-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ถาม-ตอบ ปัญหาทางวิทยุ 22 NOV *สู้ภัยแล้ง : ไผ่กิมซุง-ผักสวนครัว
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบ ปัญหาทางวิทยุ 03 DEC *วิเคราะห์ดิน ด้วยภูมิปัญญาพื้นบ้าน
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบ ปัญหาทางวิทยุ 03 DEC *วิเคราะห์ดิน ด้วยภูมิปัญญาพื้นบ้าน

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11557

ตอบตอบ: 03/12/2015 7:10 am    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาทางวิทยุ 03 DEC *วิเคราะห์ดิน ด้วยภูมิปัญญาพื้น ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางรายการวิทยุ 03 DEC

AM 594 เวลา 06.30-07.00 (ทุกวัน) และ 08.10-09.00 (จันทร์-ศุกร์)

********************************************************************

สวัสดีครับ ท่านผู้ฟังที่เคารพ
กองทัพบกเพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตร และอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดยกองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก

@@ สนับสนุนรายการโดย ...

* บ.นิมุติ เอ็นจิเนียริ่ง เครื่องย่อยเศษพืช (02) 322-9175-6

http://kasate.site88.net/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=1
* ยิบซั่มธรรมชาติ เฟอร์มิกซ์, ธันเดอร์พลัส, ธาตุรอง/ธาตุเสริม มัลติแชมป์ (089) 144-1112

http://www.mysuccessagro.com
* บ.มายซัคเซส อะโกร---ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, กาวเหนียวดักแมลง มายฟิกส์, กลิ่นล่อแมลงวันทอง ฟลายแอต,
สารเสริมฤทธิ์สารสมุนไพร ไบโอเจ๊ต, ถังฉีดพ่นรุ่นใหม่ ใช้แบตเตอรี่ (081) 910-5034

กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการครับ
เช่นเคยครับ รายการเรา 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม ที่ (081) 913-4986

----------------------------------------------------------------------------------------------

ตัวแทนจำหน่าย ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง, ไบโออิ, ไทเป, ยูเรก้า. (อินทรีย์ – เคมี)

1) ชมรม (ใหญ่) สีสันชีวิตไทย (089) 814-3204 ใกล้ไฟแดง สี่แยกบางแพ ราชบุรี
2) “คุณชาตรี” (081) 841-9874 ทรัพย์ทวีการเกษตร ชัฎป่าหวาย สวนผึ้ง ราชบุรี (ส่งทาง ปณ.)

3) ร.ต.ต.นันท์สุรัตน์ (089) 821-8273 ต.จรเข้เผือก ด่านมะขามเตี้ย กาญจนบุรี (ส่งทาง ปณ.)
4) “คุณล่า” (081) 944-8494 ทุกวันจันทร์ ตลาดนัดวัดอมรญาติ ดำเนินสดวก ราชบุรี

5) “คุณประเสริฐ” (080) 110-4645 บ.เขาดิน หนองแขม เดิมบางนางบวช สุพรรณบุรี
6) “คุณพรพรรณ” (089) 814-7944 พลชัยเกษตรชีวภาพ ตลาดนัดธนบุรี ถ.เลียบคลองทวีวัฒนา
7) “คุณน้ำส้ม” (085) 055-7706 ชมรมฯ สาขาศาลายา หน้า ม.มหิดล พุทธมณฑลสาย 4 (ส่งทาง ปณ.)

----------------------------------------------------------------------------------------

@@ สารอาหาร (ปุ๋ย) เพื่อการสื่อสาร :

** ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง : ส่วนผสมหลัก .... อินทรีย์/เคมี (กุ้งหอยปูปลาทะเล, เลือด,
ไขกระดูก, นม, ขี้ค้างคาว, น้ำมะพร้าว, ธาตุหลักตามพืช, แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม

** ไบโออิ : ส่วนผสมหลัก .... เคมี (แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม)
** ยูเรก้า : ส่วนผสมหลัก .... เคมี (21-7-14, ไคโตซาน, อะมิโนโปรตีน)
** ไทเป : ส่วนผสมหลัก ..... อินทรีย์/เคมี (นม, ไข่, น้ำมะพร้าว, 13-0-46. 0-52-34)


มิได้มีเจตนาโฆษณาผลิตภัณฑ์ แต่ใช้ชื่อผลิตภัณฑ์เพื่อง่ายต่อการสื่อสารข้อมูล เท่านั้น
.... ต้นพืชไม่รู้จักยี่ห้อ ไม่รู้จักเจ้าของสูตร .....
...... ไม่รู้เจ้าของคนปลูก ไม่ฟังโฆษณา .......
...... ต้นพืชรู้จักแต่ส่วนผสมหรือเนื้อใน .......

