-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ถาม-ตอบ ปัญหารายการวิทยุ 11 JUN *สารสมุนไพร ฤทธิ์แรงเท่ายาน็อค
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบ ปัญหารายการวิทยุ 12 JUN *เวียดนามคู่แข่งข้าวไทย, วังน้อย อย. ปลูกปาล์มน้ำมัน
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบ ปัญหารายการวิทยุ 12 JUN *เวียดนามคู่แข่งข้าวไทย, วังน้อย อย. ปลูกปาล์มน้ำมัน

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11563

ตอบตอบ: 12/06/2015 7:13 am    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหารายการวิทยุ 12 JUN *เวียดนามคู่แข่งข้าวไทย, วัง ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางรายการวิทยุ 12 JUN

AM 594 เวลา 06.30-07.00 (ทุกวัน) 08.10-09.00 (จันทร์-ศุกร์) และ
********************************************************************

สวัสดีครับ ท่านผู้ฟังที่เคารพ
กองทัพบกเพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตร และอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดยกองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก

@@ สนับสนุนรายการโดย ...
... บ.นิมุติ เอ็นจิเนียริ่ง เครื่องย่อยเศษพืช (02) 322-9175-6
... ยิบซั่มธรรมชาติ เฟอร์มิกซ์, ธันเดอร์พลัส, ธาตุรอง/ธาตุเสริม มัลติแชมป์ (089) 144-1112
... และ บ.มายซัคเซส อะโกร--- ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, กาวเหนียวดักแมลง มายฟิกส์,
กลิ่นล่อแมลงวันทอง ฟลายแอต, สารเสริมฤทธิ์สารสมุนไพร ไบโอเจ๊ต, ถังฉีดพ่นรุ่นใหม่ ใช้แบตเตอรี่ (081) 910-5034

กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการครับ
เช่นเคยครับ รายการเรา 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม ที่ (081) 913-4986

----------------------------------------------------------------------------------------------

ตัวแทนจำหน่าย ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง, ไบโออิ, ไทเป, ยูเรก้า. (อินทรีย์ – เคมี)

1) ชมรม (ใหญ่) สีสันชีวิตไทย (089) 814-3204 ใกล้ไฟแดง สี่แยกบางแพ ราชบุรี
2) “คุณชาตรี” (081) 841-9874 ทรัพย์ทวีการเกษตร ชัฎป่าหวาย สวนผึ้ง ราชบุรี (ส่งทาง ปณ.)

3) ร.ต.ต.นันท์สุรัตน์ (089) 821-8273 ต.จรเข้เผือก ด่านมะขามเตี้ย กาญจนบุรี (ส่งทาง ปณ.)
4) “คุณล่า” (081) 944-8494 ทุกวันจันทร์ ตลาดนัดวัดอมรญาติ ดำเนินสดวก ราชบุรี

5) “คุณประเสริฐ” (080) 110-4645 บ.เขาดิน หนองแขม เดิมบางนางบวช สุพรรณบุรี
6) “คุณอรุณ” (085) 058-1737 ในร้านโครงการหลวง ตลาด อตก.

7) “คุณพรพรรณ” (089) 814-7944 พลชัยเกษตรชีวภาพ ตลาดนัดธนบุรี ถ.เลียบคลองทวีวัฒนา
8 ) “คุณน้ำส้ม” (085) 055-7706 ชมรมฯ สาขาศาลายา หน้า ม.มหิดล พุทธมณฑลสาย 4 (ส่งทาง ปณ.)

---------------------------------------------------------------------------------------------------------

@@ สารอาหาร (ปุ๋ย) เพื่อการสื่อสาร :

** ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง : ส่วนผสมหลัก .... อินทรีย์/เคมี (กุ้งหอยปูปลาทะเล, เลือด,
ไขกระดูก, นม, ขี้ค้างคาว, น้ำมะพร้าว, ธาตุหลักตามพืช, แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม

** ไบโออิ : ส่วนผสมหลัก .... เคมี (แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม)
** ยูเรก้า : ส่วนผสมหลัก .... เคมี (21-7-14, ไคโตซาน, อะมิโนโปรตีน)
** ไทเป : ส่วนผสมหลัก ..... อินทรีย์/เคมี (นม, ไข่, น้ำมะพร้าว, 13-0-46. 0-52-34)


มิได้มีเจตนาโฆษณาผลิตภัณฑ์ แต่ใช้ชื่อผลิตภัณฑ์เพื่อง่ายต่อการสื่อสารข้อมูล เท่านั้น
.... ต้นพืชไม่รู้จักยี่ห้อ ไม่รู้จักเจ้าของสูตร .....
...... ไม่รู้เจ้าของคนปลูก ไม่ฟังโฆษณา .......
...... ต้นพืชรู้จักแต่ส่วนผสมหรือเนื้อใน .......

