-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ถาม-ตอบ ปัญหาทางวิทยุ 1 JUN *สมุนไพร(67) รูปแบบการทำเกษตร
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบ ปัญหาทางวิทยุ 1 JUN *สมุนไพร(67) รูปแบบการทำเกษตร
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบ ปัญหาทางวิทยุ 1 JUN *สมุนไพร(67) รูปแบบการทำเกษตร

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 01/06/2016 11:35 am    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาทางวิทยุ 1 JUN *สมุนไพร(67) รูปแบบการทำเกษตร ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางรายการวิทยุ 1 JUN

AM 594 เวลา 06.30-07.00 (ทุกวัน) และ 08.10-09.00 (จันทร์-ศุกร์)

********************************************************************

สวัสดีครับ ท่านผู้ฟังที่เคารพ
กองทัพบกเพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตร และอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดยกองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก

@@ สนับสนุนรายการโดย ...

* บ.นิมุติ เอ็นจิเนียริ่ง เครื่องย่อยเศษพืช (02) 322-9175-6

http://kasate.site88.net/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=1
* ยิบซั่มธรรมชาติ เฟอร์มิกซ์, ธันเดอร์พลัส, ธาตุรอง/ธาตุเสริม มัลติแชมป์ (089) 144-1112

http://www.mysuccessagro.com
* บ.มายซัคเซส อะโกร---ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, กาวเหนียวดักแมลง มายฟิกส์, กลิ่นล่อแมลงวันทอง ฟลายแอต,
สารเสริมฤทธิ์สารสมุนไพร ไบโอเจ๊ต, ถังฉีดพ่นรุ่นใหม่ ใช้แบตเตอรี่ (081) 910-5034

กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการครับ
เช่นเคยครับ รายการเรา 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม ที่ (081) 913-4986

----------------------------------------------------------------------------------------------

ตัวแทนจำหน่าย ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง, ไบโออิ, ไทเป, ยูเรก้า. (อินทรีย์ – เคมี)

1) ชมรม (ใหญ่) สีสันชีวิตไทย (089) 814-3204 ใกล้ไฟแดง สี่แยกบางแพ ราชบุรี
2) “คุณชาตรี” (081) 841-9874 ทรัพย์ทวีการเกษตร ชัฎป่าหวาย สวนผึ้ง ราชบุรี (ส่งทาง ปณ.)

3) ร.ต.ต.นันท์สุรัตน์ (089) 821-8273 ต.จรเข้เผือก ด่านมะขามเตี้ย กาญจนบุรี (ส่งทาง ปณ.)
4) “คุณล่า” (081) 944-8494 ทุกวันจันทร์ ตลาดนัดวัดอมรญาติ ดำเนินสดวก ราชบุรี

5) “คุณประเสริฐ” (080) 110-4645 บ.เขาดิน หนองแขม เดิมบางนางบวช สุพรรณบุรี
6) “คุณพรพรรณ” (089) 814-7944 พลชัยเกษตรชีวภาพ ตลาดนัดธนบุรี ถ.เลียบคลองทวีวัฒนา
7) “คุณน้ำส้ม” (085) 055-7706 ชมรมฯ สาขาศาลายา หน้า ม.มหิดล พุทธมณฑลสาย 4 (ส่งทาง ปณ.)


----------------------------------------------------------------------------------------

@@ สารอาหาร (ปุ๋ย) เพื่อการสื่อสาร :

** ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง : ส่วนผสมหลัก .... อินทรีย์/เคมี (กุ้งหอยปูปลาทะเล, เลือด,
ไขกระดูก, นม, ขี้ค้างคาว, น้ำมะพร้าว, ธาตุหลักตามพืช, แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม

** ไบโออิ : ส่วนผสมหลัก .... เคมี (แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม)
** ยูเรก้า : ส่วนผสมหลัก .... เคมี (21-7-14, ไคโตซาน, อะมิโนโปรตีน)
** ไทเป : ส่วนผสมหลัก ..... อินทรีย์/เคมี (นม, ไข่, น้ำมะพร้าว, 13-0-46. 0-52-34)

