-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร 27 APR **ปุ๋ยสับปะรด. *โรคไม้ใหญ่, *ปุ๋ยสำปะ หลัง, *เพาะบอระเพ็ด.*ปุ๋ยบอนไซ *พริกผลหงิก, *พริกยักษ์ไม่โต, *ลงมะม่วงต้นใหญ่, *กุหลาบกลีบลาย, *สายสด ทุ เรียน, *จันทร์ผา, *ลงถั่วแระญี่ปุ่น, *กะ หล่ำปลีแจ๊คพ็อต
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร 27 APR **ปุ๋ยสับปะรด. *โรคไม้ใหญ่, *ปุ๋ยสำปะ หลัง, *เพาะบอระเพ็ด.*ปุ๋ยบอนไซ *พริกผลหงิก, *พริกยักษ์ไม่โต, *ลงมะม่วงต้นใหญ่, *กุหลาบกลีบลาย, *สายสด ทุ เรียน, *จันทร์ผา, *ลงถั่วแระญี่ปุ่น, *กะ หล่ำปลีแจ๊คพ็อต
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร 27 APR **ปุ๋ยสับปะรด. *โรคไม้ใหญ่, *ปุ๋ยสำปะ หลัง, *เพาะบอระเพ็ด.*ปุ๋ยบอนไซ *พริกผลหงิก, *พริกยักษ์ไม่โต, *ลงมะม่วงต้นใหญ่, *กุหลาบกลีบลาย, *สายสด ทุ เรียน, *จันทร์ผา, *ลงถั่วแระญี่ปุ่น, *กะ หล่ำปลีแจ๊คพ็อต

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 27/04/2014 8:57 pm    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร 27 APR **ปุ๋ยสับปะรด. *โรคไม้ใหญ่, *ปุ๋ยส ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร ทางรายการวิทยุ 27 APR

AM 594 เวลา 08.10-09.00 & 20.05-20.30 ทุกวัน และ FM 91.0 (07.00-08.00 / วันอาทิตย์)

********************************************************************

สวัสดีครับ ท่านผู้ฟังที่เคารพ
กองทัพบกเพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตร และอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดยกองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก

@@ สนับสนุนรายการโดย ...
... บ.นิมุติ เอ็นจิเนียริ่ง เครื่องย่อยเศษพืช (02) 322-9175-6
... ยิบซั่มธรรมชาติ เฟอร์มิกซ์--- ธาตุรอง/ธาตุเสริม มัลติแชมป์ (089) 144-1112
... และ บ.มายซัคเซส อะโกร--- ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, กาวเหนียวดักแมลง มายฟิกส์,
กลิ่นล่อแมลงวันทอง ฟลายแอต, สารเสริมฤทธิ์สารสมุนไพร ไบโอเจ๊ต,
ถังฉีดพ่นรุ่นใหม่ ใช้แบตเตอรี่ (081) 910-5034

กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการครับ
เช่นเคยครับ รายการเรา 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม ที่ (081) 913-4986

---------------------------------------------------------------------------------------------------------

ตัวแทนจำหน่าย ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง, ไบโออิ, ไทเป, ยูเรก้า. (อินทรีย์ – เคมี)

1) ชมรม (ใหญ่) สีสันชีวิตไทย (089) 814-3204 ใกล้ไฟแดง สี่แยกบางแพ ราชบุรี
2 )“คุณชาตรี” (081) 841-9874 ทรัพย์ทวีการเกษตร ชัฎป่าหวาย สวนผึ้ง ราชบุรี (ส่งทาง ปณ.)

3) ร.ต.ต.นันท์สุรัตน์ (089) 821-8273 ต.จรเข้เผือก ด่านมะขามเตี้ย กาญจนบุรี (ส่งทาง ปณ.)
4) “คุณล่า” (081) 944-8494 ทุกวันจันทร์ ตลาดนัดวัดอมรญาติ ดำเนินสดวก ราชบุรี

5) “คุณประเสริฐ” (080) 110-4645 บ.เขาดิน หนองแขม เดิมบางนางบวช สุพรรณบุรี
6) “คุณอรุณ” (085) 058-1737 ในร้านโครงการหลวง ตลาด อตก.

7) “คุณพรพรรณ” (089) 814-7944 พลชัยเกษตรชีวภาพ ตลาดนัดธนบุรี ถ.เลียบคลองทวีวัฒนา
8 ) “คุณน้ำส้ม” (085) 055-7706 ชมรมฯ สาขาศาลายา หน้า ม.มหิดล พุทธมณฑลสาย 4 (ส่งทาง ปณ.)

-------------------------------------------------------------------------------------------------------



จาก : สมช. สวพ. FM 91.0 (07.00-08.00 / อาทิตย์)
ข้อความ : สับปะรดใช้ปุ๋ยสูตรไหน...?
ตอบ :
- สับปะรดโรงงาน หรือสับปะรดกินสด น่าจะบอกหน่อยเพราะสับปะรดเหมือนกันแต่ไม่เหมือนกัน

- เปิดมุ้งออกมาก็ ปุ๋ยปุ๋ยปุ๋ย เลย .... ก็ได้ สับปะรดใช้ 5-10-40 ทั้งทางใบทางราก เรียกว่า 2 เด้ง หรือ 8-24-24 + 0-0-60 (1:1) ทางราก .... บอกสูตรปุ๋ยแล้ว รู้สูตรปุ๋ยแล้ว นำไปใช้แล้วต้องได้ผลตามสูตรปุ๋ยเป๊ะๆ เลยเหรอ .... สมการปุ๋ย : ปุ๋ยถูก + ใช้ผิด = ไม่ได้ผล, ปุ๋ยผิด + ใช้ถูก = ไม่ได้ผล. ปุ๋ยผิด + ใช้ผิด = ไม่ได้ผล ยกกำลังสอง มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยไหม ?

