหว่างสูตร 1-2-3-4 ให้เลือกใช้สูตรใดสูตรหนึ่งเพียงสูตรเดียว สลับกับสูตร 5 โดยให้ห่างกันครั้งละ 5-7 วัน ไม่ควรใช้สูตรใดสูตรหนึ่งเพียงสูตรเดียวติดต่อกัน เพราะจะทำให้เกิดอาการดื้อจนเปิดตาดอกไม่ออก

- ต้นที่ผ่านการบำรุงไม่เต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ หรือสภาพอากาศไม่ค่อยอำนวย หรือพันธุ์หนักออกดอกยาก แนะนำให้เปิดตาดอกด้วยสูตร 4 สลับกับสูตร 5

- เปิดตาดอกแล้ว ถ้าดอกออกมาไม่มากพอ ระหว่างที่ดอกชุดแรกยังเป็นดอกตูมอยู่นั้น ให้เปิดตาดอกซ้ำอีก1-2 รอบด้วยสูตรเดิม หรือจนกระทั่งดอกชุดแรกบานแล้วจึงยุติการเปิดตาดอกซ้ำ

- เปิดตาดอกแล้วมีทั้งใบอ่อนและดอกออกมาพร้อมกัน ให้เปิดตาดอกด้วยสูตรเดิมซ้ำอีก 1-2 รอบ นอกจากช่วยกดใบอ่อนที่ออกมาพร้อมกับดอกแล้วยังดึงช่อดอกที่ยังไม่ออกให้ออกมาได้อีกด้วย

9. บำรุงดอก :
ทางใบ :
- ให้ไบโออิ 15-45-15 (หน้าฝน) หรือ 0-52-34 (หน้าแล้ง) + สารสมุนไพร ฉีดพ่นพอเปียก ระวังอย่าให้โชกจนลงถึงพื้น

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- ยังคงเปิดหน้าดินโคนต้น
- ให้ 8-24-24 (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นใหญ่, 2 กก.ต้นใหญ่) /ต้น
- ให้น้ำปกติ ทุก 2-3 วัน

หมายเหตุ :
- ช่วงดอกตั้งแต่เริ่มแทงออกมาให้เห็นหรือระยะดอกตูม บำรุงด้วยฮอร์โมน เอ็นเอเอ. 1 รอบ จะช่วยบำรุงเกสรทั้งตัวผู้และตัวเมียให้สมบูรณ์พร้อมรับผสม แต่ต้องใช้ด้วยความระมัดระวังเพราะถ้าให้เข้มข้นเกินไปจะเกิดความเสียหายต่อดอกและถ้าให้อ่อนเกินไปก็จะไม่ได้ผล

- ช่วงดอกเริ่มแทงออกมาใหม่ๆให้แคลเซียม โบรอน. 1 รอบ จะช่วยให้ดอกสมบูรณ์ผสมติดดี

- ช่วงดอกตูมควรฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรให้บ่อยขึ้น เพื่อป้องกันกำจัดโรคและแมลงไปจนถึงช่วงดอกบาน

- ช่วงดอกบานควรงดการฉีดพ่นทางใบโดยเฉาะช่วงกลางวัน (08.00-12.00 น.) เพราะอาจทำให้เกสรเปียกจนผสมไม่ติดได้ หากจำเป็นต้องฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรให้ฉีดพ่นช่วงหลังค่ำ

- ระยะดอกบานถ้าตรงกับช่วงฝนชุกเกสรจะเปียกชื้นทำให้ผสมไม่ติด แก้ไขโดยกะระยะเวลาเปิดตาดอกให้ดอกออกมาแล้วไม่ตรงกับช่วงฝนชุกเท่านั้น แต่ถ้าดอกออกมาตรงกับช่วงแล้งอากาศร้อนมากเกสรจะฝ่อทำให้ผสมไม่ติดเช่นกัน แก้ไขโดยสร้างความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศและที่พื้นดิน ทั้งในแปลงปลูกและรอบๆแปลงปลูก.... มาตรการบำรุงต้นให้สมบูรณ์อยู่เสมอตั้งแต่ก่อนเปิดตาดอกจะช่วยลดความสูญเสียได้เป็นอย่างมาก

- เพื่อความมั่นใจในเปอร์เซ็นต์หรือประสิทธิภาพของฮอร์โมน เอ็นเอเอ. แนะนำให้ใช้ฮอร์โมนเอ็นเอเอ.วิทยาศาสตร์แทนฮอร์โมนทำเอง จะได้ผลดีกว่าเพราะเปอร์เซ็นต์ความเข้มข้นแน่นอนกว่า

- ควรฉีดพ่นเพื่อบำรุงดอกด้วยเครื่องมือฉีดพ่นที่มีแรงลมพ่นเบาที่สุดตามความเหมาะสม เพื่อไม่ให้กระทบกระเทือนต่อส่วนต่างๆ ของดอก ควรฉีดพ่นที่ช่อดอกโดยตรงพอเปียก หรือฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่มพอเปียกใบก็ได้

- บำรุงดอกช่วงฝนชุกให้เน้น “สังกะสี และ แคลเซียม โบรอน” โดยให้เมื่อดอกออกมาแล้วหรือให้แบบสะสมล่วงหน้าตั้งแต่ช่วงเปิดตาดอก ให้เดี่ยวๆ หรือผสมรวมไปกับธาตุอาหารอื่นๆ ก็ได้

- การไม่ใช้สารเคมีใดๆ เลยติดต่อกันมานานจะทำให้ให้มีผึ้งและมีแมลงธรรมชาติอื่นๆ เข้ามาช่วยผสมเกสร ซึ่งจะส่งผลให้การติดผลดีขึ้น

- ธรรมชาติกระท้อนช่วงออกดอกต้องการน้ำมากกว่าไม้ผลอื่นๆ ดังนั้นการบำรุงตั้ง แต่ช่วงเปิดตาดอกจนกระทั่งมีดอกออกมาควรเพิ่มปริมาณน้ำให้มากจะช่วยให้ดอกสมบูรณ์ดีขึ้น ช่วงนี้ถ้าขาดน้ำหรือได้น้ำไม่พอเพียงดอกจะแห้งและร่วง

- ต้นที่ได้รับ แม็กเนเซียม (จากไบโออิ). โบรอน (จากแคลเซียม โบรอน). สม่ำ เสมอแบบสะสม ถึงช่วงออกดอกแล้วเจอฝน ดอกจะแข็งแรงไม่ร่วงง่ายๆ หรือติดเป็นผลได้ดีเหมือนปกติ

10. บำรุงผลเล็ก-ผลกลาง :
ทางใบ :
- ให้ ไบโออิ + ยูเรก้า + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับด้วยแคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ

- ในรอบ 1 เดือน หาโอกาสให้น้ำตาลทางด่วน (กลูโคส) 1 รอบ
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- นำอินทรีย์วัตถุกลับเข้าคลุมโคนต้นให้เหมือนเดิม
- ใส่ยิบซั่มธรรมชาติ 10% ของอัตราการใส่เมื่อช่วงเตรียมดิน
- ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 21-7-14 (2 ล.) /ไร่ รดทั่วแปลงทุกตารางนิ้ว
- ให้ 21-7-14 (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นใหญ่, 2 กก.ต้นใหญ่) /ต้น /เดือน ละลายน้ำรดโคนต้น บริเวณทรงพุ่ม

- ให้น้ำปกติทุก 2-3 วัน

หมายเหตุ :
- เริ่มปฏิบัติหลังจากกลีบดอกร่วง หรือขนาดผลเท่าเมล็ดถั่วเขียว
- หาจังหวะให้น้ำตาลทางด่วน (กลูโคส) 1 ครั้ง เมื่ออายุผลแก่ได้ 50% นอกจากเป็นการบำรุงสร้างความสมบูรณ์แก่ต้น ส่งผลให้ผลผลิตรุ่นนี้ดี แล้วต่อไปถึงอนาคตผลผลิตรุ่นหน้าหรือรอบหน้าอีกด้วย

- การบำรุงผลด้วยยูเรก้า หรืออเมริกาโน่ สูตร “ขยายขนาดผล” กรณีผลเดียวเดี่ยวๆในช่อ จะได้ขนาดโตกว่ามาตรฐานสายพันธุ์ 50-75% .... กรณี 2 ผลใน 1 ช่อ จะได้ขนาดโตกว่ามาตรฐานเล็กน้อย หรือเท่ามาตรฐาน .... กรณี 3-4 ผลใน 1 ช่อ จะได้ขนาดเล็กกว่ามาตรฐานสายพันธุ์ .... ดังนั้น หากต้องการขนาดผลใหญ่กว่ามาตรฐานสายพันธุ์ก็ต้องซอยลดจำนวนผลในช่อลง

- การบำรุงระยะผลขนาดกลางต้องให้น้ำมากสม่ำเสมอแต่ต้องไม่ขังค้าง ถ้าได้รับน้ำน้อยจะทำให้เนื้อแข็งกระด้าง ผลไม่โต ปุยน้อย หากมีฝนตกหนักลงมากะทันหันก็อาจทำให้ผลแตกผลร่วงได้

11. บำรุงผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยว :
ทางใบ :
- ให้ไบโออิ 0-21-74 + สารสมุนไพร 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน และให้รอบสุดท้ายก่อนเก็บเกี่ยว 5-7 วัน ด้วยการฉีดพ่นพอเปียกใบ

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- เปิดหรือไม่เปิดหน้าดินโคนต้น และนำอินทรีย์วัตถุออกหรือไม่ต้องนำออกก็ได้
- ให้ 13-13-21 หรือ 8-24-24 สูตรใดสูตรหนึ่ง (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นกลาง, 2 กก. ต้นใหญ่) /ต้น ละลายน้ำรดโคนต้น บริเวณทรงพุ่ม

หมายเหตุ :
- ปฏิบัติก่อนเก็บเกี่ยว 10-20 วัน
- ช่วงผลแก่จัดใกล้หรือก่อนเก็บเกี่ยวไม่ต้องงดน้ำแต่ต้องให้น้ำสม่ำเสมอเพื่อให้เนื้อ อ่อนนุ่มฉ่ำน้ำจนใช้ช้อนตักเนื้อรับประทานได้ หากมีฝนตกลงมาอาจทำให้มีน้ำมากเกินไป ดังนั้น จะต้องควบคุมปริมาณน้ำที่มาจากฝนให้อยู่ในระดับที่พอดี ไม่มากหรือน้อยเกินไปให้ได้ .... ช่วงผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยวนี้หากงดน้ำเหมือนผลไม้อื่นๆ เนื้อจะแข็งไม่สามารถใช้ช้อนตักรับประทานได้

- ถ้ามีฝนตก หลังจากหมดฝนแล้วให้บำรุงด้วยสูตรเดิมและวิธีเดิมต่อไปอีก 10-20 วัน จากนั้นให้สุ่มเก็บลงมาผ่าพิสูจน์ภายในก็จะรู้ว่าสมควรลงมือเก็บเกี่ยวได้แล้วหรือต้องบำรุงต่อไปอีกจึงเก็บเกี่ยว ช่วงผลแก่จัดใกล้เก็บเกี่ยวมีฝนตกชุก แนะนำให้น้ำตาลทางด่วน (กลูโคส) 1 รอบ เพื่อป้องกันต้นสะสมไนโตรเจน (จากน้ำฝน) มากเกินไปซึ่งจะทำให้ผลมีรสเปรี้ยว

- การบำรุงผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยวโดยให้ทางรากด้วย 8-24-24 เหมาะสำหรับต้นที่มีผลหลายรุ่นซึ่งหลังจากเก็บเกี่ยวผลแก่รุ่นแรกไปแล้วจะช่วยบำรุงผลชุดหลังต่อ นอกจากนี้ยังทำให้ต้นไม่โทรมเหมาะสำหรับการเตรียมความพร้อมของต้นต่อการปฏิบัติบำรุงรุ่นปีผลิตต่อไปอีกด้วย

- กระท้อนไม่ต้องการพักต้นหลังเก็บเกี่ยวผลผลิต เมื่อผลสุดท้ายหลุดจากต้นต้องเร่งบำรุงเรียกใบอ่อนเพื่อฟื้นฟูสภาพต้นทันที จะช่วยให้การออกดอกติดผลในรุ่นการผลิตปีต่อไปดีขึ้น

10. บำรุงผลเล็ก-ผลกลาง :
ทางใบ :
- ให้ ไบโออิ + ยูเรก้า + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับด้วยแคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ

- ในรอบ 1 เดือน หาโอกาสให้น้ำตาลทางด่วน (กลูโคส) 1 รอบ
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- นำอินทรีย์วัตถุกลับเข้าคลุมโคนต้นให้เหมือนเดิม
- ใส่ยิบซั่มธรรมชาติ 10% ของอัตราการใส่เมื่อช่วงเตรียมดิน
- ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 21-7-14 (2 ล.) /ไร่ รดทั่วแปลงทุกตารางนิ้ว
- ให้ 21-7-14 (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นใหญ่, 2 กก.ต้นใหญ่) /ต้น /เดือน ละลายน้ำรดโคนต้น บริเวณทรงพุ่ม

- ให้น้ำปกติทุก 2-3 วัน

หมายเหตุ :
- เริ่มปฏิบัติหลังจากกลีบดอกร่วง หรือขนาดผลเท่าเมล็ดถั่วเขียว
- หาจังหวะให้น้ำตาลทางด่วน (กลูโคส) 1 ครั้ง เมื่ออายุผลแก่ได้ 50% นอกจากเป็นการบำรุงสร้างความสมบูรณ์แก่ต้น ส่งผลให้ผลผลิตรุ่นนี้ดี แล้วต่อไปถึงอนาคตผลผลิตรุ่นหน้าหรือรอบหน้าอีกด้วย

- การบำรุงผลด้วยยูเรก้า หรืออเมริกาโน่ สูตร “ขยายขนาดผล” กรณีผลเดียวเดี่ยวๆในช่อ จะได้ขนาดโตกว่ามาตรฐานสายพันธุ์ 50-75% .... กรณี 2 ผลใน 1 ช่อ จะได้ขนาดโตกว่ามาตรฐานเล็กน้อย หรือเท่ามาตรฐาน .... กรณี 3-4 ผลใน 1 ช่อ จะได้ขนาดเล็กกว่ามาตรฐานสายพันธุ์ .... ดังนั้น หากต้องการขนาดผลใหญ่กว่ามาตรฐานสายพันธุ์ก็ต้องซอยลดจำนวนผลในช่อลง

- การบำรุงระยะผลขนาดกลางต้องให้น้ำมากสม่ำเสมอแต่ต้องไม่ขังค้าง ถ้าได้รับน้ำน้อยจะทำให้เนื้อแข็งกระด้าง ผลไม่โต ปุยน้อย หากมีฝนตกหนักลงมากะทันหันก็อาจทำให้ผลแตกผลร่วงได้

11. บำรุงผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยว :
ทางใบ :
- ให้ไบโออิ 0-21-74 + สารสมุนไพร 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน และให้รอบสุดท้ายก่อนเก็บเกี่ยว 5-7 วัน ด้วยการฉีดพ่นพอเปียกใบ

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- เปิดหรือไม่เปิดหน้าดินโคนต้น และนำอินทรีย์วัตถุออกหรือไม่ต้องนำออกก็ได้
- ให้ 13-13-21 หรือ 8-24-24 สูตรใดสูตรหนึ่ง (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นกลาง, 2 กก. ต้นใหญ่) /ต้น ละลายน้ำรดโคนต้น บริเวณทรงพุ่ม

หมายเหตุ :
- ปฏิบัติก่อนเก็บเกี่ยว 10-20 วัน
- ช่วงผลแก่จัดใกล้หรือก่อนเก็บเกี่ยวไม่ต้องงดน้ำแต่ต้องให้น้ำสม่ำเสมอเพื่อให้เนื้อ อ่อนนุ่มฉ่ำน้ำจนใช้ช้อนตักเนื้อรับประทานได้ หากมีฝนตกลงมาอาจทำให้มีน้ำมากเกินไป ดังนั้น จะต้องควบคุมปริมาณน้ำที่มาจากฝนให้อยู่ในระดับที่พอดี ไม่มากหรือน้อยเกินไปให้ได้ .... ช่วงผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยวนี้หากงดน้ำเหมือนผลไม้อื่นๆ เนื้อจะแข็งไม่สามารถใช้ช้อนตักรับประทานได้

- ถ้ามีฝนตก หลังจากหมดฝนแล้วให้บำรุงด้วยสูตรเดิมและวิธีเดิมต่อไปอีก 10-20 วัน จากนั้นให้สุ่มเก็บลงมาผ่าพิสูจน์ภายในก็จะรู้ว่าสมควรลงมือเก็บเกี่ยวได้แล้วหรือต้องบำรุงต่อไปอีกจึงเก็บเกี่ยว ช่วงผลแก่จัดใกล้เก็บเกี่ยวมีฝนตกชุก แนะนำให้น้ำตาลทางด่วน (กลูโคส) 1 รอบ เพื่อป้องกันต้นสะสมไนโตรเจน (จากน้ำฝน) มากเกินไปซึ่งจะทำให้ผลมีรสเปรี้ยว

- การบำรุงผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยวโดยให้ทางรากด้วย 8-24-24 เหมาะสำหรับต้นที่มีผลหลายรุ่นซึ่งหลังจากเก็บเกี่ยวผลแก่รุ่นแรกไปแล้วจะช่วยบำรุงผลชุดหลังต่อ นอกจากนี้ยังทำให้ต้นไม่โทรมเหมาะสำหรับการเตรียมความพร้อมของต้นต่อการปฏิบัติบำรุงรุ่นปีผลิตต่อไปอีกด้วย

- กระท้อนไม่ต้องการพักต้นหลังเก็บเกี่ยวผลผลิต เมื่อผลสุดท้ายหลุดจากต้นต้องเร่งบำรุงเรียกใบอ่อนเพื่อฟื้นฟูสภาพต้นทันที จะช่วยให้การออกดอกติดผลในรุ่นการผลิตปีต่อไปดีขึ้น

=======================================================
======================================================


แก้วมังกร
ลักษณะทางธรรมชาติ :

- เป็นพืชอวบน้ำ ต้องการน้ำอย่างสม่ำเสมอแต่ไม่มากจนแฉะหรือขังค้าง ถ้าได้น้ำน้อยต้นจะเกิดอาการกิ่งก้านผอมเล็กเรียวยาวเก้งก้าง ไม่สมบูรณ์ ไม่ออกดอกติดผล แต่ถ้าได้รับน้ำมากเกินไปถึงต้นจะสมบูรณ์แต่ก็ไม่ออกดอกติดผล(เฝือใบ) เหมือนกัน

- ประเทศเวียดนามได้พัฒนาสายพันธุ์แก้วมังกรจนได้พันธุ์ดีเป็นที่ต้องการของตลาดถึง 13 สายพันธุ์ ในจำนวนนี้มีพันธุ์ฟานเทียส. เป็นพันธุ์ดีที่สุด ซึ่งประเทศเวียดนามได้ประกาศห้ามนำสายพันธุ์ออกนอกประเทศ แต่ฟานเทียส.ได้เข้ามาแพร่หลายในประเทศไทยแล้วเรียกว่าพันธุ์เวียดนาม ก่อนประเทศเวียดนามจะประกาศห้ามนำออกนอกประเทศ

- แบ่งเป็นกลุ่มสายพันธุ์ได้แก่ พันธุ์เนื้อขาว. เนื้อแดง. เนื้อชมพูอมแดง. เนื้อเหลือง.
- พันธุ์ผิวทอง (เหลือง)จากโคลัมเบียปลูกในเขตภาคกลางได้ผลไม่ดี แต่ปลูกในเขต จ.เพชรบูรณ์ได้ผลผลิตดีมาก

- พันธุ์เนื้อสีแดงและสีเหลืองมีเกสรตัวผู้ไม่ค่อยสมบูรณ์ต้องอาศัยเกสรตัวผู้ของดอกต่างต้น โดยช่วยผสมด้วยมือจึงจะติดผลดกดี

- พันธุ์ไร้หนามไม่ใช่ไม่มีหนามเพียงแต่หนามสั้นมาก และเมื่อกิ่งแก่จัดหนามจะหลุดจากกิ่งเอง
- ไม่มีใบเหมือนต้นไม้ผลทั่วๆไป แต่อาศัยเปลือกสีเขียวของกิ่งหรือก้านทำหน้าที่แทนใบ

- ตาดอกอยู่ที่ข้อใต้หนาม ออกดอกได้ทั้งจากตาที่ข้อใต้หนามและจากตาที่ส่วนปลายสุดของกิ่ง

- อายุดอกตั้งแต่เริ่มแทงออกมาขนาดเท่าเมล็ดถั่วเขียวถึงดอกบาน 15 วัน
- อายุผลตั้งแต่ผสมติดหรือกลีบดอกร่วงถึงเก็บเกี่ยว 30 วัน
- ดอกเป็นดอกสมบูรณ์เพศ มีทั้งเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน ผสมกันเองหรือผสมข้ามดอกข้ามต้นได้

- ดอกบานพร้อมผสมช่วงหัวค่ำระหว่างเวลา 19.00-21.00 น. บานเพียงคืนเดียว เมื่อถึงเช้าวันรุ่งขึ้นก็โรย

- ออกดอกติดผลดีในฤดูกาลที่ช่วงกลางวันนานกว่ากลางคืน โดยช่วงเดือน เม.ย.- ต.ค. สามารถออกดอกได้ตลอด หลังเก็บเกี่ยวไปแล้วอีก 15-20 วัน จะมีดอกชุดใหม่ตามออกมาอีก ครั้นถึงช่วงเดือนพ.ย. - มี.ค. หรือช่วงอากาศหนาวเย็นจะพักต้นและไม่ออกดอก

- เกสรตัวผู้หรือเกสรตัวเมียอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างไม่สมบูรณ์ เกิดจากขาดสารอาหาร/ฮอร์โมนหรือสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม (อากาศร้อนหรือฝนตกชุก) ผสมกันแล้วพัฒนาเป็นผลจะเป็นผลไม่สมบูรณ์ ไม่โต รูปทรงบิดเบี้ยว

- ช่วงอากาศหนาวเย็นแม้จะออกดอกตามธรรมชาติได้แต่จำนวนดอกจะน้อยกว่าช่วงอากาศร้อน

- การใช้สารพาโคลบิวทาโซลบังคับให้ออกดอกนอกฤดูสามารถทำได้แต่ผลที่ออกมาจะบิดเบี้ยวเสียรูปทรง คุณภาพไม่ค่อยดี

- ก่อนดอกบาน 11 วัน ให้ฮอร์โมนจิ๊บเบอเรลลิน. ฉีดพ่นพอเปียกใบ (กิ่ง) จะช่วยให้ผลมีน้ำหนัก ความหวาน ความแน่นเนื้อ ความหนาเปลือก สีเนื้อ สีเปลือก และกลีบผลมีคุณภาพดีขึ้น

- ช่วงผลโตประมาณขนาดเท่าไข่ไก่ บำรุงด้วย "น้ำ 100 ล.+ จิ๊บเบอเรลลิน 100 ซีซี. + ยูเรีย จี.400 กรัม" 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 3-5 วัน จะช่วยให้ผลโดเร็ว และคุณภาพดี

- ตอบสนองต่อปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยน้ำชีวภาพ ฮอร์โมนวิทยาศาสตร์ และฮอร์โมนธรรม ชาติ (ทำเอง)ได้ดีและเร็วมาก

- กิ่งขนาดใหญ่ อวบอ้วน ยาว 50-80 ซม. ออกดอกได้ดีกว่ากิ่งเรียวเล็กยาว
- อาการเฝือใบสังเกตได้จาก จำนวนกิ่งมาก สีเขียวอ่อน แตกยอดใหม่เสมอ กิ่งเรียวเล็ก ยาวเก้งก้าง

- กิ่งเล็กเรียวยาวเขียวอ่อน คือ ลักษณะงามแต่ใบจึงไม่ออกดอก แก้ไขโดยเมื่อกิ่งนั้นยาว 1-1.20 ม.ให้เด็ดปลายกิ่ง 3-4 ข้อทิ้ง หลังจากถูกเด็ดปลายแล้วกิ่งนั้นจะใหญ่และเขียวเข้มขึ้นซึ่งพร้อมต่อการออกดอกติดผลต่อไป

- เป็นไม้เลื้อยขึ้นสู่ที่สูงโดยมีรากทำหน้าเกาะยึดเหมือนพริกไทย ดีปลี พลูฝรั่งกล้วยไม้ ตราบใดที่มีความสูงให้เลื้อยขึ้นได้ก็จะเลื้อยขึ้นไปเรื่อยๆ ระหว่างกิ่งกำลังเลื้อยขึ้นไปอย่างไม่หยุดนี้โอกาสที่จะออกดอกมีน้อยมากแต่ไม่ได้หมายความว่าจะไม่ออกดอกติดผลเสียเลย ซึ่งกิ่งหรือยอดที่กำลังเลื้อยขึ้นนี้สามารถออกดอกได้เช่นกัน ถ้าต้นมีความสมบูรณ์อย่างแท้จริง

- อายุต้น 6-8 เดือนขึ้นไป เมื่อกิ่งหรือยอดเลื้อยเกาะหลักขึ้นไปได้สูง 80-120 ซม. จนสุดหัวหลักยอดนั้นจะชี้ลงเองแล้วพัฒนาเป็นกิ่งแก่ ซึ่งกิ่งแก่ชี้ลงนี้ออกดอกติดผลได้ง่ายและดี กว่ากิ่งชี้ขึ้น

- กับต้นไม้ใหญ่ยืนต้นสูง 10-20 ม. แก้วมังกรจะอาศัยเกาะเลื้อยขึ้นไปจนถึงยอดสุดแล้วออกดอกติดผลได้เช่นกัน

-รากที่เกาะหลักเพื่อยึดลำต้นของตัวเองให้ติดกับหลักนั้น ช่วงแรกๆรากจะดูดซับความชื้นหรือธาตุอาหารจากหลักที่เกาะยึด เมื่อรากเจริญยาวจนลงไปถึงดินและแทงลงดินได้แล้วก็จะดูดซับธาตุอาหารจากดินเหมือนไม้พืชทั่วๆไป ระหว่างที่รากใหญ่หรือรากประธานกำลังเจริญยาวลงสู่พื้นดินนั้นจะมีรากแขนงแตกออกมาเรื่อยๆ ขึ้นอยู่กับความชื้นหรือธาตุอาหารที่มีอยู่บนหลัก

- รากหาอาหารบริเวณหน้าดินตื้นๆ การใช้กาบมะพร้าวใหญ่คลุมโคนหลักหนาๆ กว้างทั่วเขตทรงพุ่ม โรยทับด้วยอินทรีย์วัตถุ รากจะชอนไชอยู่กับกาบมะพร้าว ซึ่งนอกจากมีสารอาหารมากแล้ว ยังมีอากาศถ่ายเทสะดวกอีกด้วย

- การใช้หลักสำหรับเกาะเป็นวัสดุอุ้มน้ำอย่างท่อคอนกรีตหรือท่อยิบซั่มระบายน้ำขนาด 6 นิ้วปิดปลายท่อด้านล่าง ฝังลงดินแล้วใส่น้ำเปล่าหรือน้ำผสมธาตุอาหารลงไปในท่อให้เต็มอยู่เสมอ น้ำที่ค่อยๆ ซึมออกมาตามผิวท่อ นอกจากช่วยสร้างความชุ่มชื้นแล้วยังเป็นสารอา หารอีกด้วย

ข้อดีของหลักท่อระบายน้ำยิบซั่ม คือ น้ำสามารถซึมออกมตามผิวท่อได้ตลอดเวลา แต่มีข้อด้อยที่ไม่คงทน เมื่ออุ้มน้ำเป็นระยะเวลานานๆ (หลายปี) จะผุเปื่อยหรือไม่แข็งแรงจนเป็นเหตุให้หักล้มได้ ต่างจากเสาหลักไม้เนื้อแข็งแม้จะไม่มีน้ำซึมออกมาแต่ก็คงทนกว่าหลายเท่า

การเติมน้ำใส่ลงไปในท่อทำได้แต่ช่วงแรกๆ ที่ต้นยังเล็ก ครั้นเมื่อต้นโตขึ้น แตกกิ่งก้านเต็มหัวเสาแล้วจะไม่สะดวกนักต่อการเติมน้ำลงไปในท่องต้องใช้อุปกรณ์หรือเครื่องมือพิเศษเข้าช่วย

- วิธีสร้างหลักให้ส่วนที่อยู่เหนือพื้นดิน 1.20 ม. เป็นความสูงเหมาะที่สุด ยอดหลักมีไม้เนื้อแข็งทำเป็นสี่แฉกกากบาด เส้นผ่าศูนย์กลาง 1 ม. ปลายกากบาดมีไม้เนื้อแข็งยึดทั้งสี่ปลาย กากบาดหัวเสานี้ใช้เป็นค้างให้กิ่งแก้วมังกรพาดแล้วชี้ปลายลงก่อนออกดอกติดผล

- เป็นพืชอายุยืนหลายสิบปี มีอัตราการเจริญเติบโตทางยาวเหมือนไม้ผลยืนต้นทั่ว ไปที่เจริญเติบโตทางสูง การใช้หลักที่เป็นวัสดุไม่คงทน ผุเปื่อยง่าย เมื่อต้นแก้วมังกรอายุมากขึ้นหรือทรงพุ่มหนา น้ำหนักมาก หลักอาจจะพังลงได้ การเลือกใช้หลักคอนกรีตตันประเภทเสารั้ว ขนาด 4 x 4 นิ้ว หรือ 6 x 6 นิ้ว หรือเสาไม้เนื้อแข็งขนาดเดียวกันจะทนทานกว่า

- เมื่ออายุต้นมากๆ นอกจากมีน้ำหนักมากแล้วยังต้านลมอีกด้วยนั้น แนะนำให้ฝังหลักลึก 1-1.20 ม. หรือมากกว่าจะช่วยให้หลักตั้งอยู่ได้นานโดยไม่ล้มเสียก่อน ทั้งนี้ การบำรุงแก้วมังกรตามแนว อินทรีย์นำ-เคมีเสริม ประจำและสม่ำเสมอจะทำให้ดินโคนหลักอ่อนส่งผลให้หลักล้มได้ง่าย

- ต้นที่มีกิ่งน้อยๆ (30-50%) หัวหลักโปร่ง แสงแดดส่องทั่วทุกกิ่ง จะออกดอกติดผลดีกว่าต้นที่มีกิ่งมากๆจนหัวหลักแน่นทึบ แก้ไขด้วยการหมั่นตัดแต่งกิ่ง โดยตัดโคนกิ่งชิดหัวหลักและหมั่นตัดกิ่งแขนงที่งอกออกมาจากกิ่งประธานอยู่เสมอ

กิ่งแขนงไม่ค่อยออกดอกติดผลหรือออกดอกติดผลได้น้อยกว่ากิ่งประธาน การเหลือกิ่งน้อยๆจนหัวหลักโปร่งนอกจากช่วยลดน้ำหนักที่หัวหลักแล้วยังทำให้ลดการสูญเสียน้ำเลี้ยงอีกด้วย

- ต้นอายุมากๆหรือแก่จัด เริ่มให้ผลผลิตน้อยลง แก้ไขด้วยวิธีตัดแต่งกิ่งแบบทำสาวโดยตัดทิ้งกิ่งส่วนที่อยู่เหนือค้างออกทั้งหมด หรือตัดต้นที่เสาต่ำกว่าค้างให้เหลือส่วนตอเกาะเสาหรือหลัก 1 ม. จากนั้นบำรุงเรียกกิ่ง (ใบ) อ่อนใหม่ เมื่อกิ่งอ่อนใหม่เจริญเติบโตขึ้นก็จะออกดอกติดผลเหมือนการปลูกด้วยต้นตอครั้งแรก

- เทคนิคการบำรุงแบบให้มีธาตุอาหารกินตลอด 24 ชม.ต่อเนื่องทั้งปีหรือหลายๆ ปีติดต่อกันโดยฝังซากสัตว์ (หอยเชอรี่ หัวปลา พุงปลา ซี่โครงไก่ กระดูกป่น) สับเล็กหรือสับละเอียด จะช่วยให้ต้นสมบูรณ์อยู่เสมอ

ซากสัตว์ผุเปื่อยใหม่ๆ มีความเป็นกรดจัดมาก จึงไม่ควรฝังซากสัตว์ในระหว่างการพัฒนาของต้นช่วงสำคัญๆ (สะสมอาหาร-เปิดตาดอก-บำรุงดอก-บำรุงผล.) แต่ให้ฝังก่อนล่วง หน้าไม่น้อยกว่า 3-6 เดือน เพื่อให้เวลาแก่จุลินทรีย์ได้สลายฤทธิ์ความเป็นกรดจัดของซากสัตว์สดๆที่เริ่มผุเปื่อย จนกลายเป็นอินทรีย์สารที่พืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จึงจะได้ประ โยชน์สูงสุดอย่างแท้จริง

การใช้ซากสัตว์ผ่านกระบวนการหมักจนเป็นปุ๋ยน้ำชีวภาพพร้อมใช้ และปรับค่ากรดด่างแล้วแทนการฝังซากสัตว์สดๆ จะได้ผลดีกว่า

- เทคนิคล่อรากด้วยการใช้กาบมะพร้าวคลุมโคนต้นหนา 20-30 ซม.ทั่วพื้นที่ทรงพุ่มหว่านทับด้วยปุ๋ยคอก เสริมด้วยยิบซั่ม ปุ๋ยอินทรีย์ กระดูกป่น และจุลินทรีย์ จะช่วยให้รากขึ้น มาหาอาหารบนกาบมะพร้าวที่มีอากาศถ่ายสะดวกส่งผลให้ต้นสมบูรณ์แข็งแรงดีกว่าการปล่อยรากเดินอิสระใต้ผิวดิน

- ปุ๋ยคอก-ปุ๋ยอินทรีย์ที่เหมาะสำหรับแก้วมังกรอายุต้นให้ผลผลิตแล้ว ควรประกอบส่วน ดังนี้ “มูลวัวเนื้อ/วัวนม 10 ส่วน, มูลไก่ไข่/ไก่เนื้อ/นกกระทา 3 ส่วน, มูลค้างคาว 1 ส่วน, ยิบซั่ม 2 ส่วน, กระดูกป่น 1 ส่วน”
คลุกเคล้าเข้ากันดีรวมเป็น 1 ส่วน นำมาผสมกับกาบมะพร้าวใหญ่ 1 ส่วน ใช้คลุมโคนหลัก

- แก้วมังกรตอบสนองต่อมูลค้างคาวดีมาก ควรใส่มูลค้างคาวประจำ 1 กำมือ /ต้น /3 เดือน ด้วยการหว่านทั่วทรงพุ่มหรือละลายน้ำรด

- ต้องการให้แก้วมังกรที่เลื้อยขึ้นถึงค้างบนหัวเสาแล้วแตกยอดใหม่เร็ว และจำนวนมากๆ ให้ใช้หญ้าแห้งหรือฟางแห้งคลุมหัวเสาหนาๆ

- เริ่มห่อผลเมื่ออายุผล 15 วัน หรือ 2 สัปดาห์หลังกลีบดอกร่วง
- ตรวจสอบอาการอั้นตาดอกด้วยการใช้ปลายเล็บขูดผิวเปลือกบริเวณตุ่มตา (ใต้หนาม) ดูเนื้อในไต้เปลือก ถ้าเนื้อในใต้หนามเป็นสีเหลืองอมน้ำตาลแสดงว่าอั้นตาดอกดี เมื่อเปิดตาดอกจะออกเป็นดอก แต่ถ้าเนื้อในใต้หนามเป็นเขียวแสดงว่ายังอั้นตาดอกไม่ดี เปิดตาดอกไม่ออก

- ห่อผลแก้วมังกรด้วยถุงใยสังเคราะห์จะช่วยรักษาผิวและสีเปลือกได้ดีกว่าถุงห่ออย่างอื่น
- อายุผลครบกำหนดเก็บเกี่ยวหรือ 30 วันหลังกลีบดอกร่วง สีเปลือกแดงดีแล้วสามารถปล่อยฝากต้นต่อไปได้อีก 10-15 วัน โดยสีเปลือกที่เคยแดงเข้มจะลดลงมาเป็นแดงอมชมพู แต่ขนาดผลจะใหญ่ขึ้นรส ชาติและน้ำหนักดีขึ้นไปอีก

- ช่วงที่ผลกำลังพัฒนาแล้วมีฝนตกชุก ให้บำรุงด้วย "ธาตุรอง/ธาตุเสริม" ถี่ขึ้นระดับวันเว้นวันจนถึงเก็บเกี่ยวจะช่วยให้คุณภาพผลดี รสหวาน เนื้อแน่น เปลือกบาง แต่ถ้าบำรุงด้วยธาตุรอง/ธาตุเสริมไม่ถึงจะทำให้รสเปรี้ยวหรือจืดชืด เนื้อเหลว เปลือกหนา

- ช่วงผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยวแล้วมีฝนตกชุก สีเปลือกจะไม่แดงแต่ยังคงเขียว ให้บำรุงด้วย ธาตุรอง/ธาตุเสริม ถี่ๆ ระดับวันเว้นวันต่อไป จนกระทั่งครบกำหนดวันเก็บซึ่งสีเปลือกยังเขียวอยู่เก็บมาแล้วปล่อยทิ้งให้ลืมต้น 2-3 วัน สีเปลือกจะเปลี่ยนจากเขียวเป็นแดงเอง ส่วนรส ชาติก็จะยังคงดีเหมือนเดิม

- ผลแก้วมังกรที่ได้รับ ธาตุรอง/ธาตุเสริม เต็มที่ เมื่อแกะผลด้วยมือ (ไม่ใช้มีดผ่า) เนื้อจะจับเหมือนวุ้นก้อนเล็กๆ รสชาติดีมาก

- ยืดอายุผลหลังเก็บเกี่ยวโดยเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 5 องศา ซี. อากาศผ่านได้ จะสดอยู่ได้นาน 30-35 วัน

- กลีบดอกสดใหม่ปรุงอาหารประเภทยำหรือผัดน้ำมันหอยรสชาติอร่อยดี


ขั้นตอนการปฏิบัติบำรุงต่อแก้วมังกร
1. เรียกกิ่งอ่อน :

ทางใบ :
- ให้ไบโออิ 25-5-5 + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- ใส่ยิบซั่ม ปุ๋ยอินทรีย์ กระดูกป่น ปุ๋ยคอก (ขี้วัวขี้ไก่แห้งเก่าข้ามปี) แกลบดิบ ครั้งที่ 1 ของรอบปีการผลิต

- ให้ 25-7-7 (1/2 กก.) /ต้น /เดือน
- คลุมโคนต้นด้วยเศษพืชแห้งหนาๆ เต็มพื้นที่บริเวณทรงพุ่ม ล้ำออกไปถึงนอกเขตทรงพุ่ม
- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 (2 ล.) รดทั่วแปลง ทุกตารางนิ้ว 1-2 เดือน /ครั้ง

- ให้น้ำปกติ ทุก 2-3 วัน

หมายเหตุ :
- เริ่มปฏิบัติหลังจากผลลูกสุดท้ายหลุดจากต้น และหลังตัดแต่งกิ่งตัดแต่งกิ่ง
- แก้วมังกรเรียกใบอ่อน (ยอด) ชุดเดียวก็พอ
- ขั้นตอนการเรียกกิ่งอ่อนชุดใหม่นี้สำคัญมาก กล่าวคือ ถ้ากิ่งอ่อนชุดใหม่ในต้น (หลัก) เดียวกันออกไม่พร้อมกันทั้งต้น จะทำให้การออกดอกไม่พร้อมกัน หรือออกไม่เป็นชุด หรือออกแบบทยอยเป็นชุดเล็กชุดน้อย ส่งผลให้ยากต่อการบำรุงเป็นอย่างมาก แนวทาง แก้ไข คือ ต้องบำรุงเตรียมต้นตั้งแต่ก่อนตัดแต่งกิ่งให้สมบูรณ์จริงๆไว้ล่วงหน้าเท่านั้น

- หลังจากให้ทางใบไปแล้ว 5-7 วัน ถ้าต้นใดแตกกิ่งอ่อนดีน้อยกว่า 50% ให้ฉีดพ่นซ้ำรอบ 2 ด้วยอัตราและวิธีการเดิม เพราะถ้าต้นแตกกิ่งอ่อนไม่พร้อมกันทั่วทั้งต้นจะส่งผลเสียหลายอย่างตั้งแต่ การเร่งกิ่งอ่อนเป็นกิ่งแก่, การสะสมอาหารเพื่อการออก, การปรับ ซี/เอ็น เรโช, การเปิดตาดอก. ซึ่งจะออกดอกไม่พร้อมกันทั่วทั้งต้น และเมื่อดอกออกไม่พร้อมกันก็กลายเป็นผลไม่พร้อมกัน ทำให้ยุ่งยากต่อการปฏิบัติบำรุงตามขั้นตอนอย่างมาก .... แก้ไขโดยต้องบำรุงเรียกกิ่งอ่อนให้ออกมาเป็นชุดเดียวพร้อมกันทั้งต้นให้ได้

- เมื่อใบอ่อน (ยอด) ยาวประมาณ 30-50 ซม. ให้เข้าสู่ขั้นตอนเร่งใบอ่อนให้เป็นใบแก่

2. เร่งกิ่งอ่อนเป็นใบแก่ :
ทางใบ :
- ให้ไบโออิ 0-21-74 หรือ 0-39-39 สูตรใดสูตรหนึ่ง + สารสมุนไพรฉีดพ่นพอเปียกใบ 2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน

- ฉีดพ่นสารสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- ให้ 8-24-24 (1/2 กก.) /ต้น
- ให้น้ำปกติ ทุก 2-3 วัน

หมายเหตุ :
- เริ่มปฏิบัติเมื่อ “กิ่งที่ต้องการให้ออกดอก” ยาวประมาณ 30 ซม.
- ขั้นตอนการเร่งกิ่งอ่อนเป็นกิ่งแก่ในแก้วมังกรไม่จำเป็นนัก การปฏิบัติต้องระวังเพราะอาจจะทำให้กิ่งนั้นกลายเป็นกิ่งสั้นแต่แก่จัด แม้ออกดอกติดผลได้แต่ได้จำนวนดอกและผลไม่มาก

- สารอาหารในกลุ่มเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่ซึ่งมีฟอสฟอรัส. และโปแตสเซียม. นอก จากช่วยเร่งใบให้เป็นใบแก่แล้วยังช่วยเสริมประสิทธิภาพขั้นตอนสะสมอาหารเพื่อการออกดอกได้ด้วย

- กิ่งหางหนูเรียวเล็กยาวหรือกิ่งปกติแต่ค่อนข้างยาว ถ้าต้องการให้กิ่งนั้นแก่และไม่ยาวต่อไปอีกให้เด็ดปลาย 2-3 ข้อทิ้งไป กิ่งนั้นจะหยุดเจริญทางยาวแต่เจริญทางข้างจนกลาย เป็นกิ่งใหญ่ได้

3. สะสมอาหารเพื่อการออกดอก
ทางใบ :
สูตร 1 : ให้ไบโออิ 0-42-54 + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน ติดต่อกันอย่างน้อย 1 เดือน

สูตร 2 : ให้ไทเป + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน ติดต่อกันอย่างน้อย 1 เดือน

ทางราก :
- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง 8-24-24 (2 ล.) /ไร่ รดทั่วแปลงทุกตารางนิ้ว
-ให้ 8-24-24 (1/2 กก) /ต้น /เดือน ละลายน้ำรดโคนต้น
- ให้น้ำปกติ ทุก 2-3 วัน

หมายเหตุ :
- เริ่มปฏิบัติเมื่อ “กิ่งที่ต้องการให้ออกดอก” ติดผลยาวประมาณ 50-80 ซม.
- ปริมาณการให้ 8-24-24 มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณการติดผลรุ่นที่ผ่านมา ถ้ารุ่นที่ผ่านมาติดผลดกมากให้ใส่ตามอัตรากำหนดหรือใส่มากขึ้น ถ้ารุ่นที่ผ่านมาติดผลน้อยหรือไม่ติดเลยให้ใส่ต่ำกว่าอัตรากำหนดหรือใส่ปานกลาง

- แนวทางบำรุงให้ต้นได้สะสมอาหารเพื่อการออกดอกไว้มากที่สุดควรเตรียมแผนใช้เวลาบำรุง 2-2 เดือนครึ่ง

- ปริมาณสารอาหารเพื่อการสะสมตาดอกที่ต้นได้รับจำนวน 3 ใน 4 ส่วน ไปจากดินที่ผ่านการเตรียมมาอย่างดี ส่วนการให้ทางใบเป็นเพียงเสริมเท่านั้น

4. ปรับ ซี/เอ็น เรโช :
ทางใบ :
สูตร 1 : ให้ไบโออิ 0-42-56 + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน

สูตร 2 : ให้ไทเป + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบไม่ให้ตกลงพื้น

ทางราก :
- เปิดหน้าดินโคนต้นให้แสงแดดส่องถึง
- งดให้น้ำเด็ดขาด สวนยกร่องน้ำหล่อจะต้องสูบน้ำออกให้หมด

หมายเหตุ :
- เริ่มปฏิบัติเมื่อได้สะสมอาหารจนต้นมีความสมบูรณ์เต็มที่และสภาพอากาศเอื้อ อำนวย
- ก่อนเข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงขั้นต่อไป คือ ปรับ ซี/เอ็น เรโช ให้ทบทวนความทรงจำเมื่อครั้งเรียกกิ่งอ่อนแล้วกิ่งอ่อนออกมาพร้อมกันเป็นชุดเดียวทั่วทั้งต้นหรือไม่ ถ้ากิ่งอ่อนออก มาพร้อมกันดีทั่วทั้งต้นให้ปรับ ซี/เอ็น เรโช ต่อไปได้เลย แต่ถ้ากิ่งอ่อนออกมาไม่พร้อมกันเป็นชุดเดียวทั่วทั้งต้นและค่อนข้างต่างรุ่นกันมากก็ให้บำรุงสะสมอาหารเพื่อการออกดอกต่อไปอีก 2-3 รอบ เพื่อรอให้กิ่งอ่อนชุดหลังสะสมอาหารจนอั้นตาดอกดีเท่ากับกิ่งอ่อนชุดแรกจากนั้นจึงลงมือปรับ ซี/เอ็น เรโช ทั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อทำให้มีดอกออกมาพร้อมกันเป็นชุดเดียวกันทั่วทั้งต้นนั่นเอง

- จากประสบการณ์ตรงพบว่าการปรับ ซี/เอ็น เรโช ด้วยวิธีงดน้ำและเปิดหน้าดินโคนต้นนั้นไม่ใช่สิ่งจำเป็น เพราะแก้วมังกรเป็นพืชอวบน้ำ แม้จะงดน้ำอย่างไรใบหรือกิ่งก็ไม่สลด ดังนั้นจึงจำเป็นต้องเน้นที่การบำรุง “สะสมอาหารเพื่อการออกดอก” เป็นหลัก

- ต้นที่มีอาการอั้นตาดอกดีจนพอใจแล้วไม่ต้องฉีดพ่นน้ำตาลทางด่วน (กลูโคส) เพิ่มอีก แต่ถ้าต้นมีอาการอั้นตาดอกไม่ดีหรือยังไม่น่าพอใจ แนะนำให้ฉีดพ่นทางใบด้วยน้ำตาลทางด่วนซ้ำอีก 1 รอบ โดยเว้นระยะเวลาให้ห่างจากที่เคยให้เมื่อช่วงสะสมอาหารไม่น้อยกว่า 20-30 วัน

- มาตรการเสริมด้วยให้แสงไฟขนาด 60-100 วัตต์ ช่วงหลังพระอาทิตย์สิ้นแสงวันละ 2-3 ชม. และก่อนพระอาทิตย์ขึ้นอีก 1-2 ชม. ติดต่อกัน 1-2 สัปดาห์ จะช่วยให้เกิดการสะสมเพิ่ม ซี. และลด เอ็น. ได้มาก

5. สำรวจความพร้อมของต้น ก่อนเปิดตาดอก :
- ก้านใหญ่ สีเปลือกเขียวเข้ม ปลายก้านโค้งมนด้วน
- ตุ่มตาใต้หนามนูนยาวชี้เข้าหากลางกิ่ง ทั้งสองด้านของกิ่ง
- สีหนามเป็นสีน้ำตาลไหม้หรือดำคล้ำ แข็ง เมื่อใช้ปลายนิ้วสะกิดเบาจะหลุดร่วง
- ตรวจตาดอกด้วยการสุ่มดึงหนามใดหนามหนึ่งขึ้นมาดู ถ้าเนื้อใต้หนามเป็นสีเหลือง แสดงว่าอั้นตาดอกดี แต่ถ้ายังเป็นสีเขียวอยู่ แสดงว่าอั้นตาดอกไม่ดี

หมายเหตุ
เริ่มปฏิบัติพร้อมๆกันกับการปรับ ซี/เอ็น เรโช

6. เปิดตาดอก
ทางใบ :
วิธีที่ 1 : ให้ไทเป + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ

วิธีที่ 2 : ใช้ฮอร์โมนเปิดตาดอกแก้วมังกรโดยเฉพาะ โดยใช้ปลายเล็บขูดผิวเปลือกบริเวณตุ่มตา (ใต้หนาม) ออกก่อนแล้วใช้ปลายพู่กันจุ่มฮอร์โมนเข้มข้นทาหรือป้ายบนผิวเปลือกที่ขูดนั้น ฮอร์โมนจะซึมผ่านเข้าสู่ภายในได้ดีขึ้น ใช้ฮอร์โมนป้ายตาอั้นตาดอกเต็มที่แล้ว 2-3 ตา/กิ่ง แต่ละตาห่างกัน 2-3 ข้อ

ทางราก :
- ยังคงเปิดหน้าดินโคนต้น
- ยังคงงดน้ำ

หมายเหตุ :
- เริ่มปฏิบัติหลังจากต้นมีอาการอั้นตาดอกเต็มที่และสภาพอากาศพร้อม
- แก้วมังกรตอบสนองต่อปุ๋ยน้ำชีวภาพและฮอร์โมนธรรมชาติ (ทำเอง) ดีมาก การใช้เพียงฮอร์โมนไข่ที่มีสาหร่ายทะเลเป็นส่วนผสมอยู่ด้วยเปิดตาดอกก็สามารถออกดอกได้ ถ้าต้นได้รับการสะสมอาหารเพื่อการออกดอกและปรับ ซี/เอ็น เรโช มาดี

- ถ้าดอกออกมาไม่มากพอ ระหว่างที่ดอกชุดแรกยังเป็นดอกตูมอยู่นั้น ให้เปิดตาดอกซ้ำอีก 1-2 รอบด้วยสูตรเดิม หรือกระทั่งดอกชุดแรกบานแล้วจึงยุติการเปิดตาดอกซ้ำ

7. บำรุงดอก :
ทางใบ :
- ให้ไบโออิ 15-45-15 (หน้าฝน) หรือ 0-52-34 (หน้าแล้ง) + สารสมุนไพร ฉีดพ่นพอเปียกใบ ทุก 3 วัน

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- ยังคงเปิดหน้าดินโคนต้น
- ให้ 8-24-24 (1/2 กก.) /ต้น
- ให้น้ำเล็กน้อยพอต้นรู้ตัว ทุก 2-3 วัน

หมายเหตุ :
- เริ่มปฏิบัติเมื่อดอกขนาดเท่าปลายตะเกียบหรือเมล็ดถั่วเขียว
- ดอกแก้วมังกรบานและต้องการผสมเกสรช่วงกลางคืน (19.00-21.00) โดยลมพัด ถ้าไม่มีลมพัดช่วยส่งละอองเกสรตัวผู้ก็ต้องช่วยผสมด้วยมือ โดยเด็ดดอกแก้วมังกรจากต้นอื่นไปแหย่ใส่ให้กับอีกดอกหนึ่ง โดยให้ละอองเกสรตัวผู้ของดอกที่เด็ดมาสัมผัสกับเกสรตัวเมียของต้นที่เก็บดอกไว้ หรือเก็บเกสรตัวผู้ใส่กล่องพ่นเกสร (ใช้ผสมเกสรทุเรียน-สละ) ฉีดพ่นใส่ดอกที่กำลังบานก็ได้ ผลที่เกิดจากดอกที่ได้รับการช่วยผสมด้วยมือจะเป็นสมบูรณ์และขนาดใหญ่เสมอ

- ดอกแก้วมังกรบานพร้อมผสมแล้วมีฝนตกชุก ผลที่เกิดมาจะเล็กหรือแคระแกร็น
- ช่วงดอกตั้งแต่เริ่มแทงออกมาให้เห็นหรือระยะดอกตูม บำรุงด้วยฮอร์โมน เอ็นเอเอ. 1 รอบ จะช่วยบำรุงเกสรทั้งตัวผู้และตัวเมียให้สมบูรณ์พร้อมรับผสม แต่ต้องใช้ด้วยความระมัดระวังเพราะถ้าให้เข้มข้นเกินไปจะเกิดความเสียหายต่อดอกและถ้าให้อ่อนเกินไปก็จะไม่ได้ผล

- ช่วงดอกเริ่มแทงออกมาใหม่ๆให้แคลเซียม โบรอน 1 รอบ จะช่วยให้ดอกสมบูรณ์ผสมติดดี

- ช่วงดอกตูมควรฉีดพ่นสาสมุนไพรบ่อยขึ้น เพื่อป้องกันโรคและแมลงจนถึงช่วงดอกบาน
- ช่วงดอกบานงดการฉีดพ่นทางใบ เพราะอาจทำให้เกสรเปียกชื้นจนผสมไม่ติดได้
- ระยะดอกบานถ้าตรงกับช่วงฝนชุกเกสรจะเปียกชื้นทำให้ผสมไม่ติด แก้ไขโดยกะระยะให้ดอกออกมาแล้วไม่ตรงกับช่วงฝนชุกเท่านั้น แต่ถ้าดอกออกมาตรงกับช่วงแล้งอากาศร้อนมากเกสรจะฝ่อทำให้ผสมไม่ติดได้เช่นกัน แก้ไขโดยการสร้างความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศและที่พื้นดิน ทั้งในแปลงปลูกและรอบๆแปลงปลูก .... มาตรการบำรุงต้นและดอกให้สมบูรณ์ อย่างแท้จริงอยู่เสมอตั้งแต่เริ่มต้นจะช่วยลดความสูญเสียได้เป็นอย่างมาก

- เพื่อความมั่นใจในเปอร์เซ็นต์หรือประสิทธิภาพของฮอร์โมน เอ็นเอเอ. แนะนำให้ใช้ฮอร์โมน เอ็นเอเอ.วิทยาศาสตร์ แทนฮอร์โมน เอ็นเอเอ. ทำเอง จะได้ผลกว่า

- ฉีดพ่นสารอาหารเพื่อบำรุงดอกด้วยเครื่องมือฉีดพ่นที่มีแรงลมพ่นเบาที่สุดตามความเหมาะสมเพื่อไม่ให้กระทบกระเทือนต่อส่วนต่างๆของดอก ฉีดพ่นที่ช่อดอกโดยตรงพอเปียกหรือฉีดพ่นให้ทั่งทรงพุ่มพอเปียกใบก็ได้

- บำรุงดอกช่วงฝนชุกให้เน้น “สังกะสี และ แคลเซียม โบรอน” โดยให้เมื่อดอกออกมาแล้วหรือให้แบบสะสมล่วงหน้าตั้งแต่ช่วงเปิดตาดอก ให้เดี่ยวๆหรือผสมรวมไปกับธาตุอาหารอื่นๆก็ได้


8. บำรุงผลเล็ก - ผลกลาง


.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 28/01/2024 10:58 am, แก้ไขทั้งหมด 4 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 26/01/2024 12:46 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
8. บำรุงผลเล็ก - ผลกลาง
ทางใบ :
- ให้ไบโออิ + ยูเรก้า + สารสกัดสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 3-5 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- ใส่ยิบซั่ม ปุ๋ยอินทรีย์ กระดูกป่น ปุ๋ยคอก (ขี้วัวขี้ไก่แห้งเก่าข้ามปี) แกลบดิบ ครั้งที่ 2 ของรอบปีการผลิต

- คลุมโคนต้นด้วยเศษพืชแห้งหนาๆ เต็มพื้นที่บริเวณทรงพุ่ม ล้ำออกไปถึงนอกเขตทรงพุ่ม
- ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 21-7-14 (2 ล.) /เดือน รดทั่วแปลงทุกตารางนิ้ว
- ให้ 21-7-14 (1/2 กก.) ละลายน้ำรดโคนต้น บริเวณทรงพุ่ม
- ให้น้ำปกติ ทุก 2-3 วัน

หมายเหตุ :
- เริ่มปฏิบัติหลังจากกลีบดอกร่วงหรือระยะ 1 สัปดาห์แรก
- เนื่องจากอายุการเจริญเติบโตของผลแก้วมังกรมีระยะสั้นมาก ตั้งแต่ผสมติดถึงเก็บเกี่ยวเพียง 1 เดือนหรือ 4 สัปดาห์เท่านั้น การให้ปุ๋ยทางใบ (ไบโออิ. ยูเรก้า. แคลเซียมโบรอน.) ควรให้ทุก 3 วัน และการใส่ปุ๋ยทางรากสูตร 21-7-14 แบบแบ่งใส่ 2-3 ครั้งๆละ 1 กำมือ/สัปดาห์จะได้ผลกว่าการใส่ครั้งเดียว

- ถ้าติดผลดกมากควรให้แม็กเนเซียม. ฮอร์โมน เอ็นเอเอ. ฮอร์โมนไข่. 1-2 รอบ โดยแบ่งให้ตลอดช่วงผลขนาดกลางจะช่วยให้ต้นไม่โทรมเนื่องจากแบกภาระเลี้ยงผลจำนวนมากบนต้น

- ให้จิ๊บเบอเรลลิน 100 กรัม/น้ำ 100 ล. ฉีดพ่น 1 รอบ สามารถแก้อาการผลแตกได้ระดับหนึ่ง แต่หากได้ใช้สลับครั้งกับแคลเซียม โบรอน.จะแก้อาการผลแตกได้แน่นอนยิ่งขึ้น

- ให้ทางใบด้วย ธาตุรอง/ธาตุเสริม 1-2 รอบ โดยแบ่งให้ตลอดช่วงผลกลางจะช่วยบำรุงขยายขนาดผลให้ใหญ่และเนื้อแน่นขึ้นแต่เมล็ดมีขนาดเท่าเดิม

- หาจังหวะให้น้ำตาลทางด่วน (กลูโคส) 1 ครั้ง เมื่ออายุผลแก่ได้ 50% นอกเป็นการบำรุงสร้างความสมบูรณ์แก่ต้น ส่งผลให้ผลผลิตรุ่นนี้ดี แล้วต่อไปอนาคตผลผลิตรุ่นหน้าหรือรอบหน้าอีกด้วยถึง

9. บำรุงผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยว :
ทางใบ :
- ให้ไบโออิ 0-21-74 + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 3 วัน ให้ครั้งสุดท้ายก่อนเก็บเกี่ยว 3 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- เปิดหน้าดินโคนต้น
- ให้ 13-13-21 หรือ 8-24-24 สูตรใดสูตรหนึ่ง (1/2 กก.)/ต้น
- งดน้ำ

หมายเหตุ :
- เริ่มปฏิบัติก่อนเก็บเกี่ยว 7-10 วัน
- ระยะเวลาในการบำรุงผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยวเพียง 1 สัปดาห์ ให้ 2 รอบห่างกันรอบละ 3-5 วัน จะช่วยให้สีจัดรสดี เนื้อแห้งกรอบ

- หลังกลีบดอกร่วงใหม่ๆ (วันแรก) ให้จิ๊บเบอเรลลิน 1 ครั้ง จะช่วยให้การบำรุงขยายขนาดผลได้ผลยิ่งขึ้น

- เมื่ออายุผลครบ 30 วัน สีผลเป็นสีแดง เรียกว่า “แดง 1” หากจะเก็บเกี่ยวเลยก็ได้ แต่หากปล่อยให้ผลอยู่บนต้นต่อไปอีก 1 อาทิตย์ สีปลายเกร็ด (กลีบผล) จากแดง 1 จะกลับเป็นเขียว แล้วกลับมาแดงอีกครั้ง เรียกว่า “แดง 2” เก็บผลช่วงนี้จะได้คุณภาพผลเหนือกว่า แดง 1 อย่างมาก

- การบำรุงผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยวโดยให้ทางรากด้วย 8-24-24 เหมาะสำหรับต้นที่มีผลหลายรุ่นซึ่งหลังจากเก็บเกี่ยวผลแก่รุ่นแรกไปแล้วจะช่วยบำรุงผลชุดหลังต่อ นอกจากนี้ยังทำให้ต้นไม่โทรมเหมาะสำหรับการเตรียมความพร้อมต้นต่อการปฏิบัติบำรุงรุ่นปีต่อไปอีกด้วย

=================================================
=================================================


กล้วย
[ กล้วยหอม. กล้วยน้ำว้า. กล้วยไข่. กล้วยเล็บมือนาง. ]
ลักษณะทางธรรมชาติ (ทุกสายพันธุ์) :
- ในประเทศไทยมีกล้วยหลายร้อยสายพันธุ์ ปัจจุบันสถานีวิจัยปากช่อง นครราช สีมา ได้รวบรวมพันธุ์กล้วยที่มีค่าทางเศรษฐกิจไว้มากกว่า 50 สายพันธุ์

- เป็นพืชอายุสั้นฤดูกาลเดียวหลังจากให้ผลผลิตแล้วต้นตายแต่มีหน่อสืบต่อ (ไม่แยกหน่อไปปลูกใหม่) ทำให้กลายเป็นพืชอายุยืนนานหลายสิบปีได้ โดยเฉพาะกล้วยน้ำว้าที่มีหน่อสืบแทนต้นแม่มีอายุยืนนานหลายปี แต่ผลผลิตที่เกิดจากหน่อสืบต่อแทนต้นแม่นั้นคุณภาพจะด้อยลงจนถึงขนาดมีเมล็ด

- ระหว่างกล้วยน้ำว้า กล้วยหอม กล้วยไข่ ปลูกในแปลงเดียวกัน บำรุงรักษาอย่างเดียวกัน กล้วยไข่ออกเครือก่อน แล้วกล้วยหอมและกล้วยน้ำว้าจะออกเครือที่หลังตามลำดับตามลำดับ

- เป็นพืชอวบน้ำ ต้องการความชุ่มชื้นสูงทั้งในดิน ผิวดินและความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศสูง ไม่ชอบน้ำขังค้างนาน ต้นที่ขาดน้ำจะโตช้า ให้ผลผลิตไม่ดี ถ้าอากาศหนาวเย็นจะโตช้า และผลก็แก่ช้าด้วย

- ขณะต้นแม่ยังไม่ออกเครือไม่ควรแยกหน่อเพราะจะทำให้กระทบกระเทือนต่อต้นแม่ แต่ให้ตัดต้นหน่อจนเหลือแต่ตอสูงจากพื้นประมาณ 20-30 ซม. ไม่นานหน่อนั้นจะแตกยอดใหม่ และให้ตัดหน่อทุกครั้งเมื่อความสูง 80 ซม.- 1 ม. กว่าต้นแม่ออกเครือซึ่งอาจจะต้องตัดหน่อ 2-3 รอบ การตัดหน่อจะทำให้ตัวหน่อเองมีเหง้าขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ เมื่อแยกนำไปปลูกจะได้ผลผลิตที่ดี

- ตอบสนองต่อปุ๋ยน้ำชีวภาพ (ทุกสูตร) และฮอร์โมนธรรมชาติ (ทำเอง) ดีมาก ทั้งๆที่ไม่ได้ใส่ปุ๋ยเคมีเลย ถ้ามีการใช้ปุ๋ยน้ำชีวภาพตั้งแต่เตรียมดินจนถึงบำรุงต้นอย่างต่อเนื่อง ลำต้นจะสูงใหญ่มากจนอาจเกิดปัญหาในการค้ำต้นและการเก็บเกี่ยวผลผลิต แก้ไขโดยเมื่ออายุต้นได้ 90 วัน มียอดใหม่หลังตัดตอ ให้บำรุงทางใบด้วย 0-42-56 หรือกลูโคส 2-3 รอบ ห่างกันรอบละ 20-30 วัน ควบ คู่กับให้ทางรากด้วย 8-24-24 นอกจากจะทำให้ต้นเตี้ยลงแล้วยังช่วยให้ต้นได้สะสมอาหารเพื่อการออกดอก (ปลี) ซึ่งส่งผลให้ออกดอกดีอีกด้วย

- รากเจริญทางยาวได้เดือนละ 1 ม. ซึ่งจะเจริญทางยาวตลอด 3 เดือนแรก หลังจากนั้นไม่เจริญทางยาวอีก ได้แต่แตกรากแขนงออกทางข้าง ดังนั้นการให้น้ำและธาตุอาหารทางรากจึงต้องให้แบบกระจายเต็มทั่วแปลงหรือเต็มพื้นที่ทรงพุ่มรัศมี 2-3 ม.

- งดใช้ยาฆ่าหญ้าทุกชนิดโดยเด็ดขาด แต่ให้ใช้วิธีกำจัดหญ้าหรือวัชพืชด้วยการถอนแล้วปล่อยทิ้งไว้คลุมหน้าดิน ละอองยาฆ่าหญ้าที่ปลิวลมไปกระทบใบกล้วยจะทำให้ใบไหม้ นอกจากนี้ยาฆ่าหญ้าที่ปลิวลงสัมผัสพื้นดินโดยตรงและแทรกอยู่ในต้นหญ้าหรือวัชพืช เมื่อต้นหญ้าหรือวัชพืชเน่าสลาย ยาฆ่าหญ้าก็จะละลายออกมาปนเปื้อนกับเนื้อดินทำให้ดินเป็นกรดอีกด้วย

- แปลงปลูกที่มีลมแรงควรมีไม้บังลม
- ไม่ควรปลูกซ้ำที่เดิมแบบรุ่นต่อรุ่น แนะนำให้แบ่งพื้นที่เป็นสองแปลง ระหว่างที่แปลงหนึ่งปลูกกล้วยนั้นอีกแปลงหนึ่งให้ปลูกพืชอายุสั้นบำรุงดิน เช่น ถั่วฝักยาว ถั่วเขียว ถั่วเหลือง หลังจากเก็บเกี่ยวแล้วให้ไถกลบเศษซากต้นลงดินใช้เป็นปุ๋ยพืชสด และเมื่อแปลงที่กล้วยเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วก็ให้เปลี่ยนเป็นปลูกพืชตระกูลถั่ว ส่วนแปลงที่เคยปลูกพืชตระกูลถั่วก็ให้เปลี่ยนเป็นปลูกกล้วยแทน สลับกันไปมาเช่นนี้จะทำให้ปลูกกล้วยและถั่วได้หลายรุ่น

- รากมีจุลินทรีย์แอ็คติโนมัยซิส การให้จุลินทรีย์หน่อกล้วยตั้งแต่ช่วงเตรียมดินและให้ต่ออีกเป็นครั้งคราว (1-2 เดือน/ครั้ง) หลังจากหน่อยืนต้นได้แล้ว นอกจากช่วยบำรุงต้นแล้วยังช่วยบำรุงดินอีกด้วย

- ธรรมชาติจะออกเครือทางทิศตรงข้ามกับไหลที่งอกออกมาจากต้นแม่ แล้วเกิดเป็นหน่อเสมอ เมื่อต้องการให้ต้นออกเครือมาทางทิศใดก็ให้หันด้านตรงข้ามกับไหลไปทางทิศนั้น ถ้ากล้วยทุกต้นออกเครือทางทิศด้านเดียวกันพร้อมกันทั้งแถวจะช่วยให้การปฏิบัติงานง่ายขึ้น

- แต่ละต้นย่อมมีหลายหน่อ หน่ออยู่ลึกเป็นหน่อสมบูรณ์ดีกว่าหน่ออยู่ตื้น เพื่อให้หน่อทุกหน่อเป็นหน่อสมบูรณ์ก็ให้พูนโคนต้นให้สูงขึ้นด้วยเศษซากพืชแห้งหรือดินเลนก้นร่อง

- อายุต้น 4-6 เดือน (ตามชนิดสายพันธุ์) หลังปลูก จะเริ่มมีหน่อ ให้ตัดต้นหน่อทิ้งไปเพื่อไม่ให้ต้นแม่ต้องรับภาระส่งอาหารไปเลี้ยงหน่อซึ่งเกิดใหม่ จะทำให้ต้นแม่มีสารอาหารส่งไปเลี้ยงผลบนต้นอย่างเพียงพอ หรือระหว่างที่ต้นแม่มีเครืออยู่ หรือยังไม่เก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วมีหน่อแทงขึ้นมาก็ให้ตัดต้นหน่อทิ้งทุกครั้ง ยกเว้นหน่อที่จะเก็บไว้ให้โตต่อแทนต้นแม่

- ระหว่างต้นมีเครืออยู่ ถ้าขุดแยกหน่อออกมาจะทำให้ต้นแม่ชะงักการเจริญเติบโต
- เมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตหรือตัดเครือแล้วให้ล้มต้นแม่ นำเศษซากต้นแม่ออก จากนั้นบำรุงหน่อต่อไปจนได้ขนาดเหง้าและลำต้นใหญ่ตามต้องการ การแยกหน่อจะทำได้หลังจากตัดเครือและล้มต้นแม่แล้วเท่านั้น

- ปลูกกล้วยแบบ รุ่นต่อรุ่น หมายถึง การปลูกให้ได้ผลผลิตพร้อมกันทั้งแปลง ด้วยระยะปลูก 2.5 x 2 ม. หลังจัดเก็บเกี่ยวแล้วล้มต้น นำเศษซากต้นออก ขุดแยกหน่อที่มีทั้งหมดออก ปรับปรุงบำรุงดินและจัดแปลงใหม่ จากนั้นลงมือปลูกใหม่พร้อมกันทั้งแปลง ซึ่งจะทำให้ได้ผลผลิตพร้อมกันทั้งแปลงเหมือนการปลูกครั้งแรก .... การปลูกแบบหลุมละ 2 ต้นแล้วจัดระยะห่างระหว่าง ต้น/แถว เพิ่มขึ้นอีก 1 ม. เป็น 3.5 x 3 ม. จะทำให้ได้จำนวนต้นเพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับพื้นที่แปลงปลูกด้วยระยะ 2.5 x 2 ม. หรือพื้นที่เท่าเดิม

- ปลูกกล้วยแบบ ปลูกครั้งเดียวเก็บเกี่ยวผลผลิตหลายรุ่น หมายถึง การปลูกครั้งแรกแบบพร้อมกันทั้งแปลงหรือไม่พร้อมกันก็ได้ ด้วยระยะห่าง 4 x 4 ม. หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตต้นใดแล้วนำเศษซากต้นแม่ออกพร้อมกับขุดแยกหน่อตามออกทั้งหมด ให้คงเหลือหน่อชิดที่อยู่คนละด้านของต้นแม่ไว้ 2 หน่อ เพื่อให้เจริญ
เติบโตเป็นต้นแม่ในรุ่นต่อไป ซึ่งหน่อชุดใหม่ที่คงไว้นี้จะให้ผลผลิตได้ไม่ต่างจากต้นแม่

- การปลูกกล้วยแบบ มีผลผลิตตลอดปี ให้แบ่งแปลงปลูกเป็นส่วนๆ (โซนนิ่ง) 3-4 แปลง แล้วปลูกกล้วยแต่ละรุ่นให้ห่างกัน 3-4 เดือน แปลงไหนแก่ก่อนเก็บก่อน และแปลงไหนแก่ทีหลังเก็บทีหลัง แต่ละแปลงจะมีกล้วยแก่ให้ทยอยเก็บ 2-3 เดือน เมื่อรวมทุกแปลงแล้วทำให้มีผลผลิตขายตลอดปี

- หน่อหรือต้นแม่เมื่อไม่ต้องการเก็บไว้ทำพันธุ์ต่อให้ทำลายโดยตัดตอ คว้านไส้กลางให้เป็นแอ่งแล้วหยอดน้ำมันพืชหรือน้ำมันก๊าดลงไป 1 ช้อนโต๊ะ เหง้าของหน่อหรือต้นแม่นั้นจะเน่าไม่แตกยอดใหม่ขึ้นมาอีก จากนั้นจะเน่าสลายกลายเป็นปุ๋ยต่อไป

- ช่วงยังไม่ออกเครือควรให้มีใบ 10-12 ใบ ช่วงกำลังออกเครือให้มีใบ 9-10 ใบ และช่วงผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยวให้มีใบ 4-5 ใบก็พอ

- ใบกล้วยมีนวลใบมาก การฉีดพ่นสารอาหารทางใบจึงต้องใช้สารจับใบ (น้ำยาล้างจาน หรือสบู่เหลว) ร่วมด้วยทุกครั้ง

- การปลูกกล้วย (ทุกสายพันธุ์) ให้ได้ผลผลิตเก็บเกี่ยวพร้อมกันหรือระยะเวลาใกล้ เคียงกันต้องใช้ต้นพันธุ์จากเพาะเนื้อเยื่อ

- เทคนิคการบำรุงด้วย ไบโออิ + ยูเรก้า อย่างสม่ำเสมอตั้งแต่เริ่มปลูกจนถึงให้ผลผลิตเก็บเกี่ยวจะช่วยให้ได้ต้นสมบูรณ์ ผลขนาดใหญ่ ยาว เนื้อแน่น กลิ่น รส และสีดี

-วิธีรักษากล้วยให้สุกช้า หลังจากตัดเครือลงมาจากต้นแล้วให้นำลงแช่น้ำในโอ่งจนท่วมทั้งเครือ หรือตัดออกเฉพาะหวี แช่นาน 3-5-7 วัน ตามความต้องการยืดอายุนานสุด ระหว่างแช่อยู่ในน้ำนี้กล้วยจะไม่สุกแต่จะนิ่งอยู่อย่างนั้น จนกระทั่งนำขึ้นจากน้ำ ผึ่งลมให้แห้งแล้วบ่ม กล้วยก็จะเริ่มสุกเองตามปกติ

- บำรุงกล้วยให้รสชาติหอมหวาน ก่อนตัดเครือ 7-10 วัน ให้ “เจาะลำต้นด้านบน ณ ความสูง 3 ใน 4 ของความสูงลำต้นจากพื้น” หรือ “เจาะลำต้นด้านล่าง ณ ความสูงจากพื้น 1 ฝ่ามือ” เลือกเจาะจุดใดจุดหนึ่ง ด้วยไม้ปลายแหลมมนขนาดตะเกียบ ลึกถึงไส้กลาง 3 รูของทั้ง 3 ด้านเป็นแฉกเหมือนตรารถเบนซ์ ให้ปลายรูทั้ง 3 ชนกันที่ไส้กลางพอดี ใส่ "แป้งข้าวหมาก" ลงไปจนเต็มรูทั้ง 3 แล้วปล่อยทิ้งไว้อย่างนั้นจนถึงเก็บเกี่ยว เมื่อนำไปบ่มจนสุกแล้วรับประทานจะมีกลิ่นหอมรสหวานขึ้น บางคนบอกว่ามีกลิ่นและรสแอลกอฮอร์น้อยๆ ทำให้รับประทานได้อร่อยขึ้น

- ก่อนตัดเครือ 2-3 อาทิตย์ ฉีดพ่นด้วยน้ำคั้นมะเขือเทศสุก ให้ทั่วต้นแต่เน้นที่เครือโดยตรง 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 1 อาทิตย์ หลังจากตัดเครือและนำไปบ่มจนสุกแล้วจะได้รสชาติและกลิ่นดีมาก

- ใช้เกลือแกง 1-2 กำมือ + ปุ๋ยคอกแห้งเก่าค้างปี 2-3 กก. ผสมดินปลูกรองก้นหลุมนอกจากช่วยป้องกันหนอนและด้วงงวงเจาะเหง้าได้แล้ว ยังบำรุงผลให้รสชาติดีอีกด้วย

- คลุมโคนต้นด้วยผักปอด (ทั้งต้นและราก) ผสมปุ๋ยคอกจะช่วยบำรุงต้นให้สมบูรณ์ หน่อมาก ผลดกและคุณภาพดี

- ห่อผลหลังจากตัดปลี 20-30 วัน ด้วยกระสอบปุ๋ยทั้งใบ หรือวัสดุอื่นที่ขนาดใหญ่สวมกล้วยได้ทั้งเครือ ตัดส่วนก้นกระสอบเปิดให้อากาศผ่านได้ หรือใช้ใบกล้วยทั้งก้าน 3-4 ก้าน ผูกโคนก้านกับเครือด้านบน จัดใบปิดหวีกล้วยให้มิดชิด ผูกรวบปลายใบที่ห่อให้เรียบร้อย .... เครือที่ห่อด้วยใบกล้วยมีคุณภาพดีกว่าห่อด้วยกระสอบปุ๋ย

- ช่วงติดเครือใหม่ๆ ยังไม่ห่อผล ควรตัดใบล่างทิ้งเพื่อไม่ให้กวัดแกว่งไปถูกผลเพราะจะทำให้ผิวผลมีตำหนิได้

- เครือกล้วยมีขนาดใหญ่ น้ำหนักมาก จำเป็นต้องค้ำต้นด้วยการใช้ไม้ไผ่ลำขนาดเท่าแขน ยาวหรือสูงกว่าเครือกล้วย 1-1.5 ม. จำนวน 2 อัน ใช้เชือกปอพลาสติกทบกันหลายๆ ชั้นยาวประมาณ 50-80 ซม. ผูกปลายไม้ค้ำทั้งสองด้านให้แน่น ค้ำต้น โดยสวมเชือกเข้าหาเครือตรงๆ ไม่ต้องไขว้ปลายไม้ ให้น้ำหนักเครือกล้วยอยู่บนเชือกนั้น ขยับปลายไม้ที่พื้นกางออกแล้วปักลงดินในลักษณะที่ต้นกล้วยเอนลงเล็กน้อย .... หรือใช้ไม้ไผ่ลำขนาดเท่าแขน 1 ลำ แนบลำต้นด้านหลังของเครือ แทงไม้ลงดินยิ่งลึกยิ่งดี ใช้เชือกผูกต้นกล้วยเข้ากับหลัก หลายๆ ทบ แน่นพอประมาณ 3-4 เปราะจากโคนถึงคอ ไม้หลักนี้จะช่วยรั้งลำต้นไว้ไม่ให้เอนมากกว่าที่เป็นอยู่ขณะนั้นได้

- ผลของกล้วยต้นใดมีเมล็ด แสดงว่า กล้วยต้นนั้นช่วงที่เกสรพร้อมรับการผสมแล้วได้รับเกสรจากกล้วยป่า กรณีนี้ให้ล้มกล้วยต้นนั้นทิ้งทั้งกอ เพื่อไม่ให้แพร่พันธุ์ต่อ

- ปลูกกล้วยตัดใบโดยเฉพาะ ให้ปลูกระยะห่าง 2 x 2 หรือ 2 x 3 ม.

การเตรียมหน่อพันธุ์ (ทุกสายพันธุ์)
- เลือกหน่อพันธุ์ที่เป็นหน่อชิด (หน่อแรกที่ออกมาจากต้นแม่) ใบแคบหรือใบธง (ยังไม่กางแผ่) เหง้าใหญ่ ลำต้นตรง ปลายเรียว ถ้าเป็นหน่อที่ผ่านการตัดตอขณะที่ยังอยู่กับต้นแม่มาแล้ว 2-3 รอบซึ่งจะมีเหง้าขนาดใหญ่ หลังจากนำลงปลูกแล้วตัดตออีกเพียงรอบเดียวแล้วบำรุงต่อได้เลย

- หน่อรากลึกสมบูรณ์กว่าหน่อรากตื้น และหน่อเหง้าใหญ่ให้ผลผลิตดีกว่าหน่อเหง้าเล็ก
- หน่อเหง้าเล็กเมื่อนำลงปลูกจนแตกใบอ่อนชุดใหม่สูง 1-1.20 ม.ให้ตัดต้นเหลือแต่ตอแล้วบำรุงเรียกใบใหม่ เมื่อใหม่ออกมาจนต้นสูง 1-1.20 ม.ก็ให้ตัดตอเหนือรอยตัดครั้งแรก 1 ฝ่ามือ ทำซ้ำอย่างนี้ 3 รอบ ห่างกันรอบละ 1-1 เดือนครึ่ง ก็จะได้หน่อเหง้าใหญ่เช่นกัน เรียกว่า เลี้ยงหน่อสร้างเหง้า การตัดจะตัดกี่รอบก็ได้ ต้นแม่หรือหน่อจะไม่ตายตราบเท่าที่ต้นแม่ยังไม่ออกเครือ

- เหง้ากล้วยมีตา เมื่อเฉือนเหง้าออกเป็นชิ้นรูปลิ่ม ให้มีตาติดอยู่ชิ้นละ 1-2 ตา แล้วนำไปเพาะในกระบะเพาะด้วยวัสดุเพาะธรรมดาๆ ตาจากเหง้าจะงอกขึ้นมาเป็นหน่อได้ 1 ตาต่อ 1 หน่อ สามารถนำไปปลูกได้เช่นกัน แต่ต้นอาจจะไม่สมบูรณ์เท่าหน่อปกติ

- ได้หน่อกล้วยมาแล้วตัดส่วนลำต้นออกให้หมด เหลือแต่เหง้า นำลงปลูก โดยให้ส่วนลำต้นชี้ลงดิน ส่วนใต้เหง้าชี้ขึ้นด้านบน กลบดินหลุมปลูก คลุมหลุมปลูกด้วยเศษพืชแห้ง ให้น้ำปกติ เหง้ากล้วยต้นนั้นจะแตกหน่อ 3-5 หน่อ/เหง้า ซึ่งหน่อทั้งหมดนี้สามารถให้ผลผลิตที่ดีได้

- การขุดแยกหน่อจากต้นแม่ควรขุดให้ตั้งฉาก ใช้มีดคมๆ ตัดก้าน (ไหล) น้ำเลี้ยงยกขึ้นตรงๆ ห้ามโยกเด็ดขาดเพราะจะทำให้เหง้าช้ำ โดยเฉพาะกล้วยหอมกับกล้วยไข่ต้องระวังเป็นพิเศษ

- หน่อที่แยกออกมาจากต้นแม่แล้ว ถ้ามีใบมากเกินไปให้ลิดใบทิ้งเหลืองเพียง 1-2 ใบ พร้อมกับตัดใบแห้งกาบแห้งออกให้หมด หรือถ้าหน่อมีความสูงมากเกินไปให้ตัดลำต้นแล้วต้นจะแตกยอดขึ้นมาใหม่เอง

- หน่ออ่อนอายุยังน้อยหรือหน่อใบกว้าง เป็นหน่อไม่สมบูรณ์ไม่ควรใช้ทำพันธุ์ ส่วนหน่อใบแคบหรือใบธงเป็นหน่อสมบูรณ์เหมาะสำหรับใช้ทำพันธุ์

- หน่อแรกที่ออกมาจากต้นแม่เรียกว่า "หน่อชิด" เป็นหน่อสมบูรณ์เหมาะสำหรับใช้ทำพันธุ์ ส่วนหน่อที่เกิดต่อลำดับจากหน่อชิดเรียกว่า "หน่อตาม" เป็นหน่อสมบูรณ์น้อยกว่าหน่อชิด เมื่อนำลงปลูกแล้วต้องบำรุงเลี้ยงเหง้าให้ใหญ่เสียก่อน

- วิธีขุดแยกหน่อจากต้นแม่ออกมาแล้วนำลงชำในถุง เลี้ยง (อนุบาล) ในโรงเรือนจนกระทั่งได้ใบใหม่ 2-3 ใบจึงนำลงปลูกในแปลงจริง จะช่วยให้ต้นแตกรากใหม่และโตเร็วกว่าการนำหน่อที่แยกจากต้นแม่แล้วนำลงปลูกในแปลงจริงเลย

- เพิ่มจำนวนหวีต่อเครือ เมื่อกล้วยตกเครือ เหลืออีก 2-3 หวีจะตัดหัวปลี ให้ "เอ็นเอเอ" 1 ครั้ง จะช่วยให้ได้จำนวนหวีเพิ่มขึ้นจากเดิมอีก 2-3 หวี


ขั้นตอนการปฏิบัติบำรุงต่อกล้วย
(ทุกสายพันธุ์)
1. ระยะต้นเล็ก
ทางใบ :
- ให้ไบโออิ 25-5-5 + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน ช่วงเช้าแดดจัด ฉีดพ่นให้เปียกโชกทั้งใต้ใบบนใบลงถึงพื้นดินโคนต้น

- ฉีดพ่นสารสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

หมายเหตุ :
- การให้ไบโออิ 25-5-5 จะช่วยให้ได้ใบขนาดใหญ่หนาเขียวเข้ม เป็นใบที่มีคุณภาพดีกว่าใส่ปุ๋ยสูตรเสมอ

- เนื่องจากใบกล้วยมีนวลใบมาก การฉีดพ่นทางใบควรผสมสารจับใบ (น้ำยาล้างจาน หรือสบู่เหลว) ด้วย ฉีดพ่นแล้วให้สังเกตว่าน้ำที่ฉีดพ่นไปนั้นเปียกทั่วใบจริงหรือไม่ การใช้สารจับใบครั้งแรกอาจจะต้องใช้มากกว่าปกติเพื่อละลายนวลใบออกไปหลังจากนั้นจึงใช้ในอัตราปกติได้

ทางราก :
- ใส่ยิบซั่ม ปุ๋ยอินทรีย์ กระดูกป่น ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ (แห้งเกาข้ามปี)
- ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 (1-2 ล.) /ไร่ ด้วยการรดโคนต้นจนโชกแฉะเต็มพื้นที่แปลงปลูก หรือปล่อยร่วมกับน้ำไปตามร่องแถวปลูก ทุก 20-30 วัน

- ให้น้ำปกติ ทุก 3-5 วัน

หมายเหตุ :
- กล้วยตอบสนองต่อ ผักปอดคลุมหน้าดินโคนต้น โดยมีปุ๋ยอินทรีย์ ยิบซั่ม กระดูกป่น ขี้วัวขี้ไก่ รองพื้น ใส่ครั้งเดียวตั้งแต่ปลูกถึงตัดเครือ แล้วรดด้วยน้ำหมักชีวภาพสูตรระบิดเถิดเทิง 30-10-10 เดือนละครั้ง ไม่ต้องใส่ปุ๋ยเคมีเพิ่ม

2. ระยะก่อนแทงปลี : [/b]
ทางใบ :
- ให้ไทเป + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน ฉีดพ่นให้เปียกโชกทั้งใต้ใบบนใบลงถึงพื้น ติดต่อกัน 1-2 เดือน

- ฉีดพ่นสารสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 8-24-24 (2 ล.) /ไร่ รดทั่วแปลงทุกตารางนิ้ว .... ไม่ต้องใส่ปุ๋ยเคมีเพิ่ม

- ให้น้ำปกติ ทุก 5-7 วัน

หมายเหตุ :
- เริ่มบำรุงเมื่ออายุต้น 170-180 วัน หลังแตกยอดที่เกิดจากตัดตอครั้งสุดท้าย กรณีที่ให้ 30-10-10 ทางราก จะทำให้ต้นสูงใหญ่มาก อาจจะทำให้การเข้าไปปฏิบัติงานไม่สะดวก แก้ไขโดยเมื่อเห็นว่าต้นมีความสูงพอสมควรแล้ว แม้ว่าอายุต้นจะยังไม่ได้ตามกำหนดก็ตาม แนะนำให้ทางใบด้วย “0-42-56 + ไทเป” คู่กับให้ทางรากด้วย 8-24-24 ได้เลย วิธีนี้นอกจาก จะช่วยลดความสูงของต้นไม่ให้สูงต่อได้แล้ว ยังเป็นการสะสมอาหารก่อนออกปลีได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

- การแทงปลีของต้นกล้วยก็คือ การออกดอกของไม้ผลทั่วๆไป ดังนั้นเพื่อให้ต้นได้มีการสะสมอาหารเพื่อการออกดอกหรืออั้นตาดอกได้สมบูรณ์ดียิ่งขึ้น ควรเสริมด้วยธาตุอาหารกลุ่มสะสมตาดอกอื่นๆ เช่น น้ำตาลทางด่วน (กลูโคส) 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 20-30 วัน ทั้งนี้ กล้วยไม่จำเป็นต้องเปิดตาดอกเหมือนผลไม้ทั่วไป เมื่อต้นได้รับธาตุอาหารกลุ่มสะสมตาดอกเต็มที่ก็จะแทงดอก (ปลี) ออกมาเอง

- ระยะต้นเล็กถึงก่อนแทงปลีให้ตัดแต่งใบเหลือ 12-13 ใบ
- อายุต้น 90-120 วันหลังปลูกแตกใบอ่อนชุดแรกจะเริ่มมีหน่อแทงขึ้นมา เมื่อหน่อโตสูงได้ 90 ซม.- 1 ม.ให้ตัดตอหน่อเหลือตอสูงจากพื้น 15-20 ซม. หลังจากตัดตอหน่อแล้วจะแตกใบอ่อนออกมาอีกก็ให้ตัดตออีกเมื่อตอสูง 90 ซม.- 1 ม. เช่นกัน และให้ตัดทุกครั้งจน กว่าจะเก็บเกี่ยวผลผลิต การตัดตอแต่ละครั้งให้แผลครั้งหลังสูงกว่าแผลครั้งแรก 1-2 ฝ่ามือ มีดที่ใช้ตัดต้องคมจัดเพื่อให้แผลช้ำน้อยที่สุดก็จะแตกใบอ่อนชุดใหม่ได้เร็ว

- การตัดหน่อด้วยมีดหรือเคียวคมๆ ทำให้แผลไม่ช้ำ จากนั้นประมาณ 10-15 วัน จะมีหน่อใหม่แทงขึ้นมา ถ้าไม่ใช้มีดหรือเคียวคมๆ ตัดหน่อแล้วใช้วิธีเหยียบหน่อให้ล้มลง โคนหน่อช้ำ แบบนี้จะทำให้หน่อแทงใบใหม่ช้า ซึ่งอาจต้องใช้เวลา 1-2 เดือน ทำให้ประหยัดเวลา

4. ระยะเริ่มแทงปลี :
ทางใบ :
- ให้ไบโออิ 15-45-15 + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน ฉีดพ่นให้เปียกโชกทั้งใต้ใบบนใบลงถึงพื้นดินโคนต้น

- ฉีดพ่นสารสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 8-24-24 (2 ล.) /1 ไร่ รดทั่วแปลงทุกตารางนิ้ว ทุก 20-30 วัน .... ไม่ต้องใส่ปุ๋ยเคมีเพิ่ม

- ให้น้ำปกติ ทุก 5-7 วัน

หมายเหตุ
- ก่อนแทงปลีจะมี “ใบธง” ลักษณะม้วนกลมชี้ตรงขึ้นฟ้าแทงออกมาก่อน หลังจากปลีออกมาเป็นงวงชี้ลงล่างแล้วใบธงก็จะกลายเป็นใบปกติ

- การที่ในเครือกล้วยมีจำนวนหวีน้อย หรือหวีสุดท้ายปลายเครือเป็น “ตีนเต่า” เร็วเกินไป เนื่องมาจากต้นได้รับธาตุอาหารไม่สมดุล และบำรุงตั้งแต่ขั้นตอนเตรียมหน่อ และระยะต่างๆ ก่อนแทงปลีไม่ดีพอ

- การให้ฮอร์โมน เอ็นเอเอ. (15-45-15 + ธาตุรอง/ธาตุเสริม + เอ็นเอเอ.) เมื่อปลายปลีแทงพ้นโคนก้านใบธงขึ้นมาประมาณ 1 ฝ่ามือ 2-3 รอบห่างกันรอบละ 7-10 วัน จนกระทั่งตัดปลีจะช่วยให้เกสรสมบูรณ์ ผสมติดเป็นผลได้มากขึ้น ส่งผลให้ในเครือมีจำนวนหวีมาก และแต่ละหวีก็จะมีจำนวนผลมากขึ้นด้วย

- ดอกกล้วย (ปลี) เป็นดอกสมบูรณ์เพศ เกสรกล้วยพร้อมผสมกันเองหรือรับการผสมจากต้นอื่นได้ทั้งช่วงกลางวันและกลางคืน ช่วงกลางวันจะมีแมลงช่วยผสม ส่วนช่วงกลางคืนจะมี ค้างคาว-ชันโรง ช่วยผสม หลังจากกลีบดอก (กาบหัวปลี) เปิดแย้มเต็มที่แล้ว ถ้าช่วยผสมด้วยมือโดยใช้พู่กันขนอ่อนยาวคุ้ยเขี่ยบริเวณเกสรให้มีโอกาสได้ผสมกัน นอกจากจะช่วยให้ได้ผลผลิตมากขึ้นแล้ว คุณภาพผลก็ดีขึ้นอีกด้วย

5. ระยะผลเล็ก - กลาง :
ทางใบ :
- ให้ไบโออิ + ยูเรก้า + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน + สารสมุน ไพร 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน ฉีดพ่นให้เปียกโชกลงถึงพื้น

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก
- ใส่ยิบซั่ม 10% ของอัตราการใส่เมื่อช่วงเตรียมดิน
- ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 21-7-14 (2 ล.) /1 ไร่ รดทั่วแปลงทุกตารางนิ้วทุก 20-30 วัน ....ไม่ต้องใส่ปุ๋ยเคมีเพิ่ม

- ให้น้ำปกติ ทุก 5-7 วัน

หมายเหตุ :
- เริ่มบำรุงหลังจากตัดปลี
- หาจังหวะให้น้ำตาลทางด่วน (กลูโคส) 1 ครั้ง เมื่ออายุผลแก่ได้ 50% นอกเป็นการบำรุงสร้างความสมบูรณ์แก่ต้น ส่งผลให้ผลผลิตรุ่นนี้ดี แล้วยังส่งผลไปถึงหน่ออีกด้วย

- หลังจากตัดปลีแล้ว 20-30 วันให้ห่อผลด้วยถุงขนาดใหญ่ เปิดก้นถุงระบายอากาศห่อทั้งเครือ หรือใช้ใบกล้วย 3-4 ใบผูกโคนก้านกล้วยกับก้านเครือ ปล่อยใบยาวตามเครือจัดระเบียบใบกล้วยให้คลุมผลกล้วยทั้งเครือ มัดรวบช่วงปลายใบกล้วยที่ใช้ห่อกับมัดช่วงกลางพอหลวมอีก 1-2 เปราะ .... ก่อนลงมือห่อผลควรฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรกำจัดชื้อราและแมลงให้เปียกโชก นอกจากช่วยกำจัดเชื้อราแล้วยังกำจัดไข่ของแม่ผีเสื้อไม่ให้ฟักออกเป็น ตัวหนอน ป้องกันแมลงวันทองและยังทำให้ผิวสวย คุณภาพเนื้อในดีอีกด้วย

- ระยะบำรุงผล (หลังตัดปลี) ถึงผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยว ตัดแต่งใบให้เหลือไว้ประมาณ 9-10 ใบ
- เมื่อเห็นว่าเครือเริ่มใหญ่และน้ำหนักมากขึ้นให้ค้ำต้น
- ให้กำมะถัน 1-2 รอบตลอดช่วงผลกลาง จะช่วยบำรุงให้กลิ่นและสีดี

7. ระยะผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยว :
ทางใบ :
- ให้ 0-21-74 + ธาตุรอง/ธาตุเสริม + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วันก่อนเก็บเกี่ยว ฉีดพ่นทางใบให้เปียกโชกทั้งใต้ใบบนใบลงถึงพื้น

- ฉีดพ่นสารสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก
- ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 8-24-24 (2 ล.) /ไร่ รดทั่วแปลงทุกตารางนิ้ว .... ไม่ต้องใส่ปุ๋ยเคมีเพิ่ม

- ให้น้ำกับปุ๋ยแล้วงดน้ำจนถึงวันเก็บเกี่ยว

หมายเหตุ :
- ให้ก่อนเก็บเกี่ยว 7-10 วัน
- เมื่อผลกล้วยส่วนโคนเครือแก่ได้ประมาณ 3 ใน 4 ของจำนวนหวีทั้งเครือ ใบจะเริ่มเหี่ยวเหลืองเนื่องจากใกล้หมดอายุต้น ใบที่เหี่ยวเหลืองแล้วนี้จะไม่สังเคราะห์สารอาหาร เป็นเหตุให้จำนวนหวีส่วนปลายเครือ 1 ใน 4 ไม่ได้รับสารอาหาร หรือได้รับน้อยกว่าปกติ จังหวะนี้หากมีการให้ “แมกเนเซียม” (ในไบโออิ) ทางใบเสมอๆ ก็จะช่วยบำรุงให้ใบยังคงเขียวสด สังเคราะห์สารอาหารต่อไปได้ จนกระทั่งผลของหวีสุดท้ายปลายสุดของเครือแก่จัด


กล้วยน้ำว้า
คุณลักษณะเฉพาะ

- สายพันธุ์แนะนำได้แก่ มะลิอ่อง. ไส้แดง. นวลจันทร์.
- กล้วยน้ำว้าปลูกได้ทุกพื้นที่และทุฤดูกาล ชอบดินเหนียวมีอินทรีย์วัตถุมากๆ เจริญ เติบโตได้ดีในสภาพดินที่มีความชื้นสูงจนถึงแฉะ มีลักษณะทางสายพันธุ์ใกล้เคียงกับกล้วยป่า ถ้าได้รับการผสมเกสรกับกล้วยป่า ผลของกล้วยน้ำว้าต้นนั้นจะมีเมล็ด

- ปลูกลึกให้เหง้าต่ำกว่าผิวดิน 20-30 ซม. จะช่วยให้โตเร็วได้เหง้า และโคนต้นขนาดใหญ่
- ก่อนนำลงปลูกให้ตัดรากที่ติดมากับเหง้าทิ้งทั้งหมด เพราะรากเดิมไม่งอกต่อแต่จะเน่าแล้วแทงรากใหม่ออกมาแทน

- แช่เหง้าที่ตัดรากและทำความสะอาดแล้วในสารไคตินไคโตซานนาน 6-12 ชม.ก่อนนำลงปลูกในแปลงจริง นอกจากเป็นการช่วยให้ต้นได้สะสมสารอาหารไว้ในเหง้าก่อนแล้วยังส่งผลให้ต้นสมบูรณ์แข็งแรงโตเร็ว และให้ผลผลิตดีอีกด้วย

- นำหน่อลงปลูกแล้วกดดินให้แน่น พูนโคนต้นด้วยดินข้างหลุม และคลุมหลุมปลูกหนาๆ กว้างเต็มพื้นที่ทรงพุ่มด้วยเศษหญ้าแห้ง

- กล้วยน้ำว้าต้องการน้ำมากและสม่ำเสมอ จึงไม่ควรให้หน้าดินถูกแดดจนแห้ง ถ้าต้นขาดน้ำหรือมีความชุ่มชื้นน้อยจะชะงักการเจริญเติบโต

- คุณสมบัติพิเศษอย่างหนึ่ง คือ ทนทานต่อน้ำขังแฉะได้นาน
- อายุตั้งแต่เริ่มปลูกถึงตัดเครือ 14 เดือนครึ่ง (เริ่มปลูกถึงแทงปลี 250-260 วัน และแทงปลีถึงตัดเครือ 110-120 วัน) สภาพอากาศหนาวจะแทงปลี และตัดเครือช้ากว่าสภาพอากาศร้อน

- อายุต้นหลังปลูก 3-4 เดือนจะเริ่มแทงหน่อ เมื่อหน่อสูง 50-80 ซม.ให้ตัดหน่อเหลือตอสูงจากพื้น 15-20 ซม. และตัดซ้ำทุกครั้งที่หน่อสูง 50-80 ซม. โดยให้รอยตัดครั้งหลังสูงกว่ารอยตัดครั้งก่อน 5-10 ซม.เสมอ จนกระทั่งต้นแม่อายุ 7-8 เดือนให้เลือกหน่อชิด 1-2 หน่อไว้เพื่อแทนต้นแม่หลังจากตัดเครือและล้มต้นแม่แล้ว หน่อที่เลือกไว้นี้ไม่ต้องตัดต้นส่วนหน่อ ตามหรือหน่ออื่นๆให้ตัดตามปกติ

- การไว้หน่อเพื่อแทนต้นแม่สำหรับเป็นกล้วยรุ่นปีต่อไปนั้น หน่อแต่ละรุ่นควรมีอายุห่างกัน 4-5 เดือนเสมอ

- ช่วงที่ยังไม่แทงปลีให้เลี้ยงใบไว้ทั้งหมด เมื่อถึงช่วงแทงปลี และออกเครือแล้วให้มีใบ 10-12 ใบ

- ก่อนแทงปลีจะมีใบธงชูตรงขึ้นมาให้เห็น จังหวะนี้ควรให้ปุ๋ยทางรากด้วย 8-24-24 ควบคู่กับให้ ทางใบด้วย 0-42-56 + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 7-10วัน จะช่วยให้ดอก (ปลี) สมบูรณ์ ส่งผลให้ได้จำนวนหวี และจำนวน ผล/หวี มากขึ้น

- ระหว่างที่ต้นแม่กำลังแทงปลี ตกเครือ จนถึงตัดเครือ ห้ามขุดแยกหน่อเด็ดขาดเพราะจะทำให้ต้นแม่กระทบกระเทือน แต่ถ้าหน่อสูงใหญ่มากใช้วิธีตัดต้นหน่อให้สั้นลงแทน หลัง จากตัดเครือแล้วจึงขุดแยกหน่อได้

- กล้วยน้ำว้าปลูกลึก มีรากมากและอยู่ลึก โคนลำต้นจะค่อนข้างใหญ่เมื่อเทียบขนาดกับกล้วยสายพันธุ์อื่น ช่วงที่ต้นมีเครือขนาดใหญ่ ถ้าต้นตั้งตรงปกติก็ไม่จำเป็นต้องใช้ไม้ค้ำต้น แต่ถ้าต้นเอียงก็อาจจะต้องมีไม้ค้ำต้นเพื่อป้องกันต้นล้ม

- กล้วยน้ำว้าแจ๊คพ็อต หมายถึง กล้วยน้ำว้าที่แก่จัดใกล้สุก (ห่าม) หรือสุกพอดีตรงหรือก่อนเล็กน้อยกับช่วงวันเข้าพรรษา ออกพรรษา หรือในพรรษาพอดี การปลูกกล้วยน้ำว้าให้ได้ผลผลิตตรงกับช่วงเทศกาลดังกล่าวทำได้โดย นับระยะอายุจากวันตัดเครือย้อนหลังมาถึงวันที่หน่อเริ่มยืนต้นได้ 14 เดือนครึ่ง ให้ลงมือปลูกหน่อกล้วยที่เตรียมไว้พร้อมแล้วก่อนวันที่หน่อเริ่มยืนต้นได้ 10-15 วัน จากนั้นปฏิบัติบำรุงตามขั้นตอนปกติ กล้วยน้ำว้าต้นนั้นก็จะมีเครือให้ตัดได้ในอีก 14 เดือนครึ่งต่อมาพอดี

วิธีปลูกหน่อก่อน 2-3 เดือนแล้วตัดต้น 1-2 รอบเพื่อสร้างเหง้าให้ใหญ่ ซึ่งการตัดต้นครั้งสุดท้ายตรงกับวันเริ่มนับอายุปลูก (ยืนต้น) ก็ได้


กล้วยไข่
คุณลักษณะเฉพาะ

- สายพันธุ์แนะนำ คือ กล้วยไข่กำแพงเพชร (ดีที่สุด). ทองร่วงหรือค่อมเบา (ผลใหญ่/รสหวาน ติดเปรี้ยวเล็กน้อย). เคบี-2 และ เคบี-3

- ปลูกช่วงปลายฝนต้นหนาว (ส.ค.-ก.ย.) นอกจากช่วยให้ต้นโตเร็วแล้ว ยังเป็นการหลีกเลี่ยงไม่ให้ออกเครือช่วงหน้าแล้งได้อีกด้วย

- ชอบดินร่วนปนทราย มีอินทรีย์วัตถุมากๆ โปร่ง ไม่ชอบอากาศร้อนจัดหรือหนาวจัดเกินไป

- ค่อนข้างอ่อนแอต่อน้ำขังแฉะโคนต้นและดินเหนียวอุ้มน้ำ เพราะฉะนั้นนอกจากต้องเตรียมแปลงปลูกสูงๆแล้ว ยังต้องมีระบบระบายน้ำจากแปลงปลูก และระบบสะเด็ดน้ำไม่ ให้ขังค้างในเนื้อดินโคนต้นอีกด้วย

- ปลูกในพื้นที่อากาศหนาวเย็นจะออกเครือช้า ปลูกในพื้นที่อากาศร้อนเกินไปจะเกิดอาการใบไหม้ โตช้า บางครั้งถึงแคะแกร็น หรือต้นชะงักการเจริญเติบโต

- จัดแปลงปลูกแบบลูกฟูกยกร่องแห้ง แล้วให้น้ำโชกๆ ผ่านไปตามร่องระหว่างสันลูกฟูกจะช่วยให้ดินมีน้ำ และความชื้นพอดีต่อความต้องการของกล้วยไข่

- ช่วงที่ต้นกำลังเจริญเติบโตถ้าเกิดอาการใบสลดแสดงว่าขาดน้ำ
- ระยะปลูกที่พอดี 2.5 x 2 ม. พื้นที่ 1 ไร่ปลูกได้ 320 ต้น ไม่ควรปลูกห่างหรือชิดกว่านี้เพราะแต่ละต้นต้องการอาศัยบังแดดและลมซึ่งกันและกัน

- ปลูกแบบขุดหลุมปลูกตื้น หรือให้บริเวณหัวเหง้าต่อกับลำต้นเสมอผิวดิน (ลึก 20-25 ซม.) แล้วใช้ดินปลูกถมพูนโคนต้นจะช่วยให้โตเร็วกว่าการปลูกลึกๆ การมีเศษหญ้าแห้งคลุมหนาๆโคนต้นกว้างเต็มพื้นที่ทรงพุ่มจะช่วยเก็บความชุ่มชื้นหน้าดินส่งผลให้หน่อแตกรากใหม่เร็ว

- ปลูกหน่อลงหลุมแล้วกดดินพอกระชับราก พูนโคนต้นด้วยอินทรีย์วัตถุ และเศษพืชแห้งหนาๆ แผ่ทั่วบริเวณทรงพุ่ม

- อายุต้นหลังปลูก 3-4 เดือนเริ่มแทงหน่อ เมื่อหน่อสูง 50-80 ซม. ให้ตัดหน่อเหลือตอสูงจากพื้น 15-20 ซม. และตัดซ้ำทุกครั้งที่หน่อสูง 50-80 ซม. โดยให้รอยตัดครั้งหลังสูงกว่ารอยตัดครั้งก่อน 5-10 ซม.เสมอ จนกระทั่งต้นแม่อายุ 7-8 เดือนให้เลือกหน่อชิด 1-2 หน่อเพื่อแทนต้นแม่หลังจากตัดเครือและล้มต้นแม่แล้ว หน่อที่เลือกไว้นี้ไม่ต้องตัดต้นอีก ส่วนหน่อตามหรือหน่ออื่นๆให้ตัดต้นตามปกติ

- ช่วงแทงปลียาวออกมาแล้ว (ยังไม่ตัดหัวปลี) ใช้ปุ๋ยทางใบสูตร 15-45-15 (200 กรัม)/น้ำ 20 ล. ฉีดเข้าที่ก้านของปลีพอเปียก 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วันจะช่วยให้การติดผลดี ได้จำนวนหวีมากขึ้น

- การไว้หน่อเพื่อแทนต้นแม่หลังตัดเครือแล้วสำหรับรุ่นปีต่อไปนั้น หน่อแต่ละรุ่นควรมีอายุห่างกัน 4-5 เดือนเสมอ

- แยกหน่อจากต้นแม้ด้วยความประณีต ให้คงมีรากเดิมติดเหง้ามามากที่สุดเท่าที่จะมากได้ และอย่าให้รากที่ติดมานั้นกระทบกระเทือนมากนัก การมีดินเดิมห่อหุ้มรากขณะเคลื่อนย้ายจะช่วยให้รากชุ่มชื้นอยู่เสมอเมื่อนำลงปลูกจะยืนต้นได้เร็ว

- ได้หน่อมาแล้วควรนำลงปลูกโดยเร็วไม่ควรทิ้งไว้นาน ถ้าจำเป็นต้องทิ้งไว้นานให้พรมน้ำแล้วห่อหุ้มเหง้าและรากด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์ รากเดิมที่ติดมากับเหง้าไม่ควรตัด ทิ้ง แต่ให้ปลูกพร้อมรากเดิมเลย กับทั้งต้องระวังการขุดแยกจากต้นแม่ ขณะเคลื่อนย้าย นำลงปลูก อย่าให้รากที่ติดอยู่กับเหง้าช้ำ หรือกระทบกระเทือนมากนัก เพราะรากของกล้วยไข่สามารถเจริญต่อจากรากเดิมได้

- เลือกหน่อพันธุ์ลักษณะ โคนใหญ่ ปลายเรียว ใบแคบ อายุ 3-4 เดือน
- อายุต้นตั้งแต่เริ่มปลูกถึงออกปลี 190-200 วัน หลังจากตัดปลีแล้ว 45-50 วันเก็บเกี่ยวได้ หรือตั้งแต่ออกปลีถึงเก็บเกี่ยว 60-70 วัน

- ผลผลิตทั่วๆไปอกสู่ตลาดช่วงเดือน ส.ค.- พ.ย.
- ช่วงที่ยังไม่ออกเครือให้ไว้ใบ 10-12 ใบ และช่วงที่ออกเครือแล้วให้ไว้ใบ 8-9 ใบ จะทำต้นไม่เฝือใบ ไม่โทรม และให้ได้ผลผลิตดี

- หลังจากตัดปลีแล้ว 20-30 วัน ให้ห่อเครือด้วยถุงสีฟ้าขนาดใหญ่ เปิดก้นถุง เพื่อให้ลมผ่านและอากาศถ่ายเทสะดวก หรือห่อด้วยใบของเขาเอง

- ช่วงที่ต้นกำลังออกเครือระบบรากค่อนข้างอ่อนแอจึงไม่ควรให้ปุ๋ยทางรากเพราะนอกจากอาจจะทำให้รากเน่าแล้ว ยังทำให้ผลแก่เร็วกว่ากำหนดทั้งๆ ที่ขนาดผลยังเล็ก และหลังจากเก็บเกี่ยวแล้วยังบ่มให้สุกช้าอีกด้วย เมื่อให้ปุ๋ยทางรากไม่ได้ก็ต้องให้ทางใบแทน

- ปกติหวีที่ปลายเครือ 1-2 หวี มักมีขนาดเล็ก เรียกว่า "ตีนเต่า" แก้ไขโดย หลังจากตัดปลีแล้ว 1-2 อาทิตย์ ให้ตัดทิ้ง 1-2 หวีสุดท้ายที่ปลายเครือ วิธีนี้จะช่วยให้ทุกผลของทุกหวีในเครือที่เหลืออยู่เป็นผล และหวีขนาดใหญ่ทุกหวี

- หลังจากห่อผลแล้ว 30 วัน ใบบางส่วนจะเริ่มแห้ง ผลกลมไม่มีเหลี่ยม แสดงว่าผลแก่จัดเก็บเกี่ยวได้แล้ว

- ช่วงติดผลขนาดใหญ่ นำหนักเพิ่มขึ้น ถ้าต้นรับน้ำหนักไหวก็อาจจะไม่ต้องมีไม้ค้ำต้นแต่ถ้าเห็นว่าต้นคงรับน้ำหนักไม่ไหวแน่ก็ให้ค้ำต้น

- ไม่ควรปล่อยให้แก่จนสุกคาต้นเพราะจะทำให้กลิ่นและรสด้อยลง
- กล้วยไข่แจ๊คพ็อต หมายถึง กล้วยไข่ที่แก่จัดใกล้สุก (ห่าม) หรือสุกพอดีตรงหรือก่อนเล็กน้อยกับช่วงวันสารทไทย การปลูกกล้วยไข่ให้ได้ผลผลิตตรงกับช่วงเทศกาลดังกล่าว สามารถทำได้โดยการนับระยะอายุจากวันตัดเครือย้อนหลังมาถึงวันที่ยืนต้นได้ 9 เดือน ให้ลงมือปลูกหน่อกล้วยก่อนวันที่ยืนต้นได้ 1-2 เดือน จากนั้นให้ปฏิบัติบำรุงตามขั้นตอนปกติ หรือลงมือปลูกหน่อก่อนวันสารทไทย 11-12 เดือน กล้วยไข่ต้นนั้นก็จะมีเครือให้ตัดได้ในวันสารทไทยพอดี



กล้วยหอม
คุณลักษณะเฉพาะ :

- แหล่งปลูกที่เหมาะสมในการปลูกกล้วยหอมมีสภาพพื้นที่เป็นพื้นที่ที่น้ำไม่ท่วมขัง มีการระบายน้ำได้ดีมีแหล่งน้ำเพียงพอตลอดฤดูปลูก มีความอุดมสมบูรณ์ ความเป็นกรด-ด่าง 4.5-7.5 เป็นพื้นที่ที่ไม่มีลมแรง หรือเลือกพื้นที่ที่มีแนวกันลม อุณหภูมิเหมาะสมกับการเจริญ เติบโต ประมาณ 25-30 องศา ซี. ไม่ควรต่ำกว่า 15 องศา ซี. และสูงกว่า 35 องศา ซี.

- มีหลายสายพันธุ์ เช่น แกรนเนน. หอมจันทร์. หอมทองไต้หวัน.
- สายพันธุ์นิยมมี 2 สายพันธุ์ คือ หอมทอง. หอมเขียว.
- ปลูกลึกมิดเหง้าแล้วคลุมทับด้วยเศษพืชแห้งหนาๆ
- ลงมือปลูกช่วงปลายฝนต่อต้นหนาวจะช่วยให้ต้นโตเร็ว
- การปฏิบัติขณะขุดแยกจากต้นแม่ การขนย้าย ระวังเหง้าและรากติดเหง้า เหมือนกล้วยไข่

- ค่อนข้างอ่อนแอต่อน้ำขังแฉะ แนวทางปฏิบัติและแก้ไขเหมือนกล้วยไข่
- อายุต้นหลังปลูก 3-4 เดือนจะเริ่มแทงหน่อ เมื่อหน่อสูง 50-80 ซม.ให้ตัดหน่อเหลือตอสูงจากพื้น 15-20 ซม.และตัดซ้ำทุกครั้งที่หน่อสูง 50-80 ซม. โดยให้รอยครั้งหลังสูงกว่ารอยตัดครั้งก่อน 5-10 ซม.เสมอ จนกระทั่งต้นแม่อายุ 7-8 เดือนให้เลือกหน่อชิด 1-2 หน่อที่อยู่คนละด้านกับต้นแม่ เพื่อแทนต้นแม่หลังจากตัดเครือและล้มต้นแม่แล้ว หน่อที่เลือกไว้นี้ไม่ต้องตัดต้นต่อไปอีก ส่วนหน่อตามหรือหน่ออื่นๆให้ตัดต้นตามปกติแล้วขุดแยกออกไปหลังตัดเครือต้นแม่

- การไว้หน่อเพื่อแทนต้นแม่หลังตัดเครือแล้วสำหรับรุ่นปีต่อไปนั้น หน่อแต่ละรุ่นควรมีอายุห่างกัน 4-5 เดือนเสมอ

- อายุต้น ตั้งแต่เริ่มปลูกถึงแทงปลี 7-8 เดือน และตั้งแต่แทงปลีถึงเก็บเกี่ยว 70-80 วัน หรือตั้งแต่เริ่มปลูกถึงตัดเครือ 10 เดือนครึ่ง

- ผลผลิตทั่วๆไปอกสู่ตลาดช่วงเดือน ส.ค.- พ.ย.
- ช่วงที่ยังไม่ออกเครือให้เลี้ยงใบไว้ทั้งหมด แต่ช่วงที่ออกเครือแล้วให้ไว้ใบ 9-10 ใบ จะทำต้นไม่เฝือใบ ไม่โทรม และให้ได้ผลผลิตดี

- หลังจากตัดปลีแล้ว 20-30 วัน ให้ห่อเครือด้วยถุงโปร่งแสงขนาดใหญ่ เปิดก้นถุง เพื่อให้ลมผ่านและอากาศถ่ายเท หรือห่อด้วยใบของเขาเอง

- กล้วยหอมปลูกตื้น ระบบรากมีน้อย ไม่อาจรับน้ำหนักเครือขนาดใหญ่ได้จึงจำเป็นต้องใช้ไม้ค้ำต้นเพื่อป้องกันต้นล้ม

- เลือกหน่อชิด แยกจากต้นแม่มาปลูกเป็นต้นแรก จะได้ต้นที่สมบูรณ์ดีกว่าเลี้ยงหน่อในต้นแม่
- หน่อเหง้าใหญ่จะให้ผลผลิตดีกว่าหน่อเหง้าเล็ก ปลูกหน่อลงไปแล้วให้ตัดต้น 2-3 รอบ ห่างกับรอบละ 1 เดือน เพื่อเลี้ยงเหง้าให้ใหญ่ไว้ก่อน

- ปลูกซ้ำที่ 2-3-4 รอบ มักเกิดโรค “ตายพราย” เชื้อโรคตัวนี้เป็นไวรัส ไม่มีสารเคมีหรือสารสมุนไพรใดกำจัดได้ แก้ไขโดยไม่ปลูกซ้ำที่เท่านั้น

- ก่อนตัดเครือ 2-3 อาทิตย์ ฉีดพ่นด้วยน้ำคั้นมะเขือเทศสุก ให้ทั่วต้นแต่เน้นที่เครือโดยตรง 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 1 อาทิตย์ หลังจากตัดเครือและนำไปบ่มจนสุกแล้วจะได้รสชาติและกลิ่นดีมาก

- คลุมโคนต้นด้วยผักปอด ทั้งต้น ใบ และราก ใส่ทับด้วยยิบซั่ม ปุ๋ยอินทรีย์ กระดูกป่น ขี้วัวขี้ไก่ บางๆ น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 8-24-24 จะช่วยให้ต้นสมบูรณ์ แข็งแรง ให้ผลผลิตดี

- หลังตัดปลี 20-30 วัน ห่อผลด้วยกระสอบปุ๋ยหรือห่อด้วยใบกล้วย เครือที่ห่อด้วยใบกล้วย จะให้คุณภาพดีกว่าห่อด้วยกระสอบปุ๋ย

- อายุต้นตั้งแต่เริ่มปลูกถึงแทงปลี 7-8 เดือน และตั้งแต่แทงปลีถึงเก็บเกี่ยว 70-80 วัน หรือตั้งแต่เริ่มปลูกถึงตัดเครือ 10 เดือนครึ่ง

- ธรรมชาติของกล้วยเมื่อผลในเครือแก่ได้ 3 ใน 4 ของเครือใบธงจะเริ่มเหลืองโทรม นั่นคือ อาการหมดอายุขัย ในเมื่อผล 1 ใน 4 ของเครือที่ปลายเครือยังแก่ไม่จัดแล้วใบเลิกสังเคราะห์อาหารจึงไม่ได้รับสารอาหาร แก้ไขด้วยการให้ “แม็กเนเซียม-สังกะสี” ใบธงก็จะเขียวยันวันตัดเครือให้เอง

- หลังจากห่อผล 30 วัน ใบบางส่วนจะเริ่มแห้ง ผลกลมไม่มีเหลี่ยม แสดงว่าผลแก่จัดเก็บเกี่ยวได้

กล้วยหอมแจ๊คพ็อต :
- กล้วยหอมแจ๊คพ็อต หมายถึง กล้วยหอมที่แก่จัดใกล้สุก (ห่าม) หรือสุกพอดีตรงหรือก่อนเล็กน้อยกับช่วงวันสารทจีน. ตรุษจีน. ไหว้พระจันทร์. หรือเชงเม้ง. ผลที่มีขนาดใหญ่ จำนวนผลในหวีมาก สีจัด ไร้ตำหนิ มีราคาแพงมาก ลักษณะสีเหลือง เปรียบเสมือนสีทอง ถือเป็นโหงวเฮ้งที่ดี คนซื้อใช้เป็นเครื่องเซ่นไหว้

- ผลสุกเต็มที่ในวันเซ่นไหว้ถือว่าดีที่สุด แต่ปัจจุบันค่านิยมบางอย่างเปลี่ยนแปลงไป กล้วยหอมที่ลักษณะทุกอย่างดี แต่ยังดิบอยู่ก็ใช้เป็นเครื่องเซ่นไหว้ได้เช่นกัน

- การปลูกกล้วยหอมให้ได้ผลผลิตตรงกับช่วงเทศกาลดังกล่าวสามารถทำได้โดยการนับระยะอายุจากวันตัดเครือย้อนหลังมาถึงวันที่หน่อยืนต้นได้ 10 เดือนครึ่ง ให้ลงมือปลูกหน่อกล้วยก่อนวันยืนต้นได้ 2-3 เดือน เพื่อจะได้มีโอกาสตัดต้น 1-2 รอบสำหรับสร้างเหง้าให้ใหญ่ ซึ่งการตัดต้นครั้งสุดท้ายตรงกับวันเริ่มนับอายุปลูก (ยืนต้น) ก็ได้ จากนั้นให้ปฏิบัติบำรุงตามขั้นตอนปกติกล้วยหอมต้นนั้นก็จะมีเครือให้ตัดได้ในอีก 10 เดือนครึ่งต่อมาพอดี

ระยะพัฒนาการของกล้วยหอม :
- ตั้งแต่เริ่มปลูก ถึงแทงปลี 7-8 เดือน
- ตั้งแต่แทงปลี ถึงเก็บเกี่ยว 70-80 วัน หรือ....
- ตั้งแต่เริ่มปลูก ถึงตัดเครือ 10 เดือนครึ่ง

เทคนิคการทำให้ตัดเครือได้ ณ วันที่ต้องการ :
1. จากวันตัดเครือ ให้นับถอยหลังในปฏิทิน 10 เดือน สำหรับการเลี้ยงต้น
2. จากระยะ 10 เดือนสำหรับการเลี้ยงต้นให้นับถอยหลัง 2 เดือน สำหรับการเลี้ยงเหง้า
3. จากระยะ 2 เดือนสำหรับการเลี้ยงเหง้า ให้ลงหน่อ สำหรับการตัดต้นก่อนเลี้ยงต้น

สรุป
- ลงหน่อ 2 เดือน เลี้ยงเหง้าแล้วตัดต้น +10 เดือนสำหรับการเลี้ยงต้น .... หรือ
- วันที่ตัดต้น คือ วันเริ่มนับอายุ เริ่มปลูก ถึง ตัดเครือ ..... หรือ
- ลงหน่อก่อนวันตัดเครือ 12 เดือน

หมายเหตุ :
- ในธรรมชาติไม่มีตัวเลขและไม่มีสูตรสำเร็จ วันที่ตัดเครือ คือ วันที่กล้วยยังดิบอยู่ หากต้องการขายกล้วยสุก ก็ต้องตัดเครือล่วงหน้า 7 วัน สำหรับบ่ม

- กำหนดวันตัดเครือล่วงหน้า 7-15 วัน ต้องเปลี่ยนวันลงหน่อก่อน 12 เดือน เป็น 12 เดือนครึ่ง ก็จะทำให้มีกล้วยออกตลาดตั้งแต่ก่อนวันไหว้ ถึงวันไหว้ 10-15 วัน
- กล้วยหอม ท่ายางเพชรบุรี บำรุงด้วยสูตรสหประชาชาติ ปรากฏผลใหญ่เกิน ส่งออกญี่ปุ่นไม่ได้ แต่ห้างในประเทศชอบ มีเท่าไหร่รับทั้งหมด จองล่วงหน้าด้วย



กล้วยเล็บมือนาง
คุณลักษณะเฉพาะ :

- เป็นกล้วยกลายพันธุ์มาจากกล้วยป่าจนกระทั่งสายพันธุ์นิ่ง มี 2 สายพันธุ์ คือ พันธุ์ผลใหญ่และพันธุ์ผลเล็ก โดยพันธุ์ผลเล็กขนาดพอดีคำ รสและกลิ่นเข้มข้นกว่าพันธุ์ผลใหญ่

- การปลูกให้ตัดแต่งราก และการตัดต้นสร้างเหง้าเหมือนกล้วยน้ำว้า
- ค่อนข้างอ่อนแอต่อน้ำขังแฉะเหมือนกล้วยไข่ ถ้าดินโคนต้นมีน้ำขังค้างเป็นเวลา นานๆ ต้นจะชะงักการเจริญเติบโต

- ช่วงระยะกล้าหลังจากแตกใบใหม่ 2-3 ใบ และรากเริ่มเจริญพัฒนาดีแล้วควรตัดตอ 2-3 รอบ ถ้าไม่ตัดตอต้นจะเจริญเติบโตช้าและให้ผลผลิตไม่ดีเท่าที่ควร

- อายุต้นหลังปลูก 3-4 เดือนจะเริ่มแทงหน่อ เมื่อหน่อสูง 50-80 ซม.ให้ตัดหน่อเหลือตอสูงจากพื้น 15-20 ซม. และตัดซ้ำทุกครั้งที่หน่อสูง 50-80 ซม. โดยให้รอยครั้งหลังสูงกว่ารอยตัดครั้งก่อน 5-10 ซม.เสมอ จนกระทั่งต้นแม่อายุ 7-8 เดือนให้เลือกหน่อชิด 1-2 หน่อที่อยู่กันคนละด้านกับต้นแม่ เพื่อแทนต้นแม่หลังจากตัดเครือและล้มต้นแม่แล้ว หน่อที่เลือกไว้นี้ไม่ต้องตัดต้นต่ออีก ส่วนหน่อตามหรือหน่ออื่นๆให้ตัดต้นตามปกติแล้วขุดแยกออกไปหลังตัดเครือต้นแม่

- การไว้หน่อเพื่อแทนต้นแม่หลังตัดเครือแล้วสำหรับรุ่นปีต่อไปนั้น หน่อแต่ละรุ่นควรมีอายุห่างกัน 4-5 เดือนเสมอ

- กล้วยเล็บมือนางไม่มีเทศกาลนิยมบริโภคแบบโดยเฉพาะ แต่ถ้ารูปทรงสวยคุณภาพดีก็อาจจะได้รับความนิยมช่วงเทศกาลตรุษจีน. สารทจีน. ไหว้พระจันทร์. หรือเชงเม้ง. ได้เช่นกัน

- ช่วงผลกลางไม่ควรบำรุงด้วยฮอร์โมนสมส่วน เพราะจะทำให้ผลมีขนาดใหญ่เกินไป ไม่เป็นที่ต้องการของตลาด แต่ให้เน้นบำรุงด้วย ธาตุรอง/ธาตุเสริม + กลูโคส 2-3 รอบห่างกันรอบละ 20-30 วัน และเมื่อถึงระยะก่อนเก็บเกี่ยวให้บำรุงด้วย มูลค้างคาวสกัด เพื่อเร่งหวานจะช่วยให้เนื้อแน่น รสชาติ กลิ่นและน้ำหนักดี

- ให้ฮอร์โมนน้ำดำ กับ แคลเซียม โบรอน เดือน 1 ครั้ง จะช่วยให้ต้นสมบูรณ์ ใบเขียวสดถึงวันตัดเครือ

=======================================================
========================================================


ขนุน
ลักษณะทางธรรมชาติ :

- เป็นไม้ผลยืนต้นอายุหลายสิบปี ไม่ผลัดใบ เหมาะสำหรับเป็นไม้ผลเศรษฐกิจและไม้ร่มเงา เนื้อไม้จากต้นแก่เป็นเนื้อไม้ชั้นดี ปลูกได้ในทุกพื้นที่ ทุกภาค และทุกฤดูกาล ต้องการความชื้นสูง ทั้งความชื้นผิวหน้าดินและความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศ ในสวนขนุนควรมีไม้ผลยืนต้นหลากหลายแซมแทรกสลับ มีพืชพุ่มเตี้ยอายุสั้นคลุมหน้าดิน การปลูกกล้วยเอารากกระจายทั่วแปลงจะช่วยให้ต้นขนุนสดชื่นอยู่เสมอ

- เป็นผลไม้ที่มีขนาดผลใหญ่ที่สุดในบรรดาผลไม้ด้วยกัน ขนุนพันธุ์ “ทองนาทวี” มีถิ่นกำเนิดอยู่ทางภาคใต้ครองแชมป์ผลไม้ยักษ์ ชนะเลิศการประกวดในงานเกษตรแห่งชาติด้วยน้ำหนักถึง 87 กก. ปัจจุบันยังไม่มีผลไม้ใดแม้แต่ขนุนด้วยกันลบสถิตินี้ได้

- สายพันธุ์ดีที่ได้รับการรับรองพันธุ์จากกรมวิชาการเกษตรแล้ว คือ ฟ้าถล่ม. ทองสุดใจ. และจำปากรอบ. ส่วนพันธุ์อื่นๆที่แม้จะไม่ได้รับการรับรองพันธุ์แต่ได้รับความนิยมทั้งจากผู้ปลูกและผู้บริโภค ได้แก่ เพชรราชา (ทะวาย). ศรีบรรจง (ทะวาย). ทองประเสริฐ (ทะวาย). แม่กิมไน้ (ทะวาย). แม่เนื้อหอม (ทะวาย). แม่น้อยทะวาย (ทะวาย). จำปาเมืองระยอง. เหลืองเมืองระยอง. เหลืองบางเตย (ทะวาย).เหลืองตานาก (ทะวาย). เหลืองพิชัย (ทะวาย). ทองสมบัติ. เหรียญทอง (ทะวาย). เหรียญบาท. หนึ่งในพัน.ทองส้ม (ทะวาย) เป็นต้น

- ข้อเสียของขนุนอย่างหนึ่ง คือ เมื่อช่วงผลแก่จัดใกล้เก็บเกี่ยวแล้วมีฝนตกลงมา จะทำให้คุณภาพผลเสีย รสจืดชืดหรืออมเปรี้ยว เมล็ดงอกในทำให้มีกลิ่นเหม็น แต่ขนุนพันธุ์ “ทองสุดใจ” กับพันธุ์ “เหรียญบาท” คุณภาพผลไม่เสีย ทุกลักษณะคงเป็นปกติเหมือนเดิม

- ตอบสนองต่อปุ๋ยซากสัตว์ และยิบซั่ม โดยปุ๋ยซากสัตว์สดจะช่วยให้ติดผลดก เนื้อหนา กลิ่นดี ซังน้อย คุณภาพดี ในขณะที่ยิบซั่มช่วยให้สีจัดด้วย

- ไม่ตอบสนองต่อสารพาโคลบิวทาโซลและยาฆ่าหญ้า ถ้าได้รับสารพาโคลบิวทาโซล แม้แต่เพียงละอองปลิวมากับลมจะเกิดอาการใบเล็ก กิ่งลีบเป็นกิ่งหางหนู แก้ไขด้วยการตัดแต่งกิ่งอย่างหนัก (ทำสาว) พร้อมกับตัดปลายรากบริเวณชายพุ่ม จากนั้นบำรุงเรียกรากและเรียกใบอ่อนชุดใหม่ตามปกติ

นอกจากนี้ สารโปแตสเซียม คลอเรต. โซเดียม ไนเตรท. ที่ใช้ในการบังคับลำไย ไม่สามารถนำมาใช้กับขนุนได้

- ปัจจุบันยังไม่มีสารเคมีหรือฮอร์โมนวิทยาศาสตร์ใดๆ บังคับให้ขนุนออกนอกฤดูได้ ดังนั้นการบังคับขนุนให้ออกนอกฤดู จึงต้องทำกับขนุนสายพันธุ์ทะวายเท่านั้น

- มีความทนทานต่อท่วมขังค้างนานได้น้อยกว่ามะม่วง แก้ไขด้วยการเสริมรากให้มีรากแก้ว ซึ่งรากแก้วจะรอดพ้นจากน้ำท่วมขังค้างนานได้ เพราะอยู่ลึกกว่าระดับน้ำที่ซึมลงดิน จึงสามารถหาอาหารส่งไปเลี้ยงต้นระหว่างน้ำท่วมแทนรากฝอยได้

- ดอกเรียกว่า “ส่า” เพราะเมื่อดอกแก่จัดมีกลิ่นเหมือนส่าเหล้า ดอกตัวผู้กับดอกตัวเมียแยกกันคนละดอกแต่อยู่ในต้นเดียวกัน จำนวนดอกตัวผู้มากกว่าดอกตัวเมีย การผสมเกสรอาศัยลมและแมลงเป็นหลัก ถ้าช่วยผสมด้วยมือในช่วงเช้า (09.00-11.00 น.) โดยการนำดอกตัวผู้พร้อมผสมไปถูกสัมผัสเบาๆ กับดอกตัวเมียที่พร้อมรับการผสมเหมือนกัน ก็จะช่วยให้การผสมติดเป็นผลดีขึ้น

ดอกตัวผู้มักอยู่ตามง่ามกิ่ง อยู่สูงกว่าดอกตัวเมีย ก้านดอกเล็กกว่าก้านดอกดอกตัวเมีย มีกลีบเลี้ยงขนาดเล็ก 4 กลีบแต่ไม่มีกลีบดอก เมื่อเกสรตัวผู้ได้ผสมกับเกสรตัวเมียแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีดำร่วงหล่นไปเอง

ดอกตัวเมียมีลักษณะคล้ายหนามเป็นกระจุก แต่ละดอกมีรังไข่เดียว มีกลีบเลี้ยงเท่ากับดอกตัวผู้ เกสรตัวเมียเมื่อได้รับการผสมแล้วจะไม่เปลี่ยนสีแต่ติดเป็นผล

- เกสรตัวผู้หรือเกสรตัวเมียอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างไม่สมบูรณ์ เกิดจากขาดสารอาหาร/ฮอร์โมน หรือสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม (อากาศร้อนหรือฝนตกชุก) ผสมกันแล้วพัฒนาเป็นผลจะเป็นผลไม่สมบูรณ์ ไม่โต รูปทรงบิดเบี้ยว หรือผลแป้ว

- อายุผลตั้งแต่ดอกผสมติดหรือดอกเริ่มโรยถึงเก็บเกี่ยวได้ พันธุ์เบาอายุ 100-120 วัน พันธุ์หนักอายุ 160-180 วัน .... ขนุนที่ออกดอกในช่วงเดือน พ.ย.- ธ.ค. ควรตัดดอกทิ้งเพราะเป็นขนุนปี ราคาไม่ดี จากนั้นให้เริ่มบำรุงใหม่ อีกประมาณ 3-4 เดือน จะมีดอกชุดใหม่ออก มาเป็นขนุนนอกฤดู

การไว้ดอกและเลี้ยงผลต้องรู้ให้แน่ว่าขนุนสายพันธุ์ที่ปลูกนั้นมีอายุผลนานเท่าใด ช่วงผลแก่ตรงกับหน้าฝนหรือไม่ ถ้าผลแก่ตรงกับหน้าแล้งให้เลี้ยงไว้ แต่ถ้าผลแก่แล้วตรงกับหน้าฝนก็ไม่ควรเลี้ยง ให้เด็ดทิ้งตั้งแต่ยังเป็นดอก

- ผลติดเป็นพวงตั้งแต่ 2 ผลขึ้นไป ให้พิจารณาขั้วและปริมาณผลใกล้เคียง ถ้าขั้วผลของทั้งสองผลตรง สมบูรณ์ แข็งแรงดี มีผลใกล้เคียงน้อยให้บำรุงเลี้ยงไว้ทั้งสองผล แต่หากขั้วผลคดและมีผลใกล้เคียงจำนวนมาก ให้ตัดผลขั้วคดทิ้งเหลือไว้เฉพาะผลขั้วตรง ทั้งนี้ขั้วคดมักลำเลียงน้ำเลี้ยงไปบำรุงผลไม่ดี

- ปลูกขนุนเพื่อบริโภคในบ้าน ถ้าขนุนสุก 1 ผล น้ำหนักทั้งผล 20 กก. (สมมุติ) จะมีเนื้อประมาณ 10 กก. (50% ของน้ำหนักทั้งผล) เนื้อขนุนสุก 10 กก. คงไม่มีบ้านใดเพียงบ้านเดียวรับประทานได้หมด แนะนำให้ปลูกขนุนพันธุ์ “ทะวายปีเดียว” น้ำหนักทั้งผล 6-7 กก.จะได้เนื้อประมาณ 3-4 กก. ซึ่งพอดีสำหรับรับประทานในบ้าน นอกจากนี้ขนุนทะวายปีเดียวยังมีคุณสมบัติเป็นทะวายออกดอกติดผลตลอดปี ให้ผลผลิตเมื่ออายุต้น 1-1 ปีครึ่ง ผลขนาดเล็กแต่ดก เนื้อเหลืองเข้ม หนา ซังหวาน เปลือกบาง ผลแป้วน้อย และปลูกง่ายโตเร็วอีกด้วย

- ธรรมชาติของขนุนออกดอกติดผลจากลำต้นหรือใต้ท้องกิ่งใหญ่แก่อายุหลายๆปี ดังนั้น การเลือกต้นกล้าพันธุ์ที่มีส่วนเปล้าหรือลำต้นสูงๆ มาปลูก หลังจากนำลงปลูกในแปลงจริงแล้วต้องเร่งบำรุงให้เปล้าหรือลำต้นพุ่งสูงขึ้นไปอีก ทั้งนี้ให้ตั้งเป้าหมายไว้ว่า เมื่อต้นโตขึ้นถึงอายุให้ผลผลิตแล้วกิ่งง่ามแรกจะต้องสูงจากพื้นระดับไม่น้อยกว่า 80-100 ซม.

- เมื่ออายุต้นใกล้ให้ผลผลิตแล้ว ให้พิจารณาตำแหน่งของกิ่งทั้งหมดว่า ในอนาคตเมื่อต้นโตเต็มที่ หรือให้ผลผลิตแล้ว กิ่งไหนจะบังแสงแดดกิ่งอื่นบ้าง โดยให้ต้นมีกิ่งสำหรับออกดอกติดผลจำนวนเพียง 5-6 กิ่งต่อความสูงต้น 5 ม.เท่านั้น ช่วงที่ต้นยังไม่ให้ผลผลิตหรือใกล้ให้ผลผลิตแล้วนี้ ควรเลือกตัดกิ่งที่ไม่เหมาะสมออกทิ้งไปโดยไม่ต้องกังวลว่าจะเป็นกิ่งขนาดเล็กหรือใหญ่ แม้ต้องตัดกิ่งขนาดใหญ่ทิ้งแต่เมื่อต้นมีน้ำเลี้ยงมากๆ (เพราะไม่ต้องส่งไปเลี้ยงกิ่งใหญ่แล้ว) กิ่งขนาดเล็กที่เหลือจะโตเร็วเป็นกิ่งขนาดใหญ่ขึ้นมาแทนเอง ทั้งนี้ กิ่งที่เหลือเก็บไว้ให้เป็นกิ่งสำหรับให้ออกดอกติดผลผลนั้นต้องชี้ออกรอบทิศทางทุกด้านเท่าๆ กัน หรือเป็นกิ่งที่ออกจากลำต้นประธานสม่ำเสมอกัน และระหว่างกิ่งบนกับกิ่งล่างต้องไม่ซ้อนกันจนบังแสงแดดซึ่งกันและกัน

- ต้นขนุนที่ออกดอกติดผลจากใต้ท้องกิ่ง เมื่อต้นโตเต็มที่หรือให้ผลผลิต 3-5 รุ่นแล้ว ถ้ากิ่งที่เคยออกดอกติดผลนั้นทำมุมแคบกับลำต้น (ชี้เฉียงขึ้น) ให้ดัดกิ่งโดยใช้ถุงทรายหรือก้อนหินผูกกับกิ่ง เพื่อค่อยๆโน้มกิ่งนั้นให้โน้มลงระนาบกับพื้น ซึ่งจะส่งผลให้การออกดอกติดผลดีขึ้น กิ่งแก่เส้นผ่าศูนย์กลาง 2-5 นิ้ว อาจต้องใช้เวลาดัดกิ่งด้วยการถ่วงน้ำหนักนานข้ามปี .... ส่วนต้นที่ออกดอกติดผลตามลำต้น ถ้าไม่โน้มกิ่งลงให้โน้มระนาบกับพื้นก็จะยังคงออกดอกติดผลตามลำต้นต่อไป ครั้นเมื่อได้โน้มกิ่งลงให้ระนาบกับพื้นก็จะเปลี่ยนมาเป็นออกดอกติดผลจากท้องกิ่งได้ ซึ่งเท่ากับว่าขนุนต้นนั้นออกดอกติดผลได้ทั้งที่ลำต้นและท้องกิ่ง .... สายพันธุ์ที่เมื่อต้นโตขึ้นแล้วจะโน้มกิ่งลงระนาบกับพื้นเองตามธรรมชาติ คือ “แม่น้อยทะวาย” ซึ่งมีนิสัยออกดอกติดผลที่ท้องกิ่งแล้วน้ำหนักผลเป็นตัวถ่วงให้กิ่งโน้มลงระนาบกับพื้นเอง

- ขนุนอายุต้น 2 ปียังไม่ให้ผลผลิต ให้ใช้เชือกผูกกิ่งแล้วค่อยๆโน้มลงทุก 3-4 เดือน เมื่อขนุนต้นนั้นโตขึ้นจะมีกิ่งโน้มลงระนาบกับพื้นเอง

- ขนุนออกดอกช่วงเดือน ก.ย.-พ.ย. พร้อมกันแล้วแก่เก็บเกี่ยวได้ในช่วงเดือน เม.ย.เป็นขนุนพันธุ์เบา คุณภาพดีและขายได้ราคาดี ส่วนที่แก่เก็บเกี่ยวได้ในเดือน มิ.ย. เป็นขนุนพันธุ์หนัก ขนุนชุดนี้เป็นขนุนปีหรือขนุนในฤดู มักมีปริมาณออกสู่ตลาดมาก กอร์ปกับออกตรงกับช่วงหน้าฝนด้วย คุณภาพมักไม่ดีจึงจำหน่ายไม่ได้ราคา

- ขนุนออกออกดอกช่วงเดือน พ.ค.-มิ.ย. แล้วแก่เก็บเกี่ยวได้ช่วงเดือน พ.ย. เป็นขนุนพันธุ์เบา ส่วนที่แก่เก็บเกี่ยวได้ในเดือน ธ.ค.เป็นขนุนพันธุ์หนัก ขนุนชุดนี้เป็นขนุนนอกฤดู มีปริมาณออกสู่ตลาดน้อย ผลแก่จัดตรงกับช่วงฝนแล้ง คุณภาพจึงดี ส่งผลให้ได้ราคาดีไปด้วย

- ขนุนทะวาย คือ ขนุนที่ออกดอกติดผลปีละ 2 รุ่น หรือทยอยออกจนไม่เป็นรุ่นขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของต้น ส่วนขนุนปีเป็นขนุนที่ออกดอกติดผลเพียงปีละ 1 รุ่นแม้จะได้บำรุงอย่างดีแล้วก็ตาม

หมายเหตุ :
ผู้บริโภคมักไม่สนใจว่าเป็นขนุนสายพันธุ์ใด ถ้าเห็นว่าคุณภาพดีตามต้องการก็จะซื้อทันที นั่นคือ ผู้ปลูกจะต้องรู้ถึงวิธีการปฏิบัติบำรุงอย่างถูกต้อง เพราะขนุนทุกสายพันธุ์ตอบ สนองดีมากต่อปุ๋ยและฮอร์โมนซึ่งจะส่งผลให้ได้คุณภาพดีเอง

- ขนุนละมุดเป็นขนุนอีกสายพันธุ์หนึ่ง แต่ชาวสวนไม่นิยมปลูกเพราะเมื่อสุกจัด เนื้อเละเปียกแฉะ ไม่น่ารับประทาน แม้ว่าจะมีกลิ่นหอมรสหวานจัดก็ตาม .... ขนุนละมุดต้องรับประทานช่วงที่ผลเริ่มสุก (ห่าม) ซึ่งนอกจากเนื้อไม่เละเปียกแฉะแล้ว ยังหวานมันกรอบดีอีกด้วย

- ขนุนใบแฉกเมื่อโตแล้วจะไม่ออกดอกติดผล


ขั้นตอนการปฏิบัติบำรุงต่อขนุน
1. ตัดแต่งกิ่ง เรียกใบอ่อน

ทางใบ :
ให้ ไบโออิ 25-5-5 + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ

ทางราก :
- ใส่ยิบซั่ม ปุ๋ยอินทรีย์ กระดูกป่น ปุ๋ยคอก (ขี้วัวขี้ไก่ไข่ แกลบดิบ แห้งเก่าข้ามปี) ครั้งที่ 1 ของรุ่นหรือปีการผลิต

- คลุมโคนต้นด้วยเศษพืชแห้งหนาๆ เต็มพื้นที่บริเวณทรงพุ่ม ล้ำออกไปถึงนอกเขตทรงพุ่ม
- ให้ 25-7-7 (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นกลาง, 2 กก.ต้นใหญ่) /ต้น ละลายน้ำรดโคนต้น เขตทรงพุ่ม

- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 (2 ล.) /ไร่ รดทั่วแปลงทุกตารางนิ้ว 1-2 เดือน/ครั้ง

- ให้ น้ำเปล่า ทุก 3-5 วัน

หมายเหตุ :
- เริ่มปฏิบัติหลังจากผลลูกสุดท้ายหลุดจากต้น และหลังตัดแต่งกิ่ง กิ่งกระโดง กิ่งในทรงพุ่ม ที่ออกมาจากกิ่งประธาน

- เทคนิค ตัดแต่งกิ่งก่อนบำรุง กับ บำรุงก่อนตัดแต่กิ่ง เรื่องของเรื่องก็คือ ระหว่างที่มีลูกผลบนต้นนั้น ต้นต้องใช้พลังเลี้ยงลูกผลอย่างมาก ต้นจึงโทรม ลูกผลมากโทรมมาก ลูกผลน้อยโทรมน้อย ในเมื่อใบมีหน้าที่สังเคราะห์สารอาหาร ถ้าตัดใบทิ้งแล้วต้นจะเอาใบที่ไหนมาสังเคราะห์อาหาร เพราะฉะนั้น ให้บำรุงเรียกใบอ่อนก่อน 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน เมื่อเห็นว่า ต้นมีอาการอั้นตายอดก็ให้ลงมือตัดแต่งกิ่ง แล้วบำรุงด้วยสูตร “เรียกใบอ่อน” ตาม ปกติ ต้นก็จะแตกใบอ่อนดี จำนวนมาก และพร้อมกันทั้งต้น

- การบำรุงต่อขนุนปี (ออกดอกติดผลปีละ 1 รุ่น) ควรเรียกใบอ่อน 2 ชุด
- ใบอ่อนเมื่อออกมาแล้วควรเร่งให้เป็นใบแก่เร็วๆ และต้องระวังโรคและแมลงศัตรูเข้าทำลายใบให้ดี เพราะหากใบอ่อนชุดใดชุดหนึ่งถูกลายเสียหายก็ต้องเริ่มเรียกชุดที่ 1 ใหม่ ทำให้เสียเวลา และกำหนดระยะการออกดอกติดผลต้องเลื่อนออกไปอีกด้วย

- เรียกใบอ่อนโดยการใส่ปุ๋ยทางรากสูตร 25-7-7 กับทางใบด้วย 25-5-5 จะช่วยให้ได้ใบขนาดใหญ่หนา มีพื้นที่หน้าใบสังเคราะห์อาหารมาก และคุณภาพดีกว่าใส่ปุ๋ยสูตรเสมอ

- หลังจากให้ทางใบไปแล้ว 5-7 วัน ถ้าต้นใดแตกใบอ่อนน้อยกว่า 50% ให้ฉีดพ่นซ้ำรอบสองด้วยอัตราและวิธีการเดิม เพราะถ้าต้นแตกใบอ่อนไม่พร้อมกันทั่วทั้งต้นจะส่งผลเสียหลายอย่าง ตั้งแต่การเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่. การสะสมอาหารเพื่อการออก. การปรับ ซี/เอ็น เรโช. การเปิดตาดอก. ซึ่งจะออกดอกไม่พร้อมกันทั่วทั้งต้น และเมื่อดอกออกไม่พร้อมกันก็กลายเป็นผลไม่พร้อมกัน ทำให้ยุ่งยากต่อการปฏิบัติบำรุงตามขั้นตอนอย่างมาก .... แนวทาง แก้ไข คือ ต้องบำรุงเรียกใบอ่อนให้ออกมาเป็นชุดเดียวพร้อมกันทั้งต้นให้ได้

- ขนุนต้องการใบอ่อน 2 ชุด ถ้าต้นสมบูรณ์ดี มีการเตรียมดินและปรับปรุงบำรุงดินสม่ำเสมอต่อเนื่องมาหลายๆ ปีแล้ว หลังจากใบอ่อนชุดแรกเริ่มๆ เพสลาด (กลางอ่อนกลางแก่) แล้วให้เรียกใบอ่อนชุดที่ 2 ต่อได้เลย ใบชุดที่ 2 นี้อาจจะออกไม่พร้อมกันทั้งต้นเหมือนชุดแรกแต่ก็ไม่ควรออกห่างกันไม่เกิน 7-10 วัน และหลังจากใบอ่อนชุดที่ 2 เริ่มเพสลาดก็ให้เข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงต่อไปตามปกติ

2. เร่งใบอ่อนเป็นใบแก่
ทางใบ :
- ให้ไบโออิ 0-21-74 หรือ 0-39-39 + สารสมุนไพร 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 3-5 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- ให้ 8-24-24 (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นกลาง, 2 กก.ต้นใหญ่) /ต้น ละลายน้ำรดโคนต้น เขตทรงพุ่ม

- ให้น้ำปกติ ทุก 2-3 วัน

หมายเหตุ :
- ลงมือบำรุงเมื่อใบอ่อนชุดแรกอกมาเริ่มแผ่กาง
- วัตถุประสงค์เพื่อเร่งใบชุดใหม่ให้สามารถสังเคราะห์อาหารได้ และเร่งระยะเวลาเรียกใบอ่อนชุดต่อไปได้เร็วขึ้น กับทั้งเพื่อให้ใบอ่อนรอดพ้นจากทำลายของแมลงปากกัดปากดูดด้วย

- สารอาหารในกลุ่มเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่มี ฟอสฟอรัส. และโปแตสเซียม. นอกจากช่วยเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่ได้แล้ว ยังช่วยเสริมประสิทธิภาพขั้นตอนสะสมอาหารเพื่อการออกดอกได้อีก

3. สะสมอาหารเพื่อการออกดอก


.



แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 28/01/2024 11:00 am, แก้ไขทั้งหมด 6 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 26/01/2024 12:52 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
3. สะสมอาหารเพื่อการออกดอก
ทางใบ :
- ให้ไบโออิ 0-42-56 + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน ติดต่อกัน 1-2 เดือน

- ในรอบ 1 เดือน หาโอกาสให้น้ำตาลทางด่วน (กลูโคส) 1 รอบ
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- ให้ 8-24-24 (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นกลาง, 2 กก.ต้นใหญ่) /ต้น ละลายน้ำรดโคนต้น เขตทรงพุ่ม

- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 8-24-24 (2 ล.) รดทั่วแปลง ทุกตารางนิ้ว
- ให้น้ำปกติทุก 3-5 วัน

หมายเหตุ :
- เริ่มลงมือบำรุงเมื่อใบอ่อนชุด 2 เพสลาด
- แนวทางบำรุงให้ต้นได้สะสมอาหารเพื่อการออกดอกไว้มากที่สุดควรเตรียมแผนใช้เวลาบำรุง 2-2 เดือนครึ่ง ในห้วงนี้ควรให้น้ำตาลทางด่วน (กลูโคส) 2 รอบ โดยรอบแรกให้เมื่อเริ่มลงมือบำรุงและให้รอบ 2 ห่างจากรอบแรก 20-30 วัน

- ขั้นตอนนี้มีความสำคัญอย่างมากต่อการออกดอก ควรเน้นสารอาหารทั้งกลุ่มสร้างดอกบำรุงผล หรือ ซี. (คาร์บอน-คาร์โบไฮเดรท) และสารอาหารกลุ่มสร้างใบบำรุงต้น หรือ เอ็น. (ไนโตรเจน) ทั้ง 2 อย่างให้มากที่สุดทั้ง 2 อย่างเท่าที่จะมากได้ไว้ก่อน

- ถ้าสภาพอากาศไม่เอื้ออำนวยให้งดน้ำหรือปรับ ซี/เอ็น เรโช เช่น ฝนตกชุกหรือยังไม่ถึงกำหนดทำให้ออกดอกแล้วเป็นผลรุ่นใหญ่ทั้งต้นที่เก็บเกี่ยวได้ตรงกับช่วงที่ตลาดต้อง การก็ให้บำรุงต้นด้วยสูตร “กดใบอ่อน-สะสมอาหาร” ต่อไปอีก

- ก่อนเข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงขั้นต่อไป คือ ปรับ ซี/เอ็น เรโช ให้ทบทวนความทรงจำเมื่อครั้งเรียกใบอ่อนแล้วใบอ่อนออกมาพร้อมกันเป็นชุดเดียวทั่วทั้งต้นหรือไม่ ถ้าใบอ่อนออกมาพร้อมกันดีทั่วทั้งต้นให้ปรับ ซี/เอ็น เรโช ต่อไปได้เลย แต่ถ้าใบอ่อนออกมาไม่พร้อมกันเป็นชุดเดียวทั่วทั้งต้นและค่อนข้างต่างรุ่นกันมากก็ให้บำรุงสะสมอาหารเพื่อการออกดอกต่อไปอีก 2-3 รอบ เพื่อรอให้ใบอ่อนชุดหลังสะสมอาหารจนอั้นตาดอกดีเท่ากับใบอ่อนชุดแรก จากนั้นจึงลงมือปรับ ซี/เอ็น เรโช ทั้งนี้ วัตถุประสงค์เพื่อทำให้มีดอกออกมาพร้อมกันเป็นชุดเดียวกันทั่วทั้งต้นนั่นเอง

4. ตรวจสอบสภาพอากาศ ก่อนปรับ ซี/เอ็น เรโช :
ก่อนเริ่มลงมือปรับ ซี/เอ็น เรโช (งดน้ำ) และก่อนลงมือเปิดตาดอกต้องแน่ใจว่า ระหว่างที่กำลังบำรุงทั้งสองขั้นตอนนี้จะต้องไม่มีฝน เพราะถ้ามีฝนตกลงมาการงดน้ำก็ล้ม เหลว และดอกที่ออกมาจะได้รับความเสียหาย .... ถ้ารู้แน่ว่าช่วงงดน้ำและเปิดตาดอกถึงช่วงดอกออกมาแล้วจะมีฝนก็ให้ระงับการปรับ ซี/เอ็น เรโช และเปิดตาดอกไว้ก่อน ให้บำรุงต้นต่อไปอีกด้วยสูตรสะสมอาหารเพื่อการออกดอก จากนั้นอาจจะปรับแผนการบำรุงเพื่อทำให้ออกล่าฤดูด้วยการเลื่อนเวลาเริ่มปรับ ซี/เอ็น เรโช และเปิดตาดอกให้ช้าออกไปเท่าที่สภาพภูมิ อากาศจะอำนวยก็ได้

5. ปรับ ซี/เอ็น เรโช
ทางใบ :
- ให้ไบโออิ 0-42-56 + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ หาโอกาสให้น้ำตาลทางด่วน 1 รอบ

ทางราก :
- เปิดหน้าดินโคนต้น
- งดน้ำเด็ดขาด

หมายเหตุ :
- วัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มปริมาณ ซี. (อาหารกลุ่มสร้างดอก-บำรุงผล) และลดปริมาณ เอ็น. (อาหารกลุ่มสร้างใบ-บำรุงต้น) ซึ่งจะส่งผลให้ต้นเกิดอาการอั้นตาดอกดี

- ก่อนลงมือปรับ ซี/เอ็น เรโช จะต้องติดตามข่าวพยากรณ์อากาศให้มั่นใจว่า ระหว่างปรับ ซี/เอ็น เรโช นั้นจะต้องไม่มีฝนตก เพราะถ้ามีฝนตกลงมามาตรการงดน้ำก็ต้องล้มเหลว

- ขั้นตอนการปรับอัตราส่วน ซี/เอ็น เรโช. จะได้ผลสมบูรณ์ดีหรือไม่ ให้สังเกตจากต้น ถ้าต้นเกิดอาการใบสลดแสดงว่าในต้นมีปริมาณ ซี. มากขึ้น ส่วนปริมาณ เอ็น. เริ่มลดลง และความพร้อมของต้น กล่าวคือ ใบใหญ่หนาเขียวเข้ม ใบคู่สุดท้ายปลายกิ่งแก่จัด กิ่งช่วงปลายและใบกรอบเปราะ ข้อใบสั้น หูใบอวบอ้วน ตุ่มตาดอกโชว์เห็นชัด

- การให้สารอาหารทางใบซึ่งมีน้ำเป็นส่วนผสมนั้น อย่าให้โชกจนลงถึงพื้น เพราะจะกลายเป็นการให้น้ำทางราก แนวทางปฏิบัติ คือ ให้บางๆ เพียงเปียกใบเท่านั้น

- เมื่องดน้ำ (ไม่รดน้ำ) แล้วต้องควบคุมปริมาณน้ำใต้ดินโคนต้นไม่ให้มากเกินไป โดยการทำร่องระบายน้ำใต้ดินหรือร่องสะเด็ดน้ำด้วย

- กรณีสวนยกร่องน้ำหล่อต้องใช้ระยะเวลาในการงดน้ำนานมากกว่าสวนพื้นราบยกร่องแห้งจึงจะทำให้ใบสลดได้ ซึ่งอาจจะส่งผลให้แผนการผลิตที่กำหนดไว้คลาดเคลื่อน ดังนั้น จึงจำเป็นต้องสูบน้ำออกตั้งแต่ก่อนปรับ ซี/เอ็น เรโช. โดยกะระยะเวลาให้หน้าดินโคนต้นแห้งถึงขนาดแตกระแหงและมีความชื้นไม่เกิน 10% ตรงกับช่วงปรับ ซี/เอ็น เรโช พอดี

6. สำรวจความพร้อมของต้น ก่อนเปิดตาดอก :
เนื้อใบหนาเขียวเข้มส่องแดดไม่ทะลุ เส้นใบนูนเด่น หูใบอวบอ้วน ข้อใบสั้น ใบคู่สุดท้ายปลายกิ่งแก่จัด กิ่งช่วงปลายกลมเปราะหักง่าย มองจากภายนอกระยะไกลๆ เห็นความสมบูรณ์ทางทรงพุ่มชัดเจน

7. ตรวจสอบสภาพอากาศ ก่อนเปิดตาดอก :
ก่อนลงมือเปิดตาดอกให้ตรวจสอบข่าวสภาพอากาศให้แน่ใจว่าในอีก 15-20 วันข้างหน้าหรือวันที่ช่อดอกเริ่มแทงออกมานั้น จะต้องไม่มีฝนตกหรือมีสภาพอากาศปิด (ครึ้มฟ้าครึ้มฝน) เพราะสภาพอากาศปิดหรือมีฝน ต้น.....จะเปิดตาดอกไม่ออก แม้จะอั้นตาดอกดีเพียงใดก็ตาม แต่กลับแทงใบอ่อนออกมาแทน กรณีนี้ให้ระงับการเปิดตาดอกไว้ก่อนแล้วบำรุงต้นด้วยสูตร “สะสมอาหารเพื่อการออกดอก” ต่อไปจนกว่าจะมั่นใจว่าในวันที่ช่อดอกออกมานั้นไม่มีฝนหรืออากาศเปิดแน่จึงลงมือเปิดตาดอก

8. เปิดตาดอก
ทางใบ :
สูตร 1 ....ให้สาหร่ายทะเล + ไทเป + สารสมุนไพร
สูตร 2 .... ให้ไทเป + สารสมุนไพร

ทางราก :
- ให้ 8-24-24 (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นกลาง, 2 กก.ต้นใหญ่) /ต้น ละลายน้ำรดโคนต้นเขตทรงพุ่ม

- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 8-24-24 (2 ล.) รดทั่วแปลง ทุกตารางนิ้ว
- ให้น้ำพอหน้าดินชื้นทุก 3-5 วัน

หมายเหตุ :
- ทางใบ เลือกใช้ให้ทางใบด้วยสูตรใดสูตรหนึ่ง หรือใช้ทั้งสองสูตรแบบสลับครั้งกันก็ได้
- ให้ 8-24-24 โดยละลายน้ำรดโคนต้น ต้นจะได้รับเร็วกว่าการหว่านแล้วตามด้วยน้ำ
- หลังจากเปิดตาดอกแล้ว ถ้าดอกออกมาไม่มากพอ ระหว่างที่ดอกชุดแรกยังเป็นดอกตูมอยู่นั้น ให้เปิดตาดอกซ้ำอีก 1-2 รอบด้วยสูตรเดิม หรือจนกระทั่งดอกชุดแรกบานแล้วจึงยุติการเปิดตาดอกซ้ำ

9. บำรุงดอก :
ทางใบ :
- ให้ไบโออิ 15-45-15 (หน้าฝน) หรือ 0-52-34 (หน้าแล้ง) + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ

- ฉีดพ่นสารสมุนไพร ทุก 3 วัน

ทางราก :
- ยังคงเปิดหน้าดินโคนต้นเช่นเดิม
- ให้น้ำพอหน้าดินชื้น

หมายเหตุ :
- ดอกตัวผู้กับดอกตัวเมียอยู่ในต้นเดียวกันแต่คนละดอก บางสายพันธุ์ผสมกันเองแล้วติดเป็นผลดี แต่บางสายพันธุ์ผสมกันเองแล้วติดผลไม่ดีนัก ก็ให้ช่วยผสมเกสรด้วยมือมือโดยนำช่อดอกตัวผู้พร้อมผสมสายพันธุ์เดียวกันหรือต่างสายพันธุ์จากต่างต้นมาเคาะเบาๆ ใส่ช่อดอกตัวเมียพร้อมรับผสมของต้นที่ต้องการให้ติดผล ช่วงเช้า (08.30-12.00 น.) จะช่วยให้การติดเป็นผลดีขึ้น

- ช่วงดอกตั้งแต่เริ่มแทงออกมาให้เห็นหรือระยะดอกตูม บำรุงด้วยฮอร์โมน เอ็นเอเอ. 1-2 รอบ จะช่วยบำรุงเกสรทั้งตัวผู้และตัวเมียให้สมบูรณ์พร้อมรับผสม แต่ต้องใช้ด้วยความ ระมัดระวังเพราะถ้าให้เข้มข้นเกินไปจะเกิดความเสียหายต่อดอกและถ้าให้อ่อนเกินไปก็จะไม่ได้ผล

- ช่วงดอกเริ่มแทงออกมาใหม่ๆให้แคลเซียม โบรอน. 1 รอบ จะช่วยให้ดอกสมบูรณ์ผสมติดดี

- ช่วงดอกตูมควรฉีดพ่นสารสมุนไพรให้บ่อยขึ้น เพื่อป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรู พืชจนถึงช่วงดอกบาน

- ช่วงดอกบานควรงดการฉีดพ่นทางใบโดยเฉาะช่วงกลางวัน (08.00-12.00 น.) เพราะอาจทำให้เกสรเปียกจนผสมไม่ติดได้ หากจำเป็นต้องฉีดพ่นสารสมุนไพรให้ฉีดพ่นช่วงหลังค่ำ

- ระยะดอกบานถ้าตรงกับช่วงฝนชุกเกสรจะเปียกชื้นทำให้ผสมไม่ติด แก้ไขโดยกะระยะเวลาให้ดอกออกมาแล้วไม่ตรงกับช่วงฝนชุกเท่านั้น แต่ถ้าดอกออกมาตรงกับช่วงแล้งอากาศร้อนมากเกสรจะฝ่อทำให้ผสมไม่ติดได้เช่นกัน แก้ไขโดยสร้างความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศและที่พื้นดินในทั้งในแปลงปลูกและรอบๆแปลงปลูก .... มาตรการบำรุงต้นและดอกให้สมบูรณ์อย่างแท้จริงอยู่เสมอจะช่วยลดความสูญเสียได้เป็นอย่างมาก

- เพื่อความมั่นใจในเปอร์เซ็นต์หรือประสิทธิภาพของฮอร์โมน เอ็นเอเอ. แนะนำให้ใช้ฮอร์โมน เอ็นเอเอ.วิทยาศาสตร์แทนฮอร์โมน เอ็นเอเอ.ทำเอง จะได้ผลกว่า

- ฉีดพ่นสารอาหารเพื่อบำรุงดอกด้วยเครื่องมือฉีดพ่นที่มีแรงลมพ่นเบาที่สุดตามความเหมาะสมเพื่อไม่ให้กระทบกระเทือนต่อส่วนต่างๆของดอก ฉีดพ่นที่ช่อดอกโดยตรงพอเปียกหรือฉีดพ่นให้ทั่งทรงพุ่มพอเปียกใบก็ได้

- บำรุงดอกช่วงฝนชุกให้เน้น “สังกะสี และ แคลเซียม โบรอน” โดยให้เมื่อดอกออกมาแล้วหรือให้แบบสะสมล่วงหน้าตั้งแต่ช่วงเปิดตาดอก ด้วยวิธีให้เดี่ยวๆ หรือผสมรวมไปกับธาตุอาหารอื่นๆ ก็ได้

- การไม่ใช้สารเคมีเลยติดต่อกันเป็นเวลานานๆ จะมีผึ้งหรือมีแมลงธรรมชาติอื่นๆจำนวนมากเข้ามาช่วยผสมเกสรส่งผลให้ติดผลดกขึ้น
- ต้นที่ได้รับ แม็กเนเซียม (จากไบโออิ). โบรอน (จากแคลเซียม โบรอน). สม่ำเสมอแบบสะสม ถึงช่วงออกดอกแล้วเจอฝน ดอกจะแข็งแรงไม่ร่วงง่ายๆ หรือติดเป็นผลได้ดีเหมือนปกติ

10. บำรุงผลเล็ก - กลาง :
ทางใบ :
- ให้ ไบโออิ + ยูเรก้า + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ

- ฉีดพ่นสารสมุนไพรทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ กระดูกป่น ปุ๋ยคอก (ขี้วัวขี้ไก่ไข่ แกลบดิบ แห้งเก่าข้ามปี) ครั้งที่ 2 ของรุ่นหรือปีการผลิต

- ให้ 21-7-14 (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นกลาง, 2 กก.ต้นใหญ่) /ต้น ละลายน้ำรดโคนต้นเขตทรงพุ่ม

- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 21-7-14 (2 ล.) รดทั่วแปลง ทุกตารางนิ้ว 1-2 เดือน/ครั้ง
- ให้น้ำพอหน้าดินชื้นทุก 3-5 วัน
- คลุมโคนต้นหนาๆด้วยเศษพืชแห้ง

หมายเหตุ :
- การให้น้ำต้องค่อยๆ เพิ่มปริมาณ เพื่อให้ต้นปรับตัวทันจนกระทั่งถึงอัตราปกติ
- หาจังหวะให้น้ำตาลทางด่วน (กลูโคส) 1 ครั้ง เมื่ออายุผลแก่ได้ 50% นอกเป็นการบำรุงสร้างความสมบูรณ์แก่ต้น ยังส่งผลให้ผลผลิตรุ่นนี้ดี แล้วต่อไปอนาคตผลผลิตรุ่นหน้าหรือรอบหน้าอีกด้วยถึง

- ระยะผลเล็ก ถ้าถูกแมลง ปากกัด/ปากดูด (เพลี้ย ไร) เข้าทำลายจะทำให้รูปทรงผลและคุณภาพภายในผลเสียไปจนกระทั่งเป็นผลใหญ่

- พิจารณาตำแหน่งติดผลแล้วตัดแต่งช่อผล โดยเลือกผลตัดทิ้งหรือคงไว้

11. บำรุงผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยว :
ช่วงหน้าแล้ง :
ทางใบ :
- ให้ไบโออิ 0-21-74 หรือ 0-0-50 (สูตรใดสูตรหนึ่ง) + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน ให้ครั้งสุดท้ายก่อนเก็บเกี่ยว 5-7 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ

-ระวังอย่าให้โชกลงถึงพื้น เพราะจะกระทบกระเทือนต่อการงดน้ำ

ทางราก :
- เปิดหน้าดินโคนต้น
- ให้ 13-13-21 หรือ 8-24-24 สูตรใดสูตรหนึ่ง (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นกลาง, 2 กก.ต้นใหญ่) /ต้น ละลายน้ำรดโคนต้นเขตทรงพุ่ม
- ให้น้ำพร้อมปุ๋ยแล้วงดน้ำจนเก็บเกี่ยว

หมายเหตุ :
- การให้ปุ๋ยเร่งหวาน 0-21-74 หรือ 0-0-50 ทางใบช่วงฝนแล้ง จะทำให้มีรสหวานจัดขึ้นไปอีก จนเรียกได้ว่า “หวานทะลุองศาบริกซ์”

- หากต้องการให้รสหวานพอดีๆ หรือแน่ใจว่าบำรุงเร่งหวานทางรากดีแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องเร่งหวานด้วยปุ๋ยทางใบอีกก็ได้ ทั้งนี้ให้พิจารณาตามความเหมาะสม

- ขนุนที่ให้ผลผลิตเป็นรุ่นเดียวทั้งต้น (อายุผลเท่ากันทุกผล) ถ้าให้ 13-13-21 ต้นจะโทรมจนเห็นได้ชัดเจน หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วต้องเร่งบำรุงฟื้นฟูสภาพต้นเรียกความสมบูรณ์กลับคืนมาทันที เพื่อเตรียมการบำรุงสร้างผลผลิตรุ่นต่อไป แต่ถ้าให้ทางรากด้วย 8-24-24 คู่กับให้ทางใบด้วย 0-21-74 ต้นจะไม่โทรม

- ในต้นที่มีผลหลายรุ่น (ผลไหนแก่ก่อนเก็บก่อน-ผลไหนแก่ทีหลังเก็บทีหลัง) แนะนำให้ทางรากด้วย 8-24-24 คู่กับทางใบ 0-21-74 ระหว่างนี้ผลแก่จะหวาน ในขณะที่ผลรองลง มาจะชะงักการเจริญเติบโตแต่ไม่มีปัญหา เพราะหลังจากเก็บเกี่ยวผลแก่ไปแล้วให้กลับมาบำรุงผลที่เหลือต่อไปตามปกติ

ช่วงหน้าฝน :
ทางใบ :
- ให้ไบโออิ 0-21-74 หรือ 0-0-50 สูตรใดสูตรหนึ่ง + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ ให้ไปเรื่อยๆจนกว่าจะหมดฝน

- ให้สารสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
ทางราก :
- เปิดหน้าดินโคนต้น
- ให้ 13-13-21 หรือ 8-24-24 สูตรใดสูตรหนึ่ง (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นกลาง, 2 กก.ต้นใหญ่) /ต้น ละลายน้ำรดโคนต้นเขตทรงพุ่ม

- ให้น้ำพร้อมปุ๋ยแล้วไม่ต้องให้น้ำอีกเพราะมีฝน กระทั่งหมดฝนแน่นอนแล้ว
10-15 วัน ให้สุ่มปลิดผลมาผ่าตรวจก็จะรู้ว่าต้องบำรุงต่อ หรือเก็บเกี่ยวได้แล้ว

หมายเหตุ :
- ในน้ำฝนและน้ำที่รดมีไนโตรเจน ส่งผลกระทบต่อผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยวอย่างมากกล่าวคือ ทำให้ผลแก่ช้าหรืออายุเก็บเกี่ยวต้องยืดออกไป. รสชาติไม่หวานหรืออมเปรี้ยว.กลิ่นเนื้อในยวงเหม็น. เมล็ดงอก. ผลแตก. ผลร่วง. เปลือกหนา. ซังเหนียว. เนื้อเหนียวและเสี้ยนมาก.

- การปรับปรุงคุณภาพผลช่วงแก่จัดใกล้เก็บเกี่ยวแล้วตรงกับช่วงที่มีฝนชุกเป็นสิ่งที่ทำได้ยากมาก ดังนั้นทุกครั้งก่อนเปิดตาดอกจะต้องคำนวณวันที่ผลแก่เก็บเกี่ยวได้ไม่ควรให้ตรงกับช่วงฝนชุก และเตรียมมาตรการควบคุมปริมาณน้ำใต้ดินโคนต้นให้ดีก่อนเสมอ

- การเลือกสายพันธุ์ที่ไม่มีผลกระทบในเรื่องของคุณภาพผลเมื่อผลแก่จัดใกล้เก็บเกี่ยวแล้วมีฝนชุก เช่น ทองสุดใจ. เหรียญทอง. หรือเลือกปลูกขนุนสายพันธุ์ทะวายแล้วควบคุมการปฏิบัติบำรุงให้ผลแก่ไม่ตรงกับช่วงฝนชุก ถือเป็นทางออกที่ดีที่สุด

- หลังจากหมดฝนแน่นอนแล้วให้บำรุงด้วยสูตร “บำรุงผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยว” แบบเดิมต่อไปอย่างน้อย 15-20 วัน จากนั้นตรวจสอบด้วยการสุ่มเก็บมาผ่าดูภายในซึ่งก็จะรู้ว่าสมควรเก็บเกี่ยวได้แล้วหรือยัง

==============================================
===============================================


แคนตาลูป
ลักษณะทางธรรมชาติ
- เป็นพืชตระกูลเถาเลื้อยขึ้นค้างแต่ไม่มีมือเกาะ อายุสั้น (75-85 วัน) ฤดูกาลเดียว ชอบดินดำโปร่งร่วนซุยหรือดินปนทราย มีอินทรีย์วัตถุมากๆ เนื้อดินไม่อุ้มน้ำแต่ต้องไม่แห้ง ระบายน้ำดี อากาศผ่านสะดวก ต้องการแสงแดดร้อยเปอร์เซ็นต์

- ชอบความชื้นในดินสูง ถ้าขาดน้ำหรือน้ำไม่พอและถ้าน้ำมากเกินไปหรือแฉะต้นจะชะงักการเจริญเติบโต การให้ด้วยระบบน้ำหยดซึ่งจะทำให้ดินปลูกชุ่มชื้นตลอดเวลาจึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด

- เทคนิคการบำรุงด้วยระบบ "น้ำหยด + ปุ๋ย" ให้ต้นได้รับสารอาหารแบบต่อเนื่องตลอด 24 ชม. แล้วเสริมด้วยฮอร์โมนโดยให้ทางใบตามระยะพัฒนาการ ตั้งแต่เกิดถึงผลแก่เก็บเกี่ยวจะช่วยให้ได้ผลผลิตที่คุณภาพดีมาก

- บำรุงรักษาไม่ให้ใบแรกร่วงเลยแม้แต่ใบเดียวตั้งแต่แรกเกิดจนถึงผลแก่เก็บเกี่ยว จะช่วยให้ผลผลิตคุณภาพดีมาก

- แคนตาลูปใบใหญ่หนาเขียวเข้ม เถาใหญ่ ช่วงระหว่างข้อยาว จะให้ผลผลิตคุณภาพดีมาก

- สันแปลงปลูกควรสูงกว่าพื้นระดับ 30-50 ซม. และร่องทางเดินระหว่างสันแปลงลึก 20-30 ซม. กว้าง 50-80 ซม. พื้นก้นร่องราบ .... ช่วงหน้าแล้งให้ใส่น้ำในร่องทางเดินเพื่อสร้างความชุ่มชื้นในดินและความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศ

- ปกติเป็นพืชเมืองร้อนแต่ไม่ค่อยได้รับความนิยม แต่ครั้นประเทศเขตหนาวและเขตอบอุ่นนำไปปลูกแล้วพัฒนาสายพันธุ์ให้ดีขึ้นเนื่องจากตลาดให้ความนิยมสูง แคนตาลูปจึงกลายเป็นพืชเขตหนาวและเขตอบอุ่นไปโดยปริยาย จากนั้นย้อนกลับมาปลูกในเขตร้อนอีกครั้งทั้งๆที่เป็นถิ่นกำเนิดเดิมกลับไม่เจริญเติบโตเท่าที่ควร ดังนั้นหากคิดจะปลูกแคนตาลูปต้องพิจารณาสายพันธุ์ด้วยว่าเป็นสายพันธุ์ที่มาจากเขตหนาว เขตอบอุ่นหรือเขตร้อน

ปัจจุบันแคนตาลูปในประเทศไทยได้รับการปรับปรุงสายพันธุ์จนจนกระทั่งเหมาะสมกับสภาพอากาศเมืองร้อนจึงสามารถเจริญเติบโตและให้คุณภาพที่ตลาดต่างประเทศยอมรับมากขึ้น ..... สายพันธุ์ที่ผ่านการพัฒนาในประเทศไทย ถ้าปลูกในพื้นที่อากาศเย็นนานติด ต่อกัน อายุเก็บเกี่ยวจะช้ากว่าปลูกในเขตร้อนชื้น 7-10 วัน แต่คุณภาพไม่ต่างกัน

- แคนตาลูปที่ใช้เมล็ดพันธุ์จากต่างประเทศไม่สามารถนำเมล็ดมาขยายพันธุ์ต่อได้เพราะเป็นสายพันธุ์ไฮบริด (ลูกผสม/เป็นหมัน) แต่สายพันธุ์ในประเทศสามารถนำเมล็ดมาขยายพันธุ์ต่อไป

- ปลูกได้ทุกพื้นที่ในประเทศและปลูกได้ทุกฤดูกาลแต่ต้องมีระบบจัดการดี
- ต้นที่ได้รับการบำรุงดี มีสารอาหารกินอย่างสม่ำเสมอตลอด 24 ชม.จนได้เถาใหญ่ ใบใหญ่หนาเขียวเข้ม และใบไม่ร่วงเลยตั้งแต่เริ่มงอกถึงเก็บเกี่ยวจะได้ผลผลิตดี

- นิสัยออกดอกง่ายและออกมากหรือเกือบทุกข้อใบ
- เกสรตัวผู้หรือเกสรตัวเมียอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างไม่สมบูรณ์เกิดจากขาดสารอาหาร/ฮอร์โมนหรือสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม (อากาศร้อนหรือฝนตกชุก) ผสมกันแล้วพัฒนาเป็นผลจะเป็นผลไม่สมบูรณ์ ไม่โต รูปทรงบิดเบี้ยว

- ตอบสนองต่อธาตุรอง. ธาตุเสริม. ฮอร์โมน.ดีมาก จึงควรให้บ่อยๆ
- ห่อผลด้วยถุงยังเคราะห์หรือกระดาษถุงปูนซิเมนต์เมื่อขนาดเท่าไข่เป็ด หรืออายุผลได้ 40 วันหลังผสมติดจะช่วยป้องกันแมลงศัตรูพืช รักษาสีผิวเปลือกให้สวยนวลและเพิ่มคุณภาพ

การห่อด้วยถุงห่อขนาดเล็กจะต้องเปลี่ยนถุงห่อเมื่อขนาดผลโตคับถุง การใช้ถุงขนาดใหญ่นอกจากจะใช้ได้จนผลขนาดใหญ่โดยไม่ต้องเปลี่ยนใหม่แล้ว ยังทำให้ถุงไม่เสียดสีกับผิวจนทำให้ผิวเสียและอากาศถ่ายเทสะดวกซึ่งจะส่งผลดีต่อผลอีกด้วย .... พื้นที่ลมแรง อาจจะพิจารณาใช้ตาข่ายโฟมห่อผลก่อนแล้วจึงห่อซ้อนด้วยถุงอีกชั้นหนึ่งก็ได้

- ผลที่มีลักษณะขั้วใหญ่ ก้านยาว อวบอ้วน น้ำหนักดีจะมีคุณภาพ (เนื้อ กลิ่น รส) ดี
- แคนตาลูปเป็นผลไม้ที่เก็บเกี่ยวแล้วไม่ต้องบ่ม เพราะฉะนั้นจึงต้องเก็บช่วงผลแก่จัดคาต้น ผลแก่ไม่จัด เมื่อเก็บลงมาแล้วคุณภาพผลเป็นอย่างไรก็จะเป็นอย่างนั้นจนกระทั่งเน่าไปเลย

- ขนาดผลเท่ากันแต่ผลที่น้ำหนักมากกว่า กลิ่นดีกว่า จะคุณภาพดีกว่าเสมอ
- ตลาดเมืองไทยนิยมผลขนาดใหญ่มากกว่าผลขนาดเล็ก


การขยายพันธุ์
เพาะเมล็ด (ไม่กลายพันธุ์)

เตรียมเมล็ดพันธุ์ :
- ตรวจสอบวันหมดอายุและภาชนะบรรจุเมล็ดพันธุ์ นำเมล็ดพันธุ์ลงแช่ในน้ำเกลือเจือจาง คัดเมล็ดลอยทิ้งเพราะเสื่อมสภาพ เลือกใช้เฉพาะเมล็ดจมน้ำ

- ใช้กรรไกตัดเล็บ ตัดปลายเมล็ดเพื่อเปิดช่องให้รากแทงออกมาเมื่อเมล็ดงอก
- แช่เมล็ดใน “น้ำ 50 องศา 1 ล.+ไบโออิ 1 ซีซี.+ยูเรก้า 1 ซีซี.+แคลเซียม โบ รอน 1 ซีซี.” นาน 4-6 ชม. น้ำขึ้นห่มความชื้นต่อ 24-36-48 ชม. ในร่ม อุณหภูมิห้อง

- ระหว่างห่มให้แง้มผ้าคลุมดู เมล็ดไหนเริ่มมีตุ่มรากออกมาให้นำไปเพาะได้

เพาะเมล็ด :
- วัสดุเพาะ ขุยมะพร้าว แกลบดำ ดินป่นละเอียด อย่างละเท่ากัน ใส่ลงในช่องถาดเพาะเมล็ด เต็มช่อง กดให้แน่น รดด้วย “น้ำ 20 ล. + น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 40 ซีซี.” บ่มทิ้งไว้ 15-20 วัน พร้อมหยอดเมล็ด

- วางเมล็ดที่ห่มจนเริ่มมีตุ่มรากออกมาแล้วบนวัสดุเพาะ ช่องละ 1 เมล็ด กลบทับด้วยวัสดุเพาะ รดด้วย “น้ำ 20 ล. + น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 40 ซีซี.” ให้ครั้งเดียวถึงถอนแยก ระหว่างรอถอนแยกให้น้ำพอหน้าดินชื้น ทุก 2-3 วัน

- เลี้ยงต้นกล้าในกระบะเพาะจนกระทั่งต้นกล้าได้ 2-3 ใบ
- ก่อนถอนแยกไปปลูกในแปลงจริง ให้แคลเซียม โบรอน 1 รอบ แล้วนำออกแดดเพื่อฝึกให้คุ้นเคยต่อแสงแดด

เตรียมดิน ปลูกในถุง :
- เลือกดินขุยไผ่ มีเศษซาก ใบ/ราก/แห้ง/เก่า ผสมคลุกกับ ขุยมะพร้าวสับเล็ก ใบก้ามปูแห้ง ยิบซั่ม ปุ๋ยอินทรีย์ กระดูกป่น ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบแกลบดำ ให้เข้ากันดี รดด้วยน้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง ให้ได้ความชื้น 50% ทำกอง อัดแน่น คลุมด้วยพลาสติกเพื่ออบความร้อน

- ระหว่างอบความร้อน .... ถ้าร้อน 40-60 องศา = ดี จุลินทรีย์มีประโยชนเจริญดี .... ถ้าร้อนน้อยกว่า หรือไม่ร้อนให้เพิ่มน้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง +ยูเรีย เพื่อเร่งกระบวนการจุลิน ทรีย์.... ถ้าร้อนเกิน 60 องศา = ไม่ดี จุลินทรีย์มีประโยชน์ตาย แก้ไขด้วยการกลับพลิกกอง แล้ว หมักต่อไป

- ระหว่างการหมักแล้วเกิดความร้อน มีควันลอยขึ้นมา ตรวจสอบระดับอุณหภูมิ แล้วกลับกองเพื่อระบายความร้อนและให้อากาศแก่จุลินทรีย์ กลับกอง/กดแน่น/คลุมกอง แล้วร้อน ให้กลับกองระบายความร้อนอีก ทำซ้ำทุกครั้ง จนในกองไม่มีความร้อน ใช้มือล้วงเข้าไปในกองแล้วรู้สึกเย็น นั่นคือ “ดินปลูก” พร้อมใช้งาน

- ข้อดีของการปลูกในถุง :
* ปลูกหน้าฝนหรือน้ำท่วมได้ โดยยกถุงขึ้นที่สูงหนีน้ำ
* ควบคุม ชนิด/ปริมาณ สารอาหารและน้ำได้เต็มที่
* ถุงไหนเป็นโรคทางดิน จะเสียหายเฉพาะ ถุง/ต้น นั้น ไม่ลามไปหาต้นอื่น
* ใช้งานปลูกรุ่นนี้เก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว เทดินปลูกออก ตากแดดฆ่าเชื้อโรค แล้วปรับปรุงใหม่ ใช้งานใหม่ได้อีก

เตรียมดินปลูกบนแปลง :
- ไถดิน ขี้ไถขนาดใหญ่ ตากแดดจัด 15-20 แดด ถ้าฝนตกให้ไถใหม่เริ่มนับ 1 ตากแดดใหม่

- ตากแดดดินครบกำหนด ใส่อินทรีย์วัตถุ ขุยมะพร้าวสับเล็ก ใบก้ามปูแห้ง ยิบซั่ม ปุ๋ยอินทรีย์ กระดูกป่น. ขี้วัวขี้ไก่แกลบเก่าแกลบดำ ผสมเข้ากันแล้วหว่านทั่วแปลง แล้วไถพรวนดีป่นดินให้ละเอียดมากๆ ปรับสันแปลงให้เป็นหลังเต่า คลุมหน้าแปลงด้วยฟางหนาๆ
- คลุมหน้าแปลงแล้วรดด้วยน้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 แล้วทิ้งไว้ 20-30 วัน


===============================================
(ไม่ต้องปุ๋ยเคมี รองพื้น-แต่งหน้า-กระแทก-กระทุ้ง เพราะในน้ำหมักระเบิดเถิดเทิงมีแล้ว อนาคตยังมีทางใบ ทั้งปุ๋ยเคมีและฮอร์โมนธรรมชาติ ให้อีก ที่สำคัญ ดินดี =ได้แล้วกว่าครึ่ง.... ดินไม่ดี = เสียแล้วกว่าครึ่ง)
=================================================


หมายเหตุ :
- ระยะเวลาจากให้น้ำหมักฯ 20-30 วัน เป็นการบ่มดิน เพื่อให้เวลาแก่จุลินทรีย์เข้าทำการย่อยสลายอินทรีย์วัตถุและปรับสภาพดิน

- น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิงมีส่วนผสม "ปลาทะเล. กากน้ำตาล. เลือด. ขี้ค้าง คาว. ไขกระดูก. นม. น้ำมะพร้าว." หมักนานข้าม 1-2-3 ปี จากส่วน ผสมทุกอย่างเป็น "อินทรีย์" แท้ๆ .... เมื่อเติม 30-0-0, แม็กเนเซียม, สังกะสี, ธาตุรอง/ธาตุเสริม ลงไปเป็น “เคมี” นี่คือ อินทรีย์เคมี ผสมผสาน

- อย่ากังวลว่าไม่ได้ใส่ปุ๋ยเคมี รองพื้น-แต่งหน้า-กระทุ้ง-กระแทก แล้วต้นแคนตาลูปจะไม่โต สาเหตุที่ไม่โตไม่ใช่เพราะปุ๋ยน้อย แต่เป็นเพราะ “ดิน” ยังไม่พร้อมจริง .... ตราบใดที่ดินไม่ดี ดินไม่สมบูรณ์ ดินไม่มีอินทรีย์วัตถุ ดินไม่มีจุลินทรีย์ ดินเป็นกรด ต่อให้ใส่ปุ๋ยไร่ละกระสอบ สองสามกระสอบ ใส่ไร่ละตันต้นแคนตาลูปก็ไม่โต ตรงกันข้าม จะเล็กลงๆ ๆๆ เพราะ “ปุ๋ยเป็นพิษ-ดินไม่กินปุ๋ย”

- เกษตรกรอิสราเอล ไต้หวัน ญี่ปุ่น เกาหลี กับอีกหลายประเทศที่มีเทคโนโลยีการ เกษตรสูงและมีความเข้าใจเรื่องพืชอย่างแท้จริง ปลูกไม้ผลตระกูลเถาอายุสั้นฤดูกาลเดียว เช่น แคนตาลูป แตงโม แตงกวา ฯลฯ ในถุง (ภาชนะปลูก) ด้วยดิน (วัสดุปลูก) ที่สามารถควบคุมชนิด/ปริมาณสารอาหาร/น้ำได้ และปลูกในโรงเรือนที่สามารถควบคุมอุณหภูมิได้ (อิสราเอลร้อน-แล้ง...ไต้หวัน ญี่ปุ่น เกาหลี หนาว)

เกษตรกรไทยไม่มีปัญหา ร้อน-หนาว-แล้ง จึงเหลือเพียงปัญหา “ดินหรือวัสดุปลูกและสารอาหาร” เท่านั้น การนำแนวทางบางอย่างของเกษตรกรในกลุ่มประเทศดังกล่าวมาประ ยุกต์ใช้บ้าง จึงน่าจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด

ระบบให้น้ำ :
1. ติดตั้งระบบน้ำหยดสำหรับให้น้ำและสารอาหารทางราก
2. ติดตั้งระบบสปริงเกอร์พ่นฝอยเหนือต้นสำหรับให้สารอาหารและสารสกัดสมุนไพรทางใบ

หมายเหตุ :
- กรณีปลูกในแปลงแล้วไม่มีระบบน้ำหยด เมื่อต้องการให้น้ำหรือสารอาหารทางรากสามารถทำได้โดยการปล่อยน้ำไปตามร่องระหว่างแปลงปลูก แล้วเพิ่มเติมด้วยน้ำพ่นฝอยจากสปริงเกอร์เหนือต้นฉีดพ่นน้ำลงพื้นเพื่อสร้างความชื้นหน้าดิน

- กรณีปลูกในถุงไม่มีทางเลือกจำเป็นต้องอาศัยสปริงเกอร์เท่านั้น แม้แต่สปริงเกอร์แบบพ่นฝอยเหนือต้นก็ไม่เหมาะสม เพราะน้ำที่ผ่านปากถุงลงไปถึงดินปลูกไม่เพียงพอ ต้องใช้สปริงเกอร์พ่นฝอยเหนือต้น 1 หัว
แล้วติดหัวสปริงเกอร์ที่ปากถุงอีกถุงละ 1 หัวเท่านั้น

เตรียมหลักค้าง :
- แคนตาลูปเป็นพืชเลื้อยไม่มีมือเกาะ การปลูกแบบให้เลื้อยขึ้นหลักเถา (ต้น) ละ 1 หลัก ระยะห่างระหว่างหลักเท่ากับระยะปลูก

- กรณีปลูกในแปลงยกร่องให้กำหนดจุดที่จะปลูกจริงแล้วปักหลัก ณ จุดนั้น ส่วนการปลูกในถุงให้ปักลงกลางปากถุงทะลุลงดินลึกพอประมาณเพื่อให้หลักมั่นคง

- ปักหลักแบบตั้งฉากกับพื้นหรือเอียงเล็กน้อยให้พิจารณาตามความเหมาะสมหรือความสะดวกในการเข้าไปทำงานที่สำคัญก็คือหลักนั้นต้องปักแน่นมั่นคง

- ค้างราวตากผ้า ใช้ลวดเบอร์ใหญ่ขึงหัวท้ายแปลงปลูก เสาแข็งแรง เสากลางแปลงรับตกท้องช้าง เหนือแถวปลูก ตรงหรือเฉียงข้าง ใช้เชือกปอพลาสติกผูกที่ลวด ปลายอีกข้างหนึ่งผูกปลายไม้ปักลงข้างต้น ระยะแรกช่วยจัดเถาเลื้อยขึ้นเชือกปอ เลื้อยไปเรื่อยๆจนถึงลวด เมื่อถึงลวดแล้วเถาจะยึดลวดประคองตัวเองได้

ใช้เชือกปออีกเส้นหนึ่ง ผูกตาข่ายสวมผลแคนตาลูปแล้วผูกปลายอีกด้านหนึ่งไว้กับลวด สำหรับรับน้ำหนัก .... เหนือราวตากผ้า มีสปริงเกอร์ ท่อ พีอี. (ราคาถูก) แบบกะเหรี่ยงลอยฟ้า ฉีดพ่นทางใบ

ระยะปลูก :
- ปลูกลงแปลง ปลูกริมแปลงทั้ง 2 ด้านสลับฟันปลา ห่างจากขอบริมแปลง 20-30 ซม. ระยะห่างระหว่างต้น (หลุม) 50-75 ซม.ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์

- ปลูกในถุง วางถุงห่างกัน 50-75 ซม. หรือตำแหน่งที่เหมาะสมตามความต้องการ


ขั้นตอนการปฏิบัติบำรุงต่อแคนตาลูป
1. ระยะต้นเล็ก

ทางใบ :
- ให้ไบโออิ 25-5-5 + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
-ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 (1 ล.) + 25-7-7 (1-2 กก.) ละลายน้ำให้เข้ากันดี ให้โคนต้น ให้ครั้งเดียวถึงระยะสะสมตาดอก

- ให้น้ำสม่ำเสมอพอหน้าดินชื้น

หมายเหตุ :
- ช่วงกล้าปลูกใหม่ตั้งแต่เริ่มงอก ถึง ได้ใบ 4-5 คู่ ยังไม่จำเป็นต้องให้ปุ๋ยทางราก ปล่อย ให้ต้นรับสารอาหารจากดินปลูกที่เตรียมไว้ก็พอ

- แปลงในแปลง หลุมที่หยอด 2 เมล็ด ถ้างอกเป็นต้นทั้ง 2 เมล็ดให้ตัดออก 1 ต้น โดยใช้กรรไกตัดโคนต้น ไม่ควรถอนเพราะจะทำให้กระทบกระเทือนรากของต้นที่เหลือ

- เริ่มให้ปุ๋ยทั้งทางรากและทางใบหลังจากต้นโตได้ใบ 4-5 คู่แล้ว
- แคนตาลูปเป็นพืชเลื้อยไม่มีมือเกาะ เมื่อเถาเริ่มยาว (สูง) ขึ้นให้ใช้เชือกผูกเข้ากับหลักหรือไม้ค้าง พร้อมกับใช้เชือกอีกเส้นหนึ่งผูกหลวมๆที่ยอดแล้วยกขึ้นเพื่อนำยอดขึ้นสูง เมื่อเถายาวขึ้นก็ให้ยกยอดสูงตามขึ้นไปเรื่อยๆ พยายามรักษาให้เถาตรงอยู่เสมอ

- ผลจาการเตรียมดินดีทำให้ได้ใบและเถาขนาดใหญ่ ซึ่งจะส่งผลไปถึงผลผลิตที่คุณภาพดีอีกด้วย

การตัดยอดเพื่อเอาผล :
ปลูกขึ้นค้างแบบ 2 กิ่งแขนง :

- หลังจากต้นกล้าโตได้ใบ 5-7 ใบแล้วให้เด็ดยอดเหนือข้อของใบสูงสุดประมาณ ½ ซม. ทาแผลรอยด้วยปูนกินหมากเพื่อป้องกันเชื้อโรค

- หลังจากตัดยอดแล้วให้ปุ๋ยทางราก 25-7-7 อัตรา 1-2 ช้อนชา/ต้น โดยละลายน้ำรดหรือโรยแล้วรดน้ำตามโชกๆเพื่อละลายปุ๋ยก็ได้ .... จากนั้นต้นจะแตกยอดใหม่จากข้อใต้รอยตัด 2-3 ยอด เรียกว่า “ยอดแขนง”

- พิจารณาตัดทิ้งยอดแขนงที่ไม่สมบูรณ์ออกแล้วเก็บยอดแขนงที่สมบูรณ์ไว้ 2 ยอด ซึ่งยอดแขนงนี้ คือ ยอดที่จะเอาผลในอนาคต เริ่มจัดระเบียบยอดแขนงให้เลื้อยไปในทิศทางที่จะไม่ชิดกับกิ่งแขนงข้างเคียงจนผลเบียดกัน และเพื่อให้ใบทุกใบได้รับแสงแดดด้วย

- เมื่อยอดแขนงทั้งสองโตจะแตกยอดพร้อมกับดอกออกมาใหม่ตามข้อ (ที่ข้อมีใบ) ทุกข้อ ให้เด็ดยอดและดอกตั้งแต่แรกล่างสุด ถึงยอดที่ 9 ทิ้งทั้งหมด แต่ให้คงเหลือใบไว้ วิธีเด็ดยอดและดอกทิ้งเหลือแต่ใบนี้ วัตถุประสงค์หลัก คือ การไว้เถาและใบสำหรับเลี้ยงผลนั่นเอง

- หลังจากเด็ดยอดครบทั้ง 9 ยอดแล้ว ให้เก็บดอกระหว่างข้อที่ 10 ถึงข้อที่ 13 ไว้ รอจนกระทั่งดอกพัฒนาเป็นผลจึงพิจารณาตัดทิ้งผลไม่สมบูรณ์ออก 2 ผล แล้วเก็บผลที่สมบูรณ์ไว้เพียง 1 ผล .... จากเถาต้นตอ 1 เถาหรือ 1 ต้นแล้วแตกแขนงเป็น 2 แขนง ใน 1 แขนงไว้ผล 1 ผล จึงเท่ากับเถาต้นตอ 1 ต้นหรือ 1 เถาได้ผล 2 ผลนั่นเอง

ปลูกให้เลื้อยไปกับพื้นแบบ 2 กิ่งแขนง :
- การบำรุงระยะกล้า. การเด็ดยอดกับดอก. การไว้ผล. ปฏิบัติเหมือนการปลูกแบบขึ้นค้าง

- ระยะที่เถาเจริญเติบโตเลื้อยไปกับพื้นนั้น ให้จัดระเบียบเถาไม่ให้ทับซ้อนกัน
- แคนตาลูปพันธุ์เบา (ซันเลดี้. เรดควีน.) ไว้ผลกิ่งแขนงละ 2 ผลได้ โดยให้แต่ละผลห่างกัน 8-10 ข้อใบ

- หลังจากติดเป็นผลแล้ว ให้จัดหาวัสดุรองรับผลไม่ให้ผิวสัมผัสพื้นโดยตรง พร้อมกับห่อผลเพื่อรักษาสีผิวให้สวย

[ ปลูกขึ้นค้างแบบ 3 กิ่งแขนง :
- การปฏิบัติเหมือนการปลูกให้เลื้อยไปกับพื้นแบบ 2 กิ่งแขนง ต่างกันที่ให้ไว้กิ่งแขนงที่เกิดจากการตัดยอดครั้งแรก 3 กิ่ง

- ไว้ผลจากกิ่งแขนงทั้ง 3 นี้ ณ ข้อใบที่ 13-14 กิ่งแขนงละ 1 ผล เท่ากับเถาต้นตอ 1 เถาได้ 3 ผล

หมายเหตุ :
- สายพันธุ์ติดผลดกสามารถไว้ผลมากกว่า 1 ผล/1 กิ่งแขนงได้ โดยไว้ผลที่ 2 สูงหรือห่างจากผลแรก 8-10 ข้อใบ ทั้งนี้จะต้องเลี้ยงเถาให้มีความยาวรอไว้ก่อน

- หลังจากได้จำนวนผลไว้ตามต้องการแล้ว ให้หมั่นเด็ดยอดแตกใหม่จากข้อที่อยู่สูงกว่าผลขึ้นไปทุกยอด เพื่อไม่ให้เกิดดอกจนเป็นผลซ้อนขึ้นมาอีก และเมื่อเถาโตจนถึงใบที่ 24-25 ก็ให้ตัดยอดเพื่อหยุดการเติบโตของเถา และเพื่อบังคับให้ต้นส่งธาตุอาหารไปเลี้ยงผลที่ไว้อย่างเต็มที่

- แคนตาลูปมีช่วงพัฒนาการทุกช่วงค่อนข้างสั้น การให้สารอาหารต่างๆ ผ่านทางใบนั้นให้ได้เพียง 1-2 ครั้งเท่านั้นซึ่งอาจจะไม่พอเพียง แนวทางแก้ไขคือ เตรียมสารอาหารต่างๆให้พร้อมไว้ในดินหรือวัสดุปลูกก่อนลงมือปลูก ทั้งนี้สารอาหารที่แคนตาลูปต้องใช้จริงจำนวน 3 ใน 4 ส่วนได้จากดินหรือวัสดุปลูก กับ 1 ใน 4 ส่วนได้จากทางใบ

การปฏิบัติอื่นๆ
1. การเด็ดตาข้าง จะปล่อยให้แตงเลื้อยเฉพาะเถาหลัก จะเด็ดตั้งแต่ข้อที่ 1-7 สำหรับทุกพันธุ์ เพื่อไม่ให้แตกแขนง
2. การเด็ดยอด เมื่อเถายาวประมาณ 170 เซนติเมตร หรือมีใบประมาณ 25-26 ใบ

3. ระยะออกดอก
ทางใบ :
- ให้ 15-30-15 + สารสมุนไพร 2 รอบ
- ให้ เอ็นเอเอ. 1 รอบ ฉีดพ่นพอเปียกใบ
- ฉีดพ่นสารสมุนไพร ทุก 3 วัน

ทางราก :
-ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 (1 ล.) + 25-7-7 (1-2 กก.) ละลายน้ำให้เข้ากันดี ให้โคนต้น ให้ครั้งเดียวถึงระยะสะสมตาดอก

- ให้น้ำสม่ำเสมอพอหน้าดินชื้น

หมายเหตุ :
- ธรรมชาติของแคนตาลูปออกดอกเองเมื่อโตได้อายุโดยไม่ต้องเปิดตาดอก ก่อนถึงช่วงออกดอก 7-10 วัน ถ้าได้รับสารอาหารทางใบกลุ่มสะสมอาหารเพื่อการออกดอก (0-42-56 หรือกลูโคส อย่างใดอย่างหนึ่ง + ธาตุรอง/ธาตุเสริม เพียง 1 รอบเท่านั้นก็จะช่วยให้ดอกที่ออกมาสมบูรณ์ดีกว่าไม่ได้ให้เสียเลยหรือปล่อยให้ออกแบบตามมีตามเกิด นอกจากนี้ต้น (เถา) ยังเขียวเข้มอวบอ้วนและเตี้ยทำให้ง่ายต่อการเข้าไปทำงานอีกด้วย

- ฉีดพ่นสารอาหารเพื่อบำรุงดอกด้วยเครื่องมือฉีดพ่นที่มีแรงลมพ่นเบาที่สุดตามความเหมาะสมเพื่อไม่ให้กระทบกระเทือนต่อส่วนต่างๆของดอก ฉีดพ่นที่ดอกโดยตรงพอเปียกหรือฉีดพ่นให้ทั่งทรงพุ่มพอเปียกใบก็ได้

- บำรุงดอกช่วงฝนชุกให้เน้น “สังกะสี และ แคลเซียม โบรอน” โดยให้เมื่อดอกออกมาแล้ว หรือให้แบบสะสมล่วงหน้าตั้งแต่ช่วงเปิดตาดอก ด้วยวิธีให้เดี่ยวๆ หรือผสมรวมไปกับธาตุอาหารอื่นๆก็ได้

- การช่วยผสมเกสรด้วยมือโดยเด็ดดอกตัวผู้ ตัดกลีบดอกออกทิ้งเหลือแต่ก้านเกสรตัวผู้ นำไปผสมกับเกสรตัวเมียของดอกที่คงไว้จะช่วยให้ดอกนั้นพัฒนาเป็นผลคุณภาพดี

4. ระยะผลเล็ก-กลาง :
ทางใบ :
ให้ไบโออิ + ยูเรก้า + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน ฉีดพ่นพอปียกใบ

- ฉีดพ่นสารสมุนไพรทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- ปลูกในแปลง ให้ยิบซั่ม ปุ๋ยอินทรีย์ ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ
- ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 21-7-14 (1 ล.) +21-7-14 (1-2 กก.) ละลายเข้ากันดี ให้โคนต้น ด้วยระบบให้น้ำที่ใช้

หมายเหตุ :
- ให้ยิบซั่มธรรมชาติ 10 เปอร์เซ็นต์ของอัตราการใส่เมื่อช่วงเตรียมดิน
- ให้น้ำตาลทางด่วน ช่วงผลเล็ก 1-2 ครั้ง เมื่อผลใหญ่ขึ้นจะมีคุณภาพดี

5. ระยะผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยว :
ทางใบ
- ให้ไบโออิ 0-21-74 + สารสมุนไพร 1 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ให้อย่างละ 1 ครั้ง ก่อนเก็บ 5-7 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ

- ฉีดพ่นสารสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- เปิดหน้าดินโคนต้น
- ให้ 13-13-21 ละลายน้ำแล้วผ่านไปกับระบบน้ำที่ใช้งาน

หมายเหตุ :
- ถ้าการบำรุงดีถูกต้องสมบูรณ์แบบจริงๆ อายุผลตามสายพันธุ์ของแคนตาลูปจะไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก นั่นคือ สามารถเก็บเกี่ยว ณ วันครบอายุได้เลย

- มาตรการงดน้ำก่อนเก็บเกี่ยวมีความสำคัญมากต่อคุณภาพ (เนื้อ กลิ่น รส) ของแคนตาลูป กรณีที่ให้น้ำผ่านระบบน้ำหยดจะต้องหยุดให้ก่อนเก็บเกี่ยว 5-7 วัน ขั้นตอนนี้อาจเปิดหน้าดินโคนต้นเสริมด้วย

- แคนตาลูปไม่ใช่ผลไม้รสหวานจัด ดังนั้นการให้ปุ๋ยเพื่อเร่งหวานทั้งทางใบและทางรากจะช่วยให้รสหวานจัดขึ้น

- พิสูจน์คุณภาพผลด้วยการดมกลิ่น ถ้ามีกลิ่นหอมแสดงว่าดี ถ้าไม่มีกลิ่นหอมแม้จะเก็บเกี่ยวมาแล้วหลายวันก็ไม่กลิ่น

- ฮอร์โมนธรรมชาติและฮอร์โมนวิทยาศาสตร์จะให้ประสิทธิภาพเต็มร้อยก็ต่อเมื่อ ต้นมีสภาพความสมบูรณ์สูง

การเก็บเกี่ยว :
ผลสุกแก่ : พันธุ์ผิวร่างแห จะพบว่าร่างแหเกิดขึ้นเต็มที่คลอบคลุมทั้งผล ผิวเริ่มเปลี่ยนสี และอ่อนนุ่น และในบางพันธุ์เริ่มมีกลิ่นหอม เกิดรอยแยกที่ขั้วจนในที่สุดผลจะหลุดออกจากขั้ว

การเก็บเกี่ยว : ต้องเก็บเกี่ยวในระยะที่พอดี หากเก็บเกี่ยวเร็วเกินไปจะได้ผลอ่อน รสชาดยังไม่หวาน และน้ำหนักน้อย .... หากเก็บเกี่ยวช้า ผิวและเนื้อภายในจะอ่อนนุ่ม ไม่เหมาะสำหรับการบริโภค อายุเก็บเกี่ยวที่เหมาะสมขึ้นกับสายพันธุ์ คือ

พันธุ์เบา : อายุเก็บเกี่ยว 60-65 วัน หลังหยอดเมล็ด หรือ 30-35 วัน หลังดอกบาน,

พันธุ์ปานกลาง : อายุเก็บเกี่ยว 70-75 วัน หลังหยอดเมล็ด หรือ 40-45 วัน หลังดอกบาน

พันธุ์หนัก : อายุเก็บเกี่ยวเกิน 80-85 วัน หลังเพาะเมล็ดหรือ 50-55 วัน หลังดอกบาน

- “ทำแคนตาลูปต้นละ 2 ลูก 3 ลูก” .... เลือกพันธุ์ ซันเลดี้. หรือ เรดควีน. โดยการบำรุงระยะกล้า. การเด็ดยอดกับดอก. การไว้ผล. ปฏิบัติเหมือนการปลูกต้นละ 1 ลูก ดังนี้

วิธีที่ 1 (1 ต้น = 2 ยอด ๆละ 1 ลูก) : หลังจากปลูกลงไปแล้ว บำรุงให้ต้น (เถา) โตตามปกติ ให้ตัดเถาที่ข้อใบที่ 8-10 แล้วบำรุงต่อไป เถานี้จะแตกยอดใหม่หลายยอด ให้เลือกยอดแตกใหม่ไว้เพียง 2 ยอด ซ้าย-ขวา บำรุงยอดที่แตกใหม่ต่อไปให้โต กลายเป็นแคลตาลูป 2 ต้น (2 ยอดใน 1 ต้น) ให้บำรุงตามปกติจนมีดอก เมื่อมีดอกให้เลือกเก็บดอกข้อที่ 8-12 ไว้

วิธีที่ 2 (1 ต้น = 2 ลูก) : หลังจากปลูกลงไปแล้ว บำรุงเลี้ยงตามปกติจนกระทั่งออกดอก เด็ดดอกทิ้งทั้งหมด ให้เหลือดอก ณ ข้อใบที่ 8-10 ไว้สำหรับเป็นผล บำรุงต่อไปให้ออกดอกมาอีก จนได้ดอก ณ ข้อใบที่ 16-18 เหนือดอกแรก ให้เก็บไว้สำหรับเป็นผลที่ 2 ของต้น ส่วนดอกที่อยู่ต่ำกว่าดอกที่ 2 ลงมากับดอกที่เหนือดอกที่ 2 ขึ้นไป ให้เด็ดทิ้งทั้งหมด จากนั้นก็ให้บำรุงต่อไปตามสูตรบำรุงผล

วิธีที่ 3 (1 ต้น = 3 ยอด ๆละ 1 ลูก) : หลังจากปลูกลงไปแล้ว บำรุงเลี้ยงตามปกติจนกระทั่งออกดอก เด็ดดอกทิ้งทั้งหมดแล้วตัดยอด ณ ข้อใบที่ 13-14 บำรุงต่อไป เมื่อมียอดแตกใหม่เป็นกิ่งแขนง เลี้ยงกิ่งแขนงจนออดอก เก็บดอก ณ ข้อใบที่ 13-14 ไว้ แขนงละดอก แล้วเด็ดดอกล่างกับดอกบนเหนือดอกที่เอาไว้ออกให้หมด บำรุงต่อไปด้วยสูตรบำรุงผลขยายขนาด

หมายเหตุ :
- เลือกสายพันธุ์ที่ติดผลดกได้ตามธรรมชาติสายพันธุ์ สามารถไว้ผลมากกว่า
- หลังจากปลูกลงไปแล้วต้องบำรุงให้ต้นสมบูรณ์ที่สุด
- หลังจากได้จำนวนผลตามต้องการแล้ว หมั่นเด็ดยอดแตกใหม่จากทุกข้อ
- เถาแคนตาลูปจะหยุดโตต่อเมื่อถึงข้อใบที่ 24-25
- แคนตาลูปมีช่วงพัฒนาการทุกช่วงค่อนข้างสั้น การให้สารอาหารต่างๆ ผ่านทางใบและทางราก อย่างเพียงพอ


===============================================
===============================================



เงาะ
ลักษณะทางธรรมชาติ

- เป็นไม้ผลยืนต้น อายุยืนนานหลายสิบปี ปลูกได้ทุกภูมิภาค ทุกพื้นที่ และทุกฤดูกาล ชอบดินร่วนปนทรายหรือดินร่วนปนดินเหนียว มีอินทรีย์วัตถุมาก ระบายน้ำดี ไม่ทนต่อสภาพน้ำท่วมขังค้างนาน

- ช่วงมีดอกและผลต้องการน้ำพอดีหรือพอชื้น แต่ช่วงพักต้นต้องการน้ำมาก
- พื้นที่มีน้ำหรือฝนมากสีผลจะออกเขียว ส่วนพื้นที่มีน้ำน้อยสามารถควบคุมปริมาณน้ำได้และอากาศเย็น สีผลจะออกแดงหรือเหลืองอมแดงชัดเจนกว่า

- เงาะออกดอกติดผลที่ซอกใบปลายกิ่งจากกิ่งอายุข้ามปี กิ่งแขนงในทรงพุ่มอายุข้ามปีได้รับแสงแดด (ทรงพุ่มโปร่ง) ก็ออกดอกติดผลได้เช่นกัน

- ข้อมูลเกี่ยวกับดอกเงาะวันนี้ยังสับสน เอกสารทางวิชาการยังไม่อาจฟันธงได้ว่าดอกเงาะมีสภาพเป็นดอกตัวผู้ (ต้นตัวผู้). ดอกตัวเมีย (ต้นตัวเมีย). และดอกสมบูรณ์เพศ (ต้นกระเทย). อยู่ในต้นเดียวกันแต่ต่างช่อหรือช่อเดียวกันหรือต่างต้นกันแน่ กับทั้งข้อมูลจากประสบ การณ์ตรงที่ชาวสวนเงาะยึดถือปฏิบัติหลายอย่าง ยังขัดแย้งกับข้อมูลทางวิชาการอยู่มาก การจะตัดสินระหว่างข้อมูลทางวิชาการกับข้อมูลที่เป็นประสบการณ์ตรงของชาวสวนว่าของใครถูกหรือผิดนั้นยังไม่อาจทำได้ แนวคิดหนึ่งคือ วิธีการที่ชาวสวนเงาะปฏิบัติต่อดอกเงาะในปัจจุบันแล้วได้ผลผลิตอย่างน่าพอใจน่าจะถือเป็นแนวทางถูกต้องได้

- ข้อมูลทางวิชาการต่อต้นเงาะระบุว่า :
* ปลูกต้นเงาะตัวผู้สลับแทรกกับต้นเงาะตัวเมีย อัตรา 1 : 18 ต้น เพื่อให้ต้นเงาะตัวเมียได้อาศัยเกสรตัวผู้เพื่อการผสมเกสร

* นำยอดเงาะต้นตัวผู้ 3-5 ยอดเสียบบนยอดเงาะต้นตัวเมียแบบกระจายทั่วทรงพุ่มต้นตัวเมีย เพื่อให้ดอกตัวเมียได้รับเกสรจากดอกตัวผู้ในต้นเดียวกันนั้นเลย

* ตัดช่อดอกเงาะตัวผู้ที่เกสรพร้อมผสมแล้ว ไปเคาะใส่ช่อดอกตัวเมียที่เกสรพร้อมรับการผสมแล้วเช่นกัน

* นำดอกเงาะตัวผู้ที่เกสรพร้อมผสมแล้วขยำในน้ำ แล้วนำน้ำนั้นไปฉีดพ่นใส่ช่อดอกตัวเมียที่พร้อมรับการผสมแล้วโดยตรง ช่วงเช้า (06.00-07.00) หลังจากนั้นเวลาประมาณ 09.00-12.00 น. เกสรตัวผู้จะผสมกับเกสรตัวเมียเอง

* ใช้ฮอร์โมน เอ็นเอเอ. ฉีดพ่นใส่ช่อดอกโดยตรง โดยไม่จำกัดว่าเป็นช่อดอกของต้นตัวผู้ (ดอกตัวผู้) ต้นตัวเมีย (ดอกตัวเมีย) หรือต้นกระเทย (ดอกสมบูรณ์เพศ) ฮอร์โมน เอ็นเอเอ. จะช่วยเปลี่ยนเพศดอกกระเทยทำหน้าที่ดอกตัวเมียให้เป็นดอกตัวผู้ แล้วผสมกับเกสรตัวเมียให้กลายเป็นผลต่อไป

- เกสรตัวผู้หรือเกสรตัวเมียอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างไม่สมบูรณ์เกิดจากขาดสารอาหาร/ฮอร์โมน หรือสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม (อากาศร้อนหรือฝนตกชุก) ผสมกันแล้วพัฒนาเป็นผลจะเป็นผลไม่สมบูรณ์ ไม่โต รูปทรงบิดเบี้ยว เรียกว่า “เงาะขี้ครอก”

- เมื่อเงาะเริ่มเข้าสู่ระยะเปลี่ยนสี ให้จิ๊บเบอเรลลิน 1-2 รอบ จะช่วยให้การเข้าสีสม่ำ เสมอกันทั้งช่อ และเข้าสีเร็วขึ้น

- ต้นพันธุ์จากกิ่งตอน. ทาบ. เสียบยอดบนตอเพาะเมล็ด และเสริมราก 1 ราก. จะให้ผลผลิตเมื่ออายุต้น 3-4 ปี ในขณะที่ต้นจากเพาะเมล็ดจะให้ผลผลิตเมื่ออายุ 6-7 ปี

- การเสริมราก 1-2 รากจะช่วยให้ต้นหาอาหารได้มากกว่ามีรากเดียว นอกจากจะส่งผลให้ต้นสมบูรณ์ให้ผลผลิตดีแล้ว ยังมีอายุยืนนานอีกด้วย

- ไม่ควรปลูกเงาะอย่างเดียวล้วนๆ เป็นแปลงขนาดใหญ่ แต่ให้ปลูกร่วมหรือแซมสลับกับไม้ผลอย่างอื่น ที่มีนิสัยออกดอกติดผลปีละรุ่น และช่วงเวลาใกล้เคียงกัน เช่น ทุเรียน มังคุด ลองกอง มะไฟ เป็นต้น

- ช่วงไม่มีผลอยู่บนต้น หรือหลังเก็บเกี่ยวผลผลิตไปแล้วถึงเข้าสู่ฤดูการบำรุงเพื่อเอาผลผลิต ซึ่งบนต้นจะว่างเปล่า ให้บำรุงต้นด้วย “ไบโออิ” 1-2 เดือน /ครั้ง จะช่วยให้ต้นมี “ความสมบูรณ์สะสม” สูง พร้อมสำหรับการบำรุงเพื่อเอาผลผลิตรุ่นต่อไปดี

- ให้ อีเทฟอน 50 มก./น้ำ 20 ล. หรือจิ๊บเบอเรลลิน 25 กรัม/น้ำ 20 ล. ฉีดพ่นพอเปียกใบทั่วต้น 1 รอบ ช่วงผลเริ่มเปลี่ยนสี จะช่วยบำรุงให้สีเปลือกผลสม่ำเสมอกันทุกผลโดยไม่ส่งผลเสียต่อคุณภาพ

- เงาะในเขตภาคตะวันออก จะออกดอกเดือนช่วงเดือน ธ.ค.- ม.ค. และผลแก่เก็บเกี่ยวในช่วงเดือน มิ.ย.- ก.ค. เงาะภาคใต้ออกดอกช่วงเดือน ก.พ.- มี.ค. และผลแก่เก็บเกี่ยวในช่วงเดือน ส.ค.- ก.ย. ส่วนเงาะภาคอิสานออกดอกช่วงเดือน พ.ย.- ธ.ค. และผลแก่เก็บเกี่ยวในช่วงเดือน พ.ค.- มิ.ย.

ขั้นตอนการปฏิบัติบำรุงต่อเงาะ
1. ตัดแต่งกิ่ง เรียกใบอ่อน :

ทางใบ :
- ให้ ไบโออิ 25-5-5 + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- ใส่ ปุ๋ยอินทรีย์ กระดูกป่น ปุ๋ยคอก (ขี้วัวขี้ไก่ไข่ แกลบดิบ แห้งเก่าข้ามปี) ครั้งที่ 1 ของรุ่นหรือปีการผลิต

- คลุมโคนต้นด้วยเศษพืชแห้งหนาๆ เต็มพื้นที่บริเวณทรงพุ่ม ล้ำออกไปถึงนอกเขตทรงพุ่ม
- ให้ 25-7-7 (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นกลาง, 2 กก.ต้นใหญ่) /ต้น ละลายน้ำรดโคนต้น เขตทรงพุ่ม

- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 (2 ล.) /ไร่ รดทั่วแปลงทุกตารางนิ้ว 1-2 เดือน/ครั้ง

- ให้น้ำเปล่า ทุก 3-5 วัน

หมายเหตุ :
- เริ่มปฏิบัติหลังจากผลลูกสุดท้ายหลุดจากต้น และหลังตัดแต่งกิ่ง
- เทคนิค ตัดแต่งกิ่งก่อนบำรุง กับ บำรุงก่อนตัดแต่กิ่ง เรื่องของเรื่องก็คือ ระหว่างที่มีลูกผลบนต้นนั้น ต้นต้องใช้พลังเลี้ยงลูกผลอย่างมาก ต้นจึงโทรม ลูกผลมากโทรมมาก ลูกผลน้อยโทรมน้อย ในเมื่อใบมีหน้าที่สังเคราะห์สารอาหาร ถ้าตัดใบทิ้งแล้วต้นจะเอาใบที่ไหนมาสังเคราะห์อาหาร เพราะฉะนั้น ให้บำรุงเรียกใบอ่อนก่อน 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน เมื่อเห็นว่า ต้นมีอาการอั้นตายอดก็ให้ลงมือตัดแต่งกิ่ง แล้วบำรุงด้วยสูตร “เรียกใบอ่อน” ตาม ปกติ ต้นก็จะแตกใบอ่อนดี จำนวนมาก และพร้อมกันทั้งต้น

- ตัดทิ้งกิ่งกระโดง กิ่งคด กิ่งงอ กิ่งไขว้ กิ่งชี้เข้าในทรงพุ่ม กิ่งชี้ลงล่าง กิ่งเป็นโรค ซึ่งเป็นกิ่งที่เหมาะสมต่อการออกดอก และกิ่งที่มีผลแล้ว ทั้งนี้ กระท้อนจะออกดอกติดลูกจากกิ่งข้ามปี เพราะฉะนั้นกิ่งอายุปีนี้ ตำแหน่งที่เหมาะสมต่อการออกดอกให้คงเก็บไว้ให้ออกดอกปีหน้า

- ใบอ่อนเมื่อออกมาแล้วต้องระวังโรคและแมลงศัตรูเข้าทำลาย เพราะหากใบอ่อนชุดใดชุดหนึ่งถูกลายเสียหายจะต้องเริ่มเรียกชุด 1 ใหม่ ซึ่งจะทำให้เสียเวลาและกำหนดระยะการออกดอกติดผลต้องเลื่อนออกไปอีกด้วย

- เรียกใบอ่อนโดยการใส่ปุ๋ยทางรากสูตร 25-7-7 จะช่วยให้ได้ใบที่มีขนาดใหญ่หนา มีพื้นที่หน้าใบสังเคราะห์อาหารมากและคุณภาพดีกว่าใส่ปุ๋ยสูตรเสมอ

- หลังจากให้ทางใบไปแล้ว 5-7 วัน ถ้าแตกใบอ่อนน้อยกว่า 50% ให้ฉีดพ่นซ้ำรอบ 2 ด้วยอัตราและวิธีการเดิม เพราะถ้าต้นแตกใบอ่อนไม่พร้อมกันทั่วทั้งต้นจะส่งผลเสียหลายอย่างตั้งแต่ การเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่, การสะสมอาหารเพื่อการออก, การปรับ ซี/เอ็น เรโช, การเปิดตาดอก, ซึ่งจะออกดอกไม่พร้อมกันทั่วทั้งต้น และเมื่อดอกออกไม่พร้อมกันก็กลายเป็นผลไม่พร้อมกันทำให้ยุ่งยากต่อการปฏิบัติบำรุงตามขั้นตอนอย่างมาก .... แนวทางแก้ไข คือ ต้องบำรุงเรียกใบอ่อนให้ออกมาเป็นชุดเดียวพร้อมกันทั้งต้นให้ได้

- เงาะต้องการใบอ่อน 3 ชุด โดยมีวิธีทำดังนี้
วิธีที่ 1 .... ถ้าต้นสมบูรณ์ดีมีการเตรียมดินและปรับปรุงบำรุงดินสม่ำเสมอต่อเนื่องมาหลายๆปีแล้ว หลัง จากใบอ่อนชุดแรกเพสลาดแล้วให้เรียกใบอ่อนชุด 2 ต่อได้เลย ใบชุด 2 นี้อาจจะออกไม่พร้อมกันทั้งต้นเหมือนชุดแรกแต่ก็จะออกห่างกันไม่ควรเกิน 7-10 วัน และหลัง จากใบอ่อนชุด 2 เพสลาดให้เรียกใบอ่อนชุด 3 ต่อได้เลยอีกเช่นกัน การที่ใบอ่อนชุด 2 ออกไม่พร้อมกันนั้นจะส่งผลให้ใบอ่อนชุด 3 ออกไม่พร้อมกันทั้งอีกด้วย และสุดท้ายเมื่อใบอ่อนชุด 3 เพสลาดจึงเข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงต่อไปตามปกติ

วิธีที่ 2 .... หลังจากใบอ่อนชุดแรกแผ่กางแล้วเร่งให้เป็นใบแก่ ได้ใบแก่แล้วงดน้ำให้ใบสลดจนใบแก่โคนกิ่งร่วง 1-2 ใบให้ลงมือเรียกใบอ่อนชุด 2 เมื่อใบอ่อนชุด 2 แผ่กางให้เร่งเป็นใบแก่ เมื่อใบชุด 2 เป็นใบแก่แล้วงดน้ำให้ใบสลดจนใบแก่โคนกิ่งร่วง 1-2 ใบก็ให้ลงมือเรียกใบอ่อนชุด 3 และสุดท้ายเมื่อใบอ่อนชุด 3 เพสลาดจึงเข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงต่อไปตาม ปกติ

( วิธีที่ 1 ได้ผลดีกว่าวิธีที่ 2 เพราะต้นจะมีอาการโทรมน้อยกว่า...... )

2. เร่งใบอ่อนเป็นใบแก่ :
ทางใบ :
- ให้ ไบโออิ 0-21-74 หรือ 0-39-39 + สารสมุนไพร 2 รอบ ห่างกันรอบละ 3-5 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
ทางราก :
- ให้ 8-24-24(1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นกลาง, 2 กก.ต้นใหญ่) /ต้น ละลายน้ำรดโคนต้นเขตทรงพุ่ม

- ให้น้ำปกติ ทุก 2-3 วัน

หมายเหตุ :
- ลงมือบำรุงเมื่อใบอ่อนชุดสุดท้ายเริ่มแผ่กาง
- วัตถุประสงค์เพื่อเร่งใบชุดใหม่ให้สามารถสังเคราะห์อาหารได้ และเร่งระยะเวลาเรียกใบอ่อนชุดต่อไปได้เร็วขึ้น กับทั้งเพื่อให้ใบอ่อนรอดพ้นจากทำลายของแมลง

- สารอาหารในกลุ่มเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่มีฟอสฟอรัส. และโปแตสเซียม. นอกช่วยเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่แล้ว ยังช่วยเสริมประสิทธิภาพขั้นตอนสะสมอาหารเพื่อการออกดอกได้อีกด้วย

- ใบอ่อนที่ปล่อยตามธรรมชาติต้องใช้ระยะเวลาประมาณ 30-45 วันจึงจะเป็นใบแก่

3. สะสมอาหารเพื่อการออกดอก :
ทางใบ :
- ให้ไบโออิ + 0-42-56 + สารสกัดสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน ในรอบ 1 เดือนหาจังหวะให้น้ำตาลทางด่วน (กลูโคส) 1 รอบ ฉีดพ่นพอเปียกใบ ปฏิบัติติดต่อกัน 1-2 เดือน

- ฉีดพ่นสารสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- ให้ 8-24-24(1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นกลาง, 2 กก.ต้นใหญ่) /ต้น ละลายน้ำรดโคนต้นเขตทรงพุ่ม

- ให้น้ำปกติ ทุก 2-3 วัน
- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง 8-24-24 (2 ล.) /ต้น รดทั่วแปลงทุกตารางนิ้ว เดือนละครั้ง

- ให้น้ำเปล่าปกติทุก 2-3 วัน

หมายเหตุ :
- เริ่มปฏิบัติหลังจากใบอ่อนชุดสุดท้ายเพสลาด (กลางอ่อนกลางแก่)
- แนวทางบำรุงให้ต้นได้สะสมอาหารเพื่อการออกดอกไว้มากที่สุดควรเตรียมแผนใช้เวลาบำรุง 2-2 เดือนครึ่ง ในห้วงนี้ให้กลูโคส 2 รอบ โดยรอบแรกให้เมื่อเริ่มลงมือบำรุงและให้รอบสองห่างจากรอบแรก 20-30 วัน

- ปริมาณ 8-24-24 ใส่มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณการติดผลในรุ่นที่ผ่านมา กล่าว คือ ถ้ารุ่นที่ผ่านมาติดผลดกมาก ผลผลิตมีคุณภาพดีมาก ให้ใส่ในปริมาณที่มากขึ้น แต่ถ้ารุ่นที่ผ่านมาติดผลดกน้อยหรือไม่ติดผลเลย ให้ใส่ในปริมาณปานกลาง

- ก่อนเข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงขั้นต่อไป คือ ปรับ ซี/เอ็น เรโช. ให้ทบทวนความทรงจำเมื่อครั้งเรียกใบอ่อนแล้วใบอ่อนออกมาพร้อมกันเป็นชุดเดียวทั่วทั้งต้นหรือไม่ ถ้าใบอ่อนออกมาพร้อมกันดีทั่วทั้งต้นให้ปรับ ซี/เอ็น เรโช. ต่อไปได้เลย แต่ถ้าใบอ่อนออกมาไม่พร้อมกันเป็นชุดเดียวทั่วทั้งต้นและค่อนข้างต่างรุ่นกันมาก ก็ให้บำรุงสะสมอาหารเพื่อการออกดอกต่อไปอีก 2-3 รอบ เพื่อรอให้ใบอ่อนชุดหลังสะสมอาหารจนอั้นตาดอกดีเท่ากับใบอ่อนชุดแรก จากนั้นจึงลงมือปรับ ซี/เอ็น เรโช. ทั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อทำให้มีดอกออกมาพร้อมกันเป็นชุดเดียวกันทั่วทั้งต้นนั่นเอง

4. ตรวจสอบสภาพอากาศ ก่อนปรับ ซี/เอ็น เรโช :
ก่อนเริ่มลงมือปรับ ซี/เอ็น เรโช (งดน้ำ) และก่อนลงมือเปิดตาดอกต้องแน่ใจว่า ระหว่างที่กำลังบำรุงทั้งสองขั้นตอนนี้จะต้องไม่มีฝน เพราะถ้ามีฝนตกลงมาการงดน้ำก็ล้ม เหลว และดอกที่ออกมาจะได้รับความเสียหาย .... ถ้ารู้แน่ว่าช่วงงดน้ำและเปิดตาดอกถึงช่วงดอกออกมาแล้วจะมีฝนก็ให้ระงับการปรับ ซี/เอ็น เรโช และเปิดตาดอกไว้ก่อน ให้บำรุงต้นต่อไปอีกด้วยสูตรสะสมอาหารเพื่อการออกดอก จากนั้นอาจจะปรับแผนการบำรุงเพื่อทำให้เงาะออกล่าฤดูด้วยการเลื่อนเวลาเริ่มปรับ ซี/เอ็น เรโช และเปิดตาดอกให้ช้าออกไปเท่าที่สภาพภูมิ อากาศจะอำนวยก็ได้

5. ปรับ ซี/เอ็น เรโช
ทางใบ
- ให้ไบโออิ + 0-42-56 + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก
- เปิดหน้าดินโคนต้น
- งดน้ำเด็ดขาด

หมายเหตุ :
- วัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มปริมาณ ซี. (อาหารกลุ่มสร้างดอก-บำรุงผล) และลดปริมาณ เอ็น. (อาหารกลุ่มสร้างใบ-บำรุงต้น) ซึ่งจะส่งผลให้ต้นออกดอกหลังการเปิดตาดอก

- ต้นที่มีอาการอั้นตาดอกดีจนพอใจแล้วไม่ต้องฉีดพ่นน้ำตาลทางด่วน (กลูโคส) เพิ่มอีก แต่ถ้าต้นมีอาการอั้นตาดอกไม่ดีหรือยังไม่น่าพอใจ แนะนำให้ฉีดพ่นกลูโคสซ้ำอีก 1-2 รอบ โดยเว้นระยะให้ห่างจากที่เคยให้เมื่อช่วงสะสมอาหารไม่น้อยกว่า 30-45 วัน

- ไม้ผลที่ผ่านการบำรุงมาอย่างดีแล้วต้องกระทบหนาวจึงออกดอกดีนั้น ช่วงขั้นตอนสะสมอาหารเพื่อการออกดอก ถ้ามีการให้ “กลูโคส + 0-52-34 หรือ 0-42-56 + สังกะสี ซัล เฟต” ฉีดพ่นพอเปียกใบ ช่วงเช้าแดดจัด 1-2 รอบ ให้รอบแรกเมื่อเริ่มลงมือบำรุงสะสมอาหารเพื่อการออกดอก จากนั้น อีก 20 วัน ให้อีกเป็นรอบ 2 ก็จะช่วยให้ต้นเกิดอาการอั้นตาดอกและส่งผลให้เปิดตาดอกแล้วมีดอกออกมาดีอีกด้วย

- ก่อนลงมือปรับ ซี/เอ็น เรโช

.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 28/01/2024 11:07 am, แก้ไขทั้งหมด 4 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 26/01/2024 12:56 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.

- ก่อนลงมือปรับ ซี/เอ็น เรโช จะต้องติดตามข่าวพยากรณ์อากาศให้มั่นใจว่าระหว่างปรับ ซี/เอ็น เรโช. จะต้องไม่มีฝนตกเพราะถ้ามีฝนตกลงมามาตรการงดน้ำก็ต้องล้มเหลว

- ขั้นตอนการปรับอัตราส่วน ซี/เอ็น เรโช. จะสมบูรณ์ดีหรือไม่ให้สังเกตจากต้น ถ้าต้นเกิดอาการใบสลดแสดงว่าในต้นมีปริมาณ ซี.มาก ส่วนปริมาณ เอ็น.เริ่มลดลง และความพร้อมของต้นก่อนลงมือเปิดตาดอกสังเกตได้จากลักษณะใบใหญ่หนาเขียวเข้ม ใบคู่แรกหรือคู่ล่างๆที่โคนกิ่งเหลืองร่วง ใบคู่สุดท้ายปลายกิ่งแก่จัด ใบกรอบเปราะ ข้อใบสั้น หูใบอวบอ้วน ตาดอกโชว์เห็นชัด

- การให้สารอาหารทางใบซึ่งมีน้ำเป็นส่วนผสมนั้น อย่าให้โชกจนตกลงถึงพื้นเพราะจะกลายเป็นการให้น้ำทางราก แนวทางปฏิบัติ คือ ให้บางๆ เพียงเปียกใบเท่านั้น

- เมื่องดน้ำ (ไม่รดน้ำ) แล้ว ต้องควบคุมปริมาณน้ำใต้ดินโคนต้นไม่ให้มากเกินไปโดยการทำร่องระบายน้ำใต้ดินหรือร่องสะเด็ดน้ำด้วย

- กรณีสวนยกร่องน้ำหล่อต้องใช้ระยะเวลาในการงดน้ำนานมากกว่าสวนพื้นราบยกร่องแห้งจึงจะทำให้ใบสลดได้ อาจส่งผลให้แผนการผลิตที่กำหนดไว้คลาดเคลื่อน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องสูบน้ำออกตั้งแต่ก่อนปรับ ซี/เอ็น เรโช โดยกะระยะเวลาให้หน้าดินโคนต้นแห้งถึงขนาดแตกระแหงและมีความชื้นไม่เกิน 10% ตรงกับช่วงปรับ ซี/เอ็น เรโช พอด

6. สำรวจความพร้อมของต้น ก่อนเปิดตาดอก :
เนื้อใบหนาเขียวเข้มส่องแดดไม่ทะลุ เส้นใบนูนเด่น หูใบอวบอ้วน ข้อใบสั้น ใบคู่สุดท้ายปลายกิ่งแก่จัด กิ่งช่วงปลายกลมเปราะหักง่าย มองจากภายนอกระยะไกลๆ เห็นความสมบูรณ์ทางทรงพุ่มชัดเจน

7. ตรวจสอบสภาพอากาศ ก่อนเปิดตาดอก :
ก่อนลงมือเปิดตาดอกให้ตรวจสอบข่าวสภาพอากาศให้แน่ใจว่าในอีก 15-20 วัน ข้างหน้าหรือวันที่ช่อดอกเริ่มแทงออกมานั้น จะต้องไม่มีฝนตกหรือมีสภาพอากาศปิด (ครึ้มฟ้าครึ้มฝน) เพราะสภาพอากาศปิดหรือมีฝน ต้นขนุนจะเปิดตาดอกไม่ออก แม้จะอั้นตาดอกดีเพียงใดก็ตาม แต่กลับแทงใบอ่อนออกมาแทน กรณีนี้ให้ระงับการเปิดตาดอกไว้ก่อนแล้วบำรุงต้นด้วยสูตร “สะสมอาหารเพื่อการออกดอก” ต่อไปจนกว่าจะมั่นใจว่าในวันที่ช่อดอกออกมานั้นไม่มีฝนหรืออากาศเปิดแน่จึงลงมือเปิดตาดอก

8. เปิดตาดอก
ทางใบ :
สูตร 1 .... ให้ไทเป + สารสมุนไพร
สูตร 2 .... ให้ 13-0-46 + ธาตุรอง/ธาตุเสริม + เอ็นเอเอ. + สารสมุนไพร
สูตร 3 ....ให้ 13-0-46 + 0-52-34 + ธาตุรอง/ธาตุเสริม + เอ็นเอเอ.+ สารสมุนไพร
เลือกใช้สูตรใดสูตรหนึ่งหรือทั้งสองสูตรแบบสลับครั้งกัน ห่างกันครั้งละ 5-7 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- ให้ 8-24-24 (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นกลาง, 2 กก.ต้นใหญ่) /ต้น ละลายน้ำรดโคนต้นเขตทรงพุ่ม

- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง 8-24-24 (2 ล.) /ต้น รดทั่วแปลงทุกตารางนิ้ว เดือนละครั้ง

- ให้น้ำเปล่าปกติทุก 2-3 วัน

หมายเหตุ :
- เลือกใช้ให้ทางใบด้วยสูตรใดสูตรหนึ่งหรือใช้ทั้งสองสูตรแบบสลับครั้งกันก็ได้
- หลังจากเปิดตาดอกแล้ว ถ้าดอกออกมาไม่มากพอ ระหว่างที่ดอกชุดแรกยังเป็นดอกตูมอยู่นั้น ให้เปิดตาดอกซ้ำอีก 1-2 รอบด้วยสูตรเดิม หรือจนกระทั่งดอกชุดแรกบานแล้วจึงยุติการเปิดตาดอกซ้ำ

9. บำรุงดอก
ทางใบ
- ให้ ไบโออิ + 15-45-15 (หน้าฝน) หรือ 0-52-34 (หน้าแล้ง) + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 3 วัน

ทางราก
- ยังคงเปิดหน้าดินโคนต้นเช่นเดิม
- ให้ 8-24-24 (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นกลาง, 2 กก.ต้นใหญ่) /ต้น ละลายน้ำรดโคนต้นเขตทรงพุ่ม

- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง 8-24-24 (2 ล.) /ต้น รดทั่วแปลงทุกตารางนิ้ว เดือนละครั้ง

- ให้น้ำเปล่าปกติทุก 2-3 วัน
- ให้น้ำพอหน้าดินชื้น

หมายเหตุ :
- ธรรมชาติของดอกเงาะเมื่อออกมาครั้งแรกจะเป็นดอกตัวผู้ก่อน แล้วจึงเจริญพัฒนาเป็นดอกตัวเมีย การมีแต่ดอกตัวผู้กับดอกตัวเมียล้วนๆ จึงไม่อาจติดเป็นผลได้ แนวทางแก้ไข คือ เมื่อดอกในช่อบานได้ 1 ใน 4 ส่วนของช่อ และ 1 ใน 4 ของดอกทั่วทั้งต้น ให้ฉีดพ่นฮอร์ โมน เอ็นเอเอ. (เดี่ยวๆ) ครอบคลุมพื้นที่ 1 ใน 4 ของพื้นที่ทั่วทรงพุ่ม

เทคนิคการฉีดพ่นฮอร์โมน เอ็นเอเอ.
วิธีที่ 1 …. ฉีดพ่นเป็นวงยาวทางระดับรอบทรงพุ่ม ความกว้างของวงเท่ากับ 1 ใน 4 ของพื้นที่ความสูงพุ่มตั้งแต่ยอดลงมาถึงกิ่งล่างสุด

วิธีที่ 2 …. ฉีดพ่นเป็นเส้นตรงทางดิ่งจากยอดลงมาถึงกิ่งล่างสุด จำนวน 4 เส้น เมื่อรวมพื้นที่ของทั้ง 4 เส้นแล้วเท่ากับ 1 ใน 4 ของพื้นที่ทั้งทรงพุ่ม

วิธีที่ 3 …. ผสมฮอร์โมน เอ็นเอเอ.ในกระป๋องทรงสูง ผูกติดปลายไม้ แล้วยกขึ้นสวมช่อดอกที่พร้อมแล้วทั้งช่อ หลายๆ ช่อกระจายทั่วพื้นที่ทรงพุ่ม หรือคิดจำนวนแล้วได้ 1 ใน 4 ของจำนวนช่อดอกทั้งหมดในต้น

- ไม่ควรใช้ฮอร์โมน เอ็นเอเอ.ทำเอง เพราะเปอร์เซ็นต์หรืออัตราความเข้มข้นไม่แน่นอน แต่ให้ใช้ฮอร์โมน เอ็นเอเอ. วิทยาศาสตร์ที่มีเปอร์เซ็นต์ความเข้มข้นแน่นอน และใช้ฮอร์โมน เอ็นเอเอ. ด้วยความความระมัดระวัง เพราะถ้าใช้ในอัตราเข้มข้นเกินจะทำให้ดอกร่วงทั้งหมด หรือใช้ในอัตราเข้มข้นน้อยเกินไปก็จะไม่ได้ผล นอกจากความเข้มข้นแล้ว อุณห ภูมิขณะใช้งานก็มีผลต่อประสิทธิภาพอีกด้วย กล่าวคือ อุณหภูมิสูง (ร้อน) กว่าปกติ ให้ลดปริมาณใช้ลงจากปกติ 25% หรืออุณหภูมิต่ำ (หนาว) กว่าปกติ ให้เพิ่มปริมาณใช้มากกว่าปกติ 25%

- ช่วงดอกเริ่มแทงออกมาใหม่ๆให้แคลเซียม โบรอน. 1 รอบ จะช่วยให้ดอกสมบูรณ์ผสมติดดี
- ฉีดพ่นสารอาหารเพื่อบำรุงดอกด้วยเครื่องมือฉีดพ่นที่มีแรงลมพ่นเบาที่สุดตามความเหมาะสมเพื่อไม่ให้กระทบกระเทือนต่อส่วนต่างๆของดอก ฉีดพ่นที่ช่อดอกโดยตรงพอเปียกหรือฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่มพอเปียกใบก็ได้

- บำรุงดอกช่วงฝนชุกให้เน้น “สังกะสี และ แคลเซียม โบรอน” โดยให้เมื่อดอกออกมาแล้ว หรือให้แบบสะสมล่วงหน้าตั้งแต่ช่วงเปิดตาดอก ด้วยวิธีให้เดี่ยวๆ หรือผสมรวมไปกับธาตุอาหารอื่นๆ ก็ได้

- การชักนำให้แมลงเข้ามาเป็นผู้ช่วยผสมเกสร หรือมีสายลมช่วยพัดละอองเกสรตัวผู้ (ต่างต้น) ไปผสมกับเกสรตัวเมียก็ได้

- ช่วงที่เงาะออกดอกแล้วมีใบอ่อนออกมาด้วย ถ้ามีใบอ่อนออกมาไม่มากนักให้บำรุงตามปกติต่อไป แต่ถ้ามีใบอ่อนออกมาจำนวนมาก ให้งดน้ำสักระยะหนึ่งจนใบอ่อนที่แตกใหม่ร่วงแล้วจึงกลับมาบำรุงไปตามปกติต่อไป

- ดอกที่ไม่สมบูรณ์ผสมกันแล้วพัฒนาจนเป็นผล จะได้ผลไม่สมบูรณ์ เรียกว่า “เงาะขี้ครอก” ลักษณะผลเล็ก แคระแกร็น เนื้อหนาไม่มีเมล็ด รสชาติไม่ดี .... สาเหตุที่ดอกไม่สมบูรณ์เกิดจากขาดสารอาหาร ฮอร์โมน สภาพอากาศ น้ำ โรคและแมลง

- ต้นที่ได้รับ แม็กเนเซียม (จากไบโออิ). โบรอน (จากแคลเซียม โบรอน). สม่ำเสมอแบบสะสม ถึงช่วงออกดอกแล้วเจอฝน ดอกจะแข็งแรงไม่ร่วงง่ายๆ หรือติดเป็นผลได้ดีเหมือนปกติ

การช่วยให้เงาะผสมเกสรได้ดีขึ้น : [
โดยการเพิ่มปริมาณเกสรตัวผู้ ทำได้หลายวิธี เช่น
- พ่นฮอร์โมนพืช เมื่อช่อดอกส่วนใหญ่ของต้นบานได้ร้อยละ 5 ให้ฉีดพ่นช่อดอกบริเวณส่วนบนของทรงพุ่มด้วยฮอร์โมน เอ็นเอเอ. ในอัตรา 2 ซีซี./น้ำ 20 ลิตรประมาณ 4–5 จุด/ต้น วิธีนี้เป็นวิธีที่เกษตรกรนิยมปฏิบัติโดยทั่วไป

- รวบรวมละอองเกสรตัวผู้ผสมน้ำฉีดพ่นให้ทั่วต้นเมื่อช่อดอกบนต้นบานได้ 50 %
- เปลี่ยนยอดให้เป็นกิ่งตัวผู้ ทำได้โดยการตัดยอดของเงาะต้นตัวเมีย เลี้ยงกิ่งกระโดงขึ้นมาแทนที่แล้วนำกิ่งจากต้นตัวผู้มาทาบบนกิ่งกระโดงนี้ ส่วนการสร้างสวนใหม่ควรปลูก ต้นตัวผู้แซมไปในระหว่างแถวของต้นตัวเมีย

- เลี้ยงผึ้งหรือติดต่อผู้เลี้ยงผึ้งให้นำผึ้งมาเลี้ยงในสวนระยะดอกบาน ตรวจสอบและป้องกันกำจัดราแป้งอย่างใกล้ชิด ในทุกช่วงของการพัฒนาการของดอกและผล

10. บำรุงผลเล็ก - กลาง :
ทางใบ
- ให้ ไบโออิ + ยูเรก้า + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรทุก 2-3 วัน

ทางราก
- ใส่ยิบซั่ม ปุ๋ยอินทรีย์ กระดูกป่น ปุ๋ยคอก (ขี้วัวขี้ไก่ไข่ แกลบดิบ แห้งเก่าข้ามปี) ครั้งที่ 2 ของรุ่นหรือปีการผลิต

- คลุมโคนต้นด้วยเศษพืชแห้งหนาๆ เต็มพื้นที่บริเวณทรงพุ่ม ล้ำออกไปถึงนอกเขตทรงพุ่ม
- ให้ 21-7-14 (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นกลาง, 2 กก.ต้นใหญ่) /ต้น ละลายน้ำรดโคนต้น เขตทรงพุ่ม

- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 21-7-14 (2 ล.) /ไร่ รดทั่วแปลงทุกตารางนิ้ว 1-2 เดือน/ครั้ง

- คลุมโคนต้นหนาๆด้วยเศษพืชแห้ง
- ให้น้ำเปล่า ทุก 3-5 วัน

หมายเหตุ :
- การให้น้ำต้องค่อยๆเพิ่มปริมาณเพื่อให้ต้นปรับตัวทัน จนกระทั่งถึงอัตราปกติ
- ระยะผลเล็ก ถ้าถูกแมลงปากกัด/ปากดูด (เพลี้ย ไร) เข้าทำลายจะทำให้รูปทรงผลและคุณภาพภายในผลเสียไปจนกระทั่งเป็นผลใหญ่

- ช่วง “ผลกลาง-ผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยว” ถ้าต้นขาดน้ำระยะเวลานานๆแล้วได้รับน้ำจำนวนมากอย่างฉับพลันกะทันหัน (ฝนตก) จะเกิดอาการผลแตก

- หาจังหวะให้น้ำตาลทางด่วน (กลูโคส) 1 ครั้ง เมื่ออายุผลแก่ได้ 50% นอกเป็นการบำรุงสร้างความสมบูรณ์แก่ต้น ส่งผลให้ผลผลิตรุ่นนี้ดี แล้วต่อไปอนาคตผลผลิตรุ่นหน้าหรือรอบหน้าอีกด้วยถึง

11. บำรุงผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยว
ทางใบ :
- ให้ไบโออิ 0-21-74 หรือ 0-0-50 สูตรใดสูตรหนึ่ง + สารสมุนไพร 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วันก่อนเก็บเกี่ยว ฉีดพ่นพอเปียกใบ ระวังอย่าให้ลงถึงพื้น

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก
- เปิดหน้าดินโคนต้น
- ให้ 13-13-21 หรือ 8-24-24 สูตรใดสูตรหนึ่ง 1/2-1 กก./ต้น
- ให้น้ำเพื่อละลายปุ๋ยแล้วงดน้ำจนเก็บเกี่ยว

หมายเหตุ :
- การให้ 0-21-74 หรือ 0-0-50 ทางใบควบคู่กับให้ 13-13-21 ทางราก จะทำให้เงาะมีรสหวานจัดขึ้นไปอีก จนเรียกได้ว่า “หวานทะลุองศาบริกซ์”

- หากต้องการให้เงาะมีรสหวานพอดีๆ หรือแน่ใจว่าบำรุงเร่งหวานทางรากดีแล้วก็ ไม่จำเป็นต้องเร่งหวานด้วยปุ๋ยทางใบก็ได้ ทั้งนี้ให้พิจารณาตามความเหมาะสม

- การบำรุงผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยวโดยให้ทางรากด้วย 8-24-24 เหมาะสำหรับต้นที่มีผลหลายรุ่น ซึ่งหลังจากเก็บเกี่ยวผลแก่รุ่นแรกไปแล้วจะช่วยบำรุงผลชุดหลังต่อ นอกจากนี้ยังทำให้ต้นไม่โทรมเหมาะสำหรับการเตรียมความพร้อมต้นต่อการปฏิบัติบำรุงรุ่นปีต่อไปอีกด้วย


=============================================
==============================================



ชมพู่
ลักษณะทางธรรมชาติ :

- เป็นพืชเขตร้อนและกึ่งร้อน ปลูกได้ดีในทุกภาค ทุกพื้นที่ และทุกฤดูกาล ชอบดินดำร่วนหรือดินปนทรายร่วนมีอินทรีย์วัตถุมากๆ ระบายน้ำดี เนื้อดินไม่ลึกนัก ระบบรากหากินที่บริเวณผิวดินจึงไม่ค่อยทนต่อสภาพน้ำขังค้างนาน ต้องการความชื้นสูงทั้งในดินและความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศ ช่วงพักต้นต้องการน้ำน้อยแต่ช่วงออกดอกติดผลต้องการน้ำสม่ำเสมอ

- ปลูกง่ายโตเร็ว ให้ผลผลิตได้ตั้งแต่อายุ 4 เดือนหลังปลูก (กิ่งตอน/ทาบ/ติดตา ) บางสายพันธุ์ให้ผลตลอดปี (ไม่มีรุ่นหรือทยอยออกตลอดปี) แบบไม่มีฤดูกาล บางสายพันธุ์ให้ปีละ 2 รุ่น

- เป็นพืชไม้ผลอายุยืนกว่า 50 ปี ส่วนมากต้นที่ตายมักตายก่อนอายุขัย เนื่องจากสภาพแปลงปลูกไม่เหมาะสม น้ำในดินโคนต้นมากทำให้รากแช่น้ำตลอดเวลา ต้นโทรมเนื่องจากได้รับธาตุอาหาร (ธาตุหลัก-รอง-เสริม-ฮอร์โมน) ไม่สมดุล ในขณะที่ต้นถูกเร่งเร้าในการออกดอกติดผลตลอดปีและอีกหลายปัจจัยที่บั่นทอนให้ต้นอ่อนแอ

- การใช้ต้นตอพันธุ์พื้นเมืองหรือพันธุ์เพชรทูลเกล้า แล้วเปลี่ยนยอดเป็นพันธุ์ดีตามต้องการ พร้อมกับมีการเสริมราก จะช่วยให้ต้นมีรากมากขึ้น ส่งผลให้ต้นได้รับสารอาหารมากกว่าการมีเพียงรากเดียว เมื่อต้นได้รับสารอาหารมากขึ้นสภาพต้นย่อมแข็งแรง สมบูรณ์ ผลดกคุณภาพดี และอายุต้นยืนนานยิ่งขึ้นอีกด้วย

- มีดอกสมบูรณ์เพศ (เกสรตัวผู้-ตัวเมีย อยู่ในดอกเดียวกัน) ออกดอกที่ซอกใบใต้ท้องกิ่งแก่ ลำต้น หรือแม้แต่ที่โคนต้น และรากที่พ้นพื้นดินก็ออกดอกติดผลได้หากต้นมีความสมบูรณ์สูง

- ไม่ออกดอกติดผลจากปลายกิ่งหรือกิ่งเกิดใหม่ในปีนั้น แต่จะออกดอกติดผลจากกิ่งแก่อายุไม่น้อยกว่า 6 เดือนหรือมากกว่า การตัดปลายกิ่งทิ้งเหลือเฉพาะส่วนโคนซึ่งเหมาะสำหรับออกดอกติด นอกจากเป็นการควบคุมขนาดทรงพุ่มให้กว้างเกินไปได้แล้ว ยังเป็นการเสริมให้ออกดอกติดผล การลำเลียงน้ำเลี้ยง ไปยังกิ่งนั้นดีอีกด้วย

- ลักษณะต้นที่จะให้ผลผลิตดีและดกนั้น ช่วง เรียกใบอ่อน-เปิดตาดอก ควรมีใบประมาณ 30% ช่วงติดผลแล้วควรมีใบประมาณ 50% และตลอดทุกช่วงที่มีดอกผลภายในทรงพุ่มไม่ควรมีใบใหม่ หรือยอดอ่อนเกิดขึ้นเลย โดยเด็ดทิ้งตั้งแต่ออกมาเป็นยอดผักหวาน

- การเปิดภายในทรงพุ่มให้โปร่งด้วยการตัดยอดประธาน (ผ่ากะบาล) จนแสงแดดช่วงเที่ยงวันส่องผ่านลำต้นและกิ่งภายในทรงพุ่มได้อย่างทั่วถึง จะทำให้เปลือกลำต้นและเปลือกกิ่งสะอาดไม่มีเชื้อราจับ ส่งผลให้ตาดอกซึ่งอยู่ใต้เปลือกสมบูรณ์พร้อมที่จะออกมาได้ทุกเวลาเมื่อถูกกระตุ้น หรือเปิดตาดอก

- ทรงพุ่มโปร่งแสงแดดส่องทั่วภายใน นอกจากช่วยป้องกันเชื้อราแพร่ระบาดได้แล้วยังทำให้แม่ผีเสื้อไม่เข้าวางไข่อีกด้วย เพราะความร้อนภายในทรงพุ่มทำให้ไข่แม่ผีเสื้อฝ่อไม่อาจฟักออกมาเป็นตัวหนอนได้

- เป็นไม้ผลประเภทตอบสนองต่อ ปุ๋ยและฮอร์โมน เร็วมากไม่ว่าจะให้ทางรากหรือทางใบ ช่วงผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยวหากให้ 13-13-21 (ทางราก) ควบคู่กับให้ 0-0-50 หรือ 0-21-74 (ทางใบ) จะทำให้รสหวานจัดราวกับแช่ในขันทศกร เมื่อรับประทานถึงกับแสบคอเลยทีเดียว

- ระหว่างต้นกำลัง ออกดอก-ติดผล ตัดแต่งกิ่งได้จะไม่กระทบกระเทือนต่อดอกหรือผลบนต้นเหมือนไม้ผลอื่นๆ แนะนำให้เด็ดยอดแตกใหม่ตั้งแต่ยังเป็นยอดเล็กๆ (ยอดผัก หวาน ) โดยการใช้ปลายนิ้วสะกิดเบาๆ ยอดอ่อนก็จะหลุด วิธีนี้จะไม่ทำให้เกิดเป็นแผลขนาดใหญ่ให้เชื้อโรคเข้าได้

- สารกำจัดวัชพืชหรือยาฆ่าหญ้าเป็นอันตรายต่อชมพู่อย่างมาก ละอองสารกำจัดวัชพืชที่ปลิวลอยไปกระทบส่วนใบจะทำให้ใบกร้านหรือไหม้แล้วแห้งไปในที่สุด ส่วนสารกำจัดวัชพืชที่ซึมแทรกในเนื้อวัชพืชนั้นเมื่อวัชพืชถูกย่อยสลาย สารกำจัดวัชพืชก็จะเข้าไปปนเปื้อนอยู่ในเนื้อดิน สร้างความเสียหายแก่ระบบรากได้เช่นกัน จึงไม่ควรกำจัดวัชพืชด้วยสารเคมี แต่ใช้วิธีถอนหรือตัดและไม่แนะนำให้ใช้วิธีถากหรือขุดเพราะจะกระทบกระเทือนปลายราก (ชมพู่มีรากตื้น) พร้อมกันนั้นควรมีเศษซากพืชคลุมพื้นดินทั่วบริเวณทรงพุ่มและรอบนอกห่างออกไป 1-2 ม. เพื่อสร้างความชุ่มชื้นหน้าดินและให้เป็นแหล่งอาศัยของจุลินทรีย์

- ดอกชมพู่เป็นดอกสมบูรณ์เพศ (กระเทย) ที่มีทั้งเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน ผสมกันเองหรือผสมกับต่างดอกได้

- เกสรตัวผู้หรือเกสรตัวเมียอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งสองอย่าง ไม่สมบูรณ์เกิดจากขาด สารอาหาร/ฮอร์โมน หรือสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม (อากาศร้อนหรือฝนตกชุก) แล้วผสมกันแล้วพัฒนาเป็นผลจะเป็นผลไม่สมบูรณ์ ไม่โต รูปทรงบิดเบี้ยว

- ช่วงเริ่มแทงช่อดอกออกมาให้บำรุงด้วยฮอร์โมนจิบเบอเรลลิน. เพื่อเตรียมขยายขนาดผลให้มีขนาดใหญ่ยาวและสมส่วน โดยฉีดพ่น 3 รอบ

รอบแรก ช่วงตาดอกเริ่มโผล่ออกให้เห็น
รอบสอง ช่วงหลังดอกบาน
รอบสาม ช่วงติดผลขนาดเล็ก ( หมวกเจ๊ก ) ฉีดพ่นให้ทั่วทั้งต้นและเน้นที่ดอก/ผลโดยตรง

การผสมอัตราส่วน จิบเบอเรลลิน สำคัญมาก เพราะแต่ละยี่ห้อกำหนดความเข้มข้นในการใช้ไม่เท่ากัน ดังนั้น ต้องอ่านรายละเอียดแล้วใช้ให้ตรงตามเกณฑ์กำหนดของแต่ละยี่ห้อจริงๆ การใช้ในอัตราน้อยเกินไปจะทำให้ไม่ได้ผล การใช้ในอัตราเข้มข้นเกินทำให้รูปทรงผลบิดเบี้ยวและไม่โต

- ช่วงดอกตูมนี้ หากพื้นดินโคนต้นเปิดไว้ หรือนำเศษพืชคลุมหน้าดินออก (ช่วงงดน้ำ) ก็ให้นำกลับเข้าคลุมโคนต้นอย่างเดิม พร้อมกับให้น้ำโดยเริ่มจากให้น้อยๆ พอหน้าดินชื้นก่อนแล้วจึงค่อยๆ เพิ่มปริมาณมากขึ้นเมื่อผลมีขนาดใหญ่ขึ้นตามลำดับ

- ธรรมชาติของชมพู่เมื่อดอกรุ่นแรกออกมาแล้วมักจะมีดอกรุ่นที่สอง-สาม-สี่-ออกตามมาเรื่อยๆ จนมีดอกหลายรุ่นแล้วกลายเป็นผลหลายรุ่นหลายขนาดในต้นเดียวกัน ทำให้ค่อนข้างยุ่งยากต่อการปฏิบัติบำรุง โดยเฉพาะการให้ฮอร์โมนสำหรับผลต่างระยะหรือต่างอายุกัน .... แนวทางแก้ไข คือ

1. จำนวนดอกทั้งหมดที่ออกไล่เลี่ยกันมาตลอดทั้งปีนั้น ตั้งเป้าเอาไว้เพียง 3 รุ่น/ปี เป็นอย่างมาก
2. สำรวจจำนวนดอกที่ออกมาแต่ละรุ่นในรอบ 7 วันว่า ปริมาณดอกระหว่าง 2 วันแรกกับ 2 วันท้ายของ 7 วันนั้น ช่วงไหนน้อยกว่ากัน ถ้าช่วง 2 วันแรกน้อยกว่าช่วง 2 วันท้ายให้เด็ดดอกชุด 2 วันแรกทิ้ง หรือถ้าช่วง 2 วันท้ายน้อยกว่า 2 วันแรกก็ให้เด็ดชุด 2 วันท้ายทิ้ง ให้เหลือดอกที่ออกติดต่อกัน 5 วันใน 1 รุ่นก็จะได้ผลที่มีขนาดและอายุใกล้เคียงกันหรือเรียกว่าพร้อมกันก็ได้ หลังจากได้ดอกรุ่นที่ต้องการให้เป็นผลรุ่นเดียวกันเรียบร้อยแล้ว ให้เด็ดดอกที่ออกต่อมาตลอดระยะเวลา 3 เดือนทิ้งทั้งหมด

ระหว่าง 3 เดือนที่เด็ดดอกทิ้งนี้ดอกรุ่นแรกจะพัฒนาเป็นผลโตขึ้นเรื่อยๆ และเมื่อครบกำหนด 3 เดือนแล้วก็ให้เตรียมการเก็บดอกรอบใหม่อีกด้วยวิธีการเดิม

วิธีจัดรุ่นแบบ 3 เดือนเด็ดดอกทิ้งกับ 5 วันเก็บดอกไว้นี้ ปฏิบัติอย่างนี้ไปเรื่อยๆ จะทำให้อายุผลชมพู่แต่ละรุ่นที่อยู่บนต้นต่างกัน 3 เดือน หลักการเดียวกันนี้หากจัดรุ่นแบบ 1 หรือ 2 เดือนเด็ดดอกทิ้งกับ 5 วันเก็บดอกไว้ ก็จะได้อายุผลแต่ละรุ่นต่างกัน 1 เดือน สรุปก็คือ ช่วงระยะเวลาเด็ดดอกทิ้ง คือ ช่วงต่างอายุของผลบนต้นนั่นเอง .... ทั้งหมดทั้งสิ้นนี้จะประสบความสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อ ต้นมีความสมบูรณ์อย่างแท้จริงเท่านั้น ทั้งนี้เพราะธรรมชาติของชมพู่ออกดอกติดผลได้ตลอดปีแบบไม่มีรุ่นอยู่แล้ว

- ชมพู่เพชรวันนี้เปลี่ยนชื่อเป็น “เพชรสายรุ้ง” เป็นชมพู่ที่ตลาดนิยมและมีราคาแพงมาก เป็นชมพู่ที่รัฐบาลใช้เป็นผลไม้รับรองการประชุมผู้นำอาเซียน ต้นสมบูรณ์เต็มที่จะมีผลผลิตตลอดปี ถ้ามีการจัดรุ่นสามารถทำได้ถึงละถึง 6 รุ่น คือ....

รุ่น 1 ออกดอก ธ.ค. เก็บเกี่ยว ก.พ. (ราคาแพงสุด)....
รุ่น 2 ออกดอกเดือน ม.ค. เก็บเกี่ยว มี.ค. .....
รุ่น 3 ออกดอกเดือน ก.พ. เก็บเกี่ยว เม.ย. ....
รุ่น 4 ออกดอก มี.ค. เก็บเกี่ยว พ.ค. ....
รุ่น 5 ออกดอก เม.ย. เก็บเกี่ยว มิ.ย. ....และ
รุ่น 6 ออกดอก พ.ค. เก็บเกี่ยว ก.ค.

หลังจากนั้นพักต้นเพื่อเตรียมสร้างผลผลิตรุ่นปีต่อไป
- ระยะพัฒนาตั้งแต่ดอกถึงเป็นผล ได้แก่ ดอกตูม-ดอกบาน-ผสมติด-หมวกเจ๊ก-กระโถน-ระฆัง ทุกระยะของการพัฒนาต่างต้องการวิธีปฏิบัติบำรุงที่แตกต่างกัน ต้องการสารอาหารต่างกัน การให้สารอาหารผิดระยะพัฒนาการ จะทำให้ส่วนกลางทรงผล (เอว) คอดหรือเล็ก แต่ส่วนล่างของผล (สะโพก) ใหญ่ ลักษณะทรงผลแบบนี้ไม่มีราคา

- การห่อผลเป็นสิ่งจำเป็นละเว้นไม่ได้ เริ่มห่อผลเมื่อขนาดผลเริ่มขึ้นรูป (ทรงกระ โถน) โดยใช้ถุงพลาสติกกร๊อบแกร๊บมีหูหิ้ว เจาะรูก้นถุง 2-3 รู ขนาดเท่านิ้วหัวแม่มือ หรือใหญ่กว่าเพื่อระบายอากาศ กรณีห่อผลที่เป็นพวงหลายๆผล ควรใช้ถุงขนาดใหญ่กว่าปกติห่อแล้วมัดปากถุงโดยรวบหูหิ้วเข้าด้วยกันให้แน่นพอประมาณ

- หยดน้ำ (เหงื่อ) ในถุงกร๊อบแกร๊บเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงปริมาณน้ำในต้น กล่าวคือ ช่วงเช้า หากในถุงมีหยดน้ำเกาะจนกระทั่งสายแสงแดดเริ่มร้อนหยดน้ำที่เกาะระเหยหายไปแสดงว่าต้นชมพู่ได้รับน้ำอย่างเพียงพอ ในทางกลับกันหากช่วงเช้าไม่มีหยดน้ำเกาะในถุงเลย ก็แสดงว่าต้นได้รับน้ำไม่เพียงพอ ต้องเพิ่มปริมาณน้ำให้มากขึ้น

- การให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพที่มีส่วนผสมของกากน้ำตาลโดยการฉีดพ่นทางใบ ไม่เหมาะกับชมพู่ เนื่องจากกากน้ำตาลในปุ๋ยน้ำชีวภาพจะรัดผล ทำให้ผลเล็ก แม้ว่าคุณภาพภายในผลจะดีแต่จำหน่ายไม่ได้ราคาเพราะตกขนาด ดังนั้นจึงควรให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพเฉพาะทางรากเท่านั้น โดยรดโคนต้นบริเวณทรงพุ่มและในร่องระหว่างแถวปลูก วิธีการนี้ช่วยให้ดินดี ร่วนซุย อากาศ และน้ำผ่านสะดวก ต้นชมพู่จะสมบูรณ์กว่าการใช้ปุ๋ยเคมีอย่างเดียวเดี่ยวๆ หากต้องการให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพทางใบแก่ชมพู่จะต้องทำปุ๋ยน้ำชีวภาพด้วยกลูโคสเท่านั้น

- การควบคุมความสูงของต้นชมพู่สามารถทำได้หลายระดับความสูง แล้วแต่ความสะดวกหรือความพร้อมสำหรับการเข้าไปทำงาน กล่าวคือ หากต้องการยืนบนพื้นดินทำงานก็ให้ตัดยอดคุมความสูงที่ 2-2.5 เมตร หากสูงกว่านี้ต้องใช้ไม้ทำนั่งร้านแบบถาวร ซึ่งสามารถขึ้นไปยืนบนนั่งร้านนั้นทำงานได้ มีชาวสวนหลายคนปล่อยให้ต้นชมพู่สูง 7-10 ม. เป็นการเพิ่มขนาดของต้นทางสูงเพื่อสร้างปริมาณผลผลิต ความสูงระดับนี้ให้ทำนั่งร้านถาวรภายในทรงพุ่มหลายๆ ชั้น ซ้อนกันขึ้นไป ความสูงชั้นละประมาณ 1-1.5 เมตรซึ่งก็ได้ผลดี ทั้งนี้ผลของชมพู่ไม่ว่าจะอยู่ ณ ความสูงระดับใดของต้น สามารถได้รับน้ำเลี้ยงไปบำรุงผลให้มีคุณภาพดีเหมือนกันทั่วทั้งต้น

การควบคุมความสูงให้ตัดยอดประธานโดยตรง ณ ระดับความสูงตามต้องการ หลัง จากนั้นให้หมั่นตัดยอดที่แตกใหม่ออกเสมอๆ .... การควบคุมขนาดทรงพุ่มที่แผ่ขยายออกทางข้าง ให้ตัดปลายกิ่งประธาน ณ รัศมีความกว้างตามต้องการ หลังจากตัดปลายกิ่งประธานไปแล้วต้นจะแตกยอดกลายเป็นกิ่งใหม่ก็ให้คอยตัดกิ่งใหม่นี้ออกคงเหลือไว้เท่าที่จำเป็น โดยกิ่งแตกใหม่นี้จะไม่ออกดอกติดผลเพราะเป็นกิ่งอายุยังน้อยแต่จะออกดอกติดผลในกิ่งแก่หรือกิ่งประธาน

เทคนิคการควบคุมขนาดทรงพุ่ม (ทางสูงและทางข้าง) หลังจากตัดปลายกิ่งกับยอดประธานแล้ว จะมีกิ่งแตกออกมาใหม่ ให้เลี้ยงกิ่งแตกใหม่ทั้งหมดไว้ก่อนจนได้ความยาว 50-80 ซม. หลังจากนั้นแบ่งกิ่งชุดนี้เป็น 2 ส่วน ๆหนึ่งตัดทิ้งครึ่งหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งปล่อยตาม ปกติ กิ่งที่ถูกตัดจะแตกยอดใหม่จึงทำให้มีใบที่ปลายกิ่ง 2 ชุด คือ ชุดที่เกิดจากกิ่งถูกตัดกับชุดอยู่กับกิ่งเดิมซึ่งไม่ได้ตัด .... เมื่อมีใบถึงสองชุดปกคลุมต้นด้านนอกอาจจะทึบเกินไปก็ให้ลิดออกบ้าง เหลือไว้ประมาณ 50-70% ก็พอ ขณะเดียวกันหากมียอดหรือกิ่งเกิดขึ้นใหม่ภายในทรงพุ่มให้เด็ดออกทิ้งตั้งแต่ยังเล็กเท่ายอดผักหวาน ไม่ควรปล่อยไว้จนโตเพราะจะทำให้ภายในทรงพุ่มทึบ มีความชื้นสูง เป็นแหล่งอาศัยของแมลงศัตรูพืช และทำให้เกิดเชื้อรากินเปลือกได้

- อายุต้น 5-6 ปีขึ้นไปให้ผลผลิตมาแล้วตลอด 4 ปี สภาพต้นเริ่มโทรมให้ผลผลิตน้อยและคุณภาพด้อยลง แก้ไขด้วยการตัดแต่งกิ่งแบบทำสาวโดยตัดกิ่งย่อยและกิ่งแขนงออกทั้งหมด คงเหลือกิ่งย่อยติดใบไว้เพียง 5-10% และตัดแต่งรากช่วงปลายทิ้ง 1 ใน 4 จากนั้นบำรุงเรียกใบอ่อนและบำรุงเรียกรากใหม่ ประมาณ 1 ปีก็จะกลับมาให้ผลผลิตใหม่ที่ดีเหมือนเดิมได้

- ฮอร์โมน เอ็นเอเอ. ช่วยเสริมอ๊อกซินธรรมชาติที่ต้นชมพู่อาจขาดแคลน เนื่องจากความสมบูรณ์ของดินและอินทรีย์วัตถุ ให้ฉีดพ่นฮอร์โมน เอ็นเอเอ. ทางใบ 2-3 รอบ ตั้งแต่ระยะผลทรงกระโถนถึงเก็บเกี่ยว โดยแบ่งช่วงเวลาให้ จะให้เอ็นเอเอ. เดี่ยวๆ หรือผสมร่วมกับแคลเซียมโบรอน และธาตุอาหารเสริมอื่นๆ พร้อมกันเลยก็ได้ จะช่วยให้ขั้วผลเหนียวป้องกันผลร่วงผลแตก ขยายขนาดผล รูปทรงดี สีสวย และคุณภาพดี

- การใช้สารยับยั้งการเจริญเติบโต (พาโคลบิวทาโซล) ในชมพู่สามารถทำได้ ความมุ่งหมายเพื่อบังคับชมพู่ให้ออกนอกฤดูหรือในช่วงที่ต้องการ ซึ่งได้ผลเหมือนกับการใช้ในมะม่วงและทุเรียน .... วิธีการให้กับชมพู่ต้นใหญ่หรืออายุต้นมากๆใช้วิธีฉีดพ่นทางใบ กับชมพู่ต้นเล็กหรืออายุต้นยังน้อยใช้วิธีราดโคนต้น ทั้งนี้ก่อนให้สารยับยั้งการเจริญเติบโต ต้นชมพู่จะต้องได้รับการบำรุงให้สมบูรณ์แข็งแรงจริงๆ มิฉะนั้นอาจทำให้ต้นโทรมหรือตายได้

การปฏิบัติบำรุงต่อผลชมพู่ต่างอายุกันไม่ยุ่งยาก เนื่องจากชมพู่เป็นพืชไม้ผลที่ตอบสนองต่อปุ๋ยและฮอร์โมนเร็วอยู่แล้ว หลังจากให้ปุ๋ยหรือฮอร์โมนไปแล้วจะเห็นผลการเปลี่ยนแปลงได้ภายใน 2-3 วัน

ช่วงบำรุงผลแก่ใกล้เก็บ ถ้าให้ปุ๋ยทางรากด้วย 13-13-21 กับให้ทางใบด้วย 0-21-74 หรือ 0-0-50 ผลเล็กขนาดรองลงมาจะชะงักการเจริญเติบโต แก้ไขด้วยการให้ทางรากด้วย 8-24-24 หรือ 9-26-26 แทน ส่วนทางใบไม่ต้องให้

หลังจากเก็บเกี่ยวผลแก่ไปแล้วกลับมาให้ปุ๋ยทางรากด้วย 21-7-14 ควบคู่กับให้ทางใบ ด้วยธาตุรอง/ธาตุเสริม (เน้น แคลเซียม โบรอน) ก็จะสามารถขยายผลรุ่นต่อมาให้ใหญ่ขึ้นได้ .... อีกทางเลือกหนึ่งก็คือ ให้ปุ๋ยทางรากด้วย 21-7-14 สลับครั้งกับ 8-24-24 กับให้ ธาตุรอง/ธาตุเสริม (เน้นแคลเซียม โบรอน) ทางใบ ยืนพื้นไว้แบบให้ประจำๆ ก็ได้ เมื่อผลชุดใดแก่ก็เก็บเกี่ยวไป ผลที่ยังไม่แก่ก็รอเก็บเกี่ยวรอบหลัง ซึ่งก็จะทำให้มีผลผลิตให้เก็บเกี่ยวได้ตลอดปี

- ช่วงผลแก่ใกล้เก็บมีฝนตกชุกมักทำให้ชมพู่ผลร่วงแตก ฉ่ำน้ำ รสเปรี้ยว เนื้อไม่แน่น ไม่กรอบสาเหตุมาจากไนโตรเจนเกิน แก้ไขด้วยการใส่ปุ๋ยทางรากด้วย 8-24-24 หรือ9-26-26 ไม่ควรใส่ 13-13-21 ควบคู่กับให้ทางใบด้วย 0-21-74 หรือ 0-0-50 + ธาตุรอง/ธาตุเสริม (เน้น แคลเซียม โบรอน) ควบคู่กับงดน้ำเด็ดขาด เปิดหน้าดินโคนต้น ทำช่องทางระบายน้ำและอย่าให้น้ำขังค้างโคนต้น

- ระยะติดดอกติดผลชมพู่จะขาดน้ำไม่ได้เลย ถ้าขนาดน้ำช่วงออกดอก ๆจะร่วง เกสรผสมไม่ติด และถ้าขาดน้ำช่วงติดผลจะเกิดอาการเนื้อบางหลวม ไส้กลวง เมล็ดใหญ่ รูปทรงไม่สมบูรณ์ ผลสั้นบิดเบี้ยว เนื้อแข็ง เปลือกแข็ง

-การมีน้ำในดินโคนต้นมากเกินไปจะทำให้ต้นแตกใบอ่อนไม่หยุด ดังนั้นจึงต้องควบคุมปริมาณน้ำ โดยเฉพาะในดินโคนต้นให้อยู่ในระดับความชื้น 50-80% ตลอดฤดูที่มีผลอยู่บนต้น .... การปรับสภาพโครงสร้างดิน ไม่เป็นดินเหนียวจัดและไม่เป็นดินทรายจัด แต่ให้มีส่วนผสมของอินทรีย์วัตถุกับเนื้อดิน 1 : 3 ที่สุด

- ชมพู่ทนต่อน้ำท่วมโคนต้นได้นานนับเดือนแต่ต้องเป็นน้ำสะอาด เพื่อไม่ให้ต้นที่อยู่ในระหว่างน้ำท่วมโทรมมากเกินไป ให้พิจารณาตัดกิ่งออกบ้างเพื่อลดการคายน้ำ ควบคู่กับฉีดพ่นธาตุอาหารหลัก/รอง/เสริม ทางใบ ทุก 3-5 วัน

ขั้นตอนการปฏิบัติบำรุงต่อชมพู่ (ทุกสายพันธุ์)
1. เรียกใบอ่อน

ทางใบ :
- ให้ ไบโออิ 25-5-5 + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ กระดูกป่น ปุ๋ยคอก (ขี้วัวขี้ไก่ไข่ แกลบดิบ แห้งเก่าข้ามปี) ครั้งที่ 1 ของรุ่นหรือปีการผลิต

- คลุมโคนต้นด้วยเศษพืชแห้งหนาๆ เต็มพื้นที่บริเวณทรงพุ่ม ล้ำออกไปถึงนอกเขตทรงพุ่ม
- ให้ 25-7-7 (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นกลาง, 2 กก.ต้นใหญ่) /ต้น ละลายน้ำรดโคนต้น เขตทรงพุ่ม

- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 (2 ล.) /ไร่ รดทั่วแปลงทุกตารางนิ้ว 1-2 เดือน/ครั้ง

- ให้น้ำเปล่า ทุก 3-5 วัน

หมายเหตุ :
- เริ่มปฏิบัติทันที่ ณ วันรุ่งขึ้น หลังจากผลลูกสุดท้ายหลุดจากต้นและหลังตัดแต่งกิ่ง
- เทคนิค ตัดแต่งกิ่งก่อนบำรุง กับ บำรุงก่อนตัดแต่กิ่ง เรื่องของเรื่องก็คือ ระหว่างที่มีลูกผลบนต้นนั้น ต้นต้องใช้พลังเลี้ยงลูกผลอย่างมาก ต้นจึงโทรม ลูกผลมากโทรมมาก ลูกผลน้อยโทรมน้อย ในเมื่อใบมีหน้าที่สังเคราะห์สารอาหาร ถ้าตัดใบทิ้งแล้วต้นจะเอาใบที่ไหนมาสังเคราะห์อาหาร เพราะฉะนั้น ให้บำรุงเรียกใบอ่อนก่อน 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน เมื่อเห็นว่า ต้นมีอาการอั้นตายอดก็ให้ลงมือตัดแต่งกิ่ง แล้วบำรุงด้วยสูตร “เรียกใบอ่อน” ตาม ปกติ ต้นก็จะแตกใบอ่อนดี จำนวนมาก และพร้อมกันทั้งต้น

- ใบอ่อนเมื่อออกมาแล้วต้องระวังโรคและแมลงศัตรูเข้าทำลายใบเพราะหากใบอ่อนชุดใดชุดหนึ่งถูกทำลายเสียหายจะต้องเริ่มเรียกชุดที่ 1 ใหม่ ซึ่งจะทำให้เสียเวลาและกำหนดระยะการออกดอกติดผลต้องเลื่อนออกไปอีกด้วย

- เรียกใบอ่อนโดยการใส่ปุ๋ยทางรากสูตร 25-7-7 จะช่วยให้ได้ใบที่มีขนาดใหญ่ มีพื้นที่หน้าใบสังเคราะห์อาหารมาก และคุณภาพดีกว่าใส่ปุ๋ยสูตรเสมอ

- หลังจากให้ทางใบไปแล้ว 5-7 วัน ถ้าแตกใบอ่อนน้อยกว่า 50% ให้ฉีดพ่นซ้ำรอบสองด้วยอัตราและวิธีการเดิม

- ชมพู่ต้องการใบอ่อน 2 ชุด ถ้าต้นสมบูรณ์ดี มีการเตรียมดินและปรับปรุงบำรุงดินสม่ำเสมอต่อเนื่องมาหลายๆปีแล้ว หลังจากใบอ่อนชุดแรกเพสลาดแล้วให้เรียกใบอ่อนชุด 2 ต่อได้เลย ใบชุด 2 นี้อาจจะออกไม่พร้อมกันทั้งต้นเหมือนชุดแรกแต่ก็จะออกห่างกันไม่เกิน 7-10 วัน และหลังจากใบอ่อนชุด 2 เพสลาดให้เข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงต่อไปตามปกติ .... ถ้าต้นแตกใบอ่อนไม่พร้อมกันทั่วทั้งต้นจะส่งผลเสียหลายอย่างตั้งแต่ การเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่ การสะสมอาหารเพื่อการออก การปรับ ซี/เอ็น เรโช. การเปิดตาดอก ซึ่งจะออกดอกไม่พร้อมกันทั่วทั้งต้น และเมื่อดอกออกไม่พร้อมกันก็กลายเป็นผลไม่พร้อมกันทำให้ยุ่งยากต่อการปฏิบัติบำรุงตามขั้นตอนอย่างมาก .... แก้ไขโดยบำรุงเรียกใบอ่อนให้ออกมาเป็นชุดเดียวพร้อมกันทั้งต้นให้ได้

2. เร่งใบอ่อนเป็นใบแก่ :
ทางใบ :
- ให้ไบโออิ 0-21-74 หรือ 0-39-39 สูตรใดสูตรหนึ่ง + สารสมุนไพร 250 ซีซี. ฉีดพ่นพอเปียกใบ 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 3-5 วัน

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- ให้ 8-24-24 (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นกลาง, 2 กก.ต้นใหญ่) /ต้น ละลายน้ำรดโคนต้น เขตทรงพุ่ม

- ให้น้ำปกติ ทุก 2-3 วัน

หมายเหตุ :
- ลงมือบำรุงเมื่อใบอ่อนชุดแรกอกมาเริ่มแผ่กาง
- วัตถุประสงค์เพื่อเร่งใบชุดใหม่ให้สามารถสังเคราะห์อาหารได้ และเร่งระยะเวลาเรียกใบอ่อนชุดต่อไปได้เร็วขึ้น กับทั้งเพื่อให้ใบอ่อนรอดพ้นจากทำลายของแมลงปากกัดปากดูด

- สารอาหารในกลุ่มเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่มีฟอสฟอรัส. และโปแตสเซียม.) นอกจากช่วยเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่แล้วยังช่วยเสริมประสิทธิภาพขั้นตอนสะสมอาหารเพื่อการออกดอกได้ด้วย

3. สะสมอาหารเพื่อการออกดอก :
ทางใบ :
- ให้ไบโออิ 0-42-56 + สารสสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ ติดต่อกัน 1-2 เดือน

- ฉีดพ่นสารสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- ให้ 8-24-24 หรือ 9-26-26 สูตรใดสูตรหนึ่ง (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นกลาง, 2 กก.ต้นใหญ่) /ต้น ละลายน้ำรดโคนต้น เขตทรงพุ่ม

- คลุมโคนต้นด้วยเศษพืชแห้งหนาๆ เต็มพื้นที่บริเวณทรงพุ่ม ล้ำออกไปถึงนอกเขตทรงพุ่ม
- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 8-24-24 (2 ล.) /เดือน ละลายน้ำรดทั่วแปลงทุกตารางนิ้ว
- ให้น้ำปกติทุก 2-3 วัน

หมายเหตุ :
- เริ่มปฏิบัติหลังจากใบอ่อนชุดสุดท้ายเพสลาด
- ปริมาณ 8-24-24 หรือ 9-26-26 ใส่มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณการติดผลในรุ่นที่ผ่านมา กล่าวคือ ถ้ารุ่นที่ผ่านมาติดผลดกมาก ผลผลิตมีคุณภาพดีมาก ให้ใส่ในปริมาณที่มากขึ้น แต่ถ้ารุ่นที่ผ่านมาติดผลดกน้อยหรือไม่ติดผลเลยให้ใส่ในปริมาณปานกลาง

- แนวทางบำรุงให้ต้นได้สะสมอาหารเพื่อการออกดอกไว้มากที่สุดควรเตรียมแผนใช้เวลาบำรุง 2-2 เดือนครึ่ง ในห้วงนี้ให้น้ำตาลทางด่วน (กลูโคส) 2 รอบ โดยรอบแรกให้เมื่อเริ่มลงมือบำรุงและให้รอบสองห่างจากรอบแรก 20-30 วัน

- การเพิ่มปริมาณปุ๋ยให้มากขึ้น หมายถึง การให้อัตราเดิมแต่ระยะเวลาให้ถี่ขึ้น เช่นจากเคยให้ 15 วัน/ครั้งก็ให้เปลี่ยนเป็น 10 วัน/ครั้ง

- ก่อนเข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงขั้นต่อไป คือ ปรับ ซี/เอ็น เรโช. ให้ทบทวนความทรงจำเมื่อครั้งเรียกใบอ่อนแล้วใบอ่อนออกมาพร้อมกันเป็นชุดเดียวทั่วทั้งต้นหรือไม่ ถ้าใบอ่อนออกมาพร้อมกันดีทั่วทั้งต้นให้ปรับ ซี/เอ็น เรโช. ต่อไปได้เลย แต่ถ้าใบอ่อนออกมาไม่พร้อมกันเป็นชุดเดียวทั่วทั้งต้นและค่อนข้างต่างรุ่นกันมากก็ให้บำรุงสะสมอาหารเพื่อการออกดอกต่อไปอีก 2-3 รอบ เพื่อรอให้ใบอ่อนชุดหลังสะสมอาหารจนอั้นตาดอกดีเท่ากับใบอ่อนชุดแรกจากนั้นจึงลงมือปรับ ซี/เอ็น เรโช. ทั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อทำให้มีดอกออกมาพร้อมกันเป็นชุดเดียวกันทั่วทั้งต้นนั่นเอง

4. ตรวจสอบสภาพอากาศก่อนปรับ ซีเอ็น เรโช :
ก่อนเริ่มลงมือปรับ ซี/เอ็น เรโช (งดน้ำ) และก่อนลงมือเปิดตาดอกต้องแน่ใจว่าระหว่างที่กำลังบำรุงทั้งสองขั้นตอนนี้จะต้องไม่มีฝน เพราะถ้ามีฝนตกลงมาการงดน้ำก็ล้ม เหลว และดอกที่ออกมาจะได้รับความเสียหาย .... ถ้ารู้แน่ว่าช่วงงดน้ำและเปิดตาดอกถึงช่วงดอกออกมาแล้วจะมีฝนก็ให้ระงับการปรับ ซี/เอ็น เรโช และเปิดตาดอกไว้ก่อน ให้บำรุงต้นต่อไปอีกด้วยสูตรสะสมอาหารเพื่อการออกดอก จากนั้นอาจจะปรับแผนการบำรุงเพื่อทำให้ชมพู่ออกล่าฤดูด้วยการเลื่อนเวลาเริ่มปรับ ซี/เอ็น เรโช และเปิดตาดอกให้ช้าออกไปเท่าที่สภาพภูมิ อากาศจะอำนวยก็ได้

5. ปรับ ซี/เอ็น เรโช
ทางใบ :
- ให้ไบโออิ 0-42-56 + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- เปิดหน้าดินโคนต้น
- งดน้ำเด็ดขาด

หมายเหตุ :
- วัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มปริมาณ ซี. (อาหารกลุ่มสร้างดอก-บำรุงผล) และลดปริมาณ เอ็น. (อาหารกลุ่มสร้างใบ-บำรุงต้น) ซึ่งจะส่งผลให้ต้นออกดอกหลังการเปิดตาดอก

- ต้นที่มีอาการอั้นตาดอกดีจนพอใจแล้วไม่ต้องฉีดพ่นกลูโคสหรือนมสัตว์สดเพิ่มอีกแต่ถ้าต้นมีอาการอั้นตาดอกไม่ดีหรือยังไม่น่าพอใจ แนะนำให้ฉีดพ่นน้ำตาลทางด่วน (กลูโคส) ทางใบอีกซ้ำอีก 1 รอบ โดยเว้นระยะเวลาให้ห่างจากที่เคยให้เมื่อช่วงสะสมอาหารไม่น้อยกว่า 30-45 วัน

- ก่อนลงมือปรับ ซี/เอ็น เรโช จะต้องติดตามข่าวพยากรณ์อากาศให้มั่นใจว่าระหว่างปรับ ซี/เอ็น เรโช จะต้องไม่มีฝนตก เพราะถ้ามีฝนตกลงมา มาตรการงดน้ำก็ต้องล้มเหลว

- ขั้นตอนการปรับอัตราส่วน ซี/เอ็น เรโช จะสมบูรณ์ดีหรือไม่ให้สังเกตจากต้น ถ้าต้นเกิดอาการใบสลดแสดงว่าในต้นมีปริมาณ ซี.มาก ส่วนปริมาณ เอ็น.เริ่มลดลง และความพร้อมของต้นก่อนลงมือเปิดตาดอก สังเกตได้จากลักษณะใบใหญ่หนาเขียวเข้ม กิ่งช่วงปลายและใบกรอบเปราะ ข้อใบสั้น หูใบอวบอ้วน

- การให้สารอาหารทางใบซึ่งมีน้ำเป็นส่วนผสมนั้น อย่าให้โชกจนตกลงถึงพื้นเพราะจะกลายเป็นการให้น้ำทางราก แนวทางปฏิบัติ คือ ให้บางๆเพียงเปียกใบเท่านั้น

- เมื่องดน้ำ (ไม่รดน้ำ) แล้วต้องควบคุมปริมาณน้ำใต้ดินโคนต้นไม่ให้มากเกินไปโดยการทำร่องระบายน้ำใต้ดินหรือร่องสะเด็ดน้ำด้วย

- กรณีสวนยกร่องน้ำหล่อต้องใช้ระยะเวลาในการงดน้ำนานมากกว่าจึงจะทำให้ใบสลดได้ อาจส่งผลให้แผนการผลิตที่กำหนดไว้คลาดเคลื่อน ดังนี้จึงจำเป็นต้องสูบน้ำออกตั้งแต่ก่อนปรับ ซี/เอ็น เรโช โดยกะคะเนให้ดินโคนต้นแห้งถึงขนาดแตกระแหงและมีความชื้นไม่เกิน 10% ตรงกับช่วงปรับ ซี/เอ็น เรโช พอดี

6. สำรวจความพร้อมของต้น ก่อนเปิดตาดอก :
- เนื้อใบหนาเขียวเข้มส่องแดดไม่ทะลุ เส้นใบนูนเด่น หูใบอวบอ้วน ข้อใบสั้น ใบคู่สุดท้ายปลายกิ่งแก่จัด กิ่งช่วงปลายกลมเปราะหักง่าย มองจากภายนอกระยะไกลๆ เห็นความสมบูรณ์ทางทรงพุ่มชัดเจน

- ผิวเปลือกตามลำต้นสดใสมีอาการแตกปริ
- รากใหญ่จำนวนมาก ปลายราก (หมวกราก) ยาวอวบอ้วนสดใส

7. ตรวจสอบสภาพอากาศ ก่อนเปิดตาดอก :
ก่อนลงมือเปิดตาดอกให้ตรวจสอบข่าวสภาพอากาศให้แน่ใจว่าในอีก 15-20 วันข้างหน้าหรือวันที่ช่อดอกเริ่มแทงออกมานั้น จะต้องไม่มีฝนตกหรือมีสภาพอากาศปิด (ครึ้มฟ้าครึ้มฝน) เพราะสภาพอากาศปิดหรือมีฝน ต้นชมพู่จะเปิดตาดอกไม่ออก แม้จะอั้นตาดอกดีเพียงใดก็ตาม แต่กลับแทงใบอ่อนออกมาแทน กรณีนี้ให้ระงับการเปิดตาดอกไว้ก่อนแล้วบำรุงต้นด้วยสูตร “สะสมอาหารเพื่อการออกดอก” ต่อไปจนกว่าจะมั่นใจว่าในวันที่ช่อดอกออกมานั้นไม่มีฝนหรืออากาศเปิดแน่จึงลงมือเปิดตาดอก

ชมพู่บางสายพันธุ์ไม่ค่อยมีปัญหาต่อการเปิดตาดอกช่วงอากาศปิด แม้ว่าหลังจากเปิดตาดอกแล้วมีฝนตกจนต้นแตกใบอ่อนออกมาก็ให้ถือใบอ่อนนั้นเป็นการเริ่มบำรุงขั้นตอนที่ 1 ใหม่ รอจนกระทั่งใบอ่อนเพสลาดให้ใส่ปุ๋ยทางราก 8-24-24 หรือ 9-26-26 (ตามขนาดต้น) ควบคู่กับการฉีดพ่นปุ๋ยทางใบ ไบโออิ 0-42-56 สลับ แคลเซียมโบรอน 1-2 รอบห่างกันรอบละ 5-7 วัน ชมพู่สายพันธุ์ที่ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องอากาศปิดนั้นก็จะแทงช่อดอกออกมาให้ปรากฏได้ .... ถ้าให้ทางใบด้วย ไบโออิ 0-42-56 สลับ แคลเซียม โบรอน ไปแล้ว 2 รอบยังไม่ออกดอกก็ให้เปิดตาดอกด้วย 13-0-46 ต่ออีก 1-2 รอบ คราวนี้ถ้ายังไม่ออกอีกก็ต้องรอให้อากาศเปิดแล้วจึงเปิดตาดอก

8. เปิดตาดอก
ทางใบ :
สูตร 1 .... ให้น้ำ 100 ล. + สาหร่ายทะเล 100 ซีซี. + ไทเป 100 ซีซี. + สารสมุนไพร 250 ซีซี.

สูตร 2 .... ให้น้ำ 100 ล. + 13-0-46 (500 กรัม) + ไทเป 100 ซีซี. + สารสมุนไพร 250 ซีซี.

เลือกใช้สูตรใดสูตรหนึ่งหรือทั้งสองสูตรแบบสลับครั้งกัน ห่างกันครั้งละ 5-7 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ

ทางราก :
- ให้ 8-24-24 หรือ 9-26-26 สูตรใดสูตรหนึ่ง (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นกลาง, 2 กก.ต้นใหญ่) /ต้น ละลายน้ำรดโคนต้น เขตทรงพุ่ม

- คลุมโคนต้นด้วยเศษพืชแห้งหนาๆ เต็มพื้นที่บริเวณทรงพุ่ม ล้ำออกไปถึงนอกเขตทรงพุ่ม
- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 8-24-24 (2 ล.) /เดือน ละลายน้ำรดทั่วแปลงทุกตารางนิ้ว

- ให้น้ำปกติทุก 2-3 วัน

หมายเหตุ :
- เลือกใช้ให้ทางใบด้วยสูตรใดสูตรหนึ่งหรือใช้ทั้งสองสูตรแบบสลับครั้งกันก็ได้
- ต้นที่มีอาการอั้นตาดอกดีและสภาพอากาศพร้อมสำหรับเปิดตาดอกให้เปิดตาดอกด้วย 13-0-46 ถ้าอั้นตาดอกดีแต่ไม่แน่ใจว่าสภาพอากาศจะอำนวยหรือไม่ก็ให้เปิดตาดอกด้วย 0-42-56

- หลังจากเปิดตาดอกแล้ว ถ้าดอกออกมาไม่มากพอ ระหว่างที่ดอกชุดแรกยังเป็นดอกตูมอยู่นั้น ให้เปิดตาดอกซ้ำอีก 1-2 รอบด้วยสูตรเดิม หรือจนกระทั่งดอกชุดแรกบานแล้วจึงยุติการเปิดตาดอกซ้ำ

9. บำรุงดอก
ทางใบ :
- ให้ไบโออิ 15- 45-15 (หน้าฝน) หรือ 0-52-34 (หน้าแล้ง) + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน ฉีดพ่นใบพอเปียกใบ

- ฉีดพ่นสารสมุนไพร ทุก 3 วัน

ทางราก :
- ยังคงเปิดหน้าดินโคนต้นเช่นเดิม
- ให้ 8-24-24 หรือ 9-26-26 สูตรใดสูตรหนึ่ง (ปริมาณตามขนาดต้น ) /ต้น
- ให้น้ำพอหน้าดินชื้น

หมายเหตุ :
- ให้ฮอร์โมนจิ๊บเบอเรลลินเดี่ยวๆ รอบที่ 1 เมื่อเห็นว่าดอกออกมามากจนพอใจแล้ว
- ถ้ามีดอกออกมาแล้วมีใบออกมาด้วย ให้ใช้ 0-42-56 แทน 15-45-15 เพื่อกดใบอ่อน

- ฉีดพ่นสารอาหารเพื่อบำรุงดอกด้วยเครื่องมือฉีดพ่นที่มีแรงลมพ่นเบาที่สุดตามความเหมาะสมเพื่อไม่ให้กระทบกระเทือนต่อส่วนต่างๆของดอก ฉีดพ่นที่ช่อดอกโดยตรงพอเปียกหรือฉีดพ่นให้ทั่งทรงพุ่มพอเปียกใบก็ได้

- บำรุงดอกช่วงฝนชุกให้เน้น “สังกะสี และ แคลเซียม โบรอน” โดยให้เมื่อดอกออกมาแล้วหรือให้แบบสะสมล่วงหน้าตั้งแต่ช่วงเปิดตาดอก ด้วยวิธีให้เดี่ยวๆ หรือผสมรวมไปกับธาตุอาหารอื่นๆ ก็ได้

- การไม่ใช้สารเคมีมาเป็นเวลานานๆ จะทำให้มีผึ้งหรือแมลงธรรมชาติอื่นๆ เข้ามาช่วยผสมเกสร หรือมีสายลมช่วยพัดละอองเกสรตัวผู้ (ต่างต้น) ไปผสมกับเกสรตัวเมีย ก็จะช่วยให้ติดผลดกขึ้น

- ต้นที่ได้รับ แม็กเนเซียม (จากไบโออิ). โบรอน (จากแคลเซียม โบรอน). สม่ำเสมอแบบสะสม ถึงช่วงออกดอกแล้วเจอฝน ดอกจะแข็งแรงไม่ร่วงง่ายๆ หรือติดเป็นผลได้ดีเหมือนปกติ

10. บำรุงผลเล็ก - กลาง :
ทางใบ :
- ให้ ไบโออิ + ยูเรก้า + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ กระดูกป่น ปุ๋ยคอก (ขี้วัวขี้ไก่ไข่ แกลบดิบ แห้งเก่าข้ามปี) ครั้งที่ 2 ของรุ่นหรือปีการผลิต

- คลุมโคนต้นด้วยเศษพืชแห้งหนาๆ เต็มพื้นที่บริเวณทรงพุ่ม ล้ำออกไปถึงนอกเขตทรงพุ่ม
- ให้ 21-7-14 (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นกลาง, 2 กก.ต้นใหญ่) /ต้น ละลายน้ำรดโคนต้น เขตทรงพุ่ม

- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 21-7-14 (2 ล.) /ไร่ /เดือน รดทั่วแปลงทุกตารางนิ้ว
- ให้น้ำเปล่า ทุก 3-5 วัน

หมายเหตุ :
- เริ่มปฏิบัติหลังจากกลีบดอกร่วง หรือขนาดผลเท่าเมล็ดถั่วเขียว
- หาจังหวะให้น้ำตาลทางด่วน (กลูโคส) 1 ครั้ง เมื่ออายุผลแก่ได้ 50% นอกเป็นการบำรุงสร้างความสมบูรณ์แก่ต้น ส่งผลให้ผลผลิตรุ่นนี้ดี แล้วต่อไปอนาคตผลผลิตรุ่นหน้าหรือรอบหน้าอีกด้วยถึง

11. บำรุงผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยว :
ทางใบ :
- ให้ไบโออิ 0-21-74 หรือ 0-0-50 สูตรใดสูตรหนึ่ง 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 3-5 วัน ให้ครั้งสุดท้ายก่อนเก็บเกี่ยว 3-5 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- เปิดหน้าดินโคนต้น
- ให้ 13-13-21 หรือ 8-24-24 สูตรใดสูตรหนึ่ง (ปริมาณตามขนาดต้น) /ต้น ละลายน้ำรดโคนต้นบริเวณทรงพุ่ม แล้วงดน้ำ

หมายเหตุ :
- เริ่มปฏิบัติก่อนเก็บเกี่ยว 10-20 วัน
- การบำรุงผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยวช่วง “หน้าแล้ง” โดยให้ 0-0-50 หรือ 0-21-74 ทางใบ กับให้ 13-13-21 หรือ 8-24-24 ทางราก จะทำให้ชมพู่มีรสหวานจัดมาก ดังนั้นช่วงหน้าแล้งจึงไม่จำเป็นต้องให้ทางใบ ให้เฉพาะทางรากอย่างเดียวก็พอ แต่ถ้าให้ทั้งทางใบและทางรากรสจะหวานจัดจนแสบคอ

- การบำรุงผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยวช่วง “หน้าฝน” ควรให้ทางทางรากและทางใบคู่กัน โดยให้ทางใบด้วย 0-0-50 หรือ 0-21-74 กับให้ทางรากด้วย 8-24-24 หรือ 9-26-26 ให้ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะหมดฝน และเมื่อหมดฝนแล้วให้งดน้ำพร้อมกับบำรุงต่อไปอีก 10-15 วัน ก็จะได้รสหวานพอดี

- การบำรุงผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยวโดยให้ทางรากด้วย 8-24-24 หรือ 9-26-26 เหมาะสำหรับต้นที่มีผลหลายรุ่น ซึ่งหลังจากเก็บเกี่ยวผลแก่รุ่นแรกไปแล้ว จะช่วยบำรุงผลชุดหลังต่อ นอกจากนี้ยังทำให้ต้นไม่โทรมเหมาะสำหรับการเตรียมความพร้อมต้นต่อการปฏิบัติบำรุงรุ่นปีต่อไปอีกด้วย

=================================================
=================================================


ชมพู่ทับทิมจันทร์ :
บางคนเปรียบชมพู่พันธุ์ทับทิมจันทร์ว่าเป็นชมพู่ “ปราบเซียนหรือทับทิมจน” เพราะลักษณะทางธรรมชาติประจำสายพันธุ์หลายอย่างต่างจากชมพู่ทั่วไป คนที่จะปลูกทับทิมจันทร์ให้ประสบความสำเร็จจริงๆ นั้น ต้องเข้าใจถึงช่วงพัฒนาการแต่ละระยะอย่างแท้จริง โดยเฉพาะ “น้ำ-สภาพอากาศ-ธาตุอาหาร” ว่าชมพู่ทับทิมจันทร์ต้องการหรือไม่ต้องการอย่างไร จากนั้นจึงเตรียมการป้องกันไว้ล่วงหน้า

ปัญหาเฉพะของทับทิมจันทร์ที่ต่างจากชมพู่พันธุ์ทั่วๆไป
ปัญหา : เปิดตาดอกด้วย 13-0-46 แล้วใบแก่ร่วง หรือเปิดตาดอกด้วย "ไธโอยูเรีย" แล้วแตกใบอ่อนมาก

แนวทางแก้ไข : ไม่ต้องเปิดตาดอกด้วยปุ๋ยทางใบทั้ง 2 ตัวนี้ แต่ให้ 0-42-56 เปิดตาดอกแทน โดยให้ตั้งแต่ระยะ "สะสมตาดอก" แล้วให้ไปเรื่อยๆ ติดต่อกันประมาณ 45-50 วัน ทับทิมจันทร์จะเริ่มแทงดอกออกมาเอง จากนั้นก็ให้ 0-42-56 ต่อไปอีกเพื่อใบอ่อนจนกระทั่งดอกพัฒนาเป็นผลขนาดเล็ก (ระฆัง) จึงเปลี่ยนมาเป็นสูตรบำรุงผลขยายขนาด

ปัญหา : ทับทิมจันทร์ช่วงที่เริ่ม ออกดอก-ติดผลเล็ก แตกใบอ่อนแล้วสลัดหรือทิ้งดอกและลูก

แนวทางแก้ไข :
1. ช่วงเริ่มออกดอกให้บำรุงทางใบด้วย 0-42-56 + ธาตุรอง/ธาตุเสริม (เน้น แคลเซียม โบรอน) 2-3 รอบ ห่างกันรอบละ 3-5 วัน จนเมื่อผลโตถึงระยะกระโถนและระยะระฆังให้สูตรเดิมนี้อีก 1 รอบเป็นรอบสุดท้าย

ส่วนทางรากให้ 8-24-24 ซ้ำอีก 1 รอบ กับให้น้ำพอหน้าดินชื้น เพื่อป้องกันการแตกใบอ่อน จากนั้นให้เข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงผลต่อไปตามปกติ นิสัยทับทิมจันทร์เมื่อผลใหญ่แล้วจะไม่ทิ้งลูกและแตกใบอ่อนน้อยลง

2. ให้ทางใบด้วยน้ำตาลทางด่วน (กลูโคส) ช่วงเริ่มออกดอกถึงติดเป็นผล 1-2 รอบห่างกันรอบละ 15-20 วัน จะช่วยกดใบอ่อนไม่ให้ออกมาได้เช่นกัน...และ
3. ไม่ควรเปิดตาดอกตรงกับช่วงที่มีฝนหรืออากาศปิด

ปัญหา : ทับทิมจันทร์ระบบรากไม่แข็งแรง
แนวทางแก้ไข :
1. ปลูกทูลเกล้าก่อน บำรุงเลี้ยงต้นทูลเกล้าจนได้ผลผลิตแล้วอย่างน้อย 1 รุ่น (อายุต้น 1-2 ปี) จากนั้นตัดต้นทูลเกล้าเหลือแต่ตอ นำยอดทับทิมจันทร์มาเสียบลงบนตอทูลเกล้า แล้วเลี้ยงยอดทับทิมจันทร์ตามปกติ 1-2 ปี ยอดทับทิมจันทร์ก็จะโตให้ผลผลิตได้

2. ทับทิมจันทร์ต้นโตให้ผลผลิตแล้ว นำต้นกล้าทูลเกล้าลงปลูกข้างต้นทับทิมจันทร์ 1-2 ต้น แล้วจัดการเสริมรากให้แก่ทับทิมจันทร์

3. ปลูกต้นกล้าทูลเกล้าลงไปก่อน บำรุงเลี้ยงจนกระทั่งต้นโตขนาดเท่าดินสอดำ แล้วจัดการเสียบยอดทับทิมจันทร์บนตอทูลเกล้านั้น

ทับทิมจันทร์มีรากค่อนข้างน้อย และหาอาหารไม่เก่ง แต่ทูนเกล้ามีรากมากและหากินเก่ง

ปัญหา : ทับทิมจันทร์ผลเล็ก เมล็ดใหญ่ เนื้อบาง สีไม่จัด หรือสีจัดแต่ไม่เต็มผล
แนวทางแก้ไข :
1. ช่วงเริ่มติดผลอย่าให้ขาดน้ำและอย่าให้น้ำมากเกิน
2. ให้ฮอร์โมนจิ๊บเบอเรลลินอย่างถูกต้องตามอัตรา ตามกำหนด (3 รอบ) และตามสภาพอากาศ (อากาศร้อนให้ใช้น้อยลง หรือ อากาศหนาวใช้มากขึ้นจากอัตราใช้ในฉลาก)

3. ให้ยิบซั่ม ปีละ 2 ครั้ง และให้กระดูกป่นปีละ 1 ครั้ง จะช่วยบำรุงคุณภาพเนื้อ เปลือก กลิ่น และสี
5. ไม่ใช้ปุ๋ยน้ำชีวภาพที่มีกากน้ำตาลเป็นส่วนผสม โดยเฉพาะการให้ทางใบซึ่งกาก น้ำตาลจะรัดลูกทำให้ลูกไม่โต หากต้องการใช้จริงๆ ก็ให้ใช้ปุ๋ยน้ำชีวภาพที่ใช้กลูโคสเป็นส่วนผสมแทน

ปัญหา : ทับทิมจันทร์ออกดอกน้อยทำให้ได้ผลไม่ดก
แนวทางแก้ไข :
ทับทิมจันทร์ต้องการใบจำนวนมากเพื่อสังเคราะห์อาหาร จึงจำเป็นต้องเรียกใบอ่อน 3 ชุด โดยมีวิธีทำดังนี้

วิธีที่ 1 ... ถ้าต้นสมบูรณ์ดี มีการเตรียมดินและปรับปรุงบำรุงดินสม่ำเสมอต่อเนื่องมาหลายๆปีแล้วหลังจากใบอ่อนชุดแรกเพสลาดให้เรียกใบอ่อนชุด 2 ต่อ ใบชุด 2 นี้อาจจะออกไม่พร้อมกันทั้งต้นเหมือนชุดแรกแต่ไม่ควรออกห่างกันไม่เกิน 7-10 วัน หลังจากใบอ่อนชุด 2 เพสลาดก็ให้เรียกใบอ่อนชุด 3 ต่อได้เลยอีกเช่นกัน การที่ใบอ่อนชุด 2 ออกไม่พร้อมกันนั้นจะส่งผลให้ใบอ่อนชุด 3 ออกไม่พร้อมกันทั้งต้นอีกด้วย และสุดท้ายเมื่อใบอ่อนชุด 3 เพสลาดก็ให้เข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงต่อไปตามปกติต่อไป

วิธีที่ 2 .... หลังจากใบอ่อนชุดแรกแผ่กางแล้วเร่งให้เป็นใบแก่ ได้ใบแก่แล้วงดน้ำให้ใบสลดจนใบแก่โคนกิ่งร่วง 1-2 ใบก็ให้ลงมือเรียกใบอ่อนชุด 2 เมื่อใบอ่อนชุด 2 แผ่กางให้เร่งเป็นใบแก่ เมื่อใบชุด 2 เป็นใบแก่แล้วงดน้ำให้ใบสลดจนใบแก่โคนกิ่งร่วง 1-2 ใบก็ให้ลงมือเรียกใบอ่อนชุด 3 และสุดท้ายเมื่อใบอ่อนชุด 3 เพสลาดก็ให้เข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงต่อไปตามปกติ
(วิธีที่ 1 ได้ผลดีกว่าวิธีที่ 2 เพราะต้นจะมีอาการโทรมน้อยกว่า......)

เทคนิคตัดแต่งกิ่งแบบเฉพาะตัวของทับทิมจันทร์ :
ก่อนลงมือเปิดตาดอกให้สำรวจผลจากการปฏิบัติบำรุงตั้งแต่เริ่มต้น (ตัดแต่งกิ่ง-เรียกใบอ่อน) จนกระทั่งถึงขั้นตอน งดน้ำ-ใบสลด ว่าแต่ละช่วงการบำรุงนั้น ต้นมีอาการตอบ สนองดังต่อไปนี้หรือไม่ ? อย่างไร ? และเพียงใด ?

