-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ถาม-ตอบปัญหาการเกษตร 2 OCT *เร่งหวานมะขาม, ดอกมะม่วง
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบปัญหาการเกษตร 3 OCT **ปุ๋ยกับอาการพืช - วิธีแก้ไข
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบปัญหาการเกษตร 3 OCT **ปุ๋ยกับอาการพืช - วิธีแก้ไข

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11562

ตอบตอบ: 03/10/2014 9:04 am    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบปัญหาการเกษตร 3 OCT **ปุ๋ยกับอาการพืช - วิธีแก้ไข ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ทางรายการวิทยุ 3 OCT

AM 594 เวลา 08.10-09.00 & 20.05-20.30 ทุกวัน และ FM 91.0 (07.00-08.00 / วันอาทิตย์)

********************************************************************

สวัสดีครับ ท่านผู้ฟังที่เคารพ
กองทัพบกเพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตร และอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดยกองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก

@@ สนับสนุนรายการโดย ...
... บ.นิมุติ เอ็นจิเนียริ่ง เครื่องย่อยเศษพืช (02) 322-9175-6

... ยิบซั่มธรรมชาติ เฟอร์มิกซ์, ธันเดอร์พลัส, ธันเดอร์แคล, เอ็ม.แคล--- ธาตุรอง/ธาตุเสริม มัลติแชมป์ (089) 144-1112

... และ บ.มายซัคเซส อะโกร--- ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, กาวเหนียวดักแมลง มายฟิกส์, กลิ่นล่อแมลงวันทอง ฟลายแอต,
สารเสริมฤทธิ์สารสมุนไพร ไบโอเจ๊ต, ถังฉีดพ่นรุ่นใหม่ ใช้แบตเตอรี่ (081) 910-5034

กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการครับ
เช่นเคยครับ รายการเรา 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม ที่ (081) 913-4986

----------------------------------------------------------------------------------------------

ตัวแทนจำหน่าย ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง, ไบโออิ, ไทเป, ยูเรก้า. (อินทรีย์ – เคมี)

1) ชมรม (ใหญ่) สีสันชีวิตไทย (089) 814-3204 ใกล้ไฟแดง สี่แยกบางแพ ราชบุรี
2) “คุณชาตรี” (081) 841-9874 ทรัพย์ทวีการเกษตร ชัฎป่าหวาย สวนผึ้ง ราชบุรี (ส่งทาง ปณ.)

3) ร.ต.ต.นันท์สุรัตน์ (089) 821-8273 ต.จรเข้เผือก ด่านมะขามเตี้ย กาญจนบุรี (ส่งทาง ปณ.)
4) “คุณล่า” (081) 944-8494 ทุกวันจันทร์ ตลาดนัดวัดอมรญาติ ดำเนินสดวก ราชบุรี

5) “คุณประเสริฐ” (080) 110-4645 บ.เขาดิน หนองแขม เดิมบางนางบวช สุพรรณบุรี
6) “คุณอรุณ” (085) 058-1737 ในร้านโครงการหลวง ตลาด อตก.

7) “คุณพรพรรณ” (089) 814-7944 พลชัยเกษตรชีวภาพ ตลาดนัดธนบุรี ถ.เลียบคลองทวีวัฒนา
8 ) “คุณน้ำส้ม” (085) 055-7706 ชมรมฯ สาขาศาลายา หน้า ม.มหิดล พุทธมณฑลสาย 4 (ส่งทาง ปณ.)

