-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ถาม-ตอบ ปัญหารายการวิทยุ 24 DEC *สูตรสำเร็จ สู้ภัยแล้ง....
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบ ปัญหารายการวิทยุ 22 DEC *ผักชีเอาราก, พลู, ต้นทุนนาข้าว
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบ ปัญหารายการวิทยุ 22 DEC *ผักชีเอาราก, พลู, ต้นทุนนาข้าว

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11563

ตอบตอบ: 22/12/2015 12:12 pm    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหารายการวิทยุ 22 DEC *ผักชีเอาราก, พลู, ต้นทุนนา ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางรายการวิทยุ 22 DEC

AM 594 เวลา 06.30-07.00 (ทุกวัน) และ 08.10-09.00 (จันทร์-ศุกร์)

********************************************************************

สวัสดีครับ ท่านผู้ฟังที่เคารพ
กองทัพบกเพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตร และอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดยกองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก

@@ สนับสนุนรายการโดย ...

* บ.นิมุติ เอ็นจิเนียริ่ง เครื่องย่อยเศษพืช (02) 322-9175-6

http://kasate.site88.net/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=1
* ยิบซั่มธรรมชาติ เฟอร์มิกซ์, ธันเดอร์พลัส, ธาตุรอง/ธาตุเสริม มัลติแชมป์ (089) 144-1112

http://www.mysuccessagro.com
* บ.มายซัคเซส อะโกร---ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, กาวเหนียวดักแมลง มายฟิกส์, กลิ่นล่อแมลงวันทอง ฟลายแอต,
สารเสริมฤทธิ์สารสมุนไพร ไบโอเจ๊ต, ถังฉีดพ่นรุ่นใหม่ ใช้แบตเตอรี่ (081) 910-5034

กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการครับ
เช่นเคยครับ รายการเรา 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม ที่ (081) 913-4986

----------------------------------------------------------------------------------------------

ตัวแทนจำหน่าย ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง, ไบโออิ, ไทเป, ยูเรก้า. (อินทรีย์ – เคมี)

1) ชมรม (ใหญ่) สีสันชีวิตไทย (089) 814-3204 ใกล้ไฟแดง สี่แยกบางแพ ราชบุรี
2) “คุณชาตรี” (081) 841-9874 ทรัพย์ทวีการเกษตร ชัฎป่าหวาย สวนผึ้ง ราชบุรี (ส่งทาง ปณ.)

3) ร.ต.ต.นันท์สุรัตน์ (089) 821-8273 ต.จรเข้เผือก ด่านมะขามเตี้ย กาญจนบุรี (ส่งทาง ปณ.)
4) “คุณล่า” (081) 944-8494 ทุกวันจันทร์ ตลาดนัดวัดอมรญาติ ดำเนินสดวก ราชบุรี

5) “คุณประเสริฐ” (080) 110-4645 บ.เขาดิน หนองแขม เดิมบางนางบวช สุพรรณบุรี
6) “คุณพรพรรณ” (089) 814-7944 พลชัยเกษตรชีวภาพ ตลาดนัดธนบุรี ถ.เลียบคลองทวีวัฒนา
7) “คุณน้ำส้ม” (085) 055-7706 ชมรมฯ สาขาศาลายา หน้า ม.มหิดล พุทธมณฑลสาย 4 (ส่งทาง ปณ.)

----------------------------------------------------------------------------------------

@@ สารอาหาร (ปุ๋ย) เพื่อการสื่อสาร :

** ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง : ส่วนผสมหลัก .... อินทรีย์/เคมี (กุ้งหอยปูปลาทะเล, เลือด,
ไขกระดูก, นม, ขี้ค้างคาว, น้ำมะพร้าว, ธาตุหลักตามพืช, แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม

** ไบโออิ : ส่วนผสมหลัก .... เคมี (แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม)
** ยูเรก้า : ส่วนผสมหลัก .... เคมี (21-7-14, ไคโตซาน, อะมิโนโปรตีน)
** ไทเป : ส่วนผสมหลัก ..... อินทรีย์/เคมี (นม, ไข่, น้ำมะพร้าว, 13-0-46. 0-52-34)


มิได้มีเจตนาโฆษณาผลิตภัณฑ์ แต่ใช้ชื่อผลิตภัณฑ์เพื่อง่ายต่อการสื่อสารข้อมูล เท่านั้น
.... ต้นพืชไม่รู้จักยี่ห้อ ไม่รู้จักเจ้าของสูตร .....
...... ไม่รู้เจ้าของคนปลูก ไม่ฟังโฆษณา .......
...... ต้นพืชรู้จักแต่ส่วนผสมหรือเนื้อใน .......