-----------------------------------------------------------




จาก : (072) 820-35xx
ข้อความ : ไม่ได้ตรวจดินก่อน จะใช้ปุ๋ยสูตรสั่งตัด ต้องทำอย่างไร เราสามารถรู้ได้ด้วยสายตาแบบภูมิปัญญาชาวบ้านว่า ดินดีหรือไม่ดี ได้หรือไม่ ....
ตอบ :
ปรัชญาการเกษตรด้านพืช :

- ดินต้องมาก่อน ดินต้องมาก่อน และดินต้องมาก่อน ....
- ดินดี = ได้แล้วกว่าครึ่ง และดินไม่ดี = เสียแล้วกว่าครึ่ง ....

- ปัจจัยพื้นฐานเพื่อการเพาะปลูก ดิน-น้ำ-แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล-สารอาหาร-สายพันธุ์-โรค ทุกพืชทั่วโลกถือหลักการนี้ทั้งสิ้น....

- เรื่องดินเพื่อการเกษตร เรียนที่ภาควิชาปฐพีวิทยา ปริญญาตรี4ปี ปริญญาโท4ปี ปริญญาเอก4ปี .... วิชาการ=ยาก ปฏิบัติ=ง่าย ถ้าเปิด "ใจ" รับ


พิสูจน์ความร่วน :
ก่อนฝนตก เดินเท้าเปล่าเหยียบลงไปแล้วรู้สึกนุ่มเย็นเท้า ไม่เจ็บเท้า และฝนตกเดินเท้าเปล่า ไม่เหนียวติดง่ามนิ้วเท้า นั่นคือ ดินดี โบราณว่า ดินดีไม่ติดตีน .... ดินผืนเดียวกัน ก่อนฝนตก เดินเท้าเปล่าเหยียบลงไปรู้สึกแข็ง ร้อน เจ็บเท้า และฝนตกเดินเท้าเปล่า ดินเหนียวติดง่ามนิ้วเท้า นั่นคือ ดินไม่ดี .... ดินดี ขุดง่าย, ดินไม่ดีขุดยาก จอบเด้ง ไฟแลบ

พิสูจน์ปริมาณอินทรีย์วัตถุ :
ตักเนื้อดินที่ผิวดินถึงความลึก 1 ฝ่ามือ ครึ่ง กก. ละลายในน้ำ 1 ล. คนให้ละลาย กรองด้วยผ้าขาวบาง ปริมาณอินทรีย์วัตถุที่ติดกรอง คือ เศษซากพืช และ/หรือ เศษซากทุกชนิดที่เจือปนอยู่ในน้ำ ดินที่มีอินทรียวัตถุมากกว่า ย่อมดีกว่าดินที่มีอินทรีย์วัตถุน้อยกว่า ... อินทรีย์วัตถุ คือ ตัวทำให้ดินดีอย่างแท้จริง

พิสูจน์จุลินทรีย์ :
ตักเนื้อดินที่ผิวดินถึงความลึก 1 ฝ่ามือ ครึ่ง กก. ละลายในน้ำ 1 ล. คนให้ละลาย กรองด้วยผ้าขาวบางเอาเศษซากต่างๆ ที่ลอยน้ำออกทิ้ง เหลือแต่น้ำเปล่าๆ ปล่อยทิ้งไว้ในอุณหภูมิห้อง นาน 1วัน 2วัน 3วัน ระหว่างวันให้สังเกต ถ้ามีฟองเกิดขึ้น นั่นคือผลงานของจุลินทรีย์ ฟองมากจุลินทรีย์มาก ฟองน้อยจุลินทรีย์น้อย ฝ้าที่เกิดที่ผิวน้ำ คือ ซากจุลินทรีย์ที่ตายแล้ว .... น้ำที่กรองแล้วใส่ชวดน้ำดื่ม สวมปากขวดด้วยลูกโป่ง เก็บไว้ในอุณหภูมิห้อง นาน1วัน 2วัน 3วัน 4วัน ลูกโป่งพองเพราะจุลินทรีย์หายใจ พอง มาก/เร็ว จุลินทรีย์มากแข็งแรง พอง น้อย/ช้า จุลินทรีย์น้อยไม่แข็งแรง

