-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-* ประเทศไทย ในฝัน
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - * เทคนิค/เทคโน การเกษตร ....
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

* เทคนิค/เทคโน การเกษตร ....

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 23/04/2023 4:47 pm    ชื่อกระทู้: * เทคนิค/เทคโน การเกษตร .... ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
งานสีสันสัญจรปกติตามวงรอบ :
* วันเสาร์ของสัปดาห์แรกของเดือน ....... ไปที่วัดพยัคฆาราม (วัดเสือ) ศรีประจันต์ สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สองของเดือน ..... ไปที่วัดอัมพวัน (หลวงพ่อโหน่ง) สองพี่น้อง สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สามของเดือน ..... ไปวัดท่าตำหนัก เพชรเกษม แยกนครชัยศรี นครปฐม,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สี่ของเดือน ........ ไปวัดส้มเกลี้ยง ใกล้โรงกรองประปา ถ.วงแหวนตะวันตก
* เดือนที่มี 5 เสาร์ เสาร์ที่ 5 ของเดือน ... ไปวัดทุ่งสะเดา แปลงยาว ฉะเชิงเทรา
** ถึงจุดนี้ เกษตรกรอยากให้งานสัญจรไปลง ที่ไหนก็ได้ ติดต่อมา พูดคุยกันในรายละเอียด

*** วันจันทร์ ทุกวันจันทร์ เฉพาะวันจันทร์ สมช.สีสันชีวิตไทย “คุณล่า” (081) 944-8494
ไปที่ตลาดนัดวัดอมรญาติ ดำเนินสะดวก ราชบุรี ....

***********************************************************************

เทคนิค/เทคโน การเกษตร .
เทคโนโลยีเครื่องทุ่นแรง :
.
ประหยัด เวลา/แรงงาน/ต้นทุน/พลังงาน/อารมย์ .....
เพิ่ม ประสิทธิภาพ/ประสิทธิผล ของเนื้องาน .............
เพิ่ม ปริมาณ/คุณภาพ ของผลผลิต .......................
ลงทุนเพื่อลดต้นทุน ...........................................
สร้างเครดิต ความน่าเชื่อถือ .................................
เป็นมรดกถ่ายทอดให้ลูกหลานเหลนโหลน ภายหน้า .....

.

.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 24/08/2023 7:06 am, แก้ไขทั้งหมด 12 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 23/04/2023 4:53 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.


7. สปริงเกอร์ :

ฯลฯ

ประเด็นเทคโนโลยีเครื่องทุ่นแรง สำหรับงานสวนเกษตรด้านพืช เพื่อให้ได้ คุณภาพดี, ปริมาณผลผลิตมาก, ประสิทธิภาพ ระยะสั้น/ระยะปานกลาง/ระยะยาว สูง, ต้นทุนค่าเวลาสั้น, ต้นทุนค่าแรงต่ำ, ต้นทุนค่าพลังงานน้อย, ต้นทุนค่าอารมณ์ไม่มี, ฯลฯ, .... ถึงวันนี้ยืนยันได้ว่า ระบบสปริงเกอร์ คือ หนึ่งในเทคโนโลยีเครื่องทุ่นแรงนี้




19. สปริงเกอร์ให้ปุ๋ย :
หม้อปุ๋ยหน้าโซนแบบ “เวนจูรี่” (สมช.ทำงานแท่นเจาะน้ำมันในอ่าวไทยบอก เพราะระบบทำงานเป็นสุญญากาศเหมือนกัน) เปิดวาวล์เปิดหม้อปุ๋ยทำงาน แรงดันรัศมีพ่นน้ำไม่ลด ( 1 โซน 3 ม., 2 โซน 1.5 ม.) .... แต่หม้อปุ๋ย MADE IN USA รง.บางปู สมุทรปราการ ราคาอันละ 20,000 ส่งออก ตปท. เปิดวาวล์เปิดหม้อปุ๋ยทำงาน เปิดโซนเดียว แรงดันรัศมีพ่นน้ำลดลงครึ่งหนึ่งทันที

หม้อปุ๋ยหน้าโซน 1 หม้อ 1 โซน เพื่อแยก “สูตรปุ๋ย” สำหรับแต่ละโซนตามระยะพัฒนาการของพืช

หม้อปุ๋ยหน้าโซน ปริมาณปุ๋ยชนิดน้ำสำหรับไม้ผล 1 โซนคำนวนจาก ทดสอบใช้ปุ๋ยทางใบอัตราปกติ 20 ซีซี.+ น้ำ 20 ล. ในเป้สะพาย ฉีดพ่นทั่วทรงพุ่มทั้งใต้ใบบนใบได้กี่ต้น ฉีดพ่นให้ครบทุกต้นใน 1 โซนแล้วรวมว่าใช้ทั้งหมดกี่เป้ สมมุติว่าใช้ 6 เป้ นั่นคือ ไม้ผลโซนนี้ใช้ปุ๋ยทางใบ 120 ซีซี. (เป้ละ 20 ซีซี.) ว่าแล้ว ให้เติมปุ๋ยน้ำทางใบที่จะให้แก่ไม้ผลโซนนั้น 120 ซีซี. +/- นิดหน่อย ไม่มีปัญหา

สวนไม้ผลขนาด 50 ไร่ ขนาดต้นสูงน้องๆ เสาไฟฟ้า ฉีดพ่นทางใบด้วยเครื่องฉีดพ่นแรงสูง สูงมากๆ เพื่อให้ทั่วทรงพุ่ม ทำงานทีละต้น ๆๆ ใช้เวลาต้นละ 10-15 นาที พื้นที่ 50 ไร่ ทำงาน 8 โมงเช้า ถึงบ่าย 4 โมง ทุกวัน ใน 1 อาทิตย์ คนทำงานทุกวันแต่ต้นไม้ได้รับปุ๋ยเคมีวันเดียว ไม่คิดให้ทางรากที่ต้องเดินหว่านปุ๋ยทีละต้นๆ ให้น้ำอีกต่างหาก

สวนไม้ผลแบบนี้ หากต้องการบำรุงแบบเต็มที่ เพื่อให้ได้ผลเต็มที่ หรือเพื่อให้ต้นได้สะสมความสมบูรณ์เต็มที่ จะต้องทำงานทุกวัน ตลอดทั้งปี ไหวเหรอ

สวนไม้ผลขนาด 50 ไร่สวนเดียวกัน ติดระบบสปริงเกอร์ ใช้เครื่องยนต์ 10 แรงม้า แบ่งเป็นโซนได้โซนละ 10 ไร่ ทำงานโซนละ 10 นาที ใช้เวลาเพียง 50 นาที เท่ากับใช้เวลาเพียง 1 ชม.ต่อการทำงาน 1 ครั้งเท่านั้น

ประสิทธิภาพประสิทธิผลเนื้องาน :
ให้ทางใบ ฉีดพ่น “ปุ๋ย/ฮอร์โมน/ยาสมุนไพร/น้ำเปล่า” ได้ตามวัน เวลา และระยะเวลาที่ต้องการ การให้ปุ๋ยทางใบที่เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ต้องให้ตอนปากใบเปิด (10 โมงเช้า ถึงบ่าย) .... การฉีดพ่นสารสมุนไพร เช่น ฉีดพ่นตอนเช้ามืดก่อนสว่างเพื่อล้างน้ำค้าง, ฉีดพ่นตอนเที่ยงเพื่อกำจัดเพลี้ยไฟ ไรแดง, ฉีดพ่นตอนหลังค่ำเพื่อไล่แมลงแม่ผีเสื้อที่จะเข้ามาวางไข่ หรือป้องกันกำจัดแมลงปากกัดปากดูดที่มาตอนกลางคืน,

ให้ทางราก “น้ำเปล่า/น้ำหมักชีวภาพ/ปุ๋ยเคมี” ตามวัน เวลา และระยะเวลาที่ต้องการ
ติดตั้งระบบสปริงเกอร์ครั้งหนึ่ง อยู่นานใช้งานได้ 10-20-30 ปี
การให้ปุ๋ยไปกับระบบสปริงเกอร์แบบนี้ อเมริกาทำมานานกว่า 50 ปีแล้ว เรียกว่า การให้ปุ๋ยทางท่อ หรือ การให้ปุ๋ยไปกับระบบน้ำ

หม้อปุ๋ยหน้าโซน V.S. ถังปุ๋ยที่ปั๊ม :
หม้อปุ๋ยหน้าโซน :
ความจุเนื้อ ปุ๋ย/ฮอร์โมน/ยา สำหรับจำนวนต้นเฉพาะในโซน, สูตรเฉพาะไม้โซนนั้น, ไม่มีเนื้อปุ๋ยตกค้างในท่อ, ใช้แรง งานคนเดียว, ราคาแพง,

ถังปุ๋ยที่ปั๊ม : ความจุเนื้อ ปุ๋ย/ฮอร์โมน/ยา สำหรับจำนวนต้นไม้ทั้งแปลงที่สปริงเกอร์ไปถึง, สูตรเดียวกันทั้งสวน, มีเนื้อปุ๋ยตกค้างในท่อ, แปลงใหญ่มากตกค้างในท่อมาก, ใช้แรงงาน 2 คน, เนื้อปุ๋ยกัดลูกยางซีลปั๊ม, ราคาถูก,

สปริงเกอร์ผู้ซื่อสัตย์ :
ตี 5 ....................... ล้างน้ำค้าง ป้องกัน/กำจัด ราน้ำค้าง ราแป้ง ราสนิม
10 โมง .................. ให้ ปุ๋ย/ฮอร์โมน/ยาสมุนไพร ตามชนิดพืช ระยะพืช
เที่ยงแดดจัด ............. ให้น้ำเปล่า ป้องกัน/กำจัด เพลี้ยไฟ ไรแดง
บ่ายฝนตก ฝนต่อแดด....ให้น้ำเปล่า ป้องกัน/กำจัด แอนแทร็คโนส....กดใบอ่อนสู้ฝน
ค่ำ ........................ สมุนไพร ป้องกัน/กำจัด แมลงวางไข่ หนอน