---------------------------------------------------------------------------------------------------------

@@ สารอาหาร (ปุ๋ย) เพื่อการสื่อสาร :

** ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง : ส่วนผสมหลัก .... อินทรีย์/เคมี (กุ้งหอยปูปลาทะเล, เลือด,
ไขกระดูก, นม, ขี้ค้างคาว, น้ำมะพร้าว, ธาตุหลักตามพืช, แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม

** ไบโออิ : ส่วนผสมหลัก .... เคมี (แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม)
** ยูเรก้า : ส่วนผสมหลัก .... เคมี (21-7-14, ไคโตซาน, อะมิโนโปรตีน)
** ไทเป : ส่วนผสมหลัก ..... อินทรีย์/เคมี (นม, ไข่, น้ำมะพร้าว, 13-0-46. 0-52-34)


มิได้มีเจตนาโฆษณาผลิตภัณฑ์ แต่ใช้ชื่อผลิตภัณฑ์เพื่อง่ายต่อการสื่อสารข้อมูล เท่านั้น
.... ต้นพืชไม่รู้จักยี่ห้อ ไม่รู้จักเจ้าของสูตร .....
.... ไม่รู้เจ้าของคนปลูก ไม่ฟังโฆษณา .........
.... ต้นพืชรู้จักแต่ส่วนผสมหรือเนื้อใน .........

-----------------------------------------------------------



จาก : (089) 226-48xx
ข้อความ : ลุงคิมคะ อยากได้ข้อมูลเรื่องปุ๋ยแต่ละตัว ในจำนวนทั้ง 14 ตัวว่า ปุ๋ยตัวไหน ถ้าพืชขาดแล้วเกิดมีลักษณะอาการอย่างไร ดูอย่างไร แล้วต้องแก้ไขอย่างไร .... ขอบคุณค่ะ
ตอบ :
- ปุ๋ย คือ อาหารของพืช ที่พืชใช้ในการพัฒนาหรือเจริญเติบโตแก่ตัวพืชเอง เหมือนอาหารที่คนกิน .... คนกินอาหาร 5 หมู่ กินครบ ร่างกายก็จะพัฒนาเจริญเติบโตดี แต่ถ้ากินไม่ครบ ร่างกายก็ไม่พัฒนาเจริญเติบโต ในขณะที่พืชกินอาหาร 3 หมู่ คือ ธาตุหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริม หากขาดธาตุใดธาตุหนึ่ง หรือได้รับไม่ครบ ก็ไม่พัฒนาเจริญเติบโตเช่นกัน ฟังคำตอบนี้แล้ว น่าจะ (เน้นย้ำ...น่าจะ) เข้าใจแล้วยอมรับว่า ธาตุรอง ธาตุเสริม ก็คือปุ๋ยหรืออาหารของพืช เหมือนกับ ธาตุหลัก N.P.K. หรือ ตัวหน้าตัวกลางตัวท้าย เช่นกัน

– ปุ๋ยไม่ใช่ของวิเศษ :
* ปุ๋ยทางใบจะเกิดประสิทธิภาพต่อเมื่อต้นมีความสมบูรณ์รองรับ
* ปุ๋ยทางรากจะเกิดประสิทธิภาพต่อเมื่อดินมีความเหมาะสมรองรับ

- สมการปุ๋ย :
ปุ๋ยถูก + ใช้ผิด = ไม่ได้ผล
ปุ๋ยผิด + ใช้ถูก = ไม่ได้ผล
ปุ๋ยผิด + ใช้ผิด = ไม่ได้ผล ยกกำลงสอง
ปุ๋ยถูก + ใช้ถูก = ได้ผล ยกกำลังสอง
- ปุ๋ยถูก หมายถึง ถูกสูตร ถูกประเภท ฯลฯ
- ใช้ถูก หมายถึง ถูกพืช (ชนิด ระยะพัฒนาการ) ถูกดิน ถูกน้ำ ถูกวิธี ถูกอัตรา ฯลฯ

– ปุ๋ยแต่ละตัวมีประสิทธิภาพหรือสรรพคุณ ในการสร้างแต่ละส่วนของพืช ปุ๋ยตัวไหนสร้างส่วนไหนของพืช ส่วนนั้นของพืชก็จะเจริญเติบโตให้เห็น แต่ถ้าไม่มีปุ๋ยตัวนั้น ส่วนของพืชส่วนนั้นก็จะชะงักการเจริญเติบโตให้เห็นเหมือนกัน จึงพูดว่า “ต้นไม้พูดด้วยใบ บอกด้วยราก” ยังไงล่ะ .... เหมือนคน กินอะไรสร้างกล้ามเนื้อ กินอะไรสร้างไขมัน กินอะไรสร้างเลือด กินอะไรสร้างกระดูก ได้กินร่างกายส่วนนั้นได้สร้างหรือเจริญเติบโต ไม่ได้กินร่างกายส่วนนั้นก็ไม่ได้สร้างหรือไม่เจริญเติบโต อุปมาอุปมัย ฉันใดก็ฉันนี้ แล ....

