-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-วิสาหกิจชุมชน ข้าวอารมย์ดี
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบปัญหาเกษตร 10 JUN *ข้าวเมาตอซัง, ผลเน่า แมลงวันทอง
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบปัญหาเกษตร 10 JUN *ข้าวเมาตอซัง, ผลเน่า แมลงวันทอง

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11563

ตอบตอบ: 10/06/2014 8:47 pm    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบปัญหาเกษตร 10 JUN *ข้าวเมาตอซัง, ผลเน่า แมลงวันทอง ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร ทางรายการวิทยุ 10 JUN

AM 594 เวลา 08.10-09.00 & 20.05-20.30 ทุกวัน และ FM 91.0 (07.00-08.00 / วันอาทิตย์)

********************************************************************

สวัสดีครับ ท่านผู้ฟังที่เคารพ
กองทัพบกเพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตร และอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดยกองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก

@@ สนับสนุนรายการโดย ...
... บ.นิมุติ เอ็นจิเนียริ่ง เครื่องย่อยเศษพืช (02) 322-9175-6

... ยิบซั่มธรรมชาติ เฟอร์มิกซ์, ธันเดอร์พลัส, ธันเดอร์แคล, เอ็ม.แคล--- ธาตุรอง/ธาตุเสริม มัลติแชมป์ (089) 144-1112

... และ บ.มายซัคเซส อะโกร--- ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, กาวเหนียวดักแมลง มายฟิกส์, กลิ่นล่อแมลงวันทอง ฟลายแอต,
สารเสริมฤทธิ์สารสมุนไพร ไบโอเจ๊ต, ถังฉีดพ่นรุ่นใหม่ ใช้แบตเตอรี่ (081) 910-5034

กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการครับ
เช่นเคยครับ รายการเรา 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม ที่ (081) 913-4986

----------------------------------------------------------------------------------------------

ตัวแทนจำหน่าย ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง, ไบโออิ, ไทเป, ยูเรก้า. (อินทรีย์ – เคมี)

1) ชมรม (ใหญ่) สีสันชีวิตไทย (089) 814-3204 ใกล้ไฟแดง สี่แยกบางแพ ราชบุรี
2 )“คุณชาตรี” (081) 841-9874 ทรัพย์ทวีการเกษตร ชัฎป่าหวาย สวนผึ้ง ราชบุรี (ส่งทาง ปณ.)

3) ร.ต.ต.นันท์สุรัตน์ (089) 821-8273 ต.จรเข้เผือก ด่านมะขามเตี้ย กาญจนบุรี (ส่งทาง ปณ.)
4) “คุณล่า” (081) 944-8494 ทุกวันจันทร์ ตลาดนัดวัดอมรญาติ ดำเนินสดวก ราชบุรี

5) “คุณประเสริฐ” (080) 110-4645 บ.เขาดิน หนองแขม เดิมบางนางบวช สุพรรณบุรี
6) “คุณอรุณ” (085) 058-1737 ในร้านโครงการหลวง ตลาด อตก.

7) “คุณพรพรรณ” (089) 814-7944 พลชัยเกษตรชีวภาพ ตลาดนัดธนบุรี ถ.เลียบคลองทวีวัฒนา
8 ) “คุณน้ำส้ม” (085) 055-7706 ชมรมฯ สาขาศาลายา หน้า ม.มหิดล พุทธมณฑลสาย 4 (ส่งทาง ปณ.)

---------------------------------------------------------------------------------------------------------



จาก : (080) 711-38xx
ข้อความ : นาข้าวไถกลบฟางครั้งแรก ต้นข้าวอายุ 40 วัน เมาตอซัง แก้ไขอย่างไรครับ .... ขอบคุณครับ
ตอบ :
- นี่คือ ขาดข้อมูลทั้งวิชาการ และประสบการณ์ แม้จะเพิ่งทำจริงครั้งแรก แต่เชื่อว่าคง
เคยได้ยินเรื่องนี้บ้างแล้ว นั่นก็คือ เมื่อรู้ข่าวก็น่าจะสืบเสาะ หาข้อมูลวิธีทำ ข้อมูลที่เป็น
ปัญหา ข้อมูลที่เป็นความสำเร็จ แล้วเอามา “คิด/วิเคราะห์/เปรียบเทียบ” ว่ามัน ใช่
หรือไม่ใช่ เพราะอะไร ได้ข้อมูลมาแล้วเอามาปรับใช้กับนาของตัวเอง