มิได้มีเจตนาโฆษณาผลิตภัณฑ์ แต่ใช้ชื่อผลิตภัณฑ์เพื่อง่ายต่อการสื่อสารข้อมูล เท่านั้น
.... ต้นพืชไม่รู้จักยี่ห้อ ไม่รู้จักเจ้าของสูตร .....
...... ไม่รู้เจ้าของคนปลูก ไม่ฟังโฆษณา .......
...... ต้นพืชรู้จักแต่ส่วนผสมหรือเนื้อใน .......

------------------------------------------------------------------------


สมุนไพร (67) :

การทำสารสมุนไพร ป้องกัน/กำจัด ศัตรูพืชและสัตว์เลี้ยง :

น้ำหมักสมุนไพร 7 รส ประโยชน์ต่อภาคการเกษตร :

โดย monmai

การใช้สมุนไพรไทยมาสกัดเป็นสารอินทรีย์ชีวภาพเพื่อใช้ในการบำรุงดิน ป้องกัน และกำจัดแมลงศัตรูพืช เป็นวิธีการหนึ่งที่สอนให้เกษตรdiให้ลดการพึ่งพาการใช้สารเคมี ซึ่งวิธีการดังกล่าวนอกจากจะช่วยในเรื่องของการลดต้นทุนการผลิตแล้ว ยังเป็นการคืนความสมดุลให้ระบบนิเวศน์อีกทางหนึ่งด้วย

การทำน้ำหมักสมุนไพร 7 รส คือ การเลือกเอาสมุนไพรรสต่างๆ มาทำน้ำหมักจุลินทรีย์ชีวภาพ เพื่อประโยชน์ทางการ เกษตร ใช้ได้กับนาข้าว และพืชผักทุกชนิด ตัวยาสมุนไพรที่ใช้ในการเกษตรสามารถแบ่งออกตามรสของสมุนไพรได้ประมาณ 7 รส คือ รสจืด รสขม รสฝาด รสเบื่อเมา รสเปรี้ยว รสหอมระเหย และรสเผ็ดร้อน สมุนไพรทั้ง 7 รสมีประโยชน์ต่อภาคการเกษตร ดังนี้

1. น้ำหมักสมุนไพรรสจืด :

วัตถุดิบ : ได้แก่ ใบกล้วย ผักบุ้ง รางจืด รวงข้าว ผักตบชวา และพืชสมุนไพรที่มีรสจืดทุกชนิด
สรรพคุณ : จะเป็นปุ๋ยบำรุงดิน ให้ดินมีความร่วนซุย โปร่ง ทำให้ดินไม่แข็ง ใช้ในการบำรุงดิน บำบัดน้ำเสีย และขยะที่ส่งกลิ่นเหม็น รวมทั้งใช้ในการล้างสารพิษ

2. น้ำหมักสมุนไพรรสขม :

วัตถุดิบ : ได้แก่ ฟ้าทะลายโจร ใบสะเดา บอระเพ็ด ใบขี้เหล็ก หญ้าใต้ใบ เสลดพังพอน และพืชสมุนไพรที่มีรสขมทุกชนิด
สรรพคุณ : สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ป้องกันแมลง เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับพืช

3. น้ำหมักสมุนไพรรสฝาด :

วัตถุดิบ : ได้แก่ ปลีกล้วย เปลือกมังคุด เปลือกฝรั่ง มะยมหวาน เปลือกแค ใบฝรั่ง ใบทับทิม เปลือกลูกเนียง และพืชสมุนไพรที่มีรสฝาดทุกชนิด
สรรพคุณ : ฆ่าเชื้อราในโรคพืช แก้เชื้อราในโรคพืชทุกชนิด

4. น้ำหมักสมุนไพรรสเบื่อเมา :