- ปุ๋ยไม่ใช่ของวิเศษ ใส่แล้วใช้แล้วต้องได้ผลเสมอไป ปุ๋ยมี 2 อย่าง ปุ๋ยอินทรีย์ กับปุ๋ยเคมี แต่ละอย่างต่างมี ข้อดี/ข้อเสีย-จุดเด่น/จุดด้อย ในตัวเอง ดังนั้นจึงจำเป็นต้องเลือกเฉพาะ ข้อดี/จุดเด่น ของแต่ละอย่างมาใช้ นั่นคือ ใช้ทั้ง 2 อย่างแบบ อินทรีย์เคมีร่วมกัน หรือ อินทรีย์นำ เคมีเสริม แล้วก็ต้อง “ตามความเหมาะสมของสับปะรด” ด้วย พูดง่ายคืออย่ามั่วนั่นเอง

- เรื่องของปุ๋ยปุ๋ยปุ๋ย คนขายปุ๋ย คนข้างบ้านที่แนะนำปุ๋ย ไม่เคยบอก ขณะที่คนซื้อ คนทำตามคำแนะนำของข้างบ้าน ไม่เคยถาม

- ปุ๋ยทางใบจะเกิดประสิทธิภาพได้ต้องมีความสมบูรณ์ของต้นรองรับ ความสมบูรณ์ของต้นมาจากดิน ดินไม่ดีต้นไม่สมบูรณ์แล้วให้ปุ๋ยทางใบขณะที่ต้นโทรมแสนโทรมจะได้ผลเพียงระดับหนึ่งแค่ดีกว่าไม่ได้ให้เท่านั้น

- ปุ๋ยทางรากจะเกิดประสิทธิภาพได้ต้องมีดินเป็นพื้นฐาน ดินดีคือดินที่มีอินทรีย์วัตถุ มีจุลินทรีย์ และมีความชื้น ดินไม่ดีใส่ปุ๋ยเคมีลงไปต้นสับปะรดก็เอาไปกินไม่ได้

- เอาเงินค่าปุ๋ยเคมีที่เคยใส่ไร่ละกระสอบ 50 กก. มาซื้ออินทรีย์วัตถุ สารปรับปรุงปรุงดิน หรือทำเองครึ่งหนึ่งซื้อครึ่งหนึ่ง จ่ายน้อยกว่าค่าปุ๋ย 50 กก. ที่จริง สับปะรดกินปุ๋ยเคมีแค่ 10 กก./ไร่/รุ่น เท่านั้น....เกษตรกรไม่ใช่น้อยที่ไม่รู้แล้วก็ไม่ยอมรับด้วยว่า ปุ๋ยเคมีที่ใส่ลงไปมากๆ มากจนพืชเอาไปกินไม่หมด เอาไปกินไม่ทัน เหลือตกค้างอยู่ในดิน ทำให้ดินเสีย นอกจากต้นพืชเอาไปกินไม่ทันแล้ว ปุ๋ยส่วนหนึ่งยังถูกดินจับยึด ที่ภาษาวิชาการเรียกว่า "ตรึง" เอาไว้ ไม่ปล่อยให้พืชเอาไปกิน นั่นคือ ดินเสีย-ดินไม่ดี-ดินไม่มีอินทรีย์วัตถุ-ดินไม่มีจุลินทรีย์

- นั่นคือ คิดจะปลูกพืชให้ได้ผลจริงๆ ดินต้องมาก่อน ดินต้องมาก่อน และดินต้องมาก่อน

- สับปะรดเป็นพืชอวบน้ำ ถ้าไม่ให้น้ำเขา เขาจะเอาน้ำที่ไหนไปสร้างความอวบ นั่นคือ คิดจะปลูกสับปะรดต้องสร้าง “ดินและน้ำ” พร้อมจริงๆ หาไม่แล้ว จะไม่ได้อะไรเลย

- ดินต้องมาก่อน....เตรียมดินก่อนลงมือปลูก : ใส่ยิบซั่ม ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ กระดูกป่น คิดให้ได้ปริมาณ 3-5% ของเนื้อดิน รดด้วยน้ำหมักชีวภาพที่มีสารอาหารอินทรีย์ สารอาหารสังเคราะห์ (ปุ๋ยเคมี) จุลินทรีย์ และสารอาหารสำหรับจุลินทรีย์ประจำถิ่น รดให้โชกมากๆ บ่มดินทิ้งไว้ 20-30 วัน เพื่อให้เวลาแก่จุลินทรีย์ทำการปรับภาพดินก่อน แล้วจึงเริ่มลงมือปลูกต้นกล้า

@@ บำรุง :
** ระยะต้นเล็ก :
- ทางใบ : ให้แม็กเนเซียม. สังกะสี. เดือนละครั้ง
- ทางราก : ให้น้ำหมักชีวภาพ +30-10-10 หรือ 25-7-7 เดือนละครั้ง ให้น้ำเดือนละ 2 ครั้ง

** ระยะออกดอก :
- ทางใบ : ให้แคลเซียม คาร์ไบด์ กระตุ้นการออกดอกตามปกติ
- ทางราก : ให้น้ำสม่ำเสมอ พอหน้าดินชื้น ถ้าแล้งมากๆ สับปะรดจะไม่ออกดอก หรือออกไม่ดี

** ระยะลงหัว :
- ทางใบ : ให้แม็กเนเซียม. สังกะสี. 5-10-40. ไคโตซาน. อะมิโนโปรตีน ทุก 15 วัน
- ทางราก : ให้น้ำหมักชีวภาพ +5-10-40 เดือนละครั้ง ให้น้ำสม่ำเสมอพอหน้าดินชื้น

หมายเหตุ :
สับปะรด 300 ไร่ ที่สวนผึ้ง ราชบุรี ให้น้ำด้วยสปริงเกอร์โอเวอร์เฮด ทุก 15 วัน ทั้งรุ่นคิดต้นทุนตกหัวละ 2.80 ตังค์ ขายโรงงานได้หัวละ 5.40 ตังค์ สับปะรด 300 ไร่ มีหลายแสนหัวคุ้มเกินคุ้ม

-------------------------------------------------------------


จาก : สมช. สวพ. FM 91.0 (07.00-08.00 / อาทิตย์)
ข้อความ : ย้ายไม้ใหญ่ ขุดขึ้นมาแล้ว ใช้สารอะไรป้องกันเชื้อโรคเข้าทำลาย....?
ตอบ :
- ไม้ใหญ่ ใหญ่แค่ไหน ต้นขนาดโคนขา หรือขนาด 2 คนโอบ .... น่าจะบอกด้วย
- ป้องกันเชื้อโรคเข้าทำลายส่วนราก หรือต้น ใบ .... น่าจะระบุมาหน่อย

