-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ถาม-ตอบปัญหารายการวิทยุ 16 SEP *ส้มเขียวหวานแจ๊คพ็อต
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบปัญหารายการวิทยุ 22 SEP *ปลูกข้าวญี่ปุ่นเมืองไทย
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบปัญหารายการวิทยุ 22 SEP *ปลูกข้าวญี่ปุ่นเมืองไทย

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11564

ตอบตอบ: 22/09/2015 3:25 pm    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบปัญหารายการวิทยุ 22 SEP *ปลูกข้าวญี่ปุ่นเมืองไทย ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางรายการวิทยุ 22 SEP

AM 594 เวลา 06.30-07.00 (ทุกวัน) และ 08.10-09.00 (จันทร์-ศุกร์)

********************************************************************

สวัสดีครับ ท่านผู้ฟังที่เคารพ
กองทัพบกเพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตร และอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดยกองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก

@@ สนับสนุนรายการโดย ...

* บ.นิมุติ เอ็นจิเนียริ่ง เครื่องย่อยเศษพืช (02) 322-9175-6

http://kasate.site88.net/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=1
* ยิบซั่มธรรมชาติ เฟอร์มิกซ์, ธันเดอร์พลัส, ธาตุรอง/ธาตุเสริม มัลติแชมป์ (089) 144-1112

http://www.mysuccessagro.com
* บ.มายซัคเซส อะโกร---ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, กาวเหนียวดักแมลง มายฟิกส์, กลิ่นล่อแมลงวันทอง ฟลายแอต,
สารเสริมฤทธิ์สารสมุนไพร ไบโอเจ๊ต, ถังฉีดพ่นรุ่นใหม่ ใช้แบตเตอรี่ (081) 910-5034

กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการครับ
เช่นเคยครับ รายการเรา 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม ที่ (081) 913-4986

----------------------------------------------------------------------------------------------

ตัวแทนจำหน่าย ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง, ไบโออิ, ไทเป, ยูเรก้า. (อินทรีย์ – เคมี)

1) ชมรม (ใหญ่) สีสันชีวิตไทย (089) 814-3204 ใกล้ไฟแดง สี่แยกบางแพ ราชบุรี
2) “คุณชาตรี” (081) 841-9874 ทรัพย์ทวีการเกษตร ชัฎป่าหวาย สวนผึ้ง ราชบุรี (ส่งทาง ปณ.)

3) ร.ต.ต.นันท์สุรัตน์ (089) 821-8273 ต.จรเข้เผือก ด่านมะขามเตี้ย กาญจนบุรี (ส่งทาง ปณ.)
4) “คุณล่า” (081) 944-8494 ทุกวันจันทร์ ตลาดนัดวัดอมรญาติ ดำเนินสดวก ราชบุรี

5) “คุณประเสริฐ” (080) 110-4645 บ.เขาดิน หนองแขม เดิมบางนางบวช สุพรรณบุรี
6) “คุณพรพรรณ” (089) 814-7944 พลชัยเกษตรชีวภาพ ตลาดนัดธนบุรี ถ.เลียบคลองทวีวัฒนา
7) “คุณน้ำส้ม” (085) 055-7706 ชมรมฯ สาขาศาลายา หน้า ม.มหิดล พุทธมณฑลสาย 4 (ส่งทาง ปณ.)

----------------------------------------------------------------------------------------

@@ สารอาหาร (ปุ๋ย) เพื่อการสื่อสาร :

** ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง : ส่วนผสมหลัก .... อินทรีย์/เคมี (กุ้งหอยปูปลาทะเล, เลือด,
ไขกระดูก, นม, ขี้ค้างคาว, น้ำมะพร้าว, ธาตุหลักตามพืช, แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม

** ไบโออิ : ส่วนผสมหลัก .... เคมี (แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม)
** ยูเรก้า : ส่วนผสมหลัก .... เคมี (21-7-14, ไคโตซาน, อะมิโนโปรตีน)
** ไทเป : ส่วนผสมหลัก ..... อินทรีย์/เคมี (นม, ไข่, น้ำมะพร้าว, 13-0-46. 0-52-34)


มิได้มีเจตนาโฆษณาผลิตภัณฑ์ แต่ใช้ชื่อผลิตภัณฑ์เพื่อง่ายต่อการสื่อสารข้อมูล เท่านั้น
.... ต้นพืชไม่รู้จักยี่ห้อ ไม่รู้จักเจ้าของสูตร .....
...... ไม่รู้เจ้าของคนปลูก ไม่ฟังโฆษณา .......
...... ต้นพืชรู้จักแต่ส่วนผสมหรือเนื้อใน .......

