-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางวิทยุ 30 MAR *สารสมุนไพร (37), งา สู้ภัยแล้ง
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางวิทยุ 30 MAR *สารสมุนไพร (37), งา สู้ภัยแล้ง
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางวิทยุ 30 MAR *สารสมุนไพร (37), งา สู้ภัยแล้ง

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 30/03/2016 2:11 pm    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางวิทยุ 30 MAR *สารสมุนไพร (37), งา สู้ภั ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางรายการวิทยุ 30 MAR

AM 594 เวลา 06.30-07.00 (ทุกวัน) และ 08.10-09.00 (จันทร์-ศุกร์)

********************************************************************

สวัสดีครับ ท่านผู้ฟังที่เคารพ
กองทัพบกเพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตร และอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดยกองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก

@@ สนับสนุนรายการโดย ...

* บ.นิมุติ เอ็นจิเนียริ่ง เครื่องย่อยเศษพืช (02) 322-9175-6

http://kasate.site88.net/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=1
* ยิบซั่มธรรมชาติ เฟอร์มิกซ์, ธันเดอร์พลัส, ธาตุรอง/ธาตุเสริม มัลติแชมป์ (089) 144-1112

http://www.mysuccessagro.com
* บ.มายซัคเซส อะโกร---ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, กาวเหนียวดักแมลง มายฟิกส์, กลิ่นล่อแมลงวันทอง ฟลายแอต,
สารเสริมฤทธิ์สารสมุนไพร ไบโอเจ๊ต, ถังฉีดพ่นรุ่นใหม่ ใช้แบตเตอรี่ (081) 910-5034

กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการครับ
เช่นเคยครับ รายการเรา 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม ที่ (081) 913-4986

----------------------------------------------------------------------------------------------

ตัวแทนจำหน่าย ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง, ไบโออิ, ไทเป, ยูเรก้า. (อินทรีย์ – เคมี)

1) ชมรม (ใหญ่) สีสันชีวิตไทย (089) 814-3204 ใกล้ไฟแดง สี่แยกบางแพ ราชบุรี
2) “คุณชาตรี” (081) 841-9874 ทรัพย์ทวีการเกษตร ชัฎป่าหวาย สวนผึ้ง ราชบุรี (ส่งทาง ปณ.)

3) ร.ต.ต.นันท์สุรัตน์ (089) 821-8273 ต.จรเข้เผือก ด่านมะขามเตี้ย กาญจนบุรี (ส่งทาง ปณ.)
4) “คุณล่า” (081) 944-8494 ทุกวันจันทร์ ตลาดนัดวัดอมรญาติ ดำเนินสดวก ราชบุรี

5) “คุณประเสริฐ” (080) 110-4645 บ.เขาดิน หนองแขม เดิมบางนางบวช สุพรรณบุรี
6) “คุณพรพรรณ” (089) 814-7944 พลชัยเกษตรชีวภาพ ตลาดนัดธนบุรี ถ.เลียบคลองทวีวัฒนา
7) “คุณน้ำส้ม” (085) 055-7706 ชมรมฯ สาขาศาลายา หน้า ม.มหิดล พุทธมณฑลสาย 4 (ส่งทาง ปณ.)

----------------------------------------------------------------------------------------

@@ สารอาหาร (ปุ๋ย) เพื่อการสื่อสาร :

** ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง : ส่วนผสมหลัก .... อินทรีย์/เคมี (กุ้งหอยปูปลาทะเล, เลือด,
ไขกระดูก, นม, ขี้ค้างคาว, น้ำมะพร้าว, ธาตุหลักตามพืช, แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม

** ไบโออิ : ส่วนผสมหลัก .... เคมี (แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม)
** ยูเรก้า : ส่วนผสมหลัก .... เคมี (21-7-14, ไคโตซาน, อะมิโนโปรตีน)
** ไทเป : ส่วนผสมหลัก ..... อินทรีย์/เคมี (นม, ไข่, น้ำมะพร้าว, 13-0-46. 0-52-34)

มิได้มีเจตนาโฆษณาผลิตภัณฑ์ แต่ใช้ชื่อผลิตภัณฑ์เพื่อง่ายต่อการสื่อสารข้อมูล เท่านั้น
.... ต้นพืชไม่รู้จักยี่ห้อ ไม่รู้จักเจ้าของสูตร .....
...... ไม่รู้เจ้าของคนปลูก ไม่ฟังโฆษณา .......
...... ต้นพืชรู้จักแต่ส่วนผสมหรือเนื้อใน .......

-----------------------------------------------------------




สารสมุนไพร (37)
พืชสมุนไพรไล่แมลง ทดแทนการใช้สารเคมีสังเคราะห์ (ตอนที่ 2)


มหาวิทยาลัยแม่โจ้

พืชสมุนไพรไล่แมลงทดแทนการใช้สารเคมีสังเคราะห์(ตอนที่2) [/color]
สมุนไพรป้องกันกำจัดศัตรูพืช ยังมีข้อดีหลายอย่าง คือ มีราคาถูก ปลอดภัย ต่อเกษตรกรผู้ใช้ ไม่มีสารพิษตกค้างในผลผลิต จึงปลอดภัยต่อผู้บริโภค รวมทั้งไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตอื่นๆ...

มนุษย์นั้นรู้จักการใช้สมุนไพรป้องกันกำจัดศัตรูพืชมานานแล้ว แต่สิ่งเหล่านี้กลับถูกมองข้าม ขาดการเผยแพร่ ประกอบกับสารเคมีทางการเกษตรในปัจจุบันหาได้ง่าย ใช้ได้ง่าย และเห็นผลรวดเร็วกว่า แต่เมื่อมีการใช้ในระยะเวลานานๆ ก็จะเริ่มส่งผลเสียออกมาให้เห็น มีทั้งผลกระทบต่อมนุษย์ สัตว์ พืช รวมทั้งสิ่งแวดล้อมด้วย ปัจจุบัน นักวิชาการทางการเกษตร เกษตรกรผู้ผลิตและผู้บริโภค จึงได้ให้ความสำคัญกับการใช้สมุนไพรควบคุมศัตรูพืช สนใจภูมิปัญญาพื้นบ้านมากขึ้น รวมถึงนักวิชาการบางท่าน ได้หันมาสนใจค้นคว้า และพัฒนาสมุนไพรเพื่อให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

สมุนไพรป้องกันกำจัดศัตรูพืช ยังมีข้อดีหลายอย่างคือ มีราคาถูก ปลอดภัย ต่อเกษตรกรผู้ใช้ ไม่มีสารพิษตกค้างในผลผลิตจึงปลอดภัยต่อผู้บริโภค รวมทั้งไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ในแปลงพืชผัก ไม่ตกค้างในดินและสภาพแวดล้อม

สมุนไพรที่มีประสิทธิภาพป้องกันกำจัดแมลง :

หางไหลขาว (โล่ติ้น) หางไหลแดง (กะเพียด) ยาสูบ (ยาฉุน) เถาบอระเพ็ด สาบเสือ พริกไทย ข่าแก่ ขมิ้นชัน ตะไคร้หอม ตะไคร้แกง ดีปลี พริก โหระพา สะระแน่ กระเทียม กระชาย กระเพรา ใบผกากรอง ใบดาวเรือง ใบมะเขือเทศ ใบคำแสด ใบน้อยหน่า ใบยอ ใบลูกสบู่ต้น ใบลูกเทียนหยด ใบมะระขี้นก เปลือกว่านหางจระเข้ ว่านน้ำ เมล็ดโพธิ์ เมล็ดแตงไทย เปลือกมะม่วงหิมพานต์ ดอกลำโพง ดอกเฟื่องฟ้าสด กลีบดอกชบา ลูกทุเรียนเทศ รากเจตมูลเพลิงแดง

