-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร รายการวิทยุ 29 SEP.... ยางพาราใบไหม้, ลูกพลับลูกพรุน, อกร่องสุกเนื้อเละ, เฟื่องฟ้าไม่ออกดอก, พริกใบหงิก, มะนาววงปูนใบเหลือง, ข้าวหัวหงอก, ฟักทองไม่ติดลูก, ข้าวออกรวง, บอนไซ, ย่ำเทือกประณีต
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ทำนาลดต้นทุน ถ้าลดไม่ได้ ตายแน่ ๆ
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ทำนาลดต้นทุน ถ้าลดไม่ได้ ตายแน่ ๆ

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
DangSalaya
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011
ตอบ: 1874

ตอบตอบ: 24/05/2012 10:52 pm    ชื่อกระทู้: ทำนาลดต้นทุน ถ้าลดไม่ได้ ตายแน่ ๆ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ทำนาลดต้นทุน (ได้มากน้อยแค่ไหน)

สวัสดีครับลุงคิม

ผมไม่เคยปลูกข้าว แต่ได้ทดลองปลูกข้าวหอมดอยที่นครปฐม 4–5 ตร.ว.เอง ได้พันธุ์มาจากชาวมูเซอบนดอยที่ อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน อยู่ห่าง (สูง) จาก อ.ปายออกไปประมาณ 45 กม. ชาวมูเซอปลูกข้าวพันธุ์นี้ไว้กิน ปลูกบนดอยสูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ 1600 เมตร (แต่เวลานี้เริ่มผลิตออกจำหน่าย เพราะข้าวหอมดอยมูเซอเป็นหนึ่งในข้าว เบญจกระยาทิพย์ 5 สายพันธุ์)

ผมเอามาทดลองปลูกที่ นครปฐม ซึ่งอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลเพียง 3 เมตร จากอากาศหนาวสุด ๆ มาเจออากาศร้อนสุด ๆ ผมปลูกบนดินแห้ง รดน้ำให้แทนน้ำค้างบนยอดดอย ข้าวดอยมูเซอก็สามารถแตกกอ ออกรวง มีเมล็ด มีเนื้อเมล็ด ใกล้จะเกี่ยวได้แล้ว เกี่ยวแล้วจะเอาไปสีที่ไหนยังนึกไม่ออก ในหมู่บ้านมีเครื่องสีข้าวขนาดเล็กของ อบต.อยู่ 1 เครื่อง แต่เก็บเข้าพิพิธภัณฑ์ไปนานแล้ว ยิ่งมาโดนน้ำท่วมเมื่อ พย.54 ที่ผ่านมาสนิมจับเขลอะ ก็กลายเป็นเศษเหล็ก เครื่องนี้เป็นส่วนหนึ่งจากเงินภาษีของคุณ ๆ และของผม กรรมของใคร ผมคงต้องใช้ที่สีแบบโม่หมุนของโบราณ มีรูปให้ดูเพียง 4 รูปก่อนครับ รูปและเรื่องทั้งหมดจะนำเสนอต่อไป(ถ้าไม่ลืม)




1.- 27 มีค. 55




2.- 2 เมย.55




3.- 19 เมย.55




4.- 19 เมย.55


พูดถึงว่า ถ้าจะทำนาอินทรีย์นำ – เคมีเสริม ตามความเหมาะสม ตามแนวของลุงคิมนี่นะครับ ต้นทุนต่ำสุดไร่ละไม่เกิน 3,000 บาทถ้าทำ 20 ไร่ ต้นทุนก็ 60,000 ลุงคิมว่า จะเป็นไปได้หรือไม่

ถ้าผีไม่ซ้ำ ด้ามไม่พลอย คิดว่าได้ข้าวแค่ 15 เกวียนส่วนต่างถือว่าเป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ... ไอ้ราคาเกวียนละ 15,000 ไม่ต้องคิด เป็นเพียงฝันกลางแดด เอาแค่เกวียนละ 10,000 จะได้หรือเปล่ายังไม่แน่ คิดว่าแค่เกวียนละ 9,000 พอ คูณด้วย 15 = 135,000 หักต้นทุน 60,000 เหลือ 75,000 หักค่าเมล็ดพันธุ์ข้าว...ขึ้นอยู่กับว่า จะปลูกข้าวพันธุ์อะไร ถ้าซื้อเมล็ดพันธุ์จากป้ายโฆษณาว่า ที่นี่มีพันธุ์ข้าวปลูกขาย แน่ใจหรือว่า ชัวร์ 100 เปอเซ็ง ที่ขอแนะนำคือ

...ราคาจากศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวราชบุรี 032 – 711-142, คุณเฉลียว 084 – 859-9210, คุณสุชาสินี 085 – 295-5574
ข้าวขาวดอกมะลิ 105, กข.15 กก.ละ 22 บาท

ข้าวเจ้าไม่ไวแสง – ชัยนาท 1, ชัยนาท 80 (กข.29), ปทุมธานี 1, ปทุมธานี 80 (กข.31), พิษณุโลก 2, สุพรรณบุรี 1, สุพรรณบุรี 3 กก.ละ 20 บาท

ข้าวเหนียวทุกพันธุ์ – กข.6, กข.10, สันป่าตอง 1, เหนียวสันป่าตอง กก.ละ 18 บาท

(ราคานี้เป็นราคาปี 53-54 ราคาที่แน่นอนในปัจจุบัน ผมจะหาข้อมูลมาให้อีกครั้งหนึ่งครับ)


