-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ถาม-ตอบปัญหาเกษตร 14 JUL *เพลี้ยจั๊กจั่น, นาข้าวแนวลุงคิม
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบปัญหาเกษตร 15 JUL *เกษตรพันธะสัญญา, ไส้เดือนซุปเปอร์
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบปัญหาเกษตร 15 JUL *เกษตรพันธะสัญญา, ไส้เดือนซุปเปอร์

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 15/07/2014 9:06 pm    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบปัญหาเกษตร 15 JUL *เกษตรพันธะสัญญา, ไส้เดือนซุปเปอร์ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร ทางรายการวิทยุ 15 JUL

AM 594 เวลา 08.10-09.00 & 20.05-20.30 ทุกวัน และ FM 91.0 (07.00-08.00 / วันอาทิตย์)

********************************************************************

สวัสดีครับ ท่านผู้ฟังที่เคารพ
กองทัพบกเพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตร และอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดยกองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก

@@ สนับสนุนรายการโดย ...
... บ.นิมุติ เอ็นจิเนียริ่ง เครื่องย่อยเศษพืช (02) 322-9175-6

... ยิบซั่มธรรมชาติ เฟอร์มิกซ์, ธันเดอร์พลัส, ธันเดอร์แคล, เอ็ม.แคล--- ธาตุรอง/ธาตุเสริม มัลติแชมป์ (089) 144-1112

... และ บ.มายซัคเซส อะโกร--- ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, กาวเหนียวดักแมลง มายฟิกส์, กลิ่นล่อแมลงวันทอง ฟลายแอต,
สารเสริมฤทธิ์สารสมุนไพร ไบโอเจ๊ต, ถังฉีดพ่นรุ่นใหม่ ใช้แบตเตอรี่ (081) 910-5034

กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการครับ
เช่นเคยครับ รายการเรา 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม ที่ (081) 913-4986

----------------------------------------------------------------------------------------------

ตัวแทนจำหน่าย ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง, ไบโออิ, ไทเป, ยูเรก้า. (อินทรีย์ – เคมี)

1) ชมรม (ใหญ่) สีสันชีวิตไทย (089) 814-3204 ใกล้ไฟแดง สี่แยกบางแพ ราชบุรี
2) “คุณชาตรี” (081) 841-9874 ทรัพย์ทวีการเกษตร ชัฎป่าหวาย สวนผึ้ง ราชบุรี (ส่งทาง ปณ.)

3) ร.ต.ต.นันท์สุรัตน์ (089) 821-8273 ต.จรเข้เผือก ด่านมะขามเตี้ย กาญจนบุรี (ส่งทาง ปณ.)
4) “คุณล่า” (081) 944-8494 ทุกวันจันทร์ ตลาดนัดวัดอมรญาติ ดำเนินสดวก ราชบุรี

5) “คุณประเสริฐ” (080) 110-4645 บ.เขาดิน หนองแขม เดิมบางนางบวช สุพรรณบุรี
6) “คุณอรุณ” (085) 058-1737 ในร้านโครงการหลวง ตลาด อตก.

7) “คุณพรพรรณ” (089) 814-7944 พลชัยเกษตรชีวภาพ ตลาดนัดธนบุรี ถ.เลียบคลองทวีวัฒนา
8 ) “คุณน้ำส้ม” (085) 055-7706 ชมรมฯ สาขาศาลายา หน้า ม.มหิดล พุทธมณฑลสาย 4 (ส่งทาง ปณ.)

---------------------------------------------------------------------------------------------------------

@@ สารอาหาร (ปุ๋ย) เพื่อการสื่อสาร :

** ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง : ส่วนผสมหลัก .... อินทรีย์/เคมี (กุ้งหอยปูปลาทะเล, เลือด,
ไขกระดูก, นม, ขี้ค้างคาว, น้ำมะพร้าว, ธาตุหลักตามพืช, แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม

** ไบโออิ : ส่วนผสมหลัก .... เคมี (แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม)
** ยูเรก้า : ส่วนผสมหลัก .... เคมี (21-7-14, ไคโตซาน, อะมิโนโปรตีน)
** ไทเป : ส่วนผสมหลัก ..... อินทรีย์/เคมี (นม, ไข่, น้ำมะพร้าว, 13-0-46. 0-52-34)