สมุนไพรที่มีประสิทธิภาพป้องกันกำจัดหนอน :

สะเดา (ใบ+ผล) หางไหลขาว (โล่ติ้น) หางไหลแดง (กะเพียด) หนอนตายหยาก สาบเสือ ยาสูบ (ยาฉุน) ขมิ้นชัน ว่านน้ำ หัวกลอย เมล็ดละหุ่ง ใบและเมล็ดสบู่ต้น ดาวเรือง ฝักคูณแก่ ใบเลี่ยน ใบควินิน ลูกควินิน ใบมะเขือเทศ เถาบอระเพ็ด ใบลูกเทียนหยด เปลือกใบเข็มป่า เปลือกต้นจิกแลจิกสวน ต้นส้มเช้า เมล็ดมันแกว ใบยอ ลูกเปลือกต้นมังตาล เถาวัลย์ยาง เครือบักแตก คอแลน มุยเลือด ส้มกบ ตีนตั่งน้อย ปลีขาว เกล็ดลิ้น ย่านสำเภา พ่วงพี เข็มขาว ข่าบ้าน บัวตอง สบู่ดำ แสยะ พญาไร้ใบ ใบแก่-ผลยี่โถ

สมุนไพรป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช แยกตามชนิดของแมลงศัตรูพืช :

1. หนอนกระทู้ .... มันแกว สาบเสือ ยี่โถ สะเดา หนอนตายหยาก ใบมะเขือเทศ ดาวเรือง ขมิ้นชัน ข่า ขิง คูน น้อยหน่า
2. หนอนคืบกระหล่ำ .... มันแกว สาบเสือ ยาสูบ ยี่โถ สะเดา หนอนตายหยาก ใบมะเขือเทศ ดาวเรือง ขมิ้นชัน คูน ตะไคร้หอม
3. หนอนใยผัก .... มันแกว ยี่โถ สะเดา หนอนตายหยาก ใบมะเขือเทศ ดาวเรือง ขมิ้นชัน คูน ตะไคร้หอม
4. หนอนกอข้าว .... ยาสูบ บอระเพ็ด ใบมะเขือเทศ
5. หนอนห่อใบข้าว .... ผกากรอง
6. หนอนชอนใบ .... ยาสูบ ใบมะเขือเทศ
7. หนอนกระทู้กล้า .... สะเดา
8. หนอนหลอดหอม .... ยี่โถ สะเดา หนอนตายหยาก ใบมะเขือเทศ ตะไคร้หอม
9. หนอนหนังเหนียว .... ยี่โถ สะเดา หนอนตายหยาก ใบมะเขือเทศ คูน
10. หนอนม้วนใบ .... ยี่โถ สะเดา หนอนตายหยาก ใบมะเขือเทศ คูน ตะไคร้หอม
11. หนอนกัดใบ .... ยี่โถ สะเดา หนอนตายหยาก ใบมะเขือเทศ คูน ตะไคร้หอม
12. หนอนเจาะยอดเจาะดอก .... ยี่โถ สะเดา ขมิ้นชัน คูน
13. หนอนเจาะลำต้น .... สะเดา ใบมะเขือเทศ คูน
14. หนอนแก้ว .... ใบมะเขือเทศ ขมิ้นชัน ตะไคร้หอม
15. หนอนผีเสื้อหัวกะโหลก .... ใบมะเขือเทศ ดาวเรือง
16. หนอนผีเสื้อต่างๆ .... มันแกว หนอนตายหยาก สะเดา คูน
17. ด้วงหมัดกระโดด .... มันแกว ว่านน้ำ มะระขี้นก ยาสูบ กระเทียม
18. ด้วงเจาะเมล็ดถั่ว ....ขมิ้นชัน
19. ด้วงเต่าฟักทอง .... สะเดา กระเทียม น้อยหน่า
20. ด้วงหรือมอดทำลายเมล็ดพันธุ์ .... ยี่โถ กระเทียม ขมิ้นชัน ข่า ขิง
21. มอดข้าวเปลือก .... ว่านน้ำ
22. มวนเขียว .... มันแกว ยาสูบ
23. มวนหวาน .... มันแกว ยาสูบ
24. แมลงสิงห์ข้าว .... มะระขี้นก
25. เพลี้ยอ่อน .... มันแกว ยาสูบ สะเดา หนอนตายหยาก ดาวเรือง กระเทียม น้อยหน่า
26. เพลี้ยไฟ .... ยางมะละกอ สะเดา สาบเสือ ยาสูบ หนอนตายหยาก กระเทียม
27. เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล .... สะเดา สาบเสือ บอระเพ็ด
28. เพลี้ยจั๊กจั่นสีเขียว .... สะเดา สาบเสือ บอระเพ็ด
29. เพลี้ยหอย .... สาบเสือ
30. เพลี้ยแป้ง .... ยาสูบ สะเดา ไรแดง ไรขาว ขมิ้นชัน
31. แมลงหวี่ขาว .... ดาวเรือง กระเทียม
32. แมลงวันแดง .... ว่านน้ำ น้อยหน่า สลอด ข่าเล็ก เงาะ บัวตอง ขิง พญาไร้ใบ
33. แมลงวันทอง .... ว่านน้ำ หนอนตายหยาก บัวตอง มันแกว แสลงใจ
34. แมลงปากกัดผัก .... ว่านน้ำ
35. แมลงกัดกินรากและเมล็ดในหลุมปลูก .... มะรุม
36. จิ้งหรีด .... ละหุ่ง สบู่ดำ สลอด
37. ปลวก .... ละหุ่ง
38. ตั๊กแตน .... สะเดา
39. ด้วงกัดใบ .... มะระขี้นก คูน

สมุนไพรไล่แมลง เป็นพืชที่มีส่วนต่าง ๆ เช่น ใบ ราก เปลือก ดอก ผล ที่มีสารออกฤทธิ์ทั้งทางตรงและทางอ้อม ในการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช

ผลทางตรง :
จะมีผลกระทบต่อระบบประสาท และระบบหายใจ ทำให้แมลงตายทันที
ผลทางอ้อม :
จะมีผลต่อระบบอื่น ๆ โดยการไปยับยั้งการกินอาหาร การลอกคราบ การเจริญเติบโตของแมลง

การใช้สมุนไพรไล่แมลงหรือกำจัดศัตรูพืชควรใช้ให้เหมาะสม คือ เลือกใช้ส่วนต่างๆ ของพืชสมุนไพรในช่วงเวลาที่เหมาะสม ดังนี้
ดอก .......... ควรเก็บในระยะดอกตูมเพิ่งจะบาน
ผล ........... ควรเก็บในระยะที่ผลยังไม่สุก เพราะสารต่างยังไม่ถูกส่งไปเลี้ยงเมล็ด
เมล็ด ......... ควรเก็บในระยะที่ผลสุกงอมเต็มที่ ซึ่งจะมีระยะที่เมล็ดแก่เต็มที่ และจะมีสารต่าง ๆ สะสมอยู่ในปริมาณมาก
หัวและราก .... ควรเก็บในระยะที่เริ่มมีดอก เพราะระยะนี้ต้นพืชจะมีการสะสมสารต่างๆไว้ที่หัวและราก

