-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร 8 JAN .. ยางพารา 6 ปี ไม่โต, ถั่วฝักยาวฝักคด
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร 9 JAN *แทนเปลือกมังคุด, มะยงชิดดอกร่วง
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร 9 JAN *แทนเปลือกมังคุด, มะยงชิดดอกร่วง

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 09/01/2014 8:46 pm    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร 9 JAN *แทนเปลือกมังคุด, มะยงชิดดอกร่วง ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร รายการวิทยุ 9 JAN
AM 594 เวลา 08.10-09.00 & 20.05-20.30 ทุกวัน และ FM 91.0 (07.00-08.00 / วันอาทิตย์)

********************************************************************

สวัสดีครับ ท่านผู้ฟังที่เคารพ
กองทัพบกเพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตร และอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดยกองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก

@@ สนับสนุนรายการโดย ...
... บ.นิมุติ เอ็นจิเนียริ่ง เครื่องย่อยเศษพืช (02) 322-9175-6
... ยิบซั่มธรรมชาติ เฟอร์มิกซ์--- ธาตุรอง/ธาตุเสริม มัลติแชมป์ (089) 144-1112
... และ บ.มายซัคเซส อะโกร--- ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, กาวเหนียวดักแมลง มายฟิกส์,
กลิ่นล่อแมลงวันทอง ฟลายแอต, สารเสริมฤทธิ์สารสมุนไพร ไบโอเจ๊ต,
ถังฉีดพ่นรุ่นใหม่ ใช้แบตเตอรี่ (081) 910-5034

กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการครับ
เช่นเคยครับ รายการเรา 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม ที่ (081) 913-4986

---------------------------------------------------------------------------------------------------------


ตัวแทนจำหน่าย ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง, ไบโออิ, ไทเป, ยูเรก้า. (อินทรีย์ – เคมี)

1) ชมรม (ใหญ่) สีสันชีวิตไทย (089) 814-3204 ใกล้ไฟแดง สี่แยกบางแพ ราชบุรี
2 )“คุณชาตรี” (081) 841-9874 ทรัพย์ทวีการเกษตร ชัฎป่าหวาย สวนผึ้ง ราชบุรี (ส่งทาง ปณ.)

3) ร.ต.ต.นันท์สุรัตน์ (089) 821-8273 ต.จรเข้เผือก ด่านมะขามเตี้ย กาญจนบุรี (ส่งทาง ปณ.)
4) “คุณล่า” (081) 944-8494 ทุกวันจันทร์ ตลาดนัดวัดอมรญาติ ดำเนินสดวก ราชบุรี

5) “คุณประเสริฐ” (080) 110-4645 บ.เขาดิน หนองแขม เดิมบางนางบวช สุพรรณบุรี
6) “คุณอรุณ” (085) 058-1737 ในร้านโครงการหลวง ตลาด อตก.

7) “คุณพรพรรณ” (089) 814-7944 พลชัยเกษตรชีวภาพ ตลาดนัดธนบุรี ถ.เลียบคลองทวีวัฒนา
8 ) “คุณน้ำส้ม” (085) 055-7706 ชมรมฯ สาขาศาลายา หน้า ม.มหิดล พุทธมณฑลสาย 4 (ส่งทาง ปณ.)

-------------------------------------------------------------------------------------------------------


จาก : (093) 739-56xx
ข้อความ : มังคุดหมดหน้าแล้ว หาเปลือกมังคุดไม่ได้ ใช้สมุนไพรอะไรแทนได้ ...ขอบคุณค่ะ
ตอบ :
- ที่นี่สอนให้ คิด/วิเคราะห์/เปรียบเทียบ .... ช่างสังเกตุ/ช่างเฉลียวใจ .... เปิดตัว/เปิดใจ .... ยอมรับอย่างมีเหตุผล ไม่ยอมรับก็ต้องมีเหตุผล .... เป็นตัวของตัวเอง

- เปลือกมังคุดมีรสฝาด พืชอื่นที่มีรสฝาดเหมือนกัน ได้แก่ หมากสด/หมากแห้ง, ลูกตะบูน, ลูกเสม็ด, เปลือกสดต้นแค, งวงกล้วย, ลูกกล้วยดิบ, ใบข่อย, เปลือกทับทิม, ใบฝรั่ง .... ในความฝาดมีสารชื่อ “แทนนิน” สรรพคุณกำจัดเชื้อรา แบคทีเรีย ศัตรูพืช