-----------------------------------------------------------




จาก : (098) 829-35xx
ข้อความ : ฟังเรื่องคนปลูกมะคาดิเมียร์ ผมมีที่อยู่เชียงใหม่ สนใจทำนาข้าวญี่ปุ่น ผู้พันว่าจะไปรอดไหมครับ มีที่อยู่ 20 ไร่ มีน้ำตลอดปี .... ขอบคุณครับ

จาก :
(083) 772-46xx
ข้อความ : พรุ่งนี้ ขอให้ผู้พันเล่าเรื่องข้าวญี่ปุ่นในเมืองไทยต่อด้วยครับ ....

จาก :
(095) 283-16xx
ข้อความ : ผมก็สนใจข้าวญี่ปุ่นเหมือนกัน อยู่ลำพูน อยากปลูกบ้าง อยากรู้ว่า หน่วยงานไหนส่งเสริม และมีตัวอย่างคนที่ทำแล้วบ้างไหม .... ขอบคุณครับ
-----------------------------------------------------------------------

ตอบ :

ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ อาหารญี่ปุ่น อาหารเกาหลี ในร้านอาหารในเมืองไทย ปรุงโดยแม่ครัวญี่ปุ่น หรือเกาหลี อร่อยกว่าอาหารญี่ปุ่น อาหารเกา หลี ในประเทศตัวเอง โดยแม่ครัวของตัวเอง เพราะ “เครื่องปรุง” .... อาหารที่เป็นกับข้าว กับข้าวที่หุงเป็นข้าวญี่ปุ่น (เกาหลี ญี่ปุ่น กินข้าวสายพันธุ์เดียวกัน .... จาปอนนิก้า) ถึงจุดนี้ อยากจะบอกว่า ปลูกข้าวญี่ปุ่นแล้วขายตลาดในประ เทศนี่แหละ ยิ่งเป็นข้าว เกรด เอ. พรีเมียม. อินทรีย์เพียวๆ ปลอดสารเคมียาฆ่าแมลง 1.000 % ยิ่งเป็นที่ต้องการของคนเกาหลี คนญี่ปุ่น

เอาวะ ! .... ถ้าจะลูกข้าวญี่ปุ่นจริงๆ ขอ “ใจ” อย่างเดียวเท่านั้น ทุกอย่าง ทุกขั้นตอน ปฏิบัติบำรุงเหมือนข้าวไทยเด๊ะๆ .... จำไม่ได้ เปิดโผทำนา ว่าตามตำรา ทีละขั้นตอนๆ ไปเลย .... ว่าตั้งแต่ :

* เตรียมดิน ทำเทือก
........... เฟอร์มิกซ์. ตราคนกับควาย, กระดูกป่น. ระบิดเถิดเทิง 30-10-10, 16-8-8 (นึกถึงหลัก ระยะสั้น รุ่นนี้ - ระยะปานกลาง รุ่นหน้า - ระยะยาว รุ่นต่อๆไป แม้ แต่หยุดนาข้าวปลูกพืชอื่นคั่นหรือสลับซักรุ่นก็จะดีไปด้วย เช่น ในรอบปี 12เดือน ปลูกข้าว 2รุ่น 8เดือน ปลูกถั่วไร่ 1รุ่น 4เดือน .... เกี่ยวข้าวเสร็จไถกลบฟาง เก็บเกี่ยวถั่วไร่เสร็จ ไถกลบเศษซากลงดิน คิดดู แค่รอบเดียวปีเดียว ดินจะดีขึ้นไหม)

* เตรียมเมล็ดพันธุ์
............. ไบโออิ ยูเรก้า
* บำรุงระยะกล้า ................ ไบโออิ 18-38-12 (3-4 รอบ +ยาสมุนไพร)
* บำรุงระยะออกรวง ............. ไทเป (2 รอบ +ยาสมุนไพร)
* บำรุงระยะน้ำนม ............... ยูเรก้า (3-4 รอบ +ยาสมุนไพร)
* แยกข้าวปน ................... ถอนแยก
* ปุ๋ย : .... ทางใบ : (ไบโออิ ไทเป ยูเรก้า) แม็กเนเซียม สร้างคลอโรฟีลด์ ใบเขียวยันวันเกี่ยว. สังกะสี สร้างแป้ง .... ทางราก : *เฟอร์มิกซ์ แคลเซียม กำมะถัน (อินทรีย์) แม็กเนเซียม สังกะสี (เคมี) *ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย ปุ๋ยอินทรีย์ *น้ำหมักระเบิดเถิดเทิง (อินทรีย์ เคมี)

