-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ลำไย ลูกไม่เสมอกัน
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบปัญหาเกษตร 8 JUN **บำรุงมะละกอ, *รากล้วย, *กำจัดหอยเชอรี่, *ลำไยเพาะเมล็ด 7 ปี, *บำรุงมะรุม, *พริกดอกร่วง, *มะ ม่วงใบไหม้, *มะพร้าวน้ำหอม, *ลูกโทงเทง, *พริกไม่สมบูรณ์, *อยากปลูกมังคุด, *บำรุงมะเขือยาว/ถั่วฝักยาว
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบปัญหาเกษตร 8 JUN **บำรุงมะละกอ, *รากล้วย, *กำจัดหอยเชอรี่, *ลำไยเพาะเมล็ด 7 ปี, *บำรุงมะรุม, *พริกดอกร่วง, *มะ ม่วงใบไหม้, *มะพร้าวน้ำหอม, *ลูกโทงเทง, *พริกไม่สมบูรณ์, *อยากปลูกมังคุด, *บำรุงมะเขือยาว/ถั่วฝักยาว

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 08/06/2014 9:13 pm    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบปัญหาเกษตร 8 JUN **บำรุงมะละกอ, *รากล้วย, *กำจัดหอยเช ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร ทางรายการวิทยุ 8 JUN

AM 594 เวลา 08.10-09.00 & 20.05-20.30 ทุกวัน และ FM 91.0 (07.00-08.00 / วันอาทิตย์)

********************************************************************

สวัสดีครับ ท่านผู้ฟังที่เคารพ
กองทัพบกเพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตร และอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดยกองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก

@@ สนับสนุนรายการโดย ...
... บ.นิมุติ เอ็นจิเนียริ่ง เครื่องย่อยเศษพืช (02) 322-9175-6

... ยิบซั่มธรรมชาติ เฟอร์มิกซ์, ธันเดอร์พลัส, ธันเดอร์แคล, เอ็ม.แคล--- ธาตุรอง/ธาตุเสริม มัลติแชมป์ (089) 144-1112

... และ บ.มายซัคเซส อะโกร--- ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, กาวเหนียวดักแมลง มายฟิกส์, กลิ่นล่อแมลงวันทอง ฟลายแอต,
สารเสริมฤทธิ์สารสมุนไพร ไบโอเจ๊ต, ถังฉีดพ่นรุ่นใหม่ ใช้แบตเตอรี่ (081) 910-5034

กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการครับ
เช่นเคยครับ รายการเรา 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม ที่ (081) 913-4986

----------------------------------------------------------------------------------------------

ตัวแทนจำหน่าย ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง, ไบโออิ, ไทเป, ยูเรก้า. (อินทรีย์ – เคมี)

1) ชมรม (ใหญ่) สีสันชีวิตไทย (089) 814-3204 ใกล้ไฟแดง สี่แยกบางแพ ราชบุรี
2 )“คุณชาตรี” (081) 841-9874 ทรัพย์ทวีการเกษตร ชัฎป่าหวาย สวนผึ้ง ราชบุรี (ส่งทาง ปณ.)

3) ร.ต.ต.นันท์สุรัตน์ (089) 821-8273 ต.จรเข้เผือก ด่านมะขามเตี้ย กาญจนบุรี (ส่งทาง ปณ.)
4) “คุณล่า” (081) 944-8494 ทุกวันจันทร์ ตลาดนัดวัดอมรญาติ ดำเนินสดวก ราชบุรี

5) “คุณประเสริฐ” (080) 110-4645 บ.เขาดิน หนองแขม เดิมบางนางบวช สุพรรณบุรี
6) “คุณอรุณ” (085) 058-1737 ในร้านโครงการหลวง ตลาด อตก.

7) “คุณพรพรรณ” (089) 814-7944 พลชัยเกษตรชีวภาพ ตลาดนัดธนบุรี ถ.เลียบคลองทวีวัฒนา
8 ) “คุณน้ำส้ม” (085) 055-7706 ชมรมฯ สาขาศาลายา หน้า ม.มหิดล พุทธมณฑลสาย 4 (ส่งทาง ปณ.)

---------------------------------------------------------------------------------------------------------



จาก : สมช. สวพ. FM 91.0 (07.00 – 08.00 / อาทิตย์)
ข้อความ : อยากให้มะละกอ คุณภาพดี .... ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ตัวไหน ?
ตอบ :
- ปุ๋ยอินทรีย์ หมายถึง สารอาหารพืชที่กำเนิดมาจากสิ่งมีชีวิต คือ มนุษย์ สัตว์ พืช .... มี 2 ชนิด คือ ชนิดแห้ง และชนิดน้ำ .... มี 2 ประเภท คือ ประเภทให้ทางใบ และประเภทให้ทางราก .... มี 2 แบบ คือ แบบอินทรีย์นำ เคมีเสริม และแบบเคมีนำ อินทรีย์เสริม

- สิ่งที่ขาดไม่ได้ คือ จุลินทรีย์ และสารอาหารสำหรับจุลินทรีย์
- ปุ๋ยอินทรีย์ชนิดแห้งควรมีส่วนผสม (แน้นย้ำ...ควรมี หมายถึง มีดีกว่าไม่มี) หลัก ได้แก่ ยิบซั่ม, กระดูกป่น, ขี้วัวขี้ไก่, แกลบดิบ, ขุยมะพร้าว, รำละเอียด, กากน้ำตาล, จุลินทรีย์. สำหรับให้ทางดิน

– ปุ๋ยอินทรีย์ชนิดน้ำควรมีส่วนผสม (เน้นย้ำ....ควรมี หมายถึง มีดีกว่าไม่มี) ได้แก่ กุ้งหอยปูปลาทะเล, ไขกระดูก, เลือด, นม. ขี้ค้างคาว, น้ำมะพร้าว, กากน้ำตาล, จุลินทรีย์กลุ่มย่อยสลายโปรตีน สำหรับให้ทางใบและทางดิน

*** ส่วนผสมในปุ๋ยอินทรีย์ชนิดน้ำที่มีสารอาหาร จากน้อยไปหามาก ได้แก่ ผักผลไม้, หอยเชอรี่, ปลาน้ำจืด, ปลาทะเลเดี่ยวๆ, ปลากุ้งหอยปูทะเล

*** สารอาหารในวัสดุส่วนผสม ทั้งปุ๋ยอินทรีย์ทั้งชนิดน้ำชนิดแห้ง จะออกมาจนพืชสามารถนำไปใช้ได้ ขึ้นอยู่กับจุลินทรีย์เป็นหลัก

- มะละกอ คือ พืช .... พืช คือ พืช ต้องการสารอาหาร 14 ตัว (ธาตหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริม) ในอัตราส่วนแต่ละตัวของทั้ง 14 ตัวที่ต่างกัน เรียกว่า “สูตร” ตามความเหหมาะสมของพืชชนิดนั้นๆ .... นอกจากธาตุอาหาร 14 ตัวแล้ว ยังมี “ฮอร์โมน” เข้ามาเกี่ยวข้องอีกด้วย .... อะไรบ้างก็ว่ากันไป

– ปุ๋ยอินทรีย์ชนิดน้ำที่ทั่วๆไปเรียกง่ายๆว่า “น้ำหมักชีวภาพ” ที่ให้ทางใบแก่พืชนั้น พืชรับไม่ได้เพราะโมเลกุลยังมีขนาดใหญ่จึงผ่านปากใบไม่ได้ ทางแก้ไข คือ ต้องปรับโครงสร้างโมเลกุลให้มีขนาดเล็กลงเป็น “อะมิโน โปรตีน” ก่อนจึงจะผ่านปากใบได้ และเมื่อให้ทางดินรากก็ยังดูดซับไปใช้งานได้อีกด้วย

