-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร 19 JAN มะละกอ, ส้มเขียวหวาน, มะระขี้นก, มะม่วงแรด, ผักไฮโดร, ทับทิม, จำปี, หมอนทอง, มะม่วง, หว้า, ผักต่อฤดูกาล, ฟ้าแลบได้ N, มะม่วง
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - พันธุ์ข้าว IRRI และข้าวพื้นเมือง
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

พันธุ์ข้าว IRRI และข้าวพื้นเมือง

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
somchai
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 21/07/2009
ตอบ: 1290

ตอบตอบ: 19/01/2014 10:17 am    ชื่อกระทู้: พันธุ์ข้าว IRRI และข้าวพื้นเมือง ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.






IR8

เป็นพันธุ์ข้าวของสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติที่เอาออกมาส่งเสริมพร้อมๆกับ IR5 เป็นข้าวต้นเตี้ยพันธุ์แรกที่ดังที่สุด อาจจะพูดได้ว่าเพราะข้าว IR8 นี้เองทำให้พลิกโฉมของการปลูกข้าวของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำหรับประเทศไทยรูปแบบของพันธุ์ข้าวIR8 เราได้สัมผัสมานานแล้ว เพราะประเทศไทยได้ร่วมมือกับ FAO ในการผสมพันธุ์ข้าวไทยกับข้าวญี่ปุ่น(1950) แต่เราก็ไม่เคยนึกคิดเลยว่ารูปแบบข้าวต้นเตี้ยอย่างข้าวญี่ปุ่นและข้าวIR8 จะให้ผลผลิตสูง และมีควมสำคัญในการปลูกข้าวในปัจจุบัน

IR8 เป็นข้าวต้นเตี้ยผลผลิตสูง เมล็ดค่อนข้างอ้วน มีท้องไข่ในเมล็ดมาก ต้นใบค่อนข้างใหญ่ รวงค่อนข้างใหญ่ แตกกอดี ต้นแผ่เล็กน้อย มีความต้านทานโรคต่างๆไม่ดี เหมาะที่จะใช้เป็นพ่อพันธุ์หรือแม่ในการผสมพันธุ์ เพื่อเอาลักษณะผลผลิตสูง แต่เมื่อเอา IR8 แล้วลูกผสมชั่วที่ 1 ควรจะเอาผสมกับพันธุ์ข้าวที่ต้านที่มีความต้านทานโรคแมลงอีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้ได้ลักษณะผลผลิตสูงจากข้าว IR8 ได้เมล็ดสวยจากพันธุ์ข้าวไทยที่ผสมกับ IR8 ครั้งแรก และให้ได้ความต้านทานโรค จากพันธุ์ข้าวที่เอามาผสมกับลูกผสมชั่วที่ 1



.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย somchai เมื่อ 22/01/2014 8:02 am, แก้ไขทั้งหมด 5 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
somchai
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 21/07/2009
ตอบ: 1290

ตอบตอบ: 19/01/2014 10:18 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

IR20

พันธุ์ข้าวที่ต้านทานหนอนกอดีที่สุด มีต้นและใบเล็ก เมล็ดเล็กใส สีทำข้าว 5% หรือ 100% ไม่ได้ แตกกอดี เมื่อเมล็ดแก่ต้นมักล้ม เมื่อเอามาผสมกับพันธุ์ข้าวต่างๆจะให้ลูกออกมาไม่ดีคือต้นเล็ก ใบเล็ก เมล็ดเล็ก ต้นล้มง่าย ต้นที่มีลักษณะไปทาง IR20 จะมีความต้านทานหนอนกอดี

แต่ลักษณะอื่นๆไม่ดีจึงไม่สามารถคัดพันธุ์ข้าวที่มีความต้านทานหนอนกอได้ เพราะต้นที่ต้านทานหนอนกอเมล็ดจะเล็กไม่ได้มาตรฐาน


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
somchai
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 21/07/2009
ตอบ: 1290

ตอบตอบ: 19/01/2014 10:19 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

พันธุ์ข้าว IR 22

เป็นพันธุ์ข้าวที่เมื่อเอาไปผสมจะให้ต้นลูกต่างๆออกมาดี มีลักษณะคล้อยไปทาง IR22 ซึ่งมีลักษณะรูปแบบต้นที่ดี ลำต้นตรง ต้นใบ ขนาดปานกลาง แตกกอดี เมล็ดเล็กยาว ใส เลื่อมมัน ไม่มีท้องไข่ ความต้านทานโรคแมลงต่างๆไม่ดี ยกเว้นโรคขอบใบแห้งมีความต้านทานดี

