-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ถาม-ตอบ ปัญหาวิทยุ 22 JUN *ทุเรียนพวงมณี เมล็ดใหญ่ เนื้อน้อย
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบ ปัญหาวิทยุ 21 JUN *ศัตรูมะนาว,นาอินทรีย์ล้ม,หนอนกอข้าว
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบ ปัญหาวิทยุ 21 JUN *ศัตรูมะนาว,นาอินทรีย์ล้ม,หนอนกอข้าว

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11564

ตอบตอบ: 21/06/2013 9:15 am    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาวิทยุ 21 JUN *ศัตรูมะนาว,นาอินทรีย์ล้ม,หนอนกอข้ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร ทางรายการวิทยุ 21 JUN....

วิทยุ ปตอ. AM 594 เวลา 08.15 & 20.05 ทุกวัน


********************************************************************

สวัสดีครับ ท่านผู้ฟังที่เคารพ
กองทัพบกเพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตร และอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดยกองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก

... สนับสนุนรายการโดย ...
... บ.นิมุติ เอ็นจิเนียริ่ง เครื่องย่อยเศษพืช (02) 322-9175-6
... ยิบซั่มธรรมชาติ เฟอร์มิกซ์--- ธาตุรอง/ธาตุเสริม มัลติแชมป์ (089) 144-1112
... และ บ.มายซัคเซส อะโกร--- ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, กาวเหนียวดักแมลง มายฟิกส์, สารเสริมฤทธิ์สารสมุนไพร ไบโอเจ๊ต, ถังฉีดพ่นรุ่นใหม่ ใช้แบตเตอรี่ (081) 910-5034

กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการครับ เช่นเคยครับ รายการเรา 1188 สายด่วน 4 ตัว ฝากข้อความ-ฝากคำถาม-ฝากข่าว ก่อนเริ่มรายการที่ โทรศัพท์มือถือส่วนตัว (081) 913-4986

---------------------------------------------------------------------------------------------------------


ตัวแทนจำหน่าย ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง, ไบโออิ, ไทเป, ยูเรก้า. (อินทรีย์ – เคมี)

1) ชมรม (ใหญ่) ใกล้ไฟแดง สี่แยกบางแพ ราชบุรี (089) 814-3204
2 )“คุณชาตรี” (081) 841-9874 ทรัพย์ทวีการเกษตร ชัฎป่าหวาย สวนผึ้ง ราชบุรี (ส่งทาง ปณ.)

3) ร.ต.ต.นันท์สุรัตน์ (089) 821-8273 ต.จรเข้เผือก ด่านมะขามเตี้ย กาญจนบุรี (สั่งทาง ปณ.)
4) “คุณล่า” (081) 944-8494 ทุกวันจันทร์ ตลาดนัดวัดอมรญาติ ดำเนินสดวก ราชบุรี

5) “คุณประเสริฐ” (080) 110-4645 บ.เขาดิน หนองแขม เดิมบางนางบวช สุพรรณบุรี
6) “คุณอรุณ” ในร้านโครงการหลวง ตลาด อตก.

7) “คุณพรพรรณ” (089) 814-7944 พลชัยเกษตรชีวภาพ ตลาดนัดธนบุรี ถ.เลียบคลองทวีวัฒนา
8 ) “คุณน้ำส้ม” (085) 055-7706 ชมรมฯ สาขาศาลายา หน้า ม.มหิดล พุทธมณฑลสาย 4 (ส่งทาง ปณ.)

-------------------------------------------------------------------------------------------------------


จาก : (089) 104-37xx
ข้อความ : ลุงคิมครับ เพิ่งปลูกมะนาวครั้งแรก 3 ไร่ มะนาวแป้นพิจิตร ปลูกได้ 3 เดือน ต้นสูงไม่ถึงหัวเข่า แตกยอดใหม่ได้ 2 รุ่น มีหนอนเจาะเป็นเส้นบนใบ ใบใหม่หงิก คนงานฉีดยาฆ่าหญ้าแล้วใบไหม้ ปัญหาเหล่านี้แก้ไขอย่างไรครับ ....ขอบคุณครับ ท่ายาง

