-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ถาม-ตอบปัญหาทางรายการวิทยุ 3 JUN *ยาเชื้อ-โรคเน่า, ตัดแต่งกิ่งมะม่วง
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบปัญหาทางรายการวิทยุ 3 JUN *ยาเชื้อ-โรคเน่า, ตัดแต่งกิ่งมะม่วง
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบปัญหาทางรายการวิทยุ 3 JUN *ยาเชื้อ-โรคเน่า, ตัดแต่งกิ่งมะม่วง

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 03/06/2015 7:16 am    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบปัญหาทางรายการวิทยุ 3 JUN *ยาเชื้อ-โรคเน่า, ตัดแต่งกิ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางรายการวิทยุ 3 JUN

AM 594 เวลา 06.30-07.00 (ทุกวัน) 08.10-09.00 (จันทร์-ศุกร์) และ
********************************************************************

สวัสดีครับ ท่านผู้ฟังที่เคารพ
กองทัพบกเพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตร และอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดยกองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก

@@ สนับสนุนรายการโดย ...
... บ.นิมุติ เอ็นจิเนียริ่ง เครื่องย่อยเศษพืช (02) 322-9175-6
... ยิบซั่มธรรมชาติ เฟอร์มิกซ์, ธันเดอร์พลัส, ธาตุรอง/ธาตุเสริม มัลติแชมป์ (089) 144-1112
... และ บ.มายซัคเซส อะโกร--- ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, กาวเหนียวดักแมลง มายฟิกส์,
กลิ่นล่อแมลงวันทอง ฟลายแอต, สารเสริมฤทธิ์สารสมุนไพร ไบโอเจ๊ต, ถังฉีดพ่นรุ่นใหม่ ใช้แบตเตอรี่ (081) 910-5034

กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการครับ
เช่นเคยครับ รายการเรา 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม ที่ (081) 913-4986

----------------------------------------------------------------------------------------------

ตัวแทนจำหน่าย ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง, ไบโออิ, ไทเป, ยูเรก้า. (อินทรีย์ – เคมี)

1) ชมรม (ใหญ่) สีสันชีวิตไทย (089) 814-3204 ใกล้ไฟแดง สี่แยกบางแพ ราชบุรี
2) “คุณชาตรี” (081) 841-9874 ทรัพย์ทวีการเกษตร ชัฎป่าหวาย สวนผึ้ง ราชบุรี (ส่งทาง ปณ.)

3) ร.ต.ต.นันท์สุรัตน์ (089) 821-8273 ต.จรเข้เผือก ด่านมะขามเตี้ย กาญจนบุรี (ส่งทาง ปณ.)
4) “คุณล่า” (081) 944-8494 ทุกวันจันทร์ ตลาดนัดวัดอมรญาติ ดำเนินสดวก ราชบุรี

5) “คุณประเสริฐ” (080) 110-4645 บ.เขาดิน หนองแขม เดิมบางนางบวช สุพรรณบุรี
6) “คุณอรุณ” (085) 058-1737 ในร้านโครงการหลวง ตลาด อตก.

7) “คุณพรพรรณ” (089) 814-7944 พลชัยเกษตรชีวภาพ ตลาดนัดธนบุรี ถ.เลียบคลองทวีวัฒนา
8 ) “คุณน้ำส้ม” (085) 055-7706 ชมรมฯ สาขาศาลายา หน้า ม.มหิดล พุทธมณฑลสาย 4 (ส่งทาง ปณ.)

---------------------------------------------------------------------------------------------------------

@@ สารอาหาร (ปุ๋ย) เพื่อการสื่อสาร :

** ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง : ส่วนผสมหลัก .... อินทรีย์/เคมี (กุ้งหอยปูปลาทะเล, เลือด,
ไขกระดูก, นม, ขี้ค้างคาว, น้ำมะพร้าว, ธาตุหลักตามพืช, แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม

** ไบโออิ : ส่วนผสมหลัก .... เคมี (แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม)
** ยูเรก้า : ส่วนผสมหลัก .... เคมี (21-7-14, ไคโตซาน, อะมิโนโปรตีน)
** ไทเป : ส่วนผสมหลัก ..... อินทรีย์/เคมี (นม, ไข่, น้ำมะพร้าว, 13-0-46. 0-52-34)


มิได้มีเจตนาโฆษณาผลิตภัณฑ์ แต่ใช้ชื่อผลิตภัณฑ์เพื่อง่ายต่อการสื่อสารข้อมูล เท่านั้น
.... ต้นพืชไม่รู้จักยี่ห้อ ไม่รู้จักเจ้าของสูตร .....
...... ไม่รู้เจ้าของคนปลูก ไม่ฟังโฆษณา .......
...... ต้นพืชรู้จักแต่ส่วนผสมหรือเนื้อใน .......