วัตถุดิบ : ได้แก่ หัวกลอย ใบเมล็ดสบู่ดำ ใบน้อยหน่า หางไหล ขอบชะนางแดง-ขาว สลัดได แสยก หนอนตายหยาก พญาไร้ใบ เมล็ดมะกล่ำ และพืชสมุนไพรที่มีรสเบื่อเมาทุกชนิด
สรรพคุณ : การกำจัดหนอน เพลี้ย และแมลง ในพืชผักทุกชนิด

5. น้ำหมักสมุนไพรรสเปรี้ยว :

วัตถุดิบ : มะกรูด มะนาว มะขาม กระเจี๊ยบ เปลือกส้ม และพืชสมุนไพรที่มีรสเปรี้ยวทุกชนิด
สรรพคุณ : ไล่แมลงโดยเฉพาะ

6. น้ำหมักสมุนไพรรสหอมระเหย :

วัตถุดิบ : ตะไคร้หอม ใบกะเพรา ใบเตย สาบเสือ โหระพา ผักชี กะทกรก และพืชสมุนไพรที่มีรสหอมระเหยทุกชนิด
สรรพคุณ : จะเป็นน้ำหมักที่เปลี่ยนกลิ่นของต้นพืช เพื่อป้องกันไม่ให้แมลงไปกัดกินทำลาย

7. น้ำหมักสมุนไพรรสเผ็ดร้อน :

วัตถุดิบ : ได้แก่ พริก ขิง ข่า ตะไคร้ และพืชสมุนไพรที่มีรสเผ็ดร้อนทุกชนิด
สรรพคุณ : ไล่แมลง และทำให้แมลงแสบร้อน
-------------------------------------------------------------------------


จาก : (093) 284-47xx
ข้อความ : อยากให้ผู้พันพูดเรื่อง เกษตรแปลงเล็กในแปลงใหญ่ เกษตรสมาร์ทฟาร์ม เกษตรสตาร์ทอั้พ แบบภาษาชาวบ้าน ที่ฟังแล้วเข้าใจเพราะ เคยเห็น เคยทำ มาบ้างแล้ว .... ขอบคุณครับ
ตอบ :
ปุจฉา วิสัชนา :

- สถานะหนี้สินเกษตรกรไทย ล่าสุด ....
* หนี้ครัวเรือน ภาคเกษตร รวมทั้งประเทศ 240,000 บาท /ครัวเรือน
* รายได้ ภาคเกษตร เฉลี่ย 23,000 /ครัวเรือน /ปี
(http://rss.thaichamber.org/upload/dcaodhwend7312015105351.pdf)

- เรื่องเกษตรแปลงเล็กในแปลง ที่นี่ รายการสีสันชีวิตไทย พูดมานานกว่า 10 ปีแล้ว ต่างกันแค่ “พูด” เท่านั้น ส่วนนัยยะ หรือความหมาย หรือวัตถุประสงค์ หรือเป้าหมาย เหมือนกัน .... นั่นคือ ที่นี่พูดว่า ให้รวมกลุ่มหรือรวมพื้นที่ เมื่อรวมกลุ่มไม่ได้ก็ให้รวมพื้นที่ รวมพื้นที่ติดกันไม่ได้ ก็ให้รวมพื้นที่ๆอยู่ห่างกัน พอเดินทางไปมาหากันได้

- ในโลกนี้ความจริงมีเพียง “1 เดียว” ใครที่พูดความจริง จะพูดเหมือนกันหมด ต่างกัน ก็แค่ คำพูด/ภาษา/วลี เท่านั้น แต่ นัยยะ/ความหมาย/คำแปล เหมือนกัน แต่ถ้าคนพูดจะมีเลศนัยหรือเบื้องหลังแอบแฝง ความจริงนั้นจะเปลี่ยนไป เปลี่ยนเป็นตามความประสงค์ของเขาเท่านั้น .... เหมือนมาตรฐานย่อมมี 1 เดียว หากมีมากกว่า 1 นั่นคือ DOUBLE STANDARD ซึ่งไม่ใช่มาตรฐาน (อ้างอิง : พระราชดำรัสฯ)

วัตถุประสงค์ หรือเป้าหมายของการรวมกัน เพื่อ.... :

