-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร 30 JUN ..... **มนุษย์เงินเดือน สงสัยทุเรียน ?
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร 1 JUL *ศัตรูมะพร้าว, รวมโรคพืช
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร 1 JUL *ศัตรูมะพร้าว, รวมโรคพืช

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11562

ตอบตอบ: 01/07/2014 8:47 pm    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร 1 JUL *ศัตรูมะพร้าว, รวมโรคพืช ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร ทางรายการวิทยุ 1 JUL

AM 594 เวลา 08.10-09.00 & 20.05-20.30 ทุกวัน และ FM 91.0 (07.00-08.00 / วันอาทิตย์)

********************************************************************

สวัสดีครับ ท่านผู้ฟังที่เคารพ
กองทัพบกเพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตร และอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดยกองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก

@@ สนับสนุนรายการโดย ...
... บ.นิมุติ เอ็นจิเนียริ่ง เครื่องย่อยเศษพืช (02) 322-9175-6

... ยิบซั่มธรรมชาติ เฟอร์มิกซ์, ธันเดอร์พลัส, ธันเดอร์แคล, เอ็ม.แคล--- ธาตุรอง/ธาตุเสริม มัลติแชมป์ (089) 144-1112

... และ บ.มายซัคเซส อะโกร--- ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, กาวเหนียวดักแมลง มายฟิกส์, กลิ่นล่อแมลงวันทอง ฟลายแอต,
สารเสริมฤทธิ์สารสมุนไพร ไบโอเจ๊ต, ถังฉีดพ่นรุ่นใหม่ ใช้แบตเตอรี่ (081) 910-5034

กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการครับ
เช่นเคยครับ รายการเรา 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม ที่ (081) 913-4986

----------------------------------------------------------------------------------------------

ตัวแทนจำหน่าย ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง, ไบโออิ, ไทเป, ยูเรก้า. (อินทรีย์ – เคมี)

1) ชมรม (ใหญ่) สีสันชีวิตไทย (089) 814-3204 ใกล้ไฟแดง สี่แยกบางแพ ราชบุรี
2 )“คุณชาตรี” (081) 841-9874 ทรัพย์ทวีการเกษตร ชัฎป่าหวาย สวนผึ้ง ราชบุรี (ส่งทาง ปณ.)

3) ร.ต.ต.นันท์สุรัตน์ (089) 821-8273 ต.จรเข้เผือก ด่านมะขามเตี้ย กาญจนบุรี (ส่งทาง ปณ.)
4) “คุณล่า” (081) 944-8494 ทุกวันจันทร์ ตลาดนัดวัดอมรญาติ ดำเนินสดวก ราชบุรี

5) “คุณประเสริฐ” (080) 110-4645 บ.เขาดิน หนองแขม เดิมบางนางบวช สุพรรณบุรี
6) “คุณอรุณ” (085) 058-1737 ในร้านโครงการหลวง ตลาด อตก.

7) “คุณพรพรรณ” (089) 814-7944 พลชัยเกษตรชีวภาพ ตลาดนัดธนบุรี ถ.เลียบคลองทวีวัฒนา
8 ) “คุณน้ำส้ม” (085) 055-7706 ชมรมฯ สาขาศาลายา หน้า ม.มหิดล พุทธมณฑลสาย 4 (ส่งทาง ปณ.)

---------------------------------------------------------------------------------------------------------

@@ สารอาหาร (ปุ๋ย) เพื่อการสื่อสาร :

** ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง : ส่วนผสมหลัก .... อินทรีย์/เคมี (กุ้งหอยปูปลาทะเล, เลือด,
ไขกระดูก, นม, ขี้ค้างคาว, น้ำมะพร้าว, ธาตุหลักตามพืช, แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม

** ไบโออิ : ส่วนผสมหลัก .... เคมี (แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม)
** ยูเรก้า : ส่วนผสมหลัก .... เคมี (21-7-14, ไคโตซาน, อะมิโนโปรตีน)
** ไทเป : ส่วนผสมหลัก ..... อินทรีย์/เคมี (นม, ไข่, น้ำมะพร้าว, 13-0-46. 0-52-34)


มิได้มีเจตนาโฆษณาผลิตภัณฑ์ แต่ใช้ชื่อผลิตภัณฑ์เพื่อง่ายต่อการสื่อสารข้อมูล เท่านั้น
.... ต้นพืชไม่รู้จักยี่ห้อ ไม่รู้จักเจ้าของสูตร .....
.... ไม่รู้เจ้าของคนปลูก ไม่ฟังโฆษณา .........
.... ต้นพืชรู้จักแต่ส่วนผสมหรือเนื้อใน ..........