-----------------------------------------------------------



สายตรง : (092) 719-34xx
ข้อความ : สรุปย่อ .... ผู้ฟังใหม่ อยู่สุพรรณบุรี หนองหญ้าไซ น้ำดีตลอดปี แล่นเรือปากเป็ดรดน้ำ หน่อไม้ฝรั่งเป็นโคนเน่า มีคนบอกให้ใช้ไตรโคเดอร์มา ใช้ไปแล้ว 2 ครั้งไม่ดีขึ้น ต้นโคนเน่ามากขึ้น บอกใหม่ให้ใช้ยาเชื้อ บีที สลับ แต่อย่าใช้รวมกัน ใช้แล้วก็ไม่ดีขึ้น ต้นเป็นโคนเน่าเพิ่มมากขึ้นอีก อยากปรึกษาลุงคิมว่าต้องทำอย่างไร ....
ตอบ :

เชื้อราไตรโคเดอร์มาจากดินในธรรมชาติได้หลายสายพันธุ์ โดยเฉพาะสายพันธุ์ CB-Pin-01 มีประสิทธิภาพสูงในการควบคุมโรคของพืชเศรษฐกิจต่างๆ ทั้งพืชไร่ ไม้ผล พืชผัก และไม้ดอกไม้ประดับหลายชนิดได้ ในสภาพแปลงเกษตรกร ทั้งโรคที่เกิดบนส่วนของพืชที่อยู่ใต้ดิน เช่น โรคเมล็ดเน่า โรคเน่าระดับดิน (โรคกล้ายุบ) รากเน่า หัวหรือแง่งเน่า และโคนเน่า เป็นต้น

โรคที่เกิดบนส่วนของพืชที่อยู่เหนือดินไม่ว่าจะเป็นส่วนของ กิ่ง ผล ใบ หรือดอก เช่น โรคลำต้นไหม้ของหน่อไม้ฝรั่ง โรคแคงเกอร์ของมะนาว โรคราดำของมะเขือเทศ โรคใบปื้นเหลือง และโรคดอกสนิมของกล้วยไม้ โรคแอนแทรคโนสของมะม่วง และพริก ทั้งก่อนและหลังเก็บเกี่ยวผลผลิต

นอกจากนี้ยังสามารถใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มายังควบคุมโรครากเน่าของพืชผักสลัดและผักกินใบต่างๆ ที่ปลูกในสารละลายธาตุอาหาร (ระบบไฮโดรโพนิกส์) และจากผลการวิจัยล่าสุดพบว่า การแช่เมล็ดข้าวเปลือกก่อนใช้หว่านลงในนาข้าว ช่วยลดการเกิดโรคเมล็ดด่าง เมล็ดลีบ ของข้าวที่เกิดจากการเข้าทำลายของเชื้อราหลายชนิด ตลอดจนช่วยเพิ่มความสมบูรณ์และน้ำหนักเมล็ด และเพิ่มผลผลิตต่อไร่ได้ด้วย

จิระเดช แจ่มสว่าง และ ดร.วรรณวิไล อินทนู
ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร กำแพงแสน
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
http://www.rdi.ku.ac.th/kufair50/plant/68_plant/68_plant.html


สาเหตุ :

เกิดจากเชื้อ “ไฟธอปเทอร์ร่า (รากเน่าโคนเน่า)” เชื้อเกิดเองเมื่อดินเป็นกรดจัด ดินไม่เป็นกรดจะไม่เกิด หรือดินเป็นกรดเชื้อเกิดแล้วดินหายกรด เชื้อก็จะตายไปเอง

ดินเป็นกรดเกิดจาก ....