ตอบ :
- หนอนเจาะเส้นใบ เดาว่า น่าจะเป็น “หนอนชอนใบ” ... ฉีดพ่นสมุนไพร “เผ็ดจัด” ตอนค่ำเพื่อไล่แม่ผีเสื้อไม่ให้เข้าวางไข่ .... สมุนไพรที่มีสารออกฤทธิ์กำจัดหนอนชอนใบโดยตรงได้ดี คือ “สบู่ต้น” ให้ฉีดบ่อยๆ

- แก้ฤทธิ์ยาฆ่าหญ้า ให้ “น้ำ 100 ล. + ไบโออิ (แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม) 100 ซีซี. + น้ำมะพร้าว (กลูโคส) 1-2 ลูก ให้ 2-3 รอบ วันเว้นวัน

- มะนาวระยะต้นเล็กบำรุงด้วยน้ำหมักระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 เดือนละครั้งก็พอ ยังไม่ต้องให้ปุ๋ยเคมี .... ใส่ยิบซั่ม เฟอรมิกซ์. ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, ขี้วัวขี้ไก่, ใบไม้แห้งหญ้าแห้งคลุมโคนต้นหนาๆ .... หน้าฝน ระวังน้ำขังค้างโคนต้น ให้พูนดินโคนต้น พร้อมกับทำช่องทางระบายน้ำ อย่าให้น้ำขังค้างเพราะจะแช่ราก ทำให้รากเน่าได้

-----------------------------------------------------------------------------------------------------



จาก : (080) 349-26xx
ข้อความ : คุณลุงครับ ผมทำนาไถกลบฟางครั้งแรก ทำนาดำด้วยเครื่องครั้งแรก ใช้ปุ๋ยลุงคิมครั้งแรก ซื้อที่วัดท่าตำหนัก ตอนนี้ข้าว 40 วัน กำลังบำรุงระยะแตกกอ ไบโออิ 18-38-12 ต้นข้าวเขียวดี ไม่ต้องพึ่งยูเรีย แต่ปัญหายังมี หน้าดินตอนลุ่มขี้เทือกสูงกว่าตาตุ่ม ดินนุ่มดีมากๆ แต่หน้าดินดอนขี้เทือกต่ำกว่าตาตุ่ม ดินแน่น ตรงนี้เราจะแก้ไขอย่างไร หรือต้องรอรุ่นหน้าเท่านั้น....ขอบคุณครับ

ตอบ :
- ขี้เทือกลึก/ขี้เทือกตื้น ดินนุ่ม/ดินแน่น นี่คือผลงานของจุลินทรีย์แท้ๆ บริเวณดินดอน ขี้เทือกแค่ตาตุ่ม ดินแน่น ให้ใส่น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิงซ้ำเฉพาะบริเวณนั้น เหมือนทำครั้งแรก ทิ้งไว้ระยะหนึ่งสภาพดินจะดีขึ้น แม้ว่าจะไม่ 100% แต่ก็จะดีขึ้นกว่าที่เป็นขณะนี้

- การ “ ใส่หรือไม่ใส่” ปุ๋ยเคมี ไม่ใช่สูตรสำเร็จที่ฟันธงได้ว่า “ใช่หรือไม่ใช่” เพราะคนไม่ใช่ต้นข้าว ต้นข้าวไม่ใช่คน ทุกอย่างอยู่ที่ต้นข้าว นาข้าวแบบ อินทรีย์นำ เคมีเสริม ตามความเหมาะสม คำว่า “ตามความเหมาะสม....” หมายถึง คำถามทำนองเดียวกันเมื่อวานนี้ วันนี้ขอนำมาเสนอซ้ำอีกครั้ง เพราะมีไม่น้อยที่เกษตรกรทำเกษตรอินทรีย์แต่ไม่เข้าใจ เกษตรอินทรีย์ คือ อย่างไร ? (เน้นย้ำคำว่า อย่างไร) โดยเฉพาะที่คนทำครั้งแรก คิดว่าทุกขั้นตอนเป็นสูตรสำเร็จ ทำแล้วต้องเหมือนคนที่ทำมาก่อน ทำมานานแล้ว แต่ครั้นทำตามบ้าง แล้วไม่ประสบผลสำเร็จ นี่เป็นเพราะ

- ฟังไม่ได้ศัพท์ จับไปกระเดียด หรือหลงกระแส
- เพราะไม่มีข้อมูลทางวิชาการเป็นพื้นฐาน