- บำรุงต้นจนเริ่มแทงยอดอ่อนชุด 1 ก่อนแล้วจึงตัดแต่งกิ่งทั้งต้น เปิดหน้าดินโคนต้น พร้อมกับงดน้ำ 15-20 วัน เมื่อเห็นว่าใบแก่เขียวเข้มเริ่มสลดและใบแก่โคนกิ่งเริ่มร่วงแล้วให้ใส่ทางรากด้วย 25-7-7 ระดมให้น้ำวันเว้นวัน ประมาณ 7 วันจะแตกใบอ่อนออกมาเป็นใบอ่อนชุด 2

- ใบอ่อนชุด 2 เพสลาดให้ใส่ทางรากด้วย 8-24-24 หรือ 9-26-26 พร้อมกับเร่งใบให้ แก่เร็วโดยฉีดพ่นปุ๋ยทางใบด้วยสูตร 0-39-39 (2 รอบ) ห่างกันรอบละ 5-7 วัน เมื่อใบแก่จัดแล้วให้งดน้ำอีกครั้งประมาณ 15-20 วัน ระหว่างงดน้ำนี้ถ้าชมพู่เกิดอาการอั้นตาดอกก็ให้ลงมือเปิดตาดอกได้ แต่ถ้าไม่อั้นตาดอกให้บำรุงด้วยสูตรเดิมและวิธีเกิดอีก 1 รอบ

- หลังจากได้ดอกออกมาแล้วก็ให้บำรุงตามขั้นตอนปกติต่อไป

=============================================
=================================================



แตงโม
ลักษณะทางธรรมชาติ :
- เป็นพืชเถาเลื้อยอายุสั้นฤดูกาลเดียว ปลูกได้ทุกพื้นที่ ทุกภาคแลtทุกฤดูกาล เจริญเติบ โตได้ดีในดินร่วนปนทรายหรือดินดำร่วน มีอินทรีย์วัตถุมากๆ ระบายน้ำดี ไม่ทนต่อสภาพน้ำขังค้างต้องการความชื้นในดินสูงแต่ไม่ชอบแฉะ

- ปลูกได้ทุกฤดูกาล โดยมีระบบจัดการเรื่องน้ำเพียงอย่างเดียวให้ถูกต้องเท่านั้น
- อายุต้นตั้งแต่เริ่มงอกถึงออกดอก 20-25 วัน จากนั้นอีก 10-15 วันดอกก็พร้อมผสม อายุผลตั้งแต่ผสมติดถึงแก่เก็บเกี่ยว 30-40 วัน หรือตั้งแต่ปลูกถึงเก็บเกี่ยว 65-90 วัน ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ว่าเป็นพันธุ์เบาหรือพันธุ์หนัก และการปฏิบัติบำรุง

- การจัดแปลงปลูกแบบพื้นราบ นิยมปลูกเป็นพืชที่สองในนาหลังเกี่ยวข้าวนาปีแล้ว ซึ่งเป็นช่วงหน้าหนาวมีน้ำค้างแรง ช่วยสร้างความชื้นในดินให้แก่แตงโม กับทั้งมีความแห้งแล้งของสภาพอากาศช่วยจึงทำให้แตงโมมีรสชาติดี

การปลูกในภาชนะปลูก (ถุง) บรรจุวัสดุปลูก (ดินปลูกปรุงสำเร็จ) จัดวางภาชนะปลูกในที่ๆเหมาะสมต่อธรรมชาติของแตงโม เช่น ในโรงเรือน ยกภาชนะปลูกให้พ้นน้ำ (น้ำท่วม)แล้วจัดทำค้างให้เถาเลื้อยขึ้นไปพร้อมกับมีเครื่องยกผลให้สูงขึ้นพ้นพื้นหรือพ้นน้ำท่วม (สูตรของไต้หวัน-อิสราเอล) ก็สามารถทำได้ โดยเฉพาะการปลูกในช่วงหน้าฝนซึ่งมีผลผลิตออกสู่ตลาดน้อยมากก็จะได้ราคาดี นอกจาก นี้วิธีปลูกในภาชนะปลูกยังสามารถควบคุมปริมาณน้ำ สารอาหาร และอื่นๆที่เกี่ยวข้องได้ง่ายอีกด้วย

- แปลงปลูกในพื้นที่ที่เหมาะสมควบคุมปริมาณน้ำได้สามารถปลูกได้ตลอดปี ส่วนใหญ่นิยมปลูก 3 รุ่น โดยรุ่นแรกปลูกเดือน ม.ค. เก็บเกี่ยวเดือน มี.ค.-เม.ย. ....รุ่น 2 ปลูกเดือน พ.ค. เก็บเกี่ยวเดือน ก.ค.-ส.ค. ....รุ่น 3 ปลูกเดือน ก.ย. เก็บเกี่ยวเดือน พ.ย.-ธ.ค. โดยรุ่น 3 จะมีคุณภาพดีที่สุดเพราะช่วงผลแก่ตรงกับหน้าแล้ง

- ฤดูหนาวเมล็ดพันธุ์งอกยาก แก้ไขโดยแช่เมล็ดในน้ำอุ่น 50 องศา + ไคตินไคโตซานหรือธาตุรอง/ธาตุเสริม ทิ้งไว้จนน้ำเย็น แล้วนำขึ้นมาห่มความชื้นในที่อบอุ่น (กลางแดด) เมื่อรากเริ่มงอกก็ให้นำไปปลูกได้

- ดอกตัวผู้ (โคนดอกกลม) กับดอกตัวเมีย (โคนดอกเรียวตรง) แยกกันคนละดอกแต่อยู่ในต้นเดียวกัน ในแต่ละต้นจะมีดอกตัวผู้มากกว่าดอกตัวเมียถึง 7:1 (ดอกตัวผู้ 7 ดอก : ดอกตัวเมีย 1 ดอก)ดอกตัวเมียมักเกิดจากข้อที่ 3-4-9 และ 10 และต่อไปเรื่อยๆห่างกันดอกละ 4-5 ข้อใบ

การผสมเกสรต้องอาศัยแมลงเป็นหลัก ถ้าไม่มีแมลงก็ต้องช่วยผสมโดยเด็ดดอกตัวผู้ที่เกสรพร้อมผสมแล้ว ตัดกลีบดอกทิ้งไปเหลือแต่ก้านเกสรไว้ นำก้านเกสรตัวผู้ไปป้ายใส่ให้กับปลายก้านเกสรดอกตัวเมีย หรือใช้พู่กันขนอ่อนแห้งสนิทสะอาดป้ายเกสรตัวผู้ก่อนแล้วไปป้ายใส่เกสรตัวเมียก็ได้ ช่วยผสมเกสรช่วง 07.00-11.00 น.จะได้ผลดีที่สุด

- แปลงปลูกที่ปลอดสารฆ่าแมลงมานานมักมีผึ้งเข้าตอมเกสรช่วง 07.00-10.00 น.เสมอ ช่วงที่ผึ้งเริ่มเข้ามาในแปลงปลูกให้ถือกิ่งไม้เล็กๆแต่ยาวมีใบไล่ โดยโบกแกว่งไปมาช้าๆ พอให้ผึ้งเห็นแล้วรู้ตัวแต่ไม่ตกใจ เริ่มโบกกิ่งไม้ไล่จากหัวแปลงไปทางท้ายแปลง เมื่อผึ้งเห็นกิ่งไม้โบกไล่ไปมาจะบินขึ้นแต่ไม่ตกใจโผบินไปหาดอกต่อไปข้างหน้าระยะทางไม่ไกลนัก ปล่อยให้ผึ้งลงตอมดอกแตงโมดอกชุดใหม่สักครู่ก็ให้โบกกิ่งไม้ไล่อีก ผึ้งก็จะบินขึ้นโผไปหาดอกต่อไปข้างหน้าอีก ปล่อยให้ผึ้งตอมดอกแตงโมสักครู่ก็ให้โบกกิ่งไม้อีก ผึ้งก็จะบินขึ้นโผไปหาดอกต่อไปอีก ทำอย่างนี้เรื่อยไปจนถึงท้ายแปลง ถึงท้ายแปลงแล้วถ้าผึ้งยังติดใจตอมดอกแตงโมอยู่ ก็ให้โบกกิ่งไม้ไล่จากท้ายแปลงย้อนมาทางหัวแปลงด้วยวิธีการเดียวกันอีก จะทำ 2-3 รอบ/วันก็ได้ตราบเท่าที่ผึ้งยังอยู่ หรือทำ 2-3 วันติดต่อกันจนกระทั่งแน่ใจว่าเกสรแตงโมทุกดอกได้รับการถ่ายละอองเกสรจนเป็นที่พอใจแล้วก็ได้ .... การมีชันโรง (หากินเก่งและขยันหากินมากกว่าผึ้ง)หรือผีเสื้อสวยงามในบริเวณใกล้เคียงเข้ามาช่วยให้ได้ประโยชน์อย่างมาก

- เกสรตัวผู้หรือเกสรตัวเมียอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างไม่สมบูรณ์ เกิดจากขาดสารอาหารและฮอร์โมน หรือสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม (อากาศร้อนหรือฝนตกชุก) แล้วผสมกันแล้วพัฒนาเป็นผลจะเป็นผลไม่สมบูรณ์ ไม่โต รูปทรงบิดเบี้ยว

- แตงโมเป็นพืชอายุสั้นฤดูกาลเดียว อวบน้ำ ย่อมต้องการน้ำสม่ำเสมอ ช่วงออกดอกติดผลจะขาดน้ำไม่ได้เลย การให้น้ำด้วยระบบน้ำหยดจะช่วยแก้ปัญหาน้ำไม่สม่ำเสมอได้ดี

- การเตรียมสารอาหารไว้ในดินปลูกอย่างเพียงพอตั้งแต่ช่วงเตรียมดินจะช่วยให้ต้นเจริญเติบโตเร็วและสม่ำเสมอดีกว่าการใส่สารอาหารภายหลัง ทั้งนี้ปริมาณสารอาหารที่จะไปหล่อเลี้ยงต้นนั้น 9 ใน 10 ส่วนไปจากดิน

- เมื่อผลโตได้ประมาณ 25% ของขนาดผลเมื่อโตเต็มที่ ควรใช้ฟางหรือหญ้าแห้งหนาๆรองผลเพื่อป้องกันผิวผลติดพื้นดิน แล้วให้กลับผลทุก 7-10 วันเพื่อให้ด้านที่ไม่ได้แสงแดดได้รับแสงแดด แล้วสีผลจะเข้มเท่ากันทั้งผล

- สังเกตผลแก่ โดยดูที่มือเกาะอันที่ใกล้ผลที่สุด เริ่มเหลืองและเริ่มแห้ง หรือนวลใบเริ่มจาง
- หลังจากเก็บผลมาแล้วปล่อยทิ้งให้ลืมต้น 2-3 วัน รสชาติจะดีขึ้น

เตรียมเมล็ดพันธุ์
1. ทดสอบความสมบูรณ์เมล็ดโดยการแช่น้ำ คัดเมล็ดลอยออกทิ้ง นำเมล็ดจมขึ้นมาขลิบปลายด้านแหลมด้วยกรรไกตัดเล็บพอให้เปลือกนอกเปิดสำหรับให้ยอดอ่อนแทงออกมาได้สะดวก จากนั้นนำลงแช่ต่อในไคตินไคโตซานหรือธาตุรอง/ธาตุเสริม (อย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างรวมกัน)นาน 6-12 ชม. สารไคตินไคโตซานหรือธาตุรอง/ธาตุเสริมจะซึมเข้าสู่ภายในเมล็ดทางช่องเปลือกที่ได้ขลิบเปิดไว้ ทำให้เมล็ดได้สะสมสารอาหารไว้ในตัวเองตั้งแต่ก่อนงอกซึ่งจะส่งผลต่อต้นเมื่อโตขึ้นสมบูรณ์แข็งแรงดี

สารไคติเนส.ในไคตินไคโตซาน. มีคุณสมบัติกำจัดเชื้อโรคที่ปนเปื้อนมากับเมล็ดพันธุ์ได้ไม่ต่างจากสารเคมี การแช่เมล็ดในสารเคมีเพื่อกำจัดเชื้อโรคเท่ากับทำให้เมล็ดสะสมสารพิษซึ่งไม่ใช่สารอาหารไว้ในตัวเองตั้งแต่ก่อนเกิดนั่นเอง

2. นำเมล็ดที่ผ่านการแช่ในไคตินไคโตซานหรือธาตุรองธาตุเสริมครบกำหนดแล้ว ห่อด้วยผ้าชื้นต่ออีก 12-24 ชม. เมื่อเห็นว่าเริ่มมีรากงอกออกมาก็ให้นำไปปลูกต่อได้

เตรียมดิน ปลูกในถุง :
- เลือกดินขุยไผ่ มีเศษซาก ใบ/ราก/แห้ง/เก่า ผสมคลุกกับ ขุยมะพร้าวสับเล็ก ใบก้ามปูแห้ง ยิบซั่ม ปุ๋ยอินทรีย์ กระดูกป่น ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบแกลบดำ ให้เข้ากันดี รดด้วยน้ำหมักชีว ภาพระเบิดเถิดเทิง ให้ได้ความชื้น 50% ทำกอง อัดแน่น คลุมด้วยพลาสติกเพื่ออบความร้อน

- ระหว่างอบความร้อน .... ถ้าร้อน 40-60 องศา = ดี จุลินทรีย์มีประโยชนเจริญดี .... ถ้าร้อนน้อยกว่า หรือไม่ร้อนให้เพิ่มน้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง +ยูเรีย เพื่อเร่งกระบวนการจุลิน ทรีย์.... ถ้าร้อนเกิน 60 องศา = ไม่ดี จุลินทรีย์มีประโยชน์ตาย แก้ไขด้วยการกลับพลิกกอง แล้ว หมักต่อไป

- ระหว่างการหมักแล้วเกิดความร้อน มีควันลอยขึ้นมา ตรวจสอบระดับอุณหภูมิ แล้วกลับกองเพื่อระบายความร้อนและให้อากาศแก่จุลินทรีย์ กลับกอง/กดแน่น/คลุมกอง แล้วร้อน ให้กลับกองระบายความร้อนอีก ทำซ้ำทุกครั้ง จนในกองไม่มีความร้อน ใช้มือล้วงเข้าไปในกองแล้วรู้สึกเย็น นั่นคือ “ดินปลูก” พร้อมใช้งาน

- ข้อดีของการปลูกในถุง :
* ปลูกหน้าฝนหรือน้ำท่วมได้ โดยยกถุงขึ้นที่สูงหนีน้ำ
* ควบคุม ชนิด/ปริมาณ สารอาหารและน้ำได้เต็มที่
* ถุงไหนเป็นโรคทางดิน จะเสียหายเฉพาะ ถุง/ต้น นั้น ไม่ลามไปหาต้นอื่น
* ใช้งานปลูกรุ่นนี้เก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว เทดินปลูกออก ตากแดดฆ่าเชื้อโรค แล้วปรับปรุงใหม่ ใช้งานใหม่ได้อีก

เตรียมดินปลูกบนแปลง :
- ไถดิน ขี้ไถขนาดใหญ่ ตากแดดจัด 15-20 แดด ถ้าฝนตกให้ไถใหม่เริ่มนับ 1 ตากแดดใหม่

- ตากแดดดินครบกำหนด ใส่อินทรีย์วัตถุ ขุยมะพร้าวสับเล็ก ใบก้ามปูแห้ง ยิบซั่ม ปุ๋ยอินทรีย์ กระดูกป่น. ขี้วัวขี้ไก่แกลบเก่าแกลบดำ ผสมเข้ากันแล้วหว่านทั่วแปลง แล้วไถพรวนดีป่นดินให้ละเอียดมากๆ ปรับสันแปลงให้เป็นหลังเต่า คลุมหน้าแปลงด้วยฟางหนาๆ

- คลุมหน้าแปลงแล้วรดด้วยน้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 แล้วทิ้งไว้ 20-30 วัน

…………………………………………………………………………………………………………………
(ไม่ต้องปุ๋ยเคมี รองพื้น-แต่งหน้า-กระแทก-กระทุ้ง เพราะในน้ำหมักระเบิดเถิดเทิงมีแล้ว อนาคตยังมีทางใบ ทั้งปุ๋ยเคมีและฮอร์โมนธรรมชาติ ให้อีก ที่สำคัญ ดินดี =ได้แล้วกว่าครึ่ง.... ดินไม่ดี = เสียแล้วกว่าครึ่ง)
………………………………………………………………………………………………………………………………..

หมายเหตุ :
- ระยะเวลาจากให้น้ำหมักฯ 20-30 วัน เป็นการบ่มดิน เพื่อให้เวลาแก่จุลินทรีย์เข้าทำการย่อยสลายอินทรีย์วัตถุและปรับสภาพดิน

- น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิงมีส่วนผสม "ปลาทะเล. กากน้ำตาล. เลือด. ขี้ค้าง คาว. ไขกระดูก. นม. น้ำมะพร้าว." หมักนานข้าม 1-2-3 ปี จากส่วน ผสมทุกอย่างเป็น "อินทรีย์" แท้ๆ .... เมื่อเติม 30-0-0, แม็กเนเซียม, สังกะสี, ธาตุรอง/ธาตุเสริม ลงไปเป็น “เคมี” นี่คือ อินทรีย์เคมี ผสมผสาน


.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 27/01/2024 3:26 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 26/01/2024 1:20 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.


- อย่ากังวลว่าไม่ได้ใส่ปุ๋ยเคมี รองพื้น-แต่งหน้า-กระทุ้ง-กระแทก แล้วต้นแคนตาลูปจะไม่โต สาเหตุที่ไม่โตไม่ใช่เพราะปุ๋ยน้อย แต่เป็นเพราะ “ดิน” ยังไม่พร้อมจริง .... ตราบใดที่ดินไม่ดี ดินไม่สมบูรณ์ ดินไม่มีอินทรีย์วัตถุ ดินไม่มีจุลินทรีย์ ดินเป็นกรด ต่อให้ใส่ปุ๋ยไร่ละกระสอบ สองสามกระสอบ ใส่ไร่ละตันต้นแคนตาลูปก็ไม่โต ตรงกันข้าม จะเล็กลงๆ ๆๆ เพราะ “ปุ๋ยเป็นพิษ-ดินไม่กินปุ๋ย”

- เกษตรกรอิสราเอล ไต้หวัน ญี่ปุ่น เกาหลี กับอีกหลายประเทศที่มีเทคโนโลยีการ เกษตรสูงและมีความเข้าใจเรื่องพืชอย่างแท้จริง ปลูกไม้ผลตระกูลเถาอายุสั้นฤดูกาลเดียว เช่น แคนตาลูป แตงโม แตงกวา ฯลฯ ในถุง (ภาชนะปลูก) ด้วยดิน (วัสดุปลูก) ที่สามารถควบคุมชนิด/ปริมาณสารอาหาร/น้ำได้ และปลูกในโรงเรือนที่สามารถควบคุมอุณหภูมิได้ (อิสราเอลร้อน-แล้ง...ไต้หวัน ญี่ปุ่น เกาหลี หนาว)

เกษตรกรไทยไม่มีปัญหา ร้อน-หนาว-แล้ง จึงเหลือเพียงปัญหา “ดินหรือวัสดุปลูกและสารอาหาร” เท่านั้น การนำแนวทางบางอย่างของเกษตรกรในกลุ่มประเทศดังกล่าวมาประ ยุกต์ใช้บ้าง จึงน่าจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด

ระบบให้น้ำ :
1. ติดตั้งระบบน้ำหยดสำหรับให้น้ำและสารอาหารทางราก
2. ติดตั้งระบบสปริงเกอร์พ่นฝอยเหนือต้นสำหรับให้สารอาหารและสารสกัดสมุนไพรทางใบ

หมายเหตุ :
- กรณีปลูกในแปลงแล้วไม่มีระบบน้ำหยด เมื่อต้องการให้น้ำหรือสารอาหารทางรากสามารถทำได้โดยการปล่อยน้ำไปตามร่องระหว่างแปลงปลูก แล้วเพิ่มเติมด้วยน้ำพ่นฝอยจากสปริงเกอร์เหนือต้นฉีดพ่นน้ำลงพื้นเพื่อสร้างความชื้นหน้าดิน

- กรณีปลูกในถุงไม่มีทางเลือกจำเป็นต้องอาศัยสปริงเกอร์เท่านั้น แม้แต่สปริงเกอร์แบบพ่นฝอยเหนือต้นก็ไม่เหมาะสม เพราะน้ำที่ผ่านปากถุงลงไปถึงดินปลูกไม่เพียงพอ ต้องใช้สปริงเกอร์พ่นฝอยเหนือต้น 1 หัว แล้วติดหัวสปริงเกอร์ที่ปากถุงอีกถุงละ 1 หัวเท่านั้น

ปลูกในถุง :
1. เตรียมภาชนะปลูก
2. บรรจุวัสดุปลูก (ดินหมักชีวภาพสำเร็จรูป) ลงถุงให้เต็ม อัดแน่นพอประมาณ คลุมปากถุงด้วยหญ้าหรือฟางแห้งหนาๆ

การปฏิบัติอื่นๆ เหมือนการปลูกแคนตาลูปในถุง ทั้งแบบให้เลื้อยไปบนพื้นหรือเลื้อยขึ้นค้าง

ระบบให้น้ำ :
1. ติดตั้งระบบน้ำหยดสำหรับให้น้ำและสารอาหารทางรากที่ปากถุง
2. ติดตั้งระบบสปริงเกอร์พ่นฝอยเหนือต้นสำหรับให้สารอาหารและสารสกัดสมุนไพรทางใบ

หมายเหตุ :
- กรณีปลูกในแปลงแล้วไม่มีระบบน้ำหยด เมื่อต้องการให้น้ำหรือสารอาหารทางรากสามารถทำได้โดยการปล่อยน้ำไปตามร่องระหว่างแปลงปลูก แล้วเพิ่มเติมด้วยน้ำพ่นฝอยจากสปริงเกอร์เหนือต้นฉีดพ่นน้ำลงพื้นเพื่อสร้างความชื้นหน้าดิน

- กรณีปลูกในถุงไม่มีทางเลือกจำเป็นต้องอาศัยสปริงเกอร์เท่านั้น แม้แต่สปริงเกอร์แบบพ่นฝอยเหนือต้นก็ไม่เหมาะ เพราะน้ำที่สัมผัสปากถุงลงไปถึงดินปลูกไม่เพียงพอ ต้องใช้สปริงเกอร์พ่นฝอยเหนือต้น 1 หัว กับติดหัวสปริงเกอร์ที่ปากถุงอีกถุงละ 1 หัวเท่านั้น

ขั้นตอนการปฏิบัติบำรุงต่อแตงโม
1. บำรุงระยะต้นเล็ก

ทางใบ :
- ให้ไบโออิ 25-5-5 + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
-ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 (1 ล.) + 25-7-7 (1-2 กก.) ละลายน้ำให้เข้ากันดี ให้โคนต้น ให้ครั้งเดียวถึงระยะสะสมตาดอก

- ให้น้ำสม่ำเสมอพอหน้าดินชื้น

หมายเหตุ :
- เมื่อต้นเริ่มงอกขึ้นมาจากเมล็ดได้ 2-3 ใบ ควรมีหญ้าแห้งหรือฟางคลุมโคนต้นป้องกันแดดเผาหน้าดิน และรักษาความชื้นหน้าดินให้คงที่อยู่เสมอ

- เริ่มให้สารอาหารทางใบเมื่อได้ใบ 2-3 ใบแล้ว
- เมื่อต้นเจริญเติบโตได้ 4-5 ใบให้ตัดยอด จากนั้นต้นจะแตกยอดใหม่ 3-4 ยอด เรียกว่า “เถาแขนง” ให้บำรุงเลี้ยงเถาแขนงนี้ต่อไปตามปกติ เมื่อเถาแขนงทั้ง 3-4 นี้ยาวขึ้นให้จัดระเบียบเลื้อยเข้าหากลางแปลงโดยไม่ทับซ้อนบังแสงแดดซึ่งกันและกัน และเตรียมความพร้อมอื่นๆให้ดีเพราะจะต้องเอาผลผลิตจากเถาแขนงเหล่านี้

- เมื่อเถาแขนงโตขึ้นได้ความยาว 25-30 ซม. หรือ 20-25 วันหลังปลูก หรือเริ่มมีดอกแรก ให้พิจารณาเลือกเถาแขนงสมบูรณ์แข็งแรงที่สุดไว้ 3 เถาสำหรับเอาผล ส่วนอีก 1 เถาให้เลี้ยงไว้สำหรับช่วยสังเคราะห์อาหารแต่ไม่เอาผลโดยเด็ดดอกที่ออกมาทิ้งทั้งหมด

2. บำรุงระยะออกดอก :
ทางใบ :
- ให้ 15-30-15 + สารสมุนไพร 2 รอบ
- ให้ เอ็นเอเอ. 1 รอบ ฉีดพ่นพอเปียกใบ
- ฉีดพ่นสารสมุนไพร ทุก 3 วัน

ทางราก :
-ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 (1 ล.) + 25-7-7 (1-2 กก.) ละลายน้ำให้เข้ากันดี ให้โคนต้น ให้ครั้งเดียวถึงระยะสะสมตาดอก

- ให้น้ำสม่ำเสมอพอหน้าดินชื้น

หมายเหตุ :
- ให้ก่อนวันเถาแขนงออกดอก 5-7 วัน
- จากเถาแขนงทั้ง 3 เถาที่เลี้ยงไว้เพื่อเอาผลนี้ เถาแขนงมักจะออกดอกพร้อมๆกัน โดยเริ่มออกดอกแรกตั้งแต่ข้อใบที่ 4-5 ซึ่งดอกชุดแรกนี้ให้เด็ดทิ้งทั้งหมด แล้วเริ่มไว้ผลแรกระหว่างข้อใบที่ 9-12 จำนวน 1 ดอก จากนั้นตามข้อใบต่อจากข้อเอาผลและข้อใบต่อๆไปจะมีดอกออกตามมาอีกทุกข้อ ก็ให้เด็ดทิ้งทั้งหมดอีกเช่นกัน ทั้งนี้ให้ไว้ผลเพียง 1 เถาแขนง/1 ผลเท่านั้น เพื่อให้ได้ผลคุณภาพสูงสุด

- แตงโมบางสายพันธุ์อาจจะไว้ผล 2-3 ผล/1 เถาแขนงได้ กรณีนี้ต้องไว้ผลให้ห่างกันโดยมีใบคั่นอย่างน้อย 4-5 ใบ/1 ผล การไว้ผลมากกว่า 1 ผล/1 เถาแขนง ต้องมีสารอาหารอย่างเพียงพอจึงจะได้ผลคุณภาพสูง

- นิสัยของแตงโมออกดอกเองเมื่อได้อายุ โดยต้นสมบูรณ์กว่าจะออกดอกดีกว่าต้นสมบูรณ์น้อยกว่าเท่านั้น การให้ฮอร์โมนเสริมเพียง 1-2 ครั้ง จะช่วยให้ออกดอกดีและสมบูรณ์กว่าไม่ได้ให้เลย

3. บำรุง “ผลเล็ก-กลาง :
ทางใบ :
ให้ไบโออิ + ยูเรก้า + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน ฉีดพ่นพอปียกใบ

- ฉีดพ่นสารสมุนไพรทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- ปลูกในแปลง ให้ยิบซั่ม ปุ๋ยอินทรีย์ ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ
- ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 21-7-14 (1 ล.) +21-7-14 (1-2 กก.) ละลายเข้ากันดี ให้โคนต้น ด้วยระบบให้น้ำที่ใช้

หมายเหตุ :
- หลังจากติดเป็นผลแล้วให้จัดระเบียบเถาและใบ อย่าให้ใบบังแสงแดดต่อผล กับทั้งให้มีวัสดุ (ฟาง หญ้าแห้ง) หนาๆรองรับผล เพื่อไม่ให้ผิวผลสัมผัสผิวดิน ถ้าผิวผลสัมผัสพื้นดินอาจจะมีเชื้อโรคเข้าทำลายผิวผลได้

4. บำรุง ผลแก่” เก็บเกี่ยว
ทางใบ :
- ให้ไบโออิ 0-21-74 + สารสมุนไพร 1 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ให้อย่างละ 1 ครั้ง ก่อนเก็บ 5-7 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ

- ฉีดพ่นสารสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- เปิดหน้าดินโคนต้น
- ให้ 13-13-21 ละลายน้ำแล้วผ่านไปกับระบบน้ำที่ใช้งาน

หมายเหตุ :
- ก่อนเก็บเกี่ยวถ้าให้ทางใบด้วย 0-0-50 หรือ 0-21-74 เพียง 1 รอบแล้วงดน้ำ 2-3 วัน จะช่วยให้ได้ความหวานสูงขึ้น

- ก่อนเก็บเกี่ยว 10-15 วัน สำรวจผล ถ้าด้านใดไม่ได้รับแสงแดด (สีเปลือกขาวเหลือง)ให้พลิกผลด้านนั้นขึ้นรับแสงแดด เพื่อให้สีเปลือกเป็นสีเดียวกันทั่วทั้งผล....ด้านที่สีเปลือกขาวเหลืองเนื้อในจะมีคุณภาพไม่ดี


แตงโม (ไทย) ....ประสบการณ์ตรง :
แตงโมที่ปลูกแบบปล่อยเถาเลื้อยไปบนพื้นนั้น ส่วนใหญ่ 1 กอ มักให้มี 2 ยอด แล้วไว้ผลยอดละ 1-2-3-4 ผล/ยอด

.... ช่วงแตงโมได้อายุต้นเริ่มออกดอก บำรุงทางใบด้วย "ฮม.ไข่" ทุก 4-5 วัน จะช่วยให้แตงโมออกดอกมากขึ้น หรือให้ 1 ครั้งได้ 1-2 ดอกเสมอ .... คู่กับให้ทางรากด้วย "น้ำหมักชีว ภาพระเบิดเถิดเทิง + 8-24-24" โดยฉีดอัดลงดินบริเวณโคนต้น ทุก 15-20 วัน

....ช่วงออกดอกแล้วควรงดการฉีดพ่นทางใบทุกชนิดช่วง 08.00-11.00 เพราะเป็นช่วงที่เกสรต้องการผสม หากฉีดพ่นอาจทำให้เกสรเปียกจนผสมไม่ติดได้

.... การช่วยผสมเกสรด้วยมือ นอกจากช่วยให้การติดเป็นผลดีแล้วยังช่วยให้เป็นผลที่คุณภาพดีอีกด้วย

.... วิธีหลอกผึ้งให้ช่วยผสมเกสร เช้าราว 08.00 แดดจัดฟ้าสดใส ผึ้งจะออกหากินในแปลงแตงโม จงเดินเข้าไปทางหัวแปลงก่อน ถือกิ่งไม้ 2 มือ กางแขน 2 ข้าง ก้าวเดินช้าๆพร้อมกับโบกกิ่งไม้เบาๆ ผึ้งเห็นกิ่งไม้โบกไปมาจะบินขึ้นแล้วบินไปเกาะดอกแตงโมข้างหน้าใหม่ ก็ให้เดินช้าๆตามไปอีกสัก 3-5 ก้าว เท่ากับระยะที่ผึ้งบินไปก่อนล่วงหน้า โบกกิ่งไม้อีก ผึ้งก็จะบินขึ้นหนีไปข้างหน้าอีก ทำซ้ำไปเรื่อยๆหลายๆ รอบ จนสุดแปลงแล้วย้อนทำซ้ำ ตราบเท่าที่ผึ้งยังไม่หนีไปไหน

.... เถาเดียวที่มีหลายผล ควรเว้นระยะ 1 ผล /7-8 ใบ เพื่อให้แต่ละผลมีใบสำหรับสังเคราะห์อาหาร เทคนิคไว้ผลแบบนี้ต้องเด็ดดอกทิ้งตั้งแต่ออกมาใหม่ๆ โดยเลือกเด็ดทิ้งกับเลือกเก็บไว้

.... เถาเดียวมีหลายผล ระหว่างผลต่อผลให้ทำไม้โค้งงอรูปตัว ยู. กดเถาบริเวณข้อให้แนบผิวดินแล้วคลุมทับด้วยเศษดิน เศษหญ้าแห้ง ไม่นานที่ข้อจะมีรากงอกออกมา รากนี้จะดูดซับสารอาหารไปเลี้ยงผลที่อยู่ถัดไปทางปลายเถา ควรทำต่อทุกผล จะทำให้แต่ละผลมีรากส่วนตัวแทนที่จะรอรับสารอาหารจากรากที่โคนเถาเพียงรากเดียว

แตงโมไร้เมล็ด [b]
1. ปลูกแตงโม พันธุ์ไร้เมล็ด สลับแถวหรือสลับต้นกับ พันธุ์มีเมล็ด ลงไปก่อน การบำรุงต้นทั้งสองสายพันธุ์ เช่น เด็ดยอด - เลี้ยงยอด - ไว้ดอก เหมือนกันตามปกติ

2. เมื่อได้ดอกของทั้งสองสายพันธุ์แล้วให้นำ เกสรดอกตัวผู้ของต้นพันธุ์มีเมล็ดไปผสมให้กับ เกสรดอกตัวเมียของต้นพันธุ์ไร้เมล็ด ด้วยวิธี "ต่อดอก" ตามปกติ

3. เมื่อเกสรของดอกตัวเมียจากต้นพันธุ์ไร้เมล็ด ได้รับการผสมจากละอองเกสรตัวผู้ของต้นพันธุ์มีเมล็ดแล้ว ผลที่เกิดมาจะไร้เมล็ดตามดอกต้นแม่

หมายเหตุ :
- แตงโมไร้เมล็ดมีเมล็ดพันธุ์โดยเฉพาะจำหน่าย แต่ราคาแพงกว่าแตงโมมีเมล็ด
- การปฏิบัติบำรุงทุกขั้นตอนต่อแตงโมไร้เมล็ดเหมือนแตงโมมีเมล็ดทุกประการ
- แตงโมไร้เมล็ดไม่ได้หมายความว่าไม่มีเมล็ดเลยแม้แต่เมล็ดเดียว เพียงมีเมล็ดสีน้ำตาลน้อยมากและขนาดเล็ก เมล็ดส่วนใหญ่จะเป็นเมล็ดสีขาวอ่อนนิ่ม เคี้ยวรับประทานได้เลย

***** การปฏิบัติบำรุงทุกขั้นตอนเหมือนแตงโมกินเนื้อทุกประการ *****

===============================================
===============================================


ทุเรียน
ลักษณะทางธรรมชาติ :
- เป็นผลไม้ที่ได้รับสมญานามว่า “ราชาแห่งผลไม้” มิใช่เฉพาะในประเทศเท่านั้น แม้ต่างประเทศก็ยอมรับ อันเนื่องมาจากรสชาติและคุณสมบัติเฉพาะตัวที่ต่างจากำผลไม้อื่นๆนั่นเอง จากสมญานามนี้ได้กลายมาเป็นเสน่ห์ที่ไม่เคยจืดจางลงเลย

- แผงขายผลไม้ของฝากเยี่ยมคนป่วยหน้าวชิรพยาบาล กทม. วันดีคืนดีจะมีทุเรียนใส่สาแหรกแขวนโชว์หน้าร้านพร้อมกับป้ายบอกราคา 1,500-2,000 บาท กำกับ ที่น่าสงสัยมากก็คือ สนนราคาแพงระดับนี้ถ้าไม่มีคนซื้อ ร้านค้าคงไม่นำมาขายแน่และต้องมั่นใจว่าขายได้จึงตั้งราคาจนแพงลิบลิ่ว กับสงสัยอยู่นิดๆว่า ช่วงเวลานั้นไม่ใช่ฤดูกาลทุเรียน แล้วเขาเอามาจากไหน คงไม่ใช่นำเข้าจากต่างประเทศแน่ และ ทุเรียนก้านยาว. หมอนทอง. ลวง. กบ. ชะนี. จากหลายสวนย่านนนทบุรี ราคาหน้าสวนผลละ 1,500-2,500 บาท ผลผลิตทุกปีจะมีขาประจำจองล่วงหน้า ทั้งนี้เพราะผู้ซื้อมั่นใจในคุณภาพนั่นเอง

- เป็นไม้ผลยืนต้นทรงพุ่มกว้างสูงใหญ่อายุยืนนับร้อยปี ปลูกได้ทุกภาคของประเทศ ที่มีชื่อเสียงรู้จักกันดี ในเขตภาคกลาง กทม. นนทบุรี นครนายก .... เขตภาคตะวันออก ปราจีน บุรี ระยอง ตราด จันทบุรี .... เขตภาคใต้ ชุมพร พังงา นครศรีธรรมราช สงขลา .... ภาคเหนือ อุตรดิตถ์ พิษณุโลก .... แม้แต่ศรีสระเกษ. กาญจนบุรี. ก็ปลูกทุเรียนได้ดี

- ชอบเนื้อดินหนา ลึก 1.5-2 ม. ระดับน้ำไต้ดินลึก ถ้าระดับน้ำใต้ดินตื้น เมื่อรากเจริญยาวลงไปถึงน้ำจะเกิดอาการใบไหม้แห้ง ต้องใช้ระยะเวลานานจึงจะแตกใบชุดใหม่ ไม่นานใบชุดใหม่ก็จะไหม้แห้งอีก เป็นอย่างนี้จนกระทั่งยืนต้นตาย .... แนวทางแก้ไข ให้ปลูกต้นตอด้วยการเพาะเมล็ด เสริมราก เมื่อต้นตอและต้นรากเสริมเจริญเติบโตดีแล้วจึงเปลี่ยนยอดเป็นพันธุ์ดี กรณีนี้รากแก้วจากต้นตอและรากแก้วจากต้นเสริมรากจะช่วยแก้ปัญหาระดับน้ำไต้ดินตื้นได้

- ชอบน้ำสะอาด เมื่อคิดจะปลูกทุเรียนต้องแน่ใจว่ามีน้ำสะอาดสำหรับทุเรียนตลอดไป ทุเรียนนนทบุรีส่วนใหญ่ยืนต้นตายเพราะสาเหตุน้ำเสียจากโรงงานหรือชุมชน

- ชอบแสงแดด 100% การตัดแต่งกิ่งให้ทรงพุ่มโปร่งจนแสงแดดส่องได้ทั่วภายในทรงพุ่มสามารถช่วยกำจัดเชื้อราที่เกาะกินเปลือกลำต้นทำให้เปลือกสะอาด .... ออกดอกที่ใต้ผิวเปลือกสะอาด ไม่มีเชื้อราจับ จะทำให้ได้ดอกสมบูรณ์ แต่หากมีเชื้อราเกาะจับตามผิวเปลือก เชื้อราก็จะแย่งอาหารจากตาดอกทำให้ดอกไม่ออกหรือออกมาก็ไม่สมบูรณ์

- เป็นไม้ผลที่มีระบบรากหาอาหารตื้นโดยอยู่ลึกจากผิวดินประมาณ 20-30 ซม. จึงต้องการช่วงแล้วเพื่อให้เกิดสภาพเครียดก่อนออกดอกไม่นานนัก ต้นทุเรียนที่สมบูรณ์มีใบยอดแก่ ผ่านช่วงแล้งเพียง 10-14 วัน และมีอากาศหนาวเย็นลงเล็กน้อย ทุเรียนจะออกดอก

ระยะพัฒนาของดอก (ระยะไข่ปลา-ดอกบาน) ใช้เวลาประมาณ 55-60 วัน
ระยะพัฒนาของผล (จากดอกบาน-เก็บเกี่ยว) แตกต่างกันในแต่ละพันธุ์ เช่น กระดุม 12-13 สัปดาห์ หรือประมาณ 90 วัน ชะนี 15-16 สัปดาห์ หรือประมาณ 110 วัน หมอนทอง 18-19 สัปดาห์ หรือประมาณ 130 วัน

อุณหภูมิที่เหมาะสมในการเก็บรักษาผลผลิต 14-16 องศา ความชื้นสัมพัทธ์ 85-95 % เก็บรักษาทุเรียนได้นานประมาณ 2 สัปดาห์ ถ้าอุณหภูมิต่ำกว่า 14 องศา จะเกิดอาการ chilling injury

* ฤดูกาลของผลผลิตทุเรียนภาคตะวันออก คือ เมษายน – มิถุนายน
* ฤดูกาลของผลผลิตทุเรียนภาคใต้ คือ มิถุนายน - สิงหาคม

- ทุเรียนอยู่คู่กับทองหลาง (พืชตระกูลถั่ว)ได้ดีมาก ให้ปลูกทองหลางแซมแทรกระหว่างต้น ช่วงแรกเพื่อใช้ทองหลางเป็นพี่เลี้ยง เมื่อทุเรียนโตขึ้นก็ให้พิจารณาตัดกิ่งใบทองหลางออกบ้างเพื่อไม่ให้บังแสงแดดทุเรียน .... รากทองหลางสามารถตรึงไนโตรเจนไปไว้ในตัวเองได้ เมื่อรากทองหลางอยู่กับรากทุเรียน ทำให้ทุเรียนได้ไนโตรเจนจากรากทองหลางไปด้วย

- ต้นที่อายุมาก เปลือกแก่ผุเปื่อยเป็นแหล่งแหล่งอาศัยของเชื้อรา ใช้ปุ๋ยน้ำชีวภาพหรือจุลินทรีย์หน่อกล้วยฉีดพ่นบ่อยๆ จะช่วยให้เปลือกเก่าหลุดร่อน แล้วเกิดเปลือกใหม่สมบูรณ์และดีขึ้นกว่าเดิม

- เป็นผลไม้ที่มีจำนวนสายพันธุ์มากที่สุดชนิดหนึ่ง ปัจจุบันเท่าที่มีผู้รวบรวมไว้ได้หลายร้อยสายพันธุ์ แต่สายพันธุ์ที่ได้รับความนิยมจริงๆ ได้แก่ หมอนทอง. ก้านยาว. ชะนี. รวง. กบ. กระดุม. ซึ่งเป็นพันธุ์ที่มีรสชาติดีถูกรสนิยมคนกิน ในขณะที่อีกหลายร้อยสายพันธุ์ก็ไม่ใช่ว่าจะรสชาติไม่ดี เพียงแต่ขาดหรืออ่อนประชาสัมพันธ์ไปบ้างเท่านั้น ใครอยากรู้ว่าทุเรียนพันธุ์อื่นๆอร่อยหรือไม่อร่อย อย่างไรก็น่าจะลองเลียบๆ เคียงๆ ถามคนปลูกเอาเอง

- สายพันธุ์ยอดนิยมที่ออกดอกพร้อมกันแล้วกลายเป็นผลแก่ให้เก็บเกี่ยวได้ไม่พร้อมกัน ได้แก่ กระดุม-ชะนี-หมอนทอง ตามลำดับ ... .สายพันธุ์เดียวกันแต่ต่างพื้นที่กันก็ออกดอกติดผลแล้วแก่เก็บเกี่ยวออกสู่ตลาดไม่พร้อมกัน โดยทุเรียนภาคตะวันออกแก่ก่อนแล้วตามด้วยทุเรียนภาคกลาง (กทม. นนทบุรี) ปิดท้ายด้วยทุเรียนภาคใต้ ....

- สายพันธุ์ทุเรียนของไทยมีมากถึง 227 พันธุ์ สามารถจำแนกเป็นกลุ่มได้ 6 กลุ่ม คือ
1. กลุ่มกบ : ประกอบด้วย 46 พันธุ์ เช่น กบชายน้ำ กบตาขำ กบแม่เฒ่า กบตาสาย
2. กลุ่มลวง : ประกอบด้วย 12 พันธุ์ เช่น อีลวง ชะนี แดงรัศมี
3. กลุ่มก้านยาว : ประกอบด้วย 8 พันธุ์ เช่น ก้านยาววัดสัก ก้านยาวพวง
4. กลุ่มกำปั่น : ประกอบด้วย 14 พันธุ์ เช่น กำปั่นตาแพ กำปั่นเนื้อขาว กำปั่นพวง หมอนทอง
5. กลุ่มทองย้อย : ประกอบด้วย 14 พันธุ์ เช่น ทองย้อยเดิม ทองย้อยฉัตร
6. กลุ่มเบ็ดเตล็ด : เป็นกลุ่มทุเรียนที่ยังไม่สามารถจำแนกกลุ่มไม่แน่ชัด ประกอบด้วย 81พันธุ์

* ทุเรียนพันธุ์เบา (ชะนี. กระดุม. ลวง.) ออกดอกต้น ธ.ค. เก็บเกี่ยวหลังดอกบาน 163-165 วัน ....
* ทุเรียนพันธุ์กลาง (ก้านยาว. กบ.) ออกดอกพร้อมพันธุ์เบา เก็บเกี่ยวหลังดอกบาน 122-130 วัน .... และ

* ทุเรียนพันธุ์หนัก (ทองย้อย. อีหนัก. กำปั่น. หมอนทอง.) ออกดอกพร้อมกันพันธุ์เบา เก็บเกี่ยวหลังดอกบาน 140-150 วัน

- ให้ “น้ำ 100 ล. + ฮอร์โมนไข่ 100 ซีซี. + เอ็นเอเอ.30-50 ซีซี. + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.” ฉีดพ่นให้เปียกโชกทั้งใต้ใบบนใบลงถึงพื้น ช่วงเดือน พ.ค.- มิ.ย. ทุก 15-20 วัน จะช่วยทุเรียนออกดอกก่อนกำหนด 1-1 เดือนครึ่งได้ ทั้งนี้ต้นต้องผ่านการเตรียมต้นมาอย่างดีและมีความสมบูรณ์สูง

- ต้นอายุมากๆ ผลที่ติดต่ำๆ กับผลที่ติดชิดโคนกิ่งจะมีคุณภาพดีกว่าผลที่ติดสูงๆ หรือค่อนไปทางปลายกิ่ง (ลูกยอด) โดยผลที่อยู่ต่ำกับชิดโคนกิ่งจะได้รับอาหารที่ต้นลำเลียงส่งไปให้ก่อนที่เหลือจึงจะผ่านไปให้ผลที่อยู่ถัดไป ทำให้ผลที่อยู่สูงมากๆ หรือสูงสุดได้รับธาตุอาหารน้อย แนวทางแก้ไขสามารถทำได้ ดังนี้......

* ต้นสูงมาก 8-10 ม. ขึ้นไป เพิ่มปริมาณธาตุอาหารโดยให้ทางใบด้วยการติดตั้งสปริงเกอร์ในทรงพุ่มและเหนือยอดสูงสุดของต้น เมื่อให้ “น้ำ + ปุ๋ยทางใบ + ธาตุรอง/ธาตุเสริม + ฮอร์โมน” ผ่านสปริงเกอร์พอเปียกใบหรือให้จนโชกแล้วตกลงพื้นที่โคนต้นก็ถือเป็นการให้น้ำตามปกติได้ด้วย

* ตัดต้น (ยอดประธาน) เพื่อควบคุมความสูง และตัดกิ่งประธานเพื่อควบคุมความกว้างของขนาดทรงพุ่มแล้วสร้างใบใหม่ก็จะได้ต้นที่มีขนาดและรูปทรงตามต้องการ การตัดแต่งกิ่งเพื่อควบคุมขนาดทรงพุ่มตั้งแต่ทุเรียนมีอายุต้นยังน้อยจะส่งผลดีต่อการเจริญเติบโตของต้นและคุณภาพของผลผลิตระยะยาว

- เคยมีผู้เปรียบเทียบระหว่างต้นสูงมากๆ ตามธรรมชาติกับต้นควบคุมความสูงไว้ที่ 5 ม. ด้วยการตัดแต่งตั้งแต่แรก ทราบว่า .... ต้นมีความสูงมากๆตามธรรมชาติ ผลที่ติด ณ ความสูง 1 ใน 3 ของความสูงต้นจากพื้นทุกผลจะเป็นผลที่มีคุณภาพดี ส่วนผลที่ติดในบริเวณความสูง 2 ใน 3 ของต้นที่เหลือจะไม่ดี หรือในต้นทุเรียนที่มีความสูงมากๆตามธรรมชาติจะให้ผลดีมีคุณภาพเพียง 1 ใน 3 ของผลทั้งต้นเท่านั้น .... ต้นที่มีการควบคุมความสูง 3-4 ม. ทรงพุ่มกว้าง 5-6 ม. ให้ปริมาณผลดกกว่าและคุณภาพเหนือกว่าต้นสูงตามธรรมชาติ

- ค่อนข้างอ่อนแอต่อโรครากเน่าโคนเน่า (ไฟธอปเทอร่า) สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคนี้ คือ น้ำขังค้างโคนต้น ดินเหนียวจัดระบายน้ำไม่ดี อุ้มน้ำมากเนื่องจากฝนตกชุก สะสมยาฆ่าหญ้าและสารเคมีจำกัดโรคและแมลง

- รากฝอยหาอาหารอยู่ที่หน้าดินตื้นๆ (รากลอย) จึงควรพูนโคนต้นด้วยอินทรีย์วัตถุหนาๆ กระจายเต็มพื้นที่ทรงพุ่มปีละ 1 ครั้ง หลังจากคลุมโคนต้นด้วยอินทรีย์วัตถุหนาๆจะพบว่ามีรากทุเรียนจำนวนมากเจริญแทรกอยู่ในอินทรีย์วัตถุนั้น เป็นรากที่สมบูรณ์ ใหญ่ อวบ ดีมาก

- การบำรุงดอกตั้งแต่เริ่มแทงออกมาด้วย “แคลเซียม โบรอน + เอ็นเอเอ. + ธาตุรอง/ธาตุเสริม” ด้วยการฉีดพ่นทางใบ 2-3 รอบจนกระทั่งดอกบาน วิธีนี้จะได้ประสิทธิภาพสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อก่อนเปิดตาดอกมีการบำรุงด้วยปุ๋ยทางดินสูตร 8-24-24 และ “ธาตุอาหารกลุ่มสร้างดอกบำรุงผล” อย่างเพียงพอจนปรากฏอาการอั้นตาดอกเต็มที่จริงๆ นอกจากนี้อุณหภูมิช่วงแทงช่อดอกก็เป็นปัจจัยประกอบที่สำคัญด้วย

- การตัดแต่งช่อดอกมีส่วนสำคัญ เนื่องจากต้นสมบูรณ์เต็มที่มักออกดอกรุ่นละจำนวนมาก แต่ดอกกลายเป็นผลจริงๆได้ไม่ถึง 10% ดังนั้นจึงควรมีแผนการตัดแต่งช่อดอกออกทิ้งบ้าง 1-2 รอบ โดยตัดแต่งรอบแรกให้เหลือไว้เพียง 50% และตัดแต่งรอบสองก่อนการผสมเกสรอีก 25% หลังจากตัดแต่งรอบสองไปแล้วจะเหลือเพียง 10% หรือน้อยกว่าของดอกที่เหลือจากการตัดแต่งรอบสอง ทั้งนี้การมีดอกน้อยๆจะทำให้ดอกที่เหลือได้รับธาตุอาหารเต็มที่ ส่งผลให้ได้ดอกที่สมบูรณ์

- ดอกที่ออกมาจำนวนมากให้พิจารณาตัดทิ้งดอกอยู่ชิดกับลำต้น หรือดอกบนกิ่งมุมแคบกับลำต้นหรือดอกอยู่กับกิ่งเล็ก ทั้งนี้ควรตัดตั้งแต่ก่อนดอกบาน 2-3 สัปดาห์

- ดอกบานและพร้อมผสมเกสรได้ในช่วงกลางคืน การช่วยผสมเกสรด้วยแมลงจึงเป็นเรื่องค่อนข้างยาก เพราะแมลงประเภทช่วยผสมเกสรมักออกหากินเฉพาะตอนกลางวัน เช่น ผึ้ง. ผีเสื้อสวยงาม. ดังนั้นตอนค่ำหรือกลางคืนจะมีก็แต่ชันโรงเท่านั้นที่อาจจะเข้ามาช่วยผสมเกสรได้ ส่งผลให้การผสมติดตามธรรมชาติจึงมีเพียงสายลมพัดเป็นหลักเท่านั้น นี่คือสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ทุเรียนติดเป็นผลน้อยมากเมื่อเทียบกับจำนวนดอกที่ออกมาในแต่ละรุ่น

- วิธีช่วยผสมเกสรทุเรียนด้วยมือทำได้โดยใช้พู่กันขนอ่อนป้ายเกสรตัวผู้จากดอกตัวผู้ แล้วป้ายใส่เกสรตัวเมียของต้นพันธุ์ที่ต้องการให้ติดผล ก่อนป้ายเกสรตัวผู้ใส่เกสรตัวเมียควรตัดเกสรตัวผู้ของดอกที่จะรับการป้ายเกสรออกก่อนเพื่อป้องกันการได้รับเกสรตัวผู้ซ้ำซ้อน การเก็บเกสรตัวผู้และการป้ายเกสรต้องทำในช่วงเวลา 19.30-20.30 น. (20.00 น. ดีที่สุด) ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เกสรทั้งสองพร้อมผสม ..... ช่วงดอกระยะหัวกำไล (15 วันก่อนดอกบาน) ควรบำรุงดอกด้วย “เอ็นเอเอ.+ สาหร่ายทะเล + แคลเซียม โบรอน” 1 ครั้ง จะช่วยให้เกสรทั้งสองสมบูรณ์แข็งแรงผสมติดดีขึ้น

- ดอกชะนีมีเปอร์เซ็นต์ติดเป็นผลค่อนข้างต่ำ และช่วงเป็นผลอ่อนก็เจริญเติบโตช้า แก้ไขโดยตัดแต่งช่อดอกให้เหลือเฉพาะกลุ่มกลางกิ่ง และควรให้เหลือไว้มากกว่าหมอนทอง

- ผลที่เกิดจากการเกสรในดอกเดียวกันผสมกันเองมักมีลักษณะบิดเบี้ยว คดงอ เป็นพูหลอก และแคระแกร็น ส่วนผลที่เกิดจากการช่วยผสมด้วยมือมักเป็นผลที่สมบูรณ์และคุณภาพดี

- เกสรตัวผู้มีก้านเกสรสั้นกว่าก้านเกสรตัวเมีย .... เกสรตัวผู้มีสีขาวแต่เกสรตัวเมียมีสีเหลือง เกสรทั้งสองมักพร้อมผสมในเวลาเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน โดยเกสรตัวเมียจะมีความพร้อมก่อนเกสรตัวผู้พร้อมทีหลัง ซึ่งช่วงเวลาพร้อม ก่อน-หลัง นี้ห่างกันไม่เกินครึ่งชั่วโมง ....การใช้เกสรตัวผู้กับเกสรตัวเมียต่างสายพันธุ์ผสมกันจะได้ผลดีกว่าใช้เกสรตัวผู้ตัวเมียสายพันธุ์เดียวกันผสมกัน ยกเว้นหมอนทองที่ใช้เกสรตัวผู้กับเกสรตัวเมียพันธุ์เดียวกันแต่ต่างต้น หรือในต้นเดียวกันแต่ต่างดอกกัน หรือในดอกเดียวกันผสมกันได้

- ดอกทุเรียนบานพร้อมรับการผสมช่วงกลางคืน (หัวค่ำ) สัตว์ธรรมชาติที่สามารถช่วยสมเกสรให้แก่ทุเรียนได้จึงมีเพียงค้างคาวกินน้ำหวานในดอกไม้เท่านั้น

- ขั้นตอนพัฒนาการของดอกทุเรียน 9 ระยะ คือ
1. ระยะไข่ปลา.
2. ระยะตาปู.
3. ระยะเหยียดตีนหนู.
4. ระยะกระดุม.
5. ระยะมะเขือพวง.
6. ระยะหัวกำไล.
7. ระยะดอกขาว.
8. ระยะดอกบาน. และ
9. ระยะปิ่น (ไม้กลัดหรือหางแย้).

- ช่วงดอกระยะมะเขือพวง ถึง หัวกำไล ฉีดพ่น “เอ็นเอเอ. อัตรา 10-20 ซีซี./น้ำ 100 ล.” ให้เปียกโชกทั้งใต้ใบบนใบลงถึงพื้น สามารถช่วยลดการร่วงของดอกได้ดี

วิธีผสมเกสรทุเรียน :
ถ้าเกสรทุเรียนผสมกันเองตามธรรมชาติ ถามว่า จะเกิดอะไรขึ้น ?
1. ทุเรียนจะติดผลน้อย โดยเฉพาะทุเรียนพันธุ์ชะนี จะติดผลไม่เกิน 3% และพันธุ์ก้านยาวจะติดผลไม่เกิน 7%

2. ทุเรียนมักจะติดผลปลายกิ่งหรือกิ่งเล็ก ทำให้การดูแลรักษา การเก็บเกี่ยวลำบากต้องมีการโยกกิ่ง มักทำให้กิ่งฉีกหักได้ง่าย โดยเฉพาะเมื่อมีลมพายุ หรือฝนตกหนัก จากสาเหตุ 2 ประการนี้ หากปล่อยทิ้งไว้จะทำให้การปลูกทุเรียนได้ผลตอบแทนไม่คุ้มค่ากับการลงทุน

การแก้ไข :
การนำเทคนิคการผสมเกสรทุเรียนมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการติดผลของทุเรียนจึงเป็นวิธีการหนึ่งที่จะช่วยให้การติดผลของทุเรียนเกิดขึ้นได้ช้า เร็ว หรือมีขนาดของผลเท่า ๆ กัน และมีคุณภาพดีได้ด้วยนั้น เพียงใช้ขั้นตอนการปฏิบัติง่าย ๆ ดังนี้

ขั้นตอนการผสมเกสรทุเรียน :
1. เวลา 09.00-12.00 น. ใช้กรรไกรเล็กตัดแต่งดอกพันธุ์แม่ให้เหลือเฉพาะดอกขาว และตัดเกสรตัวผู้ออกทิ้ง หลังจากนั้นใช้ถุงผ้าขาวบางคลุมดอกขาวพันธุ์แม่ไว้

2. เวลา 19.00-19.30 น. เก็บละอองเกสรตัวผู้ของพันธุ์พ่อ โดยใช้กรรไกรเล็กตัดเฉพาะอับละอองเกสรตัวผู้ที่แตกใส่ไว้ในขวดหรือกระบอกพลาสติก ละอองเกสรนี้มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ซึ่งจะมีลักษณะเป็นละอองสีขาวเกาะติดอยู่กับอับละอองเกสร

3. เวลา 19.30 น. เริ่มทำการผสมเกสร ใช้ปลายพู่กันแตะละอองเกสรตัวผู้ แล้วนำไปแตะที่ยอดเกสรตัวเมียพันธุ์แม่ ซึ่งดอกเกสรพันธุ์แม่นี้จะมีลักษณะดอกกลม สีเหลือง แล้วคลุมด้วยผ้าขาวบางไว้ตามเดิม ผูกป้าย
บันทึก เขียนชื่อพันธุ์ วัน เดือน และ ปีที่ทำการผสมเกสร

กิ่งทุเรียน ในแต่ละต้นมักจะมีระดับความสูงต่ำต่างกัน จึงแนะนำให้ปฏิบัติด้วยวิธีการดังนี้

วิธีผสมเกสรกิ่งระดับต่ำ :
1. ตัดดอกทุเรียนที่กำลังบาน และพร้อมที่จะผสมเกสรของพันธุ์พ่อ เวลา 19.00-19.30 น. ไปทำการผสมเกสร โดยให้ส่วนของอับเกสรตัวผู้ที่มีละอองเกสรตัวผู้สีขาวไปแตะกับยอดเกสรตัวเมียพันธุ์แม่

2. ตัดเฉพาะชุดของเกสรตัวผู้พันธุ์พ่อ โดยใช้มือจับก้านเกสรตัวผู้ ซึงที่ปลายก้านจะมีอับละอองเกสรตัวผู้เกาะอยู่ แล้วนำไปแตะกับยอดเกสรตัวเมียพันธุ์แม่

3. ตัดเฉพาะอับละอองเกสรตัวผู้ ที่มีละอองเกสรสีขาวเกาะอยู่ภายในดอกพันธุ์พ่อ ใส่ขวด แล้วใชปลายพู่กันแตะละอองเกสรตัวผู้ นำไปแตะที่ยอดเกสรตัวเมียพันธุ์

วิธีผสมเกสรกิ่งระดับสูง :
1. เก็บละอองเกสรตัวผู้พันธุ์พ่อ ใส่ขวดผูกเชือกแล้วคล้องคอ ซึ่งเกษตรกรจะต้องทำการปีนขึ้นต้นทุเรียน แล้วใช้ปลายพู่กันแตะละอองเกสรตัวผู้ในขวด ไปแตะที่ยอดเกสรตัวเมียพันธุ์แม่

2. เก็บละอองเกสรตัวผู้พันธุ์พ่อใส่ในกระป๋องพลาสติก แล้วใช้แปรงขนอ่อนต่อด้ามไม้ยาว ใช้ปลายแปลงแตะละอองเกสรตัวผู้ในกระป๋อง นำไปแตะที่ยอดเกสรตัวเมียพันธุ์แม่ วิธีนี้ไม่ต้องปีนขึ้นไปผสมเกสรบนต้นทุเรียน ในกรณีต้นพันธุ์พ่ออยู่ใกล้กับต้นพันธุ์แม่ ไม่ว่าจะเป็นกิ่งต่ำหรือกิ่งสูง สามารถใช้แปรงขนอ่อนแตะละอองเกสรตัวผู้พันธุ์พ่อ แล้วนำไปแตะที่ยอดเกสรตัวเมียพันธุ์แม่ได้เลย

คู่พันธุ์ที่เหมาะสมในการผสมเกสร :
การเลือกคู่พันธุ์ทุเรียนที่เหมาะสมสำหรับการผสมเกสรเพื่อให้ทุเรียนติดได้ผลดี สามารถเลือกจากคู่พันธุ์ที่เหมาะสมได้ดังนี้

- เกสรตัวผู้พันธุ์ หมอนทอง และ/หรือ ก้านยาว ผสมกับ พันธุ์แม่ชะนี
- เกสรตัวผู้พันธ์ หมอนทอง และ/หรือ ชะนี ผสมกับ พันธุ์แม่ก้านยาว
- เกสรตัวผู้พันธุ์ หมอนทอง และ/หรือ ชะนี ผสมกับ พันธุ์แม่อีหนัก
- เกสรตัวผู้พันธุ์ หมอนทองต่างต้น และ/หรือ ชมพูศรี ผสมกับ พันธุ์แม่หมอนทอง
- เกสรตัวผู้พันธุ์ ชะนี และ/หรือ ชมพูศรี ผสมกับ พันธุ์แม่กระดุม

คำว่า และ/หรือ หมายถึง อย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่าง ผลทุเรียนที่เกิดจากการผสมเกสรตัวเมียเป็นพันธุ์อะไร เมื่อโตขึ้นผลจะเป็นพันธุ์นั้น โดยไม่มีอาการกลายพันธุ์หรือเพี้ยนพันธุ์ นอกจากนี้การช่วยผสมเกสรยังทำให้ผลมีรูปทรงดีไม่บิดเบี้ยวเพราะเกิดจากเกสรที่แข็งแรงผสมกัน

ผลทุเรียนที่เกิดจากการผสมเกสร :
ผลทุเรียนที่ได้จากการใช้เทคนิคผสมเกสรนั้นจะสังเกตได้ 2 ลักษณะดังนี้

ลักษณะภายนอก :
- การเจริญเติบโตของผลทุเรียนจะเร็วกว่าการผสมเกสรกันเองตามธรรมขาติ
- รูปทรงของผลสวยงามไม่บิดเบี้ยว พูเต็มเกือบทุกพู

ลักษณะภายใน :
- ลักษณะเนื้อทุเรียน สีเนื้อทุเรียน รสชาติไม่แตกต่างจากทุเรียนที่ผสมเกสรกันเองตามธรรมชาติ
- ในแม่พันธุ์ชะนี จะได้พูเต็ม และจำนวนพูต่อผลมากขึ้น
- ในแม่พันธุ์กระดุมทอง จะได้เมล็ดลีบตั้งแต่ 29-55%
- ในแม่พันธุ์หมอนทอง จะได้ความหนาของเนื้อมากตั้งแต่ 1.9-2.78 ซม. และมีเมล็ดลีบตั้งแต่ 40-59%

ประโยชน์ที่ได้รับ :
1. กำหนดตำแหน่งติดผล ตามกิ่งขนาดใหญ่ หรือกิ่งในระดับต่ำได้
2. ช่วยให้ทุเรียนติดผลดีขึ้น
3. ช่วยในการปฏิบัติและดูแลรักษาสวนทำได้สะดวก
4. กำหนดวันเก็บเกี่ยวได้ และเก็บเกี่ยวได้ง่าย
5. ทำให้ผลทุเรียนแก่ใกล้เคียงกัน หรือพร้อมกัน
6. รูปทรงผลสวยงาม พูเต็มเกือบทุกพู น้ำหนักและขนาดผลดี
7. ลักษณะคุณภาพของเนื้อทุเรียน และรสชาติไม่เปลี่ยนแปลง
8. ได้รับผลผลิตทุเรียนมากขึ้น
9. ผลผลิตทุเรียนจะเป็นที่ต้องการของตลาด

- ธรรมชาติของทุเรียนทั้งต้นที่สมบูรณ์และไม่สมบูรณ์ เมื่อถึงฤดูออกดอกจะออดอกจำนวนมาก แต่ดอกที่จะพัฒนาเป็นผลได้น้อยมากขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของต้น ถ้าต้นไม่สมบูรณ์จริงต้นจะสลัดดอกทิ้ง แม้แต่ต้นที่สมบูรณ์ก็ยังสลัดดอกทิ้ง ดังนั้นเพื่อป้องกันต้นสลัดดอกทิ้งเอง จึงจำเป็นต้องชิงตัดเสียก่อน เพื่อให้เหลือแต่ดอกที่สมบูรณ์และอยู่ ณ ตำแหน่งที่เหมาะสม

การเลือกดอกตัดทิ้งหรือดอกเก็บไว้ให้พิจารณา :
- ดอกรุ่นเดียวกันอยู่ในกิ่งเดียวกัน บริเวณกลางกิ่งให้เก็บไว้ แต่ดอกต่างรุ่น และอยู่ค่อนไปทางปลายกิ่งให้ตัดทิ้ง

- ดอกที่ออกมาเป็นกระจุก ให้ตัดทิ้งดอกเล็ก เก็บดอกใหญ่ไว้
- ดอกในกระจุกเดียวกันให้ตัดทิ้ง ดอกไม่สมบูรณ์ ดอกต่างรุ่น รวมประมาณ 1 ใน 4 ของกระจุก
- หลังจากตัดแล้วพิจารณาตำแหน่งของดอกที่เก็บไว้แต่ละจุด ให้อยู่ห่างกระจายทั่วบริเวณ
- ถ้าดอกออกมากแต่หลายรุ่นให้พิจารณารุ่นที่จะเป็นผลมีราคาเก็บไว้ แล้วตัดทิ้งดอกรุ่นที่จะไม่มีราคา

- ถ้ามีดอกน้อยแต่หลายรุ่น ให้พิจารณารุ่นเดียวกันกับตำแหน่งที่ออกดอก อาจจะเก็บไว้ ดอกต่างรุ่นแต่อยู่ในตำแหน่ง (ระยะห่าง) ที่เหมาะสมแล้วบำรุงไปตามปกติก็ได้

- การตัดแต่งช่อผลก็เป็นสิ่งจำเป็นเช่นกัน ผลที่จะมีคุณภาพดีเพราะได้รับน้ำเลี้ยงอย่างสมบูรณ์นั้น ลักษณะขั้วผลต้องอวบอ้วน เหยียดตรงเดี่ยวออกมาจากกิ่ง บางจุดอาจจะมีมาก กว่า 1 ผล แต่ถ้าทุกผลมีขั้วดีก็สามารถเก็บไว้ได้ ส่วนผลขั้วคดงอเล็กเรียวหรือเป็นขั้วแยกจากขั้วใหญ่ไม่ควรเก็บไว้ให้ตัดทิ้งไป

ตำแหน่งไว้ผลในแต่ละกิ่งควรห่างเท่าๆกัน โดยคำนวณจากจำนวนผลทั้งหมดแล้วเฉลี่ยระยะห่างซึ่งกันและกัน ก็จะช่วยให้แต่ละผลได้รับน้ำเลี้ยงจากลำต้นและจากใบกระจายได้อย่างทั่วถึงทุกผล

- สร้างความสมบูรณ์ต้นด้วยปุ๋ยทางด่วน (สูตร : ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี) เพื่อให้ต้นมีความพร้อมสำหรับการออกดอกติดผล ให้ผลผลิตดี มีคุณภาพ และสร้างภูมิต้านทานต่อโรคแมลงศัตรูพืช ใช้อาหารเสริมทางด่วน ซึ่งมีคาร์โบไฮเดรตเป็นองค์ประกอบหลัก โดยฉีดพ่นทางใบให้โชก ทั้งใต้ใบบนใบ “ทางด่วน 20-30 ซีซี.+ 15-30-15 หรือ 20-20-20 หรือ 10-20-30 (40-60 กรัม) + ฮิวมิค แอซิด (20 ซีซี.) /น้ำ 20 ลิตร” ทุก 5-7 วัน ติดต่อกัน 3-4 สัปดาห์

หมายเหตุ :
- อาหารเสริมทางด่วนการค้า ได้แก่ ดร็อปไจแอนท์. โพลีแซค. มอลตานิค. ฟลอริเจน.
- อาหารเสริมทางด่วนทำเอง ได้แก่ กลูโคส. เด็กซ์โตรส. ฟลุกโตส. กลูโคลิน. ยาคูลท์. นมสัตว์สดรีดใหม่. น้ำมะพร้าวอ่อน. ไข่สด. น้ำตาลสดจากงวงมะพร้าวหรือตาล. อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือ 2-3-4 อย่างๆละเท่าๆ กัน คนเคล้าให้เข้ากันดี ผสมเสร็จแล้วใช้ใหม่ๆจะได้ผลดี

- สถานีวิจัยพืชสวนพลิ้ว จ.จันทบุรี ส่งเสริมให้ชาวสวนทุเรียน มังคุด เงาะ ลองกองและไม้ผลอื่นๆ บำรุงต้นด้วย “ฮอร์โมนน้ำดำ” อย่างสม่ำเสมอตลอดทั้งปี โดยช่วงมีดอกผลอยู่บนต้นให้บำรุงเดือนละ 1 ครั้ง ส่วนช่วงที่ไม่มีดอกผลอยู่บนต้นให้บำรุง 2 เดือน/ครั้ง ปรากฏว่าต้นมีความสมบูรณ์สูงมาก สังเกตได้จากใบใหญ่ หนาเขียวเข้ม เป็นมันวาว

- ช่วงไว้ผลบนต้นแล้วต้นมีอาการโทรม เริ่มจากใบอ่อนเหลืองซีด แต่ใบแก่ยังเขียวสดใสอยู่ แสดงว่า ต้นขาดธาตุอาหารรอง/เสริม อย่างรุนแรง ซึ่งช่วงนี้ต้นต้องการใช้ธาตุอาหารจำนวนมากส่งไปเลี้ยงผล หากปล่อยไว้จะทำให้ผลผลิตไม่มีคุณภาพและต้นไม่พร้อมสำหรับการให้ผลผลิตรุ่นต่อไป บางทีอาจถึงต้นตายได้ แก้ไขโดย ให้ธาตุอาหารรอง/เสริม (เน้น แคลเซียม โบรอน. แมกนีเซียม.สังกะสี.) ควบคู่กับธาตุอาหารหลัก (เอ็น. พี. เค.) ด้วยระยะการให้ถี่ขึ้น

- บำรุงผลขนาดเล็กหรือผลลักษณะไม่สมบูรณ์ด้วยการฉีดพ่น “แคลเซียม โบรอน + ธาตุรอง/เสริม + ไคตินไคโตซาน + ทางด่วน” ที่ผลโดยตรง และที่ใบให้โชก ตั้งแต่ผลยังเล็ก ทุก 7-10 วัน จะช่วยพัฒนาผลให้ดีขึ้นได้ระดับหนึ่ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความพร้อมและความสมบูรณ์ของต้นเป็นปัจจัยหลัก

- กลูโคส. ยาคูลท์. นมสัตว์สดรีดใหม่. กระทิงแดง. มีส่วนประกอบของน้ำตาล เมื่อให้แก่ต้นไม้ผลโดยฉีดพ่นทางใบช่วงที่กำลังมีผลอยู่บนต้น จะช่วยให้ผลได้รับธาตุอาหารทันที เหมาะสำหรับต้นที่ติดผลดกจำนวนมากจนธาตุอาหารไม่พอเลี้ยง ช่วยให้ผลโตเร็วมีขนาดใหญ่ขึ้น และแก้อาการผลร่วงผลแตก หากมีการใช้ร่วมกับปุ๋ยเกร็ดทางใบด้วยจะเสริมประสิทธิภาพให้สูงยิ่งขึ้น

- ธาตุ ฟอสฟอรัส. กับ โปแตสเซียม. จะทำงานได้เต็มประสิทธิภาพก็ต่อเมื่อมี สังกะสี.รวมด้วย และแคลเซียม. จะทำงานได้เต็มประสิทธิภาพก็ต่อเมื่อมี โบรอน. รวมอยู่ด้วยเช่นกัน

- ทุเรียนฉีดสาร หมายถึง การใช้สารพาโคลบิวทาโซลบังคับทุเรียนให้ออกนอกฤดู เริ่มด้วยการเรียกใบอ่อน 3 รุ่น โดยรุ่น 1 กับรุ่น 2 ออกมาแล้วต้องเร่งให้เป็นใบแก่โดยเร็ว ส่วนใบอ่อนรุ่น 3 ไม่ต้องเร่งให้เป็นใบแก่ แต่พอเริ่มเพสลาดก็ให้ใส่ปุ๋ยทางรากสูตร 8-24-24 จากนั้นสังเกตใบชุด 3 ที่แตกออกมานี้ ถ้าใบปลายยอด 2 ใบยังอ่อน (ใบหางปลา) ในขณะที่ใบล่างเริ่มแก่ก็ให้ฉีดพ่นสารพาโคลบิวทาโซล อัตรา 200 ซีซี./น้ำ 20 ลิตร ที่ปลายทรงพุ่มบริเวณใบ ให้เปียกทั่วทุกใบทั้งใต้ใบบนใบ แต่อย่าให้เปียกถึงในทรงพุ่ม เทคนิคก็คือ ต้องปรับหัว ฉีดให้น้ำออกเป็นฝอยเล็กๆ ยิ่งเล็กมากยิ่งดี ควรฉีดพ่นช่วง 09.00-10.30 น. ซึ่งเป็นช่วงปากใบเปิด ในทรงพุ่มโปร่ง แสงแดดส่องทั่วถึง อากาศถ่ายเทดี ไม่มีฝนตกก่อนฉีด 2 วัน และหลังฉีดไม่มีฝนตก 2 วันเช่นกัน เมื่อฉีดพ่นแล้วให้งดน้ำ ถ้างดน้ำแล้วไม่มีฝนตกหรือแล้งจัดประ มาณ 40-45 วัน ดอกชุดแรกจะออกมาให้เห็น

- ช่วงเดือน ก.ค. ถ้างดน้ำอย่างเด็ดขาดได้ แล้วฉีดพ่นสารพาโคลบิวทาโซล อัตรา 100 กรัม/น้ำ 100 ล. (1,000 พีพีเอ็ม.) ให้แก่ทุเรียนที่ผ่านการเตรียมต้นมาดีแล้ว สามารถทำให้ทุเรียนออกดอกหลังการให้พาโคลบิวทาโซล 2-3 เดือนได้ แต่มีข้อแม้ว่า ช่วงก่อนออกดอกและกำลังออกดอกนั้นสภาพอากาศจะต้องแห้งแล้ง หรือควบคุมน้ำได้ร้อยเปอร์เซ็นต์

- ชะนีฉีดสารฯ ไม่ควรช่วยผสมเกสรด้วยมือ แต่ปล่อยให้ผสมติดเองตามธรรมชาติ เพราะถ้าช่วยผสมแล้วเมื่อแก่จะสุกช้า สุกแล้วเนื้อขาวซีด

- ช่วงกำลังมีผลอยู่บนต้นแล้วแตกใบอ่อน จะทำให้ให้เกิดการแย่งอาหารระหว่างใบกับผล ส่งผลเสียต่อผลดังนี้

* แตกใบอ่อนช่วงหลังดอกบาน (สัปดาห์ที่ 3-5) ทำให้ผลเล็กร่วง
* แตกใบอ่อนช่วงหลังดอกบาน (สัปดาห์ที่ 5-Cool ทำให้รูปทรงผลบิดเบี้ยว
* แตกใบอ่อนช่วงหลังดอกบาน (สัปดาห์ที่ 10-12) ทำให้เนื้อด้อยคุณภาพ เป็นเต่าเผา เนื้อแกร็น เนื้อสามสี ไม่น่ารับประทาน

- ลักษณะทุเรียนที่กำลังจะแตกใบอ่อนระหว่างมีผล ให้สังเกตเยื่อหุ้มตาเริ่มเจริญ หรือระยะหางปลา ให้ยับยั้งการแตกใบอ่อนด้วย 13-0-46 (150-300 กรัม) /น้ำ 20 ล. 1 ครั้งก่อน ถ้าพบว่ายังจะแตกใบอ่อนอีกหรือกดไม่อยู่ ก็ให้ฉีดซ้ำอีกครั้งด้วยอัตราเดิม นอกจากนี้การให้"ธาตุรอง/ธาตุเสริม" สม่ำเสมอระหว่างมีผล นอกจากจะช่วยบำรุงผลให้ได้คุณภาพดีแล้วยังช่วยกดใบอ่อนได้อีกด้วย

แนวทางแก้ไข :
1. ระยะที่ยอดมีการพัฒนาโดยเยื่อหุ้มตาเริ่มเจริญ หรือที่ชาวสวนเรียกว่า “ระยะหางปลา” ฉีดพ่นด้วยปุ๋ยทางใบสูตร “13-0-46 (150-300 กรัม) /น้ำ 20 ล.” ให้ทั่วทรงพุ่ม 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน

2. ฉีดพ่นปุ๋ยทางใบสูตร “0-52-34 (100 กรัม) /น้ำ 20 ล.” เพื่อป้องกันการแตกใบอ่อนและเร่งการแก่ของใบ

3. ใช้สารเคมี “ไดเมทโธเอท (40-50 ซีซี.) /น้ำ 20 ล.” ฉีดพ่น สามารถควบคุมใบอ่อนได้ดีมาก โดยเฉพาะทุเรียนพันธุ์หมอนทอง

4. ใส่ปุ๋ยทางรากสูตร “8-24-24” หรือ “9-26-26” เพื่อเพิ่มปริมาณแป้ง-น้ำตาล ลดปริมาณไนโตรเจน ทั้งในดินและในต้น

5. ควบคุมการแตกใบอ่อนโดยให้ “ธาตุรอง/ธาตุเสริม” ในรูปอาหาร “ทางด่วน” ทุก 5-7 วัน เพื่อเพิ่มปริมาณธาตุอาหารทั้งต่อใบอ่อนและผลอ่อน

6. ควบคุมการให้น้ำหรือลดปริมาณน้ำอย่าให้มากเกินไป และอย่าให้ขาดน้ำ เพื่อป้องกันการแตกใบอ่อนเร็วเกินไป

7. การไว้ผลบนต้นมากๆ เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ป้องกันการแตกใบอ่อนระหว่างมีผลอยู่บนต้นได้
8. ใช้สาร “พาโคลบิวทาโซล ชนิด 10% (100-150 ซีซี.) /น้ำ 20 ล.” ฉีดพ่นที่ใบสามารถควบคุมการแตกใบอ่อนได้ แต่หลังจากฉีดพ่นพาโคลบิวทาโซลไปแล้ว ต้องให้น้ำและธาตุอาหารเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าจากอัตราเคยให้ตามปกติ

9. ใช้สาร “เมพิควอทคลอไรด์ ชนิด 50% (20 ซีซี.) /น้ำ 20 ล.” ฉีดพ่นทางใบ 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 10-15 วัน ช่วงที่มีฝนตกชุกเพื่อลดปริมาณออกซินในต้นไม่ให้ขึ้นไปสู่ยอดซึ่งจะทำให้ต้นแตกใบอ่อนได้ ก็สามารถควบคุมใบอ่อนได้เช่นกัน .... หรือใช้ “พาโคลบิวทาโซล ชนิด 10% (50 ซีซี.) /น้ำ 100 ล.” ฉีดพ่นให้เปียกโชกทั้งใต้ใบบนใบลงถึงพื้น 1 ครั้งหลังฝนตกใบแห้ง หลังจากฉีดพ่นแล้ว 10 วัน ให้น้ำจนดินชุ่ม 3 วันติดต่อกัน ก็สามารถยับยั้งการแตกใบอ่อนได้เช่นกัน

- อายุผลตั้งแต่เริ่มติดหรือกลีบดอกร่วงถึงเก็บเกี่ยว .... กระดุม 90-100 วัน ... ก้านยาว 120-135 วัน .... ชะนี 110-120 วัน .... หมอนทอง 140-150 วัน .... ทั้งนี้ช่วง 20-30 วันสุดท้ายของอายุผลนั้น สภาพอากาศจะต้องแห้งแล้งหรือไม่มีฝน หากมีฝนหรือต้นได้รับน้ำมากอายุผลจะยืดยาวออกไปอย่างไม่มีกำหนด หรือจนกว่าจะกระทบแล้ง

- ฝนชุกช่วงผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยวทำให้ผลทุเรียน แก่ช้า เปลือกหนา เนื้อเป็นเต่าเผา ไส้ล้ม สีไม่ออก กลิ่นไม่ออก ผลแตก และผลร่วง สาเหตุเป็นเพราะต้นได้รับไนโตรเจนจากน้ำฝนมากเกินไป

แนวทางแก้ไข :
- ตามปกติช่วงผลแก่ใกล้เก็บมักใส่ปุ๋ยทางรากสูตร “8-24-24” หรือ “9-26-26” ควบคู่กับการให้ปุ๋ยทางใบสูตร “0-0-50 หรือ 0-21-74 + ธาตุรอง/ธาตุเสริม” ถ้ารู้ล่วงหน้าว่าจะมีฝนแล้วก็ควรให้ล่วงหน้าเป็นการเตรียมตัวไว้ก่อนจะได้ประสิทธิภาพดีกว่าฝนตกแล้วจึงให้

- ผลแก่ใกล้เก็บแล้วได้รับน้ำจากฝนทำให้ผลแก่ช้า อายุผลที่ควรแก่จัดตามกำหนดจึงต้องเลื่อนออกไปอย่างไม่มีกำหนด การปฏิบัติสำหรับขั้นตอนนี้ คือ ให้ปุ๋ยทั้งทางรากและทางใบสูตรดังกล่าวไปเรื่อยๆ พร้อมกับเปิดหน้าดินโคนต้น ให้แสงแดดส่องถึงพื้นดินมากๆ เมื่อมีแสงแดดหรือฟ้าเปิด ทำร่องระบายน้ำป้องกันน้ำขังค้างโคนต้น

หลังจากฝนหมดแล้วให้บำรุงด้วยสูตรเดิมทั้งทางใบและทางรากต่อไปอีกพร้อมกับงดน้ำ 15-20 วัน ระหว่างนี้ให้สังเกตการเปลี่ยนแปลงของผล แล้วสุ่มเก็บมาผ่าดูภายในก็จะเห็นและรู้ว่าสมควรต้องยืดอายุผลออกไปอีกนานเท่าไรผลจึงจะแก่จัดและเก็บเกี่ยวได้

แนวทางแก้ปัญหาเรื่องผลแก่ตรงกับฝนชุก คือ วางแผนกะเวลาบำรุงต้นล่วงหน้าให้ได้ผลแก่ตรงกับช่วงแล้ง

- วิธีเก็บเกี่ยวทุเรียนของชาวสวนทุเรียนเมืองนนทบุรีไม่ใช้วิธีนับอายุผล เพราะรู้ว่าเอาแน่นอนไม่ได้ เนื่องจากน้ำใต้ดินโคนต้นหรืออาจจะมีฝนตก แต่ใช้วิธีปล่อยให้ผลใดผลหนึ่งร่วงจากต้นลงมาเองก่อน 1 ผล แล้วเก็บผลร่วงนั้นมาผ่าดูภายในก็จะเห็นชัดว่าทุเรียนแก่สมควรเก็บเกี่ยวได้หรือยัง เมื่อเห็นว่าแก่จัดเก็บเกี่ยวได้แล้วจะลงมือเก็บผลที่เป็นรุ่นเดียวกันนั้นก่อน จากนั้นอีก 7 วันจะลงมือเก็บรุ่นสอง และรุ่นสามไปเรื่อยๆ แต่ละรุ่นห่างกัน 5-7 วัน จนกระทั่งหมดทั้งต้น

* ทำทุเรียนอ่อนให้เนื้อนุ่มเหมือนทุเรียนแก่และสุก :
วิธีที่ 1 : นำผลทุเรียนแก่ที่เก็บเกี่ยวลงมาแล้วแช่ใน "อีเทฟอน 50 ซีซี. + น้ำ 100 ล." จนมิดทั้งผล นาน 2 นาที นำขึ้นผึ่งลมให้แห้ง จากนั้นนำไปบ่มตามปกติ ผลทุเรียนจะสุกภายใน 3 วันวิธีนี้ใช้กับผลที่แก่ไม่จัดก็ได้ หลังจากผลได้รับอีเทฟอนไปแล้วเนื้อจะอ่อนนุ่มเหมือนทุเรียนสุกทุกประการ แต่รสและกลิ่นไม่ดี วิธีนี้ ชาวสวนไม่นิยมทำ

วิธีที่ 2 : ใช้สารละลายเอทีฟอน เร่งสุกทุเรียนหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว ด้วยการปาดขั้วทุเรียนให้ชิดปริงมากที่สุด แล้วใช้สารละลายเอทีฟอน ทาที่ขั้วทุเรียนที่ปาดเสร็จใหม่ๆ สารละลายเอทีฟอน จะซึมลงไปที่ไส้ทุเรียน จะทำให้เนื้อทุเรียนนิ่ม เหมือนทุเรียนสุกทั้งๆ ที่เป็นทุเรียนอ่อน วิธีการนี้ได้รับความนิยมในวงการ ทั้งเกษตรกรและแม่ค้า โดยเฉพาะแม่ค้า ที่ต้องการให้ทุเรียนสุกพร้อมๆกัน เพื่อหลีกเลี่ยงน้ำหนักของทุเรียนที่จะสูญเสียไป ถ้าปล่อยให้ทุเรียนสุกตามธรรมชาติ ส่วนเกษตรกรก็ขาดจิตสำนึก ตัดทุเรียนอ่อนขายเพราะต้องการขายให้ได้ราคาสูงๆ

- ทุเรียนออกดอกติดผลที่กิ่งประธาน ผลเกิดจากกิ่งประธานคนละกิ่ง (ในต้นเดียวกัน) มักแก่ไม่พร้อมกัน แก้ไขโดย แบ่งกิ่งประธานในต้นเดียวกันนั้นเป็นกิ่งละรุ่น จากนั้นพิจารณาผลที่อยู่ในกิ่งประธานกิ่งเดียวกัน แล้วเลือกผลอายุใกล้เคียงกันที่สุด (ไม่ควรห่างกันเกิน 3-5 วัน) ไว้ ซึ่งผลที่คงไว้นี้จะแก่เก็บเกี่ยวได้พร้อมกัน ส่วนผลอายุต่างจากผลอื่นมากๆให้ตัดทิ้ง และการตัดทิ้งให้ทำตั้งแต่เป็นผลขนาดเล็ก เมื่อถึงช่วงเก็บเกี่ยวก็ให้เก็บผลในกิ่งประธานเดียวกันพร้อมๆกัน ซึ่งทุกผลจะแก่เท่ากัน จากนั้นจึงเลือกเก็บจากกิ่งประธานอื่นๆต่อไปตามลำดับอายุ

- ต้นที่ติดผลจำนวนมาก ปริมาณสารอาหารอาจจะส่งไปเลี้ยงผลทุกผลได้ไม่ทั่วถึงหรือไม่เพียงพอต่อความต้องการของแต่ละผล จึงจำเป็นต้องตัดผลบางส่วนทิ้ง เพื่อให้ผลที่คงไว้ได้รับสารอาหารเต็มที่ การตัดผลทิ้งจะต้องทำตามขั้นตอน ดังนี้.

ครั้งที่ 1 .... เมื่ออายุผลได้ 3-4 สัปดาห์ (ขนาดเท่ามะเขือพวง-ไข่นกกระทา) เลือกตัด ทิ้งผลไม่สมบูรณ์ รูปทรงบิดเบี้ยว ผลขนาดเล็กผิดปกติ หางแย้ที่ก้นผลบิดเบี้ยวเรียวเล็กคดงอ ซึ่งเมื่อโตขึ้นมักเป็นผลแป้ว ไม่มีพู คุณภาพไม่ดี และผลที่ต่างอายุกับผลส่วนใหญ่

ครั้งที่ 2 .... เมื่ออายุผลได้ 5-6 สัปดาห์ (ขนาดไข่ไก่) เลือกตัดทิ้งผลที่มีหนามแดงหนามบิดเบี้ยวผิดรูปร่าง หางแย้ที่ก้นผลบิดเบี้ยวเรียวเล็ก ผลที่หางแย้ใหญ่อวบอ้วนตรงจะเป็นผลดีมีคุณภาพ

ครั้งที่ 3 .... เมื่ออายุผลได้ 7-8 สัปดาห์ (ขนาดกระป๋องนม) เลือกตัดทิ้งผลก้นจีบ ผลขนาดเล็กผิดปกติ

- ด้วยมาตรการบำรุงแบบทำให้ต้นมีสารอาหารกินตลอด 24 ชม. ต่อเนื่องหลายปี ปรากฏว่าทุเรียนกลายเป็นไม้ผลประเภททะวาย ออกดอกติดผลแบบไม่เป็นรุ่น หรือมีผลตลอดปีได้นั่นเอง

- แนวทางในการใส่ปุ๋ยไม้ผลที่ให้ผลดีที่สุด ควรใช้ค่าวิเคราะห์พืชและค่าวิเคราะห์ดินมาเป็นเครื่องมือช่วยตัดสินใจในการใส่ปุ๋ย เนื่องจากค่าวิเคราะห์พืชบอกให้ทราบถึงความเข้มข้นของธาตุอาหารในใบพืช ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ถึงความสามารถในการดูดธาตุอาหารของพืช ส่วนค่าวิเคราะห์ดิน บอกให้ทราบว่า ดินมีธาตุอาหารพืชอยู่แล้วมากน้อยเพียงใดและมีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะทำให้ธาตุอาหารเป็นประโยชน์หรือไม่ ถ้าไม่เหมาะสมจะปรับปรุงดินอย่างไร เพื่อให้ธาตุอาหารพืชที่มีอยู่แล้วในดินรวมทั้งปุ๋ยที่จะใส่เพิ่มให้กับดินอยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์ต่อพืชมากที่สุด

- มีการวิจัยพบว่าดินในสวนไม้ผลภาคตะวันออกส่วนใหญ่มักขาด ไนโตรเจน. โพแทสเซียม. แคลเซียม. แมกนีเซียม. เหล็ก. แมงกานีส. และสังกะสี. โดยพบอาการขาดสังกะสี. มากที่สุด ส่วนธาตุฟอสฟอรัส.นั้น สวนไม้ผลส่วนใหญ่ใส่ปุ๋ยชนิดนี้มากเกินกว่าความต้องการของพืช แต่มิได้หมายความว่าสวนไม้ผลทั้งหมดจะขาดธาตุดังกล่าวที่กล่าวมาข้างต้น เพราะดินแต่ละแห่งมีธาตุอาหารที่พืชจะดูดไปใช้ได้ไม่เท่ากัน สวนแต่ละสวนมีประวัติการใส่ปุ๋ยและการจัดการดินที่แตกต่างกัน

เกรดทุเรียน :
1. “ไอ้เข้” หมายถึง ทุเรียนผลใหญ่สุดประมาณ 5 กก.ขึ้น ทรงดีพูเต็ม แก่จัด (ราคาดี รับซื้อไม่อั้น)

2. “เบอร์กล่อง” หมายถึง ทุเรียนเบอร์สวยที่สุด ทรงสวย มี 4 พูเต็ม หนามสวย (หนามบริเวณขั้วไม่ติดกัน)ไม่มีตำหนิ น้ำหนักประมาณ 2.7-4.5 กก. เปอร์เซ็นต์แก่ 80 ขึ้น ใช้ไม้เคาะต้องไม่มีเสียงปุ (ทุเรียนกำลังจะสุก) เรียกเบอร์กล่อง เพราะพ่อค้าจะซื้อใส่กล่อง (ลังกระดาษ) ส่งนอก

3. “เบอร์กลาง” หมายถึง ทุเรียนเบอร์รองจากเบอร์กล่อง ทรงสวย มี 3 พูครึ่ง - 4 พู หนามสวย น้ำหนักประมาณ 2-4 กก. แก่ 80% ขึ้น เคาะไม่ปุ หากเป็นช่วงที่ทุเรียนขาด (น้อย) อาจขยับตำแหน่งเป็นเบอร์กล่องได้

4. “เบอร์หาง” หมายถึง ทุเรียนผลเล็กกลม ขนาด 1-2 กก. หรือทุเรียนผลใหญ่ แต่รูปทรงแป้ว (มีแค่ 2 พูครึ่ง) หนามที่ขั้วอาจติดกันได้บ้าง เคาะไม่ปุ

5. “ป๊อกแป๊ก” หมายถึง ทุเรียนตกไซด์ที่กล่าวมาทั้งหมด เคาะไม่ปุ หรือผลใหญ่แต่มีแค่พูเดียว
6. “สุก/แตก/หล่น” หมายถึง ทุเรียนส่งเขมร หรือเอาไปกวน

หลักการสังเกตทุเรียนแก่ :
1. ก้านผล : ก้านผลจะแข็งและมีสีเข้มขึ้น เมื่อลูบจะรู้สึกสากมือ เมื่อจับก้านผลแล้วแกว่งผลทุเรียน จะรู้สึกว่าก้านผลทุเรียนยืดหยุ่นมากขึ้น ก้านผลบริเวณปากปลิงจะบวมโต เห็นรอยต่อชัดเจน

2. หนาม : ปลายหนามแห้ง มีสีน้ำตาลเข้ม เปราะและหักง่าย ดังนั้น เมื่อมองจากด้านบนของผลจะเห็นหนามเป็นสีเข้ม หนามมีลักษณะกว้างออก ร่องหนามห่าง เวลาบีบปลายหนามเข้าหากันจะรู้สึกว่ายืดหยุ่น

3. รอยแยกระหว่างพู : ผลทุเรียนที่แก่จัดจะสังเกตเห็นรอยแยกบนพูได้อย่างชัด เจน ยกเว้นบางพันธุ์ที่ปรากฏไม่เด่นชัด เช่น พันธุ์ก้านยาว

4. ชิมปลิง : ผลทุเรียนที่แก่จัด เมื่อตัดขั้วผลหรือปลิงออก จะพบน้ำใสซึ่งไม่ข้นเหนียวเหมือนในทุเรียนอ่อน และเมื่อใช้ลิ้นแตะชิมดูจะมีรสหวาน

5. เคาะเปลือกหรือกรีดหนาม : เมื่อเคาะเปลือก ผลทุเรียนที่แก่จัดจะมีเสียงดังหลวมๆ เนื่องจากมีช่องว่างระหว่างเปลือกกับเนื้อภายในผล เสียงหนักหรือเบาแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับพันธุ์และอายุของต้นทุเรียน

6. ปล่อยให้ร่วง : ปกติดอกทุเรียนแต่ละรุ่นในแต่ละต้นจะบานไม่พร้อมกัน และมีช่วงต่างกันไม่เกิน 10 วัน ดังนั้น เมื่อมีผลทุเรียนในต้นเริ่มแก่ สุกและร่วง ก็เป็นสัญญาณเตือนว่า ผลทุเรียนที่เหลือในรุ่นนั้นแก่แล้วสามารถเก็บเกี่ยวได้

7. นับอายุ : โดยนับอายุผลเป็นจำนวนวันหลังดอกบาน เช่น พันธุ์ชะนี ใช้เวลา 100-105 วัน เป็นต้น การนับวันหรืออายุของผลจะแตกต่างกันเล็กน้อยในแต่ละปี และในแต่ละท้อง ถิ่น ขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศ เช่น ถ้าปีใดมีอุณหภูมิเฉลี่ยค่อนข้างสูง ผลทุเรียนจะแก่เร็วกว่าปีที่มีอุณหภูมิเฉลี่ยต่ำกว่า

(ข้อมูลงานวิจัย : สุพิทย์ มะระยงค์, ดร.หิรัญ หิรัญประดิษฐ์, ศิวพร จินตนาวงศ์, ศิริพร วรกุลดำรงชัย ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี)

- ทุเรียนที่ตัดมาจากสวนใหม่ๆ นำไปเป่าพัดลมไล่น้ำ 3-5 ชั่วโมง เนื้อทุเรียนจะไม่อมน้ำ ทำให้ทานอร่อยยิ่งขึ้น

- ซื้อทุเรียนที่ตัดตอนแก่ พันธุ์ชะนีให้ทิ้งข้ามคืน 3 คืน ส่วนหมอนทองให้ทิ้งข้ามคืน 5 คืน จะได้รสชาติอร่อยยิ่งขึ้น

- การใช้มีดผ่าทุเรียน ควรใช้มีดขนาดกระชับมือ มีความคมเป็นพิเศษผ่าตามร่องพู แล้วค่อยๆ บิดเปลือกออกจะทำให้แกะง่ายขึ้น

- ถ้าทานทุเรียนไม่หมดให้นำไปแช่ช่องฟิต จะได้ไอศกรีมทุเรียนที่อร่อยไม่แพ้ทานทุเรียนสดๆ

ทุเรียนลูกยอดไม่มีเนื้อ :
คำตอบ : ทุเรียนลูกนั้นไม่ได้รับสารอาหาร ทั้งจากทางใบและทางราก .... หลักการและเหตุผล คือ ธรรมชาตินิสัยของทุเรียน สารอาหารจากดินผ่านราก ผ่านต้น ผ่านกิ่ง สู่ลูกบนต้น ลูกแรกของกิ่งแรกของต้นจะกินอาหารก่อน กินอิ่มแล้วจึงจะปล่อยไปให้ลูกถัดไปของกิ่งเดียวกัน ลูกถัดไปกินอิ่มก็จะปล่อยให้ลูกถัดไป ทีละลูกๆ ตามลำดับจนถึงลูกสุดท้ายปลายสุดของกิ่งแรก ขณะที่แต่ละลูกของกิ่งแรกกำลังรับสารอาหารตามลำดับนั้น สารอาหารส่วนหนึ่งจะถูกแบ่งให้กิ่งที่สูงถัดขึ้นไป ซึ่งกิ่งนี้ก็จะส่งไปยังลูก ลูกแรกรับแล้วส่งต่อให้ลูกถัดไปตามลำดับเหมือนวิธีของกิ่งแรก.... การส่งสารอาหารจากกิ่งแรกไปกิ่งสูงถัดขึ้นไป ถัดขึ้นไป และถัดขึ้นตามลำดับจากล่างไปบน แต่ละกิ่งได้รับแล้วจะให้ลูกแรกของกิ่งก่อน แล้วจึงให้ต่อไปจนถึงลูกสุดท้ายของกิ่งของตัวเอง

นี่คือสาเหตุที่ทุเรียนลูกสุดท้ายปลายกิ่งของแต่ละกิ่ง และลูกสุดท้ายของปลายกิ่งที่สูงสุดของต้น ไม่ได้รับสารอาหารที่ส่งจากรากผ่านลำต้นขึ้นมา ทำให้ผลไม่มีคุณภาพ คือ ไม่มีเนื้อ หรือเป็นพูหลอก นั่นเอง

แนวทางแก้ปัญหา : ให้สารอาหารทางใบ เมื่อใบสังเคราะห์แล้วจะส่งย้อนกลับมาทางลำต้น ระหว่างที่ส่งย้อนกลับนี้ ลูกแรกปลายสุดก็จะกลายเป็นลูกแรกได้รับโดยอัตโนมัติ เมื่อลูกปลายสุดๆได้รับสารอหารแล้ว ลูกกลางกิ่งก็ยังมีปัญหาอีกจนได้ แนวทาง แก้ไข คือ ให้มีใบบริเวณกลางกิ่งเป็นตัวสังเคราะห์สารอาหารให้ ทั้งนี้ เมื่อช่วงที่ทุเรียนออกดอก หรือ ติดผลเล็ก ซึ่งจะต้องตัดแต่งกิ่งที่แตกซ้อนออกใหม่นี้ทิ้ง ก็ให้คงเหลือใบบางส่วนไว้สำหรับสังเคราะห์อาหารให้ลูกกลางกิ่ง

สรุป : ด้วยการเตรียมใบให้พร้อม แล้วให้สารอาหารทางใบ ใบก็จะสังเคราะห์อา หารให้แก่ทุกลูก ทุกตำแหน่งที่ติดลูก ทั่วทั้งต้น ส่งผลให้ทุเรียนทุกลูกไม่เป็น “พูหลอก”

ทุเรียนพูหลอก .... สาเหตุ และการแก้ไข :
- ชาวสวนทุเรียนเรียกว่า “ลูกยอด” คือ ลูกที่อยู่ส่วนปลายของกิ่ง ทั้งกิ่งล่างกับกิ่งปลายยอดสูงสุด เป็นผลที่ไม่มีเนื้อ ชาวสวนไม่ใช่น้อยไม่รู้สาเหตุ ก็ว่าเป็นธรรมชาติของทุเรียนเอง แก้ไขไม่ได้

- สาเหตุ เพราะให้ปุ๋ยทางแต่ราก ต้นดูดขึ้นไปแล้ว ลูกแรกรับก่อน กินก่อน กินอิ่มแล้วจึงปล่อยให้ลูกถัดไป ลูกถัดไปกินอิ่มแล้วจึงจะปล่อยให้ลูกถัดไปอีก ตามลำดับ จากลูกแรกถึงลูกสุดท้ายที่ปลายกิ่งจะได้อะไร

แก้ไขด้วยการให้ปุ๋ยทางใบ เมื่อให้ปุ๋ยทางใบผลที่อยู่ปลายสุดของกิ่ง จะได้รับเป็นผลแรก ในขณะเดียวกัน ลูกกลางกิ่งก็จะได้รับปุ๋ยจากใบกลางกิ่ง .... นิสัยธรรมชาติของทุเรียน ช่วงมีดอก ถึงผลเล็ก มักมีใบอ่อนแตกออกมา การปฏิบัติคือ ให้เลือกตัดแต่งกิ่งที่แตกใหม่ที่ท้องกิ่งใหญ่ทิ้งทั้งหมด ส่วนกิ่งด้านบนของกิ่งใหญ่ให้เหลือไว้เท่าที่จำเป็น 1 กิ่งเลี้ยง 1 ลูก แบบนี้จะทำให้ทุกลูกในกิ่ง ทั้งโคนกิ่ง กลางกิ่ง ปลายกิ่ง กิ่งล่าง กิ่งกลาง กิ่งสูง ของต้นได้รับสารอา หารเท่าเทียมกัน เมื่อได้รับสารอาหารก็จะไม่เป็นพูหลอก หรือมีพูเต็มนั่นเอง

- ทั้งนี้ ต้นอายุมากๆ ผลที่ติดต่ำๆ กับผลที่ติดชิดโคนกิ่ง จะมีคุณภาพดีกว่าผลที่ติดสูงๆหรือค่อนไปทางปลายกิ่ง (ลูกยอด) โดยผลที่อยู่ต่ำกับชิดโคนกิ่งจะได้รับอาหารที่ต้นลำเลียงส่งไปให้ก่อน ที่เหลือจึงจะผ่านไปให้ผลที่อยู่ถัดไป ทำให้ผลที่อยู่สูงมากๆ หรือสูงสุดได้รับธาตุอาหารน้อย

- ต้นสูงมาก 8-10 ม. ขึ้นไป เพิ่มปริมาณธาตุอาหารโดยให้ทางใบด้วยการติดตั้งสปริงเกอร์ในทรงพุ่มและเหนือยอดสูงสุดของต้น เมื่อให้ “น้ำ + ปุ๋ยทางใบ + ธาตุรอง/ธาตุเสริม + ฮอร์โมน” ผ่านสปริงเกอร์พอเปียกใบ หรือให้จนโชกแล้วตกลงพื้นที่โคนต้นก็ถือเป็นการให้น้ำตามปกติได้ด้วย

- ตัดต้น (ยอดประธาน) เพื่อควบคุมความสูง และตัดกิ่งประธานเพื่อควบคุมความกว้างของขนาดทรงพุ่มแล้วสร้างใบใหม่ก็จะได้ต้นที่มีขนาดและรูปทรงตามต้องการ การตัดแต่งกิ่งเพื่อควบ คุมขนาดทรงพุ่มตั้งแต่ทุเรียนมีอายุต้นยังน้อยจะส่งผลดีต่อการเจริญ เติบโตของต้น และคุณภาพของผลผลิตระยะยาว

- เคยมีผู้เปรียบเทียบระหว่างต้นสูงมากๆ ตามธรรมชาติ กับต้นควบคุมความสูงไว้ที่ 5 ม. ด้วยการตัดแต่งตั้งแต่แรก พบว่า ต้นมีความสูงมากๆตามธรรมชาติ ผลที่ติด ณ ความสูง 1 ใน 3 ของความสูงต้นจากพื้น ทุกผลจะเป็นผลที่มีคุณภาพดี ส่วนผลที่ติดในบริเวณความสูง 2 ใน 3 ของต้นที่เหลือจะไม่ดี หรือในต้นทุเรียนที่มีความสูงมากๆ ตามธรรมชาติจะให้ ผลดีมีคุณภาพเพียง 1 ใน 3 ของผลทั้งต้นเท่านั้น .... ต้นที่มีการควบคุมความสูง 3-4 ม. ทรงพุ่มกว้าง 5-6 ม. ให้ปริมาณผลดกกว่า และคุณภาพเหนือกว่าต้นสูงตามธรรมชาติ

ข้อเปรียบเทียบนี้ได้จาก การบำรุงทุเรียนโดยให้ปุ๋ยทางรากอย่างเดียว ไม่มีการให้ปุ๋ยทางใบ หรือให้ปุ๋ยทางใบน้อยมากเนื่องจากเครื่องมือให้ปุ๋ยทางใบไม่พร้อม (ลากสายยาง หรือสะพายเป้) แต่หากได้ให้ปุ๋ยทางใบ ถูกสูตร/ถูกระยะ/สม่ำเสมอ/ต่อเนื่อง ทั้งช่วงมีผลต้นและไม่มีผลบนต้น ด้วยเครื่องมือให้ปุ๋ยทางใบอย่างสปริงเกอร์หม้อปุ๋ย เมื่อปุ๋ยผ่านใบเข้าสู่ต้น ก็จะช่วยให้ลูกยอดที่ปลายกิ่งได้รับสารอาหาร ไม่เป็นพูหลอก กับทั้งคุณภาพดีเหมือนลูกโคนกิ่งโคนต้น

สารอาหารพร้อม อุปกรณ์พร้อม คนพร้อม ต้นทุเรียนพร้อม :
ทางใบ : ให้ไบโออิ + ยูเรก้า + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7-10 วัน ในรอบ 1-2 เดือน หาจังหวะให้น้ำตาลทางด่วน 1 ครั้ง

ทางราก : ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ กระดูกป่น ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ หญ้าแห้งใบไม้แห้งคลุมโคนต้นหนาๆ ทั่วพื้นที่ทรงพุ่ม .... น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 2 ล./ไร่ รดทั่วพื้นที่เพราะรากทุเรียนแผ่กระจายทั่วแปลง เป็นการบำรุงดินสำหรับรากทุเรียนจะเจริญยาวไปหา .... ให้ 21-7-14 (1 กก. ต้นเล็ก, 2 กก. ต้นใหญ่) /เดือน โดยละลายน้ำรดทั่วทรงพุ่ม เพราะรากทุเรียนแผ่กระจายทั่วพื้นที่ทรงพุ่ม

- เนื่องจากทุเรียนที่ให้ผลผลิตแล้ว มีความต้องการสารอาหารในปริมาณที่มากกว่าไม้ผลชนิดอื่นๆ ดังนั้น ต้องให้สารอาหารทั้งทางรากและทางใบ อย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ โดย เฉพาะช่วงพักต้นหรือช่วงเตรียมต้น หรือช่วงที่ยังไม่ออกดอกติดผล จะต้องให้ทั้งสารอาหารตัวหลัก (Mg. Zn. CaB.) และสารอาหารตัวเสริม (น้ำตาลทางด่วน)

- ช่วงมีผลอยู่บนต้น ถ้าสารอาหารไม่เพียงพอจะทำให้ หลังเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วจะเกิดอาการต้นโทรมอย่างเห็นได้ชัด เพราะฉะนั้นการให้สารอาหารทางราก (อินทรีย์ + เคมี) จะต้องต่อเนื่อง สม่ำเสมอ อย่างแท้จริง

ทุเรียนกับระบบสปริงเกอร์ :
สปริงเกอร์ทุเรียนอายุ 20 ปี ต้น ใหญ่/สูง/กว้าง ตามปกติธรรมชาติ :
- ทางใบต้นละ 2 หัว (โซนละ 20 ต้น = 40 หัว)
- ทางรากต้นละ 3 หัว (โซนละ 20 ต้น = 60 หัว

เปรียบเทียบ ทุเรียน 20 ต้น ให้ทางใบ :
- สปริงเกอร์นาน 5 นาที = ไฟฟ้า 5 นาที
- ลากสายยางฉีดพ่นที่ละต้น ต้นละ 5 นาที +เดิน = ไฟฟ้า 100 (+) นาที
ต่อการทำงาน 1 ครั้ง

เปรียบเทียบ ทุเรียน 20 ต้น ให้ทางราก :
- สปริงเกอร์ให้พร้อมกันทั้ง 20 ต้น นาน 10 นาที = ไฟฟ้า 10 นาที
- ลากสายยางฉีดพ่นที่ละต้น ต้นละ 10 นาที +เดิน นาน 200 นาที = ไฟฟ้า 200 (+) นาที
ต่อการทำงาน 1 ครั้ง

ต้นทุนค่าไฟฟ้าที่ RKK :
- คน (กิน อยู่), โรงปุ๋ย (โมลิเน็กซ์ยักษ์), ต้นไม้ (สปริงเกอร์) เดือนละ 900
- เฉพาะปั๊มบาดาล (ซัมเมิร์ซ) อย่างเดียว เดือนละ 1,000 .... ใช้งานปีละ 2 เดือน ช่วงที่ชลประทานไม่ปล่อยน้ำ เพื่อให้ชาวนาเกี่ยวข้าว

ทำงานได้เต็มที่ส่งผลให้ บำรุงเต็มที่ = ได้ผลเต็มที่ :
- ประสิทธิภาพประสิทธิผล ทุเรียนต้น ใหญ่/สูง/กว้าง ไม่คิดไม้ เสริม/แซม/แทรก ด้วยแรงงานคนเดียว

- ใช้สารสมุนไพรได้เต็มที่ ณ เวลาที่ต้องการ (ผลผลิต ใช้สารสมุนไพรจะได้รสชาดจัดจ้านดีกว่า ผลผลิตที่ใช้สารเคมียาฆ่าแมลง .... อ้างอิง : RKK)

- ไอพีเอ็ม กับดักกาวเหนียว แมลงปากกัดปากดูด แมลงวันทอง
- บำรุงต้นสมบูรณ์เป็นภูมิต้านทานโรค

ประสบการณ์ตรง :
สวนทุเรียนหมอนทองที่ อ.เขาคิฌกูฏ จ.จันทบุรี อายุต้น 5-10 ปี ให้ผลผลิตแล้ว เตรียมดินโดยการใส่ยิบซั่ม กระดูกป่น มูลวัว+มูลไก่ ทุก 6 เดือน คลุมหน้าดินบริเวณโคนต้นด้วยเศษใบไม้แห้ง ใบหญ้า หนาประมาณประมาณ 50 ซม. เต็มพื้นที่ทรงพุ่ม ปีละครั้ง .... บำรุงต้นตามขั้นตอนทุกประ การ ปรากฏว่าต้นสมบูรณ์มากเมื่อแหวกเศษพืชคลุมโคนต้นออกดู พบว่ามีรากจำนวนมากชอนไชขึ้นจากพื้นดินมาอยู่ในเศษพืชแห้งนั้น รากอวบใหญ่ยาวสวยมาก .... หลังจากให้ผลผลิตรุ่นนั้นแล้ว

หมอนทองต้นนั้นออกดอกต่อ แล้วก็ออกต่อเรื่อยๆ จนกลายเป็นทุเรียนทะวายออกดอกติดผลไม่มีรุ่น ทำให้การบำรุงยุ่งยากมาก จึงตัดสินใจ “ลุย” บำรุงด้วยสูตร “สะสมตาดอก-บำรุงผล-ฮอร์โมนน้ำดำ-สาหร่าย + ไคติน ไคโตซาน + แคลเซียม โบรอน” ทั้ง 4 สูตร สลับกันสูตรละอาทิตย์ (ตอนนั้นยังไม่มีฮอร์โมนไข่) .... ผลจากการบำรุงด้วยสูตร “ขยายขนาด-หยุดเมล็ด-สร้างเนื้อ” ทำให้ได้ผลขนาดใหญ่กว่า 8-10 กก. และไม่สามารถบำรุงด้วยสูตร “ปรับปรุงคุณภาพก่อนเก็บเกี่ยว หรือ เร่งหวาน” ได้ ทุเรียนทำท่าจะไม่มีคุณภาพ

แนวทางแก้ไข คือ ขายทุเรียนดิบ สำหรับทำทุเรียนทอดกรอบ คนซื้อนอกจากเหมารุ่นนี้หมดสวนแล้วยังจองรุ่นหน้าและรุ่นต่อๆ ไปอีกด้วย

- การทำให้ทุเรียนพันธุ์หมอนทองดอกดอกติดลูกได้ตลอดปีแบบไม่มีรุ่นได้นั้น ขึ้นอยู่กับการบำรุง ทั้งทางใบทางราก สม่ำเสมอ ต่อเนื่อง ตลอดทั้งปี

- ทุเรียนก้านยาว บางกรวย นนทบุรี ของ ร.ต.ท.สุชินฯ สน.พระราชวัง ให้ผลผลิตสูงสุดถึง 102 ผลต่อต้น ไซส์ลูกละ 2 กก. ราคาหน้าสวน กก.ละ 500 ไม่พอขาย ....

สองพ่อลูก ปากเกร็ด นนทบุรี ไปหาที่ไร่กล้อมแกล้ม ยืนยันทำตามแนวที่แนะนำ คือ ทำแบบของผู้หมวดสุชินฯ ก้านยาวต้นเดียวก็ได้กว่า 100 ลูกเหมือนกัน ....

ขั้นตอนการปฏิบัติบำรุงต่อทุเรียน
1. เรียกใบอ่อน

ทางใบ :
- ให้ไบโออิ 25-5-5 + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่ม

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ กระดูกป่น ปุ๋ยคอก (ขี้วัวขี้ไก่ไข่ แกลบดิบ แห้งเก่าข้ามปี) ครั้งที่ 1 ของรุ่นหรือปีการผลิต

- คลุมโคนต้นด้วยเศษพืชแห้งหนาๆ เต็มพื้นที่บริเวณทรงพุ่ม ล้ำออกไปถึงนอกเขตทรงพุ่ม
- ให้ 25-7-7 (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นกลาง, 2 กก.ต้นใหญ่) /ต้น ละลายน้ำรดโคนต้น เขตทรงพุ่ม

- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 (2 ล.) /ไร่ รดทั่วแปลงทุกตารางนิ้ว 1-2 เดือน/ครั้ง

- ให้น้ำเปล่า ทุก 3-5 วัน

หมายเหตุ :
- เริ่มลงมือทันทีหลังจากผลลูกสุดท้ายหลุดจากต้น และหลังหลังจากตัดแต่งกิ่ง โดยตัดทิ้งกิ่งกระโดง กิ่งคด กิ่งงอ กิ่งไต้ท้องกิ่งประธาน กิ่งที่ลำต้น

- เทคนิคการ ตัดแต่ง-เรียกใบอ่อน แบบ “บำรุงก่อนตัด” กล่าวคือ ระหว่างที่ต้นเลี้ยงลูกนั้น ต้นต้องใช้พลังงานอย่างมาก จนทำให้ต้นโทรม หลังจากผลลูกสุดท้ายหลุดจากต้นแล้วให้บำรุงด้วยสูตรเรียกใบอ่อน ทั้งทางใบและทางราก หรือเฉพาะทางใบอย่างเดียวก่อน 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน เพื่อให้ต้นได้ใช้ใบเดิมที่มีสังเคราะห์อาหาร เมื่อเห็นว่า ต้นมีอาการสมบูรณ์ดี ทำท่าจะแตกยอดใหม่ ก็ให้ปฏิบัติการเรียกใบอ่อนทันที การที่ต้นมีความสมบูรณ์อยู่ ต้นก็จะแตกใบอ่อนใหม่ เร็ว ดี มาก และพร้อมกันทั่วทั้งต้น

- หลังจากให้ทางใบไปแล้ว 5-7 วัน ถ้าต้นใดแตกใบอ่อนน้อยกว่า 50% ให้ฉีดพ่นซ้ำรอบสองด้วยอัตราและวิธีการเดิม เพราะถ้าต้นแตกใบอ่อนไม่พร้อมกันทั่วทั้งต้นจะส่งผลเสียหลายอย่างตั้งแต่การเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่. การสะสมอาหารเพื่อการออก. การปรับ ซี/เอ็น เรโช. การเปิดตาดอก. ซึ่งจะออกดอกไม่พร้อมกันทั่วทั้งต้น และเมื่อดอกออกไม่พร้อมกันก็จะกลายเป็นผลไม่พร้อมกันทำให้ยุ่งยากต่อการปฏิบัติบำรุงตามขั้นตอนอย่างมาก .... แนวทางแก้ไข คือ ต้องบำรุงเรียกใบอ่อนให้ออกมาเป็นชุดเดียวพร้อมกันทั้งต้นให้ได้

- เทคนิคหรือวิธีการเรียกใบอ่อน ให้ใบอ่อนออกพร้อมกันทั้งต้น อย่างหนึ่งคือ บำรุงก่อนตัดแต่งกิ่ง เพราะต้นได้รับสารอาหาร (ทางใบ-ทางราก) สร้างความสมบูรณ์ไว้ก่อน แม้ไม่ให้ปุ๋ยเรียกใบอ่อนต้นก็จะแตกใบอ่อนเองอยู่แล้ว ครั้นได้รับการ “กระตุ้น-กระแทก” ด้วยปุ๋ยกลุ่มเรียกใบอ่อน ต้นจึงแตกใบอ่อนได้ทั่วทั้งต้นดี นั่นแล

- สิ่งบ่งชี้ถึงความสมบูรณ์ของต้นคือการแตกใบอ่อน ถ้าต้นสมบูรณ์ดีจะแตกใบอ่อนออกมาพร้อมกันทั่วทั้งต้น ระยะการแตกใบอ่อนไม่เกิน 5-7 วัน แต่ถ้าต้นไม่สมบูรณ์จริง การแตกใบอ่อนจะออกมาไม่พร้อมกันทั่วทั้งต้น แม้ระยะเวลาจะผ่านไปนานนับสัปดาห์แล้วก็ตาม

- ความสมบูรณ์ของต้นอันเกิดจากการบำรุงของรุ่นปีการผลิตที่ผ่านมา มีผลอย่างมากต่อการบำรุงเรียกใบอ่อนรุ่นปีการผลิตปัจจุบัน รุ่นปีการผลิตที่ผ่านมา ถ้าต้นได้รับการบำรุงถูกต้องสม่ำเสมอ หรือต้นไม่โทรม การเรียกใบอ่อนก็จะแตกออกมาเร็วพร้อมกันทั่วทั้งต้นดี แต่ถ้าต้นไม่สมบูรณ์หรือโทรม ใบอ่อนชุดใหม่ก็จะแตกไม่พร้อมกันทั่วทั้งต้น

- รักษาใบอ่อนที่แตกใหม่ละชุดให้รอดพ้นจากโรคและแมลงให้ได้ ถ้าใบอ่อนชุดหนึ่งชุดใดถูกทำลายไปจะต้องเริ่มเรียกใบชุดที่หนึ่งใหม่

- ทุเรียนต้องการใบอ่อน 3 ชุด .... ถ้าได้ใบอ่อน 1 ชุดจะได้ดอก 10-20% .... ถ้าได้ใบอ่อน 2 ชุดจะได้ดอก 30-40% .... ถ้าได้ใบอ่อน 3 ชุดจะได้ดอก 70-80%

- เพื่อความสมบูรณ์เต็ม 100% ต้องเรียกใบอ่อนให้ได้ 3 ชุด (3 ชั้น) แต่ละรุ่นให้เป็นใบแก่ภายใน 45 วัน

- ทุเรียนโตที่ให้ผลแล้ว การตัดแต่งกิ่งทุเรียนที่ให้ผลแล้วจะทำ 3 ระยะด้วยกัน .... ตัดแต่งกิ่งครั้งแรก หลังจากเก็บเกี่ยวผลเรียบร้อยแล้ว ครั้งที่ 2 ตัดแต่งกิ่งตะขาบ กิ่งน้ำค้าง กิ่งกระโดง กิ่งเป็นโรคอื่น ๆ ที่ไม่มีประโยชน์ ครั้งสุดท้ายหลังจากติดผลแล้ว ขนาดผลประมาณเท่าผลส้มเขียวหวาน ควรตัดแต่งพร้อมกับการตัดแต่งผล

2. เร่งใบอ่อนเป็นใบแก่ :





.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 27/01/2024 3:45 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 26/01/2024 1:24 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
2. เร่งใบอ่อนเป็นใบแก่ :
ทางใบ :
- ให้ไบโออิ 0-21-74 หรือ 0-39-39 สูตรใดสูตรหนึ่ง + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน ฉีดพ่นทั่วทรงพุ่ม

- ฉีดพ่นสารสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- ให้ 8-24-24 (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นกลาง, 2 กก.ต้นใหญ่) /ต้น ละลายน้ำรดโคนต้น เขตทรงพุ่ม

- ให้น้ำปกติ ทุก 2-3 วัน

หมายเหตุ :
- ลงมือปฏิบัติเมื่อใบอ่อนเริ่มแผ่กางหรือเพสลาด
- วัตถุประสงค์เพื่อเร่งใบชุดใหม่ให้สามารถสังเคราะห์อาหารได้ และเร่งระยะเวลาเรียกใบอ่อนชุดต่อไปได้เร็วขึ้น กับทั้งเพื่อให้ใบอ่อนรอดพ้นจากทำลายของแมลงปากกัดปากดูด

- สารอาหารในกลุ่มเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่มีฟอสฟอรัส. และโปแตสเซียม. นอกจากช่วยเร่งใบอ่อนเป็นใบแล้วยังช่วยเสริมประสิทธิภาพขั้นตอนสะสมอาหารเพื่อการออกดอกได้ด้วย

วิธีเร่งใบอ่อนให้เป็นใบแก่ :
วิธีที่ 1 .... ถ้าต้นสมบูรณ์ดี มีการเตรียมดินและปรับปรุงบำรุงดินสม่ำเสมอต่อเนื่องมาหลายๆปีแล้วหลังจากใบอ่อนชุดแรกเพสลาดแล้วให้เรียกใบอ่อนชุด 2 ต่อ ใบชุด 2 นี้อาจจะออกไม่พร้อมกันทั้งต้นเหมือนชุดแรก แต่ก็ไม่ควรห่างกันเกิน 7-10 วัน หลังจากใบอ่อนชุด 2 เพสลาดก็ให้เรียกใบอ่อนชุด 3 ต่อได้เลยอีกเช่นกัน
การที่ใบอ่อนชุด 2 ออกไม่พร้อมกันนั้นจะส่งผลให้ใบอ่อนชุด 3 ออกไม่พร้อมกันทั้งอีกด้วย และสุดท้ายเมื่อใบอ่อนชุด 3 เพสลาดจึงเข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงต่อไปตามปกติ

วิธีที่ 2 .... หลังจากใบอ่อนชุดแรกแผ่กางแล้วเร่งให้เป็นใบแก่ ได้ใบแก่แล้วงดน้ำให้ใบสลดจนใบแก่โคนกิ่งร่วง 1-2 ใบ ให้ลงมือเรียกใบอ่อนชุด 2 เมื่อใบอ่อนชุด 2 แผ่กางให้เร่งเป็นใบแก่ เมื่อใบชุด 2 เป็นใบแก่แล้วงดน้ำให้ใบสลดจนใบแก่โคนกิ่งร่วง 1-2 ใบ ก็ให้ลงมือเรียกใบอ่อนชุด 3 และสุดท้ายเมื่อใบอ่อนชุด 3 เพสลาดจึงเข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงต่อไปตาม ปกติ

( วิธีที่ 1 ได้ผลดีกว่าวิธีที่ 2 เพราะต้นจะมีอาการโทรมน้อยกว่า..)

- ใบอ่อนที่ออกมาแล้วปล่อยให้เป็นใบแก่เองตามธรรมชาติต้องใช้ระยะเวลา 30-45 วัน

3. สะสมอาหารเพื่อการออกดอก :
ทางใบ :
- ให้ไบโออิ 0-42-56 + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน ฉีดพ่นทั่วทรงพุ่ม คิดต่อกันนาน 1-2 เดือน

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- ให้ 8-24-24 (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นกลาง, 2 กก.ต้นใหญ่) /ต้น ละลายน้ำรดโคนต้น เขตทรงพุ่ม

- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง8-24-24 (2 ล.)/ต้น /เดือน รดทั่วแปลงทุกตารางนิ้ว

- ให้น้ำเปล่าปกติทุก 2-3 วัน

หมายเหตุ :
- เริ่มปฏิบัติหลังจากใบอ่อนชุดสุดท้ายเพสลาด
- แนวทางบำรุงให้ต้นได้สะสมอาหารเพื่อการออกดอกไว้มากที่สุด ควรเตรียมแผนใช้เวลาบำรุง 2-2 เดือนครึ่ง ในห้วงนี้ให้น้ำตาลทางด่วน (กลูโคส) 2 รอบ โดยรอบแรกให้เมื่อเริ่มลงมือบำรุงและให้รอบสองห่างจากรอบแรก 20-30 วัน

- ปริมาณ 8-24-24 ใส่มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณการติดผลในรุ่นที่ผ่านมา กล่าว คือ ถ้ารุ่นที่ผ่านมาติดผลดกมาก ผลผลิตมีคุณภาพดีมาก ให้ใส่ในปริมาณที่มากขึ้น แต่ถ้ารุ่นที่ผ่านมาติดผลดกน้อยหรือไม่ติดผลเลย ให้ใส่ในปริมาณปานกลาง

- การเพิ่มปริมาณปุ๋ยให้มากขึ้น หมายถึง การให้อัตราเดิมแต่ระยะเวลาให้ถี่ขึ้น เช่น จากเคยให้ 15 วัน/ครั้ง ก็ให้เปลี่ยนเป็น 10 วัน/ครั้ง

- ก่อนเข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงขั้นต่อไป คือ ปรับ ซี/เอ็น เรโช. ให้ทบทวนความทรงจำเมื่อครั้งเรียกใบอ่อนแล้วใบอ่อนออกมาพร้อมกันเป็นชุดเดียวทั่วทั้งต้นหรือไม่ ถ้าใบอ่อนออกมาพร้อมกันดีทั่วทั้งต้นให้ปรับ ซี/เอ็น เรโช. ต่อไปได้เลย แต่ถ้าใบอ่อนออกมาไม่พร้อมกันเป็นชุดเดียวทั่วทั้งต้นและค่อนข้างต่างรุ่นกันมากก็ให้บำรุงสะสมอาหารเพื่อการออกดอกต่อไปอีก 2-3 รอบ เพื่อรอให้ใบอ่อนชุดหลังสะสมอาหารจนอั้นตาดอกดีเท่ากับใบอ่อนชุดแรกจากนั้นจึงลงมือปรับ ซี/เอ็น เรโช. ทั้งนี้ วัตถุประสงค์เพื่อทำให้มีดอกออกมาพร้อมกันเป็นชุดเดียวกันทั่วทั้งต้นนั่นเอง

4. ตรวจสอบสภาพอากาศก่อนปรับ ซีเอ็น เรโช :
ก่อนเริ่มลงมือปรับ ซี/เอ็น เรโช (งดน้ำ) และก่อนลงมือเปิดตาดอกต้องแน่ใจว่า ระหว่างที่กำลังบำรุงทั้งสองขั้นตอนนี้จะต้องไม่มีฝน เพราะถ้ามีฝนตกลงมาการงดน้ำก็ล้ม เหลว และดอกที่ออกมาจะได้รับความเสียหาย .... ถ้ารู้แน่ว่าช่วงงดน้ำและเปิดตาดอกถึงช่วงดอกออกมาแล้วจะมีฝนก็ให้ระงับการปรับ ซี/เอ็น เรโช และเปิดตาดอกไว้ก่อน ให้บำรุงต้นต่อไปอีกด้วยสูตรสะสมอาหารเพื่อการออกดอก จากนั้นอาจจะปรับแผนการบำรุงเพื่อทำให้ทุเรียนออกล่าฤดูด้วยการเลื่อนเวลาเริ่มปรับ ซี/เอ็น เรโช และเปิดตาดอกให้ช้าออกไปเท่าที่สภาพภูมิ อากาศจะอำนวยก็ได้

5. ปรับ ซี/เอ็น เรโช
ทางใบ :
- ให้ไบโออิ 0-42-56 + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ ระวังอย่าให้โชกจนตกลงถึงพื้น

- ฉีดพ่นสารสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- เปิดหน้าดินโคนต้น โดยนำอินทรีย์วัตถุคลุมโคนต้นออก ให้แดดส่องได้ทั่วพื้นดินทรงพุ่ม
- งดให้น้ำเด็ดขาด

หมายเหตุ :
- วัตถุประสงค์เพื่อ “เพิ่ม” ปริมาณ ซี. (อาหารกลุ่มสร้างดอก-บำรุงผล) และ “ลด” ปริมาณ เอ็น. อาหารกลุ่มสร้างใบ-บำรุงต้น) ซึ่งจะส่งผลให้ต้นออกดอกหลังการเปิดตาดอก

- ก่อนลงมือปรับ ซี/เอ็น เรโช จะต้องติดตามข่าวพยากรณ์อากาศให้มั่นใจว่าระหว่างปรับ ซี/เอ็น เรโช จะไม่มีฝนตก เพราะถ้ามีฝนตกลงมา มาตรการงดน้ำก็ต้องล้มเหลว

- ต้นที่อั้นตาดอกดีจนพอใจแล้วไม่ต้องฉีดพ่นน้ำตาลทางด่วน (กลูโคส) เพิ่มอีก แต่ถ้าต้นมีอาการอั้นตาดอกไม่ดีหรือยังไม่น่าพอใจ แนะนำให้ฉีดพ่นน้ำตาลทางด่วนทางใบอีกซ้ำอีก 1 รอบ โดยเว้นระยะเวลาให้ห่างจากที่เคยให้เมื่อช่วงสะสมอาหารไม่น้อยกว่า 30-45 วัน

- ขั้นตอนการปรับอัตราส่วน ซี/เอ็น เรโช. สมบูรณ์หรือไม่ ในทุเรียนไม่อาจสังเกตจากอาการใบสลดได้ แต่ให้สังเกตจากลักษณะใบใหญ่ หนา เขียวเข้ม ใบคู่สุดท้ายปลายกิ่งแก่จัด กิ่งช่วงปลายและใบกรอบเปราะ ข้อใบสั้น หูใบอวบอ้วน

- เมื่องดน้ำ (ไม่รดน้ำ) แล้วต้องควบคุมปริมาณน้ำใต้ดินโคนต้นไม่ให้มากเกินไปโดยการทำร่องระบายน้ำใต้ดินหรือร่องสะเด็ดน้ำด้วย

6. สำรวจความพร้อมของต้น ก่อนเปิดตาดอก :
- เนื้อใบหนาเขียวเข้มส่องแดดไม่ทะลุ เส้นใบนูนเด่น หูใบอวบอ้วน ข้อใบสั้น ใบคู่สุดท้ายปลายกิ่งแก่จัด กิ่งช่วงปลายกลมเปราะหักง่าย มองจากภายนอกระยะไกลๆ เห็นความสมบูรณ์ทางทรงพุ่มชัดเจน

- ผิวเปลือกตามลำต้นสดใสมีอาการแตกปริ
- รากใหญ่จำนวนมาก ปลายราก (หมวกราก) ยาวอวบอ้วนสดใส

7. ตรวจสอบสภาพอากาศ ก่อนเปิดตาดอก :
ก่อนลงมือเปิดตาดอกให้ตรวจสอบข่าวสภาพอากาศให้แน่ใจว่าในอีก 15-20 วัน ข้างหน้าหรือวันที่ช่อดอกเริ่มแทงออกมานั้น จะต้องไม่มีฝนตกหรือมีสภาพอากาศปิด (ครึ้มฟ้าครึ้มฝน) เพราะสภาพอากาศปิดหรือมีฝน ต้นทุเรียนจะเปิดตาดอกไม่ออก แม้จะอั้นตาดอกดีเพียงใดก็ตาม แต่กลับแทงใบอ่อนออกมาแทน กรณีนี้ให้ระงับการเปิดตาดอกไว้ก่อนแล้วบำรุงต้นด้วยสูตร “สะสมอาหารเพื่อการออกดอก” ต่อไปจนกว่าจะมั่นใจว่าในวันที่ช่อดอกออกมานั้นไม่มีฝนหรืออากาศเปิดแน่จึงลงมือเปิดตาดอก

8. เปิดตาดอก
ทางใบ :
สูตร 1 ...น้ำ 100 ล.+ 13-0-46 (500 กรัม) + ไธโอยูเรีย 250 กรัม + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + สาหร่ายทะเล 100 ซีซี. + สารสมุนไพร 250 ซีซี. .... ข้อควรระวัง อัตราการใช้ 13-0-46 + ไธโอยูเรีย. เข้มข้นกว่านี้อาจทำให้ใบเหลือง ใบไหม้ แล้วร่วงได้ โดยทุเรียนจะไม่ออกดอกชุดนี้แต่จะออกดอกช้ากว่ากำหนด หรือเป็นชุดต่อไป

สูตร 2 .... น้ำ 100 ล. + ไทเป 200 ซีซี. + 0-52-34 (500 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + สาหร่ายทะเล 100 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.