ดังนั้น ถ้าจะเอาพันธุ์ข้าว IR22 ไปผสมพันธุ์ ควรเอาไปผสมกับพันธุ์ข้าวที่มีความต้านทานโรคแมลงต่างๆดีเช่นสุพรรณ1 เพื่อให้ได้ข้าวมีอายุสั้นลง เมล็ดสวย มีความต้านทานโรคแมลงและมีผลผลิตสูง


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
somchai
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 21/07/2009
ตอบ: 1290

ตอบตอบ: 19/01/2014 10:20 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

พันธุ์ข้าว IR 24

เป็นสายพันธุ์ข้าวหนึ่งของ IR661 มีลักษณะต่างๆเหมือนกับ IR661 แต่มีเมล็ดเล็ก ป้อม ใบค่อนข้างใหญ่ แต่คุณภาพหุงต้มที่ได้ข้าวนุ่มเหนียวเพราะมีอมัยโลสต่ำเหมือนกับพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 หรือ กข.15 เพื่อให้ได้ข้าวหอมต้นเตี้ยมีคุณาพหุงต้มนุ่มเหนียวและหอม ซึ่งน่าจะมีโอกาศดีกว่าเอาผสมกับIR อื่นๆที่มีคุณภาพหุงต้มเป็นข้าวแข็ง


.


กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
somchai
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 21/07/2009
ตอบ: 1290

ตอบตอบ: 19/01/2014 10:24 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

พันธุ์ข้าวเหนียวดำ

เป็นพันธุ์ข้าวที่มีพันธุ์มากพันธุ์หนึ่ง เราไม่ทราบว่าข้าวเหนียวดำที่เอามาทำน้ำกระทิเผือก ทำข้าวเหนียวเปียก หรือทำขนมเทียน เป็นพันธุ์เดียวกันหรือเปล่า พันธุ์ข้าวเหนียวดำอาจจะมีคุณสมบัติแตกต่างไปจากพันธุ์ข้าวเหนียวขาวอยู่บ้าง โดยเฉพาะกลิ่น ซึ่งเป็นกลิ่นที่แตกต่างไปจากข้าวเหนียวสีขาว สีของข้าวเหนียวดำจะออกสีม่วงจัด พันธุ์ที่ปลูกก็มีลักษณะต่างๆแตกต่างกันไป

พันธุ์ที่ปลูกในภาคกลางพันธุ์หนึ่งเป็นพันธ์ข้าวนาปีต้นสูง ต้นใบ ดอก สีม่วงจัด มีเมล็ดเรียวยาว ต้นใบ ค่อนข้างใหญ่ ใบยาว แตกกอ ค่อนข้างดี เมล็ดข้าวกล้องสีม่วงจัด อายุเก็บเกี่ยวู้เขียนจำไม่ได้ แต่คาดคะเนว่ามีระดับเดียวกับข้าวหอมมะลิ ข้าวเหนียวดำเมื่อเอาไปทำกระแช่ จะได้น้ำกระแช่ออกสีม่วง ชมพู สวยมาก เมื่อก่อนผู้เขียนเห็นมีวางขายหลายเจ้า อยู่ข้างถนนงามวงศ์วานตรงสี่แยก

ข้าวเหนียวดำที่ปลูกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีหลายพันธุ์ ชาวนาในภาคนั้นเรียกว่าข้าวก่ำ มีทั้งต้นออกสีม่วงและสีขาว เมล็ดข้าวเปลือกมีทั้งเมล็ดเปลือกม่วงและเปลือกขาว พวกที่เมล็ดเปลือกขาวแต่ข้าวกล้องจะมีสีม่วง แทบทุกพันธุ์เป็นพันธุ์ข้าวเบา เมล็ดค่อนข้างเล็ก ป้อมหรือเล็กยาว แต่สั้นและเล็กกว่าเมล็ดข้าวเหนียวดำในภาคกลาง มีผู้เก็บรวบรวมพันธุ์เหล่านี้มาศึกษา แต่ไม่ได้ลงลึกหรือมีวัตุประสงค์แน่นอน และไม่ได้เขียนพิมพ์ลงในหนังสือ จึงยังทำให้ไม่ทราบข้อมูลกับพันธุ์เหล่านี้มาก