1) เกิดเองตามธรรมชาติ (ศูนย์กลางอยู่ที่ องค์รักษ์ นครนายก....มีกำมะถันไต้ดิน)

(ย่านองค์รักษ์ สวนมะยงชิด ทุเรียนโบราณสวนละอองฟ้า นาข้าว สวนผัก อยู่ได้เพราะ "ไม่ขุดดินทำสวนยกร่องน้ำหล่อ" แต่ปลูกบนพื้นราบ .... สวนส้มเขียวหวาน ดินเป็นกรดจัดจนต้นต้นอยู่ไม่ได้ เพราะ "ขุดดินทำสวนยกร่องน้ำหล่อ" เท่ากับเจาะตากำมะถันให้ขึ้นมาเหมือนเจาะตาน้ำ สังเกตุน้ำในร่องใส่เหมือนตาตั๊กแตน พืชน้ำทุกชนิดไม่ขึ้น สัตว์น้ำทุกชนิดไม่มี มีเกร็ดกำมะถันอยู่ที่ไต้น้ำก้นร่อง .... น้ำเป็นกรดจัดไม่พอ ปุ๋ยเคมีเหลือตกค้าง สารเคมียาฆ่าแมลง ยาฆ่าหญ้า ซัดซ้ำเข้าไปอีก สวนส้มจึงล่มสลาย .... ย้ายไปอยู่กำแพงเพชร ขอนแก่น ลพบุรี ก็ยังทำสวนส้มขุดร่องน้ำหล่อเหมือนเดิม อยู่ได้แค่ 3-4-5 ปี สัญญาเช่าที่ยังไม่หมดก็ต้องเผ่นอีก....นี่คืออะไร ?)

2) คนใส่กรดลงไป (ปุ๋ยเคมีเหลือตกค้าง ยาฆ่าหญ้า ยาฆ่ามลง น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม
3) น้ำฝนขังค้าง
4) ดินเหนียว

ส่วนใหญ่เกิดแผลเห็นได้ชัดเจนบนลำต้นที่ไม่อ่อนและแก่จนเกินไป โรคนี้แพร่ระบาดได้ง่ายและรวดเร็วในฤดูฝนหรือในช่วงที่มีความชื้นสูง สามารถแพร่ระบาดได้โดยลม สปอร์ของเชื้อราจะแพร่ไปยังต้นหน่อไม้ฝรั่งบริเวณใกล้เคียงได้เมื่อถูกน้ำชะหรือปลิวไปกับลมทำให้ระบาดรุนแรงกว้างขวางยิ่งขึ้น

การป้องกัน กำจัด แก้ไข :

- เก็บเศษซากพืชและถอนส่วนที่เป็นโรคไปเผาทำลาย เพื่อป้องกันการระบาดของเชื้อและรักษาความสะอาดของแปลง
- ทำทางระบายน้ำ ป้องกันน้ำขังค้าง
- ใส่อินทรีย์วัตถุ ยิบซั่ม เฟอร์มิกซ์, ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, กระดูกป่น, ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ,
- ให้จุลินทรีย์ ไตรโคเดอร์ม่า, หน่อกล้วย (แอ็คติโนมั้ยซิส), พด.

- ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง +ปุ๋ยเคมีสูตรตามระยะ .... ในน้ำหมักมีสารพัดจุลินทรีย์ รวมทั้งไตรโคเดอร์ม่าด้วย กับสารอาหารสำหรับจุลินทรีย์ประจำถิ่น
- หญ้าแห้งคลุมโคนต้น พรวนดินพูนดิน

หมายเหตุ :

- ดร.จิระเดช แจ่มสว่าง ผู้ค้นพบเชื้อไตรโคเดอร์ม่า เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ บอกว่า เชื้อไตรโคเดอร์ม่า ไม่สู้ดินเป็นกรด ใส่ลงไปในดินที่เป็นกรดตายทันที ทั้งๆที่ยังไม่ได้สู้กับเชื้อโรคเลย .... คนขายไตรโครเดอร์ม่า ซื้อลิขสิทธิ์ไป เจตนาหรือไม่เจตนาไม่รู้บอกว่า ใส่ไตรโคเดอร์ม่าลงไปเลย ไตรโคเดอร์ม่าจะกำจัดเชื้อโรคให้เอง

- ดร.จิระเดช แจ่มสว่าง สอน/บอก/แนะนำ/ทำ ว่า ใช้ไตรโคเดอร์ม่าแบบ “ป้องกัน” แทนการ “กำจัด” โดยใส่อินทรีย์วัตถุปรับปรุงดินไว้เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของไตรโคเดอร์ม่าก่อน แล้วจึงใส่ไตรโคเดอร์ม่า เหมือนสร้างเล้าหมูเล่าไก่ก่อนแล้วจึงปล่อยไก่ปล่อยหมูลงไป หรือเหมือนสร้างบ้านคน สร้างให้เสร็จพร้อมอยู่เสียก่อนแล้วค่อยเข้าไปอยู่ ประมาณนั้น