เลือกใช้สูตรใดสูตรหนึ่ง หรือสลับกันทั้งสองสูตร

ทางราก :
- ยังคงเปิดหน้าดินโคนต้นเหมือนช่วงปรับ ซี/เอ็น เรโช
- ให้ 8-24-24 (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นกลาง, 2 กก.ต้นใหญ่) /ต้น ละลายน้ำรดโคนต้น เขตทรงพุ่ม

- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง 8-24-24 (2 ล.) /ต้น /เดือน รดทั่วแปลงทุกตารางนิ้ว

- ให้น้ำเปล่าปกติทุก 2-3 วัน

หมายเหตุ :
- เริ่มปฏิบัติเมื่อต้นมีอาการอั้นตาดอกดีทั่วต้นและสภาพอากาศพร้อม
- เลือกใช้สูตรใดสูตรหนึ่งเพียงสูตรเดียว
- ธรรมชาตินิสัยของทุเรียน เป็นไม้ผลยืนต้นประเภทออกดอกง่ายอยู่แล้ว เทคนิคการใช้ไทเปที่มี 0-52-34 จำนวนหนึ่งเป็นส่วนผสมหลักอยู่ก่อนแล้วนั้น อาจเพิ่ม 0-52-34 เพิ่มขึ้น 500 กรัม เป็นการเฉพาะ เช่น "น้ำ 100 ล.+ ไทเป 100 ซีซี.+ 0-52-34 (400-500 กรัม)" ก็จะช่วยให้การเปิดตาดอกได้ผลแน่นอนยิ่งขึ้น

- การใช้ "ไทเป" ประจำ ควบคู่กับบำรุงต้นตามขั้นตอยอย่างสม่ำเสมอทำให้สมบูรณ์อยู่เสมอจนกลายเป็น "ประวัติความสมบูรณ์ต้น" จะทำให้ทุเรียนออกดอกติดผลแบบทะวายไม่มีรุ่นได้ตลอดปี ... .ผลผลิตทุเรียนแบบไม่มีรุ่นนี้เหมาะสำหรับทำทุเรียนทอดกรอบ

- หลังจากเปิดตาดอกแล้ว ถ้าดอกออกมาไม่มากพอ ระหว่างที่ดอกชุดแรกยังเป็นดอกตูมอยู่นั้น ให้เปิดตาดอกซ้ำอีก 1-2 รอบด้วยสูตรเดิม หรือจนกระทั่งดอกชุดแรกบานแล้วจึงยุติการเปิดตาดอกซ้ำ

9. บำรุงดอก :
ทางใบ :
-ให้ไบโออิ 1545-15 (หน้าฝน) หรือ 0-52-34 (หน้าแล้ง) + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอละ 7 วัน ฉีดพ่นทั่วทรงพุ่ม

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- ยังคงเปิดหน้าดินโคนต้น
- ให้ 8-24-24 (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นกลาง, 2 กก.ต้นใหญ่) /ต้น ละลายน้ำรดโคนต้น เขตทรงพุ่ม

- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง 8-24-24 (2 ล.) /ต้น /เดือน รดทั่วแปลงทุกตารางนิ้ว

- ให้น้ำปกติ ทุก 2-3 วัน

หมายเหตุ :
ช่วงดอกตั้งแต่เริ่มแทงออกมาให้เห็นหรือระยะดอกตูมบำรุงด้วยฮอร์โมน เอ็นเอเอ. 1-2 รอบ จะช่วยบำรุงเกสรทั้งตัวผู้และตัวเมียให้สมบูรณ์พร้อมรับผสม แต่ต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง เพราะถ้าให้เข้มข้นเกินไปจะเกิดความเสียหายต่อดอก และถ้าให้อ่อนเกินไปก็จะไม่ได้ผล

- ช่วงดอกเริ่มแทงออกมาใหม่ๆให้แคลเซียม โบรอน.1 รอบ จะช่วยให้ดอกสมบูรณ์ผสมติดดี
- ช่วงดอกตูมควรฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรให้บ่อยขึ้น เพื่อป้องกันกำจัดโรคและแมลงจนถึงช่วงดอกบาน

- ช่วงดอกบานควรงดการฉีดพ่นทางใบ เพราะอาจทำให้เกสรเปียกจนผสมไม่ติดได้
- ระยะดอกบานถ้าตรงกับช่วงฝนชุกเกสรจะเปียกชื้นทำให้ผสมไม่ติด แก้ไขโดยกะระยะเวลาบำรุงให้ดอกออกมาแล้วไม่ตรงกับช่วงฝนชุกเท่านั้น แต่ถ้าดอกออกมาตรงกับช่วงแล้งอากาศร้อนมากเกสรจะฝ่อทำให้ผสมไม่ติดเช่นกัน แก้ไขโดยสร้างความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศและที่พื้นดินในทั้งในแปลงปลูกและรอบๆแปลงปลูก มาตรการบำรุงต้นและดอกให้สมบูรณ์อย่างแท้จริงอยู่เสมอสามารถช่วยลดความสูญเสียได้เป็นอย่างมาก

- เพื่อความมั่นใจในเปอร์เซ็นต์หรือประสิทธิภาพของฮอร์โมน เอ็นเอเอ. แนะนำให้ใช้ฮอร์โมน เอ็นเอเอ.วิทยาศาสตร์จะได้ผลแน่นอนกว่าการใช้ฮอร์โมน เอ็นเอเอ. ทำเอง

- ฉีดพ่นสารอาหารเพื่อบำรุงดอกด้วยเครื่องมือฉีดพ่นที่มีแรงลมพ่นเบาที่สุด ตามความเหมาะสมเพื่อไม่ให้กระทบกระเทือนต่อส่วนต่างๆ ของดอก ฉีดพ่นที่ช่อดอกโดยตรงพอเปียกหรือฉีดพ่นให้ทั่งทรงพุ่มพอเปียกใบก็ได้

- บำรุงดอกช่วงฝนชุกให้เน้น “สังกะสี และ แคลเซียม โบรอน” โดยให้เมื่อดอกออกมาแล้วหรือให้แบบสะสมล่วงหน้าตั้งแต่ช่วงเปิดตาดอก ด้วยวิธีให้เดี่ยวๆ หรือผสมรวมไปกับธาตุอาหารอื่นๆ ก็ได้

- การไม่ใช้สารเคมียาฆ่าแมลงเลยติดต่อกันเป็นเวลานานๆ จะทำให้มีผึ้งหรือมีแมลงธรรมชาติอื่นๆ จำนวนมาก เข้ามาช่วยผสมเกสรซึ่งจะส่งผลให้ติดผลดกขึ้น

- ต้นที่ได้รับ แม็กเนเซียม (จากไบโออิ). โบรอน (จากแคลเซียม โบรอน). สม่ำเสมอแบบสะสม ถึงช่วงออกดอกแล้วเจอฝน ดอกจะแข็งแรงไม่ร่วงง่ายๆ หรือติดเป็นผลได้ดีเหมือนปกติ

10. บำรุงผลเล็ก - กลาง :
ทางใบ :
- ให้ไบโออิ + ยูเรก้า + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน ฉีดพ่นทั่วทรงพุ่ม

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- นำอินทรีย์วัตถุกลับเข้าคลุมโคนต้นให้เหมือนเดิม
- ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ กระดูกป่น ปุ๋ยคอก (ขี้วัวขี้ไก่ไข่ แกลบดิบ แห้งเก่าข้ามปี) ครั้งที่ 2 ของรุ่นหรือปีการผลิต

- คลุมโคนต้นด้วยเศษพืชแห้งหนาๆ เต็มพื้นที่บริเวณทรงพุ่ม ล้ำออกไปถึงนอกเขตทรงพุ่ม
- ให้ 21-7-14 (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นกลาง, 2 กก.ต้นใหญ่) /ต้น ละลายน้ำรดโคนต้น เขตทรงพุ่ม

- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 21-7-14 (2 ล.) /ไร่ รดทั่วแปลงทุกตารางนิ้ว 1-2 เดือน/ครั้ง

- ให้น้ำเปล่าปกติทุก 2-3 วัน

หมายเหตุ :
- เริ่มปฏิบัติหลังผสมติด หรือกลีบดอกร่วง
- ช่วงผลเล็กตั้งแต่เริ่มติดเป็นผลเห็นรูปร่าง ถ้าสภาพอากาศวิปริต (ร้อนจัด หนาวจัด ฝนชุก) ให้ “เอ็นเอเอ. + สาหร่ายทะเล + แคลเซียม โบรอน” 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน นอกช่วยป้องกันผลเล็กร่วงได้แล้ว ยังช่วยบำรุงผลให้พร้อมต่อการเป็นผลขนาดใหญ่คุณภาพดีในอนาคตได้อีกด้วย

- ให้ทางใบไคโตซาน + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 2-3 รอบ โดยแบ่งให้ตลอดช่วงผลกลางจะช่วยบำรุงขยายขนาดผลให้ใหญ่และเนื้อแน่นขึ้น แต่เมล็ดมีขนาดเท่าเดิม

- หาจังหวะให้น้ำตาลทางด่วน (กลูโคส) 1 ครั้ง เมื่ออายุผลแก่ได้ 50% นอกเป็นการบำรุงสร้างความสมบูรณ์แก่ต้น ส่งผลให้ผลผลิตรุ่นนี้ดี แล้วต่อไปอนาคตผลผลิตรุ่นหน้าหรือรอบหน้าอีกด้วยถึง

11. ระยะผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยว :
ช่วงฝนชุก :
ทางใบ :
- ให้ไบโออิ 16-8-24 หรือ 0-21-74 สูตรใดสูตรหนึ่ง + สารสมุนไพร 250 ซีซี. 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน ฉีดพ่นทั่วทรงพุ่ม

- ฉีดพ่นสารสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
- ให้เฉพาะช่วงฝนตกชุก หลังหมดฝนแล้วให้อีก 1 ครั้ง จากนั้นกลับเข้าสู่ขั้นตอนบำรุงปกติ

ทางราก :
- เปิดหน้าดินโคนต้น ทำร่องระบายน้ำป้องน้ำขังค้างโคนต้น
- ให้ 8-24-24 (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นกลาง, 2 กก.ต้นใหญ่) /ต้น ละลายน้ำรดโคนต้น เขตทรงพุ่ม ให้แล้วงดน้ำเด็ดขาด

หมายเหตุ :
- ช่วงผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยวแล้วมีฝนตก จะทำให้ผลทุเรียน แก่ช้า เปลือกหนา เนื้อเป็นเต่าเผา ไส้ล้ม สีไม่ออก กลิ่นไม่ออก ผลแตกและผลร่วง สาเหตุเป็นเพราะต้นได้รับไนโตรเจนจากน้ำฝนมากเกินไป

- วิธีเก็บเกี่ยวทุเรียนของชาวสวนทุเรียนเมืองนนทบุรีไม่ใช้วิธีนับอายุผล เพราะรู้ว่าเอาแน่นอนไม่ได้เนื่องจากน้ำใต้ดินโคนต้นหรืออาจจะมีฝนตก แต่ใช้วิธีปล่อยให้ผลใดผลหนึ่งร่วงจากต้นลงมาเองก่อน 1 ผล แล้วเก็บผลร่วงนั้นมาผ่าดูภายในก็จะเห็นชัดว่าทุเรียนแก่สมควรเก็บเกี่ยวได้หรือยัง เมื่อเห็นว่าแก่จัดเก็บเกี่ยวได้แล้วจะลงมือเก็บผลที่เป็นรุ่นเดียวกันนั้นก่อน จากนั้นอีก 7 วันจะลงมือเก็บรุ่นสอง และรุ่นสามไปเรื่อยๆ แต่ละรุ่นห่างกัน 5-7 วัน จนกระทั่งหมดทั้งต้น

- นำผลทุเรียนแก่ที่เก็บเกี่ยวลงมาแล้วแช่ใน "อีเทฟอน 50 ซีซี.+ น้ำ 100 ล." จนมิดทั้งผล นาน 2 นาที นำขึ้นผึ่งลมให้แห้งจากนั้นนำไปบ่มตามปกติ ผลทุเรียนจะสุกภายใน 3 วัน.... วิธีนี้ใช้กับผลที่แก่ไม่จัดก็ได้ หลังจากผลได้รับอีเทฟอนไปแล้วเนื้อจะอ่อนนุ่มเหมือนทุเรียนสุกทุกประการ แต่รสและกลิ่นไม่ดี

- ทุเรียนออกดอกติดผลที่กิ่งประธาน ผลเกิดจากกิ่งประธานคนละกิ่ง (ในต้นเดียวกัน) มักแก่ไม่พร้อมกัน แก้ไขโดยแบ่งกิ่งประธานในต้นเดียวกันนั้นเป็นกิ่งละรุ่น จากนั้นพิจารณาผลที่อยู่ในกิ่งประธานกิ่งเดียวกันแล้วเลือกผลอายุใกล้เคียงกันที่สุด (ไม่ควรห่างกันเกิน 3-5 วัน) ไว้ ซึ่งผลที่คงไว้นี้จะแก่เก็บเกี่ยวได้พร้อมกัน ส่วนผลอายุต่างจากผลอื่นมากๆให้ตัดทิ้งและการตัดทิ้งให้ทำตั้งแต่เป็นผลขนาดเล็ก เมื่อถึงช่วงเก็บเกี่ยวก็ให้เก็บผลในกิ่งประธานเดียวกันพร้อมๆกัน ซึ่งทุกผลจะแก่เท่ากัน จากนั้นจึงเลือกเก็บจากกิ่งประธานอื่นๆต่อไปตามลำดับอายุ

- เริ่มปฏิบัติก่อนเก็บเกี่ยวตามปกติ 10-20 วันและให้ปฏิบัติต่อไปจนกว่าจะหมดฝน
- การให้ทางใบด้วย 16-8-24 นอกจากช่วยปรับปรุงคุณภาพผลแล้วยังช่วยบำรุงขยายขนาดผลให้มีขนาดใหญ่ขึ้นได้อีกด้วย ส่วนการให้ทางใบด้วย 0-21-74 ช่วยปรับปรุงคุณภาพผลอย่างเดียวโดยไม่ช่วยขยายขนาดผล หรือหยุดขยายขนาดผล

- ช่วงที่มีฝนตกชุก ให้ฉีดพ่นทันทีเมื่อฝนหยุดตกใบแห้งโดยไม่จำกัดเวลา หรือฉีดพ่นก่อนฝนตก 30 นาที โดยไม่จำกัดเวลาอีกเช่นกัน

- หลังจากหมดฝนแล้วให้บำรุงด้วยสูตรเดิมและวิธีเดิมต่อไปอีก 2-3 รอบ จากนั้นให้สุ่มเก็บลงมาผ่าพิสูจน์ภายในก็จะรู้ว่าสมควรลงมือเก็บเกี่ยวได้แล้วหรือต้องบำรุงต่อไปอีก

- ถ้าฝนตกนานเป็นเดือนหรือหลายเดือนจนไม่อาจงดน้ำได้ ระหว่างนี้ผลทุเรียนจะใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ด้วยสูตรบำรุงผล บางครั้งขนาดผลใหญ่เกินเป็นทุเรียนรับประทานผลสุก กรณีนี้แก้ไขด้วยการจำหน่ายทุเรียนดิบ สำหรับทำทุเรียนทอดกรอบหรือทำแป้งทุเรียน หรือปล่อยให้แก่จัดจำหน่ายทุเรียนสุกสำหรับทำทุเรียนกวนก็ได้ .... ทุเรียนผลยักษ์เมื่อสุกให้แกะเนื้อใส่กล่องโฟมจำหน่ายก็ได้

- ช่วงผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยวแล้วมีฝนมักเกิดอาการไส้ซึม แก้ไขด้วยการให้ทางใบด้วยธาตุรอง/ธาตุเสริมสม่ำเสมอ ทั้งนี้ควรให้ตั้งแต่ยังไม่มีฝนซึ่งจะได้ผลดีกว่าให้หลังจากมีฝนแล้ว

- ต้องการผลขนาดเล็ก (พวงมณี หลงลับแล หลินลับแล) เมื่อผลโตได้ขนาดตามต้อง การแล้วให้บำรุงด้วยสูตรบำรุงผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยวทันที จากนั้นสุ่มเก็บลงมาผ่าพิสูจน์ภายในก็จะรู้ว่าเก็บเกี่ยวได้แล้ว หรือต้องบำรุงต่อ

ช่วงฝนแล้ง :
ทางใบ :
- ให้ไบโออิ 16-8-24 หรือ สูตรใดสูตรหนึ่ง + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน ฉีดพ่นทั่วทรงพุ่ม ให้ครั้งสุดท้ายก่อนเก็บเกี่ยว 5-7 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ

- ฉีดพ่นสารสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- เปิดหรือไม่เปิดหน้าดินโคนต้นและนำอินทรีย์วัตถุออกหรือไม่ต้องนำออกก็ได้
- ให้ 13-13-21 (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นกลาง, 2 กก.ต้นใหญ่) /ต้น ละลายน้ำรดโคนต้น เขตทรงพุ่ม ให้แล้วงดน้ำเด็ดขาด

หมายเหตุ :
- การบำรุงผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยวโดยให้ทางรากด้วย 13-13-21 จะทำให้ต้นโทรม หลังเก็บเกี่ยวผลสุดท้ายไปจากต้นแล้วต้องเร่งบำรุงเพื่อฟื้นฟูสภาพต้นเรียกความสมบูรณ์กลับคืนมาทันที

- บำรุงต้นให้สมบูรณ์อยู่เสมอด้วยการทำให้มีสารอาหารกิตลอด 24 ชม. ต่อเนื่องหลายๆ ปี ส่งผลให้ทุเรียนออกดอกติดผลตลอดปีแบบไม่มีฤดูกาลได้ ดังนั้นการบำรุงผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยวโดยให้ทางรากด้วย 8-24-24 จะไม่ทำให้ต้นโทรม หลังเก็บเกี่ยวผลสุดท้ายจากต้นไปแล้วเข้าสู่ขั้นตอนบำรุงต้น “สะสมอาหาร” และ “ปรับ ซี/เอ็น เรโช” จากนั้นให้สำรวจความพร้อมของต้นถ้าต้นสมบูรณ์ดีพร้อมก็ลงมือ “เปิดตาดอก” ต่อได้เลย กิ่งที่ยังไม่ออกดอกในรุ่นปีที่ผ่านมาสามารถออกดอกได้ถ้าสภาพอากาศไม่เลวร้ายจนเกินไปนักและดอกที่ออก มาก็สามารถพัฒนาให้เป็นผลได้เช่นกัน การบำรุงแบบต่อเนื่องนี้จะสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อต้นมีความสมบูรณ์แข็งแรงอย่างแท้จริง โดยเฉพาะต้นสาวที่ให้ผลผลิตน้อยทั้งๆที่บำรุงอย่างดีจะสามารถทำได้ง่าย


================================================
================================================


น้อยหน่า
ลักษณะทางธรรมชาติ :

- เป็นพืชเมืองร้อน ปลูกได้ทุกภาค ทุกพื้นที่ และทุกฤดูกาล เจริญเติบโตดีในพื้นที่ค่อนข้างแห้งแล้งหรือพื้นที่ลาดเชิงเขา ชอบดินร่วนปนทราย หรือดินลูกรัง มีอินทรีย์วัตถุมากๆ ระบายน้ำได้ดี ไม่ทนต่อน้ำขังค้าง
ปลูกและเจริญเติบโตได้ดีในทุกภูมิภาค

- ทนทานต่อสภาพดินด่างได้ดีกว่าไม้ผลอื่น แม้แต่พื้นที่ลักจืดลักเค็มก็สามารถออกดอกติดผลคุณภาพดีได้

- กิ่งตอนหรือกิ่งทาบเริ่มให้ผลผลิตเมื่ออายุ 2-3 ปี
- ช่วงพักต้นและช่วงพัฒนาดอก-ผลต้องการน้ำพอหน้าดินชื้น แต่ช่วงปรับ ซี/เอ็น เรโช. ต้องการความแห้งแล้ง

- ต้องการแสงแดด 100% สังเกตต้นที่ปลูกอยู่ริมศาลพระภูมิได้รับแสงจากหลอดไฟศาลพระภูมิทุกคืน ตลอดคืน และเป็นระยะเวลายาวนาน เมื่อตัดกิ่งแก่กิ่งใดกิ่งแก่กิ่งนั้นจะแตกยอดใหม่จากข้อใต้รอยตัดแล้วออกดอกติดผลเองโดยไม่ต้องบำรุงเป็นกรณีพิเศษแต่อย่างใด แสดงว่าแสงไฟทำให้น้อยหน่าออกดอกติดผลได้เหมือนแก้วมังกร

- ออกดอกพร้อมกับยอดที่เกิดใหม่หลังการตัดแต่งกิ่งเหมือนฝรั่ง
- ต้นสมบูรณ์เต็มที่เพราะได้รับการบำรุงแบบให้มีสารอาหารกินตลอด 24 ชม. ต่อ เนื่องหลายๆ ปีติดต่อกัน เมื่อดอกชุดแรกออกจากช่วงปลายของกิ่งแก่แล้ว ดอกชุด 2 และชุด 3 ยังสามารถออกจากโคนของกิ่งแก่เดียวกันนั้นได้อีกด้วย

- ออกดอกติดผลได้ทั้งกิ่งชายพุ่มและกิ่งภายในทรงพุ่มที่แสงแดดส่องถึง
- ดอกสมบูรณ์เพศ ผสมกันเองภายในดอกเดียวกัน หรือต่างดอกต่างต้นได้
- เกสรตัวผู้หรือเกสรตัวเมียอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างไม่สมบูรณ์เกิดจากขาดสารอาหาร/ฮอร์โมน หรือสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม (อากาศร้อนหรือฝนตกชุก) ผสมกันแล้วพัฒนาเป็นผลจะเป็นผลไม่สมบูรณ์ ไม่โต รูปทรงบิดเบี้ยว

- แม้ไม่ตัดแต่งกิ่งก็ออกดอกติดผลได้แต่ดอกที่ออกมาจะไม่พร้อมกันเป็นชุดใหญ่ ไม่ดก และคุณภาพผลก็ไม่ดีเท่ากับดอกผลที่เกิดจากกิ่งที่ได้รับการตัดแต่ง

- ระยะ ดอก-ผลเล็ก-ผลกลาง-ผลแก่ ถ้าต้นได้รับน้ำและสารอาหารสม่ำเสมอจะช่วยให้ผลสมบูรณ์ โตเร็ว ขนาดผลใหญ่ แม้ผลไม่แก่จัดแล้วเก็บไปบ่มให้สุก กลิ่นและรส ชาดก็ยังดีเหมือนผลแก่จัด ในทางตรงกันข้าม ถ้าต้นขาดน้ำและสารอาหารหรือได้รับน้ำมากเกินไป จะทำให้ผลเล็กแคระแกร็น ผลที่แก่ไม่จัดเก็บไปบ่มจนสุกแล้วกลิ่นและรสชาติจะไม่ดีด้วย

เตรียมต้น :
ตัดแต่งกิ่งเพื่อเรียกใบอ่อน :

- เริ่มปฏิบัติทันที่ ณ วันรุ่งขึ้น หลังจากผลลูกสุดท้ายหลุดจากต้น และหลังตัดแต่งกิ่งให้ตัดแต่งกิ่งกระโดง กิ่งคด กิ่งงอ กิ่งไขว้ กิ่งชี้ลง กิ่งชี้เข้าในทรงพุ่ม กิ่งหางหนู กิ่งแห้ง กิ่งเป็นโรค โดยตัดชิดลำต้นหรือชิดกิ่งประธานเพื่อทำให้ทรงพุ่มโปร่ง ขั้นตอนนี้ยังไม่ตัดปลายกิ่งและยังไม่ริดใบทิ้ง คงปล่อยให้อยู่กับต้นอย่างเดิม จากนั้นเริ่มบำรุงด้วยสูตร เรียกใบอ่อน ทั้งทางใบและทางราก

- เทคนิคการ ตัดแต่ง-เรียกใบอ่อน แบบ “บำรุงก่อนตัด” กล่าวคือ ระหว่างที่ต้นเลี้ยงลูกนั้น ต้นต้องใช้พลังงานอย่างมาก จนทำให้ต้นโทรม หลังจากผลลูกสุดท้ายหลุดจากต้นแล้วให้บำรุงด้วยสูตรเรียกใบอ่อน ทั้งทางใบและทางราก หรือเฉพาะทางใบอย่างเดียวก่อน 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน เพื่อให้ต้นได้ใช้ใบเดิมที่มีสังเคราะห์อาหาร เมื่อเห็นว่า ต้นมีอาการสมบูรณ์ดี ทำท่าจะแตกยอดใหม่ ก็ให้ปฏิบัติการเรียกใบอ่อนทันที การที่ต้นมีความสมบูรณ์อยู่ ต้นก็จะแตกใบอ่อนใหม่ เร็ว ดี มาก และพร้อมกันทั่วทั้งต้น

ตัดแต่งกิ่งเพื่อเปิดตาดอก :
บำรุงใบอ่อนที่ได้หลังจากตัดแต่งกิ่งครั้งแรกตามขั้นตอน จนถึงขั้นตอนสะสมอาหารเพื่อการออกดอกไว้ก่อน เมื่อเห็นว่าต้นแสดงอาการอั้นตาดอกเต็มที่แล้วจึงลงมือตัดแต่งกิ่ง โดยตัดแต่งกิ่งกระโดง กิ่งคด กิ่งงอ กิ่งไขว้ กิ่งชี้ลง กิ่งชี้เข้าในทรงพุ่ม กิ่งหางหนู กิ่งเป็นโรค อีกครั้ง และตัดปลายกิ่งพร้อมกับริดใบทิ้งทั้งหมดจนโกร๋นเหลือแต่ต้น แล้วงดน้ำเด็ดขาดเพื่อให้ต้นเกิดความเครียด จากนั้นจึงลงมือเปิดตาดอก ต้นที่ถูกงดน้ำมาระยะหนึ่งแล้วก็จะแตกยอดใหม่พร้อมกับมีดอกออกตามมาด้วย

ต้นสมบูรณ์จริงๆจะมีดอกออกมาพร้อมกับยอดแตกใหม่ทั่วทั้งกิ่ง แม้แต่โคนกิ่งแก่ก็ออกดอกแล้วพัฒนาเป็นผลคุณภาพดีได้ ทั้งๆที่ไม่มีการแตกยอดนำออกมาก่อน

ตัดแต่งกิ่งเพื่อปรับทรงพุ่ม :
- ตัดกิ่งบังแสงแดดต่อกิ่งอื่นออก ทำให้ทรงพุ่มโปร่งจนแสงแดดสามารถส่องได้ทั่วถึงทุกกิ่ง กิ่งที่ได้รับแสงแดดจะสมบูรณ์ดีกว่ากิ่งที่ไม่ได้รับแสงแดดหรือได้รับแสงแดดน้อย

- ตัดยอดกิ่งประธาน (ผ่ากบาล) ณ ความสูงต้นตามต้องการ นอกจากช่วยทำให้แสงแดดผ่านจากยอดเข้าสู่ภายในทรงพุ่มได้อย่างทั่วถึงแล้วแสงแดดที่ร้อนยังช่วยกำจัดเชื้อราได้เป็นอย่างดีและเพื่อควบคุมขนาดความสูงทรงพุ่มอีกด้วย

ขั้นตอนการปฏิบัติบำรุงต่อน้อยหน่า
1. ตัดแต่งกิ่ง เรียกใบอ่อนเพื่อสะสมอาหาร

ทางใบ :
- ให้ไบโออิ 25-5-5 + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ 1-2 รอบ

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ กระดูกป่น ปุ๋ยคอก (ขี้วัวขี้ไก่ไข่ แกลบดิบ แห้งเก่าข้ามปี) ครั้งที่ 1 ของรุ่นหรือปีการผลิต

- คลุมโคนต้นด้วยเศษพืชแห้งหนาๆ เต็มพื้นที่บริเวณทรงพุ่ม ล้ำออกไปถึงนอกเขตทรงพุ่ม
- ให้ 25-7-7 (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นกลาง, 2 กก.ต้นใหญ่) /ต้น ละลายน้ำรดโคนต้น เขตทรงพุ่ม

- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 (2 ล.) /ไร่ รดทั่วแปลงทุกตารางนิ้ว 1-2 เดือน/ครั้ง
- ให้น้ำเปล่า ทุก 3-5 วัน

หมายเหตุ :
- เทคนิค ตัดแต่งกิ่งก่อนบำรุง กับ บำรุงก่อนตัดแต่กิ่ง เรื่องของเรื่องก็คือ ระหว่างที่มีลูกผลบนต้นนั้น ต้นต้องใช้พลังเลี้ยงลูกผลอย่างมาก ต้นจึงโทรม ลูกผลมากโทรมมาก ลูกผลน้อยโทรมน้อย ในเมื่อใบมีหน้าที่สังเคราะห์สารอาหาร ถ้าตัดใบทิ้งแล้วต้นจะเอาใบที่ไหนมาสังเคราะห์อาหาร เพราะฉะนั้น ให้บำรุงเรียกใบอ่อนก่อน 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน เมื่อเห็นว่า ต้นมีอาการอั้นตายอดก็ให้ลงมือตัดแต่งกิ่ง แล้วบำรุงด้วยสูตร “เรียกใบอ่อน” ตาม ปกติ ต้นก็จะแตกใบอ่อนดี จำนวนมาก และพร้อมกันทั้งต้น

- การแตกใบอ่อนของน้อยหน่าไม่จำเป็นต้องพร้อมกันทั้งต้น แต่ต้นที่แตกใบอ่อนใหม่จำนวนมากย่อมดีกว่าต้นที่แตกใบอ่อนน้อย เพราะหมายถึงจำนวนใบที่ต้องใช้สังเคราะห์อาหาร

- ถ้าใบอ่อนชุดแรกออกมาไม่มากแต่ต้องการมากๆก็ให้ฉีดพ่นทางใบซ้ำอีก 1 รอบ ห่างจากรอบแรก 7-10 วัน ก็ได้

- ยอดแตกใหม่ชุดนี้จะไม่มีดอกเพราะ 25-5-5 + จิ๊บเบอเรลลิน (ทางใบ) กับ 25-7-7 (ทางราก) เป็นตัวกำกับ แต่ถ้ามีดอกตามออกมาด้วยก็ให้เด็ดดอกนั้นทิ้งไป วิธีป้องกันดอกออกมาพร้อมกับยอดให้ฉีดพ่นทางใบถี่ขึ้น

2. เร่งใบอ่อนเป็นใบแก่
ทางใบ :
- ให้ไบโออิ 0-21-74 หรือ 0-39-39 สูตรใดสูตรหนึ่ง + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน ฉีดพ่นทั่วทรงพุ่ม

- ฉีดพ่นสารสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- ให้ 8-24-24 (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นใหญ่) /ต้น ละลายน้ำรดโคนต้น เขตทรงพุ่ม
- ให้น้ำปกติ ทุก 2-3 วัน

หมายเหตุ :
- ลงมือปฏิบัติเมื่อใบอ่อนเริ่มแผ่กางหรือเพสลาด
- วัตถุประสงค์เพื่อเร่งใบชุดใหม่ให้สังเคราะห์อาหารได้และเร่งระยะเวลาเรียกใบอ่อนชุดต่อไปเร็วขึ้น กับทั้งเพื่อให้ใบอ่อนรอดพ้นจากทำลายของแมลงปากกัดปากดูด

- น้อยหน่าไม่จำเป็นต้องเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่ เพราะหลังจากใบอ่อนออกมาแล้วจะมีดอกออกตามมา แต่ถ้าจะให้บ้างสัก 1 รอบหลังจากเห็นว่ามีใบอ่อนออกมามากพอสมควร ซึ่งสารอาหารในกลุ่มเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่ (ฟอสฟอรัส. และ โปแตสเซียม.) ช่วยเสริมประสิทธิ ภาพให้ดอกออกมาดี

- ใบอ่อนที่ออกมาแล้วปล่อยให้เป็นใบแก่ตามธรรมชาติต้องใช้ระยะเวลา 30-45 วัน

3. สะสมอาหารเพื่อการออกดอก
ทางใบ :
- ให้ไบโออิ 0-42-56 + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน ฉีดพ่นทั่วทรงพุ่ม คิดต่อกันนาน 1-2 เดือน

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- ให้ 8-24-24 (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นใหญ่) /ต้น ละลายน้ำรดโคนต้น เขตทรงพุ่ม
- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง8-24-24 (2 ล.)/ต้น /เดือน รดทั่วแปลงทุกตารางนิ้ว

- ให้น้ำเปล่าปกติทุก 2-3 วัน

หมายเหตุ :
- เริ่มให้ครั้งแรกเมื่อใบอ่อนที่แตกใหม่เพสลาดหรือกลางอ่อนกลางแก่
- แนวทางบำรุงให้ต้นได้สะสมอาหารเพื่อการออกดอกไว้มากที่สุดควรเตรียมแผนใช้เวลาบำรุง 2-2 เดือนครึ่ง

- จำนวนครั้งหรือระยะเวลาในการให้ไม่จำกัด ขึ้นอยู่กับสภาพต้นมีความพร้อมสำหรับการเปิดตาดอก (อั้นตาดอก) หรือยัง เนื่องจากน้อยหน่าไม่มีตุ่มตาดอกให้สังเกตจึงให้พิจารณาจากลักษณะใบ กิ่ง และสภาพทรงพุ่มเป็นหลัก

4. เรียกใบอ่อนเพื่อเปิดตาดอก (ปรับ ซี/เอ็น เรโช) :
กิ่งแก่ :
ตัดปลายกิ่งลึกเข้ามาถึงส่วนที่แก่จัดให้เหลือปลายกิ่งเป็น 2 แฉกแบบง่ามหนังสะติ๊ก ขนาดความยาวของขาง่ามหนังสะติ๊กประมาณ 3-5 นิ้ว หลังจากตัดปลายกิ่งแล้ว กิ่งที่เหลือต้องมีตุ่มตาหรือข้อ สำหรับแทงยอดใหม่ 3-5 ตุ่มเป็นหลัก

กิ่งแขนง :
กิ่งขนาดโตขนาดนิ้วก้อยขึ้นไปให้ตัดปลายกิ่งทิ้งเหลือไว้แต่ส่วนกิ่งแก่และให้มีตุ่มตา 2-3 ตุ่ม

กิ่งย่อย :
ให้ตัดทิ้งทั้งหมด ตัดชิดกิ่งประธาน ทั้งในทรงพุ่มและชายพุ่ม หลังจากตัดแต่งกิ่งแล้วให้รูดใบทิ้งทั้งหมดจนต้นเหลือแต่กิ่งเปล่าๆ จากนั้นเริ่มเข้าสู่ขั้นตอนการบำรุง

ทางใบ :
งดการฉีดพ่นสารอาหารทุกชนิดเพราะบนต้นไม่มีใบ แต่หากจะฉีดพ่นสารสมุนไพรเพื่อกำจัดเชื้อราและไข่แม่ผีเสื้อที่อาจจะแอบแฝงอยู่ตามผิวเปลือกทั้งต้นและกิ่งก็สามารถทำได้

ทางราก :
- เปิดหน้าดินโคนต้นโดยนำอินทรีย์วัตถุคลุมโคนต้นออกให้แดดส่องถึงพื้นดิน
- งดให้น้ำเด็ดขาด
- สวนพื้นที่ดอนจะเปิดหน้าดินโคนหรือไม่เปิดก็ได้ ทั้งนี้ให้พิจารณาปริมาณน้ำใต้ดินโคนต้นเป็นหลัก ถ้าพื้นที่สวนอยู่ในที่ลุ่มระดับน้ำใต้ดินตื้นอาจจะต้องเปิดหน้าดินโคนต้น ส่วนสวนยกร่องน้ำหล่อจะต้องสูบน้ำออกแล้วเปิดหน้าดินโคนต้นแน่นอน

หมายเหตุ :
- หลังจากบำรุงต้นให้มีการสะสมอาหารเพื่อการออกดอกเต็มที่แล้ว มาตรการตัดแต่งกิ่ง รูดใบทิ้งทั้งหมด และงดน้ำก็คือการ “ปรับ ซี/เอ็น เรโช” นั่นเอง

- การตัดแต่งกิ่งแล้วรูดใบออกจนหมดทั้งต้นเลยนั้นทำให้ไม่มีใบไว้สำหรับสังเกตผลของปรับ ซี/เอ็น เรโช. (ใบสลด) กรณีนี้อาจยอมให้คงเหลือใบไว้บ้างเล็กน้อย (5-10ใบ) กระจายทั่วต้น ใบที่คงเหลือไว้นี้ควรอยู่ห่างจากตุ่มตาที่คาดว่าจะมียอดใหม่พร้อมกับดอกออกมา ก็สามารถใช้เป็นจุดสังเกตอาการใบสลดได้

- โดยปกติระยะเวลาการงดน้ำเพื่อให้ต้นเกิดความเครียดหรือปรับ ซี/เอ็น เรโช ในสวนพื้นราบที่ดอนควรใช้ระยะเวลาประมาณ 5-7 วัน ส่วนในสวนพื้นราบที่ลุ่มระดับน้ำใต้ดินตื้นควรใช้ระยะเวลาประมาณ 7-10 วัน

- การตัดแต่งกิ่งพร้อมกันทั้งต้นจะทำให้ดอกออกมาพร้อมกันเป็นชุดเดียวทั้งต้น แต่ถ้าตัดแต่งเฉพาะกิ่งดอกก็จะออกมาเฉพาะกิ่งที่ตัดแต่งนั้นเท่านั้น ส่วนกิ่งที่ยังไม่ได้ตัดแต่งก็จะยังไม่ออกดอก กรณีนี้สามารถกำหนดให้น้อยหน่าออกดอกจากกิ่งไหนก่อนหรือหลังก็ได้ตามต้องการ

5. เปิดตาดอก
ทางใบ :
งดการฉีดพ่นสารอาหารทุกชนิด เพราะบนต้นไม่มีใบ แต่หากจะฉีดพ่นสารสมุนไพรเพื่อกำจัดเชื้อราและไข่แม่ผีเสื้อที่อาจจะแอบแฝงอยู่ตามผิวเปลือกทั้งต้นและกิ่งก็สามารถทำได้

ทางราก :
- ให้ 8-24-24 (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นใหญ่) /ต้น ละลายน้ำรดโคนต้น เขตทรงพุ่ม
- กรณีต้นที่เปิดหน้าดินโคนต้นให้อินทรีย์วัตถุปกคลุมโคนต้นอย่างเดิม
- ให้น้ำเปล่า ช่วงแรกให้วันต่อวัน 3-4 รอบ จากนั้นให้วันเว้นวัน และวันเว้นสองวัน

หมายเหตุ :
- เริ่มปฏิบัติหลังจากครบกำหนดงดน้ำแล้ว
- เมื่อต้นได้รับน้ำต้นจะแตกใบอ่อนออกมา
- ธรรมชาติของน้อยหน่าทุกสายพันธุ์ เมื่อแตกยอดอ่อนจะมีดอกออกตามมาด้วย จำนวนดอกจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับการบำรุงสะสมอาหารเพื่อการออกดอก หากไม่มีการสะสมตาดอกอย่างพอเพียงมาก่อน ยอดอ่อนที่แตกออกมาใหม่อาจจะมีแต่ยอดโดยไม่มีดอกก็ได้

6. บำรุงดอก
ทางใบ :
-ให้ไบโออิ 1545-15 (หน้าฝน) หรือ 0-52-34 (หน้าแล้ง) + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอละ 7 วัน ฉีดพ่นทั่วทรงพุ่ม

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- ยังคงเปิดหน้าดินโคนต้น
- ให้ 8-24-24 (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นใหญ่) /ต้น ละลายน้ำรดโคนต้น เขตทรงพุ่ม
- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง 8-24-24 (2 ล.) /ต้น /เดือน รดทั่วแปลงทุกตารางนิ้ว
- ให้น้ำปกติ ทุก 2-3 วัน

หมายเหตุ :
- ให้ครั้งแรกตั้งแต่ช่อดอกเริ่มปรากฏให้เห็น (พร้อมกับยอดหรือหลังยอด) และให้ไปเรื่อยๆตราบที่ยังมีดอกชุดใหม่ออกตามมาอีก

- ไม่ควรฉีดพ่นปุ๋ยน้ำชีวภาพที่มีส่วนผสมของกากน้ำตาล เพราะกากน้ำตาลอาจเป็นตัวเรียกเชื้อราเข้ามาทำลายดอกได้

- การทำฝนชะช่อด้วยสปริงเกอร์เหนือหรือในทรงพุ่มช่วงดอกยังตูมบ้างเป็นครั้งคราวจะช่วยให้ดอกและเกสรสะอาดสมบูรณ์ส่งผลให้การผสมติดดีขึ้น

- การบำรุงดอกด้วยฮอร์โมน เอ็นเอเอ. เมื่อก้านเริ่มแทงออกมาให้เห็น 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วันจะช่วยให้เกสรทั้งตัวผู้และตัวเมียสมบูรณ์แข็งแรงส่งผลให้การผสมติดดีขึ้น เพื่อความมั่นใจในเปอร์เซ็นต์หรือประสิทธิภาพของฮอร์โมน เอ็นเอเอ. แนะนำให้ใช้ฮอร์โมน เอ็นเอเอ.วิทยาศาสตร์แทนฮอร์โมน เอ็นเอเอ.ทำเองจะได้ผลกว่า

- ช่วงดอกเริ่มแทงออกมาใหม่ๆให้แคลเซียม โบรอน. 1 รอบ จะช่วยให้ดอกสมบูรณ์ผสมติดดี
- ฉีดพ่นสารอาหารเพื่อบำรุงดอกด้วยเครื่องมือฉีดพ่นที่มีแรงลมพ่นเบาที่สุด ตามความเหมาะสมเพื่อไม่ให้กระทบกระเทือนต่อส่วนต่างๆของดอก ฉีดพ่นที่ช่อดอกโดยตรงพอเปียกหรือฉีดพ่นให้ทั่งทรงพุ่มพอเปียกใบก็ได้

- บำรุงดอกช่วงฝนชุกให้เน้น “สังกะสี และ แคลเซียม โบรอน” โดยให้เมื่อดอกออกมาแล้วหรือให้แบบสะสมล่วงหน้าตั้งแต่ช่วงเปิดตาดอก ด้วยวิธีให้เดี่ยวๆหรือผสมรวมไปกับธาตุอาหารอื่นๆก็ได้

- การฉีดพ่นใดๆควรกระทำในช่วงดอกตูมเท่านั้น เมื่อถึงช่วงดอกบานต้องงดการฉีดพ่นทุกชนิดเพราะจะทำให้เกสรเปียกผสมไม่ติดได้

- งดการฉีดพ่นสารเคมีเด็ดขาดเพราะจะขัดขวางแมลงธรรมชาติที่เข้าช่วยผสมเกสร
- ต้นที่ได้รับ แม็กเนเซียม (จากไบโออิ). โบรอน (จากแคลเซียม โบรอน). สม่ำเสมอแบบสะสม ถึงช่วงออกดอกแล้วเจอฝน ดอกจะแข็งแรงไม่ร่วงง่ายๆ หรือติดเป็นผลได้ดีเหมือนปกติ

7. บำรุงผลเล็ก-กลาง :
ทางใบ :
- ให้ไบโออิ + ยูเรก้า + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน ฉีดพ่นทั่วทรงพุ่ม

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- นำอินทรีย์วัตถุกลับเข้าคลุมโคนต้นให้เหมือนเดิม
- ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ กระดูกป่น ปุ๋ยคอก (ขี้วัวขี้ไก่ไข่ แกลบดิบ แห้งเก่าข้ามปี) ครั้งที่ 2 ของรุ่น หรือปีการผลิต

- คลุมโคนต้นด้วยเศษพืชแห้งหนาๆ เต็มพื้นที่บริเวณทรงพุ่ม ล้ำออกไปถึงนอกเขตทรงพุ่ม
- ให้ 21-7-14 (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นใหญ่) /ต้น ละลายน้ำรดโคนต้น เขตทรงพุ่ม
- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 21-7-14 (2 ล.) /ไร่ รดทั่วแปลงทุกตารางนิ้ว 1-2 เดือน/ครั้ง
- ให้น้ำเปล่าปกติทุก 2-3 วัน

หมายเหตุ :
- เริ่มปฏิบัติหลังผสมติดหรือกลีบดอกร่วง
- ค่อยเพิ่มปริมาณน้ำเพื่อให้ต้นรู้ตัว
- หาจังหวะให้น้ำตาลทางด่วน (กลูโคส) 1 ครั้ง เมื่ออายุผลแก่ได้ 50% นอกเป็นการบำรุงสร้างความสมบูรณ์แก่ต้น ส่งผลให้ผลผลิตรุ่นนี้ดี แล้วต่อไปอนาคตผลผลิตรุ่นหน้าหรือรอบหน้าอีกด้วยถึง

8. บำรุงผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยว :
ทางใบ :
- ให้ไบโออิ 0-21-74 หรือ 0-0-50 สูตรใดสูตรหนึ่ง 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน ให้ครั้งสุดท้ายก่อนเก็บเกี่ยว 5-7 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ

- ให้สารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- ให้ 13-21-21 หรือ 8-24-24 สูตรใดสูตรหนึ่ง (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นใหญ่) /ต้น ละลายน้ำรดโคนต้น เขตทรงพุ่ม

- งดน้ำ หรือให้น้ำพอหน้าดินชื้น

หมายเหตุ :
- น้อยหน่าเป็นผลไม้ที่มีรสหวานโดยธรรมชาติอยู่แล้วต่างกันที่หวานมากหรือหวานน้อยเท่านั้นแม้จะไม่มีการบำรุงเร่งหวานทางใบ แต่ถ้าได้บำรุงด้วยสูตรเร่งหวานทางใบจะทำให้หวานจัดยิ่งขึ้น หรือหวานกว่าปกติเรียกว่าหวานทะลุองศาบริกซ์

- ก่อนเก็บเกี่ยวไม่จำเป็นต้องงดน้ำเหมือนผลไม้อื่นๆ แต่ก็ไม่ควรให้น้ำจนมากเกิน ไป หรือให้เพียงหน้าดินชื้นก็พอ

- กรณีที่ในต้นมีผลเป็นรุ่นเดียวกันทั้งต้นให้ใช้ 13-13-21 แต่หลังเก็บเกี่ยวแล้วต้นจะโทรม ต้องเร่งบำรุงพื้นฟูสภาพต้นทันทีหลังจากผลสุดท้ายออกจากต้น

- การบำรุงผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยวโดยให้ทางรากด้วย 8-24-24 เหมาะสำหรับต้นที่มีผลหลายรุ่นซึ่งหลังจากเก็บเกี่ยวผลแก่รุ่นแรกไปแล้วจะช่วยบำรุงผลชุดหลังต่อ นอกจากนี้ยังทำให้ต้นไม่โทรมเหมาะสำหรับการเตรียมความพร้อมต้นต่อการปฏิบัติบำรุงรุ่นปีต่อไปอีกด้วย

น้อยหน่าเพชรปากช่อง :
น้อยหน่าสายพันธุ์ใหม่ฝีมือนักวิชาการไทย โดยการนำน้อยหน่าต่างประเทศพันธุ์ เซริโมย่า ผสมกับ หนังครั่ง ของไทย ได้ลูกชุดแรกมาแล้วนำมาผสมต่อกับ หนังเขียว ของไทยอีกรอบ คราวนี้ลูกออกมาเป็น “เพชรปากช่อง” สุดยอดน้อยหน่าอย่างที่เห็น ข้อดีที่เหนือกว่าพันธุ์พื้นเมืองเดิมหลายประการ อาทิ

- ผลขนาดใหญ่กว่าตั้งแต่ 700 กรัม-1 กก.ขึ้นไป แม้แต่ ผลที่เป็นผลก้อย น้ำหนัก 300-500 กรัม
- จำนวนเมล็ดต่อผลน้อยและขนาดเล็กกว่าพันธุ์พื้นเมือง (เนื้อ/หนัง) 2-3 เท่า ทำให้ได้เนื้อมากมากกว่า 2-3 เท่า

- ความหวานสูงถึง 20 องศาบริกซ์ ในขณะที่น้อยหน่าพันธุ์พื้นเมือง (เนื้อ/หนัง) หวานเพียง 15 องศาบริกซ์เท่านั้น

- หลังจากเก็บเกี่ยวลงมาจากต้นแล้วนำมาบ่ม อายุบ่มใช้ระยะเวลา 5-7 วันโดยที่ผิวไม่ดำทำให้มีเวลาเพียงพอต่อการขนส่งไปยังต่างประเทศ

- รูปผลทรงหัวใจ เปลือกบาง ตาใหญ่ ร่องตื้น แม้ว่าเปลือกจะไม่ล่อนจากเนื้อเหมือน น้อยหน่าหนัง แต่ก็แกะหรือปอกได้ง่ายไม่ติดเนื้อ

- ลักษณะผลแก่จัดเปลือกจะเป็นสีขาวนวล ร่องระหว่างตาเป็นสีชมพูชัดเจน การบ่มต้องบ่มให้สุกงอมจะได้รสชาติจะหวานสนิท แต่ถ้าเก็บผลแก่ไม่จัดเมื่อนำไปบ่มจนสุกงอมแล้วจะมีรสชาติติดเปรี้ยวเล็กน้อย

- ขยายพันธุ์ด้วยวิธี ตอน. ทาบ (ดีที่สุด). ติดตา. เสียบยอด. เสียบข้าง. บนตอพื้นเมืองได้เหมือนไม้ผลทั่วๆไป

==============================================
===============================================



ฝรั่ง
ลักษณะทางธรรมชาติ :

- เป็นไม้ผลยืนต้นอายุหลายสิบปี ปลูกได้ทุกพื้นที่ของประเทศ เจริญเติบโตได้ดีในดินดำร่วน ดินปนทราย ดินปนลูกรัง มีอินทรีย์วัตถุมากๆ ระบายน้ำได้ดี ชอบความชื้นแต่ก็พอทนต่อสภาพน้ำท่วมขังได้บ้าง
ต้องการแสงแดดร้อยเปอร์เซ็นต์

- ทนทานต่อสภาพ กรดจัด ถึง ด่างจัด ได้ดีกว่าไม้ผลอื่น แม้แต่พื้นที่ลักจืดลักเค็มก็สามารถออกดอกติดผลคุณภาพดีได้

- ต้นแก่อายุมากเริ่มให้ผลผลิตน้อยและคุณภาพด้อยแก้ไขได้ด้วยตัดแต่งกิ่งอย่างหนัก (ทำสาว) ทั้งกิ่งและราก

- ออกดอกติดผลได้ตลอดปีแบบไม่มีรุ่น ความดกหรือความไม่ดกขึ้นอยู่กับการบำรุงมากกว่าขึ้นอยู่กับสภาพอากาศหรือฤดูกาล

- ตอบสนองต่อสารอาหารพืชประเภททำเองดีมาก เช่น ปุ๋ยน้ำชีวภาพ. ฮอร์โมนไข่.ฮอร์โมนขยายขนาด. ฮอร์โมน เอ็นเอเอ. ฮอร์โมนเร่งหวาน. ฮอร์โมนบำรุงราก. เป็นต้น

- เกษตรกรภาคเหนือนิยมเพาะเมล็ดพันธุ์พื้นเมือง เป็นต้นตอก่อน บำรุงเลี้ยงต้นกล้าจนได้ขนาดโตเท่าแท่งดินสอดำจึงเสริมราก จากนั้นเปลี่ยนยอดเป็นพันธุ์ดีตามต้องการ บาง ครั้งใช้ยอดแป้นสีทองเปลี่ยนให้กับตอแป้นสีทองก็มี ทั้งนี้เพราะต้องการให้ฝรั่งต้นนั้นมีรากแก้วซึ่งสามารถหาอาหารได้เก่งและมีอายุยืนนานกว่ากิ่งตอนธรรมดาๆซึ่งมีแต่รากฝอย ....จากวิธีการเพาะตอเสริมรากแล้วเปลี่ยนยอดนี้หากใช้ฝรั่งพื้นเมือง (ฝรั่งขี้นก) เป็นต้นตอจะได้ต้นที่มีระบบรากดีกว่าตอแป้นสีทอง

- แปลงปลูกแบบยกร่องน้ำหล่อมักอายุต้นไม่ยืนนาน ประมาณ 4-5 ปีต้นจะโทรมเพราะรากที่เจริญยาวไปถึงน้ำในร่องแล้วปลายรากเน่านั่นเอง ในขณะที่แปลงปลูกแบบพื้นราบหรือยกร่องแห้งลูกฟูก ใส่อินทรีย์วัตถุพูนโคนต้นล่อรากขึ้นมาอยู่บริเวณผิวหน้าดินจะมีอายุยืนนานกว่ามาก

- ผลเกิดที่ด้านบนของกิ่ง เมื่อโตขึ้นน้ำหนักผลจะรั้งตัวเองให้ลงไปอยู่ใต้กิ่ง ขั้วผลจึงคดงอส่งผลให้น้ำเลี้ยงส่งไปไม่สะดวก ทำให้ผลด้านบนของกิ่งไม่สมบูรณ์เท่าที่ควร แก้ไขโดยใช้เชือกผูกถุงห่อผลแล้วยกขึ้นเพื่อไม่ให้ขั้วคดงอก็จะช่วยได้ระดับหนึ่ง แต่หากกิ่งนั้นมีผลหลายผลแนะนำให้เด็ดผลด้านบนกิ่งทิ้งไปเหลือเฉพาะผลใต้กิ่งจะทำให้ผลใต้กิ่งได้รับน้ำเลี้ยงเต็มที่

- ทรงผลไม่สวยเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น....
* ผิวไม่เรียบหรือขรุขระ เกิดจากได้รับไนโตร เจนมากเกินไป
* ขั้วหรือจุกสูง เกิดจากได้รับแคลเซียมมากเกินไป
* ทรงผลแป้นไม่สม่ำเสมอหรือบิดเบี้ยว เกิดจากได้รับฮอร์โมนขยายขนาดผิดอัตราส่วน หรือไม่ได้รับเลย หรือเกิดจากเกสรที่ไม่สมบูรณ์ผสมกัน หรือได้รับจิ๊บเบอเรลลินมากเกินไป

- คุณภาพเนื้อไม่ดี เกิดจากหลายสาเหตุ เช่น ....
* เนื้อหยาบ เกิดจากได้รับแคลเซียมน้อยเกินไป
* เปลือกสีเขียวหนา เกิดจากได้รับโปแตสเซียมช่วงผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยวน้อย
* ไส้หลวมหรือเป็นโพรง เกิดจากได้รับแคลเซียมน้อย
* เมล็ดมาก เกิดจากได้รับสังกะสีมากเกิน หรือบำรุงด้วยสูตร "หยุดเมล็ด-สร้างเนื้อ" ผิดจังหวะ หรือไม่ได้ให้เลย

* รสจืด เกิดจากช่วงผลแก่ได้รับน้ำมากเกิน
* เปลือกและเนื้อส่วนติดเปลือกแข็งกระด้าง เกิดจากได้รับธาตุหลักไม่เพียงพอ
- การบำรุงแบบให้ต้นมีสารอาหารกินตลอด 24 ชม. ต่อเนื่องตลอดหลายๆ ปีส่งผลให้ต้นสมบูรณ์เต็มที่ เมื่อโน้มระนาบกิ่ง แล้วตัดปลายกิ่งใดก็จะมียอดพร้อมกับดอกแตกออกมาตามข้อทันทีโดยไม่ต้องเปิดตาดอก แบบนี้จึงทำให้ฝรั่งออกดอกติดผลตลอดปีแบบไม่มีรุ่นได้ กิ่งใดมีผลขนาดใหญ่อยู่ก่อนแล้วโอกาสออกดอกใหม่ซ้อนขึ้นมาอีกในกิ่งเดียวกันนั้นค่อนข้างน้อย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอัตราส่วนระหว่างสารอาหาร "กลุ่มสร้างดอก-บำรุงผล" กับ "กลุ่มสร้างใบ-บำรุงต้น" เป็นหลัก กรณีมีผลหลายรุ่นเช่นนี้หากต้องการเก็บผลไว้ทั้งหมดหรือมากๆก็ให้พิจารณาตำแหน่งของการติดผล โดยให้มีใบอยู่ระหว่างผลต่อผล 3-5 ใบ ส่วนการบำรุงดอกที่ออกซ้อนมานั้นไม่ต้องเน้นบำรุงดอกเป็นการเฉพาะ แต่ให้บำรุงผลด้วยสารอาหารสูตร บำรุงผลต่อตามปกติ

- ช่วงต้นเล็ก-ต้นโตให้ผลผลิตแล้วตอบสนองต่อฮอร์โมน "เอ็นเอเอ." ดีมาก ถ้าต้นได้รับ เอ็นเอเอ. ทุก 10-14 วันจะช่วยให้ต้นโตเร็ว สมบูรณ์ ดังนั้นจึงควรให้ฮอร์โมน เอ็นเอเอ. สม่ำเสมอ ยกเว้นช่วงผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยวให้งด เอ็นเอเอ. แล้วให้ธาตุรอง/ธาตุเสริมแทนเพื่อปรับปรุงคุณภาพผลก่อนเก็บเกี่ยว

- ระยะดอก-ผลเล็ก ให้ "ฮอร์โมนจิ๊บเบอเรลลิน" 2-3 รอบ จะช่วยให้มีเมล็ดน้อยหรือ ไม่มีเลยและเป็นเมล็ดขนาดเล็ก หรือใช้จิ๊บเบอเรลลิน อัตรา 10 กรัม/น้ำ 1 ล. ป้ายที่ก้านเกสรตัวเมีย (ตัดก้านเกสรตัวผู้แล้ว) 1 ครั้ง เมื่อฝรั่งผลนั้นโตขึ้นจะไม่มีเมล็ด แต่รูปทรงผลอาจจะบิดเบี้ยว

- ดอกฝรั่งมีทั้งเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่ในดอกเดียว ผสมกันเองหรือต่างดอกต่างต้นได้
- เกสรตัวผู้หรือเกสรตัวเมียอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งสองอย่างไม่สมบูรณ์ เกิดจากขาดสารอาหาร/ฮอร์โมน หรือสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม (อากาศร้อนหรือฝนตกชุก) ผสมกัน แล้วพัฒนาเป็นผลจะเป็นผลไม่สมบูรณ์ ไม่โต รูปทรงบิดเบี้ยว

- อายุผลตั้งแต่ผสมติดถึงเก็บเกี่ยว 5 เดือน ถ้าบำรุงฝรั่งให้ได้ผลผลิตเป็นรุ่นเดียวพร้อมกันทั้งต้นก็จะได้ปีละ 2 รุ่น

- ฝรั่งออกดอกติดผลได้แบบไม่มีรุ่นและฤดูกาล การบำรุง "ดอก + ผลเล็ก + ผลกลาง + ผลแก่" ในต้นเดียวกันนั้นไม่จำเป็นต้อง "เร่งหวาน" ให้กับผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยวโดย เฉพาะเพราะรสชาติของฝรั่งไม่จำเป็นต้องหวานจัดเหมือนมะม่วงหรือลำไย แต่ต้องการหวานเล็กน้อย อมเปรี้ยวนิดหน่อย และต้องการเนื้อกรอบนิ่มกลิ่นหอมมากกว่า ดังนั้น จึงขอแนะนำให้บำรุงไปตามปกติ ผลไหนแก่ก่อนให้เก็บก่อนผลไหนแก่ทีหลังก็ให้เก็บทีหลัง

- ฝรั่งตอบสนองต่อ "ยิบซั่ม ปุ๋ยอินทรีย์" ดีมาก แนะนำให้ใส่ปีละครั้งหรือแบ่งใส่ 2 ครั้ง/ปี ครั้งละ ½ - 1 กก. /ต้น /6 เดือน (ทรงพุ่ม 3 ม.) จะช่วยสร้างและบำรุงเนื้อให้คุณภาพดีขึ้น .... แต่กระดูกป่นแม้จะเป็นตัวเสริมในการสร้าง ซี/เอ็น เรโช. ช่วยให้ออกดอกติดผลดี และต้นมีความสมบูรณ์สูง แต่หากต้นได้รับมากเกินไปจะทำให้ผิวเปลือกหนาสีเขียวจัดดูแล้วไม่น่ารับประทาน จึงแนะนำให้ใส่แต่น้อย

- ระบบรากตื้นหาอาหารบริเวณผิวหน้าดินลึกไม่เกิน 20 ซม. ช่วงต้นเล็กไม่ควรพรวนดินโคนต้น แต่ต้นอายุมาก (5-6 ปีขึ้นไป) และทรงพุ่มขนาดใหญ่มากต้องตัดแต่งรากและตัดแต่งกิ่งแบบทำสาว

- วิธีการพูนดินโคนต้นด้วยอินทรีย์วัตถุปีละ 1 ครั้ง จะช่วยให้ต้นสร้างรากใหม่ดูดซับสารอาหารได้ดีและมากขึ้น

- ฝรั่งออกดอกติดผลจากซอกใบของยอดแตกใหม่ในกิ่งที่ระนาบกับพื้นระดับเสมอ จากลักษณะทางธรรมชาติการออกดอกนี้ จึงสามารถบังคับให้ฝรั่งออกดอกด้วยวิธีการง่ายๆ ดังนี้

วิธีที่ 1 .... บังคับแบบให้ออกเองตามธรรมชาติ :
โน้มกิ่งประธานทุกกิ่งในต้นให้เอนลงระนาบกับพื้นระดับ แล้วผูกยึดติดกับหลักโดยไม่ต้องตัดแต่งกิ่ง

วิธีที่ 2 .... บังคับแบบเร่งให้ออกเร็วขึ้น :
โน้มกิ่งประธานเฉพาะกิ่งที่ต้องการให้ออกดอกติดผลลงระนาบกับพื้นระดับ แล้วผูกยึดติดกับหลักหรือไม้ค้ำกิ่ง เด็ดยอด ณ ใบคู่ที่ 4 ด้วยกรรไกคมๆ เหนือข้อประมาณ 2-3 ซม. วิธีนี้ฝรั่งจะแตกยอดแล้วออกดอกตามมาเร็วกว่าวิธีที่ 1

วิธีที่ 3 .... บังคับให้ออกเฉพาะกิ่ง :
โน้มกิ่งประธานเฉพาะกิ่งที่ต้องการให้ออกดอกติดผลลงระนาบกับพื้น ไม่ต้องตัดยอดเหมือนวิธีที่ 1 เสร็จแล้วฉีดพ่นด้วยน้ำ 100 ล. + 46-0-0 (250 กรัม) เฉพาะกิ่งโน้มลงระนาบกับพื้นเพื่อล้างใบให้ร่วง
หลังจากใบร่วงแล้วเริ่มบำรุงเรียกยอดชุดใหม่ ซึ่งที่ยอดแตกใหม่นี้จะมีดอกออกตามมาด้วย

วิธีที่ 4 ..... บังคับให้ออกพร้อมกันทั้งต้น :
โน้มกิ่งประธานทุกกิ่ง (ทั้งต้น) ลงระนาบกับพื้นแล้วตัดยอดทุกยอด ณ ใบข้อที่ 4 เหมือนวิธีที่ 2 แล้วบำรุงเรียกยอดใหม่ วิธีนี้จะทำให้ฝรั่งแตกยอดใหม่ และมีดอกออกมาพร้อมกันทั้งต้น เป็นการบังคับให้ฝรั่งติดผลเป็นรุ่นเดียวกันทั้งหมด

วิธีที่ 5 .... บังคับแบบตัดกิ่งแก่ :
ต้นอายุมาก กิ่งแก่ขนาดใหญ่และทรงพุ่มขนาดใหญ่เกินจำเป็น เริ่มด้วยบำรุงต้น โน้มกิ่งแก่ลงระนาบกับพื้นแล้วตัดกิ่งแก่นั้น ณ ความยาวตามต้องการ (ความยาวกิ่ง คือ รัศมีทรงพุ่ม) ตัดกิ่งแล้วเด็ดใบที่เกิดจากกิ่งแก่ทิ้งทั้งหมดหรือคงไว้ 5-10% ถ้ามีกิ่งแขนงให้ตัดปลายกิ่งแขนงหรือตัดทิ้งไปเลยก็ได้ จากนั้นบำรุงเรียกยอดใหม่เมื่อยอดออกมาจากข้อใบเดิมพร้อมกับมีดอกออกมาด้วย ดอกผลที่เกิดจากกิ่งแก่นี้จะดกและคุณภาพผลดีกว่ากิ่งอ่อน

เตรียมต้น ตัดแต่งกิ่ง :
ต้นที่มีกิ่งมากจนทรงพุ่มแน่นทึบ ให้ตัดแต่งกิ่งบังแสงแดดต่อกิ่งอื่นออกทิ้งไปจนเหลือประมาณ 50% หรือเลือกเฉพาะกิ่งที่เหมาะสมต่อการออกดอกติดผลไว้เท่านั้น เมื่อเลือกเก็บกิ่งไหนไว้ได้แล้วให้โน้มกิ่งนั้นลงระนาบกับพื้น ผูกรัดกับไม้ค้ำ แล้วเด็ดยอด ณ ข้อใบที่ 4

- ฝรั่งออกดอกจากซอกใบปลายกิ่งแตกใหม่เสมอ
- ตัดกิ่งบังแสงแดดต่อกิ่งอื่นออก ทำทรงพุ่มให้โปร่งแสงแดดสามารถส่องได้ถึงทุกกิ่งทั่วทรงพุ่ม กิ่งได้รับแสงแดดจะสมบูรณ์ดีกว่ากิ่งไม่ได้รับแสงแดดหรือได้รับแสงแดดน้อย

- ตัดกิ่งกระโดง กิ่งในทรงพุ่ม กิ่งคดงอ กิ่งชี้ลง กิ่งไขว้ กิ่งหางหนู กิ่งเป็นโรค และกิ่งที่ออกดอกติดผลแล้วเพื่อเรียกยอดใหม่สำหรับออดอกติดผลในรุ่นปีต่อไป การตัดแต่งกิ่งภายในทรงพุ่มควรให้โปร่งจนแสงส่องผ่านลงไปถึงโคนต้นได้

- ตัดแต่งกิ่งปกติควรตัดให้เหลือใบประมาณ 50% และเมื่อใบอ่อนชุดใหม่ออกมาแล้วให้มีใบประมาณ 80% จะช่วยให้การผลิดอกติดผลดี

- ตัดยอดกิ่งประธาน (ผ่ากบาล) ณ ความสูงต้นตามต้องการ นอกจากช่วยทำให้แสงแดดผ่านจากยอดเข้าสู่ภายในทรงพุ่มได้อย่างทั่วถึงแล้วแสงแดดที่ร้อนยังช่วยกำจัดเชื้อราได้เป็นอย่างดี และเพื่อควบคุมขนาดความสูงทรงพุ่มอีกด้วย

- นิสัยการออกดอกของฝรั่งไม่จำเป็นต้องกระทบหนาว แต่ถ้าตัดแต่งกิ่ง-เรียกใบอ่อนช่วงต้นหน้าฝนแล้วเข้าสู่ขั้นตอนการปฏิบัติบำรุงจะดีกว่าการตัดแต่งกิ่งในช่วงอื่น


ขั้นตอนการปฏิบัติบำรุงต่อฝรั่ง
(ให้ได้ผลผลิตเป็นรุ่นเดียวกันทั้งต้น)
1. เรียกใบอ่อน + เปิดตาดอก :

ทางใบ :
สูตร 1 .....ให้ไทเป + 13-0-46 + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน

สูตร 2 .... ให้13-0-46 + ไธโอยูเรีย + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบ
ละ 7 วัน

เลือกใช้สูตรใดสูตรหนึ่งหรือทั้งสองสูตรแบบสลับครั้งกัน ห่างกันครั้งละ 5-7 วันด้วยการฉีดพ่นให้เปียกโชกทั้งใต้ใบบนใบ

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ กระดูกป่น ปุ๋ยคอก (ขี้วัวขี้ไก่ไข่ แกลบดิบ แห้งเก่าข้ามปี) เป็นการใส่ครั้งที่ 1 ของรุ่นหรือปีการผลิต ควรวางแผนแบ่งระยะเวลาให้ปีละ 2 ครั้ง

- คลุมโคนต้นด้วยเศษพืชแห้งหนาๆ เต็มพื้นที่บริเวณทรงพุ่ม ล้ำออกไปถึงนอกเขตทรงพุ่ม
- ให้ 28-24-24 (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นใหญ่) /ต้น ละลายน้ำรดโคนต้น เขตทรงพุ่ม
- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 8-24-24 (2 ล.) /ไร่ รดทั่วแปลงทุกตารางนิ้ว 1-2 เดือน/ครั้ง

- ให้น้ำเปล่า ทุก 3-5 วัน

หมายเหตุ :
- เทคนิค ตัดแต่งกิ่งก่อนบำรุง กับ บำรุงก่อนตัดแต่กิ่ง เรื่องของเรื่องก็คือ ระหว่างที่มีลูกผลบนต้นนั้น ต้นต้องใช้พลังเลี้ยงลูกผลอย่างมาก ต้นจึงโทรม ลูกผลมากโทรมมาก ลูกผลน้อยโทรมน้อย ในเมื่อใบมีหน้าที่สังเคราะห์สารอาหาร ถ้าตัดใบทิ้งแล้วต้นจะเอาใบที่ไหนมาสังเคราะห์อาหาร เพราะฉะนั้น ให้บำรุงเรียกใบอ่อนก่อน 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน เมื่อเห็นว่า ต้นมีอาการอั้นตายอดก็ให้ลงมือตัดแต่งกิ่ง แล้วบำรุงด้วยสูตร “เรียกใบอ่อน” ตาม ปกติ ต้นก็จะแตกใบอ่อนดี จำนวนมาก และพร้อมกันทั้งต้น

- เริ่มให้หลังจากโน้มกิ่ง-ตัดยอด
- ฝรั่งไม่จำเป็นต้องเร่งใบอ่อนให้เป็นใบแก่ เพราะธรรมชาติของฝรั่งเมื่อแตกใบอ่อนออกมาจะมีดอกออกตามมาด้วย

- เลือกใช้ให้ทางใบด้วยสูตรใดสูตรหนึ่งหรือใช้ทั้งสองสูตรแบบสลับครั้งกันก็ได้
- ปริมาณ 8-24-24 ใส่มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณการติดผลในรุ่นที่ผ่านมา กล่าว คือ ถ้ารุ่นที่ผ่านมาติดผลดกมาก ผลผลิตมีคุณภาพดีมากให้ใส่ในปริมาณมากขึ้น แต่ถ้ารุ่นที่ผ่านมาติดผลดกน้อยหรือไม่ติดผลเลยให้ใส่ในปริมาณปานกลาง

- หลังจากเปิดตาดอกแล้ว ถ้าดอกออกมาไม่มากหรือยังมีซอกใบอีกหลายใบที่น่าจะออกดอกได้แต่ไม่ออก ระหว่างที่ดอกชุดแรกยังเป็นดอกตูมอยู่นั้นก็ให้เปิดตาดอกซ้ำอีก 1-2 รอบด้วยสูตรเดิม หรือจนกระทั่งดอกชุดแรกบานแล้วจึงยุติการเปิดตาดอกซ้ำ

2. บำรุงดอก :
ทางใบ :
- ให้ไบโออิ 15-45-15 (หน้าฝน) หรือ 0-52-34 (หน้าแล้ง) + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ

- ฉีดพ่นสารสมุนไพร ทุก 3 วัน
ทางราก :
- ให้น้ำปกติทุก 2-3 วัน
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

หมายเหตุ :
- ช่วงดอกตั้งแต่เริ่มแทงออกมาให้เห็นหรือระยะดอกตูม บำรุงด้วยฮอร์โมน เอ็นเอเอ. 1-2 รอบ จะช่วยบำรุงเกสรทั้งตัวผู้และตัวเมียให้สมบูรณ์พร้อมรับผสม แต่ต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง เพราะถ้าให้เข้มข้นเกินไปจะเกิดความเสียหายต่อดอก และถ้าให้อ่อนเกินไปก็จะไม่ได้ผล

- ช่วงดอกเริ่มแทงออกมาใหม่ๆให้แคลเซียม โบรอน. 1 รอบ จะช่วยให้ดอกสมบูรณ์ผสมติดดี
- ช่วงดอกตูมควรฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรให้บ่อยขึ้น เพื่อป้องกันกำจัดโรคและแมลงจนถึงช่วงดอกบาน

- ช่วงดอกบานควรงดการฉีดพ่นทางใบโดยเฉาะช่วงกลางวัน (08.00-12.00 น.) เพราะอาจทำให้เกสรเปียกจนผสมไม่ติดได้ หากจำเป็นต้องฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรให้ฉีดพ่นช่วงหลังค่ำ

- ระยะดอกบาน ถ้าตรงกับช่วงฝนชุกเกสรจะเปียกชื้นจนทำให้ผสมไม่ติด กรณีนี้แก้ไขโดยกะระยะเวลาบำรุงให้ดอกออกมาแล้วไม่ตรงกับช่วงฝนชุกเท่านั้น แต่ถ้าดอกออกมาตรงกับช่วงแล้งอากาศร้อนมากเกสรจะฝ่อทำให้ผสมไม่ติดเช่นกัน แก้ไขโดยสร้างความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศและที่พื้นดินในทั้งในแปลงปลูกและรอบๆแปลงปลูก .... มาตรการบำรุงต้นและดอกให้สมบูรณ์อย่างแท้จริงอยู่เสมอจะช่วยลดความสูญเสียได้เป็นอย่างมาก

- เพื่อความมั่นใจในเปอร์เซ็นต์หรือประสิทธิภาพของฮอร์โมน เอ็นเอเอ. แนะนำให้ใช้ฮอร์โมน เอ็นเอเอ.วิทยาศาสตร์แทนฮอร์โมน เอ็นเอเอ. ทำเอง ซึ่งจะได้ผลกว่า

- ฉีดพ่นสารอาหารเพื่อบำรุงดอกด้วยเครื่องมือฉีดพ่นที่มีแรงลมพ่นเบาที่สุดตามความเหมาะสมเพื่อไม่ให้กระทบกระเทือนต่อส่วนต่างๆของดอก ฉีดพ่นที่ช่อดอกโดยตรงพอเปียกหรือฉีดพ่นให้ทั่งทรงพุ่มพอเปียกใบก็ได้

- บำรุงดอกช่วงฝนชุกให้เน้น “สังกะสี และ แคลเซียม โบรอน” โดยให้เมื่อดอกออกมาแล้วหรือให้แบบสะสมล่วงหน้าตั้งแต่ช่วงเปิดตาดอก ด้วยวิธีให้เดี่ยวๆหรือผสมรวมไปกับธาตุอาหารอื่นๆก็ได้

- การไม่ใช้สารเคมีเลยติดต่อกันเป็นเวลานานๆ จะมีผึ้งหรือแมลงธรรมชาติอื่นๆเข้ามาช่วยผสมเกสรส่งผลให้ติดผลดกขึ้น

- ต้นที่ได้รับ แม็กเนเซียม (จากไบโออิ). โบรอน (จากแคลเซียม โบรอน). สม่ำเสมอแบบสะสม ถึงช่วงออกดอกแล้วเจอฝน ดอกจะแข็งแรงไม่ร่วงง่ายๆ หรือติดเป็นผลได้ดีเหมือนปกติ

3. บำรุงผลเล็ก - กลาง :


.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 28/01/2024 11:17 am, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 26/01/2024 1:26 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.

5. บำรุงผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยว :
ทางใบ :
- ให้ไบโออิ 0-21-74 หรือ 0-0-50 สูตรใดสูตรหนึ่ง + สารสมุนไพร 250 ซีซี. 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน ให้ครั้งสุดท้ายก่อนเก็บเกี่ยว 5-7 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- ให้ 8-24-24 หรือ 13-13-21 สูตรใดสูตรหนึ่ง (1/2 กก.) /ต้น ละลายน้ำรดโคนต้น เขตทรงพุ่ม

- งดน้ำ

หมายเหตุ :
- การบำรุงผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยวโดยให้ทางรากด้วย 13-13-21 เหมาะสำหรับต้นทีผลรุ่นเดียวกันทั้งต้น หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วต้นมักโทรม ต้องบำรุงเพื่อฟื้นฟูสภาพต้นเรียกความสมบูรณ์กลับคืนมาโดยเร็ว

- การบำรุงผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยวโดยให้ทางรากด้วย 8-24-24 เหมาะสำหรับต้นที่มีผลหลายรุ่นซึ่งหลังจากเก็บเกี่ยวผลแก่รุ่นแรกไปแล้วจะช่วยบำรุงผลชุดหลังต่อได้ นอกจากนี้ยังทำให้ต้นไม่โทรมเหมาะสำหรับการเตรียมความพร้อมต้นต่อการปฏิบัติบำรุงรุ่นปีต่อไปอีกด้วย

================================================
================================================



พุทรา
ลักษณะทางธรรมชาติ :

- เป็นไม้ผลยืนต้นอายุหลายสิบปี ปลูกได้ทุกภาคทุกพื้นที่ และทุกฤดูกาล ชอบดำร่วนมีอินทรีย์วัตถุมากๆ ต้นที่ปลูกในแปลงแบบยกร่องแห้งลูกฟูกจะมีอายุยืนนานกว่าต้นที่ปลูกในแปลงแบบยกร่องน้ำหล่อ ต้อง การความชื้นสูงแต่ไม่ทนต่อสภาพน้ำท่วมขังค้างนาน

- พันธุ์พื้นเมืองจะเจริญเติบโตเป็นลำต้นสูงแล้วแตกกิ่งสาขาเป็นพุ่มเหมือนไม้ผลยืนต้นทั่วๆไป
- สายพันธุ์ต่างประเทศ การเจริญเติบโตส่วนลำต้นช้า แต่กิ่งแตกออกมาจากลำต้นนั้นกลับเจริญเติบโตเร็วมาก กิ่งจึงยาวและเรียวเล็ก ถ้าปล่อยให้ยาวตามปกติโดยไม่มีการจัดการใดๆทรงต้นจะเป็นพุ่มขนาดใหญ่แผ่ปกคลุมพื้นดิน การแก้ไขก็คือ ช่วงที่กิ่งประธานแตกออกมาจากลำต้นนั้น ให้จัดกิ่งประธานชี้ตรงขึ้นโดยมัดติดกับหลักไว้ ระหว่างกิ่งประธานกำลังเจริญยาวขึ้นนั้นจะมีกิ่งแขนงและกิ่งย่อยแตกออกมาเรื่อยๆ ซึ่งจะต้องจัดระเบียบให้กิ่งเหล่านี้เจริญยาวไปตามทางทิศที่ต้องการตลอดเวลาด้วยจนกระทั่งออกดอกติดผลถึงเก็บเกี่ยวผลผลิต

- พุทราพันธุ์ใหม่จากต่างประเทศ ขยายพันธุ์โดยเสียบยอด หรือทาบกิ่งกับตอพันธุ์พื้นเมืองจะโตเร็ว ให้ผลผลิตดีและมีระบบรากแข็งแรงกว่าต้นพันธุ์ดีที่ขยายพันธุ์ด้วยวิธีตอนส่วนของยอดพันธุ์ดีจากกิ่งข้าง เมื่อนำมาเสียบยอดบนตอพื้นเมืองจะโตช้าให้ผลผลิตไม่ดี แต่ถ้าใช้ส่วนยอดของกิ่งกระโดงพันธุ์ดีเสียบบนตอพื้นเมืองจะโตเร็วและให้ผลผลิตดี

- นิสัยออกดอกง่าย กิ่งไหนพร้อมก่อนกิ่งนั้นเป็นออกดอกทันที ส่วนกิ่งที่ยังไม่พร้อมก็จะออกทีหลังทำให้มีดอกผลหลายรุ่น บำรุงยาก กรณีนี้แก้ไขโดยการฉีดพ่นสารอาหารเปิดตาดอกถี่ขึ้นเพื่อเร่งกิ่งที่ยังไม่พร้อมให้พร้อมเร็วขึ้น

- ต้นสมบูรณ์ดี ผ่านการบำรุงแบบให้มีอาหารกินตลอด 24 ชม. ต่อเนื่องนานหลายปี หลังตัดแต่งกิ่ง ประมาณ 2-2 เดือนครึ่ง ก็จะเริ่มออกดอก

- ธรรมชาติการออกดอกแปลกจากไม้ผลอย่างอื่น ในกิ่งแขนงกิ่งเดียวกันนั้นบางครั้งดอกที่ปลายกิ่งออกก่อนแล้วออกตามลำดับมาทางโคนกิ่ง แต่บางครั้งดอกที่โคนกิ่งออกก่อนแล้วออกตามลำดับไปทางปลายกิ่ง ระยะเวลาห่างกัน 15-20 วัน การที่ดอกออกมาไม่พร้อมกันส่งผลให้การเจริญพัฒนาของผลพลอยต่างกันไปด้วย

- เป็นดอกสมบูรณ์เพศมีเกสรทั้งตัวผู้ตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน ถ้าไม่มีแมลงมาช่วยเกสรแต่ขอให้มีลมช่วยเท่านั้นเกสรก็สามารถผสมกันติดเป็นผลได้

- เกสรตัวผู้หรือเกสรตัวเมียอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างไม่สมบูรณ์เกิดจากขาดสารอาหาร/ฮอร์โมน หรือสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม (อากาศร้อนหรือฝนตกชุก) แล้วผสมกันแล้วพัฒนาเป็นผลจะเป็นผลไม่สมบูรณ์ ไม่โต รูปทรงบิดเบี้ยว

- ออกดอกติดผลได้แบบไม่มีฤดูกาล หรือเมื่อใดที่เริ่มลงมือปฏิบัติบำรุงตามขั้นตอน จากนั้นก็จะออกดอกติดผลได้

- ปัจจุบันมีการนำสายพันธุ์จากต่างประเทศเข้ามาหลากหลายสายพันธุ์ แต่ละสายพันธุ์ล้วนแต่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคค่อนข้างสูง

- ให้ผลลิตเร็วด้วยอายุต้นเพียง 4-6 เดือนหลังปลูกก็เริ่มให้ผลผลิตรุ่นแรกแล้ว
- ศัตรูพืชของพุทราทุกสายพันธุ์ คือ หนอนเจาะผล ถึงขนาดสร้างความเสียหายแก่ผลผลิตถึง 3 ใน 4 ส่วน และจำหน่ายได้เพียง 1 ใน 4 ส่วนของผลผลิตทั้งหมด กระนั้นชาว สวนพุทราก็ยังอยู่ได้ แสดงว่าต้นทุนการผลิตต่ำถึงต่ำมากนั่นเอง

- ออกดอกง่าย ถ้ากิ่งที่แตกออกมาแก่ได้อายุเป็นต้องออกดอกทันที แม้ไม่ได้บำรุงสะสมอาหารเพื่อการตาดอกและไม่ต้องเปิดตาดอกก็สามารถออกดอกได้

เตรียมต้น ตัดแต่งกิ่ง :
- การตัดแต่งกิ่งพุทราต่างจากไม้ผลยืนต้นอื่นๆ อย่างสิ้นเชิง ซึ่งอันที่จริงควรเรียกว่า ตัดต้น-แต่งกิ่ง จะถูกต้องมากกว่า กล่าวคือ หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตจนหมดรุ่นไปแล้วจะต้องตัดต้นทิ้งให้เหลือแต่ตอ เสร็จแล้วบำรุงตอเรียกยอดใหม่ ได้ยอดใหม่แล้วบำรุงต่อไปตาม ปกติ ซึ่งยอดใหม่นี้จะเจริญเติบโตกลายเป็นกิ่งประธาน จากกิ่งประธานก็มี กิ่งแขนง-กิ่งย่อยออกมา และ กิ่งแขนง-กิ่งย่อย นี้จะออกดอกติดผล ขั้นตอนตัดต้นต้องระวังเพราะส่วนของลำต้นพันธุ์ดีเสียบอยู่บนต้นตอพื้นเมือง ต้องพิจารณาให้ดีว่าลำต้นส่วนไหนเป็นตอพันธุ์พื้น เมืองและส่วนไหนเป็นลำต้นพันธุ์ดี การตัดต้นให้ตัดส่วนที่เป็นลำต้นพันธุ์ดีเท่านั้นโดยตัดให้เหลือความยาว (สูง) ไม่น้อยกว่า 30-50 ซม. เสมอ

หลังจากบำรุงตอเรียกใบอ่อนแล้วจะมียอดแตกใหม่ออกมาจากส่วนตอ (ลำต้น) พันธุ์ดี ยอดแตกใหม่ชุดแรกจะเป็นกิ่งประธาน จากกิ่งประธานจะมีกิ่งแขนง และจากกิ่งแขนงก็จะมีกิ่งย่อย ซึ่งดอกและผลจะออกทั้งจากกิ่งแขนงและกิ่งย่อย ขั้นตอนนี้ให้พิจารณาตัดกิ่งแขนงและกิ่งย่อยที่บังแสงแดดต่อกิ่งอื่นออกบ้างเพื่อทำให้ทรงพุ่มโปร่งจนแสงแดดส่องได้ทั่วถึงทุกกิ่ง กิ่งที่ได้รับแสงแดดจะสมบูรณ์ดีกว่ากิ่งที่ไม่ได้รับแสงแดดหรือได้รับแสงแดดน้อย

- นิสัยการออกดอกของพุทราไม่จำเป็นต้องกระทบหนาว หลังจาก ตัดต้น-แต่งกิ่ง แล้วเข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงได้เลย

- พุทราเป็นไม้ผลชนิดนึ่งที่มีความจำเป็นต่อการห่อผลอย่างยิ่ง หากไม่ได้ห่อ เนื้อจะแข็ง และแมลงวันทองทำลาย

ขั้นตอนการปฏิบัติบำรุงต่อพุทรา
1. เรียกใบอ่อน - เปิดตาดอก

ทางใบ :
งดการฉีดพ่นสารอาหารทุกชนิดเพราะบนต้นไม่มีใบ (มีแต่ตอ) แต่หากจะฉีดพ่นสารสมุนไพรเพื่อกำจัดเชื้อราและไข่แม่ผีเสื้อที่อาจจะแอบแฝงอยู่ตามผิวเปลือกทั้งต้นและกิ่งก็สามารถทำได้

ทางราก :
- ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ กระดูกป่น ปุ๋ยคอก (ขี้วัวขี้ไก่ไข่ แกลบดิบ แห้งเก่าข้ามปี) ครั้งที่ 1 ของปีหรือรุ่นการผลิต ควรวางแผนแบ่งระยะเวลาให้ปีละ 2 ครั้ง

- คลุมโคนต้นด้วยเศษพืชแห้งหนาๆ เต็มพื้นที่บริเวณทรงพุ่ม ล้ำออกไปถึงนอกเขตทรงพุ่ม

- ให้ 28-24-24 (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นใหญ่) /ต้น ละลายน้ำรดโคนต้น เขตทรงพุ่ม
- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 8-24-24 (2 ล.) /ไร่ รดทั่วแปลงทุกตารางนิ้ว 1-2 เดือน/ครั้ง

- ให้น้ำเปล่า ทุก 3-5 วัน

หมายเหตุ :
- เทคนิค ตัดแต่งกิ่งก่อนบำรุง กับ บำรุงก่อนตัดแต่กิ่ง เรื่องของเรื่องก็คือ ระหว่างที่มีลูกผลบนต้นนั้น ต้นต้องใช้พลังเลี้ยงลูกผลอย่างมาก ต้นจึงโทรม ลูกผลมากโทรมมาก ลูกผลน้อยโทรมน้อย ในเมื่อใบมีหน้าที่สังเคราะห์สารอาหาร ถ้าตัดใบทิ้งแล้วต้นจะเอาใบที่ไหนมาสังเคราะห์อาหาร เพราะฉะนั้น ให้บำรุงเรียกใบอ่อนก่อน 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน เมื่อเห็นว่า ต้นมีอาการอั้นตายอดก็ให้ลงมือตัดแต่งกิ่ง แล้วบำรุงด้วยสูตร “เรียกใบอ่อน” ตาม ปกติ ต้นก็จะแตกใบอ่อนดี จำนวนมาก และพร้อมกันทั้งต้น

- เริ่มให้หลังจากตัดต้นจนเหลือแต่ตอแล้ว
- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิงหรือจุลินทรีย์หน่อกล้วยรดบนตอเปล่าๆ เพื่ออาศัยจุลินทรีย์ช่วยกำจัดเชื้อราบนผิวเปลือกตอและปรับปรุงบำรุงดินด้วย

- ใบอ่อนเมื่อออกมาแล้วเร่งต้องระวังโรคและแมลงศัตรูเข้าทำลายใบ เพราะหากใบอ่อนชุดใดชุดหนึ่งถูกลายเสียหายจะต้องเริ่มที่ตัดตอใหม่ซึ่งจะทำให้เสียเวลาและกำหนดระยะการออกดอกติดผลต้องเลื่อนออกไปอีกด้วย

- เรียกใบอ่อนโดยการใส่ปุ๋ยทางรากสูตร 8-24-24 จะช่วยให้ต้นได้สะสมตาดอกไว้ล่วงหน้า
- พุทราไม่จำเป็นต้องเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่

2. สะสมอาหารเพื่อการออกดอก :
ทางใบ :
- ให้ไบโออิ 0-42-56 + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน ฉีดพ่นทั่วทรงพุ่ม คิดต่อกันนาน 1-2 เดือน

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- ให้ 8-24-24 (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นใหญ่) /ต้น ละลายน้ำรดโคนต้น เขตทรงพุ่ม
- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง8-24-24 (2 ล.)/ต้น /เดือน รดทั่วแปลงทุกตารางนิ้ว
- ให้น้ำเปล่าปกติทุก 2-3 วัน

หมายเหตุ :
- เริ่มให้เมื่อกิ่งประธานสูงขึ้นค้าง และมีกิ่งแขนง-กิ่งย่อยปริมาณมาก
- ไม่จำเป็นต้องสะสมอาหารเพื่อการออกดอกก็สามารถออกดอกได้จำนวนมากถ้าต้นสมบูรณ์ดีจริง แต่หากได้ให้อาหารกลุ่มสะสมตาดอกเพียง 1-2 ครั้ง ก่อนออกดอกตามธรรม ชาติก็จะช่วยให้การออกดอกดีขึ้น

- การตัดยอดประธาน ณ รอยต่อระหว่างกิ่งอ่อนกับกิ่งแก่ หลังจากได้ความยาวตามต้องการแล้วจะส่งผลให้กิ่งแขนงและกิ่งย่อยออกดอกดีขึ้น

- ปริมาณ 8-24-24 หรือ 9-26-26 ใส่มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณการติดผลในรุ่นที่ผ่านมา กล่าวคือ ถ้ารุ่นที่ผ่านมาติดผลดกมาก ผลผลิตมีคุณภาพดีมาก ให้ใส่ในปริมาณที่มากขึ้น แต่ถ้ารุ่นที่ผ่านมาติดผลดกน้อยหรือไม่ติดผลเลย ให้ใส่ในปริมาณปานกลาง

- พุทราไม่จำเป็นต้องปรับ ซี/เอ็น เรโช และไม่จำเป็นต้องเปิดตาดอก เพราะนิสัยพุทราออกดอกเองได้แม้จะได้รับเพียง 8-24-24

3. เปิดตาดอก
ทางใบ :
- ให้ไทเป + 13-0-46 + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ 1-2 รอบ

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- ให้ 8-24-24 (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นใหญ่) /ต้น ละลายน้ำรดโคนต้น เขตทรงพุ่ม
- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง8-24-24 (2 ล.)/ต้น /เดือน รดทั่วแปลงทุกตารางนิ้ว
- ให้น้ำปกติทุก 2-3 วัน

หมายเหตุ :
- แม้ว่านิสัยพุทราจะออกดอกเองได้โดยไม่ต้องเปิดตาดอกก็ตาม แต่หากดอกที่ออก มาเองมีจำนวนน้อย หรือยังพอเหลือพื้นที่ในกิ่งแขนงและกิ่งย่อยให้ออกดอกได้อีก กอร์ปกับพุทราออกดอกไม่เป็นรุ่น ก็ให้เปิดตาดอกซ้ำด้วยฮอร์โมนไข่ไทเปอีก 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน หรือจนกระทั่งดอกชุดแรกบานแล้วจึงยุติการเปิดตาดอกซ้ำ วิธีนี้จะทำให้ได้ดอกจำนวนมากเป็นรุ่นใกล้เคียงกันดี

4. บำรุงดอก
ทางใบ :
- ให้ไบโออิน้ำ 15-45-15 (หน้าฝน) หรือ 0-52-34 (หน้าแล้ง) + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับแคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
ให้น้ำปกติทุก 2-3 วัน

หมายเหตุ :
- ช่วงที่ดอกเริ่มทยอยแทงออกมาให้บำรุงด้วยฮอร์โมน เอ็นเอเอ. 1-2 รอบ จะช่วยบำรุงเกสรทั้งตัวผู้และตัวเมียให้สมบูรณ์พร้อมรับผสม แต่ต้องใช้ด้วยระมัดระวังเพราะถ้าให้เข้มข้นเกินไปจะเกิดความเสียหายต่อดอกและถ้าให้อ่อนเกินไปก็จะไม่ได้ผล

- ช่วงดอกเริ่มแทงออกมาใหม่ๆให้แคลเซียม โบรอน. 1 รอบ จะช่วยให้ดอกสมบูรณ์ผสมติดดี
- ช่วงที่ดอกทยอยออกมานี้ควรฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรบ่อยขึ้น เพื่อป้องกันกำจัดโรคและแมลงจนถึงช่วงดอกบาน

- ช่วงดอกเริ่มบานจำนวนมากแล้วควรงดการฉีดพ่นทางใบโดยเฉาะช่วงกลางวัน (08.00-12.00 น.) เพราะอาจทำให้เกสรเปียกจนผสมไม่ติดได้ หากจำเป็นต้องฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรให้ฉีดพ่นช่วงหลังค่ำ

- ระยะดอกบานตรงกับช่วงฝนชุกเกสรจะเปียกชื้นทำให้ผสมไม่ติด แก้ไขโดยการกะระยะเวลาบำรุงให้ดอกออกมาแล้วไม่ตรงกับช่วงฝนชุกเท่านั้น แต่ถ้าดอกออกมาตรงกับช่วงแล้งอากาศร้อนมากเกสรจะฝ่อทำให้ผสมไม่ติดเช่นกัน แก้ไขโดยการสร้างความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศและที่พื้นดินในทั้งในแปลงปลูกและรอบๆแปลงปลูก...มาตรการบำรุงต้นและดอกให้สมบูรณ์อย่างแท้จริงอยู่เสมอจะช่วยลดความสูญเสียได้เป็นอย่างมาก

- เพื่อความมั่นใจในเปอร์เซ็นต์หรือประสิทธิภาพของฮอร์โมน เอ็นเอเอ. แนะนำให้ใช้ฮอร์โมนเอ็นเอเอ.วิทยาศาสตร์แทนฮอร์โมน เอ็นเอเอ.ทำเองจะได้ผลกว่า

- ฉีดพ่นสารอาหารเพื่อบำรุงดอกด้วยเครื่องมือฉีดพ่นที่มีแรงลมพ่นเบาที่สุดตามความเหมาะสมเพื่อไม่ให้กระทบกระเทือนต่อส่วนต่างๆของดอก ฉีดพ่นที่ช่อดอกโดยตรงพอเปียกหรือฉีดพ่นให้ทั่งทรงพุ่มพอเปียกใบก็ได้

- การไม่ใช้สารเคมีเลยติดต่อกันเป็นเวลานานๆ จะมีผึ้งหรือมีแมลงธรรมชาติอื่นเข้ามาช่วยผสมเกสรส่งผลให้ติดผลดกขึ้น

- ต้นที่ได้รับ แม็กเนเซียม (จากไบโออิ). โบรอน (จากแคลเซียม โบรอน). สม่ำเสมอแบบสะสม ถึงช่วงออกดอกแล้วเจอฝน ดอกจะแข็งแรงไม่ร่วงง่ายๆ หรือติดเป็นผลได้ดีเหมือนปกติ

5. บำรุงผลเล็ก - กลาง :
ทางใบ :
- ให้ไบโออิ + ยูเรก้า + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน ฉีดพ่นทั่วทรงพุ่ม

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- นำอินทรีย์วัตถุกลับเข้าคลุมโคนต้นให้เหมือนเดิม
- ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ กระดูกป่น ปุ๋ยคอก (ขี้วัวขี้ไก่ไข่ แกลบดิบ แห้งเก่าข้ามปี) ครั้งที่ 2 ของรุ่น หรือปีการผลิต

- คลุมโคนต้นด้วยเศษพืชแห้งหนาๆ เต็มพื้นที่บริเวณทรงพุ่ม ล้ำออกไปถึงนอกเขตทรงพุ่ม
- ให้ 21-7-14 (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นใหญ่) /ต้น /เดือน ละลายน้ำรดโคนต้น เขตทรงพุ่ม
- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 21-7-14 (2 ล.) /ไร่ /2-3 เดือน รดทั่วแปลงทุกตารางนิ้ว
- ให้น้ำเปล่าปกติทุก 2-3 วัน

หมายเหตุ :
พุทราออกดอกติดผลหลายชุดในรุ่นเดียวกัน การบำรุงด้วย “ธาตุรอง/ธาตุเสริม + ฮอร์โมน” โดยไม่มีธาตุหลักเลยนั้นจะไม่ส่งผลเสียต่อดอกและผล แต่ตรงกันข้ามที่ธาตุอาหารกลุ่มนี้จะช่วยบำรุงทั้งดอกและผลเล็กไปพร้อมๆกัน

7. บำรุงผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยว :
ทางใบ :
- ให้ไบโออิ 0-21-74 หรือ 0-0-50 สูตรใดสูตรหนึ่ง + สารสมุนไพร 250 ซีซี. 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน ให้ครั้งสุดท้ายก่อนเก็บเกี่ยว 5-7 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- ให้ 8-24-24 หรือ 13-13-21 สูตรใดสูตรหนึ่ง (1/2 กก.) /ต้น ละลายน้ำรดโคนต้น เขตทรงพุ่ม

- งดน้ำ

หมายเหตุ :
- การบำรุงผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยวโดยให้ทางรากด้วย 8-24-24 เหมาะสำหรับต้นที่มีผลหลายรุ่นซึ่งหลังจากเก็บเกี่ยวผลแก่รุ่นแรกไปแล้วจะช่วยบำรุงผลชุดหลังต่อ นอกจากนี้ยังทำให้ต้นไม่โทรมเหมาะสำหรับการเตรียมความพร้อมต้นต่อการปฏิบัติบำรุงรุ่นปีต่อไปอีกด้วย

- การบำรุงผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยวโดยให้ทางรากด้วย 13-13-21 หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วต้นมักโทรม ต้องบำรุงเพื่อฟื้นฟูสภาพต้นเรียกความสมบูรณ์กลับคืนมาก่อนจึงจะเข้าสู่การผลิตรุ่นต่อไปได้

พุทราจัมโบ้ :
- พุทราจัมโบ้มีกลิ่น รส เนื้อ หอมหวานกรอบ เนื้อไม่มีเมือก รูปร่างทรงผลกลมแป้นเล็กน้อยเหมือนผลแอปเปิ้ล

- กิ่งพันธุ์ที่ตอนจากกิ่งข้างชายพุ่ม ปลายกิ่งชี้ลง เมื่อนำมาปลูกจะโตช้ามาก แต่ถ้าเป็นกิ่งตอนจากกิ่งกระโดงที่แตกมาจากกิ่งประธาน หรือใช้กิ่งยอดประธานโดยตรง อายุกิ่งกลางอ่อนกลางแก่ กำลังพุ่ง เมื่อนำลงปลูกแล้วไม่นานก็แตกยอดใหม่ โตเร็วและให้ผลผลิตดีกว่ากิ่งชายพุ่ม

- พุทราจัมโบ้ก็เหมือนกับพุทราต่างประเทศพันธุ์อื่นๆ จะออกดอกติดผลจากกิ่งแตกใหม่เสมอแม้ขณะมีดอกและผลอยู่ในกิ่งๆนั้นก็ยังเจริญยาวแล้วออกดอกติดผลซ้อนมาอีกได้ การปล่อยให้กิ่งยาวอย่างไม่สิ้นสุดแล้วมีดอกและผลซ้อนออกมานั้น ดอกและผลชุดหลังมักไม่ค่อยมีคุณภาพ แนวทางแก้ไข คือ เมื่อกิ่งที่มีดอกและผลเจริญยาวตามต้องการแล้วให้เด็ดยอดทิ้งไป เมื่อไม่มี ยอด-ดอก-ผล ชุดใหม่เกิดขึ้น น้ำเลี้ยงที่มีอยู่ก็จะถูกนำไปให้แก่ผลชุดแรกในกิ่งนั้นแทน

- ปัญหาที่ขนาดผลใหญ่และน้ำหนักมากเกินตัว บนกิ่งแขนงบางกิ่งมีถึง 3-4 ผล กิ่งแขนงเล็กรับน้ำหนักไม่ไหวจึงฉีกหัก ส่งผลให้ผลในกิ่งนั้นเสียหายทั้งหมดเพราะน้ำเลี้ยงไปหล่อเลี้ยงไม่พอ

- ไม่ค่อยมีปัญหาหนอนแดง เหมือนพุทราพันธุ์อื่นแต่กลับมีปัญหา แมลงวันทองเข้าทำลายช่วงที่ผิวผลเริ่มๆออกสีเหลืองนวล การป้องกันต้องใช้วิธีห่อผลเท่านั้น

- ช่วงผลเล็กจะมี เพลี้ยไฟ ไร เข้าดูดกินน้ำเลี้ยงที่ผิว ถ้าผิวถูกทำลายแล้วจะเป็นตำหนิไปจนกระทั่งผลโตเก็บเกี่ยว แนวทางแก้ไข คือ ป้องกันโดยฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรบ่อยๆ

- ผลของพุทราจัมโบ้ต้องปล่อยให้แก่คาต้นจึงจะรับประทานได้อร่อย ไม่ใช่ผลไม้ประเภทที่ต้องนำมาบ่มก่อน การบำรุงขั้นตอนนี้ต้องสังเกตลักษณะผลให้ดี เมื่อแน่ใจว่าอีก 1 อาทิตย์จะเก็บได้ก็ให้เริ่มบำรุงผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยว

- เมล็ดของพุทราจัมโบ้มีขนาดเล็กอยู่แล้วจึงไม่จำเป็นต้องบำรุงด้วยสูตร หยุดเมล็ด-สร้างเนื้อ แต่ให้บำรุงต่อไปตามปกติ

- ข้อดีของพุทราจัมโบ้คือไม่มีหนาม ช่วยให้การทำงานสะดวก แต่ข้อเสียก็คือ ต้องมีไม้ค้ำกิ่งทำให้สิ้นเปลืองต้นทุน แนวทางแก้ปัญหาที่น่าพิจารณานำมาใช้ก็คือ การทำคอกสี่เหลี่ยมล้อมรอบต้นเมื่อกิ่งเจริญยาวขึ้นก็ให้จัดระเบียบแต่ละกิ่งขึ้นพาดกับไม้ล้อมคอก ซึ่งอาจจะมีมากกว่า 1ชั้นเหมือนค้างองุ่น หรือดัดแปลงรูปแบบค้างตามความเหมาะสมก็ได้


===================================================
===================================================


มะขามเทศ
ลักษณะทางธรรมชาติ :

- ปลูกได้ทุกพื้นที่ ทุกภาค และทุกฤดูกาล ชอบดินดำร่วน มีอินทรีย์วัตถุมากๆ ให้ผล ผลิตปีละรุ่น ยังไม่พบสายพันธุ์ทะวาย และยังไม่มีสาร หรือฮอร์โมนใดๆ บังคับให้ออกนอกฤดูได้

- ช่วงพักต้นต้องการน้ำพอหน้าดินชื้น แต่ช่วงกำลังมี ดอก-ผล ต้องการน้ำมากขึ้นโดย เฉพาะช่วงผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยวถ้าขาดน้ำเนื้อจะแห้ง รับประทานแล้วฝืดคอ ถ้ามีการให้น้ำสม่ำเสมอเนื้อจะฉ่ำนุ่มรับประทานได้อร่อยกว่า

- ต้นพันธุ์ดีเสียบยอดบนตอมะขามเทศฝาด แล้วเสริมรากด้วยมะขามเทศฝาดอีก 1-2 ราก นอกจากทำให้มีรากจำนวนมากขึ้น ซึ่งหมายถึงปริมาณสารอาหารที่ส่งไปเลี้ยงต้นได้มากขึ้นแล้ว ยังช่วยสะสมไนโตรเจน (มะขามเทศเป็นพืชตระกูลถั่ว) ได้มากขึ้นอีกด้วย เมื่อต้นได้รับสารอาหารและไนโตรเจนจากรากเพิ่มมากขึ้นจึงส่งผลให้สมบูรณ์ผลผลิตดีอีกต่างหาก

- อายุต้น 5 ปีขึ้นไปปริมาณและคุณภาพผลผลิตจะลดลง แก้ไขโดยตัดแต่งกิ่งแบบทำสาว และตัดแต่งราก หลังจากนั้นก็ให้ตัดแต่งหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตเพื่อเข้าสู่ฤดูกาลผลิตใหม่ปีละครั้ง

- ออกดอกติดผลจากปลายกิ่งที่แตกใหม่ในปีนั้นเท่านั้น
- กิ่งแขนงที่ออกตามโคนกิ่งของต้นที่สมบูรณ์จริงๆก็สามารถออกดอกติดผลได้
- ดอกเป็นดอกสมบูรณ์เพศผสมกันเองในดอก หรือต่างดอกในต้นเดียวกัน หรือต่างต้นได้
- เกสรตัวผู้หรือเกสรตัวเมียอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างไม่สมบูรณ์เกิดจากขาดสารอาหาร/ฮอร์โมนหรือสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม (อากาศร้อนหรือฝนตกชุก) แล้วผสมกันแล้วพัฒนาเป็นผลจะเป็นผลไม่สมบูรณ์ ไม่โต รูปทรงบิดเบี้ยว

- เป็นผลไม้ที่ออกสู่ตลาดในฤดูกาลที่ไม่ตรงกับไม้ผลเด่นอื่นๆ ยกเว้นไม้ผลทะวาย หรือไม้ผลที่บังคับให้ออกนอกฤดูกาลจึงทำให้มะขามเทศไม่มีคู่แข่งทางตลาดและได้ราคาดี

- ให้ฮอร์โมนบำรุงราก 2-3 เดือน/ครั้ง และฮอร์โมนไซโตคินนิน 1-2 เดือน/ครั้ง จะช่วยให้ต้นสมบูรณ์ออกดอกติดผลดี

เตรียมต้น ตัดแต่งกิ่ง :
- เทคนิคการ ตัดแต่ง-เรียกใบอ่อน แบบ “บำรุงก่อนตัด” กล่าวคือ ระหว่างที่ต้นเลี้ยงลูกนั้น ต้นต้องใช้พลังงานอย่างมาก จนทำให้ต้นโทรม หลังจากผลลูกสุดท้ายหลุดจากต้นแล้วให้บำรุงด้วยสูตรเรียกใบอ่อน ทั้งทางใบและทางราก หรือเฉพาะทางใบอย่างเดียวก่อน 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน เพื่อให้ต้นได้ใช้ใบเดิมที่มีสังเคราะห์อาหาร เมื่อเห็นว่า ต้นมีอาการสมบูรณ์ดี ทำท่าจะแตกยอดใหม่ ก็ให้ปฏิบัติการเรียกใบอ่อนทันที การที่ต้นมีความสมบูรณ์อยู่ ต้นก็จะแตกใบอ่อนใหม่ เร็ว ดี มาก และพร้อมกันทั่วทั้งต้น

- ตัดแต่งเพื่อการแตกยอดใหม่ให้ตัดกิ่งกระโดง กิ่งในทรงพุ่ม กิ่งคดงอ กิ่งชี้ลง กิ่งไขว้ กิ่งหางหนู กิ่งเป็นโรค ทั้งนี้ภายในทรงพุ่มควรให้โปร่งจนแสงส่องผ่านลงไปถึงโคนต้นได้

- ตัดแต่งเพื่อไม่ให้แตกใหม่ป้องกันทรงพุ่มทึบเกินไป ให้ตัดชิดลำกิ่งประธาน
- ตัดแต่งกิ่งเพื่อเข้าสู่วงรอบการบำรุงให้ได้ผลผลิตให้ตัดแต่งกิ่งพร้อมกับตัดแต่งราก
- ต้นที่ตัดแต่งกิ่งออกมากๆ (มากกว่า 50% ควรเรียกใบอ่อน 2 ชุด ส่วนต้นที่ตัดแต่งกิ่งออกไม่มาก (ประมาณ 25-30%) เรียกใบอ่อน 1 ชุดก็พอ

- ตัดยอดกิ่งประธาน (ผ่ากบาล) ณ ความสูงต้นตามต้องการ นอกจากช่วยทำให้แสงแดดผ่านจากยอดเข้าสู่ภายในทรงพุ่มได้อย่างทั่วถึง แล้วแสงแดดที่ร้อนยังช่วยกำจัดเชื้อราได้เป็นอย่างดี และเพื่อควบคุมขนาดความสูงทรงพุ่มอีกด้วย

- นิสัยการออกดอกของมะขามเทศไม่จำเป็นต้องกระทบหนาว แต่ถ้า ตัดแต่งกิ่ง-เรียกใบอ่อน ช่วงต้นหน้าฝนแล้วเข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงต่อไปตามลำดับอย่างถูกต้องสม่ำเสมอ จะทำให้ต้นมีความสมบูรณ์เต็มที่ดีกว่าการตัดแต่งกิ่งในช่วงอื่น

ขั้นตอนการปฏิบัติบำรุงต่อมะขามเทศ
1. เรียกใบอ่อน :

ทางใบ :
- ให้ไบโออิ 25-5-5 + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ 1-2 รอบ

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ กระดูกป่น ปุ๋ยคอก (ขี้วัวขี้ไก่ไข่ แกลบดิบ แห้งเก่าข้ามปี) ครั้งที่ 1 ของรุ่นหรือปีการผลิต ควรวางแผนให้ปีละ 2 ครั้ง

- คลุมโคนต้นด้วยเศษพืชแห้งหนาๆ เต็มพื้นที่บริเวณทรงพุ่ม ล้ำออกไปถึงนอกเขตทรงพุ่ม
- ให้ 25-7-7 (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นกลาง, 2 กก.ต้นใหญ่) /ต้น ละลายน้ำรดโคนต้น เขตทรงพุ่ม

- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 (2 ล.) /ไร่ รดทั่วแปลงทุกตารางนิ้ว 1-2 เดือน/ครั้ง

- ให้น้ำเปล่า ทุก 3-5 วัน

หมายเหตุ :
- เทคนิค ตัดแต่งกิ่งก่อนบำรุง กับ บำรุงก่อนตัดแต่กิ่ง เรื่องของเรื่องก็คือ ระหว่างที่มีลูกผลบนต้นนั้น ต้นต้องใช้พลังเลี้ยงลูกผลอย่างมาก ต้นจึงโทรม ลูกผลมากโทรมมาก ลูกผลน้อยโทรมน้อย ในเมื่อใบมีหน้าที่สังเคราะห์สารอาหาร ถ้าตัดใบทิ้งแล้วต้นจะเอาใบที่ไหนมาสังเคราะห์อาหาร เพราะฉะนั้น ให้บำรุงเรียกใบอ่อนก่อน 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน เมื่อเห็นว่า ต้นมีอาการอั้นตายอดก็ให้ลงมือตัดแต่งกิ่ง แล้วบำรุงด้วยสูตร “เรียกใบอ่อน” ตาม ปกติ ต้นก็จะแตกใบอ่อนดี จำนวนมาก และพร้อมกันทั้งต้น

- ลงมือปฏิบัติทันทีหลังตัดแต่งกิ่งและตัดแต่งรากเสร็จ
- หลังจากให้ทางใบไปแล้ว 5-7 วัน ถ้าต้นใดแตกใบอ่อนน้อยกว่า 50% ให้ฉีดพ่นซ้ำรอบสองด้วยอัตราและวิธีการเดิม เพราะถ้าต้นแตกใบอ่อนไม่พร้อมกันทั่วทั้งต้นจะส่งผลเสียหลายอย่างตั้งแต่ การเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่, การสะสมอาหารเพื่อการออก, การปรับ ซี/เอ็น เรโช, การเปิดตาดอก, ซึ่งจะออกดอกไม่พร้อมกันทั่วทั้งต้น และเมื่อดอกออกไม่พร้อมกันก็กลายเป็นผลไม่พร้อมกันทำให้ยุ่งยากต่อการปฏิบัติบำรุงตามขั้นตอนอย่างมาก .... แนวทางแก้ไข คือ ต้องบำรุงเรียกใบอ่อนให้ออกมาเป็นชุดเดียวพร้อมกันทั้งต้นให้ได้

- ต้นที่ตัดแต่งกิ่งออกมากๆ (มากกว่า 50%) ควรเรียกใบอ่อน 2 ชุด ส่วนต้นที่ตัดแต่งกิ่งออกไม่มาก (ประมาณ 25-30%) เรียกใบอ่อน 1 ชุดก็พอ

2. เร่งใบอ่อนเป็นใบแก่ :
ทางใบ :
- ให้ไบโออิ 0-21-74 หรือ 0-39-39 สูตรใดสูตรหนึ่ง + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบห่างกันรอบละ 7 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
ให้น้ำตามปกติ ทุก 2-3 วัน

หมายเหตุ :
- ลงมือปฏิบัติเมื่อใบเริ่มแผ่กางรับแสงแดดได้
- วัตถุประสงค์เพื่อเร่งใบชุดใหม่ให้สามารถสังเคราะห์อาหารและเร่งระยะเวลาเรียกใบอ่อนชุดต่อไปได้เร็วขึ้นกับทั้งเพื่อให้ใบอ่อนรอดพ้นจากทำลายของแมลงปากกัดปากดูด

- มะขามเทศต้นที่สะสมความสมบูรณ์เต็มที่มานานหลายปีติดต่อกัน หลังจากใบอ่อนเริ่มแผ่กางแล้วสามารถข้ามขั้นตอนการบำรุงไปสู่ขั้นตอนเปิดตาดอกได้เลย ทั้งนี้ ฟอสฟอรัส.กับโปแตสเซียม. นอกจากช่วยเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่ได้แล้วยังช่วยเปิดตาดอกได้อีกด้วย

3. สะสมอาหารเพื่อการออกดอก :
ทางใบ :
- ให้ไบโออิ 0-42-56 + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน ฉีดพ่นทั่วทรงพุ่ม คิดต่อกันนาน 1-2 เดือน
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- ให้ 8-24-24 (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นใหญ่, 2 กก.ต้นใหญ่) /ต้น ละลายน้ำรดโคนต้น เขตทรงพุ่ม

- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง 8-24-24 (2 ล.) /ต้น /เดือน รดทั่วแปลงทุกตารางนิ้ว
- ให้น้ำเปล่าปกติทุก 2-3 วัน

หมายเหตุ :
- เริ่มปฏิบัติเมื่อใบเพสลาด
- แนวทางบำรุงให้ต้นได้สะสมอาหารเพื่อการออกดอกไว้มากที่สุดควรเตรียมแผนใช้เวลาบำรุง 2-2 เดือนครึ่ง โดยให้น้ำตาลทางด่วน (กลูโคส) รอบแรกเมื่อเริ่มลงมือบำรุง และให้รอบสองห่างจากรอบแรก 20-30 วัน

- วัตถุประสงค์เพื่อให้ต้นได้สะสมสารอาหารทั้งกลุ่ม สร้างดอก-บำรุงผล (ซี.) และกลุ่มสร้างใบ-บำรุงต้น ไว้ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ จนกระทั่งเกิดอาการอั้นตาดอก ไม่มีการแตกใบอ่อนออกมาอีก ถ้าต้นแตกใบอ่อนออกมาใหม่ก็จะต้องย้อนกลับไปบำรุงที่ขั้นตอนเร่งใบอ่อนให้เป็นใบแก่อีกครั้งซึ่งทำให้เสียเวลา

- ก่อนเข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงขั้นต่อไป คือ ปรับ ซี/เอ็น เรโช. ให้ทบทวนความทรงจำเมื่อครั้งเรียกใบอ่อนแล้วใบอ่อนออกมาพร้อมกันเป็นชุดเดียวทั่วทั้งต้นหรือไม่ ถ้าใบอ่อนออกมาพร้อมกันดีทั่วทั้งต้นให้ปรับ ซี/เอ็น เรโช. ต่อไปได้เลย แต่ถ้าใบอ่อนออกมาไม่พร้อมกันเป็นชุดเดียวทั่วทั้งต้นและค่อนข้างต่างรุ่นกันมากก็ให้บำรุงสะสมอาหารเพื่อการออกดอกต่อไปอีก 2-3 รอบ เพื่อรอให้ใบอ่อนชุดหลังสะสมอาหารจนอั้นตาดอกดีเท่ากับใบอ่อนชุดแรกจากนั้นจึงลงมือปรับ ซี/เอ็น เรโช. ทั้งนี้ วัตถุประสงค์เพื่อทำให้มีดอกออกมาพร้อมกันเป็นชุดเดียวกันทั่วทั้งต้นนั่นเอง

4. ปรับ ซี/เอ็น เรโช :
ทางใบ :
- ให้ไบโออิ 0-42-56 + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ ระวังอย่าให้ลงพื้น
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
งดน้ำ เปิดหน้าดินโคนต้น

หมายเหตุ :
- ลงมือปฏิบัติเมื่อสังเกตเห็นความสมบูรณ์ของต้นชัดเจน
- ต้นที่มีอาการอั้นตาดอกดีจนพอใจแล้วไม่ต้องฉีดพ่นกลูโคสเพิ่มอีกแต่ถ้าต้นมีอาการอั้นตาดอกไม่ดีหรือยังไม่น่าพอใจ แนะนำให้ฉีดพ่นน้ำตาลทางด่วน (กลูโคส) ทางใบอีกซ้ำอีก 1 รอบ โดยเว้นระยะเวลาให้ห่างจากที่เคยให้เมื่อช่วงสะสมอาหารไม่น้อยกว่า 30-45 วัน

- วัตถุประสงค์เพื่อ “เพิ่ม” ปริมาณสารอาหารกลุ่ม สร้างดอก-บำรุงผล (ซี.) และ “ลด” ปริมาณสารอาหารกลุ่ม สร้างใบ-บำรุงต้น (เอ็น.)

5. เปิดตาดอก :
ทางใบ :
- ให้ไบโออิ 13-0-46 + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- ยังคงเปิดหน้าดินโคนต้น
- ให้น้ำพอหน้าดินชื้นหรือพอให้ต้นได้รู้สึกตัว

หมายเหตุ :
- ลงมือปฏิบัติเมื่อต้นมีอาการอั้นตาดอกทั่วทั้งต้นหรือทุกจุดที่สามารถออกดอกได้
- อาจจะพิจารณาใส่ 8-24-24 (100-200 กรัม) /ต้น อีก 1 รอบก็ได้ ด้วยการละลายน้ำรดโคนต้นพอหน้าดินชื้นเพื่อเสริมของเก่าที่ใส่เมื่อช่วงสะสมอาหารและช่วงที่ปรับ ซี/เอ็น เรโช.

- หลังจากเปิดตาดอกแล้ว ถ้าดอกออกมาไม่มากพอ ระหว่างที่ดอกชุดแรกยังเป็นดอกตูมอยู่นั้นให้เปิดตาดอกซ้ำอีก 1-2 รอบ ด้วยสูตรเดิม หรือจนกระทั่งดอกชุดแรกบานแล้วจึงยุติการเปิดตาดอกซ้ำ

- มะขามเทศเป็นไม้ผลมีนิสัยออกดอกง่าย หากบำรุงต้นได้สมบูรณ์เต็มที่ก็สามารถออกดอกเองได้

6. บำรุงดอก :
ทางใบ :
- ให้ไบโออิ 15-45-15 (หน้าฝน) หรือ 0-52-34 (หน้าแล้ง) + สารสสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ

- ฉีดพ่นสารสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- ยังคงเปิดหน้าดินโคนต้น
- ให้น้ำพอหน้าดินชื้น

หมายเหตุ :
- ช่วงดอกตั้งแต่เริ่มแทงออกมาให้เห็น (ก้านดอกยาว 1-2 ซม.) หรือระยะดอกตูม บำรุงด้วยฮอร์โมน เอ็นเอเอ.1-2 รอบ จะช่วยบำรุงเกสรทั้งตัวผู้และตัวเมียให้สมบูรณ์พร้อมรับผสม การให้ฮอร์โมนเอ็นเอเอ. ต้องใช้ด้วยความระมัดระวังเพราะถ้าให้เข้มข้นเกินไปจะเกิดความเสียหายต่อดอกและถ้าให้อ่อนเกินไปก็จะไม่ได้ผล

- ช่วงดอกเริ่มแทงออกมาใหม่ๆให้แคลเซียม โบรอน 1 รอบ จะช่วยให้ดอกสมบูรณ์ผสมติดดี
- ฉีดพ่นสารอาหารเพื่อบำรุงดอกด้วยเครื่องมือฉีดพ่นที่มีแรงลมพ่นเบาที่สุดตามความเหมาะสมเพื่อไม่ให้กระทบกระเทือนต่อส่วนต่างๆของดอก ฉีดพ่นที่ช่อดอกโดยตรงพอเปียกหรือฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่มพอเปียกใบก็ได้

- ช่วงดอกตูมควรฉีดพ่นสารสมุนไพรให้บ่อยขึ้น เพื่อป้องกันกำจัดโรคและแมลงจนถึงช่วงดอกบาน
- ช่วงดอกบานควรงดการฉีดพ่นทางใบโดยเฉาะช่วงกลางวัน (08.00-12.00 น.) เพราะอาจทำให้เกสรเปียกจนผสมไม่ติดได้ หากจำเป็นต้องฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรให้ฉีดพ่นช่วงหลังค่ำ

- ระยะดอกบานถ้าตรงกับช่วงฝนชุกเกสรจะเปียกชื้นทำให้ผสมไม่ติด แก้ไขโดยกะระยะเวลาบำรุงให้ดอกออกมาแล้วไม่ตรงกับช่วงฝนชุกเท่านั้น แต่ถ้าดอกออกมาตรงกับช่วงแล้งอากาศร้อนมากเกสรจะฝ่อทำให้ผสมไม่ติดเช่นกัน แก้ไขโดยสร้างความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศและที่พื้นดิน ทั้งในแปลงปลูกและรอบๆแปลงปลูก .... มาตรการบำรุงต้นและดอกให้สมบูรณ์อย่างแท้จริงอยู่เสมอสามารถช่วยลดความสูญเสียได้เป็นอย่างมาก

- ต้นที่ได้รับ แม็กเนเซียม (จากไบโออิ). โบรอน (จากแคลเซียม โบรอน). สม่ำเสมอแบบสะสม ถึงช่วงออกดอกแล้วเจอฝน ดอกจะแข็งแรงไม่ร่วงง่ายๆ หรือติดเป็นผลได้ดีเหมือนปกติ

7. บำรุงผลเล็ก (ฝักดาบ) : [b]
ทางใบ :
- ให้ไบโออิ ยูเรก้า จิ๊บเบอเรลลิน + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน ฉีดพ่นทั่วทรงพุ่ม

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- นำอินทรีย์วัตถุกลับเข้าคลุมโคนต้นให้เหมือนเดิม
- ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ กระดูกป่น ปุ๋ยคอก (ขี้วัวขี้ไก่ไข่ แกลบดิบ แห้งเก่าข้ามปี) ครั้งที่ 2 ของรุ่น หรือปีการผลิต

- คลุมโคนต้นด้วยเศษพืชแห้งหนาๆ เต็มพื้นที่บริเวณทรงพุ่ม ล้ำออกไปถึงนอกเขตทรงพุ่ม
- ให้ 25-7-7 (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นใหญ่, 2 กก.ต้นใหญ่) /ต้น ละลายน้ำรดโคนต้น เขตทรงพุ่ม

- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 (2 ล.) /ไร่ รดทั่วแปลงทุกตารางนิ้ว 1-2 เดือน/ครั้ง

- ให้น้ำเปล่าปกติทุก 2-3 วัน

หมายเหตุ :
- เริ่มบำรุงเมื่อผลเริ่มติดหรือหลังกลีบดอกร่วง .... ระยะนี้ฝักมีรูปร่างแบนๆ เรียก ว่า "ฝักดาบ" การบำรุงด้วยจิ๊บเบอเรลลินจะช่วยให้ฝักยาว ซึ่งจะส่งผลดีต่อการขยายขนาดฝักในช่วงบำรุงขั้นต่อไป

8. บำรุงผลกลาง (ขึ้นรูป) :
ทางใบ :
- ให้ไบโออิ + ยูเรก้า + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน ฉีดพ่นทั่วทรงพุ่ม

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
ทางราก :
- ให้ 21-7-14 (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นใหญ่, 2 กก.ต้นใหญ่) /ต้น ละลายน้ำรดโคนต้น เขตทรงพุ่ม

- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 21-7-14 (2 ล.) /ไร่ รดทั่วแปลงทุกตารางนิ้ว 1-2 เดือน/ครั้ง

- ให้น้ำเปล่าปกติทุก 2-3 วัน

หมายเหตุ :
- เริ่มให้เมื่อฝักโตเห็นตุ่มเมล็ดนูนขึ้นมา ลักษณะนี้ชาวสวนเรียกว่า “ขึ้นรูป”

9. บำรุงผลแก่ :
ทางใบ :
- ให้ไบโออิ 0-21-74 หรือ 0-0-50 สูตรใดสูตรหนึ่ง + สารสมุนไพร 250 ซีซี. 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน ให้ครั้งสุดท้ายก่อนเก็บเกี่ยว 5-7 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- ให้ 8-24-24 หรือ 13-13-21 สูตรใดสูตรหนึ่ง (1/2 กก.) /ต้น ละลายน้ำรดโคนต้น เขตทรงพุ่ม

- ให้น้ำพอหน้าดินชื้น ทุก 2-3 วัน

หมายเหตุ :
- มะขามเทศต่างจากผลไม้อื่นๆ ที่ระยะผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยวจะต้องให้น้ำตามปกติหรือมากกว่าปกติเล็กน้อย เพื่อให้เนื้อฉ่ำน้ำ เมื่อรับประทานจะไม่ติดคอหรือฝืดคอ (รับประทานมะขามเทศเนื้อแห้งๆ เหมือนกับรับประทานขนมโก๋) ในขณะที่ผลไม้อื่นต้องงดให้น้ำเพื่อทำให้เนื้อแห้งและกรอบ

- เริ่มให้ก่อนเก็บเกี่ยว 7-10 วัน 1-2 รอบห่างกันรอบละ 5-7 วัน
- การให้ 13-13-21 เหมาะสำหรับมะขามเทศที่มีผลรุ่นเดียวกันทั้งต้น หลังจากเก็บเกี่ยวแล้วต้นมักโทรมจึงต้องเร่งบำรุงฟื้นฟูความสมบูรณ์ของต้น (เรียกใบอ่อน) กลับคืนมาโดยเร็วแล้วเข้าสู่วงรอบการบำรุงใหม่

- การให้ 8-24-24 เหมาะสำหรับต้นที่มีผลหลายรุ่นในต้นเดียวกันหรือประเภททะวายทยอยออก แบบไม่มีรุ่นซึ่งหลังจากเก็บเกี่ยวผลแก่จัดไปแล้วต้นไม่โทรม ใน 8-24-24 เป็นปุ๋ยประเภทสะสมอาหารเพื่อการออกดอก ซึ่งจะส่งผลให้กิ่งที่ยังไม่ออกดอกติดผลเกิดอาการอั้นแล้วออกดอกติดผลเป็นผลรุ่นใหม่ขึ้นมาอีกได้

================================================
================================================



มะขามเปรี้ยว
ลักษณะทางธรรมชาติ :

- เป็นไม้ผลยืนต้นอายุนับร้อยปี ปลูกได้ทุกพื้นที่ ทุกภาค และทุกฤดูกาล ทนแล้งและเจริญเติบโตดีในดินทุกประเภท เนื้อดินลึก มีอินทรีย์วัตถุมากๆ ต้นที่ได้รับการบำรุงดีๆจะให้ผลผลิตตลอดปีแบบไม่มีรุ่น

- ลักษณะทางสายพันธุ์อย่างหนึ่งที่ต่างจากมะขามหวานก็คือ แม้อายุต้นมากๆหรือให้ผลผลิตมานานปีแล้วความเปรี้ยวจะไม่เปลี่ยนแปลง ในขณะที่มะขามหวานนั้นหากบำรุงไม่ดีและไม่ถูกต้องความหวานจะเปลี่ยนเป็นความเปรี้ยว

- ไม่ชอบน้ำมากจนเกินไป ถ้าน้ำมากถึงระดับรากต้องแช่น้ำตลอดเวลาหรือระดับน้ำใต้ดินตื้นจะแตกใบอ่อนมากจนเฝือใบ

- เพื่อให้ต้นมีความสมบูรณ์อยู่เสมอควรให้ฮอร์โมนบำรุงราก 2-3 เดือน/ครั้ง และให้ฮอร์โมนไซโตคินนิน 1-2 เดือน/ครั้ง

- เป็นไม้ผลยืนต้นประเภทออกดอกติดผลได้ตลอดปีแบบไม่มีรุ่น ถ้าต้นได้รับการบำรุงดีถูกต้องเต็มที่สม่ำเสมอจะให้ผลผลิตดกและคุณภาพดี แต่ถ้าไม่ได้รับการบำรุงเลยผลผลิตที่ออกมาก็ไม่ดกและคุณภาพไม่ดี

- ออกดอกจากซอกใบปลายกิ่ง เป็นดอกสมบูรณ์เพศที่ผสมตัวเอง หรือต่างดอกในต้นเดียวหัน หรือต่างต้นได้ดี

- เกสรตัวผู้หรือเกสรตัวเมียอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างไม่สมบูรณ์เกิดจากขาดสารอาหาร/ฮอร์โมนหรือสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม (อากาศร้อนหรือฝนตกชุก) แล้วผสมกันแล้วพัฒนาเป็นผลจะเป็นผลไม่สมบูรณ์ ไม่โต รูปทรงบิดเบี้ยว

- ช่วงเดือน ก.พ.- เม.ย. ผลมะขามอ่อนมีราคาดีมากเนื่องจากเป็นช่วงแล้ง แต่หากมีการเตรียมความพร้อมต้นก่อนหน้านั้นก็สามารถทำให้มะขามเปรี้ยวออกดอกติดผลเป็นผลอ่อนจำหน่ายช่วงเดือน ก.พ.- เม.ย.ได้ไม่ยาก ทั้งนี้เพราะมะขามเปรี้ยวสามารถออกดอกติดผลได้ตลอดปีแบบไม่มีรุ่นอยู่แล้ว

- รัฐบาลบังคลาเทศแนะนำประชาชนว่า ปลูกมะขามเปรี้ยวเหมือนมีมรดกเงินล้านให้ลูกหลานเพราะปลูกครั้งเดียวมีผลผลิตให้เก็บเกี่ยวได้ตลอดชาติ ทั้งนี้ประเทศบังคลาเทศมีอุตสาหกรรมแปรรูปมะขามเปรี้ยวรองรับอยู่แล้ว

เตรียมต้น ตัดแต่งกิ่ง :
- เนื่องจากเป็นพืชใบเล็กมักไม่ค่อยมีปัญหาใบแน่นทึบจนบังแสงแดดซึ่งกันและกัน การไม่บังแสงแดดซึ่งกันและกันจะทำให้กิ่งในทรงพุ่มโปร่งส่งผลให้ออกดอกติดผลได้ ดังนั้นก่อนลงมือตัดแต่งกิ่งจึงต้องพิจารณาประเด็นนี้ด้วย หากจำเป็นต้องตัดแต่งกิ่งจริงๆก็ให้ตัดแต่งเพื่อให้เกิดการแตกยอดใหม่โดยตัดกิ่งกระโดง กิ่งในทรงพุ่ม กิ่งคดงอ กิ่งชี้ลง กิ่งไขว้กิ่งหางหนู กิ่งเป็นโรค ทั้งนี้ภายในทรงพุ่มควรให้โปร่งจนแสงส่องผ่านลงไปถึงโคนต้นได้

- ถ้าต้องการตัดแต่งกิ่งเพื่อไม่ให้แตกใหม่ป้องกันทรงพุ่มทึบเกินไปให้ตัดชิดลำกิ่งประธาน
- ตัดยอดกิ่งประธาน (ผ่ากบาล) ณ ความสูงต้นตามต้องการ นอกจากช่วยทำให้แสงแดดผ่านจากยอดเข้าสู่ภายในทรงพุ่มได้อย่างทั่วถึงแล้วแสงแดดที่ร้อนยังช่วยกำจัดเชื้อราได้เป็นอย่างดีและเพื่อควบคุมขนาดความสูงทรงพุ่มด้วย

- นิสัยการออกดอกของมะขามเปรี้ยวไม่จำเป็นต้องกระทบหนาว แต่ถ้า ตัดแต่งกิ่ง-เรียกใบอ่อน ช่วงต้นหน้าฝน แล้วเข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงต่อไปตามลำดับอย่างถูกต้องสม่ำเสมอ จะทำให้ต้นมีความสมบูรณ์เต็มที่ดีกว่าการตัดแต่งกิ่งในช่วงอื่น

ขั้นตอนการปฏิบัติบำรุงต่อมะขามเปรี้ยว
1. เรียกใบอ่อน :

ทางใบ :
- ให้ไบโออิ 25-5-5 + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ 1-2 รอบ

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ กระดูกป่น ปุ๋ยคอก (ขี้วัวขี้ไก่ไข่ แกลบดิบ แห้งเก่าข้ามปี) ครั้งที่ 1 ของรุ่นหรือปีการผลิต

- คลุมโคนต้นด้วยเศษพืชแห้งหนาๆ เต็มพื้นที่บริเวณทรงพุ่ม ล้ำออกไปถึงนอกเขตทรงพุ่ม
- ให้ 25-7-7 (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นกลาง, 2 กก.ต้นใหญ่) /ต้น ละลายน้ำรดโคนต้น เขตทรงพุ่ม

- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 (2 ล.) /ไร่ รดทั่วแปลงทุกตารางนิ้ว 1-2 เดือน/ครั้ง

- ให้น้ำเปล่า ทุก 3-5 วัน

หมายเหตุ :
- เทคนิคการ ตัดแต่ง-เรียกใบอ่อน แบบ “บำรุงก่อนตัด” กล่าวคือ ระหว่างที่ต้นเลี้ยงลูกนั้น ต้นต้องใช้พลังงานอย่างมาก จนทำให้ต้นโทรม หลังจากผลลูกสุดท้ายหลุดจากต้นแล้วให้บำรุงด้วยสูตรเรียกใบอ่อน ทั้งทางใบและทางราก หรือเฉพาะทางใบอย่างเดียวก่อน 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน เพื่อให้ต้นได้ใช้ใบเดิมที่มีสังเคราะห์อาหาร เมื่อเห็นว่า ต้นมีอาการสมบูรณ์ดี ทำท่าจะแตกยอดใหม่ ก็ให้ปฏิบัติการเรียกใบอ่อนทันที การที่ต้นมีความสมบูรณ์อยู่ ต้นก็จะแตกใบอ่อนใหม่ เร็ว ดี มาก และพร้อมกันทั่วทั้งต้น

- ลงมือปฏิบัติทันทีหลังตัดแต่งกิ่ง
- หลังจากให้ทางใบไปแล้ว 5-7 วัน ถ้าต้นใดแตกใบอ่อนน้อยกว่า 50% ให้ฉีดพ่นซ้ำรอบสองด้วยอัตราและวิธีการเดิม เพราะถ้าต้นแตกใบอ่อนไม่พร้อมกันทั่วทั้งต้นจะส่งผลเสียหลายอย่างตั้งแต่การเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่ การสะสมอาหารเพื่อการออก การปรับ ซี/เอ็น เรโช การเปิดตาดอก ซึ่งจะออกดอกไม่พร้อมกันทั่วทั้งต้น และเมื่อดอกออกไม่พร้อมกันก็กลายเป็นผลไม่พร้อมกันทำให้ยุ่งยากต่อการปฏิบัติบำรุงตามขั้นตอนอย่างมาก .... แนวทางแก้ไข คือ ต้องบำรุงเรียกใบอ่อนให้ออกมาเป็นชุดเดียวพร้อมกันทั้งต้นให้ได้

- มะขามเปรี้ยวต้องการใบอ่อน 2 ชุด ถ้าต้นสมบูรณ์ดี มีการเตรียมดินและปรับปรุงบำรุงดินสม่ำเสมอต่อเนื่องมาหลายๆปีแล้ว หลังจากใบอ่อนชุดแรกเพสลาดแล้วให้เรียกใบอ่อนชุด 2 ต่อได้เลย ใบชุด 2 นี้อาจจะออกไม่พร้อมกันทั้งต้นเหมือนชุดแรกแต่ก็จะออกห่างกันไม่เกิน 7-10 วัน และหลังจากใบอ่อนชุด 2 เพสลาดก็ให้เข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงต่อไปตาม ปกติ

2. เร่งใบอ่อนเป็นใบแก่ :
ทางใบ :
- ให้ไบโออิ 0-21-74 หรือ 0-39-39 สูตรใดสูตรหนึ่ง + สารสมุนไพร 2
รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบห่างกันรอบละ 7 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
ให้น้ำตามปกติ ทุก 2-3 วัน

หมายเหตุ :
- ลงมือปฏิบัติเมื่อใบเริ่มแผ่กางรับแสงแดดได้
- วัตถุประสงค์เพื่อเร่งใบชุดใหม่ให้สังเคราะห์อาหารได้ และเร่งระยะเวลาเรียกใบอ่อนชุดต่อไปเร็วขึ้น กับทั้งเพื่อให้ใบอ่อนรอดพ้นจากทำลายของแมลงปากกัดปากดูด

- สารอาหารในกลุ่มเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่มีฟอสฟอรัส. และโปแตสเซียม. นอกจากช่วยเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่แล้วยังช่วยเสริมประสิทธิภาพขั้นตอนสะสมอาหารเพื่อการออกดอกได้ด้วย

3. สะสมอาหารเพื่อการออกดอก :
ทางใบ :
- ให้ไบโออิ 0-42-56 + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน ฉีดพ่นทั่วทรงพุ่ม คิดต่อกันนาน 1-2 เดือน

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- ให้ 8-24-24 (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นใหญ่, 2 กก.ต้นใหญ่) /ต้น ละลายน้ำรดโคนต้น เขตทรงพุ่ม

- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง8-24-24 (2 ล.) /ต้น /เดือน รดทั่วแปลงทุกตารางนิ้ว
- ให้น้ำเปล่าปกติทุก 2-3 วัน

หมายเหตุ :
- เริ่มปฏิบัติเมื่อใบเพสลาด
- แนวทางบำรุงให้ต้นได้สะสมอาหารเพื่อการออกดอกไว้มากที่สุดควรเตรียมแผนใช้เวลาบำรุง 2-2 เดือนครึ่ง โดยให้น้ำตาลทางด่วน (กลูโคส) รอบแรกเมื่อเริ่มลงมือบำรุงและให้รอบสองห่างจากรอบแรก 20-30 วัน

- วัตถุประสงค์เพื่อให้ต้นได้สะสมสารอาหารทั้งกลุ่ม สร้างดอก-บำรุงผล (ซี.) และกลุ่ม สร้างใบ-บำรุงต้น ไว้ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ จนกระทั่งเกิดอาการอั้นตาดอก ไม่มีการแตกใบอ่อนออกมาอีก ถ้าต้นแตกใบอ่อนออกมาใหม่ก็จะต้องย้อนกลับไปบำรุงที่ขั้น ตอนเร่งใบอ่อนให้เป็นใบแก่อีกครั้งซึ่งทำให้เสียเวลา

- ก่อนเข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงขั้นต่อไป คือ ปรับ ซี/เอ็น เรโช. ให้ทบทวนความทรงจำเมื่อครั้งเรียกใบอ่อนแล้วใบอ่อนออกมาพร้อมกันเป็นชุดเดียวทั่วทั้งต้นหรือไม่ ถ้าใบอ่อนออกมาพร้อมกันดีทั่วทั้งต้นให้ปรับ ซี/เอ็น เรโช. ต่อไปได้เลย แต่ถ้าใบอ่อนออกมาไม่พร้อมกันเป็นชุดเดียวทั่วทั้งต้นและค่อนข้างต่างรุ่นกันมากก็ให้บำรุงสะสมอาหารเพื่อการออกดอกต่อไปอีก 2-3 รอบ เพื่อรอให้ใบอ่อนชุดหลังสะสมอาหารจนอั้นตาดอกดีเท่ากับใบอ่อนชุดแรกจากนั้นจึงลงมือปรับ ซี/เอ็น เรโช. ทั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อทำให้มีดอกออกมาพร้อมกันเป็นชุดเดียวกันทั่วทั้งต้นนั่นเอง

4. ปรับ ซี/เอ็น เรโช :
ทางใบ :
- ให้ไบโออิ 0-42-56 + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ ระวังอย่าให้ลงพื้น

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
งดน้ำ เปิดหน้าดินโคนต้น

หมายเหตุ :
- ลงมือปฏิบัติเมื่อสังเกตเห็นความสมบูรณ์ของต้นชัดเจน
- ต้นที่มีอาการอั้นตาดอกดีจนพอใจแล้วไม่ต้องฉีดพ่นกลูโคสเพิ่มอีก แต่ถ้าต้นมีอาการอั้นตาดอกไม่ดีหรือยังไม่น่าพอใจ แนะนำให้ฉีดพ่นกลูโคส (น้ำตาลทางด่วน) ทางใบอีกซ้ำอีก 1 รอบ โดยเว้นระยะเวลาให้ห่างจากที่เคยให้เมื่อช่วงสะสมอาหารไม่น้อยกว่า 30-45 วัน

- วัตถุประสงค์เพื่อ “เพิ่ม” ปริมาณสารอาหารกลุ่ม สร้างดอก-บำรุงผล (ซี.) และ “ลด” ปริมาณสารอาหารกลุ่มสร้างใบ-บำรุงต้น (เอ็น.)

5. เปิดตาดอก :
ทางใบ :
- ให้ไบโออิ 13-0-46 + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- ยังคงเปิดหน้าดินโคนต้น
- ให้น้ำพอหน้าดินชื้นหรือพอให้ต้นได้รู้สึกตัว

หมายเหตุ :
- ลงมือปฏิบัติเมื่อต้นมีอาการอั้นตาดอกทั่วทั้งต้นหรือทุกจุดที่สามารถออกดอกได้
- อาจจะพิจารณาใส่ 8-24-24 (100-200 กรัม)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม. อีก 1 รอบก็ได้ด้วยการละลายน้ำรดโคนต้นพอหน้าดินชื้นเพื่อเสริมของเก่าที่ใส่เมื่อช่วงสะสมอาหารและช่วงที่ปรับ ซี/เอ็น เรโช.

- หลังจากเปิดตาดอกแล้ว ถ้าดอกออกมาไม่มากพอ สาเหตุมาจากตั้งแต่ช่วงเรียกใบอ่อนแล้วใบอ่อนออกมาไม่พร้อมกันทั่วทั้งต้น ระหว่างที่ดอกชุดแรกยังเป็นดอกตูมอยู่นั้น ให้เปิดตาดอกซ้ำอีก 1-2 รอบด้วยสูตรเดิม หรือจนกระทั่งดอกชุดแรกบานแล้วจึงยุติการเปิดตาดอกซ้ำ

- มะขามเปรี้ยวเป็นไม้ผลมีนิสัยออกดอกง่ายหากบำรุงต้นได้สมบูรณ์เต็มที่

6. บำรุงดอก :
ทางใบ :
- ให้ไบโออิ 15-45-15 (หน้าฝน) หรือ 0-52-34 (หน้าแล้ง) + สารสสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ

- ฉีดพ่นสารสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- ยังคงเปิดหน้าดินโคนต้น
- ให้น้ำพอหน้าดินชื้น

หมายเหตุ :
- ช่วงดอกตั้งแต่เริ่มแทงออกมาให้เห็น (ก้านดอกยาว 1-2 ซม.) หรือระยะดอกตูม บำรุงด้วยฮอร์โมน เอ็นเอเอ. 1-2 รอบ จะช่วยบำรุงเกสรทั้งตัวผู้และตัวเมียให้สมบูรณ์พร้อมรับผสม แต่ต้องใช้ด้วยระมัดระวังเพราะถ้าให้เข้มข้นเกินไปจะเกิดความเสียหายต่อดอกและถ้าให้อ่อนเกินไปก็จะไม่ได้ผล

- ช่วงดอกเริ่มแทงออกมาใหม่ๆให้แคลเซียม โบรอน. 1 รอบ จะช่วยให้ดอกสมบูรณ์ผสมติดดี

- ฉีดพ่นสารอาหารเพื่อบำรุงดอกด้วยเครื่องมือฉีดพ่นที่มีแรงลมพ่นเบาที่สุดตามความเหมาะสมเพื่อไม่ให้กระทบกระเทือนต่อส่วนต่างๆของดอก ฉีดพ่นที่ช่อดอกโดยตรงพอเปียกหรือฉีดพ่นให้ทั่งทรงพุ่มพอเปียกใบก็ได้

- บำรุงดอกช่วงฝนชุกให้เน้น “สังกะสี และ แคลเซียม โบรอน” โดยให้เมื่อดอกออกมาแล้วหรือให้แบบสะสมล่วงหน้าตั้งแต่ช่วงเปิดตาดอก ให้แบบเดี่ยวๆ หรือผสมรวมไปกับธาตุอาหารอื่นๆก็ได้

- ช่วงดอกตูมควรฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรให้บ่อยขึ้น เพื่อป้องกันกำจัดโรคและแมลงจนถึงช่วงดอกบาน

- ช่วงดอกบานควรงดการฉีดพ่นทางใบโดยเฉาะช่วงกลางวัน (08.00-12.00 น.) เพราะอาจทำให้เกสรเปียกจนผสมไม่ติดได้ หากจำเป็นต้องฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรให้ฉีดพ่นช่วงหลังค่ำ

- ระยะดอกบานถ้าตรงกับช่วงฝนชุกเกสรจะเปียกชื้นทำให้ผสมไม่ติด แก้ไขโดยกะระยะเวลาบำรุงให้ดอกออกมาแล้วไม่ตรงกับช่วงฝนชุกเท่านั้น แต่ถ้าดอกออกมาตรงกับช่วงแล้ง อากาศร้อนมาก เกสรจะฝ่อ ทำให้ผสมไม่ติดเช่นกัน แก้ไขโดยสร้างความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศและที่พื้นดิน ทั้งในแปลงปลูกและรอบๆแปลงปลูก .... มาตรการบำรุงต้นและดอกให้สมบูรณ์อย่างแท้จริงอยู่เสมอสามารถช่วยลดความสูญเสียได้เป็นอย่างมาก

ต้นที่ได้รับ แม็กเนเซียม (จากไบโออิ). โบรอน (จากแคลเซียม โบรอน). สม่ำเสมอแบบสะสม ถึงช่วงออกดอกแล้วเจอฝน ดอกจะแข็งแรงไม่ร่วงง่ายๆ หรือติดเป็นผลได้ดีเหมือนปกติ

7. บำรุงผลเล็ก (ฝักดาบ) :
ทางใบ :
- ให้ไบโออิ ยูเรก้า จิ๊บเบอเรลลิน + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน ฉีดพ่นทั่วทรงพุ่ม

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- นำอินทรีย์วัตถุกลับเข้าคลุมโคนต้นให้เหมือนเดิม
- ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ กระดูกป่น ปุ๋ยคอก (ขี้วัวขี้ไก่ไข่ แกลบดิบ แห้งเก่าข้ามปี) ครั้งที่ 2 ของรุ่น หรือปีการผลิต

- คลุมโคนต้นด้วยเศษพืชแห้งหนาๆ เต็มพื้นที่บริเวณทรงพุ่ม ล้ำออกไปถึงนอกเขตทรงพุ่ม
- ให้ 25-7-7 (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นใหญ่, 2 กก.ต้นใหญ่) /ต้น ละลายน้ำรดโคนต้น เขตทรงพุ่ม

- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 (2 ล.) /ไร่ รดทั่วแปลงทุกตารางนิ้ว 1-2 เดือน/ครั้ง

- ให้น้ำเปล่าปกติทุก 2-3 วัน

หมายเหตุ :
- เริ่มบำรุงเมื่อผลเริ่มติดหรือหลังกลีบดอกร่วง .... ระยะนี้ฝักมีรูปร่างแบนๆ เรียกว่า "ฝักดาบ" การบำรุงด้วยจิ๊บเบอเรลลินจะช่วยให้ฝักยาว ซึ่งจะส่งผลดีต่อการขยายขนาดฝักในช่วงบำรุงขั้นต่อไป

8. บำรุงผลกลาง (ขึ้นรูป) :
ทางใบ :
- ให้ไบโออิ + ยูเรก้า + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน ฉีดพ่นทั่วทรงพุ่ม

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- ให้ 21-7-14 (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นใหญ่, 2 กก.ต้นใหญ่) /ต้น ละลายน้ำรดโคนต้น เขตทรงพุ่ม

- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 21-7-14 (2 ล.) /ไร่ รดทั่วแปลงทุกตารางนิ้ว 1-2 เดือน/ครั้ง

- ให้น้ำเปล่าปกติทุก 2-3 วัน

หมายเหตุ :
- เริ่มให้เมื่อฝักโตเห็นตุ่มเมล็ดนูนขึ้นมา ลักษณะนี้ชาวสวนเรียกว่า “ขึ้นรูป”

9. บำรุงผลแก่
ทางใบ :
- ให้ไบโออิ 0-21-74 หรือ 0-0-50 สูตรใดสูตรหนึ่ง + สารสมุนไพร 250 ซีซี. 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน ให้ครั้งสุดท้ายก่อนเก็บเกี่ยว 5-7 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- ให้ 8-24-24 หรือ 13-13-21 สูตรใดสูตรหนึ่ง (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นใหญ่, 2 กก.ต้นใหญ่) /ต้น ละลายน้ำรดโคนต้น เขตทรงพุ่ม

- ให้น้ำพอหน้าดินชื้น ทุก 2-3 วัน

หมายเหตุ
- เริ่มให้ก่อนเก็บเกี่ยว 7-10 วัน 1-2 รอบห่างกันรอบละ 5-7 วัน
- การให้ 13-13-21 เหมาะสำหรับมะขามเปรี้ยวที่มีผลรุ่นเดียวกันทั้งต้น หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตหมดต้นแล้วต้องพักต้นทันทีโดยไม่ต้องทำการใดๆ ทั้งสิ้นนั้น ทำให้ต้องพักต้นทั้งๆ ที่ต้นยังโทรมอยู่ กรณีนี้เมื่อถึงฤดูกาลใหม่ต้องเร่งบำรุงฟื้นฟูความสมบูรณ์ของต้น (เรียกใบอ่อน) กลับคืนมาโดยเร็ว แล้วจึงเข้าสู่วงรอบการบำรุงใหม่ต่อไป .... วิธีการทำให้ต้นไม่โทรมมากเกินไปก็คือ บำรุงให้ต้นสมบูรณ์อยู่เสมอโดยให้มีสารอาหารกินตลอด 24 ชม.ต่อเนื่องหลายๆปี

- การให้ 8-24-24 เหมาะสำหรับต้นที่มีผลหลายรุ่นในต้นเดียวกันหรือประเภททะวายทยอยออก แบบไม่มีรุ่นซึ่งหลังจากเก็บเกี่ยวผลแก่จัดไปแล้วต้นไม่โทรม ใน 8-24-24 เป็นปุ๋ยประเภทสะสมอาหารเพื่อการออกดอก ซึ่งจะส่งผลให้กิ่งที่ยังไม่ออกดอกติดผลเกิดอาการอั้นแล้วออกดอกติดผลเป็นผลรุ่นใหม่ขึ้นมาอีกได้

===============================================
================================================



.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 28/01/2024 8:49 am, แก้ไขทั้งหมด 3 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 26/01/2024 1:26 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.

มะขามหวาน
ลักษณะทางธรรมชาติ :

- เป็นไม้ผลเขตร้อน ยืนต้น อายุนับร้อยปี ขนาดทรงพุ่มเล็กกว่ามะขามเปรี้ยว เจริญเติบโตในดินลูกรังเหนียว แต่น้ำไม่ขังค้าง ในดินมีฟอสฟอรัส. และโปแตสเซียมสูง มีอินทรีย์วัตถุมากๆ ช่วงบำรุงต้นต้องการน้ำตามปกติแต่ช่วงพักต้น (หลังเก็บเกี่ยวผลผลิต)ต้องการความแห้งแล้งถึงขนาดหน้าดินแตกระแหง

- ปลูกได้ในทุกพื้นที่ ทุกภาค และทุกฤดูกาล แม้แต่ภาคใต้ที่สภาพทางภูมิศาสตร์ ฝนแปด-แดดสี่ ซึ่งต้นเจริญเติบโตดีมากแต่ให้ผลผลิตน้อย ส่วนมะขามหวาน เพชรบูรณ์. เลย. อุบลราชธานี. ที่ต้นเจริญเติบโตช้ากว่าแต่กลับให้ผลผลิตดีกว่า นั่นคือ มะขามหวานที่เจริญ เติบโตทางต้นดีมากเนื่องจากได้รับน้ำมากแต่จะให้ผลผลิตน้อยกว่า ส่วนต้นที่เจริญเติบโตทางต้นช้าเนื่องจากได้รับน้ำน้อยจะให้ผลผลิตมาก

- เป็นไม้ผลทรงพุ่มขนาดใหญ่ ถ้าปลูกระยะห่าง 10 x 10 ม. เมื่ออายุต้น 8-10 ปีกิ่งจะชนกัน ในแปลงปลูกที่มีจอมปลวกอยู่ใกล้ๆ จะเจริญเติบโตเร็วและให้ผลผลิตดี

- เขตภาคกลาง อิสาน และเหนือ ปลูกมะขามหวานได้ทั้งพันธุ์ เบา-กลาง-หนัก เพราะผลแก่เก็บเกี่ยวช่วงหน้าหนาว (ต.ค.- พ.ย.- ธ.ค.)ไม่มีฝนจะได้ผลผลิตดี ส่วนเขตภาคตะวัน ออก (ปราจีนบุรี. จันทบุรี. ระยอง. ตราด) และภาคใต้ ควรปลูกสายพันธุ์หนัก เพื่อให้ผลแก่ในช่วงที่หมดฝนแล้ว ทั้งนี้ขณะที่ภาคกลางหมดฝนแล้วนั้นภาคตะวันออกและภาคใต้ยังมีฝนอยู่

- เป็นไม้ผลยืนต้นประเภทรากลึก จึงควรปลูกในพื้นที่ๆเนื้อดินหนาถึงหนามากๆ
- ต้นพันธุ์จากกิ่งตอนหรือกิ่งทาบไม่เสริมรากจะให้ผลผลิตเมื่ออายุ 3-5 ปี แต่ต้นพันธุ์กิ่งตอนหรือทาบเสริมราก 2-4 รากจะให้ผลผลิตใน 2-3 ปี ให้ผลผลิตเร็ว ติดผลดก และคุณภาพดีกว่าต้นไม่ได้เสริมรากถึง 3-4 เท่า

- ตอบสนองต่อปุ๋ยทั้งทางใบ/ทางราก และฮอร์โมน ได้ดีและเร็ว ไม่ควรใส่ปุ๋ยคอกที่มีไนโตรเจนมาก เช่น มูลวัวเนื้อ/นม/ไล่ทุ่ง. มูลควาย เพราะจะทำให้ต้นได้รับไนโตรเจนมากจนเป็นเหตุให้ต้นเฝือใบ แตกใบอ่อนขณะออกดอกติดผล และมีรสเปรี้ยวได้ แนะนำให้ใส่ปุ๋ยคอกที่มีฟอสฟอรัส และโปแตสเซียมสูง เช่น มูลไก่ไข่/เนื้อ/นกกระทา แล้วเสริมด้วยมูลค้างคาว แต่ก็ไม่ควรใส่มากเหมือนไม้ผลอื่นๆ เพราะนอกจากยังมีไนโตรเจน. เป็นส่วน ประกอบอยู่บ้างแล้ว มูลสัตว์เหล่านี้ยังทำให้เมล็ดใหญ่อีกด้วย ดังนั้น การควบคุมปริมาณไนโตรเจน. ฟอสฟอรัส. และโปแตสเซียม. ในมะขามหวานจึงต้องพึ่งพาปุ๋ยเคมีทั้งทางราก/ทางใบ และฮอร์โมน เป็นหลัก ส่วนการปรับปรุงสภาสภาพโครงสร้างดินให้โปร่งร่วนซุยดีอยู่เสมอก็ต้องพึ่งพาเศษพืชแห้ง ปุ๋ยอินทรีย์ กระดูกป่น และจุลินทรีย์ เท่านั้น

- อายุต้นช่วงให้ผลผลิต 2-3 ปีแรกมีรสหวานดี แต่ครั้นตั้งแต่ 5-6 ปีขึ้นๆไป หรือให้ผลผลิตเป็นรุ่นที่ 5-6 แล้วรสชาติเริ่มเปรี้ยวและเปรี้ยวขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นมะขามเปรี้ยว บางคนบอกว่าเป็นมะขามกลายพันธุ์ ซึ่งไม่เป็นความจริง เหตุที่มะขามหวานเคยหวานแล้วเปลี่ยนเป็นมะขามเปรี้ยวนั้นเป็นเพราะต้นได้รับธาตุไนโตรเจน.มาก แต่ได้รับธาตุฟอสฟอรัส. และโปแตสเซียม. น้อยเกินไป ทั้งนี้ มะขามหวานเป็นไม้ผลที่ต้องการฟอสฟอรัส. และโปแตสเซียม. ปริมาณสูงเพื่อการบำรุงผล จึงต้องให้อย่างเพียงพอและสม่ำเสมอ ซึ่งนอกจากช่วยให้มะขามหวานต้นนั้นไม่เป็นมะขามเปรี้ยวหรือที่เปรี้ยวแล้วกลับมาเป็นหวานอย่างเดิม กับทั้งยังได้รสชาติและคุณภาพดีเหมือนเดิมอีกด้วย

การให้ปุ๋ยทางรากสูตร 8-24-24 เสริมด้วยมูลค้างคาว 1-2 รอบ ระหว่างบำรุงผลกลางถึงผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยว จะช่วยให้ต้นได้รับฟอสฟอรัส. และโปแตสเซียม. อย่างเพียงพอ นอก จากนี้ การบำรุงผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยวด้วยสูตรเร่งหวาน ทั้งทางใบและทางราก ก็ถือเป็นสิ่ง จำเป็นอย่างยิ่งอีกด้วย

ช่วงผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยวถ้าต้นได้รับไนโตรเจน (ปุ๋ยและน้ำ) มาก จะทำให้รสไม่หวานสนิทหรือติดเปรี้ยว เนื้อน้อย/บาง รกมาก สุกช้า ผิวขรุขระ เปลือกหนาและสีเปลือกไม่สวย

- ตั้งแต่ช่วงปลายเดือน ก.พ.- ต้นเดือน มี.ค. หรือหลังเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว (ช่วงพักต้น) จะตัดแต่งกิ่งเลยก็ได้แต่ไม่ต้องให้น้ำ ปล่อยต้นให้กระทบแล้งจนหน้าดินแตกระแหงอยู่อย่างนั้น จนถึงต้นเดือน พ.ค. ซึ่งเดือน พ.ค. จะมีฝนก็ให้เริ่มการบำรุงเรียกใบอ่อน ถ้าต้นเดือน พ.ค.ไม่มีฝนตก ก็ต้องระดมให้น้ำแบบวันต่อวัน พร้อมกับให้สารอาหารเรียกใบอ่อนทั้งทางรากและทางใบ

ต้นมะขามหวานที่ผ่านแล้งมาอย่างสมบูรณ์แบบ เมื่อได้รับน้ำพร้อมกับสารอาหารทั้งทางใบและทางรากแล้วแตกใบอ่อนพร้อมกันดีทั่วต้น มะขามหวานต้นนั้นจะให้ผลผลิตดีในรุ่นปีการผลิตต่อไปดี ถ้าแตกใบอ่อนไม่พร้อมกันทั่วทั้งต้นแสดงว่าต้นไม่สมบูรณ์ ซึ่งจะให้ผลผลิตในรุ่นปีต่อไปไม่ดีนัก

- ช่วงเดือน ก.พ.- มี.ค.- เม.ย. ถ้าพื้นดินมีความแล้ง มะขามหวานจะสลัดใบเองเพื่อเข้าสู่ระยะพักต้น แต่ถ้าต้นไม่สลัดใบให้ใช้วิธีรมควันช่วย หรือใช้ฮอร์โมน เอ็นเอเอ. อัตรา 100-200 ซีซี./น้ำ 100 ล. ฉีดพ่นพอเปียกใบก็ได้

ต้นที่สลัดใบพร้อมกันทั้งต้นมักแตกใบอ่อนรุ่นใหม่พร้อมกันทั้งต้น ส่วนต้นที่สลัดใบไม่พร้อมกันก็จะแตกใบอ่อนรุ่นใหม่ไม่พร้อมกันเช่นกัน

- การทำให้มะขามหวานสลัดใบก่อนกำหนด โดยใส่ปุ๋ยทางรากสูตร 12-24-12 (½-1 กก.)/ต้น แล้วให้น้ำสม่ำเสมอติดต่อกัน 2 เดือน ครบกำหนดแล้วให้ น้ำ 100 ล.+ อีเทฟอน 20-25 ซีซี. โดยฉีดพ่นทางใบให้ทั่วทรงพุ่ม ประมาณ 2-3 วัน ใบจะร่วงหมดทั้งต้น หลักจากนั้นประมาณ 10 วัน มะขามหวานต้นนั้นจะแตกใบอ่อนชุดใหม่พร้อมกันทั้งต้นได้

- ถึงช่วงเดือน พ.ค. ที่ต้นต้องแตกใบอ่อน ถ้าต้นใดแตกใบอ่อนดีพร้อมกันเป็นชุดเดียวทั้งต้น ๆนั้นจะออกดอกติดผลดีเป็นชุดเดียวกันทั้งต้น ทำให้ง่ายต่อการบำรุง .... แต่ถ้าต้นใดแตกใบอ่อนไม่พร้อมกันก็จะออกดอกติดผลไม่พร้อมกันหรือทยอยออก แบบนี้ทำให้ค่อนข้างยุ่งยากต่อการบำรุงโดยเฉพาะการบำรุงก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิต

- เป็นไม้ยืนต้นที่มีใบขนาดเล็กจึงไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องใบทึบจนแสงแดดส่องเข้าในไปในทรงพุ่มไม่ได้ กับทั้งเป็นไม้ผลประเภททิ้งใบแก่จัดเองหลังจากที่ได้ใบอ่อนชุดใหม่เข้ามาแทนแล้ว นอกจากนี้การตัดแต่งกิ่งเพื่อทำให้ทรงพุ่มโปร่งก็ไม่จำเป็นเพราะธรรมชาติของมะขามหวานจะทิ้งกิ่งที่หมดอายุแล้วได้เอง

- การเริ่มเข้าสู่ขั้นตอนการปฏิบัติบำรุงต่อมะขามหวานไม่จำเป็นต้องตัดแต่งกิ่งแต่ปล่อยให้แทงยอดใหม่ต่อจากยอดเดิมนั้นได้เลย ยกเว้นกรณีที่ต้องการควบคุมขนาดทรงพุ่มทั้งทางสูงและทางข้างก็ให้ตัดแต่งกิ่งได้ตามปกติ .... กิ่งใหญ่ที่ถูกตัดไปแล้วต้องใช้เวลา 1-1 ปีครึ่งจึงจะออกดอกติดผลได้ใหม่

- เนื่องจากมะขามหวานเป็นพืชใบขนาดเล็ก หากควบคุมสารอาหารกลุ่มสร้างใบบำรุงต้นกับกลุ่มสร้างดอกบำรุงผลอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอ จะไม่เกิดอาการเฝือใบ หรือมะขามหวานจะทิ้งใบแก่เอง กรณีนี้แม้ต้นจะมีขนาดใหญ่ก็ไม่เกิดปัญหาทรงพุ่มแน่นทึบจนแสงแดดส่องเข้าไปภายในทรงพุ่มไม่ทั่วถึง หากเกิดอาการเฝือใบแนะนำให้ใช้วิธีควบคุมด้วยสาร อาหารแทนการตัดแต่งกิ่ง

- ถ้าต้นสมบูรณ์ดีจะออกดอกช่วงกลางหน้าฝน หรือหลังจากได้รับฝนช่วง พ.ค.- มิ.ย. จากนั้นก็จะพัฒนาเป็นผลตามลำดับ

- ออกดอกที่ปลายกิ่งแก่อายุข้ามปี เป็นดอกสมบูรณ์เพศที่ผสมตัวเองภายในดอกหรือรับการผสมจากต่างดอกต่างต้นได้

- เกสรตัวผู้หรือเกสรตัวเมียอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างไม่สมบูรณ์ เกิดจากขาดสารอาหาร/ฮอร์โมน หรือสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม (อากาศร้อนหรือฝนตกชุก) ผสมกันแล้วพัฒนาเป็นผล จะเป็นผลที่ไม่สมบูรณ์ ไม่โต รูปทรงบิดเบี้ยว

- การเก็บเกี่ยวผลผลิตเป็นเรื่องค่อนข้างยุ่งยากและสิ้นเปลืองแรงงานมาก กล่าวคือ ก่อนเก็บเกี่ยวแต่ละฝักจะต้องเคาะเปลือกที่ข้อแรกทีละฝักเพื่อฟังเสียงภายในเสียก่อนว่า เนื้อล่อนหลุดจากเปลือกแล้วหรือยัง จากนั้นจึงจะตัดฝักลงมาได้ .... มะขามหวานพันธุ์เนื้อ เมื่อผลแก่แล้วใช้วิธีขย่มต้นให้ฝักร่วงลงมาเองได้ พันธุ์นี้เยื่อหุ้มเนื้อค่อนข้างเหนียวเคี้ยวลำบาก รสชาติหวานออกมัน บางคนเรียกว่า มะขามหวานมัน แต่มะขามหวานพันธุ์เพชรเกษตร ติดฝักดกดีสม่ำเสมอทุกปี ดีกว่าพันธุ์หมื่นจงและสีทอง แต่มีนิสัยออกดอกแล้วติดเป็นฝักจากโคนกิ่งไปหาปลายกิ่ง การที่ดอกออกไม่พร้อมกันทำให้เป็นผลไม่พร้อมกัน ส่งผลให้เป็นผลแก่เก็บเกี่ยวได้ไม่พร้อมกันอีกด้วย การเก็บเกี่ยวจึงต้องตรวจสอบให้ดีก่อน

- ฝักแก่จัดเซลล์ที่เปลือกห่างหรือมีช่องว่างจนอากาศผ่านเข้าได้ เมื่ออากาศเข้าได้เชื้อราก็เข้าสู่ภายในผลได้ด้วยเช่นกัน จึงเป็นเหตุให้เนื้อในเกิดเชื้อราได้รับความเสียหาย กรณีนี้แก้ไขด้วยวิธีบำรุงผลตั้งแต่ระยะผลขนาดกลางด้วย ธาตุรอง/ธาตุเสริม. โดยเน้น แคลเซียม โบรอน. อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งจะทำให้เซลล์ที่เปลือกอัดตัวกันแน่นหรือเปลือกแข็งเหนียวจนอากาศผ่านเข้าไปไม่ได้

- การบำรุงทางรากช่วงก่อนเก็บเกี่ยวเพื่อเร่งหวานด้วย 8-24-24 แทน 13-13-21 หลัง จากเก็บเกี่ยวผลผลิตหมดแล้วเข้าสู่ช่วงพักต้นจะช่วยให้ต้นโทรม ส่งผลให้การเรียกใบอ่อนของฤดูการผลิตรุ่นใหม่จะออกมาเร็วและได้ใบดีมีคุณภาพ

- ต้นที่เฝือใบเล็กน้อยแก้ไขด้วยการงดให้ไนโตรเจนสักระยะหนึ่ง อาการเฝือใบจะค่อยๆ ลดลง แต่ถ้าเฝือใบมากๆ ให้ฉีดพ่น ฟอสเฟอริค แอซิด หรือ 10-45-10 หรือ 0-52-34 (สูตรใดสูตรหนึ่ง) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม ตั้งแต่เริ่มแตกใบอ่อนจนถึงออกดอกหรือติดผลเล็กก็ได้

- เนื่องจากมะขามหวานมีโอกาสได้รับไนโตรเจน. ค่อนข้างน้อย เพราะไนโตรเจน. เป็นตัวการทำให้เฝือใบ ออกดอกน้อยและทำให้รสเปรี้ยว ดังนั้นการบำรุงในแต่ละขั้นตอนจึงต้องพึงฮอร์โมนจิ๊บเบอเรลลิน. และ เอ็นเอเอ. ค่อนข้างบ่อยกว่าไม้ผลอื่นๆ ซึ่งการใช้ฮอร์โมนจะได้ผลเต็ม 100% ก็ต่อเมื่อต้นมีความสมบูรณ์สูง และหลังจากให้ฮอร์โมนไปแล้วจะต้องระดมให้น้ำมากๆ 2-3 วันติดต่อกัน

- ปลูกมะขามหวานพันธุ์เบา. กลาง. และหนัก. แบบแบ่งโซนแล้วบำรุงตามปกติเหมือนกันทั้ง 3 สายพันธุ์ จะทำให้มีผลผลิตออกสู่ตลอดติดต่อกันนาน 4-6 เดือน

- ต้นทรงพุ่มโปร่ง แสงผ่านทั่วทรงพุ่มลงถึงพื้นดินได้มากจะออกดอกติดผลดกดีกว่าต้นทรงพุ่มแน่นทึบหรือแสงส่องผ่านทรงพุ่มลงถึงพื้นได้น้อยกว่า

- ปลูกมะขามหวาน 2 ต้น(ศรีชมภู + สีทอง) ในหลุมเดียวกัน เมื่อทั้งสองต้นโตขึ้นจะให้ผลผลิตดกดีมาก เนื่องจากได้อาศัยเกสรตัวผู้ซึ่งกันและกันในการผสมกับเกสรตัวเมีย

- เก็บเกี่ยวผลผลิตลงมาแล้วนำมาอบไอน้ำจากน้ำเดือดจัด 5-10 นาที แล้วนำขึ้นผึ่งลมให้แห้ง สามารถเก็บได้นานนับปีโดยที่คุณภาพไม่เปลี่ยนแปลง

เตรียมต้น ตัดแต่งกิ่ง :
มะขามหวานเป็นไม้ยืนต้นที่มีใบขนาดเล็ก จึงไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องใบทึบจนแสงแดดส่องเข้าในไปทรงพุ่มไม่ได้กับทั้งเป็นไม้ผลประเภททิ้งใบแก่จัดเองหลังจากได้ใบอ่อนชุดใหม่เข้ามาแทนแล้ว ดังนั้นการตัดแต่งกิ่งจะกระทำก็ต่อเมื่อต้องการควบคุมขนาดและรูปทรงของทรงพุ่มเท่านั้น

หากจำเป็นต้องตัดแต่งกิ่งจริงๆก็ให้ตัดแต่งเพื่อให้เกิดการแตกยอดใหม่โดยตัดกิ่งกระโดง กิ่งในทรงพุ่มกิ่งคดงอ กิ่งชี้ลง กิ่งไขว้กิ่งหางหนู กิ่งเป็นโรค ก็พอ .... มะขามหวานออกดอกติดผลจากกิ่งแขนงที่ออกมาจากกิ่งประธานทำมุมกว้างกับลำต้นได้ดีกว่ากิ่งแขนงที่ออก มาจากกิ่งประธานทำมุมแคบกับลำต้น

- เทคนิคการ ตัดแต่ง-เรียกใบอ่อน แบบ “บำรุงก่อนตัด” กล่าวคือ ระหว่างที่ต้นเลี้ยงลูกนั้น ต้นต้องใช้พลังงานอย่างมาก จนทำให้ต้นโทรม หลังจากผลลูกสุดท้ายหลุดจากต้นแล้วให้บำรุงด้วยสูตรเรียกใบอ่อน ทั้งทางใบและทางราก หรือเฉพาะทางใบอย่างเดียวก่อน 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน เพื่อให้ต้นได้ใช้ใบเดิมที่มีสังเคราะห์อาหาร เมื่อเห็นว่า ต้นมีอาการสมบูรณ์ดี ทำท่าจะแตกยอดใหม่ ก็ให้ปฏิบัติการเรียกใบอ่อนทันที การที่ต้นมีความสมบูรณ์อยู่ ต้นก็จะแตกใบอ่อนใหม่ เร็ว ดี มาก และพร้อมกันทั่วทั้งต้น

- ตั้งแต่ช่วงปลายเดือน ก.พ.- ต้นเดือน มี.ค. หรือหลังเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว (ช่วงพักต้น) จะตัดแต่งกิ่งเลยก็ได้ แต่ตัดแต่งแล้วไม่ต้องให้น้ำ ปล่อยต้นให้กระทบแล้งตลอดเดือน เม.ย.- ต้นเดือน พ.ค. จนหน้าดินแตกระแหงอย่างนั้น กระทั่งถึงประมาณกลางเดือน พ.ค. (เริ่มหน้าฝน) จึงเริ่มบำรุงเรียกใบอ่อน ถ้าไม่มีฝนตกก็จะต้องระดมให้น้ำแบบวันต่อวัน พร้อมกับให้สารอาหารทั้งทางรากและทางใบ หลังจากที่ต้นได้ผ่านความแห้งแล้ง (พักต้น) อย่างหนักมาก่อนแล้วเมื่อได้รับน้ำและการบำรุงก็จะแตกใบอ่อนชุดใหม่ทันที

- การตัดแต่งกิ่งไม่ใช่เพียงเพื่อให้การออกดอกติดผลง่ายขึ้นเท่านั้น แต่ดอกและผลที่ออกมานั้นจะมีคุณภาพดีขึ้นกว่าไม่ได้ตัดแต่งกิ่งอีกด้วย

- ตัดยอดกิ่งประธาน (ผ่ากบาล) ณ ความสูงต้นตามต้องการ นอกจากช่วยทำให้แสง แดดผ่านจากยอดเข้าสู่ภายในทรงพุ่มได้อย่างทั่วถึงแล้วแสงแดดที่ร้อนยังช่วยกำจัดเชื้อราได้เป็นอย่างดีและเพื่อควบคุมขนาดความสูงทรงพุ่มอีกด้วย

- นิสัยการออกดอกของมะขามหวานไม่จำเป็นต้องกระทบหนาว แต่ถ้า ตัดแต่งกิ่ง-เรียกใบอ่อน ช่วงต้นหน้าฝนแล้วเข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงต่อไปตามลำดับอย่างถูกต้องสม่ำเสมอจะทำให้ต้นมีความสมบูรณ์เต็มที่ดีกว่าการตัดแต่งกิ่งในช่วงอื่น

ขั้นตอนการปฏิบัติบำรุงต่อมะขามหวาน
1. เรียกใบอ่อน + เปิดตาดอก :

ทางใบ :
- ให้ไบโออิ 25-5-5 + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ 1-2 รอบ

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ กระดูกป่น ปุ๋ยคอก (ขี้วัวขี้ไก่ไข่ แกลบดิบ แห้งเก่าข้ามปี) ครั้งที่ 1 ของรุ่นหรือปีการผลิต

- คลุมโคนต้นด้วยเศษพืชแห้งหนาๆ เต็มพื้นที่บริเวณทรงพุ่ม ล้ำออกไปถึงนอกเขตทรงพุ่ม
- ให้ 25-7-7 (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นกลาง, 2 กก.ต้นใหญ่) /ต้น ละลายน้ำรดโคนต้น เขตทรงพุ่ม

- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 (2 ล.) /ไร่ รดทั่วแปลงทุกตารางนิ้ว 1-2 เดือน/ครั้ง

- ให้น้ำเปล่า ทุก 3-5 วัน

หมายเหตุ :
- มะขามหวานหลังจากกระทบแล้งช่วงพักต้นมาอย่างเพียงพอแล้วเมื่อได้รับน้ำแบบระดมให้วันต่อวันก็แตกใบอ่อนพร้อมกับออกดอกได้เอง โดยไม่ต้องเรียกใบอ่อน. เร่งใบอ่อนเป็นใบแก่, สะสมตาดอก. ปรับ ซี/เอ็น เรโช, เปิดตาดอก เหมือนไม้ผลอื่นๆ

- หลังจากให้ทางใบไปแล้ว 7-10 วัน ถ้าต้นใดแตกใบอ่อนน้อยกว่า 50% ให้ฉีดพ่นซ้ำรอบสองด้วยอัตราและวิธีการเดิม เพราะถ้าต้นแตกใบอ่อนไม่พร้อมกันจะส่งผลออกดอกไม่พร้อมกันทั่วทั้งต้นเพราะหลังจากใบอ่อนออกมาแล้วจะมีดอกออกตามมา เมื่อดอกออกไม่พร้อมกันก็กลายเป็นผลไม่พร้อมกัน ทำให้ยุ่งยากต่อการปฏิบัติบำรุงตามขั้นตอนอย่างมาก....แนวทางแก้ไข คือ ต้องบำรุงเรียกใบอ่อนให้ออกมาเป็นชุดเดียวพร้อมกันทั้งต้นให้ได้

- การให้ทางใบอาจจะต้องให้ไปเรื่อยๆ ตลอดทั้งเดือน ถ้าเห็นว่าต้นออกดอกน้อยและยังสามารถออกดอกได้อีกก็ให้ทางใบต่อไปอีก จนกว่าจะได้จำนวนดอกจำนวนมากพอเท่าที่ความสมบูรณ์ของต้นจะให้ได้

- มะขามหวานต้องการใบอ่อนเพียงชุดเดียวเท่านั้น ถ้าต้นสมบูรณ์ดี มีการเตรียมดินและปรับปรุงบำรุงดินสม่ำเสมอจะทำให้ต้นแตกใบอ่อนดีเป็นชุดเดียวกันทั่วทั้งต้น
- ช่วงพักต้นถ้าต้นสลัดใบไม่พร้อมกันดีทั่วทั้งต้น จนกระทั่งพักต้นครบกำหนดและระดมให้น้ำเรียกใบอ่อนแล้วมีใบอ่อนออกมาน้อย แสดงว่าต้นได้รับความแห้งแล้งไม่เพียงพอหรือใต้ดินโคนต้นยังมีน้ำมาก กรณีนี้แก้ไขโดยให้ “น้ำ 100 ล.+ ฮอร์โมน เอ็นเอเอ.100-200 ซีซี.” ฉีดพ่นพอเปียกใบ ฮอร์โมน เอ็นเอเอ.จะช่วยให้ต้นสลัดใบแล้วแตกยอดใหม่พร้อมกับมีดอกออกตามมาด้วย

- หลังจากระดมระดมให้น้ำแล้วต้นแตกใบอ่อนมากจนกลายเป็นเฝือใบและไม่ออกดอกหรือออกดอกน้อย สาเหตุอาจจะมาจากน้ำไต้ดินโคนต้นหรือได้รับปุ๋ยคอกที่มีไนโตรเจนมากเกินไป แก้ไขโดยทำลายใบบางส่วนด้วย “น้ำ 100 ล.+ 0-10-30 หรือ 0-21-74 สูตรใดสูตรหนึ่ง (5 กก.)” ฉีดพ่นพอเปียกใบเป็นหย่อมๆ เป็นบริเวณครึ่งหนึ่งของพื้นที่ทั้งทรงพุ่ม ใบที่ถูกฉีดพ่นจะร่วง ยอดอ่อนกิ่งอ่อนสีเขียวจะแห้งตาย แต่ไม่เป็นไรเพราะจากนั้นจะแตกยอดใหม่พร้อมกับดอกรุ่นใหม่ ส่วนใบที่ไม่ถูกฉีดพ่นจะไม่ร่วงและกิ่งแก่สีน้ำตาลก็ไม่แห้งตายแต่จะแตกยอดใหม่แล้วมีดอกออกมาอีกเหมือนกัน

