-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-* ปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - * ปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

* ปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 25/12/2023 12:55 pm    ชื่อกระทู้: * ปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
71. ปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง

วิธีหมัก :
หมักแยก :

ถัง 1. กุ้งหอยปูปลาทะเลสดใหม่ บดละเอียด 20 กก. + กากน้ำตาล 5 กก. +เปลือกสับปะรด + น้ำหมักชีวภาพเก่า 5 ล. หมักนาน 3 เดือน ....ใส่น้ำมะพร้าวจนเต็มถังที่หมักขนาด 200 ล. หมักนานข้ามปี .... ได้ “น้ำหมักชีวภาพเริ่มต้น” พร้อมผสมต่อ

ถัง 2. เลือด 200 ล. + กากน้ำตาล 5 ล. + น้ำหมักเก่า 5 ล. หมักนานข้ามปี....ได้ “เลือดหมัก” พร้อมผสมต่อ

ถัง 3. ไขกระดูก 100 กก. + กากน้ำตาล 5 ล. + น้ำหมักเก่า 5 ล. หมักนานข้ามปี .... ได้ “ไขกระดูกหมัก” พร้อมผสมต่อ

ถัง 4. ขี้ค้างคาว 10 กก. + กากน้ำตาล 5 ล. + น้ำหมักเก่า 30 ล. หมักนานข้ามปี .... ได้ “ขี้ค้างคาวหมัก” พร้อมผสมต่อ

ถัง 5. นม 100 ล. + กากน้ำตาล 5 ล. + น้ำหมักเก่า 5 ล. + ยิสต์ 1 กล่อง หมักนานข้ามปี .... ได้ “นมหมัก” พร้อมผสมต่อ

ใช้รวม :
น้ำหมักชีวภาพเปล่าเริ่มต้น 180 ล. + เลือดหมัก 5 ล. + ไขกระดูกหมัก 5 ล. + ขี้ค้างคาวหมัก 5 ล. + นมหมัก 5 ล. ได้น้ำหมักชีวภาพ “สูตรระเบิดเถิดเทิงอินทรีย์” 200 ล พร้อมใช้ หรือปรุงต่อ

หมายเหตุ :
- น้ำหมักชีวภาพ สูตรระเบิดเถิดเทิงอินทรีย์ แม้สมบูรณ์แบบด้วยวัสดุส่วนผสมที่มีสารอา หารพืชมาก และกรรมวิธีในการทำต้องตามหลักวิชาการที่ยืนยันได้ ถึงกระนั้นชนิดและปริมาณของสารอาหารก็ยังถือว่าน้อยเมื่อเทียบกับปุ๋ยเคมี หรือปุ๋ยสังเคราะห์ กับทั้งเหมาะสมกับความต้องการหรือจำเป็นต้องใช้สำหรับพืชบางชนิดเท่านั้น

INSIDE ระเบิดเถิดเทิง :
สูตรระเบิดเถิดเทิง เรียกว่า "ปุ๋ย-อินทรีย์-ชีวภาพ" ได้เต็มปากเพราะ มีปริมาณปุ๋ย (ธาตุอาหาร ชนิดและปริมาณ) ตามต้องการ, เป็นอินทรีย์เพราะทำมาจากเศษซากสัตว์ล้วนๆ, และเป็นชีวภาพเพราะมีจุลินทรีย์

คุณสมบัติอื่น
* ผ่านการตรวจจากกรมวิชาการเกษตรมาแล้ว 3 ครั้ง
* เป็นอินทรีย์เพราะทำจาก กุ้งหอยปูปลาทะเล เลือด ไขกระดูก ขี้ค้างคาว นม น้ำมะพร้าว
* เป็นอินทรีย์เพราะมีจุลินทรีย์สารพัดชนิด พิสูจน์จากส่วนผสมที่ถูกย่อยสลาย
* ในเลือดมี N. P. K. Fe.
* ในไขกระดูกมี N. P. K. Ca. S.
* ในขี้ค้างคาวมี P. K.
* ในนมมี P. K. Ca. Mg. Zn.
* ในน้ำมะพร้าวมี P. Ca. Zn. ไซโคไคนิน. กลูโคส.

น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง ขั้นตอนที่ 3 :
ส่วนผสมอินทรีย์ :

น้ำหมักระเบิดฯ (ขั้น 2) .... 180 ล.
ไขกระดูก .................... 5 ล.
เลือด ......................... 5 ล.
มูลค้างคาว ................... 5 ล.
นม ............................ 5 ล.
ฮิวมิค แอซิด ................. ½ กก.

ส่วนผสมเคมี :
บี-1 .......................... ¼ กก.
ปุ๋ยธาตุหลัก (ทางราก) ..... 10-20 กก.
ธาตุรอง/ธาตุเสริม .......... 2 กก.
แม็กเนเซียม ................ 10 กก.
สังกะสี ...................... 5 กก.

ใช้โมลิเน็กซ์ยักษ์ ปั่นส่วนผสมทุกอย่างให้เข้ากันดี ได้ "ปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง อินทรีย์-เคมี" พร้อมใช้งาน อายุเก็บนานนับป
http://kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=7182&sid=3250ce0ddc9ef0584064e69fcd405a28



ธาตุอาหารในระบิดเถิดเทิง
pH 4.0 (ค่า กรด-ด่าง),
CE 1.14 (อุณหภูมิ 29 องศา),
EC 7.44 (ค่าการนำไฟฟ้า),
OM 11.79 (อินทรีย์วัตถุ),
CN 8:1 (อัตราส่วนระหว่าง คาร์บอน.กับไนโตรเจน),
N.1.5%, P. 1.0%, K.1.7%, Na 0.2%,

กรมวิชาการเกษตร ผลการตรวจ “ผ่าน”

----------------------------------------------------------------------------------


เปรียบเทียบ "ข้อดี/ข้อด้อย" ของปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ :

ข้อดีของปุ๋ยอินทรีย์ :
1. ช่วยปรับปรุงโครงสร้างของดินให้ดีขึ้น ทำให้ดินมีคุณสมบัติทางฟิสิกส์ดี เช่น มี
ความโปร่งร่วนซุย มีความสามารถในการอุ้มน้ำและธาตุอาหารพืชได้ดี
2. สามารถอยู่ในดินได้นาน และค่อยๆ ปลดปล่อยธาตุอาหารอย่างช้าๆ
3. ส่งเสริมให้จุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ต่อการบำรุงดิน สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
4. เมื่อใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมี จะส่งเสริมให้ปุ๋ยเคมีเป็นประโยชน์แก่พืชมากขึ้น

ข้อด้อยของปุ๋ยอินทรีย์ :
1. มีปริมาณธาตุอาหารพืชต่อน้ำหนักปุ๋ยต่ำ ต้องใช้ปริมาณมาก
2. ใช้เวลานานในการปลดปล่อยธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ให้แก่พืช
3. ราคาต่อน้ำหนักของธาตุอาหารพืชมีราคาสูง
4. มีจำนวนจำกัด ไม่สามารถหาซื้อในปริมาณมากๆ ได้

ข้อดีของปุ๋ยเคมี :
1. มีปริมาณธาตุอาหารพืชต่อน้ำหนักปุ๋ยสูง ใช้ปริมาณเล็กน้อยก็เพียงพอ
2. ปลดปล่อยธาตุอาหารให้แก่พืชได้เร็ว
3. ราคาต่อน้ำหนักของธาตุอาหารพืชมีราคาต่ำ สะดวกต่อการขนส่งและเก็บรักษา
4. หาซื้อง่าย เพราะเป็นผลิตผลที่ผลิตได้จากโรงงาน สามารถผลิตได้จำนวน

ข้อด้อยของปุ๋ยเคมี :
1. ไม่มีคุณสมบัติในการปรับปรุงคุณสมบัติทางฟิสิกส์ของดิน คือ ไม่ช่วยทำให้ดินโปร่ง
2. ปุ๋ยเคมีบางชนิด เช่น ปุ๋ยแอมโมเนีย ถ้าใช้ในปริมาณมากและติดต่อกันเป็นเวลานานจะทำให้ดินเป็นกรดมากขึ้น ต้องแก้โดยการใส่ปูนขาว
3. การใช้ปุ๋ยเคมีต้องระมัดระวัง เพราะปุ๋ยเคมีทุกชนิดมีความเค็ม ถ้าใส่มากหรือใส่ติดโคนต้นพืชจะเป็นอันตรายต่อต้นพืชและการงอกของเมล็ด
4. ผู้ใช้ปุ๋ยเคมีจะต้องมีความรู้ความเข้าใจเรื่องปุ๋ยพอสมควร จึงจะใช้อย่างได้ผลตอบ แทนคุ้มค่า


