-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ถาม-ตอบปัญหาทางวิทยุ 14 SEP *สมุนไพร-IPM ป้องกันกำจัดศัตรูพืช
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบปัญหาทางวิทยุ 10 SEP *นาข้าวอินทรีย์ไทย วันนี้ไปถึงไหน?
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบปัญหาทางวิทยุ 10 SEP *นาข้าวอินทรีย์ไทย วันนี้ไปถึงไหน?

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11562

ตอบตอบ: 10/09/2015 11:11 am    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบปัญหาทางวิทยุ 10 SEP *นาข้าวอินทรีย์ไทย วันนี้ไปถึงไห ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางรายการวิทยุ 10 SEP

AM 594 เวลา 06.30-07.00 (ทุกวัน) และ 08.10-09.00 (จันทร์-ศุกร์)

********************************************************************

สวัสดีครับ ท่านผู้ฟังที่เคารพ
กองทัพบกเพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตร และอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดยกองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก

@@ สนับสนุนรายการโดย ...

* บ.นิมุติ เอ็นจิเนียริ่ง เครื่องย่อยเศษพืช (02) 322-9175-6

http://kasate.site88.net/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=1
* ยิบซั่มธรรมชาติ เฟอร์มิกซ์, ธันเดอร์พลัส, ธาตุรอง/ธาตุเสริม มัลติแชมป์ (089) 144-1112

http://www.mysuccessagro.com
* บ.มายซัคเซส อะโกร---ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, กาวเหนียวดักแมลง มายฟิกส์, กลิ่นล่อแมลงวันทอง ฟลายแอต,
สารเสริมฤทธิ์สารสมุนไพร ไบโอเจ๊ต, ถังฉีดพ่นรุ่นใหม่ ใช้แบตเตอรี่ (081) 910-5034

กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการครับ
เช่นเคยครับ รายการเรา 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม ที่ (081) 913-4986

----------------------------------------------------------------------------------------------

ตัวแทนจำหน่าย ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง, ไบโออิ, ไทเป, ยูเรก้า. (อินทรีย์ – เคมี)

1) ชมรม (ใหญ่) สีสันชีวิตไทย (089) 814-3204 ใกล้ไฟแดง สี่แยกบางแพ ราชบุรี
2) “คุณชาตรี” (081) 841-9874 ทรัพย์ทวีการเกษตร ชัฎป่าหวาย สวนผึ้ง ราชบุรี (ส่งทาง ปณ.)

3) ร.ต.ต.นันท์สุรัตน์ (089) 821-8273 ต.จรเข้เผือก ด่านมะขามเตี้ย กาญจนบุรี (ส่งทาง ปณ.)
4) “คุณล่า” (081) 944-8494 ทุกวันจันทร์ ตลาดนัดวัดอมรญาติ ดำเนินสดวก ราชบุรี

5) “คุณประเสริฐ” (080) 110-4645 บ.เขาดิน หนองแขม เดิมบางนางบวช สุพรรณบุรี
6) “คุณพรพรรณ” (089) 814-7944 พลชัยเกษตรชีวภาพ ตลาดนัดธนบุรี ถ.เลียบคลองทวีวัฒนา
7) “คุณน้ำส้ม” (085) 055-7706 ชมรมฯ สาขาศาลายา หน้า ม.มหิดล พุทธมณฑลสาย 4 (ส่งทาง ปณ.)

----------------------------------------------------------------------------------------

@@ สารอาหาร (ปุ๋ย) เพื่อการสื่อสาร :

** ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง : ส่วนผสมหลัก .... อินทรีย์/เคมี (กุ้งหอยปูปลาทะเล, เลือด,
ไขกระดูก, นม, ขี้ค้างคาว, น้ำมะพร้าว, ธาตุหลักตามพืช, แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม

** ไบโออิ : ส่วนผสมหลัก .... เคมี (แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม)
** ยูเรก้า : ส่วนผสมหลัก .... เคมี (21-7-14, ไคโตซาน, อะมิโนโปรตีน)
** ไทเป : ส่วนผสมหลัก ..... อินทรีย์/เคมี (นม, ไข่, น้ำมะพร้าว, 13-0-46. 0-52-34)


มิได้มีเจตนาโฆษณาผลิตภัณฑ์ แต่ใช้ชื่อผลิตภัณฑ์เพื่อง่ายต่อการสื่อสารข้อมูล เท่านั้น
.... ต้นพืชไม่รู้จักยี่ห้อ ไม่รู้จักเจ้าของสูตร .....
...... ไม่รู้เจ้าของคนปลูก ไม่ฟังโฆษณา .......
...... ต้นพืชรู้จักแต่ส่วนผสมหรือเนื้อใน .......