พิสูจน์ความสมบูรณ์ :
วัชพืช ขึ้น/ไม่ขึ้น ถ้าวัชพืชไม่ขึ้นก็อย่าหวังเลยว่า พืชประธานที่ปลูกจะขึ้น ประมาณนี้
พิสูจน์กลิ่น :
ดินดี = กลิ่นหอม (ไม่ได้หอมอย่างน้ำอบไทยนะ), ดินไม่ดี = กลิ่นเหม็นหรือเป็นกลิ่นอื่นที่ไม่พึงประสงค์
พิสูจน์สี :
สีของดินหมายถึงปริมาณอินทรียวัตถุที่ปะปนอยู่ และแปรสภาพเป็นฮิวมัสในดิน ทำให้สีของดินต่างกัน ถ้ามีฮิวมัสน้อยสีจะจางลงมีความอุดมสมบูรณ์น้อย

พิสูจน์โครงสร้าง :
ดินดี โปร่ง-ร่วน-ซุย-น้ำและอากาศผ่านสะดวก น้ัำซึมลงดินได้ลึก .... ดินไม่ดี น้ำขังค้างนาน น้ำซึมลงดินไม่ลึก คือ ดินแน่น .... ดินแน่น รากพืชจะยาวแทรกไปตามเนื้อดินได้อย่างไร
พิสูจน์ทั่วแปลง :
ตรวจตามรายการตรวจทุกรายการ มากจุดชัวร์กว่าน้อยจุด

* ดินดี คือ ดินที่มีอินทรีย์วัตถุ และอนินทรีย์วัตถุ ในอัตราส่วนที่เหมาะสมต่อการเป็นอาหารและสภาพแวดล้อมที่จำเป็นสำหรับพืช

* อินทรีย์วัตถุ เกิดมาจากสิ่งมีชีวิตและสิ่งที่เกิดจากการดำรงชีวิต ได้แก่ เศษซากพืช เศษซากสัตว์ มูลสัตว์ .... มีเปอร์เซ็นต์สารอาหารสำหรับพืชต่ำแต่มีเปอร์เซ็นต์ความเป็นสารปรับปรุงบำรุงดินสูง

* อนินทรีย์วัตถุ ที่เกิดจากธรรมชาติ ไม่มีชีวิต ได้แก่ ยิบซั่ม หินภูเขาไฟ ปูนมาร์ล โดโลไมท์ ปูนขาว เพอร์ไรซ์ .... มีเปอร์เซ็นต์สารอาหารพืชต่ำ แต่มีความเป็นสารปรับปรุงบำรุงดินตามคุณสมบัติเฉพาะตัว เช่น
... ยิบซั่ม พีเอช 7.0-7.5 มีแคลเซียมอินทรีย์ 18% กำมะถันอินทรีย์ 23%
... ปูนมาร์ล โดโลไมท์ ปูนขาว พีเอช 14.0 มีเคลเซียมที่พืชยังเอาไปใช้ไม่ได้ 3%
... หินภูเขาไฟ มีซิลิก้า .... อื่นๆ ไม่ทราบ
... เพอร์ไรซ์ ............... อื่นๆ ไมทราบ

- สารอาหารพืช ได้มาจาก 2 แหล่ง คือ สารอาหารอินทรีย์ กับสารอาหารสังเคราะห์
- สารอาหารอินทรีย์ ได้มาจากอินทรีย์วัตถุ เรียกว่า “ปุ๋ยอินทรีย์”
- สารอาหารสังคราะห์ ได้มาจากการสร้างโดยมนุษย์ เรียกว่า “ปุ๋ยเคมี หรือปุ๋ยวิทยาศาสตร์ หรือปุ๋ยสังเคราะห์”

