-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร 4 SEP **ขยายพันธุ์ไผ่, *ปลูกผักกาดเขียว
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร 5 SEP *เพลี้ย-หนอนกอ นาข้าว
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร 5 SEP *เพลี้ย-หนอนกอ นาข้าว

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11565

ตอบตอบ: 05/09/2014 8:22 pm    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร 5 SEP *เพลี้ย-หนอนกอ นาข้าว ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ทางรายการวิทยุ 5 SEP

AM 594 เวลา 08.10-09.00 & 20.05-20.30 ทุกวัน และ FM 91.0 (07.00-08.00 / วันอาทิตย์)

********************************************************************

สวัสดีครับ ท่านผู้ฟังที่เคารพ
กองทัพบกเพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตร และอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดยกองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก

@@ สนับสนุนรายการโดย ...
... บ.นิมุติ เอ็นจิเนียริ่ง เครื่องย่อยเศษพืช (02) 322-9175-6

... ยิบซั่มธรรมชาติ เฟอร์มิกซ์, ธันเดอร์พลัส, ธันเดอร์แคล, เอ็ม.แคล--- ธาตุรอง/ธาตุเสริม มัลติแชมป์ (089) 144-1112

... และ บ.มายซัคเซส อะโกร--- ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, กาวเหนียวดักแมลง มายฟิกส์, กลิ่นล่อแมลงวันทอง ฟลายแอต,
สารเสริมฤทธิ์สารสมุนไพร ไบโอเจ๊ต, ถังฉีดพ่นรุ่นใหม่ ใช้แบตเตอรี่ (081) 910-5034

กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการครับ
เช่นเคยครับ รายการเรา 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม ที่ (081) 913-4986

----------------------------------------------------------------------------------------------

ตัวแทนจำหน่าย ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง, ไบโออิ, ไทเป, ยูเรก้า. (อินทรีย์ – เคมี)

1) ชมรม (ใหญ่) สีสันชีวิตไทย (089) 814-3204 ใกล้ไฟแดง สี่แยกบางแพ ราชบุรี
2) “คุณชาตรี” (081) 841-9874 ทรัพย์ทวีการเกษตร ชัฎป่าหวาย สวนผึ้ง ราชบุรี (ส่งทาง ปณ.)

3) ร.ต.ต.นันท์สุรัตน์ (089) 821-8273 ต.จรเข้เผือก ด่านมะขามเตี้ย กาญจนบุรี (ส่งทาง ปณ.)
4) “คุณล่า” (081) 944-8494 ทุกวันจันทร์ ตลาดนัดวัดอมรญาติ ดำเนินสดวก ราชบุรี

5) “คุณประเสริฐ” (080) 110-4645 บ.เขาดิน หนองแขม เดิมบางนางบวช สุพรรณบุรี
6) “คุณอรุณ” (085) 058-1737 ในร้านโครงการหลวง ตลาด อตก.

7) “คุณพรพรรณ” (089) 814-7944 พลชัยเกษตรชีวภาพ ตลาดนัดธนบุรี ถ.เลียบคลองทวีวัฒนา
8 ) “คุณน้ำส้ม” (085) 055-7706 ชมรมฯ สาขาศาลายา หน้า ม.มหิดล พุทธมณฑลสาย 4 (ส่งทาง ปณ.)

---------------------------------------------------------------------------------------------------------

@@ สารอาหาร (ปุ๋ย) เพื่อการสื่อสาร :

** ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง : ส่วนผสมหลัก .... อินทรีย์/เคมี (กุ้งหอยปูปลาทะเล, เลือด,
ไขกระดูก, นม, ขี้ค้างคาว, น้ำมะพร้าว, ธาตุหลักตามพืช, แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม

** ไบโออิ : ส่วนผสมหลัก .... เคมี (แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม)
** ยูเรก้า : ส่วนผสมหลัก .... เคมี (21-7-14, ไคโตซาน, อะมิโนโปรตีน)
** ไทเป : ส่วนผสมหลัก ..... อินทรีย์/เคมี (นม, ไข่, น้ำมะพร้าว, 13-0-46. 0-52-34)


มิได้มีเจตนาโฆษณาผลิตภัณฑ์ แต่ใช้ชื่อผลิตภัณฑ์เพื่อง่ายต่อการสื่อสารข้อมูล เท่านั้น
.... ต้นพืชไม่รู้จักยี่ห้อ ไม่รู้จักเจ้าของสูตร .....
.... ไม่รู้เจ้าของคนปลูก ไม่ฟังโฆษณา .........
.... ต้นพืชรู้จักแต่ส่วนผสมหรือเนื้อใน .........

