-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร ทางรายการวิทยุ 24 APR....บำรุงผลลำไย, ประเภทจุลินทรีย์, ความต้องการปุ๋ยของพืช, ฝรั่ง, ขยายขนาดมะม่วง,
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - อยากทราบการปลูกกาแฟอราปิก้า
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

อยากทราบการปลูกกาแฟอราปิก้า

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
Poo
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 23/04/2013
ตอบ: 1

ตอบตอบ: 23/04/2013 11:19 am    ชื่อกระทู้: อยากทราบการปลูกกาแฟอราปิก้า ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อยากทราบการปลูกเมล็ดกาแฟอราปิก้า การให้ธาตุอาหารบำรุงต้นก่อนเก็บเกี่ยว และหลังเก็บเกี่ยว

ช่วยตอบออกอากาศในตอนเช้าทีครับ


ขอบพระคุณเป็นอย่างสูงครับ


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 23/04/2013 11:45 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

กาแฟอาราบิก้า





แหล่งปลูกที่เหมาะสมสำหรับกาแฟอาราบิก้าคือ พื้นที่ปลูกตั้งแต่เส้นรุ้ง 17 องศาเหนือขึ้นไป มีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 700 เมตรขึ้นไป มีความลาดเอียงไม่เกิน 30 เปอร์เซ็นต์


ลักษณะดิน
ดินมีความอุดมสมบูรณ์ ชั้นดินลึกไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร มีความเป็นกรดด่าง 5.5 - 6.5 และระบายน้ำดี

สภาพภูมิอากาศ
มีอุณหภูมิอยู่ระหว่าง 15 - 25 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์มากกว่า 60 %

แหล่งน้ำ
อาศัยน้ำฝนจากธรรมชาติ ปริมาณน้ำฝนไม่ต่ำกว่า 1,500 มิลลิเมตรต่อปี
มีการกระจายของฝน 5 - 8 เดือน
มีแหล่งน้ำสะอาดและมีปริมาณพอที่จะให้น้ำได้ตลอดช่วงฤดูแล้ง


พันธุ์
พันธุ์ที่ดี ควรมีลักษณะดังนี้
• เป็นพันธุ์ที่ต้านทานต่อโรคราสนิม
• มีลักษณะต้นเตี้ย ข้อสั้น ผลผลิตสูงสม่ำเสมอ
• เป็นพันธุ์ที่ผ่านการคัดเลือกโดยกรมวิชาการเกษตร คือ สายพันธุ์ คาติมอร์ CIFC 7963 รับกล้าพันธุ์ดีได้ที่หน่วยงานกรมวิชาการเกษตรภาคเหนือ
• ศูนย์วิจัยเกษตรหลวง จ.เชียงใหม่
• ศูนย์บริการวิชาการด้านพืชและปัจจัยการผลิตเชียงราย(วาวี) อ.แม่สรวย จ.เชียงราย
• ศูนย์วิจัยพืชสวนเพชรบูรณ์ (เขาค้อ) อ. เขาค้อ จ. เพชรบูรณ์
• ศูนย์บริการวิชาการด้านพืชและปัจจัยการผลิตตาก (พืชสวนดอยมูเซอ) อ. เมือง จ. ตาก


การปลูก
ต้นกล้าอายุตั้งแต่ 8 - 12 เดือน หรือ มีใบจริงไม่น้อยกว่า 4 - 5 คู่
• ระยะปลูก 2 x 2 เมตร
• ขนาดหลุมปลูก 50 x 50 x 50 เซนติเมตร
• รองก้นหลุมด้วยหินฟอสเฟต อัตรา 100 กรัม/หลุม และปุ๋ยคอก 5 กิโลกรัม/หลุม

• ปลูกภายใต้สภาพร่มเงา โดยใช้ไม้โตเร็ว ได้แก่ :
ถั่วหูช้าง (Enterolobium cyclocarpum Griseb),
พฤกษ์ (Albizia lebbeck Benth.)
ถ่อน (A.procera),
กางหลวง (A.chinensis),
สะตอ (Parikia speciosa Hassk.),
เหรียง (P.timoriana)
ซิลเวอร์โอ๊ก (Silver. Oak)

• สามารถปลูกร่วมกับไม้ผลยืนต้น เช่น บ๊วย ท้อ มะคาเดเมียนัท


การดูแลรักษา
การตัดแต่งกิ่ง
การตัดแต่งแบบต้นเดี่ยวของอินเดีย (Indian single stem pruning) หรือ การตัดแต่งแบบทรงร่ม (Umbrella) เป็นวิธีการที่ใช้กับกาแฟอาราบิก้าที่ปลูกภายใต้สภาพร่มเงา โดยมีขั้นตอน ดังนี้
1. เมื่อต้นกาแฟเจริญเติบโตจนมีความสูง 90 เซนติเมตร ตัดยอดให้เหลือความสูงเพียง 75 เซนติเมตร

2. เลือกกิ่งแขนงที่ 1 (primary branch) ที่อ่อนแอทิ้ง 1 กิ่ง เพื่อป้องกันยอดฉีกกลาง และต้องคอยตัดยอดที่ จะแตกออกมาจาก โคนกิ่งแขนง ของลำต้นทุกยอดทิ้ง และกิ่งแขนงที่ 1 จะให้ผลผลิต 2 - 3 ปี ก็จะแตกกิ่งแขนงที่ 2(Secondary branch) กิ่งแขนงที่ 3 (terriary branch) และ กิ่งแขนงที่ 4 (quarternary branch) ให้ผลผลิตช่วง 1 - 8 ปี