** ฉีดพ่นสารสมุนไพรบ่อยๆ ทุกวัน วันต่อวัน วันเว้นวัน ทำได้ทุกเมื่อตามต้องการ
** ระบบสปริงเกอร์มีหลากหลายแบบ แต่ละแบบ ดี/ไม่ดี อยู่ที่ความพอใจของเจ้าของแต่ละสวนอะไรๆ ไม่เหมือนกัน เพราะฉะนั้นจึง COPPY ไม่ได้ แต่ APPLY ได้ เอา หลักการ-วิธีการ ไปใช้ แต่ "รูปแบบ" ต้องว่าตามความเหมาะสมของแปลงของตัวเอง

http://kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=6829



.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 26/04/2023 12:35 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 25/04/2023 3:50 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
เกษตรลุงคิม.คอม

102. ลีลาสไตล์เว้ปนี้ ถาม 1 บรรทัด ตอบ 1 หน้า
เพราะวิทยุพูดแล้วฟัง ฟังจบก็ลืม พูดซ้ำฟังซ้ำไม่ได้ แต่อ่าน แต่เน็ตเกี่ยวเนื่องไปถึงหนังสือ จบแล้วอ่านซ้ำได้ อ่านอีก อ่านหลายๆรอบ อ่านหลายๆเที่ยว อ่านจนจำได้ จำได้ติดตัวไปตลอดชีวิต

ประสบการณ์ตรง :
- ปุ๋ยทางใบ สามารถให้แก่พืชได้ทั้ง ทางรากและทางใบ เทคนิคการให้ปุ๋ยทางใบแบบโชกๆให้ใบเปียกจนล้นลงถึงพื้นดิน จึงเท่ากับเป็นการให้ปุ๋ยทางรากไปในตัวให้ปุ๋ยทางใบแล้วเผื่อให้ตกลงดินด้วย เท่ากับพืชได้รับ 2 เด้งหรือทั้ง 2 ทาง

- ปุ๋ยทางใบมี "น้ำ" เป็นฟิลเลอร์ จึงไม่เป็นส่งผลเสียต่อดินเหมือนฟิลเลอร์ที่เป็นของแข็งในปุ๋ยทางราก

- ปุ๋ยทางใบที่เป็นคีเลต. เมื่อตกลงดินระบบรากสามารถดูดซับนำเข้าสู่ต้นได้ทันที ในขณะที่ปุ๋ยทางรากจะต้องผ่านกระบวนการเอ็นไซม์.โดยจุลินทรีย์ก่อน ต้นพืชจึงจะสามารถดูดซึมนำไปใช้ได้ การปรับสภาพปุ๋ยทางใบให้เป็น "ทางด่วน" (ผ่านปากใบเข้าสู้ต้นได้เร็ว) สามารถทำได้โดยการเติม "น้ำตาลกลูโคส" ลงไปก่อนฉีดพ่น

- ปุ๋ยทางใบแสดงผลต่อพืชได้เร็วกว่าปุ๋ยทางราก ในพืชอายุสั้น (ผักสวครัว) จะมีอายุเก็บเกี่ยวสั้นกว่าการให้ปุ๋ยทางรากอย่างเดียว

- เทคนิคการให้ปุ๋ยทางใบ ควรให้ขณะที่ใบยังเปียกและปากใบเปิดเต็มที่แล้ว นั่นคือ ก่อนฉีดพ่นปุ๋ยทางใบ ควรฉีดพ่นน้ำเปล่าเพื่อให้ปากใบเปิดก่อน ทิ้งไว้ประมาณ 5-10 นาที จึงฉีดพ่นปุ๋ยตามไป นอกจากนี้เทคนิคการฉีดแบบ 2 ครั้ง โดยแบ่งปริมาณปุ๋ยทางใบที่จะให้ ณ รอบนั้นเป็น 2ส่วนๆ ละเท่ากัน โดยปฏิบัติดังนี้

ครั้งแรก ..... ฉีดพ่นน้ำเปล่า ทิ้งไว้ 10-15 นาที
ครั้งที่ 2 ..... หลังจากทิ้งไว้ 10-15 นาทีแล้ว ฉีดพ่นปุ๋ยทางใบรอบแรก
ครั้งที่ 3 ..... หลังจากฉีดพ่นปุ๋ยทางใบรอบแรกทิ้งไว้ 10-15 นาที จึงฉีดพ่นรอบที่ 2

ซึ่งการให้ปุ๋ยทางใบแบบ 2 รอบนี้ เมื่อรวมปริมาณปุ๋ยแล้วจะได้เท่ากับการให้เพียงครั้งเดียว แต่ได้ผลกว่าเพราะขณะให้ปุ๋ยนั้น สภาพใบเปียกชื้น และจากการที่ใบค่อยๆดูดซึมปุ๋ยเข้าสู่ต้นอย่างช้าๆ ทำให้ต้นได้รับปุ๋ยมากขึ้น ในขณะที่การให้แบบครั้งเดียว ปุ๋ยส่วนหนึ่งหรือส่วนใหญ่จะตกลงพื้นเนื่องจากปากใบดูดซับไม่ทัน

- ปุ๋ยทางใบมีความจำเป็นอย่างมากต่อต้นที่มีปัญหาระบบราก หรือดินเสื่อม กล่าวคือ เมื่อต้นไม่สามารถรับสารอาหารทางรากก็ควรให้ทางใบแทน

- ราคาปุ๋ยทางใบเทียบกับปุ๋ยทางรากแบบ หน่วย : หน่วย ปุ๋ยทางใบจะมีราคาสูงกว่า แต่เมื่อเทียบปริมาณการใช้กับประโยชน์ที่พืชได้รับแล้ว จะพบว่าปุ๋ยทางใบราคาถูกกว่ามาก

- ปุ๋ยทางใบจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุดและต้นมีการตอบสนองดีก็ต่อเมื่อต้นมีสภาพความสมบูรณ์รองรับ สภาพอากาศและอุณหภูมิเหมาะสม

- พืชอายุสั้นฤดูกาลเดียว เช่น ผักสวนครัว (กินใบ กินยอด กินต้น กินผล) ความจำเป็นต้องใช้ปุ๋ยน้อย-น้อยมาก กรณีสารอาหารใน "ฮอร์โมนเขียว" แม้จะมีไม่มากนัก แต่ถ้าให้บ่อยๆ (วันต่อวัน วันเว้นวัน วันเว้น 2-3 วัน) ให้ผ่านใบลงถึงราก ก็สามารถทำให้พืชนั้นโตได้

หมายเหตุ 1 :
ดร.โช (เกาหลี....คนนี้เป็น ดร.กิติมศักดิ์จากทั่วโลก ยกเว้นจากประเทศตัวเอง) พบว่า ในสรีระผัก (ใบ ยอด ดอก ผล ต้น ราก หัว) สภาพสดใหม่สมบูรณ์ โต 50% ของอายุ มีสารอาหารที่พืชต้นนั้นรับเข้าไป ทั้งจากทางใบและทางราก ครั้นวิเคราะห์ต่อก็พบอีกว่า สารอาหารที่อยู่ภายในต้น คือ สารอาหารจากภายนอกต้น (คนให้ เกิดเองตามธรรมชาติ) ผ่านกระบวนการออกซิเดชั่น กระทั่งต้นนำไปใช้พัฒนาตัวเองได้

แนวคิด :
- นำผักนั้นมาคั้นเอาน้ำแล้วให้พืชชนิดเดียวกัน น้ำคั้นผักนี้ผ่านกระบวนการอ๊อกซิเดชั่นมาเรียบร้อยแล้ว จึงไม่ต้องออกซิเดชั่นอีก พืชต้นนั้นนำไปใช้ได้เลย เหมือน FAST FOOD

- สารอาหารตัวนี้ ต้นพืชรับได้ทั้งทางราก และทางใบ
- น้ำคั้นผักนี้มีสถานะภาพเป็น “ฮอร์โมน” ซึ่งไม่สู้แสงแดด (อุลตร้า ไวโอเร็ต) จึงต้องให้แก่พืชตอนไม่มีแสงแดด หรือให้ตอนค่ำจึงจะได้ผลสูงสุด

ปฏิกิริยาออกซิเดชั่น (OXIDATION) คือ ปฏิกิริยาที่อะตอมหรือโมเลกุลเกิดการสูญเสียหรือให้อิเล็กตรอน กับโมเลกุลหรืออะตอมอื่นเพื่อสร้างความเสถียรให้กับโมเลกุล โดยปฏิกิริยาออกซิเดชั่นจะเกิดควบคู่กับปฏิกิริยารีดักชั่น (REDUCTION) เสมอ...

HTTP://AMPROHEALTH.COM/MAGAZINE/OXIDATION/)


หมายเหตุ 2 :
สารคดีเนชั่นแนล จีโอกราฟฟิกส์ รายงานว่า น้ำเดือด 100 องศา ซ. นาน 4 ชม. ต่อด้วยปล่อยให้ร้อนไอกรุ่นๆ 2 ชม. ทำให้โมเลกุลในอินทรีย์วัตถุ (เศษซากมนุษย์ สัตว์ พืช) ขนาดใหญ่สายยาวเดิม เปลี่ยนรูปเป็นโมเลกุลขนาดเล็ก หรือโมเลกุลเดี่ยว สายสั้น .... รูปทางเคมีนี้ ร่างกาย (มนุษย์ สัตว์ พืช จุลินทรีย์) สามารถนำไปใช้เลย โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการออกซิเดชั่น เช่น น้ำเต้าหู้ น้ำนึ่งปลาก้นหม้อนึ่ง น้ำต้มก้นหม้อก๋วยเตี๋ยว ฯลฯ

หมายเหตุ 3 :
จาก “เศษอาหารบด-น้ำคั้นผัก-น้ำต้มเดือด” ธรรมดาๆ อย่างเดียวเดี่ยวๆ หรือหลายอย่างรวมกันแล้ว เสริม/เติม/เพิ่ม/บวก สารอาหารสังเคราะห์ เช่น ปุ๋ยเคมี ฮอร์โมน หรืออื่นๆ จาก เศษอาหารบด-น้ำคั้นผัก-น้ำต้มเดือด ธรรมดาๆ ก็จะพัฒนาเป็น “ซุปเปอร์” ขึ้นมาทันที .... ทำใช้ ทำขาย ทำแจก

- ฮอร์โมนเขียว อายุเก็บนานเท่าไร คำตอบคือ “ไม่รู้” เพราะวิธีการทำและปัจจัยเกี่ยวข้องของแต่ละคนไม่เหมือนกัน แต่เท่าที่รู้ เห็นทำเมื่อ 3 เดือนที่แล้ว เดือนนี้ทำอีกแล้ว.... เพื่อความมั่นใจ ใส่ “สารกันบูด” ลงไป 1-2% ก็น่าจะ (เน้นย้ำ...น่าจะ) ได้

- ฮอร์โมนเขียว คือ ฮอร์โมนชีวะ ฮอร์โมนธรรมชาติ ทำกับมือจากโรงงานไต้ถุนบ้าน ทำแบบ “ภูมิปัญญาพื้นบ้าน มาตรฐานโรงงาน มีหลักวิชาการรองรับ” เพราะฉะนั้น ทำทีใช้ที ใช้ใหม่ๆจะได้ผลดีกว่าทำนานเก็บนาน ....

