-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร 26 NOV *พริกซุปเปอร์ฮอต, อินทผลัม
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร 27 NOV *ผักคันนา, ดูงานสปริงเกอร์
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร 27 NOV *ผักคันนา, ดูงานสปริงเกอร์

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11563

ตอบตอบ: 28/11/2014 10:12 am    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร 27 NOV *ผักคันนา, ดูงานสปริงเกอร์ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร รายการวิทยุ 27 NOV

AM 594 เวลา 08.10-09.00 & 20.05-20.30 ทุกวัน และ FM 91.0 (07.00-08.00 / วันอาทิตย์)

********************************************************************

สวัสดีครับ ท่านผู้ฟังที่เคารพ
กองทัพบกเพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตร และอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดยกองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก

@@ สนับสนุนรายการโดย ...
... บ.นิมุติ เอ็นจิเนียริ่ง เครื่องย่อยเศษพืช (02) 322-9175-6
... ยิบซั่มธรรมชาติ เฟอร์มิกซ์, ธันเดอร์พลัส, ธันเดอร์แคล, เอ็ม.แคล--- ธาตุรอง/ธาตุเสริม มัลติแชมป์ (089) 144-1112
... และ บ.มายซัคเซส อะโกร--- ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, กาวเหนียวดักแมลง มายฟิกส์, กลิ่นล่อแมลงวันทอง ฟลายแอต, สารเสริมฤทธิ์สารสมุนไพร ไบโอเจ๊ต, ถังฉีดพ่นรุ่นใหม่ ใช้แบตเตอรี่ (081) 910-5034

กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการครับ
เช่นเคยครับ รายการเรา 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม ที่ (081) 913-4986

----------------------------------------------------------------------------------------------

ตัวแทนจำหน่าย ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง, ไบโออิ, ไทเป, ยูเรก้า. (อินทรีย์ – เคมี)

1) ชมรม (ใหญ่) สีสันชีวิตไทย (089) 814-3204 ใกล้ไฟแดง สี่แยกบางแพ ราชบุรี
2) “คุณชาตรี” (081) 841-9874 ทรัพย์ทวีการเกษตร ชัฎป่าหวาย สวนผึ้ง ราชบุรี (ส่งทาง ปณ.)

3) ร.ต.ต.นันท์สุรัตน์ (089) 821-8273 ต.จรเข้เผือก ด่านมะขามเตี้ย กาญจนบุรี (ส่งทาง ปณ.)
4) “คุณล่า” (081) 944-8494 ทุกวันจันทร์ ตลาดนัดวัดอมรญาติ ดำเนินสดวก ราชบุรี

5) “คุณประเสริฐ” (080) 110-4645 บ.เขาดิน หนองแขม เดิมบางนางบวช สุพรรณบุรี
6) “คุณอรุณ” (085) 058-1737 ในร้านโครงการหลวง ตลาด อตก.

7) “คุณพรพรรณ” (089) 814-7944 พลชัยเกษตรชีวภาพ ตลาดนัดธนบุรี ถ.เลียบคลองทวีวัฒนา
8 ) “คุณน้ำส้ม” (085) 055-7706 ชมรมฯ สาขาศาลายา หน้า ม.มหิดล พุทธมณฑลสาย 4 (ส่งทาง ปณ.)