----------------------------------------------------------------------------------


ปุ๋ยอินทรีย์มีธาตุอาหารสูง
https://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=7048&view=previous


ต่อยอดปุ๋ยน้ำชีวภาพ สูตรซุปเปอร์
https://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=6961&view=previous





แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 31/12/2023 11:21 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 26/12/2023 7:46 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
แหล่งธาตุอาหารพืช

กากน้ำตาล 100 เปอร์เซ็นต์.......ประกอบด้วยธาตุอาหารพืช ดังนี้
น้ำ ........................ 20.65
ซูโครส ................... 36.60
ริคิวซิงซูการ์ ............. 13.00
น้ำตาลหมักเชื้อ ......... 50.10
เถ้าฟอสเฟต ............. 15.00
ยางและแป้ง ............. 3.43
ขี้ผึ้งหรือไข .............. 0.38
ไนโตรเจน ............... 0.95
ซิลิก้า .................... 0.46
ฟอสเฟต ................. 0.12
โปแตสเซียม ............. 4.19
และแคลเซียม ............ 1.12

ปุ๋ยอินทรีย์
รายการ..............ไนโตรเจน..............ฟอสฟอรัส.................โปแตสเซียม
ปุ๋ยปลา............... 8.45 .................... 0 ....................... 4.73
ปุ๋ยอินทรีย์........... 1.42 .................. 2.05 .................... 0.42
ปุ๋ยคอก.............. 0.49 ................... 0.54 .................... 0.47
อุจจาระ.............. 3.25 ................... 2.95 .................... 0.40
กากผงชูรส.......... 1.98 ................... 0.41 ..................... 0.65
มูลไก่............... 2.28 ................... 0.49 .................... 0.30
มูลวัว................ 1.73 ................... 0.49 .................... 0.30
มูลสุกร.............. 2.83 ................... 16.25 ................... 0.15

ปริมาณธาตุอาหารพืช (%)
ในปุ๋ยน้ำชีวภาพปลาหมัก

ธาตุอาหารพืช...................ปุ๋ยปลาเชิงการค้า.................ปุ๋ยปลาของ วท.
ไนโตรเจน.......................... 3.35 .......................... 3.28
ฟอสฟอรัส......................... 1.25 ........................... 8.48
โปแตสเซียม....................... 0.03 ........................... 0.15
แคลเซียม.......................... 0.50 ........................... 0.48
แม็กเนเซียม........................ 0.08 ........................... 0.08
เหล็ก............................... 0.02 ........................... 0.35
แมงกานิส.......................... 0.1 ............................. 1.00
ทองแดง........................... น้อยมาก ......................... 0.05

ธาตุอาหารพืชในพืชต่างๆ
รายการ...............ไนโตรเจน............ฟอสฟอรัส...........โปแตสเซียม...........เหล็ก
มะเขือเทศดิบ........... 1.3 ................. 27 .................. 244 ................ 3
กะหล่ำดอก............. 25 .................. 56 .................. 295 ................ 1.1
คะน้า................... 249 ................ 93 .................. 378 ................ 2.7

กระเทียมต้น............ 52 .................. 50 ................... 347 ................ 1.1
บล็อกโคลี่.............. 103 ................ 78 ................... 382 ................. 1.1
ผักกาดขาว.............. 43 ................. 40 ................... 253 ................. 0.6

ผักกะเฉด............... 387 ................ 7 .................... ? ................... 5.3
ป๊วยเหล็ง............... 93 .................. 51 ................... 470 ................. 3.1
ปอ................... 2,500 ................. ? ..................... ? ................... 4.0

พริกสดแก่............. 16 ................... 49 ................... 564 ................. 1.4
ผลฟักเขียว............ 30 ................... 20 ................... ? .................... ?
ใบแก่ฟักทอง......... 392 .................. 112 .................. ? .................... ?

ใบแก่เผือก........... 227 .................... ? .................... ? ................... 10.0
กระเจี๊ยบเขียว........ 92 .................... 51 .................... 249 ................. 0.8
ข้าวโพดหวาน......... 3 ..................... 111 ................... 280 ................ 0.1

แตงกวา.............. 25 .................... 27 ..................... 160 ................ 1.1
แตงโม............... 7 ...................... 10 ..................... 100 ................ 0.5
แคนตาลูป .......... 14 ..................... 16 ..................... 251 ................ 0.4

ถั่วแขกสด........... 56 ..................... 44 ..................... 132 ................ 0.8
ถั่วแขกแห้ง.......... 144 ................... 425 ................... 1,196 .............. 7.8
ถั่วลันเตาสด.......... 62 .................... 90 ..................... 170 ................ 0.7

ถั่วผีแห้ง............. 64 ..................... 340 ................... 1,005 .............. 5.1

ธาตุอาหารพืชในธรรมชาติ
ไนโตรเจน
ในพืช :

- ส่วนสีเขียวเข้มแก่จัดของพืชทุกชนิด. ต้นถั่วทุกชนิด. ใบพืชตระกูลถั่ว (ก้ามปู. พุทรา. มะขามเทศ. มัยราบ. ทองหลาง. กระถินทุกชนิด. โสนทุกชนิด). สาหร่ายน้ำจืดทุกชนิด. แหนแดง. สาหร่ายเขียวแกมน้ำเงิน.

ในสัตว์ :
- เมือก-คาว-เลือด-เนื้อ สดๆ จากปลายังมีชีวิต. ปัสสาวะ (คน/สัตว์) สดใหม่.

ในน้ำ :
- น้ำฝน. น้ำค้าง. น้ำในแหล่งธรรมชาติ.

ฟอสฟอรัส
ในพืช :

- รากสดแก่จัด. เมล็ดในสดแก่จัด. ใบแก่ชะอม-ขจร-ถั่วพู-กระถิน-มะระ-บัวบก-ผักบุ้งจีน-สะระแหน่-หน่อไม้ฝรั่ง. งาดำ. ถั่วดำ. ถั่วลิสง. ถั่วเหลือง. เมล็ดบัว. ลูกเดือย. ดอกตูมและเกสร. สาหร่ายทะเล

- เนื้อผลไม้รสหวานสนิทแก่จัดสุกงอมจนออกกลิ่นฉุน เช่น กล้วย. เงาะ. มะละกอ. ทุเรียน.ละมุด. ฝรั่ง. น้อยหน่า. แก้วมังกร. มะปรางหวาน. มะยงชิด. ลองกอง. ลางสาด. มะขามหวาน. แตงโม. แคนตาลูป.

ในสัตว์ :
- เกร็ด-ก้าง-กระดูกปลาทะเล สด/แห้ง-เก่า/ใหม่. มูล-น้ำปัสสาวะ (คน/สัตว์) สดใหม่.

ในอาหารคน :
- มัสตาส. นมผงขาดมันเนย. เนยแข็ง. ลูกชิ้นกุ้ง. กะปิเคย

ในธรรมชาติ :
หินที่ละลายน้ำ (ร็อคฟอสเฟต), หินแร่


โปแตสเซียม
ในพืช :

- เปลือกและเนื้อของผลไม้รสหวานสนิทแก่จัดสุกงอมจนออกกลิ่นฉุนเหมือนฟอสฟอรัส
- ผลดิบแก่จัด เช่น ฟักทอง. แตงทุกชนิด. กระเจี๊ยบ. พริกสด. มะเขือพวง.
- ผักสด เช่น บล็อกโคลี่. ผักกาดขาว. ผักกาดหอม. ป๊วยเหล็ง.
- เปลือกแห้ง/สด/ใหม่ของผลไม้รสหวาน เช่น ทุเรียน. กล้วย. มะละกอ (ยกเว้น มังคุดและเงาะ)

ในสัตว์ :
- เนื้อสดสัตว์น้ำจืด/ทะเล. เครื่องในสัตว์บก/ทะเล. น้ำปัสสาวะ (คน/สัตว์) สดใหม่.