-----------------------------------------------------------



จาก : (089) 729-03xx
ข้อความ : ผมทำนาครั้งแรก 40 ไร่ ทำนาดำ พันธุ์ กข47 ไถกลบฟาง วันนี้ข้าวได้ 20 วันแล้ว สมบูรณ์ดี ทำตามแนวลุง สั่งซื้อปุ๋ยลุงทุกตัวจากชาตรี หาความรู้จากชาวนาแถวบ้านเรื่องโรคข้าว บอกว่ามีเพลี้ยกระโดด เพลี้ยไฟ หนอนกอ เป็นกันมากแล้วแนะนำแต่สารเคมี ผมจะไม่ใช้สารเคมีแต่จะใช้สมุนไพร อยากให้ลุงบอกลักษณะศัตรูข้าวพวกนี้ กับเลือกสมุนไพรตัวไหน .... ขอบคุณครับ ชัยนาท
ตอบ :
- ข้อมูลการเกษตรทุกอย่างมีที่ สนง.เกษตร ตำบล/อำเภอ/จังหวัด/ภาค มีครบ มากกว่าครบ แต่ขาดความสัมพันธุ์ซึ่งกันและกัน เกษตรกรไม่ไปหา จนท.เกษตร จนท.เกษตรมาไปหาเกษตรกร .... ปัญหานี้ ต้องแก้ที่ จนท. เพราะเป็นหน้าที่โดยตรง ต้องคิดค้นหาวิธีการทำให้เกษตรกรในพื้นที่รับผิดชอบรับรู้ให้ได้ ด้วย อุปกรณ์-เครื่องมือ-สื่อ ทุกประเภทที่มีอยู่ในมือ แม้แต่เอารูปไปติดไว้ที่ ศาลาวัด โรงเรียน ข้างแปลงเกษตร หรือแม้แต่วิทยุชุมชน ใช้ได้ทั้งนั้น

- โรคพืชมีมากกว่าที่ถาม ข้าวเป็นพืชที่มีศัตรูพืชมากที่สุดในบรรดาพืชทั้งหมด ศัตรูข้าวหรือศัตรูพืชทุกตัวเกิดมาแล้วนับล้านปี ตัวพืชเองเขารู้จักดีแต่เขาพูดไม่ได้ ในขณะที่คนพูดได้แต่ไม่สนใจ แกล้งไม่รู้จัก ซะยังงั้น ... รู้เรา รู้เขา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง....

“เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล” :
เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เป็นแมลงจำพวกปากดูด ตัวเต็มวัยมีลำตัวสีน้ำตาลถึงสีน้ำตาลปนดำ มีรูปร่าง 2 ลักษณะ คือ ชนิดปีกยาว และชนิดปีกสั้น ชนิดมีปีกยาวสามารถเคลื่อนย้ายและอพยพไปในระยะทางใกล้และไกล โดยอาศัยกระแสลมช่วย ตัวเต็มวัยเพศเมียจะวางไข่เป็นกลุ่ม ส่วนใหญ่วางไข่ที่กาบใบข้าว หรือเส้นกลางใบ โดยวางไข่เป็นกลุ่ม เรียงแถวตามแนวตั้งฉากกับกาบใบข้าว บริเวณที่วางไข่จะมีรอยช้ำเป็นสีน้ำตาล ไข่มีลักษณะรูปกระสวยโค้งคล้ายกล้วยหอม มีสีขาวขุ่น ตัวอ่อนมี 5 ระยะ ระยะตัวอ่อน 16-17 วัน ตัวเต็มวัยเพศเมียชนิดปีกยาวมีขนาด 4-4.5 มิลลิเมตร วางไข่ประมาณ 100 ฟอง เพศผู้มีขนาด 3.5-4 มิลลิเมตร เพศเมียชนิดปีกสั้นวางไข่ประมาณ 300 ฟอง ตัวเต็มวัยมีชีวิตประมาณ 2 สัปดาห์ ในหนึ่งฤดูปลูกข้าวเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลสามารถเพิ่มปริมาณได้ 2-3 อายุขัย