-----------------------------------------------------------



@@ เกษตรานุสติ (1) :
รู้เขา รู้เรา ........... รบ 100 ครั้ง ......... ชนะ 101 ครั้ง
ไม่รู้เขา ไม่รู้เรา ...... รบ 100 ครั้ง ......... แพ้ 101 ครั้ง
แพ้/ชนะ 1 ครั้ง คือ ลูกหลาน ................ แพ้/ชนะด้วย ฯ


เวียดนาม...คู่แข่งข้าว...กับไทย

ทำไม .... ใครก็กลัวว่า เวียดนามจะมาแย่งชิงความเป็นที่ 1 ของตลาดส่งออกข้าวจากไทย ทั้งๆที่ศักยภาพ และสภาพดินฟ้าอากาศของไทย ได้เปรียบเวียดนามมากกว่า ลองเปรียบเทียบกันดูก็ได้

1. ในรอบ 1 ปี เวียดนามจะต้องเจอกับพายุถล่ม 10 ลูกเป็นประจำ และบางปีอาจเจอมากกว่านั้น ในขณะที่ไทยเจอพายุถล่มต่อปี ไม่เกิน 4 ครั้ง เคยมีผู้บันทึกสถิติการทำนาข้าวของเวียดนามไว้ว่า ได้ 2 ปีจะเสีย 1 ปีเสมอ เพราะภัยธรรมชาติ

2. เวียดนามยังใช้ควายไถนาและใช้คนเกี่ยวข้าว ในขณะที่ไทยใช้ควายเหล็ก ใช้รถดำ และใช้รถเกี่ยวข้าว

นโยบายรัฐ (แบบสังคมนิยม) และประชาชนของเขาต่างจากเรา ดังนี้ :
การควบคุมพื้นที่ปลูกข้าว :
เวียดนามจะแบ่งโซนการปลูกพืช และจัดสรรที่ทำกินให้ประชาชนไว้เท่าๆ กันอย่างยุติธรรม คือ ใน 1 ครอบครัวจะได้เช่าที่นาของรัฐ 30 ไร่ สัญญาเช่า 50 ปี (ไม่ต้องกลัวว่าราคาค่าเช่าจะแพง) โดยไม่สามารถปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่นได้ และต้องทำนาตลอดทุกปี ห้ามทิ้งร้างที่นาของตน ในกรณีที่จำเป็นไม่สามารถทำนาได้ก็สามารถให้คนอื่นมาเช่าที่ทำนาแทนตนเองได้ ซึ่งนโยบายนี้เองที่ทำให้เวียดนามสามารถคุมพื้นที่และผลผลิตไว้ได้ค่อนข้างคงที่ ต่างจากไทยที่ทุกคนมีอิสระในการจัดการที่ดินของตน เอง จึงไม่สามารถควบคุมพื้นที่ปลูกข้าวได้อย่างแน่นอน

ทุนที่เท่าเทียมกัน :
ในโซนพื้นที่นา รัฐจะจัดสรรตามสภาพความอุดมสมบูรณ์ของดิน เช่น ในโซนหมู่บ้านนี้มีสภาพดินดีสมบูรณ์ 70% ดินไม่ดี 30% รัฐก็จะจัดสรรที่ดินให้ทุกครอบครัวในสัดส่วนดินดี 70% ดินไม่ดี 30% ซึ่งเป็นการจัดการให้ทุกคนมีทุนที่เท่ากัน ไม่ทำให้เกิดปัญหาความแตกแยกในกลุ่มชน

คนเวียดนาม เป็นคนขยัน อดทน นักต่อสู้ และมัธยัสถ์ :
เพราะประเทศเขาเคยผ่านสงครามมานานหลายสิบปี เมื่อประเทศพ้นภัยจากสงครามเขาก็เริ่มพัฒนาประเทศกันอย่างจริงจัง ต่างกับคนไทย ที่คุ้นเคยกับความสบาย ไม่ต้องผจญชะตากรรมเหมือนเวียดนาม จึงทำให้เราอยู่กันอย่างสบายๆ แบบนี้ ....