- จะทำอะไรควรมีการวางแผนก่อน การวางแผนควรศึกษาส่วนที่เป็นปัญหาก่อน เพราะไม่
มีการกระทำใดๆในโลกนี้ที่ไม่มีปัญหา จากนั้นศึกษาส่วนที่เป็นความสำเร็จทีหลัง.... ถ้า
ศึกษาแต่ความสำเร็จ ทำแล้วได้ไร่ละเท่านั้นเท่านี้ ทำ 10ไร่เอา 10คูน ทำ 50ไร่
เอา 50คูน ครั้นลงมือทำจริงๆเข้า เจอแต่ปัญหา ปัญหา และปัญหา สารพัดปัญหา
ปัญหาโลกแตก ปัญหาเรื่องไม่เป็นเรื่อง ลงท้ายการกระทำนั้นก็ล้มเหลว

- ดูดีๆ ดูให้ซึ้ง ปัญหาความล้มเหลว ปัญหาหนี้สิน เต็มบ้านเต็มเมืองในทุกวันนี้ เกิด
จากปัญหาเดิมๆ เรียกว่าปัญหาซ้ำซากทั้งนั้น เป็นปัญหาที่ตัวเองเคยเจอมาแล้ว เป็น
ปัญหาที่ตัวเองสร้างขึ้นมาทั้งสิ้น จึงอยากถามว่า ทำไมเกษตกรเราจึงจมปลักอยู่แต่กับ
ปัญหาเดิมๆ....ไม่ใช่นาข้าวอย่างเดียว ทุกพืชนั่นแหละ .... ว่ามั้ย

- การเรียนรู้ที่ดี คือ เรียนรู้จากประสบการณ์ของตัวเอง.... การเรียนรู้ที่ดีที่สุด คือ
เรียนรู้จาก ประสบการณ์ของตัวเอง + ประสบการณ์ของคนอื่น .... การเรียนรู้อย่าง
สมบูรณ์แบบ คือ ประสบการณ์ + คิด + วิเคราะห์ + เปรียบเทียบ + ฯลฯ .... ครูที่ดี
ที่สุด คือ คนในกระจก ทุกปัญหาการเกษตร ยากหรือง่าย อยู่ที่ใจ ที่เรียกว่าทัศนคติ
ค่านิยม TRADITION ถ้ายังยึดติดแบบเดิมๆ เคยทำยังไงก็ทำยังงั้น ทำตามประเพณี
ทำตามความรู้สึก บอกได้เลยว่า ร้อยทั้งร้อยล้มเหลวทั้งนั้น


คำถามเดิม คำตอบเดิม คนถามใหม่ ....
จาก : (081)526-56xx
ข้อความ : ตอนนี้ข้าวเหลือง อยากทราบว่า มันเป็นอะไร มันจะเกี่ยวกับข้าวเมาตอซังหรือ
เปล่า ช่วยอธิบายเรื่อง ข้าวเมาตอซังด้วย .... ขอบคุณค่ะ
ตอบ :
น่าเสียดายที่รายละเอียดในคำถามน้อยไปหน่อย โดยเฉพาะอายุต้นข้าว ถ้างั้นตอบแบบ
รวมๆ ก็แล้วกัน

- เมาตอซัง เป็นเพราะแก๊สไข่เน่า (ไฮโดรเจน ซัลไฟด์) ซึ่งเกิดจากฟางที่กำลังเริ่มย่อยสลาย
แล้วไม่มีจุลินทรัย์ หรือมีจุลินทรีย์ประเภทไม่มีประสิทธิภาพในการย่อยสลายฟางโดยเฉพาะ
จึงทำให้เกิดแก๊สดังกล่าว.....แก้ไขโดย
1) ใส่จุลินทรีย์ประเภทย่อยสลายฟางโดยเฉพาะ (ขยายเชื้อมาจากฟาง)
2) ใส่จุลินทรีย์หน่อกล้วยเข้มข้น หรือ จุลินทรีย์จาวปลวก
3) ใส่กากน้ำตาลเพื่อให้เป็นแหล่งพลังงานสำหรับจุลินทรีย์ประจำถิ่น
4) ใส่น้ำหมักชีวภาพ ระเบิดเถิดเทิง (สูตรหน้าเว้บ) ซึ่งจะได้ทั้งแหล่งพลังงานสำหรับ
จุลินทรีย์ประจำถิ่น จุลินทรีย์ชุด ใหม่ และสารอาหารสำหรับพืช