มิได้มีเจตนาโฆษณาผลิตภัณฑ์ แต่ใช้ชื่อผลิตภัณฑ์เพื่อง่ายต่อการสื่อสารข้อมูล เท่านั้น
.... ต้นพืชไม่รู้จักยี่ห้อ ไม่รู้จักเจ้าของสูตร .....
.... ไม่รู้เจ้าของคนปลูก ไม่ฟังโฆษณา .........
.... ต้นพืชรู้จักแต่ส่วนผสมหรือเนื้อใน .........

-----------------------------------------------------------



จาก : (089) 283-49 xx
ข้อความ : คุณลุงครับ ผมกับเพื่อนฟังเรื่องการค้าแบบพันธะสัญญาแล้ว คุยกับพ่อ พ่อผมและพ่อเพื่อน วันนี้บ้านผมรวมกลุ่มทำนา เนื้อที่กว่า 1,000 ไร่ แก้ปัญหาเรื่องต้นทุนค่าปุ๋ย ค่ายาได้มาก แต่ยังขายให้โรงสีอย่างเดิม จึงอยากขายให้กับบริษัทแบบพันธะสัญญา ผมควรทำอย่างไร หรือติดต่อบริษัทรับซื้อแบบพันธะสัญญาได้ที่ไหน .... ขอบคุณครับ ลูกชาวนาสิงห์บุรี
ตอบ :
- เกษตรพันธะสัญญา แท้จริงก็คือ การทำความตกลงกันระหว่าง เกษตรกรผู้ผลิตขาย กับ พ่อค้าผู้รับซื้อ ภายไต้ หลักเกณฑ์ กฎ กติกา หรือเงื่อนไข ที่ตกลงกันไว้ล่วงหน้า โดยทั้งสองฝ่ายต้องปฏิบัติตาม หลักเกณฑ์ กฎ กติกา หรือเงื่อนไข ที่ตกลงกันไว้อย่างเคร่งครัด หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง บิดพลิ้ว หลีกเลี่ยง ละเลย ให้เรียกร้องค่าเสียหายจากอีกฝ่ายหนึ่งได้

** ข้อตกลงหรือกติกา ระหว่าง “ชาวนา กับ ผู้รับซื้อ” เบื้องต้นที่ควรมี ได้แก่ :
... พันธุ์ข้าว
... คุณภาพ
... ปริมาณ
... ไบโปรดักส์
... ราคา
... เงื่อนไขพิเศษ
... ฯลฯ

** ปัญหาและแนวทางแก้ไข :
... ปัญหาพันธุ์ข้าว : ต้องตรงตามสายพันธุ์ หรือพันธุ์แท้ เปอร์เซ็นต์สูงสุด....แก้ไขโดย สร้างสายพันธุ์บริสุทธิ์ขึ้นมาเอง

... ปัญหาคุณภาพ : ต้องเมล็ดใส แกร่ง ไม่เป็นท้องไข่ ไม่มีเมล็ดลีบ ข้าวทุกเมล็ดต้องเกรดเดียวกัน .... แก้ไขโดย ทำนาแบบ อินทรีย์นำ-เคมีเสริม-ตามความเหมาะสมของต้นข้าว การปฏิบัติบำรุงทุกขั้นตอนด้วยสูตรเดียวกัน

... ปัญหาปริมาณ : ผู้รับซื้อต้องการปริมาณครั้งละมากๆ เพื่อความเหมาะสมในการทำธุรกิจ .... แก้ไขโดย รวมพื้นที่ ทำพร้อมกัน

... ราคา ตามตกลงกันล่วงหน้า หรือ ณ วันซื้อขาย
... ฯลฯ

** เงื่อนไขเฉพาะ ฝ่ายเกษตรกร :
... ต้องซื้อเมล็ดพันธุ์จากผู้รับซื้อ เท่านั้น ..................... เกษตรกร รับได้ไหม ?
... ต้องใช้ปุ๋ยจากผู้รับซื้อ เท่านั้น ............................. เกษตรกร รับได้ไหม ?
... ราคาในสัญญา กับ ราคาในตลาด ที่ต่างกัน .............. เกษตรกร รับได้ไหม ?
... ฯลฯ ...................................................... เกษตรกร รับได้ไหม ?

