-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร 23 NOV *พุทธรักษาส่งออก,*ตะไคร้วงปูน,*งูในสวน,*อากาศหนาวปลูกอะไร,*มะละกอใบเหลือง,*ลั่นทมกระถาง,*มะม่วงลูกเล็ก,*สีดาหลา,*กล้ามะม่วงไม่โต,*กล้วยลูกเล็ก,*บำรุงคูนราชพฤกษ์,*มะเขือนมควาย,*บัวผักบุ้ง,*มะม่วงออกดอกแตกใบอ่อน,*มะคาเดเมีย
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร 23 NOV *พุทธรักษาส่งออก,*ตะไคร้วงปูน,*งูในสวน,*อากาศหนาวปลูกอะไร,*มะละกอใบเหลือง,*ลั่นทมกระถาง,*มะม่วงลูกเล็ก,*สีดาหลา,*กล้ามะม่วงไม่โต,*กล้วยลูกเล็ก,*บำรุงคูนราชพฤกษ์,*มะเขือนมควาย,*บัวผักบุ้ง,*มะม่วงออกดอกแตกใบอ่อน,*มะคาเดเมีย
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร 23 NOV *พุทธรักษาส่งออก,*ตะไคร้วงปูน,*งูในสวน,*อากาศหนาวปลูกอะไร,*มะละกอใบเหลือง,*ลั่นทมกระถาง,*มะม่วงลูกเล็ก,*สีดาหลา,*กล้ามะม่วงไม่โต,*กล้วยลูกเล็ก,*บำรุงคูนราชพฤกษ์,*มะเขือนมควาย,*บัวผักบุ้ง,*มะม่วงออกดอกแตกใบอ่อน,*มะคาเดเมีย

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 25/11/2014 9:27 pm    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร 23 NOV *พุทธรักษาส่งออก,*ตะไคร้วงปูน,* ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร รายการวิทยุ 23 NOV

AM 594 เวลา 08.10-09.00 & 20.05-20.30 ทุกวัน และ FM 91.0 (07.00-08.00 / วันอาทิตย์)

********************************************************************

สวัสดีครับ ท่านผู้ฟังที่เคารพ
กองทัพบกเพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตร และอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดยกองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก

@@ สนับสนุนรายการโดย ...
... บ.นิมุติ เอ็นจิเนียริ่ง เครื่องย่อยเศษพืช (02) 322-9175-6
... ยิบซั่มธรรมชาติ เฟอร์มิกซ์, ธันเดอร์พลัส, ธันเดอร์แคล, เอ็ม.แคล--- ธาตุรอง/ธาตุเสริม มัลติแชมป์ (089) 144-1112
... และ บ.มายซัคเซส อะโกร--- ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, กาวเหนียวดักแมลง มายฟิกส์, กลิ่นล่อแมลงวันทอง ฟลายแอต, สารเสริมฤทธิ์สารสมุนไพร ไบโอเจ๊ต, ถังฉีดพ่นรุ่นใหม่ ใช้แบตเตอรี่ (081) 910-5034

กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการครับ
เช่นเคยครับ รายการเรา 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม ที่ (081) 913-4986

----------------------------------------------------------------------------------------------

ตัวแทนจำหน่าย ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง, ไบโออิ, ไทเป, ยูเรก้า. (อินทรีย์ – เคมี)

1) ชมรม (ใหญ่) สีสันชีวิตไทย (089) 814-3204 ใกล้ไฟแดง สี่แยกบางแพ ราชบุรี
2) “คุณชาตรี” (081) 841-9874 ทรัพย์ทวีการเกษตร ชัฎป่าหวาย สวนผึ้ง ราชบุรี (ส่งทาง ปณ.)

3) ร.ต.ต.นันท์สุรัตน์ (089) 821-8273 ต.จรเข้เผือก ด่านมะขามเตี้ย กาญจนบุรี (ส่งทาง ปณ.)
4) “คุณล่า” (081) 944-8494 ทุกวันจันทร์ ตลาดนัดวัดอมรญาติ ดำเนินสดวก ราชบุรี

5) “คุณประเสริฐ” (080) 110-4645 บ.เขาดิน หนองแขม เดิมบางนางบวช สุพรรณบุรี
6) “คุณอรุณ” (085) 058-1737 ในร้านโครงการหลวง ตลาด อตก.

7) “คุณพรพรรณ” (089) 814-7944 พลชัยเกษตรชีวภาพ ตลาดนัดธนบุรี ถ.เลียบคลองทวีวัฒนา
8 ) “คุณน้ำส้ม” (085) 055-7706 ชมรมฯ สาขาศาลายา หน้า ม.มหิดล พุทธมณฑลสาย 4 (ส่งทาง ปณ.)

---------------------------------------------------------------------------------------------------------

@@ สารอาหาร (ปุ๋ย) เพื่อการสื่อสาร :

** ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง : ส่วนผสมหลัก .... อินทรีย์/เคมี (กุ้งหอยปูปลาทะเล, เลือด, ไขกระดูก, นม, ขี้ค้างคาว, น้ำมะพร้าว, ธาตุหลักตามพืช, แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม

** ไบโออิ : ส่วนผสมหลัก .... เคมี (แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม)
** ยูเรก้า : ส่วนผสมหลัก .... เคมี (21-7-14, ไคโตซาน, อะมิโนโปรตีน)
** ไทเป : ส่วนผสมหลัก ..... อินทรีย์/เคมี (นม, ไข่, น้ำมะพร้าว, 13-0-46. 0-52-34)


มิได้มีเจตนาโฆษณาผลิตภัณฑ์ แต่ใช้ชื่อผลิตภัณฑ์เพื่อง่ายต่อการสื่อสารข้อมูล เท่านั้น
.... ต้นพืชไม่รู้จักยี่ห้อ ไม่รู้จักเจ้าของสูตร .....
.... ไม่รู้เจ้าของคนปลูก ไม่ฟังโฆษณา .........
.... ต้นพืชรู้จักแต่ส่วนผสมหรือเนื้อใน .........