-----------------------------------------------------------



จาก : (063) 782-81xx
ข้อความ : อยากให้ผักชีได้รากใหญ่ๆ เร่งรากโดยเฉพาะ ใช้ปุ๋ยสูตรไหน....
ตอบ :
เตรียมดิน-เตรียมแปลง :
ยิบซั่ม ตราคนกับควาย กระดูกป่น ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ พรวนดินให้คลุกเคล้าเข้ากันดี ยกแปลงเป็นลูกฟูก หญ้าแห้งคลุมสันแปลงหนาๆ รดด้วยน้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 12-60-0 ให้น้ำวันเว้นวันพอหน้าดินชื้น ปล่อยทิ้งไว้ 15-20 วัน เพื่อบ่มดิน ระหว่างนี้ให้หมั่นถอนวัชพืช จึงลงมือปลูกด้วยการหว่านเมล็ด

บำรุง :
ให้น้ำ 20 ล. + น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 12-60-0 (50 ซีซี.) รดบนใบลงพื้นโคนต้นโชก ทุก 10 วัน ให้น้ำปกติวันเว้นวันพอหน้าดินชื้น
-------------------------------------------------------------------

จาก : (068) 220-42xx
ข้อความ : ใบพลู ใช้อะไรเป็นอาหาร ทั้งทางใบ ทางราก ครับ..
ตอบ : ใช้น้ำล้างปลา .... เตรียมทำข้าวต้มปลา ปลาช่อน 1 ตัว ขังในน้ำเปล่า 1 คืนให้คายเมือกคายขี้ ตื่นเช้าเอามาเชือดแล้วหั่นเป็นชิ้น หั่นแล้วล้างน้ำก่อนลงหม้อ ได้นำล้างชิ้นเนื้อปลา น้ำล้างเขียงปลา น้ำแช่ปลา เจือจางน้ำเปล่าตามความเหมาะสม ราดรดบนหลักพลูลงดิน 1-2 อาทิตย์/ครั้ง
ทางดิน : ใส่ยิบซั่ม ตราคนกับควาย กระดูกป่น น้ำหมักชีวภาพ 30-10-10 เดือนละครั้ง
------------------------------------------------------------------


จาก : (088) 182-52xx
ข้อความ : ต้นทุนการทำนาข้าวสูง แก้ไขอย่างไร (ข้อความหาย) ....
ตอบ :
- แม้ข้อความในคำถามจะหาย แต่ก็รู้ว่าหมายถึงอะไร เพราะคำถามนี้ คือ คำถามสากล ที่ทั่วโลกเขารู้กันทั้งนั้น คิดง่ายๆ ทำแล้วขาย ขายแล้วขาดทุน แต่ไม่รู้ว่าที่ขาดทุนน่ะเป็นเพราะอะไร ทำใหม่ก็ยังทำแบบเดิม มันก็ขาดทุนเหมือนเดิม ว่ามั้ย ....

ในทางกลับกันหรือทางเดียวกันล่ะ คิดใหม่ ทำแบบใหม่ แล้วขายใหม่ ดูซิจะขาดทุนมั้ย ....
คงไม่ใช่นาข้าวอย่างเดียว กิจกรรมเกษตรปลูกพืชอย่างอื่นก็อีหร็อปเดียวกัน ถ้าเกษตรกรเรายึดหลัก การตลาดนำการผลิต หรือลูกค้าคือพระเจ้า ทำขายต้องตามใจคนซื้อ นั่นคือ เกรด เอ. (ลำดับ ระดับ ชั้น ชนิด), ซูพรีม (ความใหญ่ยิ่ง สำคัญอย่างยิ่งยวด สูงสุด), พรีเมียม (คุณค่าในความรู้สึกและจิตใจ ของแท้ คุณภาพดีไม่ซ้ำใคร), จัมโบ้, โกอินเตอร์, ขึ้นห้าง, ออกนอกฤดู, คนนิยม. สินค้าราคาแพงแค่ไหน คนซื้อก็ยินดีจ่ายแพง นี่คือ โอกาสย่อมเป็นของคนขายหรือเกษตรกร

