-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-สายตรง... ลิขสิทธิ์ : อินทรีย์นำ-เคมีเสริม ตามความเหมาะสม ..?..
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ข้าวหอมมะลิ 105
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ข้าวหอมมะลิ 105

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
Phinyo
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 25/01/2014
ตอบ: 59
ที่อยู่: นครสวรรค์

ตอบตอบ: 09/04/2014 12:17 am    ชื่อกระทู้: ข้าวหอมมะลิ 105 ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ผมอยากทราบว่าปลูกข้าวหอมมะลิ 105 ในแต่ละภาคทำให้ข้าวหอมมะลิ 105 ต่างกัน .... จริงแท้อย่างไร ?

จากความเข้าใจและมีคนพูด ภาคอีสาน ปลูกข้าวหอมมะลิ 105 คู่กับข้าวเหนียว ทำให้
ข้าวหอมมะลิ 105 มีความอ่อนนุ่มและกลิ่นหอมกว่าภาคกลาง เพราะภาคกลางปลูก
ข้าวหอมมะลิ 105 คู่กับข้าวแข็ง พวกชัยนาท พิษณุโลก (ผมว่าเอาข้าวแข็งผสมเสีย
มากกว่าธรรมชาติผสมเอง Laughing )

และถ้าเป็นจริงอย่างที่กล่าว กรณีพืชอื่นๆ จะเป็นไหมครับ อย่าง มะม่วงมันปลูกใกล้
มะม่วงเปรี้ยว (มะม่วงกินสุก) จะทำให้มะม่วงมัน มันเปรี้ยวหรือเปล่า เพราะเดี๋ยวนี้ซื้อมะ
ม่วงมันมากินก็เห็นมีแอบๆ เปรี้ยวอยู่ในตัวด้วยเลยสงสัย (หรือเป็นพันธุ์ของมะม่วงเองหว่า)

ปล.
ผมไม่มีความเข้าใจเรื่องเกษตรมากนัก แต่อยากจะทราบเท่านั้นเอง (ทดสอบใส่
โปรไฟล์ และลายเซ็นไปในตัว)



.
_________________

โปรแกรมPhotoscape(Free)รองรับภาษาไทย โปรแกรมตกแต่งภาพ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11559

ตอบตอบ: 09/04/2014 11:36 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.

SLOGAN "อินทรีย์ เคมีเสริมตามความเหมาะสม" เขียนถูกแต่ เว้นวรรคผิด ! ข้อความไม่สมบูรณ์ !

ที่ถูก ที่สมบูรณ์ ต้อง.... "อินทรีย์นำ เคมีเสริม ตามความเหมาะสม ...?..."


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11559

ตอบตอบ: 09/04/2014 11:41 am    ชื่อกระทู้: Re: ข้าวหอมมะลิ 105 ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

Phinyo บันทึก:


ผมอยากทราบว่าปลูกข้าวหอมมะลิ 105 ในแต่ละภาคทำให้ข้าวหอมมะลิ 105 ต่างกัน .... จริงแท้อย่างไร ?
COMMENT :
- ต่างกันแน่ถ้าปัจจัยพื้นฐาน ดิน-น้ำ-แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล-สารอาหาร-สายพันธุ์-โรค ต่างกัน แปลงไหนตรงตามความต้องการของต้นข้าว = ข้าวโต ให้ผลผลิต แล้วถ้าไม่ตรงกับความต้องการของต้นข่าวล่ะ .... ในคำถามมีคำตอบอยู่แล้วไม่ใช่เหรอ ?

- กำลังเกาะติดข้อมูล มะลิมะลิ ปลูกที่ลำพูน พิจิตร นครสวรรค์ กับปลูกที่ร้อยเอ็ด สุรินทร์ ศรีสะเกษ นั่นคือ หอมมะลิ หรือ ขาวมะลิ กันแน่