3. เมื่อต้นกาแฟให้ผลผลิตลดลง ต้องปล่อยให้มี การแตกยอดออกมาใหม่ 1 ยอดจากโคนของกิ่งแขนงที่ 1 ที่อยู่สูงสุดหรือถัดลงมา และเมื่อยอดสูงไปถึงระดับ 170 ซม. ตัดให้เหลือความสูงเพียง 150 เซนติเมตร ตัดกิ่ง แขนงที่ 1 ที่อยู่สูงสุดให้เหลือเพียง 1 กิ่ง ซึ่งจะสามารถให้ผลผลิตต่อไปอีก 8 -10 ปี

การตัดแต่งแบบหลายลำต้น (Multiple stem pruning system)
วิธีการนี้ใช้กับต้นกาแฟอาราบิก้าที่ปลูกกลางแจ้ง โดยทำให้เกิด ต้นกาแฟหลายลำต้น จากโคนต้นที่ถูกตัด แต่คัดเลือกเหลือเพียง 2 ลำต้น ซึ่งมีขั้นตอนปฏิบัติดังนี้
1. เมื่อต้นกาแฟสูงถีง 69 เซนติเมตร ให้ตัดยอดให้เหลือ ความสูงเพียง 53 เซนติเมตร เหนือพื้นดินมียอดแตกออกมาจาก ข้อโคนกิ่งแขนงที่ 1 จากคู่ที่อยู่บนสุด 2 ยอด จะต้องตัดกิ่งแขนงที่ 1 ทิ้งทั้ง 2 ข้าง

2. ปล่อยให้ยอดทั้ง 2 ยอดเจริญเติบโตขึ้นไปทางด้านบน ในขณะเดียวกันกิ่ง แขนงที่ 1 ที่อยู่ต่ำกว่า ความสูง 53 เซนติเมตร เริ่มให้ผลผลิต

3. กิ่ง แขนงที่ 1 ซึ่งอยู่ต่ำกว่าความสูง 53 เซนติเมตร จะถูกตัดทิ้ง หลังจากที่ให้ผลผลิตแล้ว ในขณะเดียว กันกิ่งแขนงที่ 1 ที่อยู่ระดับล่าง ๆ ของลำต้นทั้งสองก็เริ่มให้ผลผลิต

4. ต้นกาแฟที่เจริญเป็นลำต้น ใหญ่ 2 ลำต้น จะสามารถให้ ผลผลิตอีก 2 - 4 ปี และขณะเดียวกันก็จะเกิด หน่อขึ้นมา เป็นลำต้นใหม่ อีกบริเวณโคนต้นกาแฟเดิม ให้ปล่อยหน่อที่แตกใหม่เจริญเป็นต้นใหม่ ตัดให้ เหลือเพียง 3 ลำต้น

5. ให้ตัดต้นกาแฟเก่าทั้ง 2 ต้นทิ้ง และเลี้ยงหน่อใหม่ ที่เจริญเป็นต้นใหม่ ซึ่งจะสามารถให้ผลผลิตได้อีก 2 - 4 ปี แล้วจึงตัด ต้นเก่าเพื่อให้แตกต้นใหม่อีก


การให้น้ำ
พื้นที่ปลูกที่เหมาะสมส่วนใหญ่อยู่บนพื้นที่สูงระดับตั้งแต่ 700 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลขึ้นไป ซึ่งจะอาศัยน้ำฝน ตามธรรมชาติ ซึ่งมีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปีมากกว่า 1,500 มิลลิเมตร และมีการกระจายของฝนตั้งแต่ 5 - 8 เดือน ในรอบ 1 ปี นอกจากนี้ยังมีสภาพอากาศหนาวเย็น ความชื้นสูง จึงทำให้ไม่จำเป็นต้องอาศัยระบบการให้น้ำกับต้น กาแฟ นอกจากนี้หากปลูกกาแฟร่วมกับไม้ผลยืนต้น หรือปลูกกาแฟ ภายใต้สภาพร่มเงากับไม้ป่าโตเร็ว รวมถึงการคลุมโคนต้น ก็เป็นหนทางหนึ่งที่จะช่วยให้ผู้ปลูกไม่ต้องพึ่งพาระบบชลประทาน


การคลุมโคนต้นกาแฟ
การคลุมโคนต้นกาแฟมีประโยชน์มากโดยเฉพาะในช่วงที่สวนกาแฟ ประสบภาวะแห้งแล้ง ซึ่งจะช่วยไม่ให้กาแฟทรุดโทรม หรืออาจถึงตาย เนื่องจากขาดความชื้นในอากาศและในดิน นอกจากนี้ยังเป็นการป้องกันวัชพืช ที่จะเกิดในแปลงกาแฟในขณะที่ทรงพุ่มกาแฟยังไม่ชิดกัน และเป็นการป้องกัน การพังทลายของดินเมื่อเกิด ฝนตกหนัก ข้อควรระวังการคลุมโคน เป็นแหล่ง สะสมของโรคและแมลงศัตรูกาแฟ การคลุมโคนกาแฟ ควรคลุมโคนให้ห่าง จากต้นกาแฟประมาณ 10-20 ซม. เพื่อป้องกันไม่ให้แมลงศัตรูกาแฟ กัดกระเทาะเปลือกกาแฟ หรือไม่ให้เกิดอันตรายกับโคนต้นกาแฟในระหว่าง ที่วัสดุคลุมโคนเกิดการย่อย สลายได้ โดยคลุมโคนให้กว้าง 1 เมตร และหนาไม่ต่ำกว่า 10 ซม.


