-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ถาม-ตอบ ปัญหารายการวิทยุ 23 JUN *แม็กเนเซียม-สังกะสี....ต่อพืช
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบ ปัญหารายการวิทยุ 23 JUN *แม็กเนเซียม-สังกะสี....ต่อพืช
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบ ปัญหารายการวิทยุ 23 JUN *แม็กเนเซียม-สังกะสี....ต่อพืช

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11559

ตอบตอบ: 23/06/2015 11:15 am    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหารายการวิทยุ 23 JUN *แม็กเนเซียม-สังกะสี....ต่อพ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางรายการวิทยุ 23 JUN

AM 594 เวลา 06.30-07.00 (ทุกวัน) และ 08.10-09.00 (จันทร์-ศุกร์)

********************************************************************

สวัสดีครับ ท่านผู้ฟังที่เคารพ
กองทัพบกเพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตร และอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดยกองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก

@@ สนับสนุนรายการโดย ...
... บ.นิมุติ เอ็นจิเนียริ่ง เครื่องย่อยเศษพืช (02) 322-9175-6
... ยิบซั่มธรรมชาติ เฟอร์มิกซ์, ธันเดอร์พลัส, ธาตุรอง/ธาตุเสริม มัลติแชมป์ (089) 144-1112
... และ บ.มายซัคเซส อะโกร--- ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, กาวเหนียวดักแมลง มายฟิกส์,
กลิ่นล่อแมลงวันทอง ฟลายแอต, สารเสริมฤทธิ์สารสมุนไพร ไบโอเจ๊ต, ถังฉีดพ่นรุ่นใหม่ ใช้แบตเตอรี่ (081) 910-5034

กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการครับ
เช่นเคยครับ รายการเรา 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม ที่ (081) 913-4986

----------------------------------------------------------------------------------------------

ตัวแทนจำหน่าย ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง, ไบโออิ, ไทเป, ยูเรก้า. (อินทรีย์ – เคมี)

1) ชมรม (ใหญ่) สีสันชีวิตไทย (089) 814-3204 ใกล้ไฟแดง สี่แยกบางแพ ราชบุรี
2) “คุณชาตรี” (081) 841-9874 ทรัพย์ทวีการเกษตร ชัฎป่าหวาย สวนผึ้ง ราชบุรี (ส่งทาง ปณ.)

3) ร.ต.ต.นันท์สุรัตน์ (089) 821-8273 ต.จรเข้เผือก ด่านมะขามเตี้ย กาญจนบุรี (ส่งทาง ปณ.)
4) “คุณล่า” (081) 944-8494 ทุกวันจันทร์ ตลาดนัดวัดอมรญาติ ดำเนินสดวก ราชบุรี

5) “คุณประเสริฐ” (080) 110-4645 บ.เขาดิน หนองแขม เดิมบางนางบวช สุพรรณบุรี
6) “คุณอรุณ” (085) 058-1737 ในร้านโครงการหลวง ตลาด อตก.

7) “คุณพรพรรณ” (089) 814-7944 พลชัยเกษตรชีวภาพ ตลาดนัดธนบุรี ถ.เลียบคลองทวีวัฒนา
8 ) “คุณน้ำส้ม” (085) 055-7706 ชมรมฯ สาขาศาลายา หน้า ม.มหิดล พุทธมณฑลสาย 4 (ส่งทาง ปณ.)

---------------------------------------------------------------------------------------------------------

@@ สารอาหาร (ปุ๋ย) เพื่อการสื่อสาร :

** ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง : ส่วนผสมหลัก .... อินทรีย์/เคมี (กุ้งหอยปูปลาทะเล, เลือด,
ไขกระดูก, นม, ขี้ค้างคาว, น้ำมะพร้าว, ธาตุหลักตามพืช, แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม

** ไบโออิ : ส่วนผสมหลัก .... เคมี (แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม)
** ยูเรก้า : ส่วนผสมหลัก .... เคมี (21-7-14, ไคโตซาน, อะมิโนโปรตีน)
** ไทเป : ส่วนผสมหลัก ..... อินทรีย์/เคมี (นม, ไข่, น้ำมะพร้าว, 13-0-46. 0-52-34)


มิได้มีเจตนาโฆษณาผลิตภัณฑ์ แต่ใช้ชื่อผลิตภัณฑ์เพื่อง่ายต่อการสื่อสารข้อมูล เท่านั้น
.... ต้นพืชไม่รู้จักยี่ห้อ ไม่รู้จักเจ้าของสูตร .....
...... ไม่รู้เจ้าของคนปลูก ไม่ฟังโฆษณา .......
...... ต้นพืชรู้จักแต่ส่วนผสมหรือเนื้อใน .......