- ไม่มีการวิเคราะห์ว่า “ใช่หรือไม่ได้ .... ได้ผลหรือไม่ได้ผล” เพราะอะไร
- ไม่มีประสบการณ์เพราะไม่เคยทำมาก่อน

- ตั้งถามต่อคนที่เคยทำมาก่อนยังตั้งคำถามไม่ถูกประเด็น บอกแล้วไง วัดกึ๋นคน วัดที่คำถาม ฝ่ายคนพูดคนสอนก็มั่วนิ่ม จับแพะชนแกะมั่วซั่วไปหมด


คำถามเดิม (เช้าวานนี้)....
ข้อความ : ผมทำนา 40 ไร่ เป็นนาเช่า ทำมานาน 20 ปี มีหนี้ 4-5 แสน สะสมมานาน 8 ปี ที่ผ่านมาไม่เห็นทางล้างหนี้ได้เลย บางปีมีกำไรได้ส่งดอก บางปีขาดทุนก็พักหนี้ ต้นทุนอยู่ที่ 5,500-6,500 ต่อไร่ หนักค่าปุ๋ย ยาฆ่าแมลง ได้ข้าว 80-90 ถังต่อไร่ รุ่นที่แล้วทำนาไถกลบฟาง ใช้น้ำหมักทำเอง ไม่ใส่ปุ๋ยเคมี ใช้ยาฆ่าแมลงบางครั้ง ได้ข้าว 60-70 ถัง แต่ต้นทุน 3,500-4,500 คิดแล้วได้เท่าเดิม สิ้นเดือนนี้จะเริ่มนารุ่นใหม่ อยากให้ผู้พันวิเคาะห์สาเหตุที่ได้ข้าวน้อยว่าเป็นเพราะอะไร แก้ไขได้อย่างไร .... ชาวนา อยุธยา

ตอบ (เดิม + เพิ่ม) : .... จังหวะที่เริ่มเข้าสู่ระบบอินทรีย์แรกๆ บรรดาอินทรีย์วัตถุโดยเฉพาะเศษซากฟางยังถูกย่อยสลายไม่เรียบร้อย สารอาหารพืชในฟาง และ/หรือ สารอาหารจากอินทรีย์วัตถุอื่นๆ ยังออกมาไม่หมด กอร์ปกับจุลินทรีย์ยังปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมไม่เรียบร้อย กระบวนการจุลินทรีย์จึงยังไม่สมบูรณ์แบบ ด้วยเหตุนี้ไงล่ะ แนวเกษตรอินทรีย์จึงต้องให้ "บ่มดิน หรือ หมักดิน" คือ การให้เวลาแก่จุลินทรีย์ก่อน .... ระยะเวลาในการบ่มดินหมักดินก็ไม่อาจกำหนดตายตัวได้ จะช้าหรือเร็วทุกอย่างต้องอยู่ภายไต้กรอบ "ตามความเหมาะสม" ทั้งสิ้น

หลักการนาข้าวแบบ "อินทรีย์นำ เคมีเสริม ตามความเหมาะสม (เพิ่มเติมคำว่า) “ของสภาพโครงสร้างดิน จุลินทรีย์ สภาพแวดล้อม ฯลฯ" คือสิ่งที่ต้อง เสริม/เติม/เพิ่ม/บวก ให้สอดคล้องกับต้นข้าวให้ได้ ทั้งนี้เพื่อให้ได้ผลผลิตสูงสุด .... เมื่อมั่นใจแน่นอนแล้วว่า สภาพโครงสร้างดิน ณ รุ่นนี้ มีสารอาหารอินทรีย์น้อยมาก ไม่เพียงพอต่อความต้องการของต้นข้าว แก้ไขด้วยการ เสริม/เติม/เพิ่ม/บวก สารอาหารสังเคราะห์ (เคมี) ลงไปตามความจำเป็น

ธรรมชาติไม่มีตัวเลขและสูตรสำเร็จ ดินเขาดินเรา จุลินทรีย์เขาจุลินทรีย์เรา ปัจจัยอื่นๆของเขาปัจจัยอื่นๆของเรา มีความต่างบนความเหมือนและมีความเหมือนบนความต่าง .... งานนี้ต้องใจเย็น ยืนหยัดมุ่งมั่นแนวทางของธรรมชาติต่อไป รุ่นหน้าจะดีขึ้น และรุ่นต่อๆไปก็จะดีขึ้นเรื่อยๆ .... เพราะนี่คือ วัฎจักรหรือวงจรธรรมชาติ

