-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ถาม-ตอบ ปัญหาวิทยุ 24 JUN *พิสูจน์สารอาหารพืชในน้ำหมักฯ
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบ ปัญหาวิทยุ 25 JUN *น้ำบาดาลเป็นกรด, ปุ๋ยสั่งตัดคืออะไร ?
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบ ปัญหาวิทยุ 25 JUN *น้ำบาดาลเป็นกรด, ปุ๋ยสั่งตัดคืออะไร ?

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 25/06/2013 2:28 pm    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาวิทยุ 25 JUN *น้ำบาดาลเป็นกรด, ปุ๋ยสั่งตัดคืออะ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร ทางรายการวิทยุ 25 JUN

วิทยุ ปตอ. AM 594 เวลา 08.15 & 20.05 ทุกวัน


********************************************************************

สวัสดีครับ ท่านผู้ฟังที่เคารพ
กองทัพบกเพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตร และอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดยกองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก

... สนับสนุนรายการโดย ...
... บ.นิมุติ เอ็นจิเนียริ่ง เครื่องย่อยเศษพืช (02) 322-9175-6
... ยิบซั่มธรรมชาติ เฟอร์มิกซ์--- ธาตุรอง/ธาตุเสริม มัลติแชมป์ (089) 144-1112
... และ บ.มายซัคเซส อะโกร--- ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, กาวเหนียวดักแมลง มายฟิกส์, สารเสริมฤทธิ์สารสมุนไพร ไบโอเจ๊ต, ถังฉีดพ่นรุ่นใหม่ ใช้แบตเตอรี่ (081) 910-5034

กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการครับ เช่นเคยครับ รายการเรา 1188 สายด่วน 4 ตัว ฝากข้อความ-ฝากคำถาม-ฝากข่าว ก่อนเริ่มรายการที่ โทรศัพท์มือถือส่วนตัว (081) 913-4986

---------------------------------------------------------------------------------------------------------


ตัวแทนจำหน่าย ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง, ไบโออิ, ไทเป, ยูเรก้า. (อินทรีย์ – เคมี)

1) ชมรม (ใหญ่) ใกล้ไฟแดง สี่แยกบางแพ ราชบุรี (089) 814-3204
2 )“คุณชาตรี” (081) 841-9874 ทรัพย์ทวีการเกษตร ชัฎป่าหวาย สวนผึ้ง ราชบุรี (ส่งทาง ปณ.)

3) ร.ต.ต.นันท์สุรัตน์ (089) 821-8273 ต.จรเข้เผือก ด่านมะขามเตี้ย กาญจนบุรี (สั่งทาง ปณ.)
4) “คุณล่า” (081) 944-8494 ทุกวันจันทร์ ตลาดนัดวัดอมรญาติ ดำเนินสดวก ราชบุรี

5) “คุณประเสริฐ” (080) 110-4645 บ.เขาดิน หนองแขม เดิมบางนางบวช สุพรรณบุรี
6) “คุณอรุณ” ในร้านโครงการหลวง ตลาด อตก.

7) “คุณพรพรรณ” (089) 814-7944 พลชัยเกษตรชีวภาพ ตลาดนัดธนบุรี ถ.เลียบคลองทวีวัฒนา
8 ) “คุณน้ำส้ม” (085) 055-7706 ชมรมฯ สาขาศาลายา หน้า ม.มหิดล พุทธมณฑลสาย 4 (ส่งทาง ปณ.)

