-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-การปลูกเวาวรส ... เสาวรส
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ซิลิคอนเคลย์-เบนโทไนท์ ?
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ซิลิคอนเคลย์-เบนโทไนท์ ?

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11559

ตอบตอบ: 02/12/2011 7:05 pm    ชื่อกระทู้: ซิลิคอนเคลย์-เบนโทไนท์ ? ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)


จาก : zobabb

ถึง : kimzagass

ตอบ : 02/12/2011 3:58 pm
ชื่อกระทู้ : อยากทราบว่า

-------------------------------------------------------------------------------------------------


ซิลิคอนเคลย์ หรือ ดินเบนโทไนท์ มีคุณสมบัติเหมือนกรดซิลิคอนไหมครับ
(แร่ธาตุและการแตกตัวของสารประกอบนะครับ)



http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Private_Messages&file=index&folder=inbox&mode=read&p=1879&sid=28cdf2c356db5701737584c92d69d45f


.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 10/09/2015 11:37 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11559

ตอบตอบ: 02/12/2011 7:23 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

แร่ซิลิคอนเคลย์ หรือ ดินเบนโทไนท์ Bentonite clay.


ดินเบนโทไนท์ Bentonite clay จัดเป็นหินเถ้าภูเขาไฟที่แปรเปลี่ยนเบื้องต้นไปเป็นเนื้อดิน ถูกแช่ในน้ำมาเป็นเวลา 200 ล้านปี อยู่ในกลุ่มแร่เสม็คไทท์ ( Smectite ) หรือมอนต์มอริลโลไนท์ ( Montmorillonite )เป็นองค์ประกอบหลัก








มีส่วนประกอบรองลงมาคือ ซิลิคอน อลูมิน่า เหล็ก แคลเซียม ควอร์ท แมกนีเซียม Na2O K2O TiO2P2O5 MnO Cr2O3 Ge ฯลฯ อีก 20 กว่าชนิด

ดินเบนโทไนท์ Bentonite clay ไม่ได้ประกอบด้วยดินเกาลินแต่เป็นผลึกดินมีโครงสร้างเป็นผลึกตาข่ายที่มี ขนาดอนุภาคเล็กละเอียดมาก มีพื้นที่ผิวจำเพาะปฐมภูมิ ( Primary specific Surface ) สูงมาก ระหว่าง 50 ถึง 120 ตารางเมตรต่อกรัม และพื้นที่ผิวจำเพาะทุติยภูมิ ( Secondary specific Surface ) สูงได้ถึง 840 ตารางเมตรต่อกรัม เรียกว่า ดินเบนโทไนท์ เพียง 100 กรัม จะสามารถคลอบคลุมสนามฟุตบอล ได้เต็มสนามอย่างสบายๆ ด้วยขนาดอนุภาคที่เล็กละเอียด ดังนี้จึงทำให้พืชจึงสามารถที่จะดูดซับธาตุอาหารจากดินเบนโทไนท์ไปใช้ได้ทันที

ดินเบนโทไนท์ มีคุณสมบัติการดูดซับที่ดี สามารถดูดน้ำไว้ได้มากซึ่งเป็นผลให้ดินมีลักษณะขยายตัว ( Swell ability ) สูง 5 – 20 เท่าของปริมาตรดินแห้งหรือเกิดการพองตัวบวมเมื่ออุ้มน้ำไว้ได้มาก ๆ คล้ายกาว จึงจัดเป็นตัวเคลือบปุ๋ย ยึดเกาะเม็ดปุ๋ย ( Blender ) ที่ดีที่สุด

ดินเบนโทไนท์ มีสูตร Al2O3 * 4SIO2 * 2H2O แร่ดินชนิดนี้สามารถเกิดการแลกเปลี่ยนประจุไอออน กับเชื้อโรคและดูดซับกลิ่นได้ดีเมื่อเปียกน้ำจะดูดซับสารที่มีประจุบวกได้ดีจำพวกเชื้อโรคต่างๆไว้ ทำให้สามารถช่วยป้องกันอาการของโรคเน่าในพืชและดินได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น โรคเชื้อรา โรครากเน่า โคนเน่า ฯลฯมีเกษตรกรหลายรายนำดินเบนโทไนท์ไปช่วยดูดซับกลิ่นของเสียที่เกิดจากการขับถ่ายของสัตว์ได้ผลชัดเจน