- กรณีของมะละกอ ใช้ปุ๋ยอินทรีย์สูตรไหนก็ได้ที่มีสารอาหาร ทั้งสารอาหารอินทรีย์ และสารอาหารสังเคราะห์ .... ให้ทางราก 4-6 เดือน / ครั้ง อัตราให้ 1 : 500.... ทางใบทุก 15-20 วัน อัตราให้ 1 : 1,000

---------------------------------------------------------------



จาก : สมช. สวพ. FM 91.0 (07.00 – 08.00 / อาทิตย์)
ข้อความ : กล้วยน้ำว้า เครือใหญ่มาก ที่ผลกล้วยมีโรค .... แก้ไขอย่างไร ?
ตอบ :
- โรคชื่ออะไร กลุ่มไหน เพราะโรคหมายถึง รา แบคทีเรีย ไวรัส
- เมื่อคนถามไม่รู้ ฟันธงไม่ได้ คนตอบจึงต้องตอบแบบครอบจักรวาล โดยจับหลักศัตรูพืชของมะละกอที่มักเกิดอยู่เสมอ .... นั่นคือ

* “รา” .... ใช้สารสกัดสมุนไพร “เผ็ดจัดเผ็ดจี๋เผ็ดจี๊ด (พริก) + ร้อนจัด (ขิง ข่า ขมิ้น กระชาย กระเทียม หอม พริกไทย ชะพู สาบเสือ เปลือกมังคุด ฯลฯ)” ฉีดพ่นทั้วต้น ให้โชกทั้งไต้ใบบนใบ บ่อยๆ .... การเลือกสมุนไพรสมุนไพรหลายๆ อย่างเพราะโรคมีหลากหลายชนิด (จะรู้ชนิดของเชื้อโรคได้ต้องตรวจด้วยกล้องจุลทัศน์) จึงต้องหวังผลแบบ “เผื่อเลือก” กะว่า สมุนไพรตัวใดตัวนึ่งในจำนวนนี้มีสารออกฤทธิ์ตรงกับโรคชนิดนั้นก็กำจัดเชื้อโรคตัวนั้นได้ ส่วนสมุนไพรอย่างอื่นแม้ไม่ตรงกับชนิดโรคพืชก็จะช่วยป้องกันเชื้อโรคตัวอื่นที่ยังไม่เกิดได้

* “เพลี้ยแป้ง” .... ใช้สมุนไพรชนิดเดียวกันกับกำจัดเชื้อรา เพียงแต่เมื่อผสมน้ำแล้ว ให้ใส่ “น้ำยาล้างจาน” เข้าไปด้วย น้ำยาล้างจานจะซึมทะลุแป้งที่ห่อหุ้มตัวเพลี้ยแป้ง เข้าไปกำจัดตัวเพลี้ยในแป้งได้นั่นเอง .... ทั้งนี้ น้ำเปล่าไม่สามารถซึมทะลุผ่านแป้งได้

-------------------------------------------------------------


จาก : สมช. สวพ. FM 91.0 (07.00 – 08.00 / อาทิตย์)
ข้อความ : ขอวิธีกำจัดหอยหอยเชอร์รี่ในนาข้าว ..... ?
ตอบ :
* กับดัก :
- ช่วงสูบน้ำเข้านาใช้ตาข่ายไนล่อนตาถี่ๆ กรองไข่หอยที่ติดมากับน้ำไม่ให้เข้าไปในแปลง
- ทำแอ่งน้ำด้านลาดต่ำของแปลงใส่ ใบตำลึงสด ใบสำปะหลังสด ใบกระทกรกสดอย่างใดอย่างหนึ่งโดย มีกระด้งรองด้านล่าง จากนั้นค่อยๆ ปล่อยน้ำออกจากแปลง ซึ่งน้ำจะไหลไปทางลาดต่ำเสมอ เมื่อน้ำเริ่มไหลออก หอยเชอรี่คิดว่าน้ำในแปลงจะแห้งในเร็วๆ นี้ ก็จะตามน้ำไป จนกระทั่งไปพบแอ่งซึ่งมีระดับน้ำลึกกว่าปกติ แถมมีอาหารของชอบให้กินด้วยก็จะเข้าในแอ่งน้ำนั้น จากนั้นก็ให้จับตัวหอยเชอรี่ไปทำลาย

* สมุนไพร :
- ใช้ผลมะกรูดสดแก่จัด ใส่ถุงตาข่ายไนล่อน เขย่าให้ผิวช้ำจนมีน้ำมันออกมา แล้วผ่าผลมะกรูดเป็น 2 หรือ 4 ชิ้น นำชิ้นผลมะกรูดที่ผ่าแล้วหว่านในแปลงนา มีน้ำลึก 10-20 ซม. ห่างกัน ตร.ว.ละชิ้น น้ำมันผิวมะกรูดจะออกมาลอยอยู่บนผิวน้ำ บางส่วนจะลอยไปตามลม เมื่อหอยเชอรี่สัมผัสกับน้ำมันผิวมะกรูดก็จะหนีไปเอง

- ใช้ ปุ๋ยน้ำชีวภาพ + สารสกัดกลอย ซาก บอระเพ็ด 3-5 ล. /ไร่ ใส่ในแปลงช่วงทำเทือก .... หอยเชอรี่ได้กลิ่นน้ำหมักจะหนีไปเอง หรือสัมผัสกับสารออกฤทธิ์ในกอลย ซาก บอระเพ็ดก็จะตายไปเอง

* งดน้ำ :
เนื่องจากหอยเชอรี่เป็นสัตว์น้ำย่อมต้องอาศัยอยู่ในน้ำเสมอ ดังนั้นมาตรการปล่อยน้ำออกจากแปลง แล้วปล่อยตากแดด 5-10 วัน ก็สามารถทำให้หอยเชอรี่อยู่ไม่ได้หรือตายไปในที่สุด แปลงนาที่ผ่านการเตรียมดิน (ทำเทือก) แบบไถกลบฟาง + อินทรีย์วัตถุ แม้จะไม่มีน้ำในแปลงนาน 5-10 วัน ต้นข้าวจะไม่ชะงักการเจริญเติบโตเนื่องจากขาดน้ำ ทั้งนี้เพราะฟางกับอินทรีย์วัตถุได้ช่วยซับหรืออุ้มน้ำใต้ผิวดินไว้ให้แล้วนั่นเอง

หมายเหตุ :
เลี้ยงเป็ดไล่ทุ่ง ปล่อยให้นกปากห่างเข้าหากินในนา ช่วยกำจัดไข่หอยเชอรี่แล้ว ยังช่วยกำจัดตัวหอยเชอรี่โดยตรงอีกด้วย

ธรรมชาติของหอยเชอรี่ต้องอยู่ที่ผิวดินเสมอ และขุดดินฝังตัวเองไม่เป็น แต่ปัจจุบันหอยเชอรี่ได้ “ผสมพันธุ์กับหอยโข่ง” ทำให้เกิดเป็นหอยเชอรี่สายพันธุ์ใหม่ สามารถขุดดินฝังตัวเองลงใต้ผิวดินยามที่ไม่มีน้ำได้เช่นเดียวกับหอยโข่ง ทำให้มาตรการกำจัดยุ่งยากขึ้นไปอีก

ในอดีตหอยขมซึ่งชอบเกาะกิ่งไม้ใต้น้ำ และไม่เคยกัดกินต้นข้าว แต่วันนี้หอยขมกัดกินต้นข้าวเหมือนหอยเชอรี่แล้ว