จากความเข้าใจและมีคนพูด ภาคอีสาน ปลูกข้าวหอมมะลิ 105 คู่กับข้าวเหนียว ทำให้
ข้าวหอมมะลิ 105 มีความอ่อนนุ่มและกลิ่นหอมกว่าภาคกลาง เพราะภาคกลางปลูก
ข้าวหอมมะลิ 105 คู่กับข้าวแข็ง พวกชัยนาท พิษณุโลก (ผมว่าเอาข้าวแข็งผสมเสีย
มากกว่าธรรมชาติผสมเอง Laughing )
COMMENT :
- เรื่องนี้ จริงก็ได้-ไม่จริงก็ได้ อยู่ที่คนพูด อยากให้เป็นอะไรก็พูดอันนั้น
- ข้าวเรื้อ ข้าวปน ข้าวปลอม คืออะไร อยู่ที่ไหน มายังไง .... ทุกคำถามมีคำตอบอยู่ในแปลงนานั่นแหละ
- อยู่ที่เรา อยากได้ข้าวพันธุ์อะไรก็ปลูกพันธุ์นั้นซี่ ว่าแต่ รู้จักพันธุ์แท้ๆหรือเปล่า


และถ้าเป็นจริงอย่างที่กล่าว กรณีพืชอื่นๆ จะเป็นไหมครับ อย่าง มะม่วงมันปลูกใกล้
มะม่วงเปรี้ยว (มะม่วงกินสุก) จะทำให้มะม่วงมัน มันเปรี้ยวหรือเปล่า เพราะเดี๋ยวนี้ซื้อมะ
ม่วงมันมากินก็เห็นมีแอบๆ เปรี้ยวอยู่ในตัวด้วยเลยสงสัย (หรือเป็นพันธุ์ของมะม่วงเองหว่า)
COMMENT :
- หลักธรรมชาติ มนุษย์-สัตว์-พืช ผสมกันเองจะเกิดอาการ "สายพันธุ์ด้อย หรือ ด้อยทางสายพันธุ์" เพราะฉนั้นต้องผสมข้าม ข้ามดอก ข้ามต้น ข้ามได้ดีทั้งนั้น

- สังเกตุไหม (เคยอ่านไหม ในเว้บนี้นี่แหละ) บอกว่า พืชทุกชนิด ในดอกเดียวกันหรือต้นเดียวกัน เกสรตัวผู้เกิดก่อนเกสรตัวเมีย .... เกสรตัวผู้เกิดก่อนแล้วไปผสมกับเกสรตัวเมียดอกอื่น นี่คือข้ามดอก หรือผสมกับเกสรตัวเมียต้นอื่น นี่คือข้ามต้น

- อยากให้มะม่วงติดดีๆ ปลูกสลับแถวสลับพันธุ์ แถวนี้เขียวเสวย แถวนี้น้ำดอกไม้ เปิดโอกาศให้เขียวเสวยกับน้ำดอกไม้ผสมกัน ลูกที่ออกมาจะเป็นพันธุ์ตามเกสรตัวเมีย

- เรื่อง สี/กลิ่น/รส/ขนาด ไม่ได้เกี่ยวกับดอกต่างสายพันธุ์ผสมกัน แต่เกี่ยวกับ "การบำรุง" ต่างหาก .... เขียวเสวย มะม่วงมัน ลองให้ N มากๆ ทั้งทางใบทางราก ดูซิจะเปรี้ยวหรือมัน .... มะม่วงสุก ถ้าตอนดิบเปรี้ยวมาก เมื่อสุกแล้วจะหวานจัด เพราะอะไร

- คนที่เป็นพี่น้องกัน แต่งงานกัน ลูกออกมาเป็นยังไง.....
- สัตว์พ่อแม่เดียวกัน ผสมพันธุ์กัน ลูกออกมาเป็นยังไง....

***** รู้จักคำว่า "เลือดชิด" ไหม ?


ปล.
ผมไม่มีความเข้าใจเรื่องเกษตรมากนัก แต่อยากจะทราบเท่านั้นเอง (ทดสอบใส่
โปรไฟล์ และลายเซ็นไปในตัว)
COMMENT :
- ตราบใดที่อ่านหนังสือออก อยากรู้เรื่องอะไรก็ "อ่าน" หนังสือเรื่องนั้นซี่
- ไม่ได้เรียนสาขาวิชาเกษตรมาโดยตรง แต่อ่านเรื่องเกี่ยวกับเกษตร จะมีความรู้เรื่องเกษตรได้ไหม

- (เล่าซ้ำ รอบ 221) ..... ลุงคิมไม่ได้เรียนเกษตร เรียนจบ ม.6 สมัยเก่า เท่ากับ ม.3 ปัจจุบัน ....จบแล้วเข้าโรงเรียนทหาร เรียนวิชาฆ่าคน จบโรงเรียนทหารออกรบเลย ศึกสุดท้ายคือ "ศึกร่มเกล้า" เสร็จศึกวางปืนมาจับจอบ วันนี้ พูด-เขียน-ทำ ได้ เพราะอ่านหนังสือเกษตรนี่แหละ .... อ่าน อ่าน อ่าน อ่านเข้าไป อ่านให้มันตายไปเลย