-------------------------------------------------------------------------------------------------------


จาก : (088) 470-01xx
ข้อความ : น้ำบาดาลสูบมาใส่สระแต่ยังเป็นกรด จะแก้ไขยังไงครับ ช่วยบอกวิธีแก้ด้วยครับ...ขอบคุณครับ

ตอบ :
- รู้ได้ไงว่าน้ำบาดาลเป็นกรด มีเครื่องมือวัดหรือคิดเอง ? หรือข้างบ้านบอก

- ส่วนใหญ่พบแต่น้ำบาดาลเป็นด่าง เพราะมีหินปูนอยู่ไต้ดิน ก็น่าจะบอกหน่อยว่า บ่อนี้อยู่จังหวัดไหน .... อ.เมือง ลพบุรี ดินแดนดินสอพอง, ทุ่งกุลาร่าเริง ดินแดนนาเกลือสินธุ์เทา น้ำมักเป็นด่าง .... อ.องค์รักษ์ นครนายก, อ.วังน้อย อยุธยา น้ำไม่ได้เป็นกรดเองแต่ที่เป็นกรดเพราะกำมะถัน (กรด) ในดินขึ้นมาทำให้น้ำเป็นกรด ถ้าไม่ขุดดินก็เท่ากับไม่ได้ขุดกำมะถันให้ขึ้นมา น้ำก็จะไม่เป็นกรดเอง

– บ่อบาดาล อยู่พื้นที่ไหนของจังหวัดไหน น้ำในบ่อที่ขึ้นซึมมาจากตาน้ำไต้ดินก้นบ่อ ถ้าดินก้นบ่อเป็นกรด น้ำที่ซึมขึ้นมาก็เป็นกรดด้วย หรือดินเป็นกรดตามธรรมชาติอยู่ก่อนแล้วพอน้ำจากแหล่งธรรมชาติเข้ามาอยู่ในบ่อ น้ำนั้นก็จะเป็นกรดตามไปด้วย

- หลักการเคมี “กรด + ด่าง = เกลือ + น้ำ” คือ เป็นกลาง กรณีที่น้ำเป็นกรด แก้ด้วยการใส่ด่าง แต่ก็เอาน้ำนั้นไปใช้ไม่ได้อยู่ดี .... ต่างจากดินที่เป็นกรดเมื่อใส่ด่าง (ปูนมาร์ล โดโลไมท์ ปูนขาว.... ค่า พีเอช. 13-14) ลงไป สามารถลดความเป็นกรดของดินลงได้ แต่ระวังอัตราการใส่ ให้ใส่พอดีกับความเป็นกรดของดิน หากใส่มากเกิน ดินจะหายจากการเป็นกรดกลายเป็นด่างแทน ดินเป็นด่างก็ปลูกอะไรไม่ได้อยู่ดี

- ดินเป็นกรดหรือเป็นด่าง แก้ไขด้วย “อินทรีย์วัตถุ + จุลินทรีย์” ได้ แต่น้ำเป็นกรดหรือเป็นด่าง อินทรีย์วัตถุ + จุลินทรีย์” แก้ไม่ได้

----------------------------------------------------------------------------------------------------



จาก : (084) 184-82xx
ข้อความ : ลุงคิมครับ เกษตรตำบลมาอบรมชาวบ้าน บอกให้ใส่ปุ๋ยสูตรสั่งตัด ผมไม่เข้าใจว่าปุ๋ยสั่งตัดคืออะไร หรือสูตรอะไร คุณลุงช่วยอธิบายด้วยครับ....ขอบคุณครับ

ตอบ :
ปุ๋ยสั่งตัดเป็นอย่างไร ?
การใช้ปุ๋ยเคมีแบบ "สั่งตัด" คือ การจัดการธาตุอาหารพืชเฉพาะพื้นที่ โดยนำข้อมูลชุดดินและข้อมูล เอ็น-พี-เค ในดิน มาประกอบการตัดสินใจเลือกสูตรปุ๋ย และกำหนดปริมาณปุ๋ยในการปลูกพืช เป็นการใช้ปุ๋ยเคมีตามชุดดิน และค่าวิเคราะห์ดิน นอกจากนี้ยังนำปัจจัยหลักที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโต และการให้ผลผลิตของพืช เช่น พันธุ์พืช แสงแดด อุณหภูมิ ปริมาณน้ำฝน ฯลฯ มาสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์โดยใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ปุ๋ยเคมีอีกด้วย