ด้วยคุณสมบัติคล้ายกาวของดินเหนียวภูเขาไฟชนิดนี้ ในอุตสาหกรรมผลิตปุ๋ยขึ้นรูปเม็ดปุ๋ยจะนิยมใช้ ดินเบนโทไนท์เพื่อเพิ่มความเหนียวให้วัตถุดิบผลิตปุ๋ยปั้นเม็ดได้ง่ายต่อการขึ้นรูปจึงจัดเป็นตัวเคลือบปุ๋ย(Blender) ที่ดีที่สุด ซึ่งสามารถช่วยขึ้นรูปงานปั้นเม็ดปุ๋ยได้รวดเร็วสะดวกดีกว่า โดยการใช้ดินเบนโทไนท์10% - 20% ในสูตรเดิม ทั้งยังเป็นการเพิ่มคุณภาพให้แก่ปุ๋ยอีกด้วย

แร่ดินเบนโทไนท์มี 2 ชนิด คือ
1. โซเดียมเบนโทไนท์ เหมาะสำหรับใช้เพื่องานอุตสาหกรรม ( Sodium bentonite use for industrial )
2. แคลเซียมเบนโทไนท์ เหมาะสำหรับใช้เพื่อชีวิต ( Calcium bentonite use for life ) ซึ่งบริษัทฯของเราจำหน่ายชนิดแคลเซียมเบนโทไนท์ ที่จะปลอดภัยต่อคน พืช สัตว์ สิ่งแวดล้อม ทั้งยังเป็นประโยชน์มากต่อการเกษตร








คุณสมบัติของธาตุเสริมต่าง ๆ ในดินเบนโทไนท์ ( Bentonite clay )
ดินเบนโทไนท์มีธาตุซิลิคอน โครงสร้างเนื้อดินเป็นผลึกตาข่ายมีค่าความเป็นกรดอ่อนๆ ค่า PH = 5 จากธรรมชาติได้มาจากการแตกตัวของสารประกอบที่เรียกว่า กรดซิลิซิค Silicic Acid ซึ่งแปลว่า ซิลิเคทที่อมน้ำสูง สามารถละลายน้ำได้ง่ายและมีปฎิกริยาเร็วกว่าหินถึง 3 เท่า แม้ว่าชนิดหินจะถูกบดละเอียดกว่า 300 เมซ ก็ไม่สามารถจะแตกตัวปล่อยธาตุอาหารได้รวดเร็วเท่าดินเบนโทไนท์ ประกอบด้วยอนุภาคที่เล็กละเอียดมาก ทำให้ประจุของซิลิเคทที่ปะปนอยู่ เมื่อถูกน้ำแล้วจะแตกตัวสามารถให้ธาตุซิลิคอนกระจายตัว เพื่อให้พืชสามารถดูดซึมธาตุอาหารซิลิคอนไปใช้ได้ทันที เพื่อทำให้พืชมีความแข็งแรงเสมือนพืชติดเกราะเหล็ก มีความต้านทานต่อโรคและแมลง หนอน เพลี้ย ได้ดียิ่งขึ้น ช่วยในการเพิ่มคุณภาพและปริมาณของผลผลิตได้อย่างดีเยี่ยม

กลไกการทำงานของแร่ธาตุซิลิคอนในดินเบนโทไนท์
เมื่อพืชได้รับธาตุอาหารเสริมโดยเฉพาะธาตุซิลิคอน เมื่อพืชดูดซึมธาตุซิลิคอนผ่านทางรากแล้วก็จะกระจาย ไปทั่วทั้งลำต้นและใบทั่วทุกผนังเซลส์ผิวลำต้นและใบขึ้นไปพร้อมน้ำและธาตุอาหารต่าง ๆ ต่อมาน้ำจะระเหยออกทางผิว แต่ธาตุซิลิคอนไม่ระเหยจึงสะสมอยู่ที่ผิวมากขึ้นก็กลายเป็นผลึกควอร์ท โอปอล หรือ เปลี่ยนเป็นซิลิเกตเคลือบที่ใบพืชที่มีธาตุซิลิคอนเคลือบอยู่จะมันเงาและมีความแข็งแรงสูง ทนทานต่อโรคและแมลงเกษตรกรควรจะนำปุ๋ยที่มีธาตุซิลิคอนเข้ามาเป็นตัวเสริมด้วยจะทำให้ผลผลิตดียิ่งขึ้น







ดินเบนโทไนท์มีธาตุอะลูมิน่า , แคลเซียม , โซเดียม ฯลฯ
ธาตุเสริมจำพวกอลูมิโนซิลิเกตและธาตุเสริมอื่น ๆ มีประโยชน์สำหรับพืชช่วยปรับสภาพความเป็นกรดด่างของดินช่วยให้พืชดูดซึมธาตุอาหารเสริมไปใช้ประโยชน์ได้อย่างดีเยี่ยม