ความจริง ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าว มีสำนักงานอยู่หลายจังหวัด เท่าที่ผมมีข้อมูล มี 23 ศูนย์ทั่วประเทศ บังเอิญศูนย์ใกล้บ้านผมที่สุดคือ ศูนย์ราชบุรี โทรไปสั่งซื้อจะเอาพันธุ์ข้าวอะไร รวมเป็นเงินเท่าไหร่ + ค่าขนส่งไปที่นั่นที่นี่อีกเท่าไหร่ โอนเงินไปให้ศูนย์ ๆ จะส่งไปให้คุณถึงหัวกระไดบ้าน ไม่ต้องเมื่อยตุ้มไปตระเวนหาซื้อ ได้เมล็ดพันธุ์ที่แน่นอน ไม่มีปลอมปน

ขนาดคิดต้นทุนต่ำสุดแล้ว ได้ข้าวที่คิดว่าน้อยที่สุดแล้ว ยังได้เกือบจะ วัดครึ่งนึง
กรรมการครึ่งนึง แล้วที่ไอ้ทำแบบที่ลุงเคยพูดบ่อย ๆ เคมีบ้าเลือด จะเหลืออะไร

ลองคำนวณดูว่า ทำนาใช้ปุ๋ยสูตรกล้อมแกล้มยี่ห้อ E-Kim ย่อมาจาก Effective Kimzagass Intelligence Micro-organisms - กราบขออภัย ผมเรียกของผมเอง เนื่องจาก เวลาใครถามว่าผมใช้ปุ๋ยอะไรสีเหมือนปุ๋ย EM ครั้นผมจะบอกว่า ปุ๋ยลุงคิมก็คิดว่า พวกชาวนาชาวไร่ไฮโซ ไม่ชอบชื่อสินค้าภาษาไทย ก็เลยเอาเป็นว่า ใช้ปุ๋ย E-Kim ให้มันรู้แล้วรู้รอดไป ..แล้วมีขายที่ไหน.... โน่น วัดท่าตำหนักทุกเสาร์อาทิตย์ต้นเดือน ....แล้วแพงมั๊ย ...ตอบว่า ลิตรไม่ถึงหมื่นลองไปดูเอาเอง

ทีนี้ลองมาคำนวณต้นทุนทำนา 20 ไร่ ตามแบบลุงคิมว่ามีอะไรบ้าง
30 – 10 – 10 1 ไร่ 5 ลิตร ใส่ 2 ครั้ง 20 ไร่ก็ 200 ลิตร @ 100 = 20,000
16 – 8 – 8 1 ไร่ 20 กก. ใส่ 2 ครั้ง 20 ไร่ก็ 400 กก. 8 ลูก @ 800 = 6,400

ราคานี้ยังไม่ยืนยัน เพราะตอนที่ผมเคยซื้อปีที่แล้วมันลูกละ 7 ร้อยกว่า
ไบโออิ 20 ไร่ 10 ลิตรพอมั๊ยครับลุง @ 150 = 1,500
ไทเป 20 ไร่ 5 ลิตร @150
= 750
ยูเรก้า 20 ไร่ 5 ลิตร @ 300
= 1,500
แคลเซี่ยม-โบร่อน ซูเปอร์ ทำเอง 20 ลิตร = 500
สมุนไพรกำจัดแมลง 20 ไร่ 50 ลิตร(น้อยไปมั๊ยครับ)@ 200 = 10,000
แม็กนีเซี่ยม –Max Speed 1 ซอง = 100
สังกะสี – BK 80 1 ซอง = 200
ยิบซั่ม –ทันเดอร์แมกซ์ 20 ไร่ 40 กระสอบ = 150
กลูโคส 10 ลิตร หมักหน่อกล้วยย่อยฟาง @ 110 = 1,100
NAA 1 ขวด 500 ซีซี = 250
JIB, 1 ขวด 500 ซีซี = 350 = 42,650
ค่าไถ ค่าทำเทือก ค่าพ่นปุ๋ยฉีดยา ค่าอื่น ๆ = 17,350
รวมเบ็ดเสร็จ ต้นทุนโดยประมาณ 60,000

ยังไม่ได้รวมค่าเมล็ดพันธุ์ข้าวเลยว่าจะใช้พันธุ์ไหน ใช้ไร่ละกี่ กก. ทางศูนย์แนะนำว่า ใช้ไร่ละ 25 กก. (2 ถังครึ่ง) ผมว่ามากไปนะ 10 กก. ก็ยังว่ามาก คุณชัชวาล ไร้ซ์เบอรรี่ ใช้แค่ 5 กก.ต่อไร่เอง บางคนว่า ใช้น้อยหญ้าขึ้นปน แต่ถ้าเตรียมแปลงแบบลุงคิม ....เทือกครึ่งน่อง หญ้าคงมีน้อย

การคำนวณต้นทำข้างต้น เป็นไปได้ หรือควรเพิ่ม ลด อะไรอย่างไรครับ ขอคำชี้แนะด้วย

ต้นทุนแท้ ๆ แบบคนไทย คำนวณยากครับ นิสัยคนไทย ..เครียด กินเหล้า เกี่ยวข้าวเสร็จ กินเหล้า ขายข้าวได้ กินเหล้า