เรื่องความขยันของคนเวียดนาม เคยมีผู้เปรียบเทียบไว้ว่า ...
1 ไทยไม่เท่า 1 จีน ....
1 จีนไม่เท่า 1 ญวน ....
1 ญวนไม่เท่า 1 ยิว ....

การอยู่กับธรรมชาติ มากกว่าเครื่องจักรกลของเวียดนาม : ก็ทำให้ต้นทุนในการผลิตน้อยกว่าไทย เพราะไม่ต้องซื้อหรือเช่ารถไถนา ไม่ต้องจ้างรถเกี่ยวข้าว ไม่ต้องซื้อหาสารเคมีมาใช้ อาศัยเพียงความขยัน อดทน ก็ทำให้ต้นทุนการผลิตน้อย รวมทั้งสภาพแวดล้อมก็คงดีดั่งเดิม

เมื่อเห็นเวียดนามแล้วก็หันกลับมาดูไทย รู้แล้วใช่ไหมว่าทำไม ใครๆ ถึงกลัวเวียดนามมาชิงแชมป์ตลาดข้าวส่งออกจากไทย แต่มาคิดดูในมุมกลับ ไม่ต้องไปตกใจกับการต้องเสียแชมป์ส่งออกข้าวของไทยหรอก เพราะขนาดเรายังครองแชมป์ได้ขนาดนี้ ชาวนาไทยก็ยังเป็นประชากรกลุ่มใหญ่ที่ยากจน และมีแนวโน้มว่าจะจนลงไปอีกเรื่อยๆ (มีแต่เจ้าของโรงสี กับพ่อค้าที่รวยขึ้น) ลองกลับมาวิเคราะห์ใหม่ว่า เราควรจะส่งเสริมเกษตรกรไปทิศทางใด ให้เกษตรกรเราลืมตาอ้าปากได้ อยู่อย่างมีความสุข มากกว่าการคิดจะรักษาแชมป์ส่งออกข้าวดีกว่านะ

https://www.gotoknow.org/posts/221222

----------------------------------------------------------------------


จาก : (092) 810-43xx
ข้อความ : อยู่วังน้อย ที่ 20 ไร่ เป็นสวนส้มเก่า ยกร่องน้ำหล่อ มีน้ำตลอดปี สนใจปลูกปาล์มน้ำมันที่นายกส่งเสริม ผมขอข้อมูลเรื่องปาล์มน้ำมันด้วยครับ ....ขอบคุณครับ
ตอบ :
พื้นที่ อ.วังน้อย อยุธยา กับ อ.หนองเสือ ปทุมธานี คงไม่ต่างกันนักในแง่ของโซนภูมิศาสตร์ กอร์ปกับ สวนส้มเขียวหวานเก่าเป็นสวนยกร่องน้ำหล่อ น้ำในร่องที่ระเหยออกมาช่วยสร้างความชื้นในอากาศ ซึ่งตรงกับนิสัยธรรม ชาติของปาล์มน้ำมันเป็นอย่างดี

เรื่องดินไม่มีปัญหา ที่ว่าดินไม่ดีดินไม่ดีสำหรับส้มนั้น สำหรับปาล์มน้ำมันไม่มีปัญหา เขาอยู่ได้ เอาแค่ปรับปรุงนิดหน่อย ใส่ยิบซั่ม เฟอร์มิกซ์, ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, กระ ดูกป่น, ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ ซักปีละ 2 ครั้ง .... ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 2 ล. /ไร่ /เดือน ให้น้ำสม่ำเสมอพอหน้าดินชื้น แล้วทุกอย่างจะดีเอง

น่าจะรวมกลุ่มกันเป็นแปลงใหญ่ๆ ขนาดหลายๆหมื่นไร่ ถ้ามีผลผลิตปาล์มมาก โรงงานผลิตน้ำมันปาล์มจะเกิดขึ้นมาเอง น้ำมันปาล์มไม่ใช่เป็นอาหารอย่างเดียว อนาคตจะต้องเป็นพืชพลังงานด้วย กรณีนี้ถ้าเกษตรกรรวมกลุ่มได้แล้ว ราชการทุกระดับที่เกี่ยวข้องกับปาล์มน้ำมันจะลงมาสนับสนุน