ดังนั้นก่อนที่จะนำสมุนไพรแต่ละชนิดมาในในการป้องกันกำจัดหรือไล่แมลงศัตรูพืช ควรมีการศึกษาหาข้อมูลให้ดีเสียก่อนว่า จะนำส่วนไหนมาใช้และใช้ในช่วงเวลาใดจึงจะก่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการป้องกันกำจัดแมลง เพราะบางคนรู้เพียงว่าใช้พืชตัวนั้นตัวนี้ในการป้องกันกำจัดแต่ไม่ทราบว่าใช้ส่วนใดเวลาใดจึงจะเกิดประสิทธิภาพดีที่สุด ในตอนต่อไปผู้เขียนจะได้กล่าว ถึงพืชสมุนไพรที่มีคุณสมบัติในการป้องกันกำจัดโรคพืชและวิธีการทำน้ำสมุนไพรไล่และป้องกันกำจัดศัตรูพืช(ทั้งโรคและแมลง)ด้วยสูตรต่างๆกัน ขอท่านผู้อ่านได้ติดตามการใช้พืชสมุนไพรไล่แมลงทดแทนการใช้สารเคมีสังเคราะห์ตอนที่ 3

ท่านผู้อ่านท่านใดสนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ อาจารย์แสงเดือน อินชนบท สำนักฟาร์มมหาวิทยาลัยแม่โจ้ โทร. 053-873071 ในวันและเวลาราชการ

รายงานโดย ฝ่ายส่งเสริมการเกษตร สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โทร. 053-873938-9

http://research.rae.mju.ac.th/raebase/index.php/knowledge/2010/128-herb
----------------------------------------------------------------

จาก :
(087) 183-0
ข้อความ : ผู้พันพูดถึงงา ผมเกิดอาการกระตุกทันที เพราะไม่มีใครพูดเรื่องงาเลย ผู้พันพูดสั้นแต่ผมเอาคิดขยายผลต่อ งาราคาแพงกว่าถั่ว งาแปรรูปได้ราคาสูงกว่าถั่ว กับผมเชื่อว่า ปีนี้ปีหน้าปีต่อไป อย่างน้อย 3 ปี แล้งแน่นอน ปีนี้ผมเจาะบ่อบาดาลในนาแล้ว เจาะคนเดียว ข้างบ้านไม่เอาด้วย น้ำมากพอสำหรับทำนาเปียกสลับแห้ง 20 ไร่ได้ แต่จะใช้ที่ทำแค่ 5-10 ไร่ ผมติดสินใจเลือกงาสู้ภัยแล้ง อยากขอข้อมูลผู้พันเรื่อง พันธุ์ วิธีบำรุง การแปรรูป ด้วยครับ .... ศิษย์เก่า อาสาป้องกันภัยทางอากาศ รุ่น 2
ตอบ :
คำตอบตรงคำถาม คำถามตรงคำตอบ :

“อาสาป้องกันภัยทางอากาศ” :

- ก่อนเกษียณ ได้รับคำสั่งให้รับสมัคร สมช.รายการสีสันชีวิตไทย ผู้ฟังวิทยุ เข้ารับการฝึก อาสาสมัครป้องกันภัยทางอากาศ (อส.ปภอ.) ทั้งหมด 3 รุ่น รุ่นละ 50 คน ทั้งผู้หญิงผู้ชาย อบรม 3 วัน ห้วงเวลานี้มีโอกาสไปทัศนศึกษาที่สวนจิตรลดา 1 วัน

- งานนั้น ทุกรุ่น ทุกคน ได้เสื้อยีนส์สีน้ำเงิน ปักอักษรด้านหลัง “ชมรมสีสันชีวิตไทย สถานีวิทยุ พล.ปตอ.” บนกระเป๋าเสื้อด้านหน้าปักรูป “แผนที่ประเทศไทย" ปักทับด้วยตัวอักษร "ชมรมสีสันชีวิตไทย” เป็นที่ระลึกคนละ 1 ตัว

- งบประมาณเสื้อ ใช้งบส่วนตัวลุงคิม ราคาตัวละ 230 ยาท .... เพราะรักจึงให้
- วันดีคืนดีมีศิษย์เก่าฯ มาเยือนที่ RKK ใส่เสื้อรุ่นตัวนี้มาจำได้ จำได้ เห็นแล้วดีใจ ดีใจ

“ไม่มีใครพูดเรื่องงาเลย” :

- ทำไม่ต้องรอให้ใครพูดด้วย เพราะการฟังแบบ “ฟังไปงั้นๆ แหละ” มันถึงไม่ได้ประโยชน์อะไรยังไงง่ะ
- แต่ถ้าคนฟังเป็น ฟังแล้ว คิด/วิเคราะห์ เอาไปต่อยอดขยายผล มีคนทำได้เยอะแยะ
- พูดอยู่บ่อยๆ “คำพูดบางคำ จากคนบางคน ในบางโอกาส ได้ยินแล้วเอามาปรับใช้ สามารถแก้ไขสถานการณ์ที่เลวร้ายได้....” เซอร์ วิลตั้น เชอร์ชิล นายกแห่งอังกฤษ เหมือนกับที่นี่พูดบ่อยๆ คนเราแพ้ชนะกันที่โอกาส -

“งาราคาแพงกว่าถั่ว” :

- ถามแหล่งรับซื้อ
- เปิดอินเตอร์เน็ต สอบถามราคา ซื้อ-ขาย

“งาแปรรูปได้ราคาสูงกว่าถั่ว” :

- เปิดอินเตอร์เน็ต ซื้อ-ขาย งาแปรรูป
- ราคางา 120, ราคาถั่วเขียว 55 บาท, ราคาถั่วเหลือง 30 บาท, ราคาถั่วแดง 45 บาท, ราคาถั่วดำ 55 บาท

“ปีนี้ปีหน้าปีต่อไป อย่างน้อย 3 ปี แล้งแน่นอน” :

- ยืนยัน ตราบใดที่น้ำในเขื่อนไม่มี นั่นแหละแล้งแน่นอน คิดซิ จะหาน้ำที่ไหนเติมเขื่อน ? ถ้าฝนไม่ตกหนักเหมือนน้ำท่วมปี 54 จะมีน้ำเติมเขื่อไหม ? นั่นคือ อย่าว่าแต่น้ำทำการเกษตรเลย น้ำคนกิน สัตว์เลี้ยงกิน แม้แต่สัตว์ในป่าจะกินน้ำที่ไหน ? .... ก็เพิ่งรู้ว่า เจ้าพระยาที่เกิดจาก ปิง/วัว/ยม/น่าน นั้น เป็นน้ำจากแม่น้ำน่านมากสุดถึง 40% ในเมื่อน่านยังเอาตัวเองไม่รอด แล้วเจ้าพระยาจะรอดได้ไฉน ว่ามัย

“บ่อบาดาลในนา” :

- เจาะครั้งวเดีรยว ทำครั้งเดียว ใช้งานได้หลายๆ ๆๆ ๆๆ ปี
- ลงทุนครั้งเดียว รุ่นเดียวก็คุ้มมั้ง
- ทำเกษตรแบบ พื้นที่น้อย ปลูกพืชราคาแพงๆ-

“ทำนาเปียกสลับแห้ง 20 ไร่ได้” :

- นาแบบนี้ “ดีกว่า” นาแบบอื่นๆ ทุกแบบ ชนิดหน้ามือหลังมือกันเลย
- ใช้น้ำน้อยกว่า
- ต้นทุนทุกรายการต่ำกว่า
- คุณภาพดีกว่าทุกรายการ-
--------------------------------------------------------

ข้อมูลทางวิชาการ เรื่องงา :

งาเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญมากขึ้นทุกปี เนื่องจากความต้องการเมล็ดงาทั้งในประเทศและต่างประเทศมีสูงขึ้นเรื่อย ๆ ปัจจุบันประเทศไทยผลิตงาได้ปีละประมาณ 35,000 ตัน ใช้บริโภคเองภายในประเทศร้อยละ 45 อีกร้อยละ 55 ของผลผลิตส่งไปขายยังต่างประเทศ ตลาดเมล็ดงาที่สำคัญของไทยได้แก่ ไต้หวัน ญี่ปุ่น สิงคโปร์ มาเลเซีย ออสเตรเลีย ในขณะที่ตลาดโลกโดยเฉพาะยุโรปและอเมริกายังมีความต้องการงาอีกมาก ประเทศที่มีการปลูกงามากก็คือ อินเดีย จีน และในอัฟริกา

ในประเทศไทย เกษตรกรมักจะปลูกงาเป็นพืชเสริมหลังการปลูกพืชหลัก โดยเฉพาะในเขตพื้นที่ที่แห้งแล้วมีน้ำน้อย เพราะงาเป็นพืชที่ปลูกง่าย ลงทุนน้อย ทนต่สภาพแห้งแล้วได้ดี งาจึงปลูกได้ในทุกภาคของประเทศ แต่พื้นที่ที่มีการปลูกงากันมากได้แก่ บุรีรัมย์ ศีรสะเกษ สุรินทร์ อุบลราชธานี นครราชสีมา มหาสารคาม ชัยภูมิ สระบุรี ลพบุรี เพชรบูรณ์ พิษณุโลก สุโขทัย เลย อุตรดิตถ์ แพร่ น่าน นครสวรรค์ สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ปราจีนบุรี สุราษฎร์ธานี แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่

ทั้งๆ ที่คนไทยมีการบริโภคเมล็ดงา และน้ำมันงากันมานานแล้ว แต่ความตื่นตัวของประชาชนทางด้านการบริโภคเพื่อสุขภาพมีมากขึ้น ทำให้เมล็ดงาและน้ำมันงาเป็นที่สนใจและให้ความสำคัญมากขึ้นตามลำดับ เนื่องจากมีการค้นพบว่าเมล็ดงาและน้ำมันงามีคุณค่าทางโภชนาการสูง ช่วยป้องกันโรคหัวใจ ต้านทานโรคมะเร็ง จึงทำให้เมล็ดงาและน้ำมันเป็นที่ต้อง การ จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจที่จะหันมาปลูกงากันให้มากขึ้น อีกทั้งงาเป็นพืชที่ปลูกง่าย สามารถปลูกได้โดยไม่ต้องใช้สารเคมี เพียงแต่ต้องเรียนรู้ถึงธรรมชาติของงากันสักหน่อยก่อนลงมือปลูก

ธรรมชาติของงา :

งาเป็นพืชล้มลุก ชอบอากาศร้อนแสงแดดจัด เจริญเติบโตและให้ผลผลิตได้ดีในช่วง
อุณหภูมิ 27-30 องศา ซ. ไม่ชอบอากาสเย็น ถ้าอุณหภูมิต่ำกว่า 20 องศา ซ. การงอกจะช้าหรืออาจจะชะงักการเจริญเติบโต แต่ถ้าอุณหภูมิสูงกว่า 40 องศาจะทำให้การผสมติดยาก การสร้างฝักเป็นไปได้ช้า

งาสามารถขึ้นได้ในดินแทบทุกชนิด แต่จะขึ้นได้ดีในดินร่วนปนทรายที่มีอินทรีย์วัตถุ มีการระบายน้ำได้ดี ไม่ทนต่อน้ำขังและไม่ชอบดินเค็ม ถ้าดินเค็มรากของงาจะเจริญเติบโตไม่ดี ทำให้ผลผลิตลดลง

งาเป็นพืชที่ทนแล้งได้ดี งาจะสามารถทนแล้งอยู่ได้จนถึงช่วงระยะออกดอกเป็นช่วงที่งาต้องการน้ำมากที่สุด ถ้าขาดน้ำในช่วงนี้จะทำให้ผลผลิตงาลดลง โดยปกติในฤดูฝนจะมีความชื้นเพียงพอสำหรับการเจริญเติบโตตลอดฤดูกาลปลูกแต่ต้องไม่เปียกแฉะหรือมีน้ำท่วมขัง ถ้าปลูกในฤดูแล้ง ถึงแม้งาจะชอบอากาศร้อนและทนแล้งได้ แต่ถ้าจะให้ได้ผลผลิตที่สูง ก็ต้องมีการให้น้ำเข้าช่วยให้พอเหมาะกับการเจริญเติบโตของงา

พันธุ์งา

งาที่ปลูกในประเทศไทยแบ่งตามสีของเมล็ดได้ 3 ชนิด ได้แก่ งาดำ งาขาว และงาดำแดง
1. งาดำ : ที่ใช้ปลูกกันทั่วไปมี 4 พันธุ์ คือ งาดำบุรีรัมย์ งาดำนครสวรรค์ สองพันธุ์นี้เป็นพันธุ์พื้นเมือง ส่วนอีกสองพันธุ์เป็นพันธุ์ที่ได้รับการปรับปรุงคืองาดำ มก.18 และ งาดำ มข.2

2. งาขาว :
พันธุ์พื้นเมืองได้แก่ พันธุ์เมืองเลย เป็นพันธุ์ที่ตลาดต้องการ เพราะนำไปสกัดน้ำมันได้น้ำมันที่มีกลิ่นหอม พันธุ์เชียงใหม่ ปลูกมากในเชียงใหม่ และแม่ฮ่องสอน พันธุ์ชัยบาดาล หรือสมอทอด เป็นพันธุ์ที่หายากแล้ว อีกสามพันธุ์เป็นพันธุ์ปรับปรุง ได้แก่ พันธุ์ร้อยเอ็ด 1 พันธุ์ มข.1 และพันธุ์มหาสารคาม 60

3. งาดำ-แดง :
หรือเรียกกันทั่วไปว่า งาเกษตร ที่ปลูกกันมี 3 พันธุ์คือ พันธุ์พื้นเมืองพิษณุโลก และพันธุ์พื้นเมือง สุโขทัย พันธุ์ที่ปรับปรุง ได้แก่ พันธุ์งาแดงอุบลราชธานี 1 และงาแดงพันธุ์ มข.3

ฤดูกาลปลูก

การปลูกงาในประเทศไทย ปลูกได้ 3 ช่วง คือ
1. ต้นฤดูฝน ส่วนใหญ่จะปลูกในนาดอนและนาลุ่ม แถบภาคอีสานและภาคเหนือตอนล่าง เริ่มปลูกตั้งแต่เดือน ม.ย. ถึง เดือน พ.ค. เก็บเกี่ยวในเดือน มิ.ย. ถึงเดือน ก.ค. การปลูกงาในช่วงต้นฤดูฝนนี้มีพื้นที่ปลูกถึงร้อยละ 70 ของพื้นที่ปลูกงาทั้งประเทศ
2. ปลายฤดูฝน ส่วนใหญ่จะปลูกบนที่ดอน ซึ่งเป็นพื้นที่ปลูกพืชไร่แถบภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคกลาง และภาคตะวันตก เริ่มปลูกตั้งแต่เดือน ก.ค. ถึง เดือน ก.ย. และเก็บเกี่ยวในเดือน พ.ย. ถึง ธ.ค.
3. ฤดูแล้ง ปลูกในเขตที่มีชลประทาน ปลูกในเดือน ม.ค. ถึงเดือน เม.ย. เก็บเกี่ยวในเดือน พ.ค. ถึง มิ.ย.