วิธีปรับปรุงพันธุ์ง่ายอาจใช้เวลา 2-3 ปี ปรับปรุงพันธุ์แบบคัดพันธุ์บริสุทธิ์ โดยปลูกรวงต่อแถว แล้วเลือกแถวดีที่สุดออกมาขยายพันธุ์หรือปลูกคัดพันธุ์รวมโดยปักดำจับละต้นหรือหว่านห่างๆ ขณะข้าวเจริญเติบโตให้ตัดข้าวปน ข้าวเรื้อ ข้าวกลายพันธุ์ 3 ระยะ คือ แตกกอ ออกดอก และก่อนเก็บเกี่ยว ข้าวที่เหลือให้เกี่ยวเมล็ดรวมกัน ก็จะได้เมล็ดพันธุ์ดี


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
somchai
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 21/07/2009
ตอบ: 1290

ตอบตอบ: 19/01/2014 10:32 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ข้าวหอมสุพรรณ ( SPR 98111-17-2-2 )

เป็นความสำเร็จในการปรับปรุงพันธุ์ข้าวหอมของนายเดชา ตุนา นักวิชาการสถานีทดลองข้าวสุพรรณบุรีและคณะ ได้รับการรับรองพันธุ์เมื่อ เดือนตุลาคม 2540

จากปริมาณการส่งข้าวหอมที่เพิ่มมากขึ้นทุกปี แสดงว่าให้เห็นว่าข้าวคุณภาพของไทย มีศักยภาพในด้านการแข่งขันในตลาดโลกค่อนข้างสูง ประกอบกับภาวะค้าข้าวถุงในประเทศได้ยืนยันความนิยมในการบริโภคข้าวหอมของคนไทยเพิ่มมากขึ้น ซึ่งทางราชการได้ตระหนักถึงความสำคัญในการผลิตข้าวหอมให้มีปริมาณสูงขึ้น เพื่อสนองความต้องการของตลาดทั้งภายในและต่างประเทศ ทั้งนี้ได้สนับสนุนการปรับปรุงพันธุ์ข้าวหอมที่มีคุณภาพของเมล็ดเหมือนข้าวขาวดอกมะลิ 105 หรือ กข.15 แต่ให้เป็นพันธุ์ข้าวที่ไม่ไวต่อช่วงแสง สามารถปลูกได้ดีในเขตชลประทานและมีความต้านทานต่อโคแมลงศัตรูข้าวที่สำคัญ

ทั้งนี้เพื่อแก้จุดอ่อนของข้าวขาวดอกมะลิ 105 หรือ กข.15 ที่เป็นข้าวไวต่อช่วงแสงมีความเหมาะสมกับการปลูกเฉพาะฤดูนาปีในพื้นที่นาน้ำฝนทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ

ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี และสถานีทดลองข้าวในเครือข่าย ได้ดำเนินการวิจัยและปรับปรุงพันธุ์ข้าวหอมจนได้สายพันธุ์ข้าวหอมดีเด่นหลายสายพันธุ์ที่พร้อมสำหรับการเสนอเป็นพันธุ์รับรองหรือพันธุ์แนะนำ สายพันธุ์ของ SPR 89111-17-2-2 เป็นสายพันธุ์ข้าวที่ไม่มีความไวต่อช่วงแสง ต้นเตี้ย และมีคุณสมบัติของเมล็ดทั้งกายภาพและทางเคมีใกล้เคียงกับพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 มีคุณภาพในการหุงต้มและรับประทานที่ให้ข้าวสุกที่มีลักษณะนุ่มเหนียว และมีกลิ่นหอม โดยวิธีการผสมพันธุ์ ซึ่งมีสายพันธุ์ข้าว SPR 48177-8-2-2-2-1 กับ SPR 85091-13-1-1-4 เป็นสายพันธุ์ทางแม่และพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 เป็นพันธุ์พ่อ ทำการผสมคัดพันธุ์ คัดเลือกลูกพันธุ์ผสม ถึงขั้นตอนการเปรียบเทียบผลผลิตระหว่างสถานี ตั้งแต่ปี พศ.2533 ถึงปี พศ.2539 จนเป็นสายพันธุ์ดีเด่นในขณะนี้

สายพันธุ์ SPR 89111-17-2-2-2-2 ให้ผลลิตเฉลี่ยประมาณ650 กิโลกรัม/ไร่ มีการตอบสนองต่อปุ๋ยไนโตรเจนเป็นอย่างดี สามารถปลูกได้ในเขตชลประทานทั้งฤดูนาปีและนาปรัง มีความต้านทานโรคขอบใบแห้ง และเพลี้ยกระโดดหลังขาว ลักษณะดีเด่นของข้าวหอมสุพรรณ SPR 89111-17-2-2-2-2 ได้แก่ คุณภาพของเมล็ดที่คล้ายคลึงกับข้าวขาวดอกมะลิ 105 มาก ทั้งขนาดรูปร่างของเมล็ด ความขาวใส คุณสมบัติทางเคมี คุณภาพในการหุงต้ม และความหอมที่ใกล้เคียงกัน จึงสามารถแนะนำให้ปลูกเพื่อเพิ่มปริมาณการผลิตข้าวหอมมะลิ ในเชิงการค้าให้มากขึ้น สายพันธุ์ข้าว SPR 89111-17-2-2-2-2 ได้รับการแนะนำให้ปลูกในพื้นที่เขตชลประทาน ภาคกลาง และภาคตะวันตก ซึ่งรวมพื้นที่ในเขตจังหวัดสุพรรณบุรี อ่างทอง กาญจนบุรี และจังหวัดใกล้เคียง