- ปุ๋ยอินทรีย์ เข้ามาในประเทศไทยโดยนักวิชาการอินเดียตอนสิ้นสงครามโลกครั้งที่สอง ความที่มีเปอร์เซ็นต์สารอาหารสำหรับพืชน้อย ใช้แล้วต้นพืชสมบูรณ์งามดีชัดเจน เพราะมีเปอร์เซ็นต์สารปรับปรุงบำรุงดินสูง แต่ผลผลิตที่ควรจะดีขึ้นไม่ชัดเจนเพราะมีเปอร์เซ็นต์สาร อาหารต่ำ

- ปุ๋ยเคมี เข้ามาในประเทศไทยโดยมหามิตรสงคราม คือ อเมริกา เมื่อตอนสิ้นสงครามโลกครั้งที่สองเหมือนกัน ปุ๋ยตัวนี้ใช้แล้วนอกจากต้นพืชจะสมบูรณ์เจริญเติบโตดี ผลผลิตมาก ทุกอย่างชัดเจน เพราะมีเปอร์เซ็นต์สารอาหารสูง แต่ครั้นใช้นานๆไปดินจะเสีย ใช้นานมากๆใช้ปริมาณมากๆดินก็จะเสียมากๆตามมาด้วย เพราะในปุ๋ยเคมีตัวบำรุงดินหรือสารบำรุงดินน้อยนั่นเอง .... การที่ปุ๋ยเคมีได้ประสิทธิภาพสูง เพราะดินมีอินทรีย์วัตถุเดิมอยู่ก่อนแล้วจำนวนมาก กอร์ปกับความเป็นดินที่บริสุทธิ์เพราะไม่เคยผ่านเคมีใดๆมาก่อนเลย .... ปัจจุบัน ดินประเภทนี้ คือ "ดินเปิดป่าใหม่" นั่นเอง

- ทั้งปุ๋ยอินทรีย์ และปุ๋ยเคมีต่างก็มีทั้ง ข้อดี-ข้อเสีย หรือ จุดเด่น-จุดด้วย ประจำตัวเอง มนุษย์ผู้ชาญฉลาดจึงควรเลือกใช้ทั้งสองอย่างผสมผสานกัน บนหลักการ อินทรีย์นำ-เคมีเสริม หรือ เคมีนำ-อินทรีย์เสริม ตามความเหมาะสมและจำเป็นสำหรับพืช แต่ละชนิด แต่ละประเภท แต่ละสภาพแวดล้อม แต่ละการเจริญเติบโต
----------------------------------------------------------------

@@ เปรียบเทียบ "ข้อดี/ข้อด้อย" ระหว่าง ปุ๋ยเคมีกับปุ๋ยอินทรีย์ :
ข้อดีของปุ๋ยอินทรีย์ :

1. ช่วยปรับปรุงโครงสร้างของดินให้ดีขึ้น ทำให้ดินมีคุณสมบัติทางฟิสิกส์ดี เช่น มีความโปร่ง ร่วน ซุย มีความสามารถในการอุ้มน้ำ และธาตุอาหารพืชได้ดี

2. สามารถอยู่ในดินได้นาน และค่อยๆ ปลดปล่อยธาตุอาหารอย่างช้าๆ
3. ส่งเสริมให้จุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ต่อการบำรุงดิน สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และต่อต้านหรือกำจัดจุลินทรีย์ที่เป็นโทษหรือเชื้อโรคพืช

4. เมื่อใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมี จะส่งเสริมให้ปุ๋ยเคมีเป็นประโยชน์แก่พืชมากขึ้น หรือช่วยให้ “ดินกินปุ๋ย” มากขึ้นนั่นเอง

ข้อด้อยของปุ๋ยอินทรีย์

1. มีปริมาณธาตุอาหารพืชต่อน้ำหนักปุ๋ยต่ำ ต้องใช้ปริมาณมาก
2. ใช้เวลานานในการปลดปล่อยธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ให้แก่พืช
3. ราคาต่อน้ำหนักของธาตุอาหารพืชมีราคาสูง
4. มีจำนวนจำกัด ไม่สามารถหาซื้อในปริมาณมากๆ ได้