-----------------------------------------------------------



จาก : สมช. สวพ. FM 91.0 (07.00-08.00 / อาทิตย์)
ข้อความ : พุทธรักษ์เป็นไม้ส่งออกได้ไหม....?
ตอบ :
- ได้ .... ถ้าอายุหลังเก็บเกี่ยวนานขนาดกล้วยไม้ได้ แต่วันนี้พุทธรักษาจากต้นสู่แจกันเลย อยู่ได้แค่ 3 วันเท่านั้น แล้วจะเดินทางไปต่างประเทศได้ไง .... ว่ามั้ย

--------------------------------------------------------------


จาก : สมช. สวพ. FM 91.0 (07.00-08.00 / อาทิตย์)
ข้อความ : ตะไคร้ ในวงปูน บำรุงอย่างไร....?
ตอบ :
- บำรุงเหมือนบนพื้นดินธรรมดาๆ
- ใช้ฮอร์โมนก้นครัว รดต้นจากใบลงถึงรากโชกๆ อาทิตย์ละครั้งก็พอ ให้น้ำปกติสม่ำเสมอพอหน้าดินชื้น
- ตัดตะไคร้มากิน ให้ตัดต้นใจกลางกอก่อน ไม่ควรตัดต้นริมกอ เพราะต้นริมกอจะแตกหน่อใหม่ออกมาเรื่อยๆ

--------------------------------------------------------------


จาก : สมช. สวพ. FM 91.0 (07.00-08.00 / อาทิตย์)
ข้อความ : งูในสวนป้องกันอย่างไร....?
ตอบ :
- ตัดหญ้าให้เลี่ยนเตียนโล่ง ทำสวนให้สะอาดสะอ้านเหมือนลานวัด งูไม่ชอบที่โล่งๆ เพราะไม่มีที่หลบภัย ในขณะเดียวกันต้นไม้ประธาน (ไม้ที่ปลูกเอาผลผลิต) ก็ไม่ชอบ เพราะสภาพแวดล้อมผิดธรรมชาติ ไม่ออกดอกติดผล

- งูมีประสาทสัมผัสรับเสียงหรือแรงสั่นสะเทือนที่ผิวหนังบริเวณท้อง เมื่องูรู้สึกถึงแรงสั่นสะเทือนเพียงเล็กน้อยก็จะหนีไปเอง นั่นหมายความว่าแค่เสียงเท้าคนเดินงูก็รับรู้ได้แล้ว

- งูที่วิ่งไล่กัดคนมีแต่ในนิยายเท่านั้นแหละ
- งูทั่วๆ ไป เช่น งูเขียว งูเห่า งูจงอาง งูสิงห์ ในสวนหรือในที่หลบภัยต่างๆ จะกัดคนก็ต่อเมื่อตกใจ ซึ่งอาจจะถูกคนเหยียบก็ได้ เท่านั้น แต่งูแมวเซา ทั้งๆที่รับสัญญาณสัมผัสเสียงสั่นสะเทือนแล้วไม่หนี แต่จะขดตัวหลบนิ่งอยู่ตรงนั้น ถ้าคนไม่ไปเหยียบมันก็ไม่มีอะไร แต่ถ้าคนไปเหยียบมันก็จะถูกมันกัดเอาเท่านั้นแหละ

--------------------------------------------------------------


จาก : สมช. สวพ. FM 91.0 (07.00-08.00 / อาทิตย์)
ข้อความ : เดือนนี้ เดือนหน้า อากาศหนาว ปลูกอะไรดี....?
ตอบ :
- คงหมายถึงผักสวนครัว อายุสั้น ฤดูกาลเดียว ทั้งกินใบกินผลกินยอดกินหัว คงไม่ได้หมายถึงไม้ผลยืนต้นนะ

- ผักสวนครัว ปลูกกิน ถามคนในบ้าน .... ปลูกขาย ถามคนรับซื้อ
– ไม้ผลยืนต้น หน้าหนาวอากาศแห้ง เขาไม่ปลูกกันหรอก โตช้าหรืออาจะยืนต้นตายได้
- วิธีปลูกพืชหน้าหนาว หน้าไหนๆ แนะนำได้ทั้งนั้น แต่จะปลูกอะไรนี่สิ ไม่รู้จะแนะนำยังไง

--------------------------------------------------------------



จาก : สมช. สวพ. FM 91.0 (07.00-08.00 / อาทิตย์)
ข้อความ : มะละกอ ลำต้นคดงอแล้วใบเหลือง แก้ไขอย่างไร.... ?
ตอบ :
- คงไม่คดขนาดน้ำเลี้ยงลำเลียงขึ้นไปไม่ได้หนอกนะ เพราะฉะนั้น อาการคดงอของลำต้นคงไม่ใช่สาเหตุของอาการใบเหลือง

- สาเหตุอาการใบเหลือง เกิดจาก ....
1. ระบบรากไม่ดี ฝนชุกน้ำขังค้าง แก้ไขด้วยการทำร่องระบายน้ำออกจากโนคนต้น แล้วพรวนดินพูนดินโคนต้น ....
2. เป็นโรคใบด่างวงแหวน (RING SPOT) แมลงปากกัดปากดูดเป็นพาหะนำมา เป็นเชื้อไวรัส ไม่มีสารเคมีใดๆ หรือสารสมุนไพรใดๆ แก้ไขได้ เป็นแล้วเป็นเลย แนะนำให้โค่นทิ้งเพี่อป้องกันแพร่ระบาดไปสู่ต้นอื่น