- วิธีทำเอาสารออกฤทธิ์หรือตัวยาในสมุนไพรรสฝาด คือ หมัก/แช่ ใส่แอลกอฮอร์, น้ำส้มสาชู (น้ำ 10 ล. + แอลกอฮอร์ 1 ล. + น้ำส้มสายชู 100 ซีซี.) ร่วมไปด้วย เพื่อช่วยเร่งให้ตัวยาออกมากและเร็ว หมักนาน 1-2-3 วัน ได้ “หัวเชื้อเข้มข้น” พร้อมใช้งาน

– กรองหัวเชื้อเข้มข้นออกมาแล้ว เติมสารกันบูด ช่วยให้ไม่เป็นฝ้าที่ผิวหน้า เก็บได้นานขึ้น

หมายเหตุ :
– ศัตรูพืช “เชื้อโรค (รา/แบคทีเรีย/ไวรัส), แมลง (ปากกัดปากดูด/วางไข่), หนอน (กัด กิน)” ทั้งในดินเหนือดิน ต่างก็เป็นสิ่งมีชีวิต ต้องมีวงจรชีวิต เกิด/กิน/แก่/เจ็บ/ตาย/ขยาย พันธุ์ ต้องการสภาพแวดล้อม เหมือนมนุษย์และสัตว์ ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตเหมือนกันทั้งสิ้น หากปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งระหว่างวงจรชีวิตกับสภาพแวดล้อม ไม่เหมาะสมจะดำรงอยู่ไม่ได้หรือตาย

@@ สู้กับศัตรูพืช
** เกิด .... แมลงเกิดจากไข่ จากไข่ฟักเป็นหนอน จากหนอนแล้วเป็นแมลง เมื่อแมลงโตขึ้นเป็นแม่ผีเสื้อก็จะวางไข่ หากวงจร แมลงวางขาไม่ได้ ไข่ฟักออกเป็นตัวหนอนไม่ได้ หนอนเป็นแมลงไม่ได้ ศัตรูพืชอย่าง แมลง-หนอน ก็จะเกิดไม่ได้

** กิน .... แมลงปากกัดปากดูด กินน้ำเลี้ยงของพืชและหนอนกินส่วนของพืชเป็นอาหาร แมลงและหนอนรู้จักอาหารหรือพืชที่กินด้วยสัญชาติญาณ หากรสชาดของน้ำเลี้ยงหรือรสของเนื้อพืชนั้นเปลี่ยนไป แมลงและหนอนก็จะไม่กิน หรือกินแล้วเป็นพิษก็จะไม่กินเช่นกัน หากกินสิ่งที่เป็นพืษก็ต้องตาย เพราะมีสิ่งเป็นพิษอยู่ที่พืชนั้น

** แก่ .... แมลงอายุ 7-21 วัน หมดอายุแล้วก็ตาย, หนอนลอกครบ 5 ครั้ง ๆละ 3-4 วัน หากลอกคราบไม่ได้ก็ตาย, เชื้อโรคอายุ 3-7 วัน

** เจ็บ (ป่วย) .... เมื่อ แมลง/หนอน/เชื้อโรค เมื่อได้รับเชื้อโรค (ยาเชื้อ) เข้าไปในร่าง กาย แมลง/หนอน/เชื้อโรคพืช นั้นก็ตาย, กรณีหนอนได้รับเชื้อโรค (ยาเชื้อ) เข้าไปจะไม่ลอกคราบแล้วก็ตาย

** ตาย .... เพราะหมดอายุขัย, ได้รับสิ่งเป็นพิษเข้าสู่ร่างกาย, สภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม

** ขยายพันธุ์ .... สิ่งมีชีวิตทุกชนิดต้องสร้างทายาทเพื่อสืบเผ่าพันธุ์ หากสืบเผ่าพันธุ์ไม่ได้ย่อมสูญพันธุ์ ช่วงที่สภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม แมลงจะหลบซ่อนอยู่เฉยๆในที่ๆปลอดภัย กระทั่งเมื่อสภาพแวดล้อม หรือปัจจัยเพื่อการขยายเผ่าพันธุ์พร้อมจึงจะออกมาจากแหล่งหลบซ่อน กรณีของเชื้อโรคนั้น เมื่อสภาวะหรือสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมก็จะแฝงตัวอยู่นิ่งในแหล่งอาศัยนั้น ครั้นเมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะสมก็จะออกมาดำเนินชีวิตขยายเผ่าพันธ็ต่อไป