(.....เศษซากพืชสดใหม่ทุกชนิด ปุ๋ยคอกใหม่ ใส่ลงไปในดินหรือคลุมโคนต้น แล้วต้นเกิด
อาการใบเหลือง เหี่ยว ยืน ต้นตาย ที่เกษตรกรเรียกว่า "ร้อน" นั้น ก็มาจากสาเหตุแก๊สไข่
เน่าตัวนี้เช่นกัน....)

- ต้นข้าวที่จะเมาตอซัง มักเกิดกับต้นข้าวระยะกล้าช่วงแรกๆ ต้นสูงราวฝ่ามือ ถึง 1 คืบมือ
เท่านั้น หลังจากนั่นมักไม่ ค่อยเป็น เพราะฟางถูกย่อยสลายหมดแล้ว.....

แก้ไขโดย..... หลังจากหมักฟางและก่อนเริ่มลงมือทำเทือก ให้ตรวจสอบการย่อยสลายของ
ฟางโดยเดินย่ำลงไป จะมีฟองอากาศที่พุ่งขึ้นมาจากพื้นดิน ถ้าฟองมีกลิ่นเหม็นแสดงว่าใน
ฟางมีแก๊สไข่เน่า ให้ระบายน้ำออกจากแปลงนา ให้หมด แล้วสาดน้ำจุลินทรีย์หน่อกล้วย
หรือกากน้ำตาล หรือน้ำมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง (ไม่ +ปุ๋ยเคมี) แล้วทิ้ง ไว้ 7-10 วัน จึง
สูบน้ำเข้าแปลง พร้อมกับเติมจุลินทรีย์หน่อกล้วย หรือกากน้ำตาล หรือน้ำมักชีวภาพระเบิด
เถิดเทิง (+ปุ๋ยเคมี) อีกครั้ง หมักต่ออีก 7-10 วัน แล้วตรวจสอบโดยการย่ำลงไปในแปลง
แบบเดิมเพื่อพิสูจน์กลิ่นแก๊สไข่เน่า จากฟางอีกครั้ง ถ้ามีฟองแต่ไม่เหม็นหรือมีกลิ่นหอมของ
ฟางข้าว แสดงว่าไม่มีแก๊สไข่เน่า ให้ลงมือทำเทือกได้เลย.....

- ต้นข้าวที่โตแล้ว หรืออายุเกินระยะกล้าแล้ว มีอาการใบเหลือง หรือใบไหม้ แสดงว่าเป็น
โรค (รา-แบคทีเรีย) แก้ไข โดยฉีดพ่น สารสมุนไพร + สารอาหาร หรือ สารสมุนไพร +
สารเคมี + สาร อาหาร ตามความเหมาะสม
……………………………………………………………..


โรคเมาตอซัง (Akiochi)

สาเหตุ : เกิดจากการสะสมของก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H2S) ในดิน
อาการ : พบตั้งแต่ระยะแตกกอถึงระยะก่อนเก็บเกี่ยว ต้นข้าวแสดงอาการคล้ายขาดธาตุ
ไนโตรเจน คือ ต้นแคระแกรน ใบซีดเหลือง จากใบล่างๆ มีอาการโรคใบจุดสีน้ำตาล ซึ่ง
สาเหตุของปัญหาเกิดจากการทำนาอย่างต่อเนื่อง ไม่มีการพักนา ทำให้เกิดการหมัก ของ
ตอซังระหว่างข้าวแตกกอ เนื่องจากกระบวนการเน่าสลายของเศษซากพืชในนายังไม่
สมบูรณ์ ทำให้เกิดสารพิษ คือ สารซัลไฟด์ ซึ่งไปทำลายรากข้าว ทำให้รากเน่าดำ ไม่
สามารถดูดธาตุอาหารจากดินได้ ต้นข้าวจึงแสดงอาการขาดธาตุอาหาร และต้นข้าวยัง
สร้างรากใหม่เหนือระดับผิวดิน