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
somchai
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 21/07/2009
ตอบ: 1290

ตอบตอบ: 19/01/2014 10:32 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

พันธุ์ข้าวแดง

คนทั่วไปอาจรู้จักข้าวแดงว่าเป็นข้าวที่ใช้เลี้ยงนักโทษสมัยก่อนเพราะมีราคาถูกเมื่อหุงสุกคงจะแข็งกระด้าง พันธุ์ข้าวแดงที่ใช้เลี้ยงนักโทษ ผู้เขียนไม่เคยเห็นเมล็ดและไม่เคยกิน จึงไม่รู้ว่าพันธุ์ข้าวแดงที่ใช้เลี้ยงนักโทษเป็นพันธุ์ข้าวแดงพันธุ์แท้หรือไม่ แต่ผู้เขียนเคยกินข้าวแดงที่ใช้หุงทำข้าวต้มในร้านข้าวต้มที่ขายตอนกลางคืนมานานแล้ว และผู้เขียนได้ไปสอบถามชาวนาที่ปลูกข้าวแดงขายโดยเฉพาะที่อำเภอหนองเสือจังหวัดนครนายก แต่ก็นานมาแล้วเช่นเดียวกัน ในขณะนี้อาจะเลิกปลูกข้าวแดงแล้วก็ได้

สาเหตุที่ชาวนาที่หนองเสือต้องปลูกข้าวแดงก็เพราะข้าวแดงที่ปลูกให้ผลดีกว่าพันธุ์ข้าวอื่นๆ เพราะท้องที่หนองเสือก็มีดินเปรี้ยวเช่นกัน พันธุ์ข้าวแดงในขณะนี้เป็นที่รู้จักกันทั่วไป และขายในราคาสูงกว่าข้าวหอมมะลิที่มีคุณภาพดีเสียอีก

สาเหตุที่พันธุ์ข้าวแดงดังขึ้นมาก็เพราะอาหารชีวจิต มีการส่งเสริมให้บริโภคข้าวกล้อง ถ้าข้าวกล้องที่มีเมล็ดสีแดงยิ่งจะดีกว่าข้าวกล้องเมล็ดขาวเสียอีก ผู้เขียนเคยเจอในหนังสือบอกว่า ข้าวแดงในประเทษเนปาลมีราคาสูงเป็น 3 เท่าของราคาข้าวขาว

ดร.บริบูรณ์ สมฤทธิ์ ผู้เชี่ยวชาญพิเศษในเรื่องข้าว ระดับ 10 ที่ปรึกษาด้านข้าว กรมวิชาการเกษตร ได้เขียนเรื่องข้าวหอมแดงและการปลูกในปี 2542 ไว้ว่า

ในอดีตข้าวแดงบางชนิดได้เป็นปัญหาสำคัญในการทำนาและจัดเป็นวัชพืชที่ร้ายแรงสามารถเจริญเติบโต ขยายพันธุ์และสร้างเมล็ดปะปนกับข้าวขาวในนา ทำให้ข้าวด้อยคุณภาพ กรมการข้าวได้ใช้งบประมาณจำนวนมากในการกำจัดข้าวแดงหรือข้าวป่าออกจากนา โดยการสร้างระบบการขยายพันธุ์ข้าวตามมาตรฐานตามหลักวิชาการ และกำหนดมาตรฐานเมล็ดพันธุ์ ในการผลิตทุกระดับ(พันธุ์คัด พันธุ์หลัก และพันธุ์ขยาย)

ทั้งนี้ในขั้นตอนการผลิตให้มีการกำจัดข้าวแดงและข้าวปนเป็นระยะๆฉะนั้นเมล็ดพันธุ์ข้าวมาตรฐานทุกประเภทจึงกำหนดไม่ให้มีข้าวแดงปน กรมวิชาการเกษตรโดยสถาบันวิจัยข้าว ไม่มีนโยบายที่จะรับรองพันธุ์และผลิตพันธุ์ข้าวแดง