แคลเซียม
ในพืช :

- ผักผลสดแก่จัด เช่น ถั่วลันเตา. กระเจี๊ยบ. แตงดิบทุกชนิด. มะขามเทศมัน. กระถิน. มะระ.มะเขือเทศดิบ. บวบเหลี่ยม. งาดำ

- ผักใบสดแก่จัด เช่น คะน้า. โขม. กะเฉด. บล็อกโคลี่. ยอดปอ. ใบแก่ฟักทอง
- ผลดิบสดแก่จัดรสฝาดยังไม่สุก เช่น ฝรั่ง. อะโวคาโด. ผล/เมล็ดแตงแก่สดทุกชนิด. เมล็ดถั่วเขียว. มะขามเทศฝาด. มะขามป้อม. ขุยมะพร้าว.

ในสัตว์ :
- เกร็ด-ก้าง-กระดูกของปลาสดมีชีวิต. เปลือกไข่. เปลือกหอยสด/แห้ง/เก่า/ใหม่. นมสดสัตว์รีดใหม่. กุ้งฝอยสด/แห้ง. หอยจูน. หอยทราย. น้ำปัสสาวะ (คน/สัตว์) สดใหม่.

ในอาหารคน :
- นมพร่องมันเนย. เนยแข็ง. ผงกะหรี่. ไข่สด

ในธรรมชาติ :
- ยิบซั่มธรรมชาติ. ปูนหินเผา. ปูนเปลือกหอมเผา. ปูนมาร์ล. โดโลไมท์.

แม็กเนเซียม
ในพืช :

- เปลือก-ใบ-ตา-ต้นสีเขียวเข้มแก่จัด. เมล็ดในสดแก่จัด. เนื้อ/เปลือกผลไม้สดแก่จัดสุกงอมรสหวานอมเปรี้ยว เช่น สับปะรด. สตรอเบอรี่. มะเฟือง. ระกำ. สละ. เชอรี่. มะเขือเทศดิบ

ในสัตว์ :
- เกร็ด-ก้าง-กระดูกสัตว์สด/แห้ง-ใหม่/เก่า. ปลาทะเล.

ในธรรมชาติ :
- ปูนมาร์ล. โดโลไมท์.

กำมะถัน
ในพืช :

- พืชสด/แห้งแก่จัดที่มีกลิ่นฉุน เช่น หอมแดง. หอมหัวใหญ่. กระเทียม. ขึ้นฉ่าย. ผักชี. สะตอ. พริกสด/แห้ง

ในสัตว์ :
- เมือก-เลือด-เนื้อสดใหม่จากปลาทะเลมีชีวิต

ในอาหารคน :
- ไข่สด

ในธรรมชาติ :
- ยางติดเปลือกมังคุด. กำมะถันผง

เหล็ก
ในพืช :

- ตาที่กำลังอั้นเต็มที่. ยอดอ่อน. เนื้อ/ใบสดแก่จัดของฟักทอง-ฟักเขียว-เผือก-กะเฉด-ผลพริกสด-ยอดปอ. มะเขือพวง. เมล็ดถั่วแขกแห้ง. เมล็ดบัว. เมล็ดกระถิน. ถั่วลิสง. ลูกเดือย. ยอดขี้เหล็ก. ผักดูด. เห็ดหูหนู. มัสตาด. จมูกข้าว.

ในสัตว์ :
- เมือก-เลือด-เครื่องในสดจากปลาทะเลมีชีวิต. เลือดวัว/ควาย/ไก่/แพะ. นมสดสัตว์รีดใหม่.

ในอาหารคน :
- มัสตาด. นมกล่องจืด/เปรี้ยว. ไข่สด.

ทองแดง
ในพืช :

- ส่วนสีเขียวสดแก่จัด. เมล็ดในสดแก่จัด. พืชตระกูลถั่ว.

ในสัตว์ :
- เครื่องในสดจากปลาทะเลมีชีวิต

สังกะสี
ในพืช :

- หัวสดแก่จัดเป็นเสี้ยนจนกินไม่ได้ เช่น ไชเท้า. แครอท. มันเทศ. มันแกว
- เหง้าหรือไหลสดแก่จัด เช่น ผักปอด. พุทธรักษา. กล้วย. เตย. ตำลึง.
- เมล็ดสดแก่จัด เช่น ฟักทอง. บวบ. แตง. ถั่วเขียว.

ในสัตว์ :
- หอยทะเล. ปลาทะเล.

แมงกานิส
ในพืช :

- มะเขือเทศสุก. ผลตำลึงสุก. ผลวัชพืชสุก. เมล็ดอ่อน. ส่วนที่เป็นน้ำหรือเยื่อเจริญของพืช.

ในสัตว์ :
- เครื่องในสดปลาทะเล.

โมลิบดินั่ม
ในพืช :

- เยื่อเจริญ

โบรอน
ในพืช :

- ผลอ่อน-ยอดอ่อน-ใบอ่อน-รากอ่อน ลักษณะกรอบ เปราะ เด็ดได้ด้วยมือ เช่น ผล/ยอดแตง-กะเฉด-ตำลึง-ผักบุ้ง-ยอดอ่อนของพืชเลื้อยทุกชนิด-เปลือกสดเขียวส่วนปลายกิ่งที่กำลังมีผลอ่อน. ทะลายปล์ม.

ในสารสังเคราะห์ :
- น้ำประสานทอง. โบรอนพืช (เกรด 10 โมเลกุลน้ำ).

ซิลิก้า
ในพืช :

- แกลบดิบ. หญ้าคา. หญ้าขน. พืชตระกูลหญ้า. กากน้ำตาล.

ในธรรมชาติ :
- หินภูเขาไฟ

โซเดียม
ในสัตว์ :

- เครื่องในสดใหม่ปลาทะเลมีชีวิต. มูลควาย. น้ำปัสสาวะ (คน/สัตว์) สดใหม่.

ในธรรมชาติ :
- เกลือสมุทร. คาร์บอน

ในสารธรรมชาติ :
- แกลบดำ. ถ่าน. ขี้เถ้า. ควันไฟ.

จิ๊บเบอเรลลิน
ในพืช :

- เมล็ดเริ่มงอก. น้ำมะพร้าวอ่อน. ผลอ่อนของผลไม้ที่มีลักษณะยาว. ยอดอ่อนพืชเด็ดได้ด้วยมือ. เถาบอระเพ็ดสดแก่จัดช่วงความสูง 1 ม.แรกจากพื้น. เปลือกสดปลายกิ่งส่วนที่เป็นสีเขียวขณะมีผลแก่. รากถั่วงอก.

ในสัตว์ :
- น้ำล้างเขียงทำปลา.

ไซโตคินนิน
ในพืช :

- หัวไชเท้า. ผักปรัง. ข้าวโพดหวาน. ข้าวระยะน้ำนม. โสมไทย. หน่อไม้ฝรั่ง.
หน่อไม้ไผ่ตง. น้ำมะพร้าวแก่. แป้งในพืชหัวระยะกำลังเจริญเติบโต. สาหร่ายทะเล.

ในสัตว์ :
- สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น กุ้ง. เคย. ปู. หนอน. แมลง. กิ้งกือ. ไส้เดือน.
กระดองเต่า/ตะพาบ. ปลิงทะเล/น้ำจืด. ลิ้นทะเล. สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง. รกสัตว์. ไข่อ่อน. ไข่ขาว. น้ำหอยเผา.

อะมิโน
ในพืช :

- น้ำเต้าหู้พร้อมดื่ม.

ในสัตว์ :
- ปลาทะเล. เยื่อหุ้มเมล็ดเลือด.

ในอาหารคน :
- ซุปไก่สกัด. น้ำก้นหม้อนึ่งปลา. น้ำเนื้อตุ๋น. ผงชูรส.

โอเมก้า-3
ในสัตว์ :

- เครื่องในสัตว์ทะเลสดมีชีวิต. หนอน. เนื้อปลาทะเลสด.

ในอาหารคน :
- ไข่สด. นมสด.