** เงื่อนไขเฉพาะ ฝ่ายผู้รับซื้อ :
... ราคาประกันเปลี่ยนแปลงตามราคาตลาด ................... เกษตรกร รับได้ไหม ?
... ผลิตภัณฑ์ที่เป็นไบโปรดักส์ ไม่รับซื้อ ....................... เกษตรกร รับได้ไหม ?
... ผลผลิตที่เสียหายจากภัยธรรมชาติ ถูกตัดราคา ............ เกษตรกร รับได้ไหม ?
... ไม่มีเทคโนโลยีใดๆ มาช่วยเลย ............................. เกษตรกร รับได้ไหม ?
... ฯลฯ ....................................................... เกษตรกร รับได้ไหม ?

- เพราะธรรมชาติไม่มีตัวเลข ไม่มีสูตรสำเร็จ ไม่มีคันเร่ง ไม่มีโวลลุ่ม ไม่มีบล็อค ไม่มีแม่พิมพ์ แม้แต่ปุ๋ย ยา ฮอร์โมน ทั้งธรรมชาติและสังเคราะห์ ก็ไม่ใช่ของวิเศษ เมื่อใช้แล้วให้แล้ว ผลผลิตต้องออกมาตามนั้นเป๊ะๆ

– การค้าขายแบบพันธะสัญญา จะสัมฤทธิ์ผลอย่างแท้จริงต่อเมื่อ ทั้งสองฝ่ายมีความซื่อสัตว์ เอื้อเฟื้อ ต่อกัน พูดแบบชาวบ้านชาวบ้าน ก็คือ รวยด้วยกันแล้วจะรวยทั้งคู่ ผู้รับซื้อซึ่งมีพลังและโอกาสในการค้นคว้าข้อมูลเทคโนโลยีการผลิตสูงกว่า ก็เสาะแสวงมาให้เกษตรกรคู่สัญญา ในขณะเดียวกัน เกษตรกรคู่สัญญาต้อง ขยัน ฉลาด มุ่งมั่น แน่วแน่ ในการผลิต โดยเฉพาะการรวมกลุ่ม รวมพื้นที่ เพื่อให้ได้ปริมาณการผลิตมากๆ ตามความต้องการของผู้รับซื้อ

**** ยากที่สุด ยากยิ่งกว่า เข็นภูเขาขึ้นครก ก็คือ “รวมกลุ่ม - รวมพื้นที่ – รวมแนวคิด – รวมเทคโนโลยี - ฯลฯ” ****

- เชื่อไหม ? วันนี้ ผลผลิตทางการเกษตรไม่พอขาย หมายถึง ผลผลิตที่คุณภาพดี เกรด เอ. มีความปลอดภัย สำหรับคนมีฐานะ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ .... ผลผลิตทางการเกษตรที่วางขายตามท้องตลาดทุกวันนี้ เกรด ฟุตบาททั้งนั้น

@@ การปฏิบัติ :
1. รวมใจ-รวมกลุ่ม-รวมพื้นที่-รวมข้อมูลด้านเทคโนโลยีการผลิต-รวมผู้รับซื้อ-ฯลฯ
2. ติดต่อผู้รับซื้อหลายๆราย (ในอินเตอร์เนตมีนับร้อยบริษัท, ซื้อผลิตภัณฑ์ที่วางขายในตลาด) เสนอแผนการผลิตของตัวเอง, ขอทราบสเป็คของผลผลิตของผู้รับซื้อ, ขอทราบเกษตรกรคู่สัญญาที่ผู้รับซื้อทำอยู่ก่อนแล้ว,

3. นำรายละเอียดต่างๆที่ได้รับมาจากผู้รับซื้อ มาปรึกษาในกลุ่มถึง “ความเป็นไปได้” แล้วกำหนดแนวทางการผลิตที่แน่นอน