-----------------------------------------------------------



จาก : จากส่วนลึกสุดของใจ .... ตามใจคนจัด ขัดใจคนขอ
ข้อความ : ด้วยความอยากรู้ว่า วันนี้ยุคนี้เกษตรอินทรีย์ของไทย หรือของโลก มีความเคลื่อนไหว คืบหน้าหรือถอยหลัง แค่ไหนอย่างไรบ้าง พยายามเสาะหาข้อมูลจากแหล่งต่างๆ กระทั่งไปพบข้อมูลหนึ่งที่เชื่อถือได้ เรื่อง “อย่างไรจึงจะเรียกว่า เกษตรอินทรีย์”

อยากให้นำเรื่องนี้ไปพิจารณา .... ทำได้ไหม ? ... ทำดีไหม ?

สำนักพัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร ให้คำจำกัดความ “เกษตรอินทรีย์” (Organic Farming) ว่า “เป็นระบบการผลิตที่คำนึงถึงสภาพแวดล้อม รักษาสมดุลของธรรมชาติ และความหลากหลายทางชีวภาพ โดยมีระบบการจัดการนิเวศวิทยาที่คล้ายคลึงกับธรรมชาติ และหลีกเลี่ยงการใช้สารสังเคราะห์ ไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยเคมี สารเคมีกำจัดศัตรูพืช และฮอร์โมนต่างๆ ตลอดจนไม่ใช้พืชหรือสัตว์ที่เกิดจากการตัดต่อทางพันธุ กรรม ซึ่งอาจสร้างมลพิษในสภาพแวดล้อม

เน้นการใช้อินทรีย์วัตถุ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด และปุ๋ยชีวภาพ ในการปรับ ปรุงบำรุงความอุดมสมบูรณ์ เพื่อให้ต้นพืชมีความแข็งแรง สามารถต้านทานโรคและแมลงด้วยตนเอง รวมถึงการนำเอาภูมิปัญญาชาวบ้านมาใช้ประโยชน์ ดังนั้น ผลผลิตที่ได้จะปลอดภัยจากสารพิษตกค้าง ทำให้ปลอดภัยทั้งผู้ผลิต และผู้บริโภค รวมทั้งไม่ทำให้สภาพแวดล้อมเสื่อมโทรมด้วย”

ว่ากันอย่างง่ายๆ ก็คือ หากจะทำเกษตรอินทรีย์ก็ต้องใช้แต่สารอินทรีย์ (วัตถุดิบจากธรรม ชาติล้วนๆ) ไม่ใช้สารเคมี หรือการตัดต่อพันธุกรรมในการทำการเกษตรนั่นเอง

จากรายงานของกรมส่งเสริมการเกษตรพบว่า นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513 เป็นต้นมา มีการทำเกษตรอินทรีย์ในประเทศต่างๆ ทั่วโลกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยใน ออสเตรเลีย และสวิสเซอร์ แลนด์ มีการทำเกษตรอินทรีย์เพิ่มขึ้น 10% สวีเดน 20% และในสหรัฐอเมริกาเพิ่ม 12% ทุกปี ทั้งนี้ในปี พ.ศ. 2544 ตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์โลกมีมูลค่าประมาณ 716,800 ล้านบาท มีสัดส่วน คือ สหรัฐอเมริกา 320,000 ล้านบาท สหภาพยุโรป 296,800 ล้านบาท ญี่ปุ่น 100,000 ล้านบาท โดยมีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยปีละ 25%

สำหรับประเทศที่มีการซื้อขายผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์มากที่สุด 10 อันดับแรก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เยอรมัน อังกฤษ อิตาลี ฝรั่งเศส สวิสเซอร์แลนด์ เดนมาร์ก ออสเตรเลีย เนเธอร์แลนด์ และสวีเดน โดยตัวอย่างผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ที่ได้รับความนิยมมาก ได้แก่