ดร.บริบูรณ์ สมฤทธิ์ ได้แจ้งต่อไปอีกว่า นักวิชาการกรมวิชาการเกษตรได้ให้ความสนใจและมีการศึกษาวิจัยเรื่องข้าวแดงมานาน ได้มีการพัฒนาพันธุ์ข้าวแดงมากมายหลายสายพันธุ์ มีเกษตรกร ภาคเอกชนและองค์กรนอกภาครัฐบาลที่สนใจได้ขอเมล็ดพันธุ์ดี ไปทดลองปลูกและขยายพันธุ์มากมาย


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
somchai
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 21/07/2009
ตอบ: 1290

ตอบตอบ: 19/01/2014 10:33 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

พันธุ์ข้าว IR 70,IR 72

ข้าว 2 พันธุ์นี้ IR72 เป็นพันธุ์ข้าว ที่เมื่อเห็นรูปร่างของต้นแล้ว จะเห็นว่า IR 72 เป็นพันธุ์ที่น่าจะใช้เป็นพันธุ์พ่อแม่ ในการผสมพันธุ์ เพราะมีรูปแบบของต้นดี ถึงแม้จะมีต้นใบค่อนข้างเล็ก แต่ก็แตกกอดีให้รวงมาก รวงค่อนข้างเล็ก การออกรวงสม่ำเสมอ เมล็ดเล็กยาว มีอายุค่อนข้างสั้น ได้เอา IR 72 ผสมกับพันธุ์ข้าว IR เมล็ดยาวหลายพันธุ์ แต่ต้นลูกทุกคู่ผสมให้ลูกที่มีความต้านทานโรคในธรรมชาติไม่ดี จึงได้ทิ้งไปในที่สุด

ส่วน IR 70 อายุประมาณ 120 วัน อายุมากกว่า IR 72 มีรูปแบบต้นไม่ดี สู้ IR 72 ไม่ได้ แต่ก็ยังดีกว่า IR74 พันธ์ข้าว IR 70 และ IR 72 มีความต้านทานโรคแมลงดีมาก


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
somchai
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 21/07/2009
ตอบ: 1290

ตอบตอบ: 19/01/2014 10:34 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

IR 68

เป็นพันธุ์ข้าวที่มีเมล็ดยาวมากอีกพันธุ์หนึ่ง ประมาณด้วยสายตา ความยาวของข้าวกล้องเฉลี่ยประมาณ 7.5-7.6 ม.ม มีเมล็ดยาวใหญ่ ในระดับเดียวกับ IR 48 ถ้าพูดถึงความยาวของข้าวกล้องระดับนี้จะสามารถสีเป็นข้าว 100 % ได้สบายมาก แต่ IR68 ก็เช่นเดียวกับ IR48 ถึงแม้เมล็ดจะไม่มีท้องไข่ แต่เมล็ดก็ไม่ใสเลื่อมมัน แต่เมล็ดค่อนข้างด้าน

ข้าว IR68 เป็นพันธุ์ข้าวนาปรังที่มีอายุหนักหรืออายุยาว ถ้าปลูกด้วยวิธีตกกล้า ปักดำ คงมีอายุไม่น้อยกว่า 120 วัน มีต้นค่อนข้างตรง ต้นค่อนข้างใหญ่ แตกกอไม่มาก ใบค่อนข้างเล็ก รวงเล็ก ระแง้ค่อนข้างห่าง เมล็ดต่อรวงไม่มาก มีความต้านทานโรคแมลงต่างๆดี

ผู้เขียนได้เอา IR68/IR64 เพื่อต้องการจะเพิ่มขนาดของเมล็ดของ IR64 ให้ใหญ่ขึ้น ส่วนลักษณะอื่นๆของ IR64 ให้คงไว้ การผสมคู่นี้ไม่ได้ความสำเร็จ เพราะ IR68 มีเชื้อแรงมาก ต้นลูกที่คัดไปส่วนใหญ่มีลักษณะไปทาง IR68 หมดคือ อายุหนัก ผลผลิตต่ำ รวงต่อกอน้อย รวงเล็ก เมล็ดใหญ่ยาวเหมือนIR68 ทุกสายพันธุ์มีโรคใบขีดสีน้ำตาล ไม่ต้านทานโรคเมล็ดด่าง การออกรวงในกอ ไมสม่ำเสมอ ทั้งความสูงของแต่ละรวงที่แตกต่างและเวลาออกที่ไม่พร้อมกัน


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
somchai
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 21/07/2009
ตอบ: 1290