ทั้งนี้เป็นเพราะนิสัยของมะขามหวานนั้นจะออกดอกหลังจากแตกใบอ่อนเสมอ การทำให้ใบร่วงแต่ยังระดมให้น้ำพร้อมกับให้สารอหารกลุ่ม “สร้างดอก-บำรุงผล” ตามปกติก็จะทำให้มะขามหวานแตกใบอ่อนแล้วออกดอกตามมาได้

- สวนยกร่องน้ำหล่อ ช่วงพักต้นให้ระบายน้ำในร่องออกปล่อยให้ดินสันแปลงแห้ง จนกระทั่งครบกำหนดจึงสูบน้ำเข้าร่องแล้วให้ทางใบด้วย “น้ำ 100 ล.+ 15-45-15 (400 กรัม)” ฉีดพ่นพอเปียกใบก็ได้เหมือนกัน

2. บำรุงดอก :
ทางใบ :
- ให้ไบโออิ 15-45-15 (หน้าฝน) หรือ 0-52-34 (หน้าแล้ง) + สารสสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ

- ฉีดพ่นสารสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- ยังคงเปิดหน้าดินโคนต้น
- ให้น้ำพอหน้าดินชื้น

หมายเหตุ :
- ช่วงดอกระยะดอกตูมบำรุงด้วย “น้ำ 100 ล.+ ฮอร์โมน เอ็นเอเอ. 10-20 ซีซี.” เมื่อดอกบานได้จำนวน 1 ใน 4 ของจำนวนดอกทั้งต้น ฉีดพ่นพอเปียกใบ นอกจากช่วยบำรุงเกสรทั้งตัวผู้และตัวเมียให้สมบูรณ์พร้อมรับผสมแล้วยังช่วยบำรุงขั้วเหนียวได้อีกด้วย การให้ฮอร์โมน เอ็นเอเอ. ต้องใช้ด้วยระมัดระวัง เพราะถ้าให้เข้มข้นเกินไปจะเกิดความเสียหายต่อดอกและถ้าให้อ่อนเกินไปก็จะไม่ได้ผล

- ช่วงดอกเริ่มแทงออกมาใหม่ๆให้แคลเซียม โบรอน.1 รอบ จะช่วยให้ดอกสมบูรณ์ ผสมติดดี
- ช่วงดอกบานได้ 3 ใน 4 ของจำนวนดอกทั้งต้น ฉีดพ่นด้วย “น้ำ 100 ล.+ จิ๊บเบอเรลลิน (ชนิด 50 มิลลิกรัม) 1 หลอด + 46-0-0 (50 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 25 กรัม" พอ เปียกใบ หลังจากฉีดพ่นครั้งแรกแล้ว 7-10 วัน ถ้าปริมาณการติดฝักยังน้อยให้ฉีดพ่นซ้ำอีกครั้งก็จะช่วยให้การติดฝักดีขึ้น การใช้ฮอร์โมนจิ๊บเบอเรลลินกระตุ้นการติดฝักจะได้ผลดีก็ต่อเมื่อต้นมีความสมบูรณ์เต็มที่

- บำรุงดอกช่วงฝนชุกให้เน้น “สังกะสี และ แคลเซียม โบรอน” โดยให้เมื่อดอกออกมาแล้วหรือให้แบบสะสมล่วงหน้าตั้งแต่ช่วงเปิดตาดอก ให้แบบเดี่ยวๆหรือผสมรวมไปกับธาตุอาหารอื่นๆก็ได้

- ช่วงดอกตูมควรฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรให้บ่อยขึ้น เพื่อป้องกันกำจัดโรคและแมลงจนถึงช่วงดอกบาน

- ควรใช้เครื่องมือฉีดพ่นที่มีแรงลมพ่นเบาที่สุด เพื่อไม่ให้กระทบกระเทือนต่อส่วนต่างๆของดอก ฉีดพ่นเฉพาะช่อดอกโดยตรงพอเปียก หรือฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่มพอเปียกใบก็ได้

- ช่วงดอกบานควรงดการฉีดพ่นทางใบโดยเฉาะช่วงกลางวัน (08.00-12.00 น.) เพราะอาจทำให้เกสรเปียกชื้นจนผสมไม่ติดได้ หากจำเป็นต้องฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรให้ฉีดพ่นช่วงหลังค่ำ

- ช่วงดอกตูม ถึง ดอกบาน ควรให้น้ำสม่ำเสมอหรือค่อนข้างมาก ถ้าขาดน้ำจะทำให้ดอกร่วง
- ต้นที่ได้รับ แม็กเนเซียม (จากไบโออิ). โบรอน (จากแคลเซียม โบรอน). สม่ำเสมอแบบสะสม ถึงช่วงออกดอกแล้วเจอฝน ดอกจะแข็งแรงไม่ร่วงง่ายๆ หรือติดเป็นผลได้ดีเหมือนปกติ

3. บำรุงฝักเล็ก (ฝักดาบ) :
ทางใบ :
- ให้ไบโออิ ยูเรก้า จิ๊บเบอเรลลิน + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน ฉีดพ่นทั่วทรงพุ่ม

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- นำอินทรีย์วัตถุกลับเข้าคลุมโคนต้นให้เหมือนเดิม
- ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ กระดูกป่น ปุ๋ยคอก (ขี้วัวขี้ไก่ไข่ แกลบดิบ แห้งเก่าข้ามปี) ครั้งที่ 2 ของรุ่น หรือปีการผลิต

- คลุมโคนต้นด้วยเศษพืชแห้งหนาๆ เต็มพื้นที่บริเวณทรงพุ่ม ล้ำออกไปถึงนอกเขตทรงพุ่ม
- ให้ 25-7-7 (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นใหญ่, 2 กก.ต้นใหญ่) /ต้น ละลายน้ำรดโคนต้น เขตทรงพุ่ม

- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 (2 ล.) /ไร่ รดทั่วแปลงทุกตารางนิ้ว 1-2 เดือน/ครั้ง

- ให้น้ำเปล่าปกติทุก 2-3 วัน

หมายเหตุ :
- เริ่มบำรุงเมื่อผลเริ่มติดหรือหลังกลีบดอกร่วง .... ระยะนี้ฝักมีรูปร่างแบนๆ เรียกว่า "ฝักดาบ" การบำรุงด้วยจิ๊บเบอเรลลินจะช่วยให้ฝักยาว ซึ่งจะส่งผลดีต่อการขยายขนาดฝักในช่วงบำรุงขั้นต่อไป

8. บำรุงผลกลาง (ขึ้นรูป) :
ทางใบ :
- ให้ไบโออิ ยูเรก้า + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน ฉีดพ่นทั่วทรงพุ่ม

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- ให้ 8-24-24 (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นใหญ่, 2 กก.ต้นใหญ่) /ต้น ละลายน้ำรดโคนต้น เขตทรงพุ่ม

- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 8-24-24 (2 ล.) /ไร่ รดทั่วแปลงทุกตารางนิ้ว 1-2 เดือน/ครั้ง

- ให้น้ำเปล่าปกติทุก 2-3 วัน

หมายเหตุ :
- เริ่มให้เมื่อฝักโตเห็นตุ่มเมล็ดนูนขึ้นมา ลักษณะนี้ชาวสวนเรียกว่า “ขึ้นรูป”

5. บำรุงผลแก่ :
ทางใบ :
- ให้ไบโออิ 0-21-74 หรือ 0-0-50 สูตรใดสูตรหนึ่ง + สารสมุนไพร 250 ซีซี. 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน ให้ครั้งสุดท้ายก่อนเก็บเกี่ยว 5-7 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- ให้ 8-24-24 หรือ 13-13-21 สูตรใดสูตรหนึ่ง (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นใหญ่, 2 กก.ต้นใหญ่) /ต้น ละลายน้ำรดโคนต้น เขตทรงพุ่ม

- ให้น้ำพอหน้าดินชื้น ทุก 2-3 วัน

หมายเหตุ :
- เริ่มให้ก่อนเก็บเกี่ยว 10-15 วัน 1-2 รอบห่างกันรอบละ 5-7 วัน
- การให้ 8-24-24 ตั้งแต่ระยะบำรุงผลขนาดกลาง ถึงผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยว เจตนาช่วยให้ต้นได้รับโปแตสเซียมมากกว่าปกติ หรือให้ได้รับโปแตสเซียมมากกว่าไนโตรเจน เพื่อมะขามหวานมีรสหวาน

==================================================
=================================================


มะนาว
ลักษณะทางธรรมชาติ :

- เป็นไม้ผลยืนต้นอายุหลายสิบปีและให้ผลผลิตตลอดปีแบบไม่มีรุ่น ออกดอกติดผลจากกิ่งที่แตกใหม่เสมอจึงควรมีการตัดแต่งกิ่งแล้วเรียกยอดใหม่ทุกปี

- เป็นพืชรากลอย ให้คลุมดินโคนต้นด้วยเศษซากพืชประเภทคงทนชิ้นโตๆ หนา 20-30 ซม. เต็มพื้นที่ทรงพุ่ม ล้ำออกนอกเขตทรงพุ่ม 1-1.5 ม. เพื่อเป็นการล่อราก ไม่นานรากมะนาวจะเจริญยาวขึ้นมาอยู่กับอินทรีย์วัตถุที่คลุมโคนต้นนั้น เป็นรากที่ดีสมบูรณ์แข็งแรงและจำนวนมาก

- ต้นที่ปลูกจากเพาะเมล็ด ใช้เวลาประมาณ 2 ปี จึงเริ่มให้ผลผลิต และบนต้นจะมีหนามจำนวนมาก แข็ง และยาว

- ต้นที่สะสมสารทองแดง กลุ่มค็อปเปอร์ อ๊อกซี่คลอไรด์ สารเคมีกำจัดโรคแคงเคอร์จำนวนมากๆ จะทำให้ต้นไม่สามารถลำเลียงธาตุอาหารจากรากหรือจากใบไปสู่ส่วนต่างๆของต้นได้จึงส่งผลให้ต้นโทรมแล้วตายในที่สุด

- การบำรุงระยะติดผลแล้วด้วย แคลเซียม โบรอน. มากเกินไปจะทำให้จุกขั้วสูงเปลือกหนา ผิวเห่อ แก้ไขด้วยการลดแคลเซียม โบรอน. และไนโตรเจน

- การให้ฮอร์โมนบำรุงราก ปีละ 2-3 ครั้ง ช่วงที่ต้นมีความจำเป็นต้องเร่งระดมอาหารจำนวนมากเพื่อการเตรียมความพร้อมของต้นต่อการพัฒนาแต่ละระยะๆ

- การให้ฮอร์โมนเอ็นเอเอ. (ทำเอง/ท้องตลาด) และ/หรือ ฮอร์โมนจิ๊บเบอเรลลิน ฉีดพ่นช่วงอายุผลสัปดาห์แรก จะช่วยป้องผลแตกผลร่วงเมื่ออายุผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยวได้ดี

- มะนาวต้นที่สมบูรณ์ดี จะออกดอก 2-3 เดือน/ชุด นั่นคือ มะนาวสามารถออกดอกติดผลได้ตลอดทั้งปี

- ปุ๋ยน้ำชีวภาพประเภทหมักด้วยกากน้ำตาล (ใส่มากเกิน) ไม่เหมาะกับมะนาวหรือพืชตระกูลส้ม เพราะกากน้ำตาลจะเป็นตัวส่งเสริมให้เกิดเชื้อรามีลาโนส. และแอนแทร็คโนส. จึงไม่ควรให้ทางใบแต่สามารถให้ทางดินแทน

- สวนที่มีหญ้าและวัชพืชขึ้นรกปกคลุม ทั้งในบริเวณทรงพุ่มและทั่วทั้งแปลง จะมีผลดกตลอดปี มีโรคและแมลงศัตรูพืชเข้ารบกวนน้อย

- ปรับแต่งทรงพุ่มตั้งแต่เป็นต้นเล็กยังไม่ให้ผลผลิต โดยบำรุงให้ลำต้นส่วนเปล้าสูงๆ หรือกิ่งง่ามแรกสูงจากพื้น 50-80 ซม. เมื่ออายุต้นโตถึงระยะให้ผลผลิตได้แล้ว ให้ดัดและแต่งกิ่งประธานให้กระจายชี้ออกนอกทรงพุ่มเท่ากันทั่วทิศทางรอบต้นอีกครั้งหนึ่ง นอกจากทำให้ทรงพุ่มโปร่ง โรคและแมลงรบกวนน้อยแล้ว ยอดที่แตกในทรงพุ่มยังสามารออกดอกติดผลได้อีกด้วย

- ดอกเป็นดอกสมบูรณ์เพศที่ผสมตัวหรือต่างดอกในต้นเดียวหรือต่างต้นได้ดี
- เกสรตัวผู้หรือเกสรตัวเมียอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างไม่สมบูรณ์เกิดจากขาดสารอาหาร/ฮอร์โมน หรือสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม (อากาศร้อนหรือฝนตกชุก) ผสมกันแล้วพัฒนาเป็นผลจะเป็นผลไม่สมบูรณ์ ไม่โต รูปทรงบิดเบี้ยว

- มะนาวจะแตกยอดออกใบมากในช่วงหน้าฝนแต่ไม่มีดอก เนื่องจากอัตราส่วน ซี/เอ็น เรโช ไม่เหมาะสมต่อการออกดอก (เอ็น.มากว่า ซี.) ครั้นเข้าสู่หน้าหนาว (พ.ย.-ธ.ค.) มะนาวจะพักต้น หลังจากพักต้นระยะหนึ่งแล้วได้รับน้ำเพียงเล็กน้อยก็จะออกยอดอ่อนพร้อมกับมีดอกออกตามมาด้วย

- มะนาวต้นที่มีความพร้อมในการออกดอกติดผล (ผลจากการสะสมอาหารกลุ่ม ซี.และ กลุ่ม เอ็น.) เมื่อแตกยอดจะมีดอกออกตามมาด้วยเสมอ .... ดอกที่ออก ณ ปลายกิ่งอ่อนจะติดเป็นผลดีมีคุณภาพ ดอกที่ออกจากซอกใบแก่ หรือใบจากปลายยอดเข้ามาจะติดเป็นผลและคุณภาพปานกลาง ส่วนดอกที่ออกตามกิ่งแก่มักไม่ติดเป็นผล หรือถึงติดเป็นผลได้ก็คุณภาพไม่ดี

- มะนาวที่ออกดอกช่วงเดือน ม.ค.- ก.พ. ผลจะแก่เก็บเกี่ยวได้ในช่วง มิ.ย.- ส.ค. เป็นช่วงมะนาวราคาต่ำสุดหรือมะนาวปี แต่มะนาวที่ออกดอกเดือน ก.ย.- ต.ค. ผลจะแก่เก็บเกี่ยวได้ช่วงเดือน มี.ค.- เม.ย. เป็นช่วงมะนาวราคาแพงหรือมะนาวหน้าแล้ง

- การปฏิบัติบำรุงด้วยธาตุอาหารกลุ่ม สร้างดอก-บำรุงผล อย่างสม่ำเสมอ จะทำให้ออกดอกติดผลได้ตลอดปี ในต้นเดียวกันจะมีทั้งดอก ผลเล็ก ผลกลางและผลใหญ่ กรณีนี้ผลใหญ่ส่วนหนึ่งจะแก่เก็บเกี่ยวในช่วงหน้าแล้งได้

- ในต้นเดียวกันที่มี ดอก+ผล อยู่ในต้นเดียวกันนั้น หากต้องการบำรุงแบบให้มีผลชุดใหญ่แก่เก็บเกี่ยวได้ช่วงหน้าแล้ง สามารถทำได้โดยการทำลายดอกชุดที่ออกมาตรงกับมะนาวปี (ม.ค.- ก.พ.) ทิ้งไป แล้วบำรุงเฉพาะผลที่เหลืออยู่ตามปกติ

- การที่จะบำรุงให้ออกดอกช่วงเดือน ก.ย.- ต.ค.ได้ จะต้องให้มะนาวกระทบแล้งช่วงเดือน ก.ค.- ส.ค.ให้ได้ ซึ่งเป็นเรื่องยากเพราะช่วงนั้นเป็นช่วงหน้าฝน

- ใช้กากมะพร้าวที่คั้นกะทิออกไปหมดแล้ว หว่านในทรงพุ่มให้กากมะพร้าวส่วนหนึ่งติดค้างอยู่บนใบ กับส่วนหนึ่งตกลงไปที่พื้นดินโคนต้น จะช่วยให้มะนาวต้นนั้นออกดอกติดผลดกตลอดปีแบบไม่มีรุ่นได้

- ใช้น้ำ 100 ล.+ เครื่องในปลาทะเลสดใหม่บดละเอียด 100-200 กรัม รดโคนต้นทุก 2-3 เดือน /ครั้ง หรือฉีดอัดลงดินบริเวณทรงพุ่ม เป็นวิธีการทำให้ต้นได้รับธาตุอาหารต่อเนื่องตลอด 24 ชม. จะช่วยให้มะนาวออกดอกติดผลดกตลอดปีแบบไม่มีรุ่นได้

- ต้นที่สมบูรณ์จนเฝือใบให้บำรุงด้วย “น้ำ 100 ล. + กลูโคส 100 ซีซี. + ฮอร์โมนไข่ 100 ซีซี.” ฉีดพ่นทางใบให้เปียกโชกทั้งใต้ใบบนใบทุก 5-7 วัน จะช่วยให้ใบเขียวเข้ม พร้อมให้เปิดตาดอกได้ หรือเมื่อต้นแตกใบอ่อนออกมาก็จะมีดอกออกตามมาด้วย

- เป็นพืชที่ตอบสนองต่อปุ๋ยคอก (มูลวัวเนื้อ/วัวนม + มูลไก่ไข่/ไก่เนื้อ/นกกระทา) ดีมากหากมีการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ อัตรา 1-2 กระป๋องนม/ตร.ม. ร่วมด้วย 2-3 ครั้ง/ปี แล้วคลุมทับด้วยเศษหญ้าแห้งหรือฟางหนาๆ เต็มพื้นที่ทรงพุ่ม ล้ำออกนอกทรงพุ่ม 1-1.5 ม. จะช่วยให้ต้นสมบูรณ์แข็งแรงดียิ่งขึ้น

- พันธุ์ที่ลักษณะทรงผลไม่แป้น แก้ไขด้วยการให้ ฮอร์โมนขยายขนาดทางข้าง (ไซโคไคนิน) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม ตั้งแต่ผลขนาดเล็ก และให้ไปเรื่อยๆ จนกระทั่งเก็บเกี่ยวจะช่วยให้ทรงผลแป้นได้

- ต้นพันธุ์ที่เลี้ยงในถุงดำ โดยมีแกลบดำล้วนๆ เป็นวัสดุปลูก ก่อนนำต้นพันธุ์ต้นนั้นลงปลูกในแปลงจริง แนะนำให้ถอนต้นกล้าขึ้นมาจากถุงปลูก ล้างแกลบดำด้วยน้ำออกให้หมด แล้วจึงนำลงปลูกในหลุมปลูก ระหว่างลงหลุมปลูกให้จัดระเบียบรากให้ชี้ตรงออกด้านนอกรอบทิศทาง จะช่วยให้ต้นพันธุ์แทงรากใหม่เร็ว และดีกว่าการมีแกลบดำอยู่ในหลุมปลูกด้วย

- ต้องการให้มะนาวปลูกใหม่หรือระยะกล้าโตเร็วๆ ถ้ากล้าต้นนั้นออกดอกให้เด็ดทิ้ง เพื่อต้นแม่จะได้นำสารอาหารไปเลี้ยงต้นแทนการเลี้ยงดอกเลี้ยงลูก

- มะนาวโตให้ผลผลิตแล้วไม่ต้องตัดแต่งกิ่ง ถ้าตัดกิ่งไหนกิ่งนั้นต้องใช้เวลา 2-3 ปีจึงจะออกดอกติดลูกได้ การตัดแต่งกิ่งแนะนำให้ตัดเฉพาะกิ่งแห้งหรือกิ่งเป็นโรคเท่านั้น โดยติดชิดกิ่งประธาน หรือลำต้นประธาน ทั้งนี้มะนาวออกดอกติดผลได้ทั้งกิ่งนอกทรงพุ่ม และกิ่งในทรงพุ่ม

- ปลูกมะนาวระยะชิด 2 x 2 ม. = 400 ต้น/ไร่ :
* ระยะ 3 ปีแรก เลี้ยงเอาลูกเอาผลก่อนเพื่อไม่เสียเวลา ซึ่งต้นจะเริ่มโต ทรงพุ่มเริ่มเบียดกัน ให้ต้นออกต้นเว้นต้น จะระยะห่างเปลี่ยนเป็น 4 x 4 ม. = 200 ต้น/ไร่

* เลี้ยงต่อไปอีก 3 ปี เอาลูกเอาผลเพื่อไม่เสียเวลา ซึ่งต้นจะเริ่มโต ทรงพุ่มเริ่มเบียดกันอีก ให้ต้นออกต้นเว้นต้น จะระยะห่างเปลี่ยนเป็น 8 x 8 ม. = 100 ต้น/ไร่ จากนั้นเลี้ยงต่อไปได้ตอดชีวิตอายุมะนาว

* มะนาวต้นโตเต็มที่ ขนาดกว่างทรงพุ่ม 6 ม. สูง 5 ม. เท่านั้น บำรุงเลี้ยงให้กิ่งปรกดิน ต้นสมบูรณ์เต็มที่ ให้ผลได้ 1,000 (+) ลูก./ต้น

- มะนาวในวงปูน ระบบรากถูกจำกัดอยู่แต่ในวงปูน รากจะออกไปหาสารอาหารนอกวงปูนไม่ได้ สารอาหารที่คนปลูกให้ก็ไม่พอเพียง ต้นจึงโตเต็มที่ขนาดทรงพุ่ม 1.5-2 ม. สูง 2.5-3 ม. ได้ลูกไม่เกิน 50ลูก (-) /ต้น /ปี อายุไม่นานแค่ 3-5 ปีก็ตาย

- แปลงมะนาวที่เหมาะสมที่สุด คือ แปลงลูกฟูก สันแปลงสูงเพียงพอสะเด็ดน้ำ, ร่องแห้ง ลึกเพียงพอให้น้ำไหลออกไม่เหลือขังค้าง .... รูปแบบแบบนี้ ควบคุมน้ำได้ สามารถทำมะนาวหน้าแล้วได้โดยต้นไม่โทรมอีกด้วย

- มะนาว (ไม้ผลตระกูลส้ม) .... ทางใบ : บำรุงด้วยสูตรสหประชาชาติ (ไบโออิ. แม็กเนเซียม/สังกะสี, ไทเป. 13-0-46-0/52-34, ยูเรก้า. 21-7-14/ไคโตซาน/อะมิโน โปรตีน) .... ทางราก : น้ำหมักระเบิดเถิดเทิง 21-7-14 สลับเดือนกับ 8-24-24, ยิบซั่ม ปุ๋ยอินทรีย์ กระดูกป่น ขี่วัวขี้ไก่แกลบดิบ.... จะออกดอกติดลูกตลอดปีได้

- มะนาวตอบสนองต่อน้ำตาลทางด่วน (กลูโคส เครื่องดื่มชูกำลัง) ดีมาก ให้บ่อยๆ ออกดอกลูกได้ตลอดปี โดยไม่ต้องพึ่งปุ๋ยเคมี

เตรียมต้น ตัดแต่งกิ่ง :
- มะนาวไม่ต้องตัดแต่งกิ่ง ถ้าตัดกิ่งไหนกิ่งนั้นต้องใช้เวลา 2-3 ปีจึงจะออกดอกติดลูกได้ แนะนำให้ตัดเฉพาะกิ่งแห้งหรือกิ่งเป็นโรคเท่านั้น โดยติดชิดกิ่งประธาน หรือลำต้นประธาน ทั้งนี้มะนาว (ตระกูลส้ม) ออกดอกติดผลได้ทั้งกิ่งนอกทรงพุ่ม และกิ่งในทรงพุ่ม

- นิสัยการออกดอกมะนาวไม่จำเป็นต้องกระทบหนาว แต่การ ตัดแต่งกิ่ง-เรียกใบอ่อน ช่วงต้นหน้าฝนแล้วเข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงต่อไปตามลำดับ จะทำให้ต้นมีความสมบูรณ์เต็มที่ดีกว่าการตัดแต่งกิ่งในช่วงอื่น

- มะนาว (ตระกูลส้ม) เป็นพืชรากลอย แนะนำให้พูนโคนต้น (อินทรีย์วัตถุ) ทั่วเขตทรงพุ่ม อย่างน้อยปีละครั้ง จะช่วยให้เกิดรากใหม่เป็นผลดีต่อต้น

ขั้นตอนการปฏิบัติบำรุงต่อมะนาว
1. เรียกใบอ่อน :

ทางใบ :
- ให้ ไบโออิ 25-5-5 + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7-10 วัน

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยคอก (ขี้วัวขี้ไก่ไข่ แกลบดิบ แห้งเก่าข้ามปี) กระดูกป่น ครั้งที่ 1 ของรุ่นหรือปีการผลิต

- ใส่ 25-7-7 (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นใหญ่) /ต้น /เดือน ละลายน้ำรดโคนต้น บริเวณทรงพุ่ม
- คลุมโคนต้นด้วยเศษพืชแห้งหนาๆ เต็มพื้นที่บริเวณทรงพุ่ม ล้ำออกไปถึงนอกเขตทรงพุ่ม
- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 (2 ล.) /ไร่ /เดือน รดทั่วแปลง ทุกตารางนิ้ว

หมายเหตุ :
- เริ่มปฏิบัติทันทีหลังตัดแต่งกิ่ง (ที่จำเป็น)
- หลังจากให้ทางใบไปแล้ว 5-7 วัน ถ้าต้นใดแตกใบอ่อนน้อยกว่า 50% ให้ฉีดพ่นซ้ำรอบสองด้วยอัตราและวิธีการเดิม เพราะถ้าต้นแตกใบอ่อนไม่พร้อมกันทั่วทั้งต้นจะส่งผลเสียหลายอย่างตั้งแต่การเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่ การสะสมอาหารเพื่อการออก การปรับ ซี/เอ็น เรโช การเปิดตาดอก ซึ่งจะออกดอกไม่พร้อมกันทั่วทั้งต้น และเมื่อดอกออกไม่พร้อมกันก็กลายเป็นผลไม่พร้อมกันทำให้ยุ่งยากต่อการปฏิบัติบำรุงตามขั้นตอนอย่างมาก .... แนวทางแก้ ไข คือ ต้องบำรุงเรียกใบอ่อนให้ออกมาเป็นชุดเดียวพร้อมกันทั้งต้นให้ได้

- มะนาวต้องการใบอ่อน 2 ชุด ถ้าต้นสมบูรณ์ดี มีการเตรียมดินและปรับปรุงบำรุงดินสม่ำเสมอต่อเนื่องมาหลายๆปีแล้ว หลังจากใบอ่อนชุดแรกเพสลาดแล้วให้เรียกใบอ่อนชุด 2 ต่อได้เลย ใบชุด 2 นี้อาจจะออกไม่พร้อมกันทั้งต้นเหมือนชุดแรกแต่ก็จะออกห่างกันไม่เกิน 7-10 วัน และหลังจากใบอ่อนชุด 2 เพสลาดก็ให้เข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงต่อไปตามปกติ

2. เร่งใบอ่อนเป็นใบแก่ :
ทางใบ :
- ให้ไบโออิ 0-21-74 หรือ 0-39-39 + สารสมุนไพร 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 7-10 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
ให้น้ำปกติ ทุก 2-3 วัน

หมายเหตุ :
- เริ่มลงมือปฏิบัติเมื่อใบอ่อนเริ่มแผ่กางรับแสงแดดได้
- วัตถุประสงค์เพื่อเร่งใบชุดใหม่ให้สามารถสังเคราะห์อาหารได้ และเร่งระยะเวลาเรียกใบอ่อนชุดต่อไปได้เร็วขึ้น กับทั้งเพื่อให้ใบอ่อนรอดพ้นจากทำลายของแมลงประเภทปากกัดปากดูด

- ถ้าต้องการให้ใบแก่เร็วขึ้นอีกก็ให้ฉีดพ่นตั้งแต่ใบเริ่มแผ่กางเพียงเล็กน้อย หรือฉีดพ่นก่อนที่ใบแผ่กาง (เพสลาด) นั่นเอง

- สารอาหารในกลุ่มเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่มีฟอสฟอรัส. และโปแตสเซียม.สูง นอก จากช่วยทำให้ใบเป็นใบแก่แล้ว ยังเสริมประสิทธิภาพขั้นตอนสะสมอาหารเพื่อการออกดอกได้อีกด้วย

- ถ้าปล่อยให้ใบอ่อนออกมาแล้วเป็นแก่เองตามธรรมชาติต้องใช้เวลา 30-45 วัน

3. สะสมอาหารเพื่อการออกดอก :
ทางใบ :
- ให้ไบโออิ 0-42-56 + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7-10 วัน นาน 1-2 เดือน.... ในรอบเดือนหาโอกาสให้น้ำตาลทางด่วน (กลูโคส) 1 ครั้ง

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
-ใส่ 8-24-24 (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นใหญ่) /ต้น /เดือน ละลายน้ำรดโคนต้น บริเวณทรงพุ่ม
- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 8-24-24 (2 ล.) /เดือน รดทั่วแปลง ทุกตารางนิ้ว
- ให้น้ำปกติทุก 2-3 วัน

หมายเหตุ :
- เริ่มปฏิบัติหลังจากใบอ่อนชุดสุดท้ายเพสลาด
- ปริมาณ 8-24-24 ใส่มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณการติดผลในรุ่นปีผลิตที่ผ่านมา กล่าวคือ ถ้ารุ่นปีผลิตที่ผ่านมาติดผลดกมาก ผลผลิตมีคุณภาพดีมาก ให้ใส่ในปริมาณที่มากขึ้น แต่ถ้ารุ่นปีผลิตที่ผ่านมาติดผลดกน้อยหรือไม่ติดผลเลย ให้ใส่ในปริมาณปานกลาง

- การเพิ่มปริมาณปุ๋ยให้มากขึ้น หมายถึง การให้อัตราเดิมแต่ระยะเวลาให้ถี่ขึ้น เช่น จากเคยให้ 15 วัน/ครั้ง ก็ให้เปลี่ยนเป็น 10 วัน/ครั้ง

- แนวทางบำรุงให้ต้นได้สะสมอาหารเพื่อการออกดอกไว้มากที่สุดควรเตรียมแผนใช้เวลาบำรุง 2-3 เดือน ในห้วง 2-3 เดือนนี้ให้น้ำตาลทางด่วน (กลูโคส) 1-2 รอบ โดยรอบแรกให้เมื่อเริ่มลงมือบำรุง และให้รอบ 2 ห่างจากรอบแรก 20-30 วัน

- การสะสมอาหารเพื่อการออกดอกมีความสำคัญมาก ช่วงนี้จำเป็นต้องให้สาร อาหารกลุ่ม “สร้างดอก (ซี)-บำรุงต้น (เอ็น)” ทั้งทางใบและทางรากให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้

- ก่อนเข้าสู่ขั้นตอนปรับ ซี/เอ็น เรโช ให้ทบทวนความทรงจำเมื่อครั้งเรียกใบอ่อนแล้วใบอ่อนออกมาพร้อมกันเป็นชุดเดียวทั่วทั้งต้นหรือไม่ ถ้าใบอ่อนออกมาพร้อมกันดีทั่วทั้งต้นให้ลงมือปรับ ซี/เอ็น เรโช ต่อไปได้เลย แต่ถ้าใบอ่อนออกมาไม่พร้อมกันเป็นชุดเดียวทั่วทั้งต้นและค่อนข้างต่างรุ่นกันมากให้บำรุงสะสมอาหารเพื่อการออกดอกต่อไปอีก 2-3 รอบ เพื่อรอให้ใบอ่อนชุดหลังได้สะสมอาหารจนอั้นตาดอกดีเท่ากับใบอ่อนชุดแรกเสียก่อน จาก นั้นจึงลงมือปรับ ซี/เอ็น เรโช ทั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อทำให้มีดอกออกมาพร้อมกันเป็นชุดเดียว กันทั่วทั้งต้นนั่นเอง

4. ตรวจสอบสภาพอากาศ ก่อนปรับ ซี/เอ็น เรโช :
ก่อนเริ่มลงมือปรับ ซี/เอ็น เรโช (งดน้ำ) และก่อนลงมือเปิดตาดอกต้องแน่ใจว่าระหว่างที่กำลังบำรุงทั้งสองขั้นตอนนี้จะต้องไม่มีฝน เพราะถ้ามีฝนตกลงมาการงดน้ำก็ล้ม เหลว และดอกที่ออกมาจะได้รับความเสียหาย .... ถ้ารู้แน่ว่าช่วงงดน้ำและเปิดตาดอกถึงช่วงดอกออกมาแล้วจะมีฝนก็ให้ระงับการปรับ ซี/เอ็น เรโช และเปิดตาดอกไว้ก่อน ให้บำรุงต้นต่อไปอีกด้วยสูตรสะสมอาหารเพื่อการออกดอก จากนั้นอาจจะปรับแผนการบำรุงเพื่อทำให้มะนาวออกล่าฤดูด้วยการเลื่อนเวลาเริ่มปรับ ซี/เอ็น เรโช และเปิดตาดอกให้ช้าออกไปเท่าที่สภาพภูมิ อากาศจะอำนวยก็ได้

5. ปรับ ซี/เอ็น เรโช :[b]
ทางใบ :
- ให้ไบโออิ 0-42-56 + สารสกัดสมุนไพร 1-2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7-10 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ ระวังอย่าให้โชกจนตกลงถึงพื้น

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- เปิดหน้าดินโคนต้นโดยนำอินทรีย์วัตถุคลุมโคนต้นออกให้แดดส่องได้ทั่วพื้นดินทรงพุ่ม
- งดให้น้ำเด็ดขาด กรณีสวนยกร่องน้ำหล่อจะต้องสูบน้ำออกให้หมด

หมายเหตุ :
- เริ่มปฏิบัติเมื่อสังเกตเห็นความสมบูรณ์ของต้นชัดเจน หรือแน่ใจว่าต้นได้สะสมอาหาร หรือมีลักษณะอั้นตาดอกเต็มที่แล้ว โดยสังเกตได้จากใบแก่โคนกิ่ง 2-3 ใบ ซึ่งเป็นใบอายุข้ามปีเหลืองร่วงพร้อมกันทั้งต้น

- ระยะเวลาในการงดน้ำไม่อาจกำหนดจำนวนวันที่แน่นอนลงไปได้ (อาจจะ 7-15 วัน) ทุกอย่างขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำใต้ดินโคนต้น ดังนั้นจึงให้งดน้ำไปเรื่อยๆจนกระทั่งใบเริ่มสลดตั้งแต่ประมาณเที่ยงวัน (อากาศร้อน) แล้วฟื้นตั้งชูขึ้นเหมือนเดิมตัวตอน 16.00-17.00 น. ติดต่อ กัน 3 วัน

- วัตถุประสงค์เพื่อ “เพิ่ม” ปริมาณ ซี. (อาหารกลุ่มสร้างดอก-บำรุงผล) และ “ลด” ปริมาณ เอ็น. (อาหารกลุ่มสร้างใบ-บำรุงต้น) ซึ่งจะส่งผลให้ต้นออกดอกแน่นอนหลังการเปิดตาดอก

- ก่อนลงมือปรับ ซี/เอ็น เรโช. ต้องติดตามข่าวพยากรณ์อากาศให้มั่นใจว่าระหว่างปรับ ซี/เอ็น เรโช จะไม่มีฝนตก เพราะถ้ามีฝนตกลงมามาตรการงดน้ำก็ต้องล้มเหลว

- ขั้นตอนการปรับ ซี/เอ็น เรโช. ได้ผลสมบูรณ์หรือไม่ให้สังเกตจากต้น ถ้าต้นเกิดอาการใบสลดแสดงว่าในต้นมีปริมาณ ซี.มาก ส่วนปริมาณ เอ็น. เริ่มลดลง ความพร้อมของต้น อั้นตาดอก) ก่อนเปิดตาดอก สังเกตได้จากลักษณะใบใหญ่หนาเขียวเข้ม ใบคู่สุดท้ายปลายกิ่งแก่จัด กิ่งและใบกรอบเปราะ ข้อใบสั้น หูใบอวบอ้วน ตาดอกโชว์นูนเห็นชัด

- เมื่อต้นมีอาการอั้นตาดอกดีจนพอใจแล้วไม่ต้องฉีดพ่นน้ำตาลทางด่วน (กลูโคส) เพิ่มอีก แต่ถ้าต้นมีอาการอั้นตาดอกไม่ดีหรือยังไม่น่าพอใจ แนะนำให้ฉีดพ่นน้ำตาลทางด่วนทางใบอีกซ้ำอีก 1 รอบ โดยเว้นระยะเวลาให้ห่างจากที่เคยให้เมื่อช่วงสะสมอาหารไม่น้อยกว่า 20-30 วัน

- การให้สารอาหารทางใบซึ่งมีน้ำเป็นส่วนผสมนั้น อย่าให้โชกจนตกลงถึงพื้นเพราะจะกลายเป็นการให้น้ำทางราก แนวทางปฏิบัติ คือ ให้บางๆ เพียงเปียกใบเท่านั้น

- เมื่องดน้ำหรือไม่รดน้ำแล้วจำเป็นต้องควบคุมปริมาณน้ำใต้ดินโคนต้นไม่ให้มากเกินไป โดยทำร่องระบายน้ำใต้ดินหรือร่องสะเด็ดน้ำด้วย

- กรณีสวนยกร่องน้ำหล่อต้องใช้ระยะเวลาในการงดน้ำนานมากกว่าสวนพื้นราบยกร่องแห้งจึงจะทำให้ใบสลดได้ อาจส่งผลให้แผนการผลิตที่กำหนดไว้คลาดเคลื่อน ดังนี้จึงจำ เป็นต้องสูบน้ำออกตั้งแต่ก่อนปรับ ซี/เอ็น เรโช โดยกะคะเนให้ดินโคนต้นแห้งถึงขนาดแตก ระแหง และมีความชื้นไม่เกิน 10% ตรงกับช่วงปรับ ซี/เอ็น เรโช พอดี

6. สำรวจความพร้อมของต้น ก่อนเปิดตาดอก :
- เนื้อใบหนาเขียวเข้มส่องแดดไม่ทะลุ เส้นใบนูนเด่น หูใบอวบอ้วน ข้อใบสั้น ใบคู่สุดท้ายปลายกิ่งแก่จัด กิ่งช่วงปลายกลมเปราะหักง่าย มองจากภายนอกระยะไกลๆ เห็นความสมบูรณ์ทางทรงพุ่มชัดเจน

7. เปิดตาดอก :
ทางใบ :
สูตร 1 .... น้ำ 100 ล.+ ไธโอยูเรีย (500-1,000 กรัม)+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ สารไพร 250 ซีซี.

สูตร 2 .... น้ำ 100 ล. + 0-52-34 (500 กรัม) + สาหร่ายทะเล 50 กรัม + ไทเป 50 ซีซี. + สารสมุนไพร 250 ซีซี.

สูตร 3 .... น้ำ 100 ล. + 13-0-46 (500 กรัม) + สาหร่ายทะเล 50 กรัม + ไทเป 50 ซีซี. + สารสมุนไพร 250 ซีซี.

สูตร 4 .... น้ำ 100 ล. + 13-0-46 (1 กก.) + 0-52-34 (500 กรัม) + สาหร่ายทะเล 50 กรัม + สารสมุนไพร 250 ซีซี.

สูตร 5 .... น้ำ 100 ล. + ไทเป 100 ซีซี. + สารสมุน ไพร 250 ซีซี.

ทางราก :
- ยังคงเปิดหน้าดินโคนต้นเหมือนช่วงปรับ ซี/เอ็น เรโช
- ให้ 8-24-24 (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นใหญ่) /ต้น /เดือน
- ให้น้ำโชกทั่วทรงพุ่ม 2-3 วันติดต่อกัน

หมายเหตุ :
- เริ่มปฏิบัติหลังจากต้นและใบสลดติดต่อกัน 3 วันแล้ว
- เริ่มปฏิบัติเมื่อต้นมีอาการอั้นตาดอกดีทั่วต้นและสภาพอากาศพร้อม
- ระหว่างสูตร 1-2-3-4 ให้เลือกใช้สูตรใดสูตรหนึ่งเพียงสูตรเดียว สลับกับสูตร 5 โดยให้ห่างกันครั้งละ 5-7 วัน ไม่ควรใช้สูตรใดสูตรหนึ่งเพียงสูตรเดียวติดต่อกัน เพราะจะทำให้เกิดอาการดื้อจนเปิดตาดอกไม่ออก

- ต้นที่ผ่านการบำรุงไม่เต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ หรือสภาพอากาศไม่ค่อยอำนวย หรือพันธุ์หนักออกดอกยาก แนะนำให้เปิดตาดอกด้วยสูตร 4 สลับกับสูตร 5

- เปิดตาดอกแล้ว ถ้าดอกออกมาไม่มากพอ ระหว่างที่ดอกชุดแรกยังเป็นดอกตูมอยู่นั้น ให้เปิดตาดอกซ้ำอีก1-2 รอบด้วยสูตรเดิม หรือจนกระทั่งดอกชุดแรกบานแล้วจึงยุติการเปิดตาดอกซ้ำ

- เปิดตาดอกแล้วมีทั้งใบอ่อนและดอกออกมาพร้อมกัน ให้เปิดตาดอกด้วยสูตรเดิมซ้ำอีก 1-2 รอบ นอกจากช่วยกดใบอ่อนที่ออกมาพร้อมกับดอกแล้วยังดึงช่อดอกที่ยังไม่ออกให้ออกมาได้อีกด้วย

- อาจจะพิจารณาใส่ 8-24-24 (100-200 กรัม) /ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.อีก 1 รอบก็ได้ ด้วยการละลายน้ำรดโคนต้นพอหน้าดินชื้น เพื่อเสริมของเก่าที่ใส่เมื่อช่วงสะสมอาหารและช่วงที่ปรับ ซี/เอ็น เรโช.

- หลังจากระดมให้น้ำแล้วต้นจะแตกใบอ่อนพร้อมกับมีดอกออกตามมาด้วยเสมอ
- เพื่อให้ต้นแตกใบอ่อน (มีดอกตามมาด้วย) มากๆ ให้ใช้ “ไธโอยูเรีย 500 กรัม/น้ำ 100 ล.” ฉีดพ่นซ้ำก็ได้ โดยฉีดพ่นในช่วงเช้าแดดให้ทั่วทรงพุ่ม

- หลังจากเปิดตาดอกแล้ว ถ้าแตกยอดพร้อมกับมีดอกออกมาไม่มากพอ สาเหตุมาจากตั้งแต่ช่วงเรียกใบอ่อนแล้วใบอ่อนออกมาไม่พร้อมกันทั่วทั้งต้น ระหว่างที่ดอกชุดแรกยังเป็นดอกตูมอยู่นั้น ให้เปิดตาดอกซ้ำอีก 1-2 รอบด้วยสูตรเดิม หรือจนกระทั่งดอกชุดแรกบานแล้วจึงยุติการเปิดตาดอกซ้ำ

- สำหรับมะนาวนั้น ปุ๋ยทางใบสูตร 0-52-34 เป็นได้ทั้ง "สูตรสะสมตดอก" และ "เปิดตาดอก" หมายความว่า เมื่อต้นสะสม 0-52-34 ในปริมาณที่มากพอภายใต้ความสมบูรณ์ต้นสูง มะนาวสามารถออกดอกได้เองโดยไม่ต้องเปิดตาดอกซ้ำ แต่ถ้าต้นสะสม 0-52-34 ไม่เพียงพอหรือต้นเกิดอาการเฝือใบ แนะนำให้เพิ่ม 13-0-46 โดย "น้ำ 100 ล.+ 0-52-35 (1 กก.) + 13-0-46 (250 กรัม) มะนาวต้นนั้นก็จะแทงช่อดอกออกมาได้

8. บำรุงดอก :
ทางใบ :
- ให้ไบโออิ 15-45-15 (หน้าฝน) หรือ 0-52-34 (หน้าแล้ง) + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7-10 วัน ฉีดพ่นพอเปียก ระวังอย่าให้โชกจนลงถึงพื้น

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- ยังคงเปิดหน้าดินโคนต้น
- ให้ 8-24-24 (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นใหญ่) /ต้น /เดือน
- ให้น้ำปกติ ทุก 2-3 วัน

หมายเหตุ :
- ช่วงดอกตั้งแต่เริ่มแทงออกมาให้เห็นหรือระยะดอกตูม บำรุงด้วยฮอร์โมน เอ็นเอเอ. 1 รอบ จะช่วยบำรุงเกสรทั้งตัวผู้และตัวเมียให้สมบูรณ์พร้อมรับผสม แต่ต้องใช้ด้วยความระมัดระวังเพราะถ้าให้เข้มข้นเกินไปจะเกิดความเสียหายต่อดอกและถ้าให้อ่อนเกินไปก็จะไม่ได้ผล

- ช่วงดอกเริ่มแทงออกมาใหม่ๆให้แคลเซียม โบรอน. 1 รอบ จะช่วยให้ดอกสมบูรณ์ผสมติดดี
- ช่วงดอกตูมควรฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรให้บ่อยขึ้น เพื่อป้องกันกำจัดโรคและแมลงไปจนถึงช่วงดอกบาน

- ช่วงดอกบานควรงดการฉีดพ่นทางใบโดยเฉาะช่วงกลางวัน (08.00-12.00 น.) เพราะอาจทำให้เกสรเปียกจนผสมไม่ติดได้ หากจำเป็นต้องฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรให้ฉีดพ่นช่วงหลังค่ำ

- ระยะดอกบานถ้าตรงกับช่วงฝนชุกเกสรจะเปียกชื้นทำให้ผสมไม่ติด แก้ไขโดยกะระยะเวลาเปิดตาดอกให้ดอกออกมาแล้วไม่ตรงกับช่วงฝนชุกเท่านั้น แต่ถ้าดอกออกมาตรงกับช่วงแล้งอากาศร้อนมากเกสรจะฝ่อทำให้ผสมไม่ติดเช่นกัน แก้ไขโดยสร้างความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศและที่พื้นดิน ทั้งในแปลงปลูกและรอบๆแปลงปลูก.... มาตรการบำรุงต้นให้สมบูรณ์อยู่เสมอตั้งแต่ก่อนเปิดตาดอกจะช่วยลดความสูญเสียได้เป็นอย่างมาก

- เพื่อความมั่นใจในเปอร์เซ็นต์หรือประสิทธิภาพของฮอร์โมน เอ็นเอเอ. แนะนำให้ใช้ฮอร์โมน เอ็นเอเอ. วิทยาศาสตร์แทนฮอร์โมนทำเอง จะได้ผลดีกว่าเพราะเปอร์เซ็นต์ความเข้มข้นแน่นอนกว่า

- ควรฉีดพ่นเพื่อบำรุงดอกด้วยเครื่องมือฉีดพ่นที่มีแรงลมพ่นเบาที่สุดตามความเหมาะสม เพื่อไม่ให้กระทบกระเทือนต่อส่วนต่างๆ ของดอก ควรฉีดพ่นที่ช่อดอกโดยตรงพอเปียก หรือฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่มพอเปียกใบก็ได้

- บำรุงดอกช่วงฝนชุกให้เน้น “สังกะสี และ แคลเซียม โบรอน” โดยให้เมื่อดอกออกมาแล้วหรือให้แบบสะสมล่วงหน้าตั้งแต่ช่วงเปิดตาดอก ให้เดี่ยวๆ หรือผสมรวมไปกับธาตุอาหารอื่นๆ ก็ได้

- การไม่ใช้สารเคมีใดๆ เลยติดต่อกันมานานจะทำให้ให้มีผึ้งและมีแมลงธรรมชาติอื่นๆ เข้ามาช่วยผสมเกสร ซึ่งจะส่งผลให้การติดผลดีขึ้น

- ต้นที่ได้รับ แม็กเนเซียม (จากไบโออิ). โบรอน (จากแคลเซียม โบรอน). สม่ำเสมอแบบสะสม ถึงช่วงออกดอกแล้วเจอฝน ดอกจะแข็งแรงไม่ร่วงง่ายๆ หรือติดเป็นผลได้ดีเหมือนปกติ

9. บำรุงผลเล็ก-ผลกลาง :
ทางใบ :
- ให้ ไบโออิ + ยูเรก้า + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7-10 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ

- ในรอบ 1 เดือน หาโอกาสให้น้ำตาลทางด่วน (กลูโคส) 1 รอบ
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยคอก (ขี้วัวขี้ไก่ไข่ แกลบดิบ แห้งเก่าข้ามปี) กระดูกป่น ครั้งที่ 2 ของรุ่น หรือปีการผลิต

- ใส่ 21-7-14 (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นใหญ่) /ต้น /เดือน ละลายน้ำรดโคนต้น บริเวณทรงพุ่ม
- คลุมโคนต้นด้วยเศษพืชแห้งหนาๆ เต็มพื้นที่บริเวณทรงพุ่ม ล้ำออกไปถึงนอกเขตทรงพุ่ม
- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 21-7-14 (2 ล.) /ไร่ /เดือน รดทั่วแปลง ทุกตารางนิ้ว

หมายเหตุ :
- เริ่มปฏิบัติหลังจากกลีบดอกร่วง หรือขนาดผลเท่าเมล็ดถั่วเขียว
- หาจังหวะให้น้ำตาลทางด่วน (กลูโคส) 1 ครั้ง เมื่ออายุผลแก่ได้ 50% นอกจากเป็นการบำรุงสร้างความสมบูรณ์แก่ต้น ส่งผลให้ผลผลิตรุ่นนี้ดี แล้วต่อไปถึงอนาคตผลผลิตรุ่นหน้าหรือรอบหน้าอีกด้วย

- การบำรุงระยะผลขนาดกลางต้องให้น้ำมากสม่ำเสมอแต่ต้องไม่ขังค้าง ถ้าได้รับน้ำน้อยจะทำให้เนื้อแข็งกระด้าง ผลไม่โต หากมีฝนตกหนักลงมากะทันหันก็อาจทำให้ผลแตกผลร่วงได้

10. บำรุงผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยว :
ทางใบ :
- ให้ไบโออิ 0-21-74 + สารสมุนไพร 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน และให้รอบสุดท้ายก่อนเก็บเกี่ยว 7-10 วัน ด้วยการฉีดพ่นพอเปียกใบ

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- เปิดหน้าดินโคนต้น และนำอินทรีย์วัตถุออก
- ให้ 13-13-21 หรือ 8-24-24 สูตรใดสูตรหนึ่ง (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก. ต้นใหญ่) /ต้น ละลายน้ำรดโคนต้น บริเวณทรงพุ่ม แล้วงดน้ำเด็ดขาด

หมายเหตุ :
- เริ่มให้ก่อนเก็บเกี่ยว 7-10 วัน 1-2 รอบห่างกันรอบละ 5-7 วัน
- การให้ 13-13-21 เหมาะสำหรับต้นที่มีผลรุ่นเดียวกันทั้งต้น หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตหมดต้นแล้วต้องพักต้นทันทีโดยไม่ต้องทำการใดๆทั้งสิ้นนั้น ทำให้ต้องพักต้นทั้งๆที่ต้นยังโทรมอยู่ กรณีนี้เมื่อถึงฤดูกาลใหม่ต้องเร่งบำรุงฟื้นฟูความสมบูรณ์ของต้น (เรียกใบอ่อน) กลับคืนมาโดยเร็วแล้วจึงเข้าสู่วงรอบการบำรุงใหม่ต่อไป......วิธีการทำให้ต้นไม่โทรมมากเกินไปก็คือ บำรุงให้ต้นสมบูรณ์อยู่เสมอโดยให้มีสารอาหารกินตลอด 24 ชม.ต่อเนื่องหลายๆปีนั่นเอง

- การให้ 8-24-24 เหมาะสำหรับต้นที่มีผลหลายรุ่นในต้นเดียวกันหรือประเภททะวายทยอยออก แบบไม่มีรุ่นซึ่งหลังจากเก็บเกี่ยวผลแก่จัดไปแล้วต้นไม่โทรม ใน 8-24-24 เป็นปุ๋ยประเภทสะสมอาหารเพื่อการออกดอก ซึ่งจะส่งผลให้กิ่งที่ยังไม่ออกดอกติดผลเกิดอาการอั้นแล้วออกดอกติดผลเป็นผลรุ่นใหม่ขึ้นมาอีกได้
- มะนาวไม่ต้องการพักต้นหลังเก็บเกี่ยวผลผลิต เมื่อผลสุดท้ายหลุดจากต้นต้องเร่งบำรุงเรียกใบอ่อนเพื่อฟื้นฟูสภาพต้นทันที จะช่วยให้การออกดอกติดผลในรุ่นการผลิตปีต่อไปดีขึ้น

ปลูกมะนาวในกระถางให้ออกหน้าแล้ง บังคับง่ายได้ผลแน่นอน :
หลักการและเหตุผล :

การบังคับมะนาวให้ได้ผลผลิตแก่เก็บเกี่ยวได้ตรงกับช่วงหน้าแล้ง (เม.ย.) นั้น จำเป็นต้องงดน้ำเพื่อปรับ ซี/เอ็น เรโช ในช่วงเดือน ส.ค. ซึ่งค่อนข้างทำยากเพราะเป็นช่วงฤดูฝน นอกจากน้ำฝนแล้วยังมีปัญหาน้ำใต้ดินโคนต้นอีกที่ไม่สามารถควบคุมได้ จึงส่งผลให้มะนาวแตกใบอ่อนตลอดเวลา

การปลูกมะนาวในกระถางช่วยให้มาตรการงดน้ำสามารถทำได้แน่นอน เพราะนอกจากป้องกันน้ำจากฝนตกแล้วยังป้องกันน้ำจากใต้ดินโคนต้นได้อีกด้วย

เตรียมกระถางวงปูน : [b]
- เลือกวงปูนซีเมนต์ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2-2.5 ม. สูง 50 ซม. ปิดก้นตลอด เจาะรูด้านข้างขอบ และก้นกระถาง เพื่อระบายน้ำป้องกันน้ำขังค้าง ในกระถาง 4-5 รู

- ตั้งกระถางกลางแจ้ง แสงแดดส่องได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ตลอดวัน

เตรียมดิน :
- เลือกดินหน้าดิน (ดินขุยไผ่ ดีที่สุด) ตากแดดจัด 10-20 แดดเพื่อฆ่าเชื้อโรค และร่วนซุยแตกตัวดี

- ใส่อินทรีย์วัตถุ : ปุ๋ยอินทรีย์ กระดูกป่น ขี้วัวขี้แก่แกลบดิบ เศษพืชแห้ง (เปลือกถั่วลิสง ซังข้าวโพด ฟางข้าวสับหยาบๆ) รวม 5-10% ของเนื้อดิน ผสมคลุกเคล้าให้เข้ากันดีแล้วพรมด้วย “น้ำ + ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง คลุกเคล้าให้เข้ากันดีอีกครั้งจนได้ความชื้น 50% เสร็จแล้วอัดแน่นในวงปูนจนพูนเป็นโคก คลุมด้วยพลาสติก เมื่อมีควันเกิด ขึ้น เปิดพลาสติกคลุม พรวนดินระบายอากาศและความร้อน แล้วหมักต่อ กระทั่ง 3-6 เดือน ไม่เกิดความร้อน หรืออุณหภูมิลดลงหรือเย็นปกติ จึงปลูกมะนาวได้

*** ขั้นตอนนี้สำคัญที่สุด หากดินไม่พร้อมจริง ปลูกมะนาว หรือพืชใดลงไปก็ไม่ประสบความสำเร็จ ***

ขั้นตอนการปฏิบัติบำรุงมะนาวในกระถางให้ออกผลในหน้าแล้ง :
- ช่วงขั้นตอน "ตัดแต่งกิ่ง-เรียกใบอ่อนฟื้นฟูสภาพต้น-สะสมอาหารเพื่อการออกดอก" ปฏิบัติเหมือนการบำรุงมะนาวปลูกบนพื้นดินปกติ ทุกประการ

- ช่วงขั้นตอน "งดน้ำเพื่อปรับ ซี/เอ็น เรโช" ให้ใช้พลาสติกคลุมหน้าดินปากวงปูนเพื่อป้องกันฝนตกใส่ เมื่อเห็นว่าต้นมะนาวเริ่มเครียดหรือเริ่มใบสลด จึงนำพลาสติกออก แล้วระดมให้น้ำพร้อมกับเปิดตาดอกได้เลย

- ช่วงขั้นตอน "เปิดตาดอก" หลังจากนำพลาสติกคลุมดินออกแล้วเริ่มเปิดตาดอก โดย...

ทางใบ :
สูตร 1 .... น้ำ 100 ล.+ ไธโอยูเรีย (500- 1,000 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ สารสกัดไพร 250 ซีซี.

สูตร 2 .... น้ำ 100 ล. + 0-52-34 (500 กรัม) + สาหร่ายทะเล 50 กรัม + ไทเป 50 ซีซี. + สารสมุนไพร 250 ซีซี.

สูตร 3 .... น้ำ 100 ล. + 13-0-46 (500 กรัม) + สาหร่ายทะเล 50 กรัม + ไทเป 50 ซีซี. + สารสมุนไพร 250 ซีซี.

สูตร 4 .... น้ำ 100 ล. + 13-0-46 (1 กก.) + 0-52-34 (500 กรัม) + สาหร่ายทะเล 50 กรัม + สารสมุนไพร 250 ซีซี.

สูตร 5 .... น้ำ 100 ล. + ไทเป 100 ซีซี. + สารสมุน ไพร 250 ซีซี.

ทางราก :
- ยังคงเปิดหน้าดินโคนต้นเหมือนช่วงปรับ ซี/เอ็น เรโช
- ให้ 8-24-24 (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นใหญ่) /ต้น /เดือน
- ให้น้ำโชกทั่วทรงพุ่ม 2-3 วันติดต่อกัน

หมายเหตุ :
- หลังจากเปิดตาดอกแล้วมะนาวก็จะมีดอกออกมา จากนั้นบำรุงตามขั้นตอน “บำรุงดอก. บำรุงผลเล็ก. บำรุงผลกลาง. บำรุงผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยว. บำรุงผลให้แก่เร็วกว่าปกติหรือบำรุงยืดอายุผลให้แก่ช้า.” ปฏิบัติเหมือนการบำรุงมะนาวที่ปลูกบนพื้นดินปกติทุกประการ

- รากทั้งหมดอยู่ในวงปูนซึ่งเป็นพื้นที่ๆค่อนข้างจำกัดในการอาหาร และปริมาณสารอาหารก็มีอย่างจำกัดด้วย รากทั้งหมดต่างก็ดูดซับสารอาหารในพื้นที่จำกัดนั้นจนทำให้สารอาหารหมดไปอย่างรวดเร็ว กรณีนี้แก้ไขโดยให้สารอาหารทั้งทางรากและทางใบมากๆอย่างเพียงพอด้วยวิธี “ให้น้อย-บ่อยครั้ง-ตรงเวลา” ทั้งนี้ความสมบูรณ์ของต้นจะชี้บอกได้อย่างดีว่าสารอาหารพอเพียงหรือไม่

ตัดแต่งรากมะนาวในกระถาง
เนื่องจากรากมะนาวต้องเจริญเติบโตในกระถางซึ่งมีพื้นที่จำกัด เมื่ออายุต้นมากขึ้นหรือ 4-5 ปีขึ้นไปปลายรากจะวนอยู่ที่ขอบกระถาง ส่งผลให้ต้นโทรมหรืออาจตายได้ กรณีนี้สามารถแก้ไขได้ตามขั้นตอน ดังนี้

1. ล้างต้นแล้วบำรุงต้นเรียกใบอ่อนเพื่อให้ต้นมีความสมบูรณ์หรือสะสมอาหารไว้ในต้นก่อน
2.ใช้พลั่วหรือเสียมคมจัดแทงลงดินตรงๆ ห่างจากขอบกระถางมาทางโคนต้น 1 ใน 4 ขั้นตอนนี้จะเป็นการตัดปลายรากออก

3. ตักดินบริเวณขอบกระถางออกแล้วเปลี่ยนดินชุดใหม่ลงไปแทน หรือถ้า
เห็นว่าสภาพดินยังดีอยู่ก็ไม่ต้องตักออกก็ได้

4. หลังจากตัดรากแล้วให้ฮอร์โมนบำรุงราก พร้อมกับเร่งบำรุง เรียกใบอ่อน-ฟื้นฟูสภาพต้น เหมือนการบำรุงหลังตัดแต่งกิ่งมะนาวที่ปลูกบนพื้นดินปกติ ถ้าต้นมีความสมบูรณ์ดีตั้งแต่แรกก็จะแตกใบอ่อนพร้อมกับรากชุดใหม่ภายใน 20-30 วัน และพร้อมรับการบำรุงเพื่อให้ดอก/ผลต่อไป

5. วิธีตักหน้าดินปากกระถางบางส่วนออกแล้วใช้วิธีล่อรากขึ้นมาก่อนแล้วจึงตัดปลายรากที่ขอบกระถางจะสามารถลดการชะงักการเจริญเติบโตของต้นได้เป็น
อย่างดี

6. ช่วงปีแรกหลังจากตัดแต่งรากยังไม่ควรเอาผล แต่ให้บำรุงต้นจนสมบูรณ์ดีเหมือนเดิมก่อนจึงบำรุงเพื่อเอาผลจะช่วยให้ต้นไม่โทรมเร็วและอายุยืนนานขึ้น

หมายเหตุ :
มะนาวกระถางอายุต้น 3-4 ปี ขนาดทรงพุ่มเส้นผ่าศูนย์กลาง 2-3 ม. สูง 2-2.5 ม.สภาพต้นสมบูรณ์พร้อมสามารถให้ผลผลิตได้ต้นละประมาณ 50-100 ผล ในขณะที่มะนาวพื้นราบยกร่องแห้งลูกฟูกอายุต้น ขนาดและความสมบูรณ์พร้อมเท่าๆกันสามารถให้ผลผลิตได้ต้นละ 1,000-2,000 ผล

================================================
=================================================



มะยง-มะปราง
ลักษณะทางธรรมชาติ :

- เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่อายุนับร้อยปี ปลูกได้ในทุกพื้นที่ ชอบพื้นที่ๆมีความชื้นทั้งความชื้นในดินและในอากาศแต่ไม่ทนต่อน้ำท่วมขังค้างนาน ชอบดินดำร่วนซุยมีอินทรีย์ วัตถุมากๆ

- มะปรางหวาน-มะปรางเปรี้ยว-มะยงชิด-มะยางห่าง เป็นไม้ผลยืนต้นตระกูลเดียว กัน สามารถเสียบยอด ทาบกิ่ง เสริมรากซึ่งกันและกันได้ ถ้านำเมล็ดไปเพาะขยายพันธุ์จะกลายพันธุ์ อาการกลายพันธุ์จะทำให้ได้สายพันธุ์ใหม่อย่างใดอย่างหนึ่งใน 4 อย่างนี้ คือมะปรางเปรี้ยวกลายพันธุ์เป็นมะยงห่าง หรือมะยงชิด หรือมะปรางหวาน และ มะยงห่างกลายเป็นมะยงชิดหรือมะปรางหวานหรือมะปรางเปรี้ยว เป็นต้น

- เป็นพืชระบบรากน้อย กล่าวคือ ต้นที่ปลูกจากเมล็ดมีรากแก้วค่อนข้างยาว ชอนลึกลงดิน ส่วนรากฝอยอยู่ที่ผิวดินตื้นๆ แผ่กระจายรอบทิศทาง ค่อนข้างสั้นและมีจำนวนน้อย ต้นที่ปลูกโดยเพาะเมล็ดจะให้ผลผลิตเมื่ออายุไม่น้อยกว่า 7-8 ปี ถือว่าช้ามากในกลุ่มไม้ผล วิธี แก้ไขการให้ผลผลิตช้าโดยใช้ต้นพันธุ์จาก เพาะเมล็ด - เสริมราก - เปลี่ยนยอด หรือ กิ่งทาบ - เสริมรากแก้ว หรือ กิ่งตอน - เสริมรากแก้ว โดยเสริม 1 รากจะให้ผลผลิตใน 4-5 ปี เสริม 2-3 รากจะให้ผลผลิตใน 2-3 ปี และเสริม 3-4 รากจะให้ผลผลิตใน 1 ปีครึ่ง – 2 ปี

(หมายเหตุ : เสริมรากแก้ว หมายถึง ต้นเสริมมีรากแก้วเนื่องจากปลูกด้วยเมล็ด....เมล็ดมะปรางเปรี้ยว หรือกาวาง หรือมะปรางป่า มีระบบรากแข็งแรงที่สุดจึงเหมาะสำหรับทำต้นเสริมราก)

- เป็นไม้ผลประเภทกระทบอากาศหนาวแล้วออกดอกดี ดังนั้นจึงควรเปิดตาดอกด้วย 13-0-46 (โปแตสเซียม ไนเตรท) ที่ชาวสวนลำไยภาคเหนือเรียกว่า ปุ๋ยหนาว เพราะฉีดพ่นแล้วใบเย็นทั้งต้น เป็นหลักแล้วเสริมด้วย 0-52-34, ฮอร์โมนไข่, และสาหร่ายทะเล

- นิสัยออกดอกแบบทยอย บางต้นออกดอกเป็นชุดถึง 3 ชุด เริ่มออกชุดแรกเดือน ธ.ค.ไปจนถึงชุดสุดท้ายเดือน ก.พ.โดยต้นสมบูรณ์ดีเต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ หลังจากเปิดตาดอกแล้วดอกชุดแรกจะออกมาจำนวนมาก แล้วดอกชุดหลังๆจะเริ่มลดน้อยลงหรือให้ดอกดก 1 ชุดกับดอกน้อย 2 ชุด

- โดยนิสัย มะปราง. ออกดอกง่ายกว่ามะยง. ภายใต้สภาวะปัจจัยพื้นฐานเดียวกัน
- บำรุงสะสมตาดอกด้วย 0-39-39 กระทั้งต้นเกิดอาการอั้นตาดอกดีแล้วงดน้ำ เมื่อใบสลดแล้วระดมให้น้ำ ถ้าอุณหภูมิต่ำติดต่อกัน 5-7 วัน ก็สามารถออกดอกได้โดยไม่ต้องเปิดตาดอก ทั้งนี้ ก่อนบำรุงสะสมตาดอกต้นต้องสะสมความสมบูรณ์สูง

- เป็นดอกสมบูรณ์เพศที่ผสมตัวเอง หรือต่างดอกในต้นเดียวกันหรือต่างต้นได้
- เกสรตัวผู้หรือเกสรตัวเมียอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างไม่สมบูรณ์เกิดจากขาดสารอาหาร/ฮอร์โมน หรือสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม (อากาศร้อนหรือฝนตกชุก) ผสมกัน เมื่อพัฒนาเป็นผลแล้วจะเป็นผลไม่สมบูรณ์ ไม่โต รูปทรงบิดเบี้ยว

วิธีปลูก “มะปราง-มะยง” อย่างยั่งยืน :


.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 28/01/2024 8:48 am, แก้ไขทั้งหมด 4 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 26/01/2024 1:26 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
วิธีปลูก “มะปราง-มะยง” อย่างยั่งยืน :
1. เตรียมไม้พี่เลี้ยง โดยปลูกกล้วยน้ำว้าก่อน เนื่องจากกล้วยมีระบบรากมาก และเจริญเติบโตเร็ว ณ จุดที่ต้องการปลูกมะปราง-มะยง พร้อมๆกับปลูกพืชพุ่มเตี้ยอายุสั้นฤดูกาลเดียวอย่างอื่นแซมแทรกตามพื้นที่ว่างระหว่างกอกล้วยลงไปด้วย จัดแถวเป็นแนวให้สวยงามเป็นระเบียบเพื่อความสะดวกในการเข้าปฏิบัติงาน กล้วยและพืชแซมจะช่วยสร้างความชื้นทั้งในเนื้อดินและความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศ จากนั้นบำรุงเลี้ยงกล้วยและพืชแซมตามปกติจนกระทั่งกล้วยเริ่มแทงหน่อ

2. ระหว่างที่กล้วยต้นแม่กำลังเจริญเติบโตนั้นให้ตัดต้นหน่อเพื่อไม่ให้สูงแต่ให้โตเพื่อเอาราก และไม่ขุดหน่อออก เมื่อต้นแม่ใกล้ออกเครือจึงงดตัดต้นหน่อ เลี้ยงต้นแม่เรื่อยๆจนกระทั่งออกเครือ หลังจากตัดเครือแล้วให้ล้มต้นแม่ออกคงเหลือแต่หน่อ ซึ่งช่วงนี้หน่อควรมีความสูงไม่น้อยกว่า 1-1.5 ม. ถ้าไม่รอกล้วยต้นแม่ตกเครือเพราะไม่ต้องการผลผลิตและเพื่อย่นระยะเวลาปลูกมะปราง-มะยงให้เร็วขึ้นก็สามารถทำได้ โดยตัดล้มกล้วยต้นแม่แล้วนำออกหลังจากได้ให้หน่อสูง 1-1.5 ม.แล้ว ทั้งนี้จะไม่ตัดต้นหน่อเลยตั้งแต่เกิด

3. หลังจากล้มกล้วยต้นแม่ (ทั้งเอาผลผลิตและไม่เอาผลผลิต)เหลือแต่หน่อเรียบร้อยแล้วให้ขุดหลุมบนกอกล้วยต้นแม่เดิมหรือกลางวงล้อมของหน่อ จัดการปลูกต้นกล้า มะปราง-มะยง (กิ่งทาบหรือตอน) ลงไปด้วยวิธีการปลูกตามปกติพร้อมกับฝังเมล็ดเพื่อทำรากเสริม 2-3 ต้น หรือจำนวนตามต้องการล้อมรอบต้นมะปราง-มะยงไว้ก่อน ห่างประมาณ 20-30 ซม.ด้วยวิธีเพาะเมล็ดตามปกติ

4. สำรวจแนวแสงแดด ถ้ายังมีแสงแดดส่องถึงต้นกล้ามะปราง-มะยงมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ให้เสริมวัสดุบังแดด เช่น ทางมะพร้าว ซาแลน โดยไม่ต้องห่วงกล้วย จากนั้นบำรุงต้นกล้ามะปราง-มะยงตามปกติ

5. ระหว่างที่ต้นเสริมรากกำลังเจริญเติบโตนั้นให้หมั่นโน้มต้นเข้าหาโคนต้นรับการเสริมรากเพื่อเตรียมทาบเข้ากับต้นมะปราง-มะยง

6. เมื่อส่วนลำต้นของต้นเสริมรากโตเท่าดินสอดำหรือ 0.5 ซม.ให้เริ่มเสริมราก โดยเสริมครั้งละ 1-2 รากก่อน เมื่อแผลทาบรากเสริมชุดแรกติดดีแล้วให้เสริมรากต่อไปจนครบตามต้องการด้วยวิธีการเสริมรากปกติซึ่งอาจจะต้องใช้เวลานาน 3-6 เดือน

7. บำรุงต้นมะปราง-มะยงคู่กับไม้พี่เลี้ยง 2-3 ปี หรือจนกว่าจะออกดอกติดผลชุดแรกจึงพิจารณาแยกไม้พี่เลี้ยงออก ปล่อยให้มะปราง-มะยงโตเดี่ยวอย่างอิสระ หรือสร้างไม้พี่เลี้ยงต่อโดยการปลูกกล้วยแซมแทรกระหว่างต้นมะปราง-มะยงนั้น ถ้าใบกล้วยบังแดดไม้ประธานก็ให้ริดใบกล้วยออก ทั้งนี้รากกล้วยที่ชอนไชไปทั่วแปลงปลูกจะช่วยให้มะปราง-มะยงสดชื่นอยู่เสมอ

เตรียมแปลง :
1.ไม่ควรจัดแปลงแบบสวนยกร่องน้ำหล่อ แต่ให้จัดแปลงแบบยกร่องแห้งลูกฟูก มีร่องสะเด็ดน้ำและทางระบายน้ำ

2. ปรับปรุงดินด้วยอินทรีย์วัตถุ (แกลบดิบ แกลบดำ กระดูกป่น เศษพืช ฯลฯ) สารปรับปรุงบำรุงดิน (ยิบซั่ม) และจุลินทรีย์ (หน่อกล้วย. พด. ปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง)

3. กำหนดจุดปลูกมะปราง-มะยง
4. ปลูกกล้วยสำหรับเป็นไม้พี่เลี้ยง ณ จุดที่ต้องการปลูกมะปราง-มะยง
5. ปลูกต้นกล้า มะปราง-มะยง ลงในใจกลางกอกล้วย

หมายเหตุ :
- นำต้นกล้า มะปราง-มะยงเสริม ราก 2-3 ราก ทุกรากเจริญดีลงปลูกในแปลงจริง ถ้าไม่มีกล้วยหรือไม้ยืนต้นอื่นๆ เป็นไม้พี่เลี้ยงให้ใช้ซาแลนหรือทางมะพร้าวคลุมบังแดด แต่ถ้ามีต้นกล้วยเป็นไม้พี่เลี้ยงให้ปลูกต้นกล้าลงข้างๆ หรือใจกลางกอกล้วย จากนั้นบำรุงตาม ปกติ จนกระทั่งกล้าต้นนั้นแตกใบอ่อนแล้ว 2-5 ชุดจึงนำซาแลนหรือทางมะพร้าวออกก็ได้ ส่วนกอกล้วยจะคงไว้บางต้นเพื่อเอารากหรือนำออก (ฆ่า)ทั้งหมดก็ได้

- งดใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชหรือยาฆ่าหญ้าเด็ดขาด แต่ใช้วิธีตัดแต่งเพื่ออาศัยวัชพืชหรือหญ้าช่วยรักษาความชื้นหน้าดิน

เตรียมต้น ตัดแต่งกิ่ง :
- ตัดแต่งเพื่อการแตกยอดใหม่ให้ตัดกิ่งกระโดง กิ่งในทรงพุ่ม กิ่งคดงอ กิ่งชี้ลง กิ่งไขว้ กิ่งหางหนู กิ่งเป็นโรค กิ่งมุมแคบ ทั้งนี้ภายในทรงพุ่มควรให้โปร่งจนแสงส่องผ่านลงไปถึงโคนต้นได้

- มะปราง-มะยง ออกดอกติดผลจากปลายยอดของกิ่งที่เฉียงขึ้น 45 องศา ดังนั้นจึงควรตัดทิ้งกิ่งในทรงพุ่มทั้งหมดและเพื่อไม่ให้แตกยอดใหม่ป้องกันทรงพุ่มทึบเกินไปให้ตัดชิดลำกิ่งประธาน

- เทคนิคการ ตัดแต่ง-เรียกใบอ่อน แบบ “บำรุงก่อนตัด” กล่าวคือ ระหว่างที่ต้นเลี้ยงลูกนั้น ต้นต้องใช้พลังงานอย่างมาก จนทำให้ต้นโทรม หลังจากผลลูกสุดท้ายหลุดจากต้นแล้วให้บำรุงด้วยสูตรเรียกใบอ่อน ทั้งทางใบและทางราก หรือเฉพาะทางใบอย่างเดียวก่อน 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน เพื่อให้ต้นได้ใช้ใบเดิมที่มีสังเคราะห์อาหาร เมื่อเห็นว่า ต้นมีอาการสมบูรณ์ดี ทำท่าจะแตกยอดใหม่ ก็ให้ปฏิบัติการเรียกใบอ่อนทันที การที่ต้นมีความสมบูรณ์อยู่ ต้นก็จะแตกใบอ่อนใหม่ เร็ว ดี มาก และพร้อมกันทั่วทั้งต้น

- ตัดยอดกิ่งประธาน (ผ่ากบาล) ณ ความสูงต้นตามต้องการ นอกจากช่วยทำให้แสงแดดผ่านจากยอดเข้าสู่ภายในทรงพุ่มได้อย่างทั่วถึงแล้วแสงแดดที่ร้อนยังช่วยกำจัดเชื้อราได้เป็นอย่างดีและเพื่อควบคุมขนาดความสูงทรงพุ่มอีกด้วย

- นิสัย มะปราง-มะยง มักออกดอกหลังจากกระทบหนาวได้ระยะหนึ่ง ดังนั้นจึงควร ตัดแต่งกิ่ง-เรียกใบอ่อน ช่วงต้นหน้าฝนแล้วเข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงต่อไปตามลำดับจะทำให้ต้นมีความสมบูรณ์เต็มที่ดีกว่าการตัดแต่งกิ่งในช่วงอื่น หมายความว่า หลังจากเก็บเกี่ยวผล ผลิตแล้วยังไม่ต้องตัดแต่งกิ่งแต่ให้บำรุงตามปกติต่อไปก่อน จนกระทั่งเข้าสู่หน้าฝนจึงลงมือตัดแต่งกิ่ง

ขั้นตอนการปฏิบัติบำรุงต่อ มะปราง-มะยง
1. เรียกใบอ่อน :

ทางใบ :
- ให้ ไบโออิ 25-5-5 + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7-10 วัน

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยคอก (ขี้วัวขี้ไก่ไข่ แกลบดิบ แห้งเก่าข้ามปี) กระดูกป่น ครั้งที่ 1 ของรุ่นหรือปีการผลิต

- ใส่ 25-7-7 (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นใหญ่) /ต้น /เดือน ละลายน้ำรดโคนต้น บริเวณทรงพุ่ม

- คลุมโคนต้นด้วยเศษพืชแห้งหนาๆ เต็มพื้นที่บริเวณทรงพุ่ม ล้ำออกไปถึงนอกเขตทรงพุ่ม
- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 (2 ล.) /ไร่ /เดือน รดทั่วแปลง ทุกตารางนิ้ว

หมายเหตุ :
- เทคนิค ตัดแต่งกิ่งก่อนบำรุง กับ บำรุงก่อนตัดแต่กิ่ง เรื่องของเรื่องก็คือ ระหว่างที่มีลูกผลบนต้นนั้น ต้นต้องใช้พลังเลี้ยงลูกผลอย่างมาก ต้นจึงโทรม ลูกผลมากโทรมมาก ลูกผลน้อยโทรมน้อย ในเมื่อใบมีหน้าที่สังเคราะห์สารอาหาร ถ้าตัดใบทิ้งแล้วต้นจะเอาใบที่ไหนมาสังเคราะห์อาหาร เพราะฉะนั้น ให้บำรุงเรียกใบอ่อนก่อน 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน เมื่อเห็นว่า ต้นมีอาการอั้นตายอดก็ให้ลงมือตัดแต่งกิ่ง แล้วบำรุงด้วยสูตร “เรียกใบอ่อน” ตามปกติ ต้นก็จะแตกใบอ่อนดี จำนวนมาก และพร้อมกันทั้งต้น

- เริ่มปฏิบัติทันทีหลังจากผลลูกสุดท้ายหลุดจากต้น และตัดแต่งกิ่ง
- หลังจากให้ทางใบไปแล้ว 5-7 วัน ถ้าต้นใดแตกใบอ่อนน้อยกว่า 50% ให้ฉีดพ่นซ้ำรอบสองด้วยอัตราและวิธีการเดิม เพราะถ้าต้นแตกใบอ่อนไม่พร้อมกันทั่วทั้งต้นจะส่งผลเสียหลายอย่างตั้งแต่การเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่ การสะสมอาหารเพื่อการออก การปรับ ซี/เอ็น เรโช การเปิดตาดอกซึ่งจะออกดอกไม่พร้อมกันทั่วทั้งต้น และเมื่อดอกออกไม่พร้อมกันก็กลายเป็นผลไม่พร้อมกันทำให้ยุ่งยากต่อการปฏิบัติบำรุงตามขั้นตอนอย่างมาก .... แนวทาง แก้ไข คือ ต้องบำรุงเรียกใบอ่อนให้ออกมาเป็นชุดเดียวพร้อมกันทั้งต้นให้ได้

- ใบอ่อนออกมาแล้วถ้าปล่อยตามธรรมชาติต้องใช้ระยะเวลา 30-45 วัน ถือว่าค่อนข้างนาน กรณีนี้ควรให้สารอาหารเร่งใบอ่อนให้เป็นใบแก่ 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน จะช่วยให้ใบแก่เร็วขึ้น

- มะปราง-มะยงต้องการใบอ่อน 3 ชุด โดยมีวิธีทำดังนี้

วิธีที่ 1 : ถ้าต้นสมบูรณ์ดีมีการเตรียมดินและปรับปรุงบำรุงดินสม่ำเสมอต่อเนื่องมาหลายๆปีแล้ว หลังจากใบอ่อนชุดแรกเพสลาดแล้วให้เรียกใบอ่อนชุด 2 ต่อได้เลย ใบชุด 2นี้อาจจะออกไม่พร้อมกันทั้งต้นเหมือนชุดแรกแต่ก็จะออกห่างกันไม่เกิน 7-10 วัน และหลังจากใบอ่อนชุด 2 เพสลาดก็ให้เรียกใบอ่อนชุด 3 ต่อได้เลยอีกเช่นกัน การที่ใบอ่อนชุด 2 ออกไม่พร้อมกันนั้นจะส่งผลให้ใบอ่อนชุด 3 ออกไม่พร้อมกันทั้งอีกด้วย และสุดท้ายเมื่อใบอ่อนชุด3 เพสลาดจึงเข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงต่อไปตามปกติ

วิธีที่ 2 : หลังจากใบอ่อนชุดแรกแผ่กางแล้วเร่งให้เป็นใบแก่ ได้ใบแก่แล้วงดน้ำให้ใบสลดจนใบแก่โคนกิ่งร่วง 1-2 ใบให้ลงมือเรียกใบอ่อนชุด 2 เมื่อใบอ่อนชุด 2 แผ่กางให้เร่งเป็นใบแก่ เมื่อใบชุด 2 เป็นใบแก่แล้วงดน้ำให้ใบสลดจนใบแก่โคนกิ่งร่วง 1-2 ใบก็ให้ลงมือเรียกใบอ่อนชุด 3 และสุดท้ายเมื่อใบอ่อนชุด 3 เพสลาดจึงเข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงต่อไปตามปกติ
( วิธีที่ 1 ได้ผลดีกว่าวิธีที่ 2 เพราะต้นจะมีอาการโทรมน้อยกว่า.... )

2. เร่งใบอ่อนเป็นใบแก่ :
ทางใบ :
- ให้ไบโออิ 0-21-74 หรือ 0-39-39 + สารสมุนไพร 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 7-10 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
ให้น้ำปกติ ทุก 2-3 วัน

หมายเหตุ :
- เริ่มปฏิบัติเมื่อใบเริ่มแผ่กางรับแสงแดดได้
- วัตถุประสงค์เพื่อเร่งใบชุดใหม่ให้สังเคราะห์อาหารได้ และเร่งระยะเวลาเรียกใบอ่อนชุดต่อไปได้เร็วขึ้น กับทั้งเพื่อให้ใบอ่อนรอดพ้นจากทำลายของแมลงปากกัดปากดูด

- สารอาหารในกลุ่มเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่มี ฟอสฟอรัส. และโปแตสเซียม. นอกจากช่วยเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่แล้วยังช่วยเสริมประสิทธิภาพขั้นตอนสะสมอาหารเพื่อการออกดอกได้ด้วย

- ต้นที่สะสมความสมบูรณ์เต็มที่มานานหลายปีติดต่อกัน หลังจากใบอ่อนเริ่มแผ่กางแล้วสามารถข้ามขั้นตอนการบำรุงไปสู่ขั้นตอนเปิดตาดอกได้เลย ทั้งนี้ ฟอสฟอรัส. กับโป แตสเซียม. ที่เคยให้ไว้เมื่อช่วงบำรุงผลแก่รุ่นที่แล้วนอกจากช่วยเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่ได้แล้วยังช่วยเปิดตาดอกได้อีกด้วย

3. สะสมอาหารเพื่อการออกดอก :
ทางใบ :
- ให้ไบโออิ 0-42-56 + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7-10 วัน นาน 1-2 เดือน.... ในรอบเดือนหาโอกาสให้น้ำตาลทางด่วน (กลูโคส) 1 ครั้ง

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
-ใส่ 8-24-24 (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นใหญ่) /ต้น /เดือน ละลายน้ำรดโคนต้น บริเวณทรงพุ่ม

- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 8-24-24 (2 ล.) /เดือน รดทั่วแปลง ทุกตารางนิ้ว
- ให้น้ำปกติทุก 2-3 วัน

หมายเหตุ :
- เริ่มปฏิบัติเมื่อใบเพสลาด
- แนวทางบำรุงให้ต้นได้สะสมอาหารเพื่อการออกดอกไว้มากที่สุดควรเตรียมแผนใช้เวลาบำรุง 2 เดือนโดยให้น้ำตาลทางด่วน (กลูโคส) รอบแรกเมื่อเริ่มลงมือบำรุง และให้รอบสองห่างจากรอบแรก 20-30 วัน

- ไม้ผลที่ผ่านการบำรุงมาอย่างดีแล้วต้องกระทบหนาวจึงออกดอกดีนั้น ช่วงขั้นตอนสะสมอาหารเพื่อการออกดอก ถ้ามีการให้ “กลูโคส + 0-52-34 หรือ 0-42-56 + สังกะสี” ฉีดพ่นพอเปียกใบ ช่วงเช้าแดดจัด 1-2 รอบให้รอบแรกเมื่อเริ่มลงมือบำรุงสะสมอาหารเพื่อการออกดอก จากนั้น อีก 20 วัน ให้อีกเป็นรอบ 2 ก็จะช่วยให้ต้นเกิดอาการอั้นตาดอกและส่งผลให้เปิดตาดอกแล้วมีดอกออกมาดีอีกด้วย

- วัตถุประสงค์เพื่อให้ต้นได้สะสมสารอาหารทั้งกลุ่มสร้างดอก-บำรุงผล (ซี.) และกลุ่มสร้างใบ
- บำรุงต้นไว้ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ จนกระทั่งเกิดอาการอั้นตาดอก ไม่มีการแตกใบอ่อนออกมาอีก ถ้าต้นแตกใบอ่อนออกมาใหม่ก็จะต้องย้อนกลับไปบำรุงที่ขั้นตอนเร่งใบอ่อนให้เป็นใบแก่อีกครั้งซึ่งทำให้เสียเวลา

- เพื่อให้ต้นได้มีการสะสมอาหารเพื่อการออดอกมากยิ่งขึ้น แนะนำให้ใส่มูลค้างคาว 100-200 กรัม/ต้นทรงพุ่ม 5 ม. ด้วยการละลายน้ำรดโคนต้นบริเวณชายพุ่มจะเป็นการดียิ่งขึ้น....ใช้มูลค้างคาวด้วยความระมัดระวังเพราะในมูลค้างคาวมีสารอาหารในการสร้างเมล็ด อาจมีผลกระทบช่วงบำรุงผลกลาง (หยุดเมล็ด-สร้างเนื้อ) ได้

- ก่อนเข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงขั้นต่อไป คือ ปรับ ซี/เอ็น เรโช ให้ทบทวนความทรงจำเมื่อครั้งเรียกใบอ่อนแล้วใบอ่อนออกมาพร้อมกันเป็นชุดเดียวทั่วทั้งต้นหรือไม่ ถ้าใบอ่อนออกมาพร้อมกันดีทั่วทั้งต้นให้ปรับ ซี/เอ็น เรโช ต่อไปได้เลย แต่ถ้าใบอ่อนออกมาไม่พร้อมกันเป็นชุดเดียวทั่วทั้งต้นและค่อนข้างต่างรุ่นกันมากก็ให้บำรุงสะสมอาหารเพื่อการออกดอกต่อไปอีก 2-3 รอบ เพื่อรอให้ใบอ่อนชุดหลังสะสมอาหารจนอั้นตาดอกดีเท่ากับใบอ่อนชุดแรกจากนั้นจึงลงมือปรับ ซี/เอ็น เรโช. ทั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อทำให้มีดอกออกมาพร้อมกันเป็นชุดเดียวกันทั่วทั้งต้นนั่นเอง

4. ตรวจสอบสภาพอากาศก่อนปรับ ซีเอ็น เรโช :
ก่อนเริ่มลงมือปรับ ซี/เอ็น เรโช (งดน้ำ) และก่อนลงมือเปิดตาดอกต้องแน่ใจว่าระหว่างที่กำลังบำรุงทั้งสองขั้นตอนนี้จะต้องไม่มีฝน เพราะถ้ามีฝนตกลงมาการงดน้ำก็ล้ม เหลว และดอกที่ออกมาจะได้รับความเสียหาย .... ถ้ารู้แน่ว่าช่วงงดน้ำและเปิดตาดอกถึงช่วงดอกออกมาแล้วจะมีฝนก็ให้ระงับการปรับ ซี/เอ็น เรโช และเปิดตาดอกไว้ก่อน ให้บำรุงต้นต่อไปอีกด้วยสูตรสะสมอาหารเพื่อการออกดอก จากนั้นอาจจะปรับแผนการบำรุงเพื่อทำให้ มะยง-มะปราง ออกล่าฤดูด้วยการเลื่อนเวลาเริ่มปรับ ซี/เอ็น เรโช และเปิดตาดอกให้ช้าออกไปเท่าที่สภาพภูมิ อากาศจะอำนวยก็ได้

5. ปรับ ซี/เอ็น เรโช : [
ทางใบ :
- ให้ไบโออิ 0-42-56 + สารสมุนไพร 1-2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7-10 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ ระวังอย่าให้โชกจนตกลงถึงพื้น
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- เปิดหน้าดินโคนต้นโดยนำอินทรีย์วัตถุคลุมโคนต้นออกให้แดดส่องได้ทั่วพื้นดินทรงพุ่ม
- งดให้น้ำเด็ดขาด กรณีสวนยกร่องน้ำหล่อจะต้องสูบน้ำออกให้หมด

หมายเหตุ :
- เริ่มปฏิบัติเมื่อสังเกตเห็นความสมบูรณ์ของต้นชัดเจน
- ต้นที่มีอาการอั้นตาดอกดีจนพอใจแล้วไม่ต้องฉีดพ่นน้ำตาลทางด่วน (กลูโคส) เพิ่มอีก แต่ถ้าต้นมีอาการอั้นตาดอกไม่ดีหรือยังไม่น่าพอใจ แนะนำให้ฉีดพ่นกลูโคสทางใบซ้ำอีก 1 รอบ โดยเว้นระยะเวลาให้ห่างจากที่เคยให้เมื่อช่วงสะสมอาหารไม่น้อยกว่า 30-45 วัน

- อากาศเย็น 20-25 องศา ซี. ติดต่อกันนาน 5-7 วัน จะช่วยให้การปรับ ซี/เอ็น เรโช หรือส่งผลให้ต้นเกิดอาการอั้นตาดอกดีขึ้น

- วัตถุประสงค์เพื่อ “เพิ่ม” ปริมาณสารอาหารกลุ่ม สร้างดอก-บำรุงผล (ซี.) และ "ลด" ปริมาณสารอาหาร กลุ่มสร้างใบ-บำรุงต้น (เอ็น.)

- ลักษณะอั้นตาดอกของ มะปราง-มะยง ให้สังเกตลักษณะตุ่มตาที่โคนใบปลายกิ่งถ้าตุ่มตามนกลมกว้าง แสดงว่าเป็นตุ่มตาดอก เมื่อเปิดตาดอกก็จะออกเป็นดอก แต่ถ้าตุ่มตาแหลมสูง แสดงว่าเป็นตุ่มตาใบ เมื่อเปิดตาดอกก็จะออกเป็นใบ

6. สำรวจความพร้อมของต้น ก่อนเปิดตาดอก :
เนื้อใบหนาเขียวเข้มส่องแดดไม่ทะลุ เส้นใบนูนเด่น หูใบอวบอ้วน ข้อใบสั้น ใบคู่สุดท้ายปลายกิ่งแก่จัด กิ่งช่วงปลายกลมเปราะหักง่าย มองจากภายนอกระยะไกลๆ เห็นความสมบูรณ์ทางทรงพุ่มชัดเจน

7. ตรวจสอบสภาพอากาศ ก่อนเกิดตาดอก :
ก่อนลงมือเปิดตาดอกให้ตรวจสอบข่าวสภาพอากาศให้แน่ใจว่าในอีก 15-20 วัน ข้างหน้าหรือวันที่ช่อดอกเริ่มแทงออกมานั้น จะต้องไม่มีฝนตกหรือมีสภาพอากาศปิด (ครึ้มฟ้าครึ้มฝน) เพราะสภาพอากาศปิดหรือมีฝน ต้น มะปราง-มะยง จะเปิดตาดอกไม่ออก แม้จะอั้นตาดอกดีเพียงใดก็ตาม แต่กลับแทงใบอ่อนออกมาแทน กรณีนี้ให้ระงับการเปิดตาดอกไว้ก่อนแล้วบำรุงต้นด้วยสูตร “สะสมอาหารเพื่อการออกดอก” ต่อไปจนกว่าจะมั่นใจว่าในวันที่ช่อดอกออกมานั้นไม่มีฝนหรืออากาศเปิดแน่จึงลงมือเปิดตาดอก

8. เปิดตาดอก
ทางใบ :
สูตร 1 .... น้ำ 100 ล.+ ไธโอยูเรีย (500- 1,000 กรัม)+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ สารสกัดไพร 250 ซีซี.

สูตร 2 .... น้ำ 100 ล. + 0-52-34 (500 กรัม) + สาหร่ายทะเล 50 กรัม + ไทเป 50 ซีซี. + สารสมุนไพร 250 ซีซี.

สูตร 3 .... น้ำ 100 ล. + 13-0-46 (500 กรัม) + สาหร่ายทะเล 50 กรัม + ไทเป 50 ซีซี. + สารสมุนไพร 250 ซีซี.

สูตร 4 .... น้ำ 100 ล. + 13-0-46 (1 กก.) + 0-52-34 (500 กรัม) + สาหร่ายทะเล 50 กรัม + สารสมุนไพร 250 ซีซี.

สูตร 5 .... น้ำ 100 ล. + ไทเป 100 ซีซี. + สารสมุน ไพร 250 ซีซี.

ทางราก :
- ยังคงเปิดหน้าดินโคนต้นเหมือนช่วงปรับ ซี/เอ็น เรโช
- ให้ 8-24-24 (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นใหญ่) /ต้น /เดือน
- ให้น้ำโชกทั่วทรงพุ่ม 2-3 วันติดต่อกัน

หมายเหตุ :
- เริ่มปฏิบัติเมื่อต้นมีอาการอั้นตาดอกทั่วทั้งต้น หรือทุกจุดที่สามารถออกดอกได้
- ในไทเปมี 0-52-34 แล้วส่วนหนึ่งซึ่งเป็นส่วนผสมปกติ แต่เนื่องจาก มะยง-มะปราง ต้องการธาตุอาหารตัวนี้ในอัตราเข้มข้นขึ้นในการเปิดตาดอก จึงแนะนำให้ใส่เพิ่ม 500 กรัม

- อาจจะพิจารณาใส่ 8-24-24 (100-200 กรัม) /ต้น อีก 1 รอบก็ได้ ด้วยการละลายน้ำรดโคนต้นพอหน้าดินชื้น เพื่อเสริมของเก่าที่ใส่เมื่อช่วงสะสมอาหารและช่วงที่ปรับ ซี/เอ็น เรโช

- เริ่มลงมือเปิดตาดอกหลังจากต้นได้กระทบอากาศหนาว 20-25 องศา 5-7 วันติดต่อ กัน (ช่วงปรับ ซี/เอ็น เรโช) จะช่วยให้ออกดอกดีกว่าอุณหภูมิสูง

- นิสัย มะปราง-มะยง จะออกดอกแบบทยอยออก 3 รุ่น ห่างกันรุ่นละ 10-15 วัน หลัง จากดอกรุ่นแรกออกมาแล้ว ให้เปิดตาดอกซ้ำอีก 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน ด้วยสูตรเดิม หรือจนกระทั่งดอกชุดแรกบานแล้วจึงยุติการเปิดตาดอกซ้ำ

มะยง-มะปราง ที่ได้ผ่านการบำรุงด้วย "แม็กเนเซียม. สังกะสี. และแคลเซียม." อย่างสม่ำเสมอ ตั้งแต่ช่วงเรียกใบอ่อน เมื่อถึงช่วงสะสมตาดอกให้บำรุงด้วย 0-39-39 + ธาตุรอง/ธาตุเสริม ทั้งทางใบและทางราก กระทั่งอุณหภูมิเริ่มเย็นลง (หนาว) ก็ให้ "งดน้ำ" จากนั้นประมาณ 10-15 วัน ให้สังเกตตุ่มตาที่โคนใบ ถ้าเป็นตุ่มตาดอกก็ให้ "ระดมให้น้ำ" ปกติ ไม่นาน มะปราง-มะยง ก็จะออกดอกได้ ทั้งๆที่ไม่ต้อง "เปิดตาดอก" หรืออาจจะเผื่อกันพลาดก็ให้เปิดตาดอกด้วยสูตรเปิดตาดอกเจือจาง 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วันก็ได้ .... ในต้นที่มีตุ่มตาทั้ง 2 แบบ ให้พิจารณาเทคนิค "ระดมให้น้ำทางราก" ร่วมกับ "เปิดตาดอก" ทางใบ โดยให้ปุ๋ยเปิดตาดอกทางใบแบบ "เจือจาง" 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน ก็ได้

9. บำรุงดอก :
ทางใบ :
- ให้ไบโออิ 15-45-15 (หน้าฝน) หรือ 0-52-34 (หน้าแล้ง) + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7-10 วัน ฉีดพ่นพอเปียก ระวังอย่าให้โชกจนลงถึงพื้น

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- ยังคงเปิดหน้าดินโคนต้น
- ให้ 8-24-24 (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นใหญ่) /ต้น /เดือน
- ให้น้ำปกติ ทุก 2-3 วัน

หมายเหตุ :
- ช่วงดอกตั้งแต่เริ่มแทงออกมาให้เห็น (ก้านดอกยาว 1-2 ซม.) หรือระยะดอกตูมเห็นชัดแน่ว่าเป็นช่อดอก บำรุงด้วยฮอร์โมน เอ็นเอเอ. รอบที่ 1.... เมื่อดอกบานเป็นสีดอก หมากให้บำรุงรอบที่ 2 โดย เอ็นเอเอ. จะช่วยบำรุงเกสรทั้งตัวผู้และตัวเมียให้สมบูรณ์พร้อมรับผสม การให้ฮอร์โมน เอ็นเอเอ. ต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง เพราะถ้าให้เข้มข้นเกินไปจะเกิดความเสียหายต่อดอกและถ้าให้อ่อนเกินไปก็จะไม่ได้ผล

- ให้ เอ็นเอเอ. 20 ซีซี.+ น้ำ 20 ล. (พีเอช 6.0) ช่วงที่ดอกบาน (สีดอกหมาก) ได้ 1 ใน 4 ของดอกทั้งช่อ โดยการฉีดพ่นเป็นพื้นที่ 1 ใน 4 ของพื้นที่ทรงพุ่มทั้งต้น

- เทคนิคการฉีดพ่น ไม่ควรฉีดพ่นใส่ตรงๆที่ช่อดอก แต่ให้ฉีดพุ่งขึ้นเหนือยอดแล้วให้ละอองน้ำตกลงมาที่ช่อดอกเอง หรือฉีดพ่นด้านเหนือลม ฉีดแบบโฉบผ่านแล้วปล่อยให้ลมพัดละอองน้ำเข้าสู่ทรงพุ่มเอง กรณีนี้จะช่วยลดแรงกระแทกของเม็ดน้ำตอเกสรได้ดี .... ข้อสังเกต สรีระของพืชส่วนที่รับสารอาหารทางใบ คือ ใบ ซึ่งมีคลอโรฟีลด์ เมื่อใบได้รับสารอาหารแล้วก็จะส่งไปยังดอกเองตามธรรมชาติ ในขณะที่ดอกไม่มีคลอโรฟีลด์ จึงไม่สามารถรับสาร อาหารได้

- เปิดตาดอกด้วยไธโอยูเรีย อาจทำให้ใบแก่ไหม้แล้วร่วงได้ ต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง
... มะยง-มะปราง ตอบสนองต่อ 0-52-34 ในฮอร์โมนไข่ไทเปดีมาก หากต้นได้รับการ "สะสมอาหารเพื่อการออกดอก" อย่างเพียง สามารถออกดอกก่อนฤดูกาลได้ 15 วัน -1 เดือน

- ช่วงดอกเริ่มแทงออกมาใหม่ๆให้แคลเซียม โบรอน. 1 รอบ จะช่วยให้ดอกสมบูรณ์ผสมติดดี
- ฉีดพ่นสารอาหารทางใบเพื่อบำรุงดอกด้วยเครื่องมือฉีดพ่นที่มีแรงลมพ่นเบาที่สุดตามความเหมาะสมเพื่อไม่ให้กระทบกระเทือนต่อส่วนต่างๆของดอก ฉีดพ่นที่ช่อดอกโดย ตรงพอเปียกหรือฉีดพ่นให้ทั่งทรงพุ่มพอเปียกใบก็ได้

- บำรุงดอกช่วงฝนชุกให้เน้น “ฮอร์โมนน้ำดำ และ แคลเซียม โบรอน” โดยให้เมื่อดอกออกมาแล้วหรือให้แบบสะสมล่วงหน้าตั้งแต่ช่วงเปิดตาดอก ให้แบบเดี่ยวๆหรือผสมรวมไปกับธาตุอาหารอื่นๆก็ได้

- ช่วงดอกตูมควรฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรให้บ่อยขึ้น เพื่อป้องกันกำจัดโรคและแมลงจนถึงช่วงดอกบาน

- ช่วงดอกบานถ้าตรงกับช่วงฝนชุกเกสรจะเปียกชื้นทำให้ผสมไม่ติด แก้ไขโดยกะระยะเวลาบำรุงให้ดอกออกมาแล้วไม่ตรงกับช่วงฝนชุกเท่านั้น แต่ถ้าดอกออกมาตรงกับช่วงแล้งอากาศร้อนมากเกสรจะฝ่อทำให้ผสมไม่ติดเช่นกัน แก้ไขโดยการสร้างความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศและที่พื้นดินในทั้งในแปลงปลูกและรอบๆแปลงปลูก....มาตรการบำรุงต้นและดอกให้สมบูรณ์อย่างแท้จริงอยู่เสมอจะช่วยลดความสูญเสียได้เป็นอย่างมาก

- ช่วงออกดอกถ้าต้นได้รับน้ำมากเกินไป ดอกจะร่วงหรือต้นทิ้งดอก จึงควรให้น้ำพอหน้าดินชื้นเท่านั้น การที่จะรู้ว่าหน้าดินชื้นมากหรือน้อย พิสูจน์ได้โดยการเปิดอินทรีย์วัตถุคลุมโคนต้นดูก็จะรู้ได้.....กรณีที่ใส่ 8-24-24 แล้วรดน้ำตามเพื่อละลายปุ๋ยนั้น กว่าปุ๋ยจะละลายตามต้องการได้ ปริมาณน้ำก็อาจจะมาเกเกินไปก็ได้ ดังนั้นจึงแนะนำให้ละลาย 8-24-24 ในน้ำให้เรียบร้อยเสียก่อน จากนั้นจึงนำน้ำละลายปุ๋ยแล้วไปรดที่โคนต้น วิธีนี้จะสามารถควบคุมปริมาณน้ำได้

- ต้นที่ได้รับ แม็กเนเซียม (จากไบโออิ). โบรอน (จากแคลเซียม โบรอน). สม่ำ เสมอแบบสะสม ถึงช่วงออกดอกแล้วเจอฝน ดอกจะแข็งแรงไม่ร่วงง่ายๆ หรือติดเป็นผลได้ดีเหมือนปกติ

ประสบการณ์ตรง :
ธรรมชาติการออกดอกและบำรุงดอก มะปราง-มะยงชิด
เมื่อต้นมีความสมบูรณ์ครบทุกมิติ แม้จะเปิดตาดอกเพียงครั้งเดียว แต่เขาสามารถออกดอกได้ถึง 3 ชุด ใน 1 รุ่น ของปีการผลิต เมื่อดอกรุ่นแรกออกมาแล้ว ราว 15-20 วัน ดอกรุ่น 2 จะออกมา และหลังจากรุ่น 2 ออกมาแล้ว 15-20 วัน ดอกรุ่น 3 ก็จะออกตามมาอีกเมื่อดอกรุ่น 1 ออกมาแล้วให้บำรุงด้วย "สูตรบำรุงดอก" ตามปกติ ระหว่างบำรุงดอกรุ่น 1 อยู่นี้จะมีดอกรุ่น 2 และรุ่น 3 ตามออกมา ซึ่งดอกทั้งสองรุ่นหลังนี้เขาออกมาเองตามธรรมชาติจากความสมบูรณ์พร้อมของต้นโดยไม่ต้องเปิดตาดอก หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ สูตรปุ๋ยบำรุงดอกไม่ส่งผลกระทบหรือเป็นอุปสรรคต่อการออกดอกรุ่นหลังนั่นเอง นอกจากปุ๋ยสูตรบำรุงดอกรุ่น 1 จะไม่เป็นอุปสรรคต่อการออกดอกของดอกรุ่นหลังๆแล้ว ยังช่วยบำรุงดอกรุ่นหลังที่ออกตามมาได้อีกด้วย

สรุป :
ให้บำรุงดอกรุ่น 1 ด้วย "สูตรบำรุงดอก" ต่อไปแม้จะมีดอกรุ่น 2 และ 3 ออกตามมา....บำรุงจนกระทั่งดอกรุ่นสุดท้ายพัฒนาเป็นผล หรือกลีบดอกเริ่มร่วง

10. บำรุงผลเล็ก-กลาง :
ทางใบ :
- ให้ ไบโออิ + ยูเรก้า + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7-10 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ

- ในรอบ 1 เดือน หาโอกาสให้น้ำตาลทางด่วน (กลูโคส) 1 รอบ
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยคอก (ขี้วัวขี้ไก่ไข่ แกลบดิบ แห้งเก่าข้ามปี) กระดูกป่น ครั้งที่ 2 ของรุ่น หรือปีการผลิต

- ใส่ 21-7-14 (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นใหญ่) /ต้น /เดือน ละลายน้ำรดโคนต้น บริเวณทรงพุ่ม

- คลุมโคนต้นด้วยเศษพืชแห้งหนาๆ เต็มพื้นที่บริเวณทรงพุ่ม ล้ำออกไปถึงนอกเขตทรงพุ่ม
- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 21-7-14 (2 ล.) /ไร่ /เดือน รดทั่วแปลง ทุกตารางนิ้ว

หมายเหตุ :
- เริ่มปฏิบัติหลังจากกลีบดอกร่วง หรือขนาดผลเท่าเมล็ดถั่วเขียว
- หาจังหวะให้น้ำตาลทางด่วน (กลูโคส) 1 ครั้ง เมื่ออายุผลแก่ได้ 50% นอกจากเป็นการบำรุงสร้างความสมบูรณ์แก่ต้น ส่งผลให้ผลผลิตรุ่นนี้ดี แล้วต่อไปถึงอนาคตผลผลิตรุ่นหน้าหรือรอบหน้าอีกด้วย

11. บำรุงผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยว :
ทางใบ :
- ให้ไบโออิ 0-21-74 + สารสมุนไพร 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน และให้รอบสุดท้ายก่อนเก็บเกี่ยว 7-10 วัน ด้วยการฉีดพ่นพอเปียกใบ

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- เปิดหน้าดินโคนต้น และนำอินทรีย์วัตถุออก
- ให้ 13-13-21 หรือ 8-24-24 สูตรใดสูตรหนึ่ง (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก. ต้นใหญ่) /ต้น ละลายน้ำรดโคนต้น บริเวณทรงพุ่ม แล้วงดน้ำเด็ดขาด

หมายเหตุ :
- เริ่มให้ก่อนเก็บเกี่ยว 7-10 วัน 1-2 รอบห่างกันรอบละ 5-7 วัน
- การให้ 13-13-21 เหมาะสำหรับต้นที่มีผลรุ่นเดียวกันทั้งต้น แต่หลังจากเก็บเกี่ยวผล ผลิตแล้วต้นมักโทรมจึงต้องเร่งบำรุงฟื้นฟูความสมบูรณ์ของต้น (เรียกใบอ่อน) กลับคืนมาโดยเร็วแล้วจึงเข้าสู่วงรอบการบำรุงใหม่

- การให้ 8-24-24 เหมาะสำหรับต้นที่มีผลหลายรุ่นในต้นเดียวกัน ซึ่งนอกจากหลัง จากเก็บเกี่ยวผลผลิตจนหมดต้นแล้วต้นไม่โทรม ช่วยบำรุงผลรุ่นหลังต่อและทำให้ต้นมีความสมบูรณ์พร้อมสำหรับให้ผลผลิตรุ่นปีต่อไปอีกด้วย

มะปราง-มะยง ที่ได้รับ "ธาตุรอง/ธาตุเสริม" อย่างสม่ำเสมอตั้งแต่ขั้นตอนแรกจนถึงช่วงผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยว คุณภาพผลผลิตจะดีมากโดยไม่ต้องบำรุงด้วยสูตร "บำรุงผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยว" ทั้งทางรากและทางใบ โดยคุณภาพผลเนื้อแน่น รสหวานจัด สีดี กลิ่นดี เปลือกและเนื้อส่วนติดเปลือกกรอบ

=================================================
=================================================


มะม่วง
ลักษณะทางธรรมชาติ :

- เป็นไม้ผลยืนต้นอายุนับร้อยปี ทรงพุ่มกว้างสูงใหญ่ ไม่ผลัดใบ ปลูกได้ในทุกพื้นที่ ทุกภาค และทุกฤดูกาล ชอบดินดำร่วนมีอินทรีย์วัตถุมากๆ ต้นมีรากแก้วทนต่อน้ำท่วมขังค้างนานได้ดีแต่ต้นที่ไม่มีรากแก้วหรือมีแต่รากฝอยทนได้ระยะเวลาหนึ่ง

- มีทั้งสายพันธุ์ทะวายแบบออกดอกติดผลปีละ 2 รุ่น แบบออกดอกติดผลตลอดปีแบบไม่มีรุ่นและสายพันธุ์ธรรมดาออกดอกติดผลปีละ 1 รุ่น ซึ่งสายพันธุ์ที่ออกดอกติดผลปีละรุ่นนี้ ต้นที่สมบูรณ์เต็มที่เพราะได้รับการบำรุงดีต่อเนื่องกันหลายๆปีก็สามารถออกดอกติดผลเป็นทะวายแบบไม่มีรุ่นได้

- เป็นไม้ผลยืนต้นที่มีพื้นที่ปลูกมากที่สุดในบรรดาไม้ผลยืนต้นทุกชนิด
- เป็นหนึ่งในไม้ผลยืนต้นไม่กี่ชนิดที่ตอบสนองต่อสารบังคับ (พาโคลบิวทาโซล. อีเทฟอน. เอ็นเอเอ. จิ๊บเบอเรลลิน.) ได้ดีจนทำให้ออกนอกฤดูได้

- การบังคับให้มะม่วงออกนอกฤดูหรือในฤดู นอกจากวิธีราดสารพาโคลบิวทาโซลแล้วยังใช้วิธีแบบอาศัยวิธีอื่นได้ เช่น แกล้งให้น้ำท่วม. ควั่นกิ่ง. สับเปลือกลำต้น. รมควัน. เป็นต้น

- ออกดอกติดผลที่ปลายกิ่งเสมอ ต้นที่ผ่านการบำรุงอย่างสมบูรณ์ต่อเนื่องมานานหลายปี เมื่อบำรุงให้ต้นได้สะสมตาดอกจนเกิดอาการอั้นตาดอกเต็มที่ดีแล้วตัดยอด จากนั้นลงมือเปิดตาดอกด้วยวิธีการปกติ มะม่วงต้นนั้นจะออกดอกติดผลจากกลางกิ่งแก่และตามลำต้นได้ .... หรือบำรุงมะม่วงด้วยสูตรสะสมตาดอกช่วงหน้าฝนแล้วมีฝนตกลงมาจนเป็นเหตุให้ต้นแตกใบอ่อน ให้เด็ดใบอ่อนนั้นทิ้งทั้งหมดแล้วสะสมตาดอกต่อไปจนกระทั่งหมดฝน ซึ่งการสะสมตาดอกช่วงนี้มะม่วงต้นนั้นจะไม่แตกใบอ่อน เมื่อหมดฝนแล้วให้เปิดตาดอกตามปกติมะม่วงต้นนั้นก็จะออกดอกที่ซอกใบ ท้องกิ่ง หรือที่ลำต้น การที่มะม่วงต้นนี้ไม่ออกดอกที่ปลายกิ่ง เนื่องจากปลายกิ่งไม่มียอด (เดือยไก่) นั่นเอง

- ฝนชะช่อมะม่วง หมายถึง น้ำฝนชะล้างช่อดอก ทำให้ช่อดอกสะอาด ส่งผลให้ดอกรุ่นนั้นติดเป็นผลดกดี การติดตั้งหัวสปริงเกอร์เหนือทรงพุ่มหรือใช้น้ำฉีดใส่ช่อดอกเป็นการเลียนแบบธรรมชาติก็ทำให้ช่อดอกสะอาดได้เช่นกัน

- มะม่วงต้นที่ช่อใบอ่อนแตกใบใหม่ ใบสีเขียวอมแดงจะออกดอกติดผลง่ายกว่าต้นที่ช่อใบแตกใหม่สีเขียว

- ช่วงอั้นตาดอก สังเกตเดือยไก่ ถ้าเดือยไก่ชี้ตรงเมื่อเปิดตาดอกจะออกเป็นดอก แต่ถ้าเดือยไก่โค้งงอเมื่อเปิดตาดอกจะออกเป็นใบ

- การติดตั้งสปริงเกอร์ 2 แบบในต้นเดียวกัน คือ แบบพ่นฝอยในทรงพุ่มสำหรับฉีดพ่นสารสมุนไพร ปุ๋ย และฮอร์โมนทางใบ ซึ่งให้ปริมาณการให้แต่ละครั้งเจือจางมากและให้พอเปียกใบเท่านั้น และแบบให้ น้ำเม็ดใหญ่โคนต้น สำหรับให้น้ำปกติหรือปุ๋ยทางรากซึ่งต้องใช้น้ำและปริมาณปุ๋ยค่อนข้างมาก การให้ปุ๋ยทางรากผ่านหัวสปริงเกอร์ในทรงพุ่มเปียกโชกทั้งใต้ใบบนใบจนลงถึงพื้นนั้นเนื่องจากอัตราใช้ปุ๋ยทางรากแต่ละครั้งมากเกินกว่าที่ใบจะรับได้ เมื่อปุ๋ยทางรากเหล่านี้ผ่านใบจะทำให้ใบไหม้

- มะม่วงอายุมากต้นสูงใหญ่ ทรงพุ่มแน่นทึบ แสงแดดส่องไม่ทั่วภายในทรงพุ่มจะออกดอกติดผลน้อยแก้ไขโดยตัดกิ่งหรือยอดประธาน เรียกว่า "ผ่ากบาล" เป็นการเปิดช่องให้แสงแดดส่องกระจายทั่วภายในทรงพุ่มส่งผลให้ออกดอกติดผลดีขึ้น

- ลักษณะต้นที่เป็นลำต้น (เปล้า) เดี่ยวๆสูงจากพื้นหรือกิ่งง่ามแรกสูงจากพื้น 80-120 ม.จะให้ผลผลิตดีกว่าต้นที่ลำต้นต่ำหรือง่ามแรกอยู่ชิดพื้น กับทั้งช่วยให้ตัดแต่งกิ่งเพื่อเปิดช่องให้แสงแดดและลมผ่านดีกว่าอีกด้วย

- ดอกมะม่วงในช่อเดียวกันจะมีจำนวนเกสรตัวผู้มากกว่าจำนวนเกสรตัวเมีย มะม่วงน้ำดอกและอกร่องมีเกสรตัวผู้มากที่สุดในบรรดามะม่วงด้วยกัน ถ้าปลูกแซมแทรกระหว่างมะม่วงพันธุ์อื่นที่มีจำนวนเกสรตัวผู้น้อยแบบคละกัน เช่น เขียวเสวย. แก้ว. ฟ้าลั่น. พิมเสน. ฯลฯ เกสรตัวผู้ของน้ำดอกไม้และอกร่องจะไปช่วยผสมกับเกสรตัวเมียของมะม่วงพันธุ์ที่มีเกสรตัวผู้น้อยเหล่านั้นทำให้ติดเป็นผลดกและดีขึ้น

- ขณะที่ต้นอยู่ในช่วง ออกดอก-ผลเล็ก/กลาง/ใหญ่ นั้น ต้นมีใบสังเคราะห์อาหาร จำนวนใบที่มีหมายถึงปริมาณสารอาหารที่สังเคราะห์ได้ หากตัดแต่งกิ่งเท่ากับลดจำนวนใบ ซึ่งเท่ากับลดปริมาณสารอาหารที่ต้นพึงได้รับด้วย เป็นเหตุให้ ดอก-ผล ได้รับสารอาหารน้อย ลงจึงหลุดร่วง หากจำเป็นต้องตัดกิ่งจริงๆ แนะนำให้เด็ดทิ้งตั้งแต่แตกเป็นยอดอ่อนๆ (ยอดผักหวาน) ซึ่งระยะนี้ ยอดต้องใช้สารอาหารจากต้น หรือแย่งสารอาหารจาก ดอก-ผล

- ในแปลงปลูกมะม่วงควรมีแต่มะม่วงอย่างเดียวล้วนๆ แต่ให้มีหลายๆสายพันธุ์เพื่อประโยชน์ของการถ่ายละอองเกสร ซึ่งจะให้ได้ผลผลิตดีกว่าการปลูกมะม่วงแซมแทรกหรือสลับไม้ผลอื่นหรือปลูกไม้อื่นที่มีขนาดทรงพุ่มเท่าๆกันแซมแทรก

- เกสรตัวผู้หรือเกสรตัวเมียอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างไม่สมบูรณ์เกิดจากขาดสารอาหาร/ฮอร์โมนหรือสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม (อากาศร้อนหรือฝนตกชุก) แล้วผสมกันแล้วพัฒนาเป็นผลจะเป็นผลไม่สมบูรณ์ ไม่โต รูปทรงบิดเบี้ยว

- การสัตว์ฝังซากสัตว์โคนต้น เสริมด้วยสารอาหารกลุ่มสร้างดอกบำรุงผลอย่างต่อ เนื่อง 2-3 ปี ติดต่อกัน มะม่วงหนักอย่างเขียวเสวย. ฟ้าลั่น. อกร่อง. พิมเสน. ฯลฯ ก็สามารถออกดอกติดผลได้ตลอดปีแบบไม่มีรุ่นได้

- แก้อาการกิ่งเลื้อยที่เกิดตามลักษณะสายพันธุ์ หรือต้นกล้าที่ขยายพันธุ์มาจากต้นแม่ราดสารพาโคลบิวทาโซลด้วยการฉีดพ่น 0-39-39, 0-42-56, 0-21-74, ฮอร์โมนกดใบอ่อนสู้ฝน, กลูโคส สามารถลดอาการกิ่งเลื้อยได้ หรือปล่อยให้เลื้อยไปจนสุดฤทธิ์จึงตัดกิ่งชิดลำต้นประธานแล้วเรียกยอดใหม่ ทำซ้ำ 2-3 รอบ อาการกิ่งเลื้อยจะหายกลายเป็นต้นปกติ

- กิ่งพันธุ์หรือต้นกล้าที่เป็นกิ่งแก่จนเปลือกเป็นสีน้ำตาล กิ่งชี้ลง (ใบชี้กลับทิศหรือชี้ลงดิน) ข้อสั้น เมื่อนำลงปลูกจะโตช้า

- ต้นตอที่มีระบบรากดีที่สุด คือ ตลับนาค. แก้ว. ซึ่งเหมาะสำหรับทำตอทาบกิ่ง เปลี่ยนยอด เสียบเปลือก และเสริมรากให้แก่มะม่วงพันธุ์ดี แต่มะม่วงป่า (กะล่อน, มุดม่วง) มีกลิ่นขี้ใต้แรงจึงไม่เหมาะสำหรับทำตอ

- มะม่วงพันธุ์ดีเสียบยอดบนตอมะม่วงป่า (กะล่อน) เมื่อยอดที่เสียบโตขึ้นผลที่ได้จะมีกลิ่นขี้ใต้
- วิธีปลูกต้นกล้าโดยวางลงบนพื้น ณ จุดที่ต้องการปลูก (ไม่ต้องขุดหลุม) แล้วพูนโคนต้นด้วยดินและอินทรีย์วัตถุหนาท่วมโคนต้นกล้า แผ่กว้างเต็มพื้นที่ คลุมทับด้วยเศษพืชหรือหญ้าแห้งหนาๆอีกชั้น ยิ่งหนายิ่งดี ใช้ไม้ค้ำยันป้องกันลมพัดโยก การปลูกวิธีนี้จะช่วยให้กล้ายืนต้นได้เร็ว เพราะการเจริญเติบโตของรากในช่วงแรกนั้น รากหาอาหารจะเจริญก่อนออกหาอาหารที่ผิวดิน (ผิวดินลึกไม่เกิน 15-20 ซม.มีสารอาหารมากที่สุด)จากนั้นรากยึดต้นจึงจะเจริญตามภายหลัง แบบนี้จะทำให้ต้นกล้ายืนต้นได้เร็ว

- การปลูกต้นกล้าแบบขุดหลุมลึก นำดินในหลุมขึ้นมาผสมอินทรีย์วัตถุแล้วใส่กลับลงในหลุมอย่างเดิม จากนั้นจึงปลูกต้นกล้าลงไปนั้น เมื่อรากทุกรากของต้นกล้าเจริญเติบโตไปถึงผนังหลุม ทุกรากจะวกกลับมากลางหลุม เพราะดินผนังหลุมแข็งและด้านนอกไม่มีสาร อาหารแต่ในหลุมมีสารอาหาร รากที่วกกลับมาจะเจริญเติบ
โตต่อไปจนถึงผนังอีกด้านหนึ่งแล้วก็วกกลับเข้ากลางหลุมอีก วกไปแล้ววกมาอย่างนี้จนเกิดอาการรากวนในหลุม ส่งผลให้ต้นไม่โตเรียกว่า นั่งหลุม จนกระทั่งตายไปในที่สุด

- การปลูกต้นกล้าในหลุมโดยนำดินในหลุมขึ้นมาผสมอินทรีย์วัตถุ แล้วใส่กลับคืนลงไปในหลุมอย่างเดิมนั้น เนื่องจากดินผสมใหม่หลวม ยามฝนตกลงมาหรือรดน้ำมากๆน้ำจะขังค้างในหลุมและดินในหลุมจะยุบตัว ต้นกล้าที่ปลูกแล้วปักหลักผูกยึดติดกับหลักจนแน่น เมื่อดินในหลุมยุบตัวแต่ต้นกล้าไม่สามารถยุบตัวต่ำตามได้เพราะถูกเชือกผูกรัดเอาไว้ จึงทำให้รากหลุดจากดินปลูกก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ต้นกล้าไม่เจริญเติบโตหรืออาจตายได้

- การนำต้นกล้าที่ชำในเข่งไม้ไผ่ลงปลูกไม่ต้องถอดต้นกล้าออกมาจากเข่งแต่ให้ปลูกพร้อมกับเข่งได้เลย ต่อไปเข่งจะเน่าเปื่อยกลายเป็นปุ๋ยเอง ระหว่างที่เข่งยังไม่เปื่อยนั้นรากก็สามารถเจริญเติบโตแทงทะลุเข้งออกมาได้ แบบนี้ทำให้รากไม่กระทบกระเทือน ผิดกับต้นกล้าในถุงดำ จังหวะที่ถอดต้นกล้าออกจากถุงนั้นมีโอกาสรากระทบกระเทือนได้

- ต้นพันธุ์ขนาดใหญ่ สูง 2-3 ม.ขึ้นไป เมื่อนำลงปลูกในแปลงจริง ให้ริดใบ ตัดกิ่งย่อย และกิ่งแขนงออกให้มากที่สุดเพื่อลดการคายน้ำ หลังจากระบบรากเจริญและยืนต้นได้จะมีใบแตกใหม่ออกมาดีกว่าใบเก่า ส่งผลให้ต้นรอดตายหรือชงักการเจริญเติบโตน้อยล

- ต้นพันธุ์แก่หรืออายุมากๆจะเจริญเติบโตช้ากว่า และให้ผลผลิตด้อยกว่าต้นกล้าอ่อนหรือกลางอ่อนกลางแก่

- อาการยางไหลตามลำต้นในมะม่วงเขียวเสวยเป็นลักษณะประจำสายพันธุ์ แก้ไขด้วยการให้ ธาตุรอง/ธาตุเสริม และบำรุงต้นให้สมบูรณ์อยู่เสมอ กรณีที่มะม่วงสายพันธุ์อื่นเกิดอาการยางไหลย่อมหมายถึงการขาดธาตุรอง/ธาตุเสริมอย่างรุนแรงเช่นกัน

- มะม่วงอายุต้นเป็นสาวแล้วบำรุงด้วยวิธีแบบให้มีอาหารกินตลอด 24 ชม.ต่อเนื่อง 3-5 ปี หลังจากตัดแต่งกิ่งแล้วเรียกใบอ่อนด้วยสูตรปกติ เมื่อใบอ่อนออกมาระยะยอดผักหวานแล้วให้สูตรสะสมอาหารเพื่อการออกดอกทันที พอใบเพสลาดก็ให้ลงมือเปิดตาดอก มะม่วงต้นนั้นจะแทงยอดอ่อนใหม่อีกครั้งพร้อมกับมีดอกออกตามมาด้วย

- มะม่วงประเภททะวายออกผลตลอดปีแบบไม่มีรุ่น (ดอก + ผลเล็ก + ผลกลาง + ผลแก่)เมื่อบำรุงผลแก่ด้วยสูตร บำรุงผลก่อนเก็บเกี่ยว จะทำให้ ดอก. ผลเล็ก. และผลกลาง. ชะงักการเจริญเติบโตถึงร่วงได้ ดังนั้นมะม่วงประเภทนี้จึงเหมาะสำหรับรับประทานผลดิบมากว่า ทั้งนี้มะม่วงดิบไม่ต้องการความหวาน จากเหตุผลดังกล่าว หากต้องการมะม่วงเพื่อรับประ ทานผลสุกจึงต้องบำรุงให้ได้ผลเป็นรุ่นเดียวกันทั้งต้นเพราะสามารถบำรุงเร่งหวานได้โดยผลรุ่นหลังไม่กระทบกระเทือน

- ใช้ถุงบรรจุทรายมัดปากถุงด้วยเชือก นำขึ้นผูกกับกิ่งประธานขนาดใหญ่เพื่อถ่วงน้ำหนักให้กิ่งนั้นให้เอนลงระนาบกับพื้นแล้วตัดแต่งกิ่ง หลังจากตัดแต่งกิ่งแล้วจะมีกิ่งใหม่แตกออกมาชี้ขึ้น 45 องศาหรือมากกว่ากับกิ่งประธาน กิ่งที่แตกใหม่นี้จะออกดอกติดผลดีกว่ากิ่งใหม่ที่แตกเองตามธรรมชาติจากกิ่งประธานที่ไม่ได้โน้มระนาบกับพื้น

- กิ่งแขนงที่ทำมุมเฉียงขึ้นกับกิ่งประธาน 45 องศา (กิ่งประธานระนาบกับพื้น) จะออกดอกง่ายและติดเป็นผลดีกว่ากิ่งแขนงที่ระนาบกับพื้นหรือชี้ลง

- แก้ไขมะม่วงออกดอกติดผลปีเว้นปีด้วยการปรับช่วงเวลาในการใส่ปุ๋ยทางดิน เช่น เคยใส่ 3 กก./ต้น/ 3 เดือน เปลี่ยนเป็นใส่ 500 กรัม/ต้น/ 15 วัน เมื่อรวมระยะเวลา 3 เดือนแล้วต้นก็ยังคงได้รับปุ๋ย 3 กก.เท่าเดิม.....นี่คือ วิธีใส่ปุ๋ยแบบ ให้น้อยแต่บ่อยครั้งตรงเวลา นั่นเอง

- มะม่วงสายพันธุ์เดียวกันที่แทงช่อใบ (ใบ) หรือช่อดอก (ก้านดอก) เป็นสีแดงจะให้ผลผลิตคุณภาพดีกว่าใบหรือก้านดอกเป็นสีเขียว

- บำรุงมะม่วงด้วยสูตรสะสมอาหารเพื่อการตาดอกช่วงหน้าฝน ต้องเน้นบำรุงด้วยเทคนิค “กดใบอ่อนสู้ฝน” โดยให้ทางใบด้วย 0-42-56 หรือ 0-21-74 สลับด้วย แคลเซียม โบรอน. ฮอร์โมนไข่. อาจจะให้บ่อยๆ แบบวันต่อวัน – วันเว้นวัน หรือให้ทันทีหลังฝนตกใบแห้ง ทั้งนี้เพื่อให้ต้นได้สะสมอาหารกลุ่ม ซี. ให้มีปริมาณมากกว่าอาหารกลุ่ม เอ็น. (จากฝน) อยู่ตลอดเวลานั่นเอง .... ถ้ากดใบอ่อนสู้ฝนไม่สำเร็จ ต้นยังแตกใบอ่อน ให้ใช้เทคนิคเด็ดยอดอ่อนที่แตกใหม่ทิ้งทั้งหมด แล้วบำรุงด้วยสูตรสะสมอาหารเพื่อการออกดอกจนกว่าจะหมดฝน เมื่อหมดฝนแล้วลงมือเปิดตาดอกด้วย 13-0-46 + ไธโอยูเรีย + ฮอร์โมนไข่ มะม่วงต้นนั้นก็จะออกดอกที่ซอกใบปลายกิ่ง ท้องกิ่งแม้แต่บนลำต้น ทั้งนี้เป็นเพราะไม่มีปลายยอดให้ดอกออกนั่นเอง ผลที่ออกผิดตำแหน่งเช่นนี้สามารถบำรุงให้มีคุณภาพดีได้ไม่ต่างจากผลปลายอด

- ห่อผลมะม่วงประเภทกินสุกด้วยถุงกระดาษหนา ด้านในสีดำด้านนอกสีน้ำตาลนอกจากช่วยให้สีผลสวยกว่าการห่อด้วยกระดาษทึบสีเดียวหรือถุงกร๊อบแกร๊บแล้ว ยังทำให้ได้แคโรทีนอยด์. คลอโรฟีลล์ เอ. และ บี. ซึ่งเป็นสารอาหารที่มีประโยชนต่อร่างกายเพิ่มขึ้นอีกด้วย

- ต้นแก่อายุหลายสิบปีให้ผลผลิตน้อยและคุณภาพไม่ค่อยดี แก้ไขด้วยการตัดแต่งกิ่งแบบทำสาวแล้วบำรุงเลี้ยงยอดใหม่ 1 ปีก็จะกลับมาให้ผลผลิตดกและดีเหมือนต้นยังสาว .... หรือมะม่วงที่ขนาดต้นใหญ่และสูงมาก ใบมาก กิ่งแน่นทรงพุ่ม ฤดูกาลที่ผ่านมาออกดอกติดผลบ้างไม่ออกบ้าง ขนาดผลเล็ก ไม่ดก คุณภาพไม่ดี ไม่เคยตัดแต่งกิ่งปรับทรงพุ่มและไม่เคยปฏิบัติบำรุงใดๆ ทุกอย่างปล่อยตามธรรมชาติทั้งสิ้น ก็สามารถทำให้ออกดอกได้ โดยเริ่มบำรุงทางรากแบบให้มีสารอาหารกินตลอด 24 ชม. ต่อเนื่องอย่างน้อย 3-6 เดือนฝัง ใส่ยิบซั่ม กระดูกป่น ปุ๋ยคอก และ 8-24-24 หว่านทั่วบริเวณทรงพุ่มแล้วรดน้ำทุก 7-10 วัน จากนั้นให้เสริมทางใบด้วยสูตรเปิดตาดอก 2-3 สูตรสลับกัน ห่างกันรอบละ 5-7 วัน จะพบว่าต้นเริ่มอั้นตาดอกหรือใบปลายกิ่งเริ่มแก่จัด เมื่อเห็นว่ามีอาการอั้นตาดอกดีแล้วให้ลงมือเปิดตาดอกด้วย 13-0-46 + 0-52-34 + ธาตุรอง/ธาตุเสริม สลับครั้งกับ ฮอร์โมนไข่ + สาหร่ายทะเล ฉีดพ่นให้เปียกโชกทั้งใต้ใบบนใบ ช่วงเช้าแดดจัด 2-3 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน มะม่วงเก่าแก่ต้นนั้นก็จะออกดอกมาให้ชม รุ่นปีแรกอาจจะไม่มากนักแต่รุ่นปีต่อๆไปจะมากขึ้นเนื่องจากความสมบูรณ์ต้นที่สะสมเอาไว้

- มะม่วงสายพันธุ์ทะวายประเภทออกดอกติดผลตลอดปีแบบไม่มีรุ่นสามารถทำให้ออกนอกฤดูด้วยวิธีง่ายๆ โดยเมื่อมะม่วงต้นนั้นออกดอกในช่วงเดือน พ.ย.- ธ.ค. ซึ่งตรงกับมะม่วงปีให้เด็ดดอกชุดนั้นทิ้งไปแล้วบำรุงต่อไปตามปกติ จากนั้นประมาณ 2-3 เดือน ก็จะแทงยอดแล้วออกดอกชุดใหม่จากยอดเดิมที่เคยถูกเด็ดดอกทิ้งนั้น ดอกชุดหลังนี้ก็จะกลายเป็นมะม่วงล่าฤดูไปโดยอัตโนมัติ

- มะม่วงออกดอกจากปลายกิ่งเกิดใหม่ในปีนั้นๆเท่านั้น นั่นคือ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องตัดแต่งกิ่งแล้วเรียกใบอ่อนเพื่อสร้างกิ่งและใบชุดใหม่เสมอ

- ช่วงที่ดอกออกมายาวประมาณ 2-5 ซม. ฉีดพ่นด้วย 0-42-56 จะทำให้ดอกส่วนหนึ่งบอด (ร่วง) แต่ดอกอีกส่วนหนึ่งจะติดเป็นผลคุณภาพดีเมื่อโตขึ้น และหลังจากดอกที่บอดร่วงไปแล้วประมาณ 20-30 วันจะมีดอกชุดใหม่ออกตามมาอีกซึ่งดอกชุดนี้จะกลายเป็นมะม่วงล่าฤดู

- สร้างต้นตอมะม่วงทะวายด้วยการเพาะเมล็ดให้เป็นต้นประธานรอไว้ก่อน แล้วเสริมรากด้วยต้นทะวายสายพันธุ์เดียวกัน 2-3 ราก จากนั้นเปลี่ยนยอดประธานเป็นมะม่วงสายพันธุ์ดีตามต้องการแต่ไม่ทะวาย เมื่อยอดพันธุ์ดีโตขึ้นถ้าไม่เป็นทะวายตามต้อนตอก็จะเป็นมะม่วงเบาที่ออกดอกง่ายและออกดอกติดผลดี .... หรือเพาะเมล็ดจากต้นทะวาย ได้ต้นตอมาแล้วยกขึ้นทาบกับกิ่งต้นตัวเอง เมื่อได้กิ่งทาบมาแล้วแล้วชำในถุงดำและอนุบาลต่อ จนกระทั่งนำลงปลูกในแปลงจริงแล้วให้เสริมรากด้วยตอจากเพาะเมล็ดต้นตัวเองอีก 1-2 ราก จะช่วยให้มะม่วงทะวายต้นนั้นมีลักษณะทะวายดียิ่งขึ้นไปอีก

- นำยอดมะม่วงพันธุ์ดีเริ่มอั้นตาดอกหรืออั้นตาดอกเต็มที่ เสียบบนยอดหรือเสียบข้างให้แก่มะม่วงอีกต้นหนึ่งด้วยวิธีการเสียบปกติ เมื่อยอดที่นำมาเสียบนั้นติดดีจะออกดอกติดผลต่อได้ เนื่องจากได้รับสารอาหารจากต้นรับการเสียบ

- มะม่วงพันธุ์กิ่งทาบหรือกิ่งตอนเมื่อนำลงปลูกปกติจะออกดอกติดผลได้เมื่ออายุ 1-1 ปีครึ่ง ซึ่งค่อนข้างเสียเวลา แก้ไขโดยการนำยอดอ่อนของต้นพันธุ์ดีไปเสียบเปลือกหรือเสียบยอดบนต้นมะม่วงพันธุ์อะไรก็ได้ที่ให้ผลผลิตแล้ว หลังจากการเสียบติดดีแน่นอนแล้วเมื่อต้นรับฝากแตกใบอ่อนยอดพันธุ์ดีที่นำไปฝากก็จะแตกใบอ่อนด้วยและเมื่อต้นรับฝากออกดอก ยอดพันธุ์ดีที่นำไปเสียบเปลือกหรือเสียบยอดก็จะออกดอกติดผลตามด้วยเช่นกัน กรณีนี้ทำให้ไม่ต้องเสียเวลามากเพราะจะได้ผลผลิตจากยอดที่นำไปเสียบในรุ่นปีนั้นเลย

- มะม่วงเพาะเมล็ด (เพื่อการสร้างสายพันธุ์ใหม่) ถ้ารอให้ออกดอกติดผลเองต้องใช้เวลานาน 3-5 ปี ซึ่งถือว่านานมาก แก้ไขโดยนำยอดของต้นเพาะเมล็ดไปเสียบยอดหรือเสียบเปลือกไว้กับต้นมะม่วงพันธุ์อะไรก็ได้ที่โตให้ผลผลิตแล้ว หลังจากเสียบยอดหรือเสียบเปลือกติดดีแน่นอนแล้ว เมื่อต้นรับฝากแตกใบอ่อน ยอดพันธุ์จากเพาะเมล็ดที่นำไปฝากก็จะแตกใบอ่อนด้วย และเมื่อต้นรับฝากออกดอกยอดพันธุ์จากเพาะเมล็ดที่นำไปเสียบเปลือกหรือเสียบยอดก็จะออกดอกตามด้วยอีกเช่นกัน กรณีนี้ทำให้ไม่เสียเวลาเพราะยอดของต้นจากเพาะเมล็ดจะออกดอกติดผลมาให้พิสูจน์สายพันธุ์ในรุ่นปีนั้นเลย

- ช่วงผลเริ่มพัฒนาจะมีก้านดอก (หางหนู) ติดคู่กับขั้วผลเสมอ ให้รักษาหางหนูนี้ไว้สำหรับเป็นเครื่องหมายสังเกตช่วงผลแก่ โดยถ้าหางหนูแห้งครึ่งหนึ่งของความยาวแสดงว่ามะม่วงผลนั้นแก่จัดแล้ว

- มะม่วงไว้ผลเดียวเมื่อถึงระยะผลเข้าไคลแล้วตัดหางหนูส่วนหนึ่งทิ้ง จากนั้นบำรุงด้วยสูตร หยุดเมล็ดสร้างเนื้อ ตามปกติจะได้ผลขนาดใหญ่กว่าผลที่ไม่ได้ตัดหางหนู

- ตรวจสอบความแก่ของผลมะม่วงโดยการลอยน้ำ ถ้าผลใดลอยน้ำแสดงว่ายังไม่แก่ หรือผลจมน้ำแสดงว่าแก่จัดกว่าผลลอยน้ำ

- มะม่วงแก่จัดจนสุกคาต้น (สุกปากตะกร้อ) เมื่อนำไปบ่มจนสุกงอม จะได้ความหวานน้อยกว่าผลแก่จัด หรือหวานเพียง 80-90% ของผล ดิบ/แก่ แล้วบ่ม

- มะม่วงกินสุกช่วงเป็นผลดิบมีรสเปรี้ยวถึงเปรี้ยวมาก เมื่อสุกจะมีรสหวานมากกว่ามะม่วงกินสุกที่ช่วงผลดิบรสมันหรือเปรี้ยวน้อย

* มะม่วงกินเปล่า เช่น ขาวนิยม แก้วลืมคอน มันขุนศรี มันศาลายา เขียวเสวยรจนา หนองแซง .... ระยะที่กิน ดิบ-ห่าม-ปากตะกร้อ กินได้บ่อยๆ วันต่อวัน หน้าจอ ทีวี. ไม่รู้สึกเบื่อ

* มะม่วงข้าวเหนียวมูล เช่น น้ำดอกไม้ อกร่อง พิมแสน .... ระยะที่กิน สุก-งอม กินกับข้าวเหนียวมูล กินครั้งเดียวเบื้อไปหลายวัน

- มะม่วงน้ำปลาหวาน หมายถึง มะม่วงดิบรับประทานกับน้ำปลาหวาน อายุผลไม่จำเป็นต้องแก่จัดเพราะต้องการรสออกเปรี้ยวนำอยู่แล้ว การบำรุงด้วยธาตุรอง/ธาตุเสริม.อย่างสม่ำเสมอจะทำให้รสเปรี้ยวนั้น “เปรี้ยวอร่อย” ไม่ใช่เปรี้ยวแบบมะม่วงยำ ....วิธีบำรุงง่ายๆ (ทางใบ : ไทเป. ไบโออิ. ยูเรก้า และสารสมุนไพร .... ทางราก : กระดูกป่น. มูลวัว+มูลไก่+แกลบดิบ. ปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง.) ผลไหนใหญ่ก่อนเก็บก่อน ไม่ต้องห่อผลเพราะก่อนรับประทานต้องปอกเปลือกอยู่แล้ว เทคนิคการขาย คือ หั่นมะม่วงเป็นชิ้นๆขนาดน่ารับประทาน ใส่กล่องโฟม ชิ้นมะม่วงเมื่อถูกหั่นแล้วจะไม่รู้เลยว่ามะม่วงผลนั้นขนาดใหญ่หรือเล็ก ในกล่องมีถุงน้ำปลาหวาน จุดขาย คือ น้ำปลาหวานต้องอร่อย .... ปลูกมะม่วงสายพันธุ์เบาที่ออกดอกติดผลง่าย ออกตลอดปี เนื้อดิบแข็งกรอบ ผลใหญ่ ระยะชิดพิเศษ 2 x 2 ม. (1 ไร่/400 ต้น) ทำต้นเตี้ยโดยหมั่นตัดแต่งกิ่ง ทั้งนี้มะม่วงพันธุ์เบาเมื่อแตกยอดใหม่มักออกดอกตามทันที โดยไม่ต้องปฏิบัติบำรุงตามขั้นตอนแต่อย่างใด

- มะม่วงเบา (ภาคใต้) นิยมทำมะม่วงยำ เพราะผลเล็กพอเหมาะกับทำอาหาร 1 มื้อ กลิ่นหอมชวนรับประทาน

- ในอดีตมะม่วงดองต้องทำจากมะม่วงแก้วเท่านั้น เพราะเป็นมะม่วงดิบเนื้อแข็ง แต่ปัจจุบัน มะม่วงดิบเนื้อไม่แข็ง สามารถทำมะม่วงดองได้ด้วยเทคนิคการดองสมัยใหม่ ....มะม่วงดิบราคา 5 บาท/กก. (หน้าสวน) ถ้าทำเป็นมะม่วงดองราคาเพิ่มเป็น กก.ละ 15 บาท และจากมะม่วงดองเป็นมะม่วงแช่อิ่ม ราคาเพิ่มเป็น กก. 30-50 บาท ถือว่าราคาดีกว่ามะม่วงกวน เพราะต้นทุนต่ำกว่านั่นเอง

- การผลิตมะม่วงเป็นสวนเชิงการค้า ในปัจจุบันจะมีการตัดแต่งกิ่งเพื่อควบคุมขนาดทรงพุ่ม และควบคุมอายุของยอดเพื่อการบังคับการออกดอก ดังนั้น การนำเอาธาตุอาหารพืชออกไปจากดินก็ขึ้นกับปริมาณผลผลิตและน้ำหนักของกิ่งที่ตัดแต่งออกไป ผลการวิจัย ในโครงการจัดการธาตุอาหารพืชในมะม่วง เพื่อต้องการทราบว่ามะม่วง 1 ต้น จะนำธาตุอาหารจากดินไปใช้ในปริมาณเท่าใด เป็นดังนี้

- มะม่วงสายพันธุ์ต่างประเทศก็มีความอร่อยสไตล์พันธุ์ต่างประเทศ ทั่วไปมักจะพบว่ามี “กลิ่นขี้ไต้” ทำให้ไม่ถูกรสนิยมคนไทย ปัญหากลิ่นขี้ไต้นี้แก้โดยให้ “ธาตุรอง/ธาตุเสริม” ประจำๆ

- ปรัชญาของคนกินมะม่วง :
* กินดิบ แก่จัด เก็บมากินได้เลย รสหวานอมมัน
* กินสุก รสหวานมากคนไม่กินเพราะกลัวเบาหวาน
* มะม่วงสุกรสหวานอ่อนๆ มัน หอม ไม่มีเสี้ยน .... วิธีบำรุง : บำรุงปกติ ทั้งช่วงมีผลบนต้นและไม่มีผลบนต้น ไว้ล่วงหน้า ช่วงผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยว “ไม่ต้องเร่งหวาน”

* สุกปากตะกร้อ .... กินบ่อยไม่เบื่อ กินหน้าจอ ทีวี.หมดจานไม่รู้เรื่อง .... วิธีบ่ม : วางไว้เฉยๆ อุณหภูมิ ห้อง ปล่อยให้สุกเอง ผลจะสุกจากในมานอก เนื้อในติดเมล็ดนิ่ม เนื้อนอกติดเปลือกแข็ง

* กินสุกปากตะกร้อ ไม่ต้องบ่มห่อผล วางไว้เฉยๆ ปล่อยให้สุกเอง จะสุกจากในออกมานอก เนื้อข้างในติดเมล็ดนิ่ม เนื้อข้างนอกติดเปลือกแข็งกรอบ อย่างไหนจะมากจะน้อยอยู่ที่อายุการบ่ม เหมาะสำ หรับกินเปล่าหน้าจอ ทีวี. กินซ้ำหลายวันได้ ไม่เบื่อ

* กินสุกข้าวเหนียวมูล ใช้กระดาษ นสพ.ห่อ ห่อละผล วางไว้เฉยๆ ปล่อยให้สุกเอง จะสุกเนื้อนิ่มเท่ากันทั้งนอกทั้งในทั้งผล สุกมากสุกน้อย (งอม) ขึ้นอยู่ที่อายุการบ่ม เหมาะสำหรับกินกับข้าวเหนียวมูล กินวันเดียวเบื่อไปนาน ....

* ปกติมะม่วงสุก ผิวเปลือกจะเหี่ยวย่น บางคนบอกว่า เปลือกเหี่ยวแล้วจะหวาน ในความเป็นจริงไม่เกี่ยวกัน หวานไม่หวานอยู่ที่การบำรุง บางทีลูกผิวเปลือกย่น-เปรี้ยว ลูกผิวเปลือกตึงธรรมดา-หวาน ก็มี

* มะม่วงสุก ผิวเปลือกเป็นจุดสีดำ นั่นคือ “แอนแทร็คโนส (โรคผลจุดเน่า)” เป็นเชื้อที่เกาะอยู่ที่ผิวเปลือก ตอนดิบไม่ขยายพันธุ์ ตอนสุกเนื้อเริ่มหวาน เชื้อได้อาหารจึงขยายพันธุ์ แก้ไขโดย นำผลดิบลงล้างทำความสะอาดในน้ำ ตะไคร้-ขิง-ข่า-กระชาย-หอม-กระเทียม อย่างใดอย่างหนึ่ง หลายอย่างดีกว่าน้อยอย่าง ล้างแล้วนำขึ้นผึ่งลมให้แห้ง แห้งแล้วนำไปบ่มตามวิธีการบ่มปกติ เมื่อผลสุกจะไม่มีจุดดำเพราะเชื้อ “แอนแทร็คโนส” ตายหมดแล้วนั่นเอง

* วิธีบ่มมะม่วง ใช้ ใบขะแยงสด ใบขี้เหล็กสด รองก้นโอ่ง วางมะม่วงลงไป แล้วปิดทับอีกชั้นหนึ่ง มะม่วงในโอ่งจะสุกพร้อมกัน เท่ากัน ทั้งโอ่ง

* มะม่วงทุกสายพันธุ์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ มีความอร่อยตามธรรมชาติของตัวเอง เป็นเอกลักษณ์อยู่แล้ว สารอาหารหรือปุ๋ยที่จะช่วยดึงความอร่อยประจำสายพันธุ์ออก มาได้ คือ ธาตุรอง/ธาตุเสริม โดยเฉพาะ Mg Zn CaB ทั้งทางใบทางราก ทั้งช่วงมีผลบนต้นไม่มีผลบนต้น เรียกว่า “รสจัดจ้าน” นั่นแหละ

* เคยจัดวัน “ชม-ชิม-โนช็อป” มะม่วงที่ RKK พบกับมะม่วง 20 สายพันธุ์ ชมแล้วชิม ชิมพันธุ์ละคำ เพื่อให้รู้ว่าพันธุ์ไหน อร่อย/ไม่อร่อย อย่างไร เมื่อจะปลูกมะม่วงบ้างจะได้เลือกสายพันธุ์ได้ถูก ก็มีบางคน ชิม
สายพันธุ์เดียวซะอิ่มไปเลย แล้วจะรู้ได้ไงว่า พันธุ์อื่น อร่อย/ไม่อร่อย ยังไง

* มะม่วงต้นเดิมที่ปลูกแล้วโตแล้วให้ผลแล้ว เปลี่ยนสายพันธุ์ได้ โดยการเสียบยอดเสียบข้าง เสียบเปลือก ติดตา หรือทำแฟนซีหลายๆสายพันธุ์ ได้ทั้งนั้น

มะม่วง ไร่กล้อมแกล้ม : [
เขียวเสวย รจนา รสไฉน ติดลูกง่าย ไซส์สี่ขีด รสกรอบมัน
เขียวเสวย เขียวไสว ใหญ่ทั้งนั้น รสแค่มัน พันธุ์มะม่วง เกรดตลาด
อกร่องไทรโยค กลิ่นหอมนาน หวานสนิท ลิ้มสักนิด จะติดใจ ไม่ยอมพลาด
แก้วลืมรัง แก้วลืมคอน วอนอย่าขาด ทั้งรสชาด หวานมันกรอบ ออกทะวาย

มันขุนศรี บางขุนศรี พันธุ์เดียวกัน รสหวานมัน กินดิบได้ กินสุกดี
มันศาลายา มันสมชื่อ มันทุกที่ ไซส์พอดี สีก็สวย น่าตะลึง
ขาวนิยม แชมป์สี่ปี ประเทศไทย ใครปลูกไว้ ไซส์ใหญ่ยักษ์ หนักโลครึ่ง
เขียวใหญ่ซี่ ลูกโลสี่ ดีนะมึง คนใจถึง ซื้อยกสวน เป็นของฝาก

น้ำดอกไม้ เลือกเบอร์สี่ ทับสิบเก้า ไม่ต้องเฝ้า ออกทั้งปี ดีทุกรุ่น
น้ำดอกไม้ สีทอง ต้องมีลุ้น เจ้าประคุณ สุกหรือดิบ สีเหมือนกัน
อกร่อง พิกุลทอง ร่องไม่มี รสชาดดี ไม่มีสอง เหมือนความฝัน
อกร่องเขียว เขียวแต่สุก เพราะสายพันธุ์ พิสูจน์กัน ให้ชัดก่อน จึ่งค่อยเก็บ

ทะวายใหญ่ แม่ลูกดก ตัวเดียวกัน เปรี้ยวอมมัน ออกทั้งปี เป็นทะวาย
หยาดพิรุน ก็อกร่อง อย่าสงสัย รูปทรงใซร้ แปดขีด มาตรฐาน
อาร์ทูอีทู อยากให้สิ้น กลิ่นขี้ไต้ จักต้องให้ หลักรองเสริม เพิ่มความหวาน
โชคไพบูลย์ จ้าวโลกา ใหญ่เกินการ มาตรฐาน สองโลห้า ใครกล้ากิน

งามเมืองย่า ลูกย่าโม อยู่โคราช เด่นผงาด ลูกใหญ่โต กิโลครึ่ง
เขียวสุพรรณ มันอมหวาน ทานแล้วซึ้ง ตกตะลึง ถามหาอีก มีอีกไหม
อกร่องทอง ไม่มีเสิ้ยน กินสบาย รูปทรงคล้าย ไม่รู้ว่า พันธุ์อะไร
หนองแซงดี ดิบยังหวาน ทานดูได้ ลูกไม่ใหญ่ ไซส์ไม่เล็ก กำลังดี

โชคอนันต์ เคยลงไว้ ร้อยกว่าต้น ตอนนี้โค่น ทิ้งหมดแล้ว มะม่วงแผง
จินหวง มะม่วงจีน เด่นที่แดง โหงวเฮ้งแรง แต่งเครื่องเซ่น เน้นโชคลาง
แก้วโม่ง แก้วลูกใหญ่ กว่าแก้วบ้าน น้ำปลาหวาน ดองแช่อิ่ม ขายบนห้าง
มะม่วงป่า ปลูกแทรกไว้ เป็นพันทาง ปลูกห่างห่าง ช่วยผสม เกสรดี

เท่าที่มี ยี่สิบสี่ พันธุ์ชนิด ระยะชิด สองร้อยต้น ต่อหนึ่งไร่
ใช้ระบบ สปริงเกอร์ เฮ่อ ! สบาย แยกปลูกไว้ แบ่งเป็นโซน โซนละพันธุ์
ถึงต่างพันธุ์ ต่างบำรุง ไม่ยุ่งยาก ต้นน้ำมาก ต้นน้ำน้อย ค่อยจัดสรร
ปุ๋ยฮอร์โมน ให้เป็นชุด สูตรเดียวกัน ได้ทั้งนั้น มะม่วงมัน ไร่กล้อมแกล้ม

เตรียมต้น ตัดแต่งกิ่ง :
- เทคนิคการ ตัดแต่ง-เรียกใบอ่อน แบบ “บำรุงก่อนตัด” กล่าวคือ ระหว่างที่ต้นเลี้ยงลูกนั้น ต้นต้องใช้พลังงานอย่างมาก จนทำให้ต้นโทรม หลังจากผลลูกสุดท้ายหลุดจากต้นแล้วให้บำรุงด้วยสูตรเรียกใบอ่อน ทั้งทางใบและทางราก หรือเฉพาะทางใบอย่างเดียวก่อน 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน เพื่อให้ต้นได้ใช้ใบเดิมที่มีสังเคราะห์อาหาร เมื่อเห็นว่า ต้นมีอาการสมบูรณ์ดี ทำท่าจะแตกยอดใหม่ ก็ให้ปฏิบัติการเรียกใบอ่อนทันที การที่ต้นมีความสมบูรณ์อยู่ ต้นก็จะแตกใบอ่อนใหม่ เร็ว ดี มาก และพร้อมกันทั่วทั้งต้น

- ตัดแต่งเพื่อการแตกยอดใหม่ให้ตัดกิ่งกระโดง กิ่งในทรงพุ่ม กิ่งคดงอ กิ่งชี้ลง กิ่งไขว้ กิ่งชี้เข้าใน กิ่งหางหนู กิ่งน้ำค้าง กิ่งเป็นโรค ทั้งนี้ภายในทรงพุ่มควรให้โปร่งจนแสงส่องผ่านลงไปถึงโคนต้นได้

- มะม่วงออกดอกติดผลจากปลายยอดของกิ่งชายพุ่ม ดังนั้นจึงควรตัดทิ้งกิ่งในทรงพุ่มทั้งหมดและเพื่อไม่ให้แตกยอดใหม่ป้องกันทรงพุ่มทึบเกินไป

- ตัดยอดกิ่งประธาน (ผ่ากบาล) ณ ความสูงต้นตามต้องการ นอกจากช่วยทำให้แสงแดดผ่านจากยอดเข้าสู่ภายในทรงพุ่มได้อย่างทั่วถึงแล้ว แสงแดดที่ร้อนยังช่วยกำจัดเชื้อราได้เป็นอย่างดี และเพื่อควบคุมขนาดความสูงทรงพุ่มอีกด้วย

- นิสัยมะม่วงปีมักออกดอกหลังจากกระทบหนาวได้ระยะหนึ่ง ดังนั้นจึงควรตัดแต่งกิ่ง-เรียกใบอ่อนช่วงต้นหน้าฝนแล้วเข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงต่อไปตามลำดับจะทำให้ต้นมีความสมบูรณ์เต็มที่ดีกว่าการตัดแต่งกิ่งในช่วงอื่น หมายความว่า หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วยังไม่ต้องตัดแต่งกิ่งแต่ให้บำรุงตามปกติต่อไปก่อน จนกระทั่งเข้าสู่หน้าฝนจึงลงมือตัดแต่งกิ่ง....มะม่วงทะวายไม่จำเป็นต้องกระทบหนาวแต่ถ้าตัดแต่งกิ่ง-เรียกใบอ่อนช่วงต้นหน้าฝน แล้วเข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงตามลำดับอย่างถูกต้องสม่ำเสมอ จะทำให้ต้นมีความสมบูรณ์เต็มที่ดีกว่าการตัดแต่งกิ่งในช่วงอื่น


ขั้นตอนการปฏิบัติบำรุงต่อมะม่วง
1. เรียกใบอ่อน

ทางใบ :
- ให้ ไบโออิ 25-5-5 + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7-10 วัน

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยคอก (ขี้วัวขี้ไก่ไข่ แกลบดิบ แห้งเก่าข้ามปี) กระดูกป่น ครั้งที่ 1 ของรุ่นหรือปีการผลิต

- ใส่ 25-7-7 (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นใหญ่) /ต้น /เดือน ละลายน้ำรดโคนต้น บริเวณทรงพุ่ม

- คลุมโคนต้นด้วยเศษพืชแห้งหนาๆ เต็มพื้นที่บริเวณทรงพุ่ม ล้ำออกไปถึงนอกเขตทรงพุ่ม
- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 (2 ล.) /ไร่ /เดือน รดทั่วแปลง ทุกตาราง นิ้ว

หมายเหตุ :
- เริ่มปฏิบัติทันที่ ณ วันรุ่งขึ้น หลังจากผลลูกสุดท้ายหลุดจากต้น และหลังตัดแต่งกิ่ง
- เทคนิคการ ตัดแต่ง-เรียกใบอ่อน แบบ “บำรุงก่อนตัด” กล่าวคือ ระหว่างที่ต้นเลี้ยงลูกนั้น ต้นต้องใช้พลังงานอย่างมาก จนทำให้ต้นโทรม หลังจากผลลูกสุดท้ายหลุดจากต้นแล้วให้บำรุงด้วยสูตรเรียกใบอ่อน ทั้งทางใบและทางราก หรือเฉพาะทางใบอย่างเดียวก่อน 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน เพื่อให้ต้นได้ใช้ใบเดิมที่มีสังเคราะห์อาหาร เมื่อเห็นว่า ต้นมีอาการสมบูรณ์ดี ทำท่าจะแตกยอดใหม่ ก็ให้ปฏิบัติการเรียกใบอ่อนทันที การที่ต้นมีความสมบูรณ์อยู่ ต้นก็จะแตกใบอ่อนใหม่ เร็ว ดี มาก และพร้อมกันทั่วทั้งต้น

- มะม่วงอายุต้นมากกว่า 5 ปีเรียกใบอ่อนเพียง 1 ชุดก็พอ ส่วนต้นอายุน้อยกว่า 5 ปี ต้องเรียกใบอ่อน 2 ชุด โดยมีวิธีทำดังนี้

วิธีที่ 1.... ถ้าต้นสมบูรณ์ดีมีการเตรียมดินและปรับปรุงบำรุงดินสม่ำเสมอต่อเนื่องมาหลายๆปีแล้วหลังจากใบอ่อนชุดแรกเพสลาดแล้วให้เรียกใบอ่อนชุด 2 ต่อได้เลย ใบชุด 2 นี้อาจจะออกไม่พร้อมกันทั้งต้นเหมือนชุดแรกแต่ก็จะออกห่างกันไม่เกิน 7-10 วัน และหลังจากใบอ่อนชุด 2 เพสลาดก็ให้เข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงต่อไปตามปกติ.....สำหรับมะม่วงอายุต้นมากกว่า 5 ปี (เป็นสาวเต็มที่) ให้เรียกใบอ่อนเพียง 1 ชุด นั่นคือเมื่อใบอ่อนเพสลาดแล้วให้เข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงตามปกติได้เลย

วิธีที่ 2....หลังจากใบอ่อนชุดแรกแผ่กางแล้วเร่งให้เป็นใบแก่ ได้ใบแก่แล้วงดน้ำให้ใบสลดจนใบแก่โคนกิ่งร่วง 1-2 ใบให้ลงมือเรียกใบอ่อนชุด 2 เมื่อใบอ่อนชุด 2 แผ่กางให้เข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงต่อไปตามปกติ

(วิธีที่ 1 ได้ผลดีกว่าวิธีที่ 2 เพราะต้นจะมีอาการโทรมน้อยกว่า......)