-----------------------------------------------------------



จาก : (089) 117-35xx
ข้อความ : ลุงคิมคะ หนูสังเกตปุ๋ยลุงคิม คือ ไบโออิ ยูเรก้า ไทเป ระเบิดเถิดเทิง ทุกตัวมี แม็กเนเซียม สังกะสี เหมือนกันทุกสูตร แสดงว่า ธาตุอาหารพวกนี้สำคัญมาก อยากถามลุงคิมว่า แต่ละตัวมีความสำคัญกับพืชอย่างไร....ขอบคุณค่ะ ชาวสวนบ่อพลอย
ตอบ :
- ปุ๋ย คือ อาหารของพืช มี 3กลุ่ม 13ตัว จำแนกได้ดังนี้ กลุ่มธาตุหลัก (เปรียบกับอา หารคน คือ ข้าว มี 3ตัว ได้แก่ N K P), กลุ่มธาตุรอง (เปรียบกับอาหารคน คือ กับข้าว มี 3ตัว ได้แก่ Ca Mg S), กลุ่มธาตุเสริม (เปรียบกับอาหารคน คือ ของหวาน มี 7ตัว ได้แก่ Fe Cu Zn Mn Mo B Si Na) นอกจากนี้ยังมี “ฮอร์โมน” ซึ่งพืชต้องการเช่นกัน ได้แก่ จิ๊บเบอเรลลิน. ไคโตซาน. พาโคลบิวทางโซล, เอ็นเอเอ. ฯลฯ เป็นต้น

- ปุ๋ยอินทรีย์ ได้มาจาก พืช สัตว์ สิ่งเกี่ยวเนื่องจากพืชและสัตว์ มีเปอร์เซ็นต์สารอา หารน้อย อาจจะพอเพียงสำหรับพืชบางชนิด แต่อาจจะไม่พอเพียงต่อพืชบางชนิด ทั้งนี้ ชนิดและปริมาณสารอาหาร มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับ วัสดุส่วนผสม กรรมวิธีทำ

- ปุ๋ยเคมี ได้มาจากโรงงาน ได้มาจาก น้ำมันปิโตเลียม แร่ธาตุในดิน มีเปอร์เซ็นต์สาร อาหารมาก อาจจะมากเกินสำหรับพืชบางชนิด แต่มากพอต่อพืชบางชนิด โดยชนิดและปริ มาณสารอาหาร ขึ้นอยู่กับวิธีทำ

- ทั้งปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมี ต่างมี ข้อดี/ข้อด้อย ของตัวเอง เพราะฉะนั้น ผู้ใช้ต้องรู้และเข้าใจวิธีการใช้ เลือกใช้ข้อดี กำจัดข้อเสีย .... วิธีการใช้ที่ดีที่สุด คือ “ใช้ร่วมกัน” แบบ อินทรีย์นำ-เคมีเสริม หรือ เคมีนำ-อินทรีย์เสริม แล้วต่อด้วย “ตามความเหมาะสม” สำหรับพืชนั้นๆ .... ตามความเหมาะสมสำหรับพืช ที่ต้องพิจารณา คือ “ดิน-น้ำ-แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล-สารอาหาร-สายพันธุ์-โรค” นั่นเอง

หน้าที่สำคัญของธาตุสังกะสีในพืช :

- ช่วยให้พืชแตกใบอ่อนได้ดีขึ้น
- เสริมสร้างเมล็ด
- เสริมสร้างฮอร์โมนต่างๆ ในพืช
- เสริมสร้างการสุกการแก่ของผลไม้
- เสริมสร้างความสูงและการยืดของต้น
- ช่วยในการสังเคราะห์โปรตีน
- ช่วยเสริมสร้างให้พืชมีความต้านทานต่อโรคพืชต่าง ๆ
- มีส่วนสำคัญในระบบของเอนไซม์ที่จะไปกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืช
- มีส่วนสำคัญในการเสริมสร้างสารคลอโรฟีลล์ (สีเขียว) ของพืช
- มีส่วนสำคัญในการเคลื่อนย้ายพวกคาร์โบไฮเดรต และกระตุ้นการใช้น้ำตาลในพืช
- ทำหน้าที่เสมือนตัวต่อต้านความหนาวเย็น หรือทำหน้าที่เสมือนเป็นผ้าห่มให้แก่ต้นพืช เมื่อมีอากาศหนาวเย็น
- ช่วยให้พืชไม่ชะงักการเจริญเติบโตเมื่อมีอากาศหนาวเย็น