ปาล์มน้ำมันปลูกในสวนส้มร้าง (สวนยกร่องน้ำหล่อ) ที่ อ.หนองเสือ ปทุมธานี ปัจจุ บันให้ผลผลิตแล้วอยู่ที่ 4.5-4.8 ตัน /ไร่ /ปี ถือว่าให้ผลผลิตค่อนข้างดี เปอร์เซ็นต์น้ำมัน 21-23% เก็บเกี่ยวได้ตลอดทุก 20 วัน ตลอดปี

ปาล์มน้ำมันในพื้นที่ของภาคใต้ และภาคตะวันออก ให้ผลผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ไร่ละ 2.8 ตันต่อปี เปอร์เซ็นต์น้ำมันเพียง 16-17% เท่านั้น

รอบรู้เรื่องปาล์มน้ำมัน :

- ปาล์มภาคใต้ดีได้ด้วย "ฝน 8 แดด 4" นั่นคือ ต้องมีน้ำให้สม่ำเสมอตลอดปี
- ความชื้นในพื้นที่สูง ถึงขนาดพืชตระกูลมอสส์หรือเฟิร์น ขึ้นตามลำต้นปาล์มได้
- ความชื้นต่ำหรือแล้ง ดอกที่ออกมาจะเป็นดอกตัวผู้มากกว่าตัวเมีย
- แหล่งน้ำธรรมชาติที่มีน้ำพร้อมใช้งานได้ตลอดปี
- ปุ๋ยในระบบ "อินทรีย์ นำ - เคมี เสริม - ตามความเหมาะสมของปาล์มน้ำมัน"
- สร้างรายได้ช่วงที่ปาล์มยังไม่ให้ผลผลิต และให้ผลผลิตแล้ว
- สร้างความชุ่มชื้น และความสมบูรณ์แก่ดิน
- ระบบให้น้ำ (สปริงเกอร์เหนือทรงพุ่ม/โคนต้น, น้ำหยด, รถบันทุกน้ำ, สายยาง)
- เส้นทางเครื่องจักรเข้าทำงาน

- แรงงาน และการขนส่ง (ผลปาล์มน้ำมันเมื่อตัดแล้วจะต้องส่งเข้าสู่กระบวนการผลิตไม่ช้ากว่า 24 ชั่วโมง ถ้าช้ากว่านั้น จะมีผลเสียเกิดขึ้น คือ เกิดกรดที่ไม่พึงประสงค์ ทำ ให้คุณภาพน้ำมันปาล์มเสียไป)

- ความรู้เกี่ยวกับปาล์มน้ำมัน
- ข่าวสารด้านการตลาด
- ประสบการณ์ตรง
- โลกทัศน์
- วิสัยทัศน์
- ใจรัก

------------------------------------------------------

ขีดความสามารถของพันธุ์ปาล์มน้ำมันที่ปลูกในบ้านเราขณะนี้ เมื่อเทียบกับเพื่อนบ้านทั้งมาเลเซียและอินโดนีเซีย ยังห่างชั้นกันมาก เพราะผลผลิตเฉลี่ยของบ้านเราอยู่ที่ 2.5–3 ตันต่อไร่ต่อปี ในขณะที่เพื่อนบ้านทำได้ถึง 3.5 ตันต่อไร่ต่อปี

แม้ล่าสุด สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.) จะได้เปิดตัวปาล์มลูกผสมพันธุ์ใหม่ “ARDA” ที่ให้ผลผลิตทะลายปาล์มมากถึง 7 ตันต่อไร่ต่อปี มีเปอร์เซ็นต์น้ำมันเฉลี่ยอยู่ที่ 20-25% ไปแล้วก็ตาม แต่ก็ยังเป็นที่เคลือบแคลงว่า จะได้ผลดีจริงเหมือนที่คุยไว้แค่ไหน...ไม่ใช่โฆษณาขายพันธุ์หลอกต้มชาวบ้าน

เพื่อคลายความกังวล สวก. จึงพาคณะสื่อมวลชนไปดูต้นตอแหล่งผลิตและขยายพันธุ์ที่ผลิตและขยายพันธุ์ปาล์มพันธุ์ใหม่ ณ สวนปาล์มโกลด์เด้นเทเนอร่า ต.กระบี่ใหญ่ อ.เมือง จ.กระบี่ รศ.ดร.พีรเดช ทองอำไพ ผอ.สวก. อธิบายว่า ปาล์มลูกผสมพันธุ์ ARDA เริ่มมีการพัฒนาสายพันธุ์ตั้งแต่ ปี 2537