ลักษณะการทำลาย :
เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลทั้งตัวอ่อน และตัวเต็มวัยทำลายข้าว โดยการดูดกินน้ำเลี้ยง จากเซลส์ท่อน้ำท่ออาหาร บริเวณโคนต้นข้าว ระดับเหนือผิวน้ำ ทำให้ต้นข้าว มีอาการใบเหลืองแห้ง ลักษณะคล้ายถูกน้ำร้อนลวก แห้งตายเป็นหย่อมๆเรียก “ อาการไหม้” โดยทั่วไปพบอาการไหม้ในระยะข้าวแตกกอถึงระยะออกรวง ซึ่งตรงกับช่วงอายุขัยที่ 2-3 ของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าว ที่ขาดน้ำ ตัวอ่อนจะลงมาอยู่ที่บริเวณโคนกอข้าว หรือบนพื้นดินที่แฉะมีความชื้น นอกจากนี้เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ยังเป็นพาหะนำเชื้อไวรัสโรคใบหงิก มาสู่ต้นข้าวทำให้ต้นข้าวมีอาการแคระแกร็น ต้นเตี้ย ใบสีเขียว แคบและสั้น ใบแก่ช้ากว่าปรกติ ปลายใบบิด เป็นเกลียว และ ขอบใบแหว่งวิ่น

ปัจจัยที่มีผลต่อการระบาด :
วิธีการปลูกข้าว : การปลูกข้าวแบบนาหว่านน้ำตมมีปัญหาการระบาดมากกว่านาดำเพราะนาหว่านมีจำนวนต้นข้าวหนาแน่น ทำให้อุณหภูมิและความชื้นในแปลงนาเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ประกอบกับนาหว่านเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลสามารถทำลายข้าวได้อย่างต่อเนื่อง

การใช้ปุ๋ย : การใช้ปุ๋ยอัตราสูง โดยเฉพาะปุ๋ยไนโตรเจน ทำให้ การเพิ่มจำนวน เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ในนาข้าวมีแนวโน้มมากขึ้น เนื่องจากปุ๋ยไนโตรเจน ทำให้ใบข้าวเขียว หนาแน่น ต้นข้าวมีสภาพอวบน้ำ เหมาะแก่การเข้าดูดกินและขยายพันธุ์ของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

การควบคุมน้ำในนาข้าว : สภาพนาข้าวที่มีน้ำขังในนาตลอดเวลา ทำให้เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล สามารถเพิ่มจำนวน ได้มากกว่า สภาพที่มีการระบายน้ำในนาออก เป็นครั้งคราว เพราะมีความชื้น เหมาะแก่การเจริญเติบโต ของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

การใช้สารฆ่าแมลง : การใช้สารฆ่าแมลง ในระยะที่ เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เป็นตัวเต็มวัย ชนิดปีกยาว หรือช่วงที่อพยพเข้ามาในนาข้าวใหม่ๆ (ข้าวระยะ 30 วันหลังหว่าน) ศัตรูธรรมชาติ จะถูกทำลาย และสารฆ่าแมลง ก็ไม่สามารถทำลายไข่ ของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลได้ ทำให้ตัวอ่อนที่ฟักออกจากไข่มีโอกาสรอดชีวิตสูง


“เพลี้ยไฟ” :
เพลี้ยไฟเป็นแมลงจำพวกปากดูด ขนาดเล็กลำตัวยาวประมาณ 1-2 มิลลิเมตร มีทั้งชนิดมีปีกและไม่มีปีก ตัวเต็มวัยมีสีดำ ตัวอ่อนสีเหลืองอ่อน ตัวเต็มวัยวางไข่ในเนื้อเยื่อของใบข้าว ตัวอ่อน มี 2 ระยะ ระยะเวลาตั้งแต่ตัวอ่อนถึงตัวเต็มวัยนานประมาณ 15 วัน