“ไวน์อินทรีย์” (Organic Wine) ที่ผลิตจากองุ่นอินทรีย์ (Organic Grape)
“ช็อคโกแลตอินทรีย์” (Organic Chocolate) ที่ทำจากโกโก้อินทรีย์ (Organic Cacao) นม ไก่ ฝ้าย กาแฟ ชา ข้าว ถั่วเหลือง หน่อไม้ฝรั่ง ข้าวโพดอ่อน กล้วยหอม สัปปะรด ส้ม และแอปเปิ้ล อินทรีย์ เป็นต้น

ซึ่งผลิตภัณฑ์ทั้งหมดนี้จะระบุชัดเจนว่าเป็นผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ (Organic) และจะมีราคาสูงกว่าสินค้าปกติราว 25-50%

สำหรับในประเทศไทย การผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์เริ่มขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 2535 โดยกรมวิชา การเกษตร ร่วมกับบริษัทในเครือนครหลวง และบริษัทในเครือสยามวิวัฒน์ โดยผลิตข้าวอินทรีย์ในท้องที่จังหวัดพะเยาและเชียงราย มีเนื้อที่เพาะปลูกประมาณ 10,000 ไร่ ได้ผลผลิตรวม 1,200-1,500 ตัน ส่งไปจำหน่ายยังต่างประเทศ และต่อมาก็ได้มีการส่งออกสินค้าเกษตรอินทรีย์ประเภทอื่นๆ เพิ่มมากขึ้น อาทิ

“กล้วยหอมอินทรีย์” โดยสหกรณ์การเกษตรท่ายาง จ.เพชรบุรี
“ข้าวอินทรีย์” ที่ปลูกกันในจังหวัดสุรินทร์ ยโสธร ศรีสะเกษ และบุรีรัมย์ ภายใต้เครือข่ายของ จ.อุบลราชธานี (ส่งออกในนาม “เกษตรก้าวหน้า”) เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังมีผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ชนิดอื่นๆ ที่มีศักยภาพในการส่งออกอีก อันได้แก่ ข้าวโพดฟักอ่อน หน่อไม้ฝรั่ง กระเจี๊ยบเขียว ขิง สมุนไพร เครื่องเทศ ชา กล้วยไข่ ลำไย สัปปะรด

สินค้าประมงอินทรีย์ อันได้แก่ กุ้งกุลาดำ ปลาสลิด รวมถึงสินค้าปศุสัตว์อินทรีย์ ได้แก่ ไก่ สุกร ไข่ไก่ และน้ำผึ้ง

เมื่อพิจารณาถึงความนิยมในการบริโภคและแนวโน้มการเติบโตของตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์แล้ว นับว่าเส้นทางการผลิตและส่งออกสินค้าเกษตรอินทรีย์ไทยไปยังตลาดโลกนั้น …มีอนาคตยาวไกลทีเดียว

เกษตรอินทรีย์ไทย วันนี้และวันหน้า :
ปัจจุบันใน อ.กุดชุม จ.ยโสธร มีการปลูก “ข้าวหอมมะลิอินทรีย์ 105” ซึ่งโรงสีข้าวชมรมรักษ์ธรรมชาติ (ชาวนาและผู้บริโภคใน กทม. เป็นเจ้าของร่วมกัน) รับประกันราคาข้าวในฤดูเก็บเกี่ยวปีนี้ที่ราคาตันละ 16,000 บาท สูงกว่าข้าวหอมมะลิธรรมดา 1,000 บาท/ตัน ทำให้เกษตรกรหันมาปลูกข้าวอินทรีย์กันมากขึ้น แต่นอกจากราคาที่ดีกว่าข้าวหอมมะลิทั่วไปแล้ว จุดพลิกผันสำคัญที่ทำให้เกษตรกรไทยหันมาปลูกข้าวอินทรีย์มากขึ้นนั้น สืบเนื่องมาจากปัญหาสุขภาพของชาวนา และความเสื่อมโทรมของสภาพแวดล้อม อันเกิดจากการใช้สารเคมีนั่นเอง

ข้อมูลจาก: http://www.tcdc.or.th/src/14873/

--------------------------------------------------------

เทคโนโลยีการผลิตข้าวอินทรีย์

หลังการเก็บเกี่ยวและนวดข้าว เมล็ดข้าวเปลือกยังคงมีความชื้นสูง เมล็ดซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิต มีการหายใจ ทำให้เกิดความร้อน ในสภาพร้อนชื้นดังกล่าว ทำให้เกิดการเจริญของเชื้อราเป็นผลให้เมล็ดเสื่อมคุณภาพได้ง่าย ดังนั้นจึงควรลดความชื้น ก่อนการเก็บรักษาข้าว