- มะม่วงพันธุ์เบา นิสัยออกดอกติดผลง่าย ผ่านการบำรุงแบบให้มีอาหารกินตลอด 24 ชม.ต่อเนื่องมานานหลายปี หลังจากใบอ่อนชุด 1 แผ่กางเริ่มรับแสงแดดได้ สามารถข้ามขั้นตอนเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่. สะสมอาหารเพื่อการออกดอก. และปรับ ซี/เอ็น เรโช เข้าสู่ขั้นตอนเปิดตาดอกได้เลย แต่อาจจะต้องเปิดตาดอกหลายรอบ หรือมากครั้งกว่าปกติเล็กน้อยเท่านั้น

2. เร่งใบอ่อนเป็นใบแก่ :
ทางใบ :
- ให้ไบโออิ 0-21-74 หรือ 0-39-39 + สารสมุนไพร 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 7-10 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
ให้น้ำปกติ ทุก 2-3 วัน

หมายเหตุ :
- เริ่มปฏิบัติเมื่อใบเริ่มแผ่กางรับแสงแดดได้
- วัตถุประสงค์เพื่อเร่งใบชุดใหม่ให้สามารถสังเคราะห์อาหารได้ และเร่งระยะเวลาเรียกใบอ่อนชุดต่อไปได้เร็วขึ้น กับทั้งเพื่อให้ใบอ่อนรอดพ้นจากทำลายของแมลงปากกัดปากดูด

- สารอาหารในกลุ่มเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่มีฟอสฟอรัส. และโปแตสเซียม. นอกจากช่วยเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่แล้วยังช่วยเสริมประสิทธิภาพขั้นตอนสะสมอาหารเพื่อการออกดอกได้ด้วย

- ต้นที่สะสมความสมบูรณ์เต็มที่มานานหลายปีติดต่อกัน หลังจากใบอ่อนเริ่มแผ่กางแล้วสามารถข้ามขั้นตอนการบำรุงไปสู่ขั้นตอนเปิดตาดอกได้เลย ทั้งนี้ฟอสฟอรัส. กับโปแตสเซียม. นอกจากช่วยเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่ได้แล้วยังช่วยเปิดตาดอกได้อีกด้วย

3. สะสมอาหารเพื่อการออกดอก :
ทางใบ :
- ให้ไบโออิ 0-42-56 + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7-10 วัน นาน 1-2 เดือน.... ในรอบเดือนหาโอกาสให้น้ำตาลทางด่วน (กลูโคส) 1 ครั้ง

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
-ใส่ 8-24-24 (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นกลาง, 2 กก.ต้นใหญ่) /ต้น /เดือน ละลายน้ำรดโคนต้น บริเวณทรงพุ่ม

- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 8-24-24 (2 ล.) /เดือน รดทั่วแปลง ทุกตารางนิ้ว
- ให้น้ำปกติทุก 2-3 วัน

หมายเหตุ :
- เริ่มปฏิบัติเมื่อใบเพสลาด
- แนวทางบำรุงให้ต้นได้สะสมอาหารเพื่อการออกดอกไว้มากที่สุด ควรเตรียมแผนใช้เวลาบำรุง 2 เดือน โดยให้น้ำตาลทางด่วน (กลูโคสรอบ) แรกเมื่อเริ่มลงมือบำรุง และให้รอบสองห่างจากรอบแรก 20-30 วัน

- ไม้ผลที่ผ่านการบำรุงมาอย่างดีแล้วต้องกระทบหนาวจึงออกดอกดีนั้น ช่วงขั้นตอนสะสมอาหารเพื่อการออกดอก ถ้ามีการให้ “กลูโคส + 0-52-34 หรือ 0-42-56 + สังกะสี” ฉีดพ่นพอเปียกใบ ช่วงเช้าแดดจัด 1-2 รอบ ให้รอบแรกเมื่อเริ่มลงมือบำรุงสะสมอาหารเพื่อการออกดอก จากนั้น อีก 20 วัน ให้อีกเป็นรอบ 2 ก็จะช่วยให้ต้นเกิดอาการอั้นตาดอกและส่งผลให้เปิดตาดอกแล้วมีดอกออกมาดีอีกด้วย

- วัตถุประสงค์เพื่อให้ต้นสะสมสารอาหารทั้ง “กลุ่มสร้างดอก-บำรุงผล (ซี.)” และ “กลุ่มสร้างใบ-บำรุงต้น (เอ็น)” ไว้ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ จนกระทั่งเกิดอาการอั้นตาดอกไม่มีการแตกใบอ่อนออกมาอีก ถ้าต้นแตกใบอ่อนออกมาใหม่ก็จะต้องย้อนกลับไปบำรุงที่ขั้นตอนเร่งใบอ่อนให้เป็นใบแก่อีกครั้งซึ่งทำให้เสียเวลา

- ช่วงหน้าฝนสวนยกร่องน้ำหล่อหรือพื้นที่ลุ่มปริมาณน้ำใต้ดินมาก แนะนำให้บำรุงทางใบด้วยสูตรสะสมอาหารปกติ โดยให้ก่อนฝนตก 1 ชม.หรือให้ทันทีหลังฝนหยุดใบแห้ง ให้บ่อยๆได้ไม่จำกัดจำนวนครั้งหรือช่วงระยะเวลาให้

- เพื่อให้ต้นได้มีการสะสมอาหารเพื่อการออดอกมากยิ่งขึ้น แนะนำให้ใส่มูลค้างคาว 100-200 กรัม/ต้นทรงพุ่ม 5 ม. ด้วยการละลายน้ำรดโคนต้นบริเวณชายพุ่มจะเป็นการดียิ่งขึ้น....ใช้มูลค้างคาวด้วยความระมัดระวังเพราะในมูลค้างคาวมีสารอาหารในการสร้างเมล็ดอาจมีผลกระทบช่วงบำรุงผลกลาง (หยุดเมล็ด-สร้างเนื้อ) ได้

- ก่อนเข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงขั้นต่อไป คือ ปรับ ซี/เอ็น เรโช. ให้ทบทวนความทรงจำเมื่อครั้งเรียกใบอ่อนแล้วใบอ่อนออกมาพร้อมกันเป็นชุดเดียวทั่วทั้งต้นหรือไม่ ถ้าใบอ่อนออกมาพร้อมกันดีทั่วทั้งต้นให้ปรับ ซี/เอ็น เรโช. ต่อไปได้เลย แต่ถ้าใบอ่อนออกมาไม่พร้อมกันเป็นชุดเดียวทั่วทั้งต้นและค่อนข้างต่างรุ่นกันมากก็ให้บำรุงสะสมอาหารเพื่อการออกดอกต่อไปอีก 2-3 รอบ เพื่อรอให้ใบอ่อนชุดหลังสะสมอาหารจนอั้นตาดอกดีเท่ากับใบอ่อนชุดแรกจากนั้นจึงลงมือปรับ ซี/เอ็น เรโช. ทั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อทำให้มีดอกออกมาพร้อมกันเป็น
ชุดเดียวกันทั่วทั้งต้นนั่นเอง

4. ตรวจสอบสภาพอากาศก่อนปรับ ซี/เอ็น เรโช :





.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 28/01/2024 11:40 am, แก้ไขทั้งหมด 3 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 26/01/2024 1:27 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
4. ตรวจสอบสภาพอากาศก่อนปรับ ซี/เอ็น เรโช :
ก่อนเริ่มลงมือปรับ ซี/เอ็น เรโช (งดน้ำ) และก่อนลงมือเปิดตาดอกต้องแน่ใจว่าระหว่างที่กำลังบำรุงทั้งสองขั้นตอนนี้จะต้องไม่มีฝน เพราะถ้ามีฝนตกลงมาการงดน้ำก็ล้ม เหลว และดอกที่ออกมาจะได้รับความเสียหาย .... ถ้ารู้แน่ว่าช่วงงดน้ำและเปิดตาดอกถึงช่วงดอกออกมาแล้วจะมีฝนก็ให้ระงับการปรับ ซี/เอ็น เรโช และเปิดตาดอกไว้ก่อน ให้บำรุงต้นต่อไปอีกด้วยสูตรสะสมอาหารเพื่อการออกดอก จากนั้นอาจจะปรับแผนการบำรุงเพื่อทำให้มะม่วงออกล่าฤดูด้วยการเลื่อนเวลาเริ่มปรับ ซี/เอ็น เรโช และเปิดตาดอกให้ช้าออกไปเท่าที่สภาพภูมิ อากาศจะอำนวยก็ได้

5. ปรับ ซี/เอ็น เรโช
ทางใบ :
- ให้ไบโออิ 0-42-56 + สารสมุนไพร 1-2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7-10 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ ระวังอย่าให้โชกจนตกลงถึงพื้น
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- เปิดหน้าดินโคนต้นโดยนำอินทรีย์วัตถุคลุมโคนต้นออกให้แดดส่องได้ทั่วพื้นดินทรงพุ่ม
- งดให้น้ำเด็ดขาด กรณีสวนยกร่องน้ำหล่อจะต้องสูบน้ำออกให้หมด

หมายเหตุ :
- เริ่มปฏิบัติเมื่อสังเกตเห็นความสมบูรณ์ของต้นชัดเจน
- ต้นที่มีอาการอั้นตาดอกดีจนพอใจแล้วไม่ต้องฉีดพ่นน้ำตาลทางด่วน (กลูโคส) เพิ่มอีกแต่ถ้าต้นมีอาการอั้นตาดอกไม่ดีหรือยังไม่น่าพอใจ แนะนำให้ฉีดพ่นกลูโคสหรือนมสัตว์ทางใบอีกซ้ำอีก 1 รอบ โดยเว้นระยะเวลาให้ห่างจากที่เคยให้เมื่อช่วงสะสมอาหารไม่น้อยกว่า 30-45 วัน

- วัตถุประสงค์เพื่อ “เพิ่ม” ปริมาณสารอาหารกลุ่มสร้างดอก-บำรุงผล (ซี.)และ “ลด" ปริมาณสารอาหารกลุ่มสร้างใบ-บำรุงต้น (เอ็น.)

6. สำรวจลักษณะอั้นตาดอก :
ใบคู่สุดท้ายปลายกิ่งเป็นใบแก่จัด ข้อระหว่างใบสั้น ใบหนาเขียวเข้มส่องแดดแล้วแสงไม่ทะลุ เนื้อใบกรอบ เส้นใบนูนเด่น หูใบอวบอ้วน กิ่งช่วงปลายกลม เปราะหักง่าย มีตุ่มตานูนขึ้นที่โคนหูใบหรือซอกใบ
อาการนี้ควรเกิดขึ้นกับทุกจุดหรือทุกปลายยอดที่สามารถออกดอกได้ทั่วทั้งต้น และเมื่อมองจากภายนอกระยะไกลเห็นความสมบูรณ์ของต้นชัดเจน

ถ้าอาการอั้นตาดอกเกิดขึ้นไม่ทั่วทั้งต้นหรือเกิดขึ้นเพียงบางกิ่งเท่านั้น กรณีนี้ให้ระงับการเปิดตาดอกไว้ก่อนแล้วบำรุงด้วยสูตร สะสมอาหารเพื่อการออกดอก ทั้งทางใบและทางรากต่อไปอีก

7. ตรวจสอบข่าวสภาพอากาศ ก่อนเปิดตาดอก :
ก่อนลงมือเปิดตาดอกจำเป็นต้องทราบข่าวอากาศล่วงหน้า กล่าวคือ ในอีก 20-30 วันข้างหน้าซึ่งเป็นวันที่ช่อดอกเริ่มออกมาแล้วนั้นจะต้องไม่มีฝนตก เพราะถ้ามีฝนจะทำให้ดอกเสียหายโดยเฉพาะดอกบานจะเสียหายจนผสมไม่ติด

ถ้ารู้ว่าในอีก 20-30 วันข้างหน้าจะมีฝนตก ให้เลื่อนการเปิดตาดอกออกไปแล้วกลับมาบำรุงด้วยสูตรสะสมอาหารเพื่อการออกดอกต่อไป จนกว่าจะแน่ใจว่าหลังเปิดตาดอกจนดอกออกมาแล้วไม่มีฝนจึงลงมือเปิดตาดอก

8. เปิดตาดอก
ทางใบ :
สูตร 1 .... น้ำ 100 ล. + ไธโอยูเรีย 500 กรัม หรือ 0-52-34 (500 กรัม) สูตรใดสูตรหนึ่ง + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 กรัม + สาหร่ายทะเล 100 ซีซี. + สารสมุนไพร 250 ซีซี.

สูตร 2 .... น้ำ 100 ล.+ 13-0-46 (1 กก.) + 0-52-34 (500 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 กรัม + สาหร่ายทะเล 100 ซีซี. + สารสมุนไพร 250 ซีซี.

สูตร 3 .... 100 ล. + 13-0-46 (1 กก.) + ไธโอยูเรีย 500 กรัม ) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 500 กรัม + สารสมุน
ไพร 250 ซีซี.

สูตร 4 .... น้ำ 100 ล. + ไทเป 100 ซีซี. + 13-0-46 (1 กก.) สารสมุนไพร 250 ซีซี.
- ฉีดพ่นสารสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- ยังคงเปิดหน้าดินโคนต้น
- ให้น้ำพอหน้าดินชื้นหรือพอให้ต้นได้รู้สึกตัว

หมายเหตุ :
- เริ่มปฏิบัติเมื่อต้นมีอาการอั้นตาดอกทั่วทั้งต้นหรือทุกจุดที่สามารถออกดอกได้ ฉีดพ่นพอเปียกใบ ช่วงเช้าแดดจัด

- การตัดสินใจเลือกใช้สูตรใดสูตรหนึ่งขึ้นอยู่กับลักษณะสายพันธุ์ เช่น พันธุ์เบา พันธุ์หนัก
- หลังจากให้แต่ละสูตรไป 2 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วันแล้วยังไม่ออกดอก ให้ฉีดพ่นทางใบด้วย "น้ำ 100 ล. + 0-42-56 (200 กรัม)" ทับอีก 1 รอบ ถ้าสภาพต้นสมบูรณ์และสภาพอากาศ (อุณหภูมิ)อำนวย มะม่วงต้นนั้นก็จะแทงช่อดอกออกมาให้ แต่ถ้าไม่ออกก็ต้องกลับมาเริ่มต้นกันใหม่ ตั้งแต่ขั้นตอนที่ 1(เรียกใบอ่อน)สำหรับรุ่นการผลิตใหม่

- อาจจะพิจารณาใส่ 8-24-24 (250-500 กรัม) /ต้น อีก 1 รอบก็ได้ด้วยการละลายน้ำรดโคนต้นพอหน้าดินชื้นเพื่อเสริมของเก่าที่ใส่เมื่อช่วงสะสมอาหารและช่วงที่ปรับ ซี/เอ็น เรโช

- การเปิดตาดอกด้วย 13-0-46 โดยฉีดพ่นทางใบจะทำให้มะม่วงมีอาการเหมือนได้รับอากาศหนาวเย็นจึงส่งผลให้การออกดอกดีขึ้น

- หลังจากเปิดตาดอกแล้ว ถ้าดอกออกมาไม่มากพอ ระหว่างที่ดอกชุดแรกยังเป็นดอกตูมอยู่นั้นให้เปิดตาดอกซ้ำอีก 1-2 รอบด้วยสูตรเดิม หรือจนกระทั่งดอกชุดแรกบานแล้วจึงยุติการเปิดตาดอกซ้ำ

9. บำรุงดอก :
ทางใบ :
- ให้ไบโออิ 15-45-15 (หน้าฝน) หรือ 0-52-34 (หน้าแล้ง) + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7-10 วัน ฉีดพ่นพอเปียก ระวังอย่าให้โชกจนลงถึงพื้น

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- ยังคงเปิดหน้าดินโคนต้น
- ให้ 8-24-24 (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นใหญ่) /ต้น /เดือน
- ให้น้ำปกติ ทุก 2-3 วัน

หมายเหตุ :
- ให้ “เอ็นเอเอ. หรือ เอ็นเอเอ. + จิ๊บเบอเรลลิน” ช่วงดอกตูมแทงออกมายาว 2-3 ซม.1 ครั้ง จะช่วยบำรุงเกสรทั้งตัวผู้และตัวเมียให้สมบูรณ์พร้อมรับการผสมแต่ต้องใช้ด้วยความระมัดระวังเพราะถ้าให้ผิดอัตราจะเกิดความเสียหายต่อดอกและไม่ได้ผล .... ช่วงอากาศร้อนใช้ในอัตราลดลง 25% ของอัตราใช้ปกติ และช่วงอากาศหนาวให้เพิ่มอัตราใช้ 25% ของอัตราใช้ปกติ

- ช่วงดอกเริ่มแทงออกมาใหม่ๆให้แคลเซียม โบรอน. 1 รอบ จะช่วยให้ดอกสมบูรณ์ผสมติดดี
- ฉีดพ่นสารอาหารเพื่อบำรุงดอกด้วยเครื่องมือฉีดพ่นที่มีแรงลมพ่นเบาที่สุดตามความเหมาะสมเพื่อไม่ให้กระทบกระเทือนต่อส่วนต่างๆของดอก ฉีดพ่นที่ช่อดอกโดยตรงพอเปียกหรือฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่มพอเปียกใบก็ได้

- ช่วงดอกตูมควรฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรให้บ่อยขึ้น เพื่อป้องกันกำจัดโรคและแมลงจนถึงช่วงดอกบาน

- ระยะดอกบานถ้าตรงกับช่วงฝนชุกเกสรจะเปียกชื้นทำให้ผสมไม่ติด แก้ไขโดยกะระยะเวลาบำรุงให้ดอกออกมาแล้วไม่ตรงกับช่วงฝนชุกเท่านั้น แต่ถ้าดอกออกมาตรงกับช่วงแล้งอากาศร้อนมากเกสรจะฝ่อทำให้ผสมไม่ติดเช่นกัน แก้ไขโดยการสร้างความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศและที่พื้นดิน ทั้งในแปลงปลูกและรอบๆแปลงปลูก....มาตรการบำรุงต้นและดอกให้สมบูรณ์อย่างแท้จริงอยู่เสมอจะช่วยลดความสูญเสียได้เป็นอย่างมาก

- ในช่อดอกมีทั้งดอกและใบ แก้ไขด้วยการฉีดพ่น “0-42-56 + ธาตุรอง/ธาตุเสริม” พอเปียกใบ 1-2 รอบ ช่วงเช้าแดจัด ห่างกันรอบละ 5-7 วัน หลังจากที่เห็นชัดแล้วว่ามีทั้งใบละดอก

- ในต้นเดียวกัน ปลายยอดส่วนหนึ่งออกดอกและพัฒนาเป็นผลขนาดเล็ก (ประมาณหัวไม้ขีด) แล้ว แต่ยอดส่วนหนึ่งยังไม่ออกดอก ให้ฉีดพ่นด้วย “น้ำ 20 ล.+ 0-42-56 (2 ช้อนโต๊ะ)” เฉพาะยอดที่ยังไม่ออกดอก 2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน จากนั้นเปิดตาดอกด้วยสูตรเดิม 2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน ถ้าต้นมีความสมบูรณ์สูง และสภาพอากาศ (อุณหภูมิ) อำนวย ยอดที่ถูกเปิดตาดอกซ้ำก็จะแทงช่อดอกออกมาได้

- เปิดตาดอกแล้วออกเป็นใบ แก้ไขด้วยการตัดยอดนั้นทิ้งตั้งแต่ยอดยาวประมาณ 2-3 นิ้ว หรือตั้งแต่แน่ใจว่านั่นคือยอดหรือใบแน่นอน แล้วบำรุงทางใบด้วย “สูตรสะสมตาดอก” ปกติ 2-3 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน จากนั้นให้เปิดตาดอกด้วย “สูตรเปิดตาดอก” ปกติ ถ้ามะม่วงต้นนั้นมี ซี/เอ็น เรโช เหมาะสม ปลายกิ่งที่เคยตัดยอดทิ้งไปแล้วจะแทงช่อดอกใหม่ที่โคนยอดเดิม หรือแทงช่อใหม่ที่โคนใบ (ตุ่มตา) บริเวณที่ต่ำกว่ายอด กลายเป็นออกดอกกลางกิ่งได้

- ต้นที่ได้รับ แม็กเนเซียม (จากไบโออิ). โบรอน (จากแคลเซียม โบรอน). สม่ำเสมอแบบสะสม ถึงช่วงออกดอกแล้วเจอฝน ดอกจะแข็งแรงไม่ร่วงง่ายๆ หรือติดเป็นผลได้ดีเหมือนปกติ

10. บำรุงผลเล็ก-กลาง :
ทางใบ :
- ให้ ไบโออิ + ยูเรก้า + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7-10
วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ

- ในรอบ 1 เดือน หาโอกาสให้น้ำตาลทางด่วน (กลูโคส) 1 รอบ
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยคอก (ขี้วัวขี้ไก่ไข่ แกลบดิบ แห้งเก่าข้ามปี) กระดูกป่น ครั้งที่ 2 ของรุ่น หรือปีการผลิต

- ใส่ 21-7-14 (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นใหญ่) /ต้น /เดือน ละลายน้ำรดโคนต้น บริเวณทรงพุ่ม

- คลุมโคนต้นด้วยเศษพืชแห้งหนาๆ เต็มพื้นที่บริเวณทรงพุ่ม ล้ำออกไปถึงนอกเขตทรงพุ่ม
- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 21-7-14 (2 ล.) /ไร่ /เดือน รดทั่วแปลง ทุกตาราง นิ้ว

หมายเหตุ :
- เริ่มบำรุงเมื่อผลเท่าเมล็ดถั่วเขียว หรือหลังกลีบดอกร่วง
- ช่วงผลเล็กเริ่มโชว์รูปทรงผลแล้วให้ “น้ำ 100 ล. + จิ๊บเบอเรลลิน 10 กรัม” ฉีดพ่น 1 รอบพอเปียกใบ จะช่วยบำรุงผลไม่ให้เกิดอาการผลแตกผลร่วงตลอดอายุผลได้ดี

- เริ่มบำรุงเมื่อเปลือกหุ้มเมล็ดเริ่มแข็ง (เข้าไคล) การที่จะรู้ว่าเมล็ดเริ่มเข้าไคลให้ใช้วิธีสุ่มเก็บลงมาผ่าดูลักษณะภายในผล

- วัตถุประสงค์เพื่อขยายขนาดผลและลดขนาดเมล็ด (หยุดเมล็ด-สร้างเนื้อ) ทำให้ผลมีเนื้อมาก แต่เมล็ดเล็กหรือลีบ

11. บำรุงผลแก่ :
ทางใบ :
- ให้ไบโออิ 0-21-74 + สารสมุนไพร 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน และให้รอบสุดท้ายก่อนเก็บเกี่ยว 7-10 วัน ด้วยการฉีดพ่นพอเปียกใบ

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- เปิดหน้าดินโคนต้น และนำอินทรีย์วัตถุออก
- ให้ 13-13-21 หรือ 8-24-24 สูตรใดสูตรหนึ่ง (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก. ต้นใหญ่) /ต้น ละลายน้ำรดโคนต้น บริเวณทรงพุ่ม แล้วงดน้ำเด็ดขาด

หมายเหตุ :
- เริ่มให้ก่อนเก็บเกี่ยว 7-10 วัน 1-2 รอบห่างกันรอบละ 5-7 วัน
- การให้ 13-13-21 เหมาะสำหรับต้นที่มีผลรุ่นเดียวกันทั้งต้น แต่หลังจากเก็บเกี่ยวผล ผลิตแล้วต้นมักโทรมจึงต้องเร่งบำรุงฟื้นฟูความสมบูรณ์ของต้น (เรียกใบอ่อน) กลับคืนมาโดยเร็วแล้วจึงเข้าสู่วงรอบการบำรุงใหม่

- การให้ 8-24-24 เหมาะสำหรับต้นที่มีผลหลายรุ่นในต้นเดียวกันหรือประเภททะวายทยอยออก แบบไม่มีรุ่นซึ่งหลังจากเก็บเกี่ยวผลแก่จัดไปแล้วต้นไม่โทรม ใน 8-24-24 เป็นปุ๋ยประเภทสะสมอาหารเพื่อการออกดอกซึ่งจะส่งผลให้กิ่งที่ยังไม่ออกดอกเกิดอาการอั้นแล้วออกดอกติดผลเป็นผลรุ่นใหม่ได้

- ระยะผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยวถ้ามีการให้กลูโคสสำหรับมะม่วงกินสุกเมื่อผลสุกเนื้อในจะนิ่มหรือเละ

ราดสารพาโคลบิวทาโซล :
พาโคลบิวทาโซล คือ ฮอร์โมนยับยั้งการเจริญเติบโต มีประสิทธิภาพในการหยุดการพัฒนาทางต้น ทำให้ต้นหยุดการเจริญเติบโตทางใบหรือหยุดการแตกใบอ่อน หลังจากต้นได้สะสมอาหารเพื่อการออกดอกไว้เต็มที่แล้ว ในขณะที่ระบบพัฒนาการของต้นซึ่งต้องดำเนินไปอย่างต่อเนื่องนั้น เมื่อไม่อาจพัฒนาให้เป็นยอดหรือใบได้จึงพัฒนาเป็นดอกแทน การใช้ฮอร์โมนยับยั้งการเจริญเติบโตบังคับต้นไม่ให้แตกใบอ่อนแต่ออกดอกแทนเป็นการทรมานต้นโดยตรง หากต้นถูกทรมานมากๆย่อมมีโอกาสโทรมแล้วตายได้ ดังนั้นการใช้ฮอร์โมนบังคับมะม่วงให้ออกดอกได้โดยต้นไม่โทรมและได้ผลผลิตดีจึงควรทำตามขั้นตอน ดังนี้

1. สภาพต้นต้องสมบูรณ์เต็มที่ ผ่านการบำรุงแบบให้มีสารอาหารกินตลอด 24 ชม.ต่อเนื่องมาแล้วหลายๆปี

2. การบริหารจัดการด้านปัจจัยพื้นฐานการเกษตร (ดิน-น้ำ-แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล-ปุ๋ย-พันธุ์-โรค)ถูกต้องตรงตามความต้องการทางธรรมชาติที่แท้จริง

3. อายุต้นเป็นสาวเต็มที่ และเคยให้ผลผลิตมาแล้วไม่น้อยกว่า 2-3 รุ่น
4. อัตราใช้สารพาโคลบิวทาโซลชนิด 10% ต่ออายุต้น
- อายุต้น 2-4 ปี อัตราใช้ 20-40 ซีซี./ต้น
- อายุต้น 5-6 ปี อัตราใช้ 60-80 ซีซี./ต้น
- อายุต้น 7-8 ปี อัตราใช้ 80-100 ซีซี./ต้น

5. ใช้ในอัตราเข้มข้นเกินช่อดอกที่ออกมาจะเป็นกระจุกไม่ติดเป็นผลแต่ถ้าใช้อัตราต่ำเกินไปก็จะไม่ได้ผล หรือแทงช่อดอกช้ากว่ากำหนดมากหรืออาจแตกใบอ่อนแทนก็ได้

6. ราดสารฯ เมื่อใบเพสลาด (ใบพวงหรือใบกลางอ่อนกลางแก่)ได้ผลแน่นอนกว่าราดสารฯ ช่วงใบแก่แล้ว

7. สารพาโคลบิวทาโซลชนิดผงให้ละลายในแอลกอฮอร์ ชนิดน้ำให้ละลายในน้ำกลั่น คนให้แตกตัวดีก่อนแล้วจึงผสมกับน้ำเปล่า .... น้ำเปล่าที่ใช้ผสมควรปรับค่ากรดด่าง 6.0-6.5 เพื่อหลีกเลี่ยงปฏิกิริยา "กรด + ด่าง = เกลือ + น้ำ" ซึ่งจะทำให้สารฯ เสื่อมประสิทธิภาพ

8. ก่อนลงมือราดสารฯ ให้เปิดหน้าดินนำเศษพืชคลุมโคนต้น (ถ้ามี)ทั่วบริเวณทรงพุ่มโคนต้นออกก่อน แล้วรดน้ำบริเวณที่จะราดสารฯ ล่วงหน้า 1วันให้ดินชุ่มชื้นดี

9. มะม่วงอายุต้นต่ำกว่า 5 ปี ให้ราดชิดและรอบโคนต้น อาจจะทำร่องรอบโคนต้นก่อนแล้วราดน้ำละลายสารแล้วลงในร่องนั้นก็ได้ .... มะม่วงอายุต้นมากกว่า 5 ปี ให้ราดทั่วพื้นที่บริเวณทรงพุ่มด้านใน 1 ส่วน ราดชายพุ่มบริเวณที่มีปลายรากฝอยอยู่จำนวนมาก 3 ส่วน

10. หลังจากราดสารฯ แล้วต้องระดมให้น้ำเต็มที่แบบวันต่อวัน 3-5 วันติดต่อกัน
11. หลังจากราดสารฯ 1-1 เดือนครึ่ง ถ้าสภาพอากาศอำนวย มะม่วงพันธุ์เบาหรือพันธุ์ทะวายก็จะแทงช่อดอกออกมาและ 2-2 เดือนครึ่ง มะม่วงพันธุ์หนักหรือมะม่วงปีจึงจะแทงช่อดอก....ถ้าครบกำหนดที่มะม่วงควรจะแทงช่อดอกได้แล้วแต่ยังไม่ออกให้เปิดตาดอกด้วย 13-0-46 หรือ 13-0-46 + 0-52-34 (สูตรใดสูตรหนึ่ง) ตามความเหมาะสม

12. ถ้าราดสารฯ และเปิดตาดอกแล้วดอกไม่ออกห้ามราดซ้ำรอบสอง เพราะการราดซ้ำอีกครั้งไม่ได้ทำให้มะม่วงออกดอกแต่กลับทำให้ต้นโทรมหนักยิ่งขึ้น

13. ไม่ควรราดสารฯ แบบปีต่อปี เพราะสารฯ ที่ราดลงไปแต่ละครั้งที่ตกค้างอยู่ในดินยังออกฤทธิ์ต่อได้อย่างน้อย 1-2 รุ่นการผลิต ในปีรุ่งขึ้นของการผลิตถ้าต้นสมบูรณ์ดีให้บำรุงสะสมอาหารเพื่อการออกดอกแล้วปรับ ซี/เอ็น เรโช ดีๆ ก็สามารถเปิดตาดอกได้เลย แต่ถ้าต้นไม่สมบูรณ์หรือโทรมมากจะต้องระงับการราดสารฯ เด็ดขาดอย่างน้อย 2-3 ปี

14. ไม่ควรขายพันธุ์ (ตอน/ทาบ)จากต้นแม่ที่ราดสารฯ เพราะกิ่งพันธุ์ที่ได้เมื่อนำไปปลูกจะเจริญเติบโตช้ามาก

15. ดอกและผลที่ออกมาหลังราดสารฯ จะต้องได้รับการบำรุงโดยเฉพาะ ธาตุอาหาร-ฮอร์โมน ทั้งทางรากและทางใบมากกว่าต้นที่มีดอกและผลออกมาด้วยวิธีบำรุงตามปกติ

16. ในเนื้อดินที่ราดสารฯ ลงไป สารจะตกค้างนาน เมื่อเลิกปลูกมะม่วงแล้วปลูกพืชใหม่ (ทุกชนิด)ลงไป พืชใหม่จะไม่โตหรือโตช้ามากๆ จนบางครั้งนั่งหลุมตายไปเลยก็มี

หมายเหตุ :
การราดสารพาโคลบิวทาโซลเป็นการบังคับแบบทรมานต้น นอกจากทำให้ต้นโทรมแล้วยังต้องทำแบบปีเว้นปี หรือทำปีเว้น 2 ปี ทำให้เสียเวลาและโอกาส แต่หากเปลี่ยนวิธีการมาเป็นบังคับแบบบำรุงให้ต้นสมบูรณ์สูงสุด นอกจากจะไม่ทำให้ต้นโทรมแล้วยังมีโอกาสสร้างผลผลิตได้ทุกปีอีกด้วย

มะม่วงกับสปริงเกอร์ กะเหรี่ยงเจ้าพระยา :
สปริงเกอร์หม้อปุ๋ยหน้าโซน ฉีดพ่นบ่อยๆ ฉีดประจำๆ ลำพังศัตรูพืชตัวเล็กแค่ปลายไม้จิ้มฟัน จะมีภูมิต้านทานอะไรนักหนา โดนสารออกฤทธิ์ในสมุนไพรเข้าไป 2-3-4 ครั้ง ก็อยู่ไม่ได้แล้ว ปัญหาก็คือ ฉีดบ่อยๆ ฉีดประจำๆ ชนิดวันต่อวันหรือวันเว้นวัน ต้องใช้เครื่องมืออะไร แบบไหน

ลองเปรียบเทียบระหว่าง เครื่องฉีดพ่นที่เป็นสปริงเกอร์ ฉีดพ่นครั้งละ 50 ต้น กับ เครื่องฉีดพ่นแบบลากสายยาง หรือแบบอื่นๆ ที่ฉีดพ่นทีละต้นๆ อย่างไหน ประหยัด (เวลา แรงงาน) ประสิทธิภาพประสิทธิผล มากกว่ากัน.... ก็มีนะที่บางคนบอกว่า สปริงเกอร์ฉีดพ่นได้ไม่ทั่วทรงพุ่ม อันนี้ก็อยากจะบอกว่า ไม่จริง ที่ฉีดพ่นได้ไม่ทั่วทรงพุ่มเพราะ ติดผิดแบบ ว่าตั้งแต่รัศมีพ่นน้ำ ละอองน้ำที่พ่นออกมา สปริงเกอร์ที่ไร่กล้อมแกล้ม ไม้ผล 1 ต้น สปริงเกอร์ทางใบ 1 หัว ตอนลมปกติก็เปียกได้ทั่วทางพุ่ม ตอนมีลมพัดละอองน้ำจะปลิวซัดไปทั่วทั้งสวน .... แม้ว่าสปริงเกอร์จะทำงานได้ระดับนี้ก็ไม่ใช่ได้ผล 100% บางสถานการณ์โรคบางชนิด แมลงศัตรูพืชบางอย่าง อาจจะแทรกเข้ามาได้ เพราะฉะนั้นจึงควรใช้วิธี ไอพีเอ็ม. หรือการป้องกันกำจัดแบบผสม ผสาน คือ ใช้หลายอย่างร่วมกัน เช่น กับดักกาวเหนียว, แสงไฟล่อ, แสงไฟไล่, กลิ่นล่อ, กลิ่นไล่, รวมไปถึงแมลงธรรมชาติ เช่น มดแดงกำจัดหนอน แมลงตัวห้ำตัวเบียน และบำรุงพืชให้สมบูรณ์แข็งแรง เป็นภูมิต้านทานในตัวของต้นพืชเอง

ขอให้เกษตรกรทบทวนตัวเองใหม่ว่า ในอดีตที่ผ่านมา รุ่นแล้วรุ่นเล่า ครั้งแล้วครั้งเล่า ของเขาของเรา ความสูญเสียที่เกิดจากศัตรูพืชรวมแล้วเป็นเท่าไหร่ อนาคตข้างหน้าจะต้องสูงสูญเสียอีกเท่าไหร่ กับการที่คิดว่า สปริงเกอร์แพงสปริงเกอร์แพง สิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ

ไร่กล้อมแกล้ม มะม่วง 10 โซน ๆละ 50 ต้น รวม 500 ต้น วันนี้ขึ้นปีที่ 10 ไม่เคยใช้สารเคมีใดๆ แก่ศัตรู พืชใดๆ ทั้งสิ้น ใช้แต่สมุนไพร สมุนไพรก็ไม่ได้ใช้บ่อยๆแบบวันต่อวัน วันเว้นวัน ตลอดทั้งปี ใช้จริงๆก็เฉพาะช่วงวิกฤต เช่น ช่วงใบอ่อน ช่วงออกดอก ช่วงผลเล็ก เท่านั้น ทั้งหมดทั้งสิ้นนี้มิใช่มะม่วงอย่างเดียว ไม้ผลอื่นๆก็อีหร็อบเดียวกัน

************************************************************




มะละกอ


http://relatedar.blogspot.com


ลักษณะทางธรรมชาติ :
- เป็นไม้ผลยืนต้นอายุหลายสิบปี ปลูกได้ในทุกพื้นที่ ทุกภาคและในดินทุกชนิด เจริญเติบโตได้ดีในดินดำร่วน หรือดินเหนียวปนทรายมีอินทรีย์วัตถุมากๆ ระบายน้ำได้ดีมีความชื้นแต่ไม่ทนต่อสภาพน้ำท่วมขังค้างนาน
- การที่มะละกอมีอายุเพียง 3-5 ปีหรือกลายเป็นพืชอายุข้ามปีเท่านั้น เนื่องมาจากการจัดการเกี่ยวกับปัจจัยพื้นฐานด้านการเกษตร (ดิน-น้ำ-แดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล-อาหาร-พันธุ์-โรค) ไม่ถูกต้องตรงกับความต้องการตามธรรมชาติที่แท้จริงของมะละกอ
- ให้ผลผลิตตลอดปีแบบไม่มีรุ่น แต่จะให้ผลผลิตมากปีละ 3 รุ่น
- ออกดอกจากซอกก้านใบทุกก้าน ถ้ามีใบมาก (ไม่เรียกว่าเฝือใบ) จะมีดอกและผลมากตามมาด้วย
- ตอบสนองต่อปุ๋ยน้ำ-ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพและฮอร์โมนธรรมชาติดีมาก
- ต้องการมะละกอต้นเตี้ยให้ปลูกต้นกล้าลงแปลงจริงช่วงเดือน ธ.ค.- มี.ค. (หน้า แล้ง) แล้วรดน้ำบ้างพอให้ยืนต้นได้ซึ่งต้นจะไม่ตายแต่โตช้ากว่าปกติเท่านั้น ครั้นเมื่อถึงอายุให้ผลผลิตได้ก็จะออกดอกติดผลตาม ปกติแต่ต้นจะเตี้ย
ต้นกระเทย : คือต้นที่มีดอกสมบูรณ์เพศ เกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน และผสมกันเองได้ ผลที่เกิดมาตรงตามสายพันธุ์เดิม
ต้นตัวผู้ : คือต้นที่ดอกมีแต่เกสรตัวผู้ ไม่สามารถเป็นผลได้
ต้นตัวเมีย : คือต้นที่ดอกมีแต่เกสรตัวเมีย ต้องอาศัยละอองเกสรตัวผู้จากต่างต้น จึงทำให้ผลที่ออกมาผิดเพี้ยนไปจากสายพันธุ์เดิม
- ต้นที่ปลูกจากเพาะเมล็ดต้องรอให้ต้นโตจนมีผลผลิตออกมาให้เห็น (ประมาณ 6-8 เดือน) จึงจะรู้ว่าเป็นต้นกระเทย. ต้นตัวผู้ หรือต้นตัวเมีย ซึ่งค่อนข้างใช้เวลานาน บางคนแก้ ปัญหาโดยหยอดเมล็ดหลุมละ 3 เมล็ด หรือปลูกต้นกล้าหลุมละ 3 ต้น แล้วบำรุงเลี้ยงไปตาม ปกติ จนกระทั่งทุกต้นมีดอกหรือผลออกมาให้เห็นจึงเลือกตัดต้นตัวผู้และต้นตัวเมียทิ้ง คง เหลือแต่ต้นกระเทยไว้เพียงต้นเดียว แต่ถ้าเป็นต้นตัวเมียหรือต้นตัวผู้ทั้งหมดก็ตัดทิ้งทั้ง หมด หรือถ้าเป็นต้นกระเทยทั้งหมดก็จะเก็บไว้เพียงต้นเดียว
- สภาพอากาศที่แปรปรวนอย่างมาก เช่น หนาวจัด ร้อนจัด ก็มีผลต่อการแปรปรวนของเพศดอก โดยต้นตัวผู้หรือต้นตัวเมียอาจจะให้ผลผิดเพี้ยนไปบ้าง เมื่อเข้าสู่สภาพอากาศปกติแล้วอาการแปรปรวนทางสายพันธุ์นี้จะหายไป ส่วนต้นกระเทยจะไม่มีอาการแปรปรวนทางสายพันธุ์แต่อย่างใด เพียงแต่ปริมาณผลผลิตอาจจะลดลงบ้างเท่านั้น
- วิธีทำมะละกอ 1 ต้นให้เป็น 3 ต้น โดยเริ่มจากปลูกต้นแรกก่อนรอจนกระทั่งรู้แน่ว่าเป็นต้นกระเทย เมื่อมะละกอกระเทยต้นแรกนี้โตขึ้นสูง 1-1.20 ม. ให้ตัดต้นเหลือเป็นตอสูงจากพื้น 30-50 ซม. ทาแผลด้วยปูนกินหมากเพื่อป้องกันเชื้อโรค มีถุงพลาสติกครอบไว้ป้องกันน้ำ แล้วบำรุงต่อไปตามปกติ ตอจะยอดแตกใหม่จำนวนมากก็ให้เลือกเก็บไว้ 2-3 ยอดอยู่ตรงข้ามกัน ยอดที่เหลือทั้งหมดให้ตัดทิ้ง จากนั้นบำรุงต่อไปตามปกติ เมื่อยอดทั้ง 3 โตขึ้นก็จะให้ผลผลิตเหมือนมะละกอทั่วๆไปกลายเป็นมะลำกอ 3 ต้นบนตอเดียวกัน
- มะละกอต้นสูงทำให้เตี้ยได้ เมื่อต้นสูงเกินความต้องการ โดยเจตนาทำให้ต้นล้มลงนอนราบกับพื้น ด้วยการแซะหน้าดินพร้อมกับตัดรากยึดลำต้นด้านตรงข้ามกับด้านที่ต้องการให้ต้นลมลงนอน พยายามตัดรากให้น้อยที่สุดหรือตัดเฉพาะรากที่ทำหน้าที่ยึดลำต้นจริงๆ เพื่อให้เหลือรากดูดสารอาหารไว้อย่างเดิมมากที่สุด เมื่อต้นเริ่มๆเองลง ใช้มือช่วยส่งผลักให้ต้นเอนลงไปทางทิศที่ต้องการจริงๆ เมื่อส่วนยอดใกล้ถึงพื้น ใช้ไม้ง่ามแข็งแรงรองรับต้นไว้ ให้สูงกว่าพื้นพื้นดิน 50-75 ซม. จังหวะนี้ยอดหรือผลมะละกอที่เคยสูงก็จะต่ำลงมาอยู่เหนือจากพื้นเพียง 50 ซม.เท่านั้น ส่วนปลายใบด้านล่างของต้นสัมผัสกับพื้น ให้ปล่อยไว้อย่างนั้น จัดระเบียบทิศทางและความสูงใหม่ของต้นเสร็จแล้ว ให้กลบรอยขุดรากด้วยดินปลูกที่เตรียมไว้ล่วงหน้า กดดินแน่นพอประมาณ คลุมทับด้วยหญ้าแห้งหนาๆ รดด้วยน้ำหมักชีวภาพ .... ส่วนยอดของต้น ใหม่ๆจะชี้ระนาบไปกับพื้น เมื่อต้นฟื้นตัวได้ ส่วนยอดจะค่อยๆ ปรับตัวชี้ตรงขึ้นฟ้าตามธรรมชาติ พร้อมกับออกดอกติดลผลต่อได้เอง
- มะละกออ่อนแอต่อสารกำจัดวัชพืช (ยาฆ่าหญ้า) อย่างมาก เพียงกลิ่นระเหยลอยตามลมก็ทำให้มะละกอต้นนั้นเกิดอาการใบหงิกเสียหายได้
- มะละกอไม่ชอบดินแฉะ หรือรากแช่น้ำ แนะนำให้ทำร่องระบายน้ำจากทรงพุ่มพร้อมกับพูนดินโคนต้นให้สูงๆไว้ จะช่วยให้อายุยืนนานขึ้น
- โรคใบหงิกหรือใบด่างเกิดจากเชื้อไวรัสโดยมีแมลงปากกัดปากดูดทุกประเภทเป็นพาหะ ปัจจุบันไม่มีสารเคมียี่ห้อใดในโลกแก้ไขโรคนี้ได้ แนวทางแก้ไข คือ
1) ป้องกันแมลงพาหะ โดยการฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรให้ตรงกับชนิดแมลงและช่วงจังหวะที่แมลงนั้นจะเข้ามา
2) บำรุงต้นให้สมบูรณ์ด้วย ธาตุรอง/ธาตุเสริม อยู่เสมอ
- ไม่ควรปลูกพืชที่ล่อแหลมต่อการแพร่ระบาดของเพลี้ย (ทุกชนิด) แซมแทรกหรือใกล้เคียงกับแปลงปลูกมะละกอ เพราะเพลี้ยจะเป็นพาหะนำเชื้อไวรัสมาสู่มะละกอได้
- ลงมือเพาะเมล็ดมะละกอช่วงเดือน ม.ค. แล้วย้ายกล้าลงปลูกในแปลงจริงช่วงเดือน มี.ค. จะเริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิตชุดแรกได้ในช่วงเดือน ต.ค. ช่วงนี้มะละกอราคาดีเนื่องจากไม่มีผลไม้อื่นเป็นคู่แข่ง
- การเก็บเกี่ยวผลแก่จัดตรงกับช่วงฤดูหนาวที่อากาศค่อนข้างหนาว เมื่อผลนั้นสุกความหวานจะลดลง ดังนั้นจึงควรเก็บเกี่ยวสำหรับรับประทานผลสุกในช่วงฤดูแล้งจึงจะได้ความหวานสูง

เพาะเมล็ด :
1. เลือกเมล็ดในผลจากต้นแม่ที่เป็นต้นกระเทย แข็งแรง ตั้งตรง อวบอ้วน ปล้องถี่ ออกดอกติดผลตั้งแต่ต้นยังเตี้ย และให้ผลผลิตจำนวนมากติดต่อกันเป็นเวลานานๆ คุณภาพผลดี
2. เลือกผลสุก 50-75% คาต้น ผ่าผลนำเมล็ดออกมาแล้วล้างเนื้อและเปลือกหุ้มเมล็ดออก แช่เมล็ดในไคตินไคโตซาน หรือธาตุรอง/ธาตุเสริม 6-12 ชม. นำลงเพาะในกระบะหรือถุงดำหรือในแปลงปลูกจริงทันที ทั้งนี้เมล็ดมะละกอไม่ต้องการพักตัว ถ้าเก็บไว้นาน เปอร์เซ็นต์ความงอกจะลดลงจนไม่งอกหรืองอกขึ้นมาจนโตแล้วก็จะให้ผลผลิตไม่ดี ....เมล็ดที่ได้จากผลสุกงอมเมื่อนำไปขยายพันธุ์ต่อจะเกิดอาการกลายพันธุ์สูงมาก

สร้างเมล็ดพันธุ์ :
1. คัดเลือกต้นแม่พันธุ์กระเทยที่มีคุณสมบัติดีพร้อมทุกประการ ปฏิบัติบำรุงตามขั้นตอนเพื่อให้ได้ผลคุณภาพดี
2. เลือกดอกสมบูรณ์ที่สุดของต้น 1-2 ดอก อยู่ตรงข้ามกัน ช่วงใกล้บานให้ห่อดอกด้วยถุงใยสังเคราะห์ ปิดปากถุงให้มั่นคงเพื่อป้องกันการผสมข้าม และเพื่อเปิดโอกาสให้เกสรในดอกผสมกันเอง
3. เมื่อดอกที่ห่อด้วยถุงใยสังเคราะห์ผสมติดเป็นผลแล้ว และเมื่อขนาดผลโตเท่ามะนาวให้ถอดถุงออกแล้วบำรุงต่อไปตามปกติ

4. บำรุง :
ทางใบ :
- ให้ไบโออิ 15-45-15 (2 รอบ) สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน
- ฉีดพ่นสารสมุนไพร ทุก 3-5 วัน เพื่อกันก่อนแก้....
ทางราก :
- ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 15-45-15 เดือนละครั้ง....ไม่ต้อง +เพิ่มปุ๋ยเคมี
5. เลือกมะละกอผลสุก รูปทรงผลตรงตามสายพันธุ์ สดใหม่ สมบูรณ์ ขนาดใหญ่กว่ามาตรฐานสายพันธุ์ สุก 75% (สีแดงหรือเหลือง 75% ของผิวทั้งผล) นำมาผ่าตามขวาง 3 ท่อน เลือกเอาเมล็ดเฉพาะท่อนกลาง คัดเมล็ดขนาดใหญ่ สีดำสนิท ซึ่งจะมีโอกาสเป็นต้นกระเทยได้มากกว่าเมล็ดขนาดเล็ก หรือมีสีเทา ได้เมล็ดมาแล้วล้างเอาเมือกหุ้มเมล็ดออก นำเมล็ดไปตากแดดจัด 2-3 แดด ตากแดดแล้วพร้อมนำไปเพาะต่อต่อ หรือเก็บในที่ไม่มีความชื้นได้นานข้ามปี
6. เมล็ดจากช่วงกลางผลจะเป็นกะเทยมากที่สุด
7. เมล็ดสีดำ สมบูรณ์ ใหญ่ มีเปอร์เซ็นต์เป็นต้นกระเทยสูงกว่าเมล็ดสีขาว/เทา
8. นำเมล็ดที่ได้ไปเพาะตามปกติ ต้นที่เกิดมาเมื่อโตขึ้นจะให้ผลผลิตตรงตามสายพันธุ์ต้นแม่ค่อนข้างสูง หรืออาการกลายพันธุ์ค่อนข้างน้อย

ปักชำ :
1. ตัดต้นกระเทยตั้งแต่โคนถึงยอดออกเป็นท่อนๆ ยาว 10-15 ซม. มีตุ่มตาหลายๆตา ตัดท่อนพันธุ์ด้วยมีดคมจัดเพื่อให้แผลเรียบ ตัดเป็นท่อน แช่ไคตินไคโตซานหรือธาตุรอง/ธาตุเสริม นาน 6-12 ชม.
2. แช่ครบกำหนดแล้วนำขึ้นผึ่งลมให้แห้ง ทาแผลด้วยปูนกินหมาก ทิ้งไว้ในร่มอากาศถ่ายเทสะดวกนาน 24-48 ชม. เพื่อให้ท่อนพันธุ์เกิดความเครียด
3. นำท่อนพันธุ์ที่เครียดดีแล้วปักในวัสดุเพาะชำธรรมดา ให้ตุ่มตาฝังดินลึก 2-3 ตุ่ม คลุมทับด้วยเศษฟางบางๆ รดน้ำแบบพ่นฝอยวันละ 4-5 ครั้ง เมื่อท่อนพันธุ์แตกรากและใบแล้วจึงแยกออกมาเพาะต่อในถุงดำ อนุบาลในโรงเรือนจนกระทั่งแข็งแรงดีจึงนำลงปลุกในแปลงจริงต่อไป

เปลี่ยนเพศมะละกอ (โดยการเสียบยอด) :
1. ตัดตอต้นกระเทย บำรุงเรียกยอด
2. ตัดตอต้นตัวผู้หรือต้นตัวเมีย บำรุงเรียกยอด
3. เมื่อยอดต้นกระเทยและตัวเมีย โตประมาณ 1 ซม. ให้ตัดยอดต้นตัวผู้ ผ่าเป็นง่ามหนังสติ๊ก แล้วตัดยอดจากต้นกระเทยทำเป็นลิ่มมาเสียบลงบนง่ามหนังสติ๊กของต้นตัวผู้หรือตัวเมีย เสร็จแล้วรัดแผลด้วยเทปพลาสติกเหมือนการเสียบยอดไม้ผลทั่วๆไป เมื่อยอดโตที่เสียบขึ้นจะให้ผลเหมือนต้นกระเทยเดิม


ขั้นตอนการปฏิบัติบำรุงต่อมะละกอ
1. ระยะกล้า :
ทางใบ :
- ให้ไบโออิ 25-5-5 + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน ช่วงเช้าแดดจัด ฉีดพ่นให้เปียกโชกทั้งใต้ใบบนใบลงถึงพื้นดินโคนต้น
- ฉีดพ่นสารสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
หมายเหตุ :
- การให้ไบโออิ 25-5-5 จะช่วยให้ได้ใบขนาดใหญ่หนาเขียวเข้ม เป็นใบที่มีคุณภาพดีกว่าใส่ปุ๋ยสูตรเสมอ
ทางราก :
- ใส่ยิบซั่ม ปุ๋ยอินทรีย์ กระดูกป่น ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ (แห้งเก่าข้ามปี) แล้วคลุมโคต้นด้วยหญ้าแห้งหนาๆ
- ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 (1-2 ล.) /ไร่ ด้วยการรดโคนต้น เดือนละครั้ง
- ให้น้ำปกติ ทุก 3-5 วัน
หมายเหตุ :
- ต้องเลี้ยงนาน 6-8 เดือน รอให้ออกดอกติดผลแล้วนั่นแหละจึงจะรู้แน่ว่า ต้นไหนตัวผู้ ต้นไหนกระเทย หรือต้นไหนตัวเมีย
- ต้นตัวผู้ ก้านดอกยาวมาก ยาวเป็นเมตร ไม่ติดลูก .... ต้นตัวเมีย ก้านดอกสั้น สั้นมากๆ เกือบติดต้น ให้ผลรูปทรงผิดเพี้ยนไปจากพันธุ์แท้ ส่วนใหญ่กลมสั้น .... ต้นกระเทย ก้านดอกยาวปกติ ให้ผลผลิตทุกอย่างตรงตามสายพันธุ์

2. ระยะต้นโตให้ผลผลิตแล้ว :
ทางใบ :
- ให้สูตรสหประชาชาติ (ไบโออิ ไทเป ยูเรก้า ) + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7-10 วัน
- ฉีดพ่นสารสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
หมายเหตุ :
- ให้ “น้ำตาลทางด่วน” (กลูโคส น้ำมะพร้าวแก่) 1-2 เดือนต่อครั้ง
- ฉีดพ่นสารสมุนไพรบ่อยๆ เพื่อกันก่อนแก้
ทางราก :
- ใส่ยิบซั่ม ปุ๋ยอินทรีย์ กระดูกป่น ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ หญ้าแห้งใบไม้แห้งคลุมโคนต้นหนาๆ,
- ให้ปุ๋ย 8-24-24 สลับเดือนกับ 21-7-14 (250 กรัม) /ต้น /เดือน ละลายน้ำรดโคนต้น เขตทรงพุ่ม
- ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 8-24-24 (2 ล.) สลับเดือนกับ ระเบิดเถิดเทิง 21-7-14 (2 ล.) ตามปุ๋ยเคมีธาตุหลัก 2/เดือน /ไร่ รดทั่วแปลงทุกตารางนิ้ว
- ติดสปริงเกอร์เหนือยอด/โคนต้น หม้อปุ๋ยหน้าโซน/ถังปุ๋ยที่ปั๊ม แยกวาวล์ทางใบกับทางราก ใช้งานให้ ปุ๋ย/ยาสมุนไพร ได้ทุกเวลาตามต้องการ


-------------------------------------------





มะพร้าว


https://plus.google.com/107715009386672974642


http://board.postjung.com/884614.html

ลักษณะทางธรรมชาติ :
- เป็นไม้ผลยืนต้นอายุนับร้อยปี ปลูกได้ในทุกภาค ทุกพื้นที่ และทุกฤดูกาล แต่พื้นที่ลุ่มมีน้ำบริบูรณ์จะเจริญเติบโตเร็วและดีกว่าในพื้นที่ดอนมีน้ำน้อย ชอบดินเหนียวร่วนมีอินทรีย์วัตถุมากๆ ทนต่อน้ำท่วมขังค้างนานได้นานนับเดือน แม้ระหว่างถูกน้ำท่วมก็ยังออกดอกติดผลได้ ดังนั้นในพื้นที่ลุ่มมีน้ำท่วมแล้วขังค้างนานบ่อยๆจึงควรเลือกปลูกมะพร้าวเป็นพืชหลัก .... เทคนิคการจัดแปลงปลูกแบบ "ยกร่อง-น้ำหล่อ" จึงเหมาะสมกับมะพร้าวอย่างมาก
- ไม่ชอบการตัดแต่งกิ่ง (ทาง) แต่ให้ปล่อยกิ่งหรือทางไว้บนต้นจนแก่แล้วแห้งคาต้นจึงนำลงมา ถ้าตัดกิ่งหรือทางลงมาจะกระทบกระเทือนต่อการพัฒนาของดอกผล
- ตอบสนองต่อ น้ำ/ปุ๋ย ข้ามปี กล่าวคือ การให้น้ำอย่างเพียงพอและให้ปุ๋ยในเดือนใดของปีนี้ ต้นนั้นจะสมบูรณ์แล้วออกจั่นติดผลในเดือนเดียวกันของปีรุ่งขึ้นเสมอ
- ปีใดให้ผลผลิตน้อยในช่วงหน้าแล้ง แสดงว่าช่วงหน้าแล้งของปีที่แล้ว มะพร้าวต้นนั้นขาดการบำรุงโดยเฉพาะน้ำอย่างถูกต้องและเพียงพอนั่นเอง .... หรือการที่มะพร้าวให้ผล ผลิตดีช่วงหน้าฝนแสดงว่ามะพร้าวต้นนั้นได้รับน้ำซึ่งเป็นช่วงฤดูฝนจากเมื่อปีที่ผ่านมานั่นเอง
- ทุกสายพันธุ์ที่ได้รับการบำรุงอย่างถูกต้องสม่ำเสมอจะออกจั่นติดผลได้ตลอดปีหรือออกจั่นทุก 20 วันหรือ 18 จั่น/ปี จากลักษณะทางธรรมชาติการออกจั่นติดผลแบบนี้ทำให้มะพร้าวมีทั้ง ดอก ผลเล็ก ผลกลาง และผลใหญ่ใกล้เก็บเกี่ยวอยู่ในต้นเดียวกันตลอดปี
- จั่นหรือดอกเมื่อออกมามักติดเป็นผลได้ง่ายแม้ไม่มีการบำรุงใดๆ เพียงให้ต้นได้รับสารอาหารและน้ำบ้าง ดอกที่ออกมาจะสมบูรณ์ การติดผลก็มากขึ้น แต่หากต้นไม่สมบูรณ์หรือไม่ได้รับน้ำและสารอาหารเลย จั่นหรือดอกที่ออกมาไม่สมบูรณ์จึงไม่สามารถพัฒนาเป็นผลได้
- ในต้นที่มีทั้งดอกตูม ดอกบาน ผลเล็ก ผลกลาง ผลใหญ่ และผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยวออกไล่ลำดับกันมานั้นให้บำรุงด้วยสูตรสหประชาชาติ โดยฉีดพ่นทางใบให้โชกทั้งใต้ใบบนใบลงถึงพื้น ทุก 20-30 วัน นอกจากจะช่วยให้ออกดอกติดผลดีแล้วยังทำให้คุณภาพของผลผลิตดีและต้นไม่โทรมอีกด้วย
- ชอบน้ำแบบลักจืดลักเค็ม (น้ำทะเลขึ้นถึง) หรือบริเวณน้ำกร่อยตามธรรมชาติ พื้นที่ปลูกที่ไม่มีน้ำแบบลักจืดลักเค็มหรือไม่มีน้ำกร่อยให้ใส่เกลือแกงโคนต้น ½-1 กก./ต้น (ให้ผลผลิตแล้ว)/ปี หรือให้กากน้ำปลา/กากปลาร้าที่คั้นน้ำออกหมดแล้วผสมกับปุ๋ยคอก 1:10 อัตรา 10-20 กก./ต้น (ให้ผลผลิตแล้ว) /ปี .... การบำรุงโดยฝังปลาทะเลบริเวณโคนต้นเขตทรงพุ่มปีละครั้ง ในปลาทะเลมีโซเดียม และอะมิโนสูงกว่าปลาน้ำจืดจะส่งผลให้มะพร้าวสมบูรณ์ดีขึ้น
- มะพร้าวทุกสายพันธุ์ออกดอกทุก 20 วัน ตลอดปี หรือมี 18 ทะลายบนต้นเสมอมาตรการบำรุงแบบให้มีสารอาหารในดินกินตลอด 24 ชม.ต่อเนื่องหลายๆปีติดต่อกันนอก จากช่วยให้ออกดอกติดผลดกดีแล้วยังคุณภาพดีอีกด้วย
- ต้นโตอายุให้ผลผลิตแล้วมีรากประมาณ 3,000 ราก ยาวกว่ารัศมีทรงพุ่ม 1 ใน 4 แต่ถ้ามีน้ำอยู่ห่างออกไปรากมะพร้าวก็สามารถเจริญยาวไปถึงได้ .... สวนที่มีคันล้อมป้องกันน้ำท่วมไม่ควรปลูกมะพร้าวบนคันล้อมเพราะรากมะพร้าวจะชอนไชดินทำให้น้ำซึมเข้ามาในสวนได้ นอกจากนี้บนคันล้อมซึ่งมีความสูงกว่าปกติอยู่แล้วเมื่อต้นมะพร้าวโตขึ้นจะต้านลม
- ทุกสายพันธุ์เหมาะสมอย่างมากสำหรับการปลูกแบบสวนยกร่องน้ำหล่อ เพราะต้นต้องได้รับน้ำตลอดเวลาซึ่งจะส่งผลให้ออกจั่นติดผลได้ตลอดปี ส่วนสวนพื้นราบเรียบหรือพื้นราบยกร่องแห้งลูกฟูกก็พอได้แต่ต้องถึงน้ำจริงๆ .... ที่ก้นร่องน้ำ ใส่เศษซากพืช ปุ๋ยคอก จุลินทรีย์ ฯลฯ แล้วปล่อยให้หมักอยู่ใต้น้ำก้นร่องอย่างนั้น จากนั้นจึงลอกเลนก้นร่องขึ้นพูนโคนต้นหรือสันแปลงปีละ 1-2 ครั้งก็จะได้ปุ๋ยบำรุงมะพร้าวอย่างดีโดยไม่ต้องพึ่งพาปุ๋ยเคมีแม้แต่เม็ดเดียว
- บำรุงต้นโดยใส่ “เกลือแกง + ปุ๋ยอินทรีย์” ครั้งแรกหลังหมดฝนหรือก่อนเข้าสู่หน้าหนาวต่อ ครั้นเมื่อถึงหน้าแล้งให้ด้วย “น้ำ + ปุ๋ยน้ำชีวภาพ + ธาตุหลัก + ธาตุรอง/ธาตุเสริม + ฮอร์โมน + สารสกัดสมุนไพร” ทั้งทางรากและทางใบอย่างสม่ำเสมอ นอกจากจะช่วยให้มะพร้าวออกจั่นติดผลดีในช่วงหน้าแล้งแล้วยังออกจั่นติดผลตลอดปีไปจนถึงช่วงหน้าแล้งของปีถัดไปอีกด้วย
- ปุ๋ยอินทรีย์ที่ดีสำหรับมะพร้าว คือ ขี้เถ้าหรือถ่านทางมะพร้าว ใบมะพร้าว. เกลือแกง.กากปลาที่เหลือจากการทำน้ำปลา. กากปลาร้า. พุงปลาทะเลสดบดละเอียดผสมน้ำราดโคนต้นทั่วพื้นที่ทรงพุ่ม หรือ ฝังเศษซากปลาทะเลโคนต้น 4-5 หลุม. ทั้งนี้ ในอินทรีย์วัตถุดังกล่าวมีสารโซเดียมซึ่งในซากสัตว์น้ำจืดไม่มี
- การติดสปริงเกอร์เหนือทรงพุ่มใช้เป็นเครื่องทุ่นแรงได้เป็นอย่างดี นอกจากช่วยให้ประหยัดเวลาและแรงงานแล้ว ยังใช้ฉีดพ่นสารอาหารบำรุงต้นรวมทั้งฉีดพ่นสารสมุนไพรได้ทุกช่วงเวลาตามต้องการอีกด้วย
- การพรวนดินบริเวณชายพุ่ม 2-3 ปี/ครั้ง เพื่อตัดแต่งราก แล้วบำรุงด้วยฮอร์โมนบำรุงรากต้นก็จะสร้างรากใหม่ขึ้นมาดีและมากกว่ารากเดิม ช่วยให้ต้นสมบูรณ์ ให้ผลดกและดี
- ปลูกมะพร้าวริมคลองที่เรือผ่านบ่อยๆหรือมะพร้าวริมถนนที่รถแล่นผ่านบ่อยๆ ไอเสียจากเรือและรถจะช่วยให้มะพร้าวต้นนั้นออกดอกติดผลดกดีขึ้น
- มะพร้าวต้นใหญ่ อายุมากๆ ให้ผลผลิตแล้ว สามารถย้ายปลูกได้ด้วยวิธี ล้อม และการปลูกมะพร้าวต้นใหญ่ที่ล้อมมาอย่าปลูกลึกหรือปลูกลึกเพียงมิดเหง้าแล้วบำรุงด้วยฮอร์โมนเร่งรากสม่ำเสมอจะช่วยให้แตกรากใหม่ ตัดทางเก่าทิ้งเหลือแต่ใบอ่อน 2-3 ใบเพื่อลดการคายน้ำก็จะช่วยแตกยอดใหม่ได้เร็ว
- จั่นหรือดอกมีกาบหุ้มไว้ เมื่อก้านจั่นเจริญยาวออกมาจนดอกบานแล้วกาบหุ้มจั่นเปิดไม่เต็มที่ให้แกะกาบหุ้มออกบ้างเพื่อให้ลมพัดละอองเกสรทั้งในดอกเดียวกันหรือต่างดอกต่างต้นเข้ามาผสมด้วยก็จะส่งผลให้มีผลดกขึ้น
- ในน้ำมะพร้าวอ่อนมีฮอร์โมนจิ๊บเบอเรลลิน (ใช้ในงานเพาะเนื่อเยื่อ). ในน้ำมะพร้าวแก่มีโฮโมนไซโตคินนิน. แคลเซียม. โปแตสเซียม. แม็กเนเซียม. อะมิโน. เอสโตรเจน. และกลูโคส. (เป็นเคมีชีวะ) ที่พืชสามารถนำไปใช้ได้ทันที
- ผลเล็กร่วงสาเหตุมาจากไนโตรเจน (จากน้ำหรือปุ๋ย) มากเกิน แก้ไขโดยให้ธาตุรอง/ธาตุเสริมทางใบหรือทางราก จะสามารถช่วยแก้อาการผลเล็กร่วงได้
- มะพร้าวนั่งทาง หมายถึง ทะลายของมะพร้าวตั้งอยู่บนส่วนโคนทางพอดี การมีทางช่วยรับน้ำหนักทั้งทะลายไว้ไม่ปล่อยให้ห้อยลงมานั้นทำให้งวงทะลายไม่หักงอ ถ้างวงทะลายหักงอจะทำให้ไม่สามารถส่งน้ำเลี้ยงไปยังผลได้ .... มะพร้าวต้นใดที่ทะลายผลไม่นั่งอยู่บนโคนทาง แก้ไขโดยการใช้เชือกรั้งจั่นตั้งแต่เริ่มออกใหม่ๆ ให้อยู่ตรงกับโคนทาง เมื่อจั่นกลายเป็นผลก็จะตั้งอยู่บนโคนทางได้ หรือใช้เชือกรั้งตั้งแต่ยังเป็นทะลายผลขนาดเล็กก็ได้
- ล้างคอ หมายถึง การทำความสะอาดบริเวณคอมะพร้าว โดยการนำกาบจั่นแห้งออกเพื่อให้บริเวณคอ โปร่ง ลมพัดผ่านสะดวก และไม่เป็นแหล่งสะสมโรคและแมลง
- ถีบทาง หมายถึง การขึ้นไปคอมะพร้าว ยืนบนทางแล้วขย่มด้วยน้ำหนักตัวให้โคนทางถ่างกางออกเล็กน้อย เพื่อช่วยให้จั่นแทงออกมาได้สะดวก
- ดอกตัวผู้กับดอกตัวเมียอยู่ในจั่นเดียวกันแต่แยกกันอยู่คนละดอก ในมะพร้าวแกงนั้น เกสรตัวผู้จะเกิดและพร้อมผสมก่อนเกสรตัวเมีย ส่วนเกสรตัวเมียเกิดทีหลังและพร้อมรับการผสมได้หลังจากที่ดอกและเกสรตัวผู้ร่วงหมดแล้ว ทำให้โอกาสจะผสมกันเองด้วยเกสรตัวผู้และตัวเมียในต้นเดียวกันมีน้อยมาก จำเป็นต้องอาศัยเกสรตัวผู้จากต่างดอกหรือต่างต้นเป็นหลัก ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีแมลงหรือสายลมช่วยพัดพาละอองเกสรตัวผู้เข้าผสมกับเกสรตัวเมีย
- มะพร้าวน้ำหอมอยู่ในกลุ่มมะพร้าวสายพันธุ์เตี้ย อัตราการเจริญเติบโตทางสูงค่อน ข้างช้า ต้นอายุ 15-20 ปี ความสูงประมาณ 10-12 ม. เท่านั้น
- ดอกตัวผู้และดอกตัวเมียในต้นเดียวกัน บานพร้อมผสมได้ในระยะเวลาเดียวกันหรือบานพร้อมๆกัน มีโอกาสได้ผสมกันเองมาก เมื่อนำผลไปขยายพันธุ์จึงมักไม่ค่อยกลายพันธุ์หรือกลายพันธุ์เพียงเล็กน้อย ยิ่งถ้าเป็นมะพร้าวน้ำหอมในสวนขนาดใหญ่ จำนวนหลายๆร้อยต้น แม้จะผสมข้ามต้นแต่ก็ยังเป็นพันธุ์เดียวกันอยู่ดี นอกจากนี้ยังส่งผลมีผลดกอีกด้วย
- ปลูกเตยหอมโคนต้นทั่วบริเวณทรงพุ่ม นอกจากช่วยสร้างความชุ่มชื้นหน้าดินเป็นผลดีแก่ต้นมะพร้าวแล้วยังได้เตยหอมไว้จำหน่ายอีกด้วย รากเตยหอมที่อยู่กันกับรากมะพร้าวจะช่วยให้มะพร้าวต้นนั้นมีน้ำหอมกว่าต้นที่ไม่มีเตยหอม
- พิสูจน์ต้นกล้ามะพร้าวน้ำหอมพันธุ์แท้ด้วยการใช้เล็บจิกปลายรากอ่อนหรือจิกโคนต้นอ่อน ชิมแล้วมีรสหวานและดมแล้วมีกลิ่นหอมน้ำมะพร้าวชัดเจน หรือสังเกตก้านทางถ้าเป็นสีเหลืองเข้มหรือเหลืองอ่อน คือ พันธุ์แท้ แต่ถ้าทางเป็นสีเขียวเป็นมะพร้าวกลายพันธุ์
- ในมะพร้าวน้ำหวาน ถ้าต้องการให้น้ำมีรสหวานจัดขึ้น ให้ปลูกแบบสวนพื้นราบหรือยกร่องแห้งลูกฟูก เพื่อความสะดวกในการควบคุมปริมาณน้ำใต้ดินโคนต้น ทั้งนี้ ช่วงก่อนเก็บเกี่ยวแต่ละทะลายควรให้ปุ๋ยเร่งหวานทั้งทางราก (8-24-24/1 รอบ) และทางใบ (0-21-74/1-2 รอบ) ห่างกันรอบละ 5-7 วันให้น้ำเพื่อละลายปุ๋ยทางรากแล้วงดน้ำเด็ดขาด หลังจากเก็บเกี่ยวทะลายที่ต้องการแล้วให้กลับมาระดมให้น้ำเพื่อบำรุงผลรุ่นหลังต่อไป ซึ่งการจัดสวนแบบยกร่องน้ำหล่อไม่สามารถควบคุมปริมาณน้ำใต้ดินได้ ทำให้ไม่สามารถงดน้ำเพื่อเร่งความหวานให้เพิ่มขึ้นได้
- ให้เกลือแกง อัตรา 1-2 กก./ต้น (ให้ผลผลิตแล้ว)/6 เดือน ควบคู่กับน้ำหมักเครื่องในปลาทะเล เป็นการ
เพิ่มธาตุโซเดียม หรือให้มูลค้างคาว 1-2 กำมือ/ต้น (ให้ผลผลิตแล้ว)/6 เดือน เป็นการเพิ่มธาตุฟอสฟอรัส. และ
โปแตสเซียม.
นอกจากจะช่วยให้มะพร้าวน้ำหวานมีรสหวานจัดแล้วยังช่วยให้ออกดอกติดผลดีขึ้นอีกด้วย หรือให้ขี้แดดนาเกลือ 1-2 กก./ต้น (ให้ผลผลิตแล้ว)/ 6 เดือน
- เพื่อให้ต้นมีความสมบูรณ์อยู่เสมอตลอดปีควรให้ฮอร์โมนบำรุงราก 2-3 เดือน/ครั้งและให้ไซโตคินนิน 1-2 เดือน/ครั้ง
- วิธีพูนโคนต้นให้สูงกว่าพื้นระดับ 30-50 ซม. กว้างเท่าพื้นที่ทรงพุ่มหรือล้ำออกไปนอกทรงพุ่ม ด้วยอินทรีย์วัตถุ ปีละ 1 ครั้ง จะช่วยให้ต้นสมบูรณ์แข็งแรง ออกดอกติดผลดีตลอดปี
- มะพร้าวน้ำหอม-น้ำหวาน ต้นที่สมบูรณ์ดีจะออกจั่นทุก 20 วันและมีทางเกิดใหม่ทุก 20 วัน เมื่อได้ 1 ทางย่อมหมายถึงจั่น 1 จั่นเสมอ
- ตอบสนองต่อ น้ำ-ปุ๋ย ข้ามปี กล่าวคือ การให้น้ำอย่างเพียงพอและให้ปุ๋ยในเดือนใดของปีนี้ ต้นนั้นจะสมบูรณ์แล้วออกจั่นติดผลในเดือนเดียวกันของปีรุ่งขึ้นเสมอ
- ปีใดให้ผลผลิตน้อยในช่วงหน้าแล้ง แสดงว่าช่วงหน้าแล้งของปีที่แล้ว มะพร้าวต้นนั้นขาดการบำรุงโดยเฉพาะน้ำอย่างถูกต้องและเพียงพอนั่นเอง .... หรือการที่มะพร้าวให้ผลผลิตดีช่วงหน้าฝนแสดงว่ามะพร้าวต้นนั้นได้รับน้ำซึ่งเป็นช่วงฤดูฝนจากเมื่อปีที่ผ่านมานั่นเอง
- ทุกสายพันธุ์เหมาะสมอย่างมากสำหรับการปลูกแบบสวนยกร่องน้ำหล่อ เพราะต้นต้องได้รับน้ำตลอดเวลาซึ่งจะส่งผลให้ออกจั่นติดผลได้ตลอดปี ส่วนสวนพื้นราบเรียบหรือพื้นราบยกร่องแห้งลูกฟูกก็พอได้แต่ต้องถึงน้ำจริงๆ .... ที่ก้นร่องน้ำ ใส่เศษซากพืช ปุ๋ยคอก จุลินทรีย์ ฯลฯ แล้วปล่อยให้หมักอยู่ใต้น้ำก้นร่องอย่างนั้น จากนั้นจึงลอกเลนก้นร่องขึ้นพูนโคนต้นหรือสันแปลงปีละ 1-2 ครั้งก็จะได้ปุ๋ยบำรุงมะพร้าวอย่างดีโดยไม่ต้องพึ่งพาปุ๋ยเคมีแม้แต่เม็ดเดียว
- การติดสปริงเกอร์เหนือทรงพุ่มใช้เป็นเครื่องทุ่นแรงได้เป็นอย่างดี นอกจากช่วยให้ประหยัด เวลาและแรงงานแล้ว ยังใช้ฉีดพ่นสารอาหารบำรุงต้นรวมทั้งฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรได้ทุกช่วงเวลาตามต้องการอีกด้วย
- การพรวนดินบริเวณชายพุ่ม 2-3 ปี/ครั้ง เพื่อตัดแต่งราก แล้วบำรุงด้วยฮอร์โมนบำรุงรากต้นก็จะสร้างรากใหม่ขึ้นมาดีและมากกว่ารากเดิม ช่วยให้ต้นสมบูรณ์ ให้ผลดกและดี
- จั่นหรือดอกมีกาบหุ้มไว้ เมื่อก้านจั่นเจริญยาวออกมาจนดอกบานแล้วกาบหุ้มจั่นเปิดไม่เต็มที่ให้แกะกาบหุ้มออกบ้างเพื่อให้ลมพัดละอองเกสรทั้งในดอกเดียวกันหรือต่างดอกต่างต้นเข้ามาผสมด้วยก็จะส่งผลให้มีผลดกขึ้น
- มะพร้าวน้ำหวานจะหวาน มะพร้าวน้ำหอมจะหอม .... ใส่เศษทะลายปาล์มจากโรงงานปาล์มน้ำมันบริเวณโคนต้นหนาๆ 2-3 ปี/ครั้ง จะช่วยให้ต้นสมบูรณ์ดี .... เดือนไหนของปีนี้ขาดน้ำ เดือนนั้นของปีรุ่งขึ้นจะขาดคอ
- มะพร้าวชอบสวนยกร่องน้ำหล่อ แบบนี้จะทำให้มะพร้าวได้รับน้ำตลอด 24 ชม.ตลอดปี ส่งผลให้ผลผลิตดีขึ้น
- ทำมะพร้าวเผากลิ่นสตรอเบอร์รี่ หรือกลิ่นวานีลา (กลิ่นอาหารคน / อย.) ละลายน้ำรอไว้ ใส่มากหรือน้อย กลิ่นแรงหรือกลิ่นอ่อนๆ ตามต้องการ เผามะพร้าว ปอกเปลือกเรียบร้อยแล้ว ใช้ไซลิงค์ฉีดยาคน เลือกใช้เข็มฉีดยาเบอร์เล็กสุด ดูดน้ำละลายสี ครึ่ง ซีซี. (สำหรับลูกเล็ก) 1 ซีซี. (สำหรับลูกใหญ่) ฉีดเข้าที่จมูกมะพร้าว ซึ่งมีรูทะลุเข้าข้างในลูกมะพร้าวได้ ฉีดน้ำละลายกลิ่นลงไปแล้ว ใช้มือกดรอยแทงเข็มให้เรียบร้อย เขย่าให้น้ำมะพร้าวกับน้ำละลายกลิ่นเข้ากันดี น้ำมะพร้าวนั้นจะมีกลิ่นหอมแปลกไปอีกอย่าง
- มะพร้าวน้ำหอมก็เช่นเดียวกันกับมะพร้าวอื่นๆ ที่ขยายพันธุ์โดย "เมล็ด" หลังจากปลูกมะพร้าวน้ำหอมไปแล้วต้องเตรียมใจยอมรับผลจากการ "กลายพันธุ" เมื่อ "มะพร้าวน้ำ หอม" กลายเป็น "หอมน้ำมะพร้าว" .... เทคนิคภูมิปัญญาพื้นบ้านในการเลือกต้นพันธุ์ให้ได้สายพันธุ์ใกล้เคียงสายพันธุ์ให้มากที่สุด พอทำได้ ดังนี้
- เก็บผลแก่จัดคาต้นโดยตัดแล้วผูกเชื่อหย่อนลงมาอย่างนิ่มนวล ห้ามปล่อยให้ร่วงลงกระแทกพื้นเด็ดขาด หรือแม้ร่วงลงกระแทกน้ำในคลองก็ไม่ควรทำ
- ใช้ผลแก่คาต้นจากสวนมะพร้าวน้ำหอม (พิสูจน์แล้ว) ในสวนขนาดใหญ่ที่แต่มะพร้าวน้ำหอมล้วนๆ กรณีนี้ มะพร้าวทุกผลได้รับการผสมเกสรจากต้นที่เป็นมะพร้าวน้ำหอมเหมือนๆ กัน
- ใช้ปลายเล็บสะกิดปลายรากอ่อนต้นกล้า "ดมและชิม" จะสัมผัสกับกลิ่นและรสของสายพันธุ์ที่แท้จริงของกล้ามะพร้าวต้นนั้น เมื่อโตขึ้นก็จะให้กลิ่นและรสตรงตามสายพันธุ์ หรือ ใช้ปลายเล็บสะกิดเปลือกโคนต้นกล้าบริเวณชิดเปลือกแล้วพิสูจน์ด้วยการ "ดมและชิม" ก็ได้
- ถึงอย่างไร น้ำมะพร้าวก็คือน้ำมะพร้าวที่ยังคุณประโยชน์อยู่เช่นเดิม.......สารอาหารในน้ำมะพร้าวสำหรับคนนั้นสามารถใช้เป็น "สารอาหารสำหรับพืช" ได้เช่นกัน นัยว่า .... น้ำมะพร้าวอ่อน (เนื้อวุ้น) มีสารจิ๊บเบอเรลลิน ใช้ในงานเพาะเนื้อเยื่อ....น้ำมะพร้าวแก่ มีสารไคโตซาน. ช่วยบำรุงให้พืชแบ่งเซลล์ขยายขนาด มีสารเอสโตรเจน ช่วยบำรุงเกสรให้สมบูรณ์ มีสารอาหารแหล่งพลังงานสำหรับจุลินทรีย์
- มะพร้าว คือ พืชตระกูลปาล์ม การบำรุงด้วย "แม็กเนเซียม - สังกะสี - โบรอน" อย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้ต้นสมบูรณ์ ผลผลิตและคุณภาพดี .... มะพร้าวตอบสนองต่อ "มูลควาย" ดีกว่ามูลสัตว์อย่างอื่น เพราะในมูลควายมี โซเดียม" ที่มะพร้าวชอบกับการให้ "ขี้แดดนาเกลือ" ปีละ 1 ครั้ง "โซเดียม และ แม็กเนเซียม" ในขี้แดดนาเกลือก็จะช่วยบำรุงต้นให้สมบูรณ์ .... มะพร้าวต้นริมทางเข้าบ้าน รถยนต์ผ่านประจำ หรือมะพร้าวริมคลองที่เรือยนต์ผ่านบ่อยๆ คาร์บอนจากไอเสียเครื่องยนต์ ช่วยให้มะพร้าวต้นนั้นออกดอก ติดผลดกและคุณภาพดี
- ปลูกเตยโคนต้นมะพร้าว นอกจากช่วยรักษาความชื้นให้หน้าดินชุ่มชื้นอยู่เสมอ มีประโยชน์ต่อต้นมะพร้าวโดยตรงแล้ว รากเตยที่เกี่ยวพันอยู่กับรากมะพร้าวยังช่วยบำรุงมะพร้าวให้น้ำและกลิ่นดีอีกด้วย
- มะพร้าว 1 ต้น มีรากประมาณ 3,000 เส้น ความยาวเท่ากับรัศมีทรงพุ่ม ล้มมะพร้าวแล้วไถพรวนกลบเศษรากคลุกกับดิน จะกลายเป็นอินทรีย์วัตถุปรับปรุงบำรุงดินแก่พืชที่ปลูกใหม่แทนได้เป็นอย่างดี
- มะพร้าวสามารถขยายพันธุ์ด้วยวิธี "ตอน" ได้ แต่หลังจากแตกรากดีแล้วจะนำลงมา


ลักษณะต้นกล้าพันธุ์ที่ดี
- ได้จากผลแก่จัดคาต้น รูปทรงลักษณะทรงผลสมบูรณ์ได้สัดส่วนตามธรรมชาติ
- เป็นผลที่นำลงจากต้นแม่โดยการใช้เชือกผูกทะลายแล้วหย่อนลงมาที่พื้น ไม่ควรใช้ผลที่ตัดแล้วร่วงตกกระแทกพื้นจนกระทบกระเทือนอย่างรุนแรง
- เป็นต้นกล้าเกิดจากผลที่เกิดจากทะลายที่ให้ผลดกแต่มีการซอยผลออกบ้าง เพื่อให้ทุกผลได้รับน้ำเลี้ยงอย่างเต็มที่จริงๆ
- ลำต้นตั้งตรงแข็งแรง รูปทรงเรียวคล้ายต้นกล้วยจากโคนถึงปลาย ไม่ควรเลือกต้นโคนป่องเป็นกระเปาะ
- ความสูงไม่มาก ไม่ควรเกิน 50 ซม. ก้านหรือทางขนาดใหญ่ยังชี้ตั้ง ใบยังไม่แผ่กาง ไม่ควรเลือกต้นกล้าที่ก้านหรือทางลู่ลงและใบแผ่กางแล้ว สรุปก็คือ ต้นกล้าอ่อนดีกว่าต้นกล้าแก
- มีรากบางส่วนแทงยาวออกมานอกเปลือก สมบูรณ์แข็งแรง
- เลือกต้นพันธุ์จากสวนขนาดใหญ่ มีมะพร้าวหลายๆร้อยต้น ทุกต้นเป็นพันธุ์เดียวกันทั้งหมด เพราะแม้ว่าผลที่เกิดจากเกสรตัวผู้กับเกสรตัวเมียต่างต้นกันแต่เป็นพันธุ์เดียวกันเมื่อผสมกันแล้วย่อมเป็นพันธุ์เดียวกัน คือ ไม่กลายพันธุ์หรือกลายพันธุ์น้อยมาก ทั้งนี้ เนื่องจากดอกตัวผู้กับดอกตัวเมียอยู่คนละดอกแต่อยู่ในต้นเดียวกัน เกสรดอกตัวผู้เกิดก่อนและพร้อมผสมก่อนเกสรดอกตัวเมีย วันที่ดอกตัวผู้ดอกสุดท้ายโรยแล้วดอกตัวเมียจึงพร้อมผสม ทำให้ไม่มีโอกาสได้ผสมกัน ดังนั้น เกสรดอกตัวเมียจำเป็นต้องได้รับการผสมจากเกสรตัวผู้จากต้นอื่น นี่คือสาเหตุสำคัญที่ทำให้มะพร้าวเกิดอาการกลายพันธุ์

วิธีขยายพันธุ์มะพร้าว :
- เลือกมะพร้าวผลแก่จัดคาต้นเปลือกเริ่มแห้งบางส่วนแล้ว โดยการตัดทั้งทะลายแล้วผูกเชือกหย่อนลงมาหรือทิ้งลงน้ำอย่าให้ผลกระแทกพื้นแข็งเด็ดขาด นำลงมาแล้วใช้เฉพาะผลแรกกับผลที่สองที่โคนทะลายสำหรับนำไปขยายพันธุ์ ถ้าไม่ตัดลงมาพร้อมกันทั้งทะลายก็ให้นำลงมาเฉพาะผลแรกกับผลที่สองก็ได้
- ได้ผลมะพร้าวพันธุ์ตามต้องการแล้วนำลงลอยน้ำ สังเกตส่วนไหนของผลอยู่เหนือผิวน้ำ นำขึ้นจากน้ำแล้วใช้มีดคมๆเฉือนเปลือกส่วนที่อยู่เหนือผิวน้ำนั้นออกจนถึงกาบแต่ไม่ถึงกะลาเพื่อให้น้ำซึมเข้าไปสร้างชุ่มชื้นจะช่วยให้แตกหน่อใหม่ได้เร็ว
- นำผลมะพร้าวที่เฉือนเปลือกแล้วฝังในแกลบดำลึกประมาณ ¾ ผล คลุมทับด้านบนด้วยฟางหรือทางมะพร้าวแห้งเพื่อไม่ให้แกลบแห้งจนเกินไป การเฉือนเปลือกออกก่อนจะช่วยให้หน่อแทงขึ้นมาง่ายซึ่งหน่อจะแทงขึ้นมา ณ จุดที่เฉือนเปลือกนั้น
- รดน้ำทุก 2-3 วัน จนกว่าจะงอกแล้วบำรุงต่อไปตามปกติ
- หน่อสูงประมาณ 30-50 ซม.จึงย้ายไปปลูกในแปลงจริงหรือใส่ในถุงดำเพื่อจำหน่าย
หมายเหตุ :
- มะพร้าวพันธุ์บางผลเพาะแล้วมีหน่อแทงขึ้นมา 2-3 หน่อ เมื่อนำลงปลูกแล้ว ถ้าบำรุงให้ต้นสมบูรณ์เต็มที่หน่อทั้งหมดที่แทงออกมาจะโตตามปกติแล้วกลายเป็นมะพร้าวหลายต้นในหลุมเดียวกัน แต่ถ้าบำรุงไม่เต็มที่หน่อเล็กกว่าจะตายไปเหลือแต่หน่อโตกว่าเท่านั้น

วิธีผสมพันธุ์มะพร้าวไม่ให้กลายพันธุ์ :
1. นอกต้นที่ตรงตามสายพันธุ์และแทงจั่นออกมาพร้อมๆกัน บำรุงจั่นให้สมบูรณ์ด้วยฮอร์โมน เอ็นเอเอ. 1-2 รอบ ห่างกับรอบละ 10-15 วัน
2. เด็ดก้านเกสรตัวผู้ของต้นที่ตรงตามสายพันธุ์ 1 ต้น (ต้นแม่) ทิ้งไปให้เหลือแต่เกสรตัวเมีย รอไว้ 7 วัน
3. ครบกำหนด 7 วันให้นำเกสรตัวผู้จากอีกต้นหนึ่ง (ต้นพ่อ) ที่เป็นพันธุ์แท้เหมือนกันมาผสมให้กับเกสรตัวเมียของต้นที่ถูกเด็ดก้านเกสรตัวผู้ทิ้งไปก่อนแล้ว ด้วยการใช้ก้านเกสรตัวผู้ลูบเบาๆกับก้านเกสรตัวเมียช่วงเวลา 09.00-10.00 น.สภาพอากาศเปิด
4. ผสมเกสรแล้วห่อก้านเกสรตัวเมีย (จั่น) ด้วยถุงใยสังเคราะห์ เพื่อป้องกันเกสรตัวผู้จากต้นอื่นมาผสมทับ เมื่อดอกติดเป็นผลแน่นอนแล้วให้ถอดถุงออก จากนั้นบำรุงตามปกติจนกระทั่งผลแก่จึงนำลงมาเพาะ ต้นที่ได้จะตรงตามสายพันธุ์ของต้นพ่อ (เกสรตัวผู้) และต้นแม่ (เกสรตัวเมีย) ค่อนข้างแน่นอน

มะพร้าวกะทิ :
1. เลือกผลมะพร้าวแก่จัดที่ไม่เป็นมะพร้าวกะทิจากต้นที่มีประวัติผลเป็นกะทิเป็นประจำ เคยให้ผลเป็นกะทิมาแล้วไม่น้อยกว่า 10 ปี ถ้าเป็นต้นที่อยู่ท่ามกลางสวนมะพร้าวกะทิแปลงขนาดใหญ่ได้จะดีมาก เพราะสามารถประกันความแน่ใจว่าไม่มีการผสมข้ามพันธุ์
2. เฉือนเปลือก ณ จุดที่หน่อจะงอกก่อนแล้วเฉือนด้านตรงข้ามให้ถึงกะลา เปิดกะลาเทน้ำออกแล้วใส่ข้าวเหนียวนึ่งหรือดินเหนียวโคนต้นของเขาเอง หรือใช้ทั้งข้าวเหนียวนึ่งและดินเหนียวโคนต้น อย่างละเท่าๆกันใส่เข้าในลูกให้เต็มแล้วนำไปเพาะในแกลบดำจนเป็นต้นกล้าด้วยวิธีตามปกติ
3. กล้ามะพร้าวต้นนี้เมื่อโตขึ้น ผลส่วนหนึ่งจะเป็นมะพร้าวกะทิตามต้นแม่
หมายเหตุ :
- ขยายพันธุ์มะพร้าวกะทิด้วยวิธีเพาะเนื้อเยื่อจะได้ต้นพันธุ์เป็นมะพร้าวกะทิค่อนข้างสูง นั่นหมายความว่า แม้แต่วิธีเพาะเนื้อเยื่อก็ไม่อาจทำให้เป็นมะพร้าวกะทิได้ทั้ง 100 เปอร์เซ็นต์
- ไม่ควรปลูกมะพร้าวต้นไม่เป็นกะทิใกล้กับต้นเป็นกะทิ เพื่อป้องกันการผสมข้ามสายพันธุ์ ในขณะ
เดียวกันถ้ามีการช่วยผสมเกสรด้วยมือแก่ต้นกะทิก็จะช่วยให้เปอร์เซ็นต์ของความเป็นกะทิสูงขึ้น

ทำมะพร้าวกะทิ แบบภูมิปัญญาพื้นบ้าน :
วิธีที่ 1 : ทำมะพร้าวจากมะพร้าวพันธุ์อะไรก็ได้ ถ้าต้องการให้ลูกออกมาเป็นมะพร้าวกะทิ ก็เอาถุง
พลาสติกหุ้มจั่น จั่นก็คือดอกมะพร้าว 1 จั่นคือ 1 ทะลาย จั่นไหนถูกห่อด้วยพลาสติก จั่นนั้นหรือทลายดอกนั้นมันจะพิการ ทั้งนี้จะต้องห่อตั่งแต่กลีบจั่นเริ่มแย้มบาน ห่อไปจนกระทั่งมีลูกขนาดลูกหมากจึงค่อยเอาออก โดยทั่วไปมะพร้าวในทะลายที่ห่อจั่นประมาณ 80-90 % จะเป็นมะพร้าวกะทิ วิธีนี้เป็นการทำมะพร้าวกะทิแบบชั่วคราว มะพร้าวในทะลายอื่น ๆ ที่ไม่ได้ห่อจั่นจะไม่เป็นมะพร้าวกะทิ

วิธีที่ 2 : เป็นการทำมะพร้าวกะทิแบบถาวร วิธีนี้ให้นำมะพร้าวที่เพาะไว้ ที่มีหน่อเหนือเปลือกขึ้นมาราว 30 ซม. แล้วใช้มีดตัดส่วนปลายตรงข้ามกับหน่อให้กะลาขาด จนเห็นเนื้อสีขาวและจาวสีเหลือง ภายในกะลามะพร้าวจากนั้นคว้านเอาจาวที่อยู่กลางกะลาออก เอาดินเหนียวอัดลงไปในกะลาแทนจาวจนเต็มและแน่นพอประมาณ สามารถนำไปปลูกได้ นายมานิตย์ เล่าให้ฟังว่า มะพร้าวที่ทำวิธีนี้จะเป็นมะพร้าวกะทิประมาณ 50 % หากจะเพิ่มปริมาณ ก็สามารถทำได้โดยให้เอาผลมะพร้าวที่ไม่เป็นมะพร้าวกะทิมาเพาะแล้วทำวิธีการเดียวกับที่กล่าวมานี้ ก็จะทำให้มะพร้าวในต้นใหม่เป็นมะพร้าวกะทิ ถึง 80 -90 % ทีเดียว มะพร้าวทุกพันธุ์สามารถทำมะพร้าวกะทิได้ทั้งสิ้น แต่ถ้าใช้มะพร้าวน้ำหอม ทำมะพร้าวกะทิไม่ดีเพราะมีกลิ่นเหม็นหืน มะพร้าวที่ดีที่สุดในการทำมะพร้าวกะทิ คือ มะพร้าวกลาง
มีวิธีพิสูจน์แบบง่ายๆ ใช้มาแต่โบราณแล้วคือ เมื่อ “มะพร้าวกะทิ” ติดผลเป็นทะลายปล่อยให้ผลแก่คาต้นก่อน ตัดทะลายลงมา เอาผลแต่ละผลเขย่าฟังดูว่าถ้าไม่มีเสียงน้ำในผลดังกระฉอกเลย หมายถึงมะพร้าวผลนั้นเป็น “มะพร้าวกะทิ” อย่างแน่นอน ไม่ต้องปอกเปลือก หรือทุบ ดูเนื้อในทุกผลให้เสียเวลา ทำหรือฝึกบ่อยๆจึงจะชำนาญ ช่วงแรกอาจมีผิดบ้างเป็น ธรรมดา คนโบราณก็ใช้วิธีนี้เหมือนกัน
ปัจจุบัน “มะพร้าวกะทิ” มี 2 ชนิด พันธุ์ที่ ได้รับความนิยมรับประทานและนิยมปลูกกันแพร่หลาย ได้แก่ “มะพร้าวกะทิน้ำหอม” กับ “มะพร้าวกะทิน้ำหวาน” ซึ่งทั้ง 2 พันธุ์ เป็นพันธุ์ที่มีต้นเตี้ย สูงเต็มที่ไม่เกิน 2-3 เมตร ติดผลดก 15-20 ผลต่อหนึ่งทะลาย มีต้นขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร โครงการ 19 แผง “ดาบสมพร” กับโครงการ 13 แผง “คุณภิญโญ” และโครงการ 21 แผง “คุณพร้อมพันธุ์” ราคาสอบถามกันเองครับ.
http://www.thairath.co.th/
www.pcru.ac.th/index_newpcruup2.php?pcru_id... -
สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร โทร. 0-2579-0583 ต่อ 135 หรือ สวนผลิตพันธุ์มะพร้าวลูกผสมคันธุลี ศูนย์วิจัยยางสุราษฎร์ธานี โทร. 0-7738-1963.

เตรียมดิน เตรียมแปลง :
- พื้นที่ภาคเหนือ อิสาน กลาง ควรทำสวนยกร่องน้ำหล่อ สันแปลงกว้าง 3-5 ม. ร่องน้ำกว้าง 2-3 ม. ลึก 50 ซม. - 1 ม. .... น้ำในร่องเลี้ยง ปลา/กบ ในกระชัง, เลี้ยงเป็ดริมร่องน้ำ, เลี้ยงไก่เหนือน้ำให้ปลากินขี้ไก่,
- พื้นที่ภาคไต้ ภาคตะวันออก ทำสวนยกร่องแห้ง สันแปลงกว้าง 3-5 ม. ร่องระหว่างสันแปลงกว้าง 1 ม. ลึก 50 ซม. ก้นร่องสอบ
- ไถดะไถแปร ใส่ยิบซั่ม ปุ๋ยอินทรีย์ กระดูกป่น ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ,

พันธุ์มะพร้าว :
มะพร้าวน้ำหอม : เป็นสายพันธุ์ที่น้ำมีกลิ่นหอมชัดเจน แต่ความหวานอาจจะน้อยกว่ามะพร้าวน้ำหวาน กรณีนี้ถ้าต้องการเพิ่มความหวานสามารถทำได้โดยใส่ปุ๋ยเร่งหวาน ทั้งทางใบ ทางราก และงดน้ำ ก่อนเก็บเกี่ยว
มะพร้าวน้ำหวาน : เป็นสายพันธุ์ที่น้ำมีกลิ่นหอมน้อยกว่าพันธุ์น้ำหอม แต่มีรสหวานมากกว่าพันธุ์น้ำหอม กรณีนี้ถ้าต้องการเพิ่มกลิ่นให้ดีขึ้น ให้บำรุงด้วยธาตุอาหารที่มีส่วน ประกอบของ ฟอสฟอรัส. โปแตสเซียม. และกำมะถัน
ผลก้นกลมหรือก้นป้าน : เป็นพันธุ์ที่มีผลขนาดใหญ่และเปลือกบางที่สุดในบรรดามะพร้าวน้ำหอมด้วยกัน ทรงผลกลมได้สัดส่วน ส่วนก้นผลกลมมน ให้ผลดกสม่ำเสมอตั้งแต่ต้นอายุน้อยถึงอายุมาก
ผลก้นจีบ : เป็นพันธุ์ที่มีรูปทรงและขนาดอยู่ระหว่างพันธุ์ก้นกลมมนกับพันธุ์ผลยาว ที่ก้นผลมีร่องคล้ายจีบ 3-4 ร่อง ช่วงต้นอายุยังน้อย จะให้ผลดกเหมือนพันธุ์ผลก้นกลมมน แต่เมื่ออายุต้นมากขึ้นความดกของผลจะลดลง



บำรุงมะพร้าว
(ทุกสายพันธุ์)

1. ระยะต้นเล็ก :
- ให้ไบโออิ 25-5-5 + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ 1-2 รอบ
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรทุก 2-3 วัน
ทางราก :
- ใส่ยิบซั่ม ปุ๋ยอินทรีย์ กระดูกป่น ปุ๋ยคอก (ขี้วัวขี้ไก่ไข่ แกลบดิบ แห้งเก่าข้ามปี) ครั้งที่ 1 ของรุ่นหรือปีการผลิต ควรวางแผนให้ปีละ 2 ครั้ง
- คลุมโคนต้นด้วยเศษพืชแห้งหนาๆ เต็มพื้นที่บริเวณทรงพุ่ม ล้ำออกไปถึงนอกเขตทรงพุ่ม
- ให้ 25-7-7 (1/2 กก.) /ต้น ละลายน้ำรดโคนต้น เขตทรงพุ่ม
- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 (2 ล.) /ไร่ รดทั่วแปลงทุกตารางนิ้ว 1-2 เดือน/ครั้ง
- ให้น้ำเปล่า ทุก 3-5 วัน
หมายเหตุ :
-ใส่เศษซากทะลายปาล์มจากโรงงานปาล์มน้ำมัน 2 ปี /ครั้ง

2. ระยะต้นโตให้ผลผลิตแล้ว :
- ให้ “น้ำตาลทางด่วน” (กลูโคส) 1-2 เดือนต่อครั้ง
- ฉีดพ่นสารสมุนไพรบ่อยๆ เพื่อกันก่อนแก้
ทางราก :
- ใส่ยิบซั่ม ปุ๋ยอินทรีย์ กระดูกป่น ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ หญ้าแห้งใบไม้แห้งคลุมโคนต้นหนาๆ ควรวางแผนให้ปีละ 2 ครั้ง
- ให้ปุ๋ย 8-24-24 สลับกับ 21-7-14 (250 กรัม) /ต้น /เดือน ละลายน้ำรดโคนต้น เขตทรงพุ่ม
- ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 8-24-24 (2 ล.) สลับกับ ระเบิดเถิดเทิง 21-7-14 (2 ล.) ตามปุ๋ยเคมีธาตุหลัก /เดือน /ไร่ รดทั่วแปลงทุกตารางนิ้ว
หมายเหตุ :
- ให้ขี้แดดนาเกลือปี 2 ครั้ง ปีละ 2 ครั้ง
-------------------------------

มังคุด



350


.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 31/01/2024 3:19 pm, แก้ไขทั้งหมด 3 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 26/01/2024 1:27 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.

มังคุด
ลักษณะทางธรรมชาติ :

- เป็นไม้ผลยืนต้นอายุหลายสิบปี ถ้าไม่มีต้นไม้ใหญ่อื่นบังแสงแดดขนาดทรงพุ่มจะสูงไม่มากนัก แต่ถ้ามีต้นไม้ใหญ่อื่นบังแสงแดดต้นจะแข่งแย่งแสงแดดขนาดทรงพุ่มจึงสูง

- เจริญเติบโตดีในพื้นที่ชุ่มชื้น ทั้งความชื้นในดินและความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศ ในแปลงปลูกจึงควรมีไม้อื่นที่ความสูงเท่าๆกันแซมแทรก

- เจริญเติบโตเร็วและให้ผลผลิตดีในพื้นที่ปลูกเนื้อดินลึกมากกว่า 1 ม.ขึ้นไป....แปลงปลูกที่เนื้อดินเหนียว หรือระดับน้ำใต้ดินตื้น ต้นมังคุดจะไม่เจริญเติบโต แตกยอดออกมาแล้วใบไหม้ สุดท้ายก็ยืนต้นตาย เนื้อดินเหนียวนี้แม้แต่ระบบรากแก้ว ระบบพี่เลี้ยงก็ช่วยไม่ได้

- ปลูกเดี่ยวๆเป็นแปลงขนาดใหญ่มักไม่ค่อยได้ผล แต่ถ้ามีไม้ผลอื่น เช่น ทุเรียน. เงาะ. มังคุด. ส้มโอ. ลองกอง. มะไฟ. แซมแทรกแบบสลับคละกันจะเจริญเติบโตได้ดี

- ช่วงระยะกล้าตั้งแต่เริ่มปลูกถึง 3 ปีจำเป็นต้องมีไม้พี่เลี้ยง โดยการปลูกไม้ผลอื่นๆลงไปก่อน เมื่อไม้พี่เลี้ยงยืนต้นได้จนทั่วบริเวณสวนเกิดความร่มเย็นดีแล้วจึงลงมือปลูกต้นกล้ามังคุด วิธีปลูกกล้วยนำไปก่อน ณ จุดที่ต้องการปลูกมังคุด เมื่อต้นกล้วยโตขึ้นก็ให้ปลูกต้นกล้ามังคุดลงไปที่ใจกลางกอกล้วยนั้นเลย รากกล้วยช่วยสร้างความชื้นในดิน ส่วนใบกล้วยช่วยสร้างร่มเงา และความชื้นสัมพัทธ์ซึ่งจะส่งผลให้ต้นกล้ามังคุดโตเร็ว หรือปลูกทองหลางแทรกระหว่างต้นมังคุด เลี้ยงทองหลางให้มีใบมากหรือน้อยตามความเหมาะสมกับมังคุด รากทองหลางกับรากมังคุดที่อยู่ร่วมกันนั้น รากทองหลางซึ่งตรึงไนโตรเจนมาจากอากาศก็จะแบ่งปันให้แก่มังคุดด้วย

ไม้พี่เลี้ยงมีความจำเป็นสำหรับกล้ามังคุดย่างมาก ถ้าไม่มีไม้พี่เลี้ยงช่วยบังแดดเมื่อใบอ่อนมังคุดแตกออกมาจะเกิดอาการใบไหม้ โตช้า และชะงักการเจริญเติบโต ทั้งนี้ มังคุดระยะกล้าต้องการแสงแดดเพียง 50 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณแสงแดดส่องปกติ

- ตามปกติต้นที่โตให้ผลผลิตแล้วต้องการแสงแดดร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ก็ยังมีข้อจำกัดอยู่ดี นั่นคือ ถ้าพื้นดินแปลงปลูกแห้งแล้งและต้นไม่สมบูรณ์พอจะเกิดอาการปลายใบไหม้ เพราะฉะนั้นในแปลงปลูกมังคุดควรต้องมีเศษพืชคลุมหน้าดินเสมอ การเลี้ยงหญ้าคลุมหน้าดินกับมีต้นกล้วยหรือพืชอื่นแซมแทรกช่วยสร้างความชื้นจะช่วยลดอาการปลายใบไหม้ได้

- ปริมาณแสงแดดมีอิทธิพลต่อการออกดอกติดผลของมังคุดอย่างมาก กล่าวคือ ถ้าแสงแดดส่องจากภายนอกทรงพุ่มเข้าในทรงพุ่มได้อย่างทั่วถึงจะออกดอกติดผลได้ทั้งกิ่งนอกทรงพุ่มและกิ่งในทรงพุ่ม แต่ถ้าได้รับแสงแดดไม่ทั่วทรงพุ่ม โดยเฉพาะกิ่งในทรงพุ่มได้แสงแดดน้อยกว่าเกณฑ์ปกติ นอกจากกิ่งในทรงพุ่มจะไม่ออกดอกติดผลแล้ว กิ่งนอกทรงพุ่มยังออกดอกติดผลน้อยอีกด้วย

- ต้นพันธุ์จาก “เพาะเมล็ด” ไม่กลายพันธุ์ เมื่อโตขึ้นทรงพุ่มจะกลมสวยและให้ผลผลิตดี

มังคุดมีอยู่พันธุ์เดียวเรียกกันว่าเป็นพันธุ์พื้นเมือง เพราะเป็นพืชที่ปลูกด้วยเมล็ด และเมล็ดมังคุดไม่ได้เกิดจากการผสมเกสร จึงแทบจะไม่มีโอกาสกลายพันธุ์เลย แม้จะพบว่ามังคุดสายพันธุ์จากเมืองนนท์ มีผลเล็กและเปลือกบาง มังคุดปักใต้เปลือกหนา แต่ยังไม่มีการศึกษาเปรียบเทียบให้เห็นชัดเจนพอที่จะแยกเป็นพันธุ์ได้ ส่วนการขยายพันธุ์ทำได้หลายวิธี เช่น การเพาะเมล็ด เสียบยอดและทาบกิ่ง แต่วิธีที่นิยมปฏิบัติกันมาก คือ การเพาะเมล็ด เพราะสามารถทำได้สะดวกรวดเร็ว ต้นมังคุดที่ได้ไม่กลายพันธุ์ แต่มีข้อเสีย คือ ต้องใช้เวลานานถึง 7-8 ปีกว่าจะได้ผลผลิต แต่หากมีการบำรุงรักษาเป็นอย่างดีก็อาจได้ผลเร็วกว่านี้ ส่วนการขยายพันธุ์ด้วยวิธีเสียบยอดที่นำพันธุ์ดีจากต้นที่เคยให้ผลมาใช้ เป็นวิธีที่ช่วยให้มังคุดให้ผลผลิตได้เร็วขึ้น

โดยปกติมังคุดจะออกผลมาให้เราบริโภคกันในช่วงย่างเข้าฤดูฝน ในเนื้อของมังคุดนั้นนอกจากจะมีรสชาติชวนให้ลิ้มรสลองแล้ว ยังอุดมไปด้วยสารอาหารต่าง ๆ ได้แก่ วิตามินและเกลือแร่อื่น ๆ อีกหลายชนิด เช่น น้ำตาล กรดอินทรีย์ แคลเซียม ฟอสฟอรัส และเหล็ก นอกจากนี้ยังมีกากใยที่ช่วยในการขับถ่ายอีกด้วย มีเรื่องเล่ากันว่า หากอยากรู้ว่าจำนวนเนื้อภายในของผลมังคุดมีเท่าใด ก็ให้นับปริมาณกลีบดอกที่ติดอยู่ภายนอกผลดู เท่านี้ก็เป็นอันรู้ได้แล้ว ใครใคร่ทดสอบก็ลองดูได้ตามสะดวก

- ต้นพันธุ์จากเพาะเมล็ดแล้ว “เสียบด้วยยอดของกิ่งกระโดง” เมื่อโตขึ้นทรงพุ่มกลมสวย และให้ผลผลิตดีเช่นกัน

- ต้นพันธุ์ “ตอนจากกิ่งกระโดง” เมื่อโตขึ้นทรงพุ่มกลมสวย และให้ผลผลิตดีเช่นกัน
- ต้นพันธุ์ “ตอนจากกิ่งข้าง หรือ ต้นเพาะเมล็ดแล้วเสียบยอดด้วยยอดของกิ่งข้าง” เมื่อโตขึ้นกิ่งจะเลื้อย ทรงพุ่มแบน และให้ผลผลิตไม่ดี

- ต้นพันธุ์ “เพาะเมล็ดหรือตอนแล้วเสริมราก-เสียบด้วยยอดกิ่งกระโดง” เป็นต้นพันธุ์ดีที่สุด โตเร็ว ทรงพุ่มกลมสวย ให้ผลผลิตดี

- ต้นพันธุ์ที่ชำในถุงดำนานๆจนกระทั่งมีรากบางส่วนแทงทะลุออกมานอกถุงแล้วนั้น รากในถุงบริเวณก้นถุงจะหมุนวนเมื่อนำไปปลูกจะเกิดอาการรากวนในหลุมทำให้โตช้า แนวทางแก้ไข คือ เปลี่ยนถุงดำเพาะชำให้มีขนาดใหญ่และสูงขึ้นทุก 3-4 เดือน หรือหลังจากถอดต้นกล้าออกจากถุงดำเพื่อนำลงปลูกให้ตัดรากส่วนก้นถุงออก 1 ใน 4 ของจำนวนรากทั้งถุงทิ้งไปก่อน หรือจัดรากที่หมุนวนให้ชี้ตรงออกข้างรอบทิศทางก่อนก็ได้

- ให้ผลผลิตปีละ 1 รุ่น ปัจจุบันยังไม่มีฮอร์โมนหรือสารใดๆบังคับให้ออกนอกฤดูได้
- ต้นที่มีความสมบูรณ์เป็นทุนเดิมหรือได้รับการบำรุงภายหลังอย่างถูกต้อง หลังจากเปิดตาดอกจนดอกชุดแรกออกมาแล้วจะมีทั้งดอกและใบอ่อนชุดหลังทยอยออกตามมาอีก กลายเป็นผลและใบหลายชุดในต้นเดียวกัน กรณีนี้แก้ไขด้วยการให้ 0-42-56 + ธาตุรอง/ธาตุเสริม + กลูโคส โดยฉีดพ่นให้เปียกโชกทั้งใต้ใบบนใบลงถึงพื้น ทุกครั้งที่มีดอกและใบอ่อนออกมา (ประมาณ 2-3 รอบ) หรือให้จนกว่าต้นจะยุติการออกดอกชุดใหม่ ทั้งนี้การแตกใบอ่อนของมังคุดจะไม่ทิ้งดอกหรือผลเล็ก .... สารอาหารชุดนี้นอกจากช่วยบำรุงดอกและกดใบอ่อนชุดใหม่ไม่ให้ออกแล้ว ยังเร่งใบอ่อนชุดที่ออกมาก่อนให้แก่เร็วขึ้นอีกด้วย

- ช่วงที่ดอกออกมาใหม่ๆ ถึงระยะหลังผสมติด สังเกตกลีบหุ้มหรือกลีบเลี้ยงที่ขั้วดอกหรือผล ถ้ากลีบหุ้มเหนือดอกเป็นสีเขียวเข้ม หนา ใหญ่ แสดงว่าดอกมีความสมบูรณ์สูง ดอกลักษณะนี้เมื่อพัฒนาเป็นผลก็จะเป็นผลที่คุณภาพดี ความสมบูรณ์ของดอกมาจากความสมบูรณ์ของต้น และความสมบูรณ์ของต้นมาจากความสมบูรณ์ของดินและสารอาหารพอเพียง ถูกต้อง เทคนิคการบำรุงด้วย "ไบโออิ" ซึ่งมีแม็กเนเซียม. กับสังกะสี. เป็นส่วน ประกอบหลัก ธาตุอาหาร 2 ตัวนี้จะช่วยบำรุงต้นให้สมบูรณ์อยู่เสมอ

- ต้นโตให้ผลผิตแล้วมีสภาพทรงพุ่มขนาดใหญ่ กิ่งยาวดูเก้งก้าง มักไม่ออกดอกติดผล แก้ไขด้วยการใช้ พาโคลบิวาโซล 1.75 กรัม ผสมน้ำตามความเหมาะสมฉีดพ่นให้แก่มังคุด 1 ต้น 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 10-20 วัน จะช่วยให้กิ่งหยุดยาว ใบมีขนาดกว้างขึ้นแต่สั้นลง .... ถ้าใช้พาโคลบิวาโซลอัตราเดียวกันนี้ฉีดพ่นให้แก่ต้นมังคุดช่วงเรียกใบอ่อนก็จะช่วยให้ต้นแตกใบอ่อนด้วยระยะเวลาเพียง 140 วันและแตกใบอ่อนใหม่ติดต่อกันถึง 3 ชุด

- มังคุดอ่อนไหวต่อสภาพแวดล้อมที่ผิดปกติอย่างมาก กล่าวคือ ถ้าสภาพแวดล้อมโดยเฉพาะความชื้นไม่เหมาะสมจะให้ผลผลิตไม่ดี ดอกร่วง ผลเล็ก ผลไม่ดก บางครั้งออกดอกติดผลปีเว้นปี หรือเว้น 2 ปี แต่ถ้ามีสภาพแวดล้อมเหมาะสมดีต่อเนื่องสม่ำเสมอก็พร้อมที่จะออกดอกติดผลทุกปีได้

- มังคุดต้องการความชื้นหน้าดินสูงจึงควรให้มีพืชหรือวัชพืชคลุมดินตลอดเวลา การใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชเป็นอันตรายต่อพัฒนาการของมังคุดอย่างมาก

- เหตุปัจจัยที่ทำให้เนื้อมังคุดเป็นเนื้อแก้วมีหลายประการ เช่น แมลงปากกัดปากดูดเข้าทำลายช่วงผลเล็ก, ผล (ทุกระยะ) ถูกกระแทกเนื่องจากลมพัดไปปะทะกับกิ่งข้างเคียง, ขาดสารอาหารรอย่างรุนแรง, ช่วงผลสีระดับ 4-6 ได้รับน้ำมากเกินหรือน้อยเกิน, ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศสูงเกิน, และเก็บเกี่ยวผลแล้วผลร่วงกระแทกกับเครื่องมือเก็บเกี่ยวหรือร่วงลงกระทบพื้น

- ระยะผลแก่เหมาะสมต่อการเก็บเกี่ยวคือ หลังดอกบาน 11-12 อาทิตย์ ซึ่งผลจะมีพัฒนาการให้เห็นได้ด้วยการสังเกตสีของเปลือก โดยสีของเปลือกจะเปลี่ยนแปลงเป็น 7 ระดับ ดังนี้

สีระดับ 0 : ผลมีสีขาวอมเหลืองสม่ำเสมอ หรือขาวอมเหลืองมีแต้มเขียวอ่อนหรือจุดสีเทา มียางสีเหลืองภายในเปลือกรุนแรงมาก เนื้อและเปลือกยังแยกออกจากกันไม่ได้ ผลประเภทนี้แม้จะเปลี่ยนสีผลเป็นระดับ 6 ได้ก็ไม่มีคุณภาพ

สีระดับ 1 : ผลมีสีเหลืองอ่อนอมเขียว มีจุดชมพูกระจายอยู่บนบางส่วนของผล ยางภายในเปลือกยังคงอยู่ในระดับรุนแรง เนื้อและเปลือกยังไม่สามารถแยกจากกันได้ ผลที่เก็บเกี่ยวในระยะนี้ถึงแม้จะเปลี่ยนไปเป็นสีผลระดับ 6 ได้ก็ไม่มีคุณภาพเช่นกัน

สีระดับ 2 : ผลมีสีเหลืองอ่อนอมชมพู มีจุดประชมพูกระจายทั่วผล ยางภายในเปลือกอยู่ในระดับปานกลาง การแยกตัวระหว่างเนื้อกับเปลือกอยู่ระหว่างยากถึงปากลาง เป็นระยะผลอ่อนที่ดีที่สุดสำหรับการเก็บเกี่ยวซึ่งจะได้ผลคุณภาพดี

สีระดับ 3 : ผลสีชมพูสม่ำเสมอ จุดประสีชมพูเริ่มขยายเข้ามารวมกัน ไม่แบ่งแยกอย่างชัดเจนเหมือนช่วงสีระดับ 2 ยางภายในเปลือกยังคงมีอยู่แต่น้อย เปลือกกับเนื้อแยกกันได้ยากปานกลาง

สีระดับ 4 : ผลสีแดงหรือน้ำตาลอมแดง บางครั้งมีแต้มสีม่วง ยางภายในเปลือกมีน้อยมากจนถึงไม่มีเลย การแยกตัวระหว่างเนื้อกับเปลือกดีมาก เป็นระยะเกือบพร้อมรับประทาน

สีระดับ 5 : ผลสีม่วงอมแดง ภายในเปลือกไม่มียาง เนื้อและเปลือกแยกกันได้ง่าย เป็นระยะที่รับประทานได้ และเหมาะสมต่อการส่งออก

สีระดับ 6 : ผลสีม่วงหรือม่วงเข้มจนถึงดำ บางครั้งพบว่ามีสีม่วงปนอยู่เล็กน้อย ภายในเปลือกไม่มียาง เนื้อและเปลือกแยกออกจากกันได้ง่าย เป็นระยะรับประทานดีที่สุด

หมายเหตุ :
- สรุประยะเวลาในการปฏิบัติบำรุงต่อมังคุดให้ได้ผลผลิตที่ดีในแต่ละรอบปีการผลิต ดังนี้
ส.ค. – ก.ย. แตกใบอ่อน
ต.ค. – พ.ย. สะสมอาหารเพื่อการออกดอก
ธ.ค. เปิดตาดอก
ม.ค. – มี.ค. บำรุงผล
เม.ย. – พ.ค. เก็บเกี่ยว (ได้ผลผลิตคุณภาพดี)
มิ.ย. – ก.ค. เก็บเกี่ยว (ได้ผลผลิตคุณภาพไม่ดี)

- สรุปการปฏิบัติและการแก้ไขกรณีที่มังคุดออกดอกและไม่ออกดอก ปัจจัยสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการออกดอกของมังคุด คือ ความสมบูรณ์ของต้นและอายุใบตั้งแต่ใบอ่อนถึงใบแก่ไม่น้อยกว่า 9-12 สัปดาห์ ช่วงปรับ ซี/เอ็น เรโช.ตรงกับสภาพอากาศ (แล้ง) เหมาะสมติดต่อกันอย่างน้อย 20-30 วัน และให้น้ำเพื่อกระตุ้นตาดอกอย่างถูกวิธี ดังนี้

1. เมื่อสิ้นฤดูฝน ต้นมีความสมบูรณ์ อายุใบ 9-12 สัปดาห์และสภาพอากาศแล้ง ให้งดน้ำประมาณ 20-30 วัน จนต้นมีอาการใบสลดและปลายกิ่งเหี่ยว แล้วให้น้ำรอบแรกเต็มที่ปริมาณ 400-600 ล./ต้นทรงพุ่ม 5-6 ม. เมื่อต้นได้รับน้ำจะสดชื่นอย่างเดิม พร้อมกับตาดอกภายในเริ่มพัฒนาพร้อมที่จะแทงออกมา หลังจากต้นฟื้นสดชื่นขึ้นมาแล้วรอสังเกตอาการ 7-10 วัน ถ้าก้านใบและกิ่งปลายยอดเริ่มเต่งขึ้นก็ให้น้ำรอบสองปริมาณครึ่งหนึ่งของรอบแรก ให้น้ำรอบสองไปแล้วประมาณ 10-24 วันจะเริ่มมีตาดอกผลิออกมาให้เห็น

2. เมื่อสิ้นฤดูฝน ต้นมีความสมบูรณ์ อายุใบ 9-12 สัปดาห์และพร้อมที่จะออกดอกแล้ว แต่สภาพอากาศมีฝนชุก ให้ฉีดพ่น “น้ำ 100 ล.+ 13-0-46 (1 กก.) + สาหร่ายทะเล 200 ซีซี.” หลังจากนั้น 10-20 วันเริ่มให้น้ำรอบแรกเต็มที่ ต้นมังคุดก็จะแทงดอกออกมา

สายพันธุ์
ดอกมังคุดเป็นดอกสมบูรณ์เพศ เกสรตัวผู้กับเกสรตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน ก้านเกสรตัวผู้ไม่ได้ยาวออกมาภายนอกดอกเหมือนดอกไม้ผลทั่วๆไป แต่เกสรทั้งสองอยู่ภายในดอกแล้วผสมกันเอง เมื่อเกสรไม่ได้รับการผสมจากต้นอื่นจึงไม่มีโอกาสกลายพันธุ์จนเกิดเป็นสายพันธุ์ใหม่ นั่นคือ มังคุดมีเพียงสายพันธุ์เดียวเท่านั้น การที่คุณภาพของผลผลิตของมังคุดแตกต่างกันนั้นสาเหตุเกิดจากการปฏิบัติบำรุง

การขยายพันธุ์ :
เพาะเมล็ด :
เลือกเมล็ดที่ใหญ่สุดในผลจัดคาต้น นำเมล็ดออกมาล้างเนื้อให้หมด ผึ่งลมให้แห้งแล้วนำไปเพาะในกระบะเพาะทันทีหรือเก็บไว้ในอุณหภูมิห้องไม่เกิน 7 วัน ก่อนนำเมล็ดลงเพาะ (เพาะทันทีหลังออกจากผลหรือเก็บไว้ก่อน) ให้แช่เมล็ดในไคตินไคโตซานหรือธาตุรอง/ธาตุเสริม 12-24 ชม. นำขึ้นผึ่งลมให้แห้งแล้วจึงนำไปเพาะ...เพาะเมล็ด 1 เมล็ด/1 ต้น หรือผ่าเมล็ดทางขวางออกเป็นแว่น 3-4 แว่น/เมล็ด แช่ในไคตินไคโตซานหรือธาตุรอง/ธาตุเสริมก่อนแล้วนำไปเพาะก็ได้ เมล็ด 1 แว่นจะงอกเป็นกล้า 1 ต้น .... ต้นที่ได้จาการเพาะเมล็ดจะให้ผลผลิตเมื่ออายุ 6-8 ปี

ปล่อยให้ผลแก่จัดคาต้น หล่นลงพื้นแล้วงอกขึ้นมาเอง รอให้ต้นที่งอกใหม่โตขนาดเท่านิ้วก้อย ก็ให้ขุดขึ้นมา มีดินเดิมหุ้มรากมากๆ นำลงถุงดำ อนุบาลจนต้นแข็งแรงดีจึงนำลงปลูกในแปลงจริงต่อไป

ตอน :
เลือกกิ่งกระโดง อายุกลางอ่อนกลางแก่ อวบอ้วนสมบูรณ์ ยาว (สูง) 50-80 ซม.หลังจากควั่นกิ่ง ลอกเปลือก ขูดเยื่อเจริญแล้ว ทาแผลรอบควั่นด้วย เอ็นเอเอ. เจือจาง (16 ซีซี./น้ำ 1 ล.) จากนั้นจึงหุ้มด้วยตุ้มตอนขุยมะพร้าวตามปกติ จะช่วยให้รากออกเร็ว จำนวนมากและแข็งแรงดี

เสียบยอด :
โดยเพาะเมล็ดแล้วเลี้ยงต้นกล้าจนได้ขนาดลำต้น ½ ซม. หรือเท่าดินสอดำ นำยอดของกิ่งกระโดงมาเสียบด้วยวิธีการเสียบยอดตามปกติ ต้นตอพืชสกุลเดียวกันที่ให้มังคุดอาศัยเสียบยอดได้ ได้แก่ ชะมวง. มะพูดป่า. พะวา. รง. และต้นที่เกิดจากการเสียบยอดจะให้ผลผลิตเมื่ออายุ 3-4 ปี

หมายเหตุ :
- ปลูกมังคุดแบบให้รากแก้วเกาะหลัก โดยปักเสาไม้เนื้ออ่อนลึก 1-1.5 ม. ลง ณ จุดที่ต้องการปลูกจริงก่อน แล้วย้ายต้นกล้าที่รากแก้วเริ่มเจริญยาวลงข้าง (ชิด) หัวหลัก เมื่อรากเจริญยาวจะเกาะหลักลงลึกไปเรื่อยๆ จนสุดปลายหลัก พร้อมกับแตกรากแขนงออกทางข้างจำนวนมาก มังคุดที่มีรากแก้วยาวและตรงดิ่งลงสู่พื้นดินลึกๆจะเจริญเติบโตเร็ว

- ทั้งต้นที่ได้จากการเพาะเมล็ดและจากการเสียบยอด หากมีการเสริมราก 2-3 ราก จะให้ผลผลิตเร็วกว่าอายุต้นจริง 2-3 ปี และการมีรากมากกว่าปกติจึงทำให้ผลผลิตคุณภาพดีกว่าต้นที่มีรากแก้วเพียงรากเดียวอีกด้วย

เตรียมแปลง :
1. ไม่ควรจัดแปลงแบบสวนยกร่องน้ำหล่อ แต่ให้จัดแปลงแบบยกร่องแห้งลูกฟูกมีร่องสะเด็ดน้ำและทางระบายน้ำ

2. ปรับปรุงดินด้วยอินทรีย์วัตถุ (แกลบดิบ แกลบดำ ยิบซั่ม ปุ๋ยอินทรีย์ กระดูกป่น เศษพืช ฯลฯ)
3. กำหนดจุดปลูกมังคุด
4. ปลูกไม้พี่เลี้ยง
5. ปลูกมังคุด

หมายเหตุ :
มังคุดระยะกล้า (อายุต้น 1-3 ปีแรกหลังปลูก) ถ้าได้ร่มเงาจากไม้พี่เลี้ยงครอบคลุมทรงพุ่มมังคุดไม่ทั่วหรือแสงแดดร้อนจัดส่องถึงได้จะทำให้ใบอ่อนไหม้ แก้ไขด้วยการทำซุ้มซาแลนคลุมอีกชั้นหนึ่งก็จะช่วยป้องกันแสงแดดเผาใบอ่อนไหม้ได้

เตรียมต้น ตัดแต่งกิ่ง :
- ธรรมชาติมังคุดมักแตกกิ่งอย่างเป็นระเบียบอยู่แล้ว การตัดแต่งจึงทำเพื่อให้แตกยอดใหม่โดยตัดกิ่งกระโดง กิ่งในทรงพุ่ม กิ่งคดงอ กิ่งชี้ลง กิ่งไขว้ กิ่งหางหนู กิ่งเป็นโรค ทั้งนี้ภายในทรงพุ่มควรให้โปร่งจนแสงส่องผ่านลงไปถึงโคนต้นได้และเพื่อไม่ให้แตกยอดใหม่ป้องกันทรงพุ่มทึบเกินไปให้ตัดชิดลำกิ่งประธาน

- ตัดยอดกิ่งประธาน (ผ่ากบาล)ณ ความสูงต้นตามต้องการ นอกจากช่วยทำให้แสงแดดผ่านจากยอดเข้าสู่ภายในทรงพุ่มได้อย่างทั่วถึงแล้ว แสงแดดที่ร้อนยังช่วยกำจัดเชื้อราได้เป็นอย่างดี และเพื่อควบคุมขนาดความสูงทรงพุ่มอีกด้วย

- ลักษณะโครงสร้างต้นมังคุดที่ดีควรมีใบด้านนอกทึบแต่ด้านในโปร่ง ดังนั้นการเลือกตัดกิ่งออกกับคงเหลือกิ่งไว้ต้องคำนึงถึงช่วงที่ติดผลในภายหน้าด้วย

- ตัดแต่งกิ่งทันทีหลังเก็บเกี่ยวผลผลิตเสร็จเพื่อฟื้นฟูสภาพต้นเรียกความสมบูรณ์กลับ คืนมาโดยเร็วนอกจากทำให้ต้นไม่โทรมแล้ว ยังช่วยให้ต้นตอบสนองอย่างดีต่อขั้นตอนการบำรุงในฤดูกาลหน้าอีกด้วย

- นิสัยมังคุดต่อการออกดอกไม่จำเป็นต้องกระทบหนาว การตัดแต่งกิ่ง-เรียกใบอ่อนช่วงต้นหน้าฝนแล้วเข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงต่อไปตามลำดับจะทำให้ต้นมีความสมบูรณ์เต็มที่ดีกว่าการตัดแต่งกิ่งในช่วงอื่น

ต้นมังคุดที่แทงยอดออกมา 2 ยอด ขนานกันขึ้นไปทำให้กิ่งแขนงมีมากเกินไปควรตัดเลี้ยงไว้เพียงยอดเดียว แล้วการตัดแต่งกิ่งมังคุดไม่ให้สูงเกินไป มีเทคนิคอย่างไรบ้าง ?

การตัดแต่งมังคุดไม่จำกัดอายุ แต่ถ้าตัดยอด ควรตัดยอดให้ความสูงไม่เกิน 7-8 ม. เพราะจะสะดวกในการดูแลรักษา เช่นการพ่นยา ป้องกันเพลี้ยไฟ ไรแดง และหนอนกินใบอ่อน การพ่นยาจะพ่นได้ทั่วถึง .... ต้นมังคุดปกติจะมีเพียงยอดเดียว จึงควรตัดเลี้ยงไว้เหลือเพียงยอดเดียวโดยเลือกกิ่งที่อ่อนแอกว่าออก เหลือกิ่งที่แข็งแรง หากไม่ต้องการให้ต้นมังคุดสูงเกินไป ควรตัดยอดมังคุดออกไม่ให้สูงเกินไป เพื่อสะดวกในการดูแลรักษา การเก็บเกี่ยวแต่ถ้าหากมังคุดต้นใหญ่ การตัดยอดออกอาจจะส่งผลกระทบกระเทือนต่อผลผลิตในปีแรกๆบ้าง ยังไม่มีการตัดแต่งกิ่งมังคุดควรจะตัดกิ่งแขนงด้านข้างที่ประสานกันและบังแสงแดดออกให้โปร่งได้รับแสงแดดทุกกิ่ง ซึ่งจะทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น

- การตัดแต่งมังคุดไม่จำกัดอายุ แต่ถ้าตัดยอด ควรตัดยอดให้ความสูงไม่เกิน 7-8 เมตร เพราะจะสะดวกในการดูแลรักษา เช่น การพ่นยา ป้องกันเพลี้ยไฟ ไรแดง และหนอนกินใบอ่อน การพ่นยาจะพ่นได้ทั่วถึง .... ต้นมังคุดปกติจะมีเพียงยอดเดียว จึงควรตัดเลี้ยงไว้เหลือเพียงยอดเดียวโดยเลือกกิ่งที่อ่อนแอกว่าออก เหลือกิ่งที่แข็งแรง หากไม่ต้องการให้ต้นมังคุดสูงเกินไป ควรตัดยอดมังคุดออกไม่ให้สูงเกินไป เพื่อสะดวกในการดูแลรักษา การเก็บเกี่ยวแต่ถ้าหากมังคุดต้นใหญ่ การตัดยอดออกอาจจะส่งผลกระทบกระเทือนต่อผลผลิตในปีแรกๆ บ้าง ยังไม่มีการตัดแต่งกิ่งมังคุดควรจะตัดกิ่งแขนงด้านข้างที่ประสานกันและบังแสงแดดออกให้โปร่งได้รับแสงแดดทุกกิ่ง ซึ่งจะทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น

ขั้นตอนการปฏิบัติบำรุงต่อมังคุด
1. เรียกใบอ่อน

ทางใบ :
- ให้ ไบโออิ 25-5-5 + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7-10 วัน

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- ใสปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยคอก (ขี้วัวขี้ไก่ไข่ แกลบดิบ แห้งเก่าข้ามปี) กระดูกป่น ครั้งที่ 1 ของรุ่นหรือปีการผลิต

- ใส่ 25-7-7 (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นกลาง, 2 กก.ต้นใหญ่) /ต้น /เดือน ละลายน้ำรดโคนต้น บริเวณทรงพุ่ม

- คลุมโคนต้นด้วยเศษพืชแห้งหนาๆ เต็มพื้นที่บริเวณทรงพุ่ม ล้ำออกไปถึงนอกเขตทรงพุ่ม
- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 (2 ล.) /ไร่ /เดือน รดทั่วแปลง ทุกตาราง

หมายเหตุ :
- เทคนิค ตัดแต่งกิ่งก่อนบำรุง กับ บำรุงก่อนตัดแต่กิ่ง เรื่องของเรื่องก็คือ ระหว่างที่มีลูกผลบนต้นนั้น ต้นต้องใช้พลังเลี้ยงลูกผลอย่างมาก ต้นจึงโทรม ลูกผลมากโทรมมาก ลูกผลน้อยโทรมน้อย ในเมื่อใบมีหน้าที่สังเคราะห์สารอาหาร ถ้าตัดใบทิ้งแล้วต้นจะเอาใบที่ไหนมาสังเคราะห์อาหาร เพราะฉะนั้น ให้บำรุงเรียกใบอ่อนก่อน 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน เมื่อเห็นว่า ต้นมีอาการอั้นตายอดก็ให้ลงมือตัดแต่งกิ่ง แล้วบำรุงด้วยสูตร “เรียกใบอ่อน” ตาม ปกติ ต้นก็จะแตกใบอ่อนดี จำนวนมาก และพร้อมกันทั้งต้น

- เริ่มปฏิบัติทันทีหลังจากผลลูกสุดท้ายหลุดจากต้น และตัดแต่งกิ่ง
- มังคุดแตกใบอ่อนค่อนข้างช้ากว่าไม่ผลอื่นๆ บางครั้งอาจต้องใช้เวลานานถึง 20-30 วัน จึงจะมีใบอ่อนออกมา ดังนั้นการเรียกอ่อนชุดแรกต่อด้วยชุด 2 นั้น ต้องกะช่วงเวลาให้ใบอ่อนชุด 2 ออกมาตรงกับช่วงเดือน ก.ค. ให้ได้ จึงจะส่งผลไปถึงช่วงงดน้ำที่ตรงกับเดือน ต.ค.-พ.ย. พอดี .... การให้ “ฮิวมิค แอซิด และกลูโคส” ร่วมด้วยในรูปแบบอาหาร “ทางด่วน” จะช่วยให้การแตกใบอ่อนเร็วขึ้น

- มังคุดต้องการใบอ่อน 2 ชุดต่อ 1 รุ่นการผลิต ต้นที่สมบูรณ์ดีจะแตกใบอ่อนชุดแรกจำนวนมาก เมื่อใบอ่อนชุดแรกออกมามากแล้วจะไม่แตกใบอ่อนชุดที่ 2 อีก จึงให้บำรุงตามขั้นตอนต่อไปได้เลย แต่ถ้าหลังจากเรียกใบอ่อนไปแล้ว 5-7 วัน ต้นแตกใบอ่อนน้อยให้ฉีดพ่นทางใบซ้ำอีกรอบพร้อมกับให้ปุ๋ยทางรากอีก 1 รอบ .... กรณีต้นที่ไม่สมบูรณ์จริง การเรียกใบอ่อนชุด 2 ในมังคุดเป็นเรื่องค่อนข้างยาก หากมังคุดแตกใบอ่อนชุดเดียวก็จำเป็นต้องเอาชุดเดียว เพราะหลังจากใบอ่อนชุดแรกออกมาแล้วอายุเกิน 9 สัปดาห์

- ในเขตภาคตะวันออก หากบำรุงให้มังคุดแตกใบอ่อนได้ในช่วงเดือน ส.ค.-ก.ย. แล้วเปิดตาดอกได้ในเดือน ธ.ค.- ม.ค. จากนั้นบำรุงตามขั้นตอนต่อไปเรื่อยๆจะได้ผลผลิตแก่เก็บเกี่ยวในช่วงเดือน เม.ย.-พ.ค. ซึ่งตรงกับช่วงแล้ง ผลมังคุดจะมีคุณภาพดีมาก

2. เร่งใบอ่อนเป็นใบแก่ :
ทางใบ :
- ให้ไบโออิ 0-21-74 หรือ 0-39-39 + สารสมุนไพร 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 7-10 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
ให้น้ำปกติ ทุก 2-3 วัน

หมายเหตุ :
- ลงมือปฏิบัติเมื่อใบเริ่มแผ่กางรับแสงแดดได้
- วัตถุประสงค์เพื่อเร่งใบชุดใหม่ให้สามารถสังเคราะห์อาหารได้ และเร่งระยะเวลาเรียกใบอ่อนชุดต่อไปได้เร็วขึ้น กับทั้งเพื่อให้ใบอ่อนรอดพ้นจากทำลายของแมลงปากกัดปากดูด

- สารอาหารในกลุ่มเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่มีฟอสฟอรัส. และโปแตสเซียม. นอกจากช่วยเร่งใบอ่อนให้เป็นใบแก่แล้วยังช่วยเสริมประสิทธิภาพขั้นตอนสะสมอาหารเพื่อการออกดอกได้ด้วย

- ต้นที่สะสมความสมบูรณ์เต็มที่มานานหลายปีติดต่อกันใบอ่อนจะออกเร็วและจำนวนมาก

3. สะสมอาหารเพื่อการออกดอก :
ทางใบ :
- ให้ไบโออิ 0-42-56 + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7-10 วัน นาน 1-2 เดือน.... ในรอบเดือนหาโอกาสให้น้ำตาลทางด่วน (กลูโคส) 1 ครั้ง

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
-ใส่ 8-24-24 (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นกลาง, 2 กก.ต้นใหญ่) /ต้น /เดือน ละลายน้ำรดโคนต้น บริเวณทรงพุ่ม

- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 8-24-24 (2 ล.) /เดือน รดทั่วแปลง ทุกตารางนิ้ว
- ให้น้ำปกติทุก 2-3 วัน

หมายเหตุ :
- เริ่มปฏิบัติเมื่อใบชุด 2 เพสลาด
- บำรุงให้ต้นได้สะสมอาหารเพื่อการออกดอกไว้มากที่สุดควรเท่าที่จะมากได้โดยใช้ระยะเวลาบำรุง 2-2 เดือนครึ่ง .... การให้กลูโคสเสริมโดยให้รอบแรกเมื่อเริ่มลงมือบำรุงและให้รอบสองห่างจากรอบแรก 20-30 วันจะช่วยให้การสะสมอาหารเพื่อการออกดอกดีขึ้น

- ช่วงหน้าฝน แนะนำให้บำรุงทางใบด้วยสูตรสะสมอาหารปกติโดยให้ก่อนฝนตก 1 ชม. หรือให้ทันทีหลังฝนหยุดใบแห้ง ให้บ่อยๆได้ไม่จำกัดจำนวนครั้งหรือช่วงระยะเวลาให้

- เพื่อให้ต้นได้มีการสะสมอาหารเพื่อการออดอกมากยิ่งขึ้น ให้ใส่มูลค้างคาว 100-200 กรัม/ต้นทรงพุ่ม 5 ม. ด้วยการละลายน้ำรดโคนต้นบริเวณชายพุ่มจะเป็นการดียิ่งขึ้น .... ใช้มูลค้างคาวด้วยความระมัดระวังเพราะในมูลค้างคาวมีสารอาหารสร้างเมล็ด อาจมีผลกระทบช่วงบำรุงผลกลาง (หยุดเมล็ด-สร้างเนื้อ) ได้

- เพื่อให้ต้นได้สะสมอาหารเต็มที่ทันต่อการปรับ ซี/เอ็น เรโช ในเดือน ต.ค. อาจจะพิจารณาให้ทางใบถี่ขึ้นจาก 5-7 วันเป็น 3-5 วันก็ได้ แต่กลูโคสกับนมสัตว์สดยังให้ 2 ครั้งเท่าเดิม

- ก่อนเข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงขั้นต่อไป คือ ปรับ ซี/เอ็น เรโช ให้ทบทวนความทรงจำเมื่อครั้งเรียกใบอ่อนแล้วใบอ่อนออกมาพร้อมกันเป็นชุดเดียวทั่วทั้งต้นหรือไม่ ถ้าใบอ่อนออกมาพร้อมกันดีทั่วทั้งต้นให้ปรับ ซี/เอ็น เรโช ต่อไปได้เลย แต่ถ้าใบอ่อนออกมาไม่พร้อมกันเป็นชุดเดียวทั่วทั้งต้นและค่อนข้างต่างรุ่นกันมากก็ให้บำรุงสะสมอาหารเพื่อการออกดอกต่อไปอีก 2-3 รอบ เพื่อรอให้ใบอ่อนชุดหลังสะสมอาหารจนอั้นตาดอกดีเท่ากับใบอ่อนชุดแรกจากนั้นจึงลงมือปรับ ซี/เอ็น เรโช ทั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อทำให้มีดอกออกมาพร้อมกันเป็นชุดเดียวกันทั่วทั้งต้นนั่นเอง

- ถ้ามังคุดออกดอกยาก จะด้วยเหตุผลทางสายพันธุ์ (พันธุ์หนัก) หรือสภาพอากาศ (อุณหภูมิ) ไม่อำนวยก็สุดแท้ .... ให้สะสมตาดอกด้วย 13-0-46 + 0-52-35 อัตราส่วน 1 : 3 แล้วเปิดตาดอกด้วย 13-0-46 + 0-52-34 อัตราส่วน 3 : 1

4. ตรวจสอบสภาพอากาศก่อนปรับ ซีเอ็น เรโช :
ก่อนเริ่มลงมือปรับ ซี/เอ็น เรโช (งดน้ำ) และก่อนลงมือเปิดตาดอกต้องแน่ใจว่าระหว่างที่กำลังบำรุงทั้งสองขั้นตอนนี้จะต้องไม่มีฝน เพราะถ้ามีฝนตกลงมาการงดน้ำก็ล้ม เหลว และดอกที่ออกมาจะได้รับความเสียหาย .... ถ้ารู้แน่ว่าช่วงงดน้ำและเปิดตาดอกถึงช่วงดอกออกมาแล้วจะมีฝนก็ให้ระงับการปรับ ซี/เอ็น เรโช และเปิดตาดอกไว้ก่อน ให้บำรุงต้นต่อไปอีกด้วยสูตรสะสมอาหารเพื่อการออกดอก จากนั้นอาจจะปรับแผนการบำรุงเพื่อทำให้มังคุดออกล่าฤดูด้วยการเลื่อนเวลาเริ่มปรับ ซี/เอ็น เรโช และเปิดตาดอกให้ช้าออกไปเท่าที่สภาพภูมิ อากาศจะอำนวยก็ได้

5. ปรับ ซี/เอ็น เรโช
ทางใบ :
- ให้ไบโออิ 0-42-56 + สารสกัดสมุนไพร 1-2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7-10 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ ระวังอย่าให้โชกจนตกลงถึงพื้น

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- เปิดหน้าดินโคนต้นโดยนำอินทรีย์วัตถุคลุมโคนต้นออกให้แดดส่องได้ทั่วพื้นดินทรงพุ่ม
- งดให้น้ำเด็ดขาด กรณีสวนยกร่องน้ำหล่อจะต้องสูบน้ำออกให้หมด

หมายเหตุ :
- เริ่มปฏิบัติเมื่อใบอ่อนชุดสุดที่สองแก่จัด
- ก่อนเริ่มลงมือปฏิบัติจะต้องตรวจสอบข่าวสภาพอากาศให้รู้แน่ว่าช่วง 20-30 วันข้างหน้าจะมีฝนหรือไม่ จากนั้นจึงเริ่มงดน้ำหรือเลื่อนการปรับ ซี/เอ็น เรโช.ออกไป

- สภาพอากาศมีผลต่อการปรับ ซี/เอ็น เรโช.อย่างมาก กล่าวคือ สภาพอากาศต้องเปิด (แล้งหรือไม่มีฝน) หากสภาพอากาศปิด (ครึ้มฟ้าครึ้มฝนหรือฝนตก) จะทำให้เกิดความล้มเหลวจนใบไม่สลดหรือใบสลดก็เปิดตาดอกไม่ออก

- ระยะเวลาที่เหมาะสมต่อการปรับ ซี/เอ็น เรโช หรืองดน้ำสำหรับต้นที่ผ่านการสะสมอาหารเพื่อการออกดอกมาแล้วอย่างสมบูรณ์แบบควรอยู่ระหว่าง 20-30 วัน

- ช่วงที่ ซี/เอ็น เรโช แม้สภาพอากาศจะเอื้ออำนวยจนสามารถทำให้ใบสลดได้ภายในกำหนด แต่ถ้าสภาพต้นที่ไม่สมบูรณ์จริงจะเปิดตาดอกไม่ออก

- งดน้ำจนต้นเกิดอาการใบสลด จากนั้นจึงลงมือระดมให้น้ำพร้อมกับเริ่มเปิดตาดอกได้ ซึ่งหลังจากระดมให้น้ำแล้วถ้าต้นมีความสนมบูรณ์สูงจะแตกใบอ่อนพร้อมกับมีดอกตามออกมาด้วย .... ถ้างดน้ำจนใบสลดแล้วระดมให้น้ำพร้อมกับเปิดตาดอก ภายใน 1-2 อาทิตย์ ปรากฏว่าดอกไม่ออก ให้เริ่มงดน้ำใหม่เป็นรอบที่สอง งดน้ำจนกว่าใบจะสลดเหมือนครั้งแรก เมื่อใบสลดแล้วก็ให้ระดมให้น้ำพร้อมกับเปิดตาดอกอีกครั้ง คราวนี้ถ้าต้นมีความสมบูรณ์ ต้นก็จะแตกใบอ่อนพร้อมกับมีดอกออกมาด้วย .... ช่วงระหว่างงดน้ำ ทั้งครั้งแรกและครั้งที่สอง ควรมีการให้อาหารกลุ่ม ซี.ทางใบสม่ำเสมอ ให้พอสัมผัสใบ ไม่ควรให้จนโชกลงถึงพื้นดินเพราะจะกลายเป็นการให้น้ำ ซึ่งอาจจะส่งผลให้มาตรการงดน้ำไม่ได้ผล

6. สำรวจความพร้อมของต้น ก่อนเปิดตาดอก :
เนื้อใบหนาเขียวเข้มส่องแดดไม่ทะลุ เส้นใบนูนเด่น หูใบอวบอ้วน ข้อใบสั้น ใบคู่สุดท้ายปลายกิ่งแก่จัด กิ่งช่วงปลายกลมเปราะหักง่าย มองจากภายนอกระยะไกลๆ เห็นความสมบูรณ์ทางทรงพุ่มชัดเจน

7. ตรวจสอบสภาพอากาศ ก่อนเปิดตาดอก :
ก่อนลงมือเปิดตาดอกให้ตรวจสอบข่าวสภาพอากาศให้แน่ใจว่าในอีก 15-20 วันข้างหน้าหรือวันที่ช่อดอกเริ่มแทงออกมานั้น จะต้องไม่มีฝนตกหรือมีสภาพอากาศปิด (ครึ้มฟ้าครึ้มฝน) เพราะสภาพอากาศปิดหรือมีฝน ต้นมังคุดจะเปิดตาดอกไม่ออก แม้จะอั้นตาดอกดีเพียงใดก็ตาม แต่กลับแทงใบอ่อนออกมาแทน กรณีนี้ให้ระงับการเปิดตาดอกไว้ก่อนแล้วบำรุงต้นด้วยสูตร “สะสมอาหารเพื่อการออกดอก” ต่อไปจนกว่าจะมั่นใจว่าในวันที่ช่อดอกออกมานั้นไม่มีฝนหรืออากาศเปิดแน่จึงลงมือเปิดตาดอก

7. เปิดตาดอก :
ทางใบ :
สูตร 1 .... น้ำ 100 ล. + 13-0-46 + 0-52-34 (3 : 1) + สาหร่ายทะเล 50 กรัม + สารสมุนไพร 250 ซีซี.