---------------------------------------------------------------------------------------------------------

@@ สารอาหาร (ปุ๋ย) เพื่อการสื่อสาร :

** ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง : ส่วนผสมหลัก .... อินทรีย์/เคมี (กุ้งหอยปูปลาทะเล, เลือด, ไขกระดูก, นม, ขี้ค้างคาว, น้ำมะพร้าว, ธาตุหลักตามพืช, แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม

** ไบโออิ : ส่วนผสมหลัก .... เคมี (แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม)
** ยูเรก้า : ส่วนผสมหลัก .... เคมี (21-7-14, ไคโตซาน, อะมิโนโปรตีน)
** ไทเป : ส่วนผสมหลัก ..... อินทรีย์/เคมี (นม, ไข่, น้ำมะพร้าว, 13-0-46. 0-52-34)


มิได้มีเจตนาโฆษณาผลิตภัณฑ์ แต่ใช้ชื่อผลิตภัณฑ์เพื่อง่ายต่อการสื่อสารข้อมูล เท่านั้น
.... ต้นพืชไม่รู้จักยี่ห้อ ไม่รู้จักเจ้าของสูตร .....
.... ไม่รู้เจ้าของคนปลูก ไม่ฟังโฆษณา .........
.... ต้นพืชรู้จักแต่ส่วนผสมหรือเนื้อใน .........

-----------------------------------------------------------



จาก : (093) 712-45xx
ข้อความ : ผู้พันครับ ผมอยู่ชัยนาท ไต้เขื่อนเจ้าพระยา น้ำบริบูรณ์ดี มีที่นา 40 ไร่ ปีนี้หยุดทำนาปรัง ผมปรับคันนา 2 คันริมนา ให้ขนาดกว้าง 4 ม. ยาว 120 ม. ทดลองปลูกมะเขือเปราะ มะเขือพวง มะเขือยาว สภาพต้นไม่ค่อยสมบูรณ์ ผลผลิตไม่ดีเท่าที่ควร ปรึกษาเกษตรบอกว่าสงสัยดินเป็นกรด ต้องส่งไปตรวจวิเคราะห์ ผมก็จัดการตามนั้น ระหว่างนี้ขอปรึกษาผู้พันว่า ผมควรช่วยตัวเองอย่างไรไปก่อน .... ขอบคุณครับ
ตอบ :
- นี่ไงที่เขาว่า รายการนี้นำเสนอเรื่องอะไรก็ “ฟังไปงั้นๆแหละ” ทั้งๆที่ บอกแล้วไง ....

1) ก่อนจะลงมือทำอะไร ให้นึกถึงปัญหาก่อน นึกถึงความสำเร็จทีหลัง เมื่อรู้ว่าอะไรจะเป็นปัญหาก็ให้ป้องกันไว้ก่อน แล้วค่อยลงมือทำ ทำๆๆๆแล้วไม่เกิดปัญหาย่อมสำเร็จ

2) จะปลูกพืช ปลูกบนดิน ดินต้องมาก่อน ดินดีได้แล้วกว่าครึ่ง ดินไม่ดีเสียหายแล้วกว่าครึ่ง เตรียมดินเตรียมแปลงดี ได้ผลผลิตดีรุ่นนี้แล้ว ดีต่อไปรุ่นหน้าด้วย หรือจะเปลี่ยนพืชปลูกก็ทำได้ทันที เพราะดินดีเป็นต้นทุนอยู่แล้ว

3) ตัวที่จะทำให้ดินดีได้ คือ จุลินทรีย์ อินทรีย์วัตถุ .... จุลินทรีย์ไต้ดินลึก ประเภทไม่ต้อง การอากาศมีพลังในการย่อยสลายเหนือกว่าจุลินทรีย์ต้องการอากาศที่ผิวดิน

สรุป :
- 3เรื่อง 3อย่าง 3ปัญหา ก่อนจะเอาดินขึ้นพูนคันนา ใส่อินทรีย์วัตถุ ยิบซั่ม ปุ๋ยอินทรีย์ ขี้วัวขี้ไก่ กระดูกป่น รดด้วยน้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง รองพื้นก่อนแล้วค่อยเอาดินขึ้นพูนคันนา คิดบ้างไหมว่า อินทรียวัตถุที่รองพื้น กับจุลินทรีย์จากน้ำหมักจะช่วยให้ดินดีได้