การแพร่ระบาด : เนื่องจากเป็นโรคที่ไม่มีเชื้อสาเหตุ จึงไม่มีการระบาดติดต่อกัน

การป้องกันกำจัด :
1) ควรพักดินประมาณ 1 เดือน หลังเก็บเกี่ยวข้าว และหลังไถพรวนควรทิ้งระยะให้ตอซัง
เกิดการหมักเพื่อสลายตัวให้สมบูรณ์ อย่างน้อง 2 สัปดาห์

2) ระบายน้ำเสียออกจากแปลง และทิ้งดินให้แห้งประมาณ 1 สัปดาห์ เพื่อให้รากข้าวได้รับ
อากาศ หลังจากนั้นจึงนำน้ำใหม่เข้า และหว่านปุ๋ย

3) ควบคุมระดับน้ำในนาไม่ให้สูงเกินไป และควรมีการไหลเวียนของน้ำอยู่เสมอ

อ้างอิง : สำนักส่งเสริมการผลิตข้าว กรมการข้าว
http://www.tgi4u.com/pages/knowlage%201-7.html

------------------------------------------------------------



จาก : (085) 103-46xx
ข้อความ : มะม่วงน้ำดอกไม้เยอะเลย สุกแล้วเป็นจุด เน่าถึงเนื้อข้างใน ผ่าแล้วมีหนอนตัว
เล็กๆ สีขาว ทำมะม่วงครั้งแรก แก้ไขอย่างไร .... ขอบคุณค่ะ

จาก : (083) 179-28xx
ข้อความ : มะม่วงสุกแล้ว เป็นจุดดำที่เปลือก กินลึกเข้าไปถึงเนื้อใน เน่าจนคนกินไม่ได้
เลย แก้ไขอย่างไรคะ .....
ตอบ :
- “หนอน” นั่นคือ ทายาทแมลงวันทอง โดยแม่แมลงวันทองวางไข่ไว้ตั้งแต่ผลมะม่วงยัง
ดิบ ครั้นผลสุก ไข่จะฟักออกเป็นตัวหนอนแล้วชอนไชเข้าไปในผล เพื่อกินเนื้อมะม่วง
ตามสัญชาติญานของสัตว์ .... วิธีแก้ไข : ห่อผลให้มิดชิด กับ ทำกับดักกาวเหนียว
กลิ่นล่อ ล่อให้แมลงวันทองมาติดกับดักกาวเหนียว ที่ไร่กล้อมแกล้มปีนี้ ผลมะม่วงสุกแล้ว
ทั้งสวนมีหนอนอยู่ข้างในน้อยมากๆ น้อยขนาดนับจำนวนผลได้ แสดงว่า เทคนิคการใช้
กับดักกาวเหนียวกลิ่นล่อได้ผลนั่นเอง

ก็มีนะ ที่บางคนเอากับดักแมลงวันทองไปวางไว้ในสวนหรือไว้ในทรงพุ่มไม้ผลเลย นัยว่าเพื่อ
ล่อแล้วดักจับแมลงวันทองที่เข้าไปในทรงพุ่ม วิธีการนี้มองเผินๆ ก็ว่าใช่ แต่ในความเป็นจริง
มันไม่ใช่ เพราะนั่นคือการล่อแมลงวันทองให้เข้าหาต้นไม้ผลโดยตรง เมื่อแมลงวันทองเข้าไป
ในทรงพุ่มไม้ผลแล้วอาจจะวางไข่ หรือบางตัวอาจจะเข้าหากับดัก หรือบางตัววางไข่ก่อนแล้ว
เข้ากับดักทีหลังก็ได้.... ประสาทสัมผัสกลิ่นของแมลงวันทองไกลถึง 5 กม. (สารคดีดิส
คัพเวอรี่) การวางกัดักไม้นอกทรงพุ่มหรือนอกสวน จึงเท่ากับเป็นการล่อแมลงวันทองให้
ออกจากมาจากทรงต้นไม้ผลหรือสวน

