-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 7 ก.ค. .. * กล้วยไม่ใช่กล้วยกล้วย
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 6 ก.ค. .. * พันธุ์ข้าวหอม
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 6 ก.ค. .. * พันธุ์ข้าวหอม

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 05/07/2022 4:29 pm    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 6 ก.ค. .. * พันธุ์ข้าวหอม ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 6 ก.ค.

***********************************************************
สวัสดีครับ ท่านผู้ฟัง ที่เคารพ
กองทัพบก เพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตรและอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดย กองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก

จุดยืนรายการ ....
* เกษตรแบบ อินทรีย์นำ - เคมีเสริม - ตามความเหมาะสม “.. ? ..”
* ปัจจัยพื้นฐาน ดิน - น้ำ - แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล - สารอาหาร - สายพันธุ์ - โรค
* หัวใจเกษตร ปุ๋ย - ยา - เทคนิค - เทคโนฯ - โอกาส - ตลาด - ต้นทุน
* พร้อมทำเองสอนวิธีทำ พร้อมซื้อสอนวิธีซื้อ
กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการ

เช่นเคย รายการเรา....
*** 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม-ฝากข่าว-สายตรง ที่ (081) 913-4986, ....
*** FB วีระ ใจหนักแน่น, ....
*** อินเตอร์เน็ต เกษตรลุงคิม ดอทคอม .... เว้บนี้ ถาม 1 บรรทัด ตอบ 1 หน้า
ถนัดช่องทางไหนเลือกช่องทางนั้นตามอัธยาศัย นักรบไม่ว่ากัน THANK YOU ....

รายการวิทยุ :
*** AM 594 ปตอ. เวลา 0815-0900 จันทร์-ศุกร์ คลื่นนี้ครอบคลุมพื้นที่ 40+ จังหวัด ***

งานสัญจรปกติตามวงรอบ :
* วันเสาร์ของสัปดาห์แรกของเดือน ..... ไปที่วัดพยัคฆาราม (วัดเสือ) ศรีประจันต์ สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สองของเดือน ... ไปที่วัดอัมพวัน (หลวงพ่อโหน่ง) สองพี่น้อง สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สามของเดือน ... ไปวัดท่าตำหนัก เพชรเกษม แยกนครชัยศรี นครปฐม,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สี่ของเดือน ...... ไปวัดส้มเกลี้ยง ใกล้โรงกรองประปา ถ.วงแหวนตะวันตก
* เดือนที่มี 5 เสาร์ เสาร์ที่ 5 ของเดือน . ไปวัดทุ่งสะเดา แปลงยาว ฉะเชิงเทรา

** ถึงจุดนี้ เกษตรกรอยากให้งานสัญจรไปลง ที่ไหนก็ได้ ติดต่อมา พูดคุยกันในรายละเอียด

- งานสีสันสัญจรวันเสาร์ วันที่ 9 ก.ค. ลุงคิม กับ อ.ณัฐ (086) 983-1966 สมุนไพรสำหรับคน ไปวัดอัมพวัน (หลวงพ่อโหน่ง) สองพี่น้อง สุพรรณบุรี.... เดือนนี้มี 5 เสาร์ วันเสาร์ที่ 30 ก.ค. ไปวัดทุ่งสะเดา แปลงยาว ฉะเชิงเทรา .... งานนี้ ซื้อหนังสือหัวใจเกษตรไท มินิ 1 เล่ม แถม ไม้ผลแนวหน้า 1 เล่ม....


****************************************************************
****************************************************************

จาก : (098) 274-59xx
ข้อความ : อยากปลูกข้าวหอม เลือกพันธุ์อะไรดี
ตอบ :

ข้าวหอมพันธุ์พื้นบ้าน :

หอมหาง. หอมเศรษฐี. หอมนายพล. หอมแดงน้อย. หอมลาย. หอมนางมล. หอมพวง. หอมเม็ดเล็ก. หอมเขมร. หอมทุเรียน. หอมมาล่า. หอมไผ่. หอมครัว. หอมใบ. หอมโพ. หอมบาว.หอมนางนวล. หอมนวล. หอมสวน. หอมอุดม. หอมแพ. พะโล้. หอมดอ. หอมหวน. หน่วยเขือ. เล้าแตก. ก่ำเปลือก. ดำช่อขิง. มันเป็ด. ปะกาอำปึล. หอมทุ่ง. ป้องแอ๊ว. หอมมะลิหรือขาวดอกมะลิ. หอมปทุมธานี. หอมคลองหลวง. หอมสุพรรณ. หอมพิษณุโลก. หอมกุหลาบแดง. หอมนิล.