ตอบตอบ: 19/01/2014 10:35 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

พันธุ์ข้าวขาวตาแห้ง

เป็นพันธุ์ข้าวหนักนาปี ที่มีชื่อมาก่อนพันธ์ข้าวหอมมะลิเสียอีก ข้าวพันธุ์นี้ยังมีข้าวสารขายอยู่ในตลาดทั่วไป เข้าใจว่าเป็นพันธุ์ข้าวพื้นเมืองพันธุ์ข้าวเจ้าที่ปลูกมากเป็นรองก็แต่พันธุ์ข้าวหอมมะลิ เนื่องจากเป็นพันธุ์ข้าวหนักเก็บเกี่ยวปลายเดือนธันวาคม จึงเป็นพันธุ์ที่เกษตรกรในภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เอามาปลูกในที่ลุ่มที่มีน้ำลึกและน้ำจะแห้งในปลายเดือนธันวาคม เป็นพันธุ์ข้าวที่ให้ผลผลิตสูง แตกกอดี รวงใหญ่ เมล็ดต่อรวงมาก เมล็ดข้วเปลือกสีขาว เมล็ดค่อนข้างอ้วนยาวประมาณ 7.2-7.3 มม. มีน้ำหนักข้วเปลือกออกถังดี เป็นที่ต้องการของตลาดทั้งโรงสีและผู้บริโภค ข้าวใหม่อาจหุงเปียกแฉะ แต่ข้าวเก่าจะหุงขึ้นหม้อเป็นตัวนุ่มนวลดี ข้อเสียของพันธุ์ข้าวขาวตาแห้งคือ ปลูกไป 3-4 ปี ก็จะเสียหายจากโรคคอรวงเน่า ซึ่งเป็นโรคไหม้ระยะออกรวง

พันธุ์ข้าวขาวตาแห้งเป็นข้าวนาปีพันธุ์หนึ่งที่ทางราชการยังส่งเสริมให้ปลูกอยู่มีชื่อว่า พันธุ์ข้าวขาวตาแห้ง 17 มีอยู่ครั้งหนึ่งทางราชการได้หยุดส่งเสริมข้าวพันธุ์นี้ เพราะโรคเน่าคอรวง แต่เมื่อครั้ง นาย เขียน กองจันทึก มาเป็นหัวหน้าขยายพันธุ์ ประมาณปี 2517 ได้เห็นว่า พันธุ์ข้าวขาวตาแห้งยังเป็นพันธุ์ที่เกษตรกรปลูกมากทุกปี ถึงแม้เราจะมีพันธุ์ข้าวเหลืองประทิว 123 ที่ต้านทานโรคไหม้มาแทนพันธุ์ข้าวขาวตาแห้ง แต่เกษตรกรยังคงปลูกพันธุ์ข้าวขาวตาแห้งเพราะให้ผลผลิตสูง จึงได้นำพันธุ์ข้าวขาวตาแห้งมาปลูกขยายเมล็ดขายให้เกษตรกรใหม่ การปรับปรุงพันธุ์ข้าวขาวตาแห้งทำได้ไม่ยาก เพียงแต่ปรับปรุงให้มีความต้านทานโรคไหม้อย่างเดียว ส่วนลักษณะอื่นของพันธุ์ข้าวขาวตาแห้งให้คงไว้


"
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
somchai
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 21/07/2009
ตอบ: 1290

ตอบตอบ: 19/01/2014 10:35 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

พันธุ์ข้าวเหลืองอ่อน

เป็นพันธุ์ข้าวนาปีต้นสูงเก็บเกี่ยวประมาณกลางเดือนธันวาคม เป็นพันธุ์ข้าวที่มีคุณภาพการหุงต้มที่ดีเป็นที่ต้องการของตลาด มีเมล็ดข้าวเปลือกสีเหลืองอ่อนเรียวยาว เมล็ดข้าวสารเลื่อมมัน ยังปลูกกันในนาน้ำฝนภาคกลางหลายจังหวัดเช่น ราชบุรี เพชรบุรี ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีปลูกในจังหวัดร้อยเอ็ด ข้าวเหลืองอ่อน มีฟางอ่อนล้มง่าย ถ้าข้าวงอกงามอาจล้มไว เสียหายต่อผลผลิต การปรับปรุงพันธุ์อาจทำได้ โดยหาพันธุ์ ข้าวฟางแข็งมาผสม พันธุ์ข้าวฟางแข็งพันธุ์พื้นเมืองยังมีหลายพันธุ์ ผู้เขียนได้เคยดูพันธุ์ข้าวที่คุณ สุรพล ใจดี นักวิชาการของศูนย์วิจัยข้าวอุบลราชธานีได้รวบรวมพันธุ์ไว้ 300 กว่าพันธุ์และได้ปลูกไว้ทุกปี ผู้เขียนได้ไปดูในปี 2538 และ ปี2539 พบลักษณะดีต่างๆจากพันธุ์ข้าวเหล่านี้มากมาย พันธุ์ข้าวที่แตกกอดี พันธุ์ข้าวที่มีฟางแข็ง เป็นพันธุ์ที่มีรวงใหญ่ รวงเป็นพวง พันธุ์ข้าวที่มีเมล็ดใหญ พันธุ์ข้าวที่มีอายุเก็บเกี่ยวต่างๆกัน ตั้งแต่เบา จนหนักมาก ลักษณะต่างๆเหล่านี้สามารถจะนำมาใช้เป็นพั่นธุ์พ่อแม่ในโครงการปรับปรุงพันธุ์ข้าวได้