-----------------------------------------------------------



จาก : (098) 620-47xx
ข้อความ : ลุงคิมครับ ผมลงมะพร้าวแกงลูกใหญ่ พันธุ์ชุมพร 5 ไร่ วันนี้อายุต้นได้ 6 ปีแล้ว ขอให้พูดเรื่องโรคมะพร้าว ไม่รู้ว่าแมลงอะไรบ้างรุมเล่นงาน เสียหายไปแล้วกว่าครึ่งสวน ยืนต้นตายไปแล้วกว่า 10 ต้น .... ขอบคุณครับ
ตอบ :
เมื่อเร็วๆนี้ สมาคมพืชสวนแห่งประเทศไทย ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัด
สัมมนาเรื่อง สถานการณ์มะพร้าวขาดแคลน .... จากวิกฤติสู่โอกาส ณ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร มีการบรรยายพิเศษในหัวข้อ “เทคโนโลยีการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูของมะพร้าว” Ž โดย ดร.อัมพร วิโนทัย นักกีฏวิทยาชำนาญการพิเศษ สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร

ดร.อัมพร วิโนทัย กล่าวว่า ศัตรูมะพร้าวสำคัญที่ส่งผลให้ผลผลิตมะพร้าวลดลงมี 4 ชนิด คือ ด้วงแรดมะพร้าว. ด้วงงวงมะพร้าว. หนอนหัวดำ. และแมลงดำหนาม. ซึ่งการป้องกันกำจัดไม่แนะนำให้ใช้สารเคมี แต่ให้เลือกใช้วิธีเขตกรรม และศัตรูธรรมชาติของแมลงทั้ง 4 ชนิดแทน ดังนี้ ....

1. ด้วงแรดมะพร้าว : มักระบาดในสวนที่ปล่อยให้รก มีกองเศษพืช กองปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ดังนั้นชาวสวนควรหมั่นทำความสะอาดแปลงอยู่เสมอ หากพบด้วงแรดให้จับไปทำลายทิ้ง หรือใช้เชื้อราเขียว เมตาไรเซียม ควบคุม ทำได้โดยการคลุกเชื้อราในแหล่งที่พบการระบาดเพื่อทำลายตัวหนอนในดิน หรือทำกองล่อให้ตัวเต็มวัยมาผสมพันธุ์และวางไข่ วัสดุที่ใช้ ได้แก่ ขุยมะพร้าว ขี้วัว แกลบ เศษหญ้า ในส่วนผสมเท่าๆ กัน รดน้ำให้ชุ่ม และคลุกเชื้อราเขียว เมตาไรเซียม ลงในกองล่อ เมื่อเชื้อราสัมผัสตัวหนอนจะเจริญเติบโตในตัวหนอนจนตัวหนอนตายในที่สุด

2. ด้วงงวงมะพร้าว : มักทำลายในส่วนของลำต้น และยอดบริเวณคอมะพร้าว โดยการเจาะเข้าไปจนเป็นโพรง วิธีการป้องกันกำจัด คือ หมั่นทำความสะอาดแปลง ตรวจดูการเข้าทำลาย และการระบาดอย่างสม่ำเสมอ

3. หนอนหัวดำมะพร้าว : เป็นศัตรูพืชที่พบระบาดมาก เมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมา โดยเริ่มระบาดจาก จ.ประจวบคีรีขันธ์ สาเหตุเกิดจากต้นมะพร้าวทรุดโทรมจากภาวะภัยแล้ง โดยตัวหนอนจะกัดแทะผิวใบแก่ และสร้างเส้นใยถักพัน แล้วใช้มูลที่ถ่ายออกมาผสมกับเส้นใยที่สร้างขึ้นทำอุโมงค์ หากระบาดอย่างรุนแรงจะทำให้ผลผลิตมะพร้าวลดลงมากกว่า 50 % วิธีการป้องกันกำจัด คือ การใช้เชื้อ บีที. อัตรา 80 มล. ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นให้ทั่วตั้งต้นและใบ ต้นละ 5-10 ลิตร ติดต่อกัน 3-5 ครั้ง ห่างกัน 7-10 วัน ควบคู่กับการตัดใบมะพร้าวที่ถูกทำลายและนำไปฝังหรือเผาทำลายทิ้ง