เออ ลุงครับ แล้ว 850,000 ..แปดแสนห้าหมื่นล้าน ที่กู้มาเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วม เค้ากิน เอ๊ย เค้าทำกันไปถึงไหนแล้วครับ ผมเห็นมีแต่ขุดลอกคลองเล็ก ๆ แล้วก็เอาดินแปะไว้ข้าง ๆ เพราะข้างบนติดบ้านคนที่ปลูกในที่ชลประทาน .... ก็ในเมื่อรัฐบาลยังเป็นหนี้ แล้วทำไมชาวนาจะเป็นหนี้บ้างไม่ได้ ถ้าไม่เป็นหนี้ก็ไม่ใช้คนทันสมัยซีครับ ลุ๊ง มีคำกลอนว่าไว้



ความเป็น เสือ เหลืออะไรในวันนี้
นอกจากหนี้ท่วมเมืองกับเรื่องเศร้า
มาพลิกฟื้นผืนแผ่นดินถิ่นบ้านเรา
ที่อับเฉาให้เรืองรองดั่งทองทา

ให้รวงข้าวพราวไสวในท้องทุ่ง
ให้วันพรุ่งมีรอยยิ้มอิ่มทั่วหน้า
เศรษฐกิจพอเพียงเลี้ยงชีวา
สุขประสาเสรีชนคนติดดิน




.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย DangSalaya เมื่อ 02/10/2013 9:41 am, แก้ไขทั้งหมด 3 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
cherm
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 17/11/2011
ตอบ: 237

ตอบตอบ: 25/05/2012 4:42 pm    ชื่อกระทู้: ขออนุญาต เพิ่มเติมด้วย ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีค่ะ

ยัยเฉ่ม ขออนุญาติแจมด้วยคนค่ะ

คุณแดง ศาลายา คำนวน ค่าใช่จ่าย ประมาณ 60,000.- บาท ยัยเฉิ่มขอเพิ่มเติมในส่วนของยัยเฉิ่ม

ค่าทำเถือกเพิ่มจำนวนรอบ ที่ลุงบอก ย่ำสองรอบสามรอบ 6,000.-บาท
ค่าน้ำมัน สำหรับขึ้นน้ำ + ค่าแรง 5,000.-
ค่าเช่า ไร่ละ 20 ถัง 20 x 20 = 400 ถัง เกวียนละ 13,000 = 52,000.-บาท

รวม 60,000 + 6,000 + 5,000 + 52,000 = 123,000.-

ยัยเฉิ่ม ถึงรู้สึกกังวลใจ ว้าวุ่น จะขาดทุนไหมนะ ขาดทุนแล้วทำไงดี เดินหน้าต่อไปหรือถอยหลัง

จำนวนเงิน 123,000 ยังไม่ร่วมเกิดกรณี เครื่องจักรชำรุดต้องซ่อมระหว่างทำนา


ยัยเฉิ่ม จะเป็นชาวนา




.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
DangSalaya
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011
ตอบ: 1874

ตอบตอบ: 25/05/2012 7:57 pm    ชื่อกระทู้: ทำนาลดต้นทุน (ได้มากน้อยแค่ไหน) ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดี ยัยเฉิ่ม

ที่ผมคิดราคาข้าวต่ำสุดเกวียนละแค่ 9,000 เองนะ ถ้าได้เกวียนละ 13,000 ก็จะได้ 195,000 หักต้นทุนตามที่ยัยเฉิ่มคิดคือ 123,000 ก็จะเหลือ 72,000 ...นี่ขนาดว่า ใช้ปุ๋ยราคาถูกแล้วนะ แล้วก็คิดผลได้เนื้อข้าวแค่ 15 เกวียนเอง ถ้าหากว่ามันได้ผลถึง 18 เกวียน ข้าวก็จะเพิ่มขึ้นมาอีก 3 เกวียน = 13,000 x 3 = 39,000 + 72,000 = 111,000 ....คิกแล้วก็ยังไม่เป็นที่พอใจนัก ผมคิดว่ามันน่าจะมีทางลดต้นทุนลงได้อีก นอกจากผสมปุ๋ยบางอย่างใช้เอง ทำสมุนไพรใช้เอง น่าจะมีทางอื่นอีกหรือไม่ ขอลองฟังคำตอบจากลุงคิมเป็นแนวทางก่อน เพื่อจะได้มาปรับเข้ากับสภาพท้องถิ่น ...ดิน น้ำ สายลม แสงแดด ของโพธาราม, ศาลายา, เวียงชัย-เชียงราย ต้องมีทางที่จะทำ 20 ไร่ให้ได้มากกว่า 20 เกวียน (เวียตนามยังทำ นาหยอด ได้เกิน 130 ถังต่อไร่) นอกจากลุงคิมแล้ว ยังมีปรมาจารย์ที่ผมเคยได้ยินกิตติศัพท์มือวาร์ปลูกข้าวชั้นเทพ .... คุณชัชวาลย์ เวียร่า เจ้าพ่อไรซ์เบอร์รี่, คุณชัยพร พรหมพันธุ์ ชาวนาเงินล้านแห่งบางปลาม้า , ทิดแคน-อจ.สยาม หนูทอง จอมยุทธข้าวหอมนิลนาโยน แห่งศรีประจันต์ อ้อ มี อจ.เดชา ศิริภัทร แห่งมูลนิธิข้าวขวัญ - รร.ชาวนาอีกท่านนึง