ในคำถามบอกว่าใช้ "น้ำหมักทำเอง" ประเด็นก็คือว่า น้ำหมักทำเองนั้นทำมาจากวัสดุส่วนผสมอะไร ? กรรมวิธีในการหมักทำอย่างไร ? และอื่นๆที่เป็นตัวชี้บอกว่าในน้ำหมักที่ทำเองนั้นมีสารอาหารพืชหรือไม่ ? มีมากหรือน่อยเท่าไร ? จากประสบการณ์ตรง + หลักวิชาการ พอจะบอกได้ว่า น้ำหมักที่ชาวบ้านทำเองทั่วๆไปนั้น มีแต่จุลินทรีย์กับสารอาหารสำหรับจุลินทรีย์ประจำถิ่นเท่านั้น แต่ไม่มีสารอาหาร (จุลินทรีย์ กับ สารอาหารหรือปุ๋ย คือคนละตัวกันแต่อยู่ด้วยกัน) เมื่อใช้แล้วจึงได้ผลแค่ "ดินดี" แต่ต้นพืชไม่เจริญเติบโตเท่าที่ควร เพราะต้นพืชขาดสารอาหารนั่นเอง .... นอกจากน้ำหมักทำเองแล้ว ได้ใส่ปุ๋ยอินทรีย์และสารปรับปรุงบำรุงดินลงไปด้วยหรือไม่ หากได้ใส่ลงไปด้วยคงช่วยอะไรๆ ให้ดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่นี้ เพราะทั้งปุ๋ยอินทรีย์และสารปรับปรุงบำรุงดิน เป็นทั้งตัวส่งเสริมกระบวนการจุลินทรีย์และตัวกำเนิดสารอาหารพืช

กับในคำถามแจ้งว่าได้ให้ "ปุ๋ยทางใบ" กรณีที่ดินยังไม่พร้อมอย่างแท้จริงเช่นนี้ เราสามารถชดเชยด้วยการให้ปุ๋ยทางใบได้ เรียกว่าสูตร "เลยตามเลย ไหนไหนก็ไหนไหน" ทั้งนี้และทั้งนั้น ต้นพืชรับสารอาหารได้ 2 ทาง คือ ทางใบกับทางราก เมื่อสารอาหารในน้ำหมักให้ทางรากไม่ชัวร์แต่สารอาหารให้ทางใบชัวร์กว่า ก็ให้สารอาหารทางใบแทน ไงล่ะ .... บนพื้นฐานปัญหาทำนองเดียวกันนี้ ใช้น้ำหมักที่ไม่ถูกต้องแล้วไม่มีการให้ชดเชยทางใบ สถานการณ์จะเลวร้ายกว่านี้ไหม

การทำเกษตร การทำนาข้าว เหมือนติดรังดุม หากติดเม็ดแรกผิด เม็ดต่อๆ ไปก็ผิดตามด้วย ลงท้ายผิดทั้งตัว .... ทำนาข้าวอย่างถูกต้อง ตามธรรมชาติของต้นข้าว 3 รุ่นจึงจะเห็นทาง เพราะปัญหาใหม่ๆ จะทะยอยกันเกิดขึ้นมาให้รู้

----------------------------------------------------------------------------------------------------


จาก : (083) 712-46xx
ข้อความ : ลุงคิมครับ นาข้าว 20 ไร่ อายุ 60-70 วัน มีแมงปอฝูงใหญ่บินอยู่ในนา แมงปอพวกนี้มีประโยชน์ต่อต้นข้าวไหม ช่วยผสมเกสรข้าวไหมครับ ผมควรทำอย่างไรกับแมงปอ....ขอบคุณครับ

ตอบ :
- นอกจากแมงปอแล้ว น่าจะมีนกอีแอ่นถลาลมด้วย เพราะคู่นี้มาพร้อมกันเสมอ นั่นแหละชัดเลย ทั้งแมงปอ ทั้งนกอีกแอ่น มาจับกินแมลงแม่ผีเสื้อหนอนกอ....ผีเสื้อหนอนกอ ตัวขนาดปลายนิ้วก้อย ปีกสีเทา ชอบเกาะตามใบข้าว