การปลูก

งาเป็นพืชที่ปลูกง่าย ไม่ต้องการการดูแลมาก เพียงแต่ต้องเตรียมดินให้ดี ดังนั้นจึงควรพิจารณาพื้นที่ในการปลูกงาให้เหมาะสมดังนี้
1. เป็นดินร่วนปนทราย มีการระบายน้ำได้ดี ไม่มีน้ำขังแฉะ ดินมีความอุดมสมบูรณ์พอสมควร
2. ดินมีค่าความเป็นกรด-ด่างอยู่ระหว่าง 5.5-6.5 ไม่เป็นดินเปรี้ยวหรือดินเค็ม ถ้าดินเปรี้ยวให้โรยด้วยปูนขาว ถ้าเป็นดินเค็มให้โรยด้วยแกลบดิน
3. ไม่ควรปลูกงาในพื้นที่เดียวกันติดต่อกันเป็นเวลาหลาย ๆ ปี เพราะจะทำให้ดินขาดความสมบูรณ์ และเกิดโรคระบาดได้ง่าย

การเตรียมดิน

การเตรียมดินเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญในการปลูกงาเนื่องจากเมล็ดงามีขนาดเล็ก จึงต้องมีการเตรียมดินให้ร่วนซุย จะช่วยให้งางอกได้ดีและงอกได้อย่างสม่ำเสมอ การไถพรวนอาจมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับโครงสร้างของเนื้อดิน ถ้าเป็นดินทรายอาจไถ 1-2 ครั้ง ถ้าเป็นดินเหนียวอาจไถ 2-3 ครั้ง เพื่อย่อยดินให้ละเอียด

ในช่วงเตรียมดินนี้ควรใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยหมักชีวภาพ หรือไถกลบปุ๋ยพืช
สดลงในแปลงที่จะปลูกงา การปลูกงาให้ได้ผลผลิตดีสามารถทำได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้ปุ๋ยเคมี เพราะงาเป็นพืชที่มีการตอบสนองต่อปุ๋ยอินทรีย์ได้ดี และจะมีการตอบสนองน้อยต่อปุ๋ยเคมี ยิ่งหากปลูกโดยการใช้พันธุ์พื้นเมือง งาพันธุ์พื้นเมืองจะมีความสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงและไม่แน่นอนได้เป็นอย่างดี

การปลูกงาส่วนใหญ่จะใช้วิธี “หว่าน” หลังจากเตรียมดินแล้ว ใช้เมล็ดพันธุ์ 1-2 กก.ต่อไร่ หว่านให้กระจายสม่ำเสมอให้ทั่วแปลง แล้วคราดกลบ เนื่องจากเมล็ดงามีขนาดเล็ก อาจทำให้การหว่านไม่กระจาย โดยเฉพาะผู้ที่ไม่มีความชำนาญ ให้นำเมล็ดงาผสมกับทรายละเอียด หรือขี้เถ้าแกลบ จะช่วยให้หว่านได้สม่ำเสมอมากขึ้น การปลูกด้วยการหว่านนี้ทำได้ง่าย ประหยัดแรงงานและเวลา รวมทั้งช่วยป้องกันวัชพืชได้ดีด้วยเมื่อต้นงาเติบโตแล้ว

การปลูกอีกวิธีหนึ่งคือ “ปลูกเป็นแถว” โดยการใช้คราดทำร่องสำหรับโรยเมล็ดตามระยะปลูกที่ต้องการจากนั้นโรยเมล็ดงาลงในร่องปลูก แล้วใช้ดินกลบบาง ๆ หลังจากนั้น 7-10 วัน เมื่อต้นกล้าสูง 6-8 ซม. ให้ถอนแยกให้ได้ระยะต้นตามต้องการ คือ 30-50 x 10 ซม. วิธีนี้จะเสียเวลาและแรงงาน และต้องกำจัดวัชพืชระหว่างแถวปลูก แต่สะดวกในการดูแล เมื่อเกิดโรคและแมลง ผลผลิตก็มักจะดีกว่าการปลูกแบบหว่าน

ถ้าหากปลูกในฤดูฝน น้ำฝนก็จะเพียงพอต่อการปลูกงาตลอดฤดูกาล แต่ถ้าหากปลูกในฤดูแล้งก็จำเป็นต้องให้น้ำตามความเหมาะสม ไม่มากเกินไปจนแฉะ และไม่น้อยเกินไป โดย เฉพาะในช่วงที่งาจะออกดอก ไม่ควรให้ขาดน้ำ

การป้องกันโรคและแมลง

โดยปกติงาเป็นพืชที่ปลูกง่ายไม่ค่อยมีโรคและแมลงรบกวน โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าปลูกด้วยพันธุ์พื้นเมือง หากใช้พันธุ์ผสมที่ปรับปรุงขึ้นจะมีโรคและแมลงรบกวน

โรคของงาที่พบบ่อยได้แก่ โรคเน่าดำ โรคใบไหม้และลำต้นเน่า โรคเหี่ยวจากแบคทีเรีย โรคยอดฝอย แนวทางในการป้องกันโรคงาโดยการไม่ใช้สารเคมีทำได้โดย
1. เลือกปลูกงาพันธุ์พื้นเมืองจะต้านทานโรคได้ดี
2. เตรียมดินด้วยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยชีวภาพจะทำให้ต้นพืชแข็งแรง
3. ไม่ควรปลูกงาในพื้นที่เดียวกันติดต่อกันหลายฤดูกาล
4. อย่าให้มีน้ำขังในแปลงปลูก การมีน้ำขังแฉะมากเกินไป มักเป็นสาเหตุของโรคพืช
5. เผาทำลายเศษซากพืชที่เป็นโรค
6. อาจทดลองใช้สมุนไพรให้เหมาะกับแต่ละโรค

ส่วนแมลงที่รบกวนงา ได้แก่ หนอนห่อยอดและหนอนเจาะฝัก เป็นแมลงศัตรูพืชที่สำคัญที่สุดของงา นอกนั้นก็มีหนอนผีเสื้อหัวกะโหลก แมลงกินูนเล็ก เพลี้ยจั๊กจั่น มวนเขียวข้าว มวนฝิ่น แนวทางป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูงา ก็คือใช้พันธุ์พื้นเมือง ที่ต้านทานโรคและแมลง หากมีแมลงระบาดให้ใช้สารสกัดสะเดา 50 ซีซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่น หมั่นจับทำลายตัวหนอนหากตรวจพบ และไม่ทำลายศัตรูธรรมชาติเช่นแมลงวันก้นขน มันจะช่วยกำจัดหนอนผีเสื้อหัวกะโหลก ใช้แสงจากหลอดไฟดักจับผีเสื้อ

การเก็บเกี่ยวเมล็ดงา

เมื่องาเจริญเติบโตเต็มที่ถึงระยะสุกจะต้องเก็บเกี่ยว เพราะฝักแก่จะแตกออกทำให้เมล็ดงาร่วงเสียหาก การสุกแก่ของงาสังเกตได้ดังนี้
1. ดอก ...... ดอกสุดท้ายจะร่วง
2. ใบ ........ ใบจะมีสีเหลืองและร่วงเกือบหมด
3. ฝัก ....... ฝักจะเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีเหลืองประมาณ 1 ใน 4 ของต้น
4. เมล็ด ..... เมล็ดงาจะค่อนข้างเต่งตึง และเปลี่ยนสีตามพันธุ์
5. อายุ ...... นับอายุของงาตาม แต่ละพันธุ์