เอ็นเอเอ.
ในพืช :

- หัวกวาวเครือขาวสดแก่จัด

พาโคลบิวทาโซล
ในพืช :

- เหง้าตำลึงสดแก่จัดเป็นเสี้ยน ใบข่อยสดแก่จัด ผักปรังต้นแก่จัด ผักเสี้ยนต้นแก่จัด. หัวสดแก่จัดจนเนื้อเป็นเสี้ยนกินไม่ได้ เช่น หัวไชเท้า. มันเทศ. มันแกว.

วิตามิน บี.
ในพืช :

- เมล็ดทานตะวัน. น้ำมันพืช.

ในอาหารคน :
- ไข่สด

ในสัตว์ :
- หนังปลาสดใหม่

วิตามิน อี.
ในสัตว์ :

- ไข่แดง. หนังปลา.

ในพืช :
- แตงกวา

โปรตีน.
ในพืช :

- ถั่วเหลือง, ใบสำปะหลังแห้ง (18%), ใบสำปะหลังสด (6%), เปลือกเมล็ดถั่วเขียว.

ในสัตว์ :
- เนื้อสัตว์สดใหม่.

ในอาหารคน :
- เนื้อสัตว์ทุกชนิด (ในปลามากที่สุด). นม. ไข่ขาว. น้ำเต้าหู้. น้ำต้มตุ๋น.

เอสโตรเจน.
ในพืช :

น้ำมะพร้าวแก่.

ในสัตว์ :
- น้ำเชื้อ. ปลาทะเล.

ในอาหารคน :
- ยาเม็ดคุมกำเนิดแถวบำรุง. ไวอากร้า. เอสไพริน.

แอมโมเนีย
ในสัตว์ :

- น้ำปัสสาวะ (คน/สัตว์) สดใหม่.

แซนโทฟิน
ในพืช :

- ดอกดาวเรือง, ใบสำปะหลังแห้ง,

ฟาโวนอยด์
ในสัตว์ :

- ปลาทะเล

ในพืช :
- เปลือกส้มประเภทเปลือกล่อน
- เมล็องุ่น
- มะรุม
- มะเขือพวง

กลูโตซามิน
ในอาหารคน :

กลูโคสน้ำ

หมายเหตุ :
- ธาตุอาหารพืชต่างๆที่ได้จากพืชและสัตว์เป็น "ธาตุอาหารอินทรีย์" แท้ๆ เป็นธาตุโมเลกุลเดี่ยวที่พืชสามารถนำไปใช้ได้ทันทีโดยไม่จำเป็นต้องผ่านกระบวนการเอ็นไซม์จากจุลินทรนีย์ก่อน

- จุดด้อยของธาตุอาหารอินทรีย์ คือ
1) ไม่เสถียรหรือคงทน อายุการเก็บไม่นาน
2) ไม่ทนทานต่อแสงสว่าง หรือแสงแดด หรือรังสีอุลตร้าไวโอเลต
3) ปริมาณหรือเปอร์เซ็นต์ไม่สูงและไม่แน่นอน

- เกษตรกรสหรัฐอเมริการู้จักการทำและใช้ปุ๋ยน้ำชีวภาพมานานกว่า 50 ปีแล้ว โดยปุ๋ยน้ำชีวภาพที่ใช้ทำจากวัสดุส่วนผสมแบบเลือกสรรพิเศษพบว่ามีธาตุอาหารพืชกลุ่ม “อะมิโน โปรตีน” เป็นหลัก และวันนี้ เกษตรกรเกาหลี ญี่ปุ่น อินเดีย ก็ได้มีการใช้กันอย่างกว้างขวางและจริงจัง

- ผู้ค้นพบปุ๋ยหมักครั้งแรก คือ นักวิชาการเกษตรอินเดียได้เข้ามาเผยแพร่ในประเทศไทยเมื่อประมาณ 60 ปีที่แล้ว ถึงวันนี้ก็ยังได้รับความนิยม และความเชื่อถือจากเกษตรไทยน้อยมาก

- ปัจจุบันเกษตรกรเยอรมันที่มีเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์การเกษตรสูงมาก ได้ปรับเปลี่ยนแนวทางทำการเกษตรแบบเคมีวิทยาศาสตร์ล้วนๆ มาสู่รูปแบบ “อินทรีย์ชีวภาพนำ-เคมีวิทยาศาสตร์เสริม” อย่างกว้างขวาง โดยมีหลักวิชาการเข้ามาประกอบการใช้ ส่งผลให้ผลผลิตเพิ่ม ต้นทุนลด อนาคตการทำอาชีพเกษตรกรรมดีขึ้น

แนวความคิดในการทำธาตุอาหารพืช
1. รู้......พืชต้องการธาตุอาหารตัวใด ?
2. รู้......ธาตุอาหารที่พืชต้องการนั้นมีอยู่ในวัสดุใด ?
3. รู้......วิธีแปรสภาพวัสดุนั้นให้เป็นธาตุอาหารสำหรับพืชได้อย่างไร ?
4. รู้......วัสดุที่แปรสภาพแล้วนั้นได้ธาตุอาหารพืชตัวใด ?
5. รู้......วิธีให้ธาตุอาหารที่แปรรูปแล้วแก่พืชอย่างไร ?
6. รู้......ประสิทธิภาพของธาตุอาหารที่ได้มีประโยชน์ต่อพืชอย่างไร ?
7. รู้......คุณลักษณะทางเคมีของธาตุอาหารพืชแต่ละตัวที่ได้เป็นอย่างไร ?
8. รู้......ปริมาณธาตุอาหารแต่ละตัวว่ามีจำนวนเท่าใด ?

ในธรรมชาติไม่มีตัวเลขหรือสูตรสำเร็จ การปฏิบัติบำรุงต่อพืชด้วยวิธีการเดียวกันแต่ได้ผลต่างกันเพราะปัจจัยพื้นฐานที่เกี่ยวกับพืชแต่ละต้นไม่เหมือนกันนั่นเอง สูตรปุ๋ยน้ำชีวภาพจากสำนักใดถือว่าเป็น “สูตรของสำนัก” นั้น ครั้นเมื่อผู้ที่ได้รับสูตรแล้วมาทำใช้เองด้วยมือตัวเอง ย่อมถือว่าเป็น “สูตรของผู้ทำ” ดังนั้น ก่อนใช้งานจริง ผู้ทำจะต้องทดสอบสูตรที่ตัวเองทำก่อนเสมอ...

อาหารที่มีแมกนีเซี่ยมมาก
อาหาร .............................. ปริมาณ........แมกนีเซียม (ม.ก.)
แป้งถั่วเหลืองสด .................. 1/2 ถ้วย ......... 180
เต้าหู้สด ........................... 1/2 ถ้วย .......... 127
อับม่อนด์แห้ง ...................... 1/4 ถ้วย .......... 105
Black-eyed peas แห้ง ......... 1/4 ถ้วย .......... 98
ถั่วเหลืองคั่ว ........................ 1/4 ถ้วย .......... 98
วีทเจอมอบ ......................... 1/4 ถ้วย .......... 91
มะม่วงหิมพานต์อบ ................. 1/4 ถ้วย .......... 89
ผักพวยเล้งสุก ...................... 1/2 ถ้วย .......... 79
ถั่วเหลืองต้ม ........................ 1/2 ถ้วย .......... 74
แป้งสาลีไม่ขัดขาว (โฮลวีท) ...... 1/2 ถ้วย ........... 68
ถั่วลิสงทุกชนิด (คั่ว) ............... 1/4 ถ้วย ........... 64
ข้าวโอ๊ต ............................ 1 ถ้วย ............... 56
มันฝรั่งขนาดกลาง (ปิ้ง)............ 1 หัว ................ 55
กล้วย ............................... 1 ใบ ................. 35
ปลาแซลม่อนกระป๋อง ............. 1/2 ออนซ์ ........... 33
ข้างกล้อง (สุก) ................... 1 ถ้วย ................ 28
นมไม่มีไขมัน ...................... 1/2 ถ้วย ............. 28

guru.google.co.th ›

https://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=1749&page=1






.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 07/01/2024 8:24 am, แก้ไขทั้งหมด 3 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 27/12/2023 8:10 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
..