ดินเบนโทไนท์มีธาตุโปแตสเซียม (K) มีธาตุโปแตสเซียม ตามธรรมชาติ ซึ่งสามารถแตกตัวได้ดีเมื่อเปียกน้ำและจะทำปฎิกริยาเร็วกว่าหินถึง 3 เท่า แม้ว่าชนิดหินจะถูกบดละเอียดกว่า 300 เมซ ก็ไม่สามารถจะแตกตัวปล่อยธาตุอาหารได้รวดเร็วเท่าดินเบนโทไนท์เนื่องจากเนื้อดินมีอนุภาคที่เล็กละเอียดกว่าเนื้อหิน ทำให้การแตกประจุของธาตุอาหาร K ทำได้ดีกว่า การดูดซึมธาตุอาหารของพืชจึงได้รับอย่างเต็มประสิทธิภาพ ส่งผลทำให้ลำต้นผนังเซลส์แข็งแรงไม่หักโค่นหรือล้มง่ายช่วยในกระบวนการสร้างแป้งและน้ำตาลที่สะสมในพืช พืชมีความแข็งแรงต้านทานต่อโรคและแมลง ติดดอกออกผลดีเป็นพิเศษ

ดินเบนโทไนท์มีธาตุเหล็ก (Fe) ธาตุสังกะสี (Zn) ธาตุรองอื่น ๆ
ธาตุเหล็ก Fe ช่วยในขบวนการหายใจและช่วยสร้างคลอโรฟิลล์ในการปรุงอาหารของพืชและยังมีธาตุอาหารเสริมอื่น ๆ มี 20 กว่าชนิดที่พืชต้องการเป็นอย่างยิ่ง

ดินเบนโทไนท์ ช่วยปล่อยปุ๋ยละลายช้า (Slow release)
โดยปกติพืชจะใช้ปุ๋ยเคมีที่เราใส่ลงไปในดินได้ไม่เกิน 50% ส่วนที่เหลือจะระเหยหรือถูกน้ำชะล้างไป นอกจากนี้สภาพดินที่มีปัญหา เช่น ดินเปรี้ยว ดินเค็ม จะขัดขวางไม่ให้พืชดูดซับปุ๋ยจากดินไปใช้ได้ ดินเบนโทไนท์ มีค่าแลกเปลี่ยนประจุ (CEC) สูง ซึ่งจะช่วยจับปุ๋ยไว้ไม่ให้ระเหย ช่วยปล่อยปุ๋ยละลายช้า slow release ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพปุ๋ยและช่วยประหยัดปุ๋ยเคมีได้


ดินเบนโทไนท์ นำมาใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ มากมาย อาทิ
• การทำโคลนเจาะต่าง ๆ ใช้ผสมกับน้ำเพื่อช่วยหล่อเลี้ยงหัวเจาะในการเจาะบ่อน้ำบาดาลหรือเจาะบ่อน้ำมัน
• การขจัดสีในน้ำมัน อุตสาหกรรมฟอกสี
• ใช้ผสมอาหารสัตว์ให้สัตว์กินเพื่อเพิ่มแร่ธาตุเสริม
• การผลิตเครื่องสำอางค์
• การขจัดคราบไขมัน ในบ่อบำบัดน้ำเสีย
• อุตสาหกรรมเซรามิก
• ทำบ่อเก็บกักน้ำ ในพื้นที่ที่เก็บกักน้ำไม่อยู่
• การเลี้ยงกุ้ง , ปลา ช่วยดูดซับสารพิษ ช่วยให้กุ้งลอกคราบง่ายขึ้น
• บำบัดน้ำเสีย รักษาคุณภาพน้ำ ขจัดแก็สพิษ โลหะหนัก กลิ่นไม่พึงประสงค์
• ช่วยปรับปรุงคุณภาพดิน ปรับสภาพดินทำให้ดินดี มีความอุดมสมบรูณ์
• ใช้ในฟาร์มปศุสัตว์ ใช้ผสมกับมูลสัตว์เพื่อลดกลิ่นและลดปริมาณเชื้อโรคได้ดี
• ใช้ผสมดินหรือคอนกรีตในการก่อสร้างเขื่อนหรือคลอง เพื่อป้องกันการรั่วซึม



http://www.siliconclay.com/siliconclay.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 01/06/2013 9:10 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11559

ตอบตอบ: 02/12/2011 7:28 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ข่าวสารข้อมูลเพิ่มเติมจากศูนย์วิจัยจุฬาฯ