- ไม้ใหญ่ขุดล้อมขึ้นมาแล้ว ปกติต้องมีวัสดุห่อดินหุ้มราก ถ้าจะป้องกันเชื้อโรคเข้าทำลายราก ให้ใช้ปูนกินหมากทาแผลรากที่ถูกตัด ถามว่า จะยกต้นให้สูงพื้น แล้วเปิดวัสดุห่อหุ้มรากออกก่อน แล้วทาปูนกินหมากที่ราก ถ้าเปิดวัสดุหุ้มรากออก ดินหุ้มรากก็หลุดด้วย แบบนี้ไหวเหรอ

- งั้นใช้วิธีนี้ เตรียมดิน เตรียมหลุมปลูก ใส่อินทรีย์วัตถุรองก้นหลุม ใส่จุลินทรีย์ บ่มดินทิ้งไว้ก่อน 1-3 เดือน จึงนำต้นไม้ใหญ่ที่ขุดล้อมแล้วลงไป จุลินทรีย์จะช่วยป้องกันกำจัดเชื้อโรคให้เอง

** นี่คือ เฉพาะขั้นตอนป้องกันกำจัดเชื้อโรคทำลายระบบราก ส่วนเชื้อโรคทำลายส่วนอื่น เช่น ต้น-ใบ-ยอด รวมถึงการบำรุงให้ต้นรอดตายแล้วโตต่อได้ ก็ว่ากันต่างหาก

------------------------------------------------------------


จาก : สมช. สวพ. FM 91.0 (07.00-08.00 / อาทิตย์)
ข้อความ : สำปะหลัง 20 ไร่ อยู่กำแพงเพชร ผสมปุ๋ยใช้เอง ปุ๋ยสูตรไหน....?
ตอบ :
- ปกติสำปะหลังใช้ 5-10-40 จี.เกรด ได้ทั้งทางใบทางราก .... ทางใบ O.K. ใช้ได้เลย ส่วนทางรากเอาแค่ 8-24-24 + 0-0-60 (1:1) ก็พอได้

- แล้วปุ๋ยตัวอื่นล่ะ เช่น แม็กเนเซียม.สร้างคลอโรฟีลด์, สังกะสี.สร้างแป้ง. สำปะหลังไม่ต้องการเหรอ ?

- สำปะหลังใบใหญ่ จำนวนใบมาก ตั้งแต่ยอดถึงโคนต้น กับสำปะหลังต้นเล็กๆ ใบเล็กๆ 5-6 ใบที่ปลายยอด เหมือนผมโก๊ะ แบบไหนจะให้ผลผลิตมากกว่ากัน

- สำปะหลังเทวดาเลี้ยง ไม่เคยให้น้ำ รอฝนอย่างเดียว ใส่ปุ๋ยไร่ละกระสอบ ได้ผลผลิต 3-4 ตัน/ไร่ .... สำปะหลัง คนเลี้ยง ให้น้ำสม่ำเสมอพอหน้าดินชื้น ใส่ปุ๋ยแค่ 10 กก. ได้ผลผลิต 10-12 ตัน/ไร่ .... เอาแบบไหน

-------------------------------------------------------------


จาก : สมช. สวพ. FM 91.0 (07.00-08.00 / อาทิตย์)
ข้อความ : เพาะเมล็ดบอระเพ็ด นานแล้วไม่งอก แก้ไขอย่างไร...
ตอบ :
- ไม่งอกเพราะ เมล็ดไม่สมบูรณ์ เมล็ดเสื่อมความงอก เมล็ดไม่ผ่านระยะพักตัว
- ทำเรื่องง่ายๆ ให้มันยากทำไม .... แค่บอระเพ็ด ตัดต้นเป็นท่อน ยาวฝ่ามือเดียว วางไว้กับพื้นเฉยๆ ก็งอกโตเป็นต้นได้แล้ว แต่ถ้าได้ปักลงดินหน่อย เปอร์เซ็นต์ความงอกก็จะชัวร์ขึ้น เท่านี้แหละ

- ไปไร่กล้อมแกล้มซี่ ท่อนพันธุ์บอระเพ็ดบันทุกเกวียนได้เลย

--------------------------------------------------------------


จาก : สมช. สวพ. FM 91.0 (07.00-08.00 / อาทิตย์)
ข้อความ : โมกบอนไซ ใช้ปุ๋ยสูตรไหน...?
ตอบ :
- บอนไซ แปลว่า ไม้แคระ (ต้นเล็ก กิ่งเล็ก ใบเล็ก) ใส่ปุ๋ยแล้วต้นใหญ่ กิ่งใหญ่ ใบใหญ่ ก็ไม่ใช่ไม้แคระน่ะซี

- ให้ปุ๋ย ”ก้นครัว” หรือ “ขี้วัวขี้ไก่” โรยบางๆ 2-3 เดือน/ครั้ง ให้น้ำพอหน้าดินชื้นก็น่าจะพอ .... ปุ๋ยเคมี ไม่ต้อง

--------------------------------------------------------------


จาก : สมช. สวพ. FM 91.0 (07.00-08.00 / อาทิตย์)
ข้อความ : พริกชี้ฟ้าผลหงิก แก้ไขอย่างไร....?
ตอบ :
- เพราะ “เพลี้ยไฟ” งานนี้เดาว่าใบก็หงิก แล้วก็เนื้อใบเป็นแถบเหลืองด้วย .... เพลี้ยไฟ ทำลายเซลล์ของผล ผลส่วนนั้นไม่โตในขณะที่ส่วนอื่นของผลโตปกติ ผลจึงโตไม่เสมอกัน กลายเป็นบิดเบี้ยวอย่างที่เห็น

- เพี้ยไฟเข้าทำลายใบ ใบจึงหงิก แถมเพลี้ยไฟเป็นพาหะนำเชื้อไวรัสมาด้วย เนื้อใบจึงเหลือง เชื้อไวรัสไม่มีสารเคมีหรือสารสมุนไพรใดในโลกนี้กำจัดได้ เป็นแล้วเป็นเลย เสียพริกไปแล้ว เลี้ยงต่อไปนอกจากให้ผลผลิตไม่ดีแล้ว ยังต้นโทรมยืนตายอีกด้วย เพราะฉะนั้น โค่นทิ้งปลูกใหม่ดีกว่า

- ป้องกันกัดเพลี้ยไฟด้วย “น้ำเปล่า หรือ น้ำ + สมุนไพรเผ็ดจัด” มีข้อแม้ต้องฉีดตอนเที่ยง เท่านั้นเพราะเพลี้ยไฟมาตอนเที่ยง