การแสดงอาการของพืชที่ขาดธาตุสังกะสี :

- แสดงอาการเหลืองระหว่างเส้นใบ
- เส้นกลางของใบอ่อนจะแตกเป็นเส้นย่อย ๆ
- เกิดจุดสีน้ำตาลที่ใบแก่ ต่อมาจุดสีน้ำตาลจะขยายตัวติดต่อกัน ทำให้ใบเป็นสีน้ำตาล
- พืชจะมีการเจริญเติบโตช้า หรือเติบโตไม่ดีเท่าที่ควร
- ในพืชต้นเล็ก ถ้าขาดอย่างรุนแรงจะทำให้พืชตายได้
- ทำให้การสุกแก่ของผลไม้ช้ากว่าปกติ
- ทำให้ผลผลิตต่ำ

สภาพแวดล้อมที่พืชขาดธาตุสังกะสี :

- ในดินที่มีความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) 4.0-5.0 และ 7.0 ขึ้นไป
- ในดินที่มีธาตุสังกะสีที่เป็นประโยชน์ต่ำหรือมีปริมาณน้อย
- ในดินที่มีธาตุฟอสฟอรัสมาก
- ในดินที่มีธาตุไนโตรเจนมาก
- ในดินที่ถูกน้ำกัดเซาะมาก รวมทั้งดินที่มีการซึมลึกของน้ำมาก
- ในช่วงที่มีอากาศหนาวเย็น ดินเย็น หรือมีอุณหภูมิต่ำ
- ในดินที่มีการไถลึก 6 นิ้ว
- ในดินที่ใส่ปูนมากเกินไป
- ในดินที่สูญเสียธาตุสังกะสีมากหลังจากเก็บเกี่ยวพืชผลแล้ว

- ช่วยในการสังเคราะห์ฮอร์โมนออกซิน คลอโรฟิลล์ และแป้ง ถ้าขาดธาตุนี้ใบอ่อนจะมีสีเหลืองซีดและปรากฏสีขาวๆ ประปรายตามแผ่นใบ โดยเส้นใบยังเขียว รากสั้นไม่เจริญตามปกติ

- สังกะสีมีบทบาท และหน้าที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับฮอร์โมนพืช พืชที่ขาดสังกะสีจะทำให้ปริมาณฮอร์โมน ไอเอเอ (IAA) ที่ตายอดลดลง ทำให้ตายอด ข้อ และปล้องไม่ขยาย ใบออกซ้อนกัน นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับน้ำย่อยหลายชนิด การสร้างสารอาหาร และสังเคราะห์แสง สังกะสีมีผลทางอ้อมในการสร้างส่วนสีเขียว

ธาตุสังกะสี (Zn) มีความสำคัญต่อการสร้างฮอร์โมนและเอนไซม์ต่าง ๆ ในพืช ช่วยการดูดใช้ธาตุอาหารอื่น เช่น ธาตุฟอสฟอรัสมีความสัมพันธ์กับธาตุสังกะสีในการดูดซึม ธาตุอาหารในพืช เป็นต้น

ความสำคัญของธาตุแมกนีเซียม :

1. เป็นองค์ประกอบของคลอโรฟีลล์ ส่วนสีเขียวในใบพืช
2. ช่วยในการเคลื่อนย้ายอาหารในพืชและเป็นตัวนำพาฟอสฟอรัสในการดูดซึมจาก รากไปยังส่วนต่าง ๆ ของพืช
3. เป็นตัวเร่ง และเป็นส่วนประกอบของเอนไซม์ของพืชหลายชนิด
4. เคลื่อนย้ายได้ดีในพืช
5. มีบทบาทที่สำคัญในการ สังเคราะห์แสง
6. เพิ่มการใช้ธาตุเหล็กในพืช
7. มีอิทธิพลเกี่ยวกับให้ความสม่ำเสมอของการสุก การแก่ที่เร็วขึ้นอย่างสม่ำเสมอของผลไม้

8. เป็นองค์ประกอบสำคัญของคลอโรฟิลล์ ช่วยสังเคราะห์กรดอะมิโน วิตามิน ไขมัน และน้ำตาล ทำให้สภาพกรดด่างในเซลล์พอเหมาะและช่วยในการงอกของเมล็ด ถ้าขาดธาตุนี้ใบแก่จะเหลือง ยกเว้นเส้นใบ และใบจะร่วงหล่นเร็ว