* โรคและแมลง :
สมุนไพรสูตรรวมมิตร ป้องกันก่อนระบาด อาทิตย์ละครั้ง, สูตรเฉพาะ กำจัดเมื่อระบาด บ่อยๆ วันต่อวัน วันเว้นวัน

- นี่แหละ ปรัชญา “คิดเป็น-ทำเป็น-ขายเป็น” .... เกรด เอ. พรีเมียม. พันธะสัญญาฯ.
-----------------------------------------------------------------------

ส่งเสริมปลูกข้าวญี่ปุ่นแทนข้าวเหนียว เพิ่มทางเลือกเกษตรกรภาคเหนือ :

ดลมนัส กาเจ รายงาน

ข้อมูลจากศูนย์วิจัยข้าวเชียงราย กรมการข้าว ระบุว่า ในพื้นที่ จ.เชียงราย มีพื้นที่การ เกษตรทั้งหมด 1,414,313 ไร่ ในจำนวนนี้เป็นพื้นที่ปลูกข้าวทำนาถึง 55% หรือกว่า 7 หมื่นไร่ ส่วนใหญ่เกษตรกรจะปลูกข้าวเหนียวพันธุ์ กข.6 ข้าวเหนียวสันปาตอง แต่หลังจากที่รัฐบาลชุดที่แล้วดำเนินนโยบายรับจำนำข้าวเปลือก ทำให้เกษตรกรหันมาปลูกข้าวเจ้าพันธุ์ กข.47, กข.49, และข้าวหอมมะลิ 105 เป็นต้น

ล่าสุด คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ยืนยันอย่างชัดเจนว่า ยกเลิกนโยบายรับจำนำข้าวเปลือกและจะไม่นำนโยบายประกันราคาข้าวมาใช้อย่างแน่นอน แต่เน้นในการช่วย เหลือสนับสนุนปัจจัยการเพาะปลูกและส่งเสริมให้ลดต้นทุนการผลิต เนื่องจากพบว่าการทำนาในประเทศไทยมีต้นทุนการผลิตสูงกว่าประเทศเพื่อนบ้าน

ดังนั้น ทางออกของเกษตรกรชาวนาต้องเปลี่ยนวิถีการทำนาใหม่ เพื่อให้อยู่ได้อย่างยั่งยืน ด้วยการหาแนวทางลดต้นทุน และเพิ่มผลผลิตให้มากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ หรือเปลี่ยนไปปลูกพืชผลทางการเกษตรอย่างอื่นที่มีรายได้ดีกว่า

อย่างที่ภาคเหนือ โดยเฉพาะที่เชียงราย ซึ่งมีสภาพอากาศที่หนาวเย็น ทางกรมการข้าวร่วมมือกับภาคเอกชน ส่งเสริมให้เกษตรกรหันมาปลูกข้าวญี่ปุ่นแทน หลังจากที่พบว่า ปัจจุบันธุรกิจอาหารญี่ปุ่นในประเทศไทยได้รับความนิยมจากผู้บริโภคสูงมากขึ้นเรื่อยๆ นั่นเอง ปรากฏว่ามีเอกชนที่สนใจกว่า 10 ราย ส่งเสริมให้เกษตรปลูกข้าวญี่ปุ่นราวปีละ 1 แสนไร่

การส่งเสริมให้เกษตรกรในภาคเหนือปลูกข้าวญี่ปุ่น เพราะว่าปัจจุบันกิจการอาหารญี่ปุ่นในประเทศไทยได้รับความนิยมจากผู้บริโภคสูงมากขึ้นเรื่อยๆ จึงมองว่า ตลาดข้าวญี่ปุ่นซึ่งเป็นตลาดเฉพาะ มีศักยภาพเติบโตอย่างต่อเนื่อง ทางกรมการข้าวจึงร่วมมือกับภาคเอกชนกว่า 10 ราย ส่งเสริมให้เกษตรกรในพื้นที่ เชียงราย เชียงใหม่ ลำพูน ปลูกข้าวญี่ปุ่นในรูปแบบเกษตรพันธะสัญญา หรือคอนแทร็กฟาร์มมิ่ง ในพื้นที่ปลูกปีละราว 1 แสนไร่ โดยบริษัทเอกชนจะเป็นผู้รับซื้อผลผลิตในราคาประกันข้าวเปลือก กก.ละ 10-13 บาท (เกวียนละ 10,000-13,000) ภายใต้ชมรมผู้ผลิตข้าวญี่ปุ่นแห่งประเทศไทย