สูตร 2 .... ไทเป + 13-0-46 + สารสมุนไพร

ทางราก :
- ยังคงเปิดหน้าดินโคนต้นเหมือนช่วงปรับ ซี/เอ็น เรโช
- ให้ 8-24-24 (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นกลาง, 2 กก.ต้นใหญ่ /ต้น
- ให้น้ำโชกทั่วทรงพุ่ม 2-3 วันติดต่อกัน

หมายเหตุ :
- ในกรณีงดน้ำจนต้นใบสลดแล้วเปิดตาดอกไม่ออก ซึ่งเป็นผลมาจากความสมบูรณ์ของต้นไม่เพียงพอนั้น แก้ไขโดยการระดมให้ “น้ำ + ปุ๋ย” ทางราก และให้ “ธาตุรอง/ธาตุเสริม” ทางใบ ต่ออีก 3-4 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน โดยไม่ต้องเรียกใบอ่อนชุดใหม่ จาก นั้นให้สำรวจความสมบูรณ์พร้อมต่อการเปิดตาดอก (อั้นตาดอก) ถ้าต้นสมบูรณ์ดีเห็นได้ชัดก็ให้งดน้ำอีกครั้ง จากนั้นจึงลงมือเปิดตาดอก

- ถ้ามังคุดออกดอกยาก จะด้วยเหตุผลทางสายพันธุ์ (พันธุ์หนัก) หรือสภาพอากาศ (อุณหภูมิ) ไม่อำนวยก็สุดแท้.... ให้สะสมตาดอกด้วย 13-0-46 + 0-52-35 อัตราส่วน 1:3 แล้วเปิดตาดอกด้วย 13-0-46 + 0-52-34 อัตราส่วน 3:1

8. บำรุงดอก :
ทางใบ :
- ให้ไบโออิ 15-45-15 (หน้าฝน) หรือ 0-52-34 (หน้าแล้ง) + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7-10 วัน ฉีดพ่นพอเปียก ระวังอย่าให้โชกจนลงถึงพื้น

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- ยังคงเปิดหน้าดินโคนต้น
- ให้ 8-24-24 (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นใหญ่) /ต้น /เดือน
- ให้น้ำปกติ ทุก 2-3 วัน

หมายเหตุ :
- นิสัยมังคุดเมื่อออกดอกมักมีใบอ่อนตามมาด้วย ถ้าใบอ่อนออกมามากแล้วมีดอกออกมาน้อยกรณีนี้แก้ไขด้วยการให้ทางใบด้วยสูตรเปิดตาดอกต่อ 1-2 รอบ สารอาหารสูตรนี้นอกจากจะช่วยทำให้ดอกชุดใหม่ออกมาอีกแล้วยังช่วยกดใบอ่อนไม่ให้ออกมาจนมากเกินจำเป็นได้อีกด้วย .... มังคุดที่ระหว่างออกดอกหรือติดผลเล็กแล้วแตกใบอ่อนจะไม่ทิ้งดอกและผลตรงกันข้ามกลับทำให้มีใบสำหรับสังเคราะห์อาหารบำรุงต้นและผลมากขึ้น

- กรณีที่เปิดตาดอกแล้วดอกออกไม่พร้อมกันทั้งต้นแต่ทยอยออกตามกันมาเรื่อยๆ แก้ไขโดยเมื่อดอกออกมาได้ปริมาณ 10-25% ของจำนวนยอดทั้งหมดของต้น ให้ฉีดพ่นทางใบด้วย “น้ำ 100 ล.+ 0-52-34 (500 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + ไทเป 100 ซีซี.+ สาหร่ายทะเล 100 กรัม” 2-3 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน พร้อมกับให้น้ำทุกวัน นอจากช่วยกดไม่ให้ใบอ่อนชุดใหม่ออกมาอีกได้แล้วยังช่วยเปิดตาดอกที่ยังไม่ออกให้ออกมาได้อีกด้วย

- ช่วงดอกตั้งแต่เริ่มแทงออกมาให้เห็น (ก้านดอกยาว 1-2 ซม.) หรือระยะดอกตูมบำรุงด้วยฮอร์โมน เอ็นเอเอ. 1-2 รอบ จะช่วยบำรุงเกสรทั้งตัวผู้และตัวเมียให้สมบูรณ์พร้อมต่อการผสม การให้ฮอร์โมน เอ็นเอเอ. ต้องใช้ด้วยระมัดระวังเพราะถ้าให้เข้มข้นเกินไปจะเกิดความเสียหายต่อดอกและถ้าให้อ่อนเกินไปก็จะไม่ได้ผล

- ให้จิ๊บเบอเรลลิน 30-40 ซีซี./น้ำ 100 ล. ฉีดพ่นช่วงหลังดอกบาน 50% จะช่วยให้การติดเป็นผลดีขึ้น ทั้งนี้จิ๊บเบอเรลลินจะไม่ส่งผลต่อการขยายขนาดผลและคุณภาพผลแต่อย่างใด

- ช่วงดอกเริ่มแทงออกมาใหม่ๆให้แคลเซียม โบรอน. 1 รอบ จะช่วยให้ดอกสมบูรณ์ผสมติดดี

- ฉีดพ่นสารอาหารเพื่อบำรุงดอกด้วยเครื่องมือฉีดพ่นที่มีแรงลมพ่นเบาที่สุดตามความเหมาะสมเพื่อไม่ให้กระทบกระเทือนต่อส่วนต่างๆของดอก ฉีดพ่นที่ช่อดอกโดยตรงพอเปียกหรือฉีดพ่นให้ทั่งทรงพุ่มพอเปียกใบก็ได้

- บำรุงดอกช่วงฝนชุกให้เน้น “สังกะสี และ แคลเซียม โบรอน” โดยให้เมื่อดอกออกมาแล้วหรือให้แบบสะสมล่วงหน้าตั้งแต่ช่วงเปิดตาดอก ให้แบบเดี่ยวๆหรือผสมรวมไปกับธาตุอาหารอื่นๆก็ได้

- ช่วงดอกตูมควรฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรให้บ่อยขึ้น เพื่อป้องกันกำจัดโรคและแมลงจนถึงช่วงดอกบานหรือผสมติดเป็นผล

- ดอกมังคุดที่ออกมาตรงกับช่วงฝนชุกหรือฝนแล้งไม่ค่อยมีปัญหา เพราะเกสรอยู่ภายในดอกจึงไม่มีโอกาสสัมผัสกับสภาพอากาศภายนอก

- ต้นที่ได้รับ แม็กเนเซียม (จากไบโออิ). โบรอน (จากแคลเซียม โบรอน). สม่ำ เสมอแบบสะสม ถึงช่วงออกดอกแล้วเจอฝน ดอกจะแข็งแรงไม่ร่วงง่ายๆ หรือติดเป็นผลได้ดีเหมือนปกติ

9. บำรุงผลเล็ก-กลาง :
ทางใบ :
- ให้ ไบโออิ + ยูเรก้า + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7-10 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ

- ในรอบ 1 เดือน หาโอกาสให้น้ำตาลทางด่วน (กลูโคส) 1 รอบ
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยคอก (ขี้วัวขี้ไก่ไข่ แกลบดิบ แห้งเก่าข้ามปี) กระดูกป่น ครั้งที่ 2 ของรุ่น หรือปีการผลิต

- ใส่ 21-7-14 (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นใหญ่) /ต้น /เดือน ละลายน้ำรดโคนต้น บริเวณทรงพุ่ม

- คลุมโคนต้นด้วยเศษพืชแห้งหนาๆ เต็มพื้นที่บริเวณทรงพุ่ม ล้ำออกไปถึงนอกเขตทรงพุ่ม
- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 21-7-14 (2 ล.) /ไร่ /เดือน รดทั่วแปลง ทุกตารางนิ้ว

หมายเหตุ :
- เริ่มบำรุงเมื่อผลเท่าเมล็ดถั่วเขียว หรือหลังกลีบดอกร่วง
- ช่วงผลเล็กเริ่มโชว์รูปทรงผลแล้วให้ “น้ำ 100 ล. + จิ๊บเบอเรลลิน 10 กรัม” ฉีดพ่น 1 รอบพอเปียกใบจะช่วยบำรุงผลไม่ให้เกิดอาการผลแตกผลร่วงตลอดอายุผลได้ดี

- หลังจากที่ดอกในต้นพัฒนาเป็นผลแล้วและแน่ใจว่าจะไม่มีดอกชุดหลังออกตามมาอีก การบำรุงขั้นตอนนี้จะต้องระวังการแตกใบอ่อน เพราะถ้ามีการแตกใบอ่อนอีกต้นจะสลัดผลเล็กทิ้ง

- ให้กลูโคส 1 รอบ (ไม่ควรมากกว่านี้) เมื่ออายุผลได้ 50% แล้ว
- ให้ปุ๋ยทางใบด้วยสูตรบำรุงผล (ขยายขนาด - หยุดเมล็ด - สร้างเนื้อ) โดยตรง ทุก 7-10 วัน นอกจากช่วยให้ผลมีขนาดใหญ่ขึ้นแล้ว คุณภาพผลยังดีอีกด้วย

10. บำรุงผลแก่
ทางใบ :
- ให้ไบโออิ 0-21-74 + สารสมุนไพร 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน และให้รอบสุดท้ายก่อนเก็บเกี่ยว 7-10 วัน ด้วยการฉีดพ่นพอเปียกใบ

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- เปิดหน้าดินโคนต้น และนำอินทรีย์วัตถุออก
- ให้ 13-13-21 หรือ 8-24-24 สูตรใดสูตรหนึ่ง (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก. ต้นใหญ่) /ต้น ละลายน้ำรดโคนต้น บริเวณทรงพุ่ม แล้วงดน้ำเด็ดขาด

หมายเหตุ :
- เริ่มให้ก่อนเก็บเกี่ยว 7-10 วัน 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน
- การให้ 13-13-21 เหมาะสำหรับต้นที่มีผลรุ่นเดียวกันทั้งต้น แต่หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วต้นมักโทรมจึงต้องเร่งบำรุงฟื้นฟูความสมบูรณ์ของต้น (เรียกใบอ่อน) กลับคืนมาโดยเร็วแล้วจึงเข้าสู่วงรอบการบำรุงใหม่

- การให้ 8-24-24 เหมาะสำหรับต้นที่มีผลหลายรุ่นในต้นเดียวกันซึ่งนอกจากหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตจนหมดต้นแล้วต้นไม่โทรม ช่วยบำรุงผลรุ่นหลังต่อและทำให้ต้นมีความสมบูรณ์พร้อมสำหรับให้ผลผลิตรุ่นปีต่อไปอีกด้วย

===============================================
================================================


ละมุด
ลักษณะทางธรรมชาติ :

- เป็นไม้ผลยืนต้นอายุนับร้อยปี ปลูกได้ทุกพื้นที่ ทุกภาค และทุกฤดูกาล เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกประเภท ชอบดินดำร่วนปนทรายมีอินทรียวัตถุมากๆ ระบายน้ำดี ทนแล้งแต่ไม่ทนต่อสภาพน้ำท่วมขังค้างนาน ช่วงพักต้นต้องการน้ำน้อย แต่ช่วงออกดอกติดผลต้องการน้ำมากและความชื้นสูง

- เริ่มให้ผลผลิตเมื่ออายุต้น 3-4 ปีหลังปลูก สภาพต้นสมบูรณ์เต็มที่ผ่านการบำรุงแบบให้มีสารอาหารกินตลอด 24 ชม. ต่อเนื่องนานหลายปีจะออกดอกติดผลได้ตลอดปีแบบไม่มีรุ่นได้

- อายุผลตั้งแต่ดอกบานถึงเก็บเกี่ยว 7 เดือน และต้นอายุ 30 ปี สามารถให้ผลผลิตได้ถึง 2,500-3,000 ผล/ต้น/ปี

- เตรียมสร้างทรงพุ่มให้สูง 2-3 ม. กว้าง 3-5 ม. ตั้งแต่อายุต้นยังน้อย โดยให้มีกิ่งประธาน 5-6 กิ่งชี้ เพราะธรรมชาติของละมุดนั้น ต้นที่กิ่งประธานระนาบกับพื้น และกิ่งแขนงทำมุมกว้างกับกิ่งประธานจะส่งผลให้กิ่งย่อยออกดอกติดผลดกและดี .... การทำให้กิ่งประธานระนาบกับพื้นไม่จำเป็นต้องดัดหรือกระทำการใดๆ เพราะเมื่ออายุต้นมากขึ้นน้ำหนักกิ่งและผลจะถ่วงให้กิ่งเอนระนาบลงเอง

- มีระบบรากค่อนข้างยาว การให้ปุ๋ยทางรากจึงต้องหว่านเป็นบริเวณกว้างเพื่อให้เนื้อปุ๋ยถึงส่วนปลายรากอย่างทั่วถึง

- ออกดอกจากข้อใบปลายกิ่งที่เกิดใหม่ในปีนั้น เป็นดอกสมบูรณ์เพศมีทั้งเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน ผสมกันเองหรือผสมข้ามดอกข้ามต้นได้

- เกสรตัวผู้หรือเกสรตัวเมียอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างไม่สมบูรณ์เกิดจากขาดสารอาหาร/ฮอร์โมนหรือสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม (อากาศร้อนหรือฝนตกชุก) แล้วผสมกันแล้วพัฒนาเป็นผลจะเป็นผลไม่สมบูรณ์ ไม่โต รูปทรงบิดเบี้ยว

- การพูนดินโคนต้นโดยเฉพาะเลนก้นร่องในสวนยกร่องน้ำหล่อ อย่าพูนหนาแต่ให้พูนบางๆ
- ช่วงพัฒนาผลเล็กถึงผลกลางต้นต้องการน้ำมาก แต่ช่วงผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยวถ้าต้นยังได้รับน้ำมากอยู่เหมือนเดิมจะทำให้ความหวานลดลง ดังนั้นจึงต้องเตรียมการบำรุงผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยวแบบไม่ต้องงดน้ำหรือให้น้ำน้อยๆ เพราะช่วงที่มีผลหลายรุ่นในต้นแล้วงดน้ำเพื่อบำรุงผลแก่ บรรดาผลรุ่นหลังจะชะงักการเจริญเติบโต กรณีนี้ให้ใส่ปุ๋ยทางรากด้วยสูตร 8-24-24 คู่กับให้ทางใบด้วย 0-0-50 หรือ 0-21-74 (สูตรใดสูตรหนึ่ง) 1 รอบก่อนเก็บเกี่ยว 7-10 วัน พร้อมกับให้น้ำพอหน้าดินชื้น ไม่มากไม่น้อยจนเกินไปก็จะช่วยบำรุงทั้งผลแก่ใกล้เก็บและผลรุ่นหลังไปพร้อมๆกัน

เตรียมต้น ตัดแต่งกิ่ง :
- ตัดแต่งเพื่อการแตกยอดใหม่ให้ตัดกิ่งกระโดง กิ่งในทรงพุ่ม กิ่งคดงอ กิ่งชี้ลง กิ่งไขว้ กิ่งหางหนู กิ่งเป็นโรค ทั้งนี้ภายในทรงพุ่มควรให้โปร่งจนแสงส่องผ่านลงไปถึงโคนต้นได้

- ตัดกิ่งทิ้งเพื่อไม่ให้แตกยอดใหม่ป้องกันทรงพุ่มทึบเกินไปให้ตัดชิดลำกิ่งประธาน
- ตัดยอดกิ่งประธาน (ผ่ากบาล) ณ ความสูงต้นตามต้องการ นอกจากช่วยทำให้แสงแดดผ่านจากยอดเข้าสู่ภายในทรงพุ่มได้อย่างทั่วถึงแล้ว แสงแดดที่ร้อนยังช่วยกำจัดเชื้อราได้เป็นอย่างดี และเพื่อควบคุมขนาดความสูงทรงพุ่มอีกด้วย

- ลักษณะโครงสร้างต้นละมุดที่ดีควรมีใบด้านนอกทึบแต่ด้านในโปร่ง กิ่งในทรงพุ่มจะไม่ออกดอกติดผลจึงควรหมั่นตัดแต่งกิ่งในทรงพุ่มบ่อยๆ

- ควร ตัดแต่งกิ่ง-เรียกใบอ่อน ช่วงต้นหน้าฝนแล้วเข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงต่อไปตาม ลำดับจะทำให้ต้นมีความสมบูรณ์เต็มที่ดีกว่าการตัดแต่งกิ่งในช่วงอื่น

ขั้นตอนการปฏิบัติบำรุงต่อละมุด
1. เรียกใบอ่อน

ทางใบ :
- ให้ ไบโออิ 25-5-5 + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยคอก (ขี้วัวขี้ไก่ไข่ แกลบดิบ แห้งเก่าข้ามปี) กระดูกป่น ครั้งที่ 1 ของรุ่นหรือปีการผลิต

- ใส่ 25-7-7 (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นกลาง, 2 กก.ต้นใหญ่) /ต้น /เดือน ละลายน้ำรดโคนต้น บริเวณทรงพุ่ม

- คลุมโคนต้นด้วยเศษพืชแห้งหนาๆ เต็มพื้นที่บริเวณทรงพุ่ม ล้ำออกไปถึงนอกเขตทรงพุ่ม
-ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 (2 ล.) /ไร่ /เดือน รดทั่วแปลงทุกตารางนิ้ว

หมายเหตุ :
- เทคนิค ตัดแต่งกิ่งก่อนบำรุง กับ บำรุงก่อนตัดแต่กิ่ง เรื่องของเรื่องก็คือ ระหว่างที่มีลูกผลบนต้นนั้น ต้นต้องใช้พลังเลี้ยงลูกผลอย่างมาก ต้นจึงโทรม ลูกผลมากโทรมมาก ลูกผลน้อยโทรมน้อย ในเมื่อใบมีหน้าที่สังเคราะห์สารอาหาร ถ้าตัดใบทิ้งแล้วต้นจะเอาใบที่ไหนมาสังเคราะห์อาหาร เพราะฉะนั้น ให้บำรุงเรียกใบอ่อนก่อน 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน เมื่อเห็นว่า ต้นมีอาการอั้นตายอดก็ให้ลงมือตัดแต่งกิ่ง แล้วบำรุงด้วยสูตร “เรียกใบอ่อน” ตาม ปกติ ต้นก็จะแตกใบอ่อนดี จำนวนมาก และพร้อมกันทั้งต้น

- เริ่มปฏิบัติทันที่ ณ วันรุ่งขึ้น หลังจากผลลูกสุดท้ายหลุดจากต้น และหลังตัดแต่งกิ่ง
- เทคนิคการ ตัดแต่ง-เรียกใบอ่อน แบบ “บำรุงก่อนตัด” กล่าวคือ ระหว่างที่ต้นเลี้ยงลูกนั้น ต้นต้องใช้พลังงานอย่างมาก จนทำให้ต้นโทรม หลังจากผลลูกสุดท้ายหลุดจากต้นแล้วให้บำรุงด้วยสูตรเรียกใบอ่อน ทั้งทางใบและทางราก หรือเฉพาะทางใบอย่างเดียวก่อน 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน เพื่อให้ต้นได้ใช้ใบเดิมที่มีสังเคราะห์อาหาร เมื่อเห็นว่า ต้นมีอาการสมบูรณ์ดี ทำท่าจะแตกยอดใหม่ ก็ให้ปฏิบัติการเรียกใบอ่อนทันที การที่ต้นมีความสมบูรณ์อยู่ ต้นก็จะแตกใบอ่อนใหม่ เร็ว ดี มาก และพร้อมกันทั่วทั้งต้น

- ไม่จำเป็นต้องเรียกใบอ่อนเป็นชุดๆ เพราะธรรมชาติของละมุดจะแตกใบอ่อนเป็นช่วงๆควบคู่กับออกดอกติดผลตลอดทั้งปี และไม่จำเป็นต้องเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่ .... ระหว่างที่ละมุดกำลังแตกใบอ่อนออกมาแต่ละชุดๆนั้นหากให้สารอาหารในกลุ่มเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่ (ฟอสฟอรัส. และโปแตสเซียม.) บ้างสัก 1 หรือ 2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน ก็จะช่วยเสริมการออกดอกดีขึ้น

2. เร่งใบอ่อนเป็นใบแก่ :
ทางใบ :
- ให้ไบโออิ 0-21-74 หรือ 0-39-39 + สารสมุนไพร 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
ให้น้ำปกติ ทุก 2-3 วัน

หมายเหตุ :
- เริ่มลงมือปฏิบัติเมื่อใบอ่อนเริ่มแผ่กางรับแสงแดดได้
- วัตถุประสงค์เพื่อเร่งใบชุดใหม่ให้สามารถสังเคราะห์อาหารได้ และเร่งระยะเวลาเรียกใบอ่อนชุดต่อไปได้เร็วขึ้น กับทั้งเพื่อให้ใบอ่อนรอดพ้นจากทำลายของแมลงประเภทปากกัดปากดูด

- ถ้าต้องการให้ใบแก่เร็วขึ้นอีกก็ให้ฉีดพ่นตั้งแต่ใบเริ่มแผ่กางเพียงเล็กน้อย หรือฉีดพ่นก่อนที่ใบแผ่กาง (เพสลาด) นั่นเอง

- สารอาหารในกลุ่มเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่มีฟอสฟอรัส. และโปแตสเซียม.สูง นอก จากช่วยทำให้ใบเป็นใบแก่แล้ว ยังเสริมประสิทธิภาพขั้นตอนสะสมอาหารเพื่อการออกดอกได้อีกด้วย

- ถ้าปล่อยให้ใบอ่อนออกมาแล้วเป็นแก่เองตามธรรมชาติต้องใช้เวลา 30-45 วัน

3. สะสมอาหารเพื่อการออกดอก :
ทางใบ :
- ให้ไบโออิ 0-42-56 + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน นาน 1-2 เดือน .... ในรอบเดือนหาโอกาสให้น้ำตาลทางด่วน (กลูโคส) 1 ครั้ง

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
-ใส่ 8-24-24 (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นกลาง, 2 กก.ต้นใหญ่) /ต้น /เดือน ละลายน้ำรดโคนต้น บริเวณทรงพุ่ม

- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 8-24-24 (2 ล.) /เดือน รดทั่วแปลง ทุกตารางนิ้ว
- ให้น้ำปกติทุก 2-3 วัน

หมายเหตุ :
- เริ่มปฏิบัติเมื่อใบชุดแรกเพสลาด
- เริ่มปฏิบัติหลังจากใบอ่อนชุดสุดท้ายเพสลาด
- ปริมาณ 8-24-24 ใส่มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณการติดผลในรุ่นปีผลิตที่ผ่านมา กล่าวคือ ถ้ารุ่นปีผลิตที่ผ่านมาติดผลดกมาก ผลผลิตมีคุณภาพดีมาก ให้ใส่ในปริมาณที่มากขึ้น แต่ถ้ารุ่นปีผลิตที่ผ่านมาติดผลดกน้อยหรือไม่ติดผลเลย ให้ใส่ในปริมาณปานกลาง

- การเพิ่มปริมาณปุ๋ยให้มากขึ้น หมายถึง การให้อัตราเดิมแต่ระยะเวลาให้ถี่ขึ้น เช่น จากเคยให้ 15 วัน/ครั้ง ก็ให้เปลี่ยนเป็น 10 วัน/ครั้ง

- แนวทางบำรุงให้ต้นได้สะสมอาหารเพื่อการออกดอกไว้มากที่สุดควรเตรียมแผนใช้เวลาบำรุง 2-3 เดือน ในห้วง 2-3 เดือนนี้ให้น้ำตาลทางด่วน (กลูโคส) 1-2 รอบ โดยรอบแรกให้เมื่อเริ่มลงมือบำรุง และให้รอบ 2 ห่างจากรอบแรก 20-30 วัน

- การสะสมอาหารเพื่อการออกดอกมีความสำคัญมาก ช่วงนี้จำเป็นต้องให้สาร อาหารกลุ่ม “สร้างดอก-บำรุงผล” ทั้งทางใบและทางรากให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้

- ก่อนเข้าสู่ขั้นตอนปรับ ซี/เอ็น เรโช ให้ทบทวนความทรงจำเมื่อครั้งเรียกใบอ่อนแล้วใบอ่อนออกมาพร้อมกันเป็นชุดเดียวทั่วทั้งต้นหรือไม่ ถ้าใบอ่อนออกมาพร้อมกันดีทั่วทั้งต้นให้ลงมือปรับ ซี/เอ็น เรโช ต่อไปได้เลย แต่ถ้าใบอ่อนออกมาไม่พร้อมกันเป็นชุดเดียวทั่วทั้งต้นและค่อนข้างต่างรุ่นกันมากให้บำรุงสะสมอาหารเพื่อการออกดอกต่อไปอีก 2-3 รอบ เพื่อรอให้ใบอ่อนชุดหลังได้สะสมอาหารจนอั้นตาดอกดีเท่ากับใบอ่อนชุดแรกเสียก่อน จาก นั้นจึงลงมือปรับ ซี/เอ็น เรโช ทั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อทำให้มีดอกออกมาพร้อมกันเป็นชุดเดียว กันทั่วทั้งต้นนั่นเอง

4. ตรวจสอบสภาพอากาศก่อนปรับ ซี/เอ็น เรโช :
ก่อนเริ่มลงมือปรับ ซี/เอ็น เรโช (งดน้ำ) และก่อนลงมือเปิดตาดอกต้องแน่ใจว่า ระหว่างที่กำลังบำรุงทั้งสองขั้นตอนนี้จะต้องไม่มีฝน เพราะถ้ามีฝนตกลงมาการงดน้ำก็ล้ม เหลว และดอกที่ออกมาจะได้รับความเสียหาย .... ถ้ารู้แน่ว่าช่วงงดน้ำและเปิดตาดอกถึงช่วงดอกออกมาแล้วจะมีฝนก็ให้ระงับการปรับ ซี/เอ็น เรโช และเปิดตาดอกไว้ก่อน ให้บำรุงต้นต่อไปอีกด้วยสูตรสะสมอาหารเพื่อการออกดอก จากนั้นอาจจะปรับแผนการบำรุงเพื่อทำให้ออกล่าฤดูด้วยการเลื่อนเวลาเริ่มปรับ ซี/เอ็น เรโช และเปิดตาดอกให้ช้าออกไปเท่าที่สภาพภูมิ อากาศจะอำนวยก็ได้

5. ปรับ ซี/เอ็น เรโช :
ทางใบ :
- ให้ไบโออิ 0-42-56 + สารสกัดสมุนไพร 1-2 รอบ สลับด้วยแคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ ระวังอย่าให้โชกจนตกลงถึงพื้น

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- เปิดหน้าดินโคนต้นโดยนำอินทรีย์วัตถุคลุมโคนต้นออกให้แดดส่องได้ทั่วพื้นดินทรงพุ่ม
- งดให้น้ำเด็ดขาด กรณีสวนยกร่องน้ำหล่อจะต้องสูบน้ำออกให้หมด

หมายเหตุ :
- ลงมือปฏิบัติเมื่อสังเกตเห็นความสมบูรณ์ของต้นชัดเจน
- ต้นที่มีอาการอั้นตาดอกดีจนพอใจแล้วไม่ต้องฉีดพ่นกลูโคส (น้ำตาลทางด่วน) เพิ่มอีกแต่ถ้าต้นมีอาการอั้นตาดอกไม่ดีหรือยังไม่น่าพอใจ แนะนำให้ฉีดพ่นกลูโคสทางใบอีกซ้ำอีก 1 รอบ โดยเว้นระยะเวลาให้ห่างจากที่เคยให้เมื่อช่วงสะสมอาหารไม่น้อยกว่า 30-45 วัน

- วัตถุประสงค์เพื่อ “เพิ่ม” ปริมาณสารอาหารกลุ่มสร้างดอก-บำรุงผล (ซี.) และ “ลด” ปริมาณสารอาหารกลุ่มสร้างใบ-บำรุงต้น (เอ็น.)

- การงดน้ำในละมุดก่อนเปิดตาดอกจะช่วยให้ดอกออกมาพร้อมกันพร้อมกันเป็นชุดใหญ่ทั้งต้น แต่ถ้าไม่งดน้ำแล้วเปิดตาดอกเลยจะทำให้ดอกออกแบบทยอยเป็นชุดๆหลายชุดแล้วก็จะทยอยออเรื่อยๆตลอดปี

6. สำรวจความพร้อมของต้น :
เนื้อใบหนาเขียวเข้มส่องแดดไม่ทะลุ เส้นใบนูนเด่น หูใบอวบอ้วน ข้อใบสั้น ใบคู่สุดท้ายปลายกิ่งแก่จัด กิ่งช่วงปลายกลมเปราะหักง่าย มองจากภายนอกระยะไกลๆ เห็นความสมบูรณ์ทางทรงพุ่มชัดเจน

7. ตรวจสอบสภาพอากาศ ก่อนเปิดตาดอก :
ก่อนลงมือเปิดตาดอกให้ตรวจสอบข่าวสภาพอากาศให้แน่ใจว่าในอีก 15-20 วัน ข้างหน้าหรือวันที่ช่อดอกเริ่มแทงออกมานั้น จะต้องไม่มีฝนตกหรือมีสภาพอากาศปิด (ครึ้มฟ้าครึ้มฝน) เพราะสภาพอากาศปิดหรือมีฝน ต้นละมุดจะเปิดตาดอกไม่ออก แม้จะอั้นตาดอกดีเพียงใดก็ตาม แต่กลับแทงใบอ่อนออกมาแทน กรณีนี้ให้ระงับการเปิดตาดอกไว้ก่อนแล้วบำรุงต้นด้วยสูตร “สะสมอาหารเพื่อการออกดอก” ต่อไปจนกว่าจะมั่นใจว่าในวันที่ช่อดอกออกมานั้นไม่มีฝนหรืออากาศเปิดแน่จึงลงมือเปิดตาดอก

8. เปิดตาดอก :
ทางใบ :
- ให้ไทเป +13-0-46 + สารสมุนไพร 1 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ

- ฉีดพ่นสารสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- ยังคงเปิดหน้าดินโคนต้น
- ให้น้ำพอหน้าดินชื้นหรือพอให้ต้นได้รู้สึกตัว

หมายเหตุ :
- ลงมือปฏิบัติเมื่อต้นมีอาการอั้นตาดอกทั่วทั้งต้นหรือทุกจุดที่สามารถออกดอกได้
- อาจจะพิจารณาใส่ 8-24-24 (100-200 กรัม)/ต้น อีก 1 รอบก็ได้ ด้วยการละลายน้ำรดโคนต้นพอหน้าดินชื้น เพื่อเสริมของเก่าที่ใส่เมื่อช่วงสะสมอาหา รและช่วงที่ปรับ ซี/เอ็น เรโช

- หลังจากเปิดตาดอกแล้ว ถ้าดอกออกมาไม่มากพอ ระหว่างที่ดอกชุดแรกยังเป็นดอกตูมอยู่นั้น ให้เปิดตาดอกซ้ำอีก 1-2 รอบด้วยสูตรเดิม หรือจนกระทั่งดอกชุดแรกบานแล้วจึงยุติการเปิดตาดอกซ้ำ

9. บำรุงดอก :
ทางใบ :
- ให้ไบโออิ 15-45-15 (หน้าฝน) หรือ 0-52-34 (หน้าแล้ง) + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรช่วงค่ำ ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- ให้ 8-24-24 (½ กก.) /ต้น ละลายน้ำรดโคนต้น บริเวณทรงพุ่ม
- ยังคงเปิดหน้าดินโคนต้น
- ให้น้ำพอหน้าดินชื้น

หมายเหตุ :
- ช่วงดอกตั้งแต่เริ่มแทงออกมาให้เห็น (ก้านดอกยาว 1-2 ซม.) หรือระยะดอกตูม บำรุงด้วยฮอร์โมน เอ็นเอเอ. 1-2 รอบ จะช่วยบำรุงเกสรทั้งตัวผู้และตัวเมียให้สมบูรณ์พร้อมรับผสม แต่ต้องใช้ด้วยระมัดระวังเพราะถ้าให้เข้มข้นเกินไปจะเกิดความเสียหายต่อดอกและถ้าให้อ่อนเกินไปก็จะไม่ได้ผล

- ช่วงดอกเริ่มแทงออกมาใหม่ๆให้แคลเซียม โบรอน. 1 รอบ จะช่วยให้ดอกสมบูรณ์ผสมติดดี

- ฉีดพ่นสารอาหารเพื่อบำรุงดอกด้วยเครื่องมือฉีดพ่นที่มีแรงลมพ่นเบาที่สุดตามความเหมาะสมเพื่อไม่ให้กระทบกระเทือนต่อส่วนต่างๆของดอก ฉีดพ่นที่ช่อดอกโดยตรงพอเปียกหรือฉีดพ่นให้ทั่งทรงพุ่มพอเปียกใบก็ได้

- บำรุงดอกช่วงฝนชุกให้เน้น “สังกะสี และ แคลเซียม โบรอน” โดยให้เมื่อดอกออกมาแล้วหรือให้แบบสะสมล่วงหน้าตั้งแต่ช่วงเปิดตาดอก ให้แบบเดี่ยวๆหรือผสมรวมไปกับธาตุอาหารอื่นๆก็ได้

- ช่วงดอกตูมควรฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรให้บ่อยขึ้น เพื่อป้องกันกำจัดโรคและแมลงจนถึงช่วงดอกบาน

- ระยะดอกบานถ้าตรงกับช่วงฝนชุกเกสรจะเปียกชื้นทำให้ผสมไม่ติด แก้ไขโดยกะระยะเวลาบำรุงให้ดอกออกมาแล้วไม่ตรงกับช่วงฝนชุกเท่านั้น แต่ถ้าดอกออกมาตรงกับช่วงแล้งอากาศร้อนมากเกสรจะฝ่อทำให้ผสมไม่ติดเช่นกัน แก้ไขโดยการสร้างความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศและที่พื้นดิน ทั้งในแปลงปลูกและรอบๆแปลงปลูก....มาตรการบำรุงต้นและดอกให้สมบูรณ์อย่างแท้จริงอยู่เสมอจะช่วยลดความสูญเสียได้เป็นอย่างมาก

- ต้นที่ได้รับ แม็กเนเซียม (จากไบโออิ). โบรอน (จากแคลเซียม โบรอน). สม่ำเสมอแบบสะสม ถึงช่วงออกดอกแล้วเจอฝน ดอกจะแข็งแรงไม่ร่วงง่ายๆ หรือติดเป็นผลได้ดีเหมือนปกติ

10. บำรุงผลเล็ก-กลาง :
ทางใบ :
- ให้ ไบโออิ + ยูเรก้า + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7-10 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ

- ในรอบ 1 เดือน หาโอกาสให้น้ำตาลทางด่วน (กลูโคส) 1 รอบ
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยคอก (ขี้วัวขี้ไก่ไข่ แกลบดิบ แห้งเก่าข้ามปี) กระดูกป่น ครั้งที่ 2 ของรุ่น หรือปีการผลิต

- ใส่ 21-7-14 (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นกลาง, 2 กก.ต้นใหญ่) /ต้น /เดือน ละลายน้ำรดโคนต้น บริเวณทรงพุ่ม

- คลุมโคนต้นด้วยเศษพืชแห้งหนาๆ เต็มพื้นที่บริเวณทรงพุ่ม ล้ำออกไปถึงนอกเขตทรงพุ่ม
- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 21-7-14 (2 ล.) /ไร่ /เดือน รดทั่วแปลง ทุกตารางนิ้ว

หมายเหตุ :
- เริ่มบำรุงเมื่อผลเท่าเมล็ดถั่วเขียว หรือหลังกลีบดอกร่วง
- ช่วงผลเล็กเริ่มโชว์รูปทรงผลแล้วให้ “น้ำ 100 ล.+ จิ๊บเบอเรลลิน 10 กรัม” ฉีดพ่น 1 รอบพอเปียกใบจะช่วยบำรุงผลไม่ให้เกิดอาการผลแตกผลร่วงตลอดอายุผลได้ดี

- หาจังหวะให้น้ำตาลทางด่วน (กลูโคส) 1 ครั้ง

11. บำรุงผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยว :
ทางใบ :
- ให้ไบโออิ 0-21-74 + สารสมุนไพร 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน และให้รอบสุดท้ายก่อนเก็บเกี่ยว 7-10 วัน ด้วยการฉีดพ่นพอเปียกใบ

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- เปิดหน้าดินโคนต้น และนำอินทรีย์วัตถุออก
- ให้ 13-13-21 หรือ 8-24-24 สูตรใดสูตรหนึ่ง (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก. ต้นกลาง, 2 กก.ต้นใหญ่) /ต้น ละลายน้ำรดโคนต้น บริเวณทรงพุ่ม แล้วงดน้ำเด็ดขาด

หมายเหตุ :
- เริ่มให้ก่อนเก็บเกี่ยว 7-10 วัน 1-2 รอบห่างกันรอบละ 5-7 วัน
- การให้ 13-13-21 เหมาะสำหรับต้นที่มีผลรุ่นเดียวกันทั้งต้น แต่หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วต้นมักโทรมจึงต้องเร่งบำรุงฟื้นฟูความสมบูรณ์ของต้น (เรียกใบอ่อน) กลับคืนมาโดยเร็วแล้วจึงเข้าสู่วงรอบการบำรุงใหม่

- การให้ 8-24-24 เหมาะสำหรับต้นที่มีผลหลายรุ่นในต้นเดียวกันซึ่งนอกจากหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตจนหมดต้นแล้วต้นไม่โทรม ช่วยบำรุงผลรุ่นหลังต่อทำให้ต้นมีความสมบูรณ์พร้อมสำหรับให้ผลผลิตรุ่นปีต่อไปอีกด้วย

================================================
================================================




ลางสาด-ลองกอง


.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 28/01/2024 9:36 am, แก้ไขทั้งหมด 3 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 26/01/2024 1:48 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.

ลางสาด-ลองกอง
ลักษณะทางธรรมชาติ :

- เป็นไม้ผลยืนต้นอายหลายสิบปี ต้นที่ จ.นราธิวาส ถึงวันนี้อายุกว่า 100 ปี ยังไม้ผลผลิตดี ปลูกได้ทุกพื้นที่ของประเทศ ปลูกมากในเขตภาคใต้และภาคตะวันออกเพราะมีฝนชุก ดังนั้นหากจะปลูกในเขตที่มีฝนน้อยก็จะต้องมีแหล่งน้ำธรรมชาติอย่างพอเพียง ลองกอง-ลางสาด เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนปนทรายมีอินทรีย์วัตถุมาก ระบายน้ำได้ดี ไม่ทนต่อน้ำขังค้างนาน ชอบอยู่แซมแทรกกับไม้ผลอื่น เช่น ทุเรียน เงาะ มังคุด สะตอ มะไฟ

- สหรัฐอเมริกาประเทศที่ได้ชื่อว่ามีเทคโนโลยีสูงสุด นำ ลองกอง-ลางสาดไปทดลองปลูกที่ฟลอริดา. แคลิฟอร์เนีย. ปรากฏว่าไม่ประสบความสำเร็จ กับอีกส่วนหนึ่งปลูกที่ฮาวายก็พอจะประสบความสำเร็จอยู่บ้างเมื่อต้น ลองกอง-ลางสาด เจริญเติบโตได้ แต่คุณภาพไม่ดี แสดงว่าแม้เทคโนโลยีวิทยาศาสตร์จะสูงเลิศเพียงใดก็ยังไม่สามารถเอาชนะเทคโนโลยีธรรมชาติได้นั่นเอง

- ลองกอง-ลางสาด เป็นไม้ป่า ดังนั้นก่อนลงมือปลูกให้ปลูกไม้พี่เลี้ยง เช่น กล้วย ทองหลาง หรือเงาะ ทุเรียน มังคุด สะตอ ก่อนอย่างน้อย 1-1 ปีครึ่ง บำรุงไม้พี่เลี้ยงจนกระทั่งยืนต้นได้ดีแล้วจึงลงมือปลูก ลองกอง-ลางสาด เพราะ ลางสาด-ลององ ระยะต้นเล็กต้องการแสงแดดน้อย (รำไรๆ) แต่ต้องการความชื้นที่หน้าดินและความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศสูง แม้แต่ช่วงที่ต้นโตถึงขนาดให้ผลผลิตแล้วก็ยังต้องมีไม้อื่นแซมแทรกอยู่ เพียงแต่ไม่ต้องบังแสงแดดแล้วเท่านั้น .... ลงมือปลูกต้นกล้า ลองกอง-ลางสาด แล้วไม้พี่เลี้ยงบังแสงแดดได้ไม่ดีก็ให้ใช้ทางมะพร้าวช่วยบังแดดเสริม

- ต้นที่ปลูกโดยเพาะเมล็ดทำให้ได้ระบบรากแก้วดีมากแต่เมื่อโตขึ้นจะสูงชะลูด การแตกกิ่งข้างน้อยส่งผลให้มีตำแหน่งออกดอกติดผลน้อยไปด้วย แก้ไขโดยปลูกด้วยกิ่งตอนหรือกิ่งทาบที่ไม่มีรากแก้วหรือมีแต่รากฝอยก่อนแล้วเสริมรากด้วยต้นที่มีรากแก้ว 1-2 ต้น

- เป็นพืชระบบรากตื้นหากินบริเวณผิวหน้าดิน ช่วงอายุต้น 1-3 ปีแรก ควรพรวนดินโคนต้น 1-2 ครั้ง/ปี หลังจากต้นโตให้ผลผลิตแล้วไม่ควรพรวนดินโคนต้นแต่ให้ใช้วิธีการพูนดินล่อรากแทน

- ลางสาดมีระบบรากค่อนข้างแข็งแรง จำนวนมาก และหาอาหารเก่ง แต่ลองกองมีระบบรากไม่สู้แข็งแรง จำนวนไม่มากและหาอาหารไม่เก่งนัก จึงให้ปลูก ลูกู หรือ ลางสาดแบบเพาะเมล็ดก่อนแล้วเปลี่ยนยอดเป็นลองกอง

- ธรรมชาติ ลองกอง-ลางสาด ช่วงอายุต้น 1-2 ปีแรก (ยังไม่ให้ผลผลิต) จะเจริญเติบโตทางสูงมากกว่าทางข้าง โดยลำต้นประธานจะแตกกิ่งข้างและเมื่อกิ่งข้างนั้นโตขึ้นก็จะเจริญทางสูงมากว่าทางข้างเหมือนกัน ระยะนี้ยังไม่ควรตัดแต่งกิ่งข้างแต่ปล่อยให้ต้นแตกกิ่งอย่างอิสระไปก่อน จนกระทั่งเริ่มให้ผลผลิตปีแรกหรือเห็นว่าต้นโตพร้อมที่จะให้ผลผลิตแล้วจึงตัดแต่งกิ่งที่เจริญทางสูงนั้นออก คงเหลือไว้ประมาณ 3-5 กิ่ง/ต้น กระจายรอบทิศทาง กิ่งล่างสุดชิดพื้น ควรสูงจากพื้น 50-80 ซม. ทำให้เหลือต้นเป็นลำเปล้าเดี่ยวๆ ซึ่งจะช่วยให้การลำเลียงน้ำเลี้ยงไปยังส่วนต่างๆของต้นดีขึ้น

- วิธีปลูกแบบระยะชิดแล้วควบคุมขนาดทรงพุ่มไม่ให้เจริญทางสูงด้วยพาโคลบิวทาโซล อัตรา 1.5 กรัม/ต้น หรือใช้ทั้งวิธีราดสารพาโคลบิวทาโซลควบคู่กับการควั่นกิ่งปีละครั้ง/กิ่ง ก็สามารถควบคุมขนาดทรงพุ่มได้เช่นกัน การราดสารพาโคลฯ และการควั่นกิ่งไม่ส่งผลเสียต่อการออกดอกและคุณภาพของผลผลิต

- ออกดอกติดผลที่ลำต้นและใต้ท้องกิ่งแก่อายุ 2 ปีขึ้นไป ต้นที่สมบูรณ์มากๆก็อาจจะออกดอกติดผลที่ใต้ท้องกิ่งอายุปีเดียวได้ การออกดอกจะออกแบบทยอยซึ่งอาจใช้ระยะเวลานานถึง 2 เดือนจึงครบทุกตาดอก แต่ในต้นที่มีความสมบูรณ์สูงจะออกดอกได้นานกว่า 2 เดือน จนถึงออกดอกได้ตลอดปีแบบไม่มีรุ่น และฤดูกาลเลยได้

- ลองกอง-ลางสาด ที่อั้นตาดอกดีแต่เปิดตาดอกแล้วไม่ออกดอก ให้เพิ่ม “แคลเซียม โบรอน + สาหร่ายทะเล” สลับ 1-2 รอบ จะช่วยให้ออกดอกได้ดี

- ออกดอกทั้งเป็นช่อเดี่ยวและเป็นกระจุก บางครั้งออกมาเป็นช่อเดี่ยวก่อนแล้วมีช่อชุดหลังออกตามมาอีกจนเป็นกระจุก ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของต้น .... แต่ละกระปุกมีตั้งแต่ 5-20 ช่อ

- การมีดอกจำนวนมากและเป็นดอกต่างรุ่นกัน ทำให้ยุ่งยากอย่างมากต่อการบำรุง ทั้งช่วงที่ยังเป็นดอกและช่วงที่พัฒนาเป็นผลแล้ว จึงจำเป็นต้องตัดแต่งช่อดอกออกบ้าง โดยเลือกตัดทิ้งช่อดอกก้านสั้น, ช่อดอกไม่สมบูรณ์ก้านเรียวเล็กหรือคดงอ, ช่อดอกที่เกิดในง่ามกิ่ง, ช่อดอกชี้ขึ้นหรือเกิดที่ด้านบนของกิ่ง, ช่อดอกที่เกิดปลายกิ่ง .... ใน 1 กระจุกควรมีช่อดอก 2-4 ช่อ และห่างจากช่อข้างเดียงไม่น้อยกว่า 20-30 ซม. เพื่อให้ได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอ

- ดอกชุดที่ออกก่อน (เดี่ยวหรือกระจุก) มักสมบูรณ์กว่าดอกชุดที่ออกตามหลังดังนั้น เมื่อมีช่อดอกออกมาตามหลังจะต้องพิจารณาคุณลักษณะและตำแหน่งว่า จะมีโอกาสได้รับน้ำเลี้ยงอย่างเพียงพอหรือไม่จากนั้นจึงเลือกตัดทิ้งหรือเก็บไว้

- ในช่อที่มีผลจำนวนมาก แม้จะได้บำรุงยืดช่อแล้วผลก็ยังเบียดกันจนแน่นอยู่อีกก็ต้องซอยผลออกบ้าง ให้พิจาณาซอยผล 2-3 ผลแรกที่โคนก้านช่อ ถ้าอยู่ชิดกับกิ่งมากให้ตัดออกเพราะผลเหล่าเมื่อโตขึ้นจะเบียดกับกิ่งจนทำให้ก้านช่อขาดได้ ส่วนผลอื่นๆ ที่อยู่ภายในช่อให้พิจาณาตัดผลที่เล็กกว่าออกเพราะผลแบบนี้นอกจากจะโตไม่ทันผลใหญ่แล้วยังกีดขวางการขยายตัวของผลใหญ่ให้เสียรูปทรงอีกด้วย

- ถ้าผลในช่อเบียดกันมากจนไม่สามารถตัดผลใดผลหนึ่งออกได้เพราะอาจจะกระทบกระเทือนผลใหญ่ข้างเคียง ให้ปลายเข็มแทงผลที่ต้องการตัดออก เมื่อผลมีแผลจะมียางไหลออกมา ประมาณ 7-10 วัน ผลนั้นก็จะหลุดจากขั้วเอง

- ธรรมชาติของดอก ลองกอง-ลางสาด จะเริ่มบานและผสมติดจากดอกที่โคนช่อก่อน แล้วจะผสมติดตามลำดับจนถึงปลายช่อ เมื่อดอกในช่อทุกดอกผสมติดจนพัฒนาเป็นหมดแล้ว ให้ตัดผลเล็กสุดที่ปลายช่อ 2-3 ผลออก จะช่วยให้ทุกผลที่เหลือในช่อนั้นแก่เก็บเกี่ยวได้ภายในระยะเวลาใกล้เคียงกันหรือเกือบพร้อมกัน

- ดอกเป็นดอกสมบูรณ์เพศ มีทั้งเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกันและผสมกันเองได้ ไม่จำเป็นต้องรับเกสรตัวผู้จากต่างดอกหรือต่างต้น ดอกที่ออกมาจึงสามารถพัฒนาเป็นผลได้ทั้งหมด ยกเว้นกรณีที่ต้นไม่สมบูรณ์เพราะขาดสารอาหาร หรือสภาพอากาศวิปริตอย่างรุนแรงเท่านั้น

- เกสรตัวผู้หรือเกสรตัวเมียอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างไม่สมบูรณ์เกิดจากขาดสารอาหาร/ฮอร์โมน หรือสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม (อากาศร้อนหรือฝนตกชุก) แล้วผสมกันแล้วพัฒนาเป็นผลจะเป็นผลไม่สมบูรณ์ ไม่โต รูปทรงบิดเบี้ยว

- ลองกอง-ลางสาด มักติดผลเป็นพวงจำนวนมากบนก้านช่อเพียงก้านเดียว ผลจึงเบียดกันทำให้เสียรูปทรง จึงควรบำรุงยืดก้านช่อให้ยาวขึ้นเพื่อให้มีพื้นที่สำหรับผลแต่ละผลขยายตัวได้มากขึ้นด้วย จิ๊บเบอเรลลิน อัตรา 100 ซีซี./น้ำ 100 ล. โดยให้ครั้งแรกเมื่อช่อดอกยาว 2-3 ซม. ให้ครั้งที่สองเมื่อช่อดอกยาว 8-20 ซม. และให้ครั้งที่สามเมื่อดอกบานได้ 1 ใน 4 ของจำนวนดอกในช่อ .... เนื่องจากดอก ลองกอง-ลางสาด ออกไม่พร้อมกันแต่จะทยอยออกนานถึง 2 เดือน อายุดอกจึงไม่เท่ากัน ดังนั้นการฉีดพ่นจิ๊บเบอเรลลินจึงต้องฉีดทีละช่อตาม ลำดับความพร้อมก่อนหลัง

- เปลือกต้นหรือกิ่งใหญ่ ลองกอง-ลางสาด แห้งเป็นสะเด็ด (คุดทะราด) ให้ฉีดพ่นด้วยปุ๋ยน้ำชีวภาพบ่อยๆ ฉีดให้โชกจนเปียกทั่วลำต้นหรือกิ่งที่เป็นสะเก็ด จุลินทรีย์ในปุ๋ยน้ำชีวภาพจะช่วยย่อยสลายให้สะเก็ดบนเปลือกเหล่านั้นหลุดร่วงจนผิวเปลือกสะอาดได้ สะเก็ดเหล่านี้นอกจากเป็นแหล่งอาศัยของหนอนต่างๆ แล้วยังเป็นแหล่งสะสมเชื้อราอีกด้วย เมื่อไม่มีสะเก็ดหรือเปลือกสะอาดดี ตาดอกซึ่งอยู่ใต้เปลือกก็จะสมบูรณ์ดีไปด้วย

- ระยะพัฒนาของดอก .... ในช่อดอกเดียวกัน ดอกที่โคนช่อออกก่อนแล้วดอกอื่นๆจะออกตามจนสุดปลายช่อใช้เวลา 5 สัปดาห์ กว่าดอกปลายช่อจะออกมาได้ดอกโคนช่อซึ่งออกก่อนได้บานและผสมติดเป็นผลเรียบร้อยแล้ว ดอกจะบานอยู่นาน 3-5 วัน

- ระยะพัฒนาการของผล .... ในต้นเดียวกัน เมื่อช่อดอกชุดแรกเริ่มออกมาแล้วช่อดอกชุดหลังจะออกตามมาติดต่อกันนาน 19 สัปดาห์ อายุผลตั้งแต่เริ่มติดถึงแก่เก็บเกี่ยวได้ 14 สัปดาห์ การที่ช่อดอกออกไม่พร้อมกันจึงทำให้ผลแก่เก็บเกี่ยวได้ไม่พร้อมกัน แก้ไขโดย ผลช่อไหนแก่ก่อนให้เก็บก่อนและผลช่อไหนแก่ทีหลังให้เก็บทีหลังหรือทยอยเก็บไปเรื่อยๆ ซึ่งต้องเก็บเกี่ยวประมาณ 3-5 รอบจึงหมดทั้งต้น

- การที่ผล ลองกอง-ลางสาด ในช่อเดียวกันแต่ต่างอายุกันถึง 5 สัปดาห์ จึงทำให้ผลแก่ไม่พร้อมกัน แก้ไขโดยฉีดพ่น อีเทฟอน 20 ซีซี./น้ำ 100 ล. เมื่อผลเริ่มเปลี่ยนสีเปลือกจากสีเขียวเป็นสีเหลืองได้ 10-20%โดยฉีดใส่ที่ช่อผลนั้นโดยตรง จะช่วยให้ผลแก่พร้อมกันทั้งช่อภายใน 2 สัปดาห์การฉีดพ่นอีเทฟอน.จะไม่มีผลต่อการร่วงของผลเมื่อสุกหรือระหว่างขนส่งแต่อย่างใด

- หลังจากเก็บเกี่ยวลงมาแล้วปล่อยทิ้งให้ลืมต้น 1-3 วัน จะได้รสชาติและกลิ่นดีขึ้น
- การที่ผล ลองกอง-ลางสาด หลังจากเก็บเกี่ยวมาแล้วหลายวันมักร่วงจากขั้ว แก้ไขโดยใช้ เอ็นเอเอ. 40 ซีซี./น้ำ 100 ล. ฉีดพ่นใส่ช่อผลโดยตรงช่วงที่เปลือกผลเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีเหลืองหมดทั้งช่อแล้ว จะช่วยให้ลองกอง-ลางสาดอยู่บนแผงจำหน่ายโดยผลไม่หลุดจากขั้วนาน 20-30 วัน .... ในช่อที่ไม่ได้ฉีดพ่น เอ็นเอเอ. ผลมักหลุดจากขั้วเร็วหรือฝากแผงได้นานไม่เกิน 10 วัน

ขั้นตอนการปฏิบัติบำรุงต่อ ลางสาด-ลองกอง
1. เรียกใบอ่อน

ทางใบ :
- ให้ ไบโออิ 25-5-5 + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7-10 วัน

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยคอก (ขี้วัวขี้ไก่ไข่ แกลบดิบ แห้งเก่าข้ามปี) กระดูกป่น ครั้งที่ 1 ของรุ่นหรือปีการผลิต

- ใส่ 25-7-7 (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นกลาง, 2 กก.ต้นใหญ่) /ต้น /เดือน ละลายน้ำรดโคนต้น บริเวณทรงพุ่ม

- คลุมโคนต้นด้วยเศษพืชแห้งหนาๆ เต็มพื้นที่บริเวณทรงพุ่ม ล้ำออกไปถึงนอกเขตทรงพุ่ม
- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 (2 ล.) /ไร่ /เดือน รดทั่วแปลง ทุกตาราง

หมายเหตุ :
- เทคนิค ตัดแต่งกิ่งก่อนบำรุง กับ บำรุงก่อนตัดแต่กิ่ง เรื่องของเรื่องก็คือ ระหว่างที่มีลูกผลบนต้นนั้น ต้นต้องใช้พลังเลี้ยงลูกผลอย่างมาก ต้นจึงโทรม ลูกผลมากโทรมมาก ลูกผลน้อยโทรมน้อย ในเมื่อใบมีหน้าที่สังเคราะห์สารอาหาร ถ้าตัดใบทิ้งแล้วต้นจะเอาใบที่ไหนมาสังเคราะห์อาหาร เพราะฉะนั้น ให้บำรุงเรียกใบอ่อนก่อน 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน เมื่อเห็นว่า ต้นมีอาการอั้นตายอดก็ให้ลงมือตัดแต่งกิ่ง แล้วบำรุงด้วยสูตร “เรียกใบอ่อน” ตาม ปกติ ต้นก็จะแตกใบอ่อนดี จำนวนมาก และพร้อมกันทั้งต้น

- ลงมือปฏิบัติทันทีหลังตัดแต่งกิ่งและตัดแต่งรากเสร็จ
- ต้นที่สะสมความสมบูรณ์เต็มที่มานานหลายปีติดต่อกัน และช่วงผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยวเมื่อรุ่นที่ผ่านมาบำรุงทางรากด้วย 8-24-24 เมื่อถึงรุ่นปัจจุบันหลังจากใบอ่อนชุดแรกเริ่มแผ่กางแล้วอาจจะข้ามขั้นตอนการบำรุงไปสู่ขั้นตอนเปิดตาดอกได้เลย โดยให้ทางรากด้วย 8-24-24 ทั้งนี้ ฟอสฟอรัส.กับ โปแตสเซียม. ใน 8-24-24 นอกจากช่วยเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่และสะสมตาดอกได้แล้วยังช่วยเปิดตาดอกได้อีกด้วย

2. เร่งใบอ่อนเป็นใบแก่
ทางใบ :
- ให้ไบโออิ 0-21-74 หรือ 0-39-39 + สารสมุนไพร 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 7-10 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
ให้น้ำปกติ ทุก 2-3 วัน

หมายเหตุ :
- ลงมือปฏิบัติเมื่อใบเริ่มแผ่กางรับแสงแดดได้
- ใบอ่อนที่ออกมาแล้วหากปล่อยให้เป็นใบแก่เองตามธรรมชาติต้องใช้ระยะเวลา 30-45 วัน ซึ่งถือว่าค่อนข้างนาน ดังนั้นจึงควรฉีดพ่นทางใบเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่ 2-3 รอบ ห่างกันรอบละ 7-10 วัน

- วัตถุประสงค์เพื่อเร่งใบชุดใหม่ให้สามารถสังเคราะห์อาหารและเร่งระยะเวลาเรียกใบอ่อนชุด
- สารอาหารในกลุ่มเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่มีฟอสฟอรัส.และโปแตสเซียม. นอกจากช่วยเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่แล้วยังช่วยเสริมประสิทธิภาพขั้นตอนสะสมอาหารเพื่อการออกดอกได้ด้วย

3. สะสมอาหารเพื่อการออกดอก
ทางใบ :
- ให้ไบโออิ 0-42-56 + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7-10 วัน นาน 1 -2 เดือน .... ในรอบเดือนหาโอกาสให้น้ำตาลทางด่วน (กลูโคส) 1 ครั้ง

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
-ใส่ 8-24-24 (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นกลาง, 2 กก.ต้นใหญ่) /ต้น /เดือน ละลายน้ำรดโคนต้น บริเวณทรงพุ่ม

- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 8-24-24 (2 ล.) /เดือน รดทั่วแปลง ทุกตารางนิ้ว
- ให้น้ำปกติทุก 2-3 วัน

หมายเหตุ :
- เริ่มปฏิบัติเมื่อใบเพสลาด
- แนวทางบำรุงให้ต้นได้สะสมอาหารเพื่อการออกดอกไว้มากที่สุด ควรเตรียมแผนใช้เวลาบำรุง 2 เดือน โดยให้กลูโคส (น้ำตาลทางด่วน) รอบแรกเมื่อเริ่มลงมือบำรุง และให้รอบสองห่างจากรอบแรก 20-30 วัน

- วัตถุประสงค์เพื่อให้ต้นได้สะสมสารอาหารทั้งกลุ่มสร้างดอก-บำรุงผล (ซี.) และกลุ่มสร้างใบ-บำรุงต้นไว้ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ จนกระทั่งเกิดอาการอั้นตาดอก ไม่มีการแตกใบอ่อนออกมาอีก ถ้าต้นแตกใบอ่อนออกมาใหม่ก็จะต้องย้อนกลับไปบำรุงที่ขั้นตอนเร่งใบอ่อนให้เป็นใบแก่อีกครั้งซึ่งทำให้เสียเวลา

- ช่วงหน้าฝนหรือสวนยกร่องน้ำหล่อหรือพื้นที่ลุ่มปริมาณน้ำใต้ดินมากแนะนำให้บำรุงทางใบด้วยสูตรสะสมอาหารปกติโดยการให้ก่อนฝนตก 1 ชม. หรือให้ทันทีหลังฝนหยุดใบแห้ง ให้บ่อยๆได้ไม่จำกัดจำนวนครั้งหรือช่วงระยะเวลาให้

- ก่อนเข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงขั้นต่อไป คือ ปรับ ซี/เอ็น เรโช ให้ทบทวนความทรงจำเมื่อครั้งเรียกใบอ่อนแล้วใบอ่อนออกมาพร้อมกันเป็นชุดเดียวทั่วทั้งต้นหรือไม่ ถ้าใบอ่อนออกมาพร้อมกันดีทั่วทั้งต้นให้ปรับ ซี/เอ็น เรโช ต่อไปได้เลย แต่ถ้าใบอ่อนออกมาไม่พร้อมกันเป็นชุดเดียวทั่วทั้งต้นและค่อนข้างต่างรุ่นกันมากก็ให้บำรุงสะสมอาหารเพื่อการออกดอกต่อไปอีก 2-3 รอบ เพื่อรอให้ใบอ่อนชุดหลังสะสมอาหารจนอั้นตาดอกดีเท่ากับใบอ่อนชุดแรกจากนั้นจึงลงมือปรับ ซี/เอ็น เรโช ทั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อทำให้มีดอกออกมาพร้อมกันเป็นชุดเดียวกันทั่วทั้งต้นนั่นเอง

4. ตรวจสอบสภาพอากาศก่อนปรับ ซีเอ็น เรโช :
ก่อนเริ่มลงมือปรับ ซี/เอ็น เรโช (งดน้ำ) และก่อนลงมือเปิดตาดอกต้องแน่ใจว่า ระหว่างที่กำลังบำรุงทั้งสองขั้นตอนนี้จะต้องไม่มีฝน เพราะถ้ามีฝนตกลงมาการงดน้ำก็ล้ม เหลว และดอกที่ออกมาจะได้รับความเสียหาย .... ถ้ารู้แน่ว่าช่วงงดน้ำและเปิดตาดอกถึงช่วงดอกออกมาแล้วจะมีฝนก็ให้ระงับการปรับ ซี/เอ็น เรโช และเปิดตาดอกไว้ก่อน ให้บำรุงต้นต่อไปอีกด้วยสูตรสะสมอาหารเพื่อการออกดอก จากนั้นอาจจะปรับแผนการบำรุงเพื่อทำให้ ลางสาด-ลองกอง ออกล่าฤดูด้วยการเลื่อนเวลาเริ่มปรับ ซี/เอ็น เรโช และเปิดตาดอกให้ช้าออกไปเท่าที่สภาพภูมิ อากาศจะอำนวยก็ได้

5. ปรับ ซี/เอ็น เรโช
ทางใบ :
- ให้ไบโออิ 0-42-56 + สารสกัดสมุนไพร 1-2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7-10 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ ระวังอย่าให้โชกจนตกลงถึงพื้น

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- เปิดหน้าดินโคนต้นโดยนำอินทรีย์วัตถุคลุมโคนต้นออกให้แดดส่องได้ทั่วพื้นดินทรงพุ่ม
- งดให้น้ำเด็ดขาด กรณีสวนยกร่องน้ำหล่อจะต้องสูบน้ำออกให้หมด

หมายเหตุ :
- ลงมือปฏิบัติเมื่อสังเกตเห็นความสมบูรณ์ของต้นชัดเจน
- ในเขตภาคใต้และภาคตะวันออกซึ่งมีฝนชุกหรือน้ำใต้ดินมากอาจต้องใช้ระยะเวลางดน้ำนาน 20-30 วัน แต่ในเขตภาคอื่นที่ฝนน้อยและน้ำใต้ดินน้อยอาจใช้ระยะเวลางดน้ำเพียง 10-15 วันเท่านั้น ...ขั้นตอน “สะสมอาหารเพื่อการออกดอก” แล้ว “งดน้ำ” สำหรับลองกอง-ลางสาด มีความจำเป็นต่อการออกดอกมาก

- วัตถุประสงค์เพื่อ “เพิ่ม” ปริมาณสารอาหารกลุ่มสร้างดอก-บำรุงผล (ซี.) และ “ลด” ปริมาณ สารอาหารกลุ่มสร้างใบ-บำรุงต้น (เอ็น.)

6. สำรวจความพร้อมของต้น ก่อนเปิดตาดอก :
เนื้อใบหนาเขียวเข้มส่องแดดไม่ทะลุ เส้นใบนูนเด่น หูใบอวบอ้วน ข้อใบสั้น ใบคู่สุดท้ายปลายกิ่งแก่จัด กิ่งช่วงปลายกลมเปราะหักง่าย มองจากภายนอกระยะไกลๆ เห็นความสมบูรณ์ทางทรงพุ่มชัดเจน

7. ตรวจสอบสภาพอากาศ ก่อนเปิดตาดอก :
ก่อนลงมือเปิดตาดอกให้ตรวจสอบข่าวสภาพอากาศให้แน่ใจว่าในอีก 15-20 วัน ข้างหน้าหรือวันที่ช่อดอกเริ่มแทงออกมานั้น จะต้องไม่มีฝนตกหรือมีสภาพอากาศปิด (ครึ้มฟ้าครึ้มฝน) เพราะสภาพอากาศปิดหรือมีฝน ต้น.....จะเปิดตาดอกไม่ออก แม้จะอั้นตาดอกดีเพียงใดก็ตาม แต่กลับแทงใบอ่อนออกมาแทน กรณีนี้ให้ระงับการเปิดตาดอกไว้ก่อนแล้วบำรุงต้นด้วยสูตร “สะสมอาหารเพื่อการออกดอก” ต่อไปจนกว่าจะมั่นใจว่าในวันที่ช่อดอกออกมานั้นไม่มีฝนหรืออากาศเปิดแน่จึงลงมือเปิดตาดอก

8. เปิดตาดอก
ทางใบ :
- สูตร 1 .... น้ำ 100 ล. + 13-0-46 + 0-52-34 (3 : 1) + สาหร่ายทะเล 50 กรัม + สารสมุนไพร 250 ซีซี.

- สูตร 2 .... ไทเป + 13-0-46 + สารสมุนไพร
- ฉีดพ่นสารสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- ยังคงเปิดหน้าดินโคนต้นเหมือนช่วงปรับ ซี/เอ็น เรโช
- ให้ 8-24-24 (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นกลาง, 2 กก.ต้นใหญ่ /ต้น
- ให้น้ำโชกทั่วทรงพุ่ม 2-3 วันติดต่อกัน

หมายเหตุ :
- ตาดอก ลองกอง-ลางสาด อยู่ที่ใต้ผิวเปลือกจึงไม่สามารถมองเห็นได้ การที่จะรู้ว่าต้นเกิดอาการอั้นตาดอกดีหรือยังหลังจากงดน้ำเต็มที่แล้วให้สังเกตใบ ถ้าใบมีอาการสลดให้เห็น 3 วันติดต่อกันก็ให้ลงมือเปิดตาดอกได้

- ดอกจะออกหรือไม่ขึ้นอยู่กับปริมาณสารอาหาร (ซี. และ เอ็น.) ที่สะสมไว้เมื่อช่วงสะสมอาหารว่าเพียงพอหรือไม่

- อาจจะพิจารณาใส่ 8-24-24 (100-200 กรัม) /ต้น อีก 1 รอบก็ได้ด้วยการละลายน้ำรดโคนต้นพอหน้าดินชื้นเพื่อเสริมของเก่าที่ใส่เมื่อช่วงสะสมอาหารและช่วงที่ปรับ ซี/เอ็น เรโช

- หลังจากเปิดตาดอกแล้ว ถ้าดอกออกมาไม่มากพอ ระหว่างที่ดอกชุดแรกยังเป็นดอกตูมอยู่นั้น ให้เปิดตาดอกซ้ำอีก 1-2 รอบด้วยสูตรเดิม หรือจนกระทั่งดอกชุดแรกบานแล้วจึงยุติการเปิดตาดอกซ้ำ

- หลังจากเปิดตาดอกแล้วดอกไม่ออก ให้ย้อนกลับไปวิเคราะห์ขั้นตอนการบำรุง “สะสมตาดอก - ปรับ ซี/เอ็น เรโช - เปิดตาดอก” ว่าปฏิบัติถูกต้อง สม่ำเสมอ อาการตอบ สนองจากต้น ทุกขั้นตอนจัดว่าดีแล้ว แต่ครั้นเปิดตาดอกกลับไม่ออก ท่าทางเหมือน “ดื้อ หรือ นิ่ง” กรณีนี้แก้ไขด้วยการให้ “โบรอน” เดี่ยวๆ โดยฉีดพ่นทางใบให้เปียกโชกลงถึงพื้น

9. บำรุงดอก
ทางใบ :
- ให้ไบโออิ 15-45-15 (หน้าฝน) หรือ 0-52-34 (หน้าแล้ง) + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7-10 วัน ฉีดพ่นพอเปียก ระวังอย่าให้โชกจนลงถึงพื้น

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- ยังคงเปิดหน้าดินโคนต้น
- ให้ 8-24-24 (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นใหญ่) /ต้น /เดือน
- ให้น้ำปกติ ทุก 2-3 วัน

หมายเหตุ :
- ช่วงดอกตั้งแต่เริ่มแทงออกมาให้เห็น (ก้านดอกยาว 1-2 ซม.) หรือระยะดอกตูม บำรุงด้วยฮอร์โมน เอ็นเอเอ. 1-2 รอบ จะช่วยบำรุงเกสรทั้งตัวผู้และตัวเมียให้สมบูรณ์พร้อมรับผสม แต่ต้องใช้ด้วยระมัดระวังเพราะถ้าให้เข้มข้นเกินไปจะเกิดความเสียหายต่อดอกและถ้าให้อ่อนเกินไปก็จะไม่ได้ผล

- ช่วงดอกเริ่มแทงออกมาใหม่ๆให้แคลเซียม โบรอน. 1 รอบ จะช่วยให้ดอกสมบูรณ์ผสมติดดี

- ฉีดพ่นสารอาหารเพื่อบำรุงดอกด้วยเครื่องมือฉีดพ่นที่มีแรงลมพ่นเบาที่สุดตามความเหมาะสมเพื่อไม่ให้กระทบกระเทือนต่อส่วนต่างๆของดอก ฉีดพ่นที่ช่อดอกโดยตรงพอเปียกหรือฉีดพ่นให้ทั่งทรงพุ่มพอเปียกใบก็ได้

- บำรุงดอกช่วงฝนชุกให้เน้น “สังกะสี และ แคลเซียม โบรอน” โดยให้เมื่อดอกออกมาแล้วหรือให้แบบสะสมล่วงหน้าตั้งแต่ช่วงเปิดตาดอก ให้แบบเดี่ยวๆ หรือผสมรวมไปกับธาตุอาหารอื่นๆก็ได้

- ช่วงดอกตูมควรฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรให้บ่อยขึ้น เพื่อป้องกันโรคแมลงจนถึงช่วงดอกบาน

- ระยะดอกบานถ้าตรงกับช่วงฝนชุกเกสรจะเปียกชื้นทำให้ผสมไม่ติด แก้ไขโดยกะระยะเวลาบำรุงให้ดอกออกมาแล้วไม่ตรงกับช่วงฝนชุกเท่านั้น แต่ถ้าดอกออกมาตรงกับช่วงแล้งอากาศร้อนมากเกสรจะฝ่อทำให้ผสมไม่ติดเช่นกัน แก้ไขโดยการสร้างความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศและที่พื้นดิน ทั้งในแปลงปลูกและรอบๆแปลงปลูก .... มาตรการบำรุงต้นและดอกให้สมบูรณ์อย่างแท้จริงอยู่เสมอจะช่วยลดความสูญเสียได้เป็นอย่างมาก

- ต้นที่ได้รับ แม็กเนเซียม (จากไบโออิ). โบรอน (จากแคลเซียม โบรอน). สม่ำเสมอแบบสะสม ถึงช่วงออกดอกแล้วเจอฝน ดอกจะแข็งแรงไม่ร่วงง่ายๆ หรือติดเป็นผลได้ดีเหมือนปกติ

10. บำรุงผลเล็ก-กลาง :
ทางใบ :
- ให้ ไบโออิ + ยูเรก้า + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7-10 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ

- ในรอบ 1 เดือน หาโอกาสให้น้ำตาลทางด่วน (กลูโคส) 1 รอบ
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยคอก (ขี้วัวขี้ไก่ไข่ แกลบดิบ แห้งเก่าข้ามปี) กระดูกป่น ครั้งที่ 2 ของรุ่น หรือปีการผลิต

- ใส่ 21-7-14 (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นกลาง, 2 กก.ต้นใหญ่) /ต้น /เดือน ละลายน้ำรดโคนต้น บริเวณทรงพุ่ม

- คลุมโคนต้นด้วยเศษพืชแห้งหนาๆ เต็มพื้นที่บริเวณทรงพุ่ม ล้ำออกไปถึงนอกเขตทรงพุ่ม
- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 21-7-14 (2 ล.) /ไร่ /เดือน รดทั่วแปลง ทุกตารางนิ้ว

หมายเหตุ :
- เริ่มบำรุงเมื่อผลเท่าเมล็ดถั่วเขียว หรือหลังกลีบดอกร่วง
- นิสัยการออกดอกของ ลองกอง-ลางสาด คือ ออกแบบไม่เป็นรุ่น แต่ละรุ่นอายุต่างกัน วันที่ดอกแรกบานนั้นดอกสุดท้ายยังตูม แต่ดอกลองกอง-ลางสาดผสมกันเองในดอกได้ซึ่งไม่จำเป็นต้องรับการผสมจากต่างดอกหรือต่างต้น ดังนั้นจึงฉีดพ่นสารอาหารเพื่อบำรุงดอกได้เลยโดยไม่ต้องกังวลต่อดอกตูมหรือดอกบาน

11. บำรุงผลแก่
ทางใบ :
- ให้ไบโออิ 0-21-74 + สารสมุนไพร 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน และให้รอบสุดท้ายก่อนเก็บเกี่ยว 7-10 วัน ด้วยการฉีดพ่นพอเปียกใบ

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- เปิดหน้าดินโคนต้น และนำอินทรีย์วัตถุออก
- ให้ 13-13-21 หรือ 8-24-24 สูตรใดสูตรหนึ่ง (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก. ต้นใหญ่) /ต้น ละลายน้ำรดโคนต้น บริเวณทรงพุ่ม แล้วงดน้ำเด็ดขาด

หมายเหตุ :
- เริ่มให้ก่อนเก็บเกี่ยว 7-10 วัน 1-2 รอบห่างกันรอบละ 5-7 วัน
- การให้ 8-24-24 เหมาะสำหรับต้นที่มีผลหลายรุ่นในต้นเดียวกัน ซึ่งนอกจากหลังเก็บเกี่ยวผลผลิตจนหมดต้นแล้วต้นไม่โทรมยังช่วยบำรุงผลรุ่นหลังต่อ และยังทำให้ต้นมีความสมบูรณ์พร้อมสำหรับให้ผลผลิตรุ่นปีต่อไปอีกด้วย

===================================================
===================================================


ลำไย
ลักษณะทางธรรมชาติ :

- เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ถึงใหญ่มากอายุนับร้อยปี ต้นลำไยอายุ 109 ปีอยู่ที่บ้านน้ำโท้ง หมู่ 2 ต.สบแม่ข่า อ.หางดง จ.เชียงใหม่ ลำไยปลูกได้ทุกพื้นที่และทุกภาคของประเทศโดยไม่จำเป็นต้องพึ่งความหนาวเย็นก่อนออกดอก ชอบดินดำร่วนหรือดินปนทรายร่วนอินทรียวัตถุมากๆ ระบายน้ำดี ทนแล้งแต่ไม่ทนต่อน้ำท่วมขังค้าง ช่วงพักต้นต้องการน้ำน้อย ช่วงออกดอกติดผลต้องการน้ำสม่ำเสมอ

- ต้นที่เกิดจากเพาะเมล็ดมีรากแก้วหยั่งลงดินลึกนอกจากช่วยยึดลำต้นให้ต้านแรงลมได้ดีแล้วยังมีรากฝอยมาก หาอาหารได้มาก อายุยืน และทนแล้งได้ดี แต่มีข้อเสีย คือ ลำเปล้าจะสูงหรือง่ามกิ่งแรกสูงจากพื้นมากกิ่งสาขาจะยืดยาวแลดูเก้งก้าง สุดท้ายออกดอกติดผลไม่ดี แก้ไขโดยใช้กิ่งตอนหรือกิ่งทาบปลูกลงไปก่อนแล้วเสริมรากด้วยต้นเพาะเมล็ดเพื่อให้มีรากแก้

- ลำไยในเขตภาคเหนือเมื่อถึงช่วงเดือน เม.ย. มักมีพายุฤดูร้อนซึ่งมีทั้งลม ฝนและลูกเห็บ ช่วงนั้นผลลำไยมีขนาดเท่าปลายก้อยหรือโตกว่าเล็กน้อยจะได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจนผลร่วง แนวทางแก้ไขคือ บำรุงล้วงหน้าด้วยแคลเซียม โบรอน. ให้ขั้วเหนียว หรือบังคับลำไยให้ออกนอกฤดูเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาภัยธรรมชาติ

- มีดอกสมบูรณ์เพศ เกสรตัวผู้กับเกสรตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกันและต่างดอกกัน ดอกตัวผู้ทีโคนช่อจะบานพร้อมผสมก่อนดอกกระเทยที่อยู่ปลายช่อ เกสรตัวผู้เกสรตัวเมียผสมกันได้ทั้งในดอกเดียวกันหรือต่างดอกต่างต้น

- ลำไยออกดอกติดผลดีทีปลายกิ่งรอบทรงพุ่มและปลายกิ่งเหนือยอด แต่จะไม่ออกดอกติดผลจากกิ่งในทรงพุ่ม

- ชาวสวนลำไยนิยมให้ผู้เลี้ยงผึ้งนำรังผึ้งไปไว้ในสวนช่วงออกดอก เพื่ออาศัยผึ้งเข้าช่วยผสมเกสร
- การบำรุงช่วงดอกบาน ถ้าต้นและเกสรไม่สมบูรณ์อย่างแท้จริง ผลที่เกิดขึ้นเป็นกระเทย คือ ลักษณะผลเล็ก ในผลมีแต่เนื้อไม่มีเมล็ด หรือเมล็ดเล็กลีบ เป็นผลผลิตที่ไม่มีคุณภาพ

- เกสรตัวผู้หรือเกสรตัวเมียอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างไม่สมบูรณ์เกิดจากขาดสารอาหาร/ฮอร์โมนหรือสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม (อากาศร้อนหรือฝนตกชุก) แล้วผสมกันแล้วพัฒนาเป็นผลจะเป็นผลไม่สมบูรณ์ ไม่โต รูปทรงบิดเบี้ยว เรียกว่ากระเทย

- ลำไยผลใหญ่ขนาด 50-60 ผล/กก. ลักษณะผล ไหล่ยก-อกผาย-ท้ายมน-สีเหลืองเข้ม มีราคาสูงเนื่องจากได้รับการบำรุงอย่างถูกต้องสม่ำเสมอต่อเนื่องนานหลายปี

- การห่อผลเมื่ออายุผล 5-7 สัปดาห์ก่อนเก็บเกี่ยวจะช่วยให้สีเปลือกผลสวย อาการผลแตกผลร่วงน้อยลง ซึ่งดีกว่าการห่อผลช่วงใกล้เก็บเกี่ยวเพียง 1-2 สัปดาห์

- สวนลำไยเก่า ต้นและกิ่งใหญ่ถึงใหญ่มาก ต้องไม้ค้ำกิ่งที่บางครั้งใช้ไม้เนื้อแก่นขนาดหน้า 4-6 นิ้วเพื่อรับน้ำหนักทำให้สิ้นเปลือง การปฏิบัติบำรุงจนถึงการเก็บเกี่ยวค่อนข้างยุ่งยาก ถ้าหากเปลี่ยนแนวคิดในการจัดรูปสวนลำไยแบบเดิมมาเป็นปลูกแบบระยะชิด แล้วควบคุมขนาดกลางทรงพุ่มและขนาดความสูงที่ 3-5 ม.ตั้งแต่ระยะต้นเล็กก็จะช่วยแก้ปัญหานี้ได้

- การใช้สารโปแตสเซียม คลอเรต. บังคับลำไยให้ออกนอกฤดูนั้น
- ลำไยสีชมพูได้ผลดีกว่าอีดอ
- ใช้กับต้นที่ใบแก่อายุ 30-45 วันได้ผลดีกว่าต้นที่อายุใบน้อย
- ใช้ในช่วงฤดูหนาวและฤดูร้อนได้ผลดีกว่าใช้ในฤดูฝน
- ราดทางดินได้ผลดีกว่าฉีดพ่นทางใบ
- อัตราใช้ 4 กรัม/ตร.ม.ได้ผลดีกว่าใช้ 8-16 กรัม/ตร.ม.

- มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่าลำไยที่ถูกบังคับให้ออกดอกทำไมจึงมักมีผลเล็กหรือคุณภาพไม่ดีเท่าทีควร นั่นเป็นเพราะว่าสารโปแตสเซียม คลอเรต บังคับลำไยโดยการทำลายระบบราก ระหว่างที่ดอกเริ่มออกและผลเริ่มติดนั้นระบบรากยังไม่ฟื้นตัว ต้นจึงไม่มีรากหรือมีน้อยมากสำหรับดูดสารอาหารจากดินไปหล่อเลี้ยงต้น กอร์ปกับชาวสวนลำไยไม่เข้าใจและไม่ได้ให้สารอาหารทางใบ สรุปก็คือ เหตุที่ลำไยราดสารมีผลเล็กและคุณภาพไม่ดีเพราะต้นได้รับธาตุอาหารไม่เพียงพอนั่นเอง

- โปแตสเซียม คลอเรต ไม่ใช่สารอาหารที่ทำให้ลำไยออกดอกโดยตรง แต่เป็นสารที่ไปยับยั้งหรือปรับเปลี่ยนอัตราส่วนระหว่าง ซี. กับ เอ็น. ภายในต้นอย่างรุนแรง จนกระทั่งต้นเกิดสภาวะเครียดสูงสุดจึงแทงตาดอกออกมาทั้งๆที่ยังไม้พร้อม ถือว่าเป็นการบังคับแบบทรมาน เมื่อต้นไม่พร้อม (ความสมบูรณ์) ดอกและผลออกมาจึงด้อยคุณภาพ บางครั้งถึงกับต้นตายไปเลย .... ในทางตรงกันข้าม หากปรับเปลี่ยนวิธีการบังคับแบบ ทรมาน มาเป็นบังคับแบบ บำรุง โดยสร้างและสะสมอาหารเพื่อการออกดอกติดผลไว้ภายในต้นให้มากี่สุดเท่าที่จะมากได้ จากสถานการณ์ที่เลวร้ายต่อต้นลำไยก็จะกลับกลายเป็นดีและดีตลอดไปอย่างยั่งยืนได้แน่นอน

- การใช้สารเคมีอื่นๆเช่น โปแตสเซียม คลอเรต (พาวิน มะโนชัย/2542) รายงานว่าโปแตสเซียม คลอเรท สามารถทำให้ลำไยออกนอกฤดูกาลได้ โดยลำไยอีดอใช้สารดังกล่าว 8 กรัม/ตร.ม. สำหรับพันธุ์ชมพูใช้สารดังกล่าวอัตรา 1 กรัม/ตร.ม. จะทำให้ออกดอก 100% โดยลำไยจะต้องได้รับการปฏิบัติดูแลโดยการตัดแต่งกิ่ง ใส่ปุ๋ย ให้น้ำ จนแตกกิ่งใหม่และมีใบแก่อย่างสมบูรณ์ โดยสังเกตจากสายตาว่ามีใบสีเขียวเข้ม แล้วจึงใช้สารโปแตสเซียม คลอเรท ผสมน้ำ 20 ล” ราดดินบริเวณแนวชายทรงพุ่มแต่ก่อนใส่สารและหลังใส่สารควรรดน้ำให้กับต้นลำไยให้ดินชุ่มอยู่เสมอ

หลังจากบังคับให้ไม้ผลออกดอกได้แล้วต้องดูแลให้ติดผลและผลเจริญเติบโตถึงแก่เก็บเกี่ยวจึงจะได้ผลไม้นอกฤดูตามที่ต้องการ

- ช่วงก่อนออกดอกถ้าลำไยได้รับความชื้นสัมพัทธ์ 70% จากหมอกหรือน้ำค้างจะช่วยส่งเสริมการออกดอกดี ถ้าไม่มีหมอกหรือน้ำค้างให้ฉีดพ่นละอองน้ำเหนือทรงพุ่มรอบแรกช่วงเวลาก่อน 10 โมงเช้า และรอบ 2 หลัง 5-6 โมงเย็น ติดต่อกัน 7 วันแทนก็ได้

- ลำไยที่ผ่านการบำรุงแบบสะสมสารอาหารครบสูตร ต้นมีความสมบูรณ์สูง ต่อเนื่องมาอย่างน้อย 2-3 รุ่นการผลิต เมื่อต้นใดออกดอกเป็นลำไยปี (ในฤดู) แล้วต้องการให้ออกดอกชุดใหม่เป็นลำไยนอกฤดูสามารถทำได้ โดยเด็ดดอกปีทิ้งตั้งแต่เริ่มแทงออกมาใหม่ๆ จากนั้นบำรุงด้วยสูตร “เปิดตาดอก” ตามปกติเหมือนเมื่อครั้งเปิดตาดอกลำไยปี อย่างสม่ำ เสมอต่อเนื่อง จากสภาพต้นที่ได้สะสมอาอาหารกลุ่มสะสมตาดอกไว้ก่อนแล้วนั้นกับถ้าสภาพอากาศเหมาะสมจะส่งผลให้ลำไยต้นนั้นออกดอกชุดใหม่ใน 2-2 เดือนครึ่ง

- อายุใบและตำแหน่งใบที่เหมาะสมที่จะใช้เป็นมาตรฐาน คือ ใบรวมในตำแหน่งที่ 3, 4 ที่มีอายุ 6-8 สัปดาห์ หลังจากเริ่มแตกใบ เนื่องจากค่าที่ได้มีความคงที่และมีการเปลี่ยน แปลงน้อย

ลำไยทรงเตี้ยระยะชิด
การปลูกลำไยระยะชิดเป็นระบบการปลูกรูปแบบใหม่ เป็นรูปแบบที่นิยมในประเทศ ญี่ปุ่น ไต้หวัน ยุโรป อเมริกาและออสเตรเลีย การทำสวนลำไยแบบดั้งเดิมเกษตรกรจะปล่อยให้ต้นลำไยมีทรงพุ่มสูงใหญ่ โดยตัดแต่งกิ่งที่อยู่ด้านล่างออก ซึ่งจะเป็นการบังคับให้ต้นลำไยมีการเจริญในด้านส่วนสูงมากขึ้น ทำให้ไม่สะดวกต่อการจัดการและการปรับปรุงคุณภาพเพื่อให้ผลมีขนาดใหญ่โดยการตัดช่อผลทำได้ยาก ในส่วนเกษตรกรที่คิดจะสร้างสวนใหม่เพื่อทดแทนสวนลำไยเก่าที่เสื่อมโทรมนั้น ควรปลูกลำไยทรงเตี้ยระยะชิด (ศูนย์วิจัยและพัฒนาลำไย แม่โจ้, มปป)

ข้อดีของลำไยทรงเตี้ยระยะชิด :
1.ให้ผลตอบแทนเร็ว ปลูกเพียง 2 ปีก็ให้ผลผลิต
2.ให้ผลผลิตต่อไร่สูง
3. ลดต้นทุนการผลิต โดยเฉพาะด้านแรงงาน
4. สะดวกในการจัดการ เช่น การดูแลรักษา เก็บเกี่ยวผลผลิต และการปรับปรุงคุณภาพของผลผลิต โดยการตัดแต่งช่อผล เพื่อเพิ่มขนาดผล

การปลูกลำไยทรงเตี้ยระยะชิด :
การปลูกลำไยระยะชิด เป็นเทคนิคหนึ่งที่นิยมในการทำสวนลำไยที่ให้ประโยชน์คุ้มค่า มีวิธีการไม่ยุ่งยาก เกษตรกรสามารถทำได้เอง ดังนี้ (ศูนย์วิจัยและพัฒนาลำไยแม่โจ้, มปป.)

1. การกำหนดระยะปลูก เกษตรกรสามารถกำหนดระยะปลูกได้ตามความต้องการอาจเริ่มตั้งแต่ระยะระหว่างต้น 2-6 เมตร และระหว่างแถว 2-6 เมตร

2. การควบคุมทรงพุ่มลำไย หลังปลูก 1 ปี ตัดแต่งต้นให้เป็นทรงฝาชีหงาย ใช้เชือกผูกดึงกิ่ง เพื่อกระตุ้นการแตกกิ่งที่เจริญในแนวนอน
http://pot09.blogspot.com/


เตรียมต้น ตัดแต่งกิ่ง :
- ให้ตัดกิ่งกระโดง กิ่งในทรงพุ่ม กิ่งคดงอ กิ่งชี้ลง กิ่งไขว้ กิ่งหางหนู กิ่งเป็นโรค และกิ่งที่ออกดอกติผลแล้วเพื่อเรียกยอดใหม่สำหรับออดอกติดผลในรุ่นปีต่อไป การตัดแต่งกิ่งภายในทรงพุ่มควรให้โปร่งจนแสงส่องผ่านลงไปถึงโคนต้นได้

- วิธีเก็บเกี่ยวผลผลิตโดยตัดกิ่งร่วมมาด้วยนั้น ถ้าให้คงเหลือส่วนปลายกิ่งที่เปลือกยังเขียวสดติดต้นอยู่แล้วบำรุงเรียกใบอ่อนชุดใหม่จะช่วยให้ยอดใหม่แตกได้เร็วขึ้น หรือเร็วกว่าเรียกใบอ่อนจากปลายกิ่งที่เป็นกิ่งแก่

- ลำไยออกดอกได้ทั้งจากกิ่งชี้ลงและชี้ขึ้น แต่กิ่งชี้ขึ้นทำมุมตั้งแต่ 45 องศาขึ้นไปจนถึงตั้งฉากจะออกดอกดีกว่ากิ่งชี้ลงเท่านั้น

- ตัดยอดกิ่งประธาน (ผ่ากบาล) ณ ความสูงต้นตามต้องการ นอกจากช่วยทำให้แสงแดดผ่านจากยอดเข้าสู่ภายในทรงพุ่มได้อย่างทั่วถึงแล้วแสงแดดที่ร้อนยังช่วยกำจัดเชื้อราได้เป็นอย่างดี และเพื่อควบคุมขนาดความสูงทรงพุ่มอีกด้วย

- ลำไยยุคใหม่สามารถออกดอกได้โดยไม่จำเป็นต้องกระทบหนาว การตัดแต่งกิ่ง-เรียกใบอ่อนจึงทำได้ทุกฤดูกาล หลังตัดแต่งกิ่งแล้วเข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงตามลำดับอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอก็ทำให้ต้นมีความสมบูรณ์เต็มที่ได้

ขั้นตอนการปฏิบัติบำรุงลำไย
1. เรียกใบอ่อน :

ทางใบ :
- ให้ ไบโออิ 25-5-5 + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 10 วัน

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยคอก (ขี้วัวขี้ไก่ไข่ แกลบดิบ แห้งเก่าข้ามปี) กระดูกป่น ครั้งที่ 1 ของรุ่นหรือปีการผลิต

- ใส่ 25-7-7 (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นกลาง, 2 กก.ต้นใหญ่) ละลายน้ำรดโคนต้น บริเวณทรงพุ่ม

- คลุมโคนต้นด้วยเศษพืชแห้งหนาๆ เต็มพื้นที่บริเวณทรงพุ่ม ล้ำออกไปถึงนอกเขตทรงพุ่ม
-ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 (2 ล.) /ไร่ รดทั่วแปลงทุกตารางนิ้ว

หมายเหตุ :
- เทคนิค ตัดแต่งกิ่งก่อนบำรุง กับ บำรุงก่อนตัดแต่กิ่ง เรื่องของเรื่องก็คือ ระหว่างที่มีลูกผลบนต้นนั้น ต้นต้องใช้พลังเลี้ยงลูกผลอย่างมาก ต้นจึงโทรม ลูกผลมากโทรมมาก ลูกผลน้อยโทรมน้อย ในเมื่อใบมีหน้าที่สังเคราะห์สารอาหาร ถ้าตัดใบทิ้งแล้วต้นจะเอาใบที่ไหนมาสังเคราะห์อาหาร เพราะฉะนั้น ให้บำรุงเรียกใบอ่อนก่อน 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน เมื่อเห็นว่า ต้นมีอาการอั้นตายอดก็ให้ลงมือตัดแต่งกิ่ง แล้วบำรุงด้วยสูตร “เรียกใบอ่อน” ตาม ปกติ ต้นก็จะแตกใบอ่อนดี จำนวนมาก และพร้อมกันทั้งต้น

- เริ่มลงมือปฏิบัติทันทีหลังจากตัดแต่งกิ่ง
- ตัดเฉพาะกิ่งที่ติดผลเท่านั้นส่วนกิ่งที่ไม่มีผลให้คงไว้เพื่อให้ออกดอกติดผลในรุ่นต่อไป
- หลังจากให้ทางใบไปแล้ว 5-7 วัน ถ้าต้นใดแตกใบอ่อนน้อยกว่า 50% ให้ฉีดพ่นซ้ำรอบสองด้วยอัตราและวิธีการเดิม เพราะถ้าต้นแตกใบอ่อนไม่พร้อมกันทั่วทั้งต้นจะส่งผลเสียหลายอย่างตั้งแต่การเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่ การสะสมอาหารเพื่อการออก การปรับ ซี/เอ็น เรโช การเปิดตาดอก ซึ่งจะออกดอกไม่พร้อมกันทั่วทั้งต้น และเมื่อดอกออกไม่พร้อมกันก็กลาย เป็นผลไม่พร้อมกันทำให้ยุ่งยากต่อการปฏิบัติบำรุงตามขั้นตอนอย่างมาก .... แนวทางแก้ไข คือ ต้องบำรุงเรียกใบอ่อนให้ออกมาเป็นชุดเดียวพร้อมกันทั้งต้นให้ได้

- ถ้ามีการตัดแต่งรากด้วยแล้วให้ปุ๋ยหมัก/ปุ๋ยอินทรีย์ที่มีส่วนผสมของรำละเอียด จะช่วยให้แตกรากใหม่เร็วและดี

- ก่อนตัดแต่งกิ่งให้บำรุงจนต้นเริ่มผลิตาใบออกมาก่อน แล้วจึงลงมือตัดแต่งกิ่งจะช่วยให้ต้นแตกใบอ่อนชุดใหม่ดีกว่าตัดแต่งกิ่งก่อนแล้วจึงลงมือบำรุงเรียกใบอ่อน

- รักษาใบอ่อนที่แตกใหม่ละชุดให้รอดพ้นจากโรคและแมลงให้ได้ ถ้าใบอ่อนชุดหนึ่งชุดใดถูกทำลายไปจะต้องเริ่มเรียกใบชุดที่หนึ่งใหม่

- ลำไยต้องการใบอ่อน 3 ชุด ถ้าต้นสมบูรณ์ดีมีการเตรียมดินและปรับปรุงบำรุงดินสม่ำเสมอต่อเนื่องมาหลายๆปีแล้ว หลังจากใบอ่อนชุดแรกเพสลาดให้เรียกใบอ่อนชุด 2 ต่อใบชุด 2 นี้อาจจะออกไม่พร้อมกันทั้งต้นเหมือนชุดแรกแต่ก็ไม่ควรห่างกันเกิน 7-10 วัน และหลังจากใบอ่อนชุด 2 เพสลาด ก็ให้เรียกใบอ่อนชุด 3 ต่อได้เลยอีกเช่นกัน การที่ใบอ่อนชุด 2 ออกไม่พร้อมกันนั้นจะส่งผลให้ใบอ่อนชุด 3 ออกไม่พร้อมกันทั้งอีกด้วย และสุดท้ายเมื่อใบอ่อนชุด 3 เริ่มเพสลาดจึงเข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงต่อไปตามปกติ

2. เร่งใบอ่อนเป็นใบแก่ :
ทางใบ :
- ให้ไบโออิ 0-21-74 หรือ 0-39-39 + สารสมุนไพร 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 10 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
ให้น้ำปกติ ทุก 2-3 วัน

หมายเหตุ :
- เริ่มลงมือปฏิบัติเมื่อใบอ่อนเริ่มแผ่กางรับแสงแดดได้
- ใบอ่อนใช้ระยะเวลาพัฒนาเป็นใบแก่ 30-45 วัน
- วัตถุประสงค์เพื่อเร่งใบชุดใหม่ให้สามารถสังเคราะห์อาหารได้ และเร่งระยะเวลาเรียกใบอ่อนชุดต่อไปได้เร็วขึ้น กับทั้งเพื่อให้ใบอ่อนรอดพ้นจากทำลายของแมลงปากกัดปากดูด

- เนื่องจากธรรมชาติลำไยจากระยะ “ใบอ่อนถึงใบแก่” ใช้เวลา 30-45 วัน เพื่อการเร่งใบอ่อนให้เป็นใบแก่เร็วขึ้นแนะนำให้ฉีดพ่นทางด้วยสูตร “เร่งใบอ่อนเป็นใบแก่” 2-3 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน

- ลำไยสายพันธุ์ที่มีนิสัยออกดอกยากต้องเรียกใบอ่อนให้ได้ 3 ชุดแล้วเร่งใบอ่อนแต่ละชุดให้เป็นใบแก่โดยเร็วเพื่อให้ใบชุดใหม่ได้มีช่วงเวลาสังเคราะห์อาหารนานขึ้น

- สารอาหารในกลุ่มเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่มีฟอสฟอรัส. และโปแตสเซียม. นอกจากช่วยเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่แล้วยังช่วยประสิทธิภาพขั้นตอนสะสมอาหารเพื่อการออกดอกได้ด้วย

3. สะสมอาหารเพื่อการออกดอก :
ทางใบ :
- ให้ไบโออิ 0-42-56 + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับด้วยแคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 10 วัน นาน 2 เดือน .... ในรอบเดือนหาโอกาสให้น้ำตาลทางด่วน (กลูโคส) 1 ครั้ง

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
-ใส่ 8-24-24 (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นกลาง, 2 กก.ต้นใหญ่) /ต้น /เดือน ละลายน้ำรดโคนต้น บริเวณทรงพุ่ม

- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 8-24-24 (2 ล.) /เดือน รดทั่วแปลง ทุกตารางนิ้ว
- ให้น้ำปกติทุก 2-3 วัน

หมายเหตุ :
- เริ่มปฏิบัติหลังจากใบอ่อนชุดสุดท้ายเพสลาด
- แนวทางบำรุงให้ต้นได้สะสมอาหารเพื่อการออกดอกไว้มากที่สุด ควรเตรียมแผนใช้เวลาบำรุง 2 เดือน โดยให้ (น้ำตาลทางด่วน) กลูโคสรอบแรกเมื่อเริ่มลงมือบำรุง และให้รอบสองห่างจากรอบแรก 20-30 วัน

- ไม้ผลที่ผ่านการบำรุงมาอย่างดีแล้วต้องกระทบหนาวจึงออกดอกดีนั้น ช่วงขั้นตอนสะสมอาหารเพื่อการออกดอก ถ้ามีการให้ “กลูโคส + 0-52-34 หรือ 0-42-56 + สังกะสี” ฉีดพ่นพอเปียกใบ ช่วงเช้าแดดจัด 1-2 รอบ ให้รอบแรกเมื่อเริ่มลงมือบำรุงสะสมอาหารเพื่อการออกดอก จากนั้น อีก 20 วัน ให้อีกเป็นรอบ 2 ก็จะช่วยให้ต้นเกิดอาการอั้นตาดอกและส่งผลให้เปิดตาดอกแล้วมีดอกออกมาดีอีกด้วย

- วัตถุประสงค์เพื่อให้ต้นได้สะสมสารอาหารทั้งกลุ่ม สร้างดอก-บำรุงผล (ซี.) และกลุ่มสร้างใบ-บำรุงต้น ไว้ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ จนกระทั่งเกิดอาการอั้นตาดอก ไม่มีการแตกใบอ่อนออกมาอีก ถ้าต้นแตกใบอ่อนออกมาใหม่ก็จะต้องย้อนกลับไปบำรุงที่ขั้นตอนเร่งใบอ่อนให้เป็นใบแก่อีกครั้งซึ่งทำให้เสียเวลา

- ปริมาณ 8-24-24 ใส่มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณการติดผลในรุ่นที่ผ่านมา กล่าวคือ ถ้ารุ่นที่ผ่านมาติดผลดกมาก ผลผลิตมีคุณภาพดีมาก ให้ใส่ในปริมาณที่มากขึ้น แต่ถ้ารุ่นที่ผ่านมาติดผลดกน้อยหรือไม่ติดผลเลย ให้ใส่ในปริมาณปานกลาง

- การเพิ่มปริมาณปุ๋ยให้มากขึ้น หมายถึง การให้อัตราเดิมแต่ระยะเวลาให้ถี่ขึ้น เช่น จากเคยให้ 15 วัน/ครั้งก็ให้เปลี่ยนเป็น 10 วัน/ครั้ง

- ขั้นตอนสะสมอาหารเพื่อการออกดอก (สะสมทั้ง ซี. และ เอ็น.) นี้มีผลอย่างมากต่อการออกดอกในช่วงเปิดตาดอก ถ้ามีฝนตกให้สะสมอาหารเพื่อการออกดอกต่อไปอีกแม้ว่าจะได้สะสมอาหารเพื่อการออกดอกมากจนพอใจแล้วพร้อมกับให้ชะลอการเข้าสู่ขั้นตอนปรับ ซี/เอ็น เรโช ไว้ก่อน การให้สารอาหารเพื่อการออกดอกในช่วงที่มีฝนตกนี้จะต้องให้ถี่ขึ้นเพื่อยับยั้งการแตกใบอ่อน หรือ “กดใบอ่อนสู้ฝน” ให้ได้ .... มาตรการให้สารอาหารถี่ขึ้นนี้อาจจะทำให้ใบกร้าน ปลายใบไหม้ แต่จะไม่ส่งผลเสียต่อการสะสมอาหารเพื่อการออกดอก ในทางตรงกันข้ามที่ต้นได้สะสมอาหารเพื่อการออกดอกไว้ในต้นได้มากขึ้น หลังจากหมดฝนแล้วจึงลงมืองดน้ำ ปรับ ซี/เอ็น เรโช จากนั้นเมื่อเปิดตาดอกๆจะออกมาดี

- การบำรุงสะสมอาหารเพื่อการออกดอกต่อลำไยสายพันธุ์ที่มีนิสัยออกดอกยากหรือออกปีเว้นปีมีความสำคัญมากซึ่งนอกจากต้องกระทำอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอแล้ว ปริมาณและชนิดของสารอาหารที่ต้นต้องการทั้งทางใบและทางรากจะต้องให้มีสะสมในต้นให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ โดยเฉพาะต้นที่ได้รับการบำรุงแบบให้มีสารอาหารกินตลอด 24 ชม.ต่อเนื่องมาหลายๆปีย่อมมีโอกาสประสบความสำเร็จสูง

- ก่อนเข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงขั้นต่อไป คือ ปรับ ซี/เอ็น เรโช ให้ทบทวนความทรงจำเมื่อครั้งเรียกใบอ่อนแล้วใบอ่อนออกมาพร้อมกันเป็นชุดเดียวทั่วทั้งต้นหรือไม่ ถ้าใบอ่อนออกมาพร้อมกันดีทั่วทั้งต้นให้ปรับ ซี/เอ็น เรโช ต่อไปได้เลย แต่ถ้าใบอ่อนออกมาไม่พร้อมกันเป็นชุดเดียวทั่วทั้งต้นและค่อนข้างต่างรุ่นกันมากก็ให้บำรุงสะสมอาหารเพื่อการออกดอกต่อไปอีก 2-3 รอบ เพื่อรอให้ใบอ่อนชุดหลังสะสมอาหารจนอั้นตาดอกดีเท่ากับใบอ่อนชุดแรกจากนั้นจึงลงมือปรับ ซี/เอ็น เรโช ทั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อทำให้มีดอกออกมาพร้อมกันเป็นชุดเดียวกันทั่วทั้งต้นนั่นเอง

4. ตรวจสอบสภาพอากาศ ก่อนปรับ ซี/เอ็น เรโช :
ก่อนเริ่มลงมือปรับ ซี/เอ็น เรโช (งดน้ำ) และก่อนลงมือเปิดตาดอกต้องแน่ใจว่าระหว่างที่กำลังบำรุงทั้งสองขั้นตอนนี้จะต้องไม่มีฝน เพราะถ้ามีฝนตกลงมาการงดน้ำก็ล้ม เหลว และดอกที่ออกมาจะได้รับความเสียหาย .... ถ้ารู้แน่ว่าช่วงงดน้ำและเปิดตาดอกถึงช่วงดอกออกมาแล้วจะมีฝนก็ให้ระงับการปรับ ซี/เอ็น เรโช และเปิดตาดอกไว้ก่อน ให้บำรุงต้นต่อไปอีกด้วยสูตรสะสมอาหารเพื่อการออกดอก จากนั้นอาจจะปรับแผนการบำรุงเพื่อทำให้ออกล่าฤดูด้วยการเลื่อนเวลาเริ่มปรับ ซี/เอ็น เรโช และเปิดตาดอกให้ช้าออกไปเท่าที่สภาพภูมิ อากาศจะอำนวยก็ได้

5. ปรับ ซี/เอ็น เรโช :
ทางใบ :
- ให้ไบโออิ 0-42-56 + สารสกัดสมุนไพร 1-2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 10 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ ระวังอย่าให้โชกจนตกลงถึงพื้น

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- เปิดหน้าดินโคนต้นโดยนำอินทรีย์วัตถุคลุมโคนต้นออกให้แดดส่องได้ทั่วพื้นดินทรงพุ่ม
- งดให้น้ำเด็ดขาด กรณีสวนยกร่องน้ำหล่อจะต้องสูบน้ำออกให้หมด

หมายเหตุ :
- วัตถุประสงค์เพื่อ “เพิ่ม” ปริมาณ ซี. (อาหารกลุ่มสร้างดอก-บำรุงผล) แล “ลด” ปริมาณ เอ็น. (อาหารกลุ่มสร้างใบ-บำรุงต้น) ซึ่งจะส่งผลให้ต้นออกดอกหลังการเปิดตาดอก

- ต้นที่มีอาการอั้นตาดอกดีจนพอใจแล้วไม่ต้องฉีดพ่นกลูโคสหรือนมสัตว์สดเพิ่มอีกแต่ถ้าต้นมีอาการอั้นตาดอกไม่ดีหรือยังไม่น่าพอใจ แนะนำให้ฉีดพ่นกลูโคส (น้ำตาลทางด่วน) ทางใบอีกซ้ำอีก 1 รอบ โดยเว้นระยะเวลาให้ห่างจากที่เคยให้เมื่อช่วงสะสมอาหารไม่น้อยกว่า 30-45 วัน

- ก่อนลงมือปรับ ซี/เอ็น เรโช จะต้องติดตามข่าวพยากรณ์อากาศให้มั่นใจว่าระหว่างปรับ ซี/เอ็น เรโช จะไม่มีฝนตก เพราะถ้ามีฝนตกลงมา มาตรการงดน้ำก็ต้องล้มเหลว

- ขั้นตอนการปรับอัตราส่วน ซี/เอ็น เรโช. สมบูรณ์หรือไม่ให้สังเกตจากต้น ถ้าต้นเกิดอาการใบสลดแสดงว่าในต้นมีปริมาณ ซี.มากส่วนปริมาณ เอ็น.เริ่มลดลง และความพร้อมของต้น (อั้นตาดอก) ก่อนเปิดตาดอก สังเกตได้จากลักษณะใบใหญ่หนาเขียวเข้ม กิ่งช่วงปลายและใบกรอบเปราะ ข้อใบสั้น หูใบอวบอ้วน ตาดอกนูนเห็นชัด ปลายยอดส่วนที่เรียกว่า “เดือยไก่” แข็ง ทดลองแทงท้องแขนแล้วรู้สึกเจ็บแต่ถ้าทดลองแทงท้องแล้วไม่รู้สึกเจ็บและเดือยไก่อ่อนลู่ตามก็แสดงว่าอาการอั้นตาดอกยังไม่ดี กรณีที่ต้นอั้นตาดอกไม่ดีจริงเมื่อเปิดตาดอกจะออกมาเป็นใบแทน

- การให้สารอาหารทางใบซึ่งมีน้ำเป็นส่วนผสม ระวังอย่าให้โชกจนตกลงถึงพื้น เพราะจะกลายเป็นการให้น้ำทางราก แนวทางปฏิบัติ คือ ให้บางๆเพียงเปียกใบเท่านั้น

- เมื่องดน้ำ (ไม่รดน้ำ) แล้วต้องควบคุมปริมาณน้ำใต้ดินโคนต้นไม่ให้มากเกินไปโดยการทำร่องระบายน้ำใต้ดินหรือร่องสะเด็ดน้ำด้วย

- กรณีสวนยกร่องน้ำหล่อต้องใช้ระยะเวลาในการงดน้ำนานกว่าสวนพื้นราบยกร่องแห้งจึงจะทำให้ใบสลดได้ อาจส่งผลให้แผนการผลิตที่กำหนดไว้คลาดเคลื่อน ดังนี้จึงจำเป็นต้องสูบน้ำออกตั้งแต่ก่อนปรับ ซี/เอ็น เรโช โดยกะระยะเวลาให้ดินโคนต้นแห้งถึงขนาดหน้าดินแตกระแหง และมีความชื้นไม่เกิน 10% ตรงกับช่วงปรับ ซี/เอ็น เรโช พอดี

- มาตรการเสริมด้วยการ “รมควัน” ทรงพุ่มช่วงหลังค่ำครั้งละ 10-15 นาที 3-5 รอบ ห่างกันรอบละ 2-3 วัน จะช่วยให้การปรับ ซี/เอ็น เรโช สำเร็จเร็วขึ้น

6. สำรวจความพร้อมของต้น ก่อนเปิดตาดอก :
เนื้อใบหนาเขียวเข้มส่องแดดไม่ทะลุ เส้นใบนูนเด่น หูใบอวบอ้วน ข้อใบสั้น ใบคู่สุดท้ายปลายกิ่งแก่จัด กิ่งช่วงปลายกลมเปราะหักง่าย มองจากภายนอกระยะไกลๆ เห็นความสมบูรณ์ทางทรงพุ่มชัดเจน

7. ตรวจสอบสภาพอากาศ ก่อนเปิดตาดอก :
ก่อนลงมือเปิดตาดอกให้ตรวจสอบข่าวสภาพอากาศให้แน่ใจว่าในอีก 15-20 วันข้างหน้าหรือวันที่ช่อดอกเริ่มแทงออกมานั้น จะต้องไม่มีฝนตกหรือมีสภาพอากาศปิด (ครึ้มฟ้าครึ้มฝน) เพราะสภาพอากาศปิดหรือมีฝน ต้น.....จะเปิดตาดอกไม่ออก แม้จะอั้นตาดอกดีเพียงใดก็ตาม แต่กลับแทงใบอ่อนออกมาแทน กรณีนี้ให้ระงับการเปิดตาดอกไว้ก่อนแล้วบำรุงต้นด้วยสูตร “สะสมอาหารเพื่อการออกดอก” ต่อไปจนกว่าจะมั่นใจว่าในวันที่ช่อดอกออกมานั้นไม่มีฝนหรืออากาศเปิดแน่จึงลงมือเปิดตาดอก

8. เปิดตาดอก :
ทางใบ :
- สูตร 1 : ให้ไบโออิ 13-0-46 + สาหร่ายทะเล 50 กรัม + สารสมุนไพร ทุก 10 วัน
- สูตร 2 : ให้ไทเป 13-0-46 + สารสกัดสมุนไพร ทุก 10 วัน
- ฉีดพ่นสารสมุนไพร ทุก 2-3 วัน


ทางราก :
- ยังคงเปิดหน้าดินโคนต้นเหมือนช่วงปรับ ซี/เอ็น เรโช
- ใส่ปุ๋ยทางรากสูตร 8-24-24 (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นกลาง, 2 กก.ต้นใหญ่) /ต้น ละลายน้ำรดโคนต้น บริเวณทรงพุ่ม

- ให้น้ำพอหน้าดินชื้น ทุก 2-3 วัน

หมายเหตุ :
- เริ่มปฏิบัติเมื่อต้นมีอาการอั้นตาดอกดีทั่วต้นและสภาพอากาศพร้อม
- ใช้สูตร 1- 2 สลับกัน ห่างกันครั้งละ 7 วัน
- ชาวสวนลำไยภาคเหนือนิยมเปิดตาดอกด้วย 13-0-46 บอกว่าเป็น “ปุ๋ยเย็น” เพราะปุ๋ยตัวนี้เมื่อผสมน้ำและฉีดพ่นไปแล้วจะเย็นจัด ส่งผลให้ลำไยได้รับอุณหภูมิต่ำเหมือนฤดูหนาวนั่นเอง

- การใช้สาหร่ายทะเลร่วมในการเปิดตาดอกจะได้ผลดีก็ต่อเมื่อต้นเกิดอาการอั้นตาดอกเต็มที่ ถ้าต้นอั้นตาดอกไม่เต็มที่ต้นจะแตกใบอ่อนแทน

- หลังจากเปิดตาดอกแล้ว ถ้าดอกออกมาไม่มากพอ สาเหตุมาจากตั้งแต่ช่วงเรียกใบอ่อนแล้วใบอ่อนออกมาไม่พร้อมกันทั่วทั้งต้น ระหว่างที่ดอกชุดแรกยังเป็นดอกตูมอยู่นั้น ให้เปิดตาดอกซ้ำอีก 1-2 รอบด้วยสูตรเดิมหรือจนกระทั่งดอกชุดแรกบานแล้วจึงยุติการเปิดตาดอกซ้ำ

9. บำรุงดอก
ทางใบ :
- ให้ไบโออิ15-45-15 (หน้าฝน) หรือ 0-52-34 (หน้าแล้ง) + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 10 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรช่วงค่ำ ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- ให้ 8-24-24 (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นกลาง, 2 กก.ต้นใหญ่) /ต้น ละลายน้ำรดโคนต้น บริเวณทรงพุ่ม

- ยังคงเปิดหน้าดินโคนต้น
- ให้น้ำพอหน้าดินชื้น

หมายเหตุ :
- ช่วงดอกตั้งแต่เริ่มแทงออกมาให้เห็นหรือระยะดอกตูมบำรุงด้วยฮอร์โมน เอ็นเอเอ. 1-2 รอบ จะช่วยบำรุงเกสรทั้งตัวผู้และตัวเมียให้สมบูรณ์พร้อมรับผสม แต่ต้องใช้ด้วยระมัดระวังเพราะถ้าให้เข้มข้นเกินไปจะเกิดความเสียหายต่อดอกและถ้าให้อ่อนเกินไปก็จะไม่ได้ผล เพื่อความมั่นใจในเปอร์เซ็นต์หรือประสิทธิภาพของฮอร์โมน เอ็นเอเอ.

- ช่วงดอกเริ่มแทงออกมาใหม่ๆให้แคลเซียม โบรอน. 1 รอบ จะช่วยให้ดอกสมบูรณ์ผสมติดดี
- ฉีดพ่นสารอาหารเพื่อบำรุงดอกด้วยเครื่องมือฉีดพ่นที่มีแรงลมพ่นเบาที่สุดตามความเหมาะสมเพื่อไม่ให้กระทบกระเทือนต่อส่วนต่างๆของดอก ฉีดพ่นที่ช่อดอกโดยตรงพอเปียกหรือฉีดพ่นให้ทั่งทรงพุ่มพอเปียกใบก็ได้

- ช่วงดอกตูมควรฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรให้บ่อยขึ้น เพื่อป้องกันกำจัดโรคและแมลงจนถึงช่วงดอกบาน

- ช่วงดอกบานควรงดการฉีดพ่นทางใบโดยเฉาะช่วงกลางวัน (08.00-12.00 น.) เพราะอาจทำให้เกสรเปียกจนผสมไม่ติดได้ หากจำเป็นต้องฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรให้ฉีดพ่นช่วงหลังค่ำ

- ช่วงดอกบานถ้าตรงกับช่วงฝนชุกเกสรจะเปียกชื้นทำให้ผสมไม่ติด แก้ไขโดยการกะระยะเวลาเปิดตาดอกให้ดอกออกมาแล้วไม่ตรงกับช่วงฝนชุกเท่านั้น แต่ถ้าดอกออกมาตรงกับช่วงแล้งอากาศร้อนมากเกสรจะฝ่อทำให้ผสมไม่ติดเช่นกัน แก้ไขโดยการสร้างความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศและที่พื้นดิน ทั้งในแปลงปลูกและรอบๆแปลงปลูก .... มาตรการบำรุงต้นให้สมบูรณ์อยู่เสมอตั้งแต่ก่อนเปิดตาดอกจะช่วยลดความสูญเสียได้เป็นอย่างมาก

- ช่วงออกดอก ถ้าอากาศหนาวมากๆ จะมีดอกตัวผู้เกิดมากกว่าดอกตัวเมียแล้วร่วงในที่สุด แก้ไขโดย

1) บำรุงต้นด้วยไบโออิอย่างสม่ำเสมอ ตั้งแต่เริ่มขั้นตอนแรกของการบำรุง
2) ช่วงเป็นเดือยไก่ ให้บำรุงด้วย "แคลเซียม โบรอน + สังกะสี" 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 7-10 วัน

3) เมื่อดอกออกมาแล้วให้บำรุงด้วย "สูตรบำรุงดอก" อย่างสม่ำเสมอ

ทั้งนี้ "สังกะสี. และ โบรอน" มีส่วนสำคัญอย่างมากในการบำรุงดอกให้สมบูรณ์จนผสมติดเป็นผลได้ท่ามกลางสภาพอากาศวิปริต (หนาวจัด)

- การไม่ใช้สารเคมีเลยติดต่อกันเป็นเวลานานๆจนมีผึ้งหรือมีแมลงธรรมชาติอื่นๆเข้ามาจำนวนมาก แมลงเหล่านี้จะช่วยผสมเกสรส่งผลให้ติดผลดกขึ้น

- การบำรุงตั้งแต่ช่วงเปิดตาดอกจนกระทั่งมีดอกออกมาควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้ดอกสมบูรณ์ดีขึ้น

- ต้นที่ได้รับ แม็กเนเซียม (จากไบโออิ). โบรอน (จากแคลเซียม โบรอน). สม่ำเสมอแบบสะสม ถึงช่วงออกดอกแล้วเจอฝน ดอกจะแข็งแรงไม่ร่วงง่ายๆ หรือติดเป็นผลได้ดีเหมือนปกติ

10. บำรุงผลเล็ก-กลาง :
ทางใบ :
- ให้ ไบโออิ + ยูเรก้า + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 10 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ

- ในรอบ 1 เดือน หาโอกาสให้น้ำตาลทางด่วน (กลูโคส) 1 รอบ
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยคอก (ขี้วัวขี้ไก่ไข่ แกลบดิบ แห้งเก่าข้ามปี) กระดูกป่น ครั้งที่ 2 ของรุ่น หรือปีการผลิต

- ใส่ 21-7-14 (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นกลาง, 2 กก.ต้นใหญ่) /ต้น /เดือน ละลายน้ำรดโคนต้น บริเวณทรงพุ่ม

- คลุมโคนต้นด้วยเศษพืชแห้งหนาๆ เต็มพื้นที่บริเวณทรงพุ่ม ล้ำออกไปถึงนอกเขตทรงพุ่ม
- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 21-7-14 (2 ล.) /ไร่ /เดือน รดทั่วแปลง ทุกตารางนิ้ว

หมายเหตุ :
- เริ่มปฏิบัติหลังจากกลีบดอกร่วง หรือขนาดผลเท่าเมล็ดถั่วเขียว
- การบำรุงระยะผลขนาดกลางต้องให้น้ำสม่ำเสมอแต่ต้องไม่ขังค้าง ถ้าได้รับน้ำน้อยนอกจากจะทำให้ผลไม่โต หากมีฝนตกหนักลงมาก็อาจจะทำให้ผลแตกผลร่วงได้

11. บำรุงผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยว :
ทางใบ :
- ให้ไบโออิ 0-21-74 + สารสมุนไพร 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน และให้รอบสุดท้ายก่อนเก็บเกี่ยว 10 วัน ด้วยการฉีดพ่นพอเปียกใบ

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- เปิดหน้าดินโคนต้น และนำอินทรีย์วัตถุออก
- ให้ 13-13-21 หรือ 8-24-24 สูตรใดสูตรหนึ่ง (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก. ต้นกลาง, 2 กก.ต้นใหญ่) /ต้น ละลายน้ำรดโคนต้น บริเวณทรงพุ่ม แล้วงดน้ำเด็ดขาด

หมายเหตุ :
- เริ่มปฏิบัติก่อนเก็บเกี่ยว 10-20 วัน
- ช่วงผลแก่จัดใกล้หรือก่อนเก็บเกี่ยวต้องงดน้ำเพื่อให้เนื้อแห้งกรอบ สีและกลิ่นดี
- การให้แคลเซียม โบรอน 1 ครั้งก่อนเก็บเกี่ยวจะช่วยป้องกันผลแตกผลร่วงได้ดี
- การให้กำมะถัน 1 ครั้งก่อนเก็บเกี่ยวจะช่วยบำรุงผลให้สีของเปลือกสวย
- การสุ่มเก็บผลลงมาผ่าพิสูจน์ภายในก่อนลงมือเก็บเกี่ยวจะทำให้รู้ว่าควรเก็บเกี่ยวได้แล้วหรือต้องบำรุงต่อไปอีกสักระยะหนึ่งจึงเก็บเกี่ยว

- การบำรุงผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยวโดยให้ทางรากด้วย 13-13-21 จะทำให้ต้นโทรม หลังเก็บเกี่ยวผลสุดท้ายไปจากต้นแล้วต้องเร่งบำรุงเพื่อฟื้นฟูสภาพต้นเรียกความสมบูรณ์กลับคืนมาทันที

- การให้ 8-24-24 เหมาะสำหรับต้นที่มีผลหลายรุ่นในต้นเดียวกันซึ่งนอกจากหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตจนหมดต้นแล้วต้นไม่โทรม ช่วยบำรุงผลรุ่นหลังต่อและทำให้ต้นมีความสมบูรณ์พร้อมสำหรับให้ผลผลิตรุ่นปีต่อไปอีกด้วย


====================================================
====================================================



ลิ้นจี่
ลักษณะทางธรรมชาติ :

- เป็นไม้ผลยืนต้นขนาดปานกลางถึงใหญ่อายุยืนนับร้อยปี มีทั้งสายพันธุ์ที่เหมาะสำหรับปลูกในเขตภาคเหนือ (อากาศเย็น) ชอบดินร่วนปนราย และภาคอื่น (อากาศภาคกลาง)ชอบดินดำร่วนทนแล้งแต่ไม่ทนต่อสภาพน้ำท่วมขังค้าง เจริญเติบโตช้าแต่สม่ำเสมอ มีระบบรากลึกและจำนวนมาก มีใบและกิ่งแขนงจำนวนมากจนทรงพุ่มทึบ เป็นไม้ไม่ผลัดใบ

- เป็นไม้ผลอ่อนไหวต่อปริมาณสารอาหารที่สะสมในต้นเป็นอย่างมาก ถ้าปีใดหรือปีผ่านมาต้นไม่สมบูรณ์อย่างแท้จริงจะไม่ออกดอกติดผลในปีปัจจุบัน บางครั้งออกดอกติดผลเว้นปีหรือเว้น 2-3 ปี ถ้าต้องการให้ลิ้นจี่ออกดอกติดผลทุกปี จะต้องพิถีพิถันในการปฏิบัติบำรุงตามขั้นตอนทุกขั้นตอนอย่างเคร่งครัดต่อเนื่อง โดยเฉพาะมาตรการบำรุงแบบให้มีสารอาหารกินตลอด 24 ชม. ต่อเนื่องติดต่อกันตั้งเริ่มยืนต้นได้ (ระยะกล้า) จนถึงระยะให้ผลผลิตแล้ว

- ในช่อดอกเดียวกัน ดอกตัวผู้. ดอกกระเทยทำหน้าที่ดอกตัวผู้. และดอกกระเทยทำหน้าที่ดอกตัวเมีย. แยกกันคนละดอกโดยดอกตัวผู้อยู่โคนก้านเกิดก่อนและบานก่อน ตามด้วยดอกกระเทยทำหน้าที่ดอกตัวเมียอยู่กลางช่อเกิดแล้วบานลำดับต่อมา ส่วนดอกกระเทยทำหน้าที่ดอกตัวผู้อยู่ปลายช่อนั้นเกิดแล้วบานเป็นลำดับสุดท้าย ซึ่งดอกที่จะพัฒนาเป็นผลได้คือ ดอกกระเทยทำหน้าที่ดอกตัวเมีย

การที่ดอกบานและพร้อมผสมไม่พร้อมกันเช่นนี้ เป็นเหตุให้ลิ้นจี่ติดผลค่อนข้างน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณดอกที่ออกมา แนวทางแก้ไข คือ นอกจากต้องบำรุงดอกด้วยฮอร์โมน เอ็นเอเอ. แล้วยังต้องอาศัยแมลงเข้ามาช่วยผสมเกสรและสายลมช่วยถ่ายละอองเกสรอีกด้วย

ดอกทุกประเภทมีอายุพร้อมรับการผสมเพียง 3-4 วันเท่านั้น จึงเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ลิ้นจี่ติดผลได้น้อย นอกจากนั้นยังต้องพิจาณาความสมบูรณ์ของต้น สภาพอากาศ และสภาพแวดล้อมอื่นๆอีกด้วย

- ออกดอกติดผลปีละ 1 รุ่น ปัจจุบันยังไม่มีสารหรือฮอร์โมนใดๆ บังคับให้ออกนอกฤดูได้และยังไม่พบสายพันธุ์ทะวาย

- ผลที่เกิดจากการผสมด้วยเกสรที่ไม่สมบูรณ์จะเป็นผลไม่สมบูรณ์ด้วย เรียกว่า กระเทย เป็นผลขนาดเล็ก ไม่มีเมล็ดหรือเมล็ดเล็กมาก เนื้อแน่น แต่รสชาติและกลิ่นไม่ดี

- ต้นที่สมบูรณ์มากๆมักมีดอกกระเทยและดอกตัวเมียมาก ซึ่งจะส่งผลให้ได้จำนวนผลมากขึ้นส่วนต้นที่ไม่สมบูรณ์มักมีดอกตัวผู้มากจึงทำให้ได้จำนวนผลน้อยตามไปด้วย

- ระยะผลกลางถึงผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยว ถ้าขาดธาตุรอง/ธาตุเสริม หรือได้รับธาตุอาหารไม่สมดุลเปลือกของผลจะมีสีไม่จัด บางส่วนสีซีด รสและกลิ่นไม่ดี เป็นผลที่ไม่มีคุณภาพ

- ปกติออกดอกตามซอกใบปลายกิ่ง แต่ต้นสมบูรณ์เต็มที่สามารถออกดอกแล้วติดเป็นผลขนาดใหญ่ที่ใต้ท้องกิ่งแก่หรือแม้แต่ที่ลำต้นได้

- การบำรุงลิ้นจี่ให้มีความสมบูรณ์อย่างแท้จริง ต้นจะต้องผ่านการแตกใบอ่อนปีละ 4 ชุด คือ ช่วงหน้าฝน 2 ชุด หน้าแล้ง 1 ชุด และช่วงปลายฝนต่อหนาวอีก 1 ชุด

- เพื่อให้ได้ใบอ่อนแต่ละชุดจำนวนมากๆ และออกพร้อมกันทั้งต้นจำเป็นต้องบำรุงด้วยสูตรเรียกใบอ่อนสม่ำเสมอ กรณีต้องการให้ลิ้นจี่แตกใบอ่อนในหน้าแล้งได้ก็จะต้องมีน้ำให้อย่างเพียงพอ

- ลิ้นจี่เขตภาคกลางออกดอกช่วงเดือน ธ.ค.- ม.ค. พร้อมกันทุกสายพันธุ์ ส่วนลิ้นจี่ภาคเหนือออกดอกตั้งแต่ ธ.ค.- เม.ย. โดยพันธุ์เบาออกดอกก่อน ส่วนพันธุ์หนักออกทีหลังลิ้นจี่ ทั้งภาคกลางและภาคเหนือมีอายุตั้งแต่ออกดอกถึงเก็บเกี่ยว 4 เดือนเหมือนกัน

- ข้อเปรียบเทียบที่น่าสังเกตอย่างหนึ่ง คือ ลิ้นจี่ภาคเหนือออกดอกติดผลทุกปี ส่วนจะออกมากหรือออกน้อยอยู่ที่การบำรุงและความสมบูรณ์ของต้น แต่ลิ้นจี่ภาคกลางออกดอกติดผลปีเว้นปี บางทีเว้นสอง-สามปีก็ยังเคย ทั้งๆที่บำรุงอย่างดี สภาพต้นสมบูรณ์เห็นชัด

คำตอบ คือ สวนลิ้นจี่ภาคเหนือเป็นสวนยกร่องแห้งหรือพื้นราบบนที่ลาดเอียง ทำให้ควบคุมปริมาณน้ำใต้ดินโคนต้นได้ โดยเฉพาะการปรับ ซี/เอ็น เรโช ก่อนการเปิดตาออกดอก แต่สวนลิ้นจี่ภาคกลางเป็นสวนยกร่องน้ำหล่อ มีน้ำในร่องตลอดเวลา แม้จะไม่มีน้ำในร่องแต่ดินเป็นดินเหนียวยังอุ้มน้ำไว้จำนวนมากได้ ทำให้ไม่สามารถควบคุมปริมาณใต้ดินโคนต้นได้

ลิ้นจี่ที่ไหนออกดอกติดผลทุกปี ยกเว้นลิ้นจี่สมุทรสาคร สมุทรสงคราม ออกดอกติดลูกปีเว้น 3 ปี ก็ให้น่าสงสัยเหมือนกันว่า ปลูกแล้วกินอะไร สาเหตุที่ลิ้นจี่ออกลูกปีเว้น 3 ปี เนื่องจากบำรุงปรับ ซี/เอ็น เรโช ไม่เหมาะสม เพราะในร่องสวนเป็นสาเหตุนั่นเอง

ธรรมชาติลิ้นจี่ก่อนออกดอกจำเป็นต้องมีอัตราส่วนระหว่าง ซี. (คาร์บอน) กับ เอ็น. (ไนโตรเจน) ห่างกันมากๆ มากกว่าไม้ผลทั่วๆไป การมีน้ำในร่องจึงทำให้ต้นได้รับ เอ็น.ตลอดเวลา แม้ว่าจะได้ให้สารอาหารกลุ่ม ซี. ทั้งทางรากและทางใบอย่างต่อเนื่องแล้วก็ไม่สามารถทำให้ปริมาณ ซี. มากกว่าปริมาณ เอ็น.ได้ ....

………………………………………………………………………………………………………………
อัตราส่วนระหว่าง ซี. กับ เอ็น. ต่อการออกดอกของไม้ผล คือ :
ถ้า ซี. เท่ากับ เอ็น. เปิดตาดอกแล้ว ออกทั้งใบและดอก (ใบแซมดอก) หรือออกใบอย่างเดียว
ถ้า ซี. มากกว่า เอ็น. เปิดตาดอกแล้วออกดอก ไม่ออกใบ
ถ้า ซี. น้อยกว่า เอ็น. เปิดตาดอกแล้วออกใบ ไม่ออกดอก

……………………………………………………………………………………………………………..

- ต้นที่ได้สะสมอาหารเพื่อการออกดอกไว้ไม่น้อยกว่า 6 เดือนก่อนปรับ ซี/เอ็น เรโชแล้วเปิดตาดอกจะมีโอกาสออกดอกติดผลแน่นอนกว่าต้นที่ได้สะสมอาหารเพื่อการออกดอกช่วงสั้นๆ และนี่คือสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ลิ้นจี่เว้นปีไม่ออกดอกติดผล

- ระยะพัฒนาการของลิ้นจี่ใน 1 รอบปี ให้ผลผลิต ดังนี้ :
แตกใบอ่อนครั้งที่ 1 ใช้เวลา 60 วัน (มิ.ย.- ส.ค.)
แตกใบอ่อนครั้งที่ 2 ใช้เวลา 60 วัน (ก.ย.- ต.ค.)
แตกใบอ่อนครั้งที่ 3 ใช้เวลา 60 วัน (พ.ย.- ธ.ค.)
แทงช่อดอก ใช้เวลา 60 วัน (ธ.ค.- ก.พ.)
ผลอ่อน-เก็บเกี่ยว ใช้เวลา 90 วัน

- การห่อผลลิ้นจี่ควรห่อด้วยถุงพลาสติกใสเพื่อให้แสงส่องถึงผลจะทำให้ผิวสวยสดใสดีกว่าการห่อด้วยถุงกระดาษทึบแสง และเริ่มห่อเมื่อสีเปลือกเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีแดงเรื่อๆ

- การแก่ของผลในต้นเดียวกันมักไม่พร้อมกัน ต้องทยอยเก็บ 20-25 วันจึงจะหมดทั้งต้น
- ลิ้นจี่เป็นพืชที่มีการออกดอกติดผลที่ปลายยอดที่เจริญเติบโตเต็มที่ ตายอดต้องผ่านการ พักตัวระยะหนึ่งจึงจะมีการพัฒนาเป็นตาดอกเมื่อกระทบอากาศเย็นในฤดูหนาว (ประ มาณ 15 องศา ซี. นานติดต่อกันประมาณ 2 สัปดาห์) ผลการวิจัย เรื่อง ธาตุอาหารพืชในลิ้นจี่ พบว่า ธาตุอาหารส่วนใหญ่จะอยู่ที่ใบลิ้นจี่มากกว่าส่วนอื่น ซึ่งเป็นไปได้ว่า กิ่งที่ปลายยอดและใบ จะเป็นแหล่งสะสมอาหารสำหรับการเจริญของช่อดอกและผลลิ้นจี่ ทั้งนี้ ปริมาณธาตุอาหารพืชที่ลิ้นจี่ใช้เพื่อการเจริญเติบโตทางกิ่งก้านสาขา (สร้างช่อใบใหม่) และปริมาณธาตุอาหารพืชที่ลิ้นจี่ใช้เพื่อการสร้างผล เป็นดังนี้


เตรียมต้น ตัดแต่งกิ่ง :



.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 28/01/2024 10:14 am, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 27/01/2024 7:55 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
เตรียมต้น ตัดแต่งกิ่ง :
ลิ้นจี่อายุต้น 5 ปีขึ้นไปควรตัดแต่งกิ่ง 2 ครั้ง .... ครั้งแรก ตัดแต่งหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตเสร็จตัดแต่งครั้งที่ 2 หลังสิ้นฤดูฝน การตัดแต่งครั้งแรกควรตัดออก 20-25% ของจำนวนรอบทรงพุ่ม ส่วนกิ่งในทรงพุ่มหรือกิ่งที่ไม่เหมาะสมต่อการออกดอก ได้แก่ กิ่งกระโดง กิ่งในทรงพุ่ม กิ่งคดงอ กิ่งชี้ลง กิ่งไขว้ กิ่งหางหนู กิ่งเป็นโรค กิ่งมุมแคบ และกิ่งแห้งตาย ให้ตัดออกทั้งหมด หลังจากตัดแต่งกิ่งครั้งแรกแล้ว ระหว่างรอจนกว่าจะถึงปลายฤดูฝนจะมีกิ่งแตกใหม่ออกมาอีกเป็นระยะๆทั่วทรงพุ่ม ให้เก็บกิ่งด้านนอกทรงพุ่มไว้ก่อนเพื่อใช้เป็นใบสังเคราะห์อาหาร ส่วนกิ่งในทรงพุ่มให้หมั่นตัดออกตั้งแต่ยังเป็นยอดอ่อนเพื่อให้ทรงพุ่มโปร่ง ไม่เป็นแหล่งสะสมโรคและแมลง

ตัดแต่งกิ่งครั้งที่ 2 : ให้พิจารณาตัดแต่งกิ่งบริเวณชายพุ่มออกบางส่วนประมาณ 10% ของจำนวนกิ่งทั่วทรงพุ่ม ลิ้นจี่จะออกดอกจากกิ่งย่อยและกิ่งแขนงซึ่งเกิดจากกิ่งประธานที่ทำมุมมากกว่า 45 องศากับลำต้นเสมอ การตัดยอดกิ่งประธาน (ผ่ากบาล) ณ ความสูงต้นตามต้องการ นอกจากช่วยทำให้แสงแดดผ่านจากยอดเข้าสู่ภายในทรงพุ่มได้อย่างทั่วถึงแล้วแสงแดดที่ร้อนยังช่วยกำจัดเชื้อราได้เป็นอย่างดี และเพื่อควบคุมขนาดความสูงทรงพุ่มอีกด้วย ลักษณะทรงพุ่มที่ดีควรมีใบด้านนอกทึบแต่ภายในรงพุ่มต้องโปร่ง

ขั้นตอนการปฏิบัติบำรุงต่อลิ้นจี่
1. เรียกใบอ่อน :

ทางใบ :
- ให้ ไบโออิ 25-5-5 + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับด้วยแคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยคอก (ขี้วัวขี้ไก่ไข่ แกลบดิบ แห้งเก่าข้ามปี) กระดูกป่น ครั้งที่ 1 ของรุ่นหรือปีการผลิต

- ใส่ 25-7-7 (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นกลาง, 2 กก.ต้นใหญ่) /ต้น /เดือน ละลายน้ำรดโคนต้น บริเวณ
ทรงพุ่ม

- คลุมโคนต้นด้วยเศษพืชแห้งหนาๆ เต็มพื้นที่บริเวณทรงพุ่ม ล้ำออกไปถึงนอกเขตทรงพุ่ม
-ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 (2 ล.) /ไร่ /เดือน รดทั่วแปลงทุกตารางนิ้ว

หมายเหตุ :
- เทคนิค ตัดแต่งกิ่งก่อนบำรุง กับ บำรุงก่อนตัดแต่กิ่ง เรื่องของเรื่องก็คือ ระหว่างที่มีลูกผลบนต้นนั้น ต้นต้องใช้พลังเลี้ยงลูกผลอย่างมาก ต้นจึงโทรม ลูกผลมากโทรมมาก ลูกผลน้อยโทรมน้อย ในเมื่อใบมีหน้าที่สังเคราะห์สารอาหาร ถ้าตัดใบทิ้งแล้วต้นจะเอาใบที่ไหนมาสังเคราะห์อาหาร เพราะฉะนั้น ให้บำรุงเรียกใบอ่อนก่อน 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน เมื่อเห็นว่า ต้นมีอาการอั้นตายอดก็ให้ลงมือตัดแต่งกิ่ง แล้วบำรุงด้วยสูตร “เรียกใบอ่อน” ตาม ปกติ ต้นก็จะแตกใบอ่อนดี จำนวนมาก และพร้อมกันทั้งต้น

- ลงมือปฏิบัติทันทีหลังตัดแต่งกิ่งและตัดแต่งรากเสร็จ เป็นการเรียกใบอ่อนชุดแรกของปีการผลิต วัตถุประสงค์เพื่อฟื้นฟูสภาพต้นเรียกความสมบูรณ์กลับคืนมา

- หลังจากให้ทางใบไปแล้ว 5-7 วัน ถ้าต้นใดแตกใบอ่อนน้อยกว่า 50% ให้ฉีดพ่นซ้ำรอบสองด้วยอัตราและวิธีการเดิม เพราะถ้าต้นแตกใบอ่อนไม่พร้อมกันทั่วทั้งต้นจะส่งผลเสียหลายอย่างตั้งแต่การเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่ การสะสมอาหารเพื่อการออก การปรับ ซี/เอ็น เรโช การเปิดตาดอก ซึ่งจะออกดอกไม่พร้อมกันทั่วทั้งต้น และเมื่อดอกออกไม่พร้อมกันก็กลายเป็นผลไม่พร้อมกันทำให้ยุ่งยากต่อการปฏิบัติบำรุงตามขั้นตอนอย่างมากแนวทางแก้ไข คือ ต้องบำรุงเรียกใบอ่อนให้ออกมาเป็นชุดเดียวพร้อมกันทั้งต้นให้ได้

2. เร่งใบอ่อนเป็นใบแก่ :
ทางใบ :
- ให้ไบโออิ 0-21-74 หรือ 0-39-39 + สารสมุนไพร 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
ให้น้ำปกติ ทุก 2-3 วัน

หมายเหตุ :
- ลงมือปฏิบัติเมื่อใบเริ่มแผ่กางรับแสงแดดได้
- วัตถุประสงค์เพื่อเร่งใบชุดใหม่ให้สามารถสังเคราะห์อาหารได้ และเร่งระยะเวลาเรียกใบอ่อนชุดต่อไปได้เร็วขึ้น กับทั้งเพื่อให้ใบอ่อนรอดพ้นจากทำลายของแมลงปากกัดปากดูด

- ต้นที่สะสมความสมบูรณ์เต็มที่มานานหลายปีติดต่อกัน หลังจากใบอ่อนเริ่มแผ่กางแล้วอาจจะข้ามขั้นตอนการบำรุงไปสู่ขั้นตอนเปิดตาดอกได้เลย ทั้งนี้ฟอสฟอรัส. กับโปแตสเซียม. นอกจากช่วยเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่ได้แล้วยังช่วยเปิดตาดอกได้อีกด้วย

- สารอาหารในกลุ่มเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่มีฟอสฟอรัส. และโปแตสเซียม. นอกจากช่วยเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่แล้วยังช่วยเสริมประสิทธิภาพขั้นตอนสะสมอาหารเพื่อการออกดอกได้ด้วย

3. สะสมอาหารเพื่อการออกดอก :
ทางใบ :
- ให้ไบโออิ 0-42-56 + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบห่างกันรอบละ 7 วัน นาน 1-2 เดือน .... ในรอบเดือนหาโอกาสให้น้ำตาลทางด่วน (กลูโคส) 1 ครั้ง

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
-ใส่ 8-24-24 (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นกลาง, 2 กก.ต้นใหญ่) /ต้น /เดือน ละลายน้ำรดโคนต้น บริเวณทรงพุ่ม

- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 8-24-24 (2 ล.) /เดือน รดทั่วแปลง ทุกตารางนิ้ว
- ให้น้ำปกติทุก 2-3 วัน

หมายเหตุ :
- เริ่มปฏิบัติหลังจากใบอ่อนชุดสุดท้ายเพสลาด
- แนวทางบำรุงให้ต้นได้สะสมอาหารเพื่อการออกดอกไว้มากที่สุดควรเตรียมแผนใช้เวลาบำรุง 2 เดือน โดยให้น้ำตาลทางด่วน (กลูโคส) รอบแรกเมื่อเริ่มลงมือบำรุง และให้รอบ 2 ห่างจากรอบแรก 20-30 วัน

- ไม้ผลที่ผ่านการบำรุงมาอย่างดีแล้วต้องกระทบหนาวจึงออกดอกดีนั้น ช่วงขั้น ตอนสะสมอาหารเพื่อการออกดอก ถ้ามีการให้ “กลูโคส + 0-52-34 หรือ 0-42-56 + สังกะสี” ฉีดพ่นพอเปียกใบ ช่วงเช้าแดดจัด 1-2 รอบ ให้รอบแรกเมื่อเริ่มลงมือบำรุงสะสมอาหารเพื่อการออกดอกจากนั้น อีก 20 วัน ให้อีกเป็นรอบ 2 ก็จะช่วยให้ต้นเกิดอาการอั้นตาดอกและส่งผลให้เปิดตาดอกแล้วมีดอกออกมาดีอีกด้วย

- วัตถุประสงค์เพื่อให้ต้นได้สะสมสารอาหารทั้งกลุ่ม สร้างดอก-บำรุงผล (ซี.) และกลุ่มสร้างใบ-บำรุงต้น ไว้ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ จนกระทั่งเกิดอาการอั้นตาดอก ไม่มีการแตกใบอ่อนออกมาอีก ถ้าต้นแตกใบอ่อนออกมาใหม่ก็จะต้องย้อนกลับไปบำรุงที่ขั้นตอนเร่งใบอ่อนให้เป็นใบแก่อีกครั้งซึ่งทำให้เสียเวลา

- ปริมาณ 8-24-24 ใส่มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณการติดผลในรุ่นที่ผ่านมา กล่าวคือ ถ้ารุ่นที่ผ่านมาติดผลดกมาก ผลผลิตมีคุณภาพดีมาก ให้ใส่ในปริมาณทีมากขึ้น แต่ถ้ารุ่นที่ผ่านมาติดผลดกน้อยหรือไม่ติดผลเลย ให้ใส่ในปริมาณปานกลาง

- การเพิ่มปริมาณปุ๋ยให้มากขึ้น หมายถึง การให้อัตราเดิมแต่ระยะเวลาให้ถี่ขึ้น เช่น จากเคยให้ 15 วัน/ครั้ง ก็ให้เปลี่ยนเป็น 10 วัน/ครั้ง

- ก่อนเข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงขั้นต่อไป คือ ปรับ ซี/เอ็น เรโช ให้ทบทวนความทรงจำเมื่อครั้งเรียกใบอ่อนแล้วใบอ่อนออกมาพร้อมกันเป็นชุดเดียวทั่วทั้งต้นหรือไม่ ถ้าใบอ่อนออกมาพร้อมกันดีทั่วทั้งต้นให้ปรับ ซี/เอ็น เรโช ต่อไปได้เลย แต่ถ้าใบอ่อนออกมาไม่พร้อมกันเป็นชุดเดียวทั่วทั้งต้นและค่อนข้างต่างรุ่นกันมากก็ให้บำรุงสะสมอาหารเพื่อการออกดอกต่อไปอีก 2-3 รอบ เพื่อรอให้ใบอ่อนชุดหลังสะสมอาหารจนอั้นตาดอกดีเท่ากับใบอ่อนชุดแรกจากนั้นจึงลงมือปรับ ซี/เอ็น เรโช ทั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อทำให้มีดอกออกมาพร้อมกันเป็นชุดเดียวกันทั่วทั้งต้นนั่นเอง

4. ตรวจสอบสภาพอากาศ ก่อนปรับ ซี/เอ็น เรโช :
ก่อนเริ่มลงมือปรับ ซี/เอ็น เรโช (งดน้ำ) และก่อนลงมือเปิดตาดอกต้องแน่ใจว่าระหว่างที่กำลังบำรุงทั้งสองขั้นตอนนี้จะต้องไม่มีฝน เพราะถ้ามีฝนตกลงมาการงดน้ำก็ล้ม เหลว และดอกที่ออกมาจะได้รับความเสียหาย .... ถ้ารู้แน่ว่าช่วงงดน้ำและเปิดตาดอกถึงช่วงดอกออกมาแล้วจะมีฝนก็ให้ระงับการปรับ ซี/เอ็น เรโช และเปิดตาดอกไว้ก่อน ให้บำรุงต้นต่อไปอีกด้วยสูตรสะสมอาหารเพื่อการออกดอก จากนั้นอาจจะปรับแผนการบำรุงเพื่อทำให้ลิ้นจี่ออกล่าฤดูด้วยการเลื่อนเวลาเริ่มปรับ ซี/เอ็น เรโช และเปิดตาดอกให้ช้าออกไปเท่าที่สภาพภูมิ อากาศจะอำนวยก็ได้

5 ปรับ ซี/เอ็น เรโช :
ทางใบ :
- ให้ไบโออิ 0-42-56 + สารสกัดสมุนไพร 1-2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ ระวังอย่าให้โชกจนตกลงถึงพื้น

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- เปิดหน้าดินโคนต้นโดยนำอินทรียวัตถุคลุมโคนต้นออกให้แดดส่องได้ทั่วพื้นดินทรงพุ่ม
- งดให้น้ำเด็ดขาด กรณีสวนยกร่องน้ำหล่อจะต้องสูบน้ำออกให้หมด

หมายเหตุ :
- วัตถุประสงค์เพื่อ “เพิ่ม” ปริมาณ ซี. (อาหารกลุ่มสร้างดอก-บำรุงผล) และปรับ “ลด” ปริมาณ เอ็น. (อาหารกลุ่มสร้างใบ-บำรุงต้น) ซึ่งจะส่งผลให้ต้นออกดอกหลังการเปิดตาดอก

- ต้นที่มีอาการอั้นตาดอกดีจนพอใจแล้วไม่ต้องฉีดพ่นกลูโคสหรือนมสัตว์สดเพิ่มอีกแต่ถ้าต้นมีอาการอั้นตาดอกไม่ดีหรือยังไม่น่าพอใจ แนะนำให้ฉีดพ่นกลูโคส (น้ำตาลทางด่วน) ทางใบอีกซ้ำอีก 1 รอบ โดยเว้นระยะ เวลาให้ห่างจากที่เคยให้เมื่อช่วงสะสมอาหารไม่น้อยกว่า 30-45 วัน

- ก่อนลงมือปรับ ซี/เอ็น เรโช จะต้องติดตามข่าวพยากรณ์อากาศให้มั่นใจว่าระหว่างปรับ ซี/เอ็น เรโช จะไม่มีฝนตก เพราะถ้ามีฝนตกลงมา มาตรการงดน้ำก็ต้องล้มเหลว

- ขั้นตอนการปรับอัตราส่วน ซี/เอ็น เรโช สมบูรณ์หรือไม่ให้สังเกตจากต้น ถ้าต้นเกิดอาการใบสลดแสดงว่าในต้นมีปริมาณ ซี.มาก ส่วนปริมาณ เอ็น.เริ่มลดลง และความพร้อมของต้น (อั้นตาดอก) ก่อนเปิดตาดอก สังเกตได้จากลักษณะใบใหญ่หนาเขียวเข้มกิ่งช่วงปลายและใบกรอบเปราะ ข้อใบสั้น หูใบอวบอ้วน ตาดอกโชว์เห็นชัด

- การให้สารอาหารทางใบซึ่งมีน้ำเป็นส่วนผสมนั้น อย่าให้โชกจนตกลงถึงพื้นเพราะจะกลายเป็นการให้น้ำทางราก แนวทางปฏิบัติ คือ ให้บางๆเพียงเปียกใบเท่านั้น

- เมื่องดน้ำ (ไม่รดน้ำ) แล้วต้องควบคุมปริมาณน้ำใต้ดินโคนต้นไม่ให้มากเกินไปโดยการทำร่องระบายน้ำใต้ดินหรือร่องสะเด็ดน้ำด้วย

- กรณีสวนยกร่องน้ำหล่อต้องใช้ระยะเวลาในการงดน้ำนานมากกว่าสวนพื้นราบยกร่องแห้งจึงจะทำให้ใบสลดได้ อาจส่งผลให้แผนการผลิตที่กำหนดไว้คลาดเคลื่อน ดังนี้จึงจำเป็นต้องสูบน้ำออกตั้งแต่ก่อนปรับ ซี/เอ็น เรโช โดยกะระยะเวลาให้ดินโคนต้นแห้งถึงขนาดแตกระแหงและมีความชื้นไม่เกิน 10% ตรงกับช่วงปรับ ซี/เอ็น เรโช พอดี

- มาตรการเสริมด้วยการ “รมควัน” ทรงพุ่มช่วงหลังค่ำครั้งละ 10-15 นาที 3-5 รอบ ห่างกันรอบละ 2-3 วัน จะช่วยให้การปรับ ซี/เอ็น เรโช สำเร็จเร็วขึ้น

6. สำรวจความพร้อมของต้น ก่อนเปิดตาดอก :
เนื้อใบหนาเขียวเข้มส่องแดดไม่ทะลุ เส้นใบนูนเด่น หูใบอวบอ้วน ข้อใบสั้น ใบคู่สุดท้ายปลายกิ่งแก่จัด กิ่งช่วงปลายกลมเปราะหักง่าย มองจากภายนอกระยะไกลๆ เห็นความสมบูรณ์ทางทรงพุ่มชัดเจน

7. ตรวจสอบสภาพอากาศ ก่อนเปิดตาดอก
ก่อนลงมือเปิดตาดอกให้ตรวจสอบข่าวสภาพอากาศให้แน่ใจว่าในอีก 15-20 วัน ข้างหน้าหรือวันที่ช่อดอกเริ่มแทงออกมานั้น จะต้องไม่มีฝนตกหรือมีสภาพอากาศปิด (ครึ้มฟ้าครึ้มฝน) เพราะสภาพอากาศปิดหรือมีฝน ต้น.....จะเปิดตาดอกไม่ออก แม้จะอั้นตาดอกดีเพียงใดก็ตาม แต่กลับแทงใบอ่อนออกมาแทน กรณีนี้ให้ระงับการเปิดตาดอกไว้ก่อนแล้วบำรุงต้นด้วยสูตร “สะสมอาหารเพื่อการออกดอก” ต่อไปจนกว่าจะมั่นใจว่าในวันที่ช่อดอกออกมานั้นไม่มีฝนหรืออากาศเปิดแน่จึงลงมือเปิดตาดอก

8. เปิดตาดอก :
ทางใบ :
สูตร 1 …. น้ำ 100 ล. + 13-0-46 + 0-52-34 (3 : 1) + สาหร่ายทะเล 50 กรัม + สารสมุนไพร 250 ซีซี. ทุก 7 วัน

สูตร 2 …. ไทเป + 13-0-46 + สารสมุนไพร ทุก 7 วัน

ทางราก :
- ยังคงเปิดหน้าดินโคนต้นเหมือนช่วงปรับ ซี/เอ็น เรโช
- ให้ 8-24-24 (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นกลาง, 2 กก.ต้นใหญ่ /ต้น ละลายน้ำรดโคนต้น บริเวณทรงพุ่ม

- ให้น้ำโชกทั่วทรงพุ่ม 2-3 วันติดต่อกัน

หมายเหตุ :
- เริ่มปฏิบัติเมื่อต้นมีอาการอั้นตาดอกดีทั่วต้นและสภาพอากาศพร้อม
- ระหว่างสูตร 1-2 ใช้สลับกัน ห่างกันครั้งละ 5-7 วัน
- การใช้สาหร่ายทะเลร่วมในการเปิดตาดอกจะได้ผลดีก็ต่อเมื่อต้นเกิดอาการอั้นตาดอกเต็มที่ ถ้าต้นอั้นตาดอกไม่เต็มที่ต้นจะแตกใบอ่อนแทน

- หลังจากเปิดตาดอกแล้ว ถ้าดอกออกมาไม่มากพอ สาเหตุมาจากตั้งแต่ช่วงเรียกใบอ่อนแล้วใบอ่อนออกมาไม่พร้อมกันทั่วทั้งต้น ระหว่างที่ดอกชุดแรกยังเป็นดอกตูมอยู่นั้น ให้เปิดตาดอกซ้ำอีก 1-2 รอบด้วยสูตรเดิม หรือจนกระทั่งดอกชุดแรกบานแล้วจึงยุติการเปิดตาดอกซ้ำ

9. บำรุงดอก :
ทางใบ :
- ให้ไบโออิ15-45-15 (หน้าฝน) หรือ 0-52-34 (หน้าแล้ง) + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรช่วงค่ำ ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- ให้ 8-24-24 (½ กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นกลาง, 2 กก.ต้นใหญ่) /ต้น ละลายน้ำรดโคนต้น บริเวณทรงพุ่ม

- ยังคงเปิดหน้าดินโคนต้น
- ให้น้ำพอหน้าดินชื้น

หมายเหตุ :
- ช่วงดอกตั้งแต่เริ่มแทงออกมาให้เห็นหรือระยะดอกตูมบำรุงด้วยฮอร์โมน เอ็นเอเอ. 1-2 รอบ จะช่วยบำรุงเกสรทั้งตัวผู้และตัวเมียให้สมบูรณ์พร้อมรับผสม แต่ต้องใช้ด้วยระมัดระวังเพราะถ้าให้เข้มข้นเกินไปจะเกิดความเสียหายต่อดอกและถ้าให้อ่อนเกินไปก็จะไม่ได้ผล .... เพื่อความมั่นใจในเปอร์เซ็นต์หรือประสิทธิภาพของฮอร์โมน เอ็นเอเอ.แนะนำให้ใช้ฮอร์โมน เอ็นเอเอ.วิทยาศาสตร์แทนฮอร์โมน เอ็นเอเอ.(ทำเอง) ซึ่งจะได้ผลดีกว่าเพราะเปอร์เซ็นต์ความเข้มข้นแน่นอนกว่า

- ช่วงดอกเริ่มแทงออกมาใหม่ๆให้แคลเซียม โบรอน.1 รอบ จะช่วยให้ดอกสมบูรณ์ผสมติดดี

- ฉีดพ่นสารอาหารเพื่อบำรุงดอกด้วยเครื่องมือฉีดพ่นที่มีแรงลมพ่นเบาที่สุดตามความเหมาะสมเพื่อไม่ให้กระทบกระเทือนต่อส่วนต่างๆของดอก ฉีดพ่นที่ช่อดอกโดยตรงพอเปียกหรือฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่มพอเปียกใบก็ได้

- บำรุงดอกช่วงฝนชุกให้เน้น “สังกะสี และ แคลเซียม โบรอน” โดยให้เมื่อดอกออกมาแล้วหรือให้แบบสะสมล่วงหน้าตั้งแต่ช่วงเปิดตาดอก ให้แบบเดี่ยวๆหรือผสมรวมไปกับธาตุอาหารอื่นๆก็ได้

- ช่วงดอกตูมควรฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรให้บ่อยขึ้น เพื่อป้องกันกำจัดโรคและแมลงจนถึงช่วงดอกบาน

- ช่วงดอกบานควรงดการฉีดพ่นทางใบโดยเฉาะช่วงกลางวัน (08.00-12.00 น.) เพราะอาจทำให้เกสรเปียกจนผสมไม่ติดได้ หากจำเป็นต้องฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรให้ฉีดพ่นช่วงหลังค่ำ

- ระยะดอกบาน ถ้าตรงกับช่วงฝนชุกเกสรจะเปียกชื้นทำให้ผสมไม่ติด แก้ไขโดยกะระยะเวลาเปิดตาดอกให้ดอกออกมาแล้วไม่ตรงกับช่วงฝนชุกเท่านั้น แต่ถ้าดอกออกมาตรงกับช่วงแล้งอากาศร้อนมากเกสรจะฝ่อทำให้ผสมไม่ติดเช่นกัน แก้ไขโดยสร้างความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศ ที่พื้นดินทั้งในแปลงปลูกและรอบๆแปลงปลูก .... มาตรการบำรุงต้นให้สมบูรณ์อยู่เสมอตั้งแต่ก่อนเปิดตาดอกจะช่วยลดความสูญเสียได้เป็นอย่างมาก

- การไม่ใช้สารเคมีเลยติดต่อกันเป็นเวลานานๆ จนมีผึ้งหรือมีแมลงธรรมชาติอื่นๆเข้ามาจำนวนมาก แมลงเหล่านี้จะช่วยผสมเกสรส่งผลให้ติดผลดกขึ้น

- การบำรุงตั้งแต่ช่วงเปิดตาดอกจนกระทั่งมีดอกออกมาควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้ดอกสมบูรณ์ดีขึ้น

- ต้นที่ได้รับ แม็กเนเซียม (จากไบโออิ). โบรอน (จากแคลเซียม โบรอน). สม่ำเสมอแบบสะสม ถึงช่วงออกดอกแล้วเจอฝน ดอกจะแข็งแรงไม่ร่วงง่ายๆ หรือติดเป็นผลได้ดีเหมือนปกติ

10. บำรุงผลเล็ก-กลาง :
ทางใบ :
- ให้ ไบโออิ + ยูเรก้า + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7-10 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ

- ในรอบ 1 เดือน หาโอกาสให้น้ำตาลทางด่วน (กลูโคส) 1 รอบ
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- ใส่ยิบซั่ม ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยคอก (ขี้วัวขี้ไก่ไข่ แกลบดิบ แห้งเก่าข้ามปี) กระดูกป่น ครั้งที่ 2 ของรุ่น หรือปีการผลิต

- ใส่ 21-7-14 (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นกลาง, 2 กก.ต้นใหญ่) /ต้น /เดือน ละลายน้ำรดโคนต้น บริเวณทรงพุ่ม

- คลุมโคนต้นด้วยเศษพืชแห้งหนาๆ เต็มพื้นที่บริเวณทรงพุ่ม ล้ำออกไปถึงนอกเขตทรงพุ่ม
- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 21-7-14 (2 ล.) /ไร่ /เดือน รดทั่วแปลง ทุกตารางนิ้ว

หมายเหตุ :
- เริ่มปฏิบัติหลังจากกลีบดอกร่วง หรือขนาดผลเท่าเมล็ดถั่วเขียว
- การบำรุงระยะผลขนาดกลางต้องให้น้ำสม่ำเสมอแต่ต้องไม่ขังค้าง ถ้าได้รับน้ำน้อยนอกจากจะทำให้ผลไม่โต หากมีฝนตกหนักลงมาก็อาจจะทำให้ผลแตกผลร่วงได้

11. บำรุงผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยว :
ทางใบ :
- ให้ไบโออิ 0-21-74 + สารสมุนไพร 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน และให้รอบสุดท้ายก่อนเก็บเกี่ยว 7-10 วัน ด้วยการฉีดพ่นพอเปียกใบ

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- เปิดหน้าดินโคนต้น และนำอินทรียวัตถุออก
- ให้ 13-13-21 หรือ 8-24-24 สูตรใดสูตรหนึ่ง (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก. ต้นกลาง, 2 กก.ต้นใหญ่) /ต้น ละลายน้ำรดโคนต้น บริเวณทรงพุ่ม แล้วงดน้ำเด็ดขาด

หมายเหตุ :
- เริ่มปฏิบัติก่อนเก็บเกี่ยว 10-20 วัน
- ช่วงผลแก่จัดใกล้หรือก่อนเก็บเกี่ยวต้องงดน้ำเพื่อให้เนื้อแห้งกรอบ สีและกลิ่นดี
- การให้แคลเซียม โบรอน 1 ครั้งก่อนเก็บเกี่ยวจะช่วยป้องกันผลแตกผลร่วงได้ดี
- การให้กำมะถัน 1 ครั้งก่อนเก็บเกี่ยวจะช่วยบำรุงผลให้สีของเปลือกสวย
- การสุ่มเก็บผลลงมาผ่าพิสูจน์ภายในก่อนลงมือเก็บเกี่ยวจะทำให้รู้ว่าควรเก็บเกี่ยวได้แล้วหรือต้องบำรุงต่อไปอีกสักระยะหนึ่งจึงเก็บเกี่ยว

- การบำรุงผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยวโดยให้ทางรากด้วย 13-13-21 จะทำให้ต้นโทรม หลังเก็บเกี่ยวผลสุดท้ายไปจากต้นแล้วต้องเร่งบำรุงเพื่อฟื้นฟูสภาพต้นเรียกความสมบูรณ์กลับคืนมาทันที

- การให้ 8-24-24 เหมาะสำหรับต้นที่มีผลหลายรุ่นในต้นเดียวกันซึ่งนอกจากหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตจนหมดต้นแล้วต้นไม่โทรม ช่วยบำรุงผลรุ่นหลังต่อ และทำให้ต้นมีความสมบูรณ์พร้อมสำหรับให้ผลผลิตรุ่นปีต่อไปอีกด้วย


==================================================
==================================================


สละ
ลักษณะทางธรรมชาติ :

- เป็นไม้ผลยืนต้นอายุหลายสิบปี สกุลเดียวกันกับระกำ มีลักษณะและนิสัยทางธรรมชาติเหมือนกัน ปลูกได้ทุกพื้นที่ ทุกภาค และทุกฤดูกาล ชอบดินร่วนปนทรายมีอินทรียวัตถุมากๆ เจริญเติบโตได้ดีในแปลงปลูกที่พื้นดินมีความชื้นสูง

- ต้นที่สมบูรณ์ได้รับการปฏิบัติบำรุงแบบให้มีสารอาหารกินตลอด 24 ชม.ต่อเนื่องติดต่อกันหลายๆปีจะออกดอกติดผลได้ตลอดปีแบบไม่มีรุ่น

- ในต้นเดียวกันมีทั้งดอกตัวผู้ ดอกตัวเมีย และดอกกระเทย แต่อยู่กันคนละดอก...ดอกตัวผู้กับดอกตัวเมียต่างดอกกันผสมกันได้ดี แต่ดอกกระเทยแม้จะมีทั้งดอกตัวผู้และดอกตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกันกลับผสมกันไม่ดี ... ใช้ดอกตัวผู้ระกำมาผสมกับดอกตัวเมียของสละจะทำให้ดอกติดผลดี

- เกสรตัวผู้หรือเกสรตัวเมียอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างไม่สมบูรณ์ เกิดจากขาดสารอาหาร/ฮอร์โมนหรือสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม (อากาศร้อนหรือฝนตกชุก) แล้วผสมกันแล้วพัฒนาเป็นผลจะเป็นผลไม่สมบูรณ์ ไม่โต รูปทรงบิดเบี้ยว

- รสหวานอมเปรี้ยวแต่ความหวานมากกว่าระกำ จึงทำให้ผู้บริโภคที่ไม่ชอบผลไม้เปรี้ยวไม่นิยมแต่ผู้บริโภคในต่างประเทศกลับนิยม

- สละที่ขาดแคลเซียม. จะมีลักษณะอาการปลายผลลีบแหลม และไม่มีเนื้อ แก้ไขด้วยการให้แคลเซียม โบรอน สม่ำเสมอ

- สละต้นอายุมากๆ ลำต้นสูงชะลูดให้ผลผลิตไม่ค่อยดี แก้ไขด้วยการปล่อยให้ลำต้นเอนแล้วมีไม้ค้ำยันป้องกันล้มจะให้ผลผลิตดีเหมือนเดิม

- สละตอบสนองต่อ ขี้เถ้าโรยบางๆ แล้วรดด้วยน้ำหมักชีวภาพปลาทะเล ดีมากๆ แนะนำให้ทำปีละครั้ง

- ไม่ควรตัดแต่งทางใบมากนัก นอกจากทางใบที่แก่หมดสภาพแล้วเท่านั้น หากทางใบโน้มกีดขวางการทำงานควรใช้เชือกไนลอนผูกรวบไว้ ทางใบที่ตัดแล้วควรนำไปปูคลุมรอบโคนต้นโดยคว่ำด้านหนามลงดิน หรือบดละเอียดด้วยเครื่องบดทางสะละเป็นปุ๋ยหมักต่อไป

- สะละอายุได้ประมาณ 1 ปี จะแตกหน่อออกมาจำนวนมาก หากปลูกแบบกอควรเลี้ยงหน่อไว้เพียงหน่อเดียว (2 ต้น ต่อกอรวมทั้งต้นแม่) จะทำให้สะละตกผลเร็ว หลังจากนั้น ค่อยเลี้ยงหน่อเพิ่มขึ้นให้ได้จำนวนต้นตามต้องการ คอยหมั่นตัดแต่งหน่อที่ไม่ต้องการออก

การตัดแต่งทางใบ :
- สะละที่ให้ผลผลิตแล้ว ควรไว้ทางใบ 15-20 ทางใบ
- ไม่ควรตัดแต่งทางใบที่รองรับทะลายผล จนกว่าจะเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว
- ทางใบช่วงที่มีใบตัดแล้วนำมาปูคลุมโคนโดยคว่ำหนามลงดิน ส่วนช่วงโคนที่ไม่มีใบนำไปบดละเอียดด้วยเครื่องบดทางสะละเป็นปุ๋ยหมักต่อไป

การตัดแต่งหน่อและไว้กอ :
- หลังจากเลี้ยงหน่อได้จำนวนต้นที่ต้องการแล้วคอยหมั่นตัดหน่อที่ไม่ต้องการออก ทั้งหน่อข้างต้น (หน่อต๊อก) และหน่อดิน

- เมื่อสะละมีอายุได้ประมาณ 7-8 ปี หรือเมื่อต้นมีความสูงไม่น้อยกว่า 1 เมตร อาจตัดต้นแม่ออกนำไปขยายพันธุ์ เพื่อให้มีช่องว่างตรงกลางกอ จะทำให้ปฏิบัติการดูแลรักษาสะดวกยิ่งขึ้น

การตัดแต่งดอก :
- คานดอกที่ออกมาในระยะก่อน 2 ปี ควรตัดทิ้ง เพราะผลผลิตที่ได้ ในระยะนี้จะไม่มีคุณภาพ
- ตัดแต่งช่อดอกในแต่ละคานให้เหลือปริมาณพอเหมาะกับความสมบูรณ์ต้น โดยสังเกตจากช่อดอกหากสมบูรณ์จะอวบยาว สีแดงเข้ม กาบหุ้มมีสีดำ หรือสีน้ำตาล

การผสมเกสร :
- สะละต้องช่วยผสมเกสร
- ผสมเกสรโดยตัดช่อดอกตัวผู้ของระกำ สะกำ หรือสะละที่ บานแลวมาเคาะใส่ช่อดอกตัวเมียที่บานแล้ว ประมาณ 50% ของช่อดอกขึ้นไป ให้ละอองเกสรตกลงไปผสมกับเกสรตัวเมีย

- ผสมเกสร โดยใช้เกสรสำเร็จรูปที่เก็บรวบรวมไว้ ผสมกับแป้งทาลคัม อัตรา 1:10 พ่นบนช่อดอกตัวเมียที่บานแล้ว 80% ก่อนนำเกสรสำเร็จรูปไป ใช้ควรทดสอบเปอร์เซ็นต์ความมีชีวิตของละอองเกสรก่อน

- การผสมเกสรสามารถทำได้ตลอดทั้งวัน แต่ในฤดูฝนเมื่อ ผสมแล้วต้องคลุมดอกไว้อย่างน้อย 2

การโยงผล :
- โยงผลตามความเหมาะสมโดยเฉพาะใน ต้นเล็กที่กระปุกผลอยู่ใกล้พื้นดิน

แหล่งอ้างอิง : กรมส่งเสริมการเกษตร

สายพันธุ์ :
พันธุ์เนินวง : เป็นพันธุ์สะละที่นิยมปลูกมากที่สุด ขนาดตะโพกหรือลำต้นเล็กกว่าระกำ บริเวณ กาบใบมีสีน้ำตาลทอง ปลายใบยาว หนามของยอดที่ยัง ไม่คลี่มีสีขาว ผลมีรูปร่างยาวหัวท้ายเรียวคล้ายกระสวย หนามผลยาว อ่อนนิ่ม ปลายหนามงอนไปทางท้ายผล เนื้อมีสีเหลืองนวลคล้ายน้ำผึ้ง หนานุ่ม รสชาติหวานหรือหวานอมเปรี้ยว รับประทานแล้วรู้สึกชุ่มคอ กลิ่นหอม เมล็ดเล็ก

พันธุ์หม้อ : ขนาดตะโพกหรือลำต้นเล็ก และใบมีสีเข้มกว่าพันธุ์เนินวง ข้อทางใบถี่สั้น หนามยาวเล็กและอ่อนกว่าพันธุ์เนินวง ช่อดอกยาว ติดผลง่ายกว่าพันธุ์เนินวง ผลคล้ายระกำ เปลือกผลสีแดงเข้ม เนื้อสีน้ำตาลมีลาย เนื้อหนาแต่ไม่แน่น รสชาติหวาน มีกลิ่นเฉพาะ เมล็ดเล็ก ทนต่อสภาพแสงแดดจัด ได้ดีกว่าพันธุ์เนินวง

พันธุ์สุมาลี : เป็นพันธุ์ใหม่ ลักษณะลำต้นคล้ายระกำ ทางใบยาวมีสีเขียวอมเหลือง ใบใหญ่กว้างและปลายใบสั้นกว่าพันธุ์เนินวง หนามของยอดอ่อนที่ยังไม่คลี่มีสีส้มอ่อน คานดอกยาว ช่อดอกใหญ่ ติดผลง่าย ผลมีรูปร่างป้อมสั้น สีเนื้อคล้ายระกำ เนื้อหนากว่าระกำ แต่บางกว่าพันธุ์เนินวง รสชาติหวานมีกลิ่นเฉพาะ เจริญ เติบโตเร็วและทนต่อสภาพแสงแดดจัดได้ดีกว่าพันธุ์เนินวง

การขยายพันธุ์ :
แยกหน่อ : (โตช้า/ให้ผลผลิตช้า/ไม่กลายพันธุ์). เพาะเมล็ด (กลายพันธุ์)
ผ่าเหง้า : (โตเร็ว/ให้ผลผลิตเร็ว/ไม่กลายพันธุ์/นิยมมากที่สุด/ดีที่สุด). โดยการขุดหัวหรือเหง้าต้นกระเทยอายุ 10 ปีขึ้นไป ได้เหง้ามาแล้วผ่าขวางออกเป็นแว่น รูปลิ่ม ที่สันลิ่มมีตาสมบูรณ์ติดอยู่ 1-2 ตา ผ่าเป็นแว่นแล้วนำลงแช่ในไคตินไคโตซานหรือธาตุรอง/ธาตุเสริม 6-12 ชม. นำขึ้นผึ่งลมให้แห้ง ทาด้วยปูนกินหมาก จากนั่นนำไปเพาะในกระบะเพาะ-วัสดุเพาะธรรมดา เก็บในร่มหรือโรงเรือนเพาะชำ ให้น้ำรักษาความชุ่มชื้นสม่ำเสมอ บำรุงเลี้ยงจนได้ใบใหม่ 4-5 ใบ จึงนำลงปลูกในแปลงจริง .... การขุดเหง้าหรือหัวมาผ่าเพื่อขยายพันธุ์แบบนี้ เรียกว่า “ฆ่าแม่เอาลูก” เพราะไม่เหลืออะไรให้ต้นแม่เจริญเติบโตต่อไปได้อีกเลย

เตรียมต้น ตัดแต่งกิ่ง :
ช่วงต้นเล็กไม่ควรตัดกิ่งหรือทาง ปล่อยเลี้ยงไว้ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ เพราะต้องอาศัยใบช่วยบังแสงแดด แต่เมื่อต้นใหญ่และอายุมากขึ้นกิ่งหรือทางล่างสุดจะโน้มลงปกดินให้ตัดออกได้ แต่กิ่งหรือทางที่ยังตั้งชี้ขึ้นได้ดีอยู่ให้คงไว้ ใบด้านบนที่ปลายชนหรือเกยทับกันเล็กน้อยนอกจากช่วยคำยันซึ่งกันและกันยามถูกพายุแล้วยังช่วยบังแสงแดดจัดให้ซึ่งกันและกันไม้ให้แดดเผาหน้าดินโคนต้นได้อีกด้วย


ขั้นตอนการปฏิบัติบำรุงต่อสละ
1. ระยะต้นเล็ก - ยังไม่ให้ผลผลิต :

- ให้ไบโออิ 25-5-5 + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ 1-2 รอบ

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ กระดูกป่น ปุ๋ยคอก (ขี้วัวขี้ไก่ไข่ แกลบดิบ แห้งเก่าข้ามปี) ครั้งที่ 1 ของรุ่นหรือปีการผลิต ควรวางแผนให้ปีละ 3 ครั้ง (4 เดือน/ครั้ง)

- คลุมโคนต้นด้วยเศษพืชแห้งหนาๆ เต็มพื้นที่บริเวณทรงพุ่ม ล้ำออกไปถึงนอกเขตทรงพุ่ม
- ให้ 25-7-7 (1/2 กก., 1 กก.ต้นใหญ่) /ต้น /เดือน ละลายน้ำรดโคนต้น เขตทรงพุ่ม
- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 (2 ล.) /ไร่ /เดือน รดทั่วแปลงทุกตารางนิ้ว 1-2 เดือน/ครั้ง

- ให้น้ำเปล่า ทุก 3-5 วัน

หมายเหตุ :
-ใส่เศษซากทะลายปาล์มจากโรงงานปาล์มน้ำมัน 2 ปี /ครั้ง

2. ระยะต้นโต-ให้ผลผลิตแล้ว :
ทางใบ :
- ให้สูตรสหประชาติ (ไบโออิ+ไทเป+ยูเรก้า) + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน

-ให้ “น้ำตาลทางด่วน” (กลูโคส) 1-2 เดือนต่อครั้ง
- ฉีดพ่นสารสมุนไพรบ่อยๆ เพื่อกันก่อนแก้

ทางราก :
- ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ กระดูกป่น ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ หญ้าแห้งใบไม้แห้งคลุมโคนต้นหนาๆ ควรวางแผนให้ปีละ 2 ครั้ง

- ให้ปุ๋ย 8-24-24 สลับเดือนกับ 21-7-14 (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นใหญ่) /ต้น /เดือน ละลายน้ำรดโคนต้น เขตทรงพุ่ม

- ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 8-24-24 (2 ล.) สลับเดือนกับ ระเบิดเถิดเทิง 21-7-14 (2 ล.) /เดือน /ไร่ รดทั่วแปลงทุกตารางนิ้ว

หมายเหตุ :
- ถ้าขาดน้ำต้นจะชะงักการเจริญเติบโตส่งผลให้การออกดอกติดผลไม่ดีเท่าที่ควรอีกด้วย
- ให้ทางใบด้วยไคโตซาน + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 2-3 เดือน/ครั้ง จะช่วยบำรุงขยายขนาดผลให้ใหญ่และเนื้อแน่นขึ้น

- ให้แคลเซียม โบรอน สม่ำเสมอตลอดระยะเวลาที่มีผลผลิตอยู่บนต้นจะช่วยให้ต้นไม่โทรมเนื่องจากแบกภาระเลี้ยงผลจำนวนมากบนต้น …. การให้แคลเซียม (จากแคลซียม โบรอน. กระดูกป่น. และ จากยิบซั่ม) ยังช่วยบำรุงเนื้อส่วนปลายผลให้เต็มผล


==================================================
==================================================


ส้ม
เกร็ดความรู้เรื่องส้ม (ทุกสายพันธุ์) :

- เป็นไม้ยืนต้นอายุยืนหลายสิบปี ทรงพุ่มขนาดกลาง ไม่ผลัดใบ ส้มโอ ส้มแก้ว และส้มเช้ง ที่ปลูกในประเทศไทยมีอายุยืนนานเกิน 10 ปี บางสวนถึง 20 ปียังให้ผลผลิตดี แต่ส้มเขียวหวานกลับมีอายุเพียง 4-6 ปีต้นตายแล้ว ในขณะที่ส้มเปลือกล่อนของอเมริกา (ฟลอริด้า, ซันเครส, ฟรีมองต์, ฯลฯ) ซึ่งอยู่ในกลุ่มเดียวกันกับส้มเขียวหวานอายุนานถึง 100 ปี

- พืชตระกูลส้ม ได้แก่ ส้มเขียวหวาน, ส้มโชกุน, ส้มเช้ง (ส้มตรา-ส้มซ่า-ส้มกา), ส้มแก้ว, ส้มโอ, ส้มมือ, ส้มจี๊ด, ส้มทองเฮง, ส้มเปลือกหวาน, มะนาว, มะกรูด, มะสัง, มะขวิด, สามารถขยายพันธุ์แบบ ทาบกิ่ง-ติดตา-เสียบยอด ได้

- ส้มเขียวหวาน เป็นส้มเปลือกล่อน เนื่องมาจากคุณลักษณะเฉพาะตัวที่มีเปลือกบาง ล่อน หรือลอกออกจากเนื้อได้ง่าย ซึ่งต่างจาก ส้มโอ ส้มเช้ง มะนาว มะกรูด

- ส้มเขียวหวานดั้งเดิมจริงๆในประเทศไทยมีพันธุ์เดียว คือพันธุ์ “บางมด” ปัจจุบันมีส้มเขียวหวานพันธุ์ใหม่เกิดขึ้นชื่อพันธุ์ “เขียวดำเนิน” ซึ่งคุณสมบัติทางสายพันธุ์ไม่ต่างกัน

- ส้มเขียวหวานบางมด อยู่ที่แขวงบางมด เขตบางขุนเทียน กทม. วันนี้เหลือแต่ตำนาน เพราะพื้นที่ปลูกถูกน้ำ

- ส้มสายพันธุ์ปลูกในกระถาง (ไม้ประดับ) ได้ผลผลิตดี ได้แก่ ส้มกิมจ๊อ หรือ กัมควอท (รับประทานได้ทั้งเปลือก). ส้มจี๊ด (คาราเมนติน). ส้มหลอด (ผลหวาน/ผลเปรี้ยว) และส้มใบด่าง.

