-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ถามลุงคิม-คุณแดง..ปุ๋ยกล้วยไม้
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถามลุงคิม-คุณแดง..ปุ๋ยกล้วยไม้
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถามลุงคิม-คุณแดง..ปุ๋ยกล้วยไม้
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
tanapole
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 31/03/2014
ตอบ: 48

ตอบตอบ: 09/05/2014 1:38 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.

สวัสดีครับลุงคิม และ สมาชิกทุกๆท่าน

ผมไม่ได้ใช้สารใดๆเพื่อขจัดคลอรีนในน้ำประปาในการเลี้ยงกล้วยไม้
ปัจจุบันนี้ผมกักน้ำประปาทิ้งไว้ 2 วัน

เรื่องหินปูนในน้ำประปาเขตบ้านผม (โรงผลิตน้ำบางเขน) พอมีบ้างเล็กน้อย

ผมไม่ได้เดา หรือ นึกเอาเอง แต่เป็นข้อมูลจากการประปานครหลวง
เข้าไปหาได้จากเวปไซต์ของการประปา
ส่วนความน่าเชื่อถือ...อันนี้ผมไม่มีความเห็น

ที่ผมบอกว่าใช้ โซเดียม ไธโอซัลเฟต ขจัดคลอรีนในน้ำประปา
นั่นมันสำหรับขจัดคลอรีน เตรียมน้ำสำหรับเลี้ยงปลาสวยงามที่ผมเลี้ยงอยู่เท่านั้น

เรื่องการใช้กรดไนตริก ปรับค่า pH กำลังทำ
ตอนนี้มีกรดไนตริกเรียบร้อยแล้ว ยังขาดอุปกรณ์บางอย่าง (กระบอกตวงแบบแก้ว)

จุดประสงค์หลักของการปรับลดค่าความเป็นกรดหรือด่าง
- ในการผสมสารป้องกันเชื้อรา ค่า pH ในช่วง 5-6.5 ทำให้สารออกฤทธิ์ได้ดีขึ้น
มีความคงทนนานขึ้น น้ำที่เป็นด่างจะทำให้สารป้องกันเชื้อราเสื่อมฤทธิ์เร็ว

เรื่องการใช้น้ำแข็ง...ผมใช้อยู่ แต่ไม่ใช่ใส่ถังน้ำ
ผมใส่ฟ็อกกี้ฉีด เห็นอากาศมันร้อบอบอ้าว เลยฉีดพ่นเป็นละอองในอากาศ
ก็ทำได้เพียงวันที่ผมอยู่บ้าน วันเสาร์-วันอาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์เท่านั้น

เดี๋ยวผมต้องออกไปข้างนอก...ไปซื้อกระบอกตวง

รอคุณแดงมาต่อ....

สวัสดีครับ


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
tanapole
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 31/03/2014
ตอบ: 48

ตอบตอบ: 09/05/2014 4:25 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีครับลุงคิม, คุณแดง และ ท่านสมาชิกทุกท่าน...

กลับจากไปซื้อกระบอกตวง (ศึกษาภัณฑ์ ราชดำเนิน)

หลังจากเตรียมกรดไนตริก ความเข้มข้น 15 mol. (68%) + น้ำสะอาด
อัตราส่วน กรดไนตริก 1 ส่วน(450 มิลลิลิตร)
น้ำสะอาด 1 ส่วน (450 มิลลิลิตร)
ได้กรดไนตริกพร้อมใช้ 900 มิลลิลิตร
ตำราเขาบอกว่า ให้ใช้กรดไนตริกพร้อมใช้ 5 ml. / น้ำ 20 ลิตร
แต่ไม่ได้บอกว่าน้ำดั้งเดิมที่จะนำมาปรับค่า pH มีค่า pH เท่าไร?
(ไม่ใช่อัตราส่วนที่คุณแดงบอกนะครับ)

ผมทดลองเอง...
ตวงน้ำประปาที่พักเอาไว้ 10 ลิตร วัดค่า pH ได้ 7.5
เติมกรดไนตริกพร้อมใช้ 1 ml. กวนน้ำให้เข้ากัน (เป็นการทดลอง ปรับค่าทีละน้อยๆก่อนครับ)
วัดค่า pH ได้ 6.5 ....อ้าว....
ถ้าน้ำ 20 ลิตร ผมก็ใช้กรดไนตริก แค่ 2 ml. เท่านั้นน่ะสิครับ

ไม่ได้ว่าตำราเขาผิด เพียงแต่ผมไม่ทราบรายละเอียดปลีกย่อยของน้ำที่ต่างกัน

น้ำที่ปรับค่า pH แล้ว ผมยังไม่ใช้ เอาใส่ถังไว้อย่างนั้นก่อน ปิดฝา
พรุ่งนี้จะวัดค่า pH อีกครั้ง ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ประการใด

จบการรายงาน

สวัสดีครับ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Phinyo
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 25/01/2014
ตอบ: 59
ที่อยู่: นครสวรรค์

ตอบตอบ: 10/05/2014 8:33 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.

ลดความเป็นด่างเพิ่มความเป็นกรดใช้น้ำส้มสายชูแทนไม่ได้หรอครับ




.
_________________

โปรแกรมPhotoscape(Free)รองรับภาษาไทย โปรแกรมตกแต่งภาพ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
tanapole
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 31/03/2014
ตอบ: 48

ตอบตอบ: 10/05/2014 9:25 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีครับลุงคิม, คุณแดง และสมาชิกทุกท่าน

ตอบคุณ Phinyo
ถ้าเพียงเพื่อปรับลดค่า pH ใช้อะไรก็ได้
แต่ประโยชน์ที่จะได้มันไม่เหมือนกัน
เหมือนการปรุงอาหาร มะนาว มะกรูด มะขามเปียก
ต่างก็ให้ความเปรี้ยว ถามคุณ Phinyo ครับ...ว่ามันมีความแตกต่างกันไหม?
ถ้าจะเอาเพียงความเปรี้ยวละก็...ใช่
แต่กลิ่นที่แฝงมากับความเปรี้ยว มันแตกต่างกันอย่างแน่นอน
คุณสมบัติหลักๆเหมือนกัน แต่รายละเอียดปลีกย่อยต่างกัน

เทน้ำกรดลงในน้ำ กับ เทน้ำลงในน้ำกรด
ผลที่ได้...มันแตกต่างกัน
ท่านที่ไม่เคยหรือไม่ทราบเรื่องเกี่ยวกับน้ำกรดหรือสารเคมีกรุณาอย่าทดลองโดยลำพัง

ว่าแล้วก็สนุกกับการทดลองต่อไป....
วันนี้เวลา 08.00 น. (ไม่ได้กำหนดกะเกณฑ์ว่าจะต้องตรงเวลาเป๊ะ)
ลองวัดค่า pH ของน้ำที่ผสมกรดไนตริก ได้ค่า pH ประมาณ 6.5
ที่ผมใช้คำว่า "ประมาณ" เพราะเครื่องมือที่ใช้วัด
เป็นน้ำยาเคมี หยดลงในน้ำตัวอย่าง แล้วเทียบสี ดังนั้น คำว่าตรงเป๊ะนั้นย่อมไม่มี

รอบต่อไป จะทำการวัดค่า pH ในเวลา 15 น.(ครบ 24 ช.ม. )

ทำไมผมต้องทำเช่นนี้...
ก็เพื่อเตรียมน้ำผสมกรดไนตริก ตั้งแต่ตอนหัวค่ำ ปิดฝาไว้
ตอนเช้ามืด ผมจะได้ตื่นมารดน้ำได้เลย ถ้าฝนตกก็งดให้น้ำ
หันมาละลายสารป้องกันเชื้อราฉีดพ่นแทน เมื่อฝนหยุดตก

จบการรายงาน

สวัสดีครับ

เวลา 15.20 น. วัค่า pH อีกครั้ง ได้ประมาณ 6.5
(ต้องขออภัยที่ไม่ได้เปิด comment ใหม่)
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Sombutt
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 19/05/2011
ตอบ: 84

ตอบตอบ: 14/05/2014 10:15 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

Phinyo บันทึก:
ลดความเป็นด่างเพิ่มความเป็นกรดใช้น้ำส้มสายชูแทนไม่ได้หรอครับ



สวัสดีครับลุง...ทิดแดงและเพื่อนสมาชิกทุกท่าน

อ่านเรื่องกล้วยไม้แล้ว น่าจะสนุก โดยเฉพาะทิดแดงเข้ามา ป่วน ไอ้ตู่เข้ามา แจม รู้สึกว่าจะมีคุณ orchid อีกคน รับรองว่าสนุก

ผม ขออนุญาตลุง ขออนุญาตคุณ tanapole เข้ามาคุยด้วยคนครับ


คุณ Phinyo บอกว่า

ลดความเป็นด่างเพิ่มความเป็นกรดใช้น้ำส้มสายชูแทนไม่ได้หรอครับ


คุณ Tanapole ตอบคุณ Phinyo

ถ้าเพียงเพื่อปรับลดค่า pH ใช้อะไรก็ได้
แต่ประโยชน์ที่จะได้มันไม่เหมือนกัน
เหมือนการปรุงอาหาร มะนาว มะกรูด มะขามเปียก
ต่างก็ให้ความเปรี้ยว ถามคุณ Phinyo ครับ...ว่ามันมีความแตกต่างกันไหม?
ถ้าจะเอาเพียงความเปรี้ยวละก็...ใช่
แต่กลิ่นที่แฝงมากับความเปรี้ยว มันแตกต่างกันอย่างแน่นอน
คุณสมบัติหลักๆเหมือนกัน แต่รายละเอียดปลีกย่อยต่างกัน


ผมขอขยายความ เพิ่มเติมจากคำตอบของคุณ tanapole อีกซักนิดเพื่อให้ เคลีย... เท่าที่พอรู้ครับ...ผิดหรือถูก ขอสมาชิกที่เป็นนักเคมีช่วยตรวจสอบด้วยครับ

น้ำส้มสายชู หรือ กรดอาซีติก มีสูตรเคมีว่า CH3COOH หรือ CH3CO2H ตัวนี้ อสร.ใช้ทำน้ำส้มสายชู(กลั่น)แท้ ๆ

มันมีอีกตัวคือ กรดน้ำส้ม มีสูตรเคมีว่า C2H4O2 ความเข้มข้นประมาณ 98 % ตัวนี้ ลกป. เค้าเอามา(เจือจาง)ทำน้ำส้ม แต่เป็นน้ำส้มไม่สายชู กัดกระเพาะดีไม่หยอก....

ถ้าเอาน้ำส้มสายชูละลายน้ำ มันก็จะได้

CH3COOH + H2O ……> CH3COO + H3O

เจ้าตัว CH3COO มีชื่อเรียกว่า Ethanoic acid….,(อี ทา โน อิก แอ ซิด) มีคุณสมบัติเป็นกรด....

ส่วน H3O มีชื่อเรียกว่า Hydronium เป็น hydrogen ion หรือ hydronium ion มีคุณสมบัติเป็น Acid – Base

hydronium ion - ไฮโดรเนียมไอออน

คือ ไอออนที่เกิดจากการรวมกันระหว่าง โปรตอน กับ โมเลกุล ของน้ำ
(H+ + H2O …> H3O+)

ไฮโดรเนียมไออน นี้มีประจุไฟฟ้าบวกและเป็นส่วนที่ทำให้สารละลายมีคุณสมบัติเป็นกรด …

…ฟังแล้วอาจจะมึน...โปรตรอน มารวมกับ โมเลกุล..... ฟังหูไว้หูก็แล้วกันครับ เพราะถ้า ยิง อีเล็คตรอน เข้าไปละก็ ตูม..ตัวใครตัวมันเถอะ...
...จำสูตร E = MC ยกกำลัง 2 ของ ไอน์ไสตล์ ได้มั๊ยล่ะครับ


ลุงคิมแนะนำให้ใช้ น้ำส้มสายชู ปรับสภาพน้ำ ซึ่งถ้าใช้กับต้นไม้หรือพืชทั่ว ๆ ไป สามารถใช้ได้ เพราะหาง่าย ราคาถูก เผลอ ๆ ได้ฟรี แบบทิดแดงครับ เวลาแกให้ใครไปซื้อก๋วยเตี๋ยว แกจะบอก

... ขอน้ำส้มพริกดองให้กู 4 – 5 ถุง....

จนแม่ค้ารู้กันว่า ทิดแดงกินเปรี้ยวจัด....แต่เปล่าครับ แกเอาน้ำส้มไว้ปรับสภาพน้ำใช้รดต้นไม้ ....ไม่เชื่อถาม ไอ้ตู่ กับ ไอ้หริ่ง ดูได้เลย....

แต่สำหรับกล้วยไม้ ซึ่งเป็นพืชที่ระบบรากมีความ อ่อนไหว ต่อการสัมผัสมาก ถ้าใช้น้ำส้มสายชูปรับสภาพแล้วเอาน้ำมารดกล้วยไม้ รากกุดหมด ไม่ตายก็เลี้ยงไม่โต จ๋องกรอดอยู่อย่างนั้นตราบนานเท่านาน

ในการปรับสภาพน้ำโดยใช้กรดไนตริก เพื่อต้องการทำให้น้ำมีสภาพคล้ายน้ำฝนมากที่สุด แต่ทำยังไง ๆ ก็ไม่เหมือน ลองสังเกตนะครับ

เอาน้ำที่ปรับสภาพด้วยกรดไนตริก รดหญ้าที่แห้ง ๆ ยังไง ๆ ก็ไม่งอก
แต่พอได้รับน้ำจากฝนตก แค่ครั้งสองครั้ง รับรองว่า เมล็ดหญ้าจะงอกให้เห็นเขียวเลยละครับ

แสดงว่า ในน้ำฝนมันมีแร่ธาตุบางอย่างที่ทำให้เมล็ดพืชงอก ด้วยประการะฉะนี้ เวลาเพาะเมล็ดกล้วยไม้ เค้าจะใช้น้ำฝนมาต้ม แล้วเอาน้ำนั้นมาใช้ในการเพาะเมล็ดหรือเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ แต่ปัจจุบันเค้าจะใช้น้ำกลั่น ซึ่งต้องกลั่นโดยวิธีต้มให้เป็นไอน้ำ แล้วใช้ระบบควบแน่นเพื่อให้ได้น้ำกลั่นที่บริสุทธิ์ 100 % แล้วใช้สารอาหารต่าง ๆ ผสมลงไป คอยติดตามวิธีการเพาะเมล็ดกล้วยไม้จากทิดแดงก็แล้วกันนะครับ

มีใครเคยกินน้ำกลั่นที่กลั่นโดยระบบควบแน่บ้างหรือไม่ครับ ...No Car No Nation…ไม่มีรสไม่มีชาด

สำหรับคุณ tanapole ไม่ว่าคุณจะทำเพื่อทดลอง หรือทำเพื่อความเป็นจริง ผมว่าคุณยึด ตำรา มากเกินความเป็นจริงไปหรือเปล่าครับ ...ทำเรื่องง่ายให้เป็นเรื่องยาก เข้าทำนอง ขี่ช้างจับตั๊กแตน

การตวง กรดไนตริก ใช้ ซริ้ง พลาสติกก็เหลือแหล่แล้ว ทำง่าย ๆ ครับ เพื่อให้สมาชิกที่อยากปลูกกล้วยไม้เล่นบ้าง เค้าทำได้ง่าย ๆ การทำแบบคุณ สมาชิกที่อยากจะปลูกกล้วยไม้เล่น อ่านแล้ว ....ขี้หด ตดหาย ....หดหมด

แล้วก็เห็นคุณห่วงแต่จะวัดค่า pH ของน้ำอยู่นี่แล้ว .....10 หรือ 15 หรือ ไม่เกิน 20 ซีซี / น้ำ 20 ลิตร ก็ใช้ได้แล้ว

ทิดแดงเค้าบอกให้คุณลองวัดค่า pH ของน้ำฝนที่กำลังตกใหม่ ๆ คุณลองทำดูหรือยังครับ ...ค่า pH ของน้ำฝนที่กำลังตก นั่นคือค่า pH ของน้ำที่ผสมปุ๋ยเสร็จเรียบร้อยแล้ว เอาน้ำแข็งแช่ให้เย็นประมาณเท่าน้ำฝน แค่นั้นจบ นั่นคือน้ำที่ใกล้เคียงน้ำฝนมากที่สุด แบบน้ำตกในป่านั่นแล เย็นยะเยือก

ทิดแดงเค้าปลูกกล้วยไม้ตามวิธีของคุณ เค้าบอกว่า งานนี้ต้องมีลุ้น.....เค้าก็ลองทำตามแบบของคุณแต่วิธีของเค้า.....เค้าทดสอบ 10 กระถาง คุณไม่เข้าใจหรือครับว่า ทิดแดงค้าท้าคุณ ดวล ว่าใครจะออกดอกก่อนกัน.....

แล้วก็ การเอาปากขวดมาทำกระถางปลูกกล้วยไม้(ซึ่งผมก็เพิ่งจะเคยเห็นนี่แหละ เพราะยังไม่เคยมีใครเค้าทำกัน) แทนที่จะใช้ก้นขวด ซึ่งมันจะทำงาน ทำอะไร ๆ ง่ายกว่า ซึ่งคุณก็บอกว่า คุณถนัดแบบนั้นคือ ปิดปากขวด เอาน้ำใส่แช่ แล้วเปิดระบายน้ำออก อันนี้ก็เป็นเรื่องเฉพาะตัว ก็ไม่ว่ากัน แต่เห็นทิดแดงลองทำตามแล้ว เพียง 3 วันราขึ้น Bark

และอีกอย่าง การเอามือไปถูกภาชนะปลูกโดยไม่จำเป็น ระบบรากมันกระเทือนครับ

เวลากระถางมันแกว่งตามลม เหมือนเรานั่งชิงช้า....แต่ถ้าเอามือไปถูกกระถาง เหมือนเราเอามือไปเคาะที่ชิงช้า. กำลังนั่งเพลิน ๆ สะดุ้ง ...รากที่กำลังเดิน ปลายรากมันมีขนอ่อนเล็ก ๆ กำลังยึดเกาะ พอโดนกระเทือน มันจะหยุดชะงักทุกครั้งที่คุณเอามือไปถูกกระถาง

แล้วการใช้ขวดพลาสติก รากมันไม่สามารถเกาะวัสดุที่ ลื่น ๆ ได้ มันก็ไม่ พุ่ง เหมือนเราตกบ่อ และจะปีนขึ้นขอบบ่อน้ำ เจอบ่อที่เป็นพลาสติก ก็มีหวังแช่น้ำตาย

ส่วนกระถางที่ทำด้วยพลาสติกสีดำ ข้างโปร่ง เค้าใช้วัสดุที่หยาบและสาก ไม่ลื่น รากกล้วยไม้สามารถยึดเกาะได้ กล้วยไม้ถ้ารากยันกระถางแล้วมันต้องยึดเกาะ เมื่อรากมันยึดเกาะได้แล้ว ทีนี้แหละ โด๊ป เข้าไปเถอะ มันจะพุ่งสุดแรงเกิด...

..คอยติดตามคอยดูกระถางที่ทิดแดงทดลองให้คุณดูก็แล้วกัน ผมคิดว่า ในกาบมะพร้าวทั้งกาบที่ทิดแดงใช้เป็นวัสดุปลูก น่าจะออกดอกก่อน เพราะพอรากมันยันกาบมะพร้าว มันจะพุ่ง พอมันพรวด ดอกมันจะโผล่.....ลุงชอบร้องเพลงอะไรน๊า จำไม่ได้.....