* ให้ได้ปริมาณผลผลิตมากๆ เท่าที่คนกลางหรือผู้รับซื้อขนาดใหญ่ต้องการ เพียงพอต่อการดำเนินธุรกิจ
* ผลผลิตที่ได้ทั้งหมด ชนิดเดียวกัน เกรดเดียวกัน คุณภาพเดียวกัน รุ่นเดียวกัน

เปิดใจเพื่อการบรรลุวัตถุประสงค์ :
* กะรวยด้วยกัน แล้วจะรวยทุกคน กะรวยคนเดียวหรือกะรวยกว่าข้างบ้าน จะจนคนเดียว ลงท้ายก็จนทั้งหมู่บ้าน

* ไม่เก่งกว่าคนอื่น แต่เอาความเก่งที่แต่ละคนมีคนละเล็กละน้อยมารวมกัน ลงท้าย คือ เก่งทุกคน
* เอาปัญหาทุกอย่างของทุกคนมารวมกัน แล้วร่วมกัน คิด/วิเคราะห์ หาวิธีแก้ปัญหานั้นๆ ลงท้ายจะไม่มีปัญหา
- ลด ปุ๋ยเคมี .......... เพิ่ม ปุ๋ยอินทรีย์ และสารปรับปรุงบำรุงดิน
- ลด ธาตุหลัก ........ เพิ่ม ธาตุรอง ธาตุเสริม ฮอร์โมน และอื่นๆ (น้ำตาลทางด่วน)
- ลด ปุ๋ยทางราก ...... เพิ่ม ปุ๋ยทางใบ

- ลด/ละ/เลิก สารเคมียาฆ่าแมลง ปรับ/เปลี่ยน มาใช้สารสมุนไพร และ ไอพีเอ็ม.
- มุ่งเป้า ผลผลิตเพิ่ม (คุณภาพ-ปริมาณ) ต้นทุนลด อนาคตดี .... เกรด เอ. จัมโบ้. โกอินเตอร์. ขึ้นห้าง. ออกนอกฤดู. คนนิยม.

การปฏิบัติ (สำหรับชาวนา) :

- ทำนาดำด้วยมือ หรือนาดำด้วยเครื่องดำนา หรือนาหยอด
- เส้นทางคมนาคมสะดวก
- สนใจ สมัครใจ พร้อมปฏิบัติตามกติกา หรือข้อตกลง
- รวมกลุ่ม แล้วจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล เพื่อความสะดวกในการ “ขอรับการสนับ สนุน/ช่วยเหลือ” จากภาครัฐ หรือภาคเอกชน

- ใช้เครื่องทุ่นแรงประเภทเครื่องจักรกล โดยการจัดซื้อในนามกลุ่ม
- สั่งซื้อ ปุ๋ยหรือผลิตภัณท์เพื่อการเกษตร ในนามของกลุ่ม เพื่อประหยัดต้นทุน
- ทำ ปุ๋ยหรือผลิตภัณท์เพื่อการเกษตร ใช้เอง ทำ100% หรือ ทำเอง50 ซื้อ50 เพื่อประหยัดต้นทุน แล้วพัฒนาจากทำใช้ เป็นทำขายทำแจก
---------------------------------------------------------------------


เทคนิคการทำนาแบบแปลงเล็กในแปลงใหญ่ :