-------------------------------------------------------------


จาก : สมช. สวพ. FM 91.0 (07.00-08.00 / อาทิตย์)
ข้อความ : ซื้อเมล็ดพันธุ์พริกหวานยักษ์มาจากมาเลเซีย ปลูกที่แม่ฮ่องสอน ผลไม่โต แก้ไขอย่างไร...?
ตอบ :
- ปัญหาเกิดจาก .... 1) เมล็ดพันธุ์ไม่สมบูรณ์ .... 2) ดินไม่เหมาะสม .... 3) สารอาหารไม่ถูกต้อง .... 4) อาจจะ (เน้นย้ำ....อาจจะ) ความสูงเหนือน้ำทะเลระหว่างมาเลเซียกับแม่ฮ่องสอนต่างกันก็ได้

- น่าจะเลือกพริกหวานที่ปลูกในเขตภาคเหนือของไทย เยอะแยะมากมายหลากลายสายพันธุ์
- ดินไม่เหมาะสม อย่างที่บอกตอนต้นรายการว่า ดินต้องมาก่อน ดินต้องมาก่อน และดินต้องมาก่อน ทบทวนความจำตัวเองซิ ก่อนลงมือได้เตรียมดินอย่างไร ?.... ได้ใส่ยิบซั่ม กระดูกป่น ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ น้ำหมักชีวภาพที่มีสารอาหารอินทรีย์ เคมี จุลินทรีย์ บ่มดินให้พร้อมก่อนลงมือปลูก หรือไม่ ? อย่างไร ?

- บำรุงพริกหวาน (เหมือนพริกทุกพริก เหมือนมะเขือทุกมะเขือ....ประเภทออกดอกติดผลตลอดปี ตลอดอายุ ไม่มีรุ่น)

** ทางใบ : ให้สูตรสหประชาชาติ (แม็กเนเซียม-สังกะสี. บำรุงต้นไม่ให้โทรม .... 0-52-34, 13-0-46 สะสมตาดอก เปิดตาดอก ... 21-7-14, ไคโตซาน, อะมิโน โปรตีน. บำรุงผล ขยายขนาด) ให้ 2 รอบ สลับด้วยแคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน .... ให้สารสมุนไพรบ่อยๆ

** ทางราก : ให้น้ำหมักชีวภาพสูตที่มีสารอาหารอินทรีย์ เคมี +8-24-24 ทุก 15 วัน .... ให้น้ำสม่ำเสมอ พอหน้าดินชื้น.... พรวนดิน พูนดินโคนต้น หญ้าแห้งคุลมโคนต้นหนาๆ เดือนละครั้ง

--------------------------------------------------------------


จาก : สมช. สวพ. FM 91.0 (07.00-08.00 / อาทิตย์)
ข้อความ : ซื้อต้นพันธุ์มะม่วง ต้นใหญ่มีลูกบนต้น เอาลงปลูกแล้วลูกร่วง เลี้ยงนาน 6 เดือนไม่ออกลูกอีกเลย แก้ไขอย่างไร.... ?
ตอบ :
- ซื้อมะม่วงต้นใหญ่มาปลูก เหมือนเอาคนแก่มาเลี้ยง ถ้ารอดก็โตช้า ถ้าไม่รอดคือตาย ผิดกับไม้เล็กเหมือนเอาเด็กมาลี้ยง ถ้ารอดโตเร็ว เปอร์เซ็นต์รอดสูง โตแล้วให้ผลผลิตดี

- ซื้อต้นโตมีลูกบนต้นให้เห็นน่ะดี เป็นสิ่งยืนยันว่าพันธุ์แท้
- ช่วงจากร้านขายต้นพันธุ์ ขนส่งมาบ้านเรา แล้วย้ายลงหลุมปลูก เป็นช่วงที่ต้นได้รับความกระทบกระเทือนอย่างรุนแรง กอร์ปกับ ลงหลุมใหม่ๆ ระบบรากยังไม่ทำงานแต่ต้นต้องคายน้ำตลอดเวลา นี่คือสาเหตุหลักที่ทำให้ลูกบนต้นร่วง งานนี้ยังไม่จบ อย่างที่บอกว่าต้นคายน้ำตลอดเวลา + รากยังไม่ทำงาน ต้นอาจตายได้ นี่แหละที่เปรียบเสมือนเอาคนแก่มาเลี้ยงไงล่ะ

- แนวทางที่ถูกต้อง คือ อย่าห่วงลูกคาต้น ไม่ร่วงก็ต้องเด็ดออก แล้วลดการคายน้ำด้วยการตัดกิ่งออกให้เหลือแค่ 15-25% ของจำนวนทั้งต้นก็พอ ไม่ต้องกลัวต้นตาย บำรุงต่อไปตามปกติเมื่อระบบรากพร้อมเขาจะแตกยอดใหม่ออกมาเอง

- ต้นรอดตายได้ โตเป็นมะม่วงปกติแล้ว บำรุงตาม “8 ขั้นตอนบำรุงไม้ผล” ก็จะออกดอกติดผลเอง....ว่าแต่มะม่วงพันธุ์อะไร พันธุ์หนักออกยาก ออกปีละครั้ง บางปีไม่ออกซะดื้อๆ พันธุ์ทะวายออกง่าย ออกตลอดปีแบบไม่มีรุ่นได้

---------------------------------------------------------------


จาก : สมช. สวพ. FM 91.0 (07.00-08.00 / อาทิตย์)
ข้อความ : กุหลาบในกระถาง กลีบดอกลาย แก้ไขอย่างไร....?
ตอบ :
- ตอบแบบฟันธงไม่ได้ เพราะไม่เห็นกับตา คนถามก็บอกไม่ละเอียด คนตอบจึงขอตอบแบบครอบจักรวาลก็แล้วกัน

- อาการกลีบดอกลาย เป็นอาการของ โรคมีเชื้อ กับ โรคไม่มีเชื้อ
- โรคมีเชื้อ คือ เชื้อโรค ใช้กล้องจุลทรรศน์ส่องดูได้ รู้ว่าเชื้อโรคอะไรก็สั่งยาตามเชื้อโรคนั้น.... เชื้อโรคพืชมีทั้งเกิดเองในดิน เข้าสู่ต้นทางราก ผ่านต้น ไปถึงดอกได้ กับเชื้อที่มีพาหะนำมา

– โรคไม่มีเชื้อ คือ การขาดสารอาหาร แก้ไขด้วยการให้ “ธาตุรอง/ธาตุเสริม” และปรับสภาพแวดล้อม “ดิน-น้ำ/แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล-สารอาหาร-สายพันธุ์-โรค” ให้เหมาะสมกับกุหลาบในกระถาง