เลิกวิธีเลี้ยงต้นข้าวแบบขังน้ำ น้ำยิ่งลึกต้นข้าวยิ่งสูง เพราะเขาต้องสูงแข่งกับน้ำ ต้นข้าวสูงๆ หรือยาวๆ รวงจะสั้น .... ระดับน้ำมากๆ ไม่ใช่มีแต่หอยเชอรี่อย่างเดียว ไม่นานก็จะมีเพลี้ยกระโดดตามมาสมทบอีก

ไม่ควรใช้ "ยูเรีย" เด็ดขาด เพราจะทำให้ต้นข้าวอวบ ข้าวต้นอวบไม่มีรวงมีแต่ใบ ความอวบของต้นข้าวจะเป็นตัวเรียกทั้งหอยเชอรี่ ทั้งเพลี้ย
กระโดด กับอีกสารพัดแมลงให้เข้ามากินต้นข้าว

นึกดีๆ หอยเชอรี่ก็เป็นสิ่งมีชีวิต สิ่งมีชีวิตย่อมต้องการสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับตัวเอง ถ้าสภาพแวดล้อมไม่ดีไม่เหมาะสม เขาก็อยู่ไม่ได้.... การใช้สารเคมี ถึงจะฆ่าหอยเชอรี่ได้ แต่ดินเสีย น้ำเสีย แล้วจะได้อะไรจากนาข้าว .... คิดให้รอบคอบ "เผาบ้านฆ่าหนู" ตุ้มกันหรือไม่

หอยเชอรี่จตายในนา เมื่อคนเดินลงไปเหยียบเปลือกหอยเชอรี่บาดแผล นอกจากแผลฉกรรจ์แล้วยังมีเชื้อโรคอีกสารพัดชนิดเข้าแผลอีกด้วย

-----------------------------------------------------



จาก : สมช. สวพ. FM 91.0 (07.00 – 08.00 / อาทิตย์)
ข้อความ : ลำไยเพาะเมล็ด 6-7 ปี ไม่ออกดอก ตอนมาปลูกจะออกออกเร็วใหม ?
ตอบ :
- ธรรมชาติของลำไยที่เกิดจากเพาะเมล็ด ปกติจะออกดอกติดผลช้าอยู่แล้ว ถ้าในต้นมีใบมาก (บ้าใบ) เพราะการปฏิบัติบำรุงไม่เหมาะสมก็ยิ่งทำให้ออกดอกติดผลช้าไปอีก การแก้ปัญหาออกดอกติดผลช้าโดยการ “ตอนกิ่ง” แม้จะช่วยให้ออกดอกเร็วขึ้นได้แล้ว แต่ก็ต้องปฏิบัติบำรุงอย่างถูกต้องด้วย

- ลำไยเพาะเมล็ดเมื่อโตขึ้น ออกดอกติดผลได้ก็กลายพันธุ์ แม้แต่การตอนกิ่งปลูกใหม่ก็ยังกลายพันธุ์อยุ่ดี .... แนวทางแก้ไขให้ออกดอกติดผลเร็วและไม่กลายพันธุ์ คือ ตัดต้นเหลือแต่ตอ เรียกยอดใหม่ แล้วเปลี่ยนยอดเป็นพันธุ์ดีตามต้องการ ยอดพันธุ์ดีที่มาเปลี่ยนให้ใหม่ ใช้ระยะเวลาเลี้ยงดูราว 1-2 ปีก็ออกดอกติดผลจะไม่กลายพันธ์ และเป็นพันธุ์ดีตามพันธุ์ของยอดที่นขำมาเปลี่ยน .... หรือ ตอนลงมาแล้วเปลี่ยนยอดเป็นพันธุ์ดีก็ได้

- ตัดตอเรียกยอดแล้ว เปลี่ยนเป็นพันธุ์ดีหลายๆ พันธุ์ในต้นเดียวกัน ก็จะได้ต้นลำไยแฟนซี

------------------------------------------------------------


จาก : สมช. สวพ. FM 91.0 (07.00 – 08.00 / อาทิตย์)
ข้อความ : อยากมะรุมขาย ..... มีขั้นตอนบำรุงอย่างไร ?
ตอบ :
- ปลูกกินตามใจคนในบ้าน ปลูกขายตามใจคนรับซื้อ .... เกรด เอ. จัมโบ้. โกอินเตอร์. ขึ้นห้าง. ออกนอกฤดู. คนนิยม. เท่าไหร่ก็ไม่พอขาย

- มะรุมพันธุ์เกษตร ฝักสั้น (ครึ่งศอกแขน) อ้วน (2 นิ้วมือ) เนื้อหนา เมล็ดน้อย รสชาติดี.... มะรุมพันธุ์พื้นเมือง ฝักยาว (1 เขน) ผอม (ขนาดนิ้วมือ) เนื้อน้อย เมล็ดมาก รสชาดไม่ค่อยดี

– มะรุมออกฝักได้ตลอดปี ไม่มีฤดูกาล การบำรุง .... :
** ทางใบ : ให้สูตรสหประชาชาติ “น้ำ + แม็กเนเซียม. สังกะสี. (สูตรสถานีพืชสวนพลิ้ว จันทบุรี) + ฮอร์โมนไข่ (0-52-43, 13-0-46) + บำรุงผล ขยายขนาด-หยุดเมล็ด-สร้างเนื้อ ( 21-7-14, ไคโตซาน, อะมิโนโปรตีน)” ทุก 10 วัน, หาโอกาสให้ แคลเซียม โบรอน. กับ น้ำตาลทางด่วน เดือนละครั้ง แบบสลับเดือนให้

** ทางดินใส่ยิบซั่ม, กระดูกป่น, ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ, หญ้าแห้งคลุมโคนต้นหนาๆ ปีละ 2 ครั้ง, ให้น้ำหมักชีวภาพที่มีสารอาหารทั้งอินทรีย์และเคมี เดือนละครั้ง, ให้น้ำสม่ำเสมอพอหน้าดินชื้น

- บำรุงมะรุมแบบ อินทรีย์นำ เคมีเสริม ตามความเหมาะสมของมะรุม แล้วจะดีเอง

-----------------------------------------------------



จาก : สมช. สวพ. FM 91.0 (07.00 – 08.00 / อาทิตย์)
ข้อความ : พริกดอกร่วง เป็นเพราะอะไร .... แก้ไขอย่างไร ?
ตอบ :
- ตอบแบบฟันธง หรือชี้ชัดลงไปเลยไม่ได้ เพราะข้อมูลที่เป็นสมุหฐานของสาเหตุไม่ละเอียดพอ

- ทั้งนี้ พัฒนาการและความล้มเหลว ของพืชทุกชนิดขึ้นอยู่กับ “ปัจจัยพื้นฐานเพื่อการเพาะปลูก” ได้แก่ ดิน, น้ำ. แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล. สารอาหาร, สายพันธุ์ และโรค. หากทุกปัจจัยถูกต้อง ต้นพริกย่อมเกิดพัฒนาการดี แต่หากทุกปัจจัยหรือเพียงปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งไม่ถูกต้อง นอกต้นพริกจะไม่มีพัฒนาการแล้ว อาจถึงต้นตายได้ด้วย

- ให้พิจารณาปัจจัยพื้นฐานการเพาะปลูกอย่างละเอียดถี่ถ้วน หากปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งไม่ถูกต้อง หรือไม่เหมาะสมตามธรรมชาตินิสัยของต้นพริก ก็ให้ปรับ/แก้ .... ปัญหาใหญ่ก็คือ ไม่รู้นิสัยธรรมชาติของพืชตระกูลพริกจริงๆเท่านั้นแหละ