การให้ปุ๋ย
กาแฟเป็นพืชที่ต้องการปุ๋ยค่อนข้างสูง โดยเฉพาะช่วง ระยะเวลาเริ่มออกดอก ติดผลหากขาดปุ๋ยในช่วงระยะ เวลาดังกล่าว ซึ่งเป็นช่วงฤดูแล้งความชื้นในดินและในดอกกาแฟน้อย และอุณหภูมิสูง กาแฟจะแสดงอาการเป็นโรคยอดแห้ง (Die back) ไม่เจริญเติบโต และตายในที่สุด สำหรับธาตุอาหารที่ต้นกาแฟต้องการมีอยู่ 3 กลุ่ม คือ
o กลุ่มธาตุอาหารหลัก ได้แก่ N P K (Primary nutrients)
o กลุ่มธาตุอาหารรอง ได้แก่ Ca Ng S (secondary nutrients)
o ธาตุอาหารจุลธาตุ ได้แก่ Fe Mn Zn Cu B Mo และ Cl

- ระดับความสูง 700-900 เมตรจากระดับน้ำทะเล ควรใส่ปุ๋ย ช่วงเดือนพฤษภาคม กรกฎาคม และกันยายน
- ระดับความสูง 1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล ควรใส่ปุ๋ยช่วง เดือนพฤษภาคม สิงหาคม และตุลาคม

หมายเหตุ
1. ในกรณีที่พืชแสดงอาการขาดธาตุอาหารหลักหรือธาตุ อาหารรอง ให้ใส่ปุ๋ยที่เป็นธาตุอาหารหลัก เพิ่มขึ้นหรือธาตุอาหารรอง เสริมซึ่งมีทั้งในรูปปุ๋ยเม็ด หรือปุ๋ยเกล็ด ที่ฉีดพ่นทางใบ โดยคำนึง ถึงลักษณะของดินและความชื้นในดินในขณะที่ใส่

2. ระยะเวลาในการใส่ปุ๋ยกาแฟอาราบิก้า ขึ้นอยู่กับระดับ ความสูงของสถานที่ปลูก ซึ่งจะมีผลต่ออายุ


การเก็บเกี่ยว
การเก็บเกี่ยวมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อคุณภาพของกาแฟ ได้แก่ เนื้อสารกาแฟ (Body) รสชาติ (Flavour) ความเป็นกรด (Acidity) และมีกลิ่นหอม (Aroma) หากเก็บผลที่ยังไม่สุก และช่วงเวลาในการเก็บไม่เหมาะสม นอกจากจะมีผลต่อคุณภาพ และรสชาติแล้ว ยังมีผลทำให้ต้นทุนการผลิต (ค่าแรงงาน) เพิ่มขึ้น

อายุการเก็บเกี่ยว
ผลกาแฟในแต่ละสภาพพื้นที่ปลูกไม่พร้อมกัน
• ระดับความสูง 700-900 เมตรจากระดับน้ำทะเล
• อายุการเก็บเกี่ยว (ตั้งแต่ติดผล-ผลสุก) ประมาณ 6 เดือน
• ระดับความสูง 1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล
• อายุการเก็บเกี่ยว (ตั้งแต่ติดผล-ผลสุก) ประมาณ 9 เดือน


วิธีการเก็บเกี่ยว
การเก็บทีละผลหรือทั้งช่อ โดยเก็บเฉพาะผลที่สุกในแต่ละช่อ หรือเก็บทั้งช่อก็ได้ หากผลสุกพร้อมกัน เป็นวิธีการที่จะสามารถควบคุม คุณภาพของกาแฟได้ดีที่สุด

ดัชนีการเก็บเกี่ยว
• ควรเก็บผลที่สุก 90-100 เปอร์เซ็นต์ คือ เมื่อผลมีสีแดงเกือบทั้งผล หรือทั่วทั้งผลหรือผลมีสีเหลืองเกือบทั้งผลหรือทั่วทั้งผล (บางสายพันธุ์ ผลสุกจะเป็นสีเหลือง)
• การทดสอบผลสุกพร้อมที่จะเก็บเกี่ยว โดยการปลิดผลกาแฟ แล้วใช้นิ้วบีบผล ถ้าผลสุกเปลือกจะแตกง่ายและเมล็ดกาแฟจะโผล่ออกมา
• การเก็บผลควรจะพิจารณาการสุกของผลบนแต่ละกิ่ง ที่ให้ผลในแต่ละต้น ว่ามีผลสุกมากกว่าร้อยละ 50 ในการเก็บผลผลิตครั้งแรก ซึ่งปกติการเก็บ ผลกาแฟจะต้องใช้เวลาเก็บประมาณ 2-4 ครั้ง