- อ่านแล้ว คิด/วิเคราะห์/เปรียบเทียบ ค้นหาคำตอบ ใช่/ไม่ใช่ ออกมาให้ได้

-"คนไทยอ่านหนังสือปีละ 5 เล่ม คนสิงค์โปรอ่านหนังสือปีละ 50 เล่ม เวียดนามอ่านหนังสือปีละ 60 เล่ม ญี่ปุ่นอ่านหนังสือปีละ 100 เล่ม .... หมายความว่าไง

- อย่าใส่ใจกับตัวเลขงานวิจัย เพราะ ใคร/ชาติไหน วิจัยไม่รู้ แต่ให้ดูตัวเอง เมื่อสมัยเรียนในโรงเรียน มหาวิทยาลัย อ่านแต่หนังสือเรียนในหลักสูตร หนังสือนอกหลักสูตรทั้งที่เป็นวิชาเดียวกัน ไม่อ่าน .... จบจากโรงเรียน มหาวิยาลัยมาแล้ว ถามตัวเอง อ่านหนังสือกี่หน้า กี่เล่ม....

- คนไม่ได้เรียน คนไม่ได้อ่าน ย่อมไม่มี "ข้อมูล" เมื่อไม่มีข้อมูลแล้วจะเอาอะไรมาวางแผน ทำอะไรโดยไม่มีการวางแผนแล้วจะสำเร็จได้ไง....

- คนไทยไม่ส่งเสริมตัวเอง ก็ไม่รู้เหมือนกันว่า รอให้ใครมาส่งเสริม
- อ้างคำเดียวว่า "เรียนมาน้อย-เรียนมาต่ำ-เรียนมาไม่ตรงสาขา" แต่ไม่อ่านหนังสือ ผลก็คือ "ไมมีความรู้" อยู่นั่นแหละ.....ว่ามั้ย








เกร็ดเล็กๆ ของเกร็ดความรู้เรื่องข้าวหอมมะลิ :

*** สารหอมระเหยที่มีในข้าวหอมมะลิชื่อว่า 2-Acetyl-1-Pyrroline (2AP)

**** ยีนที่ควบคุมความหอมในข้าวดอกหอมมะลิ 105 ตั้งชื่อว่า โอเอส 2 เอพี (Os2AP) จากการศึกษาโครงสร้างและการทำงานของยีนพบว่า ในข้าวหอมยีนดังกล่าว มีความแตกต่างไปจากยีนเดียวกันที่พบในข้าวที่ไม่มีกลิ่น


**** รศ.ดร.อภิชาติ เผยต่อว่า การถอดรหัสพันธุกรรมของข้าวขาวดอกมะลิ 105 โดยพบยีนควบคุมความหอมในข้าวที่มีความโดดเด่น คือมีกลิ่นหอมคล้ายใบเตย หรือกลิ่นข้าวโพดคั่ว โดยสารที่ทำให้เกิดความหอมในต้นและเมล็ดข้าว เรียกว่า 2 AP หรือ CS 2 AP ซึ่งเป็นสารที่ยังไม่เคยมีผู้ใดค้นพบมาก่อน โดยกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ไทยชุดนี้ ได้ค้นพบยีนความหอมเป็นครั้งแรกในเดือนสิงหาคม 2547 ซึ่งได้ยื่นจดสิทธิบัตรและได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการจากสำนักงานสิทธิ บัตร และเครื่องหมายการค้าแห่งสหรัฐอเมริกา เมื่อวันจันทร์ที่ 15 มกราคม 2551 ที่ผ่านมา

“การค้นพบยีนความหอมในข้าวนี้จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทย เพราะทำให้เข้าใจสิ่งที่เราไม่เข้าใจมาก่อนว่าทำไมปลูกข้าวในสภาพนี้ถึงไม่หอม เราประสบปัญหานี้มาตลอด การวิจัยครั้งนี้เราจะได้รู้ว่ายีนตัวนี้มันทำงานตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมที่ เครียด เช่น อากาศเย็น ดินเค็มมาก ความแห้งแล้ง ยีนนี้ก็จะทำงานมากขึ้น ถ้าควบคุมการทำงานตรงนี้ได้ก็ทำให้ข้าวมีกลิ่นหอมมากขึ้น”