การใช้กับดักกลิ่นล่อแมลงวันทองสำหรับสวนตัวเเอง บางคนมองว่า เป็นการล่อแมลงวันทอง
จากสวนอื่นเข้ามาสวนของตัวเอง แนวคิดนี้เป็นความจริง เพราะในระยะรัศมี 5 กม. แมลง
ทองต้องมาแน่นอน แนวคิดนี้ถ้าชาวสวนทั่วประเทศร่วมใจกัน ทำกับดักแมลงวันทองทุกสวน
อย่างพร้อมเพรียงกัน ก็จะเป็นการกำจัดแมลงวันทองได้ทั้งประเทศ ไม่มีใครได้เปรียบเสีย
เปรียบกัน .... กับอีกแนวคิดหนึ่ง คือ เอากับดักไปวางไว้นอกสวนตัวเองห่างๆ และห่างจาก
สวนเพื่อนบ้านมากๆ ก็เท่ากับไม่ได้เรียกแมลงวันทองเข้าสวนใครโดยเฉพาะ เป็นกับดัก
สาธารณะ ก็ได้

คลิก :
http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=4327&sid=e23032aa92e84ac95df8ef048aa2a6b3
สุสานแมลงวันทอง ....

https://www.google.co.th


กับดักแมลงวันทอง....
- “ผลเน่า” เน่าแล้วเน่าเลย ทิ้งไปเถอะ หรือจะเฉือนบางส่วนมาทำมะม่วงกวนก็พอได้มั้ง
เกิดจากเชื้อแอ็นแทร็คโนส โรคผลจุด .... วิธีแก้ไข : เก็บผลดิบลงมาใหม่ๆ ล้างใน “น้ำ
+ ว่านน้ำ หรือเหง้าปรือ” เช็ดถูทำความสอาดให้เรียบร้อย นำขึ้นผึ่งลมให้แห้ง แล้วเอาไป
บ่ม คราวนี้ ถึงผลแก่สุกงอม เปลือกเหี่ยวแล้วก็ไม่เป็นโรคผลจุดอีก

…………………………………………….


โรคแอนแทรกโนส (Anthracnose)

สาเหตุของโรค : เกิดจากเชื้อรา Colletotrichum gloesporioides Penz.
ลักษณะอาการ : เป็นโรคที่ทำความเสียหายทั้งปริมาณและคุณภาพของผลผลิตมะม่วง
เป็นอย่างมาก สามารถเข้าทำลายได้เกือบทุกส่วนของมะม่วง ไม่ว่าจะเป็นต้นกล้า ยอด
อ่อน ใบอ่อน ช่อดอก ดอก ผลอ่อนจนถึงผลแก่ และผลหลังการเก็บเกี่ยว ทำให้เกิด
อาการอย่างน้อยก็เป็นจุดแผลตกค้างอยู่บนใบ กิ่ง ผล และหากการเข้าทำลายของโรค
รุนแรงก็จะเกิดอาการใบแห้ง ใบบิดเบี้ยว และร่วงหล่น ช่อดอกแห้งไม่ติดผล ผลเน่า
ร่วง ตลอดจนผลเน่าหลังเก็บเกี่ยว ซึ่งจะเป็นผลเสียหายต่อการส่งมะม่วงไปจำหน่ายต่าง
ประเทศ