จาก : 08 471x 398x
ข้อความ : ผักอินทรีย์ ไม่ปุ๋ยเคมี ไม่สารเคมี สูตรผู้พันครับผม

MOTIVATION แรงบันดาลใจ :

รายงานภาคเกษตรอินทรีย์โลกประจำปี 2563 :
ด้วย สื่อออนไลน์ IHS Markit ซึ่งเป็นสื่อชั้นนำของสหภาพยุโรปได้เผยแพร่รายงานสรุปสถานการณ์ภาคเกษตรอินทรีย์โลกประจำปี 2563 เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2565 โดยรายงานดังกล่าวจัดทำโดยสถาบันวิจัยด้านเกษตรอินทรีย์ (Research Institute on Organics Agriculture : FiBL) สรุปสาระสำคัญ ดังนี้

- ในปี 2563 ภาคเกษตรอินทรีย์มีอัตราการเติบโตสูงสุดเป็นประวัติการณ์ แต่ยังไม่สามารถเติบโตได้ตามเป้าหมายของยุทธศาสตร์ Farm to Fork (F2F) คือการเพิ่มการทำเกษตรอินทรีย์ให้ครอบคลุมพื้นที่เพาะปลูกให้ได้ 1 ใน 4 ของพื้นที่การเกษตรทั้งหมดของสหภาพยุโรป ภายในปี 2573

- ตลาดอินทรีย์ของสหภาพยุโรปเติบโตขึ้น 15.1% หรือประมาณมูลค่า 44.8 พันล้านยูโร ซึ่งสหภาพยุโรปเป็นตลาดที่มีความต้องการสินค้าอินทรีย์มากเป็นอันดับสองของโลกรองจากสหรัฐอเมริกา

- ในปี 2564 เยอรมนีมียอดจำหน่ายอาหารอินทรีย์สูงที่สุดในสหภาพยุโรปโดยเติบโตขึ้น 6% คิดเป็นมูลค่า 15 พันล้านยูโร รองลงมาคือฝรั่งเศส 12.7 พันล้านยูโร และอิตาลี 3.9 พันล้านยูโร ทั้งนี้ พื้นที่เกษตรอินทรีย์ในสหภาพยุโรปยังคงมีการขยายเพิ่มขึ้นเป็น 14.9 ล้านเฮกตาร์ แม้ว่าอัตราการเพิ่มมีแนวโน้มลดลงกว่าในปี 2563 และ 2562 ทั้งนี้ IHS Markit ระบุว่า เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายยุทธศาสตร์ Farm to Fork (F2F) ในการมีพื้นที่เกษตรกรรมอินทรีย์เท่ากับ 25% ของพื้นที่เกษตรกรรมทั้งหมดในสหภาพยุโรปให้ได้ภายในปี 2573 นั้น สหภาพยุโรปจะต้องมีอัตราการขยายตัวการทำเกษตรอินทรีย์ไม่น้อยกว่า 10% ต่อปี

- เมื่อเดือนมีนาคม 2564 คณะกรรมาธิการยุโรปได้ประกาศการจัดทำแผนปฏิบัติการอินทรีย์ของสหภาพยุโรป ซึ่งประกอบด้วย 23 มาตรการ เพื่อส่งเสริมภาคอาหารอินทรีย์ อย่างไรก็ตาม ผู้กำหนดนโยบายบางกลุ่มในสหภาพยุโรปยังคงตั้งข้อสังเกตว่าแผนดังกล่าวอาจไม่สามารถส่งเสริมการบริโภคอาหารอินทรีย์ได้เพียงพอ และอาจทำให้เกษตรกรสูญเสียรายได้

- ปัจจุบันไทยสามารถส่งออกผลิตภัณฑ์อินทรีย์มายังสหภาพยุโรปได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าพืช ผัก ผลไม้สดและแปรรูปอินทรีย์ ถือเป็นสินค้าที่มีโอกาสในตลาดสหภาพยุโรป ซึ่งต้องได้รับการรับรองจากหน่วยงานตรวจสอบรับรองเกษตรอินทรีย์ (Control Body) ที่ได้รับการรับรองให้ดำเนินการตรวจสอบรับรองในไทยจากสหภาพยุโรป อาทิ สำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (มกท.) ของไทย Ecocert ของฝรั่งเศส และ CCPB ของอิตาลี และล่าสุดมีหน่วยงานตรวจรับรองภาคเอกชน (Control Body) 3 ราย ที่ได้รับการอนุญาตให้ตรวจสอบรับรองสินค้าเกษตรอินทรีย์จากไทย ได้แก่ (1) Bio.inspecta AG (2) NASAA Certified Organic Pty Ltd และ (3) SRS Certification G


ผักอินทรีย์ PURE-PURE :
หลักการและเหตุผล :
ปุ๋ย-ธาตุอาหาร-สารอาหาร ทั้ง 3 คำนี้คือ สิ่งเดียวกัน หมายถึงสิ่งที่พืชใช้เพื่อการดำรงชีวิต ประกอบด้วย ธาตุหลัก-ธาตุรอง-ธาตุเสริม-ฮอร์โมน และอื่นๆ....แบ่งประเภทหรือชนิดได้เป็น 2 คือ อินทรีย์ (ธรรมชาติ) กับ สังเคราะห์ (เคมี)

การจะ "รับ" หรือ "ปฏิเสธ" อย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียวระหว่าง อินทรีย์ กับ เคมี นั้นสามารถทำได้ แต่เมื่อต้องการให้พืชมีพัฒนาการที่ดีจึงจำเป็นต้องให้และต้องให้ในปริมาณที่พอเพียงด้วย

กรณีที่เราต้องการปฏิเสธ "ปุ๋ยเคมี" อย่างเด็ดขาด ก็ต้องใช้ "ปุ๋ยอินทรีย์" แทน และการแทนก็จะต้องแทนอย่างเหมาะสม ถูกต้อง ตรงตามความต้องการของพืช อย่างแท้จริง มิเช่นนั้น พืชหรือผักที่ปลูกก็จะไม่เจริญเติบโต แคระแกร็น ไม่มีคุณภาพ ไม่เป็นที่ต้องการของตลาดหรือขายไม่ออกเลย ถึงขนาดบางครั้งเจ้าของหรือคนปลูกยังไม่อยากกินด้วยซ้ำ

ทำเล :
ห่างไกลแหล่งมลภาวะ เช่น โรงงานอุตสาหกรรม, โรงไฟฟ้า, คอกปศุสัตว์ที่ใช้สารสังเคราะห์ (ฮอร์โมน-ยา-ฯลฯ), แปลงเพาะปลูกพืชด้วยระบบเคมี, แปลงปลูกพืชตัดแต่งพันธุกรรม (จีเอ็มโอ).

น้ำ :
เป็นน้ำธรรมชาติที่ปราศจาการเจือปนสารพิษ เช่น น้ำเสียจากครัวเรือน. น้ำจากเหมืองแร่, น้ำจากคอกปศุสัตว์ที่ใช้สารสังเคราะห์, น้ำที่ไหลผ่านมาจากแปลงเกษตรระบบเคมี, น้ำที่ไหลผ่านมาจากกองขยะ,

ปุ๋ยอินทรีย์ :
ปุ๋ยคอก : ใช้มูลสัตว์ประเภทเลี้ยงปล่อยหากินอิสระ ไม่มีโรคระบาด ไม่กินฮอร์โมนสังเคราะห์ ตากแห้งเก็บนานข้ามปี ใช้มูลสัตว์กินพืช (เพื่อให้ได้ธาตุไนโตรเจน) และมูลสัตว์ปีก (เพื่อให้ได้ธาตุฟอสฟอรัสและโปแตสเซียม) ที่พักสัตว์ต้องไม่มีการใช้โซดาไฟฆ่าเชื้อโรคหรือดับกลิ่น

ปุ๋ยพืชสด : เลือกใช้พืชตระกูลถั่วเพื่อให้ได้ธาตุไนโตรเจนมากๆ เป็นพืชที่ไม่ผ่านการบำรุงด้วยปุ๋ยเคมี ฮอร์โมนสังเคราะห์ และไม่ผ่านการให้สารเคมีฆ่าแมลง แห้งหมักนานข้ามปี เพื่อให้ได้ธาตุอาหารหลากหลายควรใช้ทุกส่วนของพืชต่างๆ เช่น หัว ราก ต้น ใบ ดอก ผลดิบ ผลสุก

หมายเหตุ :
เทคนิคการทำปุ๋ยอินทรีย์เพื่อให้ได้ ชนิดและปริมาณ ธาตุอาหารมากๆ ควรใช้วัสดุส่วนผสม หลายๆประเภท หลายๆอย่าง หลายๆชนิด เช่น

ปุ๋ยคอก : มูลวัว/ควาย/หมู/แพะ. มูลไก่/นกกระทา/เป็ด/ค้างคาว.
เศษซากพืช : ฟาง. ต้นถั่ว. เปลือกถั่ว. ขุยมะพร้าว. แกลบดิบ/ดำ. รำหยาบ/ละเอียด.
อื่นๆ : น้ำมะพร้าว. นมสด. น้ำซาวข้าว. น้ำผักดอง. น้ำล้างชาม. น้ำล้างเขียงทำปลาสด. สาโท. เศษอาหารจากครัวเรือน. มูลวัว/หมู สดใหม่ขณะตั้งท้อง. ขี้เพี้ยในลำไส้เล็กวัว/ควาย.