– แนวทางแก้ปัญหาเฉพาะหน้า คือ ใส่อินทรีย์วัตถุ ยิบซั่ม ปุ๋ยอินทรีย์ ขี้วัวขี้ไก่ กระดูกป่น พรวนดินพูนดินเป็นสันลูกฟูก คลุมสันแปลงด้วยหญ้าแห้งหน้า แล้วรดด้วยน้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง บ่มดินทิ้งไว้ 20-30 วัน จึงลงมือปลูก

- ถามเกษตร บอกว่า “สงสัย” สงสัยก็คือสงสัย ยังไม่มีคำตอบ ทำไมไม่ถามให้ชัดเจนไปเลยว่าอะไรเป็นอะไร .... นี่คือ “ความไม่รู้” ไม่รู้แม้แต่จะถามว่าอะไร แล้วคนตอบจะตอบได้ไหม เหมือนคนไปไร่กล้อมแกล้ม ลุงคิมพูดตั้งแต่เช้ายันค่ำ แต่ไม่มีเรื่องที่คนไปอยากรู้เลยซักกะเรื่อง ก็เพราะคนไปไม่ถามไงล่ะ .... คนจะไปเรียน ถามว่า เรียนแบบไหน สอนแบบไหน ให้คนสอนพูดพูดพูด เช้ายันค่ำ แล้วคนเรียนก็จดจดจด ค่ำยันเช้า ยังงั้นเหรอ บอกก่อนนะ ก.หายเมาแล้วว่ะ เพราะฉะนั้น คนเรียนต้องคิดหาวิธีเรียนเอาเอง ที่ไร่กล้อมแกล้มไม่มีหลักสูตรเหมือนโรงเรียน วิชาเกษตร เรียนชั่วโมงเดียว วันเดียว รู้เรื่องทุกเรื่องเลยเหรอ เขาเรียนกัน 4ปี จบ ป.ตรี คิด/วิเคราะห์/เปรียบเทียบ ไม่เป็นซักกะเรื่อง เขาเรียนกันยังไง แล้วเราควรจะเรียนยังไง หมายถึง “วิธีเรียน” นะ

- กรณีของคุณ เกษตรบอกว่า ส่งไปวิเคราะห์ .... วิเคราะห์ที่ไหน ? นานไหมกว่าจะได้คำตอบ ? ได้คำตอบมาแล้วต้องทำอย่างไร ? .... เรื่องนี้ทำได้ก็ดีไป แต่ถ้าทำไม่ได้ก็ไม่เป็นไร เพราะแก้ปัญหาเองได้

- ตรวจวิเคราะห์เอง สูตรไร่กล้อมแกล้ม .... ตรวจค่า กรด/ด่าง : ใช้น้ำกลั่นเติมแบตเตอรี่ (พีเอช 7.0) 1 ถ้วยกาแฟ ใส่ดินก้อนเท่าปลายก้อย ขุดจากดินลึก 1 ฝ่ามือลงไปในน้ำกลั่น คนให้ละลายดี ปล่อยให้นอนก้น แล้วจุ่มกระดาษวัดกรดด่าง (มีขายในห้างศึกษาภัณฑ์) ลงไป นำขึ้นเทียบกับตา รางค่ากรดด่าง รู้ค่ากรดด่าง +/- .5 ก็ถือว่าพอแล้ว ต้องการรู้ค้ากรดด่างของดินบริเวณไหน ก็ขุดดินบริเวณนั้นมาตรวจวัด .... ตรวจปริมาณอินทรีย์วัตถุ : ขุดดินหน้าดิน ลึก 1 คืบมือ จำนวน 1 ก้อนเท่าบาตรพระ นำมาละลายน้ำปริมาณ 2-3 บาตรพระ คนให้ละลายแล้วกรองน้ำออกเหลือกากไว้ กากนั้นคืออินทรีย์วัตถุ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเศษซากพืช ก็จะรู้ว่า เนื้อดินขนาดเท่าบาตรพระนั้นมีอินทรีย์วัตถุกี่เปอร์เซ็นต์