หัวหน้าทีมวิจัยคนเดิมยังระบุด้วยว่า เทคโนโยลีการควบคุมการทำงานของยีนควบคุมความหอม CS 2 AP นี้ สามารถนำไปใช้ปรับปรุงข้าวที่ปราศจากกลิ่นหอมสายพันธุ์อื่นๆ ได้ รวมถึงสามารถนำยีนตัวนี้ไปใช้ผลิตสารหอมกับพืชอื่นๆ ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ และมีกลไกการทำงานของยีนที่คล้ายคลึงกันกับข้าวได้


*** ข้าวแจ๊สแมน เป็นข้าวหอมที่ปรับปรุงและคัดเลือกพันธุ์โดยนักวิจัยสหรัฐฯ เชื้อสายจีน ตั้งแต่ปี 2540 จากข้าวหอมของจีนผสมกับข้าวเมล็ดยาวของรัฐอาร์คันซอ (Arkansas) ในสหรัฐฯ โดยใช้ระยะเวลา 13 ปี จนได้ข้าวที่มีคุณลักษณะคล้ายกับข้าวขาวดอกมะลิของไทยมาก เช่น มีเปอร์เซ็นต์อะไมโลสต่ำใกล้เคียงกับข้าวขาวดอกมะลิ มีคุณสมบัติการหุงต้มไม่แตกต่างกัน ทั้งความหอม, หวาน, นุ่ม และเหนียว มีกลิ่นหอมแรง โดยมีค่าความหอมถึง 597 ppb (หนึ่งในพันล้านส่วน) เทียบเท่ากับข้าวขาวดอกมะลิที่ปลูกในทุ่งกุลาร้องไห้ที่มีค่าความหอมราว 525 ppb

ข้าวแจ๊สแมนยังให้ผลผลิตมากถึง 1.2 ตันต่อไร่ ขณะที่ข้าวหอมมะลิของไทยให้ผลผลิตประมาณ 400-700 กิโลกรัมต่อไร่ เท่านั้น


**** หลังจากการสนับสนุนให้ เกษตรกรปลูก “ข้าวปิ่นแก้ว” แล้ว ประเทศไทยก็เริ่มสนับสนุนส่งเสริมให้ปลูก ข้าวขาวดอกมะลิ โดยที่ข้าวชนิดนี้มีบันทึกไว้ว่าได้มีการปลูกกันที่ อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี และจากนั้นในปี 2488 นายจรูญ ตัณฑวุฒิ แห่งแหลมประดู่ อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี ได้นำมาปลูกที่ อ.บางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา พอหลังช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อปี 2493-94 กระทรวงเกษตร มีโครงการปรับปรุงพันธุ์ข้าว ได้ให้ นายสุนทร สีหะเนิน เกษตรอำเภอบางคล้า ไปสุ่มตัวอย่างเก็บเกี่ยวข้าวจากที่นาของชาวนาใน อ.บางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา รวบรวมข้าวพันธุ์นี้จํานวน 199 รวง ไปทดลองปลูกที่สถานีทดลองข้าวโคกสํ าโรง จังหวัดลพบุรี โดย เปรียบเทียบข้าวพันธุ์นี้ กับข้าวในท้ องถิ่นทางภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แล้ว ปรากฏว่าได้ ข้าวจากรวงที่ 105 เป็นพันธุ์ที่ดีที่สุด โดยเฉพาะในเรื่องของความหอมและคุณภาพของเมล็ด