จุลินทรีย์ :
จุลินทรีย์เพื่อการเกษตรที่ดีที่สุด คือ จุลินทรีย์ประจำถิ่น (ฟูกูโอกะ) เทคนิคการทำกองปุ๋ยอินทรีย์ ณ ใจกลางแปลงเกษตร เพื่อเปิดโอกาสให้จุลินทรีย์ภายในแปลงบริเวณรอบข้างหรือใกล้เคียงกองปุ๋ยอินทรีย์ เข้าไปอยู่ในกองปุ๋ยอินทรีย์แล้วเจริญพัฒนาอยู่ในกองปุ๋ยอินทรีย์นั้น เมื่อนำปุ๋ยอินทรีย์ใส่กองนี้ไปใช้ในแปลง จึงเท่ากับส่งจุลินทรีย์ในกองให้กลับไปอยู่ยังที่เดิม ข้อดีก็คือ จุลินทรีย์กลุ่มนี้ไม่ต้องปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่อยู่ใหม่ เมื่อลงไปอยู่ในดินแล้วสามารถเจริญพัฒนาต่อได้เลยนั่นเอง

เทคนิคการบำรุงจุลินทรีย์ประจำถิ่น.... ใช้กากน้ำตาลต้มร้อน 70 องศาเซลเซียส นาน 1 ชม. เพื่อขจัดสารปนเปื้อนจากกระบวนการทำน้ำตาลทรายซึ่งติดมากับกาดน้ำตาลนั้น ต้มแล้วปล่อยให้เย็น.... ใช้งาน : กากน้ำตาลต้มแล้ว 40 ซีซี./น้ำ 20 ล. ฉีดพ่นลงดินในแปลง กากน้ำตาลตัวนี้จะไปเป็นอาหารแหล่งพลังงานแก่จุลินทรีย์ดั้งเดิมที่แฝงตัวอยู่ในเนื้อดินให้เจริญพัฒนาขึ้นเองตามธรรมชาติ

จุลินทรีย์ภายนอก หมายถึงจุลินทรีย์ที่มีจำหน่ายตามท้องตลาด หรือจุลินทรีย์ของ พด. ที่เกษตรกรนำมาใช้ ได้แก่ จุลินทรีย์ในกองปุ๋ยหมักอินทรีย์. จุลินทรีย์ในถังหมักน้ำหมักชีวภาพ. การใช้จุลินทรีย์ประเภทนี้ต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง เพราะอาจมีจุลินทรีย์ชนิดเชื้อโรคแฝงเข้าไปอยู่ในกองหรือในถังได้

การนำจุลินทรีย์ต่างถิ่นมาใช้ แม้จะเป็นจุลินทรีย์ดีมีประโยชน์ เมื่อจุลินทรีย์พวกนี้ลงไปอยู่ในแปลงซึ่งเป็นแหล่งที่อยู่ใหม่แล้ว จำเป็นต้องปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ แต่เนื่องจากจุลินทรีย์เป็นสัตว์เซลล์เดียว มีความแข็งแรงน้อยมาก อาจปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมของแหล่งที่อยู่ใหม่ไม่ได้หรือไม่ทัน จุลินทรีย์พวกนี้ก็ต้องตาย

พันธุ์ :
ไม่ใช่พืชตัดแต่งพันธุกรรม (จีเอ็มโอ), ควรเน้นพืชพื้นเมืองมากว่าพันธุ์ลูกผสม,

น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง :
ส่วนผสม : กุ้งหอยปูปลาทะเล. กากน้ำตาล(ต้ม).น้ำมะพร้าว. สับปะรด. เลือด. นม. ไข่. ไขกระดูก. ขี้ค้างคาว.

เตรียมดิน :
(1) ไถดิน ขี้ไถขนาดใหญ่ ตากแดดจัด 15 แดด ถ้าฝนตกให้ไถใหม่เริ่มนับ 1 ตากแดดใหม่
(2) ใส่อินทรีย์วัตถุ "ปุ๋ยอินทรีย์ ขี้วัวขี้ไก่. แกลบเก่า. รำละเอียด." ผสมเข้ากันแล้วหว่านทั่วแปลง
(3) ไถพรวน ปรับสันแปลงให้เป็นหลังเต่า
(4) คลุมหน้าแปลงด้วยฟางหรือหญ้าแห้งหนาๆ
(5) รดด้วย "น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง" รอบที่ 1 ทิ้งไว้ 7-10 วัน
(6) รดด้วยน้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง รอบที่ 2 ก่อนลงกล้า 1-2 วัน
(7) โครงสร้างดินชื้นสม่ำเสมอแต่ต้องไม่อุ้มน้ำ

หมายเหตุ :
- ระยะเวลาให้น้ำหมักระเบิดเถิดเทิงจากรอบที่ 1 ถึงรอบที่ 2 เป็นการบ่มดิน เพื่อให้เวลาแก่จุลินทรีย์เข้าทำการย่อยสลายอินทรีย์วัตถุและปรับสภาพดิน

- น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิงหมักนานข้าม 1-2-3 ปี ส่วนผสมทุกอย่างเป็น "อินทรีย์" แท้ๆ
- ปุ๋ยอินทรีย์แห้งหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง (ส่วนผสมของน้ำหมักระเบิดเถิดเทิง + อินทรีย์วัตถุ) หมักนานข้ามปี ดีที่สุด

- น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิงสูตรดังกล่าวข้างต้นมีสารอารแต่ละตัวระดับกลางๆ ซึ่งเหมาะสำหรับปรับปรุงบำรุงดินโดยเฉพาะ แต่หากต้องการใช้กับผักกินใบก็ต้องปรับสูตร โดยเพิ่มเลือด. นม. มากขึ้นจากปกติ 25-50% และหากต้องการใช้กับผักกินผลก็ต้องปรับสูตร โดยเพิ่มขี้ค้างคาว. ไข่. 25-50% เช่นกัน

เตรียมเมล็ดพันธุ์ :
- แช่เมล็ดในน้ำหมักชีวภาพระบิดเถิดเทิง 3-6 ชม.
- แช่ครบกำหนดเวลาแล้วนำขึ้นผึ่งลมให้แห้ง เมื่อแห้งแล้วนำไปหว่านในแปลงเพาะกล้าได้เลย

ฮอร์โมน :
- ฮอร์โมนธรรมชาติ ได้แก่ น้ำมะพร้าวแก่+อ่อน, น้ำคั้นไชเท้า+น้ำคั้นเมล็ดเริ่มงอก, น้ำคั้นผักที่ปลูกให้แก่ผักที่ปลูก, น้ำคั้นเมล็ดอ่อนข้าวโพดหวาน, น้ำคั้นข้าวน้ำนม. นมเหลืองแม่วัว,

- ฮอร์โมนธรรมชาติอื่นๆ ได้แก่ น้ำเต้าหู้. น้ำมูลวัว/หมูตั้งท้องสดใหม่. น้ำล้างเขียงทำปลา. เลือดสด. น้ำนึ่งปลาทะเล. น้ำหอยเผา. น้ำคั้นผล/เมล็ดอ่อน.