--------------------------------------------------------------


จาก : สมช. สวพ. FM 91.0 (07.00-08.00 / อาทิตย์)
ข้อความ : ลั่นทม ในกระถาง อยากให้ต้นโต บำรุงอย่างไร....?
ตอบ :
- กระถางใหญ่ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2-3 ม. บำรุงให้ใหญ่ได้ เหมือนลั่นทมบนพื้นปกติทุกประการ แต่ถ้าอยู่ในกระถางขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางศอกแขนเดียวคงทำไม่ได้ เพราะเมื่อต้นโตขึ้นก็ล้ม .... ใส่ปุ๋ยคอกอย่างเดียว ปีละ 2 ครั้งก็พอ

- ลั่นทมเป็นไม้ใหญ่ ปลูกในกระถางคงไม่โต แต่หากจะทำเป็น “ลั่นทมบอนไซ” ก็ไม่ต้องทำให้โต ว่าแต่เคยเห็นลั่นทมทำบอนไซที่ไหนบ้างล่ะ

--------------------------------------------------------------


จาก : สมช. สวพ. FM 91.0 (07.00-08.00 / อาทิตย์)
ข้อความ : มะม่วงลูกขนาดลูกปิงปอง ทำมะม่วงน้ำปลาหวาน พันธุ์อะไร ....?
ตอบ :
- พันธุ์อะไรก็ได้ ดีทั้งนั้น ส่วนใหญ่เป็นมะม่วงผลร่วง
- มะม่วงกินดิบน้ำปลาหวาน พริกเกลือ หรือมะม่วงยำ เช่น มะม่วงเบาภาคไต้ มะม่วงศรีสยามภาคกลาง เป็นมะม่วงพันธุ์ดกที่สุด พวงละ 30-50 ลูกเลย

--------------------------------------------------------------


จาก : สมช. สวพ. FM 91.0 (07.00-08.00 / อาทิตย์)
ข้อความ : ดาหลาสีอะไรดีที่สุด .... ?
ตอบ :
- ดาหลาเท่าที่รู้มี 4 สี คือ แดง เหลือง ขาว ชมพู .... ทุกสีการปลูกการเลี้ยงเหมือนกัน
- สีไหนสวยที่สุด ถามคนซื้อ ถ้าคนซื้อไม่ชอบ ยังไงๆก็ไม่สวย

--------------------------------------------------------------


จาก : สมช. สวพ. FM 91.0 (07.00-08.00 / อาทิตย์)
ข้อความ : กล้ามะม่วงลงดิน 3 เดือนไม่โต แก้ไขอย่างไร....?
ตอบ :
- กล้า คือ กล้า .... กล้า คือไม้ต้นเล็ก .... ไม้ต้นเล็ก คือ ไม้ที่ยังไม่แข็งแรง
– ที่นี่เคยพูดเรื่องนี้บ่อยๆว่า ซื้อกล้าไม้มาแล้ว อย่ารีบนำลงหลุมปลูกทันที แต่ให้เลี้ยงในร่มไปก่อน รอให้แตกใบอ่อนซัก 2-3 ชุด จึงนำลงปลูก .... กล้าที่แตกยอดใหม่ 2-3 ชุดแล้วนั้น หมายถึงต้นสมบูรณ์แข็งแรง ทั้งต้นและราก โอกาสรอดตายสูง

- งานนี้เลี้ยงต่อไปก่อน รอดคือรอด ตายคือตาย

--------------------------------------------------------------


จาก : สมช. สวพ. FM 91.0 (07.00-08.00 / อาทิตย์)
ข้อความ : กล้วยน้ำว้า ลูกลีบเล็กแก้ไขอย่างไร....?
ตอบ :
- ต้นไม่สมบูรณ์อย่างรุนแรง แก้ไขอะไรไม่ได้ กล้วยมีลูกให้ผลได้ครั้งเดียว ได้มาแล้วดีคือดี ไม่ดีคือไม่ดี .... ปัญหาน่าจะอยู่ที่ดิน กล้วยน้ำว้าชอบดินเหนียวมีอินทรีย์วัตถุ ปลูกกล้วยลงไปแล้ว คลุมโคนต้นด้วยผักปอดหนาๆ รดด้วยน้ำหมักชีวภาพเดือนละครั้ง แล้วทุกอย่างจะดีเอง

- กล้วยทุกสายพันธุ์ต้องการให้ ต้นใหญ่ เครือใหญ่ ลูกใหญ่ ลูกมาก ต้องแยกหน่อจากต้นยแม่มาปลูกใหม่เป็นหน่อหนึ่งเสมอ .... หากเลี้ยงหน่อไว้กับต้นแม่ซ้ำหลายๆรอบ กลายเป็นหน่อห้าหน่อสิบ ต้นจะเล็กลง เครือเล็ก ลูกเล็ก ลูกน้อย

--------------------------------------------------------------


จาก : สมช. สวพ. FM 91.0 (07.00-08.00 / อาทิตย์)
ข้อความ : คูน ราชพฤษ์ บำรุงอย่างไร...?
ตอบ :
- ทางใบ : ให้ฮอร์โมนไข่ที่มี 13-0-46, 0-52-34 เดือนละครั้ง .... ทางราก : ใส่ยิบซั่ม กระดูกป่น ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ ปีละครั้ง รดด้วยน้ำหมักชีวภาพ 8-24-24 เดือนละครั้ง

- คูน ราชพฤกษ์ ถนนอุทธยาน ออกดอกตลอดปี หน้าฝนออกน้อยต้นเพราะน้ำมาก หน้าแล้งออกทุกต้นเพราะน้ำน้อย เมื่อรู้เช่นนี้ก็จง ไม่ให้น้ำช่วงหน้าฝน ให้น้ำพอต้นรู้สึกในหน้าแล้ง แล้วเขาจะออกดอกให้เอง

-------------------------------------------------------------


จาก : สมช. สวพ. FM 91.0 (07.00-08.00 / อาทิตย์)
ข้อความ : มะเขือนมควาย บำรุงอย่างไร....?
ตอบ :
- มะเขือนมควาย ตั้งชื่อกันเองเพื่อการค้าหรือเปล่า
- ไม้ผลกินได้ หรือไม้ผลประดับ
- ถ้าเป็นมะเขือคนกิน บำรุงแบบเดียวกัน
- ถ้าเป็นมะเขือนมแพะ ให้บำรุงแบบไม้ดอก