ไม่เชื่อพี่.... แล้วนี่น้อง.....จะเชื่อใคร ใช่หรือเปล่า หรือคนละเพลงเดียวกัน

ขออภัยถ้าผมพูดอะไรออกไปแล้วไม่ถูกอารมณ์ อยากให้ลองเปลี่ยนทัศนคติดูบ้าง และนึกถึงเพื่อน ๆ สมาชิกด้วย ว่าเค้าจะสามารถทำตามวิธีของคุณได้หรือไม่ แต่ก็ดีครับที่ต่างคนต่างก็มีความคิดหลากหลาย ทำให้เว็ปนี้มีสีสัน ……



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
DangSalaya
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011
ตอบ: 1874

ตอบตอบ: 14/05/2014 11:52 pm    ชื่อกระทู้: กล้วยไม้ - ใกล้ม้วย ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีครับลุงคิม....ไอ้ทิดบัติ คุณธนพล และเพื่อนสมาชิกทุกท่าน


ไอ้ทิด....มึงบอกรายละเอียดยังไม่เคลีย เพื่อนสมาชิกอาจจะยังสงสัย.....เพราะคนขี้สงสัยมีแยะ

เนื่องจากคุณธนพล แกชอบ หาค่า pH ของน้ำ น่าจะบอกด้วยว่า คำว่า pH มาจากอะไร

มาจากคำเต็ม ๆ ว่า(เคยบอกไปหรือยังหว่า บอกซ้ำก็ไม่เป็นไรมั๊ง) Posiitive Potantial of the Hydrogen Ions
คือค่าที่แสดงความเข้มข้นของ ไฮโดรเจนไออ้อน (H+) หรือ Hydronium Ions (H3O+) ซึ่งใช้บอกความเป็น กรด หรือ เบส(สมัยก่อนเค้าเรียกว่า ด่าง) ของสารละลาย

คือถ้า pH น้อยกว่า( < ) 7 สารละลายนั้นเป็น กรด
ถ้า pH = 7 สารละลายนั้นเป็นกลาง
ถ้า pH มากกว่า ( < ) 7 สารละลายนั้นเป็นเบส(ด่าง)

ไอ้เจ้า H3O+ มันมีเค้าทำออกมาขาย เป็นน้ำยาเข้มข้น





(รูป 1) เป็นน้ำยา H3O+ เข้มข้น มีกระดาษเทียบสีสำหรับวัดค่า pH

มึงคงจำสมัยที่พ่อปลูกกล้วยไม้ได้ว่า เวลาฝนตก พ่อจะรองน้ำฝนเอามาวัดค่า pH แล้วจดใส่สมุดเอาไว้ ทำอยู่หลายครั้ง จนได้ค่าเฉลี่ยว่า ได้เท่าเนี๊ยะ.....

จากนั้น พ่อบอกมึงให้ปรับน้ำไห้ได้ค่า pH 7.0 แต่ละโอ่งจะใช้ กรดไนตริก กรดฟอสฟอริค หรือกรด ซัลฟูริค..หรือ โปแตสเซี่ยมไนเตรท ..... .แล้วปิดฝาโอ่งเก็บไว้ กรดแต่ละอย่างที่ใช้ อาจจะ 10 ซีซี หรือ 15 ซีซี หรือไม่เกิน 20 ซีซี / น้ำ 20 ลิตร

เวลาจะใช้งาน ก็อาจใช้โอ่งใดโอ่งหนึ่ง หรือเอาน้ำทั้ง 3 โอ่งมารวมกัน.....เอาน้ำแข็งก้อน ๆ ใส่จนเย็นเจี๊ยบ( กี่องศา ซี ว๊ากูชักจะลืม ๆ)

จากนั้นก็ผสมปุ๋ยตามที่ต้องการลงไป N P K + TE (แต่ เวลาผสมจริงต้องใช้ K P N + TE)

มึงเป็นคนรู้ว่า ปุ๋ยแต่ละตัว จะใส่เท่าไหร่ แต่กูไม่ค่อยสนใจ ด้วยเหตุนี้มึงเก่งกว่ากูในเรื่องนี้ .....ค่า pH ของน้ำที่ผสมปุ๋ยทุกตัวแล้ว ต้องวัดได้เท่ากับหรือใกล้เคียงค่าเฉลี่ยของน้ำฝนที่พ่อจดเอาไว้

จะเร่งต้นให้ลำแตกก็ตัวนี้ จะเร่งดอกก็ตัวนี้ …..กว่าจะถึงวันนี้ มึงกะกู หัวโน หูบวม มาไม่รู้เท่าไหร่

ยิ่งตอนมาเจอ หลวงลุงด้วยแล้ว พ่อคุยกันสนุกมาก ได้อะไร ๆ จากหลวงลุงที่ไม่มีในตำราบานตะกูด

แต่บางอย่างไม่กล้าพูด เพราะแค่นี้ก็บ้าหนักแล้วนา ขืนพูดออกไป เค้าคงว่ากูบ้าชิบ หา...( ย.ยักษ์ไม่เจอว่ะ....)



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
tanapole
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 31/03/2014
ตอบ: 48

ตอบตอบ: 15/05/2014 11:53 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีครับลุงคิม, คุณแดง และ สมาชิกทุกท่าน

อย่าเพิ่งเบื่อผมนะครับ.....

คุณสมบัติครับ....ขอบคุณสำหรับความรู้ครับ

เรื่องที่ผมทำ...เป็นการทดลอง เป็นการพิสูจน์ จึงต้องทำ
ความรู้ที่คุณแดงถ่ายทอดมาในเวปบอร์ด ผมก็ต้องทดลอง
ไม่มีจุดประสงค์ที่จะนำไปต่อยอดทำการค้าแต่อย่างใด
สิ่งไหนพอจะพิสูจน์ได้ ผมต้องทำ...ไม่ใช่ไม่เชื่อ...แต่อยากทำกับมือ เห็นกับตา
ถ้ามันเกินความสามารถ ผมก็ฟังๆจดๆเอาไว้
ไม่มีจุดประสงค์ที่จะนำไปประกอบอาชีพ แค่อยากปลูกกล้วยไม้ได้งามแบบชาวสวน

กรดไนตริก..ตอนซื้อมา เปิดฝาขวดมีควันลอยขึ้นมา ก็ไม่มากหรอกครับ
(ขวดแก้ว มีแต่ฝาพลาสติกเกลียวสีดำ ไม่มีจุกอุดอีกชั้น)
เมื่อเอามาเจือจางกับน้ำ มันเกิดความร้อน นานเหมือนกันกว่าจะเย็นตัวลง
ผมเลยไม่กล้าใช้กระบอกเข็มฉีดยาพลาสติก
ขวดที่ใช้เก็บเป็นขวดแก้วสีชา

จนคุณแดงบอกว่าใช้กระบอกฉีดยาพลาสติกได้นั่นแหละ เลยเอามาใช้(มีอยู่แล้ว)

เรื่องวัดค่า pH ของน้ำฝน...
ณ วันนี้ ยังเก็บน้ำฝนที่กำลังตกไม่ได้สักที...
เพราะตอนมันตก..ผมขับรถอยู่บนถนนบ้าง อยู่บนออฟฟิศ(ชั้น16)บ้าง
ต้องรอวันหยุด...ที่อยู่บ้านไม่ได้ไปไหน ต้องรองน้ำฝนเอง
เอาถังวางกลางแจ้งเพื่อเก็บตัวอย่างน้ำฝน
อุปกรณ์วัดค่า pH ก็เป็นน้ำยาแบบที่ใช้วัดค่า pH น้ำในตู้ปลา(มีอยู่แล้ว)

media สำหรับปลูกกล้วยไม้ ที่ใช้เปลือกสน (Pine bark) เนื่องจากมีอยู่แล้ว
ซื้อมานานแล้ว แต่ไม่ได้ใช้ พอเครื่องปลูก(กาบมะพร้าว)ผุพังลง
ผมเลยเอาเจ้าเปลือกสน ที่มีอยู่มาใช้งาน
(ที่จริงคิดจะเลี้ยง ฟาแลนฯ เลยซื้อเปลือกสนมาไว้ใช้)

กระถาง ก็มีแบบปกติที่ใช้ทั่วไป กับ ปากขวดที่ทำใช้เอง

เรื่องกล้วยไม้ ผมยังต้องหาประสบการณ์อีกเยอะ (หลังจากเรียนรู้จากตำรา)

จากจุดเล็กๆ...แค่ "ถามลุงคิม/คุณแดง เรื่องปุ๋ยกล้วยไม้" กลายเป็นเรื่องเป็นราว
แต่เป็นเรื่องดี...สำหรับผม และสำหรับคนที่ยังไม่รู้ ซึ่งคงไม่มีโอกาสรู้
ถ้าไม่มีคนที่มีประสบการณ์มาให้คำแนะนำ ตรงนี้ต้องรบกวนท่าน สมช. ที่มีประสบการณ์ครับ

"การอ่าน" เป็นการหาความรู้ แต่ประสบการณ์ต้องลงมือทำ
สิ่งที่รู้มา สิ่งที่สงสัย ต้องทำการทดลอง พิสูจน์

ความรู้พื้นฐาน...(ที่ผมอ่านมา)
ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของกล้วยไม้
1.แสงแดด ทั้งเรื่องความเข้มของแสง และระยะเวลา(ความยาวนานในการรับแสง)

2.อุณหภูมิ ต้องเหมาะสมกับชนิดของกล้วยไม้

3.ความชื้นสัมพัทธ์ ที่เหมาะสมกับกล้วยไม้ -->ผมพาออกนอกเรื่อง
ความชื้นไม่พอ ต้องใช้น้ำช่วย
ที่บ้านใช้น้ำประปารดต้นไม้ อยู่ในเมือง ก็มีแต่น้ำประปาเท่านั้น
เป็นที่มาของการปรับสภาพน้ำ
ถ้าเป็นฤดูฝน...ก็อาศัยเทวดาเลี้ยง ฝนทิ้งช่วงผมก็รดน้ำบ้าง

4.การเคลื่อนที่ของอากาศ air movement

5.อาหาร ที่เหมาะสมกับชนิดและวัยของกล้วยไม้ --> จะลองผสมปุ๋ยใช้เอง
เรื่องปุ๋ย...ที่จริงปลูกน้อยๆ ซื้อแบบที่มีขายตามท้องตลาดก็ได้ แต่อยากลองทำเองบ้าง

เรื่องโรคที่เกิดกับกล้วยไม้ เชื้อรา แบคทีเรีย และแมลง
สารป้องกันและกำจัดโรคพืช และแมลง --> เป็นเรื่องที่ต้องรู้

ขอบคุณอีกครั้ง สำหรับความรู้ที่ได้รับ ผมจะปรับนำมาใช้ให้เหมาะสม
N-P-K + Te ... --> K-P-N +Te ไม่มีตำราเล่มไหนบอก การเรียงลำดับที่สำคัญในการผสมสาร
หมายถึงการใส่หรือเติมธาตุ K ลงไปในน้ำ(ที่ปรับค่าแล้ว) ก่อน จึงตามด้วยธาตุอื่นๆตามลำดับหรือเปล่าครับ?
ไม่เฉพาะกับกล้วยไม้เท่านั้น พืชผักสวนครัวที่ผมปลูก ก็พลอยได้รับอานิสงค์ไปด้วย

ว่าจะถ่ายรูปแล้วลองหัดโพสต์ลงเวปบอร์ด...ยังไม่ได้ทำเลยครับ...

อีกนิด....เห็นกระดาษวัดค่า pH วันที่ไปซื้อกรดไนตริกที่ศึกษาภัณฑ์ ราชดำเนิน
ลองถามราคา...กล่องละ 480 บาท ราคานี้เทียบกับพวกมิเตอร์ (แบบปากกา)
ซึ่งราคา 6-700 ไปจนถึงพันกว่าบาท จะซื้อแบบไหนดี?

สวัสดีครับ


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
tanapole
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 31/03/2014
ตอบ: 48

ตอบตอบ: 15/05/2014 8:03 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีครับลุงคิม, คุณแดง และสมาชิกทุกท่าน

ขอเล่นขี้โกงได้ไหมครับ เป็นผลวิเคราะห์ของน้ำฝนหลวง และฝนธรรมชาติ

https://www.google.co.th/url?sa=t&rct=j&q=&esrc=s&source=web&cd=1&cad=rja&uact=8&ved=0CCsQFjAA&url=http%3A%2F%2Fkm.opsmoac.go.th%2Fewt_dl_link.php%3Fnid%3D39&ei=frl0U9OkHceSuASHs4CIDA&usg=AFQjCNGR-A3WKmr7siAl7jR8VxBg45wppg&bvm=bv.66699033,d.c2E



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Sombutt
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 19/05/2011
ตอบ: 84

ตอบตอบ: 15/05/2014 11:29 pm    ชื่อกระทู้: ว่าด้วยฝนหลวง ..The Royal Rainmaking Rainfall Quality ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

tanapole บันทึก:
สวัสดีครับลุงคิม, คุณแดง และสมาชิกทุกท่าน

ขอเล่นขี้โกงได้ไหมครับ เป็นผลวิเคราะห์ของน้ำฝนหลวง และฝนธรรมชาติ

https://www.google.co.th/url?sa=t&rct=j&q=&esrc=s&source=web&cd=1&cad=rja&uact=8&ved=0CCsQFjAA&url=http%3A%2F%2Fkm.opsmoac.go.th%2Fewt_dl_link.php%3Fnid%3D39&ei=frl0U9OkHceSuASHs4CIDA&usg=AFQjCNGR-A3WKmr7siAl7jR8VxBg45wppg&bvm=bv.66699033,d.c2E



.


สวัสดีครับลุง....คุณ tanapole

ตอน ว่าด้วย ฝนหลวง


ทิดแดง ส่งข้อความให้ผม บอกว่า...

... กูว่าเรื่องกล้วยไม้ ชักจะไปกันใหญ่แล้ว กูชักจะมึน กับเรื่องการปรับสภาพน้ำของคุณธนพล ไม่ต้องไปไหน...คุณธนพล พายเรือวนเวียนอยู่แค่ปรับสภาพน้ำเพื่อเอามารดกล้วยไม้อยู่แค่เนี๊ยะ... กล้วยไม้ที่กูปลูกทดลอง ใกล้จะออกดอกอยู่แล้ว ....

แกบอกให้ผมช่วยเกลา ๆ ให้หน่อย ….แบบว่า ยังไงดีล่ะ..ช่วยเรียบเรียงเสียงประสาน ก็แล้วกัน..

...ผมก็ไม่ได้จะรู้อะไรมากมายนักหนาในเรื่องกล้วยไม้ รู้แค่เท่าที่ได้เคยไปเรียนมาเล็ก ๆ น้อย ๆ เท่านั้นแหละ อาจจะผิดพลาดก็ได้

คุณธนพลไม่ได้ขี้โกง แต่เป็นการเสนอแนะที่ดี ให้เพื่อน ๆ ที่ไม่รู้ ได้รู้...เพราะเชื่อแน่ว่า เพื่อน ๆ อีกหลายคนไม่เคยรู้มาก่อน

คุณเสนอ ลิ้งค์ เพื่อให้ คลิก อ่านคนเดียว รู้คนเดียว.......ผมไม่ชอบ แอบ ...ชอบ เปิด เมื่อ คลิก แล้วอ่านคนเดียวมันไม่สนุก อ่านแล้วต้อง วิเคราะห์ และ วิจารณ์ ด้วยถึงจะมัน

ว่าแต่ว่า คุณธนพล คนเสนอ ลิงค์น่ะ อ่านแล้วหรือยัง ถ้าอ่านแล้วจับประเด็นอะไรคร่าว ๆ ได้บ้างหรือไม่....รู้ค่า pH ของน้ำฝนขณะที่กำลังตกหรือยัง

และเข้าใจหรือยังว่า ทำไมทิดแดงและผมจึงใช้น้ำแข็งช่วยในการปรับสภาพน้ำให้ใกล้เคียงน้ำฝนมากที่สุด.... หรือมัวแต่หาค่า pH เพลินจนมองข้ามสิ่งที่ไม่ควรมองข้ามไป....

และเห็นหรือยังว่า ในน้ำฝน นอกจาก ไนเตรท ไนไตรท์ แล้วมันมีแร่ธาตุอะไรอีกบ้างที่เป็น Elements หรือธาตุเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เป็น ปุ๋ย ปนอยู่ในน้ำฝน ซึ่งในการปรับสภาพน้ำไม่มีธาตุเหล่านี้

แล้วก็การใช้สารบังคับเมฆให้กลายเป็นฝนน่ะ เค้าใช้สารอะไรบ้าง....


แต่ผมว่าก็ดีนะ ที่เว็ปนี้จะได้มีนักทดลองที่ทำอะไรแปลก ๆ ออกไปบ้าง ....เอาเป็นว่า

เพื่อนท่านใดที่ชอบงานประเภท ทดลอง วิจัย ก็ติดตามจากคุณ ธนพล
ใครที่ชอบ ปฏิบัติการจากของจริง ก็ติดตามจาก แดงศาลายา .....

อ่าน ๆ แล้ว.....ยังสงสัยว่า คุยกันคนละเรื่องเดียวกันหรือเปล่า

อย่างไรก็ตาม ถ้าคุณ ธนพล ยังไม่ทำให้ CaO ที่ละลายปนอยู่ในน้ำประปา ตกตะกอนได้ ไม่ว่าจะปรับสภาพอย่างไร น้ำนั้นก็ยังมี กาก ของ CaO หรือสารหินปูน ที่มองไม่เห็นปนอยู่วันยังค่ำ คุณเอาน้ำที่มีหินปูนละลายปนอยู่ไปรดกล้วยไม้ ผมไม่รู้ว่า ระบบราก(ปลายราก)กล้วยไม้ของคุณเป็นอย่างไร ต้นไม้มีคราบหินปูนจับแบบรูปที่ทิดแดงเคยนำเสนอหรือไม่

แต่ก่อนคุณใช้ ซิลิสิค แอซิด ปรับสภาพน้ำ เพื่อต้องการธาตุ ซิลิก้า....ไอ้เจ้าตัวนี้ เป็นเหมือนหินภูเขาไฟ ทำเป็นผงใส่กระปุกขาย กระปุกละ สองสามร้อยมั๊ง.....ใช้กับกล้วยไม้ ผมว่ามันไม่ค่อยจะออกดอกนะครับ

ต่อมาก็ใช้ กรดไนตริก ....ซึ่งใส่ขวดประมาณ 1 ปอนด์ ปกติผมและทิดแดงจะซื้อจาก วิทยาศรม รวมเคมี หรือ ฮงฮวด ส่วน ศึกษาภัณฑ์ อาจจะรับจาก วิทยาศรม หรือฮงฮวด ไปขายเอากำไรอีกต่อ...
ฮงฮวดถูกกว่าทั้งหมด เพราะเป็นผู้สั่งนำเข้าโดยตรง

คุณอุตส่าห์ไปซื้อหลอดแก้วเพื่อใช้ตวงกรด ทั้ง ๆ ที่มี ซลิ้ง อยู่แล้วเพราะเกรงว่า กรดเมื่อถูกกับพลาสติกจะละลาย (อะไรจะปานนั้น) แต่ฝาพลาสติกที่ปิดขวดกลับไม่ละลาย 555....กรดเมื่อถูกอากาศ จะมีควันระเหยออกมา... ควันนั้นคือ กาซ ไนโตรเจนที่ระเหยออกมาครับ

คุณบอกว่า....เอากรดเติมลงในน้ำ ๆ จะร้อน...ใช่แล้วครับ.... มันมีเคล็ดวิธีทำไม่ให้น้ำร้อนครับ.....ซึ่ง ทิดแดงบอก(ใบ้)คุณไปแล้วว่า คุณเคยฟังเพลง น้ำกรดแช่เย็นมั๊ยครับ..(ไม่สน สนแต่จะปรับสภาพ 6.5 ลูกเดียว)

...พ่อส่งผมกับทิดแดงไปอบรม อาจารย์ท่านก็ว่าของท่านไปตามตำรา แต่เคล็ดวิชาต่าง ๆ ท่านไม่เคยบอกอะไรแบบ โต้ง ๆ หรอกครับ ต้องจับประเด็นทุกอย่างที่ท่านพูด และทุกอย่างที่ท่านทำให้ดู เพราะมันไม่มีในตำรา

ก็แบบ ผสมปุ๋ยใช้เองเพื่อให้ได้ปุ๋ย N P K ตามที่ต้องการ หรือ ทำแคลเซี่ยม-โบร่อน หรือผสม ธาตุรอง / ธาตุเสริม นั่นแหละครับ มันมีเคล็ดไม่ลับ แต่มันมีวิธี.....กลุ่มคนไม่บ้า ไม่กล้าทำเท่านั้นที่จะรู้.....