แมลงและการป้องกันกำจัด
เพลี้ยหอยสีเขียว(Green scale) Coccus viridis Green (Homoptera : Coccidae) :
เพลี้ยหอยสีเขียวเป็นศัตรูที่สำคัญที่สุด ในกลุ่มแมลงปากดูด ขนาดเล็กด้วยกันทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัย เข้าทำลาย โดยการดูดกิน น้ำเลี้ยงบริเวณยอดอ่อน ใบอ่อน เป็นเหตุให้ยอดและใบหงิกงอผิดปกติ ใบร่วง ต้นกาแฟชะงักการเจริญเติบโต ถ้าระบาดขณะกาแฟกำลังติดผล ทำให้ผลอ่อนมีขนาดเล็กลง เมล็ดลีบและผลร่วง ผลผลิตเล็กลง ต้นกาแฟจะโทรมนาน นอกจากนี้ เพลี้ยหอยสีเขียวยังขับถ่ายน้ำหวาน (honey dew) ขึ้นคลุมผิวใบ เป็นผลให้พื้นที่ในการสังเคราะห์แสงลดลง และทำให้ต้นกาแฟชะงักการเจริญเติบโต

การป้องกันกำจัด
ใช้สารเคมีป้องกันกำจัดแมลงประเภทดูดซึม โดยใช้คาร์โบ ซัลแฟน (พอสซ์ 20 % EC) ใช้ในอัตรา 40 มล.ต่อน้ำ 20 ลิตร


หนอนเจาะลำต้นกาแฟ Xylotrechus quadripes Cherrolat (Coleoptera : Cerambycidae) :
หนอนเจาะลำต้นกาแฟเป็นแมลงที่มีความสำคัญ ที่ทำความเสียหาย ต่อต้นกาแฟอาราบิก้าอย่างรุนแรง พื้นที่ซึ่งพบการทำลายสูงสุดร้อยละ 95 และส่วนใหญ่เป็นกาแฟที่ปลูกในสภาพกลางแจ้งร้อยละ 80 ส่วนกาแฟที่ ปลูกในสภาพภายใต้ร่มเงา และปลูกในพื้นที่ระดับต่ำจะพบน้อย โดยเฉพาะ กาแฟที่มีอายุมากกว่า 5 ปี ขึ้นไป ต้นกาแฟที่ถูกหนอนเจาะต้นกาแฟ เข้าทำลายจะแสดงอาการใบเหลือง เหี่ยว และยืนต้นแห้งตายในที่สุด โดยจะพบร่องรอยการควั่นของหนอนเจาะลำต้นกาแฟตั้งแต่บริเวณโคนต้น ขึ้นมาจนถึงกึ่งกลางต้น ทั้งนี้เมื่อฟักออกจากไข่ ก็จะกัดกินเนื้อไม้ โดยควั่น ไปรอบต้นและเจาะเข้าไปกินภายใน

การป้องกันกำจัด
ควรจะกระทำช่วงระยะที่เป็นตัวเต็มวัยก่อนผสมพันธุ์และวางไข ่รวมทั้งการทำลายไข่หรือหนอนระยะแรกที่ฟักออกจากไข่ ก่อนที่จะ เจาะเข้าไปในลำต้นหรือกิ่งจะเป็นการป้องกันกำจัดที่ดีที่สุด เมื่อพบการระบาดควรฉีดพ่นสารฆ่าแมลง เฟนิโตรไธออน (ซูมิไธออน 50 % EC) อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร ในช่วงเดือนพฤษภาคม- กรกฎาคม และ พฤศจิกายน-มกราคม


หนอนกาแฟสีแดง Zeuzera coffeae Nietner (Lepidoptera : Cossidae)
หนอนเจาะกินเนื้อเยื่อภายในลำต้นทำให้ยอดแห้งเหี่ยวตาย ตั้งแต่ยอดลงมาจนถึงบริเวณที่ถูกเจาะ และ เมื่อลมพัดก็ทำให้กิ่งหักล้ม ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืน ปีกสีขาว มีจุดดำประเต็มปีก วางไข่บริเวณเปลือก ลำต้นหรือกิ่งกาแฟ ไข่สีเหลือง ตัวเมีย 1 ตัว วางไข่ได้ประมาณ 300 - 500 ฟอง ระยะไข่ประมาณ 7 - 10 วัน จึงฟักออก เป็นตัวหนอนแล้ว เจาะเข้าสู่กิ่งหรือลำต้น กัดกินเนื้อเยื่อเป็นโพรงเล็ก ๆ ตามความยาวของกิ่ง และลำต้นกาแฟ ขณะเดียวกันก็จะกัดกิ่งและลำต้นกาแฟเป็นรู เล็ก ๆ เพื่อเป็นช่องให้มูลของหนอนออกมา จากกิ่งและลำต้น ระยะหนอนประมาณ 2.5 - 5 เดือน ระยะดักแด้ 2-3 สัปดาห์ ในรอบปีหนึ่งจะพบประมาณ 2 ชั่วอายุขัย เมื่อพบร่อง รอยการทำลายให้ตัดกิ่งหรือต้นที่ถูกทำลายไปเผาทิ้ง