ลักษณะการทำลายและการระบาด :
เพลี้ยไฟทั้งตัวอ่อน และตัวเต็มวัยจะทำลายข้าวโดยการดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบข้าว ที่ยังอ่อน โดยอาศัยอยู่ตามซอกใบ ระบาดในระยะกล้า เมื่อใบข้าวโตขึ้น ใบที่ถูกทำลาย ปลายใบจะเหี่ยว ขอบใบจะม้วนเข้าหากลางใบ และอาศัยอยู่ในใบที่ม้วนนั้น พบทำลายข้าวในระยะกล้าหรือหลังปักดำ 2-3 สัปดาห์ โดยเฉพาะในอากาศร้อนแห้งแล้ง หรือฝนทิ้งช่วงนานติดต่อกันหรือสภาพนาข้าวที่ขาดน้ำ ถ้าระบาดมากๆทำให้ต้นข้าวแห้งตายได้ทั้งแปลง

การป้องกันกำจัด :
1) ดูแลแปลงข้าวระยะกล้าหรือหลังหว่าน 7 วัน อย่าให้ขาดน้ำ
2) ไขน้ำท่วมยอดข้าวทิ้งไว้ 1-2 วัน เมื่อตรวจพบเพลี้ยไฟตัวเต็มวัย 1-3 ตัวต่อต้นในข้าวอายุ 6-7 วันหลังหว่าน ใช้ปุ๋ยยูเรียอัตรา 10 กก./ไร่ หว่านเมื่อข้าวอายุ 10 วัน หลังหว่าน เพื่อเร่งการเจริญเติบโตของต้นข้าว

3) ใช้สารฆ่าแมลง มาลาไทออน (มาลาไทออน 83% EC) อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือคาร์บาริล (เซวิน 85% ดับบลิวพี) อัตรา 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นเมื่อพบใบข้าวม้วนมากกว่า 50% ในระยะข้าวอายุ 10-15 วันหลังหว่าน


“หนอนกอ” :
หนอนกอทำลายข้าวตั้งแต่ข้าวเล็กจนถึงระยะข้าวออกรวง ในประเทศไทยมีรายงานพบ 4 ชนิด คือ หนอนกอสีครีม หนอนกอแถบลาย หนอนกอแถบลายสีม่วง และหนอนกอสีชมพู

ลักษณะการทำลายและการระบาด :
หนอนกอข้าวทั้ง 4 ชนิด ทำลายข้าวลักษณะเดียวกันโดยหลังหนอนฟักจากไข่จะเจาะเข้าทำลายกาบใบก่อน ทำให้กาบใบมีสีเหลืองหรือน้ำตาล ซึ่งจะเห็นเป็นอาการช้ำๆ เมื่อฉีกกาบใบดูจะพบตัวหนอน เมื่อหนอนโตขึ้นจะเข้ากัดกินส่วนของลำต้น ทำให้เกิดอาการใบเหี่ยวในระยะแรก ใบและยอดที่ถูกทำลายจะเหลืองในระยะต่อมา ซึ่งการทำลายในระยะข้าวแตกกอนี้ทำให้เกิดอาการ “ยอดเหี่ยว” (deadheart) ถ้าหนอนเข้าทำลายในระยะข้าวตั้งท้องหรือหลังจากข้าวออกรวงจะทำให้เมล็ดข้าวลีบทั้งรวง รวงข้าวมีสีขาวเรียกอาการนี้ว่า“ข้าวหัวหงอก” (whitehead)

หนอนกอข้าวเป็นแมลงศัตรูข้าวที่พบเป็นประจำในนาข้าว แต่มักจะไม่ทำความเสียหายข้าวลีบทั้งรวง รวงข้าวมีสีขาวเรียกอาการนี้ว่ารุนแรงเช่นเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล พบปริมาณมากในฤดูนาปรัง การทำลายจึงสูงกว่าฤดูนาปี ผีเสื้อหนอนกอข้าวจะเคลื่อนย้ายเข้าสู่แปลงนาเมื่อข้าวอายุระหว่าง 30-50 วัน การระบาดมากน้อยขึ้นกับสภาพแวดล้อมและฤดูการทำนาของสถานที่นั้นๆ สามารถเพิ่มปริมาณได้ 2-3 อายุขัยต่อฤดูปลูก