กราบขออภัย ขออนุญาตใช้เว็ปของลุงแนะนำ คุณชัยพร พรหมพันธุ์ เพื่อเป็นแรงบันดาลใจกับ คนทำนาแล้วขาดทุน แต่คุณชัยพรทำแล้วได้เงินล้าน ขออนุญาตครับ

เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

"ใครว่าทำนาแล้วจน...ไม่จริงหรอก ทำนามันดีกว่าทำงานกินเงินเดือนอีก" นี่คือคำพูดยืนยันหนักแน่นจากปากของ ชัยพร พรหมพันธุ์ เกษตรกรดีเด่นสาขาอาชีพทำนา ที่ ชัยพร พรหมพันธุ์ กล้าการันตีแบบนี้ก็เพราะว่าชาวนาอย่าง ชัยพร พรหมพันธุ์ ทำกำไรเหนาะ ๆ หักต้นทุนเรียบร้อยแล้ว เมื่อฤดูกาลผลิตที่แล้ว 2,000,000 บาทเศษ และฤดูที่เพิ่งผ่านพ้นไป 1,000,000 บาทเศษ ๆ และตลอดหลายปีที่ผ่านมา มีเงินเหลือใช้มากพอ จนสามารถกำหนดเงินเดือนให้ตัวเองและภรรยาในอัตราเดียวกับผู้บริหารเสื้อคอปกขาวในเมือง มีโบนัสจากผลประกอบการไม่เคยขาด โดยเฉลี่ยก็มีรายได้ตกคนละประมาณ 60,000 – 70,000 บาท ปีก่อนนี้ซื้อทองเส้นเท่าหัวแม่โป้งมาใส่ พร้อม ๆ กับถอยรถกระบะมาขับเล่น ๆ อีกต่างหาก

ซึ่งนอกจากเงินเดือนและโบนัสสูงแล้ว ชัยพร พรหมพันธุ์ ยังซื้อที่ดินขยายการผลิตออกไป 30 เปอร์เซ็นต์ ในช่วง 20 ปี ด้วยเงินสด ไม่เคยขาดทุนจากการทำนาต่อเนื่องมานับตั้งแต่ปี 2533 ไม่เคยมีหนี้สิน มีหลักประกันสุขภาพชั้นดี จากการส่งประกันชีวิตประกันสุขภาพระดับ A เดือนละร่วมแสน ส่งลูก 3 คน เรียนจบปริญญาโทโดยขนหน้าแข็งไม่ร่วง...วันว่างยังพาลูก ๆ ออกไปหาของกินอร่อย ๆ นอกบ้าน ชาวนาคนนี้เขาทำได้อย่างไร ทำไมชีวิตจึงมีเงินเก็บมากมายขนาดนี้ วันนี้กระปุกดอทคอมจะพาไปเรียนรู้การใช้ชีวิตจากเขากันค่ะ...

นายชัยพร พรหมพันธุ์ ชาวนาวัย 48 อยู่บ้านเลขที่ 35 หมู่ที่ 1 ตำบลบางใหญ่ อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน อำเภอบางปลาม้า สมรสกับคุณวิมล พรหมพันธุ์ บุตรมี 3 คน เป็นชาย 1 คน หญิง 2 คน รักอาชีพการทำนาเป็นชีวิตจิตใจ ความมั่งคั่งมั่นคงทั้งปวง ได้มาจากการทำนาโดยสุจริต ไม่เอาเปรียบดินไม่เอาเปรียบน้ำ คิดซื่อ ขยันขันแข็ง และมีสองมือหยาบกร้านจากการทำงานหนักเช่นชาวนาทั่ว ๆ ไป โดยชาวนาโดยส่วนใหญ่คู่กับตำนานยิ่งทำยิ่งจน ทำนาจนเสียนา แต่สำหรับเขา ทำนาบนที่ดินมรดกพ่อ 20 กว่าไร่ กับอีกส่วนหนึ่งเขาเช่าเพิ่มเติม ทำไปทำมาก็ซื้อที่นาเช่ามาเป็นของตัวเอง ปาเข้าไป 100 กว่าไร่ แถมซื้อที่นามาโดยไม่เคยกู้แบงก์ ไม่เคยเป็นลูกค้าขี้ข้าใคร

"ผมล้มมาเยอะเหมือนกัน" สำเนียงเหน่อ ๆ ของลูกชายคนโตของผู้ใหญ่บ้านแห่ง ตำบลบางใหญ่ ผู้เพียรพยายามหาหนทางตั้งตัว เคยทำแม้แต่นากุ้งและสวนผลไม้คละชนิด แต่สู้น้ำไม่ไหว ต้องกลับมาเป็นชาวนาตามรอยพ่อ

"ทำนาเคมีมา 20 กว่าไร่ ครั้งแรกปี 2525 ได้ข้าว 13 เกวียน จำได้แม่นเลย ขายได้เกวียนละ 2,000 บาท ขาดทุนยับ พอดูหนทาง เลยไปสมัครเป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน คิดว่าจะได้เบิกเงินค่าเรียนลูก เพราะมองอนาคตแล้วว่าไม่มีปัญญาส่งลูกแน่ แต่ปี 2531 เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลอาละวาดหนัก แถวบ้านเราโดนกันหมด ก็พอดีอาจารย์เดชา ศิริภัทร ทำเรื่องนาอินทรีย์และใช้สมุนไพร มาขอทำแปลงทดลองปลูกสมุนไพร พ่อก็แบ่งนาให้ 5 ไร่ ด้วยความเกรงใจ อาจารย์ก็เริ่มทดลองใช้สะเดาสู้กับเพลี้ย เครื่องไม้เครื่องมือเยอะ ผมก็ไปช่วยอาจารย์ฉีด ก็ฉีดไปยังงั้น เราไม่ได้ศรัทธาอะไร แต่ปรากฎว่าแปลงนาที่สารเคมีเสียหายหมด ส่วนแปลงนาที่ฉีดสะเดากลับไม่เป็นอะไร