1. การปลูก .... เขตชลประทาน ทำนาโรย (ข้าวงอก) เป็นแถวเป็นแนว .... เขตอาศัยน้ำฝน ทำนาหยอด (ข้าวเปลือก) เป็นแถวเป็นแนว
2. ใช้เมล็ดพันธุข้าวคุณภาพดีตามมาตรฐานกรมการข้าว ใช้ทำพันธุ์ขยายหรือจำหน่าย
3. ปรับปรุงบำรุงดินด้วยปุ๋ยพืชสด ไถกลบตอซัง ปุ๋ยหมักปุ๋ยคอก โดยผลิตปุ๋ยอนิทรีย์ใช้เอง
4. ใช้ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน หรือแผ่นเทียบสี
5. ป้องกันกำจัดศัตรูพืชแบบผสมผสาน วางระบบพยากรณ์เตือนภัยศัตรูข้าวและผลิตสารชีวภณัฑ์ สารสมุนไพรใช้เอง
6. จัดการน้ำที่เหมาะสมแบบเปียกสลับแห้ง อย่างน้อยให้นามีน้ำ 1 ครั้ง ช่วงข้าวแตกกอ ระบายน้ำเข้านาหลังหว่านปุ๋ย
7. เก็บเกี่ยวข้าวในระยะพลับพลึง ระบายน้ำออกก่อนถึงระยะเก็บเกี่ยว 7-10 วัน
http://www.ricethailand.go.th/home/images/kscplan/restructure.pdf
-----------------------------------------------------------------------


SMART FARM เกษตรอัจฉริยะ :

คณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบาย Smart Farmer และ Smart Officer ได้กำหนดคุณสมบัติทั่วไปของ Smart Farmer เป็นกรอบหลักเกณฑ์เบื้องต้นในการคัดกรองคุณสมบัติของเกษตรกรที่เป็นตัวแทนครัวเรือนเพื่อจัดชั้นเกษตรกรโดยมี 2 คุณสมบัติหลัก ดังนี้
1) มีรายได้ไม่ต่ำกว่า 180,000 บาท /ครัวเรือน /ปี (15,000 /เดือน)
2) มีคุณสมบัติพื้นฐาน 6 ข้อ ดังนี้
- มีความรู้ในเรื่องที่ทำอยู่
- มีข้อมูลประกอบการตัดสินใจ
- มีการบริหารจัดการผลผลิต และการตลาด
- มีความตระหนักถึงคุณภาพสินค้า และความปลอดภัยของผู้บริโภค
- มีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม/สังคม
- มีความภูมิใจในความเป็นเกษตรกร

ทั้งนี้ เมื่อประเมินคุณสมบัติของเกษตรกรแล้วผ่านทั้งคุณสมบัติด้านรายได้ และคุณสม บัติพื้นฐาน เกษตรกรรายนั้นจะอยู่ในกลุ่ม Existing Smart Farmer แต่ถ้าไม่ผ่านคุณสมบัติด้านรายได้หรือคุณสมบัติพื้นฐานหรือทั้งสองคุณสมบัติ เกษตรกรรายนั้นจะอยู่ในกลุ่ม Developing Smart Farmer

http://www.smartfarmer.doae.go.th/index.php/mn-attribute/mn-sub-smartfarmer
-----------------------------------------------------------------------


รูปแบบการเกษตร :
Existing Smart Farmer
หมายถึง เกษตรกรที่เป็น Smart Farmer อยู่แล้ว เนื่องจากผลจากการคัดกรองสามารถผ่านคุณสมบัติด้านรายได้ที่ไม่ต่ำกว่า 180,000 บาท/ครัวเรือน/ปี

Developing Smart Farmer หมายถึง เกษตรกรที่ยังไม่เป็น Smart Farmer เนื่องจากผลจากการคัดกรองยังไม่สามารถผ่านคุณสมบัติทั้งด้านรายได้ที่ไม่ต่ำกว่า 180,000 บาท /ครัวเรือน /ปี และผ่านคุณสมบัติพื้นฐานไม่ครบทั้ง 6 ข้อ ซึ่งเป็นเกษตรกรกลุ่มเป้าหมายที่ต้องได้รับการพัฒนาในด้านต่างๆ เพิ่มเติมตามความต้องการของเกษตรกรแต่ละราย

Smart Farmer ต้นแบบ หมายถึง เกษตรกรที่ผ่านการพิจารณาเป็น Existing Smart Farmer แล้ว และผ่านคุณสมบัติของ Smart Farmer ต้นแบบในแต่ละสาขา จำนวน 10 สาขาหลัก ได้แก่ ข้าว ปาล์ม น้ำมัน ยางพารา ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง อ้อยโรงงาน ประมง ปศุสัตว์ เกษตรผสมผสาน Young Smart Farmer และสาขาอื่น ๆ มีความโดดเด่นในการทำการเกษตรในสาขานั้นของแต่ละพื้นที่ และสามารถเป็นต้นแบบและเป็นบทเรียนให้กับเกษตรกรรายอื่นๆ ได้