- ใช้เชื้อไตรโคเดอร์ม่า ใส่ไซริงค์ฉีดยา แทงเข้าต้นทุเรียน ปล่อยให้ไปกับน้ำเลี้ยงที่ท่อน้ำเลี้ยง ทำกับต้นทุเรียนที่กำลังโดนไฟธอปเทอร์ร่าเข้าทำลายอย่างรุนแรง ต่อมาทุเรียนต้นนั้นตาย ก็ได้ผ่าดูเนื้อในของต้น พบว่า ไม่มีเชื้อไฟธอปเทอร์ร่าในเนื้อไม้เลยเลย แสดงว่า ไตรโคเดอร์ม่ากำจัดเชื้อไฟธอปเทอร์ร่าได้ แต่ที่ต้นยืนตายก็เพราะระบบรากไม่ทำงานเพราะเน่าถอดปลอกหมดแล้ว

- สวนทุเรียนไม่ใช่น้อยเจอ ไฟธอปเทอร์ร่า รากเน่าโคนเน่า ใส่ไตรโคเดอร์ม่าลงไปแล้วยืนตายบนไตรโคเดอร์ม่าหน้าตายเฉย ก็เพราะดินเป็นกรดจัด ใส่ไตรโคเดอร์ม่าลงไปไตรโคเดอร์ม่าก็ตายแล้ว ทั้งคนขายคนใช้หลงคิดว่าไตรโคเดอร์ม่าเป็นของวิเศษ นี่มั้ย....

สมการยาเชื้อ :
ยาเชื้อถูก + ใช้ผิด = ไม่ได้ผล
ยาเชื้อผิด + ใช้ถูก = ไม่ได้ผล
ยาเชื้อผิด + ใช้ผิด = ไม่ได้ผล ยกกำลังสอง
ยาเชื้อถูก + ใช้ถูก = ได้ผล ยกกำลังสอง


----------------------------------------------------


จาก : (061) 183-02xx
ข้อความ : มะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง มหาชนก เก็บผลแล้ว เนื้อที่ 5 ไร่ อายุต้น 5 ปี สวนยกร่อง ให้น้ำด้วยเรือ พ่นทางใบด้วยถังสพาย ในต้นใบแน่นมาก อยากตัดออกต้องตัดอย่างไร
ตอบ :

เหมือนกันทุกมะม่วง ไม่เฉพาะน้ำดอกไม้ กับมหาชนกเท่านี้ แม้แต่มะม่วงพันธุ์ต่างประเทศที่กำลังฮือฮาก็ต้องตัดแต่งกิ่งเหมือนกัน

พูดถึงมะม่วงพันธุ์ต่างประเทศ ทุกจากทุกประเทศ ทุกสายพันธุ์ที่กำลังนิยมกันอยู่ตอนนี้ สอบถาม “คนกิน” ทั้งคนไทย คนต่างชาติที่เข้ามาเมืองไทยแล้วมีโอกาสชิมมะม่วง ทุกลิ้นทุกรส ยืนยันเสียเดียวกันหมดว่า ไม่มีมะม่วงต่างประเทศพันธุ์ไหนอร่อยกว่ามะม่วงไทยเลยแม้แต่พันธุ์เดียว ในขณะเดียวกันในกลุ่มมะม่วงไทยด้วยกัน อันดับ 1 คือ มันขุนศรี อันนี้เป็นผลพวงมาจากงานผลไม้ที่ริมคลองผดุงกรุงเกษม ทำเนียบรัฐบาล ที่ ทีวี.โคสภาพมะม่วงมันขุนศรีหรือเปล่า

จากข้อมูลที่ให้มานี้บอกได้เลยว่า ไม่ใช่นักเล่นมะม่วงระดับมืออาชีพ หรือจะเรียกว่ามือระดับชาวบ้านๆ ธรรมดาๆ เท่านั้น เพราะ....