ข้อดีของปุ๋ยเคมี

1. มีปริมาณธาตุอาหารพืชต่อน้ำหนักปุ๋ยสูง ใช้ปริมาณเล็กน้อยก็เพียงพอ
2. ปลดปล่อยธาตุอาหารให้แก่พืชได้เร็ว
3. ราคาต่อน้ำหนักของธาตุอาหารพืชมีราคาต่ำ สะดวกต่อการขนส่ง และเก็บรักษา
4. หาซื้อง่าย เพราะเป็นผลิตผลที่ผลิตได้จากโรงงาน สามารถผลิตได้จำนวน

ข้อด้อยของปุ๋ยเคมี :

1. ไม่มีคุณสมบัติในการปรับปรุงคุณสมบัติทางฟิสิกส์ของดิน คือ ไม่ช่วยทำให้ดินโปร่ง
2. ปุ๋ยเคมีบางชนิด เช่น ปุ๋ยแอมโมเนีย (35-0-0) ถ้าใช้ในปริมาณมาก และติดต่อกันเป็นเวลานานจะทำให้ดินเป็นกรดมากขึ้น ต้องแก้โดยการใส่ปูนขาว .... ไนโตรเจน ใส่มากๆต้นพืชเอาไปใช้ไม่หมด เหลือตกค้างในดินจะกลายเป็น ไนไตร์ท/ไนเตรท สองตัวนี้เป็นกรดจัด เป็นพิษต่อพืช

3. การใช้ปุ๋ยเคมีต้องระมัดระวัง เพราะปุ๋ยเคมีทุกชนิดมีความเค็ม ถ้าใส่มากหรือใส่ติดโคนต้นพืชจะเป็นอันตรายต่อต้นพืช และการงอกของเมล็ด

4. ผู้ใช้ปุ๋ยเคมีจะต้องมีความรู้ความเข้าใจเรื่องปุ๋ย จึงจะใช้อย่างได้ผลตอบแทนคุ้มค่า
- ข้อดี/ข้อด้อย ระหว่างปุ๋ยอินทรีย์กับปุ๋ยเคมี คนขายปุ๋ยเคมีไม่เคยบอก คนซื้อไม่เคยถาม
- อย่า .... อินทรีย์ตกขอบ แต่จงเป็นอินทรีย์เกาะขอบ
– ปลูกพืชตามใจพืช ไม่ใช่ตามใจคน .... ทุกอย่างต้องมีหลักการและเหตุผล
– จากเศษซาก พืช/สัตว์ ธรรมดาๆ เป็น “เศษซากซุปเปอร์” โดยการใส่ เสริม/เติม/เพิ่ม/บวก ทั้งอินทรีย์และเคมี เรียกว่า อินทรีย์นำ เคมีเสริม ตามความเหมาะสมของพืช

แนวทางการปฏิบัติ :

1. เก็บเกี่ยวพืชเสร็จ เกลี่ยเศษซากต้นให้กระจายทั่วแปลง ตากแดดจัด 15-20 แดดเพื่อให้ต้นแห้ง
2. ใส่ยิบซั่ม เฟอร์มิกซ์. ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, กระดูป่น, ขี้วัวขี้ไก่, หว่านทับเศษซากพืชแห้งให้ทั่วโดยประมาณ

3. ใช้รถไถโรตารี่ ไถตีป่น “ดิน-เศษซากพืชแห้ง-อินทรีย์วัตถุ” ประณีต 2-3 รอบ เพื่อคลุกเคล้าทุกอย่างให้เข้ากันดีกับเนื้อดิน .... กรณีนี้ไม่ต้อง ไถดะ ไถแปร ไถพรวน .... รถไถโรตารี่ เข้ามาในประเทศไทย นานกว่า 10 ปี อาจจะไม่ถึง 20 ปี แต่เกษตรกรไทยเพิ่มยอมรับเมื่อ 2-3-4 ปีมานี้เอง ให้เห็นชัดเลยว่า ภาคเกษตรกรรม ปฏิเสธเทคโนโลยีเครื่องทุ่นแรง ต่างกับภาคอุตสาหกรรมที่พยายามค้นหาเทคโนโลยีเครื่องทุนแรงใหม่ๆ อยู่เสมอ แพงแค่ไหนก็ซื้อ เพราะมันหมายถึงประสิทธิภาพประสิทธิผลของเนื้องาน ตัวนี้คือ ต้นทุนที่ก่อให้เกิดรายได้อย่างแท้จริง