- รายการสูตรฮอร์โมนในหนังสือหัวใจเกษตรไท : ฮอร์โมนสมส่วน ฮอร์โมนเขียว ฮอร์โมนบำรุงราก ฮอร์โมนเร่งรากกิ่งตอน ฮอร์โมนน้ำนึ่งปลา ฮอร์โมนแบลนด์ ฮอร์โมนลิโพ/เอ็ม/กระทิงแดง ฮอร์โมนนมหมักชีวภาพ ฮอร์โมนหอย ฮอร์โมนไส้เดือน/ปลา/หอย ฮอร์โมนนมสด จากคุณภาพสรรพคุณระดับธรรมดาๆ เสริม/เติม/เพิ่ม/บวก ให้เป็น “ซุปเปอร์” ดีมั้ย

ฮอร์โมนเขียว :
วัสดุส่วนผสม และวิธีทำ :

เลือกผักสวนครัวกินใบ อายุสั้น ฤดูกาลเดียว เช่น ผักกาด ผักคะน้า ต้นที่สมบูรณ์ แข็งแรง โตเร็ว อัตราโตประมาณ 50% ของอายุ ไม่มีโรคแมลง และไม่มีการใช้สารเคมียาฆ่าแมลง หรือสารสมุนไพรทุกประเภท เก็บตอนเช้าตรู่ก่อนพระอาทิตย์ขึ้น ถอนขึ้นมาทั้งต้น (ใบ+ราก) สลัดดินติดรากทิ้ง ไม่ต้องล้างน้ำ นำเข้าเครื่องปั่นแบบแยกกากแยกน้ำ (จุ๊ยเซอร์) น้ำคั้นผักที่ได้ เรียกว่า “ฮอร์โมนเขียว” พร้อมใช้ เก็บในภาชนะทึบแสง รักษาอุณหภูมิโดยการเก็บในตู้เย็นช่องแช่เย็นธรรมดา

วิธีใช้ :
ตกค่ำพระอาทิตย์สิ้นแสงแล้ว นำ “ฮอร์โมนเขียว” พร้อมใช้ 500 ซีซี. ผสมน้ำ (พีเอช 6.0) จำนวน 100 ล. นำไปรดให้แก่ผักประเภทที่นำมาคั้นน้ำนั้น (น้ำคั้นผักอะไรให้ผักชนิดเดียวกัน) ทุก 3-5 วัน จะช่วยบำรุงให้ผักนั้นโตเร็ว สมบูรณ์ แข็งแรง คุณภาพดี

สำหรับผักกินยอด กินใบ :
ใช้ "น้ำคั้นผักกินใบทั้งต้น + น้ำคั้นยอดผักกิน เด็ดด้วยมือ + น้ำคั้นหัวไชเท้า + น้ำมะพร้าวอ่อน" อัตรา ส่วน 1 : 1 : 1 : 5 ไม่ใช้กากน้ำตาลหรือกลูโคส เพราะในน้ำมะพร้าวอ่อนมีกลูโคสอยู่แล้ว

หมายเหตุ :
- ทำฮอร์โมนเขียว ซุปเปอร์. โดย "น้ำคั้นผัก + น้ำคั้นหัวไชเท้า+ น้ำมะพร้าวแก่" อัตราส่วน 10 : 10 : 1 แล้วใช้อัตราเดิมและวิธีเดิม

- ผักสวนครัว แปลงเล็ก ปลูกกินในบ้าน สามารถปรับสูตรหรืออัตราส่วนได้ ตามความถนัด หรือเท่าที่มี

แหล่งธาตุอาหารจากพืช :
ผักสด. หมากเม่า (อะมิโน 25 ชนิด), กวาวเครือขาว (เอ็นเอเอ.), เหง้าตำลึง (พาโคลบิวทาโซล), น้ำมะพร้าวอ่อน (จิ๊บเบอเรลลิน), น้ำมะพร้าวแก่ (เอสโตรเจน, ไซโตไคนิน, ไคโตซาน, ฟอสเฟต, แม็กเนเซียม, แคลเซียม, กลูโคส), เกสรดอกตูม (ฟอสเฟต), ข้าวโพดหวาน (เร่งราก), หัวไชเท้า (ไซโตไคนิน. ไคโตซาน), เมล็ดงอก (จิ๊บเบอเรลลิน), หน่อไม้ไผ่ (ไซโตไคนิน. ไคโตซาน), หน่อไม้ฝรั่ง (ไซโตไคนิน. ไคโตซาน), มะเขือเทศสุก (แมงกานิส), จาวมะพร้าว (จิ๊บเบอเรลลิน. ไซโตไคนิน. เอสโตรเจน. โปรตีน), น้ำเต้าหู้ (อะมิโนโปรตีน), ข้าวน้ำนม (ไคโตซาน), แปะก๊วย (ฟลาโวนอยด์), สาโท (น้ำตาล, แอลกอฮอร์), เบียร์สด (น้ำตาล, แอลกอฮอร์)

แหล่งธาตุอาหารจากสัตว์ :
นมสดจากฟาร์ม, นมเหลือง, น้ำนึ่งปลา, น้ำหอยเผา (ไซโตไคนิน. ไคโตซาน), หอย 2 ฝา (สังกะสี. แม็กเนเซียม. โซเดียม.), เลือด (อะมิโนโปรตีน. ไซโตไคนิน), น้ำเชื้อ (เอสโตรเจน), น้ำล้างปลา (ไนโตรเจน), ไส้เดือน (ไซโตไคนิน. ไคโตซาน), ขี้เพี้ย, มูลสัตว์ตั้งท้อง (เอสโตรเจน)


คนถามใหม่ คำถามเก่า คำตอบเดิม :
ปุ๋ยอินทรีย์ :
ข้อดี :

1. ช่วยปรับปรุงโครงสร้างของดิน
2. อยู่ในดินได้นาน และค่อยๆ ปลดปล่อยธาตุอาหารอย่างช้าๆ
3. ส่งเสริมจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. ใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมี จะส่งเสริมให้ปุ๋ยเคมีเกิดประสิทธิภาพมากขึ้น
5. ได้ผลดีทั้ง ระยะสั้น ระยะปานกลาง ระยะยาว และทำเองได้

ข้อด้อย :
1. มีปริมาณธาตุอาหารพืชต่อน้ำหนักปุ๋ยต่ำ ต้องใช้ปริมาณมาก สม่ำเสมอ
2. ใช้เวลานานในการปลดปล่อยธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ให้แก่พืช
3. ราคาต่อน้ำหนักของธาตุอาหารพืชมีราคาสูง
4. มีจำนวนจำกัด ไม่สามารถหาซื้อในปริมาณมากๆ ได้
5. ใช้ระยะเวลานาน ทั้งการผลิต และการใช้
6. มีข้อจำกัดในการเลือก สูตร/ชนิด/ประเภท ให้ตรงกับ ระยะ/ชนิด ของพืช
7. สิ้นเปลืองค่าขนส่งสูง

ปุ๋ยเคมี :
ข้อดี :

1. มีปริมาณธาตุอาหารพืชต่อน้ำหนักปุ๋ยสูง
2. ปลดปล่อยธาตุอาหารให้แก่พืชได้เร็ว
3. ราคาต่อน้ำหนักของธาตุอาหารพืชมีราคาต่ำ สะดวกต่อการขนส่งและเก็บรักษา
4. สูตรตรงตาม ชนิด/ระยะ/ปัจจัยเกี่ยวข้อง ของพืช
5. หาซื้อง่าย เพราะผลิตได้จากโรงงาน สามารถผลิตได้จำนวนมากตามต้องการ

ข้อด้อย :
1. ไม่มีคุณสมบัติในการปรับปรุงคุณสมบัติทางฟิสิกส์ของดิน
2. ปุ๋ยแอมโมเนีย ใช้ในปริมาณมากและติดต่อกันเป็นเวลานานจะทำให้ดินเป็นกรด .... ปุ๋ยฟอสฟอรัส ใช้ในดินปริมาณมากและติดต่อกันนานจะตรึงปุ๋ยตัวอื่นไม่ปล่อยให้พืชนำไปใช้ได้

3. การใช้ปุ๋ยเคมีต้องระมัดระวัง เพราะปุ๋ยเคมีทุกชนิดมีความเค็ม ถ้าใส่มากหรือใส่ติดโคนต้นพืชจะเป็นอันตรายต่อต้นพืชและการงอกของเมล็ด

4. ต้องมีความรู้ความเข้าใจเรื่องปุ๋ย
5. สูญเสียเงินตราของประเทศ

ข้อดีและข้อจำกัดในการใช้ปุ๋ยทางใบ :
ข้อดี :

1. การปรับปรุงดินที่มีปัญหาให้มีคุณสมบัติเหมาะสมกับการใช้ปุ๋ยทางดินต้องใช้เวลาพอสมควร ในช่วงเวลาที่มีปัญหาดังกล่าว อาจมีปัญหาการขาดธาตุอาหารบางธาตุ แก้ไขโดยการพ่นทางใบโดยตรง ซึ่งไม่ต้องมีอุปสรรคเกี่ยวข้องกับการตรึงหรือลดความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารในดิน

2. ในหลายกรณีการให้ปุ๋ยทางใบมีประสิทธิภาพสูงกว่าใส่ในดิน โดยเฉพาะธาตุอาหารเสริม

3. ในบางระยะของการเจริญเติบโตของพืช ถ้าพืชแสดงอาการขาดธาตุอาหารในระยะวิกฤ เช่น ก่อนออกดอก ในจังหวะเช่นนี้ ไม่มีวิธีใดให้ผลดีและรวดเร็วกว่าการให้ทางใบ หากใส่ปุ๋ยทางดินอาจไม่ทันกับความต้องการ และกระทบกระเทือนต่อผลผลิตอย่างรุนแรง การให้ปุ๋ยพวกธาตุอาหารเสริมทางใบอาจไม่ต้องทำบ่อย การให้ในความเข้มข้นที่เหมาะสมเพียงครั้งหรือสองครั้ง ก็เพียงพอไปจนตลอดชีพจักรของพืช

4. การให้ปุ๋ยทางใบ ได้ผลดีกับพืชที่มีใบใหญ่และใบมาก เพราะจะรับละอองปุ๋ยไว้ได้มาก วิธีนี้จึงให้ผลดีกับพืช ใบเลี้ยงคู่ เช่น ไม้ผล ผักต่าง ๆ มากกว่าพืชใบเลี้ยงเดียว เช่น ข้าว อ้อย ในกรณีที่รากพืชไม่ค่อยเจริญเติบโตเท่าที่ควร เนื่องจากดินไม่ค่อยสมบูรณ์ มีการตรึงธาตุอาหารรุนแรง ธาตุอาหารสูญเสีย โดยการพังทลาย และการชะล้างอุณหภูมิอากาศต่ำ ความชื้นในดินมีจำกัด รากมีบาดแผล หรือเริ่มเป็นโรค หรือระบบรากค่อนข้างจำกัด ควรแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้โดยการให้ปุ๋ยทางใบ

5. การให้ปุ๋ยทางใบเพื่อเสริมการใส่ในดิน จะให้ผลเด่นชัด เมื่อให้ตอนที่พืชมีอัตราการเจริญเติบโตค่อนข้างช้าและระหว่างการออกดอก ขณะที่พืชออกดอกจะมีใบเต็มที่แล้ว แต่ความสามารถในการดูดธาตุอาหารของรากลดลง

ข้อจำกัด :
1. ควรถือว่าการให้ปุ๋ยทางใบเป็นวิธีเสริมการใส่ปุ๋ยทางดินตามปกติ
2. การพ่นปุ๋ยน้ำให้มีละอองเล็กและรวดเร็วต้องใช้เครื่องมือพิเศษ และต้องการความชำนาญพอสมควร

3. พืชหลายชนิด ไม่ค่อยตอบสนองต่อการพ่นปุ๋ยทางใบ องค์ประกอบทางเคมีและสัณฐานลักษณะของพืช มีผลกระทบต่อการเกาะติดที่ใบ และการใช้ประโยชน์จากปุ๋ย

4. หากใช้อัตราสูงเกินไป อาจเกิดอาการใบไหม้ได้อย่างรุนแรงกว่าการใส่ในดิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ปุ๋ยธาตุอาหารเสริมจะต้องระมัดระวังในเรื่องอัตราที่ใช้อย่างมาก

5. ต้องไม่ใช้ปุ๋ยพ่นทางใบในขณะที่พืชเหี่ยวเฉาหรือขาดน้ำ หรืออากาศร้อนจัด ลมแรงหรือเมื่อคาดว่าฝนจะตก

6. การพ่นปุ๋ย อย่าให้ถึงกับเปียกโชกเพราะสิ้นเปลีองค่าปุ๋ยซึ่งมีราคาแพง ประสิทธิภาพของพ่นทางใบเมื่อตกลงดินจะมีประสิทธิภาพเท่ากับปุ๋ยที่ใส่ทางดินที่มีราคาถูกกว่ามาก

7. โดยปกติปุ๋ยที่ใช้อยู่ในรูปของอนินทรียสาร จึงกัดกร่อนอุปกรณ์การพ่นปุ๋ยมากกว่าสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชทั่ว ๆ ไป

ธาตุอาหารพืชในปุ๋ยเคมีสูตรต่าง ๆ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม
กลุ่มที่ 1 เรียกว่า ธาตุอาหารหลัก ประกอบด้วย ไนโตรเจน. ฟอสฟอรัส. และโพแทสเซียม.

กลุ่มที่ 2 เรียกว่า ธาตุอาหารรอง ประกอบด้วย แคลเซียม. แมกนีเซียม. กำมะถัน.
กลุ่มที่ 3 เรียกว่า ธาตุอาการเสริม ประกอบด้วย เหล็ก. แมงกานีส. สังกะสี. ทองแดง. โบรอน. โมลิบดินัม. คลอรีน. โซเดียม. ซิลิก้า.

การใช้ปุ๋ยพ่นทางใบ มีข้อจำกัดหลายประการ แต่ประการที่สำคัญที่สุด คือ ความเข้มข้นของปริมาณธาตุอาหารที่มากเกินพอ จนทำให้พืชทนไม่ได้ และเกิดความเสียหายได้ อัตราแนะนำที่ต่ำเกินไป พ่นทางใบจะไม่ได้ผลเต็มประสิทธิภาพ เสียเวลาเสียค่าใช้จ่ายไม่คุ้มค่าและเกิดความเข้าใจผิดเสียโอกาสแต่อัตราที่สูงเกินไปก็จะเกิดผลเสียหายแก่พืชอัตราการใช้ปุ๋ยพ่นทางใบแต่ละสูตรขึ้นอยู่กับ

1. ธาตุอาหารหลักที่สูตรปุ๋ยนั้น ๆ ถ้าใช้เกินความทนได้ของพืชแล้ว จะก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงลำดับมากไปหาน้อย คือ ฟอสฟอรัส ไนโตรเจน และโพแทสเซียม

2. ชนิดของพืชที่แนะนำให้ใช้ แบ่งพืชออกเป็น 3 กลุ่ม ตามความสามารถที่ทนได้ต่อความเข้มข้นของธาตุอาหารหลัก

2.1 พืชกลุ่มที่ 1 พวกแตงต่าง ๆ ถั่วฝักยาว ถั่วลันเตา มะเขือ ต่างๆ ผักกาดหอม ไม้ดอก ไม้ประดับ และไม้ผลพืช ในกลุ่มนี้มีความทนต่อความเข้มข้นของธาตุอาหารหลักได้ต่ำสุด

2.2 พืชกลุ่มที่ 2 พวกพืชตระกูลกระหล่ำ มีความทนได้ปานกลาง
2.3 พืชกลุ่มที่ 3 พืชหัว หอม กระเทียม แครอท มันฝรั่ง มันต่าง ๆ สับปะรด มีความทนได้สูง

3. การกำหนดอัตรา เพื่อเขียนลงในเอกสารกำกับปุ๋ยเคมี เพื่อจัดหาให้แก่เกษตรกร กำกับปุ๋ยสูตรที่ขอขึ้นทะเบียน และจำหน่ายอยู่ในปัจจุบัน ได้กำหนดอัตราการใช้เพียงครึ่งหนึ่งของความทนได้ ทั้งนี้ด้วยเหตุผลที่ว่า การใช้ปุ๋ยพ่นทางใบของเกษตรกรนั้น ส่วนใหญ่ใช้ประมาณคร่าว ๆ และมักใช้เกินอัตราแนะนำ ดังนั้นการลดอัตราการใช้จากความทนได้ลงมาครึ่งหนึ่งก็เพื่อความปลอดภัยของพืชนั่นเอง

เวลาที่เหมาะแก่การพ่นทางใบ
ควรพ่นในช่วงที่มีอุณหภูมิต่ำ แดดไม่จัด และความชื้นสัมพัทธ์สูง เพื่อให้คงสภาพเป็นสารละลายนานที่สุด เนื่องจากพืชจะได้รับประโยชน์จากปุ๋ยที่ให้ทางใบก็ต่อเมื่อปุ๋ยนั้นอยู่ในรูปของสารละลาย การดูดซึมปุ๋ยทางใบจะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เฉพาะเมื่อปุ๋ยยังอยู่บนผิวใบในรูปของสารละลาย

http://www.navy22.com/smf/index.php?topic=16558.0


ข้อดีและข้อเสีย ของการใช้ปุ๋ยทางใบ (ปุ๋ยน้ำและปุ๋ยเกล็ด)
ปุ๋ยทางใบ หมายถึง ปุ๋ยที่เป็นสารละลายแล้ว ฉีดพ่นทางใบเพื่อให้ธาตุอาหารแก่พืช เนื่องจากรากพืชสัมผัสอยู่กับอนุภาคดินและสารละลายของดินโดยตรง รากจึงดูดธาตุอาหารได้ตลอดเวลา ส่วนใบพืชอยู่ในอากาศ จะมีโอกาสดูดธาตุอาหารได้เฉพาะ จากสารละลายที่มาสัมผัสใบเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ใบจึงได้รับธาตุอาหารตามธรรมชาติจากน้ำฝนและน้ำค้าง การฉีดพ่นปุ๋ยทางใบให้แก่พืชเป็นการช่วยให้พืชได้รับธาตุอาหารได้มากขึ้นและเร็วขึ้นชนิดของปุ๋ยทางใบ

ปัจจุบันใช้ปุ๋ยทางใบมี 2 ชนิด :
1. ปุ๋ยเกล็ด คือปุ๋ยเคมีชนิดแข็งที่มีสภาพเป็นรูปผลึกของสารประกอบ ผลิตจากการนำแม่ปุ๋ยชนิดต่างๆมาผสมกับให้ได้สูตรที่ต้องการเป็นปุ๋ยที่ละลายน้ำง่าย

2. ปุ๋ยน้ำหรือปุ๋ยเหลว คือปุ๋ยที่ได้จากการละลายแม่ปุ๋ยในน้ำให้ได้สัดส่วนเป็นปุ๋ยสูตรต่างๆ โดยที่แม่ปุ๋ยจะถูกละลายได้ทั้งหมด วิธีใช้ปุ๋ยเพียงแต่นำมาเจือจางด้วยน้ำในอัตราที่พอเหมาะแล้วนำไปฉีดพ่นพืชได้ทันที