ดินเบนโทไนท์จัดป็นแร่ดินเหนียวชนิดหนึ่งซึ่งเกิดจากขี้เถ้าภูเขาไฟมีเนื้อละเอียดและการดูดซับสูง มีแร่ธาตุองค์ประกอบหลายชนิด อาทิ แคลเซียม โซเดียม แมกนีเซียม เมื่อเปียกน้ำ ดินเบนโทไนท์ จะดูดซับสารที่มีประจุบวกจำพวกเชื้อโรคได้ดี ดังนั้น จึงสามารถดูดซับสารต่าง ๆ อาทิ โลหะหนัก ยากำจัดศัตรูพืชหรือสารพิษอื่น ๆ


ดินเบนโทไนท์ได้นำมาใช้ประโยชน์เชิงการแพทย์มาตั้งแต่ยุคโบราณ อาทิ การดึงดูดโลหะหนัก ยา (drugs) รวมทั้งสารพิษอื่น ๆ ออกจากร่างกาย ชาวอียิปต์ได้นำดินเบนโทไนท์มาใช้ในการทำมัมมี่ ชาวกรีกและโรมันใช้ดินเบนโทไนท์เพื่อฟื้นฟูสุขภาพ ปัจจุบันได้มีการนำดินเบนโทไนท์มาใช้ในธรรมชาติบำบัด
(natural remedies) ทั้งภายนอกและภายในร่างกายมากขึ้น ดังตัวอย่างคือ

- การใช้ดินเบนโทไนท์ในการดูดซับรังสีจากกระดูกโดยเฉพาะผู้ป่วยที่ต้องได้รับการฉายรังสี

- การใช้ดินเบนโทไนท์ในการลดบวม และความเจ็บปวดของเหงือกและฟัน เนื่องจากดินเบนโทไนท์จะดูดซับเชื้อโรคต่าง ๆ ไว้ทำให้ช่วยลดบริเวณการติดเชื้อลง

- การใช้ดินเบนโทไนท์ในการรักษาโรคท้องร่วง โดยดินเบนโทไนท์จะทำหน้าที่ช่วยดูดเชื้อโรคหรือสารพิษในช่องว่างของลำไส้


นอกจากนี้ยังนำมาใช้บรรเทาอาการปวดหัวเรื้อรัง แก้อาการสิว ผดผื่นคัน การฟื้นฟูผิว และอื่น ๆ อีกมากมาย


จากประโยชน์ในเชิงบำบัดรักษาที่ได้กล่าวมาแล้ว การพัฒนาวิจัยด้านเบนโทไนท์เพื่อการแพทย์จึงน่าจะเป็นแนวทางหนึ่งที่น่าสนใจ ผนวกกับประเทศไทยมีแหล่งดินเบนโทไนท์ ซึ่งดินเบนโทไนท์ ส่วนใหญ่ มักนำมาใช้ในอุตสาหกรรม อาทิ อุตสาหกรรมเคมี ดังนั้นในขณะสถาบันวิจัยโลหะและวัสดุจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กำลังเริ่มดำเนินการศึกษาวิจัยและพัฒนาการใช้ประโยชน์ของดินเบนโทไนท์เพื่อใช้ในทางการแพทย์


http://www.siliconclay.com/news1.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11559

ตอบตอบ: 02/12/2011 8:52 pm    ชื่อกระทู้: Re: ซิลิคอนเคลย์ หรือ ดินเบนโทไนท์.....? ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

kimzagass บันทึก:

จาก : zobabb

ถึง : kimzagass

ตอบ : 02/12/2011 3:58 pm
ชื่อกระทู้ : อยากทราบว่า

-------------------------------------------------------------------------------------


ซิลิคอนเคลย์ หรือ ดินเบนโทไนท์ มีคุณสมบัติเหมือนกรดซิลิคอนไหมครับ
(แร่ธาตุและการแตกตัวของสารประกอบนะครับ)



http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Private_Messages&file=index&folder=inbox&mode=read&p=1879&sid=28cdf2c356db5701737584c92d69d45f


.