- ดินดี คือ ดินที่มีอินทรีย์วัตถุเป็นพื้นฐาน มีมากคือดีมาก มีน้อยคือดีน้อย ดินที่ขุดขึ้นมาถมคันนา เอามาตรวจค่ากรดด่าง ตรวจปริมาณอินทรีย์วัตถุแล้ว ผลการตรวจ คือ คำตอบ

– ประเทศไทย ส่วนที่เป็นแผ่นดินใหญ่ ยกเว้นภาคไต้ ศูนย์กลางของแผ่นดินที่เป็นกรดตามธรรมชาติ อยู่ที่ อ.องค์รักษ์ นครนายก แผ่รัศมีไปกว้างราว 100 กม. เท่าที่เห็นไปถึง อ.วังน้อย อยุธยา เกษตรกรย่าน อ.องค์รักษ์ ทำสวนมะยงชิด สวนทุเรียน สวนส้มเขียวหวาน นาข้าว ได้อย่างไรในเมื่อที้นั่นคือศูนย์กลางของดินเป็นกรด ในขณะที่สวนส้มเขียวหวาน องค์รักษ์ หนองเสือ ธัญญะ รังสิต วังน้อย กับอีกหลายอำเภอ ดินเป็นกรดเหมือนกันแต่อยู่ไม่ได้ เรื่องของเรื่องก็คือ สวนมะยงชิด ทุเรียน ส้มเขียวหวาน นาข้าว ย่านองค์รักษ์ ไม่มีขุดร่องหล่อน้ำ ไม่ยาฆ่าหญ้า ใช้สารเคมียาฆ่าแมลงน้อยมาก แปลงส้มเขียวหวานที่องค์รักษ์ ให้หญ้าแห้งคลุมสันแปลงหนาๆ ใส่ยิบซั่ม ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยคอก น้ำหมักชีวภาพ สม่ำเสมอ ส้มเขียวหวานแปลงนี้ยังรอดมาได้จนทุกวันนี้ .... การทำแปลงยกร่องน้ำหล่อ เท่ากับเป็นการเจาะตากำมะถันไต้ดิน เหมือนเจาะตาน้ำ สังเกตุเห็นกำมะถันเป็นลิ่มเหลืองๆ นอนอยู่ก้นร่องน้ำเต็มไปหมด น้ำในร่องใสอย่างตาตั๊กแตน ชาวสวนใช้น้ำนั้นรดต้นส้ม น้ำในร่องเป็นกรดเพราะกำมะถันไต้ดินไม่พอ ยาฆ่าหญ้า สารเคมียาฆ่าแมลง ปุ๋ยเคมีมากเกิน ต่างก็เป็นกรดที่ชาวสวนใส่เพิ่มลงไปอีก กับทั้งไม่เคยใส่อะไรที่ช่วยความเป็นกรดของดินเลย ฉะนี้ ต้นส้มเขียว หวานอายุขึ้นปี4 ปี5 จึงเริ่มทยอยตายต้องปลูกซ่อมกันแล้ว

** ส้มเขียวหวาน จ.แพร่ จ.น่าน อยู่มา 50 ปีแล้ว ยังให้ผลผลิต เพราะปลูกแบบพื้นราบไหล่เขา น้ำไม่ขังค้าง
** ส้มโชกุน เชียงใหม่ เชียงราย อยู่มากว่า 20 ปี ยังให้ผลผลิตดี เพราะปลูกแบบพื้นราบไหล่เขา

** ส้มเขียวหวาน ตลาดเขต สองพี่น้อง สุพรรณบุรี เอาน้ำในร่องออก อายุกว่า 20 ปี ยังอยู่ เพราะลดระดับน้ำในร่อง ช่วงไม่ได้เก็บผลผลิต ลดระดับน้ำจากสันแปลงถึงผิวน้ำ 1 ม. ช่วงที่ต้องเก็บผลผลิต ต้องเอาเรือเข้าก็ปล่อยน้ำเข้าไปในร่อง ระยะเวลาแค่เดือนเดียวต้นส้มอยู่ได้