กรณีศึกษา บริษัท กรีนสปอต จำกัด ผู้ผลิตและส่งออกผลิตภัณฑ์ นมถั่วเหลืองแบรนด์ "ไวตามิ้ลค์" ภายหลังจากที่บริษัทได้ส่ง "ไวตามิ้ลค์" ขยายตลาดในทวีปอาฟริกา เนื่องจากเห็นว่าพื้นที่นี้มีศักยภาพและมีโอกาสที่จะเติบโตได้อีกมาก รวมถึงประชากรให้ความสำคัญเรื่องสุขภาพ ขณะเดียวกัน ผลิตภัณฑ์นมถั่วเหลืองยังมีราคาต่ำกว่านมวัวประมาณ 5-10% ทำให้บริษัทต้องมีการสรรหาวัตถุดิบเพื่อทำการผลิตให้เพียงพอต่อการผลิตสินค้าได้อย่างสม่ำเสมอในการตอบสนองความต้องการของลูกค้า ดังนั้น ทางบริษัทจึงได้ทำ contract farming กับเกษตรกรประมาณ 3,000 ราย แต่ปริมาณวัตถุดิบก็ยังไม่เพียงพอ จึงมีเป้าหมายที่จะเพิ่มการทำ contract farming ให้มากขึ้น โดยเพิ่มพื้นที่เพาะปลูกและพัฒนาให้วัตถุดิบของเกษตรกรไทยมีคุณสมบัติตามที่บริษัทต้องการ ซึ่งผลพวงจากการที่ให้ความสำคัญกับการทำ contract farming นี้เอง ทำให้บริษัทได้รับรางวัล SR Mark (Social Responsibility Mark) จากกระทรวงพาณิชย์

อย่างไรก็ตาม หากการทำสัญญาระหว่างธุรกิจกับเกษตรกรที่มีความโปร่งใสเป็นธรรมทั้งสองฝ่ายแล้ว จะเห็นได้ว่าการทำ contract farming สามารถช่วยเหลือสนับสนุนผลผลิตของเกษตรกร ทำให้คุณภาพชีวิตของเกษตรกรลูกหลานมีชีวิตที่ดีขึ้น ชุมชนก็จะเข้มแข็งและยั่งยืน บริษัทก็ได้ทราบถึงราคาต้นทุนที่แน่นอน ช่วยให้บริษัทมีวัตถุดิบเข้าสู่กระบวนการผลิตได้อย่างสม่ำเสมอ และช่วยลดต้นทุนค่าขนส่งนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ รวมถึงบริษัทสามารถควบคุมคุณภาพและปริมาณได้อีกด้วย

นอกจากนี้ ยังถือว่าบริษัทได้แสดงความรับผิดชอบของธุรกิจต่อสังคม (Corporate Social Responsibility / CSR) : ให้กับสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อมทางอ้อม มิใช่หวังผลทางตลาด

ตัวอย่างโรงงานสับปะรดกระป๋อง ชลบุรี บอก (เน้นย้ำ...บอก) ให้เกษตรกรในพื้นที่ใกล้เคียงปลูกสับปะรด ขายส่งให้โรงงาน แรกๆก็ดี ทุกอย่างดำเนินไปตาม ธรรมชาติของสับปะรด + ธรรมชาติของเกษตรกร ในขณะที่โรงงานไม่ใส่ใจในการที่จะส่งเสริมให้เกษตรกรทำการเกษตร ทำไร่สับปะรดแบบยั่งยืน ที่ทุกอย่างดีขึ้น ดีขึ้นเรื่อยๆ โรงงานไม่คิดหลักการค้าแบบ รวยด้วยกัน ชาวไร่อยู่ได้โรงงานก็อยู่ได้ ไม่ช้าไม่นานาวไร่เลิกปลูกสับปะรดเพราะไปไม่รอด เดือดร้อนโรงงานต้องสั่งสับปะรดจากประจวบ ต้องเสียค่าขนส่งเพิ่มขึ้น ต้นทุนอย่างอื่นเพิ่มขึ้นตาม สุดท้ายโรงงานก็ต้องเจ๊ง