4. แมลงดำหนามมะพร้าว : จะเข้าทำลายในส่วนยอดอ่อนของมะพร้าวเป็นหลัก โดยใช้เวลาพียง 5 วัน สามารถทำให้ยอดอ่อนชะงักการเจริญเติบโต เมื่อระบาดรุนแรงจะมองเห็นใบบนต้นมะพร้าวเป็นสีขาวโพลน หรือที่เรียกว่า  “โรคหัวหงอก”Ž การป้องกันกำจัดทำได้โดยการนำแตนเบียนหนอน หรือเชื้อราเขียว เมตาไรเซียม กำจัดระยะตัวหนอน ดักแด้ และตัวเต็มวัย จับตัวหนอนหรือตัวแมลงดำหนามไปเผาทำลาย หรือตัดมะพร้าวที่ถูกทำลายจนตาย และเผาทิ้ง

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ดร.อัมพร วิโนทัย สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร โทร. 0-2579-7580 ต่อ 135

หมายเหตุ :
- เชื้อกำจัดโรคพืชและศัตรูพืชที่รู้จักกันทั่วไป ได้แก่ เมตาไรเซียม. บาซิลลัส ซับติลิส (บีเอส), บาซิลลัส ทูรินจินซิส (บีที), เอ็นพีวี. เป็นจุลินทรีย์กลุ่มมีประโยชน์ หรือเป็นเชื้อโรคของศัตรูพืช ที่เกษตรกรเรียกว่า “ยาเชื้อ” นั่นเอง

– เนื่องจากเชื้อเหล่านี้การจัดเก็บทำแบบ “สต๊อป หรือ เชื้อแห้ง” ก่อนใช้งานจริงจะต้องทำให้ฟื้นขึ้นมาก่อน โดยการแช่ใน “น้ำ 20 ล. + กากน้ำตาล 2 ล. + หัวเชื้อ 100 กรัม” คนเคล้าให้เข้ากันดี เติมออกซิเจนตู้ปลา 36 ชม. (ไม่ควรขาด ไม่ควรเกิน) พร้อมใช้งาน.... ใช้ “เชื้อฟื้นแล้ว 20 ล. + น้ำ 100 ล.” ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่ม ทั้งไจ้ใบบนใบ

- จุลินทรีย์กลุ่มยาเชื้อ ไม่สู้รังสีอุลตร้า ไวโอเลต (แสงอาทิตย์) การใช้งานจึงไม่ควรให้สัมผัสแสงแดดหรือฉีดพ่นตอนกลางวัน นั่นคือ ฉีดพ่นตอนกลางคืน

- จุลินทรีย์กลุ่มยาเชื้อ ไม่สู้ความแห้ง ก่อนฉีดพ่นควรฉีดพ่นน้ำเปล่าไปก่อน หลัง จากนั้นจึงฉีดพ่นยาเชื้อ

– ยาเชื้อ คือ จุลินทรีย์ เป็นสิ่งมีชีวิต ไม่ควรใช้ร่วมกับสารเคมียาฆ่าแมลง และสารสกัดสมุนไพรใดๆทั้งสิ้น รวมทั้งน้ำที่ใช้ผสมต้องเป็นกลาง พีเอช 7.0 +/- ได้ 1

- ยาเชื้อ บีที. บีเอส. เอ็นพีวี. เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการกำจัดศัตรูประเภทหนอนและแมลง เกษตรกรหลายคนนำไปใช้แล้วไม่ได้ผลเพราะไม่เข้าใจสมการยาเชื้อ “ยาผิด ใช้ผิด = ไม่ได้ผล ยกกำลังสอง” หมายถึง