** แก้ไขโดย
- ทางดิน : ปรับปรุงสภาพดินโดยใส่ยิบซั่ม กระดูกป่น ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ พรวนดิน หญ้าแห้งคลุมปากกระถาง ให้น้ำหมักชีวภาพที่มีสารอาหารอินทรีย์ เคมี จุลินทรีย์ และสารอาหารสำหรับจุลินทรีย์ประจำถิ่น

– ทางใบ : ปรับสภาพต้นแล้วบำรุงโดยตัดแต่งกิ่ง เด็ดดอกทิ้ง ให้ฮอร์โมนไข่สูตรที่กำลังฮ็อตฮิตก็พอ

-------------------------------------------------------------


จาก : สมช. สวพ. FM 91.0 (07.00-08.00 / อาทิตย์)
ข้อความ : (สายสด....)

.. ? .. : ลุงคิมครับ ผมมีสวนอยู่จันทบุรี อยากลงทุเรียน ผมมีความคิดว่าจะลงหมอนทองกับพวงมณี คู่กัน ในหลุมเดียวกัน ห่างกัน 80 เซ็นต์ จะได้ไหมครับ ?
ลุงคิม : ได้ครับ .... ได้ยิ่งกว่าได้อีกแน่ะ

..?.. : แล้วการบำรุง การให้ปุ๋ยล่ะครับ ?
ลุงคิม : ไม่ต้องกังวล เพราะ 2 ไม้นี้ ปุ๋ยสูตรเดียวกัน ตัวเดียวกัน ทั้งทางใบทางราก ให้พร้อมกันไปด้วยกันเลย ถึงฤดูกาลเขาก็จะออกดอกออกลูกพร้อมกันเอง

..?.. : ถ้างั้นผมลงเลยนะครับ 10 หลุม หลุมละ 2 ต้นคู่กัน ผมว่ามันประหยัดเนื้อที่ดีนะครับ
ลุงคิม : อืมมม CASE นี้มีคนทำอยู่นะ ป๊ะหลน อยู่พัทลุง ลง ทุเรียน-เงาะ-ลองกอง-มังคุด 4 อย่างในหลุมเดียวกันเลย เรียกว่า เกษตรธาตุสี่ ความที่นิสัยทางธรรมชาติของไม้ 4 อย่างนี้ออกดอกติดลูกฤดูกาลเดียวกัน พอถึงฤดูกาล ต้นอะไรก็ออกดอกติดลูกอันนั้น ทำมาแล้ว 40-50 ปี เดี๋ยวนี้ก็ยังอยู่

..?.. : ถ้างั้นผมเพิ่ม เงาะ มังคุด ลองกอง ลงไปด้วยเลยนะครับ
ลุงคิม : เอาเลย .... เมื่อ 2-3 วันมานี้ ที่บ้านผมมีคนเอาทุเรียนพวงมณีมาฝาก เขาบอกว่าบำรุงตามสูตรที่เราแนะนำตั้งแต่เริ่มต้นจนจบ ทีแรกใครๆก็ว่า พวงมณีเมล็ดใหญ่ เนื้อบาง รสชาดไม่อร่อย แต่พอแกะเนื้อออกมาผิดถนัดเลย พวงมณีเมล็ดลีบ เนื้อหนา รสจัด ถ้าไม่ยึดติดกับรสชาดก้านยาว หมอนทอง จนเกินไป ก็จะยอมรับว่าอร่อยสไตล์ทุเรียน แล้วเจ้าพวงมณีเป็นทุเรียนให้ผลดกที่สุดในบรรดาทุเรียนด้วยกัน ต้นละเป็นร้อยลูกอันนี้เป็นเสน่ห์อย่างดีเลย

..?.. : ครับ ขอบคุณครับ

---------------------------------------------------------------


จาก : สมช. สวพ. FM 91.0 (07.00-08.00 / อาทิตย์)
ข้อความ : อยากให้จันทน์ผาออกดอก ปุ๋ยตัวไหน.....?
ตอบ :
- ฮอร์โมนไข่ สูตรที่กำลังฮ๊อตฮิตอยู่ที่แหละ เดี๋ยวออกมาเอง แถมต้นวาสนาอีกอย่างนึ่ง ฮอร์โมนไข่ เร่งดอกยาวเป็นแขนเลย....ปุ๋ยเคมี ไม่ต้อง ให้น้ำปกติ

--------------------------------------------------------------


จาก : (083) 152-20xx
ข้อความ : ผู้พันครับ ประจวบปลูกถั่วแระญี่ปุ่นได้ไหมครับ เห็นราคาขายในห้างแพงมาก ถ้าปลูกได้ขอคำแนะนำ ถ้าปลูกไม่ได้ขอวิธีแก้ไข .... ทหารเก่า ขอบคุณครับ
ตอบ :
- ได้ยิ่งกว่าได้ จากสามเหลี่ยมทองคำเชียงรายถึงโต๊ะโมะนราธิวาส จากช่องเม็กอุบลถึงดอยอีต่องกาญจนบุรี ปลูกได้ มีข้องแม้เดียว “ใจเอา” เท่านั้น....คนทำนาข้าว ปลูกพืชแซมนา ปรับคันนากว้าง 3 ม. แล้วปลูกถั่วแระญี่ปุ่น หรือ พริกมะเขือขิงข่ากระเพาโหระพาแมลงลักดาวเรืองมะลิ เป็นไม้พุ่มเตี้ย น่าจะ MAKE MONEY ได้มากกว่าข้าวบนเนื้อที่เท่ากัน

- คำถามเดิม คำตอบเดิม.....คนถามใหม่


จาก : (080) 029-36xx
ข้อความ : ลุงคิมคะ ถั่วแระญี่ปุ่น บำรุงเหมือนถั่วไร่ที่ลุงคิมพูดไหมคะ .... ตาคลี
ตอบ :
- บำรุงไม่เหมือนกัน .... ถั่วไร่เป็นพืชไร่ (ถั่วเหลือง/เขียว/แดง/ดำ) ต้องการน้ำน้อย เก็บเกี่ยวเมื่อแก่จัด ใช้งานผลผลิตตากแห้ง .... ถั่วแระไทยก็คือถั่วเหลือง ถั่วแระญี่ปุ่นก็คือถั่วเหลืองพันธุ์จากญี่ปุ่น ต้องการน้ำมากกว่า แต่ไม่มากเท่าผักสวนครัว เก็บเกี่ยวตอนกลางอ่อนกลางแก่ ค่อนไปทางแก่เล็กน้อย ผลผลิตใช้ผลสด