ทำไมต้องใช้ปุ๋ยสั่งตัด ?
คำแนะนำการใช้ปุ๋ยสำหรับพืชเศรษฐกิจของประเทศยังคงเป็นคำแนะนำอย่างกว้างๆ อัตราการใช้ปุ๋ยและสูตรปุ๋ยไม่เฉพาะเจาะจงสำหรับดินหรือพืชแต่ละชนิด รวมทั้งไม่คำถึงถึงปริมาณธาตุอาหาร พืชที่มีอยู่ในดินขณะนั้น จึงเป็นคำแนะนำปุ๋ยแบบ "เสื้อโหล" ทำให้การใช้ปุ๋ยไม่ตรงกับความต้องการของพืช ถ้าใส่ปุ๋ยให้แก่พืชมากเกินไป นอกจากสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายแล้ว ยังทำให้เกิดโรคและแมลง ระบาดมากขึ้น แต่ถ้าใส่ปุ๋ยไม่เพียงพอ จะทำให้ธาตุอาหารพืชในดินลดน้อยลง ส่งผลให้พืชเจริญเติบโตและให้ผลผลิตไม่ดีเท่าที่ควร

ขั้นตอนการใช้ปุ๋ยสั่งตัด
ขั้นที่ 1 ตรวจสอบข้อมูลชุดดิน สอบถามข้อมูลชุดดินได้ที่สถานีพัฒนาที่ดินทุกจังหวัด หรือใช้คู่มือตรวจสอบชุดดิน ที่ทีมงาน ของ ศ.ดร.ทัศนีย์ อัตตะนันทน์ ได้จัดทำขึ้น ทั้งดินไร่และดินนา

ขั้นที่ 2 ตรวจสอบปริมาณ เอ็น-พี-เค ในดิน เก็บตัวอย่างดิน และวิเคราะห์ เอ็น-พี-เค ในดิน โดยใช้ชุดตรวจสอบ N-P-K ในดินแบบรวดเร็ว ซึ่งใช้เวลาเพียง 30 นาที

ขั้นที่ 3 ใช้ปุ๋ยตามคำแนะนำ ศึกษาจากคู่มือคำแนะนำการใช้ปุ๋ย หรือโปรแกรม SimRice หรือ SimCorn ในเว็บไซต์ www.ssnm.info และสอบถามรายละเอียดได้ที่ ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โทรศัพท์ 02-942-8104-5 แฟกซ์ 02-942-8106 หรือ คุณสุรโชติ ชาลสิทธิ์ โทร.083-189-3255

หมายเหตุ
สำหร้บข้าวและพืชไร่ ควรวิเคราะห์ดินก่อนการปลูกพืชทุกครั้ง (3-4 ครั้งแรก) เพื่อปรับคำแนะนำการใช้ปุ๋ยให้เหมาะสมกับสภาพของดินในไร่นา โดยการสังเกตการเจริญเติบโตของพืช หลังจากนั้นควรวิเคราะห์ดินทุกๆ 2 ปี



COMMENT :
** วิชาการ คือ วิชาการ รู้ด้วยการเรียน ....
** ประสบการณ์ คือ ประสบการณ์ รู้ด้วยการปฎิบัติ ช่างสังเกตุ เฉลียวใจ เปรียบเทียบ วิเคราะห์ ....
**** สองอย่างเป็นคนละเรื่องกันแต่อยู่ด้วยกัน ไปคู่กัน สำเร็จหรือล้มเหลวด้วยกัน เสมอ

** การวิเคราะห์ในห้องปฎิบัติการทางเคมี คือ การหาคำตอบที่เป็นวิทยาศาสตร์....การวิเคราะห์ในแปลงจริงโดยการปฏิบัติจริง คำตอบที่ออกมาก็เป็นวิทยาศาสตร์ เช่นกัน