ข้อมูลทางวิชาการ :
ถ้าต้องการคำตอบเชิงวิชาการ "วิชาเคมี" ละก็ คำตอบ คือ "ไม่ทราบ" เพราะไม่ได้ร่ำเรียนมา ก่อนจะเข้ามาตอบตรงนี้ได้พยายามค้นหาข้อมูลในเน็ตที่เป็นข้อมูลทางราชการ (เกษตร-มหาลัย) ก็ "ไม่พบ" อีกเช่นกัน ข้อมูลที่ลิงค์มาให้ดูนี้เป็นข้อมูลของบริษัทจำหน่ายผลิตภัณท์ตัวนี้โดยตรง แต่เท่าที่สังเกตุข้อมูลแล้ว ก็เห็นว่าเป็นข้อมูลทางวิชาการพอสมควร


ข้อมูลทางด้านการเกษตร :
จากประสบการณ์ตรง ที่เคยคุยกับนักวิชาการอุดมการณ์ (ตรงข้ามกับนักวิชาการเชิงพานิช) 5-6 ท่าน ทำให้รู้ว่า "ซิลิก้า" ธาตุอาหารพืชตัวนี้มีประโยชน์เฉพาะ "พืชเมืองหนาว" ส่วนใหญ่ พืชเมืองร้อนในเมืองไทยมีเพียงอย่างเดียวที่ต้องการ คือ "อ้อย" เท่านั้น ซิลิก้า.ที่ซื้อขายกันในท้องตลาดทุวันนี้ เอาหินภูเขาไฟที่ดับแล้วนับล้านปีมาบด บดให้ละเอียดระดับ "เม็ทช์"

เคยมีคนชวน เอาหินภูเขาไฟบดละเอียดพร้อมใช้แล้วจากฟิลิปปินส์มาขาย ต้นทุนเสียภาษีที่ท่าเรือคลองเตยแล้ว กก.ละ 1 บาท แล้วเอามาขายส่ง กก.ละ 6 บาท ขายปลีก กก.ละ 12 บาท ......ลุงคิมไม่เอาด้วย อยากทำก็ทำไป แล้วไม่รับโฆษณาด้วย

ซิลิก้าจากหินภูเขาไฟตัวนี้ ลุงคิมเรียกมันว่า "ธาตุห้าร้อยชื่อ" เหตุผลก็คือ วางตลาดแล้วโฆษณาบ้าเลือด ช่วงแรกๆ ขายดี นานๆเข้าคนไม่เอา ขายไม่ออก เลยเปลี่ยนชื่อยี่ห้อใหม่ โฆษณาบ้าเลือดใหม่ ขายได้อีก ไม่นานก็ขายไม่ออกอีก ต้องเปลี่ยนชื่อยี่ห้อใหม่ โฆษณาบ้าเลือดใหม่ ขายได้อีก .... ทำซ้ำอย่างนี้ เดี๋ยวนี้ก็ยังทำอยู่ แต่เหลือน้อยยี่ห้อแล้ว.....สงสัยต้องเปลี่ยนชื่อเป็น "ธาตุพันชื่อ" ซะก็ไม่รู้

แถวๆเขาพนมรุ้ง นั่นก็ภูเขาไฟที่ดับแล้วนับล้านปี ในดินต้องมีซิลิก้าแน่นอน แต่สังเกตุพืชที่นั่นก็ไม่เห็นจะดีหรือพิเศษกว่าพืชที่อื่นเลย แปลงไหนบริหารจัดการ "ปัจจัยพื้นฐานเพื่อการเพาะปลูก" ไม่ถูกต้อง แปลงนั้นก็โหลยโท่ย ตรงกันข้ามกับแปลงที่บริหารัดการ "ปัจจัยพื้นฐานฯ" ดี ถูกต้อง สม่ำเสมอ ทั้งๆที่ไม่ได้ใช้หินภูเขาไฟ กลับดีได้......ว่ามั้ย

ริมถนนสาย พุแค-เพชรบูรณ์ แถวๆศูนย์ฝึกทางยุทธวิธีของทหาร (จำชื่อบ้านไม่ได้/ก่อนถึงลำนารายณ์) หน่วยทหารพลร่มจากศูนย์สงครามพิเศษไปตั้งฐานปฏิบัติการอยู่ที่นั่น ขุดเอาหินภูเขาไฟ บดละเอียดซะหน่อยพอดูงาม ใส่กระสอบปุ๋ยวางขายข้างถนน ราคาไม่แพง อยากได้ก็ไปซื้อเอาซี่......อุดหนุนรั้วของชาติด้วย

ส่วนอั้ยเจ้า "เบนโทไนท์-ซีโอไรซ์-เพอร์ไรซ์-ฯลฯ" อยากได้ไปขุดเอาแถวๆ อ.บ่อพลอย - ทองผาภูมิ - สังขละ - (ประมาณนี้) แหล่งใหญ่ขนาดภูเขาชนภูเขา ที่นั่นมีเหมืองสัมปทาน ขุดขึ้นมาส่งโรงงานปุ๋ย ทำฟิลเลอร์ปุ๋ยเคมี หรือใส่ลงดินโดยตรงก็แล้วแต่ ..... ขุดเอาซักแค่กะบะปิ๊คอั๊พเดียว เจ้าของสัมปทานคงไม่ว่าอะไรหรอกมั้ง.....