ข้อดีของการใช้ปุ๋ยทางใบ
1. ช่วยให้พืชเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว หลังจาก การย้ายปลูกและตั้งตัวได้แล้ว
2. ใช้กับอาการขาดธาตุอาหารในระยะแรกๆ ได้ดี
3. ใช้ผสมกับการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดโรคแมลง และควบคุมวัชพืชได้เป็นการประหยัดแรงงาน

4. ใช้กับพืชที่ปลูกในดินที่มีปัญหา เช่น ดินเค็ม ดินเปรี้ยวจัด ดินทรายจัด ดินเหนียวจัด หรือดินที่มีปัจจัยแวดล้อมขวางการดูดใช้ธาตุอาหารทางระบบราก

5. ใช้ในการเสริมธาตุหลัก คือ ไนโตรเจนในรูปปุ๋ยยูเรียและการให้ธาตุรอง และธาตุอาหารเสริมแก่พืช

6. พืชสามารถดูดธาตุอาหารโดยทางใบได้มากกว่า และเร็วกว่าการดูดทางราก ต้นไม้จึงใช้ประโยชน์จากธาตุอาหารได้เร็ว

7. ช่วยให้พืชฟื้นตัวเร็ว หลักจากชะงักเนื่องจากกระทบแล้งหรือถูกโรคแมลงทำลาย
8. ปุ๋ยน้ำ มีความสม่ำเสมอของเนื้อปุ๋ยแน่นอนกว่าปุ๋ยชนิดแข็งและปุ๋ยเกล็ด มีปริมาณเนื้อปุ๋ยรวม (N + P2O5 + K2O) สูงกว่าปุ๋ยเม็ดทำให้ทุ่นค่าใช้จ่ายในการขนส่งมากกว่า

9. ปุ๋ยน้ำผลิตง่ายและเปลี่ยนแปลงปรับปรุงสูตรได้ง่าย จึงผลิตได้มากสูตรกว่าปุ๋ยชนิดแข็ง
10. ง่ายต่อการขนส่งและการใช้ เมื่อเปรียบเทียบปุ๋ยทางใบกับปุ๋ยทางดิน ปุ๋ยทางใบ มิใช่จะดีกว่าปุ๋ยทางดินในทุกๆเรื่อง ข้อเสียหรือความไม่เหมาะสมของปุ๋ยทางใบมีหลายประการดังจะได้กล่าวต่อไป ฉะนั้นจึงควรพิจารณาข้อดีและข้อเสียก่อนจะเลือกใช้ปุ๋ยข้อเสียของการใช้ปุ๋ยทางใบ

ข้อเสียของการใช้ปุ๋ยทางใบ
1. โดยทั่วไปการใช้ปุ๋ยทางใบเพียงอย่างเดียวไม่สามารถจะให้ธาตุอาหารแก่พืชได้อย่างเพียงพอในปริมาณ ที่เท่าเทียมกับปุ๋ยทางดิน เพราะถ้าให้ในระดับความเข้มข้นสูงเกินไปอาจทำให้พืชใบไหม้

2. การให้ปุ๋ยทางใบเพียงอย่างเดียวจะทำได้เฉพาะกับพืชที่ให้ผลตอบแทนสูงมากเท่านั้น เพราะจะต้อง ให้ปุ๋ยบ่อยครั้งตามกำหนดเวลาอย่างสม่ำเสมอ

3. ปุ๋ยน้ำชนิดสารละลายไม่สามารถผลิตให้มีเกรดสูงๆได้ โดยทั่วไปมักมีปริมาณของธาตุอาหารรวมของ (N + P2O5 + K2O) ไม่เกิน 30 เปอร์เซ็นต์

4. ปุ๋ยเกล็ดมักมีคุณสมบัติดูดความชื้นจากอากาศได้ง่ายกว่าปุ๋ยเม็ด แม้จะมีการใส่สารป้องกันความชื้นแล้วก็ตามทำให้เสื่อมคุณภาพเร็ว

5. ราคาต่อหน่วยของธาตุอาหารในปุ๋ยน้ำสูงกว่าราคาต่อหน่วยของธาตุอาหารในปุ๋ยเม็ดและปุ๋ยเกล็ด เพราะโดยทั่วไปปุ๋ยน้ำจะมีเกรดต่ำกว่าปุ๋ยชนิดแข็ง (ปุ๋ยเม็ด และปุ๋ยเกล็ด)

6. ราคาต่อหน่วยของธาตุอาหารในปุ๋ยเกล็ดสูงกว่าราคาต่อหน่วยของธาตุอาหารในปุ๋ยเม็ดมาก เพราะแม่ปุ๋ยที่ใช้ในการผลิตปุ๋ยผสมชนิดเกล็ดมีราคาแพงกว่าแม่ปุ๋ยที่ใช้ในการผลิตปุ๋ยเม็ด

7. ปุ๋ยน้ำละลายธาตุอาหารเสริมและธาตุอาหารรองได้น้อย ยกเว้นปุ๋ยน้ำที่ใช้แม่ปุ๋ยในรูปของสารประกอบพวกโพลิฟอสเฟตและสารคีเลต

8. ปุ๋ยน้ำโดยทั่วไปจะควบคุมคุณภาพได้ยากกว่าปุ๋ยเม็ดและปุ๋ยเกล็ด

คุณสมบัติและลักษณะของปุ๋ยทางใบที่ดี
ปุ๋ยทางใบที่ดีควรมีคุณสมบัติดังนี้

1. ปุ๋ยพืชที่มีสูตรสูง อย่างน้อยควรมีผสมรวมของ N + P2O3 + K2O ไม่น้อยกว่า 30% สำหรับปุ๋ยน้ำ และ 60% สำหรับปุ๋ยเกล็ด

2. ควรประกอบด้วยธาตุอาหารเสริมบางธาตุหรือหลายๆ ธาตุนอกเหนือจากธาตุอาหารหลัก N-P-K

3. ควรเป็นปุ๋ยที่มีความเป็นกรดมากพอ ที่เมื่อนำไปละลายน้ำในระดับความเข้มข้น 0.25-0.30 % ของตัวปุ๋ย (ซึ่งเป็นอัตราที่ใช้อยู่ในประเทศไทย) จะได้ส่วนผสมของสารละลายปุ๋ยที่มีค่า pH ระหว่าง 4.5-6.0 ทั้งนี้เนื่องจากค่า pH ในช่วงดังกล่าวใบพืชจะสามารถดูดธาตุ อาหารได้ดีและเร็วกว่าค่า pH ของปุ๋ยที่ต่ำหรือสูงกว่านี้

4. ปุ๋ยน้ำควรเป็นปุ๋ยประเภทสารละลายที่ไม่มีความดัน
5. ปุ๋ยเกล็ดควรเป็นปุ๋ยที่สามารถละลายน้ำได้เร็วและละลายได้น้ำทั้งหมด
6. ปุ๋ยน้ำควรเป็นปุ๋ยที่ผลิตจากแม่ปุ๋ยฟอสฟอรัส ในรูปของสารประกอบหรือสารละลายโพลิฟอสเฟต
7. ปุ๋ยเกล็ดควรอยู่ในรูปผลึกขนาดเล็ก ที่มีความบริสุทธิ์สูง ไม่ชื้นง่าย และไม่ควรมีค่าความชื้นมากกว่า 1 เปอร์เซ็นต์


สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หรือที่กรมพัฒนาที่ดิน ถนนพหลโยธิน เขตจตุจักร กทม 10900 โทร 0-2579-8515

http://www.ldd.go.th/menu_Dataonline/G7/G7_02.pdf

-------------------------------------------------------------------




.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 10/03/2024 12:56 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 03/03/2024 11:51 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
เทคนิค v.s. เทคโน

ประกาศ “ปี 2566 ปีแห่งเทคโนโลยีเกษตรไทย” :
https://www.moac.go.th/news-preview-451891791987

พลิกโฉมการเกษตรไทย :
https://techsauce.co/tech-and-biz/axons-aims-to-change-thailand-ariculture-system

เทคโนโลยีการเกษตร :
https://www.arda.or.th/detail/6182

......................................................................................................

จีนใช้เทคโนโลยีทำการเกษตรทดแทนแรงงานคน :
https://thai.cri.cn/20220328/237f24d6-7b28-596e-3e7c-60f6bdde5984.html


จีนสร้าง “ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีเกษตร” สุดอลังการ พื้นที่ 1.26 แสนไร่ :
http://smartcitythailand.com/china-agriculture-technology-center/

จีนทำเกษตรยังไงให้ใช้คนน้อยที่สุด :
https://www.youtube.com/watch?v=MAGhOiykR_M

จีนทำเกษตรอัจฉริยะ จนแทบไม่ต้องใช้แรงงานคนทำนา :
https://www.google.com/search?q=%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B9%82%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%A2%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B8%99&rlz=1C1GCEA_enTH1067TH1067&oq=&gs_lcrp=EgZjaHJvbWUqCQgAEEUYOxjCAzIJCAAQRRg7GMIDMgkIARBFGDsYwgMyCQgCEEUYOxjCAzIJCAMQRRg7GMIDMgkIBBBFGDsYwgMyCQgFEEUYOxjCA9IBCTI4MzVqMGoxNagCBrACAQ&sourceid=chrome&ie=UTF-8#fpstate=ive&vld=cid:f45a4ce4,vid:HbYItU7TAk0,st:0

จีนใช้เทคโนโลยี ‘รถดำนา’ ช่วยปักชำต้นกล้า หนุนเพิ่มผลผลิต :
https://www.mcot.net/view/0cAXUwXg

ทำไมชาวนาญี่ปุ่นจึงรวย ? :
https://www.winnews.tv/news/9654

วิเคราะห์ความต่าง “ชาวนาไทย” กับ “ชาวนาญี่ปุ่น” :
https://cheechongruay.smartsme.co.th/content/23990

เทคนิคทำนาข้าวเวียดนาม ใช้วิธีไหนเพิ่มผลผลิต ? :
https://www.youtube.com/watch?v=8xnWPp2UTRU

ข้าวเวียดนาม…ได้ผลผลิตสูงกว่าข้าวไทย :
https://www.kasetkaoklai.com/home/2017/06/%E0%B9%84%E0%B8%9B%E0%B8%94%E0%B8%B9%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A1-%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B9%84%E0%B8%A1/