การป้องกันกำจัด
ทำลายพืชอาศัยอื่น ๆ ในบริเวณรอบ ๆ สวนกาแฟ เพื่อไม่ให้เป็น ที่อยู่อาศัยขยายพันธุ์รักษาบริเวณให้สะอาด และหมั่นตรวจดูตามต้นและกิ่งกาแฟอยู่เสมอหากพบรอยที่หนอนเจาะเข้าทำลายให้ ตัดกิ่ง นำไปเผาไฟ เพื่อลดการขยายพันธุ์ต่อไป ในพื้นที่ ๆ พบการระบาดสูงใช้สารเคมีฆ่าแมลงเฟนิโตร ไธออน อัตรา 80 มล. ต่อน้ำ 20 ลิตร ทำด้วยแปลงทาสีบริเวณลำต้นกาแฟให้ทั่ว (ถ้าใช้ฉีดพ่นใช้อัตรา 40 มล. ต่อน้ำ 20 ลิตร ) ในช่วงที่พบตัวเต็มวัยสูงในเดือนเมษายน มิถุนายน และกันยายน และกำจัดต้นกาแฟที่ถูกหนอนเจาะลำต้นเข้าทำลาย ทันที เมื่อตรวจพบโดยการตัดแล้วเผาทิ้ง นอกจากนี้ควรปลูกไม้บังร่ม จะช่วยลดการเข้าทำลายของหนอนได้



โรคและการป้องกันกำจัด
โรคราสนิม (Coffee leaf rust)
เกิดจากเชื้อรา Helmileia vastatrix ทำความเสียหายร้ายแรงแก่กาแฟอาราบิก้ามานานกว่าร้อยปี

ลักษณะอาการของโรค
โรคราสนิมสามารถเกิดกับใบกาแฟอาราบิก้า ทั้งใบแก่และใบอ่อน ระยะต้นกล้าในเรือนเพาะชำ และต้นโตในแปลง อาการครั้งแรก จะเห็นเป็นจุดสีเหลืองเล็ก ๆ ขนาด 3 - 4 มิลลิเมตร ด้านในของใบ มักจะเกิดกับใบแก่ก่อน จุดสีเหลืองบนใบขยายโตขึ้นเรื่อย ๆ สีของแผลจะ เปลี่ยนจากสีเหลืองเป็นสีส้ม หรือส้มแก่ เมื่ออายุมากขึ้น บนแผลจะมีผงสีส้ม ซึ่งเป็นยูรีโดสปอร์ของเชื้อรา ด้านบนของใบซึ่งอยู่ตรงข้ามกับจุดที่เป็นโรค จากนั้น ใบกาแฟอาราบิก้าจะร่วง ต้นโกร๋น กิ่งแห้งในเวลาต่อมา ต้นที่เป็น โรครุนแรงใบจะร่วงเกือบหมดต้น

การป้องกันกำจัด
มีสารป้องกันกำจัดเชื้อราหลายชนิดที่มีประสิทธิภาพใน การป้องกันและกำจัดโรคราสนิมได้ เช่น บอร์โดซ์มิกซ์เจอร์ (alkaline bordeaux mixture) 0.5%,คูปราวิท (cupravit) 85% W.P. อัตรา 50 กรัม น้ำ 20 ลิตร
ใช้พันธุ์กาแฟที่ต้านทานต่อโรคราสนิม ได้แก่ กาแฟอาราบิก้า พันธุ์คาติมอร์ CIFC 7960, พันธุ์คาติมอร์ CIFC 7961, พันธุ์คาร์ติมอร์ CIFC 7962 และ พันธุ์คาติมอร์ CIFC 7963


โรคเน่าดำ (black rot)
โรคเน่าดำของกาแฟสาเหตุจากเชื้อรา Koleroga noxia เป็นโรคที่สำคัญโรคหนึ่งของกาแฟอาราบิก้า ที่ปลูกภายใต้ ร่มเงาค่อนข้างหนาทึบ สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับ เกิดโรคนี้มักจะเป็นในฤดูฝน ในช่วงที่ฝนตกติดต่อกันหลายวันโดยไม่หยุด ประกอบกับแปลงกาแฟที่มีร่มเงาค่อนข้างทึบ แดดส่องไม่ถึง ส่วนต้นกาแฟที่ปลูกกลางแจ้งไม่พบโรคนี้ระบาด

ลักษณะอาการของโรค
อาการของโรคจะแสดงออกที่ใบ กิ่ง และผล ที่กำลังพัฒนาในช่วงฝนตกซุก ในเดือนกรกฎาคม - สิงหาคม ในระยะเริ่มแรกใบจะเน่ามีสีดำก่อน แล้วลุกลามไปยังกิ่งและผล กำลังเจริญเติบโต เมื่อใบกาแฟแห้งตาย ในปลายฝนจะมีเส้นใยของเชื้อรา เส้นใหญ่ ๆ เจริญบนผิวใบกาแฟ เส้นใยเหล่านี้จะดึงให้ใบกาแฟติดอยู่กับกิ่ง โดยไม่ร่วงหล่นจากต้น สำหรับผลกาแฟที่กำลังเจริญเติบโตมีสีเขียว ก็จะกลายเป็นสีดำและร่วง และเมื่ออากาศแห้งเห็นเส้นใยสีขาวปกคลุม ก้านผลกาแฟคล้ายใยแมงมุมสีขาว การเน่าของใบกาแฟอาจลุกลาม เข้าสู่ตรงกลางของพุ่มกาแฟ