Smart Officer หมายถึง บุคลากรของทุกหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่ปฏิบัติงานทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เป็นเป้าหมายในการพัฒนาให้เป็น Smart Officer ที่มีความรักเกษตรกรเหมือนญาติ มีความรอบรู้ทางวิชาการและนโยบาย ใช้เทคโนโลยีมาช่วยเหลือเกษตรกร สร้างความเข้มแข็งแก่เกษตรกรและองค์กรเกษตรกร มุ่งนำเกษตรกรสู่ Green Economy และ Zero waste agriculture มีความภาคภูมิใจในองค์กรและความเป็นข้าราชการ

Smart Officer ต้นแบบ หมายถึง บุคลากรที่ผ่านการประเมินคุณสมบัติเป็น Smart Officer แล้ว และผ่านคุณสมบัติของ Smart Officer ต้นแบบที่กำหนดเพิ่มเติมโดยคณะทำงานระดับกรมและ คณะทำงานระดับจังหวัด ซึ่งเป็นผู้ที่มีความรู้ทางด้านการเกษตรในแต่ละสาขา มีประสบการณ์ในการทำงานมีผลงานหรือการปฏิบัติราชการเป็นที่ประจักษ์หรือได้รับการยอมรับในหน่วยงาน

เกษตรผสมผสาน (Integrated Farm) หมายถึง การทำกิจกรรมการเกษตรหลายๆ อย่างร่วมกันในฟาร์ม และสนับสนุนเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ซึ่งอาจเป็นพืชกับพืช พืชกับสัตว์ สัตว์กับสัตว์ หรือการเลี้ยงสัตว์กับประมง เป็นต้น

เกษตรกรรุ่นใหม่ (Young Smart Farmer) หมายถึง ผู้ที่มีความสนใจหรือประกอบอาชีพทางด้านการเกษตร ไม่จำกัดเพศ อายุระหว่าง 17-45 ปี จบการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ขึ้นไป และเป็น Smart Farmer เนื่องจากผลจากการคัดกรองสามารถผ่านคุณสมบัติด้านรายได้ที่ไม่ต่ำกว่า 180,000 บาท /ครัวเรือน /ปี

http://tree-plus.blogspot.com/2013/07/smart-farmer_11.html
-----------------------------------------------------------------------


START UP THAILAND 4.0 :

หมายถึง การพัฒาภาคเกษตรและอาหาร ด้านการศึกษา และด้านสุขภาพ ด้วยการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ เพื่อเพิ่มศักยภาพ และความสามารถทางด้านการผลิตวัตถุดิบ

หลักการและเหตุผล :

การแข่งขันด้วยผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่มีมูลค่าสูง ตลอดจนการหาโมเดลทางธุรกิจใหม่ๆ เพื่อสร้างช่องทางการตลาดใหม่ ช่วยให้สินค้าเกษตรถึงมือผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็ว ธุรกิจ Startup จะเป็นการสร้างนักรบทางเศรษฐกิจใหม่

การจะเข้าสู่ไทยแลนด์ 4.0 ให้ได้นั้น ต้องอาศัยนวัตกรรม การสร้างกระบวนการคิดอย่างมีเหตุผล มีวิสัยทัศน์ให้กับคนรุ่นใหม่ วันนี้ประเทศไทยมีผู้ประกอบการรายใหม่เกิดขึ้นหลายร้อยราย ทั้งนี้ สิ่งที่สำคัญคือ ผู้ประกอบการจะต้องมีที่ปรึกษาเพื่อปรับปรุงพัฒนา โดยเรามีทั้งเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน ด้านกฎหมาย การออกแบบ
http://www.most.go.th/main/index.php/component/content/article/191-thailandstartup/6202--startup-thailand-2016-.html#sthash.qwmYvpzx.dpuf
----------------------------------------------------------------------