– ปกติเราจะรู้ต้นไม้ต้นพืช “มี/ขาด” ปุ๋ยตัวไหน ต้องอาศัยห้อง LAB เท่านั้น แต่การเรียนรู้เรื่องนี้ด้วยตัวเองยังพอทำได้ นั่นคือ เปิดตำราแล้วดูของจริงที่ต้นไม้ต้นพืช เอามาเปรียบ เทียบกัน ก็ได้

- ปุ๋ยมี 14 ตัว ได้แก่ N. P. K. Ca. Mg. S. Fe. Cu. Zn. Mn. Mo. B. Si. Na, กับฮอร์โมน 2-3-4-5 ตัว .... บ่อยครั้งที่ อาการขาดปุ๋ย/ฮอร์โมน ตรงหรือเหมือนกับ อาการเป็นโรค .... อย่างที่เคยบอกว่า โรคไม่มีเชื้อ กับ โรคมีเชื้อ .... โรคไม่มีเชื้อ คือ โรคขาดปุ๋ย/ฮอร์โมน แก้ไขโดยการให้ปุ๋ย/ฮอร์โมน .... โรคมีเชื้อ คือ มีเชื้อโรค แก้ไขด้วยยา ประมาณนี้

- ด้วยหลักการและเหตุผลที่ว่าด้วย “โรคมีเชื้อ-โรคไม่เชื้อ” กอร์ปกับพืชที่สมบูรณ์แข็งแรง จะมีภูมิต้านทานของตัวเองตามธรรมชาติสู้กับเชื้อโรคได้ ดังนั้น นอกจากบำรุงต้นให้สมบูรณ์อยู่เสมอแล้ว เทคนิคการให้ “ปุ๋ย+ฮอร์โมน+ยา” ตามความเหมาะสมและจำเป็น ไปพร้อมๆกันเลย ก็สามารถทำได้


@@ อาการขาดธาตุอาหารของพืช :
ไนโตรเจน (N) :
- อาการขาด : จะเจริญเติบโตช้า ใบบางมีสีเหลือซีดทั้งแผ่น ใบต่อมากลายเป็นสีน้ำตาลและร่วงหล่น หลังจากนั้นใบด้านบนจะทะยอยเปลี่ยนเป็นสีเหลือง....
- วิธีแก้ : ใช้ปุ๋ยเคมี หรือปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0), ปุ๋ยแอมโมเนียม ซัลเฟต (21-0-0 + s) เป็นต้น

ฟอสฟอรัส (P) :
- อาการขาด : ใบล่างเริ่มเป็นสีม่วงตามแผ่นใบ ต่อมาใบเป็นสีน้ำตาลร่วงหล่น ลำต้นแคระแกร็น ไม่ผลิตดอกออกผล เนื้อไม้เปราะหักง่าย....
- วิธีแก้ : ใส่ปุ๋ยทริปเปิล ซุเปอร์ ฟอสเฟต (0-46-0), ปรับ pH ของดินให้อยู่ระหว่าง 6-5 - 7, ใส่ปุ๋ยเม็ดเป็นแถบเพื่อลดพื้นที่สัมผัสระหว่างปุ๋ยฟอสเฟตกับดิน เนื่องจากดินจะตรึงธาตุ P ได้ดีกว่าธาตุอื่น, เพิ่มปริมาณอินทรีย์วัตถุให้ดินอยู่เสมอ