--------------------------------------------------------------


จาก : สมช. สวพ. FM 91.0 (07.00-08.00 / อาทิตย์)
ข้อความ : ปลูกบัว ผักบุ้ง ในแปลงเดียวกันไว้ขาย บำรุงอย่างไร .... ?
ตอบ :
- ปลูกในแปลงเดียวกันไม่ได้ เพราะบัวต้องการน้ำลึกระดับอกถึงมิดหัวคน แต่ผักบุ้งทอดทอด ต้องการน้ำลึกระดับหัวเข่า, ผักบุ้งไทย ต้องการน้ำลึกแค่เหนือตาตุ่ม, ส่วนผักบุ้งจีน ต้องการน้ำแต่ชุ่มๆ เท่านั้น .... ตกลงเอาผักบุ้งอะไร ?

- ปลูกลงไปแล้ว .... บัว : บำรุงด้วย “น้ำ 20 ล. + นมสด 100 ซีซี.” อาทิตย์ละครั้ง .... ผักบุ้ง : บำรุงด้วย “น้ำ 20 ล. + นมสด 50 ซีซี. + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 1 ช้อนกาแฟ” อาทิตย์ละครั้ง

--------------------------------------------------------------


จาก : (083) 382-19xx
ข้อความ : มะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง น้ำดอกไม้เบอร์ 4 อายุ 10-12 ปี สวนยกร่องน้ำหล่อ ราดสารพาโคล กลางเดือน ต.ค. ออกดอกดีมาก เดือนนี้ พ.ย. ฝนตกถี่มาก แตกใบอ่อน เราควรจัดการกับใบอ่อนอย่างไร ปล่อยไว้หรือตัดแต่งกิ่ง .... มะม่วงปากท่อ
ตอบ :
- มะม่วงออกดอกติดลูกแล้วแตกใบอ่อน เป็นไปได้ทุกสายพันธุ์ กับไม้ผลอย่างก็เป็นไปได้ด้วย การแก้ไขปัญหาใบอ่อนแตกซ้อนก็ว่ากันไปตามชนิดของไม้ผลนั้น

- กรณีมะม่วงมีใบอ่อนแตกซ้อนขณะมีดอกมีผล จัดการได้ 2 กรณี คือ
* ใบชุดใหม่ยังเป็นใบอ่อน อ่อนมากๆ ขนาดยอดผักหวาน หากต้องการเอาออก ให้เด็ดทิ้งตั้งแต่ออกใหม่ๆ ยาวแค่ 1-2 นิ้วมือ ทั้งนี้ช่วงเป็นใบอ่อนยังสังเคราะห์อาหารไม่ได้ แต่ยังรับสารอาหารจากต้นแม่ แบบนี้ทำให้ไม่สิ้นเปลืองสารอาหารที่ต้องส่งไปเลี้ยงลูก แต่หากไม่ได้เด็ดทิ้งก็ปล่อยให้เป็นใบแก่ไปเลย

* ใบชุดใหม่กลายเป็นใบแก่แล้วต้องปล่อยเลยตามเลย ทั้งนี้ใบแก่สังเคราะห์สารอาหารได้ หากเด็ดใบแก่ทิ้ง เท่ากับลดจำนวนในในการสังเคราะห์อาหาร เป็นเหตุให้ปริมาณสารอาหารที่จะไปหล่อเลี้ยงลูกลดปริมาณลง เมื่อลูกได้รับสารอาหารไม่เพียงพอก็ไม่สมบูรณ์ หรือร่วงได้

- นิสัยธรรมชาติของไม้ผลหลายอย่าง มุ่งสร้างยอดสร้างใบมากกว่าสร้างดอกสร้างผล เพราะการสร้างยอดสร้างใบคืออาการเจริญเติบโตทางต้น การสร้างดอกสร้างผลเพื่อขยายพันธุ์ เตรียมแทนต้นแม่ เพราะต้นแม่อาจจะตาย เมื่อรู้ว่าต้นไม่ตายแน่แล้วจึงถีบดอกถีบลูกทิ้ง ไม่สิ้นเปลืองน้ำเลี้ยง แล้วเอาเลี้ยงไปเลี้ยงใบใหม่นั่นเอง .... แต่นิสัยธรรมชาติของมะม่วงขณะมีดอกหรือลูกแล้วแตกยอดเป็นใบใหม่ จะไม่ทิ้งดอกและลูก เลี้ยงทั้งคู่ให้โตไปด้วยกันเลย


@@ บำรุงผล ขยายขนาด หยุดเมล็ด สร้างเนื้อ :
- ทางใบ : น้ำ 100 ล. + ไบโออิ (Mg Zn TE) 50 ซีซี. + ยูเรก้า (21-7-14, ไคโตซาน, อะมิโนโปรตีน) 50 ซีซี. + สารสมุนไพร 200 ซีซี. 2 รอบ สลับด้วยแคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน

- ทางราก : ใส่ยิบซั่ม เฟอร์มิกซ์. ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, กระดูกป่น, ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ. บริเวณทรงพุ่ม หญ้าแห้งคลุมโคนต้นหนาๆ .... ให้ปุ๋ย 21-7-14 (ครึ่ง กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นกลาง, 2 กก.ต้นใหญ่) /เดือน บริเวณทรงพุ่ม .... ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 21-7-14 (2 ล.) /ไร่ /เดือน รดทั่วแปลงทุกตารางนิ้ว .... ให้น้ำสม่ำเสมอพอหน้าดินชื้น

หมายเหตุ :
- เริ่มให้ตั้งแต่ผลขนาดเมล็ดถั่วเมล็ดงา กระทั่งถึงระยะผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยวจึงเปลี่ยนสูตร
– ปุ๋ยทางใบจะได้ผลต้องมีความสมบูรณ์ของต้นรองรับ ความสมบูรณ์ของต้นมาจากดิน ดินดีดินสมบูรณ์ต้อง อินทรีย์เคมี ผสมผสานอย่างเหมาะสม สม่ำเสมอตลอดปี ทั้งช่วงมีผลบนต้นและมีผลบนต้น