ผมก็เริ่มจะเชื่อแล้ว แต่ก็ยังไม่เต็มร้อย เลยเอามาทำในนาของผมเอง ซึ่งปีนั้นชาวนาโดนเพลี้ยกันเยอะมาก หน่วยปราบศัตรูพืชจังหวัด เขาเลยเอายาที่ผสมสารเคมีมาแจก ผมก็ลองเอามาใช้ โดยแบ่งว่าแปลงนานี้ฉีดสารเคมี แปลงนานี้ฉีดสะเดา ซึ่งผลก็ปรากฎออกมาว่า แปลงนาที่ฉีดสะเดาปลอดภัยดี เก็บเกี่ยวข้าวก็ดี แต่แปลงที่ฉีดสารเคมีตายหมด ตั้งแต่นั้นมาก็เลยเชื่อสนิทใจ แล้วมาลองทำเองดู ผมก็หักกิ่งก้านสะเดามาใส่ครกตำเอง ภรรยาก็บ่นว่าทำไปทำไมเสียเวลา แต่ผมรั้น คือยังไงก็ขอลองหน่อย ก็เอาไปฉีดแล้วข้าวก็ได้เกี่ยว ผลผลิตก็ออกมาดีเกินคาด ทีนี้ชาวบ้านก็แห่มาขอสูตรเอาไปทำบ้าง แต่ก็ไม่ค่อยมีใครประสบผลสำเร็จ เพราะเขาใช้สมุนไพรคู่กับยาเคมี บางคนใช้เคมีจนเอาไม่อยู่แล้วถึงหันมาใช้สะเดา พอมันไม่ได้ผลทันตาเห็น ก็กลับไปใช้สารเคมีกันเหมือนเดิม” เกษตรกรดีเด่นสาขาอาชีพทำนา กล่าว

การคิดต้นทุนของเขา ลงทุนเต็มที่ตกไร่ละ 2,000 บาท ในขณะที่ขายได้เกวียนละไม่ต่ำกว่า 8,000 บาท ซึ่งหลังจากเขาทำนาอินทรีย์ได้เพียง 3 ปี มีเงินเหลือมากกว่า 6 ปี ที่มัวจมอยู่กับปุ๋ยยา อย่างไรก็ตาม หลังจากผ่านร้อนผ่านหนาวมามากมาย ก็ใช่ว่าชัยพรจะหวงวิชาความรู้ เขายังได้ให้คำปรึกษากับผู้ที่มีปัญหา และสนใจในวิถีเกษตรอินทรีย์ ที่โทรมถามาขอคำปรึกษาตามสายแทบจะทุกวัน

ใครว่าทำนาแล้วจน...ไม่จริงหรอก" ชัยพร ยืนยันหนักแน่นซ้ำอีก สำคัญตรงที่ต้องทำนาแบบใช้สมอง ไม่ใช่ทำนาแบบเป็นผู้จัดการนาสถานเดียว

"ถ้าเป็นผู้จัดการนาล่ะจนแน่ มีมือถือเครื่องเดียวโทรสั่งตามกระแส มีนาอย่างเดียว ที่เหลือจ้างเขา เริ่มทำไร่นึงก็ต้องมีพันกว่า ตั้งแต่ทำเทือก ทำดิน ไปยันหว่าน เฉพาะได้แค่ต้นนะ ยังไม่รู้เลยว่าจะได้เกี่ยวไหม จากนั้นต้องฉีดยาคุมหญ้า ใส่ปุ๋ยอีกหลายพัน ของเราต้นทุนไม่กี่สตางค์ อาศัยว่าต้องละเอียดอ่อน ต้องรักษาธรรมชาติ แล้วก็ต้องเป็นลูกจ้างตัวเอง ไม่ใช่ผู้จัดการ พอไปพูดกับเขา เขาก็บอกนาเขาน้อย แล้วก็เช่าเขา ทำอินทรีย์ไม่ได้หรอก ผมก็บอกว่าเมื่อก่อนผมก็เช่า ทำไมยังทำได้ ทำจนมีเงินซื้อนา เขาไม่คิดย้อนกลับไงว่าสมัยปู่ย่าตายายทำนา มันมียาที่ไหนล่ะ คนโบราณยังได้เกี่ยว ของเรายังดี มีสะเดาให้ฉีด สมัยโบราณมีที่ไหนล่ะ ไอ้บางคนเห็นข้าวเราเขียว ก็บอกว่าคงแอบใส่ปุ๋ยกลางคืนละมั้ง แหม๋! กลางวันยังไม่มีเวลาเลย จะมาใส่ปุ๋ยกลางคืน มาฉีดให้งูมันเอาตายเรอะ" ชัยพร กล่าว