แถม.....ยิบซั่ม : เหมืองอยู่ที่ อ.หนองบัว นครสวรรค์ ยิบซั่มในท้องตลาดทุกยี่ห้อ มาจากเหมืองนี้ทั้งนั้น นัยว่า เป็นยิบซั่มเพื่อการเกษตรที่ดีที่สุดในโลก (แคลเซียม 18% กำมะถัน 23%) วิ่งรถผ่านย่านนั้น เจอก้อนที่ร่วงข้างทาง เก็บมา เอามาแช่น้ำพอน้ำขุ่นคล้ายน้ำซาวข้าว เอาไปให้ต้นไม้ได้เลย.....เหมืองยิบซั่มที่สุราษฎร์ธานี ขุดขึ้นมาแล้วส่งออกไปญี่ปุ่น เกาหลี ไต้หวัน อิสราเอล ทั้งหมด ลงเรือที่ท่าเรือเกาะสีชัง เคยมีคนถามว่า ทำไมไม่ขายในเมืองไทย คำตอบที่ได้ คือ เกษตรกรไทยไม่เอา ราชการไทยไม่เคยแนะนำ ...... ออสเตรเลีย แคนนาดา อเมริกา สั่งนำเข้ายิบซั่มจากประเทศไทย มีข้อแม้ขอให้เติมแม็กเนเซียมลงไปด้วย 5% (มงคลฯ 089-144-1112) ...... ปูมาร์ล โดโลไมท์ : เหมืองอยู่ที่ อ.บ้านหมอ จ.สระบุรี ไปซื้อที่นั่น "ตันละ 98 บาท" (ราคาเมื่อ 10 ปีที่แล้ว) ทุกวันนี้เขาก็ยังขุดอยู่ เขาเอามาทำปูนซิเมนต์ไง ......



ซิลิก้าธรรมชาติ หรือ ซิลิก้าอินทรีย์ มีในพืชตระกูลหญ้า.....

อ้อย คือ พืชตระกูลหญ้า ในใบอ้อยที่ตัดทิ้งก็มีซิลิก้า เมื่อต้องการให้ธาตุซิลิก้าแก่อ้อย ก็ให้ไถกลบเศษซากใบอ้อย ให้จุลินทรีย์ช่วยย่อยสลาย เมื่อใบอ้อยเปื่อยสลายก็จะได้ซิลิก้า

ข้าว คือ พืชตระกูลหญ้า ในส่วนต่างของต้นข้าว (ฟาง-แกลบ) มีซิลิก้า แปลงนาที่ได้ข้าวเปลือก 1 เกวียน จะได้ฟาง 1,200 กก. หากไถกลบฟาง ฟางที่ถูกย่อยสลายแล้วจะได้ธาตุซิลิก้า ประมาณ 6.8 กก. (ข้อมูล : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)

แกลบ เมื่อนำมาเผาให้เป็น "แกลบดำ" (ถ่านแกลบ-ไม่ละลายน้ำ) ใส่ลงไปในแปลงอ้อย อัตรา 50-100 กส.ปุ๋ย แล้วไถกลบพร้อมๆกับอินทรีย์วัตถุอื่นๆ ก็จะได้ธาตุซิลิก้า ในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการของอ้อยแล้ว .....ใส่แกลบดำในแปลงอ้อย 1 ครั้ง สามารถปลูกอ้อยต่อเนื่องได้ 3-4 รุ่น โดยไม่ต้องใส่ซ้ำ....อ้อยที่ได้รับธาตุซิก้า จะมีขนาดลำใหญ่ สูง ไม่แตก ค่าความหวานสูง

หญ้า-ไผ่ ทุกชนิด คือ พืชตระกูลหญ้า เมื่อถูกย่อยสลายก็จะได้ธาตุซิลิก้า เช่นกัน


ลำดับความสำคัญของธาตุอาหารพืชเมืองร้อน :
ไนโตรเจน.....ฟอสฟอรัส....โปแตสเซียม....แคลเซียม.....แม็กเนเซียม....ซัลเฟอร์....เหล็ก....ทองแดง....สังกะสี....แมงกานิส....โมลิบดินั่ม....โบรอน....ซิลิก้า....โซเดียม...คลอรีน......กับอีก 84 ตัว ไม่ได้ท่องมา ส่วนใหญ่จำเป็นสำหรับพืชเมืองหนาว

สังเกตุ ..... จะพบว่า ธาตุซิลิก้า อยู่อันดับ "รองสุดท้าย" นั่นคือ ความจำเป็นที่พืชต้องการใช้ถือว่า "น้อยมาก" เมื่อเทียบกับธาตุอาหารตัวอื่นๆ


.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 21/08/2012 3:01 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
pailinn
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 19/08/2012
ตอบ: 1

ตอบตอบ: 19/08/2012 2:41 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ลุงคิมคะ

ที่ลุงคิมว่า...เอาหินภูเขาไฟบดละเอียดพร้อมใช้แล้วจากฟิลิปปินส์มาขาย ...กับ...
....