** สภาพแวดล้อม .... ได้แก่ อุณหภูมิ-ความชื้น-ความแล้ง-กรด/ด่าง เหมาะสมบรรดาศัตรูพืช (แมลง เชื้อโรค) จึงจะออกมาเข้าหาแหล่งอาหารเพื่อหล่องเลี้ยงชีวิต และเขช้าสู่วงจรชีวิตเพื่อสืบเผ่าพันธุ์


@@ สัจจะธรรม ศัตรูพืช :
- สารออกฤทธิ์ในสารเคมีสร้างขึ้นมาโดยเลียนแบบโครงสร้างทางโมเลกุลของสารสมุนไพร นั่นหมายความว่า สารออกฤทธิ์ระหว่างสารเคมีกับสารสมุนไพรจึงไม่ต่างกัน

- สิ่งมีชีวิตอย่างแมลง หนอน ตัวเล็กเท่าไม้จิ้มฟัน เชื้อโรคเป็นสัตว์เซลล์เดียวต้องใช้กล้องจุลทรรศน์จึงจะมองเห็น แล้วมันจะมีความแข็งแรงสักเพียงใดที่จะต้านทานสารออกฤทธิ์ในสารสมุนไพรๆได้

– ส่งเสริมเลี้ยง ตัวห้ำ (ห้ำหั่นเข่นฆ่า), ตัวเบียน (เบียดเบียนที่อยู่ที่กิน) เป็นศัตรูของศัตรูพืช เช่น มดแดงกินหนอน เชื้อดี (จุลินทรีย์ดี) แย่งที่อยู่ของเชื้อโรค (จุลินทรีย์เชื้อโรค)

** วิธีการ “ลด/ละ/เลิก” สารเคมี :
วันที่ 1 .................. สารสมุนไพร + สารเคมี
วันที่ 5 .................. สารสมุนไพร
วันที่ 9 .................. สารสมุนไพร
วันที่ 13 ................ สารสมุนไพร + สารเคมี
วันที่ 17 ................ สารสมุนไพร
วันที่ 21 ................ สารสมุนไพร
วันที่ 25 ................ สารสมุนไพร + สารเคมี
วันที่ 29 ................ สารสมุนไพร

หมายเหตุ :
** วันที่ในตาราง คือ วันที่ในปฏิทิน
** สารเคมี กับ สารสมุนไพร +กันได้

** ใช้สารสมุนไพร 2 รอบ สลับด้วย สารสมุนไพร + สารเคมี 1 รอบ ห่างกันรอบละ 3 วัน
** ใช้สารสมุนไพรและสารเคมี ที่ตรงกับชนิดของศัตรูพืชอย่างแท้จริง (สมการ ยา)

** เน้นการใช้สารสมุนไพรแบบ “ป้องกัน” มากกว่า “กำจัด” โดยฉีดบ่อยๆเหมือนให้ปุ๋ย
** เมื่อแปลงข้างๆเริ่มระบาด ของเราต้องฉีดพ่นถี่ขึ้น, เมื่อสภาพอากาศแบบนี้ศัตรูพืชมักเกิด ต้องฉีดพ่นถี่ขึ้น

** มาตรการเสริม ได้แก่ กับดักกาวเหนียว, แสงไฟล่อติดกับดักกาวเหนียว, แสงไฟล่อลงน้ำ, กลิ่นไล่,
** ไม่มีวิธีการใดวิธีการหนึ่งเพียงวิธีการเดียว สามารถกำจัดศัตรูพืชได้เด็ดขาด แน่ นอน 100% วิธีการที่ดีที่สุด คือ “ป้องกัน/กำจัด แบบผสมผสาน” หมายถึงต้องใช้หลาก หลายวิธีการ ร่วมกัน พร้อมกัน

** เตือนสติตัวเองอยู่เสมอ ไม่มีพืชใดในโลกที่ไม่มีศัตรูพืชประจำเผ่าพันธุ์ วันนี้ยังไม่มีเพราะยังไม่มา มาเมื่อไหร่มันไม่บอกล่วงหน้า .... ไม่มีสารสมุนไพรหรือสารเคมีใดในโลกนี้ที่สามารถทำให้ส่วนของพืชถูกทำลายจนเสียหายไปแล้ว ฟื้นคืนดีอย่างเดิมได้ เรียกว่า เสียแล้วเสียเลย .... ฉีดสมุนไพร 100 ครั้ง สูญเสียน้อยกว่า ฉีดสารเคมี 1 ครั้ง