ข้าวหอมพันธุ์ GI
ข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง. ข้าวฮางหอมทองสกลทวาปี. ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้. ข้าวเหลืองปะทิวชุมพร. ข้าวเจ๊กเชยเสาไห้. ข้าวหอมมะลิสุรินทร์. ข้าวเหนียวเขาวงกาฬสินธุ์. ข้าวก่ำล้านนา. ข้าวลืมผัว

ข้าวหอมพันธุ์เลือก :
ข้าวมะลิแดง :

- ชนิดข้าว ข้าวเจ้า นาปี
- ลักษณะพันธุ์ ต้นสูงประมาณ 125 ซม. ใบสีเขียว แตกกอดี รวงยาว คอรวงยาว ติดเมล็ดดี เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง ข้าวกล้องสีแดง คุณภาพการขัดสีดี คุณภาพการหุงต้ม นุ่ม มีกลิ่นหอม ต้านทานโรคและแมลง เหมาะสมกับการผลิตแบบอินทรีย์ เก็บเกี่ยวปลายเดือนพฤศจิกายน

ข้าวมะลิดำ :
- ชนิดข้าว ข้าวเจ้า นาปี
- ลักษณะพันธุ์ ต้นสูง 125 ซม. แผ่นใบใหญ่ ใบยาวสีเขียวคลุมวัชพืชได้ดี เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง ข้าวกล้องสีดำรูปร่างเรียว ยาว การหุงต้ม นุ่ม เหนียว กลิ่นหอมอ่อน สรรพคุณทางยา มีธาตุเหล็กสูง ข้าวกล้องสีดำ ใช้ประโยชน์จากสีดำทำสีผสมอาหารได้ เก็บเกี่ยวปลายเดือนพฤศจิกายน

ข้าวนางมลหอม :
- ชนิดข้าว ข้าวเจ้า นาปี
- ลักษณะพันธุ์ ทรงกอตั้ง ต้นสูงประมาณ 130 เซนติเมตร ลำต้นสีเขียว แผ่นใบสีเขียว ใบมีขนบ้าง ปล้องสีเหลือง ลำต้นค่อนข้างแข็ง คอรวงยาว ระแง้ถี่ การติดเมล็ดดี รวงยาวประมาณ 28 เซนติเมตร เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง ข้าวกล้องสีขาว เรียว ท้องไข่น้อย คุณภาพการหุงต้ม ข้าวสุก ร่วน มีกลิ่นหอม เก็บเกี่ยวกลางเดือนธันวาคม

ข้าวปทุมเทพ :
- ชนิดข้าว ข้าวเจ้า นาปรัง นาปี
- ลักษณะพันธุ์ เป็นข้าวเจ้าหอม ปลูกได้ทั้งนาปีและนาปรัง อายุการเก็บเกี่ยว 110-125 วัน ทรงกอตั้ง แตกกอดีมาก ใบสีเขียว มีขน ใบธงยาว รวงอยู่ใต้ใบ เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง มีหางสั้นบางเมล็ด ผลผลิต 800-900 กิโลกรัมต่อไร่ คุณภาพเมล็ดคล้ายข้าวขาวมะลิ 105 คุณภาพการหุงต้มข้าวสุก นุ่ม ค่อนข้างเหนียว มีกลิ่นหอม อ่อน ต้านทานโรคไหม้ และ โรคขอบใบแห้ง

ข้าวขาวตาเคลือบ :
- ชนิดข้าว ข้าวเจ้า นาปี
- ลักษณะพันธุ์ ทรงกอตั้ง แตกกอดี ความสูงประมาณ 130 เซนติเมตร ลำต้นสีเขียว ใบสีเขียว แผ่นใบมีขน ลำต้นแข็งปานกลาง ข้อต่อใบสีเขียว ปล้องสีเขียว รวงยาวประมาณ 26 เซนติเมตร การติดเมล็ดปานกลาง คอรวงสั้น เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง ข้าวกล้องสีขาว เมล็ดเรียว เป็นท้องไข่น้อย คุณภาพข้าวสุก นุ่ม ร่วน มีกลิ่นหอมเล็กน้อย เก็บเกี่ยวต้นเดือนธันวาคม