การป้องกันกำจัด
o ตัดกิ่งที่เป็นโรคออกและเผาไฟ เพื่อทำลายแหล่ง แพร่ระบาดของเชื้อ
o ควรคัดเปลงระบบการตัดแต่งกิ่งต้นกาแฟให้ตรงกลาง พุ่มโปร่ง ลมจะได้พัดผ่านสะดวก เพื่อลด ความชื้นในทรงพุ่ม เช่น ระบบตัดแต่งกิ่งต้นเดี่ยวของประเทศ โคลัมเบียหรืออินเดีย
o ควรตัดแต่งไม้บังร่มให้โปร่งมาก ๆ ในต้นฤดูฝน
o อาจใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืช พวกสารประกอบ ทองแดงฉีดพ่นเมื่อพบโรคนี้ระบาด 1 - 2 ครั้ง


โรคเน่าคอดิน (Collar rot หรือ damping off)
โรคเน่าคอดินสาเหตุจากเชื้อราRhizoctonia solani โรคนี้เกิดในระยะกล้าอายุ 1 - 3 เดือนในแปลง เพาะชำ สาเหตุของการเกิดโรคและความรุนแรงของโรคอาจขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ลักษณะของแปลงเพาะกล้ามีการระบายน้ำไม่สะดวก เพาะเมล็ดซ้ำใน แปลงเดิมติดต่อกันหลายครั้ง ติดต่อกันโดยไม่เปลี่ยนวัสดุใหม่ หลังคาเรือนเพาะชำอาจทึบเกินไป ปริมาณของกล้าที่งอกออกมาหนาแน่น เกินไป และประการสำคัญสภาพอากาศในช่วงที่กล้างอก มีความชื้นสูง สลับกับอากาศร้อน

ลักษณะอาการของโรค
อาการของโรคเน่าคอดินมีอยู่ 2 ระยะคือ
ระยะแรก : การเน่าของเมล็ดก่อนงอก คัพภะ (embryo) และเอนโดสเปิร์ม (endosperm) จะถูกเชื้อราซึ่งอยู่ในดินเข้าทำลาย เมล็ดเน่าและแตกออก

ระยะที่สอง : การเน่าหลังจากกล้ากาแฟงอกออกจากเมล็ด โผล่ขึ้นมาเหนือดินแล้ว เชื้อราอาจเข้าทำลายตรงโคนที่อยู่เหนือดิน หรือระดับผิวดินจะมีแผลสีน้ำตาลในระยะแรก ต่อมาจะเน่ากลายเป็นสีดำ ในที่สุดกล้าก็เหี่ยวและตาย เชื้อรา R.solani สามารถเข้า ทำลายกล้ากาแฟได้ทุกระยะหลังจากงอกขึ้นมาเหนือดิน ตั้งแต่หัวไม้ขีด ซึ่งใบเลี้ยงคู่ยังไม่หลุดออกจากเมล็ดกาแฟ ระยะปีกผีเสื้อ ซึ่งใบเลี้ยงคู่หลุดออกจากเมล็ดเป็นปีกผีเสื้อ และระยะที่กล้ากาแฟมีใบจริง 1 - 2 คู่ ในกรณีที่ยังอยู่ในแปลงไม่ได้ย้ายลงถุง

การป้องกันกำจัด
o หน้าดิน (top soil) หรือวัสดุเพาะอื่น ๆ ควรจะเป็น ของใหม่ ไม่ควรนำของเก่ามาเพาะซ้ำ เพราะอาจมีเชื้อราสะสมอยู่ใน ปริมาณมากเกินไป
o ไม่ควรให้น้ำแปลงเพาะมากเกินไปในแต่ละครั้ง ซึ่งอาจทำให้น้ำท่วมขังในแปลงได้ ระบบการ ระบายน้ำในแปลงควรจะดี
o การเพาะเมล็ดในแปลง ควรให้มีระยะห่างพอสมควร มิฉะนั้นเมื่อกล้างอกออกมาหนาแน่น จะต้องถอนทิ้งทีหลัง
o กล้าที่เป็นโรคเน่าคอดิน ควรถอนทิ้งและเผาไฟ หลังจากนั้นจึงควรพ่นสารป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น แมนโคเซบ (Mancozeb)


โรครากเน่าแห้ง (Fusarium root disease)
โรครากเน่าแห้งสาเหตุจากเชื้อรา Fusarium spp. ทำความเสียหายร้ายแรงแก่กาแฟอาราบิก้ามากกว่ากาแฟโรบัสต้า ทำให้ต้นตายภายในเวลาอันสั้น โรคนี้จะรุนแรงในสภาพพื้นที ่อุณหภูมิแตกต่างกันมากระหว่างอุณหภูมิสูงสุดและอุณหภูมิต่ำสุด อุณหภูมิของดินแตกต่างกันมาก