ซิลิก้าจากหินภูเขาไฟตัวนี้ ลุงคิมเรียกมันว่า "ธาตุห้าร้อยชื่อ" เหตุผลก็คือ วางตลาดแล้วโฆษณาบ้าเลือด ช่วงแรกๆ ขายดี นานๆเข้าคนไม่เอา ขายไม่ออก เลยเปลี่ยนชื่อยี่ห้อใหม่ โฆษณาบ้าเลือดใหม่ ขายได้อีก ไม่นานก็ขายไม่ออกอีก ต้องเปลี่ยนชื่อยี่ห้อใหม่ โฆษณาบ้าเลือดใหม่ ขายได้อีก .... ทำซ้ำอย่างนี้ เดี๋ยวนี้ก็ยังทำอยู่ แต่เหลือน้อยยี่ห้อแล้ว.....สงสัยต้องเปลี่ยนชื่อเป็น "ธาตุพันชื่อ" ซะก็ไม่รู้ นั้น

เป็นตัวเดียวกันหรือเปล่าคะ คือ จากฟิลิปปินส์ หรือ เป็นหินภูเขาไฟของไทยด้วย ขายในชื่ออะไรบ้างคะ และ อยากทราบชื่อบริษัทผู้ผลิตด้วยคะ ช่วยสงเคราะห์ด้วยนะคะ พอดีกำลังจะทำการวิจัยเรื่องซิลิก้าจากหินภูเขาไฟ จะได้เป็นข้อมูลทางวิชาการของทางราชการ เนื่องจากยังไม่มีการวิจัยมาก่อนจริงๆ



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11559

ตอบตอบ: 19/08/2012 3:34 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

หินภูเขาไฟ ก็คือ หินภูเขาไฟ ถ้าเกิดมาจากภูเขาไฟ มากจากประเทศไหนๆก็หินภูเขาไฟ เพราะมันขึ้นมาจากไต้โลกเหมือนๆกัน.....ไม่มีแปลก....

เอาขึ้นมาจากผิวพื้นดิน ไต้พื้นโลก ก็สุดแท้ ได้มาแล้วเอามาบดให้เล็กระดับ "เม็ทซ์" เหมือนบดยิบซั่ม ถือเป็นใช้ได้

ที่ว่า "ห้าร้อยชื่อ-พันชื่อ" นั้น ลุงคิมพูดแบบประชดประชัน ที่รู้จริงๆแค่ 3-4-5 ชื่อเท่านั้น อันนี้จากผู้จำหน่ายคนเดียวกัน ยังไม่นับรวมของผู้จำหน่ายรายอื่น บริษัทอื่นอีก ที่มีชื่ออื่นอีก แล้วที่รู้ว่าเป็นหินภูเขาไฟก็เพราะคนขายมันบอกเองว่าเป็นหินภูเขาไฟ พร้อมกับยอ้างสารพัดสรรพคุณราวกับของวิเศษ เป็นทั้งปุ๋ย ทั้งฮอร์โมน ทั้งยากำจัดศัตรูพืช .....อะไรจะปานนั้น ว่ามั้ย

ไม่สามารถระบุชื่อทางการค้าได้ เจ้าของเขาจะได้ฟ้องข้อหาหมิ่นประมาทเอาน่ะซี อันนี้ช่วยตัวเองนะ.....

วัตถุประสงค์ของการพูดประชดประชันก็เพื่อให้ "ผู้รับสื่อ" จากลุงคิม (หนังสือ-วิทยุ-เน็ต) ได้รู้เท่าทันเล่เหลี่ยมพ่อค้า แล้วมาสนใจซิลิก้าธรรมชาติ โดยเฉพาะชาวนา ถ้าคุณไถกลบฟางลงดิน นอกจากคุณจะได้ซิลิก้า แถมพ่วงธาตุอาหารพืชตัวอื่นๆแล้ว ยังไม่ต้องเสียเงินจ่ายอีกด้วย

ชื่อพวกนี้เป็นชื่อการค้า หรือยี่ห้อ (BRAND) เพราะฉนั้นใครจะตั้งชื่อว่าอะไรก็ได้ ขอให้ขายได้เป็นใช้ได้