คุณบัญชา อดีตช่างเครื่องบิน สนามบินกำแพงแสน ลาออกมาทำเกษตร ปลูกผักหวานบ้านส่งจัสโก้ เนื้อที่ 10 ไร่ แบบอินทรีย์นำ เคมีเสริม ตามความเหมาะสมของผักหวานบ้าน ลูกค้าปุ๋ยชมรมใหญ่ สีสันชีวิตไทย สี่แยกยางแพ ราชบุรี รายได้วันละกว่า 1,000 บาท ส่งมานานนับ 10 ปี ด้วยพันธะสัญญาที่ซื่อสัตย์ต่อกัน ไม่ได้มีกติกาหรือข้อตกลงอะไรมากนัก แค่ปริมาณ คุณภาพ กับปลอดสารเคมี 100% เท่านั้น วันนี้คุณบัญชาฯ ชวนข้างบ้านหันมาทำผักหวานบ้านตามแนวที่จัสโก้ต้องการ ทำให้ได้เกรดเดียวกันทั้งหมด จัสโก้ได้ปริมาณสินค้ามากขึ้นก็ส่งสาขาอื่นอีก กิจการซื้อขายผักหวานบ้านก็โตขึ้น นี่แหละ พันธะสัญญาที่ซื่อสัตว์ต่อกัน ทั้งจัสโก้คนรับซื้อและเกษตรกรคนขาย


@@ ความรู้เรื่องเกษตรพันธะสัญญา :
ข้อดีของเกษตรพันธะสัญญา :
1. เกษตรกรมีผลผลิตขายแน่นอน สามารถนำวัตถุดิบป้อนเข้าสู่กระบวนการผลิตได้อย่างสม่ำเสมอ และเป็นการประกันรายได้ ประกันราคาสินค้าล่วงหน้า ซึ่งแต่ละพื้นที่จะมีรายละเอียดไม่เหมือนกัน

2. เกษตรกรได้รับความรู้ ทั้งด้านวิชาการ การออกแบบแปลงมาตรฐาน และเทคนิคในการปรับลดต้นทุนในการผลิต พร้อมจัดหาวัตถุดิบ และปัจจัยการผลิตต่างๆ อาจรวมไปถึงการสนับสนุนสินเชื่อทางการเงิน

3. ผลผลิตได้มาตรฐานเดียวกับที่ทางบริษัทกำหนด และตรงตามความต้องการของตลาด
4. ในยุคโลกาภิวัตน์ การตกลงราคาและเวลารับมอบสินค้ากันชัดเจน เชื่อว่าเกษตรพันธะสัญญา สามารถลดความผันผวนของรายได้และผลผลิตของเกษตรกร โดยสามารถทำให้ผลตอบแทน (รายได้) ค่อนข้างแน่นอนและสูงขึ้น และช่วยให้เกษตรกรเข้าถึงเทคโนโลยีและเงินทุน

5. ช่วยให้เกษตรกรเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหาร และจัดการ ช่วยลดภาระงบ ประมาณของรัฐในการพยุงราคาสินค้าเกษตรกรรม ตลอดจนช่วยเพิ่มโอกาสการจ้างงานในภาคเกษตรกรรม

6. เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการแบ่งปันจากบริษัท เพราะมีวัตถุดิบสม่ำเสมอ ควบคุมต้นทุนได้ สามารถคาดการณ์วางแผนการตลาด รวมถึงบริษัทยังประหยัดได้จากขนาดกิจกรรม (economy of scale) เนื่องจากเป็นการผลิตขนาดใหญ่ ส่วนผู้บริโภคได้ประโยชน์จากคุณภาพสินค้าที่สูงขึ้นและราคาถูกลง


ข้อเสียเกษตรพันธะสัญญา :
1. การทำ "เกษตรพันธะสัญญา" บริษัทมักจะทำสัญญาในรูปแบบสัญญาเชิงเอาเปรียบเกษตรกร ในเรื่องของผลตอบแทน ความเสี่ยง และความเป็นธรรม