วิธีการเก็บเกี่ยวงา

ใช้เคียวหรือมีดเกี่ยวหรือตัดต่ำกว่าฝักล่างเล็กน้อย ถ้าปลูกในดินทรายหรืองาต้นเล็กจะใช้วิธีถอนทั้งต้นก็ได้ แต่อย่าให้ดินทรายติดต้นงา เพราะทรายจะปนเปื้อนเมล็ดงาเวลาเคาะ

การบ่มงา และการเก็บเมล็ดงา :

หลังการเกี่ยวต้องนำมาบ่มโดยนำต้นงามากองรวมกัน หันปลายยอดเข้าหากัน วางซ้อนเป็นชั้น ๆ ขึ้นไปเรื่อย ๆ แล้วนำฟางข้าว ใบไม้ หรือใบหญ้ามาปิดทับกองไว้ 5-7 วัน หลังการบ่ม ฝักจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือน้ำตาลปนดำเสมอกันหมด ส่วนใบจะเปลี่ยนเป็นสีดำและหลุดร่วงไป จากนั้นจึงทำการมัด ตากและเก็บเมล็ดงา

หลังการบ่มงา ทำการเคาะให้ใบร่วงออกให้หมด เหลือแต่ฝักและต้นงา ใช้เชือกมัดต้นงารวมเป็นกำ ๆ นำไปตากแขวนไว้บนราวตาก หลังจากตากไว้ 2-3 วัน ก็นำไปเคาะในภาชนะที่เตรียมไว้ โดยใช้ไม้เคาะมัดของต้นงาเบา ๆ เมล็ดงาจะร่วงลงบนภาชนะโดยง่าย นำมัดต้นงาไปตากแดดอีก 1-2 แดด แล้วนำมาเคาะใหม่อีกครั้ง จึงนำเมล็ดงามาคัดแยกสิ่งสกปรกออกแล้วนำไปบรรจุกระสอบหรือถุงเก็บไว้เพื่อบริโภคหรือจำหน่ายต่อไป

เมล็ดงามีข้อดีอีกข้อหนึ่ง คือ สามารถเก็บไว้ได้นานถึง 17 เดือน โดยเก็บไว้ในถุง พลาสติกชนิดหนา ปิดปากถุงด้วยความร้อน เมล็ดยังมีอัตราความงอกถึง 80 %

เอกสารอ้างอิง
การปลูกงา ฝ่ายเอกสารคำแนะนำ กองเกษตรสัมพันธ์ กรมส่งเสริมการเกษตร
-----------------------------------------------------

ชนิดพันธุ์งา และแหล่งปลูก :

งาที่ปลูกในประเทศไทยแบ่งตามสีของเมล็ดได้ 3 ชนิด ดังนี้
1. งาดำบุรีรัมย์ :
เป็นพันธุ์พื้นเมืองมีลักษณะฝัก 4 กลีบ 8 พู เมล็ดมีขนาดใหญ่ สีค่อน ข้างดำสนิท อายุเก็บเกี่ยว 90-100 วัน ผลผลิต 60-130 กก. ต่อไร่

2. งาดำนครสวรรค์ :
เป็นพันธุ์พื้นเมืองที่ปัจจุบันเป็นพันธุ์ส่งเสริม มีการแนะนำให้ปลูกในพื้นที่หลายจังหวัดมี ลักษณะการเจริญเติบโตแบบทอดยอด เมล็ดมีสีดำขนาดใหญ่และเต่ง ลักษณะฝักเป็นแบบ 4 กลีบ 8 พู ฝักแตกง่ายเมื่อสุกแก่ ลำต้นค่อนข้างสูง แตกกิ่งก้านมาก ใบมีขนาดใหญ่ค่อนข้างกลม มี 1 ฝักต่อ 1 มุมใบ การเกิดฝักจะเวียนสลับ รอบลำต้น 1 ข้อ มี 1 ฝัก อายุเก็บเกี่ยว 95-100 วัน ผลผลิต 60-130 กก. ต่อไร่ นิยมปลูกมากในท้องที่จังหวัดบุรีรัมย์ ศรีสะเกษ สุรินทร์ นครราชสีมา มหาสารคาม ชัยภูมิ สระบุรี ลพบุรี เพชรบูรณ์ พิษณุโลก อุตรดิตถ์ นครสวรรค์ สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ปราจีนบุรี และสุราษฎร์ธานี

3. งาดำ มก.18 :
เป็นพันธุ์แท้ที่มีการปรับปรุงพันธุ์โดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งได้คัดเลือกพันธุ์โดยวิธีจดประวัติจากคู่ผสมระหว่าง col.34 กับงาดำนครสวรรค์ในระหว่างปี 2528-2530 มีการทดสอบผลผลิตในสถานีทดลองและในสภาพไร่เกษตรกรในปี 2534 งาดำพันธุ์ มก.18 มี ลักษณะการเจริญเติบโตแบบทอดยอด ใบสีเขียวเข้ม ลำต้นไม่แตกกิ่งก้านและค่อนข้างสูง เมล็ดมีสีดำสนิท ลักษณะฝัก 2 พู ฝักเกิดตรงกันข้าม ดังนั้น 1 ข้อจะมี 2 ฝัก การเรียงตัวของฝักจะเป็นแบบเวียนสลับรอบลำต้น ความยาวปล้องสั้นทำให้จำนวนของฝักต่อต้นสูง น้ำหนักเมล็ด 3 กรัม ต่อ 1,000 เมล็ด อายุเก็บเกี่ยวปลายฤดูฝน 85 วัน ต้นฤดูฝน 90 วัน ผลผลิต 60-148 กก. ต่อไร่ ทนทานต่อโรคราแป้ง และทนต่อการหักล้ม ในปีการเพาะปลูก 2538/39 กรมส่งเสริมการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

บริษัทคาเนมัสซุ บริษัทนานาพรรณเอ็นเตอร์ไพรร์ จำกัด และสมาคมพ่อค้าข้าวโพด และพืชพันธุ์ไทย ส่งเสริมการปลูก “งาดำ มก.18” ในพื้นที่นครราชสีมา และกาญจนบุรี เพื่อส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีความต้องการงาพันธุ์ มก.18 สูงถึงปีละ 10,000 - 30,000 ตัน

4. งาดำ มข.2 :
เป็นพันธุ์ทีมหาวิทยาลัยขอนแก่นปรับปรุงและคัดเลือกพันธุ์มาจากงาดำพันธุ์ ซีบี 80 ของจีน ลักษณะฝักเป็นแบบ 4 พู เมล็ดสีดำสนิท ไม่ไวต่อช่วงแสง แตกกิ่ง 3-4 กิ่งต่อต้น ต้นสูง 105-115 ซม. น้ำหนักเมล็ด 2.77 กรัมต่อ 1,000 เมล็ด ปลูกได้ดีทั้งต้นฝนและปลายฤดูฝน มีอายุเก็บเกี่ยวสั้น 70-75 วัน ผลผลิต 80-150 กก. ต่อไร่ ต้านทานต่อโรคเน่าดำและทนแล้งได้ดี เขตส่งเสริมการปลูก ได้แก่ จังหวัดบุรีรัมย์ และมหาสารคาม

2. งาขาว ที่ใช้ปลูกกันทั่วไปมี 6 พันธุ์ ได้แก่...
1. พันธุ์เมืองเลย :
มีขนาดเมล็ดเล็ก เรียกว่า งาไข่ปลา ลักษณะฝัก 2 กลีบ 4 พู แตกกิ่งก้านมาก ตอบสนองต่อช่วงแสง อายุเก็บเกี่ยว 110-120 วัน ผลผลิต 60-90 กก. ต่อไร่ เป็นพันธุ์ที่ตลาดต้องการ เพราะนำไปสกัดน้ำมันมีกลิ่นหอม ปลูกมากที่จังหวัดเลยและบริเวณชายแดนไทย-ลาว ช่วงจังหวัดเลยถึงอุตรดิตถ์