ข้าวไทย โดนข้าวอินเดียและเวียดนาม แซงหน้า :
https://www.longtunman.com/37335

เวียดนามผุดไอเดีย ‘นาข้าวอัจฉริยะ’ พัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืน :
https://www.facebook.com/XinhuaNewsAgency.th/posts/2356930271189648/

10 อันดับประเทศผู้ผลิตทางการเกษตรของโลก :
https://www.kasetsanjorn.com/5161/

นาข้าว ยุคใหม่ :
https://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=7198&sid=70fd88f85289d085e86bec681847f6cd

นาข้าวแบบประณีต :
https://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=1700&page=1

นาข้าวแบบเหมาจ่าย :
https://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=1701

29. ข้าว 9 เมล็ด ปลูกได้ 30 ไร่ :
"คุณบังอร" อยู่สุพรรณบุรี ได้ข้าวเปลือกไรซ์เบอร์รี่มาจากอาจารย์ที่ ม.เกษตรกำแพงแสน เจ้าของลิขสิทธิ์เมล็ดพันธุ์ จำนวนเพียง 9 เมล็ดเท่านั้น ด้วยความอยากได้ข้าวสายพันธุ์เป็นที่้สุด นำมาเพาะลงในแปลงที่เตรียมไว้ ประคบประหงมอย่างประณีตที่สุด ด้วยแนวทาง อินทรีน์นำ เคมีเสริม ตามความเหมาะสมของต้นข้าว

รุ่นแรกได้เมล็ดพันธุ์มาแล้วขายพันธุ์ต่อเป็นรุ่นที่ 2 จากรุ่นที่ 2 ขยายพันธุ์ต่อเป็นรุ่นที่ 3 คราวนี้ได้เนื้อที่ 30 ไร่ จนเต็มเนื้อที่นาที่มี ถึงวันนี้ทำมาแล้ว 4-5 รอบ

นอกจากนี้ ในเนื้อที่ 30 ไร่ ยังได้จัดแปลงส่วนหนึ่งสำหรับทำเมล็ดพันธุ์โดยเฉพาะด้วยเทคนิคการบำรุง การแยกข้าวปน ทุกขั้นตอนต้องอดทนอย่างที่สุด ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องยากหากต้องการทำ .....

วันนี้ คุณบังอรฯ ประสบความสำเร็จอย่างมีคุณธรรม ใครๆขายข้าวปลูกไรซ์เบอร์รี่ ถังละ 1,500-1,700 แต่คุณบังอรฯ ขายถังละ 500 ก็ได้ข้าวเกวียนละ 50,000 แล้ว สบายๆๆ

ไรซ์เบอร์รี่ ล้มตอซัง ประหยัดต้นทุน :
- ทำนาแบบ อินทรีย์นำ เคมีเสริม ตามความเหมาะสมของนาข้าว ยิ่งใช้ปุ๋ยลุงคิม ประจำหลายๆรุ่น จะยิ่งใช้น้อยลง จำนวนครั้งฉีดทางใบน้อยลง ให้ทางดินก็ใส่น้อยลงด้วย อันนี้น่ะจะเป็นเพรา “ดินดีแบบสะสม” กับต้นสมบูรณ์ที่ได้จากดิน ให้ปุ๋ยทางใบน้อยครั้งลงต้นก็ยังงามได้ ออกรวงดี น้ำหนักดี สำคัญที่สุด คือ โรคแมลงไม่วอแววี้ดว้ายกระตู้วูเลย

- ไถกลบฟาง ย่ำเทือกประณีตกำจัดวัชพืชไปในตัว เลิกยาฆ่าหญ้าแต่ใช้วิธีถอนเพราะมีไม่มาก เลิกสารเคมีฆ่าแมลงแต่ใช้สารสมุนไพรแบบเดี่ยวๆ หรือแบบผสมปุ๋ยทางใบ ฉีดบ่อยๆ ฉีดล่วงหน้าก่อนศัตรูพืชมา ถือหลัก กันก่อนแก้ แย่แล้วแก้ไม่ทัน

- หลายๆรุ่นมานี้ เฉพาะต้นทุนค่าปุ๋ย ค่ายาฆ่าแมลง ลดสุดๆ ลดกว่าเดิมหลายเท่าตัวเห็นได้ชัด .... ไม่จ้างแรงงาน ทำเองสองคนผัวเมียเท่านั้น ลงแปลงเดินย่ำลงไปในนาทุกวัน .... ขยันจนน่ากลัว ขยันแล้วรวยใครจะไม่เอา ผิดกับบางคนที่ "ขี้เกียจ" อ้างโน่นอ้างนี่ ไม่มีเวลา ยุ่งยากเสียเวลา ทำไม่เป็น ไม่มีความรู้ ไม่มีใครมาส่งเสริม แบบนี้ก็จง "จน+หนี้" ต่อไปเถอะ

- รู้ดีว่า สายพันธุ์ข้าวไรซ์เบอร์รี่ยังไม่นิ่ง เพราะฉะนั้น ทุกรุ่นทุกรอบที่ปลูก จะแยกข้าวปนโดยการเดินลุยลงไปแล้ว “ถอนทิ้งทั้งกอ” ถอนทุกอย่าง วัชพืช ข้าวสีขาวที่ติดมากับรถเกี่ยว ไรซ์เบอร์รี่เมล็ดสีขาวอมเทา อย่าเสียดาย อย่างก

- รุ่นนี้ทำนาไรซ์เบอร์รี่แบบ “ย่ำตอซัง” ได้ผลชัดเจนมากๆ ประหยัด “ค่าไถ ค่ำย่ำเทือก ค่าเมล็ดพันธุ์ ค่าดำ ค่าแรง ฯลฯ” ....

วิธีการ :
เกี่ยวข้าวเสร็จ เกลี่ยฟางให้เสมอกัน แล้วใช้ล้อย่ำตอทันที
บริเวณกลางแปลงล้อย่ำทำงานเรียบร้อยดี แต่ตอข้าวริมคันนาล้อย่ำทำงานไม่สะดวก ต้องใช้เครื่องตัดหญ้าช่วยตัดตอแทน ดูแล้วเรียบร้อยดีกว่าย่ำ

(..... คิด/วิเคราะห์/เปรียบเทียบ .... ใช้เครื่องตัดหญ้าแบบเส้นเอ็นดีกว่าวิธีใช้ใบมีดเหล็กหรือวิธีใช้ล้อย่ำ ทั้งนี้ ต้นข้าวจะขาดตอเสมอกันทั่วทั้งแปลง ส่งผลให้การแทงหน่อใหม่ดี....)

หลังย่ำตอ 5-7 วัน หน่อข้าวเริ่มแทงขึ้นมาจากพื้นดิน สำรวจได้ประมาณ 75-80% ทิ้งไว้อีก 3-5 วัน ส่วนที่เหลือเริ่มงอก รวมข้าวงอกมากกว่า 95 % ที่เหลือช่วยเขาโดยแซะข้าวกอข้างเคียงมาดำเสริ (.... ก่อนย่ำตอไม่ใส่น้ำ ปล่อยให้หน้าดินแห้งเพื่อให้ตอแหลกสลายดี แม้ผิวดินจะแห้งแต่มีน้ำอยู่ไต้ผิวดิน อันเป็นผลพวงมาจากการไถกลบฟางซ้ำหลายๆรุ่น ฟางไต้ดินจึงทำหน้าที่เสมือนฟองน้ำเก็บน้ำไว้ให้ หล่อเลี้ยงตอข้าวยามรอแตกหน่อใหม่ได้....)

- เมื่อมั่นใจ ทั้งหน่อข้าวแตกใหม่ หน่อใหม่ที่ปลูกซ่อม ยืนต้นได้แล้ว สิริรวมระยะเวลาทั้งสิ้นกว่า 10-12 วัน ใครเห็นก็คิดว่า ตอข้าวขาดน้ำนานปานนี้น่าจะตายหมดแล้ว แต่ในความเป็นจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ นอกจากในดินมีฟองน้ำคอยอุ้มน้ำไว้ให้แล้ว ระบบรากที่สมบูรณ์แข็งแรง จากการบำรุงต้นข้าวส่งผลให้ตอข้าวยืนรอแตกหน่อใหม่ได้อย่างไม่สะทกสะท้าน จึงสูบน้ำเข้านา จากนั้นทุกอย่างทุกขั้นตอน ปฏิบัติเหมือนการทำนาปกติ

- ฟางในดินอุ้มน้ำไว้ในเนื้อดินได้นานนับเดือน เป็นน้ำระดับ "ชื้น" งานนี้นอกจากได้น้ำแล้วยังมีจุลินทรีย์ประจำถิ่น +จุลืนทรีย์ที่ใส่ลงไปอีกด้วย

- แปลงข้างๆ เห็นนาแปลงนี้มาตลอด ตั้งแต่ครั้งแรกที่ได้ข้าวปลูกมา 9 เมล็ด, การเปลี่ยนจากข้าวสีขาวมาเป็นข้าวสีดำ, การปฏิบัติบำรุง, ทุกอย่างทุกขั้นตอนประจักษ์แจ้งเห็นกับตา จับกับมือ แม้กระทั่งรายได้แต่ละรุ่นก็รู้อยู่แก่ใจ .... งานนี้นอกจาก ไม่ใส่ใจ-ไม่คิด-ไม่วิเคราะห์-ไม่เปรียบเทียบ กับนาตัวเอง กับนาแปลงอื่นๆ แล้ว ยังค่อนขอดนาๆว่า นาอินทรีย์ไปไม่รอด ข้าวสีดำโรงสีไม่รับซื้อ มาถึงรุ่นนี้ ไรซ์เบอร์รี่ล้มตอซัง ก็ยังค่อนขอดอีกว่า ต้นข้าวไม่ใช่ต้นกล้วยถึงจะเอาหน่อได้ กระทั่งหน่อข้าวขึ้นมาเต็มแปลง เห็นเต็มตาว่านั้นคือต้นข้าว ก็ยังไม่วายสงสัยอีกว่า มันมาได้ยังไง ?