อาการระยะกล้า : จะพบอาการของโรคทั้งที่ใบและลำต้น ซึ่งถ้าต้นกล้าที่ เป็นโรค
อ่อนแอหรือตายไป ไม่สามารถทำเป็นต้นตอได้ ทำความเสียหายแก่การผลิตกิ่ทาบ เพื่อ
การค้าอย่างมากอาการบนใบ เริ่มแรกจะเป็นจุดเล็กๆ บนใบอ่อน มองดูใสกว่าเนื้อใบ
รอบๆ จุดนี้จะขยายออกเป็นวงขนาดต่างๆ ขึ้นอยู่กับความชื้นและความแก่อ่อนของใบ
โดยจะเห็นขอบแผลชัดเจนเป็นสีน้ำตาลเข้ม ในสภาพความชื้นสูง แผลที่เกิดบนใบอ่อน
มากๆ จะมีขนาดใหญ่ ขยายออกได้รวดเร็ว และมีจำนวนแผลมากติดต่อกันทั้งผืนใบ
ทำให้ใบแห้งทั้งใบหรือใบบิดเบี้ยว เมื่อแก่ขึ้นเพราะเนื้อที่ในบางส่วนถูกทำลายด้วยโรค ถ้า
ในสภาพที่อุณหภูมิความชื้นไม่เหมาะสม แผลบนใบจะมีลักษณะเป็นจุดขนาดเล็กๆ
กระจัดกระจายทั่วไปบริเวณกลางแผล มีสีน้ำตาลอ่อนกว่าขอบแผล และมีลักษณะ
บางกว่า เนื้อใบอาจจะฉีกขาดและหลุดออกเมื่อถูกน้ำ ทำให้แผลมีลักษณะเป็นรูคล้าย
ถูกยิงด้วยกระสุนปืน

อาการที่ลำต้นอ่อน : จะเป็นแผลที่ค่อนข้างดำ ลักษณะแผลเป็นรูปไข่ยาวไปตามความ
ยาวของลำต้น อาการของโรครุนแรง แผลจะขยายอย่างรวดเร็ว จนกระทั่งรอบลำต้น ทำ
ให้ต้นแห้งตาย แต่ถ้าต้นกล้าเป็นโรคเมื่อเนื้อเยื่อเริ่มแก่แล้ว แผลที่อาจจะลุกลามไปได้ไม่
มากนักจะเป็นจุดแผลมีลักษณะเป็นวงรีสีดำยุบตัวลงไปเล็กน้อย บริเวณกลางแผลจะเห็น
เม็ดสีดำๆ หรือสีส้มปนบ้าง เรียงเป็นวงอยู่ภายในแผล ถ้าโรคนี้เกิดกับยอดอ่อนก็ จะทำ
ให้ยอดแห้งเป็นสีน้ำตาลดำ และอาจตายทั้งต้นได้เช่นเดียวกัน

อาการที่ช่อดอก : จะเห็นลักษณะอาการเป็นจุดสีน้ำตาลดำประปรายบนก้านช่อดอก และ
ก้านดอก ซึ่งทำให้ดอกเหี่ยวและหลุดร่วง ถ้าไม่รุนแรงนักจะทำให้การติดผลน้อย แต่ถ้า
เป็นมากๆ ก็จะไม่ได้ผลผลิตเลย ในบางครั้งจะพบอาการของโรคที่ก้านช่อดอกไหม้ดำ ซึ่ง
จะแห้งไปในที่สุด ผลอ่อนๆ อาจจะถูกเชื้อโรคทำลายทำให้เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลดำ และร่วง
หล่น ผลที่มีขนาดโตขึ้นแต่ยังไม่แก่ก็เป็นโรคได้เช่นเดียวกัน หากสภาพแวดล้อมเหมาะ
สม กล่าวคือ มีความชื้นสูงและอุณหภูมิพอเหมาะ (24-32 องศา ซ.)

ลักษณะอาการบนผล : เป็นจุดสีดำ รูปร่างกลม หรือรูขนาดตั้งแต่เล็กเท่าหัวเข็มหมุด
จนถึงขนาดใหญ่เส้นผ่าศูนย์กลาง 2-4 ซม. แล้วแต่ความรุนแรง บริเวณแผลจะพบรอย
แตกและมีเม็ดเล็กๆ สีดำ เรียงรายเป็นวงภายในแผล เมื่อมะม่วงเริ่มแก่ในระหว่างการบ่ม
หรือขนส่ง จุดแผลเหล่านี้จะขยายใหญ่ขึ้น และลุกลามออกไป ทำให้ผลเน่าทั้งผลได้
อาการจุดเน่าดำบนผลนี้พบทำความเสียหายกับมะม่วงเกือบทุกพันธุ์ เชื้อราโรคแอนแทรก
โนส ยังสามารถติดอยู่กับผลโดยไม่แสดงอาการใดๆ แต่เมื่อสภาพแวดล้อมภายหลังเหมาะ
สม เช่น ผลสุก หรือมีความชื้นสูง ในระหว่างการเก็บรักษา หรือบรรจุหีบห่อเพื่อการขน
ส่ง ก็จะแสดงอาการได้ ซึ่งก็ทำความเสียหายเป็นอย่างมาก