2. พันธุ์เชียงใหม่ :
มีลักษณะฝัก 2 กลีบ 4 พู มีขนาดเมล็ดเล็ก แต่ใหญ่กว่าพันธุ์เมืองเลยเล็กน้อย เมล็ดมีรูปร่างคล้ายหัวใจ ไวต่อช่วงแสง อายุเก็บเกี่ยว 110-120 วัน ผลผลิต 60-90 กก. ต่อไร่ ปลูกมากที่จังหวัดแม่ฮ่องสอนและเชียงใหม่

3. พันธุ์ชัยบาดาลหรือสมอทอด :
มีลักษณะฝัก 2 กลีบ 4 พู เมล็ดมีขนาดปานกลาง อายุเก็บเกี่ยว 80-85 วัน ผลผลิต 50-120 กก. ต่อไร่ ปลูกมากที่จังหวัดเพชรบูรณ์และลพบุรี แต่ปัจจุบันมีปริมาณน้อยมาก

4. พันธุ์ร้อยเอ็ด 1 :
เป็นพันธุ์ที่กรมวิชาการเกษตรปรับปรุงคัดเลือกพันธุ์ สีเมล็ดขาวสม่ำเสมอ ลำต้นตรงไม่แตกกิ่ง ลักษณะฝัก 4 กลีบ 8 พู เมล็ดมีขนาดปานกลางอายุเก็บเกี่ยว 70-75 วัน ผลผลิต 50-120 กก. ต่อไร่ เหมาะสำหรับปลูกเป็นแถว ไม่ต้านทานต่อหนอนห่อใบงาและหนอนผีเสื้อหัวกะโหลก ฝักแตกง่าย จะต้องเก็บเกี่ยวทันที ที่ครบอายุเก็บเกี่ยว

5. พันธุ์ มข.1 :
เป็นพันธุ์ที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นปรับปรุงมาจากงาขาว CW 103 ของจีน ลักษณะฝักเป็นแบบ 2 พู ไม่ไวต่อแสงช่วงแสง ไม่แตกกิ่งก้าน ฝักมีการเรียงตัว เป็นแบบตรงกันข้าม ฝักดก 3-7 ฝักต่อซอกใบ เมล็ดสีขาวค่อนข้างใหญ่ น้ำหนักเมล็ด 2.79 อายุเก็บเกี่ยว 70-75 วัน (ปริมาณผลผลิต ไม่บอก) ไม่ต้านทานหนอนห่อใบงาและหนอนผีเสื้อกะโหลก

6. พันธุ์มหาสารคาม 60 :
เป็นพันธุ์ที่กรมวิชาการเกษตรปรับปรุงพันธุ์จากพันธุ์ที-85 ของประเทศอินเดียลักษณะฝัก 2 กลีบ 4 พู ต้นโปร่ง ไม่แตกกิ่งฝักมีการเรียงตัวเป็นแบบตรงกันข้าม มี 1 ฝักต่อ 1 ซอกใบ ขนาดเมล็ดโตสีขาว น้ำหนัก 2.90 กรัมต่อ 1,000 เมล็ด อายุเก็บเกี่ยว 80-85 วัน ผลผลิต 107 กก. ต่อไร่ ไม่ต้านทานโรคราแป้ง เขตางเสริมการปลูก ได้แก่ จังหวัดสระบุรี ลพบุรี เพชรบูรณ์ พิษณุโลก และกาญจนบุรี

3. งาดำ-แดง หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า งาเกษตร ที่ใช้ปลูกมี 3 พันธุ์ ได้แก่
1. งาแดงอุบลราชธานี 1 :
คัดเลือกและปรับปรุงพันธุ์โดยกรมวิชาการเกษตร จากงาพันธุ์ นานนี 25/160/85-9 ของประเทศพม่า ได้รับการรับรองพันธุ์เมื่อ 19 มกราคม 2536 มีขีดเมล็ดโตสม่ำเสมอ น้ำหนักเมล็ด 3.16 กรัมต่อ 1,000 เมล็ด ลักษณะฝักเป็นแบบ 2 พู ต้นแตกกิ่ง 3-5 กิ่ง อายุเก็บเกี่ยว 80-85 วัน ผลผลิต 141 กก. ต่อไร่ ต้านทานโรคเหี่ยวหนอนห่อใบงา ไรขาว และมวนฝิ่น ใช้เป็นพันธุ์แนะนำให้เกษตรกรปลูกแทนพันธุ์พื้นเมือง

2. งาแดงพันธุ์ มข.3 :
คัดเลือกและปรับปรุงพันธุ์โดยมหาวิทยาลัยขอนแก่น จากงาพันธุ์นานนี ของประเทศพม่า ลักษณะฝักเป็นแบบ 2 พู เมล็ดโตสีแดง น้ำหนักเมล็ด 3.12 กรัมต่อ 1,000 เมล็ด แตกกิ่ง 4-6 กิ่งต่อต้น ต้นสูง 130-150 ซม. อายุเก็บเกี่ยว 80-85 วัน ผลผลิต 100-180 กก.ต่อไร่ ปลูกได้ทั้งต้นฝนและปลายฤดูฝนเหมาะที่จะปลูกแบบหว่าน ค่อนข้างต้านทานโรคและแมล

เรียบเรียง : อภิชาติ ผลเกิด กองส่งเสริมพืชไร่นา
จัดทำ : วิไลภรณ์ ชนกนำชัย กองเกษตรสัมพันธ์
ผลิตและเผยแพร่ : ฝ่ายเอกสารคำแนะนำ กองเกษตรสัมพันธุ์ กรมส่งเสริมการเกษตร
-----------------------------------------------

แปรรูปงาปลอดสารเคมี ณ บ้านปางหมู จ.แม่ฮ่องสอน

องค์ความรู้ในการปลูกงา ผลิตงา แปรรูปน้ำมันงา และการสกัดน้ำมันงา (อีดงา) โดยใช้ ภูมิปัญญาไทยใหญ่ ซึ่งสันนิษฐานว่า องค์ความรู้มีมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ของชาวไทยใหญ่ที่ได้มาตั้งถิ่นฐานที่บ้านปางหมู และได้มีการสืบทอดทำกันมาจนถึงรุ่นลูกรุ่นหลานในปัจจุบัน โดยมีวิธีการทำ คือ

1. นำเมล็ดงามาผัดหรือเป่าพัดลม เพื่อขจัดสิ่งสกปรก เช่น ใบไม้ ก้าน ดิน ให้สะอาด แล้วนำไปตากแดด 3 วัน
2. ชั่งหรือตวงน้ำหนักเมล็ดงา 15 กก. หรือประมาณ 23 ลิตร
3. ต้มน้ำให้เดือดพล่านประมาณครึ่งชั่วโมง (ถ้าน้ำไม่สุกพอจะมีผลต่อน้ำมันงา)
4. ตวงน้ำต้มสุกใส่ลงไปในก้นครก 1-1.5 กระป๋องนม
5. เทเมล็ดงาที่เตรียมไว้ 15 กก. หรือประมาณ 23 ลิตร บดให้เมล็ดงาแตกประมาณ 1/3 ส่วน (ครกที่ใช้บดเป็นครกไม้และใช้แรงสัตว์ในการหมุนครก) ตวงน้ำต้มสุก 1 กระป๋องนม ค่อยๆ หยอดน้ำเพื่อให้เมล็ดงากับน้ำเข้ากัน บดไปเรื่อยๆ เติมน้ำเป็นระยะๆ จนได้ที่แล้ว น้ำมันจะเริ่มออกมา บดต่อไปจนกากงาแยกออกจากกัน (เทน้ำข้างบนที่ใช้ทั้งหมดหรือที่เรียกว่าน้ำหัวใช้ปริมาณทั้งหมดประมาณ 3-4.5 กระป๋องนม) ปริมาณน้ำที่ใช้จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับงาที่แห้งสนิทดีหรือไม่ เมล็ดงาสมบูรณ์ดีหรือไม่ ปริมาณมากหรือน้อยของเมล็ดงาที่ใส่แต่ละครั้งของการอีด