ทิดแดงบอกใบ้คุณอีกว่า นอกจากกรดไนตริกแล้ว ไอ้เจ้า

กรดฟอสฟอริก (H3PO4)…
กรดซัลฟูริค (กรดกำมะถัน) (H2SO4)..
..อลูมินั่ม ซัลเฟต...
...เฟอริกครอไรด์ ..


และบอกคุณด้วยว่า.....ลองดูครับ เผื่อจะมีอะไรซักตัวที่ ปิ๊ง กับน้ำประปาบ้านคุณ...รับรองว่าต้องมี ..แน่ๆ เพราะมันต้องมี.....

ซึ่งมันมีในตัวที่ทิดแดงบอก ซึ่งน่าจะใช้ปรับสภาพน้ำได้ คุณก็ไม่ยักติดใจสงสัยกับสารพวกนี้

แต่คุณ Orchid อ่านแล้วกลับเข้าใจ....บอกว่า

คุณแดง ไม่บอกคุณตรงๆ เพื่อให้คุณคิดวิเคราะห์ ว่าสารที่แกนำเสนอ มันต้องมีตัวใดตัวหนึ่ง หรืออาจหลายตัวที่นำมาใช้กับน้ำประปาแล้วทำให้ หินปูน ตกตะกอน

(และ สำหรับคุณ Orchid คำถามหลังไมค์ของคุณไม่เบาเลยนะครับ ผมไม่เชื่อว่าคุณไม่เคยปลูกกล้วยไม้ เคยแน่ ๆ แต่วิธีการเท่านั้นที่คุณไม่เข้าเนื้อ... ผมตอบมาให้แล้วเท่าที่ผมรู้นะครับ ..คือ เวลาเขียนจะเรียง 1, 2, 3, 4 เวลาทำจริงอาจจะ 4, 3, 2, 1 หรือ 1, 4, 3, 2 หรือ...แต่อย่าเพิ่งเชื่อ จนกว่าจะทดลองแล้วได้ผล.....)

และ ขอบอกคุณธนพลว่า ลิงค์ ที่คุณนำเสนอ ผมได้ แงะ ออกมานำเสนอตรงนี้ เพื่อให้เพื่อน ๆ จะได้อ่านได้ง่าย ๆ

คุณควรอ่านแล้วจับประเด็นว่า ทำไมผมและทิดแดงใช้น้ำแข็งช่วยในการปรับสภาพน้ำเพื่อให้ใกล้เคียงน้ำฝน แล้วในน้ำฝนมันมีแร่ธาตุอะไรปนอยู่บ้าง....

ข้อมูลจาก ลิงค์ ของคุณธนพล มีดังนี้

คุณภาพน้ำฝนจากการปฏิบัติการฝนหลวง

The Royal Rainmaking Rainfall Quality

(คุณเล่นของสูงเลยนะครับ เหาจะกินหัวมั๊ยเนี่ย)

ท่านผู้อ่านคงทราบมาบ้างแล้วว่า มีการทำฝนในประเทศไทยมาหลายสิบปีแล้ว ซึ่งการปฏิบัติการฝนหลวงเป็นการทำงานบนท้องฟ้า โดยการโปรยสารฝนหลวงในขั้นตอนต่าง ๆ บริเวณ กลุ่มเมฆ เพื่อกระตุ้นให้เมฆเกิดการรวมตัวเป็นกลุ่มเมฆฝนที่มีขนาดใหญ่และตกกลายเป็นฝนในที่สุด จึงมักจะเกิดคำถามอยู่เนืองๆ ว่า “สารฝนหลวง” ที่ใช้ทำฝนนั้น จะมีผลกระทบต่อสภาวะแวดล้อมตลอดจนความเป็นอยู่ของประชาชนบริเวณที่มีการทำฝนหรือไม่

เพื่อตอบคำถามความห่วงกังวลเหล่านี้ สำนักฝนหลวงและการบินเกษตร ได้ขอความช่วยเหลือจากกรมอุตุนิยมวิทยา และโครงการอีสานเขียว ทำการตรวจสอบคุณภาพน้ำฝนที่เกิดจากการทำฝน เมื่อปี พ.ศ. 2522 (กรมอาชีวอนามัย, 2522; วิศิษฎ์ และคณะ , 2522) และปี พ.ศ. 2526 (ฝ่ายวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม, 2526) ตามลำดับ ซึ่งทั้ง 2 ครั้ง พบว่า คุณภาพน้ำฝนที่เกิดจากการทำฝนอยู่ในเกณฑ์คุณภาพน้ำดื่มขององค์การอนามัยโลก (WHO) แต่เพื่อให้แน่ใจถึงผลของสารฝนหลวงที่อาจจะเกิดขึ้นกับคุณภาพน้ำฝนในช่วงเวลาปัจจุบัน ดังนั้น สำนักฝนหลวงและการบินเกษตร จึงร่วมมือ กับคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทำการศึกษาวิจัยเรื่องคุณภาพน้ำฝนฯ อีกครั้งในปี พ.ศ. 2549 ซึ่งก่อนจะกล่าวถึงผลการศึกษาวิจัย ขออธิบายถึงวิธีการทำฝนและสารฝนหลวง ดังต่อไปนี้

การปฏิบัติการฝนหลวงจากเมฆอุ่นและเมฆเย็น
อ่านแล้วคอยจับประเด็นให้ดี ๆ นะครับ

การทำฝนและกิจกรรมการทำฝนในประเทศไทยเกิดจากพระราชดำริของพระบาท
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตั้งแต่ปี พ.ศ. 2498 โดยมีหม่อมราชวงศ์เทพฤทธิ์ เทวกุล เป็นผู้รับสนองพระราชดำริโดยมีการปฏิบัติการทดลองทำฝนครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2514 และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตามลำดับ จากที่มีหน่วยทำฝนเพียงหน่วยเดียวในปีแรกๆ มาเป็น 8 ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงประจำภาคในปัจจุบัน

ความสำเร็จในการทำฝนหลวงขึ้นอยู่กับปัจจัยความเหมาะสมของธรรมชาติและประสบการณ์ของนักวิชาการ ตลอดจนความสมบูรณ์ของอุปกรณ์และข้อมูลวิทยาศาสตร์ที่จำเป็น ภูมิภาคที่ประเทศไทยตั้งอยู่เมฆส่วนใหญ่เป็นเมฆคิวมูลัส (Cumulus) ซึ่งเป็นเมฆที่มีรูปร่างเป็นก้อน ฐานของเมฆมักจะแบนราบอาจเป็นก้อนเดี่ยว ๆ หรือรวมตัวกันเป็นก้อนใหญ่

เมฆคิวมูลัสที่มีอุณหภูมิสูงกว่า 0 องศาเซลเซียส เรียกว่า “เมฆอุ่น” ซึ่งเหมาะสมต่อการทำฝน

อย่างไรก็ตามมีเมฆบางส่วนที่มียอดก่อตัวสูงกว่า 18,000 ฟุต ซึ่งเป็นระดับเฉลี่ยที่อุณหภูมิในก้อนเมฆต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส เรียกว่า “เมฆเย็น”

การทำฝนจากเมฆอุ่นในปัจจุบัน จะเลือกกลุ่มเมฆคิวมูลัสที่มีลักษณะฐานเมฆสีดำ ก้อนเมฆก่อตัวขึ้นคล้ายดอกกะหล่ำ ที่ระดับความสูงของฐานเมฆไม่เกิน 16,000 ฟุต มีอุณหภูมิภายในก้อนเมฆสูงกว่า 0 องศาเซลเซียส
โดยใช้สารฝนหลวงที่มีคุณสมบัติดูดซับความชื้นสูงโปรยจากเครื่องบินเข้าไปในมวลอากาศที่มีความชื้นเฉลี่ยสูงกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ เพื่อกระตุ้นให้เกิดกระบวนการชนและรวมตัวกันของเม็ดน้ำหรือละอองเมฆให้มีขนาดใหญ่ขึ้นอย่างรวดเร็ว เป็นการกระตุ้นการเกิดฝนให้มีประสิทธิภาพสูงกว่าการเกิดเองตามธรรมชาติ

การทำฝนจากเมฆเย็น จะทำเมื่อยอดเมฆสูงเฉลี่ย 21,500 ฟุต หรือประมาณ 6,450 เมตร มีอุณหภูมิภายในก้อนเมฆต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส เป็นเมฆคิวมูลัสที่จะเกิดเฉพาะช่วงต้นและปลายฤดูฝน

การทำฝนหลวงจากเมฆเย็นนี้จะใช้พลุซิลเวอร์ไอโอไดด์ (Silver Iodide) ซึ่งจะก่อให้เกิดปฏิกิริยาที่เร่งเร้าให้เม็ดน้ำเย็นยิ่งยวดเปลี่ยนสถานะจากของเหลวเป็นผลึกหรือเกล็ดน้ำแข็งทันทีแล้วคายความร้อนแฝงออกมา

พลังงานความร้อนดังกล่าวทำให้มวลอากาศภายในก้อนเมฆลอยตัวขึ้นเบื้องบนมีผลทำให้เกิดแรงดึงดูดใต้ฐานเมฆ ซึ่งจะดูดเอาความชื้นเข้ามาหล่อเลี้ยงทำให้ก้อนเมฆเจริญเติบโตและมีปริมาณน้ำฝนเพิ่มขึ้น

ขณะเดียวกันแรงยกตัวจะหอบเอาเกล็ดน้ำแข็งเล็กๆ ขึ้นไปข้างบนทำให้เกล็ดน้ำแข็งเหล่านี้มีขนาดใหญ่ขึ้น พอมีน้ำหนักมากกว่าที่แรงยกตัวจะพยุงไว้ได้ก็ตกลงมา จนผ่านชั้นอากาศที่อุณหภูมิสูงขึ้นเรื่อย ๆ ก้อนน้ำแข็งก็จะละลายกลายเป็นน้ำฝน


คุณ ธนพล อ่านแล้วจับประเด็นได้หรือยังครับว่า ทำไมผมและทิดแดงใช้น้ำแข็งช่วยในการปรับสภาพน้ำ

สารฝนหลวง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระกระแสเน้นอยู่เสมอว่า คุณสมบัติทางฟิสิกส์ของ สารฝนหลวงเท่านั้นที่เป็นตัวการที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางฟิสิกส์ของเมฆและมวลอากาศที่ทำให้ เกิดฝน โดยที่อนุภาคสารฝนหลวงจะทำหน้าที่เป็นแกนกลั่นตัว (Condensation Nuclei) ของไอน้ำและละอองเล็ก ๆ บริเวณที่จะเกิดเมฆ และเสริมให้กระบวนการถ่ายเทความร้อนต่อเนื่องต่อไปในเมฆ

สารที่ใช้ทำฝนหลวงทุกชนิดได้ผ่านการศึกษาวิเคราะห์ ทดลอง และคัดเลือกแล้วว่า มีคุณสมบัติเหมาะสม 2 ประการคือ

1) มีคุณสมบัติใกล้เคียงหรือดีกว่า สารหรืออนุภาคสารที่ทำให้เกิดฝนตามธรรมชาติ และ

2) ต้องไม่มีพิษตกค้างที่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะต่อสภาพแวดล้อม สารฝนหลวงแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่


1. สารประเภทคายความร้อนหรือทำให้อุณหภูมิสูงขึ้น (Exothermic Chemical) ได้แก่ แคลเซียมคลอไรด์ (Calcium Chloride : CaCl2) และ แคลเซียมออกไซด์ (Calcium Oxide : CaO)

2. สารประเภทดูดกลืนความร้อนหรือทำให้อุณหภูมิต่ำลง (Endothermic Chemical) ได้แก่ ยูเรีย (Urea : CO(NH2) 2) , แอมโมเนียมไนเตรท (Ammonium Nitrate : NH4NO3) และน้ำแข็งแห้ง (Dry Ice : CO2 (S)

3. สารที่ทำหน้าที่เป็นแกนกลั่นตัวที่ดูดซับความชื้น (Condensation Nuclei) ได้แก่ เกลือ (Sodium Chloride : NaCl) และเทพฤทธิ์ หรือ ท.1 เป็นสารสังเคราะห์ด้วยการทำ electrolysis น้ำทะเล

4. สารที่ใช้ทำฝนเมฆเย็น ได้แก่ ซิลเวอร์ไอโอไดด์ (AgI) ซึ่งทำเป็นพลุของสารต้นกำเนิด AgI ที่เกิดภายหลังการเผาไหม้ และปล่อยพลุนี้ลงในเมฆ

คุณภาพน้ำฝนจากการปฏิบัติการฝนหลวง

สำนักฝนหลวงและการบินเกษตร ได้ร่วมมือกับคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ ดำเนินการศึกษาวิจัยคุณภาพน้ำฝนจากการปฏิบัติการฝนหลวงในเขตลุ่มน้ำภาคกลางของประเทศไทย โดยสำรวจพื้นที่ศึกษาและกำหนดจุดเก็บตัวอย่างน้ำฝน จำนวน 3 สถานี ประกอบด้วย

สถานีอุตุนิยมวิทยา อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี,
สถานีอุตุนิยมวิทยาเกษตร อำเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์ และ
สถานีอุตุอุทกวิทยาเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์

ระหว่างวันที่ 8 สิงหาคม 2548 - 24 มิถุนายน 2549 รวมทั้งสิ้น จำนวน 318 ตัวอย่าง เป็นตัวอย่างน้ำฝนธรรมชาติ จำนวน 114 ตัวอย่าง และน้ำฝนจากวันที่มีการปฏิบัติการฝนหลวง จำนวน 204 ตัวอย่าง แล้วนำมาวิเคราะห์คุณภาพน้ำฝน 19 ดัชนี โดยการวิเคราะห์สมบัติทางเคมีของตัวอย่างน้ำฝนในวันที่มีการปฏิบัติการฝนหลวง และวันที่ไม่ได้ปฏิบัติการฝนหลวง (ฝนธรรมชาติ) เปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำดื่มขององค์การอนามัยโลก (WHO) ดังสรุปได้ในตารางที่ 1, 2 และ 3

ตารางที่ 1 คุณภาพน้ำฝนตัวอย่างจากสถานีอุตุนิยมวิทยา อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี


สมบัติทางเคมี ค่าสูงสูด เฉลี่ย3/
สรุป 4/
เกณฑ์คุณภาพ
น้ำดื่ม
มาตรฐานสูงสุด
ที่ยอมรับได้
ฝนหลวง ฝน
ธรรมชาติ ฝนหลวง ฝน
ธรรมชาติ
ความเป็นกรด-ด่าง 1/ 6.54-7.76 6.60-7.86 7.24 7.38 ไม่แตกต่าง 6.5 - 8.5 
ความเป็นกรด2/ 0.30 0.35 0.17 0.20 ไม่แตกต่าง - -
ความเป็นด่าง2/ 0.40 0.30 0.15 0.11 ไม่แตกต่าง - -
ซัลเฟต2/ 26.00 12.00 7.01 2.13 แตกต่าง 400/250 
คลอไรด์2/ 1.70 2.00 0.51 0.42 ไม่แตกต่าง 250 
ความกระด้าง2/ 0.25 0.15 0.09 0.06 แตกต่าง 500 
แอมโมเนีย2/ 1.620 1.230 0.221 0.343 ไม่แตกต่าง - -
ไนไตรท์2/ 1.770 0.120 0.101 0.033 ไม่แตกต่าง - -
ไนเตรท2/ 10.800 4.700 1.950 1.321 ไม่แตกต่าง 10 
แคลเซียม2/ 3.7100 1.0660 1.0333 0.5882 แตกต่าง - -
โครเมียม2/ nd nd nd nd ไม่แตกต่าง 0.05 
ทองแดง2/ 0.0392 0.0488 0.0065 0.0229 แตกต่าง 1.0 
เหล็ก2/ 0.0300 0.0300 0.0075 0.0165 ไม่แตกต่าง 0.3 
ตะกั่ว2/ 0.0740 0.0536 0.0130 0.0037 ไม่แตกต่าง 0.05/0.01 
แคดเมียม2/ 0.0294 0.0316 0.0137 0.0191 แตกต่าง 0.005/0.003 
สังกะสี2/ 0.1240 0.0982 0.0385 0.0324 ไม่แตกต่าง 5.0 
แมงกานีส2/ 0.1050 0.0780 0.0228 0.0222 ไม่แตกต่าง 0.1 
แมกนีเซียม2/ 0.1700 0.1500 0.0382 0.0264 ไม่แตกต่าง - -
ปรอท2/ 0.0010 0.0012 0.0002 0.0002 ไม่แตกต่าง 0.001 



เนื่องจากผมนำเสนอแบบตารางไม่เป็น ดูแล้วอาจไม่รู้เรื่อง....คุณ Orchid ได้ทำเป็นรูปตารางส่งให้ผมทาง อีแมว ...ผมขอน้อมรับไว้ด้วยความขอบคุณเป็นอย่างยิ่ง
พยายาม คลิก เพื่อขยายรูปดูเอาหน่อยนะครับ




ตารางที่ 1 คุณภาพน้ำฝนตัวอย่างจากสถานีอุตุนิยมวิทยา อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี

หมายเหตุ 1/ ใช้ค่าต่ำสุด - สูงสุดของน้ำฝนตัวอย่าง
2/ หน่วยเป็น มก./ล. (ค่าความเป็นกรด-ด่าง ไม่ระบุหน่วย)
3/ ค่าเฉลี่ยรวมของน้ำฝนตัวอย่าง
4/ วิเคราะห์ค่าความแตกต่างทางสถิติ (T-test) ที่ระดับความเชื่อมั่น 95 %
5/ ใช้เกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำดื่มขององค์การอนามัยโลก (WHO, 1984) สำนักงาน
มาตรฐาน ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ., 2549) ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
(พ.ศ. 2549) ออกตาม พรบ. มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511
 ไม่เกินมาตรฐาน  เกินมาตรฐาน - ไม่กำหนดมาตรฐาน
nd (non detectable) ไม่สามารถตรวจวัดได้ที่ความละเอียดของเครื่องมือ



ตารางที่ 2 คุณภาพน้ำฝนตัวอย่างจากสถานีอุตุนิยมวิทยาเกษตร อำเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์