- ศัตรูพืช (แมลง หนอน เชื้อโรค) เกิดขึ้นมาในโลกนี้นานนับแสนปี ล้านปีแล้ว ต้นพืชถูกทำลายมาแล้ว ครั้งแล้วครั้งเล่า แต่เกษตรกรไม่รู้แม้แต่ชื่อของตัวศัตรูพืชนั้น

- วันนี้เกษตรกรใช้สารเคมี ทั้งๆที่ไม่มีความรู้ทางวิชาการ แม้แต่ชื่อสามัญยังไม่รู้จัก รู้จักแต่ชื่อยี่ห้อเท่านั้น นั่นคือ มีความรู้แค่โฆษณาเท่านั้น รวมทั้งสารสมุนไพรก็ไม่มีความรู้เหมือนกัน ในเมื่อต่างก็ไม่รู้แล้วทำไมถึงเลือกใช้แต่สารเคมี แถมปฏิเสธสารสมุน ไพรโดยสิ้นเชิง

- ถึงยุคถึงสมัย ถึงเวลาที่เกษตรกรต้องเรียนรู้ทั้งสารเคมีและสารสมุนไพรแล้ว รู้แล้ว คิด/วิเคราะห์/เปรียบเทียบ ถึง ข้อดี/ข้อเสีย ของทั้งสองอย่าง อย่างมีเหตุมีผล แล้วตัดสินใจเลือกใช้ .... การเรียนรู้ไม่จำเป็นต้องไปนั่งเรียนในสถานศึกษาเสมอไป การเรียนรู้โดยการปฏิบัติ หัดทำ หัดใช้ ด้วยตัวเองสามารถทำได้ ขอเพียงใจเอนเอียงมาทางนี้เท่านั้น เพียงครั้งสองครั้งก็จะเห็นช่องทางได้ สรุปก็คือ งานนี้ ยากหรือง่าย อยู่ที่ใจเท่านั้น

----------------------------------------------------------------------------------------------------


จาก : (082) 920-58xx
ข้อความ : ลุงคิมครับ ขอคำตอบด่วน ตอบค่ำวันนี้เลยนะครับ มะยงชิดออกดอกมาแล้วร่วงไม่เหลือเลย เหลือแต่ก้านโด่เด่ ที่ปลายกิ่งมีตุ่มตาแหลมๆ สีเขียวอมขาว นั่นเป็นตาใบหรือตาดอก ผมควรบำรุงต่อไปอย่างไร...ขอบคุณครับ
ตอบ :
- ธรรมชาติ มะยงชิด-มะปราง จะออกดอกรุ่นละ 3 รุ่นติดต่อกัน โดยดอกรุ่นแรกกับดอกรุ่น 2 จะดก ถ้ารุ่นแรกดกมาก รุ่น 2 จะดกลดลงมา ถ้ารุ่นแรกดกน้อย รุ่น 2 ก็จะดกมาก ส่วนรุ่น 3 จะดกน้อยสุด ความสมบูรณ์ของต้นจะมากหรือน้อยออกดอกทั้งนั้น ส่วนปริมาณดอกจะมากหรือน้อยก็ต้องอาศัย “ความสมบูรณ์สะสม” เป็นพื้นฐาน นั่นคือ ต้นที่ได้สะสมสารอาหารส่งเสริมการออกดอก คือ “สังกะสี กับ โบรอน” มาก/น้อย แค่ไหนด้วย เหมือนนักกีฬา เก็บตัวบำรุงร่างกายพร้อมแค่ไหน นั่นแหละ

- ปัญหาจากนิสัยธรรมชาติของ มะยง-มะปราง อย่างหนึ่ง คือ ไม่ “สู้หนาว” ถ้าดอกออกมาแล้วกระทบหนาวมากๆ ขนาดคนต้องใส่เสื้อกันหนาวผิงไฟละก็ ดอกจะร่วง แม้จะได้บำรุงระยะออกดอกด้วย “15-30-15 สลับด้วย เอ็นเอเอ.” โดยตรงแล้ว จะได้ผลเพียงระดับหนึ่งเท่านั้น

- เชื่อว่า อาทิตย์ อาทิตย์หน้า ความหนาวคงลดลง โอากาสยังมี แต่ถ้าอากาศกลับหนาวหนักกว่าเก่าก็เรียกว่า “กรรม” ก็แล้วกัน ... ดอกรุ่น 1 หลุดไปแล้ว สร้างดอกรุ่น 2 รุ่น 3 ต่อ :