ทุกครั้งที่ขายข้าวได้ เขาจะนึกถึงบุคคลที่นำเอาวิธีเกษตรอินทรีย์มาให้เขาได้รู้จัก และปรับใช้ในที่นาของเขา จนมีเงินเหลือเก็บ ... "ถ้าผมไม่ได้เจออาจารย์เดชาก็คงไม่ได้เกิดหรอก คงไม่ได้ส่งลูกเรียนปริญญาโทไป 2 คน อีกคนก็ว่าจะเรียนปีหน้า ลูกมาทีเอาเงินค่าเทอมทีละ 40,000 – 50,000 บาท ก็ยังเฉย ๆ เรามีให้"

ขณะที่ อาจารย์เดชา ศริรภัทร แห่งมูลนิธิขวัญข้าว ผู้เพียรพยายามเผยแพร่วิถีการทำนาอินทรีย์ยืนยันว่า ไม่ได้ช่วยอะไรชัยพรมากกว่านั้น ความสำเร็จทั้งปวงเกิดจากตัวชัยพรเอง แต่สำหรับชาวนา ป.4 ถือเป็นบุญคุณใหญ่หลวงที่ทำให้เขาก้าวมาได้ถึงวันนี้

ลูก 3 คน ของชาวนา ป.4 คนโตกำลังเรียนปริญญาโท สาขาปรับปรุงพันธุ์พืช ที่มหาวิทยาลัยเกษตร กำแพงแสน คนกลางเรียนปริญญาโทเศรษฐศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ส่วนลูกสาวคนเล็กเพิ่งจบปริญญาตรี เกียรตินิยม จากคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ตอนนี้ทำงานธนาคาร ทุก ๆ เย็นวันศุกร์ที่ลูก ๆ กลับบ้าน ครอบครัวชาวนาเล็ก ๆ ก็จะคึกคักมีชีวิตชีวา ขับรถออกไปหาของอร่อยกินกัน ในขณะที่ชาวนาต้นทุนสูงนาติดกันไม่เคยคิดฝันว่าจะมีโอกาสเช่นครอบครัวของชัยพร



ลมทุ่งพัดอู้มา เมฆตั้งเค้ามาทางขอบฟ้าตะวันตก นารกฟางของเขาแผ่ขยายออกไปลิบตา ชัยพรยืนพิงรถลากมองดูอย่างพอใจ ลูก ๆ โตกันหมด ได้เรียนกันสูง ๆ เปลื้องภาระไปอีกเปลาะ สองคนสามีภรรยาตกลงกันว่า นาปีนี้จะเอาโบนัสใหญ่คนละเส้น แล้วแบ่งรายได้แข่งกัน ลูกสาวคนโตบอกว่า เรียนจบโทเมื่อไหร่จะกลับมาช่วยพ่อทำนา จะได้เพลาแรงพ่อ แต่พ่อกลับบอกว่า ยังทำนาสนุกอยู่

"ลูกเขาไม่อายหรอกที่พ่อเป็นชาวนา พอเราออก ทีวี. อาจารย์เขาเห็น เพื่อนเขาเห็น ยังมาถามเลยว่า ไม่เห็นบอกเลยว่ามีพ่อเป็นถึงเกษตรกรดีเด่นของประเทศ บางทีต่อไปถ้าคนเปลี่ยนมาทำนาอินทรีย์กันทั้งประเทศ นาดีมีกำไรกันหมด การบอกใครต่อใครว่าเป็นลูกชาวนา อาจเป็นความภูมิใจ เหมือนกับยุคหนึ่งที่คนได้ปลื้มไปกับการเป็นลูกพระยาก็ได้" ชัยพร กล่าวหน้าบาน พร้อมเล่าต่อว่า ตอนนี้เรายังทำสนุก ก็อยากขยายที่ทำให้กว้างออกไป ทำไปเถอะ ทำไปเรื่อย ๆ ทำเพลิน ๆ ไม่ขาดทุนหรอก ทำนาน่ะ มีแต่กำไร บอกกับตัวเองว่าถ้าฤดูนี้ได้ร้อยกว่าเกวียนจะขอโบนัสทอง 10 บาท บอกอย่างนี้ก็เลยต้องขยันฉีดฮอร์โมน ทำดิน ทำจิปาถะ แล้วก็ได้

และนี่คือวิถีชีวิตของ ชัยพร พรหมพันธุ์ ชาวนาร้อยล้าน ที่สามารถลบคำกล่าวที่ว่า "ทำนามีแต่จน" ได้สำเร็จ… โดยทั้งหมดทั้งมวลที่ทำให้เขาสามารถมีวันนี้ได้ก็เพราะการทำนาแบบเกษตรอินทรีย์ ไม่ใช้สารเคมี นอกจากจะเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายแล้ว ยังสามารถเพิ่มผลผลิตได้มากขึ้นอีกด้วย และอีกสิ่งหนึ่งที่ทำให้เขาประสบความสำเร็จคือ การเป็นคนขยัน ลงมือปฏิบัติเอง แถมไม่กู้หนี้ให้เป็นภาระอีกต่างหาก…

ก็อยากให้ ยัยเฉิ่ม ได้อ่าน จะได้มีแรงใจว่า ทำนาอินทรีย์กว่าจะมีเงินล้าน ต้องฝ่าฟัน ต่อสู้กับวิกฤตขนาดไหน และคนที่เคยดูถูกการทำนาอินทรีย์ของคุณชัยพร ก็ยังเป็นหนี้เหมือนเดิม ....ลุงคิมพูดเสมอว่า แล้วไอ้เจ้าของนาที่อยู่ข้าง ๆ น่ะ มันทนดูเขาทำได้อย่างไร ทำไมไม่เปลี่ยนค่านิยมทำแบบเขา ...