ฮอร์โมนพืชสด :
วิธีทำและวิธีใช้ :
(1) เลือกผักกินใบ ต้นสมบูรณ์แข็งแรง ไม่มีโรคแมลง ใช้ทั้งต้น เก็บตอน ตี.5
(2) เก็บมาแล้วไม่ต้องล้างน้ำ เพียงสลัดเศษดินออก
(3) นำเข้าเครื่องปั่นแบบแยกกากแยกน้ำ (จุ๊ยเซอร์)ทันที ใช้ส่วนที่เป็นน้ำ
(4) การเก็บและการปั่นในเครื่องปั่นควรทำในที่มืด
(5) น้ำค้นที่ได้เก็บในภาชนะทึบแสง
(6) นำเก็บในตู้เย็น
(7) อัตราใช้ : น้ำคั้นผักสด 100-200 ซีซี./น้ำ 20 ล.ให้ตอนมืดหรือไม่มีแสงแดดเท่านั้น

เหตุผล : เพราะฮอร์โมนธรรมชาติไม่สู้แสง ยูวี. (แสงอาทิตย์)
การบำรุง
- ให้ "น้ำ 100 ล.+ น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 50 ซีซี." ทุกวัน ช่วงหลังค่ำ
- ให้ "ฮอร์โมนธรรมชาติ" ที่เหมาะสมกับผักที่ปลูก 2-3 อย่างแบบสลับกัน ทุกวันเว้นวัน ช่วงหลังค่ำ
- ให้ "น้ำ 100 ล.+ เลือดไก่สดใหม่ 100-200 ซีซี." 2-3 ครั้ง ตลอดอายุผัก (ตั้งแต่ยืนต้นได้ถึงเก็บเกี่ยว) จะช่วยให้ได้น้ำหนักเพิ่มขึ้น 20-25% (อ.สุวรี จันทร์กระจ่าง / สถาบัน เอไอที)

- ให้ "น้ำ 100 ล.+ น้ำเมือกไส้เดือน (ไส้เดือนเป็นๆ แช่น้ำ 1 คืน)10 ล." จะช่วยให้ผักกินใบเขียวสดดี

- ให้ "น้ำ 100 ล.+ น้ำเมือกปลา (ปลาเป็นแช่น้ำ 1 คืน) 10 ล." จะช่วยให้ผักกินใบแตกยอดใหม่ ใบใหญ่ เขียวเข้มดี (น้ำเมือกปลามี N มากกว่ายูเรียเท่าตัว / ดร.สุรยา ศาสนรักกิจ / วว.)

- ให้ "น้ำ 100 ล.+ น้ำตาลสดจากงวงตาลหรือจั่นมะพร้าวหรือน้ำอ้อยคั้น 100-200 ซีซี." จะช่วยให้ผักกินผล ออกดอกดี


https://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=7119&view=previous

.........................................................................................................

น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง สูตรฟาจีก้า-โอไฮโอ :

น้ำหมักฯ ระเบิดเถิดเทิง ขั้นที่ 2 40 ล.
เลือดหมัก พร้อมใช้ 5 ล.
นมหมัก พร้อมใช้ 5 ล.
ขี้ค้างคาวหมัก พร้อมใช้ 5 ล.
ไขกระดูกหมัก พร้อมใช้ 5 ล.

1. “ฟาจีก้า” .... ต้มร้อนไอกรุ่นๆ 100 องศา 4 ชม. ปล่อยให้เย็น กรองเอากากออก ได้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิงโมเลกุลเดี่ยว พร้อมใช้สำหรับให้ “ทางใบ” อัตราใช้ 20 ซีซี./น้ำ 20 ล.

2. “โอไฮโอ” .... ต้มร้อนไอกรุ่นๆ 100 องศา 4 ชม. ใส่ปุ๋ยเคมีประเภทให้ทางราก ปล่อยให้เย็น ไม่ต้องกรองเอากากออก กากยิ่งมากยิ่งดี ได้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิงโมเลกุลเดี่ยว พร้อมใช้สำหรับให้ “ทางราก” อัตราใช้ 50 ซีซี./น้ำ 20 ล. หรือ 2 ล./ไร่ ราดรดทั่วแปลงทุกตารางนิ้ว

หมายเหตุ :
- ที่มาของชื่อ “ฟาจีก้า” .... “ฟา” หมายถึง ฟาโรห์, .... “จี” หมายถึง จี๋นซีฮ่องเต้, .... “กา” หมายถึง อเมริกา .... ประวัติน้ำหมักชีวภาพเริ่มมีในอียิปต์ (จารึกผนังในปิรามิด) จีนรู้จักน้ำหมักชีวภาพมาตั้งแต่โบราณ และอเมริกามีการใช้มานานแล้ว

- ที่มาของชื่อ “โอไฮโอ” .... เพื่อนทหารอเมริกัน สมัยร่วมรบสงครามเกาหลีบอกว่ามาว่า ที่รัฐโอไฮโอ อเมริกา ทำปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพใช้มาแล้วกว่า 50 ปี (นับ 2540)

.....................................................................................................



.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 31/12/2023 11:53 am, แก้ไขทั้งหมด 3 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 31/12/2023 7:37 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง ซุปเปอร์ :


.

หลักการและเหตุผล :
1. ปุ๋ย หมายถึง สารเหลวที่พืชนำไปใช้สร้างและบำรุงส่วนต่างๆ ของต้นให้เจริญพัฒนา เรียกว่า “ธาตุอาหาร” ประกอบด้วย

*** ธาตุหลัก .... ไนโตรเจน. ฟอสฟอรัส. โปแตสเซียม
*** ธาตุรอง ..... แคลเซียม. แม็กเนเซียม. กำมะถัน
*** ธาตุเสริม ... เหล็ก. ทองแดง. สังกะสี. แมงกานิส. โบรอน. โมลิบดินั่ม. ซิลิก้า. คลอรีน. โซเดียม. นิเกิล. โคบอลท์ ฯลฯ

ฮอร์โมน (ไซโตคินนิน. จิ๊บเบอเรลลิน. ไอเอเอ. เอบีเอ. ไอบีเอ. อะมิโน. โปรตีน ฯลฯ)

อื่นๆ (ดินหรือวัสดุปลูก. น้ำ. อากาศ. แสงแดด. อุณหภูมิ. สายพันธุ์ ฯลฯ)ปุ๋ยหรือธาตุอาหารพืชมีหลายสถานะ เช่น น้ำ เม็ด ผง เกร็ด ครีม

จากสถานะเดิมจะเป็นเช่นไรก็ตามก่อนที่พืชจะนำไปใช้งานได้ต้องเปลี่ยนสถานะให้เป็นของเหลวก่อนเสมอ ดังนั้น สิ่งใดที่มีธาตุหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริม ฮอร์โมน และอื่นๆ ที่พืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จึงเรียกว่า “ปุ๋ย หรือ ธาตุอาหาร” ทั้งสิ้น

ธาตุอาหารพืช มีอยู่ในอินทรียวัตถุและอนินทรีย์วัตถุ......
-อินทรีย์วัตถุ หมายถึง วัสดุที่ได้จากสัตว์และพืช เรียกว่า “ปุ๋ยอินทรีย์” เช่น เศษซากสัตว์ มูลสัตว์ เศษซากพืช น้ำคั้นจากพืช และ

- อนินทรีย์วัตถุ หมายถึง วัสดุที่ได้จากกระบวนการสังเคราะห์ทางเคมีวิทยาศาสตร์ เรียกว่า “ปุ๋ยสังเคราะห์ หรือ ปุ๋ยวิทยาศาสตร์” เช่น ปุ๋ยเคมี ฮอร์โมนวิทยาศาสตร์

- ธาตุอาหารพืช สัตว์ คน คือตัวเดียวกัน สังเกตได้จากการเขียนสัญลักษณ์ทางเคมีของชื่อธาตุอาหารเป็นตัวอักษรตัวเดียวกัน แต่ธาตุอาหารที่พืช สัตว์ คน นำไปใช้ต่างกันที่ “รูป” เท่านั้น



น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง สูตรฟาจีก้า-โอไฮโอ :
น้ำหมักฯ ระเบิดเถิดเทิง ขั้นที่ 2 40 ล.
เลือดหมัก พร้อมใช้ 5 ล.
นมหมัก พร้อมใช้ 5 ล.
ขี้ค้างคาวหมัก พร้อมใช้ 5 ล.
ไขกระดูกหมัก พร้อมใช้ 5 ล.