** เมื่อไม่สามารถเข้าถึงห้องปฏัติการได้ด้วยปัญหาอุปสรรคนานับประการ วิธีการแก้ปัญหาของเกษตรกรก็คือ ใช้เทคโนโลยีวิทยาศาสตร์แบบภูมิปัญญาชาวบ้าน แทน อย่างมีหลักการและเหตุผลบนพื้นฐานความเป็นไปได้ ที่ว่า ใช่/ไม่ใช่ ผลรับที่ออกมาจะสอดคล้องตรงกับหลักวิทยาศาสตร์เอง

** เพราะสังคมเกษตรไทยค่อนข้างขาดแคลนเทคโนโลยี เช่น คน เครื่องมือ ข้อมูลทางวิชาการ โอกาส นโยบาย การส่งเสริม การสนับสนุน และ ฯลฯ แต่การที่โซนภูมิศาสตร์การเกษตร (เน้นย้ำ .... การเกษตร) ประเทศไทยเหมาะสมต่อการเพาะปลูกพืช “มากที่สุด หรือ ดีที่สุด ในโลก” การเพาะปลูกพืชแบบ “อินทรีย์นำ เคมีเสริม ตามความเหมาะสม” บนพื้นฐานทัศนคติที่ถูกต้อง การนำบทเรียนทั้งหลายจาก ของเขาของเรา มาเป็นแนววิเคราะห์แล้วปรับแก้ คิดใหม่ทำใหม่ เพื่อไปสู่ควาสำเร็จที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง จึงถือว่าเป็นแนวทางที่ดีที่สุดได้

หมายเหตุ :
- การวิเคราะห์ธาตุอาหารเดิมที่มีอยู่ในดิน แม้ว่าการวิเคราะห์จะไม่ยาก แต่โอกาสที่เกษตรกรจะทำได้หรือได้ทำน่ะไม่มีเลย เพราะทั้งประเทศมีที่เดียว คือ ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาลัยอื่นอาจจะมีแต่เขาไม่มีฝ่ายบริการแก่เกษตรกรทั่วไป ส่งไปวิเคราะห์จริง 3 ปี 10 ปี จะรู้ผลหรือเปล่า ว่าจริงๆ สนง.เกษตรตำบล. อำเภอ. จังหวัด, ภาค. วิเคราะห์ได้หรือเปล่า ทั้งเครื่องมือ บุคคลากร นโยบาย มีหรือเปล่า

- เท่าที่รู้มา การวิเคราะห์ธาตุอาหารพืชในดินมีค่าใช้จ่าย วิเคราะห์ธาตุหลัก ตัวละ 100 บาท, วิเคราะห์ธาตุรอง ตัวละ 1,000 บาท, วิเคราะห์ธาตุเสริม ตัวละ 10,000 บาท .... สวนทุเรียนส่งออกที่โป่งน้ำร้อน จันทบุรี จ่ายค่าวิเคราะห์ดินไป “แสน +” จึงรู้ว่าในดินมี P. มาก ถึงขนาดไม่ต้องให้ปุ๋ย P. อีกเลย .... เคยชิมทุเรียนสวนนี้แล้วบอกตามตรงว่า รสชาดดีไม่ได้ต่างไปจากสวนอื่นที่ทำตามแนว อินทรีย์นำ เคมีเสริม ตามความเหมาะสมของทุเรียนเลยแม้แต่น้อย ก็เพราะสูตร “รสจัดจ้าน” ของเรานี่แหละ

- บอกแล้วว่า อย่าทำเรื่องง่ายให้มันยาก อย่าทำเรื่องยากให้มันง่าย ยึดหลักภูมิปัญญาพื้นบ้าน มีหลักวิชาการรองรับ ทำแบบ อินทรียน์นำ เคมีเสริม ตามความเหมาะสมที่ตรงตามธรรมชาติของพืชนั้นๆ ทุกอย่างทุกขั้นตอนเอาแค่ “พอประมาณ” ก็น่าจะพอ บริหารจัดการ “6 ปัจจัยพื้นฐาน” ให้ถูกต้อง แล้วทุกอย่างจะดีเอง

----------------------------------------------------------------------------------------------------------



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©