ข้าวพวงเงิน :
- ชนิดข้าว ข้าวเจ้า นาปี
- ลักษณะพันธุ์ ทรงกอตั้ง ลำต้นสีเขียวใบใหญ่ และยาวสีเขียว แผ่นใบมีขน ต้นสูง 155 เซนติเมตร ลำต้นค่อนข้างแข็ง ปล้องสีเหลืองอ่อน รวงยาวประมาณ 30 เซนติเมตร ระแง้ถี่ การติดเมล็ดดี คอรวงยาว เมล็ดร่วงง่าย ข้าวเปลือกสีฟาง เมล็ดยาว ข้าวกล้องสีขาว คุณภาพการหุงต้มนุ่ม มีกลิ่นหอมเล็กน้อย เก็บเกี่ยวปลายเดือนพฤศจิกายน

ข้าวเหนียวดำใบดำ :
- ชนิดข้าว ข้าวเหนียว นาปี
- ลักษณะพันธุ์ ทรงกอตั้ง ลำต้นสีม่วง แผ่นใบสีม่วง สีปล้องเส้นม่วง ต้นสูง 130 เซนติเมตร ต้นแข็งปานกลาง รวงยาวประมาณ 26 เซนติเมตร การติดเมล็ดปานปลาง คอรวงยาว เมล็ดข้าวเปลือกสีม่วง-ดำ ข้าวกล้องสีม่วงดำ เมล็ดค่อนข้างป้อม คุณภาพการหุงต้มข้าวสุก นุ่ม เหนียว มีกลิ่นหอม เก็บเกี่ยวกลางเดือนพฤศจิกายน

ข้าวโสมาลี :
- ชนิดข้าว ข้าวเจ้า นาปี
- ลักษณะพันธุ์ การแตกกอดี ทรงกอแผ่ ต้นสูงประมาณ 135 เซนติเมตร ลำต้นสีเขียว ใบสีเขียว แผ่นใบมีขนเล็กน้อย ปล้องสีเหลืองอ่อน รวงยาวประมาณ 28 เซนติเมตร ระแง้ถี่ การติดเมล็ดแน่น คอรวงยาว ข้าวเปลือกสีฟาง เมล็ดเรียวยาว ข้าวกล้องสีขาว ใส มีเลื่อมมัน จมูกเล็ก การเก็บเกี่ยวปลายเดือนพฤศจิกายน ลำต้นอ่อน ล้มง่าย เมล็ดร่วงง่าย คุณภาพหุงต้ม ข้าวสุกเหนียวนุ่ม และมีกลิ่นหอม

ข้าวประดู่แดง :
- ชนิดข้าว ข้าวเจ้า นาปี
- ลักษณะพันธุ์ ทรงกอแผ่ ต้นสูงประมาณ 130 เซนติเมตร ใบสีเขียว แผ่นใบมีขนบ้าง แตกกอดี ลำต้นแข็งปานกลาง ปล้องสีเหลืองอ่อน ออกรวงประมาณต้นพฤศจิกายน รวงยาวประมาณ 28 เซนติเมตร คอรวงยาว ระแง้ถี่ การติดเมล็ดปานกลาง ข้าวเปลือกสีน้ำตาลแดง ข้าวกล้องสีขาว รูปร่างเมล็ดข้าวกล้องเรียว คุณภาพการหุงต้มข้าวสุกนุ่ม และมีกลิ่นหอมเล็กน้อย

ข้าวเหลืองเลาขวัญ :
- ชนิดข้าว ข้าวเจ้า นาปี
- ลักษณะพันธุ์ ต้นสูง 135 เซนติเมตร ลำต้นค่อนข้างแข็ง ใบใหญ่ยาว คลุมวัชพืชได้ดี แผ่นใบสีเขียว ใบมีขนเล็กน้อย รวงยาวประมาณ 28 เซนติเมตร คอรวงยาว ระแง้ถี่ การติดเมล็ดปานกลาง ข้าวเปลือกสีน้ำตาล ข้าวกล้องสีขาว เรียว ท้องไข่น้อย คุณภาพการหุงต้ม ข้าวสุก ร่วน มีกลิ่นหอมเล็กน้อย ทนแล้งได้ดี เก็บเกี่ยวกลางเดือนธันวาคม