โพแทสเซียม (K) :
- อาการขาด : ใบล่างมีอาการซีดเหลืองแล้วกลายเป็นสีน้ำตาลตามขอบใบ จากนั้นลุกลามเข้ามาเป็นหย่อม ๆ ตามแผ่นใบ อาจพบว่าแผ่นใบโค้งเล็กน้อย รากเจริญเติบโตช้า ลำต้นอ่อนแอ และผลไม่โต ....
- วิธีแก้ : ในปุ๋ย โพแทสเซียม คลอไรด์ (0-0-60) อาการขาดแคลนมักเกิดในดินทราย

แคลเซียม (Ca) :
- อาการขาด : ใบอ่อนหงิก ตายอดไม่เจริญเติบโต อาจมีจุดดำที่เส้นใบ รากสั้น ผลแตก และคุณภาพผลผลิตต่ำ ...
- วิธีแก้ : ใส่ปูนขาว หินปูนบด และปูนมาร์ล สำหรับดินกรด, ใส่ปุ๋ยแคลเซียมไนเตรต อาการขาดมักเกิดในดินกรด

แมกนีเซียม (Mg) :
- อาการขาด : ใบแก่จะเหลือง ยกเว้นเส้นใบ และใบร่วงหล่นเร็ว ต้นทรุดโทรม ผลผลิตลดลง.
- วิธีแก้ : ปรับสภาพดินให้ pH อยู่ ระหว่าง 6.5 - 7, ฉีดพ่นปุ๋ยที่มีแมกนีเซียมทางใบ ไม่มากจนเกินไป การที่พืชมีแคลเซียมในดินมากเกินไปทำให้พืชขาดธาตุแมกนีเซียมได้ และมักขาดในดินกรด

กำมะถัน (S) :
- อาการขาด : ทั้งใบบน และใบล่างมีสีเหลืองซีด และต้นอ่อนแอ....
- วิธีแก้ : ใส่ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต (21-0-0 + s), ใส่ปุ๋ยอื่นๆที่มีกำมะถันเป็นองค์ประกอบ เช่น ยิบซัม อาการขาดมักเกิดในดินทรายที่มีอินทรีย์วัตถุน้อย

โบรอน (B) :
- อาการขาด : เริ่มแรกจะพบได้ที่ยอดและใบอ่อนก่อน ตายอดตายแล้วเริ่มมีตาข้าง แต่ตาข้างจะตายอีก ลำต้นไม่ค่อยยืดตัว กิ่งและใบจึงชิดกัน ใบเล็ก หนา โค้ง และเปราะ ผลเล็กและแข็งผิดปกติ มีเปลือกหนา บางครั้งผลแตกเป็นแผลได้ สำหรับพืชจะเกิดจุดสีน้ำตาลหรือดำในส่วนต่าง ๆ ของต้น โดยเฉพาะที่หัว
- วิธีแก้ : ฉีดพ่นธาตุอาหารเสริมที่มี โบรอน ทางใบ เป็นวิธีที่ดีที่สุด ดินด่างอาจเป็นสาเหตุของการขาดธาตุโบรอนได้ และแสดงอาการเด่นชัดมากเมื่อกระทบแล้ง หรือขาดน้ำมากๆ และมักเจออาการขาดในดินที่มีอินทรีย์วัตถุต่ำ

ทองแดง (Cu) :
- อาการขาด : ยอดตาชะงักการเจริญเติบโตและกลายเป็นสีดำ ใบอ่อนเหลือง พืชทั้งต้นชะงักการเจริญเติบโต
- วิธีแก้ : ฉีดพ่นธาตุอาหารพืชที่มีธาตุทองแดงทางใบ มักขาดแคลนในดินด่าง

เหล็ก (Fe) :
- อาการขาด : ใบอ่อนมีสีขาวซีด ในขณะที่ใบแก่ยังเขียว ปริมาณผลผลิตลดลง ขนาดของผลเล็กและผิวไม่สวย
- วิธีแก้ : ฉีดพ่นธาตุอาหารเสริมที่มีธาตุเหล็กทางใบ มักขาดแคลนในดินด่าง หรือเมื่อใส่ปูนมากเกินไป