@@ เตรียมดิน / เตรียมแปลง :
- ไถดะขี้ไถใหญ่ตากแดด 15-20 แดดจัด เพื่อฆ่าเชื้อโรค ขี้ไถแห้งดีแล้วใส่ตัวปรับปรุงบำรุงดิน ยิบซั่ม กระดูกป่น ขี้ไก่ขี้วัว ไถพวนให้ดินละเอียด แล้วยกร่องทำสันแปลงลูกฟูก รดด้วยน้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง (เน้นเลือด) 1-2 ล./ไร่ แล้วคลุมแปลงด้วยหญ้าแห้ง ทิ้งไว้ 7-10 ลงมือหยอดเมล็ด

@@ เตรียมเมล็ด .... แช่เมล็ดใน สังกะสี (ไบโออิ), โบรอน (แคลเซียม โบรอน), ไคโตซาน (ยูเรก้า) นาน 6 ชม. นำไปหยอดหลุมละ 2 เมล็ดได้เลย

@@ บำรุง (ทางใบ) :
- ต้นเล็ก : แม็กเนเซียม สังกะสี (ไบโออิ) 2-3 รอบ ทุก 7-10 วัน
- ก่อนออกดอก : ไทเป + 0-52-34 ให้ 2 รอบ ทุก 5-7 วัน
- เป็นฝักแล้ว : ไบโออิ + ยูเรก้า 2 รอบ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน ถึงเก็บเกี่ยว

@@ บำรุง (ทางดิน) :
- เริ่มออกดอก ให้น้ำหมักระเบิดเถิดเทิง (เน้นเลือด) 1 รอบ อัตรา 1 ล./ไร่
– เริ่มติดฝัก พรวนดิน พูนดินโคนต้น
- งดยาฆ่าหญ้าเด็ดขาด

--------------------------------------------------------------


จาก : (089) 831-50xx
ข้อความ : คุณลุงคะ วันก่อนซื้อถั่วแระญี่ปุ่นในห้างมากิน ใส่ถุงแค่กำมือเดียว 50 บาท รู้สึกว่าราคาแพงไปหน่อย นึกอยากปลูกขึ้นมาทันที อยากให้คุณลุงพูดเรื่องถั่วแระญี่ปุ่นให้ฟังบ้างค่ะ....
ตอบ :
** ถั่วแระ คือ ถั่วเหลืองฝักสด .... ถั่วแระญี่ปุ่นนำพันธุ์จากญี่ปุ่นมาปรับปรุงพันธุ์ให้เหมาะสมกับสภาพอากาศประเทศไทย ซึ่งมีคุณภาพดีกว่าถั่วแระ (ถั่วเหลืองฝักสด) พันธุ์ไทยแท้ๆ .... นอกจากถั่วแระแล้ว ถั่วแขก. ถั่วหวาน. ก็น่าสนใจ แต่กรณีถั่วปากอ้า ราคาดีที่สุด แต่ต้องทำให้เป็น เพราะถ้าทำไม่เป็นกินแล้วเป็นพิษ

** ความแตกต่างระหว่างถั่วแระญี่ปุ่น กับถั่วเหลืองไร่ :
- ถั่วแระญี่ปุ่นเป็นถั่วเหลืองที่มีฝักขนาดใหญ่ บริโภคเมล็ดในระยะเมล็ดเต่งเต็มที่แต่ฝักยังมีสีเขียวอยู่ อายุเก็บเกี่ยวฝักสดประมาณ 65 วัน หลังจากหยอดเมล็ด ฝักที่ได้มาตรฐานส่งตลาดญี่ปุ่นต้องมีเมล็ดตั้งแต่ 2 เมล็ดขึ้นไป ความยาวฝักไม่น้อยกว่า 4.5 ซม. ฝัก 1 กก. มีจำนวนฝักไม่เกิน 350 ฝัก ไม่มีรอยตำหนิใด ๆ บนฝัก .... บริโภคฝักสดเป็นอาหารว่าง โดยต้มทั้งฝักในน้ำเดือดนาน 5-6 นาที โรยเกลือเล็ก น้อยเพื่อเพิ่มรสชาติ หรือแกะเมล็ดออกจากฝักนำมาประกอบอาหารได้หลายชนิด เช่น ฝัดกับกุ้ง แกงส้ม ข้าวผัด และใช้แทนถั่วลันเตากระป๋องได้เป็นอย่างดี

** พันธุ์ปลูกที่เหมาะสม :
- จากการทดสอบพันธุ์ถั่วแระที่นำมาจากญี่ปุ่นมากกว่า 30 พันธุ์ ณ ศูนย์วิจัยพืชผักเขตร้อน มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ กำ แพงแสน พบว่าพันธุ์ที่ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมของประเทศไทยได้ดีที่สุด ให้ผลผลิตเฉลี่ยในฤดูกาลต่างๆ สูงสุด และ ฝักสดมีคุณลักษณะตามความต้องการของตลาดญี่ปุ่น คือ พันธุ์ AGS 292 จึงได้รับการตั้งชื่อใหม่ว่า “กพส. 292” ซึ่งเป็นพันธุ์ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาพืชผักแห่งเอเชีย (AVRDC) ไต้หวัน ทดสอบแล้วได้ผลดีเช่นเดียวกัน

** เตรียมดิน เตรียมแปลง .... ใส่ยิบซั่ม ธันเดอร์พลัสส์, ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, กระดูกป่น, ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ, คลุกเคล้าเข้ากันดีแล้ว รดด้วยน้ำหมักชีวภาพ ระเบิดเถิดเทิง + คีโตเมียม ไรโซเบียม ไมโครไรซ่า บ่มดินทิ้งไว้ 20-30 วันจึงลงมือปลูก

** เตรียมเมล็ด : แช่เมล็ดพันธุ์ใน “น้ำ 50 องศา ซี. 2 ล. + ไบโออิ (แม็กเนเซียม) + แคลซียม โบรอน (โบรอน) 1 ซีซี. + ยูเรก้า (ไคโตซาน) 1 ซีซี.” นาน 6-8 ชม. น้ำขึ้นห่มชื้น 24-48 ชม. เมล็ดเริ่มมีตุ่มรากให้นำไปหยอดลงหลุม