** ส้มเขียวหวาน บางมด วันนี้อยู่ไม่ได้เพราะน้ำทะเลเสียหนุนขึ้นมา
** เซียนส้มเขียวหวาน เผ่นไปอยู่กำแพงเพชร ขอนแก่น หลายคนยังทำแปลงยกร่องน้ำหล่อ นอกจากสิ้นเปลืองแล้วต้นส้มยังอายุสั้นเหมือนที่เคยทำๆมา ก็มีบางคนทำสวนยกร่องแห้งลูกฟูก ติดสปริงเกอร์ นอกจากประหยัดต้นทุนเตรียมแปลงแล้ว ต้นส้มยังอายุยืนนานกว่าอีกด้วย

- ดินเป็นกรด (เน้นย้ำ....กรด) แก้ไขด้วยการใส่ ปูนมาร์ล โดโลไมท์ ปูนขาว ปริมาณตามค้าความเป็นกรด .... ดินเป็นด่าง (เน้นย้ำ...ด่าง) แก้ไขด้วยการใส่ปุ๋ยที่มีส่วนผสมกำมะถัน เช่น 16-16-16 + 2.5 S

- หน้าดินนาที่ถูกปาดออกไปถมคันนา ดินล่างที่เหลืออยู่ไม่มีสารอาหาร ต้องสร้างขึ้นมาใหม่ โดยใส่ยิบซั่ม เฟอร์มิกซ์, ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, กระดูกป่น, ใส่มากๆหน่อย รดด้วยน้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 ไถดะไถแปรไถพรวนตามปกติ บ่มดินทิ้งไว้ 20-30 วันจึงลงมือปลูกข้าว .... ปลูกข้าวไปแล้ว ขณะกำลังเจริญเติบโตอยู่นั้น ควรให้สารอาหารทางใบเป็นหลัก เพื่อชดเชยส่วนที่เคยได้จากดิน

-------------------------------------------------------------


จาก : (087) 068-4837xx
ข้อความ : กลุ่มเกษตรกรชัยนาท สนใจไปดูระบบน้ำที่ไร่กล้อมแกล้ม วันพฤหัสที่ 27 เดือนนี้ ดูระบบน้ำอย่างเดียว เพราะมีเวลาประมาณ 2 ชม. ลุงคิมขัดข้องไหมครับ .... ขอบคุณครับ
ตอบ :
- ขัดข้องครับ .... ไม่ใช่เฉพาะพฤหัสนี้ พฤหัสไหนก็ไม่ได้ไป ไม่รับนัด แต่จะไปไร่กล้อม แกล้มก็เฉพาะวันที่มีออร์เดอร์ปุ๋ยมาเท่านั้น ไปปรุงปุ๋ย ไม่ใช่ไปรับแขก

- วันอาทิตย์ไม่ได้ไป เพราะเช้ามีรายการวิทยุที่ FM 91.0 ซึ่งต้องทำที่บ้านเท่านั้น จาก FM 91.0 แล้วต่อรายการเราตรงนี้ จบรายการก็ 9 โมงเช้า จบวิทยุแล้วกินข้าวเช้า กว่าจะกินข้าวเสร็จก็น้องๆ 10 โมง .... ถ้าจะไปไร่กล้อมแกล้ม ออกจากบ้าน 10 โมงเช้า ถึงก็เที่ยง กินข้าวเที่ยง แล้วจะเหลือเวลาทำงานอะไรซักเท่าไหร่เชียว