แมงกานีส (Mn) :
- อาการขาด : ใบอ่อนมีสีเหลืองในขณะที่เส้นใบยังสีเขียว ต่อมาใบที่มีอาการดังกล่าวจะเหี่ยวและร่วง
- วิธีแก้ : ฉีดพ่นธาตุอาหารที่มี แมงกานีสทางใบ หากดินเป็นด่างหรือใส่ปูนขาวมากเกินไป มักทำให้ขาดธาตุแมงกานีส

โมลิบดินัม (Mo) :
- อาการขาด : คล้ายกับขาดไนโตรเจน (N) ใบมีลักษณะโค้งคล้ายถ้วย ปรากฏจุดเหลืองๆ ตามแผ่นใบ
- วิธีแก้ : ฉีดพ่นธาตุอาหารที่มีโมลิบดินั่มทางใบ มักขาดแคลนในดินที่เป็นกรด และอิน ทรีย์วัตถุต่ำ

สังกะสี (Zn) :
- อาการขาด : ใบอ่อนมีสีเหลืองซีด และปรากฏสีขาวๆ ประปรายตามแผ่นใบ โดยเส้นใบยังเขียว รากสั้น ไม่เจริญเติบโตตามปกติ
- วิธีแก้ : ฉีดพ่นธาตุอาหารเสริมทางใบ ที่มีธาตุสังกะสี หากใช้ปุ๋ยไนโตรเจนและฟอสฟอรัสมากเกินไป ทำให้พืชนำธาตุสังกะสีไปใช้ยากขึ้น

คลอรีน (Cl) :
- อาการขาด : พืชเหี่ยวง่าย ใบมีสีซีด และบางส่วนแห้งตาย แต่ไม่ค่อยจะแสดงอาการขาด มักจะมีอยู่ในดินอย่างเพียงพอแล้ว ถ้าดินสมบูรณ์ดี

http://agrilove.blogspot.com/2010/05/blog-post_30.html


หลักการให้ธาตุอาหารพืชทางใบ :
1. เมื่อสภาพดินมีปัญหา เช่น ดินเป็นกรดหรือด่างเกินไป หากใส่ปุ๋ยทางดินอาจได้ประโยชน์ไม่เต็มที่ เนื่องจากธาตุอาหารบางชนิด เช่น ฟอสฟอรัสถูกตรึงและปลดปล่อยให้พืชนำไปใช้ประโยชน์ได้น้อย จึงต้องมีการปรับปรุดินกรดโดยการใส่ปูน ซึ่งต้องใช้เวลาปรับปรุงดินระยะหนึ่งกว่าดินจะคืนสู่สภาพปกติ ในช่วงดังกล่าวเราจึงต้องช่วยเสริมธาตุอาหารให้กับพืชก่อน เพราะพืชกำลังขาดแคลนธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์อยู่ โดยการฉีดพ่นสารละลายธาตุอาหารเข้าสู่ใบพืช ซึ่งจะนำไปใช้ประโยชน์ได้ทันที ไม่ชะงักการเจริญเติบโต

2. ธาตุอาหารรอง และธาตุอาหารเสริม หรือที่เรียกว่า " จุลธาตุ " นั้น โดยส่วนใหญ่หากใส่ทางดิน พืชจะดูดซึมไปใช้ได้ช้ากว่าฉีดพ่นทางใบ และพืชมักต้องการธาตุอาหารดังกล่าวในปริมาณไม่มาก ในดินที่เป็นด่างการใส่ธาตุอาหารรองธาตุอาหารเสริมทางดินจะให้ประโยชน์กับพืชน้อย เนื่องจากปุ๋ยทำปฏิกิริยากับดิน และอยู่ในรูปที่ไม่เป็นประโยชน์