.... ยาเชื้อผิด เพราะ ไม่ได้ปลุกให้ฟื้นตื่นจากสต๊อปก่อน
.... ใช้ผิด เพราะ ไม่ได้ฉีดพ่นน้ำเปล่านำร่องก่อน ฉีดพ่นแล้วโดนแสง


(.... แทรก : : สาเหตุที่การใช้ยาเชื้อกำจัดเพลี้ยแป้งสีชมพูในสำปะหลัง และในแปลงพืชอื่นๆ ไม่ได้ผลไม่ได้ผล จากเหตุผล 2 ประการดังกล่าว เพราะ ....
1. ไม่ได้ฉีดน้ำเปล่านำร่องก่อน
2. ต้องทำงาน คือ ฉีดพ่น 2 ครั้ง
3. เครื่องมือฉีดพ่นไม่สะดวก (สะพายเป้ ลากสายยาง แล่นเรือปากเป็ด)
4. ไม่ยอมรับสปริงเกอร์หม้อปุ๋ยหน้าโซน ....

ในความเป็นจริง แปลงสำปะหลังติดสปริงเกอร์หม้อปุ๋ยหน้าโซน แบบถอดประกอบได้ ก่อนปลูกติดตั้ง ก่อนขุดก็ถอดออก ประโยชน์ที่ได้รับ
1. ให้น้ำ
2. ให้ปุ๋ย (ทางใบ ทางราก)
3. ให้ยา (ยาเชื้อ ยาสมุนไพร)
4. ผลผลิต (หัวสำปะหลัง ต้นพันธุ์) ....

สำปะหลังก้าวหน้า ปลูกแถวคู่ คนเลี้ยง (ให้น้ำ/ปุ๋ย/ยา ทางใบ/ทางราก สม่ำเสมอ) เนื้อที่ 1 ไร่ได้ 20 ตัน เนื้อที่ 10 ไร่ได้ 200 ตัน ถ้ากล้าคิดกล้าบ้ากล้าทำกล้าลงทุน ใช้สปริงเกอร์ แรงงานคนเดียว ชั่วโมงเดียวเสร็จ คุ้มเกินคุ้ม ....

เพราะ ชาวไร่สำปะหลังรวมถึงเกษตรกรกลุ่มปลูกพืชทุกชนิด ปฏิเสธเทคโนโลยีเครื่องทุ่นแรงอย่างสิ้นเชิง ทั้งๆที่ ได้ประโยชน์มากกว่าเสียประโยชน์ ทุกประตู สปริงเกอร์แบบ ถอด/ประกอบ ได้ ซื้อมาครั้งเดียวใช้งานได้ 10-20 ปี แค่สำปะหลัง 1 รุ่น ระยะเวลาเริ่มปลูกนานถึงขุด 8 เดือน เปรียบเทียบ “ผลตอบแทน V.S. ต้นทุน” ก็คุ้มยิ่งกว่าคุ้มแล้ว .... ว่ามั้ย

แม้แต่ช่องว่างระหว่างแถวปลูกสำปะหลัง นิสัยของข่าแสงแดดน้อยก็ได้ แสงแดดมากก็ได้ ว่าแล้วก็ปลูกข่าแทรกลงไป 1 แถว บำรุงสำปะหลังกับข่าสูตรเดียวกัน นี่แหละ 1 ไร่ได้ 1 แสน