…ผู้เขียน คือ อ.วรวิทย์ ผู้จัดทำหนังสือ



.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย somchai เมื่อ 19/01/2014 10:36 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
somchai
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 21/07/2009
ตอบ: 1290

ตอบตอบ: 19/01/2014 10:36 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

พันธุ์ข้าว ขาวกอเดียว

เป็นพันธุ์ข้าวนาปี เป็นพันธุ์ข้าวพื้นเมืองของจังหวัดพิจิตร มีอายุค่อนข้างหนัก จัดเป็นพันธุ์ข้าวที่ขึ้นได้น้ำลึก มีอายุเก็บเกี่ยวค่อนข้างหนัก มีเมล็ดสีขาวยาวในระดับเดียวกับข้าวปิ่นแก้วของพระยาโภชากร มีคุณภาพหุงต้มได้ข้าวเป็นตัว แข็ง ข้าวหักและปลายข้าวใช้ทำเส้นหมี่และเส้นก๋วยเตี๋ยวได้ดี จึงมีราคาสูงกว่าพันธุ์ข้าวทั่วไป เป็นพันธุ์ข้าวที่นาย นิพนธุ์ วงศ์ตระหง่าน อดีตนายกสมาคมโรงสีข้าวไทยชื่นชมมาก เหมาะที่จะใช้เป็นพันธุ์พ่อแม่ ในการปรับปรุงพันธุ์ข้าว เพื่อให้ได้พันธุ์ข้าวต้นเตี้ย ผลผลิตสูง มีความยาวของเมล็ดและคุณภาพหุงต้มเหมือนพันธุ์ข้าวขาวกอเดียว เพื่อใช้ปลูกเป็นพันธ์ข้าวนาปรังหรือเอาผสมกับพันธุ์ข้าวนาปีหรือข้าวขึ้นน้ำเพื่อปรับปรุงคุณภาพของเมล็ดให้ดีขึ้น เช่น อาจจะเอาพันธุ์ กข. 13 ซึ่งเป็นข้าวนาปีต้นสูงในภาคใต้ พันธุ์ข้าว กข .13 มีคุณสมบัติดีหลายๆอย่างเช่น มีผลผลิตสูง ต้านทานโรคไหม้ ต้านทานโรคใบจุดสีน้าตาล แต่มีเมล็ดเล็กสั้น ไม่สามารถสีทำข้าว 100% ได้ ถ้าได้เอาผสมกับพัธ์ข้าวกอเดียว แล้วคัดเลือกลักษณะทุกอย่างให้เหมือน กข.13 แต่ให้ได้ขนาดเมล็ดคุณภาพการขัดสีและการหุงต้มเหมือนพันธุ์ข้าวขาวกอเดียว จะทำให้มูลค่าของผลผลิตเพิ่มขึ้นเกวียนละ 100-200 บาท ในทำนองเดียวกันถ้าได้เอาผสมกับข้าวขาวพวง พันธุ์ข้าวขึ้นน้ำพื้นเมืองที่เกษตรกรปลูกอยู่ และให้ได้ขนาดเมล็ดและคุณภาพหุงต้มเหมือนพันธุ์ข้าวขาวกอเดียว ก็จะทำให้รายได้ของเกษตรกรเพิ่มขึ้น


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
somchai
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 21/07/2009
ตอบ: 1290