ปัจจุบันสามารถผลิตข้าวเปลือกได้ปีละกว่า 6 หมื่นตัน แต่ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ จึงมอบให้ ศูนย์วิจัยข้าวเชียงรายจัดตั้งศูนย์ข้าวชุมชนข้าวญี่ปุ่นแห่งแรกที่ ต.แม่พริก อ.แม่สรวย เพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวญี่ปุ่นในพื้นที่ 200 ไร่ และจะเร่งผลิตเมล็ดพันธุ์จำหน่ายให้ได้ 800 ตัน/ปี เพื่อจำหน่ายให้ภาคเอกชนนำไปส่งเสริมอย่างเพียงพอ และเปิดโอกาสให้เกษตรกรในพื้นที่มีทางเลือกในการประกอบอาชีพมากขึ้นและมีรายได้เพิ่ม โดยกรมการข้าวจะเข้าไปกำกับดูแลการผลิตเมล็ดพันธุ์ให้ได้มาตรฐาน มีคุณสมบัติทางกายภาพและเคมีเหมือนข้าวญี่ปุ่นพันธุ์แท้ที่ปลูกในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งต่อไปข้าวญี่ปุ่นที่ปลูกในประเทศไทยจะได้ขยายตลาดสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือ เออีซี. ต่อไป

ด้าน นายปิยะพันธ์ ศรีคุ้ม ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยข้าวเชียงราย ระบุว่า การทดลองเพาะปลูกข้าวญี่ปุ่นครั้งแรกที่สถานีทดลองข้าวพาน จ.เชียงราย เมื่อปี พ.ศ. 2507 จนได้พันธุ์แนะนำ จำนวน 2 พันธุ์ คือ พันธุ์ ก.วก.1 (ซาซานิชิกิ) และ ก.วก.2 (อะกิตะโกะมะชิ) และส่งเสริมการเพาะปลูกสู่เกษตรกรเมื่อปี 2538 แต่เกษตรกรไม่ได้สนใจมากนัก เพราะวิถีชีวิตของเกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกข้าวเหนียวพันธุ์ กข.6 และข้าวเหนียวพันธุ์สันปาตอง บางส่วนปลูกข้าวหอมมะลิ 105 ทางกรมการข้าวมองว่าการปลูกข้าวญี่ปุ่นน่าจะมีรายได้ดีกว่า จึงร่วมมือกับเอกชนเข้ามาส่งเสริมเกษตรกรให้ปลูกข้าวญี่ปุ่นอย่างจริงจังเมื่อปี 4-5 ปีที่ผ่านมา พบว่าเกษตรกรมีรายได้ที่ดีกว่า

สอดคล้องกับการยืนยันของนางโสทิม กันธิยะ เกษตรกรวัย 52 ปี จากบ้านป่าจั่น ต.เวียงกาหลง อ.เวียงปักเป้า จ.เชียงราย ว่า ทำนามาตั้งแต่เด็ก มีที่นาอยู่ 120 ไร่ ส่วนใหญ่จะปลูกข้าวเหนียวพันธุ์สันป่าตอง แต่รายได้ไม่แน่นอน กระทั่งเมื่อ 3 ปีก่อนมีบริษัท มหานครไรซ์ จำกัด มาส่งเสริมการปลูกญี่ปุ่นในรูปแบบของพันธะสัญญา โดยบริษัท มหานครไรซ์ จะเป็นผู้ซื้อผลผลิตทั้งหมดในราคาประกันที่ กก.ละ 10 บาท จึงตัดสินใจปลูกข้าวญี่ปุ่นเลือกพันธุ์ ก.วก.1 หรือซาซานิชิกิ ช่วงแรกยอมรับว่าไม่มีประสบการณ์ทำให้ได้ผลผลิตไร่ละ 400 กก.เท่านั้น แต่หลังจากที่ได้รับการแนะนำจากบริษัทที่มาส่งเสริม ทำให้การปลูกข้าวญี่ปุ่นปีที่ 2 ดีขึ้น สามารถให้ผลผลิตได้ไร่ละกว่า 800 กก. บางคนได้กว่า 1,200 กก. ใน 1 ปี ทำได้ปีละ 2 ครั้ง ลงทุนครั้งละไม่เกินไร่ละ 3,000 บาท เมื่อหักทุกอย่างแล้ว ได้กำไรกว่า 50% สามารถอยู่ได้ดีกว่าการปลูกข้าวเหนียวหลายเท่าตัว