ประสบการณ์ตรง :
- ย้อนมาเรื่องมะพะร้าว .... คุณสมัคร สภาโจ๊ก ทีวี.ช่องจำไม่ได้ ทำสวนมะพร้าวแกงอยู่บางสะพาน ประจวบ คีรีขันธ์ มาคุยกันหลายครั้งที่ชมรมใหญ่ ใกล้ไฟแดง สี่แยกบางแพ ราชบุรี ได้แนะนำให้ใส่ทางดินด้วย ยิบซั่ม เฟอร์มิกซ์, ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, กระดูกป่น, ขี้วัวขี้ไก่ ปีละ 1 ครั้ง หว่านทั่วแปลง ทุกตารางนิ้ว, ให้ระเบิดเถิดเทิง 8-24-24 อย่างเดียวเดี่ยวๆ 2 ล. /ไร่ /เดือน ต่อเนื่องกันนาน 1 ปี ไม่ต้องใส่ปุ๋ยเคมีเพิ่มแม้แต่เม็ดเดียว ปรากฏว่า 1 ปี ผ่านไป มะพร้าวแกงดกขึ้นจากที่เคยได้ทะลายละ 7-8 ลูก เพิ่มเป็น 11-12 ลูก ลูกเคยเล็กก็ใหญ่ขึ้น รถที่มาบรรทุกเคยรับๆได้ 1,000 ลูก ลดเหลือแต่ 800 ลูก เนื้อหนาขึ้นอีกด้วย .... เหตุผลเพราะ สารอาหารอินทรีย์จาก สัตว์ทะเล (กุ้งหอยปูปลา) +แม็กเนเซียม. สังกะสี. เป็นสารอาหารสำหรับมะพร้าว หรือพืชตระกูลปาล์มโดยตรงอยู่แล้ว .... วันนี้ในแปลงมะพร้าว พื้นที่ว่างที่พอมีแสงแดดบ้าง คุณสมัคร สภาโจ๊ก ปลูกสารพัดที่ปลูกได้ เสริม/แซม/แทรก ลงไปจนเต็มทั้งแปลง เงินทั้งนั้น

-------------------------------------------------------------


จาก : (080) 728-19xx
ข้อความ : เรียนคุณตาผู้พัน บอยอยากได้ข้อมูลเกี่ยวกับแมลงศัตรูพืชโดยเฉพาะ จะเอาไปทำรายงานส่งครูครับ ที่บ้านไม่มีคอม จะไปปริ๊นท์ที่ร้านเช่า คุณตาช่วยออกอากาศตอนกลางคืนนะครับ เพราะพ่อกับแม่ฟังทุกวัน .... จากหลานบอยครับ
ตอบ :
** แมลง :
แมลงศัตรูพืช หมายถึง สัตว์ที่มีลำตัวเป็นปล้อง (urthropods) จัดอยู่ในชั้น (class Insecta) ประกอบด้วยสัตว์ประมาณ 26 อันดับ (order) ซึ่งสัตว์เหล่านี้ได้ก่อความเสียหายแก่พืชเพาะปลูก แมลงเป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ลำตัวแบ่งออกเป็นสามส่วน คือ ส่วนศีรษะ (head) อก (thorax) และท้อง (abdomen) ซึ่งบนส่วนอกมี 3 ปล้อง ซึ่งแต่ละปล้องมีขา 1 คู่ ส่วนท้องมี 8-11 ปล้อง แมลงมีผนังหุ้มลำตัวแข็ง (exoskeleton) ดังนั้นการเจริญเติบโตของแมลงจึงต้องอาศัยการลอกคราบ (molting) การจำแนกชนิดของแมลงที่ถูกต้องจะแบ่งตามหลักการอนุกรมวิธานโดยนักกีฎวิทยา (entomologist) แต่ในที่นี้จะขอแบ่งชนิดของแมลงศัตรูพืชออกตามลักษณะของการทำลาย ดังนี้....

1. แมลงจำพวกกัดกินใบ (leaf feeder) ได้แก่ หนอนผีเสื้อ ตั๊กแตน ด้วงปีกแข็ง แมลงพวกนี้มีปากแบบกัดกิน (chewing) สามารถกัดกินใบทั้งหมด หรือกัดกินเฉพาะตัวใบแล้วเหลือเส้นใบไว้ ทำให้พืชขาดส่วนสังเคราะห์แสง หรือขาดที่สะสมอาหาร หรือขาดยอดอ่อนสำหรับการเจริญเติบโตต่อไป

2. แมลงจำพวกดูดกินน้ำเลี้ยง (juice sucker) ได้แก่ เพลี้ยอ่อน เพลี้ยกระโดดเพลี้ยจั๊กจั่น และมวนต่างๆ แมลงจำพวกนี้มีปากแบบดูด (sucking) สามารถแทงและดูดน้ำเลี้ยงจากใบ ยอดอ่อน กิ่ง ลำต้น ดอก หรือผล ทำให้ส่วนต่างๆ ของพืชที่ถูกดูดกินน้ำเลี้ยงมีรอยไหม้ ใบม้วนเหี่ยว ไม่เจริญเติบโต หรือแคระแกร็น และนอกจากนี้แมลงจำพวกนี้ยังเป็นสาเหตุสำคัญของการถ่ายทอดและแพร่กระจายโรคพืชที่มีเชื้อไวรัสเป็นสาเหตุอีกด้วย