ดินที่ขาดความอุดมสมบูรณ์แปลงกาแฟที่ปลูกกลางแจ้งและราก หรือโคนต้นที่อยู่ ใต้ผิวดินเกิดแผล เชื้อราก็เข้าทางแผลนั้น จากการตรวจสอบต้นที่เป็นโรครากเน่าพบว่า มีต้นกาแฟจำนวนมาก ที่มีแผลที่เกิดจาก หนอนเจาะโคนหรือควั่นโคนร่วมอยู่ด้วย

ลักษณะอาการของโรค
ต้นกาแฟมีใบเหลืองและเหี่ยว ต่อมาใบจะร่วง กิ่งที่อยู่เหนือดินแห้งตาย เมื่อถอนต้นกาแฟจากดิน จะขึ้นมาง่ายมาก เพราะรากเน่าและแห้งตาย เมื่อปาดเปลือกของรากและโคนต้นกาแฟที่อยู่ใต้ดินจะมีสีน้ำตาล น้ำตาลเทา รากส่วนใหญ่จะแห้ง

การป้องกันและกำจัดโรค
o ถอนต้นกาแฟที่เป็นโรคเน่าแห้งเผาไฟ เพื่อทำลาย แหล่งเพาะเชื้อ
o โรครากเน่าแห้งจะรุนแรงในสภาพการปลูกกาแฟ กลางแจ้งนั้น ดังนั้น ควรปลูกไม้บังร่มให้กาแฟอาราบิก้าในแหล่งที่มี โรครากเน่าแห้งระบาด
o เอกสารต่างประเทศได้แนะนำให้ใส่ปูนขาวลงไปในดิน ในกรณีพบโรครากเน่าแห้งและทดสอบ pH ของดินพบว่าต่ำกว่า 5.5


โรคใบจุดตากบ (Brown eye spot)
โรคใบจุดตากบ มีสาเหตุจากเชื้อรา Cercospora coffeicola. เป็นโรคที่พบระบาดแพร่หลายทั่วไป ทั้งกับกาแฟอาราบิก้าและกาแฟโรบัสต้า ระบาดมากในระยะกล้า ที่ปลูกในเรือนเพาะชำ ขาดการดูแลรักษาที่ถูกต้อง เมื่อนำกล้าที่ เป็นโรคนี้ไปปลูกในแปลง หากขาดการบังร่มให้แก่ต้นปลูกใหม่ในระยะแรก โรคใบจุดตากบก็จะทำความเสียหายกับใบรุนแรง จะพบใบที่เป็นโรคร่วง บ่อยครั้งที่พบต้นกาแฟ เป็นโรคใบจุดตากบภายใต้ร่มเงาที่ไม่เหมาะสม โรคนี้อาจพบได้ทุกฤดู แต่จะพบมากในฤดูแล้ง

ลักษณะอาการของโรค
ใบกาแฟจะเห็นจุดกลม ๆ ขนาด 3 - 15 มิลลิเมตร จะมีสีน้ำตาล ระยะเริ่มแรก ต่่อมาจุดนี้จะกลายเป็นสีเทาหรือเทาอ่อนไปกระทั่งถึงสีขาวตรง จุดกึ่งกลางของแผล ขอบแผลจะมีสีน้ำตาลแดง และจะล้อมรอบไว้โดย วงสีเหลือง ส่วนตรงกลางของแผลที่มีสีเทาจะเห็นจุดเล็ก ๆ สีดำกระจาย อยู่ทั่วไป จุดเล็ก ๆ เหล่านี้คือ กลุ่มของสปอร์และสปอร์ของเชื้อรา

เชื้อราชนิดนี้สามารถทำให้เกิดโรคกับผลกาแฟได้ ทำให้ผลกาแฟ เน่ามีสีดำในระยะรุนแรงกาแฟจะมีสีดำ และเหี่ยวย่น ทำให้ผลร่วง ก่อนสุกในบางครั้ง

การป้องกันกำจัด
o แปลงกาแฟควรมีร่มเงาเพียงพอ ต้นกาแฟที่ปลูกใหม่ ควรมีร่มเงาชั่วคราวเพียงพอ หลีกเลี่ยงความรุนแรงของโรค
o การให้ปุ๋ยไนโตรเจนเพียงพอ จะช่วยลดความ รุนแรงของโรคในระยะกล้าในแปลงเพาะและแปลงปลูกได้


วัชพืชและการป้องกันกำจัด
วัชพืชที่พบทั่วไปในสวนกาแฟอาราบิก้า มีทั้งใบแคบและใบกว้าง ได้แก่ หญ้าตีนนก หญ้าปากควาย หญ้าตีนกา หญ้าเห็บ หญ้านกสีชมพู กระดุมใบเล็ก สาบแร้งสาบกา ลำพาสี ผักปราบ หญ้ายาง ลูกใต้ใบ ตีนตุ๊กแก เป็นต้น