- ส้มจุก. ของไทยเคยนิยมปลูกมากในเขตภาคใต้ มี 2 สายพันธุ์ คือ จุกใหญ่ และ ไม่มีจุก ปัจจุบันเหลือน้อยแต่ยังพอมีให้เห็นบ้าง

- เป็นพืชรากลอย ชอบหาอาหารบริเวณหน้าดินไม่ลึกนัก
- ชอบดินที่มีอินทรีย์วัตถุ ปุ๋ยคอก (มูลวัวเนื้อ/นม 3 ส่วน + มูลไก่ 1 ส่วน.....หมัก ข้ามปี.) ยิบซั่ม. ปุ๋ยอินทรีย์. กระดูกป่น. หญ้าคลุมผิวดินโคนต้น แต่ไม่ชอบยาฆ่าหญ้า-วัชพืช, สารเคมีกลุ่มทองแดง (ค็อปเปอร์ออกซี่คลอไรด์) และรากแช่น้ำในสวนยกร่องน้ำหล่อ.

- ติดดอกออกผลได้ตลอดปีแบบไม่มีรุ่นหรือฤดูกาล เป็นดอกสมบูรณ์เพศที่ผสมตัวเอง หรือต่างดอกในต้นเดียวกัน หรือต่างดอกต่างต้นได้

- เกสรตัวผู้หรือเกสรตัวเมียอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างไม่สมบูรณ์เกิดจากขาดสารอาหาร/ฮอร์โมนหรือสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม (อากาศร้อนหรือฝนตกชุก) แล้วผสมกันแล้วพัฒนาเป็นผลจะเป็นผลไม่สมบูรณ์ ไม่โต รูปทรงบิดเบี้ยว

- ปรับปรุงบำรุงดินด้วยยิบซั่ม ต้นตอบสนองดีกว่าใช้ปูนมาร์ล โดโลไมท์ (พีเอช 14.0 ) และหินภูเขาไฟ

- การใช้ปุ๋ยน้ำชีวภาพที่มีส่วนผสมของกากน้ำตาล (หมักใหม่) ค่าความเป็นความกรดสูง (พีเอช 3.0-4.0) นอกจากทำให้หยุดการเจริญเติบโตของผลแล้ว ยังเป็นสาเหตุให้เกิดเชื้อรามีลาโนสอีกด้วย

- การใช้สารกลุ่มคอปเปอร์ ออกซี่ คลอไรด์ (กำจัดโรคแคงเคอร์) บ่อยๆ จนเกิดอาการสะสมในต้น สารคอปเปอร์ ออกซี คลอไรด์. (ทองแดง) จะขัดขวางการลำเลียงสาร อาหารจากรากไปยังส่วนต่างๆของต้น เป็นเหตุให้ต้นไม่ได้รับสารอาหารที่ให้ทั้งทางรากและทางใบ

- โรคกรีนนิ่ง (ใบแก้ว). โรคตริสเตรซ่า (ยางไหล). เป็นเชื้อไวรัสที่ติดมากับสายพันธุ์ซึ่งแพร่หลายออกไปทั่วประเทศจนพูดได้ไม่มีต้นพันธุ์ไม้ผลตระกูลส้มใดปลอดโรคดังกล่าวนี้ และปัจจุบันยังไม่มีสารเคมีใดๆ กำจัดให้หายขาดได้ แนวทางแก้ไข คือ บำรุงต้นให้สมบูรณ์อยู่เสมอเพื่อกดเชื้อไว้ไม่ให้อาการกำเริบ ถ้าต้นอ่อนแอหรือขาดความสมบูรณ์เมื่อใด อาการโรคจะปรากฏออกมาทันที

- ต้นพันธุ์เสียบยอดหรือติดตาบนตอมะสัง. มะขวิด. มะกรูด. ทรอยเยอร์ (ส้มสามใบ). คลีโอพัตรา. สวิงเกิ้ล. มักได้ผลดีเฉพาะช่วงต้นเล็กอายุยังน้อยเท่านั้น เมื่อต้นอายุมากขึ้นจะมีอาการโคนต้น (ตอเดิม) ใหญ่และใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ตามอายุ เรียกว่า “ตีนช้าง” ในขณะที่ส่วนของพันธุ์ที่นำมาเสียบ หรือติดตาจะเล็กหรือไม่โต นอกจากนี้ระบบรากเคยดีเมื่อช่วงต้นเล็กก็จะเปลี่ยนเป็นเลวลง

- ต้นลำเปล้าเดี่ยวๆ หรือมีกิ่งง่ามแรกสูงจากพื้น 50-80 ซม. ระบบลำเลียงน้ำเลี้ยงจากรากไปสู่ส่วนต่างๆ ของต้นดีกว่าต้นไม่มีลำเปล้าหรือกิ่งง่ามแรกอยู่ชิดพื้นดิน

- การให้สารรสหวาน (กลูโคส น้ำตาล) เป็นอาหารทางด่วน มากหรือบ่อยเกินไปจะทำให้เกิดอาการใบกร้านและชะงักการเจริญเติบโตได้

- สวนยกร่องน้ำหล่อควรลดระดับน้ำจากสันแปลงถึงผิวน้ำไม่น้อยกว่า 1-1.20 ม. เนื้อดินที่สันแปลงเหนียวแก้ไขด้วยการฉีดอัดจุลินทรีย์ประเภทไม่ต้องการอากาศลงไปลึกๆ จุลินทรีย์กลุ่มนี้ช่วยลดความเหนียวจัดของเนื้อดินได้ พร้อมกันนั้นให้ใช้หลักการล่อรากจากใต้ดินลึกให้ขึ้นมาอยู่ที่ผิวดินด้วยปุ๋ยอินทรีย์ รากเกิดใหม่ที่ผิวดินจะทำหน้าที่แทนรากส่วนที่อยู่ลึกใต้ดินได้

- เมื่อมีอาการผิดปกติเกิดขึ้นบนส่วนใดส่วนหนึ่งของต้น อย่ารีบด่วนตัดสินใจว่าเป็นเชื้อโรคส้ม เพราะลักษณะบางอย่างอาจเกิดจากการขาด ธาตุรอง/ธาตุเสริม หรือสภาพแวด ล้อม ไม่เหมาะสมก็ได้

- ช่วงที่ผลกำลังเจริญเติบโตแล้วได้รับอากาศหนาวเย็นสีเปลือกจะมีสีเหลืองเข้มหรือเหลืองอมแสด แต่หากได้รับอากาศร้อนสีเปลือกจะมีสีเขียวจัดหรือมีสีเหลืองเล็กน้อย

- ช่วงผลกำลังพัฒนา ถ้าต้นได้รับไนโตรเจนน้อยผลจะโตช้าหรือไม่โต แต่ถ้าช่วงเดือนสุดท้ายก่อนเก็บเกี่ยวต้นยังคงได้รับไนโตรเจนมาก จุก (เปลือกติดขั้ว) สูง เปลือกหนา รสเปรี้ยว กลิ่นไม่ดี

- ช่วงผลกำลังพัฒนา ถ้าต้นได้รับน้ำไม่เพียงพอหรือไม่สม่ำเสมอ ผลส้มจะมีเส้นรกมาก เปลือกหุ้มกลีบหนาและเหนียว รับประทานแล้วมีชานมาก

- ช่วงผลแก่จัดใกล้เก็บเกี่ยวแล้วได้มีฝนตกชุก และผลอายุแก่เกินมากตัวกุ้ง (เนื้อ) จะแข็งกระด้าง (ข้าวสาร) ล่อนกระจายไม่เกาะกัน แต่หากอายุยังไม่ถึงกำหนดตัวกุ้งเล็ก ฉ่ำน้ำรกหนา รับประทานไม่อร่อย

- อัตราการใส่ปุ๋ยทางราก ½ กก. /ต้น /เดือน สำหรับต้นที่ติดผลไม่ดกนัก และอัตราใส่ 1/2 กก. /ต้น /15 วัน สำหรับต้นที่ติดผลดกมาก

- การให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพหมักจากปลาทะเล และมีส่วนสมของกากน้ำตาล อย่างสม่ำ เสมอต่อเนื่องนานหลายๆเดือนจะทำให้ต้นชะงักการเจริญเติบโต (ไม่แตกใบอ่อน) ดังนั้นการให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพจึงต้องให้อย่างระมัดระวังหรือต้องเฝ้าสังเกตการเจริญเติบโตของต้นอยู่เสมอ ซึ่งบางครั้งอาจต้องหยุดหรือเว้นระยะห่างของการให้บ้าง

- การใช้มูลสัตว์ปีก (ไก่-นกกระทา) เพื่อเสริมการออกดอกนั้นไม่ควรใช้มากจนเกินจำเป็น โดยเฉพาะมูลค้างคาวไม่ควรใช้กับส้มเพราะจะทำให้มีเมล็ดมากและขนาดใหญ่

- ต้นทรงพุ่มรกทึบ ใบมาก จนแสงแดดผ่านรอดเข้าไปไม่ทั่วถึง บริเวณเปลือกลำต้นและกิ่งแก่จะมีราต่างๆ (หลายสี) เกาะจับ แก้ไขด้วยการฉีดพ่นปุ๋ยน้ำชีวภาพหรือจุลินทรีย์หน่อกล้วยบ่อยๆควบคู่กับตัดแต่งกิ่งให้ทรงพุ่มโปร่ง ความร้อนจากแสงแดดจะช่วยกำจัดราจับเปลือกได้

เตรียมต้น ตัดแต่งกิ่ง :
- ตัดแต่งเพื่อการแตกยอดใหม่ให้ตัดกิ่งกระโดง กิ่งในทรงพุ่ม กิ่งคดงอ กิ่งชี้ลง กิ่งไขว้ กิ่งหางหนู กิ่งเป็นโรค ทั้งนี้ภายในทรงพุ่มควรให้โปร่งจนแสงส่องผ่านลงไปถึงโคนต้นได้

- ตัดทิ้งเพื่อไม่ให้แตกใหม่ป้องกันทรงพุ่มทึบเกินไปให้ตัดชิดลำกิ่งประธาน
- ตัดยอดกิ่งประธาน (ผ่ากบาล) ณ ความสูงต้นตามต้องการ นอกจากช่วยทำให้แสงแดดผ่านจากยอดเข้าสู่ภายในทรงพุ่มได้อย่างทั่วถึงแล้วแสงแดดที่ร้อนยังช่วยกำจัดเชื้อราได้เป็นอย่างดีและเพื่อควบคุมขนาดความสูงทรงพุ่มอีกด้วย

- นิสัยการออกดอกของส้มไม่จำเป็นต้องกระทบหนาวได้ระยะหนึ่ง แต่การตัดแต่งกิ่ง-เรียกใบอ่อนช่วงต้นหน้าฝนแล้วเข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงต่อไปตามลำดับอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอจะทำให้ต้นมีความสมบูรณ์เต็มที่ดีกว่าการตัดแต่งกิ่งในช่วงอื่น

บำรุงส้มให้ได้ผลผลิตรุ่นเดียวกันทั้งต้น
(เขียวหวาน. เช้ง. โชกุน. โอ. แก้ว.)
1. เรียกใบอ่อน

ทางใบ
- ให้ ไบโออิ 25-5-5 + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 15 วัน

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยคอก (ขี้วัวขี้ไก่ไข่ แกลบดิบ แห้งเก่าข้ามปี) กระดูกป่น ครั้งที่ 1 ของรุ่นหรือปีการผลิต

- ใส่ 25-7-7 (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นใหญ่) /ต้น /2 เดือน ละลายน้ำรดโคนต้น บริเวณทรงพุ่ม

- คลุมโคนต้นด้วยเศษพืชแห้งหนาๆ เต็มพื้นที่บริเวณทรงพุ่ม ล้ำออกไปถึงนอกเขตทรงพุ่ม
- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 (2 ล.) /ไร่ /2 เดือน รดทั่วแปลง ทุกตาราง นิ้ว

หมายเหตุ :
- เลือกตัดเฉพาะกิ่งที่ไม่พร้อมต่อการออกดอกติดผล เช่น กิ่งแห้ง กิ่งเป็นโรค หรือกิ่งที่ไม่ต้องการจริงๆแล้วเท่านั้น เพราะถ้าตัดกิ่งแล้ว ต้องใช้ระยะเวลาบำรุงกิ่งนั้นอย่างน้อย 3 ปี จึงจะออกดอกติดผลใหม่

- หลังจากให้ทางใบไปแล้ว 5-7 วันถ้าต้นใดแตกใบอ่อนดีน้อยกว่า 50% ให้ฉีดพ่นซ้ำรอบสองด้วยอัตราและวิธีการเดิม เพราะถ้าต้นแตกใบอ่อนไม่พร้อมกันทั่วทั้งต้นจะส่งผลเสียหลายอย่างตั้งแต่การเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่ การสะสมอาหารเพื่อการออก การปรับ ซี/เอ็น เรโช. การเปิดตาดอก ซึ่งจะออกดอกไม่พร้อมกันทั่วทั้งต้นและเมื่อดอกออกไม่พร้อมกันก็กลายเป็นผลไม่พร้อมกันทำให้ยุ่งยากต่อการปฏิบัติบำรุงตามขั้นตอนอย่างมาก .... แนวทางแก้ไขคือ ต้องบำรุงเรียกใบอ่อนให้ออกมาเป็นชุดเดียวพร้อมกันทั้งต้นให้ได้

- ส้ม (ทุกสายพันธ์) ต้องการใบอ่อน 3 ชุด ถ้าต้นสมบูรณ์ดี มีการเตรียมดินและปรับ ปรุงบำรุงดินสม่ำเสมอต่อเนื่องมาหลายๆปีแล้ว หลังจากใบอ่อนชุดแรกเพสลาดแล้วให้เรียกใบอ่อนชุด 2 ต่อได้เลย ใบชุด 2 นี้อาจจะออกไม่พร้อมกันทั้งต้นเหมือนชุดแรกแต่ก็จะออกห่างกันไม่เกิน 7-10 วัน และหลังจากใบอ่อนชุด 2 เพสลาดก็ให้เข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงต่อไปตามปกติ

2. เร่งใบอ่อนเป็นใบแก่ :
- ให้ไบโออิ 0-21-74 หรือ 0-39-39 + สารสมุนไพร 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 15 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
ให้น้ำปกติ ทุก 2-3 วัน

หมายเหตุ :
- ลงมือปฏิบัติเมื่อใบเริ่มแผ่กางรับแสงแดดได้
- การเร่งใบอ่อนให้เป็นใบแก่ วัตถุประสงค์เพื่อเร่งระยะเวลาสู่การพัฒนาขั้นต่อไปให้เร็วขึ้น หรือเพื่อให้รอดพ้นจากการทำลายของแมลงปากกัดปากดูดที่ชอบกัดกินใบอ่อนพืช

- ต้นที่สะสมความสมบูรณ์เต็มที่มานานหลายปีติดต่อกัน หลังจากใบอ่อนเริ่มแผ่กางแล้วสามารถข้ามขั้นตอนการบำรุงไปสู่ขั้นตอนเปิดตาดอกได้เลย ทั้งนี้ฟอสฟอรัส. กับโปแตสเซียม. นอกจากช่วยเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่ได้แล้วยังช่วยเปิดตาดอกได้อีกด้วย

3. สะสมอาหารเพื่อการออกดอก :
ทางใบ
- ให้ไบโออิ 0-42-56 + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 15 วัน นาน 1-2 เดือน.... ในรอบเดือนหาโอกาสให้น้ำตาลทางด่วน (กลูโคส) 1 ครั้ง

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
-ใส่ 8-24-24 (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นกลาง, 2 กก.ต้นใหญ่) /ต้น /2 เดือน ละลายน้ำรดโคนต้น บริเวณทรงพุ่ม

- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 8-24-24 (2 ล.) /เดือน รดทั่วแปลง ทุกตารางนิ้ว
- ให้น้ำปกติทุก 2-3 วัน

หมายเหตุ :
- เริ่มปฏิบัติหลังจากใบอ่อนชุดสุดท้ายเพสลาด
- แนวทางบำรุงให้ต้นได้สะสมอาหารเพื่อการออกดอกไว้มากที่สุด ควรเตรียมแผนใช้เวลาบำรุง 2 เดือน โดยให้น้ำตาลทางด่วน (กลูโคส) รอบแรกเมื่อเริ่มลงมือบำรุง ให้รอบสองห่างจากรอบแรก 20-30 วัน จะช่วยให้การสะสมตาดอกดีขึ้น

- ไม้ผลที่ผ่านการบำรุงมาอย่างดีแล้วต้องกระทบหนาวจึงออกดอกดีนั้น ช่วงขั้นตอนสะสมอาหารเพื่อการออกดอก ถ้ามีการให้กลูโคส + 0-52-34 หรือ 0-42-56 + สังกะสี” ฉีดพ่นพอเปียกใบ ช่วงเช้าแดดจัด 1-2 รอบ ให้รอบแรกเมื่อเริ่มลงมือบำรุงสะสมอาหารเพื่อการออกดอก จากนั้น อีก 20 วัน ให้อีกเป็นรอบ 2 ก็จะช่วยให้ต้นเกิดอาการอั้นตาดอกและส่งผลให้เปิดตาดอกแล้วมีดอกออกมาดีอีกด้วย

- วัตถุประสงค์เพื่อให้ต้นได้สะสมสารอาหารทั้งกลุ่มสร้างดอก-บำรุงผล (ซี.)และกลุ่มสร้างใบ

- บำรุงต้นไว้ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ จนกระทั่งเกิดอาการอั้นตาดอก ไม่มีการแตกใบอ่อนออกมาอีก ถ้าต้นแตกใบอ่อนออกมาใหม่ก็จะต้องย้อนกลับไปบำรุงที่ขั้นตอนเร่งใบอ่อนให้เป็นใบแก่อีกครั้งซึ่งทำให้เสียเวลา

- ปริมาณ 8-24-24 หรือ 9-26-26 ใส่มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณการติดผลในรุ่นที่ผ่ามา กล่าวคือ ถ้ารุ่นที่ผ่านมาติดผลดกมาก ผลผลิตมีคุณภาพดีมาก ให้ใส่ในปริมาณที่มากขึ้น แต่ถ้ารุ่นที่ผ่านมาติดผลดกน้อยหรือไม่ติดผลเลย ให้ใส่ในปริมาณปานกลาง

- การเพิ่มปริมาณปุ๋ยให้มากขึ้น หมายถึง การให้อัตราเดิมแต่ระยะเวลาให้ถี่ขึ้น เช่น จากเคยให้ 15 วัน/ครั้งก็ให้เปลี่ยนเป็น 10 วัน/ครั้ง

- ก่อนเข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงขั้นต่อไป คือ ปรับ ซี/เอ็น เรโช. ให้ทบทวนความทรงจำเมื่อครั้งเรียกใบอ่อนแล้วใบอ่อนออกมาพร้อมกันเป็นชุดเดียวทั่วทั้งต้นหรือไม่ ถ้าใบอ่อนออกมาพร้อมกันดีทั่วทั้งต้นให้ปรับ ซี/เอ็น เรโช.ต่อไปได้เลย แต่ถ้าใบอ่อนออกมาไม่พร้อมกันเป็นชุดเดียวทั่วทั้งต้นและค่อนข้างต่างรุ่นกันมากก็ให้บำรุงสะสมอาหารเพื่อการออกดอกต่อไปอีก 2-3 รอบ เพื่อรอให้ใบอ่อนชุดหลังสะสมอาหารจนอั้นตาดอกดีเท่ากับใบอ่อนชุดแรก จากนั้นจึงลงมือปรับ ซี/เอ็น เรโช. ทั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อทำให้มีดอกออกมาพร้อมกันเป็นชุดเดียวกันทั่วทั้งต้นนั่นเอง

4. ตรวจสอบสภาพอากาศก่อนปรับ ซีเอ็น เรโช :
ก่อนเริ่มลงมือปรับ ซี/เอ็น เรโช (งดน้ำ) และก่อนลงมือเปิดตาดอกต้องแน่ใจว่าระหว่างที่กำลังบำรุงทั้งสองขั้นตอนนี้จะต้องไม่มีฝน เพราะถ้ามีฝนตกลงมาการงดน้ำก็ล้ม เหลว และดอกที่ออกมาจะได้รับความเสียหาย .... ถ้ารู้แน่ว่าช่วงงดน้ำและเปิดตาดอกถึงช่วงดอกออกมาแล้วจะมีฝนก็ให้ระงับการปรับ ซี/เอ็น เรโช และเปิดตาดอกไว้ก่อน ให้บำรุงต้นต่อไปอีกด้วยสูตรสะสมอาหารเพื่อการออกดอก จากนั้นอาจจะปรับแผนการบำรุงเพื่อทำให้ออกล่าฤดูด้วยการเลื่อนเวลาเริ่มปรับ ซี/เอ็น เรโช และเปิดตาดอกให้ช้าออกไปเท่าที่สภาพภูมิ อากาศจะอำนวยก็ได้

5. ปรับ ซี/เอ็น เรโช :
ทางใบ
- ให้ไบโออิ 0-42-56 + สารสมุนไพร 1-2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 10-15 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ ระวังอย่าให้โชกจนตกลงถึงพื้น

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- เปิดหน้าดินโคนต้นโดยนำอินทรีย์วัตถุคลุมโคนต้นออกให้แดดส่องได้ทั่วพื้นดินทรงพุ่ม
- งดให้น้ำเด็ดขาด กรณีสวนยกร่องน้ำหล่อจะต้องสูบน้ำออกให้หมด

หมายเหตุ
- เริ่มให้เมื่อต้นเริ่มมีอาการอั้นตาดอก
- ต้นที่มีอาการอั้นตาดอกดีจนพอใจแล้วไม่ต้องฉีดพ่นกลูโคสเพิ่มอีกแต่ถ้าต้นมีอาการอั้นตาดอกไม่ดีหรือยังไม่น่าพอใจ แนะนำให้ฉีดพ่นกลูโคส (น้ำตาลทางด่วน) ทางใบอีกซ้ำอีก 1 รอบ โดยเว้นระยะเวลาให้ห่างจากที่เคยให้เมื่อช่วงสะสมอาหารไม่น้อยกว่า 30-45 วัน

- วัตถุประสงค์เพื่อปรับเพิ่มปริมาณสารอาหารกลุ่ม ซี. พร้อมกับปรับลดสารอาหารกลุ่ม เอ็น.ขอแนะนำให้ฉีดพ่น “กลูโคส” สลับกับ “ธาตุรอง/ธาตุเสริม” บ้างเป็นครั้งคราว

- ขั้นตอนการปรับ ซี/เอ็น เรโช นี้หากมีฝนตกจะต้องงดการปรับทันทีแต่ให้บำรุงด้วยสูตรสะสมอาหารต่อไปจนกว่าจะหมดฝนแล้ว 10-15 วันจึงลงมือเริ่มต้นปรับ ซี/เอ็น เรโช ใหม่.... ช่วงนี้ถ้ามีฝนตกลงมา ต้นอาจจะแตกใบอ่อนได้ นั่นหมายความว่าจะต้องย้อนกลับไปเริ่ม ต้นตั้งแต่ขั้น ตอนแรกใหม่และการบำรุงส้มเขียวหวานให้ได้ผลผลิตออกสู่ตลาดช่วงตรุษจีนก็ต้องล้มเหลวด้วย ดังนั้น การบำรุงด้วยสูตร “สะสมอาหาร” เพียงสูตรเดียวอาจจะไม่พอจึงควรให้สารอาหารสูตร “กดใบอ่อนสู้ฝน” (มะนาว : กดใบอ่อนสู้ฝน-มะนาวหน้าแล้ง) สลับด้วยทุกครั้งก่อนฝนตกหรือหลังฝนหยุดโดยไม่จำกัดจำนวนครั้งและช่วงเวลาให้

- งดน้ำจนกว่าต้นจะเกิดอาการใบสลด 3 วัน ตั้งแต่เวลา 12.00-15.00 น. ติดต่อกัน และไม่ควรนานเกิน 3 วันเพราะอาจทำให้ต้นโทรมได้ ระยะเวลาตั้งแต่เริ่มงดน้ำจนถึงใบสลดจะนานมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำใต้ดินโคนต้น

6. สำรวจลักษณะอั้นตาดอก :
ใบคู่สุดท้ายปลายกิ่งเป็นใบแก่จัด ข้อระหว่างใบสั้น ใบหนาเขียวเข้มส่องแดดแล้วแสงไม่ทะลุ เนื้อใบกรอบ เส้นใบนูนเด่น หูใบอวบอ้วน กิ่งช่วงปลายกลม เปราะหักง่าย มีตุ่มตานูนขึ้นที่โคนหูใบหรือซอกใบ อาการนี้ควรเกิดขึ้นกับทุกจุดหรือทุกปลายยอดที่สามารถออกดอกได้ทั่วทั้งต้น และเมื่อมองจากภายนอกระยะไกลเห็นความสมบูรณ์ของต้นชัดเจน

ถ้าอาการอั้นตาดอกเกิดขึ้นไม่ทั่วทั้งต้นหรือเกิดขึ้นเพียงบางกิ่งเท่านั้น กรณีนี้ให้ระงับการเปิดตาดอกไว้ก่อนแล้วบำรุงด้วยสูตร สะสมอาหารเพื่อการออกดอก ทั้งทางใบและทางรากต่อไปอีก

7. ตรวจสอบข่าวสภาพอากาศ ก่อนเปิดตาดอก :
ก่อนลงมือเปิดตาดอกจำเป็นต้องทราบข่าวอากาศล่วงหน้า กล่าวคือ ในอีก 20-30 วันข้างหน้าซึ่งเป็นวันที่ช่อดอกเริ่มออกมาแล้วนั้นจะต้องไม่มีฝนตก เพราะถ้ามีฝนจะทำให้ดอกเสียหายโดยเฉพาะดอกบานจะเสียหายจนผสมไม่ติด

ถ้ารู้ว่าในอีก 20-30 วันข้างหน้าจะมีฝนตก ให้เลื่อนการเปิดตาดอกออกไปแล้วกลับมาบำรุงด้วยสูตรสะสมอาหารเพื่อการออกดอกต่อไป จนกว่าจะแน่ใจว่าหลังเปิดตาดอกจนดอกออกมาแล้วไม่มีฝนจึงลงมือเปิดตาดอก

8. เปิดตาดอก :
ทางใบ :
สูตร 1 .... 100 ล. + 13-0-46 (1 กก.) + ไธโอยูเรีย 500 กรัม ) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 500 กรัม + สารสมุนไพร 250 ซีซี. ทุก 7-10 วัน

สูตร 2 .... น้ำ 100 ล. + ไทเป 100 ซีซี. + 13-0-46 (1 กก.) สารสมุนไพร 250 ซีซี. ทุก 7-10 วัน

- ฉีดพ่นสารสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- ยังคงเปิดหน้าดินโคนต้น
- ให้น้ำพอหน้าดินชื้นหรือพอให้ต้นได้รู้สึกตัว

หมายเหตุ :
- หลังจากเปิดตาดอกแล้ว ถ้าดอกออกมาไม่มากพอสาเหตุมาจากตั้งแต่ช่วงเรียกใบอ่อนแล้วใบอ่อนออกมาไม่พร้อมกันทั่วทั้งต้น ระหว่างที่ดอกชุดแรกยังเป็นดอกตูมอยู่นั้นให้เปิดตาดอกซ้ำอีก 1-2 รอบด้วยสูตรเดิม หรือจนกระทั่งดอกชุดแรกบานแล้วจึงยุติการเปิดตาดอกซ้ำ

9. บำรุงดอก :
ทางใบ :
- ให้ไบโออิ 15-45-15 .... (หน้าฝน) หรือ 0-52-34 (หน้าแล้ง) + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 15 วัน ฉีดพ่นพอเปียก ระวังอย่าให้โชกจนลงถึงพื้น

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- ยังคงเปิดหน้าดินโคนต้น
- ให้ 8-24-24 (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นใหญ่) /ต้น /2 เดือน ละลายน้ำรดโคนต้น บริเวณทรงพุ่ม

- ให้น้ำปกติ ทุก 2-3 วัน

หมายเหตุ :
- ช่วงดอกตั้งแต่เริ่มแทงออกมาให้เห็น (ก้านดอกยาว 1-2 ซม.) หรือระยะดอกตูม บำรุงด้วยฮอร์โมน เอ็นเอเอ. 1-2 รอบ จะช่วยบำรุงเกสรทั้งตัวผู้และตัวเมียให้สมบูรณ์พร้อมรับผสม

- การให้ฮอร์โมน เอ็นเอเอ. ต้องใช้ด้วยระมัดระวัง เพราะถ้าให้เข้มข้นเกินไปจะเกิดความเสียหายต่อดอกและถ้าให้อ่อนเกินไปก็จะไม่ได้ผล

ช่วงดอกเริ่มแทงออกมาใหม่ๆให้แคลเซียม โบรอน.1 รอบ จะช่วยให้ดอกสมบูรณ์ผสมติดดี

- ฉีดพ่นสารอาหารเพื่อบำรุงดอกด้วยเครื่องมือฉีดพ่นที่มีแรงลมพ่นเบาที่สุดตามความเหมาะสมเพื่อไม่ให้กระทบกระเทือนต่อส่วนต่างๆของดอก ฉีดพ่นที่ช่อดอกโดยตรงพอเปียกหรือฉีดพ่นให้ทั่งทรงพุ่มพอเปียกใบก็ได้

- บำรุงดอกช่วงฝนชุกให้เน้น “สังกะสี และ แคลเซียม โบรอน” โดยให้เมื่อดอกออกมาแล้วหรือให้แบบสะสมล่วงหน้าตั้งแต่ช่วงเปิดตาดอก ให้แบบเดี่ยวๆหรือผสมรวมไปกับธาตุอาหารอื่นๆก็ได้

- ช่วงดอกตูมควรฉีดพ่นสารสัดสมุนไพรให้บ่อยขึ้น เพื่อป้องกันกำจัดโรคและแมลงจนถึงช่วงดอกบาน

- ระยะดอกบานถ้าตรงกับช่วงฝนชุกเกสรจะเปียกชื้นทำให้ผสมไม่ติด แก้ไขโดยกะระยะเวลาบำรุงให้ดอกออกมาไม่ตรงกับช่วงฝนชุกเท่านั้น แต่ถ้าดอกออกมาตรงกับช่วงแล้งอากาศร้อนมากเกสรจะฝ่อทำให้ผสมไม่ติดเช่นกัน แก้ไขโดยการสร้างความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศและที่พื้นดินในทั้งในแปลงปลูกและรอบๆแปลงปลูก มาตรการบำรุงต้นและดอกให้สมบูรณ์อย่างแท้จริงอยู่เสมอจะช่วยลดความสูญเสียได้เป็นอย่างมาก

10. บำรุงผลเล็ก-กลาง :
ทางใบ :
- ให้ ไบโออิ + ยูเรก้า + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 15 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ

- ในรอบ 1 เดือน หาโอกาสให้น้ำตาลทางด่วน (กลูโคส) 1 รอบ
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยคอก (ขี้วัวขี้ไก่ไข่ แกลบดิบ แห้งเก่าข้ามปี) กระดูกป่น ครั้งที่ 2 ของรุ่น หรือปีการผลิต

- ใส่ 21-7-14 (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นใหญ่) /ต้น /2 เดือน ละลายน้ำรดโคนต้น บริเวณทรงพุ่ม

- คลุมโคนต้นด้วยเศษพืชแห้งหนาๆ เต็มพื้นที่บริเวณทรงพุ่ม ล้ำออกไปถึงนอกเขตทรงพุ่ม
- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 21-7-14 (2 ล.) /ไร่ /เดือน รดทั่วแปลง ทุกตาราง นิ้ว

หมายเหตุ :
- ช่วงที่ผลกำลังพัฒนาแล้วมีฝนตกชุกควรให้แคลเซียม โบรอน. บ่อยขึ้นเพื่อป้องกันผลแตกผลร่วง แต่การให้แคลเซียม โบรอน. ต้องระวังเพราะถ้าต้นได้รับมากเกินไปจะทำให้จุกหรือเปลือกบริเวณขั้วสูง

- เทคนิคการให้จิ๊บเบอเรลลิน.ช่วงผลเล็กจะช่วยบำรุงผลร่วงผลแตกเมื่อผลมีขนาดโตใกล้เก็บเกี่ยวได้

11. บำรุงผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยว :
ทางใบ :
- ให้ไบโออิ 0-21-74 + สารสมุนไพร 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน และให้รอบสุดท้ายก่อนเก็บเกี่ยว 7-10 วัน ด้วยการฉีดพ่นพอเปียกใบ

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- เปิดหน้าดินโคนต้น และนำอินทรีย์วัตถุออก
- ให้ 13-13-21 หรือ 8-24-24 สูตรใดสูตรหนึ่ง (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก. ต้นใหญ่) /ต้น ละลายน้ำรดโคนต้น บริเวณทรงพุ่ม แล้วงดน้ำเด็ดขาด

หมายเหตุ :
- เริ่มให้ก่อนเก็บเกี่ยว 7-15 วัน
- อายุผลของส้มเขียวหวานนานมาก (ตั้งแต่ผสมติดถึงเก็บเกี่ยวนาน 8 เดือน) การให้ปุ๋ยทางรากด้วยสูตร 21-7-14 สองรอบแล้วสลับด้วย 18-18-18 หนึ่งรอบจะช่วยให้พัฒนาการของผลดีกว่าการใส่สูตรใดสูตรหนึ่งเพียงสูตรเดียว

- การบำรุงผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยวทางรากด้วย 13-13-21 จะทำให้ต้นโทรม หลังเก็บเกี่ยวผลสุดท้ายไปจากต้นแล้วต้องเร่งบำรุงเพื่อฟื้นฟูสภาพต้นเรียกความสมบูรณ์กลับคืนมาทันที

- การให้ 8-24-24 เหมาะสำหรับต้นที่มีผลหลายรุ่นในต้นเดียวกัน ซึ่งนอกจากหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตจนหมดต้นแล้วต้นไม่โทรม ช่วยบำรุงผลรุ่นหลังต่อได้ และทำให้ต้นมีความสมบูรณ์พร้อมสำหรับให้ผลผลิตรุ่นปีต่อไปได้อีกด้วย


===================================================
===================================================


ส้มเขียวหวาน
ลักษณะทางธรรมชาติ :

- เป็นไม้ผลยืนต้นประเภทอายุหลายสิบปี เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนปนทรายหรือดินดำร่วน ระบายน้ำดี มีอินทรีย์วัตถุมากๆ

- ในอดีตแปลงปลูกส้มเขียวหวาย่านแขวงบางมด เขตบางขุนเทียน กทม. มีน้ำทะเลขึ้นถึง พื้นที่บริเวณนั้นจึงเป็นพื้นที่ลักจืดลักเค็ม ทำให้ส้มเขียวหวานเจริญเติบโตดีมาก ครั้นถึงช่วงหนึ่งของฤดูกาลเมื่อสภาพอากาศเหมาะสมก็จะมีเพลี้ยไก่แจ้ระบาดเข้าทำลายผลส้มทำให้ผิวส้มหยาบกร้าน จากนั้นชาวสวนจะใช้สารเคมีกำจัด หลังจากเพลี้ยไก่แจ้ถูกทำลายไปแล้วผิวเปลือกก็ยังคงหยาบกร้านเหมือนเดิมและจะเป็นอย่างนั้นจนเก็บเกี่ยว

เพลี้ยไก่แจ้เข้าทำลายเซลล์ใต้เปลือก ทำให้เปลือกไม่สามารถสังเคราะห์แสงสร้างสารอาหารส่งให้ผลได้ ขณะที่ผลกำลังเจริญพัฒนาต้องรับสารอาหารจากรากเท่านั้น จึงทำให้คุณภาพของผลที่เซลล์เปลือกถูกทำลายดีกว่าผลที่ไม่ทำลายและผลส้มเขียวหวานที่หยาบกร้านนี้คือที่มาของคำว่า ส้มบางมด จนถึงปัจจุบัน

- ส้มเขียวหวานบางมด
- ส้มเขียวหวานแพร่/น่าน
- ส้มเขียวหวานรังสิต (รวมถึง หนองเสือ ธัญญะบุรี มีนบุรี วังน้อย วิหารแดง ฯลฯ)
- ส้มเขียวหวานคุณภาพดีมิใช่เกิดจากสภาพพื้นที่ลักจืดลักเต็มเป็นหลักแต่เป็นผล งานทางธรรมชาติของเพลี้ยไก่แจ้ นั่นคือ เมื่อผลอายุ 7-8 เดือน (ก่อนเก็บเกี่ยว 1 เดือน) แล้วมีเพลี้ยไก่แจ้ระบาด ปล่อยให้เพลี้ยไก่แจ้เข้าทำลายผลส้มไปก่อน 3-4 วัน แล้วจึงใช้สารสกัดสมุนไพรชนิดสารออกฤทธิ์รุนแรงเฉียบพลัน (เทียบเท่ายาน็อก) ฉีดทำลายล้างเพลี้ยไก้แจ้เสีย จากนั้นบำรุงต่อไปตามปกติ ผิวเปลือกส้มเขียวหวานก็จะกร้านพร้อมกับคุณภาพรสชาติดีเยี่ยมเหมือนส้มบางมดได้เช่นกัน

- ออกดอกติดผลได้ตลอดปีแบบไม่มีรุ่น หรือทุกฤดูกาล และทุกสภาพอากาศ ตราบเท่าที่ต้นได้รับการปฏิบัติบำรุงจนมีความสมบูรณ์อยู่เสมอ

- ออกดอกติดผลจากซอกใบปลายกิ่งที่เกิดใหม่ในรุ่นนั้น ให้ผลดกเป็นช่อและมีความดกมากกว่าส้มอื่นๆทุกชนิด ออกดอกติดผลที่ชายพุ่มด้านข้างมากกว่าชายพุ่มด้านบนและไม่ออกดอกติดผลจากกิ่งในทรงพุ่ม
เป็นดอกสมบูรณ์เพศที่ผสมกันเอง หรือต่างดอกในต้นเดียวกัน หรือต่างดอกต่างต้นได้ดี

- เกสรตัวผู้หรือเกสรตัวเมียอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างไม่สมบูรณ์เกิดจากขาดสารอาหาร/ฮอร์โมนหรือสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม (อากาศร้อนหรือฝนตกชุก) แล้วผสมกันแล้วพัฒนาเป็นผลจะเป็นผลไม่สมบูรณ์ ไม่โต รูปทรงบิดเบี้ยว

- อายุดอกจากเริ่มออกถึงดอกบาน 20-25 วัน ระยะดอกบานผสมติดถึงผลแก่เก็บเกี่ยว 8 เดือน
- เนื่องจากธรรมชาติของส้มเขียวหวานที่ต้นสมบูรณ์มากมักติดผลดกมาก จึงเป็นภาระที่ต้นต้องหาอาหารส่งไปเลี้ยงผลบนต้นจำนวนมาก ต้นจึงมักจะโทรม กรณีนี้แก้ไขด้วยการให้ “แม็กเนเซียม-สังกะสี” อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง

- ผลที่ติดเป็นพวงสามารถเก็บไว้ทั้งหมดได้โดยไม่ต้องซอยผลออก จากนั้นบำรุงทั้งทางใบและทางรากให้เต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ก็จะได้ผลคุณภาพดีทั้งพวงและทุกพวงภายในต้น

- ระหว่างมีดอกผลอยู่บนต้นจะมียอดอ่อนแทงออกมาใหม่เสมอ ไม่ควรปล่อยให้ยอดใหม่เจริญเติบโตจนเป็นกิ่งขนาดใหญ่โดยเฉพาะยอดใหม่ในทรงพุ่มเพราะจะทำให้ทรงพุ่มแน่นทึบ แต่ให้เด็ดทิ้งตั้งแต่เริ่มแทงออกมาใหม่ๆลักษณะยังเป็นยอดผักหวาน ส่วนยอดแตกใหม่ที่ชายพุ่มอาจจะพิจารณาเก็บไว้บ้างก็ได้สำหรับให้ช่วยสังเคราะห์แสงสร้างอาหาร

- ช่วงติดผลหากได้รับไนโตรเจนมากเกินไปจะทำให้เปลือกหนา จุกสูง รกมาก กากมาก เป็นผลที่ด้อยคุณภาพ

- อายุต้น 2-5 ปีแรกที่เริ่มให้ผลผลิตอาจจะไม่ดีนัก แต่เมื่อต้นอายุมากขึ้นหรือเป็นต้นสาวแล้วจะให้ผลผลิตดี

- ลำต้นเปล้าเดี่ยวๆ หรือกิ่งง่ามแรกสูงจากพื้น 50-80 ซม.จะให้ผลผลิตดีกว่าต้นที่ลำเปล้าสั้นหรือกิ่งง่ามแรกอยู่ต่ำ แนะนำให้ตัดแต่งกิ่งจัดรูปทรงพุ่มให้มีลำเปล้าสูงๆตั้งแต่ต้นเริ่มให้ผลผลิตปีแรกๆ รูปทรงต้นก็อยู่อย่างนั้นตลอดไป

- ส้มเขียวหวานเสียบยอดบนตอมะกรูด. มะขวิด. หรือส้มจากต่างประเทศทุกสายพันธุ์ เมื่อต้นโตขึ้นส่วนตอจะใหญ่แต่ส่วนต้นเขียวหวานจะไม่โตตาม ทำให้เกิดอาการ "ตีนช้าง" (ตอใหญ่-ต้นเล็ก) ซึ่งต้นส้มเขียวหวานที่เสียบบนตอไม้ดังกล่าวจะให้ผลผลิตดีเพียง 3-5 ปีแรก หลังจากนั้นจะให้ผลผลิตลดลงทั้งความดกและคุณภาพ

================================================
===================================================


.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 28/01/2024 10:50 am, แก้ไขทั้งหมด 5 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 27/01/2024 7:56 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
ส้มเช้ง
ลักษณะทางธรรมชาติ :

- เป็นไม้ผลยืนต้นอายุนานหลายิบปี ทรงพุ่มขนาดกลาง ไม่ผลัดใบ ปลูกได้ทุกภาค ทุกพื้นที่ และทุกฤดูกาล ชอบดินดำร่วนปนทราย มีอินทรียวัตถุมาก ระบายน้ำดี ไม่ทนต่อสภาพน้ำท่วมขังค้างนาน

- เป็นไม้กึ่งเมืองร้อนชอบแสงแดดรำไรหรือ 50% โดยปลูกแซมแทรกในไม้ผลขนาดใหญ่อย่างอื่น เช่น มะพร้าว ทุเรียน ถ้ามีกล้วยยืนเคียงข้างจะดีมาก

- มีระบบรากลอยค่อนข้างอ่อนแอจึงไม่ควรตัดแต่งรากหรือกระทำการใดๆที่กระทบ กระเทือนต่อราก การลอกเลนก้นร่องหรือการใส่อินทรีย์วัตถุคลุมโคนต้นเพื่อล่อรากควบคู่กับให้ฮอร์โมนบำรุงรากบ้างเป็นครั้งคราวจะช่วยให้ระบบรากดี

- ชื่ออื่นที่เรียกกัน ได้แก่ ส้มตรา ส้มกา ส้มเกลี้ยง มีเปลือกหนาติดเนื้อต้องใช้มีดปอกเปลือกเหมือนส้มโอ

- ให้ผลผลิตเมื่ออายุ 2-3 ปีหลังปลูกขึ้นอยู่กับการปฏิบัติบำรุง ให้ผลผลิตเต็มที่เมื่ออายุ 5-8 ปี

- ช่วงพักต้นต้องการน้ำพอหน้าดินชื้น ช่วงออกดอกติดผลต้องการน้ำมากสม่ำเสมอ
- เก็บเกี่ยวเมื่อสีเปลือกผลเริ่มเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นอมเหลืองได้ 10% ของพื้นที่ผิวเปลือกทั้งผล ตัดด้วยกรรไกให้ติดขั้วกับติดใบ 1-2 ใบมาด้วย เก็บลงมาแล้วอย่าให้กระทบ กระเทือนเพราะถ้าเนื้อในช้ำคุณภาพจะเสีย

- ดอกเป็นดอกสมบูรณ์เพศที่ผสมกันเองในดอกเดียวกันหรือต่างดอกได้
- เกสรตัวผู้หรือเกสรตัวเมียอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างไม่สมบูรณ์เกิดจากขาดสารอาหาร/ฮอร์โมนหรือสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม (อากาศร้อนหรือฝนตกชุก) แล้วผสมกันแล้วพัฒนาเป็นผลจะเป็นผลไม่สมบูรณ์ ไม่โต รูปทรงบิดเบี้ยว

- อายุดอกตั้งแต่เริ่มออกถึงดอกบาน 25-30 วัน อายุผลตั้งแต่ดอกบานผสมติดถึงแก่เก็บเกี่ยว 9-10 เดือน

- ให้ไบโออิ กับ แคลเซียม โบรอน เดือนละ 1 ครั้ง จะช่วยบำรุงให้ต้นสมบูรณ์ติดผลดก คุณภาพดี
- ให้ธาตุรอง/ธาตุเสริม เดือนละ 1 ครั้ง จะช่วยบำรุงให้คุณภาพดี กากน้อย รสจัด เปลือกบาง
- การห่อผลด้วยถุงใยสังเคราะห์ตั้งแต่ขนาดเท่ามะนาว นอกจากช่วยรักษาสีผิวให้สวยแล้วยังทำให้คุณภาพดีอีกด้วย

- กิ่งที่อยู่ด้านล่างของทรงพุ่มหรือกิ่งชิดดินควรตัดออก เพราะนอกจากไม่ออกดอกติดผลแล้วยังทำให้ทรงพุ่มแน่นทึบอีกด้วย

- ต้นมีความสมบูรณ์เต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ ผ่านการบำรุงแบบให้มีสารอาหารกินตลอด 24 ชม.ต่อเนื่องมาหลายปีจะออกดอกติดผลตลอดปี ทั้งนี้จะต้องหมั่นตัดแต่งกิ่งให้โปร่งอยู่เสมอ ตัดยอดประธาน (ผ่ากบาล) ให้แสงแดด่องผ่านทรงพุ่มลงถึงพื้นโคนต้นได้

- อายุต้น 2-5 ปีแรกที่เริ่มให้ผลผลิตอาจจะไม่ดีนัก แต่เมื่อต้นอายุมากขึ้นหรือเป็นต้นสาวแล้วจะให้ผลผลิตดี

- ลำต้นเปล้าเดี่ยวๆหรือกิ่งง่ามแรกสูงจากพื้น 50-80 ซม.จะให้ผลผลิตดีกว่าต้นที่ลำเปล้าสั้นหรือกิ่งง่ามแรกอยู่ต่ำ แนะนำให้ตัดแต่งกิ่งจัดรูปทรงพุ่มให้มีลำเปล้าสูงๆตั้งแต่ต้นเริ่มให้ผลผลิตปีแรกๆรูป ทรงต้นก็อยู่อย่างนั้นตลอดไป

==============================================
==============================================


ส้มโชกุน
ลักษณะทางธรรมชาติ :

- กำเนิดที่ จ.ยะลา กลายพันธุ์มาจากส้มจีนเพาะเมล็ด ปลูกได้ทุกพื้นที่และทุกภูมิ ภาคของประเทศ ชอบดินดำร่วนมีอินทรีย์วัตถุมากๆ ระบายน้ำดี ไม่ทนต่อสภาพน้ำท่วมขังค้างนาน - จากแหล่งกำเนิดให้ชื่อว่า “โชกุน” ต่อมาแพร่หลายไปต่างพื้นที่ บางสวนตั้งชื่อใหม่ตามความพอใจเพื่อผลประโยชน์ทางการค้า

- มีระบบรากค่อนข้างอ่อนแอกว่าส้มสายพันธุ์อื่น จึงต้องพยายามรักษาระดับน้ำใต้ดินโคนต้นให้พอดีอยู่เสมอ โดยเฉพาะช่วงออกดอกถ้านำอินทรีย์วัตถุคลุมโคนต้นออกก่อนเพื่อเปิดหน้าดินให้แสงแดดช่วยให้ในดินระเหยออกไปบ้างก็จะช่วยให้ดอกสมบูรณ์ติดเป็นผลมากขึ้นได้

- ปลูกในเขตฝน (ภาคใต้) ช่วงผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยวสีเปลือกยังคงเป็นสีเขียว ส่วนที่ปลูกในเขตหนาว (ภาคเหนือ) ช่วงผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยวสีเปลือกจะเปลี่ยนจากเขียวเป็นเหลืองทอง แต่คุณภาพของเนื้อในไม่ต่างกันหรือขึ้นอยู่กับการบำรุงเป็นหลัก

- เริ่มให้ผลผลิตเมื่ออายุ 2-2 ปีครึ่ง หลังปลูกขึ้นอยู่กับการปฏิบัติบำรุง
- ต้นโตเป็นสาวเต็มที่ 5 ปีขึ้นไป การออกดอกแต่ละรุ่นที่เป็นส้มปีจะทยอยออกหลายชุด ทำให้ได้ผลแก่เก็บเกี่ยวได้ปีละ 3 เดือน ตั้งแต่ ธ.ค.- ก.พ.

- ต้นที่ได้รับการบำรุงแบบให้มีสารอาหารกินตลอด 24 ชม.ต่อเนื่องหลายๆปี โชกุนจะออกดอกติดผลตลอดปี หรือทุกครั้งที่แตกใบอ่อนออกมา

- ระยะดอกบานให้จิ๊บเบอเรลลิน. 1-2 รอบ จะช่วยให้ติดผลดกขึ้น เนื่องจากดอกมีความสมบูรณ์พัฒนาเป็นผลได้มากขึ้นนั่นเอง

- ระยะผลเล็กเท่าขนาดมะนาวให้ เอ็นเอเอ. หรือ จิ๊เบอเรลลิน. อย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างเพียง 1 ครั้งจะช่วยลดอาการผลแตกผลร่วงเมื่อผลโตขึ้นได้ดี

- ให้ไบโออิ กับ แคลเซียม โบรอน 2 เดือน/ครั้ง จะช่วยให้ต้นสมบูรณ์ ติดผลดกและคุณภาพดี
- ให้ธาตุรอง/ธาตุเสริม สม่ำเสมอหรือเดือนละ 21 ครั้ง จะช่วยบำรุงให้คุณภาพดีเปลือกบาง รกน้อย กากน้อย

- อายุต้น 2-5 ปีแรกที่เริ่มให้ผลผลิตอาจจะไม่ดีนัก แต่เมื่อต้นอายุมากขึ้นจะให้ผลผลิตดี
- ลำต้นเปล้าเดี่ยวๆ หรือกิ่งง่ามแรกสูงจากพื้น 50-80 ซม.จะให้ผลผลิตดีกว่าต้นที่ลำเปล้าสั้นหรือกิ่งง่ามแรกอยู่ต่ำ แนะนำให้ตัดแต่งกิ่งจัดรูปทรงพุ่มให้มีลำเปล้าสูงๆตั้งแต่ต้นเริ่มให้ผลผลิตปีแรกๆ รูปทรงต้นก็อยู่อย่างนั้นตลอดไป

- ขนาดผลใหญ่ ตัวกุ้งใหญ่ใหญ่ เนื้อชุ่มน้ำและกลิ่นหอมกว่าเขียวหวาน
- ติดผลดกน้อยกว่าเขียวหวาน
- การเก็บเกี่ยว ต้องใช้กรรไกคมๆ ตัดขั้วให้ติดใบ 1-2 ใบร่วมมาด้วย

ประวัติส้มโชกุน :
คุณสมชาย รุจิระไพบูลย์ เจ้าของสวนส้มโชกุน จังหวัดยะลา เดิมเคยปลูกส้มเขียว หวานพันธุ์บางมด ต่อมามีเพื่อนมาจากประเทศจีนมาเยี่ยมชมสวน และได้นำส้มจากประเทศจีนมาฝาก เมื่อรับประทานแล้วรู้สึกว่ามีรสชาติอร่อย หอมหวาน จึงได้เพาะเมล็ดเอาไว้ ต่อมามีการผสมพันธุ์โดยธรรมชาติเป็นส้มพันธุ์ใหม่ ซึ่งมีคุณลักษณะที่ดี รสชาติอร่อย หอมหวาน จึงได้ขยายใหม่ ซึ่งมีคุณลักษณะที่ดี รสชาติอร่อย หอมหวาน จึงได้ขยายพันธุ์นำไปปลูกอย่างแพร่หลาย

ลักษณะประจำพันธุ์ :
ส้มโชกุนเป็นพืชที่มีลักษณะเหมือนกับส้มเขียวหวาน การเจริญเติบโตดี พอๆกับส้มเขียวหวาน ลักษณะรูปร่างทรงต้นขนาดต้นก็เหมือนกับส้มเขียวหวาน ส่วนลักษณะที่แตกต่างไปจากส้มเขียวหวานมีดังนี้

ทรงต้น : มีทรงพุ่มแน่นกว่าส้มเขียวหวาน
กิ่ง ใบ : กิ่งและใบตั้งใบสีเขียวเข้ม ขนาดของใบ เล็กกว่าส้มเขียวหวาน ขยี้แล้วดมมีกลิ่นหอม
ดอก : มีดอกสีขาวใหญ่กว่าส้มเขียวหวานเล็กน้อย ออกดอกมากในเดือน ม.ค. ถึง ก.พ.
ผล : มีลักษณะเหมือนกับส้มเขียวหวานมาก ผลแก่จัดจะเปลี่ยนเป็น สีเหลืองแดง ปอกเปลือกง่าย ล่อน ชานมีลักษณะนิ่ม ให้น้ำส้มในปริมาณมาก รสชาติหวานอมเปรี้ยวนิด ๆ กลิ่นหอมมีน้ำหนักดีกว่าส้มเขียวหวาน



=============================================================
=============================================================


ส้มโอ
ลักษณะทางธรรมชาติ :

- เป็นพืชอายุยืนนานหลายสิบปี ปลูกได้ทุกพื้นที่ ทุกภาค และทุกฤดูกาล ชอบดินดำร่วนมีอินทรีย์วัตถุมากๆ ระบายน้ำดี ไม่ทนต่อสภาพน้ำท่วมขังค้างนาน

- เริ่มให้ผลผลิตได้เมื่ออายุ 2-3 ปีหลังปลูกขึ้นอยู่กับการบำรุง ระยะที่อายุต้นยังน้อยเริ่มให้ผลผลิตช่วงแรก (สอนเป็น) ไม่ดีนัก แต่เมื่ออายุต้น 10 ปี (ต้นสาว) ขึ้นไปจะให้ผลผลิตดีและดีตลอดไป (นิ่ง) เท่าที่ต้นสมบูรณ์

- ส้มโอตอบสนองต่อ "ขี้แดดนาเกลือ" ดีมาก แนะนำให้ใส่ ปีละ 2 ครั้ง ๆ ละ 1/2 กก./ต้น (ทรงพุ่ม 3-5 ม.) จะช่วยให้ต้นสมบูรณ์ ออกดอกติดผลดี รสชาติดี

- เทคนิคบำรุงด้วย "แม็กเนเซียม + สังกะสี" (ไบโออิ) กับแคลเซียม โบรอน ประจำ 1-2 เดือน/ครั้ง ตลอดปี จะช่วยให้ต้นมีความสมบูรณ์สูง คุณภาพผลผลิตดี

- ส้มโอตัดแต่งกิ่งเพื่อควบคุมขนาดทรงพุ่ม หรือเพื่อวัตถุประสงค์อื่นใด หลังยอดแตกใหม่ออกมา ต้องใช้เวลาเลี้ยงกิ่งนั้น 1-2 ปี จึงจะออกดอกออกผล

- ส้มโอที่ได้รับ "ธาตุรอง/ธาตุเสริม" สม่ำเสมอตลอดทั้งปี นอกจากทำให้ต้นไม่เฝือใบแล้วยังมีใบน้อย แต่ต้นสมบูรณ์พร้อมที่จะออกดอกออกผลได้ตลอดทั้งปี

- การห่อผลส้มโอจะทำให้เกิดราสนิม และราอื่นๆ ง่าย จึงไม่ควรห่อผล แต่ควรฉีดพ่นสารสมุนไพรกำจัดเชื้อรา และเปิดทรงพุ่มให้โปร่ง เพื่อให้แสงแดดกำจัดเชื้อราแทน

- เสน่ห์ที่เกี่ยวกับการตลาดของส้มโอก็คือ อายุผลของส้มโอตั้งแต่ผสมติดถึงเก็บเกี่ยวได้ประมาณ 8 เดือน แต่สามารถเก็บเกี่ยวได้เมื่ออายุ 8 เดือน (ส่งออก) หรือครบอายุ 8 เดือน (ตลาดในประเทศ) นั่นหมายความว่า ถ้าส่งออกไม่ได้ก็ขายในประเทศ เพราะมีเวลาแก้ตัวนานถึง 2 เดือน แม้แต่เก็บลงมาจากต้นแล้วยังขายไม่ออกก็สามารถทิ้งไว้บนแผงนานถึง 1-2 เดือน นี่ก็คืออีกโอกาสหนึ่งของคนขายส้มโอ .... ส้มโอบนแผง เปลือกเหี่ยวย่น รสชาติดีกว่าผิวสดเต่งตึง

- ตลาดต่างประเทศต้องการผลขนาดกลาง แต่ตลาดในประเทศต้องการผลขนาดใหญ่
- การบำรุงต้นโดยหว่านเกลือแกง ½-1 กก. /ต้น /6 เดือน (ช่วงเตรียมต้น) จะช่วยให้ได้รสชาติหวานกรอบและกลิ่นดีขึ้น

- กากถั่วเหลืองที่เหลือจากการทำน้ำเต้าหู้ หมักเปล่าๆทิ้งไว้นานข้ามปีขึ้นไป จนหมดกลิ่น (หมักใหม่ๆ กลิ่นแรงมาก) สาดรดบนดินในแปลงปลูก 1-2 ครั้ง/ปี จะช่วยให้ต้นสมบูรณ์ ใบใหญ่เขียวเข้ม ให้ผลผลิตดีมาก

- ช่วงผลเล็กขนาดเท่ามะนาวใหญ่ให้ เอ็นเอเอ. และ จิ๊บเบอเรลลิน ทั้งสองอย่างหรืออย่างใดอย่างหนึ่งร่วมกับ ธาตุรอง/ธาตุเสริม โดยการฉีดพ่นทางใบ 1 นอกจากช่วยลดอาการผลแตกผลร่วงได้ดีแล้วยังช่วยให้คุณภาพดีอีกด้วย

- นิสัยส้มโอทุกสายพันธุ์ออกดอกติดผลปีละ 2 รุ่น โดยรุ่นแรกออกดอกเดือน ธ.ค.-ม.ค. ผลแก่เก็บเกี่ยวเดือน ส.ค.-ก.ย. (ดกมาก) รุ่นสองออกดอกเดือน ส.ค.- ก.ย. ผลแก่เก็บเกี่ยวเดือน มี.ค.- เม.ย. (ดกน้อยกว่ารุ่นแรก) แต่ผลรุ่นสองมีคุณภาพดีกว่ารุ่นแรกเพราะผลแก่ตรงกับช่วงแล้ง .... ถ้าต้องการทำให้ผลรุ่นแรกดีเหมือนรุ่นสองจะต้องควบคุมปริมาณน้ำโดยเฉพาะน้ำใต้ดินโคนต้นให้ได้เท่านั้น

- อกดอกติดผลตลอดปีแบบไม่มีรุ่น การปล่อยให้มีผลต่างรุ่นจำนวนมากในต้นจะทำให้ยุ่งยากต่อการบำรุงระยะผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยว เพราะระหว่างบำรุงผลแก่นั้นผลรุ่นหลังจะชะงักการเจริญเติบโต ดังนี้จึงจำเป็นต้องบำรุงแล้วเปิดตาดอกแบบให้มีดอกผลเป็นรุ่นเดียวกันทั้งต้น .... หากต้องการผลหลายรุ่นในต้นเดียวกันก็จะต้องทำให้แต่ละรุ่นห่างกัน 3-4 เดือน

- ดอกเป็นดอกสมบูรณ์เพศผสมตัวเอง หรือต่างดอกในต้นเดียวกัน หรือต่างดอกต่างต้นได้ดี
- เกสรตัวผู้หรือเกสรตัวเมียอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างไม่สมบูรณ์เกิดจากขาดสารอาหาร/ฮอร์โมนหรือสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม (อากาศร้อนหรือฝนตกชุก) แล้วผสมกันแล้วพัฒนาเป็นผลจะเป็นผลไม่สมบูรณ์ ไม่โต รูปทรงบิดเบี้ยว

- การบังคับให้ส้มโอออกนอกฤดูสามารถทำได้โดยใช้สารพาโคลบิวทาโซล ชนิด 10 % อัตรา 5-10 กรัม/เส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม 1 ม. ราดทั่วบริเวณทรงพุ่มช่วงเดือน พ.ค. ควบคู่กับการรัดกิ่งจนใบสลดจึงแก้รัดกิ่งออกแล้วให้น้ำตามปกติ จากนั้นประมาณ 70-90 วัน ส้มโอต้นนั้นจะแทงช่อดอกออกมา .... การบังคับด้วยวิธีทรมานต้นแบบนี้จะทำให้ต้นโทรมอย่างมาก อาจจะต้องเอาผล 1 รุ่นแล้วเว้น 1 รุ่นซึ่งทำให้เสียโอกาสอย่างมาก ในเมื่อธรรมชาติของส้มโอออกดอกติดผลปีละ 2 รุ่น หรือออกดอกได้ตลอดปีอยู่แล้ว จึงน่าจะพิจารณาการบังคับด้วยวิธีบำรุงต้นจะดีกว่า

- ต้นที่มีรากเสริม 1-3 รากจะให้ผลผลิตคุณภาพดี อายุต้นยืนนานกว่าต้นมีรากเดียว
- ลักษณะส้มโอ ขี้เมา คือ สภาพทรงพุ่มต้นดีมากและสวยมาก ติดผลดกมาก ขนาดผลมีทั้งเล็กและใหญ่ แต่เปลือกหนามากจนเนื้อในไม่มีหรือมีเนื้อน้อยมาก กลิ่นรสไม่ดีรับประทานไม่ได้ เมื่อผลมีขนาดใหญ่ขึ้นมักจะร่วง แม้จะได้บำรุงดีอย่างไรก็ไม่อาจแก้ไขให้ดีได้ ลักษณะนี้เกิดจากพันธุกรรมซึ่งปลูกจากกิ่งที่ขยายพันธุ์มาจากต้นแม่ที่เป็นขี้เมา

- ผลผลิตส้มโอเพื่อการส่งออกควรเก็บที่ความแก่ 75-80% เพราะมีรสหวานอมเปรี้ยวมาก ส่วนผลผลิตสำหรับตลาดในประเทศให้เก็บที่ความแก่ 85-95% เพราะมีรสหวานอมเปรี้ยวเล็กน้อยหรือหวานสนิท

- ผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยวมีฝนตกชุกจะทำให้ตัวกุ้งแข็งกระด้าง (ข้าวสาร) เปลือกหนา รกหนา รสเปรี้ยว

- ผลที่เก็บลงมาจากต้นแล้วปล่อยทิ้งไว้ให้ลืมต้น 15-20 วันจนเปลือกเหี่ยวมีรสชาติดีมาก
- ผลแก่ที่ถูกมวนหวานต่อยจนผิวเปลือกตะปุ่มตะปั่ม (ท้าวแสนปม) จะมีคุณภาพดีกว่าผลที่ผิวเปลือกเรียบสะอาด

- ต้นที่ได้รับแคลเซียมมากเกินหัวจุกจะสูง
- ช่วงพักต้นต้องการน้ำพอหน้าดินชื้น แต่ช่วงพัฒนาดอกและผลต้องการน้ำมาก ถ้าต้นขาดน้ำหรือได้รับน้ำไม่เพียงพอจะดอกร่วง ผลเล็กและร่วง

- ต้นที่มีความสมบูรณ์สูงจะออกดอกครั้งละจำนวนมาก เป็นดอกสมบูรณ์เพศที่ผสมตัวเองหรือต่างดอกได้ จึงทำให้แต่ละรุ่นติดผลจำนวนมาก ถ้าต้องการผลขนาดเล็กให้ไว้ผล 2-3 ผล/ขั้วได้ แต่ถ้าต้องการผลขนาดใหญ่ให้ซอยผลออกเหลือเพียง 1 ผล/ขั้ว หรืออาจจะไว้ 2 ผล/ขั้ว กรณีที่ขั้วขนาดใหญ่เกิดจากกิ่งใหญ่ซึ่งมีน้ำเลี้ยงเพียงพอ

- อายุผลตั้งแต่ดอกบานผสมติดถึงแก่เก็บเกี่ยว 8 เดือน
- ต้นส้มโอที่มีความสมบูรณ์สูง ได้รับการปฏิบัติบำรุงแบบมีสารอาหารกินตลอด 24 ชม.ต่อเนื่องมาหลายปี ส้มโอต้นนั้นจะออกดอกติดผลตลอดปีแบบไม่มีรุ่น จากลักษณะทางธรรมชาตินี้ ถ้าต้องการให้ผลแก่เก็บเกี่ยวได้ตรงกับช่วงเทศกาล (ตรุษจีน สารทจีน ไหว้พระจันทร์ เชงเม้ง ฯลฯ) ให้นับวันเก็บเกี่ยวย้อนหลังมาถึงวันแทงช่อดอก 8 เดือน แล้วเก็บดอก-บำรุงดอกที่ออกมาในช่วงนั้นไว้ เมื่อดอกผสมติดเป็นผลแล้วก็ให้บำรุงตามปกติ ดอกชุดนั้นก็จะเป็นผลแก่ให้เก็บเกี่ยวได้ตรงกับช่วงเทศกาลที่ต้องการพอดี .... ส่วนดอกที่ออกตาม หลังชุดที่เก็บไว้ให้เด็ดทิ้งเพื่อให้ต้นได้ส่งน้ำเลี้ยงไปให้ดอกและผลเต็มที่

- การดูผลแก่จัดให้สังเกตที่ต่อมน้ำมันใสนูนกว้าง ช่องระหว่างต่อมน้ำมันกว้าง กดที่ก้นผล (สะดือ) จะยุบตามแรงกดแล้วพองขึ้นอย่างเดิม น้ำหนักดีเมื่อเทียบกับผลอื่นขนาดเท่ากัน

- การตัดแต่งกิ่งแก่เพื่อควบคุมทรงพุ่ม ยอดที่แตกใหม่ต้องใช้เวลาบำรุงประมาณ 2 ปี จึงจะออกดอกติดผล

- อายุต้น 2-5 ปีแรกที่เริ่มให้ผลผลิตอาจจะไม่ดีนัก แต่เมื่อต้นอายุมากขึ้นหรือเป็นต้นสาวแล้วจะให้ผลผลิตดี

- ลำต้นเปล้าเดี่ยวๆหรือกิ่งง่ามแรกสูงจากพื้น 50-80 ซม.จะให้ผลผลิตดีกว่าต้นที่ลำเปล้าสั้นหรือกิ่งง่ามแรกอยู่ต่ำ แนะนำให้ตัดแต่งกิ่งจัดรูปทรงพุ่มให้มีลำเปล้าสูงๆตั้งแต่ต้นเริ่มให้ผลผลิตปีแรกๆ รูปทรงต้นก็อยู่อย่างนั้นตลอดไป

- การ “ลืมต้น” หมายถึง ผลแก่ที่เก็บลงมาแล้ว ต้องปล่อยทิ้งไว้หลายๆวัน (7-10) หรือรอให้เปลือกผลเหี่ยวเล็กน้อยจึงรับประทาน รสชาติจึงจะดี แต่ต้นส้มโอที่ได้รับการบำรุงด้วย แม็กเนเซียม-สังกะสี ทั้งทางรากและทางใบสม่ำเสมอ ทั้งช่วงมีผลบนต้นและไม่มีผลบนต้น ผลแก่ที่เก็บลงมาใหม่ๆ ยังมีใบติดผล แล้วประทานเลยจะได้รสจัดจ้าน

สายพันธุ์นิยม :
ขาวใหญ่ (สมุทรสงคราม สมุทรสาคร), ขาวน้ำผึ้ง. ทองดี.(นครปฐม), ขาวหอม. สายน้ำผึ้ง (สงขลา), เขียวมะนาว (เชียงราย), ท่าข่อย (พิจิตร), ขาวแตงกวา (ชัยนาท), ขาว พวง (ราชบุรี). ทับทิมสยาม (นครศรีธรรมราช) ขาวแป้น. ขาวนวล. ขาวมะลิ. ปัตตาเวีย. (ไม่มีข้อมูลแหล่งกำเนิด)

ปัจจุบันมีสายพันธุ์ไร้เมล็ด (มีเมล็ดแต่เล็กและน้อยมาก) ออกจำหน่ายกิ่งพันธุ์ อ้างว่าเป็นสายพันธุ์ที่ผสมขึ้นมาใหม่โดยไม่มีหลักฐานทางราชการรองรับ อันที่จริงธรรมชาติของพืชตระกูลส้มทุกสายพันธุ์ ถ้าได้รับปุ๋ยคอกมูลสัตว์ปีก (ไก่ นกกระทา ค้างคาว) มากๆ จะออกดอกง่าย ติดผลดก แต่มีเมล็ดมากและขนาดใหญ่ ถ้าไม่ให้มูลสัตว์ปีกเลยก็จะออกดอกยาก ติดผลไม่ดก จึงจำเป็นต้องพึ่งสารอาหารอื่นแทน เมื่อไม่ให้ปุ๋ยคอกมูลสัตว์ปีกเลยจึงทำให้ไม่มีเมล็ดหรือมีน้อยและขนาดเล็กมาก .... การบำรุงด้วยสูตร หยุดเมล็ด-สร้างเนื้อ อย่างถูกต้องและเหมาะสมก็สามารถทำให้มีเมล็ดน้อยและขนาดเล็กลงได้เช่นกัน


===========================================================
===========================================================


ส้มแก้ว
ลักษณะทางธรรมชาติ :

- เป็นไม้พุ่มขนาดกลางอายุยืนหลายสิบปี ปลูกได้ทุกภาค ทุกพื้นที่ และทุกฤดูกาล เจริญเติบโตได้ดีในดินดำร่วน มีอินทรีย์วัตถุมากๆ ระบายน้ำดี ไม่ทนต่อสภาพน้ำท่วมขังค้างนาน

- ต้องการแสงแดดรำไรหรือ 50% เหมือนส้มเช้งจึงควรปลูกแซมแทรกในไม้ผลขนาดใหญ่เพื่ออาศัยช่วยบังแดด

- ระบบรากตื้นหากินบริเวณผิวหน้าดิน จึงไม่ควรตัดแต่งรากหรือกระทำการใดๆ ให้กระทบ กระเทือนต่อราก วิธีการพูนโคนต้นด้วยอินทรีย์วัตถุเพื่อล่อรากให้ขึ้นมาข้างบนจะช่วยให้ได้รากใหม่ที่ดีขึ้น

- เริ่มให้ผลผลิตเมื่ออายุต้นได้ 2-3 ปีหลังปลูก และจะให้ผลผลิตเต็มที่เมื่ออายุต้นได้ 5-7 ปี
- ปกติจะให้ผลผลิตปีละ 1 รุ่น ออกดอกช่วง พ.ย.- ธ.ค. ผลแก่เก็บเกี่ยวช่วง ต.ค.- พ.ย. ของปีรุ่งขึ้น

- เมื่อผลพัฒนาตั้งแต่ขนาดกลางจนถึงเก็บเกี่ยวให้ แคลเซียม ไนเตรท จี.เกรด (15-0-0) ทางใบ 2-3 รอบ จะช่วยยืดอายุผลให้แก่ช้ากว่าปกติได้ โดยไม่ส่งผลเสียต่อคุณภาพผลแต่อย่างใด

- ต้นที่ได้รับการบำรุงแบบให้มีสารอาหารกินตลอด 24 ชม.ต่อเนื่องหลายๆปีจะออกดอกติดผลตลอดปี หรือทุกครั้งที่แตกใบอ่อนออกมา

- ขนาดผลเล็กกว้าส้มโอแต่โตกว่าส้มเช้ง
- ช่วงผลแก่ตรงกับช่วงอากาศเย็น ผิวเปลือกจะเป็นสีเหลืองทองสวยงามมาก นิยมใช้เป็นเครื่องเซ่นไหว้

- ระยะผลเล็กเท่าขนาดมะนาวให้ เอ็นเอเอ. หรือ จิ๊เบอเรลลิน. อย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างเพียง 1 ครั้ง จะช่วยลดอาการผลแตกผลร่วงเมื่อผลโตขึ้นได้ดี

- ให้ไบโออิ กับ แคลเซียม โบรอน เดือนละ 1 ครั้ง จะช่วยบำรุงให้ต้นสมบูรณ์ ให้ผลดกคุณภาพดี รสชาติดี สีจัด

- ให้ธาตุรอง/ธาตุเสริม เดือนละ 1 ครั้ง ช่วยบำรุงให้คุณภาพดี กากน้อย รกน้อย เปลือกบาง
- การห่อผลด้วยใบตองแห้ง (กระโปรง) ตั้งแต่ขนาดเท่ามะนาว นอกจากช่วยรักษาสีผิวให้สวยแล้วยังทำให้คุณภาพดีอีกด้วย

- สวนยกร่องน้ำหล่อทำให้ต้นได้รับไนโตรเจนจากน้ำตลอดเวลาจึงทำส้มแก้วออกเปรี้ยวถึงเปี้ยวจัด วิธีแก้ไข คือ ก่อนเก็บเกี่ยว 15-30 วัน ต้องปรับปริมาณน้ำใต้ดินโคนต้นโดยงดน้ำเด็ดขาดพร้อมกับบำรุงเร่งหวานทั้งทางรากและทางใบ

- สวนพื้นราบยกร่องแห้งลาดไหล่เขาที่สามารถควบคุมปริมาณน้ำได้แน่นอน จะให้ได้รสชาติดีมาก

- อายุต้น 2-5 ปีแรกที่เริ่มให้ผลผลิตอาจจะไม่ดีนัก แต่เมื่อต้นอายุมากขึ้นหรือเป็นต้นสาวแล้วจะให้ผลผลิตดี

- ลำต้นเปล้าเดี่ยวๆหรือกิ่งง่ามแรกสูงจากพื้น 50-80 ซม. จะให้ผลผลิตดีกว่าต้นที่ลำเปล้าสั้นหรือกิ่งง่ามแรกอยู่ต่ำ แนะนำให้ตัดแต่งกิ่งจัดรูปทรงพุ่มให้มีลำเปล้าสูงๆตั้งแต่ต้นเริ่มให้ผลผลิตปีแรกๆ รูปทรงต้นก็อยู่อย่างนั้นตลอดไป

สายพันธุ์ :
ส้มแก้ว : ทรงผลกลมแป้น ผิวเรียบ สีเหลืองทอง รสหวานอมเปรี้ยว
ส้มจุก : ทรงผลกลมมีจุก ผิวขรุขระเล็กน้อย สีเหลืองสดน้อยกว่าส้มแก้ว รสหวานสนิท



=============================================================
=============================================================


องุ่น
ลักษณะทางธรรมชาติ :

- เป็นพืชเถายืนต้นอายุหลายสิบปีเลื้อยขึ้นค้าง กิ่งแก่ไม่มีมือเกาะแต่ช่วงที่ยังเป็นกิ่งอ่อนจะมีมือเกาะ ปลูกได้ในทุกพื้นที่ของประเทศ ชอบดินดำร่วนมีอินทรีย์วัตถุมากๆ ระบายน้ำดี ไม่ทนต่อน้ำท่วมขังค้างนาน

- เป็นพืชเมืองหนาวแต่สามารถเจริญเติบโตได้ดีในเขตร้อน ปลูกในเขตอากาศร้อนให้ผลผลิต 2 ปี/5 รุ่น ปลูกในเขตอากาศเย็นให้ผลผลิต 2 ปี/4 รุ่น
- ต้องการแสงแดดร้อยเปอร์เซ็นต์ องุ่นทุกสายพันธุ์ที่ปลูกในประเทศไทยเป็นไม้เลื้อยจึงต้องมีค้างแบบถาวรและแข็งแรงสามารถรับน้ำหนักกิ่งและผลได้
- หลังปลูกช่วงแรกๆ ที่กล้าเริ่มเจริญเติบโตให้มีหลักสำหรับนำต้นขึ้นค้าง ระหว่างที่ต้นไต่หลักขึ้นไปนั้นช่วงแรกองุ่นไม่มีมือเกาะก็ให้ใช้เชือกรัดเถา (ลำต้น) หลวมๆ แนบกับหลักเพื่อไม่ให้ต้นคดงอจนกว่ายอดจะขึ้นถึงค้าง และเมื่อโตขึ้นจะมีมือเกาะซึ่งก็ยังต้องใช้เชือกรัดเถา (ลำต้น) เพื่อไม่ให้ลำต้นคด

- ระหว่างที่ต้นโตสูงเกาะหลักขึ้นไปเรื่อยๆ นั้น จะมียอดใหม่แตกออกจากข้อตามลำต้นตลอดเวลาก็ให้หมั่นเด็ดยอดใหม่เหล่านี้ทิ้ง เพื่อให้ต้นส่งน้ำเลี้ยงไปยังยอดอย่างเดียว

- เมื่อยอดขึ้นถึงค้างแล้วให้ตัดยอดประธาน จากนั้นองุ่นจะแตกยอดใหม่ 2-3 ยอดจากตาใต้รอยตัดเป็นกิ่งชุดแรกหรือกิ่งประธาน เมื่อกิ่งประธานนี้ยาวขึ้นให้จัดระเบียบให้ชี้ไปทางทิศที่กำหนดไม่ให้ทับซ้อนกับกิ่งข้างเคียงด้วยการผูกกับค้าง

- ระหว่างที่กิ่งประธานยาวไปเรื่อยๆบนค้างก็ยังมีกิ่งแขนงแตกออกมาอีกตามข้อแทบทุกข้อก็ให้เลี้ยงกิ่งแขนงนี้ร่วมไปด้วย จนกระทั่งกิ่งประธานยาว 80 ซม.- 1 ม.ให้ตัดยอดของกิ่งประธานพร้อมกับตัดกิ่งแขนงทิ้งกิ่งเว้นกิ่ง โดยตัดชิดผิวกิ่งประธานเพื่อทำให้พื้นที่บนค้างโปร่ง

หลังจากตัดยอดกิ่งประธานและตัดกิ่งแขนงบางส่วนทิ้งไปแล้ว ให้พิจารณาจำนวนกิ่งแขนงว่ามีมากจนเต็มพื้นที่ค้างแล้วหรือยัง ถ้ามีเต็มแล้วพอเตรียมเข้าสู่ขั้นตอนการปฏิบัติบำรุงได้ แต่ถ้ายังมีพื้นที่บนค้างว่างก็ให้ตัดยอดของกิ่งแขนงอีกเมื่อกิ่งแขนงนั้นยาว 80 ซม.- 1 ม. กิ่งแขนงกิ่งใดถูกตัดยอดกิ่งแขนงกิ่งนั้นจะแตกยอดใหม่ออกมาจากตาตามข้อทุกข้อก็จะทำให้ได้จำนวนกิ่งเพิ่มขึ้น

ถ้าไม่ตัดยอดนอกจากทำให้การแตกยอดใหม่ช้าแล้ว ยอดจะไม่มีความสมบูรณ์ ไม่อวบอ้วน และให้ผลผลิตไม่ดี

หลังจากได้จำนวนกิ่งจนเต็มพื้นที่ค้างแล้วก็ให้เตรียมเข้าสู่ขั้นตอนการปฏิบัติบำรุงเพื่อเอาผลผลิตต่อไปได้

- ระยะต้นเล็กเถาจะเป็นสีเขียว เมื่ออายุมากขึ้นจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล และเมื่อโตขึ้นเรื่อยๆจนถึงช่วงให้ผลผลิตลำต้นจะขยายขนาด จะเห็นเปลือกลำต้นล่อนแล้วลอกออก ช่วงนี้ควรบำรุงให้ต้นสมบูรณ์อยู่เสมอเพื่อไม้ให้ต้นโทรม

- นิสัยองุ่นที่อายุต้นให้ผลผลิตแล้ว หรือเคยให้ผลผลิตมาแล้ว 1-2 ปี (เป็นสาว) จะออกดอกติดผลแบบต่อเนื่อง หรือหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตรุ่นนี้แล้วสามารถออกดอกติดผลเป็นรุ่นต่อไปได้เลย หรือเมื่อแตกยอดใหม่ก็จะมีดอกออกตามมาด้วยเสมอ

การที่จะให้องุ่นออกดอกติดผลรุ่นต่อไปได้เลยนั้น ต้นจะต้องมีความพร้อมโดยเฉพาะการสะสมอาหารเพื่อการออกดอกและการบำรุงแบบให้มีสารอาหารกินตลอด 24 ชม.อย่างต่อเนื่องมานานหลายๆปี .... การปฏิบัติบำรุงต่อองุ่นที่อายุต้นให้ผลผลิตแล้วเพื่อเอาผลผลิตรุ่นหน้าให้ปฏิบัติดังนี้

- บำรุงผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยวรุ่นปัจจุบัน ให้ทางใบด้วย “0-21-74 + ธาตุรอง/ธาตุเสริม”โดยฉีดพ่นพอเปียกใบ 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน ให้ทางรากด้วย 8-24-24 หรือ 9-26-26 ก่อนเก็บเกี่ยว 10-15 วัน เสริมทางรากด้วยมูลค้างคาว.เล็กน้อย (ระวังอย่าให้มากเพราะอาจทำให้ผลแตกได้) ให้น้ำ 1 ครั้งเพื่อละลายปุ๋ยแล้วงดน้ำเด็ดขา .... การให้ปุ๋ยทางใบและทางรากที่มีปริมาณฟอสฟอรัส. และโปแตสเซียม. สูงเช่นนี้ นอกจากจะช่วยบำรุงเพื่อเพิ่มความหวานแก่ผลองุ่นแล้ว ยังทำให้ต้นได้มีการสะสมอาหารเพื่อการออกดอกสำหรับรุ่นต่อไปอีกด้วย

- หลังจากเก็บเกี่ยวผลพวงสุดท้ายออกจากต้นแล้วให้พรุนกิ่งแบบเพื่อเอาผลผลิตทันทีจากนั้นบำรุงทางรากด้วยสูตร เรียกใบอ่อน เสริมด้วย ยิบซั่ม. ปุ๋ยอินทรีย์ กระดูกป่น. ฮอร์ โมนบำรุงราก. ไคตินไคโตซาน. แล้วระดมให้น้ำแบบวันต่อวันเพื่อเรียกใบอ่อน .... การเรียกใบอ่อนองุ่นหลังพรุนกิ่งไม่จำเป็นต้องให้ทางใบด้วย 25-5-5 หรือ 46-0-0 และไม่ต้องให้ทางรากด้วย 25-7-7 เหมือนไม้ผลทั่วไป ส่วนยอดหรือใบชุดใหม่ที่ออกมาจะเป็นใบมีคุณภาพดี (เร็ว-ใหญ่-หนา-มาก-พร้อมกันทั้งต้น) หรือไม่ดี ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของต้นเป็นหลัก

เมื่อระดมให้น้ำแล้วก็จะมี "ยอด + ดอก" ตามออกมา จากนั้นก็ให้ตัดแต่งช่อดอกให้เหลือกิ่งละ 2-3 ช่อ ช่อละ 1 พวง แต่ละช่อห่างกันโดยมีใบคั่น 3-4 ใบ

- การกระตุ้นตาดอกด้วยฮอร์โมน (มีจำหน่ายตามท้องตลาด/หลายยี่ห้อ) หลังจากพรุนกิ่งเสร็จแล้ววันรุ่งขึ้นให้ใช้พู่กันขนอ่อนจุ่มฮอร์โมนกระตุ้นตาดอกทาบางๆ บนตุ่มตาที่สมบูรณ์จริง และอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม 2-3 ตุ่มตา/1 กิ่ง ต้องการให้ตุ่มตาไหนออกดอกก็ทาเฉพาะตุ่มตานั้น ตุ่มตาไหนไม่ต้องการให้ออกดอกก็ไม่ต้องทา การทาฮอร์โมนเฉพาะตุ่มตาที่ต้องการให้ออกดอกแบบนี้ทำให้ไม่ต้องตัดแต่งช่อดอกหลังจากที่ช่อดอกออมาแล้วอีกครั้ง ทำให้ไม่สิ้นเปลืองเวลาและแรงงาน ถ้าไม่ใช้วิธีทาเฉพาะตุ่มตาแต่ใช้วิธีฉีดพ่นทั่วทั้งต้นก็ได้ซึ่งก็จะทำให้มีดอกออกมาทั่วทั้งต้น แล้วจึงตัดแต่งช่อดอกให้เหลือเท่าที่จำเป็นสำหรับแต่ละกิ่งก็ได้

- องุ่นรับประทานผลสด วิธีการให้ฮอร์โมนกระตุ้นตาดอกแบบฉีดพ่นทั่วทั้งต้นจะทำให้มีดอกออกมากหรือออกดอกทุกข้อใบ เมื่อดอกออกมากเช่นนี้ก็จะต้องตัดแต่งช่อดอกออกทิ้งให้เหลือไว้ 1-2-3 ช่อดอก/กิ่ง (คงไว้มากหรือน้อยขึ้นกับขนาดและความสมบูรณ์ของกิ่งและต้น) หรือคงไว้ 1 ช่อ/15-20 ใบเลี้ยง ถ้าใช้วิธีป้ายหรือทาฮอร์โมนที่ซอกใบเฉพาะจุดที่ต้อง การให้ออกดอกก็จะทำให้ปริมาณช่อดอกอกมาตามต้องการโดยไม่ต้องตัดแต่งช่อดอกอีก ส่วนองุ่นเพื่อแปรรูป (ลูกเกด. แยม.ไวน์.) ไม่ต้องตัดแต่งช่อดอกก็ได้

- ผลองุ่นที่อยู่ชิดกันจนเป็นพวงขนาดใหญ่ ซึ่งผลแต่ผลต่างก็มีขั้วผลของตัวเองออกมาจากขั้วประธานโดยตรง เมื่อผลพัฒนาขนาดโตขึ้นจึงเบียดกันจนเสียรูปทรง บางผลเล็กแคระแกร็นไปเลยก็มี

กรณีนี้แก้ไขด้วยการบำรุงด้วยฮอร์โมนจิ๊บเบอเรลลิน. เพื่อยืดขนาดขั้วประธานให้ยาวขึ้น ดอกที่ออกตรงกับช่วงหน้าฝนให้ฉีดพ่นจิ๊บเบอเรลลิน. 3 ครั้ง โดยฉีดพ่น

ครั้งที่ 1 เมื่อช่อดอกยาว 1.5-2 ซม.
ครั้งที่ 2 เมื่อดอกตูม (ไข่ปลา) และ
ครั้งที่ 3 เมื่อติดผลขนาดเท่าเม็ดถั่วเขียว

หากดอกมาออกมาตรงกับช่วงหน้าแล้งให้ฉีดพ่นจิ๊บเบอเรลลิน. 2 ครั้งโดย ครั้งที่ 1 เมื่อดอกตูม (ไข่ปลา) และฉีดพ่นครั้งที่ 2 เมื่อผลขนาดเท่าเม็ดถั่วเขียว จิ๊บเบอเรลลิน. นอกจากช่วยยืดขั้วให้ยาวขึ้นแล้ว ยังช่วยบำรุงคุณภาพผลทำให้เนื้อกรอบอีกด้วยอัตราการใช้จิ๊บเบอเรลลินให้ถือตามที่ระบุในฉลากข้างขวดหรือกล่อง (แต่ละยี่ห้อกำหนดอัตราใช้ไม่เท่ากัน) อย่างเคร่งครัด เพราะถ้าใช้เกินอัตราระบุจะทำให้ก้านประธานยืดยาวมากจนดอกหรือผลร่วง หรือหากใช้ต่ำกว่าอัตราระบุก็จะไม่ได้ผล

ใช้จิ๊บเบอเรลลินสำหรับองุ่นในช่วงหน้าหนาวให้ใช้ตามอัตราที่ระบุในฉลากแต่ถ้าใช้ช่วงหน้าร้อนให้เพิ่มอัตราใช้ 10% ของอัตราใช้ที่ระบุในฉลาก

- หลังจากฉีดพ่นจิ๊บเบอเรลลินแล้วควรฉีดพ่นสารสมุนไพรป้องกันและกำจัดเชื้อราตามทุกครั้ง เพราะเชื้อรามักเข้าทำลายหลังองุ่นได้รับจิ๊บเบอเรลลิน

- ช่วงอากาศวิปริต (ร้อนจัด หนาวจัด ฝนจัด พายุโซนร้อนจากทะเลหรือไซฮวง) เข้ามาช่วงที่องุ่นกำลังออกดอกและติดผลเล็ก ให้บำรุงต้นด้วยไบโออิ กับ แคลเซียม โบรอน 2-3 รอบห่างกันรอบละ 5-7 วัน ด้วยการฉีดพ่นทางใบล่วงหน้า (ทราบจากการติดตามข่าวพยากรณ์อากาศ) ก่อนอากาศเริ่มวิปริตเพื่อเตรียมความพร้อมให้แก่ต้น และควรให้ทั้งช่วงก่อนอากาศวิปริต ระหว่างอากาศวิปริต และหลังหมดสภาพอากาศวิปริต

ต้นที่ผ่านการบำรุงแบบมีสารอาหารกินตลอด 24 ชม.ต่อเนื่องมาหลายๆปี ต้นมีความสมบูรณ์สูง เมื่อพบกับสภาพอากาศวิปริตก็จะเกิดความเสียหายไม่มากนัก

- ช่วงมีผลอยู่บนต้น ถ้าขาดโบรอน (แคลเซียม โบรอน) ผลจะเล็กจิ๋วและโตไม่สม่ำเสมอ
- องุ่นรับประทานผลสดหลังจากผลโตขนาดปลายนิ้วก้อยหรือโตกว่าเล็กน้อย จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องตัดแต่งช่อผล (ซอยผล) โดยการใช้กรรไกปลายแหลมเล็กแทรกเข้าไประหว่างผลแล้วตัดขั้วผลเพื่อทิ้งผลบางส่วนไป การจะเลือกผลไหนซอยทิ้งให้พิจาณาผลข้างเคียงที่คงไว้ว่ามีลักษณะสวยและสมบูรณ์ดีตามต้องการ ทั้งนี้การซอยผลทิ้งทำให้เกิดพื้นที่ว่างให้แก่ผลที่คงไว้มีโอกาสขยายขนาดได้เต็มที่นั่นเอง

- องุ่นโง่ หมายถึง ผลองุ่นในพวงเดียวกันแก้ไม่พร้อมกันหรือไม่เท่ากัน (มีทั้งผลอ่อน กลางอ่อนกลางแก่ และผลแก่)

- เพื่อให้ต้นมีความสมบูรณ์อยู่เสมอตลอดปีควรให้ฮอร์โมนบำรุงราก 2-3 เดือน/ครั้งและให้ไซโตคินนิน 1-2 เดือน/ครั้ง

- การบำรุงทางรากช่วงก่อนเก็บเกี่ยวเพื่อเร่งหวานด้วย 8-24-24 หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตหมด แล้วเข้าสู่ช่วงพักต้นจะช่วยให้ต้นไม่โทรม ส่งผลให้การเรียกใบอ่อนของฤดูการผลิตรุ่นต่อไปใบอ่อนจะออกมาเร็วและได้ใบดีมีคุณภาพ

เตรียมต้น ตัดแต่งกิ่ง :
- ธรรมชาติขององุ่นที่อายุต้นให้ผลผลิตแล้วจะให้ผลผลิตแบบต่อเนื่องโดยไม่มีการพักต้น การตัดแต่งกิ่ง (พรุนหรือพรุนกิ่ง) เพื่อสร้างผลผลิตรุ่นต่อไปจึงมีความจำเป็นและสำคัญมากเพราะองุ่นจะออกดอกติดผลดีถึงดีมากจากตาที่ซอกใบของกิ่งยอดที่แตกใหม่หลังการตัดแต่งกิ่งเท่านั้น การบำรุงผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยวรุ่นที่ผ่านมาจะต้องบำรุงแบบ เร่งหวาน + สะสมอาหารเพื่อการออกดอก เตรียมรอไว้ก่อน นั่นคือ ให้ทางใบด้วย “0-21-74 + ธาตุรอง/ธาตุเสริม” ให้ทางรากด้วย “8-24-24 หรือ 9-26-26” เสริมด้วยมูลค้างคาว

- การพรุนกิ่งแขนงเพื่อให้ออกดอกติดผล ให้พิจารณาเลือกกิ่งแขนงที่อายุ 3-5 เดือน สีเปลือกเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีน้ำตาล หรือถ้ากิ่งนั้นยังเป็นกิ่งอ่อน (สีเขียว) อยู่ให้ตัดปลายออกน้อยส่วนที่เหลือยาว แต่ถ้าเป็นกิ่งแก่ (สีน้ำตาล) ให้ตัดปลายออกมากส่วนที่เหลือสั้นก็ได้และหลังจากตัดยอดแล้วให้มีตาเหลืออยู่ตั้งแต่ 4-10 ตา /1 กิ่ง ลักษณะตานูนเด่นชัด ที่สำคัญประการหนึ่ง คือ ปลายของกิ่งที่ตัดนั้นควรมีตาอยู่ด้านบนหรือด้านข้างของกิ่ง หรือมีตาอยู่ด้านบนหรือด้านข้างมากกว่าอยู่ด้านล่างของกิ่ง เพราะการที่ตาอยู่ด้านบนหรือด้านข้างของกิ่งนี้เมื่อดอกออกมา ก้านดอกจะชูชี้ขึ้นซึ่งจะเป็นดอกที่ดีกว่าก้านดอกที่ชี้ลง

วิธีตัดปลายกิ่งแขนงให้ตัดด้วยกรรไกคมจัดเพื่อป้องกันแผลช้ำ และตัดให้ชิดตุ่มตามากที่สุดโดยไม่กระทบกระเทือนต่อสภาพโครงสร้างภายในตาซึ่งเป็นเซลล์พืชที่อ่อนมาก ถ้าตัดชิดหรือกระทบกระเทือนจนภายในตาช้ำตุ่มตานั้นจะไม่ออกดอก และถ้าตัดห่างเกินไปดอกก็ไม่ออกได้เช่นกัน หลังจากตัดปลายกิ่งแขนงเรียบร้อยแล้วให้ริดใบออกให้หมด ทั้งใบของกิ่งแขนงและกิ่งประธานจนไม่เหลือแม้แต่ใบเดียว

- นิสัยการออกดอกขององุ่นไม่จำเป็นต้องกระทบหนาว แต่การตัดแต่งกิ่ง-เรียกใบอ่อนช่วงต้นหน้าฝนแล้วเข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงต่อไปตามลำดับอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอจะทำให้ต้นมีความสมบูรณ์เต็มที่ดีกว่าการตัดแต่งกิ่งในช่วงอื่น

- ต้นอายุหลายปี ระบบรากเก่าและแก่มาก ให้พิจารณาตัดแต่งรากส่วนปลายออก 1 ใน 4 ด้วยการพรวนดินรอบทรงพุ่มลึก 10-15 ซม. หลังจากให้ฮอร์โมนบำรุงรากไปแล้วต้นจะแตกรากใหม่จำนวนมากขึ้นและมีประสิทธิภาพในการดูดซับสารอาหารได้ดีกว่าเดิม

ขั้นตอนการปฏิบัติบำรุงต่อองุ่น
ขั้นตอนการปฏิบัติบำรุงต่อองุ่นต่างจากไม้ผลยืนต้นอื่นๆ คือ ขั้นตอนสะสมอาหารเพื่อการออกดอกได้บำรุงไว้ก่อนแล้วตั้งแต่ช่วงบำรุงผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยวของผลรุ่นที่ผ่านมา หลังจากพรุนกิ่งแล้วทาหรือพ่นฮอร์โมนกระตุ้นตาดอกพร้อมกับระดมให้น้ำโดยไม่ต้องงดน้ำหรือปรับ ซี/เอ็น เรโช. ต้นก็จะแตกใบอ่อนพร้อมกับมีดอกออกตามมาด้วยเลย ดังนั้น จึงให้เข้าสู่ขั้นตอนบำรุงดอกต่อได้เลย

หมายเหตุ :
เทคนิคการให้ทางดินด้วย “น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 + 25-7-7” ช่วงก่อนเรียกใบอ่อน 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 7-10 วัน จะช่วยสร้างใบใหญ่เขียวเข้มหนา

1. บำรุงดอก :
ทางใบ :
- ให้ไบโออิ 15-45-15 (หน้าฝน) หรือ 0-52-34 (หน้าแล้ง) + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7-10 วัน ฉีดพ่นพอเปียก ระวังอย่าให้โชกจนลงถึงพื้น

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- ยังคงเปิดหน้าดินโคนต้น
- ให้ 8-24-24 (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นใหญ่) /ต้น /เดือน
- ให้น้ำปกติ ทุก 2-3 วัน

หมายเหตุ :
- ช่วงดอกตั้งแต่เริ่มแทงออกมาให้เห็น (ก้านดอกยาว 1-2 ซม.) หรือระยะดอกตูม บำรุงด้วยฮอร์โมน เอ็นเอเอ. 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน จะช่วยบำรุงเกสรทั้งตัวผู้และตัวเมียให้สมบูรณ์พร้อมรับผสม แต่ต้องใช้ด้วยระมัดระวังเพราะถ้าให้เข้มข้นเกินไปจะเกิดความเสียหายต่อดอกและถ้าให้อ่อนเกินไปก็จะไม่ได้ผล

- ช่วงดอกเริ่มแทงออกมาใหม่ๆให้แคลเซียม โบรอน. 1 รอบ จะช่วยให้ดอกสมบูรณ์ผสมติดดี

- ช่วงดอกตูมควรฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรให้บ่อยขึ้น เพื่อป้องกันกำจัดโรคและแมลงจนถึงช่วงดอกบาน

- ช่วงดอกบานควรงดการฉีดพ่นทางใบโดยเฉาะช่วงกลางวัน (08.00-12.00 น.)เพราะอาจทำให้เกสรเปียกจนผสมไม่ติดได้ หากจำเป็นต้องฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรให้ฉีดพ่นช่วงหลังค่ำ

- ระยะดอกบานถ้าตรงกับช่วงฝนชุกเกสรจะเปียกชื้นทำให้ผสมไม่ติด แก้ไขโดยกะระยะเวลาบำรุงให้ดอกออกมาแล้วไม่ตรงกับช่วงฝนชุกเท่านั้น แต่ถ้าดอกออกมาตรงกับช่วงแล้งอากาศร้อนมากเกสรจะฝ่อทำให้ผสมไม่ติดเช่นกัน แก้ไขโดยสร้างความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศและที่พื้นดินในทั้งในแปลงปลูกและรอบๆแปลงปลูก .... มาตรการบำรุงต้นและดอกให้สมบูรณ์อย่างแท้จริงอยู่เสมอจะช่วยลดความสูญเสียได้เป็นอย่างมาก

- ฉีดพ่นสารอาหารเพื่อบำรุงดอกด้วยเครื่องมือฉีดพ่นที่มีแรงลมพ่นเบาที่สุดตามความเหมาะสมเพื่อไม่ให้กระทบกระเทือนต่อส่วนต่างๆของดอก ฉีดพ่นที่ช่อดอกโดยตรงพอเปียกหรือฉีดพ่นให้ทั่งทรงพุ่มพอเปียกใบก็ได้

- ดอกที่ออกมาถ้าตรงกับช่วงฝนชุกช่อดอกมักจะเป็นสีแดง เนื่องจากได้รับไนโตร เจนจากน้ำฝนมากเกินไป แก้ไขโดยให้ “น้ำ 100 ล. + 10-45-10 หรือ 6-32-32 (400 กรัม) สูตรใดสูตรหนึ่ง + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.” ฉีดพ่นพอเปียกใบ ก่อนฝนตก 1 ชม. หรือหลังฝนหยุดใบแห้ง ควรให้ทุกครั้งที่มีปัญหาเกี่ยวกับฝนโดยไม่จำกัดจำนวนครั้งที่ให้

- ให้จิ๊บเบอเรลลิน.ครั้งที่ 1 เมื่อช่อดอกยาว 1.5-2 ซม. ให้จิ๊บเบอเรลลิน. ครั้งที่ 2 เมื่อดอกยังตูม (ไข่ปลา) ตามอัตราที่ระบุในฉลากของแต่ละยี่ห้อ (ใช้จิ๊บเบอเรลลิน.ให้ระวังอัตราใช้และสภาพอากาศ)

- ดอกที่สมบูรณ์จะมีลักษณะเป็นช่อขนาดใหญ่ ชาวสวนองุ่นเรียกว่า “ช่อนายพล” ปริมาณดอกที่โคนช่อมีมากทำให้ดูใหญ่ส่วนปลายช่อมีน้อยทำให้ดูเล็กเรียวแหลม

2. บำรุงผลเล็ก-กลาง :
ทางใบ :
- ให้ ไบโออิ + ยูเรก้า + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7-10 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ

- ในรอบ 1 เดือน หาโอกาสให้น้ำตาลทางด่วน (กลูโคส) 1 รอบ
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- ใส่ยิบซั่ม ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยคอก (ขี้วัวขี้ไก่ไข่ แกลบดิบ แห้งเก่าข้ามปี) กระดูกป่น ครั้งที่ 2 ของรุ่น หรือปีการผลิต

- ใส่ 21-7-14 (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นใหญ่) /ต้น /เดือน ละลายน้ำรดโคนต้น บริเวณทรงพุ่ม

- คลุมโคนต้นด้วยเศษพืชแห้งหนาๆ เต็มพื้นที่บริเวณทรงพุ่ม ล้ำออกไปถึงนอกเขตทรงพุ่ม
- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 21-7-14 (2 ล.) /ไร่ /เดือน รดทั่วแปลง ทุกตาราง นิ้ว

หมายเหตุ :
- เริ่มบำรุงเมื่อผลเท่าเมล็ดถั่วเขียวหรือหลังกลีบดอกร่วง
- ระยะนี้เริ่มเห็นผลเป็นพวงแล้ว ถ้าพวงใดมีจำนวนช่อมากให้เด็ดทิ้งคงเหลือเพียงช่อเดียว/1 พวงจะทำให้ได้คุณภาพผลดีกว่าคงไว้มากกว่า 1 ช่อ/1 พวง

- ให้จิ๊บเบอเรลลิน.ครั้งที่ 3 เมื่อผลขนาดเม็ดถั่วเขียว
- ให้ทางใบด้วย “ไคโตซาน + ธาตุรอง/ธาตุเสริม” 2-3 รอบโดยแบ่งให้ตลอดช่วงผลกลางจะช่วยบำรุงขยายขนาดผลให้ใหญ่และเนื้อแน่นขึ้น แต่เมล็ดมีขนาดเท่าเดิม

- ถ้าต้นติดผลดกมากควรให้ไบโออิ กับ แคลเซียม โบรอน 1-2 รอบ ตลอดระยะผลกลางจะช่วยให้ต้นไม่โทรมเนื่องจากรับภาระเลี้ยงผลมาก

- องุ่นสำหรับรับประทานผลสด ก้านผลออกมาก้านประธาน)โดยตรง เมื่อผลขนาดใหญ่ขึ้นจะเบียดกันจนเสียรูปทรง ให้ตัดแต่งช่อผล (ซอยผล) โดยใช้กรรไกปลายแหลมตัดที่ขั้วผลบางผลทิ้งไป วัตถุประสงค์เพื่อเปิดพื้นที่โดยรอบสำหรับผลที่คงไว้ได้ขยายตัวอย่างอิสระ จำนวนผลที่ซอยทิ้งนี้มีประมาณ 1 ใน 4 ของจำนวนผลทั้งพวง แนะนำให้ซอยผลทิ้งเมื่อขนาดผลเท่าปลายนิ้วก้อยถึงปลายนิ้วชี้เพราะสามารถนำไปทำองุ่นดองได้

- องุ่นสำหรับทำไวน์ (เหล้าองุ่น) ไม่จำเป็นต้องซอยผล เพราะไม่มีความจำเป็นต้องใช้ผลขนาดใหญ่ และไม่จำเป็นต้องบำรุงผลด้วยสูตรหยุดเมล็ดสร้างเนื้อ แต่ให้บำรุงด้วยสูตร “หยุดเนื้อ-สร้างเมล็ด” เพราะเมล็ดองุ่นขนาดใหญ่และฝาดจัดจะทำให้ไวน์มีคุณภาพดี

4. บำรุงผลแก่ :
ทางใบ :
- ให้ไบโออิ 0-21-74 + สารสมุนไพร 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน และให้รอบสุดท้ายก่อนเก็บเกี่ยว 7-10 วัน ด้วยการฉีดพ่นพอเปียกใบ

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
ทางราก :
- เปิดหน้าดินโคนต้น และนำอินทรีย์วัตถุออก
- ให้ 13-13-21 หรือ 8-24-24 สูตรใดสูตรหนึ่ง (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก. ต้นใหญ่) /ต้น ละลายน้ำรดโคนต้น บริเวณทรงพุ่ม แล้วงดน้ำเด็ดขาด

หมายเหตุ :
- เริ่มให้ก่อนเก็บเกี่ยว 7-10 วัน 1-2 รอบห่างกันรอบละ 5-7 วัน
- อัตราการให้ 8-24-24 หรือ 9-26-26 มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณผลที่ติดบนต้น ถ้าติดมากควรให้มาก แต่ถ้าติดน้อยควรให้ปานกลาง

- ปุ๋ยทางใบ (0-21-74) และปุ๋ยทางราก (8-24-24 หรือ 9-26-26) นอกจากช่วยบำรุงคุณภาพผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยวแล้วยังเป็นปุ๋ยสำหรับสะสมอาหารเพื่อการออกดอกของผลผลิตรุ่นต่อไปอีกด้วย



===========================================================
===========================================================

.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 27/01/2024 8:18 am, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 30/01/2024 7:45 am    ชื่อกระทู้: * ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
จาก : (090) 289-01xx
ข้อความ : ลุงครับ เมื่อไหร่เปิดสอนสปริงเกอร์ครับ

จาก : (088) 617-82xx
ข้อความ : สปริงเกอร์มีแล้ว แต่ขาดหม้อปุ๋ย ลุงช่วยด้วยยยยยยย

คนถามใหม่ คำถามเก่า คำตอบเดิม :

จาก : (062) 173-92 xx
ข้อความ : สนใจสปริงเกอร์ หม้อปุ๋ยครับ

จาก : (093) 720-16 xx
ข้อความ : ให้ปุ๋ยทางใบผ่านสปริงเกอร์หม้อปุ๋ย ทีละโซน โซนละหลายต้น ได้ผลดีกว่าหม้อปุ๋ยสะพายเดินฉีดทีละต้น ลากสายยางเดินฉีดทีละแถว เชียร์สปริงเกอร์หม้อปุ๋ยค่ะ

จาก : (064)152-79 xx
ข้อความ : ขอความรู้เรื่อง สปริงเกอร์ หม้อปุ๋ย ตามแบบลุงคิมครับ

จาก : (088) 529-16xx
ข้อความ : สปริงเกอร์เกษตรกรทั่วไปทำใช้ ใช้งานได้ไม่ 100 เปอร์เซ็นต์ แก้ไขยังไง

จาก : (093) 812-65xx
ข้อความ : ยอมรับ ยอมรับ ยกนิ้วให้ สปริงเกอร์แปลงมะพร้าวไร่กล้อมแกล้ม

บ่น :
ความจริง-1 : สปริงเกอร์ที่ติดๆ ๆๆ กันทั่วไป เท่าที่เห็นใน ร่อง/แถว เดียวกัน ทำงาน 3-4 หัวแรกพ่นน้ำแรงมาก, 3-4 หัวกลาง พ่นน้ำแรงกลาง, แต่ 3-4 หัวท้ายพ่นน้ำออกค่อย เป็นอย่างนี้ทุก ร่อง/แถว

ความจริง-2 : ทำงานพ่นน้ำได้อย่างเดียว ปล่อยปุ๋ย (ทางราก/ทางใบ), ฮอร์โมน, ยา (เคมี/สมุนไพร) ไปทางสปริงเกอร์ไม่ได้ ต้องแยกทำงานต่างหาก สูญเสียเท่าไหร่....เกษตรกรอเมริกาส่ง ปุ๋ย/ยา ผ่านไปกับสปริงกเกอร์มานานกว่า 50 ปี คนไทยไปเรียนที่อเมริกาไม่รู้ เพราะไม่ได้เรียนเกษตรแต่มีเพื่อนเป็นอเมริกันไม่ใช่เหรอ แม้แต่คนไทยอยู่เมืองไทยไม่ดูอินเตอร์เน็ต

ความจริง-3 : ฉีดพ่นสารเคมี 1 รอบ เทียบกับฉีดพ่นสารสมุนไพร 10-20 ครั้ง ความ สูญเสีย/สิ้นเปลือง อย่างไหน มาก/สูง กว่ากัน

ความจริง-4 : ไม่ใช้สารเคมียาฆ่าแมลง แต่ใช้สารสมุนไพรแทน ได้เครดิตจากคนรับซื้อ ได้คำชมจากคนกิน ได้กุศลแก่ตัวเอง แก่ทุกคนในครอบครัว ถึงบ้างข้างเคียง

ความจริง-5 : ทำอย่างเดิมคงไม่มีอะไรดีไปกว่าเดิม เผลอๆ อาจจะเลวร้ายไปกว่าเดิมด้วย
ความจริง-6 : ยุคนี้สมัยนี้วันนี้ งานที่ทำจะเป็นงานอดิเรกหรืองานหลัก สมัครเล่นหรืออาชีพ สิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้ คือ “เทคโนโลยี” ว่าด้วย เทคโนโลยีการผลิต เทคโนโลยีการจัดการ เทคโนโลยีการบริหาร เทคโนโลยีเครื่องทุ่นแรง เทคโนโลยีการตลาด เทคโนโลยีการโฆษณาประชาสัมพันธ์

ประเด็นเทคโนโลยีเครื่องทุ่นแรง สำหรับงานสวนเกษตรด้านพืช เพื่อให้ได้ คุณภาพดี, ปริมาณผลผลิตมาก ประสิทธิภาพ ถึงวันนี้ยืนยันได้ว่า ระบบสปริงเกอร์ คือ หนึ่งในเทคโนโลยีเครื่องทุ่นแรงนี้

ตอบ :
หม้อปุ๋ยเวนจูรี่ (VENTURI)[/b]
หม้อปุ๋ยตัวนี้ สมช.เราทำงานที่แท่นขุดเจาะน้ำมันในอ่าวไทยตั้งชื่อว่า "เวนจูรี่" เพราะเครื่องเวนจูรี่ที่ใช้เจาะน้ำมันไต้พื้นดินทำงานแบบสุญญากาศ .... หม้อปุ๋ยที่นี่ก็อีหร็อบเดียวกัน ถ้าในหม้อปุ๋ยไม่เป็นสุญญากาศ หรือไล่ลมออกไม่หมด น้ำปุ๋ยในหม้อปุ๋ยก็จะไม่ไปเหมือนกัน

ระบบการทำงานระหว่างปล่อย “ปุ๋ย-ยา” แรงดันพ่นน้ำที่หัวสปริงเกอร์ไม่ลด ....แต่หม้อปุ๋ยประทับตรา MADE IN USA ทำในไทย ระบบการทำงานเวลาปล่อย “ปุ๋ย-ยา” ต้องลดเมนวาวล์เพื่อแบ่งแรงดันน้ำมาดันน้ำที่หม้อปุ๋ย ผลจากการลดเมนวาวล์ทำให้แรงดันพ่นน้ำที่หัวสปริงเกอร์ลดลง

หม้อปุ๋ย RKK ขณะปล่อย “ปุ๋ย/ยา” รัศมีพ่นน้ำที่หัวสปริงเกอร์ 3 ม. (เส้นผ่าศูนย์กลาง 6 ม.) เท่าเดิม แต่หม้อปุ๋ย USA ขณะปล่อย “ปุ๋ย/ยา” รัศมีพ่นน้ำที่หัวสปริงเกอร์ลดลงจากเดิมเหลือแค่ครึ่งเดียว

ตัวนี้ลุงคิมคิดขึ้นมาเอง จดทะเบียนลิขสิทธิ์ได้เลยแต่ไม่จด ขี้เกียจ ใครอยากจดก็ไปจดซี อเมริกาทำเกษตรใช้วิธี "ให้ปุ๋ยไปกับระบบน้ำ หรือ ให้ปุ๋ยทางท่อ" มานานกว่า 50-70 ปี ก็ไม่รู้เหมือนกันว่า คนไปเรียนที่อเมริกา เขาไปเรียนอะไรกัน ถึงไม่ได้เรียนเกษตรแต่ก็มีเพื่อนเป็นอเมริกาไม่ใช่เหรอ

เอาเถอะ ถึงไม่ได้ไปเรียนที่อเมริกา แต่อินเตอร์เน็ตอเมริกาในเมืองไทยก็รับได้ไม่ใช่เหรอ ..

สุดท้าย ก็เห็นนะ เคยเจอสื่อสิ่งพิมพ์ (ราชการ) สาขาเกษตร พูดถึงเรื่องหม้อปุ๋ยหน้าโซน ก็งั้นๆ แหละ COPPY (รูป ภาษา ไม่มีคำอธิบาย) เรื่องของต่างประเทศมาลง ลงแล้วก็จบ ไม่มีการขยายผล เรื่องของเรื่องก็คือ ชี้ชัดว่า ปฏิเสธ/ไม่สนับสนุน เทคโนโลยีเครื่องทุ่นแรงตัวนี้อย่างหัวเด็ดตีนขาด

ก็เคยเจอนะ รู้จักด้วย เรียนจบ ป.เอก สาขาเกษตร พ่อแม่ทำสวนไม้ผล ติดสปริงเกอร์แค่โคนต้น ส่วนทางใบใช้วิธีลากสายยางฉีดเอา

ออกแบบเอง สร้างเอง จดทะเบียนลิขสิทธิ์ได้....

- หม้อปุ๋ยเวนจูรี่ RKK ขณะทำงานไม่ต้องลดแรงดันที่เมนวาวล์ ส่งผลให้รัศมีหรือระยะพ่นน้ำของหัวสปริงเกอร์แรงปกติทุกประการ

- ถ้าต้องการให้เนื้อปุ๋ยในหม้อปุ๋ยไปเร็วๆ ทำได้โดยลดแรงดันที่เมนวาวล์ (ลดเล็กน้อย) แรงดันที่เมนวาวล์เมื่อถูกลดจะเปลี่ยนมาดันออกที่หม้อปุ๋ยแทน ... เนื้อปุ๋ยในหม้อปุ๋ยไปช้าๆ สม่ำเสมอๆ เนื้อปุ๋ยจะกระจายทั่วทุกต้น ทั่วทั้งโซนดี แต่ถ้าเนื้อปุ๋ยในหม้อปุ๋ยไปเร็ว เร็วมากๆ ต้นไม้ในโซนต้นแรกๆ จะได้รับเนื้อปุ๋ยมากกว่าต้นท้ายโซน

สปริงเกอร์ สั่งได้ :
ตี.5 : .............. ล้างน้ำค้าง ป้องกัน/กำจัด ราน้ำค้าง ราแป้ง ราสนิม
สาย : .............. ให้ ปุ๋ย/ฮอร์โมน
เที่ยง : ............. ป้องกัน/กำจัด เพลี้ยไฟ ไรแดง
ค่ำ : ................ ป้องกันแม่ผีเสื้อเข้าวางไข่ ไข่แมลงฝ่อ ฆ่าหนอนที่ออกหากินลางคืน
กลางวันฝนตก : ... ฝนหยุดแดดออก (ฝนต่อแดด) ล้างน้ำฝน ป้องกัน/กำจัด แอ็นแทร็คโนส
กลางวันฝนตก : ... ไม้ผลระยะสะสมตาดอก หรือ ปรับ ซี/เอ็น เรโช ก่อนฝนตกหรือหลังฝนหยุด ให้ปุ๋ยทางใบป้องกันการแตกใบอ่อน

ฉีดพ่นสารสมุนไพรบ่อยๆ ทุกวัน วันต่อวัน วันเว้นวัน ทำได้ตามต้องการ

- ไร่มันสำปะหลัง ติดสปริงเกอร์ โอเวอร์เฮด/หม้อปุ๋ย ให้ "น้ำ+ปุ๋ย" 2 ครั้ง/เดือน ป้องกันศัตรูพืชสำปะหลังชะงัดนัก เผลอๆได้ 60 ตัน/ไร่ อีกด้วย

- สวนยกร่องน้ำหล่อ รดน้ำด้วยเรือปากเป็ด ใช้เวลาเช้ายันเที่ยงบ่าย ให้น้ำได้อย่างเดียว ให้ ปุ๋ย/ยา ต้องสะพายเป้ลากสายยางต่างหาก งานนี้ ค่าไฟฟ้า/ค่าน้ำมัน/ค่าแรง/ค่าเวลา/คาเนื้องาน/ค่าเครดิต/ค่าโอกาส/ค่าอารมย์ เทาไหร่ ?....

คิดใหม่-ทำใหม่ ปรับร่องเป็นน้ำเลี้ยงปลา ปลาละร่องๆ เลี้ยงผักบุ้งทอดยอดเย็นตาโฟ เลี้ยงผักกะเฉด ทำค้างคร่อมร่องปลูกมะระฟักเขียวบวบ ได้พื้นที่ คืน/เพิ่ม อีกไม่น้อย....

บนสันแปลงติด สปริงกอร์-หม้อปุ๋ย ช่วยประหยัด ค่าไฟฟ้า/ค่าน้ำมัน/ค่าแรง/ค่าเวลา/ค่าเนื้องาน/ค่าเครดิต/ค่าโอกาส/ค่าอารมณ์ เท่าไหร่ ?

- ผักสวนครัวติด สปริงเกอร์/หม้อปุ๋ย ใช้ ปุ๋ย/ฮอร์โมน/ยา ทำเอง ให้น้อยแต่บ่อยครั้ง นอกจากช่วยประหยัดต้นทุนค่า ปุ๋ย/ฮอร์โมน/ยา แล้วยังทำให้คุณภาพของผลผลิตดี สร้างเครดิตความน่าเชื่อถือแก่ลูกค้าคนกินอีกด้วย

- ลูกจบปริญญา มีสวนไม้ผลขนาดใหญ่ ปล่อยพ่อแม่ทำ ติดสปริงเกอร์โคนต้นให้น้ำ แต่ลากสายยางฉีดพ่นทางใบต่างหาก ต้นทุน ค่ากตัญญู/ค่าไฟฟ้า/ค่าน้ำมัน/ค่าแรง/ค่าเวลา/ค่าเนื้องาน/ค่าเครดิต/ค่าโอกาส/ค่าอารมณ์ เท่าไหร่ ?

- แอร์บลาสส์ คันละล้าน (ตัวแอร์บลาสส์ 5 แสน ตัวแทร็คเตอร์ลาก 6 แสน) ต้องเว้นพื้นสวนให้เป็นถนน (เสียพื้นที่) ทำงานได้เฉพาะเวลาเท่านั้น ค่าน้ำมัน/ค่าแรง/ค่าเวลา/ค่าเนื้องาน/ค่าเครดิต/ค่าโอกาส/ค่าอารมณ์ เท่าไหร่ ?

- ไม่คิด ไม่ยอมรับ ทั้งๆที่รู้ ใช้หม้อปุ๋ยฉีดพ่นสารสมุนไพรอย่างเดียว รุ่นเดียว ก็คุ้มต้นทุน

ใครก็ทำได้ ยกเว้น .... “?” ....
- แปลงผักสวนครัว ผักทุกประเภท ลุงทุนครั้งเดียวก็คุ้ม ออกแบบดีๆ ติดตั้งครั้งเดียวใช้ได้ตลอดไป... คิดดู

*** ฉีดพ่นสารสมุนไพรบ่อยๆ วันต่อวัน วันเว้นวัน ลดสารเคมีได้รุ่นเดียวก็เหลือกำไร
*** ฉีดพ่นปุ๋ยทางใบ ทำเอง/ซื้อ รุ่นเดียวก็เหลือกำไร
*** ลดค่าแรง ลากสายยาง-สะพายเป้-แล่นเรือปากเป็ด วันละเท่าไหร่ รุ่นเดียวก็เหลือกำไร

พร้อมทำเอง สอนวิธีทำ ! .... พร้อมซื้อ ขาย !
- สวนยกร่องน้ำหล่อ ลุงทุนครั้งเดียวก็คุ้ม ออกแบบดีๆ ติดตั้งครั้งเดียวใช้ได้ตลอดไป... คิดดู
*** ปิดหัวท้ายร่อง ร่องแรกเลี้ยงปลานิล ร่องที่สองเลี้ยงปลาสลิด ร่องที่สามเลี้ยงกบกระชัง
*** ร่องที่สี่ เลี้ยงผักบุ้งทอดยอดเย็นตาโฟ
*** ร่องที่ห้า เลี้ยงกะเฉด
*** ร่องที่หก ทำค้างปลูกบวบ
*** ร่องที่เจ็ด ทำค้างปลูกฟักเขียว
*** ร่องที่แปด ทำค้างปลูกฟักทอง
*** ร่องที่สิบ สิบเอ็ด สิบสอง เอาน้ำออกแล้วปลูกเผือก

- ทั้งหมดใช้สปริงเกอร์หม้อปุ๋ย
- สปริงเกอร์/หม้อปุ๋ย คือ เครื่องมือฉีดพ่นธรรมดา ปรับปรุง/ดัดแปลง ใช้กับแปลงพืชอะไรก็ได้

ข้อดีของการใช้ปุ๋ยทางใบ :
1. ช่วยให้พืชรับเข้าสู่ต้น ส่งผลให้พืชเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว
2. เพื่อชดเชยธาตุอาหารที่ขาด หรือเพิ่มเติมเพื่อเร่งการเจริญเติบโตแก่พืชได้
3. ใช้ผสมร่วมไปกับสารเคมี หรือสารสกัดสมุนไพร อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งสองอย่าง ได้ เพื่อประหยัดเวลาและแรงงาน

4. ใช้กับพืชที่มีปัญหาเกี่ยวกับดิน เช่น ดินเค็ม ดินเปรี้ยวจัด ดินทรายจัด ดินเหนียวจัด หรือดินที่มีปัจจัยแวดล้อมต่อต้านการดูดใช้ธาตุอาหารทางระบบราก

5. พืชสามารถรับธาตุอาหารโดยทางใบได้มากกว่า และเร็วกว่าการดูดทางราก
6. ช่วยให้พืชฟื้นตัวเร็วหลังจากชะงัก เนื่องจากกระทบ แล้ง น้ำท่วม หรือถูกโรคแมลงทำลาย
7. ปุ๋ยชนิดน้ำมีความสม่ำเสมอของเนื้อปุ๋ยแน่นอนกว่าปุ๋ยชนิดแข็งและปุ๋ยชนิดเกล็ด มีปริมาณเนื้อปุ๋ยรวม (N+P2O5+K2O) สูงกว่าปุ๋ยเม็ด ทำให้ได้ประสิทธิภาพเหนือกว่า

8. ปุ๋ยชนิดน้ำผลิตง่าย และเปลี่ยนแปลงปรับปรุงสูตรได้ง่าย จึงผลิตได้มากสูตรกว่าปุ๋ยชนิดแข็งหรือชนิดเกล็ด

วัตถุประสงค์หลักในการให้ปุ๋ยทางใบ :
1. เพื่อแก้ไขอาการขาดธาตุอาหาร
2. เพิ่มคุณภาพและผลผลิต
3. เพื่อช่วยให้พืชฟื้นตัวจากปัญหาความขาดแคลนในบั้นปลาย

อัตราใช้ปุ๋ยในหม้อปุ๋ยหน้าโซน :
ถาม : หม้อปุ๋ยหน้าโซนใส่ปุ๋ยครั้งละเท่าไร ?
ตอบ :
- เรื่องนี้ไม่มีมาตรฐานแต่มีหลักการ เพราะไม้แต่ละต้นแต่ละชนิดพันธุ์ต่างกัน
- ที่ RKK ไม้ผลยืนต้น 1 โซน 50 ต้น มีหม้อปุ๋ยประจำหน้าโซน 1 อัน
- ทดสอบอัตราการใช้ปุ๋ยสำหรับ 1 โซน โดยผสมปุ๋ยในเป้สะพาย 20 ล.ใส่ปุ๋ย 20 ซีซี. (อัตราใช้ปกติ) ฉีดพ่นเปียกโชก ไต้ใบบนใบ ปกติ ฉีดพ่นได้ 5 ต้น หรือ 1 โซน = 10 เป้ หรือ 1 โซน = 200 ซีซี. นั่นเอง .... ในขณะที่ขวดที่หม้อปุ๋ย 1 ขวดความจุประมาณ 1.5 ล. (1,500 ซีซี.)

- ว่าแล้วก็เติมปุ๋ยลงในหม้อปุ๋ย 200 ซีซี. สำหรับ 1 โซน (50 ต้น)
- กรณีปุ๋ยทางราก คำนวณจากการหว่านด้วยมือ 250 กรัม/ต้น (สมมุติ) เนื้อที่ 1 โซน 50 ต้น (250 กรัม x 50 ต้น) = 12.5 กก. .... ขั้นตอนต่อไปคือ ละลายปุ๋ย 12.5 กก.ในน้ำ ใส่ลงไปในหม้อปุ๋ย แล้วปล่อยไปตามปกติ เนื้อปุ๋ยทั้ง 12.5 กก. จะลงไปหาไม้เสมอเท่ากันทุกต้น

หมายเหตุ :
นี่คือ การใช้ ปุ๋ย/ยา ทางท่อ หรือไปกับระบบน้ำ

วิธีใช้หม้อปุ๋ยหน้าโซน :
ถาม : หม้อปุ๋ยหน้าโซนที่โชว์ แบบ 2 ขวดร่วมกัน กับแบบ 2 ขวดแยกกัน ใช้งานยังไง ?
ตอบ :
- แบบ 2 ขวดคู่กัน แม้จะทำโดยขวด 2 ใบ แต่ขวดทั้งสองเชื่อมต่อกันจึงเท่ากับ 1 ขวดนั่นเอง เนื้อปุ๋ยในขวดทั้งสองจึงไปมาหากันได้ แบบนี้สำหรับใช้งานใน 1 โซน ที่ใช้ปุ๋ยสูตรเดียวกัน

- แบบ 2 ขวดแยกกัน ระหว่างขวดทั้งสองมีวาวล์แยกของแต่ละขวด แบบนี้เหมาะสำหรับไม้ 2 โซน เมื่อจะให้ปุ๋ยโซนไหนก็เปิดวาวล์ปล่อยจากขวดหนึ่งไปก่อน กับเมื่อจะให้ปุ๋ยกับอีกโซนหนึ่งก็เปิดวาวล์ปล่อยปุ๋ยขวดที่เหลือ

- แบบ 4 ขวดแยกกัน ระหว่างขวดทั้ง 4 มีวาวล์แยกของแต่ละขวด แบบนี้เหมาะสำหรับไม้ 4 โซน เมื่อจะให้ปุ๋ยโซนแรกก็เปิดวาวล์ปล่อยจากขวดแรกไปก่อน กับเมื่อจะให้ปุ๋ยกับอีกโซนที่ 2 ก็เปิดวาวล์ขวดที่ 2 .... หรือจะให้ปุ๋ยกับอีกโซนที่ 3 ก็เปิดวาวล์ขวดที่ 3 .... จะให้ปุ๋ยกับอีกโซนที่ 4 ก็เปิดวาล์วขวดที่ 4 นั่นเอง

- แบบ 4ขวด 6ขวด 8ขวด 10ขวด แยกกัน ก็ทำได้ด้วยหลักการนี้ จะทำแบบเชื่อมต่อทุกขวดให้ถึงกันแล้วใช้งานเป็นขวดเดียว ด้วยปุ๋ยสูตรเดียวกัน หรือมีวาวล์แยกแต่ละขวดแล้วใช้งานทีละขวดก็ได้ ด้วยปุ๋ยสูตรละขวดๆ

http://kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&p=33326&sid=ed1182c974661fd96a3e26a3343f03c8#33326

http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=5994

แถมท้าย :
เทคโนโลยีคือการใช้ ความรู้-เครื่องมือ-ความคิด-หลักการ-เทคนิค-ระเบียบ-วิธี-กระบวนการ ตลอดจนผลงานทางวิทยาศาสตร์ ทั้งสิ่งประดิษฐ์และวิธีการ มาประยุกต์ใช้ในระบบงานเพื่อช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการทำงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และประสิทธิผลของงานให้มีมากยิ่งขึ้น

ภาษิต 22 ล้อ .... ทำเต็มที (แมนน่วล)ได้ผลเต็มที - ทำเต็มที่ (เทคนิค เทคโน) ได้ผลเต็มที่

เทคโนโลยีเครื่องทุ่นแรง สปริงเกอร์หม้อปุ๋ย :
- ปั๊มไฟฟ้า (ไฟบ้าน) 3 แรงม้า เสียบปลั๊กใช้ได้เลย
- วางระบบท่อ (เน้นย้ำ...ระบบ) ขนาด 3, 2, 1, ครึ่ง. นิ้ว ขึงหัวขึงท้าย
- เนื้อที่ 1 โซน 50 ต้น (เส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม 4-5 ม.)
- ทำงานครั้งละ 1 โซน ทางใบ 5-10 นาที ตามอัธยาศัย แรงงานคนเดียว ทำงานพร้อมกัน 2-3 โซน แรงดันพ่นน้ำลดลง เลือกใช้ตามความจำเป็น

- มีวาล์วหน้าโซน 1 วาล์ว : โซน : 1 หม้อปุ๋ย
- ทำงาน วางท่อเดี่ยวให้ทางใบทางเดียว ให้โชกๆแล้วตกลงดินเท่ากับให้ทางรากไปในตัว หรือ .... วางท่อคู่ สำหรับให้ทางใบทางราก พร้อมกันหรือแยกกัน

* ให้ทางใบ เปิดวาวล์ทางใบ ปิดวาวล์ทางราก
* ทางราก เปิดวาวล์ทางราก ปิดวาวล์ทางใบ
* ทำงานพร้อมกัน 2 ทาง เปิดวาวล์ทั้ง 2 ทางพร้อมกัน
* ให้น้ำผ่านสปริงเกอร์/หม้อปุ๋ย น้ำ +ปุ๋ย (อินทรีย์/เคมี) +ยาสมุนไพร +ยาเคมี +ฮอร์โมน (อินทรีย์/เคมี) อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือผสมร่วมไปกับหลายๆอย่างได้

* หม้อปุ๋ย รุ่น 1 หม้อ : 1 โซน, รุ่น 1 หม้อ : 2 โซน, รุ่น 1 หม้อ : 4 โซน, รุ่น 1 หม้อ : 6 โซน, เลือกใช้งานได้ ทั้งนี้ต้องออกแบบจัดโซนครั้งแรกตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

หม้อปุ๋ยหน้าโซน "กะเหรี่ยง เวนจูรี่" NEW MODLE :
มูลเหตุจูงใจ :

"การให้ปุ๋ยทางท่อ" หรือ "การให้ปุ๋ยไปกับระบบน้ำ" เป็นเทคโนโลยีการเกษตรอย่างหนึ่งที่ทั่วโลกใช้กันมานาน และมีงานวิจัยใหม่ๆ ออกมาเป็นระยะๆให้ปรากฏ

ส่วนใหญ่ใช้กับระบบน้ำหยดสำหรับพืชในกระถาง หรือในภาชนะปลูก โดยมีเป้าหมาย ให้สารอาหารพืชแบบตลอด 24 ชม. ซึ่งจะช่วยให้พืชเจริญเติบโตเร็วกว่าการให้ตามระยะเวลา

จากระบบการให้น้ำแบบน้ำหยด นักเทคโนโลยีการเกษตรได้พัฒนามาสู่ระบบการให้ปุ๋ยไปกับน้ำด้วยหัวสปริงเกอร์ สำหรับพืชในแปลงที่ขนาดใหญ่กว่าพืชในกระถาง เช่น แปลงไม้ผลยืนต้น แปลงผักสวนครัว แปลงพืชไร่ ก็สามารถให้ปุ๋ยทางท่อ หรือให้ปุ๋ยไปกับระบบน้ำได้เช่นกัน ด้วยอุปกรณ์เครื่องมือที่ชื่อว่า "เวนจูรี่" อุปกรณ์ตัวนี้ เมด อิน ยูเอสเอ. แต่โรงงานอยู่ที่บางปู สมุทรปราการ สนนราคา 1 ชุด 5,000 (+/-) นิดหน่อย

ว่าจ้างบริษัทจำหน่ายระบบสปริงเกอร์มาติดตั้งให้ ระบบอิสราเอล ค่าใช้จ่ายตกไร่ละ 100,000 แต่ถ้าติดตั้งเอง ระบบกะเหรี่ยง ค่าใช้จ่ายตกไร่ละ 5,000 ทั้ง 2 ระบบไม่รวมค่าปั๊ม

เกษตรพอเพียงตามแนวพระราชดำริ มิได้สอนให้ปฏิเสธเทคโนโลยี แต่ทรงสอนให้ใช้ให้เป็น ใช้คุ้มค่า ใช้อย่างสมเหตุสมผล การปฏิบัติบำรุงต่อพืช บำรุงเต็มที่ย่อมได้ผลเต็มที่ - บำรุงเต็มทีแต่จะเอาผลเต็มที่ย่อมไม่ได้ การบำรุงเต็มที่ทำไม่ได้ สาเหตุหนึ่งมาจากทำไม่ทัน ทำไม่ทันเนื่องจากไม่มีเวลาและเนื่องจากทำงานด้วยมือ นั่นเอง ..... สังคมโลกเกษตรปัจจุบัน จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีเทคโนโลยีการผลิต เทคโนโลยีการตลาด และเทคโนโลยีเครื่องทุ่นแรง เพื่อให้ได้ผลผลิตสูงสุด ภายใต้ต้นทุนที่ต่ำสุด

สปริงเกอร์ติดตั้งครั้งเดียวใช้งานได้นาน 10-20 ปี ด้วยระยะเวลาใช้งานนานขนาดนี้ เมื่อเปรียบเทียบ "ต้นทุน-เวลา-แรงงาน-ประสิทธิผลเนื้องาน" แล้ว ถือว่าคุ้มค่ากว่าการใช้สายยาง หรือเครื่องมือฉีดพ่นอื่นๆ ที่ต้องฉีดพ่นทีต้นๆ

ปิดท้าย :
อ.วิชัยฯ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง บอกว่า ระบบสปริงเกอร์ที่เทียบประสิทธิภาพในการทำงานและราคาต้นทุนแล้ว ระบบสปริงเกอร์ที่ไร่กล้อมแกล้มถือว่าดีที่สุดในประเทศไทย.....

************************************************************

.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©