ขณะที่นายมงคล คุณนุกุล วัฒนา ผู้จัดการฝ่ายสนับสนุนพัฒนาปลูกข้าวญี่ปุ่น บริษัท มหานครไรซ์ จำกัด สำนักงานอยู่ที่เขตหนองจอก กรุงเทพฯ กล่าวว่า บริษัทได้ร่วมกับกรมการข้าว เพื่อส่งเสริมเกษตรกรที่ จ.เชียงราย ปลูกข้าวญี่ปุ่นเมื่อปี 2554 เริ่ม 300 ไร่ เนื่องจากเห็นว่าตลาดข้าวญี่ปุ่นในประเทศไทยเติบโตอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ข้าวญี่ปุ่นที่นำเข้าราคาสูงมาก หลังจากที่ทดลองตลาดส่วนใหญ่เน้นเป็นร้านอาหารญี่ปุ่นพบว่า ตลาดไปได้สวยมาก จึงขยายการส่งเสริมเพิ่มขึ้นเป็น 2,000 ไร่ ในพื้นที่ จ.เชียงราย จ.เชียงใหม่ และ จ.พะเยา สามารถผลิตข้าวสารญี่ปุ่นได้ปีละ 200 ตัน โดยบริษัทจะเป็นผู้หาเมล็ด โดยได้รับการสนับสนุนจากกรมการข้าว ส่งเสริมปัจจัยการผลิตก่อน เมื่อเก็บเกี่ยวข้าวจะเป็นผู้รับซื้อทั้งหมดในราคากก.ละ 10 บาท

เช่นเดียวกับนายพีระพงษ์ แดงอาจ ผู้จัดการฝ่ายผลิต บริษัท ทนาเกรน จำกัด ต.สันกลาง อ.พาน จ.เชียงราย ซึ่งเป็นผู้ที่ส่งเสริมเกษตรกรปลูกข้าวญี่ปุ่นรายใหญ่ในภาค เหนือ บอกว่า ได้ส่งเสริมเกษตรกรปลูกข้าวญี่ปุ่นมา 5 ปีแล้ว ปัจจุบันมีเกษตรกรที่ร่วมในโครงการประมาณ 1,500 รายในพื้นที่ปลูกฤดูกาลละ 1.5 หมื่นไร่ หรือปีละ 3 หมื่นไร่ โดยนำผลผลิตทั้งหมดป้อนภัตตาคารฟูจิ ตามสาขาต่างๆ ทั่วประเทศ และมีแนวโน้มว่าหลังจากที่ประเทศไทยเข้าไปเป็นสมาชิก เออีซี. ทางภัตตาคารฟูจิอาจขยายสาขาไปไปใน เออีซี. มากขึ้น จึงมีความเป็นไปได้ว่าจะมีการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกข้าวญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นในอนาคต

การส่งเสริมเกษตรกรปลูกข้าวญี่ปุ่นในภาคเหนือก็เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่จะเพิ่มเป็นทางเลือกของเกษตรกรที่เลือกประกอบอาชีพที่มีรายได้ดีกว่า
-------------------------------------------------------

“เมืองไทย ถือเป็นเจ้าแห่งการผลิตข้าวอยู่แล้ว… คนส่วนใหญ่อาจไม่ทราบว่าเมืองไทยปลูกข้าวญี่ปุ่นมาเกือบ 60 ปีแล้ว”

กระแสอาหารญี่ปุ่น ในบ้านเรานับ วันยิ่งเติบโต จากข้อมูลพบว่า กระแสความนิยมบริโภคอาหารญี่ปุ่นในประเทศไทยมีการขยายตัว 5-10% ต่อปี แถมไทยยังเป็นประเทศที่มีร้านอาหารญี่ปุ่นมากเป็นอันดับ 5 ของโลก รองจากสหรัฐอเมริกา จีน เกาหลีใต้ และไต้หวัน