เกษตร START UP แบบสีสันชิวิตไทย :
- การแปรรูปผลผลิต แล้วจำหน่ายแบบ ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ
- ทำแปลงเกษตรเป็นตัวอย่าง หรือเป็นแปลงสาธิต แล้วจำหน่ายผลิตภัณท์เกี่ยวเนื่อง เช่น ปุ๋ย ฮอร์โมน ยาสมุนไพร หรือเครื่องทุ่นแรงอื่นๆ เช่น ....

* มะม่วง 1 ไร่ รายได้จากมะม่วง 1 ไร่ แต่จำหน่ายผลิตภัณท์เกี่ยวกับมะม่วง จะได้มะม่วง 100 ไร่ ลำไย เงาะ มังคุด พืชผักสวนครัว พืชไร่ พืชอื่นๆ อีกมากมายมหาศาล

* มีที่ 1 ไร่ ปลูกถั่วฝักยาว ได้ถั่วฝักยาวไร่เดียว แต่ถ้าแบ่งพื้นที่ 1 ไร่นั้น แล้วปลูกถั่วฝักยาว ถั่วพู มะระ พริก มะเขือ ฯลฯ อย่างละ 1 ร่อง(แถว) สำหรับเป็นแปลงสาธิต แล้วขาย ปุ๋ย/ยา ถั่ว ฝักยาว ถั่วพู มะระ พริก มะเขือ ฯลฯ .... ผล : จะได้เพิ่มอย่างละ 10 ไร่

* ทำนาข้าว 10 ไร่ รายได้ 10 ไร่ แต่ถ้าขาย ปุ๋ย/ยา นาข้าว .... ผล : จะได้ 100 ไร่

- เกษตรกรปลูกพืชขาย 100 ปีไม่รวย คนขายปุ๋ย ขายปีเดียวรวยได้ .... เพราะอะไร ?
- ชักชวนให้ผลิตภายใต้สัญญา แล้วรับซื้อผลผลิตในราคาประกันที่สูงกว่าท้องตลาด

*** นี่คือ คิดเป็น - ทำเป็น - ขายเป็น

------------------------------------------------------------------------


เกษตรฯ ลุยทำ “แปลงใหญ่” :

การจัดการบริหารการเกษตรแบบ "แปลงใหญ่" เป็นแนวคิดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่จะดำเนินการในปี 2558 กำลังนำไปประยุกต์ใช้กับหลายโครงการ ทั้งด้านพืช ประมง ปศุสัตว์ เล็งรวมตัวเกษตรกร 219 แห่ง จุดละกว่า 1,000 ไร่ เพื่อลดต้นทุน บริหารการผลิต ทำตลาดร่วมกัน

ดร.อภิชาติ พงษ์ศรีหดุลชัย ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ อธิบายแนวคิดระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ว่า เป็นระบบส่งเสริมตามปกติ เป็น "รูปแบบดำเนินงาน" ที่นำไปประยุกต์ใช้กับบางโครงการของกระทรวงได้ มีความสำคัญคือการบริหารร่วมกันในพื้นที่ขนาดใหญ่ที่ทำการเกษตรชนิดเดียวกัน จะทำให้เกษตรกรมีอำนาจต่อรองเพิ่มขึ้น ทั้งการจัดหาปัจจัยการผลิตและการจำหน่ายผลผลิตออกไป และทำให้การส่งเสริมการเกษตรของรัฐทำได้ง่าย

หลักการดำเนินงานคือ :

- การเลือกพื้นที่ที่สามารถรวมกลุ่มเกษตรกรเจ้าของแปลงเล็กให้กลายเป็นแปลงใหญ่
- คัดเลือกผู้จัดการแปลง ซึ่งเป็นผู้ชำนาญการเกษตรของรัฐเป็นผู้บริหาร
- กำหนดแผนการและเป้าหมาย
- ส่งเสริมใช้เทคโนโลยีเพื่อลดต้นทุนและเพิ่มคุณภาพ
- กำหนดมาตรฐานการผลิต เช่น GAP ออร์แกนิกส์ และ
- เป็นผู้ช่วยเชื่อมโยงตลาดให้