Source : มูลนิธิขวัญข้าว

ขาวดอกมะลิ 105 :
ลักษณะประจำพันธุ์ ไวต่อช่วงแสง คือ ที่ผลิตในจังหวัดสุรินทร์ ฤดูนาปี และมีกลิ่นหอมตามธรรมชาติ


นาข้าว ทุกชนิด-ทุกสายพันธุ์-ทุกพื้นที่ ปลูกไปแล้ว :
* ทำแบบเดิมๆ เดิมทุกอย่าง ปล่อยให้ข้าวเกิดเองแล้วโตเองตามธรรมชาติของต้นข้าว คงได้ข้าวไม่เกิน 80 ถัง ค่าโรงสีตัดราคาข้าวลีบ ข้าวท้องไข่ ลงท้ายได้ราคา 8,000 หักต้นทุนจ่ายแล้ว 4,800 กับที่ยังไม่ได้จ่ายอีก 2,000 รวมเป็น 6,800 งานนี้เหลือคงกำไรแค่ 1,200 ....นา 40 ไร่ x ไร่ละ 1,200 = 48,000

* ทำแบบเดิมๆ เดิมทุกอย่าง ทำแล้วทำเลย ใส่แล้วใส่เลย แก้ไม่ได้ เอาออกไม่ได้ ให้บำรุง เสริม/เติม/เพิ่ม/บวก ด้วยสูตรเลยตามเลย ไหนๆก็ไหนๆ แบบสูตรเหมาจ่าย จะแก้ปัญหา ค่าโรงสีที่ตัดราคาข้าวลีบ ข้าวท้องไข่ อันนี้โรงสีไม่ตัดราคา กับข้าวรัฐบาลเกวียนละหมื่น ได้หมื่นเต็มๆ แถมปริมาณข้าวที่ได้ต่อไร่เพิ่มขึ้น จากไร่ละ 80 ถัง เป็น 100 ถัง

* ทำนารอบหน้า นาข้าวสูตรเลยตามเลย แบบประณีต ....
- ลดปุ๋ยเคมีจาก 2 กส. 100 กก. /ไร่ ลงเหลือ 10 กก./ไร่ เปลี่ยนสูตรยูเรีย 16-20-0 เป็น 16-8-8 กับใช้น้ำหมักระเบิดเถิดเทิงเตรียมดินทำเทือก

- ทำเทือกแบบประณีต ย่ำ 4 รอบ ใส่ปุ๋ยตอนย่ำเทือก (ไม่ต้องจ้างหว่าน), ไม่ต้องยาฆ่ายาคุมหญ้า (ย่ำเทือกกำจัดหญ้าให้), ขี้เทือกดี (จุลินทรีย์ในระเบิดเถิดเทิงช่วย), เนื้อปุ๋ยกระจายทั่วแปลง ทุกตารางนิ้ว ข้าวทุกต้นได้กินปุ๋ย (เครื่องใส่ปุ๋ย เคมี+อินทรีย์ ที่หน้ารถย่ำเทือก แล้วลูกทุบท้ายรถกวาดเนื้อปุ๋ยกระจายทั่วแปลง)

- ทำนาดำ (ดำด้วยเครื่อง), นาหยอด (หยอดด้วยเครื่องหยอด แรงคนลาก หรืออีต๊อกลาก), ได้ต้นข้าวดี เมล็ดดี ทำพันธุ์ได้.... ลดต้นทุน ค่าแรง ค่าเมล็ดพันธุ์ ลดโรค....

- นา 200 ไร่ นาข้าวแบบประณีต ซื้อทุกอย่าง จ้างทุกอย่าง ตั้งแต่ก้าวแรกลงนา ถึงก้าวสุดท้ายขายข้าวกลับเข้าบ้าน ได้ข้าว 100 ถึงขึ้น ได้กำไรเป็นล้าน

- ที่นา 40 ไร่แค่นี้ เตรียมใจทำนารอบหน้า นาข้าวแบบประณีต นะ....รึว่าไง ?