- ที่แน่ๆ 2-3 ปีมาแล้ว ไปเฉพาะวันเสาร์ ไปให้ปุ๋ยต้นไม้ เสาร์ไหนมีภารกิจจำเป็น ไม่ได้ไปก็สั่งให้คนงานทำแทน เขาทำได้เพราะทำมานานแล้ว แล้วก็เป็นงานแบบประจำๆ .... ที่ไร่กล้อมแกล้มจัดวงรอบบำรุงต้นไม้ไว้อาทิตย์ละครั้ง กำหนดวันเสาร์ ไม้บางอย่างให้ทุกวันเสาร์ ไม้บางอย่างให้เสาร์เว้นเสาร์ นั่นหมายความว่าต้องใช้สปริงเกอร์ หม้อปุ๋ยหน้าโซน ในเมื่อคุณจะมาดูเรื่องสปริงเกอร์ ทำไมไม่มาวันที่เราทำงานกันล่ะ ถ้าจะมาวันอื่นก็ต้องดูเป็นงานๆไป อย่าง เช่น มะม่วงออกดอก ต้องฉีดสมุนไพรกำจัดเพลี้ยจั๊กจั่น ป้องกันราดำ อันนี้ทำทุกวันตอนเย็นตอนค่ำ หลุดจากนั้นเราไม่ได้ใช้งาน การที่ใครจะมาเมื่อไหร่เป็นเปิดสปริงเกอร์ให้ดูเมื่อนั้น มาเช้าเปิดเช้า มาบ่ายเปิดบ่าย มาค่ำเปิดค่ำ มาคนเดียวก็เปิดให้ดู คงไม่ใช่ยังงั้นนะ

- ที่สวนวันเพ็ญ ซ.รามคำแหง ปราจีนบุรี ติดสปริงเกอร์ทุเรียน เอาหัวไปไว้บนยอด กลายเป็นเรื่อง UNSEEN ใครต่อใครพากันไปดู ไปถึงก็ขอให้วันเพ็ญฯ เปิดให้ดู มาเช้าเปิดเช้า มาเที่ยงเปิดเที่ยง มาค่ำเปิดค่ำ มาคนเดียวก็เปิด มาสองคนก็เปิด บางวันเปิด 3 รอบ บางวันเปิด 4 รอบ เปิดอยู่ไม่กี่เดือน ทุเรียนต้นนั่นรากเน่าตายจ้อย

- ทุกเสาร์ที่มี สมช. เราไปที่ไร่กล้อมแกล้ม เช้า 8-9 โมงต้องทำรายการวิทยุ เสร็จวิทยุแล้วทานข้าวเช้า สมช.ที่มาก็ทานด้วย .... ประมาณ 10 โมงเช้า แดดออก 100% ปากใบเปิด ก็เริ่มลงมือทำงานให้ปุ๋ยต้นไม้ นั่นคือใช้สปริงเกอร์ ใครมาแม้จะไม่ดูสปริงเกอร์ก็ต้องไปที่สปริงเกอร์ ระหว่างนี้ไปนี้ ใครที่ไม่ได้มาเกี่ยวกับสปริงบเกอร์ก็อาจจะคุยเรื่องอื่นที่อยากคุยได้ ส่วน สมช.ใหญ่มาดูสปริงเกอร์ทั้งนั้น .... ระหว่างที่สปริงเกอรทำงานนั้น ลุงคิมจะอธิบายทุกขั้นตอนของการทำงาน