ตอบตอบ: 19/01/2014 10:54 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

พันธุ์ข้าว ขาวพวงนาค

เป็นพันธุ์ข้าวหนักพื้นเมืองนาปีที่มีรูปแบบต้น ใบ เมล็ดสวยที่สุดเท่าที่ผู้เขียนได้เคยเห็น พันธุ์ข้าวพวงนาคก็เหมือนพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 หรือข้าวหอมมะลิหรือข้าวขาวตาแห้ง 17 เป็นพันธุ์ข้าวพื้นเมืองที่ทางราชการเก็บรวงมา แล้วนำมาปรับปรุงพันธุ์ให้ดียิ่งขึ้น โดยวิธีการคัดพันธุ์บริสุทธิ์หรือคัดพันธุ์รวงต่อแถวได้ข้าว 2 สายพันธุ์ออกมาขยายคือ พวงนาค 16 และพวงนาค 24 ซึ่งมีลักษณะเหมือนกันมากมีต้นตั้งตรง แตกกอดี ฟางค่อนข้างแข็ง ต้นสีม่วง ใบค่อนข้างตั้งตรง ใบยาวปานกลาง ขอบใบม่วง รวงยาว ระแง้ค่อนข้างถี่ เมล็ดข้าวเปลือกสีขาวเรียวยาว ก้นจุดสีม่วง ไม่มีท้องไข่ มีคุณภาพการหุงต้มดี เป็นข้าวแข็ง ขึ้นหม้อ มีรสชาติดี มีการออกรวงในกอสม่ำเสมอคือหน่อทุกๆหน่อในกอเมื่อถึงเวลาออกรวง จะออกรวงพร้อมๆกัน ทำให้เมล็ดสุกพร้อมกัน ทำให้ผลผลิตมีคุณภาพดี นอกจากนี้พันธุ์ข้าวพวงนาคยังมีระแง้เหนียวมาก เนื่องจากพันธุ์ข้าวพวงนาคมีความต้านทานโรคไม่ดี ไม่ต้านทานโรคไหม้ ไม่ต้านทานโรคใบส้ม จึงมีปัญหาเรื่องโรคเสมอ ทำให้ถูกยกเลิกการผลิตเมล็ดพันธุ์เป็นข้าวพันธุ์ดีของทางราชการ แต่ถึงกระนั้นพันธุ์ข้าวพวงนาคก็เป็นข้าวพันธุ์แรกที่ปลูกได้ 100 ถัง ผู้ปลูกข้าวพวงนาคได้ผลผลิต 100 ถังคนแรก คือ ดร.เจ ทาคาฮาฮิชิ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องดินและปุ๋ยข้าวชาวญี่ปุ่น โดยการใช้พ่นยาป้องกันแมลงเป็นระยะๆพันธุ์ข้าวพวงนาคได้ถูกนำไปผสมกับพันธุ์ข้าวต่างๆมากมาย ทั้งพันธุ์ข้าวนาปีต้นสูงของไทย ข้าวต้นเตี้ยของ IR ข้าวต้นสูงของอินโดนีเซีย และคู่ผสมหนึ่งของข้างพวงนาคกับ sigadis ของอินโดนีเซียได้รับกาขยายพันธุ์มีชื่อว่า กข.5

กข. 5 เป็นข้าวต้นสูงรูปแบบคล้ายข้าวพวงนาคมาก ทั้งรูปแบบของต้น ใบ เมล็ด มีคุณภาพการขัดสีดี ได้ข้าวสารเลื่อมมันไม่มีท้องไข่ มีคุณภาพการหุงต้มดีมาก ได้ข้าวเป็นตัวแข็งมีรสชาติดี แต่เป็นที่น่าเสียดายพันธุ์ข้าว กข.5 ไม่ต้านทานโรคไหม้ จึกมักเสียหายในระยะออกรวงเสมอ ขณะนี้ไม่ได้ผลิตเมล็ดจำหนายแล้ว เนื่องจากพันธุ์ข้าวพวงนาค เป็นพันธุ์ข้าวที่มีลักษณะต่างๆดี ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบของต้น ลักษณะรวง ขนาดของเมล็ด คุณภาพการขัดสี คุณภาพการหุงต้ม จึงควรเป็นพันธุ์ข้าวพันธุหนึ่งที่ใช้เป็นพันธุ์พ่อแม่ในการผสมพันธุ์


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
somchai
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 21/07/2009
ตอบ: 1290

ตอบตอบ: 20/01/2014 8:50 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

บางคนอาจจะไม่เคยได้ยิน สายพันธุ์ข้าวของ IRRI

อย่ามาทึกทักนะครับว่า ผมเอาสายพันธุ์ข้าวอะไรมาโพสท์ ไม่เคยรู้เลยมันมีด้วยเหรอ คนโพสท์กระทู้ มีหรือป่าวจ๊ะ เอามาให้ดูหน่อยสิ...

หากอยากรู้ต้องบินไปดูที่ สถาบันวิจัยข้าว อีรี่ส์ ที่ ฟิลิปินส์ จะได้รายละเอียดมากครับ


.


กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©