นายไพรัช หวังดี รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยว่า ระบบส่งเสริมแบบแปลงใหญ่ เป็นแนวคิดขยายผลจากการตั้งศูนย์เรียนรู้ประจำอำเภอ เพื่อสร้างเกษตรกรต้น แบบ

กรมเส่งเสริมการเกษตร คยนำร่องทำการเกษตรแปลงใหญ่แล้วในลำไยที่ จ.ลำพูน
5,000 ไร่ เกษตรกรกว่า 600 ราย ซึ่งต้องการตอบโจทย์หลักคือ การสลับแปลงกันออกผลผลิต ส่งเสริมทำนอกฤดู และเพิ่มคุณภาพให้ได้เกรด AA และ A ไม่ต่ำกว่า 60% ของผลผลิตทั้งหมด จากเดิมที่ทำได้เพียง 40% ปรากฏว่าการดำเนินงานได้ผลดี จึงมีแนวคิดจะเพิ่มพื้นที่การรวมแปลงบริหาร

นายวุฒินัย ยุวนานนท์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการพิเศษ กล่าวว่า กรอบคิดหลักของการทำเกษตรแปลงใหญ่คือ เรื่องการประหยัดต้นทุน ยกตัวอย่างพื้นที่ที่เป็นนาข้าว ต้นทุนจะมาจากการไถเตรียมดิน เมล็ดพันธุ์ ค่าเช่านา รถเกี่ยวข้าว เป็นต้น

ผู้จัดการแปลงจะศึกษาว่า ต้นทุนส่วนไหนที่ลดลงได้บ้าง เมื่อมีการรวมแปลงบริหาร เช่น ค่าปุ๋ย เมื่อรวมแปลงแล้วสามารถทำปุ๋ยสั่งตัด ซึ่งต้องรวมตัวเกษตรกรให้ได้อัตราใช้จำนวนมาก

ข้อมูลจากกรมส่งเสริมการเกษตรเปิดเผยว่า ในด้านพืชนั้นมีการกำหนดชนิดพืชและจุดพื้นที่ที่คัดเลือกให้มีการส่งเสริมเป็นแปลงใหญ่แล้ว 13 ชนิดพืช รวม 219 จุด แบ่งเป็น

ข้าว 141 แห่ง
มันสำปะหลัง 21 แห่ง
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 8 แห่ง
ปาล์มน้ำมัน 6 แห่ง
มังคุด 11 แห่ง
ลำไย 10 แห่ง
ทุเรียน 9 แห่ง
มะม่วง 4 แห่ง
สับปะรด 2 แห่ง
เงาะ ส้มโอ มะพร้าวน้ำหอม ชนิดละ 1 แห่ง และ
ผัก 4 แห่ง
ขณะนี้อยู่ระหว่างคัดเลือกผู้จัดการแปลง

สำหรับกรมการข้าว ซึ่งเป็นแม่งานที่รับบทหนักในการดูแลนาข้าวแปลงใหญ่ 141 แห่ง ขณะนี้มีการคัดเลือกผู้จัดการแปลงแล้ว 10 แห่ง แบ่งเป็น
กลุ่มข้าวหอมมะลิ 5 แห่ง
กลุ่มข้าวขาว 4 แห่ง
กลุ่มข้าวเหนียว 1 แห่ง
และจุดอื่น ๆ จะดำเนินการต่อไป

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ระบบส่งเสริมการเกษตรแปลงใหญ่กำลังนำไปประยุกต์ใช้กับหลายโครงการ เช่น โครงการปรับโครงสร้างการผลิตน้ำนมดิบโดยกรมปศุสัตว์ และกรมประมงกำลังพิจารณาใช้กับการเลี้ยงปลาอีกด้วย

http://m.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1426064706

-----------------------------------------------------------------------


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©