วิธีปฏิบัติ :
1. พันธุ์ข้าว :

เป็นพันธุ์ข้าว และแมลงศัตรูพืชสำคัญในพื้นที่แข่งขันกับวัชพืชได้ดี มีลักษณะเมล็ด และคุณภาพการหุงต้ม และรับประทานตรงต่อความต้องการของตลาด พันธุ์ข้าวที่นิยมใช้ในการผลิตข้าวอินทรีย์ในปัจจุบัน คือ ขาวดอกมะลิ 105 และกข 15

2. เมล็ดพันธุ์ข้าว :

เป็นเมล็ดพันธุ์ที่ได้มาตรฐานของเมล็ดพันธุ์ และผลิตโดยระบบเกษตรอินทรีย์ ปราศจากโรคแมลงและเมล็ดวัชพืช หากจำเป็นต้องป้องกันกำจัดโรคที่ติดมากับเมล็ด ให้ใช้เฉพาะสารที่อนุญาตให้ใช้ได้

3. การเตรียมดิน และวิธีปลูกพันธุ์ข้าว :

ควรเตรียมดินอย่างดีเพื่อลดปัญหาวัชพืช และสร้างสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของข้าว แต่ไม่ใช้สารกำจัดวัชพืชร่วมกับการเตรียมดิน การเตรียมดินจะต้องสอดคล้องกับวิธีการปลูกข้าว

วิธีปักดำ :
เหมาะกับการทำนาในนิเวศน์นาชลประทาน เตรียมดินอย่างดี โดยไถดะตากดินไว้ เพื่อกำจัดวัชพืชที่กำลังเจริญเติบโตปล่อยน้ำท่วมแปลง เพื่อกำจัดวัชพืชที่กำลังจะงอก ไถแปร และคราดปรับระดับผิวดินให้สม่ำเสมอ เพื่อความสะดวกในการควบคุมระดับน้ำและควบคุมวัชพืช

ตกกล้า :
โดยใช้อัตราเมล็ดพันธุ์ประมาณ 100 กรัม /พื้นที่แปลงกล้า 1 ตร.ม. (1 ไร่ = 1,600 ตร.ม. คือ 1,600 กรัม /ไร่ หรือ 1.6 กก./ไร่) จะได้ได้ต้นกล้าที่มีความอุดมสมบูรณ์แข็งแรง (ใช้เมล็ดพันธุ์ตกกล้า ประมาณ 7 กก. /พื้นที่ปักดำ 1 ไร่ ปักดำระยะ 20 x 20 ซม. จำนวน 3-5 ต้น /กอ โดยใช้อายุกล้าระหว่าง 25-30 วัน

วิธีหว่านน้ำตม :
เหมาะกับการทำนาในนิเวศนาชลประทาน โดยเฉพาะในกรณีที่ต้องทำนาล่ากว่าปรกติ หรือมีปัญหาด้านแรงงาน เตรียมดินอย่างดี โดยไถดะตากดินไว้เพื่อกำจัดวัชพืชที่กำลังเจริญเติบโต ปล่อยน้ำท่วมแปลงเพื่อกำจัดวัชพืช ที่กำลังจะงอก ไถแปร และคราดปรับระดับผิวดินให้สม่ำเสมอ เพื่อความสะดวกในการควบคุมระดับน้ำและควบคุมวัชพืช หว่านเมล็ดข้าวงอกอัตราเมล็ดพันธุ์ประมาณ 15-20 กก./ไร่ แล้วรักษาระดับน้ำ ให้เหมาะสมกับระยะการเจริญเติบโต ของต้นข้าว

วิธีหว่านข้าวแห้ง :
เหมาะสมกับทำนาในนิเวศนาน้ำฝน โดยเฉพาะพื้นที่นาลุ่มและวัชพืชน้อยเตรียมดินโดยวิธีเตรียม ดินแห้ง ไถดะ เพื่อกำจัดวัชพืชที่กำลังเจริญเติบโต ไถแปร หว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวแห้ง อัตรา 20-25 กก. /ไร่ หรือ ร่วมกับเมล็ดถั่วเขียว อัตรา 8 กก./ไร่ แล้วคราดกลบ

4. การจัดการความอุดมสมบูรณ์ของดิน :