- เกรด เอ. จัมโบ้, โกอินเตอร์, ขึ้นห้าง, ออกนอกฤดู, คนนิยม. ไม่ไหร่ก็ไม่พอขาย จองล่วงหน้า


@@ กรณีศึกษา CASE STUDY มะม่วงไร่กล้อมแกล้ม :
* ไซส์ใหญ่ จับชม ร้องอื้อฮือๆ อื้อฮือๆ แล้ววาง ซื้อลูกเล็ก
* ทุกสายพันธุ์ คนกินคนซื้อพูดเอง อร่อยทุกสายพันธุ์ เรียกว่า รสจัดจ้าน .... มะม่วงเปรี้ยว เปรี้ยวชาววัง น้ำปลาหวานไม่ต้อง .... มะม่วงดิบ ไม่ใช่มันแบบจืดชืด มีแต่แป้ง แต่มันแบบอมเปรี้ยว อมหวาน .... ไม่ใช่เฉพาะมะม่วงอย่างเดียว ผลไม้ทุกชนิดระจัดจ้านด้วย “ธาตุรอง ธาตุเสริม” ปุ๋ยที่เราทำเองนี่แหละ

* ไม่สารเคมีเด็ดขาดทุกระยะ ใบอ่อน -เพลี้ยไฟ ใบจุด, ดอก-เพลี้ยจั๊กจั่น ราดำ, ผล-แมลงวันทอง ยืนหยัดแน่วแน่ใช้สารสมุนไพร เจ้าของเด็ดมาจากต้น กัดกินสดๆต่อหน้าแขกที่ไปเยือนได้ ไม่ใช่ว่า ขนาดเจ้าของยังไม่กิน เพราะกลัวสารเคมี

* ไม่ห่อผล
* ทั้งหมดทั้งสิ้นนี้ ทำได้เพราะ สปริงเกอร์ หม้อปุ๋ยหน้าโซน ที่ใครๆบอกว่า สิ้นเปลืองโดยใช่เหตุนั่นแหละ ถ้างั้นก็จงลากสายยาง สะพายเป้ แอร์บลาสส์ เดินฉีดพ่นทีละต้นๆ ๆๆ ต่อไปเถอะ

* อยากให้นึกถึงต้นทุน กับผลผลิตที่ได้รับว่า ใช่ไหม ? คุ้มกันไหม ?

---------------------------------------------- -------------


จาก : (084) 287-10xx
ข้อความ : ขอความกรุณาผู้พัน หาข้อมูลมะคาดิเมียร์ เห็นข่าว ทีวี. ที่เพชรบูรณ์ บอกว่าหน้าสวน ใส่ถุงพลาสติก ขีดละ 80 กก.ละ 8,000 น่าสนใจนะครับ ผมอยู่ไทรโยค อยากปลูกบ้าง .... ขอบคุณครับ
ตอบ :
- เดี๋ยวนี้ พื้นที่ จ.กาญจนบุรี ปลูกพืชที่ไม่มีใครคิดได้หลายๆอย่าง เช่น กาแฟ ทั้งโรบาสต้า กาแฟภาคไต้ อาราบิก้า กาแฟภาคเหนือ เงาะ ทุเรียน มังคุด ปาล์มน้ำมัน ยางพารา แต่ละอย่างเจริญเติบโตให้ผลผลิตทั้งนั้น

- กรณีมะดาเดเมีย จึงไม่ใช่เรื่องแปลก ถ้าจะปลูกบ้าง
- ทำแปลงปลูกเหมือนไม้ผลยืนต้นทั่วๆไป ระยะห่างปกติ หรือระยะชิด ก็ว่ากันไป ปลูกมะคาเดเมียเป็นไม้ประธานลงไปแล้ว ปลูกพืชอายุสั้น แซม/แทรก ได้ทั้งนั้น


ศักยภาพการพัฒนาในอนาคต :
มะคาเดเมียยังสามารถพัฒนาไปได้อีกไกล ทั้งด้านการผลิตและการตลาด ปัจจุบันพื้นที่ปลูกในประเทศมีประมาณ 7,000 – 8,000 ไร่ และมีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยปลูกมากแถบภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น เชียงราย เชียงใหม่ เลย ตาก แม่ฮ่องสอน เพชรบูรณ์ ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดและมีการตั้งโรงงานแปรรูปแล้ว แต่ปริมาณผลผลิตยังมีน้อย รูปแบบผลิตภัณฑ์ยังไม่หลากหลาย ในขณะที่ตลาดมีความต้องการสูง และยังไม่อิ่มตัว ดังนั้น มะคาเดเมียจึงเป็นพืชเศรษฐกิจทางเลือกใหม่ที่น่าสนใจอีกชนิดหนึ่งในปัจจุบัน

มะคาเดเมียในประเทศไทย :
พันธุ์มะคาเดเมียที่ปลูกในประเทศไทยวันนี้มีอยู่ 10 พันธุ์ ที่สถานีทดลองเกษตรที่สูงวาวี เชียงราย สถานีทดลองเกษตรที่สูงแม่จอนหลวง เชียงใหม่ และสถานีทดลองเกษตรที่สูงภูเรือ เลย รวมพื้นที่ทั้ง 3 แห่ง ประมาณ 500 ไร่ ขยายพันธุ์ได้ปีละ 35,000 - 50,000 ต้น ใครสนใจก็ติดต่อสอบถามเอาเอง

ข้อควรคำนึงในการปลูกมะคาเดเมีย :
1. พื้นที่มีการระบายน้ำได้ดี มีหน้าดินลึก
2. ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 1,220-1500 มิลลิเมตรต่อปี
3. มะคาเดเมียเจริญเติบโตได้ดีในช่วงอุณหภูมิ 10-35 องศา ซ.