3. แมลงจำพวกหนอนชอนใบ (leaf minor) ได้แก่ หนอนผีเสื้อ หนอนแมลงวันบางชนิด แมลงจำพวกนี้มักมีขนาดเล็ก กัดกินเนื้อเยื่ออยู่ระหว่างผิวใบพืช ทำให้พืชขาดส่วนสังเคราะห์แสง หรือขาดส่วนสะสมอาหาร

4. แมลงจำพวกหนอนเจาะลำต้น (stem borer) ได้แก่ หนอนด้วง หนอนผีเสื้อ และปลวก แมลงจำพวกนี้มักวางไข่ตามใบหรือเปลือกไม้ เมื่อไข่ฟักออกเป็นตัวหนอนก็จะชอนไชเข้าไปอยู่ในกิ่ง ลำต้น หรือผล ทำให้ต้นพืชขาดน้ำ และอาหารแล้วแห้งตายไป หรือทำให้ผลไม้เน่า, หล่น เสียหาย

5. แมลงจำพวกกัดกินราก (root feeder) ได้แก่ ด้วงดีด จิ้งหรีด แมลงกระชอน ด้วงดิน ด้วงงวง แมลงจำพวกนี้มีปากแบบกัดกิน มักมีชีวิตหรือวางไข่ตามพื้นดิน ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะเข้าทำลายรากพืช ทำให้พืชยืนต้นแห้งตายเนื่องจากขาดน้ำและอาหาร

6. แมลงจำพวกที่ทำให้เกิดปุ่มปม (gall maker) ได้แก่ ต่อ แตน และเพลี้ย แมลงจำพวกนี้เมื่อกัดกิน, ดูดน้ำเลี้ยง หรือวางไข่บนพืชแล้ว มักจะปลดปล่อยสารบางชนิดลงบนพืช ทำให้เกิดอาการปุ่มปมผิดปกติบนส่วนต่างๆ ของพืช เช่น ดอก ใบ ยอดอ่อน ราก และลำต้น

แมลงศัตรูพืชทั้ง 6 จำพวก จัดแบ่งตามระยะเวลาการเข้าทำลายพืชปลูกแล้วแบ่งได้ 2 ประเภท คือ
1. แมลงศัตรูพืชประเภทที่เข้าทำลาย ตั้งแต่ระยะปลูกจนถึงระยะเก็บเกี่ยว : การทำลายของแมลงศัตรูพืชประเภทนี้เกิดโดยการกัดกิน ใบ ยอดอ่อน ตาดอก ดอก และลำต้น หรือการดูดกินน้ำเลี้ยงของยอดอ่อน ตาดอก และกิ่งอ่อน หรือการเจาะไชลำต้น หรือการเป็นพาหะที่ทำให้เกิดการระบาด หรือแพร่กระจายของโรคพืช ซึ่งการทำลายของแมลงประเภทนี้ ทำให้ศักยภาพการให้ผลผลิตของพืชปลูกลดลง

2. แมลงศัตรูพืชประเภททำลายผลผลิตในโรงเก็บเกี่ยว (stored insect pest) : แมลงศัตรูประเภทนี้อาจจะวางไข่บนดอก หรือผลของพืชปลูกขณะอยู่ในแปลง แล้วตัวแมลงไปเจริญเติบโตทำลายผลผลิตขณะที่อยู่ในโรงเก็บ หรือหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตมาแล้ว เช่น ด้วงงวงข้าวสาร ด้วงถั่ว มอด แมลงวันผลไม้ หรืออาจจะเป็นพวกที่อาศัยอยู่ในโรงเก็บ เช่น แมลงสาบ มด เป็นต้น


** โรคพืช :
โรคพืช หมายถึงลักษณะอาการของพืชที่ผิดไปจากปกติ ซึ่งอาจเกิดขึ้นบนส่วนใดส่วนหนึ่งของต้นพืช หรือตลอดทั้งต้น และรวมไปจนถึงการแห้งตายไปทั้งต้น สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคพืชแบ่งได้ 2 สาเหตุคือ