สมบัติทางเคมี ค่าสูงสูด เฉลี่ย3/
สรุป 4/
เกณฑ์คุณภาพ
น้ำดื่ม
มาตรฐานสูงสุด
ที่ยอมรับได้
ฝนหลวง ฝน
ธรรมชาติ ฝนหลวง ฝน
ธรรมชาติ
ความเป็นกรด-ด่าง 1/ 5.80-7.69 6.09-7.75 7.03 7.27 ไม่แตกต่าง 6.5 - 8.5 
ความเป็นกรด2/ 0.30 0.35 0.15 0.20 ไม่แตกต่าง - -
ความเป็นด่าง2/ 0.30 0.20 0.11 0.09 ไม่แตกต่าง - -
ซัลเฟต2/ 32.00 12.00 9.05 3.33 แตกต่าง 400/250 
คลอไรด์2/ 1.20 1.50 0.01 0.02 ไม่แตกต่าง 250 
ความกระด้าง2/ 0.10 0.10 0.05 0.06 ไม่แตกต่าง 500 
แอมโมเนีย2/ 0.670 0.727 0.197 0.251 ไม่แตกต่าง - -
ไนไตรท์2/ 0.117 0.055 0.010 0.022 ไม่แตกต่าง - -
ไนเตรท2/ 3.500 3.700 1.115 1.026 ไม่แตกต่าง 10 
แคลเซียม2/ 0.8912 1.4976 0.3679 0.5462 ไม่แตกต่าง - -
โครเมียม2/ nd nd nd nd ไม่แตกต่าง 0.05 
ทองแดง2/ 0.0182 0.0388 0.0049 0.0145 แตกต่าง 1.0 
เหล็ก2/ 0.0300 0.0200 0.0256 0.0022 แตกต่าง 0.3 
ตะกั่ว2/ 0.0650 0.0646 0.0172 0.0066 ไม่แตกต่าง 0.05/0.01 
แคดเมียม2/ 0.0274 0.0274 0.0124 0.0127 ไม่แตกต่าง 0.005/0.003 
สังกะสี2/ 0.0714 0.1272 0.0318 0.0488 ไม่แตกต่าง 5.0 
แมงกานีส2/ 0.1300 0.1710 0.0304 0.0060 ไม่แตกต่าง 0.1 
แมกนีเซียม2/ 0.1000 0.0500 0.0224 0.0067 แตกต่าง - -
ปรอท2/ 0.0007 0.0037 0.0001 0.0005 ไม่แตกต่าง 0.001 






ตารางที่ 2 คุณภาพน้ำฝนตัวอย่างจากสถานีอุตุนิยมวิทยาเกษตร อำเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์


หมายเหตุ 1/ ใช้ค่าต่ำสุด - สูงสุดของน้ำฝนตัวอย่าง
2/ หน่วยเป็น มก./ล. (ค่าความเป็นกรด-ด่าง ไม่ระบุหน่วย)
3/ ค่าเฉลี่ยรวมของน้ำฝนตัวอย่าง
4/ วิเคราะห์ค่าความแตกต่างทางสถิติ (T-test) ที่ระดับความเชื่อมั่น 95 %
5/ ใช้เกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำดื่มขององค์การอนามัยโลก (WHO, 1984) สำนักงาน
มาตรฐาน ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ., 2549) ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
(พ.ศ. 2549) ออกตาม พรบ. มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511
 ไม่เกินมาตรฐาน  เกินมาตรฐาน - ไม่กำหนดมาตรฐาน
nd (non detectable) ไม่สามารถตรวจวัดได้ที่ความละเอียดของเครื่องมือ



ตารางที่ 3 คุณภาพน้ำฝนตัวอย่างจากสถานีอุตุอุทกวิทยาเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์


สมบัติทางเคมี ค่าสูงสูด เฉลี่ย3/
สรุป 4/
เกณฑ์คุณภาพ
น้ำดื่ม
มาตรฐานสูงสุด
ที่ยอมรับได้
ฝนหลวง ฝน
ธรรมชาติ ฝนหลวง ฝน
ธรรมชาติ
ความเป็นกรด-ด่าง 1/ 5.29-7.60 6.18-7.73 6.93 7.20 ไม่แตกต่าง 6.5 - 8.5 
ความเป็นกรด2/ 0.30 0.30 0.15 0.16 ไม่แตกต่าง - -
ความเป็นด่าง2/ 1.50 0.30 0.23 0.15 ไม่แตกต่าง - -
ซัลเฟต2/ 23.00 8.00 7.32 2.76 แตกต่าง 400/250 
คลอไรด์2/ 2.70 1.90 0.76 0.32 แตกต่าง 250 
ความกระด้าง2/ 0.15 0.10 0.07 0.05 ไม่แตกต่าง 500 
แอมโมเนีย2/ 1.390 0.744 0.261 0.333 ไม่แตกต่าง - -
ไนไตรท์2/ 0.067 0.199 0.007 0.030 ไม่แตกต่าง - -
ไนเตรท2/ 6.300 5.700 0.786 0.960 ไม่แตกต่าง 10 
แคลเซียม2/ 3.1420 1.7380 0.803 0.574 ไม่แตกต่าง - -
โครเมียม2/ nd nd nd nd ไม่แตกต่าง 0.05 
ทองแดง2/ 0.0500 0.0530 0.0106 0.0217 ไม่แตกต่าง 1.0 
เหล็ก2/ 0.0990 0.0498 0.0197 0.0054 แตกต่าง 0.3 
ตะกั่ว2/ 0.0552 0.0510 0.0174 0.0067 ไม่แตกต่าง 0.05/0.01 
แคดเมียม2/ 0.0298 0.0292 0.0064 0.0193 แตกต่าง 0.005/0.003 
สังกะสี2/ 0.1846 0.2280 0.0532 0.0582 ไม่แตกต่าง 5.0 
แมงกานีส2/ 0.0590 0.0880 0.0252 0.0446 แตกต่าง 0.1 
แมกนีเซียม2/ 0.1200 0.1900 0.0433 0.0400 ไม่แตกต่าง - -
ปรอท2/ 0.0011 0.0007 0.0004 0.0003 ไม่แตกต่าง 0.001 





ตารางที่ 3 คุณภาพน้ำฝนตัวอย่างจากสถานีอุตุอุทกวิทยาเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์

หมายเหตุ 1/ ใช้ค่าต่ำสุด - สูงสุดของน้ำฝนตัวอย่าง
2/ หน่วยเป็น มก./ล. (ค่าความเป็นกรด-ด่าง ไม่ระบุหน่วย)
3/ ค่าเฉลี่ยรวมของน้ำฝนตัวอย่าง
4/ วิเคราะห์ค่าความแตกต่างทางสถิติ (T-test) ที่ระดับความเชื่อมั่น 95 %
5/ ใช้เกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำดื่มขององค์การอนามัยโลก (WHO, 1984) สำนักงาน
มาตรฐาน ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ., 2549) ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
(พ.ศ. 2549) ออกตาม พรบ. มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511
 ไม่เกินมาตรฐาน  เกินมาตรฐาน - ไม่กำหนดมาตรฐาน
nd (non detectable) ไม่สามารถตรวจวัดได้ที่ความละเอียดของเครื่องมือ



จากผลการวิเคราะห์คุณภาพน้ำฝนในพื้นที่ปฏิบัติการฝนหลวงในลุ่มน้ำภาคกลางของประเทศไทย พบว่า โดยส่วนใหญ่น้ำฝนในวันที่มีการปฏิบัติการฝนหลวง (ฝนหลวง) และวันที่ไม่ได้ปฏิบัติการฝนหลวง (ฝนธรรมชาติ) มีองค์ประกอบของสารเจือปนต่ำกว่าระดับค่ามาตรฐานน้ำดื่มขององค์การอนามัยโลก (WHO) และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างน้ำฝนธรรมชาติกับน้ำฝนจากการปฏิบัติการฝนหลวง พบว่า ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

อย่างไรก็ตาม รายงานผลการศึกษาครั้งนี้ พบว่า น้ำฝนทั้ง 2 ประเภท คือ น้ำฝนจากการปฏิบัติการฝนหลวง และน้ำฝนธรรมชาติ ทั้ง 3 สถานี มีการปนเปื้อนของแคดเมียมเกินเกณฑ์มาตรฐานในทุกสถานี ซึ่งไม่เหมาะสมสำหรับการบริโภค แต่ไม่มีความเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการฝนหลวง เนื่องจาก แคดเมียมไม่ได้เป็นองค์ประกอบหนึ่งของสารฝนหลวงที่ใช้ในการปฏิบัติการฝนหลวง ซึ่งการปนเปื้อนสารดังกล่าวเป็นผลมาจากการใช้สารเคมีในรูปแบบต่าง ๆ จากกิจกรรมที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์


------------------------------


เอกสารอ้างอิง

กรมอาชีวอนามัย. 2522. การศึกษาและวิเคราะห์คุณสมบัติของน้ำฝนจากการปฏิบัติการฝนหลวง. กรมอนามัย, กระทรวงสาธารณสุข, กรุงเทพฯ.
ฝ่ายวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม. 2526. สรุปผลการสำรวจคุณภาพน้ำฝนปี 2526. กองอนามัยสิ่งแวดล้อม, กรมอนามัย, กระทรวงสาธารณสุข, กรุงเทพฯ.
วิศิษฎ์ รัศมิทัต และคณะ. 2522. น้ำฝนในพื้นที่ปฏิบัติการฝนหลวง. กองทัพอากาศเกษตร. กรมอุตุนิยมวิทยา, กระทรวงคมนาคม, กรุงเทพฯ.
สำนักฝนหลวงและการบินเกษตร. 2544. พระบิดาแห่งฝนหลวง. สำนักฝนหลวงและการบินเกษตร, กรุงเทพฯ.
สำนักฝนหลวงและการบินเกษตร. 2547. เป็นฝนสู่ประชาจากพระบิดาแห่งแผ่นดิน. สำนักฝนหลวงและการบินเกษตร, กรุงเทพฯ
สำนักฝนหลวงและการบินเกษตร. 2549. รายงานฉบับสมบูรณ์ “คุณภาพน้ำฝนในพื้นที่ปฏิบัติการฝนหลวงในลุ่มน้ำภาคกลางของประเทศไทย”. สำนักฝนหลวงและการบินเกษตร, กรุงเทพฯ.


สรุป.....จากตารางที่คุณธนพลนำเสนอ

ค่า pH - ของน้ำฝนที่ลพบุรี ฝนหลวง 6.54 - 7.76
ฝนธรรมชาติ 6.60 - 7.86

ค่า pH - ของน้ำฝนที่นครสวรรค์ ฝนหลวง 5.80 - 7.69
ฝนธรรมชาติ 6.09 - 7.75

ค่า pH - ของน้ำฝนที่เขื่อนป่าสักฯ ฝนหลวง 5.29 - 7.60
ฝนธรรมชาติ 6.18 - 7.73

ค่า pH - ของน้ำฝนที่บริเวณ กทม.หรือบ้านคุณ ธนพล
ฝนธรรมชาติ 6.0....? - 7......?
ไม่รู้เพราะคุณไม่มีเวลาวัด

โถ ๆ ๆ ๆ ๆ เวลาคุณขับรถในกรุงเทพฯ ถ้าเจอฝนตกก็หยุดรถซักแป๊บนึง แล้วก็หาขวดรองน้ำฝนเอาไว้ กลับมาบ้านก็เอาวัดค่าดูก็จะรู้ว่า ความเป็น กรด ด่าง มันเท่าไหร่ ซึ่งมันก็น่าจะใกล้เคียงกัน

นอกจากนี้ ในน้ำฝนมันมีแร่ธาตุสารอาหาร อะไรต่อมิอะไรเยอะแยะไปหมด เริ่มตั้งแต่
ซัลเฟต...คลอไรด์ แอมโมเนีย ไนไตรท์ ไนเตรท แคลเซี่ยม โครเมี่ยม ทองแดง เหล็ก ตะกั่ว แคดเมี่ยม สังกะสี แมงกานีส แมกนีเยม ปรอท..


.แต่ไม่ยักมี ซิลิก้า ในน้ำฝน วุ๊ย.....

รู้เขาหลอก แต่เต็มใจให้หลอก..แร่หินจากภูเขาไฟ กระปุกละสองสามร้อย..เฮ....

เอาน้ำคาวปลาเจือจางน้ำ + แมกนีเซี่ยม + ยากันรา รดกล้วยไม้ยังจะดีซะกว่า

อย่าคิดว่า สารซิลิก้าจะช่วยให้ต้นไม้ป้องกัน เชื้อโรค เชื้อรา กันแมลงได้ แบบนี้ต้นข้าว(ฟางข้าว)มันก็ไม่มีโรค ไม่มีแมลงกวนซีครับ

เห็นหรือยังครับว่า ฝนแต่ละแห่ง ค่า pH มันไม่เท่ากันครับ ลุงคิมถึงพูดย้ำ ๆ ๆ ว่า ดินบ้านคุณ ดินบ้านผม น้ำบ้านคุณ น้ำบ้านผม อากาศบ้านคุณ อากาศบ้านผม และอีกหลาย ๆ อย่าง

และลุงเคยบอกผมว่า อยากให้จุลินทรีย์ในปุ๋ย ได้ผลเต็มที่ ต้องฉีดลงดินตอนฝนกำลังตก


และขอบอก...มีคนบ้า 2 คน เดินฉีดปุ๋ยลุงกลางสายฝน....คนบ้าคนหนึ่ง ชร. คนบ้าอีกคน นฐ. ทันใดนั้น ว่าแล้วก็....





เปรี้ยง ตัวใครตัวมันครับลุง


..เขียนไปเขียนมาชักจะมึนแบบทิดแดงแฮะ .....

ปรับสภาพน้ำต่อไปครับคุณธนพล จนกว่าจะได้จุดที่ต้องการ

ไปดูดอกกล้วยไม้ทิดแดงที่ได้ข่าวมาว่า กำลังออกดอกกันดีกว่า คุณว่ามั๊ย....

คุณ orchid ...ไอ้ตู่...ไอ้หริ่ง ไม่มีใครเข้ามา เม้นต์ มั่งเลยหรือครับ(หรือวะ)


อ้อครับ ลิ้งค์ ที่คุณธนพลนำเสนอ มีการตรวจสอบไวรัสแกนหรือยังครับ ผมว่า มัน แว๊บ ๆ อยู่นะครับ



..


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Sombutt เมื่อ 16/05/2014 10:10 pm, แก้ไขทั้งหมด 4 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
hans
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 28/04/2013
ตอบ: 146

ตอบตอบ: 16/05/2014 9:02 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.

สวัสดีค่ะลุงคิม ทิดแดง ทิดบัติ และสมาชิกทุกท่าน

อ่านแล้วมึน แต่ก็ชอบอ่าน.....


ป้าห่านจ้า



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11559

ตอบตอบ: 16/05/2014 9:33 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.

บอกแล้วไง....เกษตร ยากกว่า วิศวะ+แพทย์
วิชาที่ยากที่สุด คือ วิชาวิชา "วิศวะเคมี"


อาจารย์สอนวิศวะ วิทยาลัยเกษตรกรรม สิงห์บุรี พูดว่า :
"ใครว่าวิศวะยาก พวกมึงว่ามันยากกันเองทั้งนั้น วิศวะมีเครื่องมือวัด อะไรผิดสเป็คก็คัดออก .... เกษตรนี่แหละยาก ต้นไม้มีเครื่องมืออะไรวัดได้บ้าง เขาต้องการกินปุ๋ยอะไร เท่าไหร่ มึงเอาอะไรวัด เอาอะไรตรวจสอบ...."

อาจารย์แพทย์ ร.พ.พระมงกุฎเกล้า พูดว่า :
อยากรู้คนไข้เป็นโรคอะไร สอบถามอาการ เมื่อคนไข้บอกอาการ หมอก็วินิจฉัยโรคได้ แล้วสั่งยาได้ แบบนี้ยากเหรอ ? .... เกษตรต่างหากยากสุดๆ ต้นไม้ป่วยเป็นอะไร ถามยังไงๆ ก็ไม่บอก ไม่โตไม่ออกดอกออกลูก ถามยังไงก็ไม่บอก ขืนถามต้นไม้มากๆ เขาจะหาว่าบ้างน่ะซี คนอะไรพูดกับต้นไม้


ป้าฮันส์ว่ามั้ย :
คนหัวไบร์ท เรียนวิศวะ
คนหัวดี เรียนแพทย์
คนหัวขี้เลื่อย เรียนเกษตร

นี่ใช่ไหม สังคมการศึกษากลับหัวกลับหาง
ทำเกษตรแบบกลับหัวกลับหาง....(ปรีชา เรือนเย็น ร.พ.สวรรค์ประชารักษ์)
หนี้สินถึงได้เต็มบ้านเต็มเมืองไงล่ะ

ทำเกษตรมาตั้งแต่อยู่ในท้องแม่
ทำแล้ว ขายได้-ได้ขาย ทุกรุ่น แต่ไม่รู้ว่าขาดทุน ถึงไม่ขาดทุนก็ไม่ได้กำไร....ทำไมเกษตรกรจึงไม่รู้

โกหกตัวเอง หลอกตัวเอง ทั้งน้านนนนนน



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Sombutt
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 19/05/2011
ตอบ: 84

ตอบตอบ: 16/05/2014 10:37 pm    ชื่อกระทู้: ผมมันแค่ วิศโว๊ย ครับ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีครับลุง ทิดแดง ป้าห่าน

พูดถึง วิศวเคมีการเกษตร ...ผมได้แค่ วิศโว๊ย เท่านั้นครับ

ภาษาวิชาการ ไม่กระดิกหู เท่าที่เขียนออกมาได้ก็แค่ลอกตำราปลาย ๆ ชายขอบกางเกงของอาจารย์ที่จดมาเท่านั้นเอง .

...ตามหลักคณิตศาสตร์ 1 + 1 = 2
แต่ในทางเคมี 1 + 1 อาจ = 0 หรือ = 1 หรือ = 3 ก็ได้

เอา การบูน ใส่กะทะเผาให้ร้อน สิ่งที่เหลือคือ กะทะเปล่า ๆ

เอาครกมาตั้ง เอาสากตำ ๆๆๆๆ รัวสนั่นไปเลย สิ่งที่ได้มาคือ สากกระเบือลอยมาอีกอัน โดนมาแล้ว แม่ให้มา

เห็นมั๊ยครับ ครก + สาก = สากอีกอัน...1 + 1 = 3 มั๊ยล่ะครับ

เพราะเรื่องการปรับสภาพน้ำให้ใกล้เคียงน้ำฝน เป็นแค่เรื่อง EASY Basic เท่านั้นเองครับ คิดอะไรให้มากมาย ทำง่าย ๆ ครับ

เวลาอยู่ในสวนเข้าตาจนหาอะไรไม่ได้ ....ใช้ผลไม้เปรี้ยว ๆ มาขยำลงน้ำก็ได้แล้ว หรือไม่ก็ใช้รังมดแดงห่อผ้าขาวม้าลงขยำ ๆ ในน้ำก็ได้อีกเช่นกัน(แยกไข่มดแดงไว้ต่างหาก เอาไว้ยำนะครับ) ใช้น้ำมะพร้าวก็ยังได้ เป็นอมิโน หรือนาโนซะด้วยซ้ำ จะเป็นอมิโนโปรตีน หรือโปรสองตีน ก็ว่ากันไป....

ไม่เชื่อพี่ แล้วนี่น้องจะเชื่อใคร...ใช่เพลงที่ลุงร้องประจำหรือเปล่าหว่า....

ขอบคุณครับ


ปล. สำหรับป้าห่าน....กล้วยหอมป้าห่าน....ผมรอรับทานบารมีจากทิดแดง...ทิดแดงบอกว่า ..

.รอหน่อย กูกำลังผ่าหน่อ จาก 1 ตอนนี้ขึ้นเป็นต้นมาแล้ว 5 .....