ดูซิ ฟิลิปปินส์ อินโดเนเซีย แม้แต่ฮาวาย ดินแดนภูเขาไฟดับแล้วทั้งนั้น ในดินย่อมมีธาตุซิลิก้ามากมายมหาศาล แล้วผลผลิตทางเกษตรของประเทศเหล่านี้ ดีเลิศเหนือประเทศที่ไม่มีภูเขาไฟไหม.....ภูเขาพนมรุ้ง คือ ภูเขาไฟที่ดับมาแล้ว นานนับล้านปี ผลผลิตที่นั่นก็ไม่เห็นจะดีกว่าที่อื่นเลย

ในหินภูเขาไฟมีธาตุซิลิก้า ใช้ในอุตสาหกรรมหรือเกษตรกรรม ต่างที่ "รูป" ทางเคมี

ในด้านการเกษตร ซิลิก้า.มีในพืชตระกูลหญ้า ไผ่ก็พืชตระกูลหญ้า ข้าวก็พืชตระกูลหญ้า เพราะฉนั้น หากต้องการธาตุซิลิก้าสำหรับพืชก็ให้เอาพืชตระกูลหญ้ามาเข้าสู่กระบวนการหมัก โดยจุลินทรีย์จะทำหน้าที่ดึง (ENZIME) เอาธาตุตัวนี้ออกมาให้

งานวิจัยจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุ ฟางข้าว 1 ไร่ ที่ได้ข้าว 100 ถัง ในฟางมีซิลิก้า 69 กก. ตัวเลขนี้อาจจะดูเวอร์ไปหน่อย หากมองโลกในแง่ดี อาจจะมีเพียง 6.9 กก. ก็ได้

สารอาหารที่พืชต้องการ จัดลำดับความต้องการ มาก/น้อย ดังนี้ N - P - K - Ca - Mg - S - Fe - Cu - Zn - Mn - Mo - B - Si - Na - Cl นั่นคือ ธาตุซิลิก้า มีความจำเป็นต้องใช้ "น้อยมากๆ" จึงไม่น่าต้องเสียเงินซื้อ

พืชเมืองร้อนอย่างประเทศไทยที่มีความต้องการธาตุซิลิก้ามากที่สุด เมื่อเทียบปริมาณกับพืชอื่น คือ "อ้อย" การที่ชาวไร่อ้อยเผาใบอ้อยทิ้ง จึงเท่ากับเผาธาตุซิลิก้าทิ้งแล้ว ใช่หรือไม่


ลุงคิมไม่ใช่นักวิชาการ ไม่เคยเรียนวิชาการเกษตรใดๆทั้งสิ้น แม้แต่ในหลักสูตร ร.ร.สามัญ มีวุฒิการศึกษาแค่ ม.6 สมัยเก่า เทียบเท่า ม.3 ปัจจุบัน เท่านั้น ลุงคิมเรียน ร.ร.ทหาร ซึ่งไม่มีวิชาเกษตร เพราะฉนั้น โปรดกรุณาอย่าเอาข้อมูลจากลุงคิมไปอ้างอิงใดๆ เลย คนอื่นเขาจะหัวเราะเยาะเอาน่ะ


เห็นบอกว่าจะทำ "วิจัย" .....งั้นขอถามหน่อย ตามประสาคนไม่เคยทำวิจัยว่า ทำเสร็จแล้ว มีแผนการเผยแพร่สู่สาธารณะชน อย่างไร หรือไม่ เพราะเท่าที่รู้ๆ มา งานวิจัยไม่น้อยที่เสร็จเรียบร้อยแล้ว คนทำได้รับเงินแล้ว ได้รับ ซี. แล้ว มักเก็บงานวิจัยนั้นไว้บนหิ้ง........ขออภัยล่วงหน้า ถ้าผืดมารยาท หรือละลาบละล้วง


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
altan
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 27/05/2013
ตอบ: 7

ตอบตอบ: 01/06/2013 9:03 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ขอบคุณมากครับสำหรับความรู้ครับลุงคิม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
altan
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 27/05/2013
ตอบ: 7

ตอบตอบ: 01/06/2013 9:04 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

Very Happy
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
mm
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 06/09/2015
ตอบ: 1

ตอบตอบ: 06/09/2015 9:05 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
ซื้อดินซิลิคอลที่ว่านี้ได้ที่ไหนครับ เอาใกล้ๆๆกับพิจิตรนะครับ บอกหน่อยครับ
กำลังทำโครงการบ่อปลา เจอปัญหาอยู่ครับ....

.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©