1. เกิดจากสิ่งมีชีวิต (pathogenic disease) เช่น โรคพืชที่เกิดจากเชื้อไวรัส (virus) เชื้อไมโคพลาสมา (mycoplasma) เชื้อแบคทีเรีย (bacteria) เชื้อรา (fungi) และไส้เดือนฝอย โรคพืชจะเกิดขึ้นและสามารถแพร่กระจายระบาดออกไปได้ถ้าหากมีเชื้อสาเหตุเหล่านี้ ตลอดจนมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเกิดและการแพร่กระจายของโรคพืชนั้น ๆ การแพร่กระจายของโรคพืชอาศัย น้ำ ฝน ความชื้น ลม ดิน หรือโดยการถ่ายทอด (transmission) ผ่านทางเมล็ดพันธุ์ ส่วนขยายพันธุ์ หรือโดยแมลง ลักษณะอาการ (symptom) ของโรคพืชซึ่งเกิดจากเชื้อสาเหตุที่แตกต่างกัน จะแตกต่างกันดังต่อไปนี้

1.1) ลักษณะอาการของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อไวรัส มักมีอาการโรคใบหด ใบหงิก ใบสีเหลืองส้ม ใบด่างเหลือง ใบม้วน

1.2) ลักษณะอาการของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อไมโคพลาสมา มักมีอาการโรคใบขาว ลำต้นแคระแกรน แตกกอเป็นพุ่ม หรือใบเหลืองซีด กิ่งแห้งตาย ลำต้นทรุดโทรมและไม่ให้ผลผลิต

1.3) ลักษณะอาการของโรคพืชจากเชื้อแบคทีเรีย มีลักษณะอาการแตกต่างกัน 5 แบบ คื
1.3.1) เหี่ยว (wilt) อาการเหี่ยวเฉา เกิดจากเชื้อแบคทีเรียเข้าไปเจริญในท่อน้ำ ท่ออาหารของต้นพืช ทำให้เกิดการอุดตันของท่อน้ำและท่ออาหาร จึงเป็นเหตุให้พืชได้รับน้ำและอาหารไม่เพียงพอ เกิดอาการเหี่ยวเฉา หรือเจริญเติบโตผิดปกติและจะตายไปในที่สุด เช่น โรคเหี่ยวของมะเขือเทศ มันฝรั่ง ยาสูบ ถั่วลิสง กล้วย แตงกวา แตงโม มีสาเหตุมาจากเชื้อ Xanthomonas spp., Pseudomonas spp., Erwinia spp.

1.3.2) เน่าเละ (soft rot) อาการเน่าและมีกลิ่นเหม็น ทั้งนี้เพราะแบคทีเรียเข้าทำลายเซลล์พืช และมีเชื้อจุลินทรีย์อื่น ๆ ร่วมเข้าทำลายซ้ำเติม โรคพืชแบบนี้มักเกิดกับส่วนของพืชที่อวบน้ำ เช่น โรคเน่าเละของพืชผัก มันฝรั่ง มะเขือเทศ แตงกวา กะหล่ำ พริก ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากเชื้อ Erwinia spp.

1.3.3) แผลเป็นจุด (spot หรือ local lesion) อาการจุดแห้งตาย เกิดจากเชื้อแบคทีเรียเข้าไปเจริญอยู่ในช่องว่างระหว่างเซลล์หรือในเซลล์ ทำให้เซลล์บริเวณนั้นตายเป็นแผลแห้งมีขอบเขตจำกัด เช่น โรคใบจุดของฝ้าย โรคใบจุดของถั่วเหลือง โรคขอบใบแห้งของข้าว โรคแคงเคอร์ของส้ม โรคใบจุดของยาสูบ เชื้อสาเหตุ ได้แก่ Xanthomonas sp., Pseudomonas spp.