การป้องกันกำจัด : โรคแอนแทรกโนสสามารถป้องกันกำจัดได้โดยสารเคมีป้องกันกำจัด
โรคพืชหลายชนิด ซึ่งเป็นวิธีการเดียวที่จะลดความเสียหายจากโรคนี้ได้อย่างรวดเร็วและทัน
เหตุการณ์ ซึ่งการใช้ต้องใช้ให้ถูกกับจังหวะการเข้าทำลายของเชื้อโรค ทั้งนี้เพื่อลดความสิ้น
เปลือง และช่วยให้สารเคมีมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

สำหรับมะม่วงที่ผลิตเพื่อการส่งออกนั้นจะต้องกระทำอย่างสม่ำเสมอ โดยในช่วงที่มะม่วงผลิต
ใบอ่อน ช่วงการออกดอก และติดผล ซึ่งเป็นช่วงที่มะม่วงมีความอ่อนแอต่อการเข้า
ทำลายของเชื้อ การฉีดพ่นสารเคมีในแหล่งที่มีโรคแอนแทรกโนสระบาดเป็นประจำ เพื่อ
ลดความเสียหายจากการเกิดโรคที่ใบ อันจะมีผลต่อความอุดมสมบูรณ์ของใบ และจะมีผล
ต่อการออกดอกติดผลที่สมบูรณ์ต่อไป การตัดแต่งกิ่งเป็นโรคและกิ่งอ่อนที่เกิดตามโคนกิ่ง
ใหญ่ ในทรงพุ่ม ซึ่งเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค แล้วทำลายเสีย ก็เป็นการลดปริมาณเชื้อ
โรคได้อีกวิธีหนึ่ง สารป้องกันกำจัดโรคพืชหลายชนิด เช่น benomyl, mancozeb,
captan, copper oxychloride เป็นต้น สามารถใช้ป้องกันกำจัดโรคแอนแทรก
โนสได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการเลือกใช้สารชนิดใดนั้นขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคที่
เกิดในแต่ละสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน ก่อนที่มะม่วงจะเริ่มแทงช่อดอก ควรทำการฉีด
พ่นสารเคมีป้องกันกำจัดแมลงและโรคพืชครั้งหนึ่ง เพื่อลดปริมาณแมลงและโรคที่จะ
รบกวนช่อดอกใหม่ที่เริ่มผลิ หลังจากนั้นฉีดพ่นเป็นระยะๆ ทุก 10-15 วัน จนมะม่วงติด
ผลอ่อน สารเคมีประเภทดูดซึม เช่น benomyl อาจจะใช้ได้ดีกว่า ในการฉีดพ่นไปใน
ช่วงฝนชุกหรือในช่วงผลใกล้เก็บเกี่ยว เพราะจะมีผลต่อคุณภาพของผลผลิตหลังเก็บเกี่ยว
ด้วย ช่วยลดความเสียหายจากการเกิดผลเน่าได้เป็นอย่างดี สำหรับในช่วงออกดอกติดผล
มะม่วงนั้น ควรใช้สารเคมีชนิดอื่นพ่นสลับกันบ้างตามความเหมาะสม เช่น ระยะดอกอาจ
จะใช้ mancozeb ระยะติดผลอ่อนใช้ captan หรือ Copper Fungicide ระยะผล
โตใช้ benomyl เป็นต้น ผลมะม่วงที่เก็บเกี่ยวแล้ว ควรจุ่มในสารละลายไธอาเบนดาโซล
(พรอนโต 40) ผสมน้ำที่ 50 ๐C นาน 5 - 10 นาที แล้วผึ่งให้แห้งเพื่อกำจัดเชื้อที่แฝงอยู่

http://www.agriqua.doae.go.th/plantclinic/Clinic/plant/mango/anthracnose.html

------------------------------------------------------------




.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©