2. เงินลงทุนต่อฟาร์มค่อนข้างสูง เมื่อเปรียบเทียบกับรายได้ที่จะเกิดขึ้น ทำให้การคืนทุนต้องใช้เวลานานหลายปี ขณะที่แหล่งเงินทุนของเกษตรกรมาจากการกู้ยืมจากสถาบันการเงิน ดังนั้น หากบริษัทยกเลิกพันธะสัญญากับเกษตรกรในระยะสั้นหรือไม่วางแผนการผลิตให้เกษตรกรอาจล้มละลายได้ นอกจากนี้ ยังพบว่าสัดส่วนของรายจ่าย (ต้นทุน) ต่อรายได้ของฟาร์มค่อนข้างสูง ประมาณ 27-92% จึงถือว่ามีความเสี่ยงค่อนข้างมาก

3. เกษตรกรมีความเสี่ยงสูง และเสี่ยงสูงขึ้นเมื่อได้รับผลกระทบทางธรรมชาติ เช่น น้ำท่วม ภัยแล้ง หรือโรค เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีความเสี่ยงในการสูญเสียผลผลิตมากขึ้น เมื่อรวมค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงาน เช่น ค่าไฟฟ้า ค่าปุ๋ย ค่ายา ฯลฯ

4. การที่สัญญาไม่ได้คำนวณรายได้ค่าตอบแทนจากการผลิตที่เป็นขั้นบันไดเป็นลาย
ลักษณ์อักษรที่ชัดเจน ทำให้เกษตรกรไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าจะถึงจุดคุ้มทุน และมีกำไรจากการลงทุนเมื่อไร จึงทำให้เกิดความเสียเปรียบ

http://www.foodnetworksolution.com/wiki/word/3120

--------------------------------------------------------------



จาก : (087) 830-19xx
ข้อความ : ผู้พันครับ ผมดู ทีวี.ช่องไหนจำไม่ได้ เพราะเดี๋ยวนี้ช่องเยอะมาก รายการเป็นข่าว หรือสารคดีแยกไม่ออก เขาบอกว่า เลี้ยงดินให้มีชีวิต ในดินต้องมีไส้เดือน เขาปลูกมันสำปะหลัง ขุดขึ้นมาพิสูจน์ หัวเดียวเต็มกระบะปิ๊กอั้พ หนักกว่า 60 กก. เขาบอกว่า ไส้เดือนเป็นตัวช่วยให้หัวสำปะหลังใหญ่ เขาไม่พูดถึงอย่างอื่นเลย ในรายการก็ไม่บอกว่าขายไส้เดือนด้วย อยากถามผู้พันว่า ไส้เดือนอย่างเดียวทำให้สำปะหลังหัวใหญ่ได้หรือ....ขอบคุณครับ จากชาวไร่กำแพงเพชร
ตอบ :
- ไส้เดือนไม่ได้เป็นตัวทำให้สำปะหลังหัวใหญ่หรอก สารอาหารกลุ่มสร้างหัวต่างหากที่ทำให้สำปะหลังหัวใหญ่ ไส้เดือนเป็นเพียงผู้ผลิตสารอาหารและปรับสภาพแวดล้อมสำหรับสำปะหลังเท่านั้น .... สารอาหารที่ไส้เดือนผลิตออกมานั้นมาจากอินทรีย์วัตถุในดินที่ไส้เดือนกินเข้าไปแล้วขับถ่ายออกมาเป็นสารอาหารสำหรับสำปะหลัง .... การที่ในดินมีไส้เดือน เกิด-กิน-แก่-เจ็บ-ตาย-ขยายพันธุ์ ในดินได้ ดินนั้นจะต้อง "ดี" ดินดีคือ ดินที่มีอินทรีย์วัตถุ ความชื้น จุลินทรีย์ น้ำและอากาศผ่านสะดวก

- ถ้าลำพังสารอาหารที่ไส้เดือนผลิตออกมาทำให้สำปะหลังใหญ่โตได้ ฉะนี้แล้วจะไปใส่ปุ๋ยเคมีทำไม ไร่ละเป็น กส.ๆ เอาแค่ปุ๋ยในน้ำหมักระเบิดเถิดเทิง (ซื้อ/ทำเอง....ซื้อครึ่ง/ทำเองครึ่ง) ก็น่าจะพอแล้ว แถมได้สารอาหารบำรุงจุลินทรีย์ประจำถิ่นอีกต่างหาก