.... แบบหัวสปริงเกอร์ หม้อปุ๋ย ทางใบ ทางราก ชี้ให้เห็นกับตา
.... ลักษณะเนื้องานที่ออกมา เวลา แรงงาน เปรียบเทียบกับลากสายยาง แล่นเรือปากเป็ด แอร์บลาสส์
.... ปัญหาและการแก้ปัญหา เช่น พ่นน้ำไม่แรง พ่นน้ำแรงไม่เท่ากันทุกหัว หัวอุดตัน
.... เปรียบเทียบสปริงเกอร์ของที่นี่กับของที่อื่นๆ พร้อมสาเหตุและการแก้ไข
.... ทฤษฎีการวางท่อน้ำทำให้ได้ แรงดัน/แรงอัด จากปั๊มไม่ดี
.... พิสูจน์การให้ปุ๋ยทางท่อด้วยหม้อปุ๋ยหน้าโซน แล้วเนื้อปุ๋ยไปสู่ต้นไม้เท่ากันทุกต้น หรือตกลงพื้นได้ทั่วทุกตารางนิ้ว
.... กรณีทำงานครั้งละ 2-3 แถว (ร่อง) พบว่า 2-3 หัวแรกแรง แต่ 2-3 หัวท้ายค่อย เป็นเพราะอะไร ? แก้ไขอย่างไร ?

.... ระยะทางส่งน้ำ จากปั๊มถึงโซนท้ายสุด ตลับเมตรวัดได้ 198 ม. ทุกหัวสปริงเกอร์ยังพ่นน้ำได้รัศมี 4-5 ม. เหมือนโซนแรก เคยถามบางคนว่า ถ้าขยายระยะออกไปอีก 100 ม. แบ่งเป็นโซน ๆละ 50 ต้น จะได้ไหม ทุกคนตอบว่า “ได้” เพราะแรงดันน้ำยังแรงอยู่

- พื้นที่ 1 โซน ลงไม้ 50 ต้น ใช้เวลาพ่นน้ำ 10 นาที ถือว่า O.K. แต่ถ้าลากสายยางเดินฉีดพ่นทีละต้นๆ ต้นละ 3 นาที ต้องใช้เวลา 150 นาที หรือ 2 ชม.ครึ่ง .... เปรียบเทียบค่าไฟฟ้า สปริงเกอร์ 10 นาที ลากสายยาง 150 นาที ต่อการทำงาน 1 รอบ แบบนี้อย่างไหนแประหยัดกว่ากัน .... แถม ลากสายยางใช้แรงงาน 2 คน สปริงเกอร์ใช้แรงงานคนเดียว

- เท่าที่เห็นมา ไม้ผลยืนต้น ติดสปริงเกอร์ที่โคนต้นสำหรับให้น้ำอย่างเดียวแท้ๆ แต่ทางใบใช้สายยางเดินฉีดทีละต้นๆ ต้นเตี้ยฉีดถึงยอดไม่มีปัญหา ต้นสูงๆ ฉีดไม่ถึงก็ปล่อยไป แต่สปริงเกอร์ไร่กล้อมแกล้มเป็นแบบ “กะเหรี่ยงคอยาว กะเหรี่ยงหน้าง้ำ กะเหรี่ยงหน้ามืด กะเหรี่ยงเจ้าพระยา” ฉีดพ่นได้ทั้งยอด กลางทรงพุ่ม โคนต้น ฉีดพ่นน้ำเปล่าๆ, น้ำ+ปุ๋ย, น้ำ+ยา, ทั้งทางใบทางราก อยากให้ทางไหนเปิดทางนั้นแล้วก็ปิดอีกทาง หรือจะเปิดพร้อมกันทั้งสองทางก็ได้

.... กะเหรี่ยงคอยาว คือ หัวสปริงเกอร์ขึ้นไปอยู่บนยอดไม้ พ่นน้ำออกมาสัมผัสใบ ทุกใบทั่วทรงพุ่ม แล้วตกลงพื้นดิน กลายเป็นฝนตกได้