- เพื่อรักษาน้ำใจในฐานะ สมช.สวพ. 91 จึงขอแนะนำแบบเดาสุ่ม ให้ปฏิบัติบำรุงเหมือน “มะรุม” ที่กล่าวข้างต้น

-----------------------------------------------------



จาก : สมช. สวพ. FM 91.0 (07.00 – 08.00 / อาทิตย์)
ข้อความ : มะม่วงปลายใบไหม้ ...... แก้ไขอย่างไร ?
ตอบ :
- เกิดที่ปลายใบเรียกว่า โรคปลายใบไหม้ .... เกิดที่ขอบใบเรียกว่า โรคขอบใบไหม้ .... เกิดที่กลางใบเรียกว่า โรคใบจุด .... เกิดที่ผลสุกเรียกว่า โรคจุดดำ .... เกิดที่เปลือกกิ่งอ่อนเรียกว่าแอนแทร็คโนส (ไม่ยักกะมีชื่อไทย) .... เกิดกับไม้ผลอย่างอื่น ก็ว่ากันตามท้องถิ่น

- โรคตัวนี้ชื่อ “แอนแทร็คโนส” แก้ไขด้วยการฉีดพ่นสารสมุนไพร “เผ็ดจัดเผ็ดจี๊ดเผ็ดจี๋ + ร้อน” เหมือนกำจัดเชื้อราในกล้วยที่กล่าวข้างต้น

- ปกติเชื้อราตัวนี้ลอยอยู่อากาศ วันที่ฝนตกตอนกลางวัน ฝนหยุดแล้วแดดอก (ฝนต่อแดด) ขณะที่มีน้ำฝนเชื้อจะเข้าไปแฝงอยู่กับน้ำฝนตามส่วนของพืช เมื่อน้ำฝนแห้งเชื้อก็จะแทรกซึมเข้าในเนื้อพืชแล้วแพร่ขยายพันธุ์ต่อไป การใช้สารเคมีประเภทดูดซึมแม้จะกำจัดเชื้อตัวนี้ได้ แต่ส่วนของพืชก็เสียหายไปแล้ว จึงเท่ากับไม่ได้อะไรเลย .... วิธีแก้ไขโดยการฉีดน้ำเปล่า หรือ “น้ำ + สมุนไพรเผ็ดร้อน” ทันทีที่ฝนหยุด ฉีดก่อนที่น้ำบนใบพืชแห้ง นอกจากน้ำจะช่วยชะล้างเชื้อโรคตกลงดินแล้ว สารออกฤทธิ์ในสมุนไพรยังกำจัดเชื้อโรคได้อีกด้วย

-----------------------------------------------------



จาก : สมช. สวพ. FM 91.0 (07.00 – 08.00 / อาทิตย์)
ข้อความ : ขอความรู้การปลูกมะพร้าวน้ำหอม ที่สุพรรณบุรี .....?
ตอบ :
- คำถามสั้น คำตอบยาว ตอบกันจริงๆ 3 ชม.ไม่จบ เขียหนังสือได้เป็นเล่มๆ ที่นี่รายการนี้มีเวลาแค่ 1-2-3 นาที จะเอารายละเอียดขนาดนั้นเลยเหรอ แนะนำให้ไปตามอ่านรายละเอียดเบื้องต้นจากอินเตอร์เน็ต เกษตรลุงคิมดอทคอม คำตอบตรงนี้ทั้งหมดจะลงไว้ในอินเตอร์เน็ต หรือหาซื้อหนังสือเรื่องมะพร้าวมาอ่าน .... เชื่อเถอะ ทั้งเน็ต ทั้งหนังสือ ไม่อ่านหรอก เพราะคนไทยไม่ชอบอ่านหนังสือ ชอบแต่ฟัง ถามว่า ฟังร้อยครั้ง จำได้เหรอ ลงท้ายก็ไม่รู้อะไรเหมือน เดิม .... การอ่าน แม้ว่าอ่านแล้วไม่ คิด/วิเคราะห์/เปรียบเทียบ ก็ไร้ประโยชน์ ได้แค่นกแก้งนกขุนทองเท่านั้น

@@ ความรู้เบื้องต้น เกี่ยวกับมะพร้าว :
- ปลูกมะพร้าว ต้องทำสวนยกร่องน้ำหล่อ ถ้าไม่มีร่องน้ำหล่อต้องให้น้ำสม่ำเสมอ .... เดือนใดของปีนี้มะพร้าวขาดน้ำ เดือนเดียวกันนี้ของปีถัดไป มะพร้าวจะขาดคอ หรือเดือนนี้ของปีนี้มะพร้าวขาดคอเป็นเพราะเดือนนี้ของปีที่แล้วมะพร้าวเจอแล้ง นั่นเอง เพราะมะพร้าวตอบสนองต่อการบำรุงข้ามปี

- มะพร้าวขายพันธุ์จากมูลมะพร้าว ซึ่งก็คือ จากเมล็ด นั่นหมายความว่า เขาต้องกลายพันธุ์แน่นอน วิธีพิสูจน์ว่า มะพร้าวต้นนั้นเมื่อโตขึ้นจะเป็นมะพร้าวน้ำหอมหรือมะพร้าวน้ำหวาน ให้ดูที่ต้นพันธุ์ ใช้ปลายเล็กจิกปลายรากขึ้นมาดมและแตะลิ้น ดมแล้วมีกลิ่นหอมนั่นคือมะพร้าวน้ำหอม แตะลิ้นแล้วมีรสหวานนั่นคือมะพร้าวน้ำหวาน ถ้าดมกลิ่นแตะลิ้นแล้วไม่มีอะไรเกิดขึ้นเลย นั่นมะพร้าวแกงธรรมดา

- นิสัยธรรมชาติของมะพร้าวออกดอกติดผลตลอดปีแบบไม่มีรุ่น การบำรุงทั้งทางใบและทางรากเหมือนบำรุง “มะรุม” ที่กล่าวข้างต้น เพียงแต่ให้น้ำมากกว่ามะรุมเท่านั้น

-----------------------------------------------------



จาก : สมช. สวพ. FM 91.0 (07.00 – 08.00 / อาทิตย์)
ข้อความ : ขอความรู้การปลูกต้นโทงเทง....?
ตอบ :
- เดิมเรียกชื่อ “โทงเทงฝรั่ง” ต่อมาเปลี่ยนชื่อใหม่ว่า “ระฆังทอง” ปัจจุบันโครงการหลวงส่งเสริมให้ชาวไทยภูเขาปลูกในพื้นเชิงเขา .... เป็นไม้ตระกูลเดียวกับ พริก มะเขือ มะเขือเทศ .... มีถิ่นกำเนิดในอเมริกาใต้ แถบประเทศเปรู ชิลี .... ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด .... เป็นพืชประเภทเนื้อไม้อ่อน อายุข้ามปี นิยมปลูกปีเดียว

– ถ้าอยู่ในกลุ่ม พริก มะเขือ มะเขือเทศ ออกดอกติดผลตลอดปี แบบไม่มีรุ่น ไม่มีฤดูลาล ก็บำรุงแบบ มะรุม พริก ที่กล่าวข้างต้นได้เลย

-------------------------------------------------------------



จาก : สมช. สวพ. FM 91.0 (07.00 – 08.00 / อาทิตย์)
ข้อความ : ผลพริกไม่สมบูรณ์ ..... แก้ไขอย่างไร ?
ตอบ :
- คำตอบเหมือน “ดอกพริกร่วง”
- ลักษณะอาการ “ไม่สมบูรณ์” ผลบิดเบี้ยว กลางผลเน่า ปลายผลเน่า เป็นอย่างไรน่าจะบอกมาหน่อย....ทำไมพูดน้อยจังเลย แล้วมันจะรู้เรื่องกันมั้ยเนี่ยยย