กรอบแห่งความคิด :
คุณภาพเพิ่ม :

- ไม่อยู่ในเกณฑ์ถูกตัดราคา (ปลอม ปน ป่น ไข่ เรื้อ ลีบ)
- ปริมาณเท่ากันแต่ขายได้ราคาสูงกว่า
- ผลิตตามความต้องการของตลาด หรือผู้รับซื้อ (การตลาด นำการผลิต)
- แปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่ม (ขายส่ง ขายปลีก)
- ปรับ/เปลี่ยน วิธีการปฏิบัติเมื่อสภาพอากาศผิดปกติ เพื่อให้ได้ผลผลิต
- อินทรีย์นำ เคมีเสริม หรือ เคมีนำ อินทรีย์เสริม ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม
- ฯลฯ

ต้นทุนลด :
- เขียนรายการต้นทุนที่เป็นเงิน (เช่า ไถ ย่ำ พันธุ์ หว่าน/ดำ ฉีด ปุ๋ย ยา ฯลฯ) ขึ้นมาก่อน ทุกรายการ
- เขียนรายการต้นทุนที่ไม่ได้ซื้อ (ที่ดิน เวลา แรงงานตัวเอง โอกาส ฯลฯ) ขึ้นมาก่อน ทุกรายการ
- ประมาณการตลาดล่วงหน้าราคาขายว่า ขายแล้วจะได้เท่าไหร่
- คิด/วิเคราะห์/เปรียบเทียบ ต้นทุนระหว่างทำเอง 100% กับ ทำเองครึ่งนึ่งซื้อครึ่งนึง
- ลงทุนแก้ปัญหาครั้งเดียว เพื่อป้องกันปัญหาระยะยาว
- ใช้ เทคโนโลยีวิชาการ ผสมผสาน เทคโนโลยีชาวบ้าน
- ฉลาดเลือก ฉลาดซื้อ ฉลาดใช้ ฉลาดวางแผน ฉลาดทำ เพื่อต้นทุนที่ต่ำกว่าแต่ประสิทธิภาพเหนือกว่า
- ใช้เครื่องทุ่นแรง เพื่อประสิทธิภาพประสิทธิผลของเนื้องาน
- ฯลฯ

อนาคตดี :
- ดิน น้ำ ดีขึ้นเรื่อยๆ
- ชื่อเสียง เคดิต
- รวมกลุ่มสร้างผลผลิตเพื่อผู้รับซื้อมั่นใจ
- เปิดตัวเปิดใจรับรู้ข้อมูลทางวิชาการ แล้วต่อยอดขยายผล สำหรับรุ่นหน้า รุ่นต่อๆไป
- ฯลฯ

**** ทฤษฎีนี้ นำไปใช้กับนาข้าวได้ทุกชนิด ทุกสายพันธุ์ ทุกประเทศ ****

นาข้าวล้มตอซัง ....
จาก : (082) 177-23xx
ข้อความ : ลุงคิมมีข้อมูลเรื่องต้นทุนนาย่ำตอซังไหมคะ ....ขอบคุณค่ะ

จาก : (064) 893-15xx
ข้อความ : เห็นด้วย นาข้าวใส่ปุ๋ยไร่ละ 2 สอบ 100 โล ต้นข้าวได้ปุ๋ยแค่ 2 ตัว เม็ดลีบ ท้องไข่ ไม่ใส ไม่แกร่ง ความชื้นสูง ได้ข้าวน้อย ถูกตัดราคา ให้ลุงสู้ต่อไป .... หนุ่มโรงงาน ลูกชาวนา

จาก : (089) 053-10 xx
ข้อความ : ผมทำนาตามสูตรของลุงคิม ผลผลิตดีขึ้นกว่าเดิม อีก 3 วันจะเกี่ยวข้าวนาดำ ขอให้ลุงคิมแนะนำการล้มตอซัง เพื่อลดต้นทุนหน่อยครับ ท้ายนี้ขอให้ลุงคิม....(ข้อความไม่ครบ)

ตอบ :
ว่ามั้ย....
* นี่คือ เทคนิค-เทคโนโลยี การผลิต .... เทคนิค คือ วิธีการ .... เทคโนโลยี คือ หลักวิชาการ
* ปรัชญา 10 ล้อ .... พื้นที่เท่าเดิม-ต้นทุนเท่าเดิม-ระยะเวลาเท่าเดิม-แรงงานเท่าเดิม แต่ ทำแบบใหม่ เอาเทคนิคเทคโนมาจับมาใช้ = ได้มากกว่า
* ทำแบบเดิม ทำตามคนที่ล้มเหลว สถานการณ์ชีวิตคงไม่มีอะไรดีขึ้น
* รัฐช่วย + ตัวเองช่วย + ข้างบ้านช่วย + ธรรมชาติช่วย + ลุงคิมช่วย = ได้ 5 เด้ง
* ต้นตอที่แท้จริงของปัญหาอยู่ที่ “ใจ” เพราะใจไม่รับ สิ่งใหม่-วิธีใหม่ ที่ถูกต้องตามธรรมชาติของพืช คือ ปลูกพืชตามใจพืช ไม่ใช่ตามใจคน คนที่ว่าก็ไม่ใช่ตัวเอง กลับเป็นคนอื่น

ข้อดีของการปลูกข้าวแบบล้มตอซัง
1. ลดต้นทุนการผลิต ค่าเตรียมดิน ค่าเมล็ดพันธุ์ ค่าสารเคมีควบคุมและกำจัดวัชพืช ฯลฯ ไร่ละประมาณ 900 บาท
2. ย่นระยะเวลาการปลูกข้าวให้เร็วขึ้น 10-15 วัน (ไม่เสียเวลาเตรียมดินและหว่านข้าว)
3. เป็นการรักษาสภาวะแวดล้อม เพราะลดการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชและหอยเชอรี่
4. ลดปัญหาการเผาฟางข้าว โดยนำมาใช้ประโยชน์ในการคลุมแปลงนาเพื่อรักษาความชื้นในดิน

ต้นทุนนาข้าว 1 ไร่ :
.. รายการ ............. การทำนาหว่านน้ำตม (บาท/ไร่) ............ การปลูกข้าวตอซัง .
1. ค่าเตรียมดิน........................ 250 .................................... -
2. ค่าล้มตอ กระจายฟาง……........... - ....................................... 80
3. ค่าเมล็ดพันธุ์....................... 120 ..................................... -
4. ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง.................. 300 .................................... 150
5. ค่าปุ๋ยเคมี.......................... 480 ……………......................... 282
6. ค่าสารกำจัดวัชพืช................. 165 ……………............................ –
7. ค่าสารกำจัดหอย..................... - …………….............................. -
8. ค่าสารกำจัดศัตรูพืช.................141....................................... 91
9. ค่าจ้างหว่านข้าว..................... 40 ....................................... -
10. ค่าจ้างหว่านปุ๋ย.................... 120 ...................................... 80
11. ค่าจ้างพ่นสารกำจัดวัชพืช ......... 80 ........................................ -
12. ค่าจ้างพ่นสารกำจัดศัตรูพืช ....... 120 ...................................... 80
13. ค่าจ้างเก็บเกี่ยว.................... 250 ..................................... 250
14. ค่าจ้างขนส่ง....................... 100 ..................................... 100

ต้นทุนการผลิตรวม (บาท/ไร่) ........ 2,166 .................................. 1,113
ผลผลิตข้าวเปลือก (กิโลกรัม/ไร่) ..... 958 ...................................... 975

ราคาขาย (บาท/กิโลกรัม) ............ 5.90 .................................... 5.90
รายได้รวม (บาท/ไร่).................. 5,652 .................................. 5,752
รายได้สุทธิ (บาท/ไร่)................. 3,486 ................................... 4,639
ที่มา : สำนักงานเกษตรจังหวัดปทุมธานี (2549)

ตารางเปรียบเทียบต้นทุนการผลิต ผลผลิต รายได้รวม และรายได้สุทธิจากการปลูกข้าวแบบล้มตอซัง กับการทำนาหว่านน้ำตม ปีการผลิต 2549 ของเกษตรกรในพื้นที่อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี

ข้าวล้มตอ : การทำนาสูตรประหยัด
เรื่อง/ภาพ เสมอชน ธนพัธ

CASE STUDY กรณีศึกษา คิด-วิเคราะห์-เปรียบเทียบ :
* ทั้งหมดทั้งสิ้นนี้เป็นต้นทุนเพียวๆ ทำแบบเดิมๆ
* ต้นทุนทั้งหมดทั้งสิ้นนี้สามารถลดได้ด้วย เทคนิค-เทคโนโลยี
* ต้นทุนรายการไหน ตัด/ลด/ปรับ/เปลี่ยน ได้ ให้ทำ
* ต้นทุนรายการไหน หลายรายการรวมกันเป็นรายการเดียว ได้ ขอให้ทำ
* ต้นทุนค่าจ้าง จ้างให้ทำอะไร อย่างไร เท่าไหร่ เพราะอะไร เพื่ออะไร ฯลฯ

ข้าว .... นาข้าวล้มตอซัง :
หลักการและเหตุผล :

- ข้าว คือ พืชตระกูลหญ้า ลักษณะการขยายพันธุ์อย่างหนึ่งระหว่างต้นข้าวกับต้นต้นหญ้าที่เหมือนกัน คือ หลังจากลำต้นถูกตัดไปจนเหลือแต่ตอแล้ว ยังสามารถแตกหน่อใหม่จากข้อที่ตอแล้วเจริญเติบโตจนออกดอกติดผลได้ โดยผลผลิตที่ได้ยังมีคุณภาพและปริมาณไม่ต่างจากต้นข้าวหรือต้นหญ้าปลูกใหม่แต่อย่างใด ..... นั่นคือ ปลูก 1 ครั้ง เกี่ยวได้ 3 รอบ

ประโยชน์ที่ได้รับจากการทำนาข้าวแบบล้มตอซังที่เห็นได้ชัด คือ ลดต้นทุนค่าไถ ทำเทือก หมักฟาง หว่าน/ดำ เมล็ดพันธุ์ และอื่นๆ ที่ต้องเตรียมการก่อนลงมือหว่านดำ