นี่แหละครับ คนไม่บ้าไม่กล้าทำ...ผมปลูกกว่าจะได้หน่อใหม่ รอเกือบปี แต่แกทำยังไงของแกวะ แผล็บเดียวได้ 5 ต้น สมแท้ที่เป็นนักพันธุกรรม(นักผสมพันธุ์)ครับ ...




.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
orchid
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 07/05/2014
ตอบ: 43

ตอบตอบ: 16/05/2014 11:54 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีครับลุง...คุณทิดแดง คุณทิดบัติ คุณธนพล และเพื่อน ๆ ทุกท่าน


ขอบคุณในองค์ความรู้ทั้งของลุงคิม ของคุณทิดแดง และคุณทิดบัติ....

เพิ่งจะรู้ครับว่า ในน้ำฝนมีแร่ธาตุสารอาหารที่เป็นประโยชน์กับคน สัตว์ และพืช มากมาย คนและสัตว์ กินน้ำฝน ชื่นใจ ต้นไม้ได้รับน้ำฝน งอกงาม

และถึงบางอ้ออีกครั้งตรงที่ทิดแดงเอาน้ำแข็งแช่ในน้ำผสมปุ๋ยเพื่อให้น้ำมีสภาพคล้ายน้ำฝน

....เพราะเหตุตามข้อมูลของการทำฝนเทียมบอกว่า น้ำฝนก่อนตก อุณหภูมิ 0 องศา ซี. ซึ่งมันก็เย็นเจี๊ยบเป็นเกร็ดน้ำแข็งเลยนะครับ เมื่อตกผ่านชั้นบรรยากาศความเย็นก็ลดลง น่าจะเหลือประมาณ 4 องศา ซี. นะครับ เพราะน้ำฝนมันเย็นเหมือนน้ำแข็ง และเย็นแบบชื่นใจ

....และก็มาถึงตรงที่ข้อมูลค่า pH ของน้ำฝนแต่ละแห่ง แต่ละท้องที่ ก็ต่างกันไปอีก ซึ่งตรงจุดนี้เองที่ ต้นไม้ชนิดเดียวกัน ถ้าขึ้นในที่หนึ่ง อาจจะงอกงามดีกว่าอีกที่หนึ่ง

ผมติดตามอ่านกระทู้นี้มาตั้งแต่ต้น คิดว่าอยากรู้วิธีการปลูกกล้วยไม้แต่ละชนิดจากผู้มีประสบการณ์ ..

...ผู้ตั้งกระทู้ เริ่มด้วยการใช้ภาชนะปลูกเป็นขวดปากคว่ำ ใช้ Bark - เปลือกสน เป็นวัสดุปลูก
...ผู้ตอบกระทู้ ก็ทำการทดลองตามผู้ตั้งกระทู้
...คนอ่านกระทู้ ก็จดจ้องอยู่ว่า ผลการทดลองจะไปในทิศทางใด..

..เรื่องกำลังจะเริ่มไปด้วยดี ผู้ตั้งกระทู้พาออกนอกรัยเวย์ ไปเรื่องโน้น เรื่องนี้ ซึ่งแม้ว่า เรื่องมันเกี่ยวข้องกัน แต่มันยังไม่ถึงเวลานั้น หรือมันยังมาไม่ถึง เรื่องก็เลยชะงัก ...วกไปเวียนมา เรื่องไม่ต่อเนื่องกัน คนอ่านตามก็ มึน ..

... ผมอุตส่าห์ คัดลอก แล้ว พิมพ์ข้อมูลทั้งหมดเพื่อเก็บไว้อ่าน สี่ ห้า สิบหน้าแล้ว เอาไว้ศึกษาตั้งแต่หน้าแรก ...คนหนึ่งกำลังสาธิตทดลองวิธีการปลูก อีกคนก็ออกไปเรื่องการปรับสภาพน้ำ ก็เลยกลายเป็นการคุยกันคนละเรื่องเดียวกัน...



...ผมจึงมีความเห็นว่า :
(1) ให้ทิดแดงเปิดกระทู้ใหม่ ว่าด้วยเรื่องกล้วยไม้โดยเฉพาะ ก็โดยเริ่มตั้งแต่การทดลองปลูกกล้วยไม้ตามวิธีของคุณธนพลนี่แหละ ว่าทำไปแล้วผลการทดลองเป็นอย่างไร เพราะคิดว่าเพื่อนสมาชิกหลายคนอยากรู้..และอยากรู้ว่าปลูกอย่างไรให้มันออกดอก

..ซึ่งผมได้ถามทิดแดงแล้วว่า ...ได้มีข้อมูลไปถึงไหนแล้ว...
ทิแดงบอกผมว่า ...กล้วยไม้ที่ทดลองกำลังจะออกดอกแล้วมั๊ง....

เมื่อจบการทดลองสรุปผลอย่างไรแล้ว ก็ค่อยว่ากันใหม่เพื่อให้คนที่อยากหันมาสนใจปลูกกล้วยไม้ไว้ดูเล่น รู้จักว่า กล้วยไม้ที่ขายกันนั้น มันมีอะไรบ้าง


(2) สำหรับกระทู้ของคุณธนพลก็ดีครับ ได้ศึกษาไปด้วย ซึ่งคุณธนพลจะได้ทดลองทำอะไรตามที่คุณธนพลอยากจะทดลองทำต่อไปในกระทู้ที่คุณธนพลเปิดประเด็นขึ้นมา....ถือว่าเป็นการค้นคว้า วิจัย แบบชาวบ้านๆ


ผมคิดว่า ทั้งสองกระทู้น่าจะเป็นกระทู้ว่าด้วยเรื่องกล้วยไม้ที่น่าสนใจนะครับ
ส่วนใครสนใจจะอ่านกระทู้ไหนก็เป็นสิทธิ์ที่จะอ่านได้ครับ....ขอความคิดเห็นด้วย จะหน้าไมค์ หรือหลังไมค์ก็ได้ครับ...


ขอบคุณครับ



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Sombutt
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 19/05/2011
ตอบ: 84

ตอบตอบ: 17/05/2014 2:39 pm    ชื่อกระทู้: Cold Cold Heart....ซิมเหลี่ยงเลี๊ยง....ใจเย็น ๆ ครับ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีครับลุง คุณ orchid คุณธนพล และเพื่อน ๆ

คุณ orchid ใจเย็น ๆ ก่อนครับ...

..ผมเข้าใจความรู้สึกของคุณ orchid ความรู้สึกของคุณธนพล และเข้าใจความรู้สึกของทิดแดง แต่ละคนก็มีความคิดเห็น และความต้องการไปคนละแบบ

คุณorchid อยากรู้เรื่องวิธีการปลูกกล้วยไม้ เลยใจร้อนอยากรู้เร็ว ๆ .

...คุณธนพล เก็บกดเรื่องกล้วยไม้มานาน ไม่มีใครเขียนลงเว็ปลุงซักที พอมีคนที่คุยกันถูกคอในเรื่องเดียวกัน ก็เหมือนปลากระดี่ได้น้ำ เริงร่าไปตามน้ำ พอเหนื่อยเข้าเดี๋ยวก็จะเพลา ๆ ลงไปเอง

...ทิดแดงก็อยากจะเขียน แต่แกบอกผมว่า .

...ระยะนี้งานกูท่วมหัว แทบไม่มีเวลาจะกินข้าวกินปลา..เพิ่งจะกลับจากทำธุระที่ศรีสะเกษ ..ต้องเดินสาย บางใหญ่ - นครปฐม ไปดูสวนให้ไอ้ตัวเล็กที่บางใหญ่ เดินทางไป - กลับ 40 กม. บางวันต้องค้าง... ไหนจะสวนที่นครปฐมอีก

ส่วนเรื่องข้าว รุ่นนี้ปล่อยมือให้เจ๊ใหญ่ดูแลแทนเป็นส่วนใหญ่ เจ๊ใหญ่จะได้ทำตามแนวลุงได้เองซะที ....แล้วก็ยังมีภาระ(เวร)ที่ต้องดูแลลูกสาวกับหลานตัวแสบอีกด้วย เวลาที่จะเข้ามาตอบกระทู้จึงไม่ค่อยจะมี....


และมีคำบัญชาด้วยว่า .

..ไอ้ตู่ กับไอ้หริ่ง คงพึ่งอาศัยในเรื่องนี้ไม่ได้ ดังนั้น มึงเข้ามาช่วยดูกระทู้นี้ให้กูถี่ อันไหนที่มึงรู้ มึงตอบไปเลย ผิดถูกไม่เป็นไร เดี๋ยวถ้าลุงมาเปิดอ่าน ลุงจะแก้ให้เอง หรือถ้ากูเข้ามาดูจะต่อเติมเพิ่มบวกให้อีกที ....

ไม่ได้หมายความว่า มึงกับกูเก่ง เพียงแค่รู้เท่าที่ไปอบรมกันมาและเคยช่วยพ่อทำมาเท่านั้น อันไหนตอบได้ตอบ อันไหนตอบไม่ได้ ก็บอกว่าอันนี้ไม่รู้ โดยเฉพาะกล้วยไม้ไทย ไม่ตอบสนองต่อปุ๋ยเคมีและน้ำประปามากนัก ....


หวังว่าคงพอเข้าใจกันและกันนะครับ.....และผมคิดว่า คุณอาจได้รับบางอย่างที่คุ้มค่าจากการรอคอยครับ

ต้องขออภัย
เพื่อนที่อยากจะโทรคุยกับผม ตั้งแต่ผมโดนควายเหล็กมันถีบเข้าที่ยอดอก ช้ำในแทบกระอักเลือด พอหายกลายเป็นว่า เสียงที่เคยหวานแหว๋ว
ดุจเสียงนกการะเวก กลับแหบแห้งกลายเป็นเสียง เป็ดเทศ แห่บ ๆๆๆๆ ...

.เวลาพูดค่อย ๆ ก็ไม่มีเสียง พูดแรงเสียงก็ค่อย แต่เวลาพูดแรง ๆ มันเหนื่อยเหมือนเราต้องตะโกนพูด นอกจากเสียงไม่ดี แต่เรื่องอื่น ผ่านฉลุยครับ ....เวลาทิดแดงโทรหาผมจะบอกว่า....

....มึงฟัง ไม่ต้องพูด.....

เวลาโดนด่า ผมก็รับลูกเดียวเต็ม ๆ เถียงไม่ได้เพราะไม่มีเสียงจะเถียง.....



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
DangSalaya
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011
ตอบ: 1874

ตอบตอบ: 18/05/2014 1:27 pm    ชื่อกระทู้: กล้วยไม้ ใกล้ม้วย ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีครับลุงคิม....คุณ tanapole คุณภิญโญ คุณ Orchid ไอ้ทิดบัติ

กล้วยไม้ ใกล้ม้วย

บทที่ 4 – ไม่มีลุ้น ไม่สนุก ...ตอนที่...6 ภาค 1 ..ฝนตกหยิม ๆ ลุงคิมเก็บเห็ด

คงต้องอธิบายสาธยายร่ายยาว....

เนื่องจากตามที่ทิดบัติเขียนบอกว่า.....ผมมีภารกิจ ต้องไปทำธุระต่างจังหวัดหลายวัน จึงไม่ค่อยได้เข้ามาตอบกระทู้ โดยเฉพาะกระทู้เรื่องกล้วยไม้ของคุณธนพล ผมจึงบอกให้ทิดบัติ ซึ่งพอจะรู้ในเรื่องนี้(ในเชิงวิชาการ อาจจะดีกว่าผม)มาช่วยตอบกระทู้แทนผม

…แต่ขอติงไอ้ทิดนิดนึง พยายาม เบา ๆ ภาษาวิชาการลงหน่อย เอาภาษาธรรมดา ๆ ที่สุด...ขนาดป้าห่านแกยังบอกว่า อ่านแล้วมึน แต่ก็ชอบอ่าน...แล้วกูอ่านแล้วจะไม่มึนได้ยังไง....(แต่ก็ ขอบใจมึงโว๊ย)

และสำหรับท่าน ผู้ดีบางท่าน ที่เข้ามาอ่าน แล้วบอกว่า ผมใช้ภาษาไม่สุภาพ ขออภัย ผมเป็นคนไทย พ่อผมเป็นไทย เป็นคนติดดินครับ

ผมใช้ มึง กู กับ ทิดบัติ ไอ้ตู่ ไอ้หริ่ง มาตั้งแต่หัวเท่ากำปั้น จะให้เปลี่ยนเป็นอะไร บอกมา
ใช้ เอ็ง ข้า กับยัยเฉิ่ม และบางคนที่ใกล้ชิด
ใช้ คุณ ผม ท่าน กับเพื่อนสมาชิก แม้หลายคนบอกให้ใช้ ไอ้ แต่ผมยังไม่กล้า
ใช้ กระหม่อม ฝ่าบาท กับเพื่อนที่ปลูกกล้วยไม้และสนิทกันมาตั้งแต่สมัยเรียน แต่อาจจะมี ไอ้หม่อม เป็นบางครั้งบางคราว

ถ้าอยากฟังคำพูดหวาน ๆ รื่นหู ไปที่ไร่กล้อมแกล้มในทุกวันเสาร์ครับ ชัวร์....





(รูป 01)
......อาจารย์เฉลิมชัย – ผู้สร้างวัดร่องขุ่น…เขียนรูปขายฝรั่ง ...ฝรั่งจ่ายเช็ดเงินสด แต่ไม่ลงจำนวนเงิน ...อาจ่าน ส่ า ย ตัว เล่ อาว เอ น๊า ขราบ ...
รูปเขียนของอาจารย์วันนี้อาจรูปละ 10 ล้าน 100 ล้าน แต่อีกห้าสิบปี ร้อยปีข้างหน้า อาจจะเป็นรูปละพันล้าน เพราะมันมี 1 เดียว

มีป้ายเขียนบอกว่า ....หญ้าปลูกใหม่...ห้ามเดินลัดสนามหญ้า....
สาวไฮโซเดินผ่านตรงจุดที่ป้ายปัก....เสียงว๊ากมาแต่ไกล....
....เฮ๊ย มึงอ่านป้ายที่กูเขียนปักเอาไว้ไม่ออกหรือยังไง พ่อ แม่ มึงอยู่ที่ไหน หัดสอนลูกมึงซะบ้าง....
ทุกคนมองมาเป็นจุดเดียว แทบจะมุดแผ่นดินหนี.....จากนั้นอีกไม่นาน รถทัวร์ทั้งคันก็หายวับไปกับตา....




(02)



(03)

(รูป 02 – 03) พระกริ่งที่อาจารย์สร้างให้ตำรวจภูธรภาค ๕ เนื้อ นวฯ ตอนนู๊น องค์ละหมื่น ตอนนี้องค์ละ ห้าแสน ยังหาไม่ได้ เพราะมีลายเซ็นของอาจารย์ และมีเลขกำกับทุกองค์

…ถ้าจะมีคน(บ้า)บอกว่าในรูป 02 ...6 องค์ 100 ล้าน ผมคิดว่า จะมีคน(บ้า)กล้าเอานะครับ ไม่รู้จะเอาเงินไปทำอะไร แค่เศษเงินของพวกโกงชาติเท่านั้นเอง...

ผมยังอยู่ในเรื่อง ไม่ได้ออกนอกเรื่องนะครับ เพราะมันมีความเชื่อมโยงถึงกันและกัน บอกแล้วว่า ยาววววว

คุณ Orchid อาจเป็นวัยรุ่นใจร้อน ตามที่ทิดบัติว่า... ก็อยากจะรู้ในสิ่งที่ตัวเองอยากรู้ คือวิธีการปลูกกล้วยไม้.. แต่ถ้าบังเอิญว่า คุณกำลังอยากรู้ในสิ่งที่คุณธนพละกำลังพูดถึง คือเรื่องการปรับสภาพน้ำ คุณก็คงคล้อยตาม..

..การรู้ในข้อมูลที่หลากหลาย ผมว่ามันดีนะครับ เพราะหลังจากที่คุณ Orchid ปลูกกล้วยไม้เสร็จแล้ว ปัญหาเรื่องน้ำจะต้องตามมาแน่ ๆ .....ดังนั้นการเตรียมตัวรับรู้ไว้ตั้งแต่แรกที่ยังไม่มีปัญหา น่าจะดีกว่านะครับ


สำหรับ คุณธนพล แก ว้าเหว่ มานาน หาเพื่อนคุยในเรื่องที่ตัวเองอยากรู้ไม่ได้ ก็อาศัยยึดแนวจากในตำรา...พอมีเพื่อน แกอยากรู้เรื่องอะไร อยากทดลองอะไร อาจจะเฉไฉไปทางโน้นบ้าง ทางนี้บ้าง เป็นเรื่องของการที่แกอยากเรียนรู้ในเรื่องกล้วยไม้

ผมก็คิดว่า เป็นการนำเสนอที่หลากหลาย ดีกว่าคิดคนเดียว ทำคนดียว ซึ่งเป็นจุดประสงค์ของลุงคิม อยู่แล้วที่อยากให้มีการ ร่วมด้วยช่วยกันทำ (ไม่แน่ใจว่าจะข้าทำนอง คนเดียวหัวหาย สองคนเพื่อนตาย สามคนวุ่นวาย สี่คนชิบหาย ห้าคนไม่มีเพราะมันชิบหายไปตอนที่มีสี่คนแล้ว)


สรุปว่า การนำเสนอเรื่องล่าช้า เป็นความผิดของผมเองครับ...

...คุณ Orchid อดใจรอนิดนึงครับ และจากการอดใจรอในสิ่งที่คุณต้องการ พอบอกปุ๊บ มันจะจำเข้ากระดูกเลยก็แล้วกัน....ผมคิดว่า คุณOrchid นี่รู้เรื่อง และรู้ลึก ที่เรียกว่า คมในฝัก ในเรื่องกล้วยไม้พอสมควร อย่าให้ชักออกมาแล้วเจอสนิมขึ้นแบบที่ลุงคิมเคยพูดเอาไว้นะครับ .

...และผมขอขอบคุณ ที่อุตส่าห์ นำรูปตารางเปรียบเทียบคุณภาพน้ำฝนในท้องที่ต่าง ๆ ส่งมาให้นำเสนอด้วย ซึ่ง....

คุณธนพลน่าจะได้เห็นแล้วว่าค่า pH และแร่ธาตุต่าง ๆ ของน้ำฝนแต่ละพื้นที่ในประเทศไทยมันแตกต่างไม่เท่ากัน ซึ่ง ทิดบัติได้นำเสนอไว้ก่อนหน้าที่คุณธนพลจะนำ ลิ๊งค์ เรื่องฝนเทียมมาลง

ทิดบัติ นำเสนอเมื่อวันที่ 14 พค.57 (ผมยังอยู่ที่โขงเจียม – ไปดูพระอาทิตย์ตกครับ เพราะตอนไปถึงมันเย็นแล้ว)
...................

ในการปรับสภาพน้ำโดยใช้กรดไนตริก เพื่อต้องการทำให้น้ำมีสภาพคล้ายน้ำฝนมากที่สุด แต่ทำยังไง ๆ ก็ไม่เหมือน ลองสังเกตนะครับ

เอาน้ำที่ปรับสภาพด้วยกรดไนตริก รดหญ้าที่แห้ง ๆ ยังไง ๆ ก็ไม่งอก
แต่พอได้รับน้ำจากฝนตก แค่ครั้งสองครั้ง รับรองว่า เมล็ดหญ้าจะงอกให้เห็นเขียวเลยละครับ


แสดงว่า ในน้ำฝนมันมีแร่ธาตุบางอย่างที่ทำให้เมล็ดพืชงอก ด้วยประการะฉะนี้ เวลาเพาะเมล็ดกล้วยไม้ เค้าจะใช้น้ำฝนมาต้ม แล้วเอาน้ำนั้นมาใช้ในการเพาะเมล็ดหรือเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

แต่ปัจจุบันเค้าจะใช้น้ำกลั่น ซึ่งต้องกลั่นโดยวิธีต้มให้เป็นไอน้ำ แล้วใช้ระบบควบแน่นเพื่อให้ได้น้ำกลั่นที่บริสุทธิ์ 100 % แล้วใช้สารอาหารต่าง ๆ ผสมลงไป............