- ตอบแบบเดาสุ่ม
* ผลบิดเบี้ยว เกิดจากขาดแคลเซียม โบรอน แก้ไขโดยให้แคลเซียม โบรอน ทางใบ
* ผลเน่ากลางผล เกิดจากขาดแคลเซียม แก้ไขโดยให้ยิบซั่มทางดิน
* ผลเน่าปลายผล เกิดจากโรคแอนแทร็คโนส แก้ไขโดยใช้สารสมุนไพร “เผ็ด+ร้อน”

-----------------------------------------------------------



จาก : (084) 316-10xx
ข้อความ : หนูอายุ 23 อยากปลูกมังคุด เพราะไม่อยากทำผัก ทำมัน ทำข้าวโพด จนแก่ตาย หนูมีที่ดิน 15 ไร่ ติดน้ำ ที่กาญจนบุรี ลุงคิมช่วยแนะนำตั้งแต่สายพันธุ์ กิ่ง เมล็ด ข้อดีข้อเสีย กี่ปีจะเก็บได้ จริงหรือไม่มังคุด ยิ่งแก่ยิ่งดก แล้วปลูกไม้ผลอื่นแซมได้ไหม .... ขอบคุณค่ะ
ตอบ :
- เกิดเป็นคนกลัวแก่ด้วยเหรอ ในโลกนี้ไม่มีใครไม่แก่ แม้แต่พระศาสดายังแก่ ในเมื่อคนต้องแก่ คนแก่เรี่ยวแรงน้อย ใช้พละกำลังร่างกายไม่ไหว ก็ใช้สมองแทนซี่ คนใช้สมองทำเงินทำทองได้มากกว่าคนใช้กำลัง

- ปลูกผัก ผักอะไรล่ะ มีเป็นร้อยๆผัก ..... ทำผักแจ๊คพ็อต ผักชีแจ๊คพ็อตได้ไร่ละเป็นแสน
– ปลูกมัน มันเทศ มันมือเสือ มันเหน็บ มันเสา มันนก มันส์พะย่ะค่ะ หรือมันสำปะหลัง ติ๊งต่างสำปะหลังก็แล้วกัน .... ทำสำปะหลังก้าวหน้า ไร่เดียวได้ 20 ตัน

- ทำข้าวโพด โพดอะไร โพดเลี้ยงสัตว์หรือโพดฝักสด .... ติ๊งต่างข้าวโพดฝักสด ทำนมสดข้าวโพด ยูเอชที ขายส่ง ไร่เดียวได้เป็นหมื่น


*** ทั้งสามอย่างใช้วิธี จ้างแรงงาน ข้อแม้นิดเดียว แรงงานต้องทำตามที่เราสั่ง .... ต้อง จ้างเป็น คิดเป็น ทำเป็น ขายเป็น นั่งรถเข็นยังทำได้เลย

– คิดยังไงจะปลูกมังคุด สงสัยเคยเห็นลูกมังคุดในกระจาด เลยเกิดชอบอกชอบใจเขาขึ้นมา .... ถามจริง เคยเห็นต้นมังคุดไหม ? รู้ไหมเขาบำรุงยังไง ? แล้วรู้ไหมว่า มังคุดน่ะ ปลูกทั้งปีได้ขายหนเดียว ราคาแพงกว่าเงาะ ลองกองนิดหน่อย แต่ถูกกว่าทุเรียนมหาศาล .... มังคุดเกรด เอ. อย่างดีก็ กก.ละ 50 บาท ตกเกรด กก.ละ 10 บาท ขณะที่ทุเรียนนท์เกรด เอ. กก.ละ 5,000 ลูกขนาด 3 กก. ราคา 15,000 จองล่วงหน้าข้ามปี ทุเรียนจังหวัดอื่น เกรด เอ. อย่างดีก็ กก.ละ 100 บาท ลูกขนาด 3 กก. ราคา 300 บาท ซื้อได้เดี๋ยวนั้นเลย

– หลักปรัชญาเกษตรไม้ผล ปลูกมะฯ อะไรก็ได้ที่ ราคาต่อหน่วยแพงๆ เกรด เอ. จัมโบ้. โกอินเตอร์. ขึ้นห้าง, ออกนอกฤดู. แจ๊คพ็อต. คนนิยม. มิดีกว่ารึ ? ไม่รู้ต้องอ่านหนังสือ ไม่เป็นต้องลอง ประมาณนี้

- รักมังคุดจึงปลูกมังคุดเลยน่ะไม่ได้นะ มังคุดระยะต้นเล็กต้องมีไว้พี่เลี้ยง วิธีการคือ ปลูกไม้พี่เลี้ยงลงไปก่อน ไม้พี่เลี้ยงโตแล้วถึงปลูกมังคุดได้ .... วิธีการของชาวสวนมังคุด คือ ปลูกทุเรียน ลองกอง เงาะ ลงไปก่อน 3-5 ปี จนไม้พวกนี้โตแล้วนั่นแหละถึงจะลงมังคุดได้



@@ ลักษณะทางธรรมชาติมังคุด .... เขียนไว้ในหนังสือ “ไม้ผลแนวหน้า”....
* เป็นไม้ผลยืนต้น อายุหลายสิบปี ถ้าไม่มีต้นไม้ใหญ่อื่นบังแสงแดดขนาดทรงพุ่มจะสูงไม่มากนัก แต่ถ้ามีต้นไม้ใหญ่อื่นบังแสงแดดต้นจะแข่งแย่งแสงแดดขนาดทรงพุ่มจึงสูง

*** เจริญเติบโตดีในพื้นที่ชุ่มชื้น ทั้งความชื้นในดินและความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศ ในแปลงปลูกจึงควรมีไม้อื่นที่ความสูงเท่าๆกันแซมแทรก

*** เจริญเติบโตเร็วและให้ผลผลิตดีในพื้นที่ปลูกที่เนื้อดินลึกมากกว่า 1 ม.ขึ้นไป .... แปลงปลูกที่เนื้อดินเหนียวหรือระดับน้ำใต้ดินตื้น ต้นมังคุดจะไม่เจริญเติบโต แตกยอดออกมาแล้วใบไหม้ สุดท้ายก็ยืนต้นตาย เนื้อดินเหนียวมากๆแม้แต่ระบบรากแก้วก็ช่วยไม่ไหว

*** ปลูกเดี่ยวๆ เป็นแปลงขนาดใหญ่มักไม่ค่อยได้ผล แต่ถ้ามีไม้ผลอื่น เช่น ทุเรียน. เงาะ. มังคุด. ลองกอง. มะไฟ. แซมแทรกแบบสลับคละกันจะเจริญเติบโตได้ดี ไม้ผลพวกนี้ออกดอกติดผลพร้อมกัน บำรุงอย่างเดียวกัน ทำให้ไม่ยุ่งยากต่อการบำรุง