- ต้นทุนค่าใช้จ่าย ในการทำนาต่อไร่ของไทยอยู่ในระดับสูงสุดอยู่ที่ 9,763 บาท/ไร่ เวียดนาม 4,070 บาท/ไร่ และพม่าอยู่ที่ 7,121 บาท/ไร่

ขณะที่รายได้ชาวนาไทย อยู่ที่ 11,319 บาท/ไร่ เวียดนาม 7,251 บาท/ไร่ และพม่า 10,605 บาท/ไร่ แต่เมื่อหักต้นทุนแล้ว ทำให้ชาวนาไทยมีรายได้ต่ำที่สุด คือ มีเงินเหลือในกระเป๋าเพียง 1,555.97 บาท/ไร่ ต่ำกว่าเวียดนามที่มีเงินเหลือ 3,180 บาทต่อไร่ และพม่า 3,484 บาทต่อไร่

ทั้งๆที่รัฐบาลใช้โครงการรับจำนำข้าวโดยตั้งราคาสูงกว่าตลาด ทำให้ราคาข้าวไทยสูง สุด แต่เมื่อหักค่าใช้จ่ายแล้ว กลับพบว่า เงินที่เหลือของชาวนาไทยต่ำที่สุดในอาเซียน โดยการหักค่าใช้จ่ายนี้ ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันที่ปรับสูงขึ้นเลย ซึ่งสาเหตุที่ทำให้ศักยภาพการผลิตข้าวของไทยถดถอยลงในอาเซียน มาจากประสิทธิภาพการผลิตข้าวที่ต่ำกว่าคู่แข่ง โดยผลผลิตข้าวไทยเฉลี่ยได้เพียง 450 กก./ไร่ หรือ 45 ถัง/ไร่ เท่านั้น

รายได้ชาวนาไทย อยู่ที่ 11,319 บาท/ไร่ เวียดนาม 7,251 บาท/ไร่ และพม่า 10,605 บาท/ไร่ แต่เมื่อหักต้นทุนแล้ว ทำให้ชาวนาไทยมีรายได้ต่ำที่สุด คือ มีเงินเหลือในกระเป๋าเพียง 1,555.97 บาท/ไร่ ต่ำกว่าเวียดนามที่มีเงินเหลือ 3,180 บาท/ไร่ และต่ำกว่าพม่าที่มีเงินเหลือ 3,484 บาท/ไร่

http://www.uasean.com/kerobow01/1152


สังเกต 1 :
- เวียดนามได้ 90 ถัง/ไร่ คิดแบบเฉลี่ยทั้งประเทศ ทั้งพื้นที่ในเขตและนอกเขตชลประ ทาน โดยพื้นที่นาเวียดนามอยู่ในเขตชลประทาน 70% นอกเขตชลประทาน 30%

- พม่าได้ 42 ถัง/ไร่ ไทยได้ 45 ถัง/ไร่ เท่ากัน คิดแบบเฉลี่ยทั้งประเทศ ทั้งพื้นที่ในเขตและนอกเขตชลประทานเหมือนกัน โดยนาไทยอยู่ในเขตชลประทาน 30% อยู่นออกเขตชลประมาณ 70% (พื้นที่นาพม่า ไม่รู้)

- นาข้าวไทย เฉพาะในเขตชลประทาน อินทรีย์นำ เคมีเสริม ได้เฉลี่ย 100+ .... นาข้าวเคมีบ้าเลือด ได้เฉลี่ย 70 ถัง/ไร่ .... นอกเขตชลประทาน ไม่มีข้อมูล แต่รู้ว่าได้น้อยกว่าในเขตชลประทาน