และในวันที่ 15 พค. ทิดบัติได้ขยายความจากในตารางการวิเคราะห์ฝนแท้และฝนเทียมว่า

ค่า pH - ของน้ำฝนที่ลพบุรี ฝนหลวง 6.54 - 7.76
ฝนธรรมชาติ 6.60 - 7.86

ค่า pH - ของน้ำฝนที่นครสวรรค์ ฝนหลวง 5.80 - 7.69
ฝนธรรมชาติ 6.09 - 7.75

ค่า pH - ของน้ำฝนที่เขื่อนป่าสักฯ ฝนหลวง 5.29 - 7.60
ฝนธรรมชาติ 6.18 - 7.73

ค่า pH - ของน้ำฝนที่บริเวณ กทม.หรือบ้านคุณ ธนพล
ฝนธรรมชาติ 6.0....? - 7......?
....ไม่รู้ค่าเพราะไม่มีตัวอย่างวัด...และในตารางก็บอกด้วยว่า

ในน้ำฝนมันมีแร่ธาตุสารอาหาร อะไรต่อมิอะไรเยอะแยะไปหมด เริ่มตั้งแต่
ซัลเฟต...คลอไรด์ แอมโมเนีย ไนไตรท์ ไนเตรท แคลเซี่ยม โครเมี่ยม ทองแดง เหล็ก ตะกั่ว แคด เมี่ยม สังกะสี แมงกานีส แมกนีเยม ปรอท..


เห็นหรือยังครับว่า ในน้ำฝนมันมีสารที่เรียกว่า ปุ๋ยซึ่งเป็นเคมี จากธรรมชาติ อย่างละนิด อย่างละหน่อย....จึงทำให้ต้นไม้ที่ได้รับน้ำฝนเจริญงอกงาม......

แล้วนักวิชาการหรือนักวิศวเคมีการเกษตรหน้าโง่คนไหน ที่บอกให้ทำเกษตรอินทรีย์ล้วน ๆ ไม่มีสารเคมีปน .....ตุ๋ย …ตอแหล๋ทั้งเพ ..

..ก็ในน้ำฝนมันมีสารเคมีตั้ง 15 อย่างปนอยู่ แล้ว มรึง จะบอกว่าให้ทำเกษตรอินทรีย์ล้วน ๆ หรือเวลา มรึง ปลูกข้าว ปลูกพืชแบบอินทรีย์ล้วน ๆ แล้วเวลาฝนตก แมร่ง เอาผ้าคลุมแปลงที่ปลูก เพื่อให้มีอินทรีย์ล้วน ๆ พ่อง มรึงทำน่ะซี....
...วิศโว๊ย อย่างกรู ฟังแล้วรำคาญว่ะ .


...(ลุงอยากจะพูด แต่พูดไม่ได้ ผมเป็นแค่สมาชิกต๊อกต๋อย ผมพูดได้ครับ ฟังแล้ว ขำกลิ้ง...โง่ชิบโหงเลย ที่ลาว เขมร เวียต นาม เค้าจะไปถึงซูเปอร์นาโน นาบวมกันแล้ว แมร่ง งมโข่ง แย่งตำแหน่งกัดกันอยู่นี่แหละ ใครเก่งกว่ากู(หัวหน้างาน) แมร่ง สั่งย้ายจากนักวิจัย ไปอยู่ธุรการ กรูจะอยู่หาพ่องทำเหืยกไปทำไม ลาออกแมร่งเลย....หลังจาก(หัวหน้างาน)ถอดหัวโขนหลังเกษียณแล้วก็ หมา ตัวหนึ่งดี ๆ นี่เอง ....)

..คุณจำผมได้รึเปล่า .คุณ XX.?...ใช่มั๊ย ทำไมผมเจอใคร ทักใครคนที่รู้จัก เค้าเลี่ยงเค้าหนีกันหมด ..

...จำไม่ได้ครับ .ผม XYZ ครับไม่ใช่ XX น้าทักคนผิดหรือเปล่า ..น้าเป็นใครที่ไหนล่ะ น้าหลงกับลูกหรือเปล่าจะได้ให้เค้าประกาศหา... น้าไปสร้างวีรกรรมอะไรไว้ล่ะ คนที่เจอน้าเค้าถึงหลบหน้ากันหมด มีอะไรให้ผมช่วย กินอะไรมารึยัง เตี๋ยวซักชามมั๊ย ....


มาถึงตรงนี้ มีหวัง คุณธนพล คงจะหาแร่ธาตุที่มีอยู่ในน้ำฝนมาผสมเพื่อปรับสภาพน้ำให้เหมือนน้ำฝน งานทดลองครั้งนี้ มันส์ แน่ๆ

สรุปอีกที งานนี้ ผมคงไม่เปิดกระทู้ใหม่นะครับ เหตุผล

(1) คุณธนพลเป็นคนเปิดกระทู้เรื่องกล้วยไม้ แบบ ท่านถาม เราตอบ ผมเข้ามา แจม แบบคนบ้า ๆ

(2) ผมถือเป็นเกียรติ์ ที่คุณ ธนพล ให้เกียรติ์ผม....เปิดกระทู้ ถามลุงคิม – คุณแดง เรื่องปุ๋ยกล้วยไม้ (ถามคนบ้า ๆ อย่างผม จะได้เรื่อง ได้ราวอะไร)

(3) Gentleman Agreemant ผมให้สัจจะกับลุงคิมไว้ว่า ผมจะไม่เปิดกระทู้ใหม่ แต่ต้องการให้กระทู้นี้เป็นกระทู้รวมความรู้เรื่องกล้วยไม้ และผมจะเก็บเล็กผสมน้อยในเรื่องกล้วยไม้เท่าที่ผมจะรวบรวมได้(จากประสบการณ์)มาไว้ในกระทู้นี้ เพียง 1 เดียว

จะเป็นการปิดทอง หน้าพระ หลังพระ หรือ ก้นพระ หรือว่าจะปิดที่ไหน ก็ถือว่า ได้ปิดทองพระเหมือนกัน ในหลวงเคยตรัสไว้นะว่า ..ถ้ามีแต่คนปิดทองหน้าพระ โดยไม่ปิดที่หลังพระ ก็จะเป็นพระที่สมบูรณ์ไปไม่ได้ ....ขอพระองค์จงทรงพระเจริญ ....ทำตามแนวพระราชดำริครับ ไม่อดตายแน่ ๆ ....


เกือบลืม....ขอขอบคุณ คุณภิญโญ ที่หาข้อมูลมาแต่งเติมเสริมแต้มให้กระทู้นี้มีสีสัน ...ผมนึกแต่แรกว่า คงจะมีผมกับคุณธนพลสองคนที่คุยกัน...ไม่น่าเชื่อว่า จะมีอีกหลายคนเข้ามาอ่าน ....คนบ้าทั้งน๊านแหละ

และคุณ Orchid ทิดบัติมันบอกคุณว่า อาจมีอะไรดี ๆ เป็นที่ระลึกสมการรอคอย ...มันเป็นคนพูด....เอาที่มันนะครับ..

..ส่วน ไอ้ตู่ ไอ้หริ่ง ไอ้หนานปัน มาครบองค์ ปม. นั่งรอจะไปกินเลี้ยงงานบวชญาติอยู่นั่น

กินเสร็จจะมีการรับนาค แล้วก็มีการรำหน้านาคจากวัดมาถึงบ้านด้วย เจ๊ใหญ่ เจ๊รอง พวกมึงทั้งสามตัว และชุมชนหมู่ 7 คงจะพร้อมพรียง เพลงขอใจ กำลังฮิต มันแน่ ๆ คราวนี้


หลังงานบวช ไม่ต้นอะไร ก็ไม่อะไรของกู คงย้ายที่อยู่อีกไม่มากก็น้อย.....(มันมากันตามนัดจริง ๆ )


ฝนตกหยิม ๆ ตั้งแต่เช้า (ที่บอกว่า ลุงคิมเก็บเห็ด น่ะ กลอนมันพาไป ..ไม่โดน..มันกินข้าวไม่อร่อยครับ)....

ฝนตกหยิม ๆ แบบนี้กล้วยไม้ไม่ชอบ เพราะเชื้อราจะถามหา แต่ลุงบอกว่าใช้น้ำเปล่า ๆ รดก็ได้ แต่ลุงครับ น้ำในคลองมันไม่เข้าใครออกใครนะครับ ขอเติม CAPTAN เข้าไปหน่อยก็แล้วกัน กันปลายใบ ปลายช่อดอกเน่าเพราะฝนหยิม ๆ น่ะครับ




.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
tanapole
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 31/03/2014
ตอบ: 48

ตอบตอบ: 18/05/2014 5:54 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีครับ ลุงคิม, คุณแดง และ สมาชิกทุกๆท่าน

เพิ่งกลับมา...ต้องมาอ่านตามหลัง

เรื่องค่า pH เรื่องค่าความเป็นกรด-ด่างของน้ำ หายสงสัยแล้ว
เอาเป็นว่า ไม่เป็นกรดหรือด่างเกินไป

เอาน้ำแข็งแช่น้ำแล้วรดกล้วยไม้ ลองทำแล้ว แต่ยังไม่สรุป...มันเร็วไป
รู้แต่เพียงว่า...มันสดชื่น(คนรดน้ำ)

น้ำประปาผสมกรดไนตริก...ทำแล้ว(ขอทำเพื่อรู้เอาไว้ก่อน)

น้ำประปาผสมกรดฟอสฟอริก(H3PO4) ก็ลองทำแล้ว
แต่ไอ้ตัวนี้..ผมไม่ได้เจือจางกรดก่อนเหมือนกรดไนตริก

เมื่อผสมน้ำแล้ว ทำไมน้ำมันขุ่นเป็นฝ้าขาวๆ?
วัดค่า pH ประมาณ 6.5 คงต้องลองทำอีก

มันใช่ปฏิกิริยาของกรดกับหินปูนหรือไม่?
ที่เห็นสีขาวขุ่น ผมใช้ตู้ปลา(ที่ไม่ได้ใช้) เอามาใส่น้ำ ลองผสมแล้วสังเกตุดู
ผมทำอะไรพลาดตรงไหนหรือเปล่า?

เรื่องเกษตรอินทรีย์ มันเป็นเรื่องดี แต่อย่าเป็นอินทรีย์ตกขอบแบบที่ลุงคิมพูด
เคมีก็เหมือนกัน หากใช้กันแบบบ้าเลือด ดินมันก็ขาดสมดุลย์
ผมเป็นชาวพุทธ พระพุทธเจ้าทรงสอนให้คนเดินสายกลาง
สอนหลักกาลามสูตร อย่างพึงเชื่อสิ่งใดโดยง่าย

รออ่านบทความของคุณแดงต่อ

ไม่ต้องรีบก็ได้ครับ ไปเรื่อยๆ ต้นไม้มันไม่ใช่ว่าปลูกวันนี้พรุ่งนี้โตออกดอกเลย
มันต้องใช้เวลา

สวัสดีครับทุกๆท่าน


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Sombutt
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 19/05/2011
ตอบ: 84

ตอบตอบ: 19/05/2014 1:51 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

[quote="tanapole"]สวัสดีครับ ลุงคิม, คุณแดง และ สมาชิกทุกๆท่าน

เพิ่งกลับมา...ต้องมาอ่านตามหลัง

เรื่องค่า pH เรื่องค่าความเป็นกรด-ด่างของน้ำ หายสงสัยแล้ว
เอาเป็นว่า ไม่เป็นกรดหรือด่างเกินไป

เอาน้ำแข็งแช่น้ำแล้วรดกล้วยไม้ ลองทำแล้ว แต่ยังไม่สรุป...มันเร็วไป
รู้แต่เพียงว่า...มันสดชื่น(คนรดน้ำ)


ตอบ..
ความเย็นของน้ำฝนที่กำลังตก ประมาณ 3 - 4 องศาเซลเซียส...ค่า pH ของน้ำฝนที่กำลังตกสู่พืชและสัตว์เฉลี่ย ประมาณ 6.60 - 7.80



น้ำประปาผสมกรดไนตริก...ทำแล้ว(ขอทำเพื่อรู้เอาไว้ก่อน)

น้ำประปาผสมกรดฟอสฟอริก(H3PO4) ก็ลองทำแล้ว
แต่ไอ้ตัวนี้..ผมไม่ได้เจือจางกรดก่อนเหมือนกรดไนตริก

เมื่อผสมน้ำแล้ว ทำไมน้ำมันขุ่นเป็นฝ้าขาวๆ?
วัดค่า pH ประมาณ 6.5 คงต้องลองทำอีก

มันใช่ปฏิกิริยาของกรดกับหินปูนหรือไม่?
ที่เห็นสีขาวขุ่น ผมใช้ตู้ปลา(ที่ไม่ได้ใช้) เอามาใส่น้ำ ลองผสมแล้วสังเกตุดู
ผมทำอะไรพลาดตรงไหนหรือเปล่า?


ตอบ
H3PO4 เมื่อผสมกับ CaO ในน้ำประปาจะได้ตามสมการดังนี้
CaO + H3PO4 ...> Ca3(PO4)2 + H2O2

Ca3(PO4)2 คือ แคลเซี่ยมฟอสเฟต
H2O2 คือ ไฮโรเย่นเปอร์อ๊อกไซด์

ตามที่ผมเคยใช้ ถ้าเป็นกรดไนตริก ใช้ประมาณ 100 - 200 ซีซี / น้ำ 200 ลิตร
ถ้าใช้ H3PO4 หรือกรด ฟอสฟอริก ใช้ประมาณ 10 - 20 ซีซี / น้ำ 200 ลิตร
อันนี้เป็นไปตามความเหมาะสมของบ้านผม

การใช้สารตัวนี้ปรับสภาพน้ำเพื่อต้องการ P แต่นาน ๆ จะใช้ครั้งหนึ่ง เนื่องจาก P ละลายช้า และละลายยากอยู่แล้ว เมื่ออยู่ในรูปของ ฟอสเฟต จะค่อย ๆ สลายตัวออกมาเพื่อเป็นปุ๋ยตัว P

ส่วน H2O2 หรือ ไฮโดรเย่นเปอร์อีอกไซด์ คุณและทุกคนต้องรู้จักและเคยใช้ เป็นน้ำยาล้างแผลที่ฆ่าเชื้อโรค เมื่อโดนบริเวณที่เป็นแผลจะเกิดฟอง ฟู่ กลายเป็นก๊าซระเหยไปเหลือแต่น้ำ

การเกิด H2O2 ในน้ำที่กำลังถูกปรับสภาพ ก็คล้ายยาล้างแผล เป็นการเกิดปฏิกิริยาทำลายแบคที่เรียในน้ำ เพราะคลอรีนอาจไม่สามารถฆ่าแบคทีเรียในน้ำประปาได้หมดทุกตัว และ H2O2 เมื่อหมดฤทธิ์จะสลายกลายเป็นน้ำธรรมดา คือ H2O

....คุณไม่ได้บอกว่า หลังจากเกิดสีขาวขุ่นแล้ว ตั้งทิ้งเอาไว้ มันเป็นอย่างไรต่อไป ...ขุ่น ใส หรือตกตะกอน

นอกจาก กรดไนตริก กรดฟอสฟอริคแล้ว ทิดแดงยังนำเสนออีกสามตัวคือ

กรดซัลฟูริค (กรดกำมะถัน) (H2SO4)..
..อลูมินั่ม ซัลเฟต...
...เฟอริกครอไรด์ ..

และบอกคุณด้วยว่า.....ลองดูครับ เผื่อจะมีอะไรซักตัวที่ ปิ๊ง กับน้ำประปาบ้านคุณ...รับรองว่าต้องมี ..แน่ๆ เพราะมันต้องมี.....

ก็อยากถามคุณว่า คุณลองหรือยัง

และยังมีสารอีกตัวหนึ่งคือ KMnO3 หรือโปแตสเซี่ยมเปอร์แมงกาเนต ใช้สารตัวนี้เพื่อต้องการ K - โปแตสเซี่ยมและ Mn คือ แมงกานีส และต้องการใช้ฆ่า อาการติดเชื้อด้วย

สารทุกตัว....ใช้มากน้อยแค่ไหน ตามความเหมาะสมของน้ำบ้านคุณ



เรื่องเกษตรอินทรีย์ มันเป็นเรื่องดี แต่อย่าเป็นอินทรีย์ตกขอบแบบที่ลุงคิมพูด

เคมีก็เหมือนกัน หากใช้กันแบบบ้าเลือด ดินมันก็ขาดสมดุลย์


กรุณาอ่านชื่อแร่ธาตุต่าง ๆ ที่ละลายปนอยู่ในน้ำฝนตามลิ้งค์ที่คุณนำเสนออีกครั้ง แล้วบอกกับตัวเองครับว่า น้ำฝน เป็นอินทรีย์ หรือเคมี...ทิดแดงอธิบายได้ สะใจมาก ๆ

ผมเป็นชาวพุทธ พระพุทธเจ้าทรงสอนให้คนเดินสายกลาง

คุณเข้าใจคำว่า ทางสายกลางที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้อย่างไร

ในพระธรรมเทศนากัณฑ์แรกที่พระพุทธเจ้าทรงเทศน์โปรดท่านปัญจวัคคีย์ พระพุทธเจ้าทรงให้เว้นส่วนสุด(โต่ง) สองอย่าง

กามะสุขัลลิกานุโยค หรือการแสวงหาความสุขในกาม ๑ -

อัตตะกิละมะถานุโยค การทรมานร่างกายให้ได้รับความทุกข์ ๑

ทรงตรัสถึง มัชฌิมาปฏิปทา คือทางสายกลางว่ามี ๘ อย่างคือ

มีปัญญาอันเห็นชอบ ๑
มีความดำริชอบ ๑
มีวาจาชอบ ๑
มีการงานชอบ ๑
มีการเลี้ยงชีวิตชอบ ๑
มีความเพียรชอบ ๑
มีการระลึกชอบ ๑
มีการตั้งจิต หรือตั้งสมาธิไว้ชอบ ๑
ทั้ง ๘ อย่างนี้คือทางสายกลาง ทางแห่งความพ้นทุกข์

พระธรรมเทศนาบทนี้ยาว อ่านต่อในบทสวด ธัมมะจักกัปปะวัตตะนะสูตรนะครับ


สอนหลักกาลามสูตร อย่างพึงเชื่อสิ่งใดโดยง่าย

การไม่เชื่ออะไรง่าย ๆ เป็นสิ่งที่ดี แต่การกระทำที่คุณกำลังทำอยู่ ...หาแต่ค่า pH เพื่อต้องการปรับสภาพน้ำ และการทำเรื่องง่ายให้ยาก มันจะเป็น อัตตะกิละมะถานุโยค ทรมานใจในเรื่องนี้หรือเปล่า แล้วมันก็จะออกนอกเส้นทางสายกลาง ในข้อ ดำริชอบหรือเปล่า

รออ่านบทความของคุณแดงต่อ

ผมคิดว่า คุณอ่าน แต่ไม่ได้พิจารณาในบทความนั้น ๆ ให้ถ่องแท้ และจับใจความสำคัญ ๆ ไม่ได้นะครับ

ทิดแดงบอกอะไร ๆ ที่สำคัญ ๆ ให้คุณหลายอย่าง แต่คุณเหมือนกับผ่านเลยข้อความนั้น ๆ ไป โดยไม่สงสัยอะไรเลย...