แนวทางปฏิบัติ :
1. หลังจากเกี่ยวข้าวด้วยมือหรือรถเกี่ยวเสร็จ ให้สำรวจหน้าดินว่ายังมีความชื้นเพียงพอต่อการที่จะทำนาแบบล้มตอซังต่อไปหรือไม่ กล่าว คือ ดินต้องมีความชื้นระดับนำขึ้นมาปั้นเป็นลูกยางหนัง สติ๊กได้พอดีๆ ไม่อ่อนเละหรือแข็งเกินไปจนปั้นเป็นลูกกลมๆไม่ได้

วัตถุประสงค์ของการสำรวจความชื้นหน้าดิน ก็เพื่อจะได้อาศัยความชื้นนี้ส่งเสริมให้เกิดการแตกยอดใหม่จากตอซังนั่นเอง

2. ผลสำรวจความชื้นน้าดิน ถ้ายังมีระดับความชื้นตามต้องการแล้ว ให้ลงมือเกลี่ยเศษฟางที่รถเกี่ยวพ่นออกมา ทั้งส่วนที่กองทับอยู่บนตอซังและบริเวณอื่นๆ หรือกรณีเกี่ยวด้วยมือก็ให้เกลี่ยตอซังที่ล้มทับกันให้แผ่กระจายออกเสมอกันทั่วทั้งแปลง

วัตถุประสงค์ของการเกลี่ยฟาง ก็เพื่อให้มีฟางปกคลุมหน้าดินหนาเสมอกันเท่ากันทั้งแปลงนั่นเอง

3. ดัดแปลงยางนอกรถบรรทุก 10 ล้อ จำนวน 6-8 วง นำมาต่อกันทางข้างเกิดเป็นหน้ากว้าง แล้วเชื่อมต่อเข้าด้วยกันโดยมีเพลาเป็นแกนกลาง เรียก ว่า ล้อย่ำตอซัง เมื่อจะใช้งานก็ให้ใช้รถไถเดินตามลากล้อย่ำตอซังนี้วิ่งทับไปบนฟาง วิ่งทับทั้งส่วนที่ยังเป็นตอซังตั้งอยู่ และเศษฟางที่เกลี่ยแผ่กระ จาย ออกไป...กรณีรถที่ลากล้อย่ำตอซังควรเป็นรถไถเดินตามหรือรถไถนั่งขับขนาดเล็กเท่านั้นเพราะจะได้น้ำหนักที่พอดีต่อการย่ำตอ ไม่ควรใช้รถไถใหญ่เพราะจะทำให้ตอซังช้ำเสียหายมากเกินไป

วัตถุประสงค์ของการใช้รถย่ำน้ำหนักเบา ก็เพื่อรักษาข้อของลำต้นส่วนที่เป็นตอที่อยู่ต่ำกว่าระดับผิวดินไม่ให้แตกช้ำมาก เพราะต้องการให้เกิดการแตกยอดใหม่ออกมาจากข้อใต้ผิวดินมากกว่า แต่ส่วนของลำต้นที่อยู่เหนือผิวดินต้องให้แตกช้ำจนไม่สามารถแตกยอดใหม่ได้

ยอดที่แตกออกมาจากข้อของลำต้นส่วนที่อยู่เหนือผิวดิน จะเป็นยอดที่ไม่มีคุณภาพ แต่ยอดที่แตกออกมาจากข้อของลำต้นส่วนที่อยู่ใต้ผิวดินจะเป็นยอดที่มีคุณภาพดี จำนวนรอบในการย่ำกำหนดตายตัวไม่ได้ ทั้งนี้ให้สังเกตลักษณะตอหลังจากย่ำไปแล้วว่าแตกช้ำเฉพาะส่วนที่อยู่เหนือผิวดินแต่ส่วนที่อยู่ใต้ผิวดินยังดีอยู่ นอกจากนี้ระดับความชื้นหน้าดิน (อ่อน/แข็ง) กับน้ำหนักของล้อย่ำตอซังและน้ำหนักรถลากก็มีส่วนทำให้ตอเหนือผิวดินกับตอใต้ผิวดินแตกช้ำมากหรือน้อยอีกด้วย

4. หลังจากย่ำฟางและตอซังแล้ว ถ้าหน้าดินมีความชื้นพอดีก็ให้ปล่อยทิ้งไว้อย่างนั้นแต่ถ้าหน้าดินมีความชื้นน้อยถึงน้อยมากจำเป็นต้องฉีดพ่นน้ำเปล่าบ้างเพื่อเพิ่มความชื้น ซึ่งขั้นตอนฉีดพ่นน้ำนี้ จะต้องพิจารณาความเหมาะสมว่าคุ้มค่าต้นทุนหรือทำได้หรือไม่และเพียงใด

- แปลงนาที่เนื้อดินมีอินทรีย์วัตถุและสารปรับปรุงบำรุงดินสะสมมานาน แม้หน้าดินจะแห้งถึงระดับรถเกี่ยวเข้าทำงานได้สะดวกดีนั้น เนื้อดินด้านล่างลึกจะยังคงมีความชุ่มชื้นอยู่ถึงระดับช่วยให้ตอซังแตกยอดใหม่ได้

- ฟางที่เกลี่ยดี นอกจากจะช่วยป้องกันแสงแดดจัดเผาหน้าดินจนแห้งแล้ว ยังช่วยรักษาความชื้นให้แก่หน้าดินและจุลินทรีย์อีกด้วย

5. หลังจาก ย่ำตอ-ปล่อยทิ้งไว้ หรือ ย่ำตอ-ฉีดพ่นน้ำเพิ่มความชื้น แล้ว จะมียอดใหม่แตกออกมาจากข้อของตอใต้ผิวดินแล้วแทงทะลุเศษฟางขึ้นมาให้เห็น ให้รอจนระทั่งยอดแตกใหม่เจริญเติบโตเป็นต้นกล้าข้าวได้ใบใหม่ 2-3 ใบ ก็ให้ปล่อยน้ำเข้า พร้อมกับควบคุมระดับน้ำให้พอเปียกหน้าดินหรือท่วมคอต้นกล้าใหม่

- แปลงนาที่ผ่านการ “เตรียมแปลง” โดยปรับหน้าดินราบเสมอกันดี น้ำที่ปล่อยเข้าไปจะเสมอกันทั้งแปลง ส่งผลให้ต้นข้าวทั้งที่แตกใหม่และเป็นต้นโตแล้วได้รับน้ำเท่ากันทั่วทั้งแปลง ซึ่งต่างจากแปลงที่บางส่วนดอน (สูง) บางส่วนลุ่ม (ต่ำ) จึงทำให้ระดับน้ำลึกไม่เท่ากัน สุดท้ายก็ส่งผลให้ต้นข้าวเจริญเติบโตไม่เท่ากันอีกด้วย

- ต้นข้าวที่งอกขึ้นมาใหม่จะมีทั้งต้นที่งอกขึ้นมาจากข้อของตอ ต้นที่งอกขึ้นมาจากเมล็ดข้าวร่วง และเมล็ดที่หลุดออกมาจากรถเกี่ยว ซึ่งแหล่งกำเนิดของต้นข้าวเหล่านี้ไม่มีผลต่อคุณภาพและปริมาณในอนาคตแต่อย่างใด

บางบริเวณอาจจะไม่มีหน่อหรือยอดต้นข้าวแตกใหม่จากข้อของตอใต้ดิน เนื่องจากส่วนตอใต้ผิวดินบริเวณนั้น ถูกย่ำทำลายโดยล้อสายพานรถเกี่ยวช้ำเสียหายจนไม่อาจงอกใหม่ได้นั่นเอง

วิธีแก้ไข คือ ให้ขุดแซะต้นกล้าที่งอกจากตอบริเวณที่หนาแน่นกว่าบริเวณอื่น ขุดแซะพอให้มีดินหุ้มรากติดมาบ้างเล็กน้อยแล้วนำมาปลูกซ่อมลงในบริเวณที่ตอถูกทำลายจนไม่มีหน่อหรือยอดใหม่

- ต้นข้าวที่เกิดจากเมล็ดโดยการหว่านหรือดำ อัตราการแตกกอจะต่างกัน เช่น ข้าวพันธุ์สุพรรณ-1 มีอัตราการแตกหน่อดีมาก ส่วนข้าวพันธุ์ชัยนาท-1 และปทุมธานี-1 มีอัตราการแตกหน่อพอใช้ได้ หรือดีน้อยกว่าสุพรรณ-1 ในขณะที่การทำนาข้าวแบบล้มตอซังซึ่งจะมีต้นใหม่งอกออกมาจากข้อของตอซังนั้นการแตกกอก็ต่างกันอีก กล่าวคือ ข้าวพันธุ์สุพรรณ-1 อัตราการแตกกอไม่ค่อยดี ข้าวพันธุ์ ชัยนาท-1 แตกกอดีพอ ประมาณ และข้าวพันธุ์ปทุมธานี-1 อัตราการแตกกอไม่ดี

- ขั้นตอนปล่อยน้ำเข้าแปลงเพื่อหล่อเลี้ยงต้นข้าวเกิดใหม่ หลังจากปล่อยน้ำเข้าจนได้ระดับที่เหมาะสมแล้วใส่ "ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 5 ล.+ 16-8-8(5 กก.)/1 ไร่” โดยการฉีดพ่นให้ทั่วแปลง

6. หลังจากต้นกล้าที่แตกออกมาจากข้อของตอใต้ผิวดิน ต้นกล้าปลูกซ่อม และต้นกล้าจากเมล็ดข้าวร่วง เจริญเติบโตขึ้นมาได้แล้วก็ให้เข้าสู่ขั้นตอนการปฏิบัติบำรุงต่อต้นข้าวด้วยวิธี ทำนาข้าวแบบประณีตต่อไปจนกระทั่งถึงเก็บเกี่ยว

https://kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=6260



เครื่องหยอดข้าว รีโมทคอนโทรล โซล่าร์เซล :
https://www.77kaoded.com/news/suchai/538343


.

เครื่องเกี่ยวฟาง :


.

เครื่องสีข้าว :


.

เครื่อง :

-------------------------------------------------------------------------------------

.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 15/03/2024 7:42 am, แก้ไขทั้งหมด 3 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 06/03/2024 7:59 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
เกษตรอินทรีย์คืออะไร ? :
http://www.lopburi.doae.go.th/Organic.htm


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©