1. “ฟาจีก้า” .... ต้มร้อนไอกรุ่นๆ 100 องศา 4 ชม. ปล่อยให้เย็น กรองเอากากออก ได้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิงโมเลกุลเดี่ยว พร้อมใช้สำหรับให้ “ทางใบ” อัตราใช้ 20 ซีซี./น้ำ 20 ล.

2. “โอไฮโอ” .... ต้มร้อนไอกรุ่นๆ 100 องศา 4 ชม. ใส่ปุ๋ยเคมีประเภทให้ทางราก ปล่อยให้เย็น ไม่ต้องกรองเอากากออก กากยิ่งมากยิ่งดี ได้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิงโมเลกุลเดี่ยว พร้อมใช้สำหรับให้ “ทางราก” อัตราใช้ 50 ซีซี./น้ำ 20 ล. หรือ 2 ล./ไร่ ราดรดทั่วแปลงทุกตารางนิ้ว

หมายเหตุ :
- ที่มาของชื่อ “ฟาจีก้า” .... “ฟา” หมายถึง ฟาโรห์, .... “จี” หมายถึง จี๋นซีฮ่องเต้, .... “กา” หมายถึง อเมริกา .... ประวัติน้ำหมักชีวภาพเริ่มมีในอียิปต์ (จารึกผนังในปิรามิด) จีนรู้จักน้ำหมักชีวภาพมาตั้งแต่โบราณ และอเมริกามีการใช้มานานแล้ว

- ที่มาของชื่อ “โอไฮโอ” .... เพื่อนทหารอเมริกัน สมัยร่วมรบสงครามเกาหลีบอกว่ามาว่า ที่รัฐโอไฮโอ อเมริกา ทำปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพใช้มาแล้วกว่า 50 ปี (นับ 2540)

........................................................................................................


อ้างอิง : หนังสือหัวใจเกษตรไท มินิ :

น้ำหมักระเบิดเถิดเทิง เวอร์ชั่นล่าสุด (ปฏิเสธ/ไม่ปฏิเสธ ปุ๋ยเคมี) :
* เดิม ... น้ำหมักระเบิดเถิดเทิง “อินทรีย์ ไม่ปุ๋ยเคมี ไม่ปรับโมเลกุล” ให้ทางราก
* เดิม ... น้ำหมักระเบิดเถิดเทิง “อินทรีย์ ปุ๋ยเคมี ไม่ปรับโมเลกุล" ให้ทางราก

* ใหม่ ... น้ำหมักระเบิดเถิดเทิง “อินทรีย์ ไม่ปุ๋ยเคมี ปรับโมเลกุล” (ฟาจีก้า) ให้ทางใบทางราก
* ใหม่ ... น้ำหมักระเบิดเถิดเทิง “อินทรีย์ ปุ๋ยเคมี ปรับโมเลกุล " (โอไฮโอ) ให้ทางใบทางราก

เศษอาหารจากในครัว ที่ปรุงกินได้แล้วเหลือในจานในหม้อ กับที่ไม่ได้ปรุงกิน เปลือก เนื้อ เมล็ด ฯลฯ ใส่ทั้งหมดลงเครื่องบดโมลิเน็กซ์ บดจนละเอียดเป็นน้ำวุ้น เอามาละลายน้ำ ปล่อยไปกับน้ำในแปลงผักไฮโดรโปรนิกส์ (ระบบน้ำวน เหมือนบ้านเรา) ผักโตได้เหมือนใช้สารอาหารจากปุ๋ยเคมี ตรวจสอบพบที่รากมีสารอาหารที่บดแล้วใส่ลงไปในน้ำเกาะอยู่ แสดงว่า ระบบรากดูดซับสารอาหารนี้ไปพัฒนาต้นได้

หมายเหตุ 1 :
ดร.โช (เกาหลี....คนนี้เป็น ดร.กิติมศักดิ์จากทั่วโลก ยกเว้นจากประเทศตัวเอง) ใช้น้ำคั้นผักให้กับผักกินใบชนิดเดียวกัน พบว่าผักมีขนาดใหญ่กว่าธรรมชาติ 2-3 เท่า

แนวคิด คือ :
- นำผักนั้นมาคั้นเอาน้ำแล้วให้พืชชนิดเดียวกัน น้ำคั้นผักนี้ผ่านกระบวนการอ๊อกซิเดชั่นมาเรียบร้อยแล้ว จึงไม่ต้องออกซิเดชั่นอีก พืชต้นนั้นนำไปใช้ได้เลย เหมือน FAST FOOD

- สารอาหารตัวนี้ ต้นพืชรับได้ทั้งทางราก และทางใบ
- น้ำคั้นผักนี้มีสถานะภาพเป็น “ฮอร์โมน” ซึ่งไม่สู้แสงแดด (อุลตร้า ไวโอเร็ต) จึงต้องให้แก่พืชตอนไม่มีแสงแดด หรือให้ตอนค่ำจึงจะได้ผลสูงสุด

(ปฏิกิริยาออกซิเดชั่น (OXIDATION) คือ ปฏิกิริยาที่อะตอมหรือโมเลกุลเกิดการสูญเสียหรือให้อิเล็กตรอน กับโมเลกุลหรืออะตอมอื่นเพื่อสร้างความเสถียรให้กับโมเลกุล โดยปฏิกิริยาออกซิเดชั่นจะเกิดควบคู่กับปฏิกิริยารีดักชั่น (REDUCTION) เสมอ..

HTTP : //AMPROHEALTH.COM/MAGAZINE/OXIDATION/)

หมายเหตุ 2
สารคดีเนชั่นแนล จีโอกราฟฟิกส์ รายงานว่า น้ำเดือด 100 องศา ซ. นาน 4 ชม. ต่อด้วยปล่อยให้ร้อนไอกรุ่นๆอีก 2 ชม. ทำให้โมเลกุลในอินทรีย์วัตถุ (เศษซากมนุษย์ สัตว์ พืช) ขนาดใหญ่สายยาวเดิม เปลี่ยนรูปเป็นโมเลกุลขนาดเล็ก หรือโมเลกุลเดี่ยวสายสั้น .... รูปทางเคมีนี้ ร่างกาย (มนุษย์ สัตว์ พืช จุลินทรีย์) สามารถนำไปใช้เลย โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการออกซิเดชั่น เช่น น้ำเต้าหู้ น้ำนึ่งปลาก้นหม้อนึ่ง น้ำต้มก้นหม้อก๋วยเตี๋ยว ฯลฯ

หมายเหตุ 3 :
- จาก “เศษอาหารบด-น้ำคั้นผัก-น้ำต้มเดือด” ธรรมดาๆ อย่างเดียวเดี่ยวๆ หรือหลายอย่างรวมกันแล้ว เสริม/เติม/เพิ่ม/บวก สารอาหารสังเคราะห์ เช่น ปุ๋ยเคมี ฮอร์โมน หรืออื่นๆ จาก เศษอาหารบด-น้ำคั้นผัก-น้ำต้มเดือด ธรรมดาๆ ก็จะพัฒนาเป็น “ซุปเปอร์” ขึ้นมาทันที....

- ฮอร์โมนเขียว คือ ฮอร์โมนชีวะ ฮอร์โมนธรรมชาติ ทำกับมือจากโรงงานไต้ถุนบ้าน ทำแบบ “ภูมิปัญญาพื้นบ้าน มาตรฐานโรงงาน มีหลักวิชาการรองรับ” เพราะฉะนั้น ทำทีใช้ที ใช้ใหม่ๆ จะได้ผลดีกว่าทำนานเก็บนาน ....

- รายการสูตรฮอร์โมนในหนังสือหัวใจเกษตรไท : ฮอร์โมนสมส่วน ฮอร์โมนเขียว ฮอร์โมนบำรุงราก ฮอร์โมนเร่งรากกิ่งตอน ฮอร์โมนน้ำนึ่งปลา ฮอร์โมนแบลนด์ ฮอร์โมนลิโพ/เอ็ม/กระทิงแดง ฮอร์โมนนมหมักชีวภาพ ฮอร์โมนหอย ฮอร์โมนไส้เดือน/ปลา/หอย ฮอร์โมนนมสด จากคุณภาพสรรพคุณระดับธรรมดาๆ เสริม/เติม/เพิ่ม/บวก ให้เป็น “ซุปเปอร์” ดีมั้ย


.......................................................................................................



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©