- เนื้อที่ 5 ไร่ ยกร่องน้ำหล่อ เท่ากับได้เนื้อที่ปลูกมะม่วงแค่ 2 ไร่ครึ่ง หรืออย่างมากก็ไม่เกิน 3 ไร่ นี่คือการสูญเสียทางเศรษฐกิจอย่างหนึ่ง

- น้ำในร่องไม่จำเป็นต่อต้นไม้อย่างมะม่วง เพราะมะม่วงไม่ได้ต้องการน้ำมากขนาดนั้น เผลอจะทำให้รากเน่าด้วยซ้ำ
- น้ำในร่องมีปัญหาในการบำรุงขั้นตอน “ปรับ ซี/เอ็น เรโช” เพราะงดน้ำไม่ได้
- น้ำในร่องมีปัญหาในการบำรุงขั้นตอน “เร่งหวาน” ก่อนเก็บ เพราะงดน้ำไม่ได้

@@ สปริงเกอร์กับมะม่วง สวนยกร่องน้ำหล่อ :

- น้ำในร่องแรกที่มาจากแหล่งน้ำธรรมชาติ ดัดแปลงแทนสระน้ำประจำสวน โดยปิดหัวท้าย แล้วรักษาระดับน้ำให้คงที่

- คิดสปริงเกอร์ (กะโหลก ปั๊ม) ที่ริมสระน้ำดัดแปลง
- วางสปริงเกอร์ระบบกะเหรี่ยง (กะเหรี่ยงคอยาว กะเหรี่ยงลอยฟ้า กะเหรี่ยงเจ้าพระ ยา) เนื่อจากต้นทุนต่ำเมื่อเทียบกับประสิทธิภาพในการใช้งาน

- เนื้อที่ 5 ไร่แบ่งเป็น 5 โซน หรือโซนละ 30-50 ต้น
- มีหม้อปุ๋ยหน้าโซน

@@ ประโยชน์สปริงเกอร์กับมะม่วง

- ฉีดพ่น “น้ำ-ปุ๋ย-ฮอร์โมน-ยาสมุนไพร” อย่างเดียวเดี่ยวๆ หรือหลายอย่างบวกกัน ทางใบได้ทุกเวลา (เช้า สาย บ่าย ค่ำ) ที่ต้อง การ

- ฉีดพ่นทางใบโชกตกลงดินเป็นการให้น้ำทางดินไปในตัว หรือมีวาวล์แยกระหว่างทางใบกับทางดิน .... ให้ทางใบ เปิดวาวล์ทางใบ ปิดวาวล์ทางราก .... ให้ทางราก เปิดวาวล์ทางราก ปิดวาวล์ทางใบ .... ให้พร้อมกันทั้งสองทาง เปิดวาวล์ทั้งสองทาง

- เวลา เนื้อที่ 1 โซน (1 ไร่) หรือ 50 ต้น .... ให้ทางใบใช้เวลา 5-10 นาที .... ให้ทางรากใช้เวลา 15-20 นาที
- แรงงงาน เนื้อที่ 1 โซน (1 ไร่) หรือ 50 ต้น คนเดียว

- ต้นทุน ไม่รวมปั๊ม ไม่รวมค่าแรง .... แบบกะเหรี่ยงคอยาว พีวีซี. ทางใบอย่างเดียว 5,000 /ไร่ .... แบบกะเหรี่ยงลอยฟ้า พีอี. ให้ทางใบอย่างเดียว 3,000 .... แบบกะเหรี่ยงเจ้าพระ ยา พีวีซี. ทางใบและทางราก วาวล์แยก 10,000 .... หม้อปุ๋ยหน้าโซน ทำเอง

- ไร่กล้อมแกล้ม “ต้นไม้ + คน” ค่าไฟฟ้า เดือนละ 900
- อายุใช้งาน 10-20-30 ปี
- ฉีดพ่นสารสมุนไพรประจำ ประหยัดต้นทุนค่าสารเคมียาฆ่าแมลง ได้เครดิตความน่าเชื่อถือจากคนกิน