การเลือกพื้นที่ดินมีความอุดมสมบูรณ์ค่อนข้างสูงเป็นเงื่อนไขที่สำคัญในการผลิตข้าวอินทรีย และต้องรักษาระดับความอุดม สมบูรณ์ของดินเพื่อรักษาระดับผลผลิตให้มีความยั่งยืนโดยเฉพาะการจัดการธาตุอาหารหลักของพืชพื้นที่นาข้าวอินทรีย์ จะต้องไม่เผาตอซัง ฟางข้าว และเศษซากพืช รวมทั้งควรหาวัสดุอินทรีย์จากพื้นที่ข้างเคียงใส่เพิ่มเติมเข้า ไปด้วยการปลูก พืชตระกูลถั่วจะช่วยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ ของดินในระยะยาว ควรปลูกพืชคลุมดินในช่วงที่ไม่ปลูกข้าวนอกจากเป็นการป้องกันการสูญเสียหน้าดิน แล้วยังเป็นการเพิ่มอินทรีย์วัตถุให้แก่ดินอีกด้วยเนื่องจากปุ๋ยอินทรีย์ หรือปุ๋ยธรรมชาติ ที่อนุญาตให้ใช้ในการผลิตข้าวอินทรีย์ เป็นต้นว่า ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก จุลินทรีย์ ผลิตภัณฑ์ และผลพลอยได้จากอุตสาหกรรมเกษตร รวมทั้งแร่ธาตุที่ ยังไม่ผ่านการสังเคราะห์เคมี มีความเข้มข้นของธาตุอาหารต่ำ ต้องใช้ปริมาณมากและต่อเนื่องทุกปีจะได้ผลผลิตและ เกิดความยั่งยืน ดังนั้นการใช้สาร หรือวัสดุเหล่านี้ต้องคำนึงถึงต้นทุนการผลิตด้วย

การปลูกพืชตระกูลถั่วเป็นวิธีเหมาะสมที่สุดในการผลิตข้าวอินทรีย์ เพราะได้ธาตุอาหารเพียงพอต่อความต้องการสำหรับการเจริญเติบโตของข้าว ต้นทุนการผลิตต่ำสามารถทำได้อย่างต่อเนื่อง และยังได้รับผลตอบแทนจากพืชปุ๋ยสดบางชนิดอีกด้วย เช่น การปลูกถั่วเขียวก่อนข้าว โดยใช้ การเตรียมดินจากการไถดะนาข้าว หว่านถั่วเขียวอัตราเมล็ดพันธุ์ 8 ก ก./ไร่ แล้วไถหรือคราดกลบต้นเขียวระยะออกดอกเพื่อเป็นปุ๋ยพืชสดเพียงประการเดียว

ในนาหว่านข้าวแห้งสามารถหว่านถั่วเขียวร่วมไปด้วยจะช่วยควบคุมคุมวัชพืชได้ดี เมื่อมีน้ำขังในนา ต้นถั่วเขียวจะเน่าตาย เป็นปุ๋ยพืชสดไปในตัว ในพื้นที่ที่ดินมีน้ำขังระบายน้ำไม่ดี ควรใช้โสนอัฟริกัน อัตราเมล็ดพันธุ์ 6 กก./ไร่ หว่านหรือหยอดก่อนปักดำข้าวประมาณ 70 วัน แล้วไถกลบขณะที่ต้นโสนมีอายุประมาณ 50-55 วัน หรือก่อนปักดำข้าว 15 วัน ก็จะได้ธาตุอาหาร ที่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของข้าว

5. ระบบการทำฟาร์ม :

การผลิตข้าวในระบบเกษตรอินทรีย์นั้น กิจกรรมทางการเกษตรในพื้นที่ทั้งการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ ควรจะต้องเป็นแบบ เกษตรอินทรีย์ด้วยทั้งหมด ในพื้นที่ให้มากที่สุด และมีปัจจัยเสี่ยงน้อยที่สุดด้วย ทั้งนี้ในพื้นที่เกษตรน้ำฝนของประเทศไทย ซึ่งทำการเกษตรแบบดั้งเดิมและใช้ปัจจัยการผลิตจากภายนอกน้อยอยู่แล้ว จึงเป็นข้อสนับสนุนการผลิตข้าวอินทรีย์ในพื้นที่ดังกล่าวได้เป็นอย่างดี

6. การควบคุมวัชพืช :