สังเกต 2 :
ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน ให้เงินอุดหนุนชาวนาอย่างต่อเนื่องมากที่สุด 65-75% ขณะที่ประเทศในกลุ่ม อียู ให้การอุดหนุนสินค้าเกษตร 35% ของมูลค่าสินค้าในตลาด

วิธีการให้การอุดหนุนก็มีตั้งแต่วิธีการทางตรง คือ ให้เงินเกษตรกร และวิธีการทางอ้อม คือ ผ่านมาตรการด้านภาษี

- ชาวนาข้าวไทย รวยได้ด้วยตัวเองแน่นอน ถ้า “คิดเป็น รวมกลุ่มเป็น ทำเป็น แปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่มเป็น ขายเป็น (เน้นย้ำ....ขายเป็น)” ข้าวไทยชนิดเดียวที่ดีที่สุดในโลก วันนี้ตลาดโลกสั่งซื้อแล้ว 81 ประเทศ ไม่รู้เหมือนกันว่า กระทรวงพานิช รู้เรื่องนี้มั้ย ....

คิด/วิเคราะห์/เปรียบเทียบ : คิดดู ต้นทุนทุกอย่าง (เน้นย้ำ....ทุกอย่าง ซื้อ/จ้าง) 1ไร่ ไม่เกิน 10,000 แต่แปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่มแล้วขายได้ 25,000 พอมั้ย เอามั้ย งานนี้มีคนทำได้ .... ฝึกลูกสอนลูกให้มีหัวการค้า ทำนาขายข้าวแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่ม (ข้าวกล้อง กล้องงอก ฮาง น้ำมันรำ จมูกข้าว) แล้ว ขาย ปุ๋ย/ฮอร์โมน/ยา สำหรับข้าว แบบนี้ชาวนาไทยคงไม่ต้องพึ่งรัฐบาลเหมือนญี่ปุ่นเกาหลี



** เปรียบเทียบ ต้นทุนกับผลตอบแทน ที่ทำและวิธีแก้ไข :
- รวมรายการค่าใช้จ่ายที่ เคยทำในอดีต กำลังทำในปัจจุบัน และจะทำในอนาคต ได้แก่ :
ค่าไถ, ค่าทำเทือก, ค่าพันธ์ข้าวปลูก, ค่ายาฆ่าหญ้า, ค่าหว่านปุ๋ย, ค่าหว่านข้าว, ค่าฉีดพ่นยาฆ่าแมลง, ค่าปุ๋ยเคมี, ค่าน้ำมันทุกรายการ, ค่ารถเกี่ยว, ค่าเช่าที่นา,

1. “ค่าปุ๋ย,”
.... เนื้อที่ 1 ไร่ ใช้ “น้ำ + ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 2 ล. + 16-8-8 (10 กก.)” ละลายให้เข้ากิน เดินสาดทั่วแปลง แล้วลงมือย่ำเทือกประณีต ลูกทุบหรืออีขลุบจะกวาดน้ำละลายปุ๋ยให้กระจายทั่วแปลงทุกตารางนิ้ว แล้วรอต้นข้าวอยู่ในดินนั้น เมื่อต้นข้าวเกิดแล้วก็จะได้รับปุ๋ยเท่ากันทุกต้น

2. ความจริงที่ชาวนาไม่ยอมรับ :
ชาวนาวันนี้ใส่ปุ๋ย 46-0-0 (1 กส.) + 16-20-0 (1 กส.) รวม 2 กส. หรือ 100 กก. /ไร่ /รุ่น แต่มีธาตุอาหารเพียง 2 ตัว N. กับ P. เท่านั้น ในขณะที่ต้นข้าวต้องการปุ๋ยทั้ง 14 ตัว เหมือนพืชทั่วๆไป ....
คิด/วิเคราะห์/เปรียบเทียบ :
ข้าวต้องการ N-P-K เพียง 10 กก./ไร่/รุ่น (ข้อมูล : IRRI), Mg ช่วยให้ต้นข้าวใบเขียวจนถึงวันเกี่ยว, Zn ช่วยสร้างแป้ง ทำให้ข้าวไม่เป็นข้าวลีบ ข้าวท้องไข่ ข้าวไม่มีน้ำหนัก เมล็ดไม่แกร่งใส