ต่อมากองบํารุงพันธุ์ กรมการข้าว กระทรวงเกษตร คัดเลือกพันธุ์บริสุทธิ์ได้ คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ข้าว จึงให้ใช้ ขยายพันธุ์ เมื่อปั 2502 มีการนำมาส่งเสริมให้เกษตรกรปลูก โดยใช้ชื่ออย่างเป็นทางการว่า 'ข้าวขาวดอกมะลิ 105' แล้วจนกระทั่งทุกวันนี้เกษตรกรที่ อํ าเภอบางคล้าและ กิ่งอําเภอราชสาสน์ จังหวัดฉะเชิงเทรา ก็ปลูกขาวหอมมะลิมานานกว่า 50 ปั โดยไม่เปลี่ยนเมล็ดพันธุ์เลย ก็ยังมีความหอมอยู่ โดยจัดเป็นข้าวเจ้าไวต่ อแสง ปลูกได้เฉพาะฤดูนาปั เท่านั้น ลํ าต้นสีสูงประมาณ 138-150 เซนติเมตร ปลูกได้ใน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และภาคกลางบางพื้นที่ ต้นข้าวอ่อนล้ มง่ายเมื่อตอนรวงข้าวสุกแก่ อายุเก็บเกี่ยวประมาณวันที่ 20 พฤศจิกายน ผลผลิตข ้วเปลือกค่อนข้ างตํ่ าเฉลี่ยประมาณ 363 กิโลกรัมต่อไร่ เมล็ดข้าวกล้ องยาว 7.5 มิลลิเมตร กว้ าง 2.1 มิลลิเมตร หนา 1.8 มิลลิเมตร เมล็ดข้ าวสารใส แข็งแกร่งได้มาตรฐาน คุณภาพหุงต้มมีกลิ่นหอมและอ่อนนุ่ม

เมื่อปี พ.ศ. 2508 มีการเอาเมล็ดพันธุ์ข้าวดอกมะลิ 105 ไปอาบรังสีแกมม่า ที่สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ แห่งประเทศไทย เพื่อชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์ในพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 แล้วเอาเมล็ดที่ได้อาบรังสีนำไปปลูกคัดเลือกที่สถานีทดลองข้าวต่าง ๆ ในภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ จนได้สายพันธุ์ดีคือ KDML( ข้าวดอกมะลิ )105’ 65 G 1 U – 45 ที่ให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 เดิม แล้วตั้งชื่อข้าวพันธ์ใหม่ว่า ข้าวพันธุ์ กข. 15 ( กข ย่อมาจาก กรมการข้าว) กระทรวงเกษตร ได้พิจารณาให้ออกขยายพันธุ์นี้ เมื่อปี 2521 เพื่อแก้ปัญหาการปลูกข้าว ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งมีการทำนาโดยอาศัยน้ำฝนและมักจะประสบปัญหาแห้งแล้งในฤดูการทำนาปี ข้าวพันธุ์ กข.15 นี้ เป็นพันธุ์ข้าวนาปี มีความทนแล้งดี ให้ผลผลิตสูงกว่าข้าวขาวดอกมะลิ 105 เก็บเกี่ยวไวกว่าพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ประมาณ 10 วันมีอายุการเก็บเกี่ยวประมาณ วันที่ 12 พฤศจิกายน เมล็ดข้าวกล้องยาว ใช้ทำเป็นข้าวสารชั้น 1 ได้ ผลผลิตประมาณ 556 กิโลกรัมต่อไร่ แต่ข้อเสีย คือ เป็นข้าวไวต่อแสง เหมาะที่จะปลูกได้เฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย

แต่ชาวนาในเขตชลประทานภาคกลางส่วนใหญ่ที่ไม่ขาดน้ำ ไม่นิยมปลูกข้าวหอมมะลิ ที่มาจากพันธุ์ข้าวดอกมะลิ 105 และ กข 15 ทั้งนี้เพราะเมื่อคิดคำนวณถึงผลผลิตรวมต่อไร่แล้ว ยังได้น้อย ทำให้ผลตอบแทนที่ได้ น้อยกว่าการปลูกข้าวชนิดอื่น ทางกระทรวงเกษตรจึงพยายามหาข้าวหอมพันธุ์ใหม่ ให้ชาวนาในภาคกลางและภาคอื่น ที่ไม่ขาดน้ำมาปลูกแทน ข้าวหอมดอกมะลิ 105 และ กข 15

สถานีที่ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานีได้ผสมพันธุ์คัดเลือกข้าวพันธุ์ผสมช่วงพ.ศ. 2533 – 2536 จนได้สายพันธุ์ PTT90071 – 93 – 8 –1 – 1 ปลูกศึกษาพันธุ์และเปรียบเทียบผลผลิตจนถึง พ.ศ. 2542ให้ชื่อว่า “พันธุ์ปทุมธานี 1” เป็นข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง ปลูกได้ทั้งฤดูนาปี และฤดูนาปรัง เป็นข้าวหอมที่มีคุณภาพในการหุงต้นและรับประทานคล้ายข้าวขาวดอกมะลิ 105 ให้ผลผลิตค่อนข้างสูง ประมาณ 700 – 800 กก./ไร่ ปลูกในพื้นที่นาชลประทานได้ผลดี มีอายุนับจากวันตกกล้าถึงวันเก็บเกี่ยว 120 วัน