การเขตกรรมที่ดีสามารถแก้ปัญหาวัชพืชในนาได้เป็นอย่างดี การทำนาดำเป็นวิธีที่ช่วยควบคุมวัชพืชโดยใช้ระดับน้ำในนาและต้นกล้าข้าวที่มีการเจริญเติบโตก่อนวัชพืช การเตรียมดินไห้มีผิวหน้าดินสม่ำเสมอ และการรักษาระดับน้ำขังในนาในระยะแรกประมาณ 1 - 2 เดือนหลังปักดำ ทำให้สามารถควบคุมวัชพืชอย่างได้ผล ในนาหว่านข้าวแห้งทีหว่านถั่วเขียวร่วมไปด้วย ถั่วเขียวที่เจริญเติบโตได้เร็วช่วยควบคุมวัชพืชโดยการบังแสงแดด ได้เป็นอย่างดี แต่ถ้ายังมีวัชพืชเหลืออยู่ในนา การใช้วิธีการกำจัดอื่นร่วมด้วย เช่น กำจัดด้วยวิธีกล ใช้แรงงานคนถอน หรือใช้เครื่องกำจัดวัชพืช ก็จะได้ผลดียิ่งขึ้น

7. การป้องกันกำจัดโรคแมลง :

การรักษาสมดุลธรรมชาติ เพื่อให้ศัตรูธรรมชาติของแมลงศัตรู พืช ทั้งตัวห้ำ และตัวเบียน ควบคุมแมลงศัตรูข้าวตามธรรมชาติ รวมทั้งการรักษาความสมดุลของธาตุอาหารในดิน และการจัดการน้ำที่ดีช่วยให้ต้นข้าวมีความแข็งแรง ทนทานต่อการทำลายของโรคและแมลงได้ดี

การปลูกพืชหมุนเวียน เช่น ถั่วเขียวก่อนข้าว เป็นการตัดวงจรชีวิตของแมลงและการแพร่ระบาดของโรคได้ดี การกำจัดวัชพืชที่อาจเป็นพืชอาหารหรือพืชอาศัยของศัตรูข้าว รวมทั้งกำจัดเศษซากพืชทีเป็นโรค ช่วยป้องกันศัตรูข้าวได้ในระดับหนึ่ง

การเลือกใช้พันธุ์ต้านทานและทนทานเป็นอีแนวทางหนึ่ง โดยศึกษาชนิดโรคและแมลงที่สำคัญในพื้นที่แล้วเลือกพันธุ์ข้าวให้เหมาะสม นอกจากนั้นยังมีการป้องกันและกำจัดโดยวิธีการต่างๆ ที่อนุญาตให้ใช้ได้ เป็นวิธีการที่สามารถปฏิบัติได้หากมีการระบาดรุนแรง

8. การป้องกันกำจัดสัตว์ศัตรูข้าว :

หนูเป็นศัตรูข้าวที่สำคัญมาก แนะนำให้ใช้วิธีควบคุมโดยใช้ศัตรูธรรมชาติ ซึ่งเป็นวิธีที่ประหยัด รักษาระบบนิเวศ และมีประสิทธิภาพในระยะยาว ศัตรูธรรมชาติของหนูที่สำคัญ ได้แก่ แมว สุนัข งู นกเค้าแมว และเหยี่ยว เป็นต้น

นอกจากนี้อาจใช้วิธีกล เช่น กับดัก และรั้วกันหนู สัตว์ศัตรูข้าว เช่น ปู หอยเชอรี่ แนะนำให้กำจัดโดยวิธีกล หรือจับทำลาย และอาจพิจารณาใช้สารที่อนุญาตให้ใช้ได้ ในการป้องกันกำจัด

9. การจัดการก่อน และหลังการเก็บเกี่ยว :

ระบายน้ำออกจากนาข้าวสุกแก่ประมาณ 10-15 วัน ขึ้นกับลักษณะเนื้อดิน เพื่อให้พื้นนาแห้งและข้าวสุกแก่สม่ำเสมอ เก็บเกี่ยวข้าวแล้ว ตากสุ่มซังในนาไม่เกิน 3 วันจะได้ข้าว เปลือกที่มีคุณภาพสีดีและมีความชื้นไม่เกิน 14% การใช้เครื่องนวดจะได้ข้าวเปลือกที่มีความชื้นประมาณ 19-22% ควรนำเมล็ดข้าวเปลือกมาตากให้มีความหนาประมาณกว่า 5 ซม. นาน 2 วัน จะได้ข้าวเปลือกความชื้นต่ำกว่า 14% และมีคุณภาพการสีดีเช่นกัน