- ให้สารอาหาร ธาตุรอง ธาตุเสริม น้ำตาลทางด่วน สม่ำเสมอ ต้นสะสมความสมบูรณ์ ออกดอกติดผลดี คุณภาพรสชาติจัดจ้าน .... ชัดเจนที่สุด คือ มะม่วง อาร์ทูอีทู ออสเตรเลีย ที่หลายๆคนบอกว่ามีกลิ่นขี้ไต้ แต่อาร์ทูอีทูที่ไร่กล้อมแกล้มยืนยันว่าไม่มีกลิ่นขี้ไต้แน่นอน กล้าให้ชิมก่อน ชิมๆๆๆ ชิมจนหมดลูก ชิมแล้วซื้อ 50 กก. บอกว่าจะเอาไปเป็นของฝาก ก็ถ้ามีกลิ่นขี้ไต้เขาจะซื้อไปฝากคนอื่นรึ กับหลายคนที่เคยไปชิมที่ไร่กล้อมแกล้มก็ยืนยันได้ว่า มะม่วงทุกสายพันธุ์ ผลไม้ทุกชนิด รสจัดจ้านเพราะ ธาตุรอง ธาตุเสริม” ถึงนั่นเอง

“ในต้นใบแน่นมาก”
.... ใบแน่นเพราะไม่ได้ตัด หรือตัดแล้วใม่ตัดซ้ำ .... มะม่วงที่ตัดยอดหรือกิ่งแล้วจะแยกยอดใหม่ ณ รอยตัดนั้นเสมอ การแตกยอดจะแตกครั้งละ 5 ยอดต่อ 1 รอยตัด เรียกว่า “ฉัตร” ทั้ง 5 ยอดในฉัตรจะออกดอกเพียง 2 ยอดด้านบนของฉัตรเท่านั้น ส่วนอีก 3 ยอดด้านล่างของฉัตรจะใม่ออกดอก และส่วน 3 ยอดด้านล่างของฉัตรนี่แหละคือ “ใบแน่นมาก” นั่นเอง

“อยากตัดออกต้องตัดอย่างไร”
.... กิ่งที่ต้องตัด คือ กิ่งกระโดง กิ่งคด กิ่งงอ กิ่งไขว้กัน กิ่งชี้เข้าใน กิ่งชี้ลงล่าง กิ่งหางหนู กิ่งน้ำค้าง กิ่งเป็นโรค เนื่องจากกิ่งประเภทนี้ไม่ออกดอก .... หลังจากตัดแต่งกิ่งครั้งแรกแล้วบำรุงเรียกใบอ่อนก็จะมีใบอ่อนออกมา เมื่อยอดอ่อนเรียกว่า “ยอดผักหวาน” ยาวประมาณ 1 นิ้วมือ หรือ 1 ฝ่ามือ ให้เด็ดยอดใหม่ที่ตำแหน่งไม่เหมาะสมต่อการออกดอกทิ้ง การเด็ดทิ้งตั้งแต่เป็นยอดเล็กทำให้ไม่สิ้นเปลืองน้ำเลี้ยง น้ำเลี้ยงที่มีก็จะไปบำรุงยอดที่เหลือไว้ช่วยให้โตเร็วขึ้น ....

หมายเหตุ :

- ก่อนลงมือตัดแต่งกิ่ง หรือหลังตัดแต่งกิ่งแบบให้ทันที ....
.... ทางราก : ยิบซั่ม เฟอร์มิกซ์, ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, กระดูกป่น, ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ, 30-10-10 (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นกลาง, 2 กก.ต้นใหญ่....ละลายน้ำรดโคนต้น), ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 (2 ล.) /ไร่ รดทั่วแปลงทุกตารางนิ้ว .... ให้น้ำสม่ำเสมอ ทุก 2-3 วัน

.... ทางใบ : ให้ไบโออิ 25-5-5 + สารสมุนไพร อาทิตย์ละครั้ง

- กิ่งหรือยอดที่เหมาะสมต่อการออกดอก คือ 1-2 ยอดที่ปลายกิ่ง (ฉัตร), ชี้ขึ้น 45 องศา
- หมั่นตัดแต่งซ้ำสำหรับกิ่งแตกใหม่ที่เหมาะสมต่อการออกดอก ตลอดช่วงที่ยังไม่ออกดอก

- ต้นมะม่วงที่ออกดอกติดผลแล้วมียอดใหม่เกิดขึ้น ห้ามตัดหรือเด็ดยอดทิ้ง เพราะจะทำให้ปริมาณสารอาหารที่ต้นผลิตได้ลดลงเนื่องจากจำนวนใบสังเคราะห์อาหารได้ลดลง ส่งผลให้ผลร่วงได้