6. เมื่อน้ำมันที่ได้แล้วจะสังเกตจากฟองน้ำมันเล็ก ๆ เท่าหัวไม้ขีดกลายเป็นฟองน้ำมันเท่าหัวแม่มือแสดงว่าน้ำมันได้ที่แล้ว
7.ตักน้ำมันข้างบนครกเทใส่กระชอน ที่มีผ้าขาวบางรองไว้ใส่ในถังที่เตรียมไว้
8. นำน้ำมันที่ได้ใส่ถังพักตะกอน 1 เดือน ก็บรรจุขวดเพื่อจำหน่ายต่อไป

ที่ผ่านมานั้นการนำงามาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่จังหวัดแม่ฮ่องสอนทำกันเฉพาะในชุมชน กระทั่งทางจังหวัดเล็งเห็นว่า งาที่แม่ฮ่องสอนมีศักยภาพสมควรที่จะส่งเสริมให้เกิดอุตสาหกรรมขนาดย่อมได้ ปัจจุบันจึงได้เห็นผลิตภัณฑ์จากงา เช่น น้ำมันงา สบู่ ยาสระผม โลชั่น ขนมงา งาคั่ว น้ำนมงา เนยงาคั่ว

กากงา
คือ เมล็ดงาที่สกัดน้ำมันออกจนหมดแล้ว ยังมีโปรตีนสูงถึง 34-50% มีกรดอะมิโนเมทไธโอนินสูงกว่าพืชน้ำมันชนิดอื่นประมาณ 3.8% และมีเซซามีน เซซาโมลินรวมอยู่ด้วย ซึ่งกากงานี้นอกจากจะสามารถนำไปเลี้ยงสัตว์หรือนำไปทำปุ๋ยได้แล้ว ยังสามารถนำไปทำเป็นแป้งได้อีกด้วย แป้งที่ว่านี้นำไปทำขนมเช่น คุกกี้ ขนมปัง ขนมปังอบกรอบ

เห็นได้ชัดเจนว่า งา มีประโยชน์ยิ่งยวด เมล็ดเล็ก ๆ แต่มีคุณสมบัติครบถ้วน เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษจวบจนปัจจุบัน นับเป็นพืชมหัศจรรย์โดยแท้.

http://www.phtnet.org/news51/view-news.asp?nID=819
---------------------------------------------------------------

งาอินทรีย์เกาะขอบ :
**เตรียมดิน เตรียมแปลง :

- ไถดะไถแปร ขี้ไถใหญ่ ปล่อยตากแดดจัด 15-20 แดด ให้ดินแห้ง เพื่อกำจัดวัชพืช และกำจัดเชื้อโรคในดิน ระหว่างตากแดดมีฝนต้องไถใหม่ แล้วเริ่มตากแดดใหม่
- ใส่ยิบซั่ม เฟอร์มิกซ์, ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, กระดูกป่น, ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ ไถพรวน ทำสันแปลงสูงๆ มีช่องทางระบายน้ำจากสันแปลงลงตีนแปลงดีๆ ทำให้ดินโปร่งให้ได้ บ่มดินทิ้งไว้ 20-30 วัน (ตระหนักเสมอว่า ขั้นตอน “บ่มดิน” สำคัญที่สุด) เพื่อให้เวลาจุลินทรีย์ปรับสภาพดิน เตรียมสารอาหารพร้อมแล้วจึงค่อยปลูก ใช้ฟางแห้งคลุมหน้าแปลงหนาๆ, ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง สูตรปรับโมเลกุล 1-2 ล. /ไร่ /เดือน, ให้น้ำสม่ำเสมอ พอหน้าดินชื้น, อย่าให้น้ำขังค้างเด็ดขาด

** เตรียมเมล็ดพันธุ์ :

- แช่เมล็ดพันธุ์ใน “น้ำอุ่น + ไบโออิ (สังกะสี .... เสริมการงอกของรากของเมล็ด) + ยูเรก้า (ไคโตซาน....กำจัดเชื้อโรคปนเปื้อนมากับเมล็ดพันธุ์)) + แคลเซียม โบรอน (โบรอน .... เสริมการงอกของรากของเมล็ด) นาน 6 ชม. นำขึ้นห่มชื้น 24 ชม. เริ่มมีตุ่มรากโผล่ขึ้นมานำไปเพาะ

** เตรียมกล้า :

- เพาะกล้าในกระบะเพาะ หยอดเมล็ดช่องละ 1 เมล็ด
- บำรุงจนกล้าโตได้ 2-3 ใบจึงย้ายลงปลูกในแปลงจริง .... ให้แคลเซียม โบรอน ก่อนย้ายกล้า 3-5 วัน จะช่วยให้ต้นกล้าแข็งแรงดี

บำรุง :
** บำรุงระยะกล้า :

- ให้ไบโออิ 2 รอบ สลับด้วยแคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน
- ฉีดพ่นสารสมุนไพรบ่อยๆ
บำรุงก่อนออกดอก :
ทางใบ :
- ให้ไทเป 2 รอบ สลับด้วยแคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน +ยาสมุนไพรร่วมด้วยทุกครั้ง
- ฉีดพ่นสารสมุนไพรบ่อยๆ
ทางราก :
- ให้ทางใบโชกๆ กะให้ตกลงดิน เป็นการให้ทางรากไปพร้อมกัน

บำรุงเป็น ผล/ฝัก แล้ว :
ทางใบ :

- ไบโออิ + ยูเรก้า + ยาสมุนไพร 2 รอบ สลับด้วยแคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน
- พ่นยาสมุนไพรบ่อยๆ
ทางราก :
- ระเบิดเถิดเทิง สูตรปรับโมเลกุล 8-24-24 ทุก 15 วัน
หมายหตุ :
- การบำรุงโดยให้ทางใบทุกครั้ง ผสมสารอาหารในน้ำมากๆ ให้โชกๆ จากใบลงถึงพื้น เป็นการให้น้ำไปในตัว

- งา ต้องการน้ำระดับ “แห้งต่อชื้น” (แห้ง ชื้น ชุ่ม โชก แฉะ แช่) เท่านั้น เทคโนโลยี “แห้งสลับชื้น” (ผิวดินแห้ง ไต้ผิวดินชื้น) จึงเหมาะสมทั้งพืช (งา) และสภาพแห้งแล้ง

- ทุกครั้งที่ให้ปุ๋ยทางใบ +สารสมุนไรร่วมด้วย เพื่อป้องกันศัตรูพืชแบบ “กันก่อนแก้” และประหยัดเวลา แรงงาน

- ไม่ต้องใส่ปุ๋ยเคมีทางรากเพิ่ม เพราะปุ๋ยที่ได้รับทางรากจากน้ำหมักระเบิดเถิดเทิง
และปุ๋ยที่ได้รับทางใบ ไบโออิ. ยูเรก้า. แคลเซียม โบรอน. ถือว่าพอแล้ว)

---------------------------------------------------------------




.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©