ขอบคุณครับลุงคิม ...ตอบด้วยนะ เรื่องการจะลดต้นทุนได้อีกอย่างไร ให้เหลือ ไร่ละ 2,000 บาท อย่างของคุณชัยพร

คุณชัยพร ฯ หว่านข้าวบนฟาง เตรียมแปลงอย่างไรครับลุง ไม่ต้องไถ ไม่ต้องทำเทือก ถ้าทำได้ ลดต้นทุนได้อีกแน่ ๆ แต่ทำอย่างไรครับลุง





.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
DangSalaya
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011
ตอบ: 1874

ตอบตอบ: 06/07/2013 1:49 am    ชื่อกระทู้: ทำนาลดต้นทุน ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีครับลุงคิม ...

ผมเคยนำเสนอเรื่องการทำนาลดต้นทุนไว้ครั้งหนึ่ง นานมาแล้ว พอจะใช้กับคำถามที่สมาชิกถามมั๊ยครับ....
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11563

ตอบตอบ: 06/07/2013 7:05 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

169. ทดลอง ข้าวชัยนาท1 นาน้ำฝน 900 กิโลต่อไร่ ต้นทุนไร่ละ 1,900 บาท


ผลการทดลองออกมาว่า (ผมทดลองนาน้ำฝนนะครับ)

แบบที่ 1 ..... 600-650 กิโลต่อไร่ ต้นทุน ค่าปุ๋ย 1,200 บาทต่อไร่
แบบที่ 2 ..... 650-680 กิโลต่อไร่ ต้นทุน ค่าปุ๋ย 800 บาทต่อไร่

แบบที่ 3 ..... 600-750 กิโลต่อไร่ ต้นทุน ค่าปุ๋ย 900 บาทต่อไร่
แบบที่ 4 ..... 850-1,350 กิโลต่อไร่ ต้นทุน ค่าปุ๋ย 1,000 บาทต่อไร่

ราคาไม่รวมค่าพันธ์ข้าวนะครับ



http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=3200&postdays=0&postorder=asc&start=250&sid=0eadc7cab5603b578a1149b82954f531


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11563

ตอบตอบ: 07/07/2013 3:19 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

169. ทดลอง ข้าวชัยนาท1 นาน้ำฝน 900 กิโลต่อไร่ ต้นทุนไร่ละ 1,900 บาท

ผลการทดลองออกมาว่า (ผมทดลองนาน้ำฝนนะครับ)

แบบที่ 1 ..... 600-650 กิโลต่อไร่ ต้นทุน ค่าปุ๋ย 1,200 บาทต่อไร่
แบบที่ 2 ..... 650-680 กิโลต่อไร่ ต้นทุน ค่าปุ๋ย 800 บาทต่อไร่
แบบที่ 3 ..... 600-750 กิโลต่อไร่ ต้นทุน ค่าปุ๋ย 900 บาทต่อไร่



แบบที่ 4 ..... 850-1,350 กิโลต่อไร่ ต้นทุน ค่าปุ๋ย 1,000 บาทต่อไร่

COMMENT : ปุ๋ยอินทรีย์เคมี-ยาสมุนไพร ทำเอง 100% ต้นทุน 1,000 (-) แน่นอน



ราคาไม่รวมค่าพันธ์ข้าวนะครับ

COMMENT : เมล็ดพันธุ์ทำเอง ต้นทุนลดอีก




http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=3200&postdays=0&postorder=asc&start=250&sid=0eadc7cab5603b578a1149b82954f531


.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 07/07/2013 4:11 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11563

ตอบตอบ: 07/07/2013 4:09 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.

อีก CASE STUDY หนึ่งที่น่านำมาเป็น GUIDE LINE


นาหว่านอินทรีย์เคมี 9 ไร่, พันธุ์ กข.31, ได้ 9 (+) เกวียน, ความชื้น 23%, เมล็ดลีบน้อย, ท้องไข่น้อย, น้ำหนักดี, ใช้เมล็ดพันธุ์ 25 กก/ไร่, ได้ราคาประกัน 12,300, ลงทุน 3,200/ไร่ .... สงบ นาคมณี (081) 147-8727 บางเลน นครปฐม

.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11563

ตอบตอบ: 07/07/2013 4:10 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.

อีก CASE STUDY หนึ่งที่น่านำมาเป็น GUIDE LINE


นา 65 ไร่ รุ่นที่แล้ว ได้ 83 เกวียน ต้นทุน 4,500 (รวมค่าเช่า 1,000)
นารุ่นนี้ จะเกี่ยวกลางเดือนนี้ (15 ก.ค.) กะว่าได้ 70 (+) เกวียน
พนมฯ (084) 776-9892 ต.บ้านช้าง สองพี่น้อง สุพรรณบุรี


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
toodtoo
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 13/10/2012
ตอบ: 95

ตอบตอบ: 28/09/2013 8:26 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีครับลุง พี่ทิดแดง


เปิดมาอ่านเจอกระทู้อันนี้ของทิด น่าคิดนะครับ เพราะในสภาวะ รับจำนำข้าว เกวียนละ 12,000 ซึ่งราคาที่ชาวนาจะได้รับจริง ๆ อาจจะตั้งแต่ 8,500 - 10,000 ถ้าไม่พยายามทำนาให้ลดต้นทุนให้เหลือน้อยที่สุด ผมคิดว่า ชาวนาตายสนิทแน่ ๆ

ตอนนี้ยังไม่รู้สึกครับ รอให้ข้าวออกมาซะก่อน จะรู้เองว่า ได้ราคาเท่าไหร่ หักค่าปุ๋ยค่ายา ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ แล้ว จะเหลือเท่าไหร่ และถ้า.....