- ต้นมะม่วงที่ไร่กล้อมแกล้มที่บางคน (เน้นย้ำ....บางคน) บอกว่า มันชิดกันขนาดนี้จะออกลูกได้ยังไง ต้นเตี้ยๆยังงี้จะออกลูกได้ยังไง ปลูกชิดกันยังงี้จะปลูกบ้านได้ยังไง วันนี้ต้นที่ชิดกันนั้นตัดแต่งกิ่งห่างกันแล้ว กะว่าแตกยอดใหม่เต็มที่ก็จะชนกันใหม่ ออกดอกเก็บลูกแล้วปีหน้าตัดอีก ทำยังงี้มาเกือบ 10 ปีแล้ว น่าจะอยู่ต่อไปได้อีก 10 ปี

@@ ธรรมชาตินิสัยมะม่วง :

* มะม่วงอายุมากต้นสูงใหญ่ ทรงพุ่มแน่นทึบ แสงแดดส่องไม่ทั่วภายในทรงพุ่มจะออกดอกติดผลน้อย แก้ไขโดยตัดกิ่งหรือยอดประธาน เรียกว่า "ผ่ากบาล" เป็นการเปิดช่องให้แสง แดดส่องกระจายทั่วภายในทรงพุ่ม ส่งผลให้ออกดอกติดผลดีขึ้น

* มะม่วงออกดอกจากปลายกิ่งเกิดใหม่ในปีนั้นๆเท่านั้น นั่นคือ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องตัดแต่งกิ่งแล้วเรียกใบอ่อนเพื่อสร้างกิ่งและใบชุดใหม่เสมอ

ตัดแต่งกิ่ง :

- โบราณว่า มะม่วงใบมาก ดอกลูกจะน้อย .... ลูกเขยรู้หลักธรรมาติข้อนี้ดี บอกแม่ยายว่า ตัดแต่งกิ่งออกบ้าง ลูกจะไดเดก แม่ยายไม่ยอม ย้อนลูกเขยว่า มะม่วงไม่มีกิ่งมันจะออกดอกออกลูกได้ไง อย่าตัดกิ่งมะม่วงข้าเชียวนะ .... หลักการนี้จะว่าถูก็ถูก จะว่าผิดก็ผิด เอ้า ! ถูกครึ่งผิดครึ่งก็แล้วกัน หมายความว่า กิ่งน้อยๆ แต่เป็นกิ่งที่เหมาะสมต่อการออกดอกติดลูก กิ่งสมบูรณ์ ความสมบูรณ์มากหรือน้อยดุที่ “ใบ” เพราะต้นไม้ต้นพืช “พูดด้วยใบ บอกด้วยราก” นั่นแหละ

- ตัดแต่งเพื่อการแตกยอดใหม่ให้ตัด กิ่งกระโดง กิ่งในทรงพุ่ม กิ่งคดงอ กิ่งชี้ลง กิ่งไขว้ กิ่งชี้เข้าใน กิ่งหางหนู กิ่งน้ำค้าง กิ่งเป็นโรค ทั้งนี้ภายในทรงพุ่มควรให้โปร่งจนแสงส่องผ่านลงไปถึงโคนต้นได้

- มะม่วงออกดอกติดผลจากปลายยอดของกิ่งชายพุ่ม ดังนั้นจึงควรตัดทิ้งกิ่งในทรงพุ่มทั้งหมดและเพื่อไม่ให้แตกยอดใหม่ป้องกันทรงพุ่มทึบเกินไป

- ตัดยอดกิ่งประธาน (ผ่ากบาล) ณ ความสูงต้นตามต้องการ นอกจากช่วยทำให้แสงแดดผ่านจากยอดเข้าสู่ภายในทรงพุ่มได้อย่างทั่วถึงแล้ว แสงแดดที่ร้อนยังช่วยกำจัดเชื้อราได้เป็นอย่างดี และเพื่อควบคุมขนาดความสูงทรงพุ่มอีกด้วย

- นิสัยมะม่วงปีมักออกดอกหลังจากกระทบหนาวได้ระยะหนึ่ง ดังนั้นจึงควร ตัดแต่งกิ่ง-เรียกใบอ่อน ช่วงต้นหน้าฝนแล้วเข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงต่อไปตามลำดับจะทำให้ต้นมีความสมบูรณ์เต็มที่ดีกว่าการตัดแต่งกิ่งในช่วงอื่น หมายความว่า หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วยังไม่ต้องตัดแต่งกิ่งแต่ให้บำรุงตามปกติต่อไปก่อน จนกระทั่งเข้าสู่หน้าฝนจึงลงมือตัดแต่งกิ่ง