4. ทำร่องปลูกหรือแปลงปลูกตามชนิดพืชที่จะปลูก รดด้วยน้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 2 ล. + ปุ๋ยเคมี (สูตรตรงกับพืช) 2 กก. / ไร่ บนสันแปลง บ่มดินทิ้งไว้ 7-10 วัน จึงลงมือปลูก

....การละลายปุ๋ยทางดิน ในน้ำหมักชีวภาพ สาดลงไปในแปลง แล้วไถพรวน หรือตีพรวน ด้วยโรตารี่ นอกจาก ทำให้เนื้อปุ๋ยลงไปอยู่ในพื้นดินทั่วทั้งแปลง เท่ากันทุกตารางนิ้ว ทำให้พืชที่ปลูกทุกต้นได้รับปุ๋ยแล้ว ยังประหยัดเงินค่าปุ๋ยเคมี ประหยัดชีวิตดิน ประหยัดชีวิตจุลินทรีย์ อีกด้วย

.... การใส่ปุ๋ยแบบหว่านกระจายทั่วแปลง ต้นพืชได้รีบไม่ทั่วแปลง บางต้นได้รับ บ่างต้นไม่ได้รับ หรือใช้มือกำหยอดโคนต้น ก็จะเข้าถึงรากเฉพาะตรงนั้นเท่านั้น

.... พืชกินปุ๋ยแบบน้ำ แม้จะหว่านแบบแห้งลงไปแล้ว พืชก็ยังเอาไปกินไม่ได้ ต้องรอให้มีน้ำตามไปละลายปุ๋ยเสียก่อน ทางที่ดี เราละลายปุ๋ยในน้ำ (น้ำเปล่า หรือน้ำหมักชีวภาพ) ก่อนแล้วฉีดพ่นลงไป ปรับหัวฉีดให้เม็ดน้ำใหญ่ๆ หรือใช้รถฉีดพ่นแบบ “โย่งโก๊ะ หรือ จิ้งโกร่ง” มิดีกว่าหรือ ได้ทั้งประสิทธิภาพประสิทธิผลเนื้องาน ประหยัดเวลา ประหยัดแรงงาน

.... ข้ออ้างของเกษตรกรที่ว่า ยุ่งยาก-สิ้นเปลือง-แถวนี้ไม่มีใครทำ-ฯลฯ ล้วนแต่เป็นต้นเหตุแห่งความสูญเสียทั้งสิ้น
---------------------------------------------------------------------

ดินดี :

- ดินดี คือ ดินที่มี “อินทรีย์วัตถุ-ความชื้น-จุลินทรีย์” ชาวไร่สามารถทำได้ด้วยต้น ทุนไม่สูงนัก วิธีการก็คือ :

** ลงทุนด้วยเงิน .... เนื้อที่ 1 ไร่ จากต้นทุนค่าปุ๋ยเคมี 1-2 กส./ไร่ เอาเงินตัวนั้นมาซื้อ ยิบซั่ม เฟอร์มิกซ์ 1 กส. . ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย 1 กส., กระดูกป่น 10 กก., ขี้ไก่ 100 กก., แกลบดิบ 500 กก., น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 2 ล. จ่ายเงินน้อยกว่าแต่ประโยชน์ที่ได้จากรุ่นนี้ต่อไปถึงรุ่นหน้า รุ่นต่อๆ ไปอีกด้วย เมื่อดินดี ผลผลิตก็ O.K เรียกว่า รุ่นเดียวก็ได้ทุนคืน

** ลงทุนด้วยเวลา ไม่เอาผลผลิต .... ปลูกพืชตระกูลถั่วบำรุงดิน เริ่มออกดอกแล้วไถกลบ 2 รุ่น ใช้เวลาประมาณ 4-5 เดือน ก็ได้ดินดี