หนอนกอข้าวสีครีม (yellow stem borer) :
ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืน ตัวเมียปีกคู่หน้ามีสีเหลืองคล้ายฟางข้าว ตรงกลางปีกมีจุดสีดำข้างละจุด ปลายส่วนท้องมีขนเป็นพู่สีน้ำตาลปกคลุม ตัวผู้ปีกคู่หน้าสีน้ำตาลคล้ำ กลางปีกมีจุดดำข้างละจุดแต่มีขนาดเล็กกว่า จุดดำบนปีกของเพศเมีย ขอบปีกมีจุดดำเล็กๆเรียงเป็นแถวระหว่างจุดตรงกลางปีกและจุดเล็กๆ ตรงขอบปีก จะมีแถบสีน้ำตาลพาดจากขอบปีกด้านบนลงมา ปีกคู่หลังสีน้ำตาลอ่อน ตัวเมียวางไข่เป็นกลุ่มตามปลายใบข้าว โดยกลุ่มไข่มีขนสีน้ำตาลปกคลุม กลุ่มไข่อาจจะกลมหรือรียาว ตัวหนอนสีขาวหรือครีม หัวสีน้ำตาลแกมเหลือง ลำตัวยาว หัวท้ายเรียวแหลม มี 6 ระยะ และเข้าดักแด้ภายในลำตัวบริเวณข้อปล้องเหนือผิวน้ำ ระยะหนอน 35-45 วัน ระยะไข่นาน 6-7 วัน ระยะดักแด้ประมาณ 8-13 วัน พบทำความเสียหายแก่ข้าวทั่วประเทศ

หนอนกอแถบลาย (striped stem borer) :
ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืน ปีกคู่หน้าสีน้ำตาลคล้ายรำข้าว ตามปีกมีลักษณะคล้ายฝุ่นดำเกาะอยู่ประปรายปีกคู่หลังสีน้ำตาลอ่อน ส่วนหัวมองจากข้างบนเห็นยื่นแหลมออกไปคล้ายหนาม ตัวเมียวางไข่บริเวณโคนใบข้าว ไข่มีลักษณะเป็นเกล็ดวางซ้อนกันเป็นกลุ่มๆไข่มีสีขาวขุ่นไม่มีขนปกคลุม ส่วนใหญ่พบอยู่ใต้ใบข้าว หนอนมีแถบสีน้ำตาล 5 แถบพาดตามยาวของลำตัวหัวและแผ่นอกปล้องแรกสีน้ำตาลอ่อน ระยะไข่นาน 4-10 วัน ระยะหนอนนาน 30-40 วัน ระยะดักแด้นาน 4-7 วัน พบแพร่กระจายทั่วไปในนาข้าว โดยเฉพาะในภาคกลางและ ภาคตะวันออก เฉียงเหนือ

หนอนกอแถบลายสีม่วง (dark-headed stem borer) :
ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืนขนาดเล็กคล้ายกับหนอนกอแถบลาย ต่างกันตรงที่ตรงกลางและขอบปีกมีลวดลายสีสนิมเหล็ก และตัวผู้มองดูคล้ายมีรูปตัว Y อยู่ตรงกลางปีก ปีกคู่หลังสีขาวตัวหนอนมีแถบสีม่วง 5 แถบพาดตามยาวของลำตัว หัวมีสีดำหรือน้ำตาลเข้มเกือบดำ ระยะไข่ 5-6 วัน ระยะหนอนนาน35-40 วัน ระยะดักแด้ 6-9 วัน พบระบาดทั่วทุกภาคของประเทศ

หนอนกอสีชมพู (pink stem borer) :
ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืน ลำตัวอ้วนสั้น หัวและลำตัวมีขนปกคลุม ปีกคู่หน้าสีน้ำตาลแกมแดง ปีกคู่หลังสีขาว ตัวเมียวางไข่เรียงเป็นแถวระหว่างกาบใบและลำต้น ไข่มีลักษณะกลมสีขาวครีม ตัวหนอนระยะแรกมีสีเหลืองอ่อนหรือสีครีม เมื่อโตขึ้นลำตัวมีสีชมพูม่วง หนอนมีขนาดโตที่สุดในบรรดาหนอนกอข้าวอีก 3 ชนิด เข้าดักแด้ภายในลำต้นหรือกาบใบข้าว ระยะไข่นานประมาณ 5-6 วัน ระยะหนอนนาน 35-40 วัน ดักแด้นาน 8-12 วัน ปกติพบทั่วไปในฤดูนาปรังมากกว่าฤดูนาปี