3. บางช่วงที่พืชขาดธาตุอาหารอยู่ในขั้นวิกฤต การฉีดพ่นธาตุอาหารเข้าทางใบจะช่วยให้พืชฟื้นตัวได้เร็วกว่าการให้ทางดิ น ซึ่งในบางครั้งอาจไม่ทันการณ์ก็ได้

4. เมื่อระบบรากพืชถูกทำลาย เนื่องจากโรคและแมลงหรือสภาพความชื้นในดินมีจำกัด จะส่งผลต่อระบบรากของพืช ในภาวะเช่นนี้การให้ปุ๋ยทางดินจะทำให้พืชนำไปใช้ประโยชน์ได้น้อย

5. พืชบางชนิดอาจตอบสนองต่อการให้ธาตุอาหารรองแต่ละชนิดแตกต่างกัน โดยปกติพืชใบเลี้ยงคู่ พืชใบใหญ่มีพื้นที่ใบมาก จะดูดซึมธาตุอาหารเข้าไปได้มากและดีกว่าต้นพืชที่มีพื้นที่ใบน้อย ใบเล็กเรียวและใบตั้ง

6. ขนาดของฝอยละอองของสารที่ฉีดพ่นออกไปก็มีผลต่อประสิทธิภาพของดูดซึมธาตุอาหารเหมือนกัน หากละอองของสารเล็กมากเท่าไหร่ย่อมกระจาย เกาะตามใบพืชได้มาก ทั้งผิวใบด้านบน และด้านล่าง ไม่รวมตัวกันแล้วไหลไปรวมกันที่ปลายใบแล้วหยดลงสู่ดิน

7. น้ำที่นำมาใช้ในการละลายธาตุอาหารรอง ธาตุอาหารเสริม ต้องสะอาด มีสภาพเป็นกลาง หรือกรดอ่อน ส่วนธาตุอาหารที่นำมาใช้ต้องละลายน้ำได้ดี ควรเป็นปุ๋ยเกล็ด หรือปุ๋ยน้ำ จะดีที่สุด ส่วนปุ๋ยเคมีที่เป็นเม็ดที่ขายตามท้องตลาดทั่วไปก็นำมาใช้ได้เป็นบางตัว แต่ประสิทธิภาพสู้ปุ๋ยข้างต้นไม่ได้

8. อัตราส่วนผสมของธาตุอาหาร และน้ำต้องไม่เข้มข้นจนเกินไป หากใช้กับพืชชนิดใหม่ที่ไม่มีคำแนะนำบนฉลากหรือเอกสาร ควรทดลองหาอัตราความเข้มข้นระดับต่างๆ ที่เหมาะสมก่อนนำไปใช้กับพืชทั้งหมดที่ต้องการฉีดพ่นในแปลง ถ้าอากาศร้อนหรือในฤดูแล้งควรใช้ในสัดส่วนที่ต่ำกว่าอัตราปกติเล็กน้อย ถ้าอากาศชื้นอาจเพิ่มสัดส่วนขึ้นเล็กน้อย

9. อยากให้ปุ๋ยทางใบผ่านปากใบเข้าสู่ต้นได้มากที่สุด
- ปากใบเปิดเต็มที่ นั่นคือ ต้องมีแสงแดด ระยะเวลาระหว่าง 10.00-13.00 น.

– กระตุ้นให้ปากใบเปิดหรือต้นรู้ตัว (ตื่น) พร้อมรับสารอาหาร ด้วยการฉีดพ่นน้ำเปล่าไปก่อน เมื่อเห็นว่าใบใกล้แห้งแล้วจึงฉีดพ่นน้ำผสมปุ๋ย

- ฉีดพ่นโชกๆ ให้เปียกมากๆ เปียกนานๆ เพื่อปุ๋ยจะอยู่บนใบด้วยระยะเวลานานที่สุด
- ฉีดพ่นให้สัมผัสใบ ทั้งไต้ใบบนใบ ครอบคลุมพื้นที่หน้าใบมากกว่า 50% ขึ้นไปเสมอ

10. การให้ปุ๋ยทางราก หรือทางดิน
- ฯลฯ

-------------------------------------------------------------




.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©