.และบางเรื่อง มันไม่มีในตำราเล่มไหน ๆ เค้าเขียนเอาไว้ เพราะเป็นเรื่องที่มาจากประสบการณ์

แล้วการจะเข้าไปเดินเล่นหรือถ่ายรูปในสวนกล้วยไม้ ไม่มีใครเค้าให้คุณเข้าไปง่าย ๆ หรอกครับ และไม่คิดที่จะทำเรือนปลูกกล้วยไม้บ้านคุณให้เหมือนสภาพในสวนกล้วยไม้บ้างหรือครับ

แล้วทิดแดงเค้าบอกว่า คุณใช้ ฟ๊อกกี้ ฉีดพ่นกล้วยไม้ของคุณ ว๊าว สุดยอด....เพราะส่วนมากที่เห็นเค้าจะใช้กระบอกฉีดที่ชักเข้า - ออก มีสายยางจุ่มลงถังเพื่อดูดน้ำครับ อันหนึ่งก็ร้อยกว่าบาท เลือกเอาชนิดที่หัวฉีดเป็นทองเหลือง มันจะทนกว่าหัวพลาสติก จะพ่นเป็นฝอย เป็นน้ำปรับหัวได้ อันหนึ่งใช้ทนไปหลายปี

เรื่องพวกนี้ มีคนถามหลังไมค์หลายคน ผมก็บอกควรถามในเว็ป คนอื่นจะได้รู้กันด้วย

แต่เรื่องราวทั้งหมด อยู่ในเว็ปลุงคิม ใครอยากอ่านเมื่อไหร่ก็เข้ามาอ่านได้ครับ...ความจริงทิดแดงเค้ายังไม่ค่อยว่าง ขอให้ผมมาช่วย ขัดตาทัพ ชั่วคราวเท่านั้นเอง



ไม่ต้องรีบก็ได้ครับ ไปเรื่อยๆ ต้นไม้มันไม่ใช่ว่าปลูกวันนี้พรุ่งนี้โตออกดอกเลย มันต้องใช้เวลา

ผมคิดว่าไม่จริงเสมอไปนะครับ ถ้าผมจะบอกว่า ผมสามารถที่จะปลูกต้นไม้วันนี้ แล้วให้มันออกดอกบานพรุ่งนี้ได้ล่ะครับ....เออ ก็ใช้เวลาเหมือนกันนะ 24 ชั่วโมง ...ใครดู ซีรีส์ นี้บ้างครับ 24 Hours กำลังมันส์

สวัสดีครับทุกๆท่าน


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
orchid
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 07/05/2014
ตอบ: 43

ตอบตอบ: 19/05/2014 10:37 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีครับลุง ทิดแดง และทิดบัติ

ขอบคุณสำหรับคำท้วงติงหลังไมค์ครับ


ทุกอย่างที่ท้วงติง เข้าใจแล้วครับ

สุภาษิตที่ว่า น้ำขึ้นให้รีบตัก กับ ช้า ๆ ได้พร้าเล่มงาม


ฟังดูมันสวนกระแสกันก็จริง แต่ถ้านำมาใช้ในโอกาศที่เหมาะสม มันจะเกิดผลดีในทุก ๆ เรื่อง


ขอบคุณครับ


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
tanapole
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 31/03/2014
ตอบ: 48

ตอบตอบ: 19/05/2014 10:49 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีครับลุงคิม, คุณสมบัติ, คุณแดง และสมาชิกฯทุกท่าน

เรื่องกรดฟอสฟอริก...
อ้อ...เป็นอย่างนี้เอง ได้แคลเซี่ยมฟอสเฟต กับ ไฮโดรเจนเปอร์อ็อกไซด์
แต่ว่า...นานๆจะปรับใช้ที...ใช้แล้วมันได้ปุ๋ย P ซึ่งละลายได้ช้า

ขอบคุณครับเรื่องอัตราส่วนการใช้กรดฟอสฟอริก ว่าจะถามคุณแดงอยู่
แต่คุณสมบัติบอกมา ก็เลยไม่ต้องถามคุณแดง

ส่วนสารตัวอื่นๆ จะทะยอยทดลองเรื่อยๆครับ
อันนี้ผมทำของผมนะครับ(แค่อยากรู้) จะไม่นำมาลงถามในกระดานถาม-ตอบอีก
ถ้ามีสิ่งไหนขัดข้องคงต้องขอรบกวนคุณแดงแหละครับ Laughing

การใช้ด่างทับทิม...
ขอเว้นไว้ก่อนดีกว่า...เดี๋ยวไม่จบ

ส่วนเรื่องที่ว่า ทำไมผมถึงมะงุมมะงาหลาอยู่กับค่า pH
คือการที่ผมปรับสภาพน้ำ ผมไม่อยากให้ค่าความเป็นกรดหรือด่างสูงหรือต่ำเกินไป
นอกจากนั้นแล้วมันยังจะมีสารอื่นๆอีก ซึ่งมาจากการปรับสภาพน้ำ
สารต่างๆนั้นมีทั้งดีและไม่ดี ยังไงๆมันต้องมีแน่ๆ
เพราะเราไม่ได้ใช้น้ำบริสุทธิ์ น้ำประปาเป็นน้ำที่สะอาด แต่ไม่บริสุทธิ์

น้ำที่ผมใช้รดกล้วยไม้และต้นไม้ต่างๆเป็นน้ำประปา(โรงผลิตน้ำบางเขน)
น้ำประปามันมีทั้งคลอรีน หินปูน และสารอื่นๆปะปนอยู่
ถ้าจำไม่ผิดค่าความกระกด้างชั่วคราวประมาณ 70 มก./ล.
ค่าความกระด้างถาวรประมาณ 30 มก./ล. อันนี้ข้อมูลของโรงผลิตน้ำบางเขน
(มีข้อมูลน้ำประปา จากการประปานครหลวง)

ซึ่งจากการสอบถามบางท่าน ก็บอกว่าน่าจะใช้รดกล้วยไม้ได้
แม้ว่ามันอาจไม่ดีพอ....ผมคงต้องใช้น้ำประปาไปเรื่อยๆ
หน้าฝนคงดีหน่อย ได้หยาดน้ำฟ้ามาช่วย ได้ทั้งน้ำและความเย็น

ยังมีค่า EC อีก...เอาไว้ค่อยๆศึกษาไป ยังไม่ถามในเวลานี้

อยากให้คุณแดงว่าให้จบก่อน
กระทู้มันชักจะยาว....สงสัยให้คุณแดงว่าจนจบไปเลยนั่นแหละดี

ขอขอบคุณคุณแดงและท่านสมาชิกที่กรุณาให้ความรู้
กระทู้นี้...ต่อไปนี้จะมีคุณแดงเป็นหัวเรือ มีลุงคิมถือท้าย
นำพาพวกเรา(คนที่ชอบปลูกกล้วยไม้ แต่ไม่มีประสบการณ์) ได้รู้วิธีการปลูกเลี้ยง
กระทู้นี้จะอัพเดทโดยคุณแดงและท่านสมาชิกที่มีประสบการณ์


สวัสดีครับ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
DangSalaya
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011
ตอบ: 1874

ตอบตอบ: 19/05/2014 2:42 pm    ชื่อกระทู้: กล้วยไม้ ใกล้ม้วย ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีครับลุงคิม....คุณ tanapole และเพื่อน สมาชิกทุกท่าน

กล้วยไม้ ใกล้ม้วย

บทที่ 4 – ไม่มีลุ้น ไม่สนุก ...ตอนที่...6 ภาค 2 ..
ฝนตกหยิม ๆ เชื้อราสนิมไม่หงิมกับคุณด้วย




ไปไม่ถึงการปลูกกล้วยไม้ซักที มันมีเรื่องให้ต้องหยุด ต้องเลี้ยว ต้องแวะ อยู่ร่ำไป

คุณธนพลบอกว่า .....

อยากให้คุณแดงว่าให้จบก่อน
กระทู้มันชักจะยาว....สงสัยให้คุณแดงว่าจนจบไปเลยนั่นแหละดี

ขอขอบคุณคุณแดงและท่านสมาชิกที่กรุณาให้ความรู้
กระทู้นี้...ต่อไปนี้จะมีคุณแดงเป็นหัวเรือ มีลุงคิมถือท้าย
นำพาพวกเรา(คนที่ชอบปลูกกล้วยไม้ แต่ไม่มีประสบการณ์) ได้รู้วิธีการปลูกเลี้ยง
กระทู้นี้จะอัพเดทโดยคุณแดงและท่านสมาชิกที่มีประสบการณ์


ผมว่าไม่ดีแน่ ๆ จู่ ๆ จะมาชิ่งโยนให้ผม ลุย คนเดียว มันก็จะหมดสนุกน่ะซีครับ เพราะคุณธนพลเป็นคนเปิดประเด็น ผมเป็นคนตามมาตั้งแต่ต้น แบ่งกันรับแบ่งกันสู้

นอกจากผมจะตามแล้วยังทำการทดลองตามคุณด้วย แล้วจะให้ผมเป็นหัวเรือ ผมยังไม่อยากเป็นพันท้ายนรสิงห์ครับ เพราะผมก็ไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไร ..อีกอย่าง ผมก็ไม่ได้มีความรอบรู้อะไรในเรื่องกล้วยไม้ซะนักหนา พอคุยกันได้เท่าที่รู้เท่านั้นแหละ

..คุณทำแบบที่คุณเคยทำมาน่ะดีแล้ว เราอาจจะคุยกันคนละเรื่องเดียวกัน แต่ไป ๆ มา ๆ เดี๋ยวมันจะไปตัดกันที่จุด ๆ หนึ่ง(ในแดนสนธยา)เองนั่นแหละ...
.เชื่อผมเต๊อะ....


ความจริง....ผมน่ะเตรียมการทดลองการปลูกไว้ตั้งแต่วันที่ 24 เมย.และก็ลงมือปลูกไปแล้ว ตั้งแต่วันที่ 1 พค. แต่มันมีเหตุจำเป็นที่ต้องหยุด ต้องเลี้ยว เข้าทางลัดบ้าง ออกทางตรงบ้าง....ก็ว่ากันไป

หลังจากปลูกแล้วสองสามวัน ราขึ้น ภาชนะหมายเลข 1 (ใช้ Bark เป็นเครื่องปลูก) เพราะความชื้นสูง ณ จุดนี้จึงเห็นได้ว่า บ้านผมใช้ Bark ปลูกตามแบบของคุณธนพลไม่ได้ นอกจากนี้ มันก็มีอะไรต่อมิอะไรแทรกซ้อนเข้ามาอีก มันเลยต้องเป็นไปตามนั้น....

มาเช้าวันที่ 18 พค.57 ฝนมันตกหยิม ๆ ตั้งแต่เช้า...ในฐานะคนปลูกกล้วยไม้ จำเป็นต้องเข้ามาบอกกัน เพราะในสภาวะฝนตกหยิม ๆ อากาศอบอ้าวแบบนี้ เชื้อรามันจะเกิดกับกล้วยไม้ จำเป็นที่จะต้องใช้ยาป้องกันเชื้อรา ฉีดพ่นกล้วยไม้โดยทันที ...ก็คิดว่าเป็นการบอกเล่าสู่กันฟังซักนิดก็แล้วกัน

ตามที่บอกว่า กล้วยไม้ชุดทดลองมี 14 ต้น(เจี๊ยบใหญ่ 5 เจี๊ยบกลาง 5 เจี๊ยบเล็ก 4)

เจี๊ยบกลาง - ใส่ภาชนะปลูกตามแบบของคุณธนพล 1 ต้น. ใส่ภาชนะตามแบบบ้า ๆ ของผม 4 ..ต้น

เจี๊ยบใหญ่ – ใส่กาบมะพร้าวตามแบบสวนกล้วยไม้เค้าปลูกกัน 5 ต้น

เจี๊ยบเล็ก – ใส่กระถางพลาสติกมาตรฐาน 3 นิ้ว 4 ต้น

กล้วยไม้ที่ใช้ทดลอง เป็นกล้วยไม้สกุลหวายตัดดอก ชนิดเดียวกัน เพื่อจะได้เห็นความแตกต่างของการปลูกในสภาวะพื้นที่ นครปฐม Zone ด้านตะวันออกเฉียงใต้ ใกล้องค์พระพุทธมณฑล ติดเขต กทม.





(89) เจี๊ยบกลาง - ใส่ภาชนะปลูกตามแบบของคุณธนพล 1 กระถาง... ใส่ภาชนะตามแบบบ้า ๆ ของผม 4 กระถาง เรียงลำดับ 1 – 5

เบอร์ 1 ภาชนะ(ปากขวดคว่ำ)ตามแบบของคุณธนพล แต่ดัดแปลงเครื่องปลูกเล็กน้อยเพื่อความอยู่รอด (ใช้Bark อากาศมันชื้น ราขึ้น)

เบอร์ 2 – 5 มีอะไร ทำอย่างไรบ้าง ขี้เกียจเขียนซ้ำ ย้อนเปิดไปอ่านดูครับ





(90) ภาชนะ เบอร์ 1 ใช้ปากขวดคว่ำ ไม่เจาะรูข้าง ๆ ขวด ปิดฝา เติมน้ำเข้า พอชุ่ม เปิดฝาขวดให้น้ำออก ผมเกรงว่าผมจะบ้าหนักกว่านี้ เลยต้องเจาะรูข้างขวด เปิดฝาขวด ให้ระบายอากาศได้

ที่แรกใช้ Bark เป็นวัสดุปลูก แต่เพียงแค่ผ่านไป 3 วัน รามันขึ้น .

..หลังจากแก้ปัญหาราขึ้นที่วัสดุปลูก... ผมเปลี่ยนวัสดุปลูกเป็น กาบมะพร้าวสับ + ถ่านหุงข้าว
(ต้องบอกให้ชัด ๆ เพราะเขียน ถ่าน เฉย ๆ มีคนถามหลังไมค์ว่า ใช้ถ่านไฟฉายเหรอคะ ชะอุ๊ย นี่แหละครับ สมาชิกลุงคิม ดอท คอม มันส์จริง ๆ)





(91) ภาชนะเบอร์ 2 ใช้ปากขวดคว่ำ เจาะรูข้าง ๆ ขวด เปิดฝาขวด ให้ระบายอากาศได้ วัสดุปลูกใช้ถ่านหุงข้าวล้วน ๆ





(92) ภาชนะเบอร์ 3 ใช้ปากขวดคว่ำ เจาะรูข้าง ๆ ขวด เปิดฝาขวด ให้ระบายอากาศได้ วัสดุปลูกใช้กาบมะพร้าวสับเป็นชิ้นเล็ก ๆ ล้วน ๆ





(93) ภาชนะเบอร์ 4 ใช้ตูดขวด เจาะรูข้าง ๆ และที่ก้นขวด ใช้กาบมะพร้าวอัดลงไปครึ่งขวด มีช่องว่างด้านล่าง เพื่อการระบายอากาศ





(94) ใช้กระถางดินเผา 3 &frac12; นิ้ว ใช้กาบมะพร้าวอัดลงไปครึ่งกระถาง มีช่องว่างด้านล่าง เพื่อการระบายอากาศ

ก็ยังสรุปไม่ได้ว่า ภาชนะอันไหนจะตอบสนองต่อกล้วยไม้ได้ดีกว่ากัน รอลุ้นดูกันต่อไปครับ

แต่งานนี้ จะสังเกตเห็นว่า ผมเพิ่มเอาเปลือกไข่คว่ำลงบนไม้ ปักลงบนภาชนะทั้ง 5 ใบนี้....ต้องมีคนถามแน่ ๆ ว่า ผมทำเพื่ออะไร....คนบ้าทำน่ะครับ แต่มันต้องมีเหตผลที่ต้องทำ






(95) ภาชนะเบอร์ 1 หลังจากแก้ปัญหาราขึ้นได้แล้ว กำลังแตกหน่อใหม่งามพริ้งเลยครับ แต่ ตัวเลขที่เขียนข้า'กระถางมันมัว ผมก็เลยให้ลูกสาวช่วยเอา แมจิคสีแดงมาเขียนให้ชัด ๆ หน่อย





(96) พรีเซ็นเตอร์ สุดแสบ ค่าตัวแพง สองตัว แสบทั้งคู่ เดี๋ยวคอยดูว่ามันแสบยังไง....




(97)



(98 )

(97 – 98 ) ได้ยินเสียงมันคุยกันสองคน จุ๊กจิ๊ก ๆ... นี่ ๆ ต้องยังงี้ เจไดจับดี ๆ พี่เขียนเอง...

ซักพัก....เสร็จแล้วพ่อ...
.พอเดินมาดู... อ้าวเฮ๊ย ไข่กู ...เป็นไงครับ ใช้ได้เลยจริง ๆ ....ดูเอาเองนะครับว่ามันแสบจริงหรือไม่





(99) อันนี้เรียงจาก 2 – 5 ว่ากันไป..
..เปลือกไข่ เอามาปักไว้ทำไม ใช้ทำอะไร.....มีประโยชน์อย่างไร.....ถ้าท่านถามเราจะตอบ ถ้าท่านไม่ถามเราคิดว่า ท่านรู้แล้ว





(100) ฝักที่ผสมเอาไว้ สกุลเข็ม x สกุลแวนด้า ...เข็มขาว x สามปอยขุนตาน มาจากป่าที่เมืองปายทั้งคู่.....มีฝักเหลือง 1 ฝัก เพิ่งจะได้ 150 วัน คลอดก่อนกำหนด(มีเมล็ด)หรือเปล่าวะเนี่ย...ปล่อยไว้เดี๋ยวฝักแตก ราเข้า เพาะไม่ได้.....ตัดออกมาเลย





(101) เอาปูนแดงทาที่รอยตัดกันเชื้อราทันทีเลย รหัสฝัก DAV - 01 # 1 บอกรายละเอียดด้วยว่า เป็นคู่ผสมอะไร.. .เพราะสูตรวุ้นอาหารเพาะกล้วยไม้ไทย ต้องใช้สูตรพิเศษกว่าสูตรวุ้นอาหารกล้วยไม้อื่น ๆ

บอกอายุฝักกี่วัน เผื่อ บวก - ลบ ไว้ด้วย และบอกจำนวนว่า จะต้องการมากน้อยเท่าไหร่ ....แค่ 10 ถ่าย ก็แยะแล้ว สำหรับการทดลอง ใช้ซัก 3 ถ่าย...และแจกคนบ้า..7 ถ่าย

.จาก 10 ถ่าย เลี้ยงรอดซัก 7 – 8 ถ่ายก็ดีแล้ว กล้วยไม้ไทยจากป่า คู่ผสมชุดแรก ถือว่ายังเป็น ป่า ทั้งคู่ (พ่อป่า แม่ป่า) ลูกออกมาก็ยังมีเลือด ป่า เต็มร้อย ....สงสัยว่า อาจจะต้องเอาไปฝากเลี้ยงที่บ้านป่า บนดอยซะละมั๊ง





(102) หลังจากนั้นก็ห่อด้วยกระดาษทิชชู่ (สมัยก่อน ใช้กระดาษ นสพ.)