** การบำรุง :
* ระยะต้นเล็ก :
- ทางใบ .... ให้ “น้ำ 20 ล. + ไบโออิ 20 ซีซี.” 2 รอบ สลับด้วย แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7-10 วัน ฉีดพ่นให้เปียกโชกทั้งไต้ใบบนใบลงถึงพื้น เป็นการให้น้ำไปในตัว

- ทางราก .... ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 (1 ล.) 1 รอบ หลังยืนต้นได้....ให้น้ำสม่ำเสมอพอหน้าดินชื้นทุก 3 วัน

* ระยะก่อนออกดอก :
- ทางใบ : ให้ฮอร์โมนไข่ไทเป 2 รอบ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ
- ทางราก : ให้น้ำสม่ำเสมอ พอหน้าดินชื้น ทุก 3 วัน

* ระยะติดฝักแล้ว :
- ทางใบ : ให้ “น้ำ 20 ล. + ไบโออิ 10 ซีซี. + ยูเรก้า 10 ซีซี.+ เหล็กคีเลต 1 ช้อนชา” 2 รอบ สลับด้วย แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน

- ทางราก : ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 21-7-14 +เพิ่มเลือด (1 ล.) 1 รอบ .... ให้น้ำสม่ำเสมอพอหน้าดินชื้นทุก 3 วัน

หมายเหตุ :
- ถั่วไร่ (เหลือง แดง ดำ เขียว งา....ถั่วแระ) ได้ธาตุเหล็กจะช่วยให้เมล็ดใหญ่ขึ้น .... ถ้าไม่ได้รับเลย ลูกซ้ำเอาเมล็ดทำพันธุ์ต่อ ต่อเรื่อยๆ เมล็ดจะเล็กลงๆ ๆๆ

- เก็บเกี่ยวแล้วไถกลบเศษซากลงดิน จะได้จุลินทรีย์ คีโตเมียม ไรโซเบียม ไมโคไรซ่า ที่มีอยู่ในรากต้นถั่ว นอกจากช่วยให้ต้นถั่วเจริญเติบโต สมบูรณ์ดี เมื่อเปลี่ยน เป็นปลูกพืชอื่นก็พลอยดีไปด้วย

* การเก็บเกี่ยว
- การเก็บเกี่ยวถั่วแระญี่ปุ่นทำโดยการตัดต้นถั่วในระยะที่ฝักไม่แก่และไม่อ่อนเกินไป ถ้าเก็บเร็วเกินไปเมล็ดในฝักยังไม่เติบโตเต็มที่ เปอร์เซ็นต์ฝักลีบมาก ได้ผลผลิตต่ำ แต่ถ้าเก็บเกี่ยวช้าเกินไปฝักจะออกสีเหลือง เมล็ดในฝักแข็ง รสไม่หวานตลาดไม่ต้องการ .... ปกติจะเริ่มเก็บเกี่ยวเมื่อฝักเต่งประมาณ 80% ซึ่งเป็นระยะเวลาประมาณ 30-35 วัน หลังจากดอกบานสะพรั่ง หรือ 60-65 วันหลังจากหยอดเมล็ด อย่างไรก็ดี ถั่วแระญี่ปุ่นแต่ละพันธุ์มีอายุเก็บเกี่ยวไม่เท่ากัน และอายุ การเก็บเกี่ยวยังแปรปรวนตามสภาพแวดล้อม และการปฏิบัติดูแลรักษาด้วย ถ้าปลูกถั่วแระญี่ปุ่น ในสภาพอากาศค่อนข้างเย็น ช่วงการบานของดอกตั้งแต่ดอกแรกถึงดอกสุดท้ายจะสั้นราวๆ 5-7 วัน แต่ถ้าปลูกในฤดูร้อนดอกจะทยอยบานไปเรื่อยๆ ซึ่งบางครั้งยาว นานกว่า 14 วัน ทำ ให้ฝักแก่ไม่พร้อมกัน จึงเป็นการยากที่จะกำหนดวันเก็บเกี่ยว ในด้านการดูแลรักษา ถ้าต้นถั่วมีอาการแคระแกร็นเนื่อง จากการขาดน้ำ ขาดการบำรุงปุ๋ยในระยะที่เหมาะสมก็จะทำ ให้อายุออกดอกล่าช้าออกไป และคุณภาพฝักลดลงด้วย

- การเก็บเกี่ยวควรเก็บเกี่ยวตอนเช้ามืด ไม่ควรเก็บเกี่ยวตอนกลางวันที่มีแดดจัด หลังจากตัดต้นถั่วแล้วต้องรีบนำเข้าร่มไม่ให้ถูกแดดโดยตรง แสงแดดและความร้อนเป็นปัจจัยสำคัญที่จะเร่งให้คุณภาพฝักทั้งภายนอกและภายในเสื่อมลง เช่น สีฝักเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ปริมาณนํ้าตาลในเมล็ดลดลง เป็นต้น

--------------------------------------------------------------


จาก : (091) 829-37xx
ข้อความ : ที่ 1 ไร่ น้ำดีตลอดปี อยากทำกะหล่ำปลีแจ๊คพ็อต ได้ไหมคะ....ขอบคุณค่ะ
ตอบ :
- จะทำกะหล่ำปลีแจ๊คพ็อตให้เก็บเกี่ยวได้ตรงช่วงราคาแพง...ต้องรู้ :
1. พันธุ์ที่ราคาแพง หรือตลาดนิยม
2. เดือนที่กะหล่ำปี ราคาแพง

3. คำนวนอายุจำนวนวันตั้งแต่ เตรียมเมล็ด +เตรียมกล้า +บำรุง ถึงเก็บเกี่ยว นับย้อนหลังแล้วลงมือปฏิบัติ

4. ปัจจัยพื้นฐาน “ดิน-น้ำ-แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล-สารอาหาร-สายพันธุ์-โรค” ที่เหมาะสมกับกะหล่ำปี

1. พันธุ์ : กะหล่ำปลีมีหลายพันธุ์ ทั้งรูปหัวกลม หัวแป้น รูปหัวใจ สีเขียว สีขาว สีม่วง ถ้าแบ่งตามอายุการเก็บเกี่ยว คือพันธุ์หนักมีอายุการเก็บเกี่ยว 90-120 วัน พันธุ์กลางอายุ 80-90 วัน และพันธุ์เบามีอายุ 60-70 วัน เมืองไทยพันธุ์เบาปลูกได้ผลดีเพราะไม่ต้องการอากาศหนาวมากนัก พันธุ์เบาที่ปลูกได้ผลดี คือ พันธุ์โคเปนเฮเก็น, พันธุ์เออร์ลี่ เจอซีเวคฟิลล์, พันธุ์เออร์เลียนา ... พันธุ์ไหนดี ถามแม่ค้าในตลาด