- ทางใบ : ให้น้ำ 20 ล. + ไทเป 20 ซีซี. + 13-0-46 (2 ช้อนโต๊ะ) 2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน ฉีดพ่นพอสัมผัสใบ เมื่อก้านดอกออกมาแล้วให้ เอ็นเอเอ. 1 รอบ แล้วกลับไปให้ ไทเป + 13-0-46 แบบเดิมอีก 2 รอบ เพื่อเรียกดอกรุ่น 3 แล้วกลับมาให้ เอ็นเอเอ. 1 รอบ เพื่อบำรุงดอกรุ่น 3 .... การให้ ไทเป + 13-0-46 สลับ เอ็นเอเอ. ทั้งดอกออกมาแล้วและกำลังจะออกใหม่ ไม่เป็นปัญหาต่อดอก

- ทางราก : ยิบซั่ม ธันเดอร์พลัส, ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, กระดูกป่น, ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ ถ้าไม่ได้ใส่ไว้ก่อนตั้งแต่ช่วงบำรุงขั้นตอนที่ 1 (ฟื้นฟูสภาพต้น เรียกความสม บูรณ์กลับคืนมาหลังเก็บเกี่ยว และเรียกใบอ่อน) ก็ให้ใส่ตอนนี้ได้เลย, ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 8-24-24 (1-2 ล.) /ไร่ รดทั่วแปลง ทุกตารางนิ้ว, ให้ 8-24-24 (ครึ่ง กก.) /ต้น ละลาน้ำรดโคนต้นบริเวณทรงพุ่ม น้ำที่ใช้เมื่อให้แล้วได้พอหน้าชื้นหน้าดิน

หมายเหตุ :
- ปีนี้รุ่นนี้ว่าไปก่อน ออกคือออก-ไม่ออกคือไม่ออก ได้คือได้-ไม่ได้คือไม่ได้ ปีหน้ารุ่นหน้าว่ากันใหม่ ต้องว่าตั้งแต่หลังเก็บผลหมด ต้องเริ่มบำรุงทันทีตาม “8 ขั้นตอนบำรุงไม้ผล” อย่างจริงจัง

- เตือนสตินิดนึ่ง พวกเรามักพูดว่า หลังเก็บผลหมดแล้วต้อง “พักต้น” จึงไม่ให้สารอาหารอะไรเลย ให้แต่น้ำอย่างเดียว น้ำก็ไม่สม่ำเสมอด้วย เรียกว่าให้ตามใจคน ทั้งๆที่ในความเป็นจริงนั้นต้นไม้ต้นพืชไม่มีการ “พัก” แต่อย่างใด ทุกวินาทีเขาต้องพัฒนาตัวเองเพื่อการเจริญเติบโต อย่างน้อยก็เพื่อ “เตรียมต้น” สำหรับการออกติดผลรุ่นต่อไป นั่นหมายความว่า เราต้องบำรุงเพื่อการเจริญเติบโตทางต้นก่อนแล้วบำรุงเพื่อการออกดอกต่อไป.... การปฏิบัติ คือ

– ทางใบ : ให้ไบโออิ (แม็กเนเซียม-สังกะสี) 2 รอบ สลับด้วย แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 15-20 วัน .... เริ่มให้ครั้งแรกทันทีหลังผลสุดท้ายหลุดจากต้น

- ทางราก : ใส่ยิบซั่ม เฟอร์มิกซ์ (ธาตุรองครบ 9 ตัว), ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, กระดูกป่น, ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ, หญ้าแห้งใบไม้แห้งคุลมโคนต้นหนาๆ, ให้ 2 รอบ รอบแรกหลังจากผลสุดท้ายหลุดจากต้น ให้รอบสองเมื่อเริ่มติดผลเล็ก .... ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 2 เดือน / ครั้ง, ให้ปุ๋ยสูตรตามระยะพัฒนาการ เดือนละครั้ง ให้น้ำสม่ำเสมอ พอหน้าดินชื้น

@@ เกษตรานุสติ :
- ปลูกมะยงชิดตามใจมะยงชิด ไม่ใช่ตามใจคน
- บำรุงเต็มทีได้ผลเต็มที บำรุงเต็มที่ได้ผลเต็มที่....บำรุงถึงๆ 100% ได้ผล 100% บำรุงไม่ถึง ได้แค่ 1%

-----------------------------------------------------------------------------------------------------


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©