** ลงทุนด้วยเวลา เอาผลผลิต .... ปลูกถั่วไร่ (เขียว-เหลือง-แดง-ดำ) เอาผลผลิตแล้วไถกลบเศษซาก ทำซ้ำ 2 รุ่น ได้ทั้งเงิน ได้ทั้งดินดี


หมายเหตุ :

- จากเศษซากต้นถั่วธรรมดาๆ ก็ทำให้เป็นเศษซากต้นถั่วซุปเปอร์ โดยก่อนไถกลบใส่ยิบซั่ม เฟอร์มิกซ์, ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, กระดูกป่น, ขี้ไก่, แกลบดิบ, น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง

– การไถกลบเศษซากต้นถั่วหรือเศษซากพืชอื่นๆ (แกลบดิบอยู่ในเนื้อดินได้นานนับ 10 ปี.... ข้อมูลจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) เสริมเติมเพิ่มบวกด้วยน้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง ลงไปไต้ดินลึกๆ เปรียบเสมือนเป็นฟองน้ำคอยซับน้ำเก็บไว้ให้ คราใดที่ฝนตกลงมาแม้ไม่มากนัก น้ำจะซึมลงไต้ดิน แล้วอยู่อย่างนั้นได้นานนับเดือน ต่างกับในเนื้อดินลึกที่ไม่มีอินทรีย์วัตถุเลย ฝนตกลงมาก็ไหลผ่านไปหมด แดดเผาแค่ 2-3-4 วัน ดินก็แห้งเหมือนเดิม
---------------------------------------------------------------------

จะใช้ปุ๋ยสูตรสั่งตัด ต้องทำอย่างไร ? :

ศ.ดร.ทัศนีย์ อัตตะนันทน์ ที่ ปรึกษาอธิการบดี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า ธาตุอาหารพืชในดินจะสูญเสียไปจากพื้นที่การเกษตรได้หลายทาง ไม่ว่าจะเป็นการชะล้างและพังทลายของดิน การที่ธาตุอาหารถูกตรึงในดิน รวมทั้งการสูญเสียไปในรูปของก๊าซ

แต่การสูญเสียธาตุอาหารไปกับผลผลิตพืชมีปริมาณมากที่สุด ตัวอย่างเช่น การผลิตข้าว เปลือก 1 ตัน โดยเฉลี่ยจะมีฟางข้าว 1.3 ตัน รากของต้นข้าวต้องดูดใช้ธาตุ เอ็น-พี-เค จำนวน 20-5-25 กก. เมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิต 1,000 กก. จะมี เอ็น-พี-เค ติดออกไปกับเมล็ด จำนวน 12-3-5 กก. จึงยังเหลืออยู่ในฟางข้าว 8-2-20 กก. ดังนั้น เกษตรกรควรไถกลบและหมักฟางข้าวลงไปในดิน เป็นช่องทางหนึ่งที่จะช่วยเพิ่มธาตุอาหารในดินซึ่งจะช่วยลดปริมาณการใช้ปุ๋ยในฤดูเพาะปลูกถัดไปได้

--------------------------------------------------------------------

ศ.ดร.ทัศนีย์ อัตตะนันท์ จากภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตัวแทนกลุ่มเทคโนโลยี "ปุ๋ยสั่งตัด" กล่าวกับทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV-ผู้จัดการออนไลน์ ว่า .... เกษตรกรไทยยังมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับดินปุ๋ยน้อยมาก บางคนไม่ทราบว่าปุ๋ยคืออะไร รู้แค่ว่าต้องใส่ บางคนไม่ทราบว่า NPK (ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม) คืออะไร และยังใช้แบบไม่วิเคราะห์ดินก่อน หรือที่เรียกว่า "ปุ๋ยเสื้อโหล" แต่เทคโนโลยีปุ๋ยสั่งตัดจะช่วยเกษตรกรวิเคราะห์ดินและปุ๋ยที่เหมาะสมกับดินได้ ทำให้ลดต้นทุนการผลิตและได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น