สถานีทดลองข้าวสุพรรณบุรีได้ดำเนินการผสมพันธุ์ คัดเลือกพันธุ์ข้าวตั้งแต่ พ.ศ. 2535


*** 2538 โดยการคัดเลือกเน้นความไวต่อช่วงแสงและความหอมของเมล็ด ได้พันธุ์ข้าวชื่อ ข้าวเจ้าหอมสุพรรณบุรีจากนั้นได้ปลูกศึกษาพันธุ์และเปรียบเทียบผลผลิตภายในสถานีฯ พร้อมทั้งทำการวิเคราะห์คุณภาพเมล็ดทางกายภาพและเคมี ต่อมาใปี พ.ศ. 2539 ได้ทำการทดลองปลูกเปรียบเทียบผลผลิตระหว่างสถานี ที่ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี สถานีทดลองข้าวคลองหลวง สถานีทดลองข้าวบางเขน สถานีทดลองข้าวสุพรรณบุรี สถานีทดลองข้าวราชบุรีและปลูกสาธิตในแปลงเกษตรกร พบว่าสายพันธุ์ข้าวนี้ให้ผลผลิตสูงกว่าข้าวขาวดอกมะลิ 105 คือผลผลิตที่สถานีทดลองข้าวสุพรรณบุรีในฤดูนาปีได้ประมาณ 523 กิโลกรัมต่อไร่ และในฤดูนาปรับปี พ.ศ. 2542 ได้ผลผลิต 647 กิโลกรัมต่อไร่ ส่วนการปลูกทดสอบผลผลิตในนาเกษตรกรชลประทาน โดยวิธีหว่านน้ำตาม ในฤดูฝนปี พ.ศ. 2539 ที่จังหวัดอ่างทอง กาญจนบุรี สุพรรณบุรี พบว่าให้ผลผลิต เฉลี่ย 639 กิโลกรัมต่อไร่ เป็นข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง ปลูกได้ตลอดปี มีอายุ 122 – 121 วัน

ทั้งนี้เนื่องจากพันธุ์ข้าวของไทย แม้จะมีรูปร่างใกล้เคียงกัน แต่มีคุณภาพเมื่อเป็นข้าวสุกแตกต่างกัน ความแตกต่างด้านคุณภาพข้าวสุกนี้ เกิดขึ้นจากองค์ประกอบของแป้งในเมล็ดข้าว ที่แบ่งออกเป็น 2 ชนิดปนกันอยู่ คือ อมิโลเปคติน และ อมิโลส (amylopectin and amylose) แป้งอมิโลเปคตินเป็นส่วนที่ทำให้ข้าวสุกเหนียวและนุ่ม ในขณะที่แป้งอมิโลสจะลดความเหนียวและความนุ่มของข้าว ทำให้ข้าวสุกร่วนและแข็งมากขึ้น การจัดแบ่งชนิดข้าวตามปริมาณอมิโลส สามารถแบ่งเป็น 4 ประเภท ตามตาราง ดังนี้



*** หนุน 3 จังหวัดภาคเหนือ เร่งหันปลูกข้าวหอมมะลิอินทรีย์ เจาะตลาดบน อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศจัดอบรมชาวนา 3 จังหวัดภาคเหนือ ส่งเสริมปลูกข้าวหอมมะลิอินทรีย์ยกระดับข้าวหอมมะลิไทย หวังเจาะตลาดระดับบน

นายมนัส สร้อยพลอย อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กล่าวในงานสัมมนามาตรฐานข้าวหอมมะลิไทยภายใต้เครื่องหมายรับรองและสิ่งบ่งชี้ทางภูมิภาค การรับรองการตลาดข้าวหอมมะลิอินทรีย์ จัดโดยสำนักงานการค้าต่างประเทศ เขต 1 (เชียงใหม่) ที่โรงแรมเชียงใหม่ฮิลล์ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ว่า ถือเป็นการยกระดับมาตรฐานข้าวหอมมะลิไทยให้สูงขึ้น เนื่องจากปัจจุบันข้าวหอมมะลิมีการปลอมปนและส่งออกไปขายทั่วโลก