หนอนกอสีชมพู ทำลายข้าวตั้งแต่ระยะกล้าจนถึงระยะตั้งท้อง การทำลายระยะแรกทำให้กาบใบเป็นสีเหลืองหรือสีน้ำตาล ถ้าหนอนกัดเข้าไปอยู่ในลำต้นจะเกิดอาการ“ยอดเหี่ยว”และแห้งตาย หากหนอนเข้าทำลายในระยะข้าวตั้งท้องหรือหลังจากนั้น รวงข้าวจะมีสีขาว เมล็ดลีบ เรียกว่า “ข้าวหัวหงอก” การทำลายในอ้อย ทำให้ยอดอ้อยแห้งตาย

การป้องกันกำจัด :
1) เผาตอซังหลังการเก็บเกี่ยว ไขน้ำท่วมและไถดินเพื่อทำลายหนอนและดักแด้ของหนอนกอข้าวที่อยู่ตามตอซัง

2) ปลูกพืชอื่นเพื่อตัดวงจรชีวิตของหนอนกอข้าว ปลูกพืชหมุนเวียน
3) ไม่ควรใส่ปุ๋ยไนโตรเจนมากเกินไป ทำให้ใบข้าวงามหนอนกอชอบวางไข่
4) ใช้แสงไฟล่อตัวเต็มวัยและทำลาย

5) ไม่ใช้สารฆ่าแมลงชนิดเม็ดในนาข้าว เพื่อช่วยให้ศัตรูธรรมชาติพวกแตนเบียนไข่และแตนเบียนหนอนของหนอนกอข้าว สามารถควบคุมประชากรหนอนกอข้าวได้อย่างมีประ สิทธิภาพ

6 ) เมื่อพบอาการข้าวยอดเหี่ยวในระยะข้าวอายุ 3-4 สัปดาห์หลังหว่าน/ปักดำในระดับ 10-15 เปอร์เซ็นต์ ให้ใช้สารชนิดพ่นน้ำ เช่น คลอร์ไพริฟอส (ลอร์สแบน 20% อีซี) อัตรา 80 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นให้ทั่วแปลงเพียงครั้งเดียว


@@ โรค-แมลง-หนอน-อื่นๆ :
โรคใบขีดสีน้ำตาล โรคใบวงสีน้ำตาล โรคกาบใบแห้ง โรคกาบใบเน่า โรคเมล็ดด่าง โรคถอดฝักดาบ โรคขอบใบแห้ง โรคใบขีดโปร่งแสง โรคใบสีส้ม โรคใบหงิก (โรคจู๋) โรคหูด โรคเขียวเตี้ย โรคใบสีแสด โรคเหลืองเตี้ย ไส้เดือน ฝอยรากปม โรคใบแถบแดง โรคเมาตอซัง โรคดอกกระถิน

เพลี้ยไฟข้าว มวนง่าม หนอนแมลงวันเจาะยอดข้าว หนอนกระทู้กล้า หนอนกอข้าว-หนอนกอสีชมพู เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล แมลงบั่ว เพลี้ยจักจั่นสีเขียว แมลงหล่า หนอนห่อใบข้าว หนอนปลอกข้าว แมลงดำหนาม ด้วงดำ แมลงสิง มวนเขียวข้าว ผีเสื้อข้าวเปลือก ด้วงงวงข้าว มอดข้าวเปลือก ผีเสื้อข้าวสาร มอดแป้ง มอดสยาม

นกกระติ๊ดขี้หมู ปูนา หนูท้องขาว หนูนาใหญ่ หนูพุกใหญ่ หนูพุกเล็ก หอยเชอรี่

http://kkn-rsc.ricethailand.go.th/rice/pest/

-------------------------------------------------------------



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©