2. การเตรียมดิน : ไถตากดินประมาณ 7 วัน ตากดินให้แห้งใส่ปุ๋ยคอก ประมาณ 3-4 ตันต่อไร่ ไถพรวนคลุกเคล้าให้ทั่ว โดยการพรวน และชักร่องด้วยรถแทรคเตอร์ ขุดหลุมปลูกระยะ 30 x30 หรือ 40 x 40 ตามพันธุ์ที่ปลูกถ้าเป็นพันธุ์หนัก หัวใหญ่ ก็ปลูกห่าง ถ้าเป็นพันธุ์เบาหัวเล็กก็ปลูกถี่หน่อย

3. การเพาะกล้า : ทำการเพาะกล้าบนร่องที่มีการไถดิน ใส่ปุ๋ยคอก พรวนดิน ชักร่องให้หน้าดินเรียบ คลุกเมล็ดด้วยสารไอโพไดโอน หรือเมทาแลคซิล+คาร์โบซัลแฟน ชนิดคลุกเมล็ด หว่าน อย่าให้ถี่ หรือห่างมาก คลุมด้วยฟางข้าว รดน้ำให้สม่ำเสมอ หมั่นตรวจเรื่องโรค และแมลง รบกวน จนอายุประมาณ 30 วัน ก็ย้ายกล้าลงปลูกได้

4. วิธีการปลูก : เมื่อเตรียมขุดหลุมตามระยะที่ต้องการแล้ว รดน้ำให้ชุ่ม และก่อนถอนกล้ามาปลูกควรรดน้ำในแปลงกล้าไว้ก่อนประมาณ 30 นาที เพื่อให้กล้าชุ่มน้ำจะได้ไม่แห้งเหี่ยวง่าย และควรปลูกตอนเย็นหลังบ่าย 4 โมงเย็นแล้ว หลังปลูกควรรดน้ำให้ชุ่ม

5. การให้น้ำ : ควรให้น้ำด้วยระบบสปริงเกอร์ หรือรดน้ำแบบลากสายยางรดด้วยฝักบัว และควรให้อย่างสม่ำเสมอ จนกว่าจะเข้าปลี เมื่อเข้าปลีแล้วควรลดปริมาณให้น้ำให้น้อยลงหน่อย

6. การใส่ปุ๋ย : ควรใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 46-0-0 เมื่อายุ 15 วัน หลังปลูกอัตราประมาณ 1 ช้อนชาต่อหลุม หรือต่อต้น และเมื่ออายุ 30 วันใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 12-8-8 หรือใส่ปุ๋ยคอก 1 กำมือต่อต้น แล้วพรวนดินกลบ และควรพ่นสารอาหารเสริมทางใบด้วย เช่น โบรอน สังกะสี

7. โรคที่สำคัญ : ที่พบในการปลูกกะหล่ำปลี ได้แก่ โรคเน่า โรคใบจุด โรคใบไหม้ โรคไส้ดำ และโรคเน่าดำ แก้ไขด้วยการพ่นด้วยสารป้องกันกำจัด แมนโดเซป คาร์เบนดาซิม ไดเมทโทม็อบ และโบรอน สังกะสี

8. แมลงศัตรูที่สำคัญ : ได้แก่ ด้วงหมัดผัก หนอนใยผัก หนอนเจาะยอดกะหล่ำ หนอนชอนใบ หนอนกระทู้ผัก เพลี้ยอ่อนกะหล่ำ และหนอนคืบ ควรพ่นด้วยสารเคมี ไดโดรโตฟอส อะบาเม็กติน, B.T., โพรไดโอฟอส, โพรฟิโนฟอส,

9. การเก็บเกี่ยว : อายุการเก็บเกี่ยวขึ้นอยู่กับพันธุ์ที่ปลูกว่าพันธุ์หนักหรือพันธุ์เบา โดยหัวที่จะทำการเก็บเกี่ยวคือหัวที่แน่น และขนาดพอเหมาะ ตัดแต่งให้สวย บรรจุถุง หรือเข่ง รอส่งขายตลาด

ที่มา : กรมวิชาการเกษตร

**********************************************

@@ สูตรลุงคิม :
@@ เตรียมดิน เตรียมแปลง :
- ไถดะ ไถแปร ใส่ยิบซั่ม, ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, กระดูกป่น, ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ. แล้วไถพรวน รดด้วยน้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง (+เพิ่มส่วนผสมเลือด) 2 ล./ไร่ .... ไม่ต้องใส่ปุ๋ยเคมี เพราะในน้ำหมักฯ มีเพียงพอแล้ว

– เงินค่าปุ๋ยเคมี เอามาซื้อสารอาหารกลุ่ม อินทรีย์นำ เคมีเสริม ตามความเหมาะสมของถั่วเหลือง (ถั่วไร่) ไม่ใช่ประหยัดต้นทุนแต่พืชไร่อย่างถั่วเหลืองต้องการแบบนี้ นอกจากได้ผลผลิตเพิ่มแล้วยังส่งผลให้อนาคตดินดีอีกด้วย

@@ เตรียมเมล็ดพันธุ์ :
- แช่ใน “น้ำ + ไบโออิ (สังกะสี) + ยูเรก้า (ไคโตซาน) + แคลเซียม โบรอน (โบรอน) + ไรโซเบียม .... น่าจะๆได้อะไรต่อมิอะไรเหนือไรโซเบียม.เพียงอย่างเดียวเดี่ยวๆ

@@ บำรุง :
- ระยะต้นเล็ก ....ให้ไบโออิ ทางใบทุก 10 วัน ให้โชกๆ เหมือนเจตนาให้น้ำไปในตัว
– ระยะต้นโตแล้ว .... ทางใบ : ให้ไบโออิ + ยูเรก้า 412 (2 รอบ) + โมลิบดินั่ม สลับด้วยแคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7-10 วัน .... ทางราก : ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 (+เพิ่มเลือดหมัก) 2 ล. /ไร่ ให้ครั้งเดียว

-------------------------------------------------------------


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©