3. การหว่านปุ๋ยด้วยมือ ไม่สามารถทำให้เม็ดปุ๋ยลงไปที่โคนกอต้นข้าว กอละ 1-2-3 เม็ด เท่ากันทุกกอได้ นั่นคือ กอไหนได้รับปุ๋ย = เขียว, กอไหนไม่ได้รับปุ๋ย = ไม่เขียว ชาวนาคิดว่า ปุ๋ยน้อย ว่าแล้วหว่านปุ๋ย 46-0-0 ซ้ำครั้งที่ 2 นั่นคือ ข้าวไร่นั้นได้ปุ๋ย 3 กส. หรือ 150 กก.
คิด/วิเคราะห์/เปรียบเทียบ : สิ้นเปลืองปุ๋ยโดยไม่จำเป็น, ประสิทธิภาพของปุ๋ยตรงกับต้นข้าว, ปุ๋ยเคมีที่เหลือตกค้างส่งผลเสียต่อโครงสร้างดิน และจุลินทรีย์


4. 46-0-0 ทำให้ต้นข้าวเขียวอวบ เขียวตองอ่อน นอกจากโรคแมลงชอบแล้ว ยังทำให้ต้นสูง ต้นล้มอีกต่างหาก
คิด/วิเคราะห์/เปรียบเทียบ :
Mg ทำให้ต้นเขียวเข้ม แกร่งแข็ง โรคแมลงไม่ชอบ ต้นไม่สูงไม่ล้ม


5. “ค่าไถ, ค่าทำเทือก, ค่ายาคุมยาฆ่าหญ้า” .... ไม่ต้องไถแต่ใช้วิธีย่ำเทือกประณีต ใช้ลูกทุบหรืออีขลุบใบเหล็ก ย่ำ 4 รอบต่อกระทง ห่างกันรอบละ 7-10 วัน .... ย่ำเทือกประณีต 4 รอบ รุ่นแรกออกจะหนักหน่อย แต่รุ่นต่อๆ ไปจะเบาลง อาจจะย่ำแค่ 2 รอบก็ได้ แต่ที่แน่ๆ ไม่ต้องไถ นี่ก็เท่ากับประหยัดต้นทุนได้ส่วนหนึ่งแล้ว ไม่ใช่ประหยัดแต่ต้นทุนอย่างเดียว คุณภาพของเนื้อดิน ของจุลินทรีย์ ก็จะดีขึ้น ดีขึ้นๆ เรื่อยๆ อีกด้วย
คิด/วิเคราะห์/เปรียบเทียบ : แยกต้นทุนแต่ละรายการ, รวบยอด 3 รายการเหลือทำเทือกประณีตรายการเดียว, ยากรุ่นแรกเพราะต้องย่ำ 4 รอบ แต่จะง่ายรุ่น 2-3-4 เพราะย่ำแค่ 2 รอบ,


6. “ค่าพันธ์ข้าวปลูก” .... นาดำด้วยเครื่องใช้เมล็ดพันธุ์ 7 กก./ไร่, นาหยอดด้วย “ไทยหยอด 9” ใช้เมล็ดพันธุ์ 3.5 กก./ไร่, นาหว่าน (มือ/เครื่องพ่น) ใช้เม็ดพันธุ์ 20 กก./ไร่
คิด/วิเคราะห์/เปรียบเทียบ :
พันธุ์ข้าวที่ราคาต่างกัน, ต้นทุนค่าเม็ดพันธุ์, คุณภาพที่เกิดจากต้นข้าวนาดำกับนาหว่าน


7. “ค่าหว่านข้าว” .... ทำนาดำด้วยเครื่อง หรือทำนาหยอด ทำเองหรือจ้าง ประสิทธิ ภาพเหนือกว่านาหว่าน (มือ/เครื่องพ่น)
คิด/วิเคราะห์/เปรียบเทียบ :
นาดำกล้าต้นเดียว 1ไร่ 3ไร่ แรงงานแค่คนเดียวทำเสร็จได้ในวันเดียว, 5ไร่ 10ไร่ แรงงานแค่ 2 คนทำเสร็จได้ในวันเดียว หรือ 10 ไร่ แรงงานแค่คนเดียวทำเสร็จได้ใน 1-2 วัน