วันนี้ถึงยุคถึงสมัยที่เราจะต้อง กล้าคิด-กล้าทำ แล้ว เพราะทำแบบเดิมๆยังไงๆมันคงไม่ดีไปกว่าเดิมแน่ เผลอๆจะแย่กว่าเดิมด้วย เพราะทุกอย่างเปลี่ยนไป เปลี่ยนไปในทางลบด้วย ดินแย่ลงๆ ปุ๋ยแพงขึ้นๆ ค่าแรงแพงหนักๆ แถมหายากอีกต่างหาก....ขอบอกว่าทุกอย่างอยู่ที่ “ใจ” เท่านั้น

บำรุงต้นข้าวสูตรเลยตามเลย แบบหมาจ่าย :
- ให้ไบโออิ อย่างเดียวตั้งแต่ระยะกล้าถึงเกี่ยว ห่างกัน 7-10 วัน ....ทุกครั้งที่ให้ทางใบ + ยาน็อค สารสมุนไพรร่วมด้วยทุกครั้ง

ป้องกันศัตรูพืช :
มาตรการ “กันก่อนแก้” : คือ แม็กเนเซียม. สังกะสี. ช่วยสร้างภูมิตานทานให้แก่ต้นข้าวเป็นพื้นฐาน แถมฉีดพ่นสารสมุนไพรทับเข้าไปอีก นี่คือ 2 เด้ง

มาตรการ “ป้องกัน + กำจัด” : ถ้าแปลงข้างๆกำลังเกิดระบาด ช่วงว่างระหว่าง 7-10 วัน ให้ฉีดพ่นสารสมุนไพรเดี่ยวๆ 2-3 รอบ ห่างกันวันเว้นวัน

บำรุงต้นข้าวสูตรเลยตามเลย แบบประณีต :
นาข้าวที่กำจัดวัชพืชไม่หมด ต้นข้าวโตขึ้นมาแล้วมีต้นข้าวกับต้นวัชพืช "ครึ่ง : ครึ่ง" จนเต็มนา แนะนำให้ใช้สูตร "เลยตามเลย หรือ ไหนไหนก็ไหนไหน" เพราะกำจัดวัชพืชไม่ได้แล้ว โดยเน้นบำรุงทางใบเป็นหลัก.....ดังนี้

ระยะกล้า :
- ฉีดพ่น "ไบโออิ + ยาน็อค" ทุก 7-10 วัน ระยะนี้หาโอกาสให้แคลเซียม โบรอน 1 รอบ
- ฉีดพ่นสารสมุนไพร "สูตรเฉพาะ" เมื่อมีศัตรูพืชเฉพาะชนิดก่อนการระบาด (ป้องกัน) และระหว่างการระบาด (กำจัด) ทุก 3 วัน

ระยะตั้งท้อง ออกรวง :
- ฉีดพ่น "ไทเป + ยาน็อค" 2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน
- ฉีดพ่นสารสมุนไพร "สูตรเฉพาะ" เมื่อมีศัตรูพืชเฉพาะชนิดก่อนการระบาด (ป้องกัน) และระหว่างการระบาด (กำจัด) ทุก 3 วัน

ระยะน้ำนม :
- ฉีดพ่น "ไบโออิ 100 ซีซี. + ยูเรก้า + ยาน็อค" ทุก 7-10 วัน
- ฉีดพ่นสารสมุนไพร "สูตรเฉพาะ" เมื่อมีศัตรูพืชเฉพาะชนิดก่อนการระบาด (ป้องกัน) และระหว่างการระบาด (กำจัด) ทุก 3 วัน

หมายเหตุ :
- การให้ทางใบเท่ากับบำรุงทั้งต้นข้าวและต้นวัชพืช แม้จะสิ้นเปลืองปุ๋ยแต่จำเป็นต้องทำ เพราะไม่เช่นนั้นแล้ว ต้นข้าวก็จะไม่ได้ปุ๋ยเลย ส่งผลให้ไม่ได้ผลผลิตข้าวไปด้วย

- หลังจากต้น (ข้าว-วัชพืช) โตแล้ว ไม่ควรใส่ปุ๋ยทางราก เพราะธรรมชาติของต้นวัชพืชจะดูดสารได้เก่งกว่าต้นข้าว นี่คือ ต้นวัชพืชแย่งอาหารต้นข้าวนั่นเอง

- ปุ๋ยทางใบอยู่ที่ใบข้าว ต้นวัชพืชไม่สามารถแย่งได้ นั่นคือ ต้นข้าวยังได้รับปุ๋ยเท่าที่ให้อย่างแน่นอน

- หลังจากเกี่ยวข้าวแล้ว ก่อนทำนารุ่นต่อไป ทำการไถกลบฟางพร้อมต้นวัชพืช ก็จะได้ปุ๋ยที่ต้นวัชพืชเอาไปกลับคืนมา

http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=10

----------------------------------------------------------------------------------


.



กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©