- หลักการและเหตุผลก็คือ “ดินดี” บอกแล้วไง ดินดีได้แล้วกว่าครึ่ง ดินไม่ดีเสียแล้วกว่าครึ่ง.... อะไรทำให้ดินดี จงใส่ อะไรทำดินเสียจงอย่าใส่ ว่าแต่ว่า รู้หรือไม่ เชื่อหรือไม่ อะไรทำให้ดินดี อะไรทำให้ดินเสีย

– ตัวไส้เดือนจริงๆไม่ใช่ปุ๋ย เหมือนอาหารในครัว ระหว่างอาหารในหม้อ กับ คนทำอาหาร ควรกินอาหารในหม้อหรือกินคนทำ ฉันใด .... ไส้เดือนเพียงผู้ผลิตอาหารให้กับพืชเท่านั้น ไม่ใช่ตัวอาหารที่พืชกิน

- เดินเข้าไปในแปลงเกษตรอะไรก็สุดแท้ ระหว่าง ผิวดินที่มีขุยไส้เดือน กับ ผิวดินที่ไม่มีขุยไส้เดือน แตกต่างกันอย่างไร อย่างไหนดีกว่ากัน และอย่างไหนพืชโตดีกว่ากัน เรื่องนี้ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ระดับปริญญาก็ตอบได้ ว่ามั้ย ?

– อยากให้มีไส้เดือนในดิน ใส่อินทรีย์วัตถุ ยิบซั่ม ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยคอก กระดูกป่น น้ำหมักชีวภาพ หญ้าแห้งใบไม้แห้งคลุมหน้าดิน ให้น้ำสม่ำเสมอพอหน้าดินชื้น .... หาไส้เดือนมาใส่ หรือปล่อยไว้ให้เกิดเองตามธรรมชารติ ก็ว่ากันไป

@@ไส้เดือนซุปเปอร์ :
1. เอาไส้เดือนยังเป็นๆ ยิ่งมากยิ่งดี แช่น้ำเปล่า 1 คืน
2. เอาปลาสดยังเป็นๆ ยิ่งมากยิ่งดี แช่น้ำเปล่า 1 คืน
3. กรองเอาแต่น้ำแช่ไส้เดือน ปล่อยไส้เดือนกลับคืนถิ่นเดิม,
4. เอาปลาไปทำกับข้าว ชำแหละปลาแล้วล้างน้ำ เอาน้ำล้างปลามาใช้งาน
5. น้ำแช่ไส้เดือน + น้ำแช่ปลา + น้ำล้างปลา ได้ “ไส้เดือนซุปเปอร์” พร้อมใช้งาน
6. น้ำไส้เดือนซุปเปอร์ + น้ำเปล่า 1 : 100 ฉีดพ่นทางใบให้เปียกโชก ทั้งไต้ใบบนใบลงถึงพื้น ทุก 10-15 วัน
7. พืชเป้าหมาย พืชสวนครัวทุกประเภท ทุกชนิด
8. ในไส้เดือน (สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง) มีไซโตไคนิน ขยายขนาด....ในน้ำแช่ปลา เลือดปลา มีไนโตรเจน

@@ ความรู้เรื่องไส้เดือน :
ไส้เดือนจะขับถ่ายทั้งมูลและเมือกในตัวของไส้เดือนตามธรรมชาติ เมือกไส้เดือนมี “Coelomic” มี ไนโตรเจน. ฟอสฟอรัส. และโปรแตสเซี่ยม. ที่ละลายน้ำเป็นสารอาหารหลักของพืช และยังมีโฮโมน เช่น Cytokinins, Oxyn, กรดอะมิโน, วิตามิน, เอนไซม์ และจุรินทรีย์ที่มีประโยชน์มากมาย เช่น แบคทีเรีย Heterotrophic, เชื้อรา Actinomycetes, รวมทั้ง Fixers, ไนโตรเจน, ฟอสเฟส, Solibilisers มีอยู่ในน้ำเมือกไส้เดือน (Wormwash, Vermiwash) ดังนั้นน้ำเมือกไส้เดือนจึงอุดมสมบูรณ์ไปด้วยสารอาหารที่ละลาย กรดอะมิโน ได้อย่างง่ายดายสำหรับพืช