10. การเก็บรักษาผลผลิต และบรรจุภัณฑ์ :

เก็บรักษาข้าวเปลือกในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ในยุ้งฉางหรือโรงเก็บที่ป้องกันแมลงและศัตรูได้ดี แล้วแปรสภาพเป็นข้าวกล้อง หรือ ข้าวสารตามความต้องการ บรรจุข้าวกล้องและข้าวสารในถุงพลาสติกขนาดบรรจุ 1-5 กก. ในระบบสุญญากาศหรืออัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

http://www.moac.go.th/ewt_news.php?nid=431&filename=index

----------------------------------------------------------------------

หมายเหตุ :
ข้าวทุกชนิด พืชไร่ทุกชนิด ผักสวนครัว (บนดิน บนน้ำ) ทุกชนิด :

- เป็นพืชอายุสั้นฤดูกาลเดียว รับสารอาหารได้ทั้งทางใบและทางรากในอัตรา 50-50 หรือเท่าๆกัน นั่นคือ แม้จะให้ทางใบเป็นหลัก สารอาหารส่วนที่ตกลงดิน พืชก็ได้รับด้วย ....

- เกษตรอินทรีย์เกาะขอบ หมายถึง ผักหรือพืชอายุสั้นฤดูกาลเดียวได้รับสารอาหารจากน้ำหมักชีวภาพ “สูตรพิเศษเฉพาะ” ที่มีสารอาหาร “ครบ/ถูกต้อง/เพียงพอ” ต่อการเจริญเติบโตหรือพัฒนาการของพืชชนิดนั้นๆ ทั้งนี้ สารอาหารพืชที่ได้มาจาก “วัสดุส่วนผสมและกรรมวิธี” ในการทำที่มีหลักวิชาการรองรับยืนยัน

- น้ำหมักชีวภาพ สูตรพิเศษเฉพาะ หมายถึง .... น้ำหมักที่ทำจากวัสดุคัดสรรโดยเฉพาะ มีชนิด/ปริมาณ/โครงสร้างทางโมเลกุล ของสารอาหารตรงกับพัฒนาการหรือความต้องการของพืชตามระยะต่างๆ เช่น สร้างยอด สร้างใบ สร้างดอก สร้างผล

- น้ำหมักชีวภาพ แบบอินทรีย์เกาะขอบ หมายถึง .... น้ำหมักที่ทำจากวัสดุคัดสรรโดย เฉพาะ มี ชนิด/ปริมาณ/โครงสร้างทางโมเลกุล ของสารอาหารตรงกับพัฒนาการหรือความต้อง การของพืชแบบเหมารวมตั้งแต่เป็นเมล็ด ถึงโตเก็บเกี่ยวได้

- น้ำหมักชีวภาพ แบบอินทรีย์ตกขอบ หมายถึง .... น้ำหมักที่ทำจากวัสดุทั่วๆไป ไม่มีการคัดสรรโดยเฉพาะ ไม่มีการเน้นเพื่อให้ได้ ชนิด/ปริมาณ/โครงสร้างทางโมเลกุล ของสารอาหาร ไม่ยึดหลักวิชาการในการทำ

คิด วิเคราห์ เปรียบเทียบ :

- น้ำหมักชีวิภาพจาก ..... ผักผลไม้ + กากน้ำตาล 3:1 + จุลินทรีย์ พด.
- น้ำหมักชีวิภาพจาก ..... หอยเชอร์รี่ + กากน้ำตาล 1:1 + จุลินทรีย์ พด.
- น้ำหมักชีวิภาพจาก ..... ปลาน้ำจืด + กากน้ำตาล 3:1 + จุลินทรีย์ พด.
- น้ำหมักชีวภาพจาก ..... กุ้งหอยปูปลาทะเล + กากน้ำตาล 10:1 + จุลินทรีย์ย่อยซากสัตว์โดยเฉพาะ + น้ำมะพร้าว + เลือด + ไขกระดูก +นม + ขี้ค้างคาว

**** อย่างไหนได้สารอาหารพืชมากกว่ากัน
**** อย่างไหนมีสารอาหรมากกว่ากันตามลำดับ จากน้อยที่สุดไปหามากที่สุด

----------------------------------------------------------------



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©