.... กะเหรี่ยงหน้าง้ำ คือ หัวสปริงเกอร์คว่ำลงแล้วพ่นน้ำครอบเฉพาะต้นตัวเอง อันนี้เหมาะสำหรับไม้ต้นเล็ก
... กะเหรี่ยงหน้ามืด คือ การเดินเข้าไปเปลี่ยนวาวล์ที่โคนต้น ต้องการให้ทางรากเปิดวาวล์ทางรากปิดวาวล์ทางใบ ต้องการให้ทางใบเปิดวาวล์ทางใบปิดวาวล์ทางราก เดิน 3ก้าวก้ม 3ก้าวก้ม ทีละต้นๆ ทุกต้นจนครบ 50 ต้นใน 1 โซน บางต้นก้มแล้วต้องมุดด้วย ฉะนี้จะไม่หน้ามืดได้ไง

.... กะเหรี่ยงเจ้าพระยา คือ มีวาวล์ทางใบทางรากอยู่ที่หม้อปุ๋ยหน้าโซน ต้องการให้ทางใบเปิดวาวล์ทางใบปิดวาวล์ทางราก ต้องการใช้ทางรากเปิดวาวล์ทางรากปิดวาวล์ทางใบ เปลี่ยนวาวล์ที่หน้าโซนนั้นเลย ไม่ได้เดินไปที่โคนต้นทีละต้นเหมือนกะเหรี่ยงหน้ามืด แบบนี้ถ้ามีร่มมีเตียงผ้าใบชายหาดกางไว้ อ่านหนังสือคู่สร้างคู่สม ไม่เรียกว่า “กะเหรี่ยงเจ้าพระยา” แล้วจะเรียกอะไร

- สปริงเกอร์ที่ไร่กล้อมแกล้ม ต้นทุนค่าวัสดุอุปกรณ์ต่างๆในโซน 50 ต้น (ไม่รวมปั๊ม) แค่ 5,000 เท่านั้น แต่ค่าแรง 15,000 จ้างแค่โซนเดียว ที่เหลือทำเอง

- สปริงเกอร์ประเภท “ยาวตัด/สั้นต่อ/ไม่พอซื้อ/ไม่ดีรื้อทำใหม่” หมายถึง ถ้า ติดผิด/ต่อผิด ให้ตัดเอาไอ้ตัวที่ใส่ผิดออกมา แล้ว REUSE ใช้ใหม่ได้ ไม่ต้องทิ้ง ชุดประกอบสปริงเกอร์ที่ติดผิด/ต่อผิด ตัดออกมาแล้วทิ้งขายให้ซาเล้ง แต่สปริงเกอร์ไร่กล้อมแกล้มเรียกว่า “ซาเล้ง ร้องไห้” เพราะเอาไป REUSE ขายใหม่ไม่ได้ .... ยกตัวอย่าง บอลล์วาวล์ ½ นิ้ว ซื้อใหม่ตลาดท่ามะกา อันละ 35 บาท ซาเล้ง REUSE ใช้งานได้ใหม่ ขายเป็นของเก่าอันละ 10 บาท ไงล่ะ .... งานนี้ ลงท้ายต้องเอามาคืนไร่กล้อมแกล้ม ลุงคิมคืนเงินให้ แล้วให้เอาเศษสปริงเกอร์ไปทิ้งให้ด้วย ซาเล้งก็เลยเอาไปชั่งกิโลขาย

- อ.วิชัยฯ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง เคยไปเห็นระบบสปริงเกอร็ทั่วประเทศ คราวนำ นศ.ไปฝึกงาน บอกกับ นศ.ว่า ระบบสปริงเกอร์ไร่กล้อมแกล้มถือว่า ราคาถูกที่สุด ประสิทธิภาพสูงสุด

- นี่คือ บางส่วนบางเสี้ยวของความรู้เรื่องสปริงเกอร์ ยังมีอีกหลากหลายความรู้เรื่องการ เกษตรที่เกษตรกรน่าจะรู้เอาไว้ เช่น การทำปุ๋ย การทำยา .... ทุกเรื่องยินดีสอน แต่คนเรียนยินดีเรียนไหม สอนให้ทำเป็น ไม่ใช่แค่ให้รู้เท่านั้น

--------------------------------------------------------------



.[url][/url]
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©