1.3.4) ไหม้ (blight) อาการใบไหม้ตาย เริ่มจากจุดเล็ก ๆ ก่อน แล้วแผ่ขยายไปเรื่อย ๆ โดยไม่มีขอบเขตจำกัด เกิดจากเชื้อแบคทีเรียเข้าไปเจริญอยู่ในช่องว่างระหว่างเซลล์ แต่ไม่ทำลายเนื้อเยื่อเซลล์ เพียงแต่ทำให้การเคลื่อนย้ายน้ำและอาหารในพืชไม่สะดวก ทำให้ใบและลำต้นมีสีซีด (necrosis) และอาจแห้งตายไปในที่สุด เช่น โรคใบไหม้ของถั่ว ยางพารา แอปเปิ้ล เชื้อสาเหตุได้แก่ Xanthomonas spp. Phythopthora spp. และ Erwinia spp.

1.3.5) ปุ่มปม (gall หรือ tumer) อาการเป็นปุ่มปมเกิดจากเชื้อแบคทีเรียเข้าไปเจริญอยู่ในเซลล์พืช แล้วสร้างสารบางชนิดออกมากระตุ้นให้เซลล์บริเวณนั้นมีการแบ่งตัวมากขึ้น เช่น โรค crown gall ของมะเขือเทศ โรค gall ของหัวบีท เชื้อสาเหตุได้แก่ Agrobacterium spp. และ Xanthomonas spp.

1.4) ลักษณะอาการของโรคพืชจากเชื้อรา ลักษณะอาการของโรคพืชจากเชื้อรามีมากหลายแบบ เช่น ใบเป็นแผล ใบไหม้ ใบบิด ต้นเหี่ยว รากเน่า โคนต้นเน่า ผลเน่า เมล็ดเน่า ต้นกล้าเน่า หรือต้นแห้งตายไปทั้งต้น ลักษณะอาการของโรคพืชจากเชื้อรามักจะสังเกตเห็นเส้นใย (hypha) สปอร์ (spore) ส่วนสืบพันธุ์ต่างๆ เช่น sporangium, conidia, basidiumascus มีสีขาว หรือสีดำ หรือสีน้ำตาล ปรากฏตามรอยแผลอาการของโรค หรือตรงส่วนที่เชื้อสาเหตุเข้าสู่ต้นพืช ตัวอย่างของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราได้แก่ โรคโคนเน่าคอดินของต้นกล้า โรครากและโคนต้นเน่า โรคราน้ำค้าง โรคเน่าของผลไม้และผัก โรคราแป้งขาว โรคราสนิมเหล็ก โรคเขม่าดำ โรคแส้ดำของอ้อย โรคไหม้ของข้าว โรคใบจุดของข้าวโพด โรคใบจุดตานกของยางพารา โรคแอนแทรคโนส โรคเหี่ยวของมะเขือเทศ

1.5) ลักษณะอาการของโรคพืชจากไส้เดือนฝอย มักทำให้เกิดโรครากปม รากขอด และลำต้นพืชเหี่ยวเฉาตายไปในที่สุด

2) เกิดจากสิ่งไม่มีชีวิต (nonpathogenic disease) อาการของโรคพืชอาจเกิดจากสาเหตุเนื่องจากสิ่งไม่มีชีวิต เช่น การขาดธาตุอาหาร ธาตุอาหารเป็นพิษ ดินเป็นกรด ดินเค็มจัด ดินเป็นด่าง หรือพิษจากสารเคมีบางชนิด สาเหตุต่างๆ เหล่านี้ทำให้การเจริญเติบโตของต้นพืชผิดปกติ ลำต้นแคระแกร็น มีสีซีด หรือสีผิดปกติ ไม่ให้ผลผลิต โรคพืชซึ่งมีสาเหตุเกิดจากสิ่งไม่มีชีวิต จะเกิดเฉพาะบริเวณ ไม่สามารถแพร่กระจายหรือระบาดไปยังแหล่งอื่นๆ ได้

สำหรับปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดโรค สืบศักดิ์ (2540) กล่าวว่าปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดโรคนั้น มีด้วยกัน 4 ประการที่สำคัญคือ เชื้อสาเหตุของโรค พืชอาศัย สภาพแวดล้อม และเวลา ปัจจัยทั้งสี่มีความสัมพันธ์ต่อกันอย่างยิ่งยวด จะขาดสิ่งหนึ่งสิ่งใดไม่ได้เลย

--------------------------------------------




.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©