(103) ตัวเล็กนี้แสบกว่าตัวโต ....ที่ถือในมือ เป็นกล้วยไม้สกุลหวาย ปลูกโดยใช้ กะลามะพร้าวเป็นภาชนะ....มันบอกว่า ....อันนั้น(เบอร์ 1 – 4) พ่อยังปลูกในขวดพลาสติก ของหนูจะปลูกในกะลา พ่ออัดกาบมะพร้าวให้หนูด้วย ....มันบอกกับผมว่า โตขึ้น มันจะเรียน เกษตรลุงคิม ....ลุงเตรียมตั้งโรงเรียนไว้ให้มันด้วย รับรองไม่ค่อยจะซนซักเท่าไหร่ แต่ ลิงเห็นมันซน ลิงนั่งจ๋องดูมันเล่นก็แล้วกัน...เหอ ๆๆๆ





(104) เลี้ยงมาด้วยความสงสาร...สงสารมันครับ นาน ๆ พ่อมันขึ้นจากแท่นขุดเจาะกลางทะเล วันนี้แม่มันลางาน พาลูกไปเที่ยว ดรีมเวิลด์ ...นาน ๆ มันจะได้พร้อมพ่อพร้อมแม่ ปล่อยมัน .....วันนี้ 18 พค.ไปชะอำกันมั๊ง มันชวนผม ผมไม่ไปเพราะผมไม่ชอบกลิ่นอายทะเล....เสียงเจ๊ใหญ่ลอยลมมา....

....ไอ้ทิดเค้าไม่ชอบทะเล เค้าชอบปีนเขาปีนดอยโว๊ย.....
....อึ๊ย...เจ๊ใหญ่ อย่าหาเรื่อง ชักใบให้เรือล่มหน่อยได้มั๊ย เดี๋ยวจะต้องชักแม่น้ำทั้งหก อธิบายกันยาววววว จบง่าย ๆ ซะเมื่อไหร่ล่ะ บนดอยน่ะ หน้าตาเหมือนผีโพรงทั้งนั้นแหละ รูปที่ให้ดูสวย ๆ น่ะ รูป App ทั้งน๊านนน.....





(105) ถ่านหมดอายุจากกล้องถ่ายรูป เค้าน่าจะมีชิงโชคแบบ อิชิตัน มั่งนะ

แต่มีประโยชน์นะครับ....ทุบให้แบนลงหน่อยก็ได้ .เอาตาปูเจาะให้เป็นรู ...เอาไปฝังโคนต้นมะพร้าวน้ำหอมต้นที่น้ำไม่ค่อยหอมน่ะ อีกไม่นานเกินรอ แร่ธาตุในถ่าน(ไฟฉายนะ อย่าจะสับสนล่ะ) มันจะซึมเป็นปุ๋ยออกมา แล้วน้ำมะพร้าวที่ไม่หวานจะหวานและหอมชื่นใจ......

กว่าจะได้สูตรนี้มา ....ผมเสียเหล้าขาวไปสามขวดที่สวนมะพร้าวน้ำหอมสามพราน.....มันมีถ่านไฟฉายเก่าหมดอายุกองไว้เป็นภูเขาหลังสวนมะพร้าวที่สามพราน
.....ไม่ลองไม่รู้ แต่คงจะไม่เป็นทุกท้องที่นะครับ เพราะผมเอาจากต้นที่หวานหอมที่สุดที่สามพราน ไปปลูกที่ปาย ที่บ้านไอ้ทิดบัติ มันหวาน แต่ไม่ค่อยหอม.....





(106) โปรดวิเคราะห์ภาพนี้ ก่อนที่จะวิจารณ์ นะครับ ...อ อ น. เบอร์ 43 ไอ้ตู่บอกว่า

..อกก็ใหญ่ ไหล่ก็ใหญ่ ขาก็ใหญ่ คงจะคุกเข่ามาก หัวเข่าก็เลยปูด ....... ถ้าไม่ได้ยินเสียงก็ โอ นะทิด พอได้ยินเสียง นกเขาหลับคร่อก ไม่ยอมตื่น....
.......พี่ตู่ก็เอาสำลีอุดหูซะซี่....


......โห...ไอ้หริ่ง เอ็งแนะดี....พาพี่หนานปันไปลองดูเด้....
.....อ้าย บ่ะเกี่ยวเน๊อ........


….ขืนเกี่ยว มีหวังน่าดู....

...เค้าให้วิเคราะห์ ไอ้ตู่เสือก วิจารณ์ หาเรื่อง....กูก็ไม่เกี่ยว ตัวใครตัวมันโว๊ย

วันนี้ที่มากันพร้อมหน้า เพราะมีงานบวชญาติ ๆ ครับ



และที่คุณธนพลบอกว่า

ต้นไม้มันไม่ใช่ว่าปลูกวันนี้พรุ่งนี้โตออกดอกเลย มันต้องใช้เวลา


แล้วไอ้ทิดบัติมันบอกว่า

ผมคิดว่าไม่จริงเสมอไปนะครับ ถ้าผมจะบอกว่า ผมสามารถที่จะปลูกต้นไม้วันนี้ แล้วให้มันออกดอกบานพรุ่งนี้ได้ล่ะครับ..



(107) ต้นไม้ที่ไอ้ทิดมันบอกว่าปลูกวันนี้แล้วพรุ่งนี้ดอกบาน ก้เห็นจะมีดอกไอ้นี่ - สาวเชียงใหม่ อย่างเดียวละครับ ....ช่างเล่นเหมือนกันนิไอ้ทิดมึง....





.

กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
tanapole
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 31/03/2014
ตอบ: 48

ตอบตอบ: 19/05/2014 3:24 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีครับลุงคิม, คุณแดง และสมาชิกทุกๆท่าน

เรือกำลังออกจากฝั่งแล้ว.....

ขอบคุณครับ.....หลังฝนพรำ ฉีดสารป้องกันเชื้อรา

เปลือกไข่...เอามาเสียบทำไมครับ? เคยเห็นเขาเอามาเสียบกับกระถางกุหลาบ
มันใช้กันมด กันแมลงหรือเปล่าครับ?

กะลามะพร้าว...ผมว่ามันน่าใช้นะ...ดูธรรมชาติดี เจาะรูระบายน้ำที่ด้านล่างและด้านข้าง
กะลา+กาบมะพร้าวอัด ถ้ามีวัสดุผมจะลองทำดู ปลูกหวายแคระคงดี

Laughing
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
DangSalaya
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011
ตอบ: 1874

ตอบตอบ: 19/05/2014 8:52 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

tanapole บันทึก:
สวัสดีครับลุงคิม, คุณแดง และสมาชิกทุกๆท่าน


เรือกำลังออกจากฝั่งแล้ว.....

กลัวจะล่มเสียก่อนแค่ปากอ่าวน่ะน้า.....




ขอบคุณครับ.....หลังฝนพรำ ฉีดสารป้องกันเชื้อรา

ผมใช้ยาป้องกันเชื้อราหลังฝน ชื่อสามัญว่า Captan แค่นี้ก็เหลือแหล่แล้ว ของเก่าแก่ ใช้กันมานาน ก่อนผมเกิดอีกมั๊ง




เปลือกไข่...เอามาเสียบทำไมครับ? เคยเห็นเขาเอามาเสียบกับกระถางกุหลาบ มันใช้กันมด กันแมลงหรือเปล่าครับ?

เปลือกไข่ เปลือกไข่ และเปลือกไข่....ใช่แล้วครับ สมัยก่อนเข้าเอามาเสียบบนต้นกุหลาบ.....แต่ผม คนบ้า เอามาเสียบต้นกล้วยไม้....


สารเคมีที่อยู่ในเปลือกไข่คือ แคลเซี่ยมคาร์บอเนต มีสูตรเคมีว่า CaCO3 สารตัวนี้ไม่ละลายน้ำ แต่จะทำปฏิกิริยากับน้ำ และ คาร์บอนไดอ๊อกไซด์ในอากาศ ...เมื่อทำปฏิกิริยากันแล้วจะได้...

H2O + CaCO3.....> H2O + Ca + CO2
...............จะได้..... น้ำ + แคลเซี่ยม + คาร์บอนไดออกไซด์

พูดง่าย ๆ เมื่อรดน้ำโดนเปลือกไข่ จะได้ธาตุ แคลเซี่ยม และ ก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ ได้ 3 เด้ง
1 กล้วยไม้ได้น้ำ ...
2 ได้แคลเซี่ยม
3 ได้กาซคาร์บอนไดอ๊อกไชด์....
ถ้ามี โบร่อน + เข้าไปอีก จะได้ 4 เด้ง

แคลเซี่ยมจะปนกับน้ำลงไปที่ราก คาร์บอนไดอ๊อกไซด์ พืชจะดูดเข้าทางใบ

แล้วที่คนโบราณเอาเปลือกไข่แขวนที่ต้นกุหลาบ เค้าอาจจะไม่รู้ว่าได้อะไร แต่เค้ารู้ว่าต้นกุหลาบมันจะงาม เพราะกุหลาบต้องการธาตุแคลเซี่ยมสูง....เดี๋ยวมีโอกาส จะเอาเปลือกไข่ ขยำให้แหลก แล้วเอาผสมวัสดุปลูกกล้วยไม้ให้ดู

สิ่งละอันพันละน้อยแบบนี้ มีเขียนไว้ในตำราเล่มไหนบ้างครับ มันนอกตำราทั้งนั้นแหละ....แล้วผมเอามาจากไหน จากอาจารย์ที่สอนผมน่ะซีครับ ...เรื่องเคมีผมไม่ค่อยเท่าไหร่ แค่พอรู้พอได้ ...ไอ้ทิดบัติมันเคมีเก่งกว่าผม




กะลามะพร้าว...ผมว่ามันน่าใช้นะ...ดูธรรมชาติดี เจาะรูระบายน้ำที่ด้านล่างและด้านข้าง
กะลา+กาบมะพร้าวอัด ถ้ามีวัสดุผมจะลองทำดู ปลูกหวายแคระคงดี



ลองดูรูปเล่น ๆ ไปพลาง ๆ ก่อน ผมลัดคิวมาให้ดู.....


(108)



(109)



(110)



(111)



(112)



(113)



(114)

กะลามะพร้าว อายุใช้งานถ้าฝังอยู่ในดิน 10 ปียังไม่ย่อยสลาย ถ้าใช้ทำกระถางปลูกกล้วยไม้ 30 ปีอยู่ได้สบาย ๆ ไม่ได้ปลูกกล้วยไม้แคระ แต่เป็นกล้วยไม่ใหญ่ครับ

กะลาใบนี้ จมดินมานานเท่าไหร่ผมไม่รู้ เจ้าตัวเล็กมันขอให้ผมทำให้มัน แล้วเอาไปแขวนใกล้ ๆ กับกระถางหมายเลข 1



Laughing


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
DangSalaya
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011
ตอบ: 1874

ตอบตอบ: 21/05/2014 3:27 pm    ชื่อกระทู้: กล้วยไม้ ใกล้ม้วย ตอน ปลูกลงกาบมะพร้าว ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีครับลุงคิม....คุณ tanapole และคุณ Orchid

กล้วยไม้ ใกล้ม้วย

บทที่ 5 – ปลูกลงภาชนะ
ตอนที่...1 ใช้กาบมะพร้าวเป็นเครื่องปลูก



วัสดุปลูกกล้วยไม้สกุลหวาย แคทลียา และ ...อื่น ๆบางสกุล.. ที่หาง่าย ราคาถูก เท่าที่เห็นสวนกล้วยไม้ ไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่เค้าใช้กันในปัจจุบันคือ กาบมะพร้าวแห้งครับ




(115)



(116)



(117)

(115 – 117) การปลูกกล้วยไม้สกุลหวายตัดดอก จะปลูกบนกาบมะพร้าว อย่างในรูปที่ 115 - 116 ใช้กาบมะพร้าว วางเรียงบนโต๊ะปลูกในลักษณะที่เห็น จากนั้นก็เอากระถางเจี๊ยบเล็ก หรือเจี๊ยบขนาดกลาง วางเสียบลงไปในกาบมะพร้าว ระยะห่างระหว่างต้น ระหว่างแถวก็ประมาณ 1 ศอกแขน





(118) เป็นกาบมะพร้าวลักษณะเดียวกันกับรูปที่ 115 – 117 แต่ผมจะปลูกเพื่อการทดลอง จึงปลูกแบบแขวน

การปลูกแบบแขวน จะใช้วิธีแงะกาบมะพร้าวให้แยกออกแล้วหนีบกระถางเจี๊ยบลงไปแบบวิธีตั้งโต๊ะไม่ได้ กาบมันจะแตก จึงต้องใช้วิธีเจาะรูตรงกลางกาบมะพร้าว





(119) ใช้มีดปลายแหลม ๆ หน่อยค่อย ๆ เจาะ ผมใช้มีดปลายแหลมโค้งลงแบบนี้ ซึ่งเป็นมีดสารพัดประโยชน์ของชาวสวน ...ตัดกล้วย....ถอนผัก....ขุดกอตะไคร้(ขุดได้ทั้งกอ) ทิวหญ้าในแปลงผัก ถอนหญ้า จักตอก. ถ้ากลุ้มใจหนัก ๆ อาจใช้เชือดคอตายก็ได้....แต่ละเล่มใช้มาจนใบมีดกุด แต่คมกริ๊บ...




(120)



(121)

(120 - 121) ใช้ปลายมีดกดลงในกาบมะพร้าวจากด้านที่มีขุย จนทะลุโผล่ออกด้านหลัง ที่เป็นเปลือกแข็ง ๆ





(122) พลิกกลับด้านหลังใช้ปลายมีดกดตามรอยที่ทะลุ กะว่าให้พอดีกับกระถางเจี๊ยบ คับไม่เป็นไร แต่อย่าให้หลวมเพพราะกระถางมันจะหลุดจากรูที่เจาะ




(123)



(124)

(123 – 124) งัดเปลือกมะพร้าวออก ให้รูโตประมาณกระถางเจี๊ยบ ทำแรก ๆ มันจะเก้งก้าง แต่ทำไป ๆ เดี๋ยวมันจะมีคำตอบให้คุณเองว่า จะทำอย่งไรถึงจะได้เหมาะดีที่สุด





(125 ) เอากระถางเจี๊ยบกดใส่ลงไปตรงรู ทำง่าย ๆ แค่นี้แหละ อย่าไปทำอะไรให้มันยุ่งยาก จากนี้ก็เอาลวดมัด เอาไปแขวนได้เลย.....ยากมั๊ยครับ





(126) มีดเอนกประสงค์ตามร้านขายมีดอาจจะมี แต่ของผมสั่งทำจากโรงตีเหล็กข้าง ม.กำแพงแสน เป็นเหล็กจากเช็คโก ความคม โกนหนวดได้สบาย ๆ แพงกว่ามีดลักษณะเดียวกัน เกือบสามเท่า

เล่มบน ค่อนข้างใหม่ 98 % ผมให้ ยัยเฉิ่ม โพธาราม เอาไว้ใช้ มันดันเก็บไว้บูชา กูจะบ้าตาย

สองเล่มล่าง ใช้มานานแค่ไหน จำไม่ได้ ใบมีดเหลือแค่นั้น...





(127) สองเล่มนี้ มีผมกับเจ๊ใหญ่สองคนที่ใช้ ผมชอบเล่มบน แต่เจ๊ใหญ่หยิบเล่มไหนได้เอาเล่มนั้น

ศิลปะในการใช้มีด.....หลังจากการใช้มีดแต่ละครั้ง จะต้องทำความสะอาดแล้วทาน้ำมันป้องกันสนิม หรืออาจจะแทงเข้าเสียบต้นกล้วยเอาไว้ ยางกล้วยจะช่วยรักษาความคม(แม่ผมชอบวิธีนี้) แล้วก็ต้องพก หินลับมีดหักครึ่ง ติดตัวเอาไว้ เพื่อเวลาใช้งานไปแล้วมันทื่อ ก็เอาหินถูมันก็จะคมสมใจนึก .....

เรื่องแบบนี้ เป็นวิธีการใช้มีดของคนสมัยก่อน ไม่มีสอนในตำรา แต่ถ้าคิดว่าดี ลองเอาไปทำดูนะครับ





(128) มีข่าวลงหนังสือพิมพ์เป็นที่ ฮืฮฮาว่า มิสทิฟฟานี่ปี 2014 สวยและหุ่นดีกว่า มิสยูนิเวิร์ส 2014 ผมไม่เห็นตัวจริง ตอบไม่ได้ครับ จริงหรือไม่จริง ลองดูเอาเองครับ อนิจจา วตะ สังขารา สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ

คุณ Orchid ค่อย ๆ ติดตามศึกษาไปเรื่อย ๆ สงสัยตรงไหนถาม เพราะการอธิบายของผมบางตอนอาจไม่ละเอียดนัก แล้วรูปอาจไม่ต่อเนื่องเพราะเวลาทำงานบางอย่าง มันถ่ายรูปไม่ได้ ถ้ามีคนช่วยถ่ายมันจะเห็นชัดขึ้น

สำหรับวิธีทำ กล้วย ๆ แบบนี้ คุณ ธนพลแกไม่สนแล้วละครับ เพราะแก ข้ามขั้น ไปไกลโพ้นเกือบจะสุดสายรุ้งแล้วครับ



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
tanapole
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 31/03/2014
ตอบ: 48

ตอบตอบ: 21/05/2014 7:16 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.

สวัสดีครับลุงคิม, คุณแดง และสมาชิกทุกท่าน

ฮั่นแน่...ใครบอกว่าผมไม่สนใจใช้กาบมะพร้าว
ยังคงเป็นวัสดุปลูกท้องถิ่นที่ถูกและหาง่าย ข้อด้อยคือมันผุเร็ว (ประมาณ 2 ปี)
ที่ผมใช้เปลือกสนเป็นวัสดุปลูก เพราะซื้อมานานมากแล้ว
จะเอาไว้ปลูกฟาแลน (ตามสวนเขาใช้สแฟกนั่มมอสกัน)
แต่ยังไม่ได้ลงมือปลูกเลี้ยงฟาแลนฯ เปลือกสนก็ถูกทอดทิ้งในกระสอบ
แบ่งให้เพื่อนบ้านไปใช้บ้าง ตอนนี้ก็เหลืออีกสักครึ่งกระสอบได้

พอดีหวาย (ตัดดอก) ซื้อมาจากแอร์ออคิด (ทางไปตลาดน้ำวัดลำพญา)
เครื่องปลูกมันผุเปื่อยยุ่ย ผมเลยเปลี่ยนวัสดุปลูกใหม่ ด้วยความขี้เกียจไปจตุจักร
เลยคว้าเอาเปลือกสนเก่าเก็บมาใช้...

เคยอ่านหนังสือของ ศ.ระพี สาคริก
มีการใช้ ถ่านเกล็ด+ทรายหยาบ โรยหน้าด้วยหินเกล็ดเป็นวัสดุปลูก
แต่ท่านว่าใช้สำหรับหวายยกหน้า
คำว่า หวายยกหน้า หมายถึงหวายที่โตเต็มที่แล้วใช่ไหมครับ?

สวัสดีครับ Razz


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
orchid
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 07/05/2014
ตอบ: 43

ตอบตอบ: 21/05/2014 9:19 pm    ชื่อกระทู้: ชักใบให้เรือล่ม ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.

สวัสดีครับลุง คุณtanapole และทิดแดง

เรือกำลังวิ่งตรงทางดี ๆ จะออกปากอ่าวอยู่แล้ว.....
คุณธนพล ถือหางเสือให้เรือเลี้ยว...เอา หวายยกหน้ามา อ้างอิง....
ทิดแดงจะล่มปากอ่าวมั๊ยครับเนี่ย....



เชื่อขนมกินได้เลยว่า ล่มแน่ ๆ .....รู้ ๆ กันอยู่



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7  ถัดไป
หน้า 3 จากทั้งหมด 7

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©