มะม่วงทะวายไม่จำเป็นต้องกระทบหนาวแต่ถ้า ตัดแต่งกิ่ง-เรียกใบอ่อน ช่วงต้นหน้าฝน แล้วเข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงตามลำดับอย่างถูกต้องสม่ำเสมอ จะทำให้ต้นมีความสมบูรณ์เต็มที่ดีกว่าการตัดแต่งกิ่งในช่วงอื่น

- เริ่มปฏิบัติทันทีหลังตัดแต่งกิ่งและตัดแต่งรากเสร็จ

- หลังจากให้ทางใบไปแล้ว 5-7 วัน ถ้าต้นใดแตกใบอ่อนน้อยกว่า 50% ให้ฉีดพ่นซ้ำรอบสองด้วยอัตราและวิธีการเดิม เพราะถ้าต้นแตกใบอ่อนไม่พร้อมกันทั่วทั้งต้นจะส่งผลเสียหลายอย่าง ตั้งแต่การเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่. การสะสมอาหารเพื่อการออก. การปรับ ซี/เอ็น เรโช. การเปิดตาดอก. ซึ่งจะออกดอกไม่พร้อมกันทั่วทั้งต้น และเมื่อดอกออกไม่พร้อมกันก็กลายเป็นผลไม่พร้อมกันทำให้ยุ่งยากต่อการปฏิบัติบำรุงตามขั้นตอนอย่างมาก .... แนวทางแก้ ไข คือ ต้องบำรุงเรีบกใบอ่อนให้ออกมาเป็นชุดเดียวพร้อมกันทั้งต้นให้ได้

- มะม่วงอายุต้นมากกว่า 5 ปีเรียกใบอ่อนเพียง 1 ชุดก็พอ ส่วนต้นอายุน้อยกว่า 5 ปี ต้องเรียกใบอ่อน 2 ชุด โดยมีวิธีทำดังนี้

ธีที่ 1
.... ถ้าต้นสมบูรณ์ดีมีการเตรียมดินและปรับปรุงบำรุงดินสม่ำเสมอต่อเนื่องมาหลายๆปีแล้ว หลังจากใบอ่อนชุดแรกเพสลาดแล้วให้เรียกใบอ่อนชุด 2 ต่อได้เลย ใบชุด 2 นี้อาจจะออกไม่พร้อมกันทั้งต้นเหมือนชุดแรกแต่ก็จะออกห่างกันไม่เกิน 7-10 วัน และหลังจากใบอ่อนชุด 2 เพสลาดก็ให้เข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงต่อไปตามปกติ .... สำหรับมะม่วงอายุต้นมาก กว่า 5 ปี (เป็นสาวเต็มที่) ให้เรียกใบอ่อนเพียง 1 ชุด นั่นคือ เมื่อใบอ่อนเพสลาดแล้วให้เข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงตามปกติได้เลย

วิธีที่ 2
.... หลังจากใบอ่อนชุดแรกแผ่กางแล้วเร่งให้เป็นใบแก่ ได้ใบแก่แล้วงดน้ำให้ใบสลดจนใบแก่โคนกิ่งร่วง 1-2 ใบ ให้ลงมือเรียกใบอ่อนชุด 2 เมื่อใบอ่อนชุด 2 แผ่กางให้เข้าสู่ขั้น ตอนการบำรุงต่อไปตามปกติ

(วิธีที่ 1 ได้ผลดีกว่าวิธีที่ 2 เพราะต้นจะมีอาการโทรมน้อยกว่า......)

- มะม่วงพันธุ์เบา นิสัยออกดอกติดผลง่าย ผ่านการบำรุงแบบให้มีอาหารกินตลอด 24 ชม.ต่อเนื่องมานานหลายปี หลังจากใบอ่อนชุด 1 แผ่กางเริ่มรับแสงแดดได้ สามารถข้ามขั้นตอนเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่. สะสมอาหารเพื่อการออกดอก. และปรับ ซี/เอ็น เรโช. เข้าสู่ขั้นตอนเปิดตาดอกได้เลย แต่อาจจะต้องเปิดตาดอกหลายรอบ หรือมากครั้งกว่าปกติเล็กน้อยเท่านั้น

---------------------------------------------------



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©