* ช่วงระยะกล้าตั้งแต่เริ่มปลูกถึง 3 ปี จำเป็นต้องมีไม้พี่เลี้ยง โดยการปลูกไม้ผลอื่นๆลงไปก่อน เมื่อไม้พี่เลี้ยงยืนต้นได้จนทั่วบริเวณสวนเกิดความร่มเย็นดีแล้ว จึงลงมือปลูกต้นกล้ามังคุด วิธีปลูกกล้วยนำไปก่อน ณ จุดที่ต้องการปลูกมังคุด เมื่อต้นกล้วยโตขึ้นก็ให้ปลูกต้นกล้ามังคุดลงไปที่ใจกลางกอกล้วยนั้นเลย รากกล้วยช่วยสร้างความชื้นในดิน ส่วนใบกล้วยช่วยสร้างร่มเงา และความชื้นสัมพัทธ์ซึ่งจะส่งผลให้ต้นกล้ามังคุดโตเร็ว หรือปลูกทองหลางแทรกระหว่างต้นมังคุด เลี้ยงทองหลางให้มีใบมากหรือน้อยตามความเหมาะสมกับมังคุด รากทองหลางกับรากมังคุดที่อยู่ร่วมกันนั้น รากทองหลางซึ่งตรึงไนโตรเจนมาจากอากาศก็จะแบ่งปันให้แก่มังคุดด้วย

ไม้พี่เลี้ยงมีความจำเป็นสำหรับกล้ามังคุดย่างมาก ถ้าไม่มีไม้พี่เลี้ยงช่วยบังแดด เมื่อใบอ่อนมังคุดแตกออกมาจะเกิดอาการใบไหม้ โตช้า และชะงักการเจริญเติบโต ทั้งนี้ มังคุดระยะกล้าต้องการแสงแดดเพียง 50% ของปริมาณแสงแดดส่องปกติ

* ตามปกติต้นที่โตให้ผลผลิตแล้วต้องการแสงแดด 100% แต่ก็ยังมีข้อจำกัดอยู่ดี นั่นคือ ถ้าพื้นดินแปลงปลูกแห้งแล้งและต้นไม่สมบูรณ์พอจะเกิดอาการปลายใบไหม้ เพราะฉะนั้นในแปลงปลูกมังคุดควรต้องมีเศษพืชคลุมหน้าดินเสมอ การเลี้ยงหญ้าคลุมหน้าดินกับมีต้นกล้วยหรือพืชอื่นแซมแทรกช่วยสร้างความชื้นจะช่วยลดอาการปลายใบไหม้ได้

* ปริมาณแสงแดดมีอิทธิพลต่อการออกดอกติดผลของมังคุดอย่างมาก กล่าวคือ ถ้าแสงแดดส่อจากภายนอกทรงพุ่มเข้าในทรงพุ่มได้อย่างทั่วถึงจะออกดอกติดผลได้ทั้งกิ่งนอกทรงพุ่ม และกิ่งในทรงพุ่ม แต่ถ้าได้รับแสงแดดไม่ทั่วทรงพุ่ม โดยเฉพาะกิ่งในทรงพุ่มได้แสงแดดน้อยกว่าเกณฑ์ปกติ นอกจากกิ่งในทรงพุ่มจะไม่ออกดอกติดผลแล้ว กิ่งนอกทรงพุ่มยังออกดอกติดผลน้อยอีกด้วย


*** ต้นพันธุ์จาก “เพาะเมล็ด” ไม่กลายพันธุ์ เมื่อโตขึ้นทรงพุ่มจะกลมสวยและให้ผลผลิตดี ให้ผลผลิตอายุ 7-8 ปี ขึ้นอยู่กับ “6 ปัจจัยพื้นฐานฯ”

*** มังคุดมีอยู่พันธุ์เดียวเรียกกันว่าเป็นพันธุ์พื้นเมือง เพราะเป็นพืชที่ปลูกด้วยเมล็ด และเมล็ดมังคุดไม่ได้เกิดจากการผสมเกสร จึงแทบจะไม่มีโอกาสกลายพันธุ์เลย แม้จะพบว่ามังคุดสายพันธุ์จากเมืองนนท์ มีผลเล็กและเปลือกบาง มังคุดปักใต้เปลือกหนา แต่ยังไม่มีการศึกษาเปรียบเทียบให้เห็นชัดเจนพอที่จะแยกเป็นพันธุ์ได้ ส่วนการขยายพันธุ์ทำได้หลายวิธี เช่น การเพาะเมล็ด เสียบยอด และทาบกิ่ง แต่วิธีที่นิยมปฏิบัติกันมาก คือ การเพาะเมล็ด เพราะสามารถทำได้สะดวกรวดเร็ว ต้นมังคุดที่ได้ไม่กลายพันธุ์ แต่มีข้อเสีย คือ ต้องใช้เวลานานถึง 7-8 ปีกว่าจะได้ผลผลิต แต่หากมีการบำรุงรักษาเป็นอย่างดีก็อาจได้ผลเร็วกว่านี้ ส่วนการขยายพันธุ์ด้วยวิธีเสียบยอดที่นำพันธุ์ดีจากต้นที่เคยให้ผลมาใช้ เป็นวิธีที่ช่วยให้มังคุดให้ผลผลิตได้เร็วขึ้น

*** ต้นพันธุ์จากเพาะเมล็ดแล้ว “เสียบด้วยยอดของกิ่งกระโดง” เมื่อโตขึ้นทรงพุ่มกลมสวย และให้ผลผลิตดี .... 3-5 ปี ให้ผลผลิต

*** ต้นพันธุ์ “ตอนจากกิ่งกระโดง” เมื่อโตขึ้นทรงพุ่มกลมสวย และให้ผลผลิตดี.... 3-5 ปี ให้ผลผลิต

*** ต้นพันธุ์ “ตอนจากกิ่งข้าง หรือ ต้นเพาะเมล็ดแล้วเสียบยอดด้วยยอดของกิ่งข้าง” เมื่อโตขึ้นกิ่งจะเลื้อย ทรงพุ่มแบน และให้ผลผลิตไม่ดี .... 4-5 ปี ให้ผลผลิต

*** ต้นพันธุ์ “เพาะเมล็ดหรือตอนแล้วเสริมราก-เสียบด้วยยอดกิ่งกระโดง” เป็นต้นพันธุ์ดีที่สุด โตเร็ว ทรงพุ่มกลมสวย ให้ผลผลิตดี .... 3-5 ปี ให้ผลผลิต

*** ต้นพันธุ์ที่ชำในถุงดำนานๆ จนกระทั่งมีรากบางส่วนแทงทะลุออกมานอกถุงแล้วนั้น รากในถุงบริเวณก้นถุงจะหมุนวน เมื่อนำไปปลูกจะเกิดอาการรากวนในหลุมทำให้โตช้า แนวทางแก้ไข คือ เปลี่ยนถุงดำเพาะชำให้มีขนาดใหญ่และสูงขึ้นทุก 3-4 เดือน หรือหลังจากถอดต้นกล้าออกจากถุงดำเพื่อนำลงปลูกให้ตัดรากส่วนก้นถุงออก 1 ใน 4 ของจำนวนรากทั้งถุงทิ้งไปก่อน หรือจัดรากที่หมุนวนให้ชี้ตรงออกข้างรอบทิศทางก่อนก็ได้

* ให้ผลผลิตปีละ 1 รุ่น ปัจจุบันยังไม่มีฮอร์โมนหรือสารใดๆ บังคับให้ออกนอกฤดูได้
* ต้นที่มีความสมบูรณ์เป็นทุนเดิม หรือได้รับการบำรุงภายหลังอย่างถูกต้อง หลังจากเปิดตาดอกจนดอกชุดแรกออกมาแล้ว จะมีทั้งดอกและใบอ่อนชุดหลังทยอยออกตามมาอีก กลายเป็นผลและใบหลายชุดในต้นเดียวกัน กรณีนี้แก้ไขด้วยการให้ 0-42-56 + ธาตุรอง/ธาตุเสริม โดยฉีดพ่นให้เปียกโชกทั้งใต้ใบบนใบลงถึงพื้น ทุกครั้งที่มีดอกและใบอ่อนออกมา (ประมาณ 2-3 รอบ) หรือให้จนกว่าต้นจะยุติการออกดอกชุดใหม่ ทั้งนี้การแตกใบอ่อนของมังคุดจะไม่ทิ้งดอกหรือผลเล็ก......สารอาหารชุดนี้นอกจากช่วยบำรุงดอกและกดใบอ่อนชุดใหม่ไม่ให้ออกแล้ว ยังเร่งใบอ่อนชุดที่ออกมาก่อนให้แก่เร็วขึ้นอีกด้วย