โดยนำปาล์มน้ำมันพันธุ์ “ฟิสิเทอร่า” จากแอฟริกาที่มีคุณสมบัติทนแล้ง กะลาเล็กมากและบางผลไม่มีกะลาเลย มาเป็นพันธุ์พ่อผสมกับปาล์มน้ำมันพันธุ์ “ดูร่า” ซึ่งเป็นพันธุ์ประจำของสวนปาล์มแห่งนี้ โดยใช้วิธีเขี่ยดอกเมื่อผสมกันจนติดผล จึงนำเมล็ดมาทดลองปลูกเพื่อทดสอบคุณสมบัติของพันธุ์ผสมที่ออกมา ซึ่งกว่าจะได้ผลเป็นที่น่าพอใจ ต้องรอเวลาในการทดสอบปลูกถึง 3 รุ่น จึงได้ออกมาเป็นปาล์มน้ำมันพันธุ์ “ARDA” ที่ให้ผลดก กะลาบาง ต้นเตี้ย และผลผลิตสูงถึงไร่ละ 7 ตัน

แต่คุณสมบัติที่โดดเด่นเป็นที่สุด นั่นคือ ผลการทดสอบ แม้จะเจอภาวะแห้งแล้งขาดน้ำนาน 2-3 เดือน ต้นปาล์มน้ำมันยังออกทะลายปาล์ม มีดอกตูมแหลมเขียวไม่เหี่ยวชัดเจน เป็น สัญญาณบอกให้รู้ว่า แม้จะเจอภัยแล้ง ปาล์มพันธุ์ใหม่นี้ยังทำให้สามารถสะสมเปอร์เซ็นต์น้ำมันได้ดี ผิดกับพันธุ์อื่นที่เจอภาวะเช่นนี้ นอกจากไม่ออกดอกยังหยุดสะสมน้ำมัน จึงทำให้เปอร์เซ็นต์น้ำมันต่ำ ได้สูงสุดแค่ 17% เท่านั้นเอง

เมื่อการทดลองและทดสอบที่ทำมาเป็นเวลาเกือบ 13 ปี ได้เป็นที่น่าพอใจ จากนั้นในปี 2550 ถึงจะมีการคัดเลือกต้นที่ให้ผลผลิตดีที่สุดมาเป็นต้นแม่ขยายพันธุ์ ด้วยการตัดยอดต้นมาเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ แต่ใช้เทคนิคพิเศษอันเป็นความลับเฉพาะ ตัดยอดต้นแม่โดยที่ต้นไม่ตาย ทำให้สามารถตัดยอดนำมาขยายพันธุ์ได้เรื่อยๆ และเพื่อความชัวร์ว่าพันธุ์นี้ดีจริง ปลูกในพื้น ที่อื่นไม่มีเพี้ยนกลายพันธุ์ จึงนำไปปลูกทดสอบทั่วไทย ทั้งในจังหวัดกระบี่, สุราษฎร์ธานี, หนองคาย, เชียงราย, ขอนแก่น โดยเฉพาะในพื้นที่แล้ง ปรากฏให้ผลผลิตคงเดิมเหมือนต้นแม่พันธุ์

เมื่อทุกสิ่งบ่งชี้ ปาล์มลูกผสมพันธุ์ใหม่ “ARDA” ไม่ว่าจะปลูกที่ไหนไม่กลายพันธุ์แน่ พันธุ์นิ่งสงบแล้ว นั่นแหละ สวก. ถึงได้กล้าตัดสินใจนำออกมาให้เกษตรกรไทยได้นำไปปลูกเพื่อสร้างผลผลิตแซงหน้าเพื่อนบ้าน.

เพ็ญพิชญา เตียว
http://www.thairath.co.th/content/414927

------------------------------------------


การเลือกพันธุ์ และต้นกล้าปาล์มน้ำมัน
1. ใช้พันธุ์ปาล์มน้ำมันลูกผสม “เทเนอรา” ซึ่งเป็นพันธุ์ลูกผสมที่ได้จากการผสมระหว่าง “แม่ดูรา” กับ “พ่อฟิสิเฟอรา” มาปลูกเพราะทำให้ได้ปริมาณผลผลิตทะลายสด และน้ำมันสูง ถ้าใช้ต้นกล้าจากแหล่งปลูกหรือแหล่งพันธุ์ที่ไม่ทราบที่มา หรือเก็บเมล็ดจากใต้ต้นมาเพาะ จะทำให้ผลผลิตต่ำหรือไม่ได้ผลผลิตเลย ซึ่งในปัจจุบันมีแหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์ลูกผสมเทเนอราที่เชื่อถือได้ทั้งในประเทศ และนำเข้าจากต่างประเทศ เช่น กรมวิชาการเกษตร และบริษัทเอกชน