สีเขียวสดใสของพืชที่สวยสดงดงามที่เราเห็นอยู่ทุกวันนี้ เราจะต้องเป็นหนี้บุญคุณธาตุแมกนีเซียมเป็นอย่างมาก เพราะว่าแมกนีเซียมเป็นธาตุหลัก ซึ่งเป็นองค์ประกอบของจุดสีเขียวในใบพืช จุดสีเขียวเหล่านี้จะเป็นผู้ประสานงานในต้นพืช ก่อให้เกิดการผลิตอาหารและเส้นใย จนเกิดประโยชน์กับชีวิตของมนุษย์

นอกจากนี้ แมกนีเซียมยังมีบทบาทเกี่ยวกับปฏิกิริยาของเอนไซม์หลายชนิดที่เกี่ยวข้องในการดำรงชีวิตของพืช และมีส่วนเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับพลังงานในการใช้สารประกอบฟอสฟอรัส

พืชจะดูดแมกนีเซียมขึ้นไปใช้ในต้นพืชหลังจากที่พืชงอกมาแล้ว 5-6 สัปดาห์ แมกนีเซียมจะช่วยเพิ่มให้พืชมีความสามารถในการทนทานต่อสภาพอากาศที่ไม่เหมาะสมและโรคพืชได้

พวกพืชที่ให้น้ำตาล เช่น พืชไม้ผลทุกชนิด ข้าวโพด มันฝรั่ง เป็นต้น พืชพวกนี้ต้องการแมกนีเซียมมากกว่าพืชให้เมล็ด เช่น ข้าว ข้าวสาลี เป็นต้น

ปัญหาต่าง ๆ ที่พืชขาดแมกนีเซียม :

1. มีแมกนีเซียมในดินต่ำ
2. ในดินมีแคลเซียม โซเดียม หรือโพแทสเซียมสูง
3. ในดินมีพวกเกลือแร่สูง
4. อากาศเย็น
5. พืชดูดไนโตรเจนไปใช้อย่างรวดเร็ว

การให้แมกนีเซียมแก่พืชอย่างเพียงพอ ไม่เพียงแต่จะทำให้แมกนีเซียมอยู่ในระดับที่สมบูรณ์เท่านั้น แต่ยังจะทำให้เกิดสมดุลของอัตราส่วนระหว่างแคลเซียมและแมกนีเซียมอีกด้วย

ธาตุโพแทสเซียมก็เป็นธาตุอาหารหนึ่งที่ทำให้แมกนีเซียมขาดได้ โดยที่มันจะไปเป็นตัวรบกวนการดูดซับแมกนีเซียมที่บริเวณผิวของรากขนของพืช

ขณะที่แมกนีเซียมเป็นสารละลายอยู่ในดินพืชจะดูดเข้าทางราก โดยซึมผ่านเข้าทางผนังเซลล์ หรือโดยการแลกเปลี่ยน อิออน (ions) กัน ก็จะมีการแข่งขันการเข้าสู่ต้นพืชเกิดขึ้นจากธาตุไนโตรเจน แคลเซียม และโดยเฉพาะตัวโพแทสเซียมเองจะรบกวนการดูดซับของแมกนี เซียม

ดังนั้นขณะที่พืชดูดใช้ไนโตรเจนอย่างรวดเร็ว จะทำให้เกิดความไม่สมดุลระหว่างไนโตรเจนกับแคลเซียม แมกนีเซียมและเกลือแร่อื่น ๆ โดยเฉพาะถ้าเกิดในทุ่งหญ้าอาหารเลี้ยงสัตว์ จะทำให้เกิดไนโตรเจนเป็นพิษกับสัตว์ หรือที่เรียกว่า โรคกร๊าสเทตานี่หรือโรคกระแตเวียน (Grass Tetany)

การขาดแมกนีเซียมในพืชตระกูลถั่ว จะทำให้เกิดการกีดกันการตรึงไนโตรเจนในปมถั่ว ถ้าระยะที่ต้นถั่วมีการดูดไนโตรเจนอย่างรวดเร็ว จะทำให้แมกนีเซียมขาดได้ง่าย

อากาศหนาวเย็นพืชจะดูดแมกนีเซียมน้อยลง ดินที่มีเกลือโซเดียม (โซเดียม คือ เกลือทะเล....น้ำทะเลหนุน) จะทำให้ธาตุแมกนีเซียมเกิดประโยชน์ต่อพืชได้น้อย

พืชไม้ผล หรือไม้ยืนต้น ต้องการแมกนีเซียมมากที่สุดเมื่อเริ่มแตกใบอ่อน และต้องการในปริมาณค่อนข้างสูง

https://teamkaset.wordpress.com

-------------------------------------------------------------------




.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©