การใช้ปุ๋ยที่เหมาะสมจะช่วยเกษตรกรลดการใช้ปุ๋ยและสารเคมี ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการปนเปื้อนของปุ๋ยเคมี และช่วยให้เกษตรกรพึ่งพาตนเองได้ และทำให้ชุมชนเข้มแข็ง ซึ่งมองไปไกลกว่านั้นการซื้อเสียงจะลดลง แต่พบว่า เกษตรกรยังใช้ปุ๋ยในสัดส่วนไม่เหมาะสม ชาวนาใช้ปุ๋ยไนโตรเจนและฟอสฟอรัสเกินจำเป็นถึง 65% และ 43% ตามลำดับ แต่ไม่ใช้ปุ๋ยโพแทสเซียม ทำให้ข้าวได้เมล็ดลีบ แม้ว่าใบจะเขียว ซึ่งใบเขียวไม่ได้หมายถึงจะได้ผลิตดี และแมลงยังรุมกินอีก ทั้งทั้งใช้ไนโตรเจนเยอะๆ ยังทำให้ข้าวล้มด้วย
------------------------------------------------

เทคโนโลยี “ปุ๋ยสั่งตัด” มี 3 ขั้นตอน
1. ตรวจสอบข้อมูลชุดดิน (Soil series) ใช้คู่มือสำรวจชุดดินในภาคสนามอย่างง่าย สอบถามได้ที่สถานีพัฒนาที่ดินทุกจังหวัด หรือตรวจสอบจากเว็บไซต์ www.soil.doae.go.th

2. ตรวจสอบปริมาณ เอ็น-พี-เค ในดิน ใช้ชุดตรวจสอบ เอ็น-พี-เค ในดินแบบรวดเร็ว ซึ่งเกษตรกรวิเคราะห์ได้ด้วยตนเองภายใน 30 นาที สอบถามได้ที่ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โทรศัพท์ 02 942 8104 – 5

3. ใช้ปุ๋ยตามคำแนะนำ ศึกษาจากคู่มือคำแนะนำการใช้ “ปุ๋ยสั่งตัด” หรือโปรแกรมคำแนะนำการใช้ “ปุ๋ยสั่งตัด” ซึ่งดาวน์โหลดโปรแกรมได้ฟรีจากเว็บไซต์ www.ssnm.agr.ku.ac.th

หมายเหตุ : ควรวิเคราะห์ดินก่อนปลูกพืช 3 ฤดูปลูกติดต่อกัน เพื่อปรับการใช้ปุ๋ยให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จากนั้นแนะนำให้วิเคราะห์ดินทุก 2 ปี
-------------------------------------------------------------------------

คลิก :
http://kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=2041

ลำดับเรื่อง....
1. "ปุ๋ยสั่งตัด" ฉีกกฎหว่านปุ๋ยทิ้ง ใช้ปุ๋ยตรงพืช ตรงดิน ลดต้นทุน
2. การวิเคราะห์ NPK ในดินอย่างง่าย
3. คลินิกปุ๋ยสั่งตัด
4. เปิด "ปุ๋ยสั่งตัด" 6 สูตร ช่วยชาวนา
5. ปุ๋ยสั่งตัด

6. พบนักวิจัยปุ๋ยสั่งตัด ฟื้นรายได้เกษตรกรไทย
7. "ก่อนตายอยากเห็นเกษตรกรรวยขึ้น"
8. เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพด เฮ ! ใช้ปุ๋ยเคมีแบบสั่งตัด ผลผลิตเพิ่ม
9. การใช้ปุ๋ยสั่งตัดเพื่อลดต้นทุนการผลิตข้าว
10. “ปุ๋ยสั่งตัด” ช่วยเกษตรกรได้อย่างไร ?

11. “ปุ๋ยสั่งตัด” ช่วยลดต้นทุนการผลิต
12. ปุ๋ยสั่งตัด
13. ม.เกษตรพัฒนาโปรแกรม สั่งสูตรปุ๋ยผ่าน SMS
14. “ปุ๋ยสั่งตัด” ปุ๋ยตรงพืช ตรงดิน ลดต้นทุน
15. ปุ๋ยยางสั่งตัด
----------------------------------------------------------------

.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©