- ช่วงฤดูหนาว อุณหภูมิ 18 องศา ซ. ลงมา นาน 1 เดือน เพื่อกระตุ้นในการออกดอก
- ช่วงฤดูร้อน อุณหภูมิไม่ควรเกิน 35 องศา ซ. เพราะจะทำให้กะลาแข็งตัวเร็ว เนื้อในเล็กและชะงักการเจริญเติบโต
4. ช่วงออกดอกและเริ่มติดผล ต้องการความชื้นสัมพัทธ์สูง 75% ขึ้นไป
5. ต้องการแสงแดด 100% ตลอดวัน
6. ปลูกหลายพันธุ์ในพื้นที่เดียวกัน เพื่อช่วยการผสมเกสรข้ามพันธุ์ ทำให้ติดผลมาก
7. มีไม้บังลมเพราะ เป็นไม้ระบบรากตื้นอาจทำให้โคนล้มง่าย
8. ให้น้ำได้ในช่วงฤดูแล้งได้ หากขาดน้ำจะทำให้ผลร่วง และมีขนาดเล็ก
9. เนื่องจากเป็นพืชอุตสาหกรรม จึงต้องปลูกรวมกันในพื้นที่ขนาดใหญ่ประมาณ 1,000-1,500 ไร่ขึ้นไป เพื่อให้พอกับปริมาณที่ส่งโรงงานได้

10. ผลผลิตจะคุ้มทุนประมาณปีที่ 12-14 ขึ้นอยู่กับการดูแลรักษา และควรปลูกพืชแซมช่วง 10-12 ปีแรก

11. พื้นที่ปลูกที่เหมาะสม 700 เมตร ขึ้นไป จากระดับน้ำทะเล ถ้าเป็นพื้นที่ต่ำกว่า 700 เมตร คือ 400-600 เมตร ควรอยู่ในเขตเส้นรุ้งที่ 19.8 องศาเหนือขึ้นไป ได้แก่ พื้นที่ภาคเหนือตอนบน


ข้อมูลจากสวนภูเรือวโนทยาน :
มะคาเดเมียนัทไม่ชอบดินเหนียวแต่ชอบดินร่วนปนทราย อุดมด้วยอินทรีย์วัตถุ มีหน้าดินลึก 1-2 เมตร ต้องการแสงแดด 100%

พันธุ์ :
1. Macadamia tetraphylla : เหมาะสำหรับการปลูกในเขตอบอุ่นเพราะสามารถทนอุณหภูมิต่ำได้ดี ทรงพุ่มชะลูด ดอกสีชมพู ผิวกะลาขรุขระ มักใช้ปลูกเป็นต้นตอ

2. Macadamia integrifolia : เหมาะสำหรับการปลูกในเขตร้อน ทรงพุ่มป้อม ดอกสีขาว ผิวกะลาเรียบ นิยมใช้เป็นพันธุ์การค้า

พันธุ์ดีที่กรมวิชาการเกษตรรับรองเป็น Macadamia integrifolia ได้แก่ พันธุ์ 344, พันธุ์เชียงใหม่ 400 (660), พันธุ์เชียงใหม่ 700 (741), พันธุ์เชียงใหม่ 1,000 (508), และพันธุ์ O.C . (Own Choice)

พันธุ์ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ได้นำมาปลูกไว้ที่สวนภูเรือฯ ตั้งแต่ปี 2534 รุ่นแรกที่ปลูกเป็นกิ่งทาบและมาขยายพันธุ์โดยการเปลี่ยนยอด (Top working) ส่วนใหญ่จะปลูกขยายพันธุ์โดยวิธีติดตาเสียบยอดเพื่อไม่ให้กลายพันธุ์

จากประสบการณ์ของสวนภูเรือฯ อาจแบ่งพันธุ์มะคาเดเมียนัทเป็น 2 กลุ่มใหญ่ตามระยะ เวลาการให้ผลผลิต ซึ่งมีผลโดยตรงกับรายได้ ดังนี้

1. พันธุ์เบา : สามารถออกดอกและติดผลได้ดีหลังจากที่ปลูกเพียง 1-5 ปี เช่น พันธุ์ O.C., พันธุ์ 660, พันธุ์ Hinde (H2).

สวนภูเรือฯ ขอแนะนำพันธุ์ CPK1 ซึ่งคาดว่ามาจากการกลายพันธุ์ของพันธุ์ 344 พันธุ์นี้สามารถออกดอกและติดผลได้ในปีที่ 2-3 พอถึงปีที่ 5-10 ก็สามารถให้ผลผลิตเป็นการค้าได้ โดยต้นอายุ 10 ปีจะให้ผลผลิต 10 กก./ต้น อายุ 15 ปี 15 กก./ต้น หลังอายุ 20 ปีขึ้นไป จะให้ผลผลิตเนื้อในกะลา (Nut in shell) ได้ถึง 20 กก./ต้น ซึ่งขณะนี้ ทางสวนฯ ได้ขยายพันธุ์เพื่อจำหน่ายให้ แก่ผู้สนใจในราคาต้นละ 100 บาท

2. พันธุ์หนัก : จะให้ผลผลิตหลังจากปลูก 10 ปีขึ้นไป เช่น พันธุ์ 344, พันธุ์ 741, พันธุ์ 508, มะคาเดเมียนัทกลุ่มนี้ต้องปลูกในพื้นที่สูงซึ่งมีอากาศเย็น อุณหภูมิตลอดทั้งปีไม่ควรเกิน 35ºC โดยเฉพาะพันธุ์ 344

แนะนำว่าควรปลูกพันธุ์เบาก่อน เพื่อจะได้ไม่ต้องรอนานเกินไป และควรปลูกปนกันตั้งแต่ 2 พันธุ์ขึ้นไป โดยปลูกสลับพันธุ์แถวเว้นแถว หรือ 1 แถว เว้น 2 แถว เพราะมะคาเดเมียนัทเป็นพืชผสมข้ามต้น ผสมข้ามพันธุ์เป็นส่วนใหญ่ (Cross pollination)