* ช่วงที่ดอกออกมาใหม่ๆ ถึงระยะหลังผสมติด สังเกตุกลีบหุ้มหรือกลีบเลี้ยงที่ขั้วดอกหรือผล ถ้ากลีบหุ้มเหนือดอกเป็นสีเขียวเข้ม หนา ใหญ่ แสดงว่าดอกมีความสมบูรณ์สูง ดอกลักษณะนี้เมื่อพัฒนาเป็นผลก็จะเป็นผลที่คุณภาพดี ความสมบูรณ์ของดอกมาจากความสมบูรณ์ของต้น และความสมบูรณ์ของต้นมาจากความสมบูรณ์ของดิน และสารอาหารพอเพียง ถูกต้อง เทคนิคการบำรุงด้วย "ไบโออิ" ซึ่งมีแม็กเนเซียม. กับสังกะสี. เป็นส่วนประกอบหลัก ธาตุอาหาร 2 ตัวนี้จะช่วยบำรุงต้นให้สมบูรณ์อยู่เสมอ

* ต้นโตให้ผลผิตแล้วมีสภาพทรงพุ่มขนาดใหญ่ กิ่งยาวดูเก้งก้าง มักไม่ออกดอกติดผล แก้ไขด้วยการใช้ พาโคลบิวาโซล 1.75 กรัม ผสมน้ำตามความเหมาะสมฉีดพ่นให้แก่มังคุด 1 ต้น 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 10-20 วัน จะช่วยให้กิ่งหยุดยาว ใบมีขนาดกว้างขึ้นแต่สั้นลง .... ถ้าใช้พาโคลบิวาโซลอัตราเดียวกันนี้ ฉีดพ่นให้แก่ต้นมังคุดช่วงเรียกใบอ่อนก็จะช่วยให้ต้นแตกใบอ่อนด้วยระยะเวลาเพียง 140 วัน และแตกใบอ่อนใหม่ติดต่อกันถึง 3 ชุด

* มังคุดอ่อนไหวต่อสภาพแวดล้อมที่ผิดปกติอย่างมาก กล่าวคือ ถ้าสภาพแวดล้อมโดยเฉพาะความชื้นไม่เหมาะสมจะให้ผลผลิตไม่ดี ดอกร่วง ผลเล็ก ผลไม่ดก บางครั้งออกดอกติดผลปีเว้นปี หรือเว้น 2 ปี แต่ถ้ามีสภาพแวดล้อมเหมาะสมดีต่อเนื่องสม่ำเสมอก็พร้อมที่จะออกดอกติดผลทุกปีได้

* มังคุดต้องการความชื้นหน้าดินสูงจึงควรให้มีพืชหรือวัชพืชคลุมดินตลอดเวลา การใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชเป็นอันตรายต่อพัฒนาการของมังคุดอย่างมาก

* เหตุปัจจัยที่ทำให้เนื้อมังคุดเป็นเนื้อแก้วมีหลายประการ เช่น แมลงปากกัดปากดูดเข้าทำลายช่วงผลเล็ก, ผล (ทุกระยะ) ถูกกระแทกเนื่องจากลมพัดไปปะทะกับกิ่งข้างเคียง, ขาดสารอาหารรอย่างรุนแรง, ช่วงผลสีระดับ 4-6 ได้รับน้ำมากเกินหรือน้อยเกิน, ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศสูงเกิน, และเก็บเกี่ยวผลแล้วผลร่วงกระแทกกับเครื่องมือเก็บเกี่ยวหรือร่วงลงกระทบพื้น

* ระยะผลแก่เหมาะสมต่อการเก็บเกี่ยวคือ หลังดอกบาน 11-12 อาทิตย์ ซึ่งผลจะมีพัฒนา การให้เห็นได้ด้วยการสังเกตสีของเปลือก โดยสีของเปลือกจะเปลี่ยนแปลงเป็น 7 ระดับ ดังนี้

สีระดับ 0 ผลมีสีขาวอมเหลืองสม่ำเสมอ หรือขาวอมเหลืองมีแต้มเขียวอ่อนหรือจุดสีเทา มียางสีเหลืองภายในเปลือกรุนแรงมาก เนื้อและเปลือกยังแยกออกจากกันไม่ได้ ผลประเภทนี้แม้จะเปลี่ยนสีผลเป็นระดับ 6 ได้ก็ไม่มีคุณภาพ

สีระดับ 1 ผลมีสีเหลืองอ่อนอมเขียว มีจุดชมพูกระจายอยู่บนบางส่วนของผล ยางภายในเปลือกยังคงอยู่ในระดับรุนแรง เนื้อและเปลือกยังไม่สามารถแยกจากกันได้ ผลที่เก็บเกี่ยวในระยะนี้ถึงแม้จะเปลี่ยนไปเป็นสีผลระดับ 6 ได้ก็ไม่มีคุณภาพเช่นกัน

สีระดับ 2 ผลมีสีเหลืองอ่อนอมชมพู มีจุดประชมพูกระจายทั่วผล ยางภายในเปลือกอยู่ในระดับปานกลาง การแยกตัวระหว่างเนื้อกับเปลือกอยู่ระหว่างยากถึงปากลาง เป็นระยะผลอ่อนที่ดีที่สุดสำหรับการเก็บเกี่ยวซึ่งจะได้ผลคุณภาพดี

สีระดับ 3 ผลสีชมพูสม่ำเสมอ จุดประสีชมพูเริ่มขยายเข้ามารวมกัน ไม่แบ่งแยกอย่างชัดเจนเหมือนช่วงสีระดับ 2 ยางภายในเปลือกยังคงมีอยู่แต่น้อย เปลือกกับเนื้อแยกกันได้ยากปานกลาง

สีระดับ 4 ผลสีแดงหรือน้ำตาลอมแดง บางครั้งมีแต้มสีม่วง ยางภายในเปลือกมีน้อยมากจนถึงไม่มีเลย การแยกตัวระหว่างเนื้อกับเปลือกดีมาก เป็นระยะเกือบพร้อมรับประทาน

สีระดับ 5 ผลสีม่วงอมแดง ภายในเปลือกไม่มียาง เนื้อและเปลือกแยกกันได้ง่าย เป็นระยะที่รับประทานได้ และเหมาะสมต่อการส่งออก

สีระดับ 6 ผลสีม่วงหรือม่วงเข้มจนถึงดำ บางครั้งพบว่ามีสีม่วงปนอยู่เล็กน้อย ภายในเปลือกไม่มียาง เนื้อและเปลือกแยกออกจากกันได้ง่าย เป็นระยะรับประทานดีที่สุด

---------------------------------------------------------------


จาก : (091) 372-05xx
ข้อความ : ลุงคิมคะ อยากให้มะเขือยาวสีม่วงลูกใหญ่ ลูกไม่คด สีจัด ถั่วฝักยาวเนื้อ ฝักคด หางหนูยาว ฝักสั้น อยากให้ฝักยาวเหมือนถั่วหลา ใช้ปุ๋ยลุงคิมสูตรไหนคะ .... ขอบคุณค่ะ
ตอบ :
“อยากให้มะเขือยาวสีม่วง ลูกใหญ่ ลูกไม่คด สีจัด” .... แนวทางปฏิบัติ :