มูลไส้เดือนเป็นปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง ช่วยกระตุ้นให้รากมีความแข็งแรง และมีรากเป็นจำนวนมาก จึงทำให้รากของต้นไม้ดูดเอาสารอาหารได้มากขึ้น มีผลทำให้ลำต้นและใบเจริญเติบโตได้ดี

ไส้เดือนดินมีส่วนช่วยทำให้โครงสร้างของดินดีขึ้น โดยการชอนไชทำให้ดินร่วนซุย ทำให้การระบายน้ำ และอากาศไปสู่ดินได้ดีขึ้น ไส้เดือนดินชอนไชลงใต้ดินได้ลึกกว่า 20 ม.เท่ากับเป็นการไถพรวนทางธรรมชาติ ที่เครื่องกลทางการเกษตรใดๆ ทำไม่ได้ และยังช่วย
ให้ดินอุดมสมบูรณ์โดยการช่วยเพิ่มอินทรีย์วัตถุและธาตุอาหารแก่ดิน

บทบาทไส้เดือนดิน :
1. ช่วยพลิกกลับดิน นำดินด้านล่างขึ้นมาด้านบนโดยการกินดินที่มีแร่ธาตุบริเณด้านล่าง และถ่ายมูลบริเวณผิวดินด้านบน ช่วยให้เกิดการผสมคลุกเคล้าแร่ธาตุในดิน นำแร่ธาตุที่เป็นประโยชน์ต่อพืชในชั้นใต้ดินขึ้นมาด้านบนให้พืชดูดนำไปใช้ได้

2. ช่วยย่อยสลายสารอินทรีย์ในดิน ซากพืช ซากสัตว์ ทำให้ธาตุต่างๆ อยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์ต่อพืช เช่น ไนโตรเจนในรูปแอมโมเนีย, ไนเตรท, และอีกกลายชนิด รวมทั้งสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช และ วิตามิน. ถูกปลอดปล่อยออกมาด้วย

3. ช่วยเพิ่มและแพร่กระจายจุลินทรีย์ในดินที่มีประโยชน์ต่อพืช เช่น ไรโซเบียม. ไมคอร์ไรซา. ในบริเวณรากพืช

4. การชอนไชของไส้เดือนดิน ทำให้ดินร่วนซุย การถ่ายเทน้ำ และอากาศดี ดินอุ้มน้ำได้ดีขึ้น เพิ่มช่องว่างในดินทำให้รากพืชชอนไชได้ดี

ประโยชน์และความสำคัญของปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน :
1. ส่งเสริมการเกิดเม็ดดิน
2. เพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุแก่ดิน
3. เพิ่มช่องว่างในดินให้การระบายน้ำและอากาศดียิ่งขึ้น
4. ส่งเสริมความพรุนของผิวหน้าดิน ลดการจับตัวเป็นแผ่นแข็งของหน้าดิน
5. ช่วยให้ระบบรากพืชแพร่กระจายตัวในดินได้กว้าง
6. เพิ่มขีดความสามารถในการดูดซับน้ำในดิน ทำให้ดินชุ่มขึ้น
7. เพิ่มธาตุอาหารพืชให้แก่ดินโดยตรงและเป็นแหล่งอาหารของสัตว์และจุลินทรีย์ดิน
8. เพิ่มศักยภาพการแลกเปลี่ยนประจุบวกของดิน
9. ช่วยลดความเป็นพิษของธาตุอาหารพืชบางชนิดที่มีปริมาณมาเกินไป เช่น อลูมินัม และแมงกานีส

10. ช่วยเพิ่มความต้านทานในการเปลี่ยนแปลงระดับความเป็น กรด-ด่าง ทำให้การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นไม่เร็วเกินไปจนเป็นอันตรายต่อพืช

11. ช่วยควบคุมปริมาณไส้เดือนฝอยในดิน เนื่องจากการใส่ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินจะทำให้มีปริมาณจุลินทรีย์ที่สามารถ ขับสารพวกอับคาลอยด์และกรดไขมันที่เป็นพิษต่อไส้เดือนฝอยได้เพิ่มขึ้น

สนใจติดต่อ 089-827-2715 (อาจารย์ป๋อง)http://www.oknation.net/blog/print.php?id=844265

------------------------------------------------------------



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©