ในพื้นที่สูงกว่าระดับน้ำทะเล 400-600 เมตร แนะนำให้ปลูกพันธุ์ CPK1 สลับกับ O.C. โดยปลูกพันธุ์ CPK1 2 แถวสลับกับพันธุ์ O.C. 1 แถวเพราะทั้ง 2 พันธุ์เป็นพันธุ์เบาและดก ให้ผลทุกปี แม้พันธุ์ O.C. จะมีปัญหาว่าลูกแก่ไม่ร่วงเองต้องตีกิ่ง แต่เรื่องนี้ก็ไม่น่าจะเป็นปัญหาสำหรับเกษตรกรรายย่อย

http://www.macadamia-nut.net/maca-crop.html


การปลูก และการบำรุง :
การใส่ปุ๋ย : ปีที่ 1, 2, 3 และ 4 ใส่ปุ๋ย 15-15-15 ต้นละ 400, 800, 1,200 และ 1,800 กรัม และผสมยูเรีย 45, 90, 135 และ 180
กรัม ตามลำดับ .... ปีที่ 5 เป็นต้นไป ใช้ปุ๋ยสูตร 12-12-17-2 หรือ 13-13-21 อัตราต้นละ 2.5 กก. และเพิ่มขึ้นปีละ 500-600 กรัม และผสมยูเรียเพิ่ม 10 %
และโปแตสเซียม 15 % ของปุ๋ยสูตรทุกปี แบ่งใส่ปีละ 4 ครั้ง คือช่วง 3 เดือนก่อนออกดอก (ต.ค - พ.ย) ระยะติดผลขนาดเล็ก ระยะต้นฝนและปลายฝน

การให้น้ำ : ให้น้ำอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง ระยะติดผล และผลกำลังพัฒนาไม่ควรขาดน้ำ

http://www.doa.go.th/hrc/cmroyal/index.php?option=com_content&view=article&id=217&Itemid=112


ผลผลิต
หลังปลูก 4-5 ปี เริ่มให้ผลผลิตปีแรก 1-3 กก. /ต้น และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทุกปี 10 ปีขึ้นไป ให้ผลผลิต 20-30 กก. /ต้น อายุ 20 ปีขึ้นไป 40-60 กก. /ต้น อายุให้ผลผลิตยาวนานไม่น้อยกว่า 50 ปี ขึ้นอยู่กับการดูแลรักษา

การเก็บเกี่ยว
บนที่สูงออกดอกช่วง พ.ย. - ธ.ค. และ ก.ค. - ส.ค. อายุตั้งแต่ดอกบานถึงแก่ประมาณ 6-9 เดือน ขึ้นกับบริเวณปลูก ยิ่งสูงยิ่งเก็บช้า มะคาเดเมียเมื่อแก่จะร่วงลงพื้น หลังเก็บผลต้องรับกะเทาะเปลือกเขียวข้างนอกออก เพราะถ้าผลกองรวมซ้อนกันมากๆ จะเกิดความร้อนทำให้เนื้อในคุณภาพไม่ดี การเก็บเมล็ดหลังกะเทาะเปลือกนอกออก ควรผึ่งในที่มีผมผ่านสะดวก หรือวางบนตะแกรงเป็นชั้นๆ เพื่อลดความชื้นขณะรอส่งขายหรือก่อนเข้าตู้อบเพื่อกะเทาะเปลือกแข็ง


มะคาเดเมีย ถั่วราคาแพงที่สุดในโลก....
@ มะคาเดเมียนัท
โดย พีรเดช ทองอำไพ

ชื่อมะคาเดเมียนัท (macademia nut) ก็บอกอยู่ในตัวแล้วว่ามาจากเมืองนอก แต่จริงๆ แล้วเรียกให้ถูกว่าแม็กแคเดเมีย หรือสั้นๆ คือ แม็กนัท ตอนนี้มีปลูกกันอยู่ในหลายแห่งแต่แหล่งใหญ่อยู่ที่ฮาวายกับที่ออสเตรเลีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ฮาวาย เรียกได้ว่าปลูกกันเป็นอุตสาหกรรมหลายหมื่นไร่ และครบวงจร หมายความว่า มีตั้งแต่ปลูกไปจนถึงแปรรูปบรรจุกระป๋องหรือเคลือบช็อกโกแลทมาขายทั่วโลก

วันนี้ก็เลยขอเขียนเรื่องนี้เพื่อเล่าให้ฟัง เนื่องจากว่าเมื่อเร็วๆ นี้ทางกรมวิชาการเกษตรได้ออกข่าวมาว่า กำลังจะผลักดันให้มีการปลูกพืชชนิดนี้กันมากขึ้น เพราะว่าขายได้ราคาดี โดย เฉพาะอย่างยิ่งตลาดญี่ปุ่นมีความต้องการสูงมาก เห็นบอกว่าถ้าเป็น เกรด เอ. สามารถขายได้ถึงกิโลกรัมละ 350 บาททีเดียว

เรื่องการส่งเสริมให้มีการปลูกพืชเศรษฐกิจชนิดใหม่ๆ เพื่อแทนของเดิมที่มีปัญหานั้น ความจริงเป็นเรื่องที่น่าทำ แต่ว่า ก่อนอื่นต้องแน่ใจก่อนว่า จะไม่มาสร้างปัญหาให้ในภายหลัง และที่สำคัญคือ ต้องแน่ใจว่าตอนนี้มีข้อมูลและมีความพร้อมที่จะผลักดัน หรือส่งเสริมให้ขยายพื้นที่กันมากขึ้นได้แล้ว ความจริงพืชตัวนี้ถูกนำเข้ามาปลูกในเมืองไทยนับสิบปีแล้ว แต่ไม่ถึงขั้นเป็นการค้า และก็ยังไม่มีงานวิจัยอะไรเป็นเรื่องเป็นราวรองรับอย่างเพียงพอ เพราะฉะนั้น ถ้าจะผลักดันให้มีการขยายพื้นที่ปลูกกันตอนนี้ก็นับว่าน่าเป็นห่วง