* ทางดิน : ใส่ยิบซั่ม, ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย. กระดูกป่น, ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ ใส่ครั้งแรกช่วงเตรียมแปลงเตรียมดิน .... มะเขือยาวชอบดินร่วน ร่วนมากๆ .... ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 8-24-24 (ไม่เพิ่มปุ๋ยเคมี) สลับ 2 อาทิตย์กับน้ำหมักระเบิดเถิดเทิง 21-7-14 (ไม่เพิ่มปุ๋ยเคมี)) ทุก 15 วัน ฉีดโคนต้นตอนค่ำ .... พรวนดินทุก 15 วัน .... หญ้าแห้งคลุมโคนต้นหนาๆ .... ให้น้ำสม่ำเสมอ พอหน้าดินชื้น

* ทางใบ : ให้สูตรสหประชาชาติ “น้ำ 20 ล. + ไบโออิ (แม็กเนเซียม. สังกะสี.) 5 ซีซี. + ไทเป (0-52-34, 13-0-46) 5 ซีซี. + ยูเรก้า 412 (21-7-14, ไคโตซาน, อะมิโนโปรตีน.) 5 ซีซี. + สารสมุนไพร 50 ซีซี.” 2 รอบ สลับด้วย แคลเซีบยม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน

“ถั่วฝักยาวเนื้อ ฝักคด หางหนูยาว ฝักสั้น” ....

คำถามเดิม คำตอบเดิม คนถามใหม่....
จาก : (089) 542-03xx
ข้อความ : คุณลุงคะ หนูขอคำชี้แนะเรื่องถั่วฝักยาว เก็บชุดแรกจะมีฝักสั้นมากกว่าฝักยาว แต่มีใบหนาใหญ่เขียวเข้ม หนูควรปรับปรุงอย่างไร.....
[color=red]ตอบ :
- เหมือนคนป่วย ปวดท้อง ไปหาหมอ หมอจะถาม ปวดมานานหรือยัง ? ปวดข้างซ้ายหรือข้างขวา ? กินอะไร ? ปวดก่อนหรือหลังกินอาหาร ? เป็นคนเดียวในบ้านหรือเป็นหลายคน ? กับหลายคำถาม เพื่อให้รู้สาเหตุของการปวดท้อง หลังจากนั้นจึงสั่งยาให้คนไข้ กับคำแนะนำบางเรื่องที่จำเป็น .... ต้นไม้ต้นพืชก็เหมือนกัน ช่วงที่ผ่านมาได้ทำอะไรกับเขาบ้าง เช่น น้ำมากหรือน้อยเกิน, ปุ๋ยอินทรีย์เคมีมากหรือน้อยเกิน, ก็เคยมีที่ซักไซ้สอบถามแล้ว ดูเหมือนว่า ทุกอย่างถูกต้องเป๊ะๆ สุดท้ายจริงๆ ปัญหาที่เกิดขึ้นมาจากยาฆ่าหญ้า ก็มี

- ถั่วฝักยาว “ถั่วเนื้อ” เป็นพันธุ์พื้นเมือง กินอร่อย ฝักสั้น ยาวอย่างมากก็แค่ศอกแขนเดียว ฝักคด ไม่ค่อยดก หางหนูยาว

- ถั่วฝักยาว “ถั่วหลา” เป็นพันธุ์ลูกผสมใหม่ กินไม่อร่อย ฝักยาวกว่าแขน ฝักตรง ฝักดก หางหนูน้อย รสชาดอร่อยน้อยกว่าถั่วเนื้อ

- งานนี้ที่ทำๆ จากเดิมเคยทำอย่างไร ทำถูกหรือผิด ตรงตามความต้องการของถั่วฝักยาวหรือไม่ ให้ดูที่ผลผลิต ถ้าถูกต้อง ผลผลิตต้องดี ถ้าไม่ถูกต้อง ผลผลิตเลยไม่ดี อย่างที่เห็นๆนี่แหละ ว่ามั้ย .... งั้นเอาตามนี้ อินทรียน์นำ เคมีเสริม ตามความเหมาะสมของถั่วฝักยาว

ประสบการณ์ตรง ถั่วเนื้อไร่กล้อมแกล้ม :
* ทางใบ : ให้สูตรสหประชาชาติ “น้ำ 20 ล. + ไบโออิ (แม็กเนเซียม. สังกะสี.) 5 ซีซี. + ไทเป (0-52-34, 13-0-46) 5 ซีซี. + ยูเรก้า 412 (21-7-14, ไคโตซาน, อะมิโนโปรตีน.) 5 ซีซี. + สารสมุนไพร 50 ซีซี.” 2 รอบ สลับด้วย แคลเซีบยม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน

* ทางดิน : ใส่ยิบซั่ม, ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย. กระดูกป่น, ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ ใส่ครั้งแรกช่วงเตรียมแปลงเตรียมดิน.... ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 8-24-24 (ไม่เพิ่มปุ๋ยเคมี) สลับ 2 อาทิตย์กับน้ำหมักระเบิดเถิดเทิง 21-7-14 (ไม่เพิ่มปุ๋ยเคมี)) ทุก 15 วัน ฉีดโคนต้นตอนค่ำ....พรวนดินทุก 15 วัน .... หญ้าแห้งคลุมโคนต้นหนาๆ .... ให้น้ำสม่ำเสมอ พอหน้าดินชื้น

หมายเหตุ :
* เปรียบเทียบถั่วเนื้อของบ้านข้างเคียงแบบเคมีเพียวๆ กับของไร่กล้อมแกล้มแล้ว พบว่าของไร่กล้อมแกล้ม....

- อาการ ฝักสั้น-ฝักคด-หางหนู ไม่มีหรือมีน้อยมาก .... เพราะใช้ปุ๋ยถูกสูตร
- ปริมาณผลผลิตมากกว่า ต้นสมบูรณ์กว่า ............. เพราะปุ๋ยถูกสูตร ให้น้อยบ่อยครั้ง
– รสชาติผลผลิตดีกว่า.....เพราะธาตุรอง. ธาตุเสริม. แคลเซียม โบรอน.
- อายุเก็บเกี่ยวนานขึ้น ต้นสมบูรณ์ ..... เพราะแม็กเนเซียม. สังกะสี. ในไบโออิ
- ต้นทุนค่าปุ๋ยเคมี ต่ำกว่ามาก .......... เพราะปุ๋ยทุกสูตรทำเอง
- ต้นทุนค่าสารเคมี ไม่มี ................ เพราะไม่ได้ใช้ แต่ใช้สารสมุนไพรแทน

- ต้นทุนค่าไม้ค้างไม่มี (ไร่ละ 3,500)... เพราะใช้เชือกปอพลาสติกทำค้าง (ไร่ละ 35 บาท)
- เพลี้ยแป้ง ใช้ “สมุนไพรเผ็ดจัด + น้ำยาล้างจาน + ไบโอเจ๊ต”
- เพลี้ยอ่อน ใช้ “เหล้าขาว + น้ำส้มสายชู + ไบโอเจ๊ต”
- หนอนชอบใบ ใช้ “สมุนไพรเผ็ดจัด + ไบโอเจ๊ต”
- เพลี้ยไฟ ฉีดน้ำเปล่าตอนเที่ยง

- ผักสวนครัว กินผล อายุสั้น เถาเลื้อย เช่น ถั่วพู แตงกวา แตงร้าน มะระทุกมะระ ฟักเขียว มะเขือเทศ ใช้สูตรเดียวกันกับถั่วฝักยาว เป๊ะๆ

http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=4329

------------------------------------------------------------



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©