8. “ค่าน้ำมันสูบน้ำ .... นาเปียกสลับแห้ง ใช้น้ำ 1.800 ล./ไร่ ต้นข้าวแตกกอดี ต้นเตี้ยไม่ล้ม ต้นสมบูรณ์ โรคแมลงน้อย สิ้นเปลืองน้ำมันน้อย, นาน้ำขังแช่ ใช้น้ำ 3,500 ล./ไร่ ต้นข้าวแตกกอน้อย ต้นสูงแล้วล้ม ต้นไม่สมบูรณ์ โรคแมลงมาก สิ้นเปลืองน้ำมันมาก
คิด/วิเคราะห์/เปรียบเทียบ :
นาเปียกสลับแห้ง สูบน้ำเข้าแปลงแค่ 2 ครั้ง ครั้งละไม่มากเท่ากับนาข้าวน้ำแช่ท่วมขัง ทำให้ประหยัดกว่าอย่างเห็นได้ชัด


9. “ค่ารถเกี่ยว,” .... ข้าวต้นเตี้ย ราคาค่าเกี่ยวถูกกว่าข้าวต้นสูง (คนขับรถเกี่ยว)


10. “ค่าเช่าที่นา” ....ไม่มีสิทธิต่อรอง ต้องสร้างมูลค่าเพิ่มในข้าว เช่น ขายข้าวปลูก ขายข้าวกล้อง
คิด/วิเคราะห์/เปรียบเทียบ :
เช่าที่มาตั้งแต่เกิด เช่าที่ตัวเอง มันเกิดขึ้นได้อย่างไร .... บางคนเช่าที่ทำ 2-3 ปี ปลูกแล้วขายได้เงินมาซื้อที่แปลงนั้นเป็นของตัวเองได้....มันเกิดขึ้นได้อย่างไร ?

สรุป :

- ความสำเร็จ-ความล้มเหลว ทั้งปวงทั้งสิ้นเกิดขึ้นเพราะ ตัวเอง หรือ ผู้ใด เป็นคนกระทำ
- ไม่มี “ความรู้” เพราะไม่ได้เรียนมา แต่ “รู้” เพราะ คิด/วิเคราะห์/เปรียบ เป็น ใช่หรือไม่ ?


เปรียบเทียบนาเคมี-นาอินทรีย์ชีวภาพ :
ทำนาเคมี (บาท/ไร่)

- ค่าเตรียมดิน .................. 500
- ค่าเมล็ดพันธุ์ข้าว ............. 625
- ค่าแรงหว่านข้าว .............. 50
- ค่ายาคุมวัชพืช ............... 400
- ค่าน้ำมัน ..................... 500
- ค่าปุ๋ย+ค่าแรงใส่ปุ๋ย .......... 3,350
- ค่ายาฆ่าแมลง+ฮอร์โมน ..... 500-1,000
- ค่ารถเกี่ยวข้าว ............... 600
** รวม ....................... 6,500-7,000 บาท

ทำนาอินทรีย์ชีวภาพ (บาท/ไร่)

- ค่าเตรียมดิน ................. 500
- ค่าเมล็ด+ค่าดำนา .......... 1,200
- ไม่มี ......................... -
- ไม่มี ......................... -
- ค่าน้ำมัน ..................... 500
- ค่าปุ๋ยอินทรีย์+ค่าแรง ........ 500+150
- ไม่มี ......................... -
- ค่ารถเกี่ยวข้าว .............. 600
** รวม ....................... 3,050-3,500

หมายเหตุ :

ในธรรมชาติไม่มี ตัวเลขและสูตรสำเร็จ ทุกอย่างต้องอยู่ภายไต้เงื่อนไขสภาพวะแวดล้อมและสภาวะจำยอมประจำพื้นที่ ฉันใด ต้นทุนและผลตอบแทนย่อมไม่เท่ากัน ซึ่งทุกอย่างต้องอยู่ภายไต้เงื่อนไขสภาพวะแวดล้อมและสภาวะจำยอมประจำพื้นที่ ฉันนั้น

--------------------------------------------------------------------

.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©