ทำนาอย่างเดียว ไม่คิดทำหรือปลูกอย่างอื่นแซม บนที่ว่างริมคันนาด้วยแล้วละก็ ตายกับตาย

ขอบคุณลุงคิม ขอบคุณทิดแดง ที่แนะนำให้ปลูกพืชผักบนคัน และริมแปลงนา ทุกวันนี้ ผักริมนาได้เงินเดือนละหมื่นกว่าบาทแทบทุกเดือน แม่บอกผมว่า ....

....ไอ้ทิด เราทิ้งเงินไว้ริมคันนาไปไม่ใช่น้อย ไม่งั้นพ่อเอ็งหมดหนี้ไปนานแล้ว....


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
teeen2005
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 19/11/2012
ตอบ: 163

ตอบตอบ: 28/09/2013 10:27 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

toodtoo บันทึก:

....ไอ้ทิด เราทิ้งเงินไว้ริมคันนาไปไม่ใช่น้อย ไม่งั้นพ่อเอ็งหมดหนี้ไปนานแล้ว....

.



สวัสดีครับลุงคิม และ สมช.ทุกท่าน

ไม่ใช่มีแค่นั้นน่ะ toodtoo ชาวนาชอบคิดว่าปีหน้้าข้าวราคาจะดี 12,000-15,000 บาท (ตั้งเป้าหมายที่ควบคุมไม่ได้สูงไว้มาก)

1. ชาวนาไม่รู้เรา ไม่รู้ว่าตัวเองจะควบคุมปัจจัยการผลิตอย่างไร ที่จริงแล้ว เขาอยากออกจากวงจรเหล่านี้น่ะครับ แต่ไม่รู้ทำอย่างไร ก็เลยใช้ความนิ่ง ไม่ยอมทดลอง รอให้มีใครสักคนนำก่อน ถ้าดีฉันขอตาม ขอแบ่ง ถ้าชิบหายฉันรอสมน้ำหน้า(อยู่ดีๆ ไม่ว่าดี ดันคิดแปลก บ้าทำเอง) ไม่ได้พูดเกินจริงมีเห็นมานักต่อนักแล้ว จากตัวผมเอง

2. ชาวนาไม่รู้เขา ไม่รู้วว่าเจ้าของโรงสีจะตั้งราคาเท่าไรในปีหน้า ที่จริงรู้โดยประมาณ แต่รอให้รัฐช่วย ต่อไปจะไม่มีอีกแล้วโครงการนี้หรือไม่ก็มีน้อย ต่อไปจะเห็นลูกที่งอแงจะกินขนมหวาน ที่พ่อแม่ให้กินบ่อยๆ ต่อไปไม่ไ้ด้กินก็จะออกมาตามท้องถนน เพื่อร้องขอกินขนมก้อนนั้น จะเจอตาม TV อีกมากมาย ในหลายพืชที่เขาชอบปลูกกัน

3. ชาวนาไม่รู้การณ์ หรือเหตุการบ้านเมือง ตลาด โลกที่มันเปลี่ยนไป

และมีให้เห็นเป็นตัวอย่างแถวบ้านผม ตอนหมดฤดูทำนา ก็ไม่ได้ทำอะไรกัน บางที่ก็จับเข่าคุยกันว่าใครได้ข้าวเท่าไรกัน บางคนได้น้อยก็ทับถม จิปาถะ ผมเคยถามคนเหล่านั้น หน้าแล้งไม่ทำผักขาย ทำเกษตรหน้าแล้งหรือ ก็ได้คำตอบว่าไม่มีน้ำ (ที่จริงมีน้ำ แต่อยู่ใต้ดิน แต่ไม่ยอมลงทุน รอรัฐ) เรื่องนี้มันอยู่ที่ข้างใน มันคือความคิด นับวันเด็กรุ่นใหม่จะหนีจากอาชีพเกษตรมากขึ้น ต่อไปเราจะเป็นสังคมบริโภค บริโภคสินค้าจากประเทศเพื่อนบ้าน (จากข่าว เรานำเข้าข้าวจากเขมร เรานำเข้ามาทำไมข้าวบ้านเรามีตั้งมาก ขายก็ไม่ออก)

ชาวนามืออาชีพจริง :
1. ต้องรู้เรา รู้เขา รู้การณ์
2. ต้องมีรายได้ทุกอาทิตย์ รายได้เดือน รายได้ปี
3. ต้องมีการวางแผนการเงิน เก็บ ทำประกันชีวิต ประกันสุขภาพ เผื่อตอนวัยแก่ หรือยามเจ็บป่วยจากการทำงาน....สำคัญน่ะ


.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย teeen2005 เมื่อ 30/09/2013 6:08 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11563

ตอบตอบ: 29/09/2013 6:54 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.

VERY GOOD ..... เป๊ะเลย สะใจ (ว่ะ....)

.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©