ด้วยเหตุนี้ จึงต้องส่งเสริมพื้นที่ปลูกข้าวหอมมะลิเดิมใน 19 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ 3 จังหวัดภาคเหนือ คือ เชียงราย พะเยา และเชียงใหม่ ให้มีความรู้ความเข้าใจระบบการผลิต การรับรอง การตลาด เพื่อสร้างภาพลักษณ์และมูลค่าเพิ่มของข้าวหอมมะลิอินทรีย์ โดยตั้งเป้าแต่ละจังหวัดต้องมีแหล่งปลูกข้าวหอมมะลิอินทรีย์ 1 แห่ง และในปี 2554 จะกำหนดมาตรฐานขึ้นใหม่เป็น 95% เพื่อเจาะตลาดลูกค้าระดับบน โดยเฉพาะฮ่องกงที่นำเข้าปีละกว่า 3 แสนตัน

อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่าการปลูกข้าวหอมมะลิธรรมดาและข้าวหอมมะลิอินทรีย์มีข้อจำกัดเรื่องระยะเวลาในการปลูกที่สามารถทำได้เพียงปีละครั้งและให้ผลผลิตไม่มากนัก ภาคอีสานผลิตได้ 300-400 กิโลกรัมต่อไร่ เชียงใหม่ให้ผลผลิตไม่เกิน 600 กิโลกรัมต่อไร่ เท่านั้น และมีราคาสูงถึงตันละ 3 หมื่นบาท จำเป็นต้องมีการพัฒนาปรับปรุงและเพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้สูงขึ้น ส่วนภาพรวมข้าวหอมมะลิปีที่ผ่านมามีผลผลิต 2.5 ล้านตัน มูลค่ากว่า 6 หมื่นล้านบาท จากข้าวทั่วประเทศที่ผลิตได้ปีละ 8.5 ล้านตัน สำหรับปี 2553 คาดมีผลผลิตรวม 9 ล้านตัน ส่งออกไปแล้วกว่า 6 ล้านตัน




.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 09/04/2014 5:24 pm, แก้ไขทั้งหมด 10 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Phinyo
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 25/01/2014
ตอบ: 59
ที่อยู่: นครสวรรค์

ตอบตอบ: 09/04/2014 11:48 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

คอมเม้น อ่าน 2 รอบเลยครับ ขอบคุณที่ให้คำตอบครับ เห็นลุงตอบกลับคอมเม้นว่างๆไว้ (คิดในใจสงสัยจะยาวเอาซะจริง)

- อยู่ที่เรา อยากได้ข้าวพันธุ์อะไรก็ปลูกพันธุ์นั้นซี่ ว่าแต่ รู้จักพันธุ์แท้ๆหรือเปล่า
ตอบกลับ ก็ต้องบอกว่าไม่รู้เลยครับอาศัยศึกษาเอาทางเน็ต ผมเกิดมาวิ่งเล่นบนกระสอบข้าวสาร แต่ไม่มีความรู้เรื่องข้าวเอาเสียเลย นึกแล้วก็เศร้าใจ

***** รู้จักคำว่า "เลือดชิด" ไหม ?
ตอบกลับ พอเข้าใจครับ ถ้าเป็นคน ก็บอกว่าแต่งงานกันระหว่างพี่น้อง ลูกออกมาจะมียีนด้อยมาด้วย ประมาณนี้

- คนไม่ได้เรียน คนไม่ได้อ่าน ย่อมไม่มี "ข้อมูล" เมื่อไม่มีข้อมูลแล้วจะเอาอะไรมาวางแผน ทำอะไรโดยไม่มีการวางแผนแล้วจะสำเร็จได้ไง....
- คนไทยไม่ส่งเสริมตัวเอง ก็ไม่รู้เหมือนกันว่า รอให้ใครมาส่งเสริม
- อ้างคำเดียวว่า "เรียนมาน้อย-เรียนมาต่ำ-เรียนมาไม่ตรงสาขา" แต่ไม่อ่านหนังสือ ผลก็คือ "ไมมีความรู้" อยู่นั่นแหละ.....ว่ามั้ย
ตอบกลับ ช่วงคอมเม้นท้ายๆ นี่รู้สึกเหมือนถูกหยิกแกมหยอกเลย รู้สึกสมองฟู่ขึ้นเยอะเลยครับ ขอบคุณครับ

_________________

โปรแกรมPhotoscape(Free)รองรับภาษาไทย โปรแกรมตกแต่งภาพ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©