- แมลงปอ ไม่ได้ช่วยผสมเกสร แต่มาจับกินแมลงศัตรูพืช งานนี้แมลงปอเข้ามาจับกินแม่ผีเสื้อหนอนกอข้าว .... แมลงที่ช่วยผสมเกสร คือ แมลงที่เข้ากินน้ำหวานในดอก ถึงไม่ได้ตั้งใจผสมเกสรโดย แต่การที่แมลงเข้าไปกินน้ำหวานต้องสัมผัสกับละอองเกสร ทำให้เกสรตัวผู้ในดอกนั้นเข้าไปผสมกับเกสรตัวเมียในดอกเดียวกัน หรือมีเกสรตัวผู้ดอกนี้ติดแข้งติดขาไปผสมกับเกสรตัวเมียของดอกต้นอื่น

- พิสูจน์การเข้าทำลายของหนอนกอโดย .... 1) สังเกตุ “ใบธง” เหลืองเหี่ยวแห้ง ....2) แกะดูเนื้อในของต้นข้าว จะเห็นหนอนตัวเล็กๆ เจาะไส้ในต้นข้าว นี่คือสาเหตุหลักที่ทำให้ใบธงเหลืองแห้ง ข้าวต้นนั้นจะไม่ออกรวง เพราะก้านรวงในต้นถูกทำลายไปแล้ว

- การกำจัด ไม่สามารถกำจัดตัวหนอนกอโดยตรงได้ เพราะมันอยู่ในใจกลางต้น หนอนเกิดแล้วเกิดเลย .... การป้องกัน โดยฉีดสารสมุนไพร กลอย สะเดา ฟ้าทะลายโจร บอระเพ็ด ขับไล่แม่ผีเสื้อไม่ให้เข้าวางไข่ เท่านั้น ฉีดบ่อยๆ วันต่อวัน หรือวันเว้นวัน เมื่อไม่มีแม่ผีเสื้อ แมลงปอก็จะหายไปด้วย

- ไม่มีพืชใดในโลกนี้ที่ไม่มี โรค/แมลง/ศัตรูพืช ประจำเผ่าพันธุ์ตรกูล วันนี้ยังไม่มีเพราะยังไม่มี พอมาเถอะเอาไม่ทัน โดยเฉพาะข้าว ถือว่าเป็นพืชที่มีศัตรูพืชมากที่สุด มากถึงกว่า 200 รายการ ยิ่งข้าวใช้ยูเรียด้วยแล้วยิ่งล่อให้ โรค/แมลง/ศัตรูพืช สารพัดชนิดเข้าหาหนักยิ่งขึ้น

– ฉีดพ่นสารสมุนไพรสูตรรวมมิตร (เผ็ด + ร้อน + เหม็น + ขม) ประจำๆ ตั้งแต่ยังไม่มีศัตรูพืชเกิดเพื่อ “กันก่อนแก้” หรือ +สารสมุนไพร ร่วมไปกับปุ๋ยทางใบด้วยทุกครั้ง จะช่วยได้มากๆ

- งานวิจัยทุกชิ้น จากทุกสำนัก ยืนยันตรงกันว่า สารออกฤทธิ์หรือตัวยาในสมุนไพรใช้/ใกำจัดศัตรูพืชได้ แต่มีข้อแม้ ยาถูกใช้ถูก จึงจะได้ผล

- ประสบการณ์ตรง .... บางแปลงเห็นว่าแปลงข้างเคียงเริ่มมีเพลี้ยไฟระบาด เอาสารเคมีไปฉีดตามความเคยชิน แต่แปลงนี้เอาสมุนไพร “เผ็ดจัด” ฉีดแทน ฉีดดักล่วงหน้า แรกๆ ฉีดวันวันสองวัน พอเพลี้ยไฟแปลงข้างเคียงระบาดรุนแรงขึ้น แปลงนี้ตัดสินใจฉีดสารสมุนไพรตัวเดิมถี่ขึ้น ฉีดแบบวันเว้นวัน ปรากฏว่า แปลงที่เพลี้ยไฟลง ใช้สารเคมีแล้วก็ยังเสียหายทั้งแปลง ไม่ใช่แปลงเดียวแต่ลามไปทั้งทุ่ง ส่วนแปลงที่ฉีดสมุนไพรรอดได้ กลายเป็นโอเอซีส สีเขียวสดท่ามกลางดงข้าวเหลืองแห้งด้วยเพลี้ยไฟไปทั้งทุ่ง

-------------------------------------------------------------------------------------------------------


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©