2. อายุของต้นกล้าที่ใช้ปลูก ควรมีอายุ 10-18 เดือน และต้องผ่านการคัดต้นกล้าที่ผิด ปกติทิ้งไปในอัตรา 20-30% ในระยะ pre และ main nursery เช่น ต้นเตี้ย แคระแกรน ทางใบทำมุมแคบ ทางใบสั้น ต้นผอมชะลูด ซึ่งการดูแลรักษาต้นกล้าปาล์มน้ำมันในแปลงเพาะมีความสำคัญมากในการผลิตปาล์มน้ำมัน ทั้งนี้เพราะถ้ามีการนำต้นกล้าปาล์มที่ไม่แข็งแรง และไม่สมบูรณ์ไปปลูกจะทำให้เริ่มได้ผลผลิตล่าช้า และผลผลิตที่ได้จะต่ำในระยะยาว

3. ควรมีการเลือกใช้ต้นกล้าปาล์มน้ำมันที่แข็งแรงสมบูรณ์ และมีอายุ 18 เดือนไปปลูกเพราะจะทำให้ต้นปาล์มตกผลเร็ว และให้ผลผลิตถึงจุดคุ้มทุนได้เร็วกว่าใช้ต้นกล้าปกติ ซึ่งเป็นจุดที่เกษตรกรควรให้ความสำคัญ เพราะจะเป็นปัจจัยที่สำคัญอันหนึ่งที่สามารถลดต้น ทุนการผลิตลงได้ และไม่ควรใช้ต้นกล้าที่มีอายุต่ำกว่า 10 เดือนไปปลูก เพราะการใช้ต้นกล้าอายุน้อยจะทำให้มีอัตราการผิดปกติของต้นปาล์มในแปลงสูง และให้ผลผลิตต่ำ

----------------------------------------------------------------


การบำรุงปาล์มน้ำมัน :
ระยะต้นเล็ก :
ทางราก :

- ให้ยิบซั่ม เฟอร์มิกซ์, ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, กระดูกป่น, ขี้ไก่แกลบดิบ ปีละ 2 ครั้ง
- หญ้าแห้ง + กากทะลายปาล์ม คลุมโคนต้นหนาๆ
- ให้น้ำหมักชีวภาพ ระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 (2 ล.) /ไร่ รดทั่วแปลงทุกตารางนิ้ว เดือนละครั้ง
- ให้ 25-7-7 (1/2 กก.) /ต้น /3 เดือน ละลายน้ำรดโคนต้น
- ให้น้ำสม่ำเสมอ พอหน้าดินชื้น

ระยะต้นโตให้ผลผลิตแล้ว :
ทางใบ :

- ให้ “ไบโออิ + ไทเป + ยูเรก้า” 2 รอบ สลับด้วยแคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 15-20 วัน

ทางราก :

- ให้ยิบซั่ม เฟอร์มิกซ์, ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, กระดูกป่น, ขี้ไก่แกลบดิบ ปีละ 2 ครั้ง
- หญ้าแห้ง + กากทะลายปาล์ม คลุมโคนต้นหนาๆ
- ให้น้ำหมักชีวภาพ ระเบิดเถิดเทิง 21-7-14 (2 ล.) /ไร่ รดทั่วแปลงทุกตารางนิ้ว เดือนละครั้ง
- ให้ 21-7-14 (1/2 กก.) /ต้น /3 เดือน ละลายน้ำรดโคนต้น
- ให้น้ำสม่ำเสมอ พอหน้าดินชื้น

หมายเหตุ :

- สารอาหารหลักที่ปาล์มน้ำมันต้องการ คือ แม็กเนเซียม. สังกะสี. โบรอน
- การติดสปริงเกอร์เหนือยอดแล้วให้ปุ๋ย นอกจากต้นจะได้รับปุ๋ยเต็มที่แล้ว ความชื้นจากน้ำผสมปุ๋ยยังช่วยให้ต้นสมบูณณ์ดีอีกด้วย เพราะพืชตระกูลปาล์มต้องการความชื้นสูง ทั้งทางใบและทางราก

- ปาล์มน้ำมันที่ชุมพร เนื้อที่กว่า 25.000 ไร่ เจริญเติบโตดี ให้ผลผลิตดีมากด้วยยิบซั่ม

-------------------------------------------------




.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©