ด้วยความนิยมที่มากมายและเติบโตขึ้นทุกปี ทำให้วัตถุดิบประกอบอาหารญี่ปุ่นนำเข้ามาจำนวนมาก หนึ่งในนั้นคือ “ข้าวญี่ปุ่น”
กระทรวงเกษตรฯ จึงสนับสนุนให้เกษตรกรไทยปลูกข้าวญี่ปุ่น เนื่องจากมีราคาดีกว่าข้าวเจ้าหรือข้าวเหนียว

คนส่วนใหญ่อาจไม่ทราบว่าเมืองไทยปลูกข้าวญี่ปุ่นมาเกือบ 60 ปีแล้ว

แหล่งใหญ่อยู่ในภาคเหนือ ไม่ว่าจะเป็นเชียงราย พะเยา เชียงใหม่ และลำพูน มีศักย ภาพที่จะเพิ่มผลผลิตให้สามารถรองรับความต้องการได้ จากปัจจุบันไทยปลูกข้าวญี่ปุ่นราว 80,000-100,000 ไร่ ผลผลิตปีละ 60,000 ตันข้าวเปลือก หรือประมาณ 36,000 ตันข้าวสาร มูลค่าประมาณ 1,300 ล้านบาท

ที่น่าสนใจก็คือ จากความต้องการที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ราคาเพิ่มขึ้นตาม ราคาล่าสุดในเดือน ก.พ. ที่ผ่านมา ข้าวเปลือกญี่ปุ่นขายได้ตันละ 9,000-12,000 บาท ราคา ข้าวสารอยู่ที่ กก. ละ 35 บาท ซึ่งถือเป็นข้าวพรีเมียม ที่ความต้องการสูงตามความต้องการของผู้บริโภคประมาณ 95% ของผลผลิตในไทยกระจายขายให้ร้านอาหารญี่ปุ่น เช่น ร้านอาหารฟูจิ

ดังนั้นในอนาคตหากการขยายตัวของร้านอาหารญี่ปุ่นออกไปสู่ประเทศในแถบประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ไทย ก็จำเป็นต้องเพิ่มผลผลิตให้เพียงพอต่อการขยายตัวของความต้องการ

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีโครงการเร่งพัฒนาพันธุ์และลดต้นทุนการผลิต เพื่อให้เกษตรกรมีกำไรมากขึ้น โดยต้นทุนการผลิตข้าวญี่ปุ่นของเกษตรกรไทย ในช่วงปลูกนาปีเฉลี่ยไร่ละ 4,600 บาท รายได้ไร่ละ 17,250 บาท และผลผลิตนาปรังไร่ละ 900-1,000 กก. เฉลี่ยมีรายได้ไร่ละ 21,850 บาท สามารถทำรายได้ให้เกษตรกรมากกว่าการขายข้าวทั่วไปเกือบ 2 เท่า

ปัญหาการผลิตข้าวญี่ปุ่นในประเทศไทย คือการขาดแคลนเมล็ดพันธุ์คุณภาพดี ต้องปรับปรุงพันธุ์ให้ทนต่อโรคและแมลง มีปัจจัยการผลิตสูง และขาดแคลนแรงงาน

ส่วนด้านการตลาดมีข้าวญี่ปุ่นจากต่างประเทศเข้ามาตีตลาดไทยในราคาที่ต่ำกว่า ได้แก่ เวียดนาม สหรัฐอเมริกา และ ออสเตรเลีย ส่งผลกระทบต่อผลผลิตในประเทศ

หากจะเพิ่มผลผลิตต้องทำอย่างระมัดระวัง และต้องเน้นในเรื่องการขายสินค้าคุณ ภาพสูงเพื่อจะได้ราคาที่สูงขึ้น กระทรวงเกษตรฯ สั่งการให้กรมการข้าวโดยศูนย์วิจัยข้าวจังหวัดเชียงราย ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวญี่ปุ่นชั้นพันธุ์คัด และชั้นพันธุ์หลัก ซึ่งมี เป้าหมายการผลิตชั้นพันธุ์คัดปีละ 2 ตัน และชั้นพันธุ์หลัก ปีละ 4 ตันส่งผลให้ผลิตพันธุ์ข้าวญี่ปุ่นที่สำคัญของไทยอยู่ที่ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ แพร่ และพะเยา โดยส่วนใหญ่จะเป็นการรวมกลุ่มเกษตรกรโดยภาคเอกชน หรือโรงสี โดยจัดตั้งเป็นชมรม ชื่อชมรมผู้ผลิตข้าวญี่ปุ่นแห่งประเทศไทย เน้นการซื้อขายทั้งเมล็ดพันธุ์และข้าวญี่ปุ่นแบบเกษตรพันธะสัญญา (Contract Farming) มีพื้นที่เพาะปลูกทั้งสิ้นขณะนี้ประมาณ 80,000 ไร่ เกษตรกรร่วมโครงการ 6,000 กว่าครัวเรือน

สำหรับการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวญี่ปุ่นชั้นพันธุ์ขยายปี 2557 มีผลผลิตเฉลี่ย 946 กก. /ไร่ ต้นทุนการผลิตเฉลี่ย กก. ละ 4.93 บาท หรือไร่ละ 4,663.37 บาท

ราคาที่เกษตรกรขายได้ตามพันธะสัญญา กก. ละ 23 บาท แยกเป็นต้นทุนผันแปร 4,570.29 บาท ต้นทุนคงที่ 93.08 บาท ต้นทุนส่วนใหญ่เป็นค่าปลูก ร้อยละ 23 การดูแลรักษา 17% การเก็บเกี่ยว 16% และอื่นๆ 44%

การผลิตเมล็ดพันธุ์เกษตรกรจะปลูกข้าวแบบนาดำ เนื่องจากข้าวมีอัตราการเจริญ เติบโตดี มีความอุดมสมบูรณ์สูง สะดวกต่อการกำจัดโรคและแมลง และการดูแลรักษาอย่างสม่ำเสมอ มีขั้นตอนการกำจัดพันธุ์ปน ทำให้ได้เมล็ดพันธุ์ข้าวที่มีคุณภาพดี

“การนำเข้าข้าวญี่ปุ่นจากต่างประเทศโดยเฉพาะจากประเทศญี่ปุ่น มีราคานำเข้าสูงกว่าข้าวญี่ปุ่นที่ผลิตได้ในประเทศ ผู้ประกอบการจึงเลือกซื้อข้าวญี่ปุ่นที่ปลูกในประเทศ ส่งผลให้ความต้องการเมล็ดข้าวญี่ปุ่นคุณภาพดีมากขึ้นตามไปด้วย”

อย่างไรก็ตาม ข้าวญี่ปุ่นจากประเทศเวียดนาม สหรัฐอเมริกา และออสเตรเลีย ซึ่งมีราคาต่ำกว่าข้าวญี่ปุ่นในประเทศไทย แต่มีคุณภาพต่ำกว่านำเข้ามาตีตลาดเมืองไทย โดยร้าน อาหารระดับกลาง หรือร้านอาหารญี่ปุ่นขนาดเล็ก ซื้อข้าวที่นำเข้าจากประเทศดังกล่าว ซึ่งส่งผลกระทบต่อการผลิตในประเทศ

กรมการข้าวจึงเน้นส่งเสริมกลุ่มเกษตรกรให้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวญี่ปุ่นคุณภาพดี มีความบริสุทธิ์ตรงตามพันธุ์ให้เพียงพอกับความต้องการ ปรับปรุงพันธุ์ข้าวญี่ปุ่นให้มีความเหมาะสมกับสภาพอากาศในประเทศไทย มีความต้านทานโรคและแมลง และมีคุณภาพดีเป็นที่ยอมรับของผู้ประกอบการ

พร้อมส่งเสริมการผลิต โดยการลดต้นทุน มีมาตรฐานในการผลิต คุณภาพผลผลิต โดยภาครัฐร่วมมือกับเอกชนส่งเสริม ผลักดันการปลูกข้าวญี่ปุ่น ในระบบการผลิตแบบเกษตรดีที่เหมาะสม (GAP) ระบบการผลิตแบบอินทรีย์ (Organic) และพัฒนาโรงสีเข้าสู่ระบบ GMP (Good Manufacturing) เพื่อยกระดับข้าวญี่ปุ่นเตรียมรองรับการเปิดประชา คมอาเซียน (AEC)

ด้วยราคาขายที่ค่อนข้างสูง และการปลูกที่ยังมีพื้นที่น้อยอยู่มากในเมืองไทย ข้าวญี่ปุ่นจึงเป็นอีกทางเลือกของชาวนาที่น่าสนับสนุนอย่างยิ่ง

http://www.farmchannelthai.com/?p=2525

-----------------------------------------------------


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©