หลายคนที่ยังไม่รู้จักแม็กนัท ผมก็อยากเล่าให้ฟังว่า เป็นไม้ยืนต้นอย่างหนึ่ง ออกดอกฟูเหมือนหางกะรอก แล้วติดผลเป็นช่อเหมือนลางสาด ขนาดผลก็พอๆ กับลางสาด แต่ว่าผลมีลักษณะเหมือนมะพร้าว คือ ผิวนอกแข็งหนา และมีกะลาข้างใน ภายในกะลามีเนื้อสีขาวครีมรสชาติมันเหมือนถั่วปนกับจาวมะพร้าว ก็เลยกลายเป็น “ถั่ว” ยอดนิยมแบบใหม่ไป ทั้งๆ ที่ไม่ใช่พืชตระกูลถั่วแต่อย่างใด เวลาจะกินเนื้อในของพืชชนิดนี้ เรียกได้ว่าลำบากยากเย็นที่เดียว นั่นคือ ต้องมีการกะเทาะเปลือกไปจนถึงกะลา ทุบให้กะลาแตกออก และแกะเอาเนื้อในออกมา คราวนี้ปัญหาอยู่ที่ว่าถ้าแกะกะลาไม่ดี เนื้อในก็จะแยกออกเป็น 2 ซีกติดกับกะลาแต่ละด้าน แต่ถ้าโชคดีก็จะได้เนื้อทั้งก้อนขนาดประมาณปลายหัวแม่มือ ซึ่งจัดว่าเป็น เกรด เอ. ส่งขายได้

ที่เล่ามาข้างบนนี้มี 2 ปัญหาแล้วครับ คือ อันแรก แม็กนัทเมื่อออกดอกแล้ว ไม่ค่อยจะติดผล บางช่อไม่ติดเลย บางช่อติดแค่ผลเดียว แต่บางทีก็ติดเป็นพวง ปัญหาเรื่องการติดผลนี้ นักวิจัยของฮาวายที่ศึกษาเรื่องนี้มาโดยตลอด ยังหาสาเหตุไม่ได้ เมื่อยังไม่รู้สาเหตุก็ยังแก้ไขไม่ได้ ส่วนอีกปัญหาหนึ่งคือ การที่จะต้องแกะเนื้อในแม็กนัทออกมาขายนั้น ถ้าจะแกะกันแต่ละผลคงทำไม่ได้ ไม่เหมือนมะม่วงหิมพานต์ซึ่งยังทำได้ง่ายกว่า เพราะฉะนั้นก็เลยต้องมีการสร้างเครื่องกะเทาะเปลือกออกมาใช้ แต่เครื่องที่ว่านี้ เมื่อกะเทาะแล้วได้เนื้อดีเต็มก้อนแค่ประมาณครึ่งเดียว ที่เหลือแตกหรือหักครึ่ง ซึ่งพวกที่หักครึ่งนี้มีทั้งที่ติดอยู่กับเปลือกที่ทิ้งไป กับพวกที่ยังพอเอามาใช้กินได้ แต่เป็น เกรดสอง ซึ่งราคาต่อกิโลกรัมก็ต้องหายไปเกินครึ่งเหมือนกัน ข้อสำคัญเครื่องมือที่ว่านี้ยังไม่มีในเมืองไทย

เรื่องการไม่ติดผลนี้ ก็ยังจัดว่าไม่ใช่ปัญหาหนักหนาอะไรนัก แต่ว่ามีอยู่ปัญหาหนึ่งที่บริษัทยักษ์ใหญ่ที่ผลิตแม็กนัท ออกขายทั่วโลกยังแก้ปัญหาไม่ตก คือ อาการต้นโทรมตายอย่างรวดเร็วโดยหาสาเหตุไม่พบ ซึ่งภาษาฝรั่งเรียกว่า Sudden Declined Syndrome หรือ SDS ซึ่งนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยฮาวายที่ศึกษาเรื่องนี้มาโดยตลอดพยายามหาสาเหตุและทางแก้อยู่จนถึงทุกวันนี้ก็ยังบอกไม่ได้ว่า อาการดังกล่าวเกิดจากอะไร คือ อยู่ๆ ต้นจะโทรมลงอย่างรวดเร็ว แล้วในที่สุดก็ยืนต้นตาย ข้อสำคัญคือ แม็กนัทที่เราเอาเข้ามาปลูกนั้นส่วนใหญ่ก็มาจากฮาวายนั่นแหละครับ เมื่อทางต้นตำรับยังหาสาเหตุไม่ได้ แล้วเราเอาเข้ามาแนะนำให้ปลูกกัน แน่ใจได้แล้วหรือว่าเรื่องนี้จะไม่เกิดขึ้นในประเทศไทย และถ้าเกิดขึ้นจะหาทางแก้ไขได้อย่างไร

การแนะนำให้ปลูกพืชใหม่ที่เรายังไม่รู้จักดีนั้น คงจะต้องใช้เวลาทำความรู้จักกันให้ดีซักระยะหนึ่งก่อน เพื่อหาทางหนีทีไล่ให้ได้ และคงต้องคิดอย่างครบวงจร คงไม่ใช่เพียงแค่การส่งเสริมให้ปลูกเท่านั้น แต่พอได้ผลผลิตออกมาแล้ว ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรต่อไป ไว้คราวหน้าจะยกตัวอย่างการผลิตแม็กนัทของบริษัทยักษ์ใหญ่ในฮาวายให้ดู เพื่อจะได้แนวคิดว่าควรทำอะไรต่อไป

http://www.arda.or.th/easyknowledge/easy-articles-detail.php?id=315

-----------------------------------------------------------



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©