การกำจัดวัชพืชในสวนกาแฟสามารถกระทำได้หลายวิธี คือ
1. การใช้แรงงานและการใช้เครื่องจักรกลตัดวัชพืชระดับผิวดิน
การใช้แรงงานคนเหมาะสำหรับสภาพพื้นทีที่ไม่สามารถ ใช้เครื่องจักรกลได้สะดวก โดยเฉพาะการกำจัดวัชพืชโดยวิธีการตัด หรือถากวัชพืชรอบบริเวณโคนต้นในสวนกาแฟที่ปลูกใหม่ เพราะระยะนี้ การใช้สารกำจัดวัชพืชจะเป็นอันตรายกับต้นกาแฟได้ง่าย และในฤดูแล้ง การกำจัดวัชพืชด้วย วิธีการดังกล่าวมีความจำเป็นอย่างยิ่งต้องกระทำ เพื่อลดการแก่งแย่งน้ำในดิน ระหว่างวัชพืชและต้นกาแฟ และใช้วัชพืช ดังกล่าวคลุมโคนต้นกาแฟ เพื่อป้องกันการระเหยของน้ำ

2. การปลูกพืชคลุมดิน
การปลูกพืชคลุมดินนอกจากจะช่วยควบคุมวัชพืช เจริญเติบโตแข่งกับต้นกาแฟแล้ว ยังเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ในกับดิน ซึ่งจะมีผลทำให้ต้นกาแฟเจริญเติบโตและให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น

3. การปลูกพืชแซม
สามารถกระทำได้ในพื้นที่ปลูกกาแฟที่ค่อนข้างราบ หรือมีความลาดเอียงในทิศทางเดียวกัน พืชแซมที่นิยมปลูกในสวน กาแฟปลูกใหม่ เช่น พืชผัก ถั่วต่าง ๆ หรือไม้ตัดดอก แต่หลังจากต้นกาแฟ อายุมากขึ้น และให้ผลผลิตแล้วคงไม่สามารถกระทำได้ เพราะ ทรงพุ่มจะชิดกันมากขึ้น ไม่มีพื้นที่ว่างพอที่จะปลูกพืชแซมได

4. การใช้สารกำจัดวัชพืช
ใช้ได้ทั้งในสวนกาแฟขนาดเล็ก และขนาดใหญ่ ่โดยใช้ในอัตราที่ปรากฏข้างล่าง ผสมน้ำสะอาด 60-80 ลิตร/ไร่ ใช้หัวพ่นรูปพัด พ่นให้ทั่วต้นวัชพืช แต่ควรหลีกเลี่ยงไม่ให้ ละอองสารปลิวไปสัมผัสใบและต้นกาแฟ

สารกำจัดวัชพืช
อัตราที่ใช้ (กรัมหรือ ซีซี./ไร่)|กำหนดการใช้|ชนิดวัชพืชที่ควบคุมได้

หมายเหตุ
พาราควอท (27.6%AS)|300-800|พ่นหลังวัชพืชงอกและอยู่ในระยะเจริญ
เติบโตสูงไม่เกิน 15 ซม.|วัชพืชปีเดียว ใบแคบและใบกว้าง|หลีกเลี่ยง สารกำจัดวัชพืชสัมผัสใบและต้นกาแฟที่มีสีเขียว

กลูโฟซิเนทแอมโมเนียม(15 %SL) |330- 750|พ่นหลังวัชพืชงอกและอยู่ในระยะเจริญเติบโตและก่อนออกดอก|วัชพืชปีเดียวใช้อัตราต่ำ

วัชพืชข้ามปี เช่น หญ้าคาใช้อัตราสูง|ระยะปลอดฝนประมาณ 4-6 ช.ม.
ไกลโฟเลท (48%AS)|330-750|พ่นหลังวัชพืชงอกและอยู่ในระยะเจริญเติบโตและก่อนออกดอก|วัชพืชปีเดียวใช้อัตราต่ำ วัชพืชข้ามปีเช่น หญ้าคาใช้อัตราสูง|ระยะปลอดฝนประมาณ 4-6 ช.ม. กลูโฟซิเนทแอมโมเนียม (15%S%L)+ไดยูรอน (80%WP)|1,800+ 300|พ่นหลังวัชพืชงอกและอยู่ในระยะเจริญเติบโตสูงไม่เกิน 15 ซม. วัชพืชปีเดียว ใบแคบและใบกว้างที่งอกจากเมล็ด|ไดยูรอนสามารถควบคุมการงอกของเมล็ดวัชพืชในดินได้ 1-2 เดือน



การแปรรูป
วิธีการแปรรูปมี 2 วิธีที่นิยมปฏิบัติกัน คือ
1. การทำสารกาแฟโดยวิธีเปียก (Wet Method or Wash Method) เป็น วิธีการที่นิยมกันแพร่หลาย เพราะจะได้สารกาแฟที่มีคุณภาพ รสชาติดีกว่า ราคาสูงกว่าวิธีตากแห้ง (Dry method) โดยมีขั้นตอน ในการดำเนินการมี 5 ขั้นตอน ดังนี้

1. การปอกเปลือก(Pulping)
โดยการนำผลกาแฟสุกที่เก็บได้มาปอกเปลือกนอกทันที โดยเครื่องปอกเปลือก โดยใช้น้ำสะอาดขณะที่เครื่องทำงาน ไม่ควรเก็บ ผลกาแฟไว้นานหลังการเก็บเกี่ยวเพราะผลกาแฟเหล่านี้จะเกิดการหมัก (fermentation) ขึ้นมาจะทำให้คุณภาพของสารกาแฟ มีรสชาติเสียไป ดังนั้นหลังปอกเปลือกแล้ว จึงต้องนำไปขจัดเมือก

2. การกำจัดเมือก (demucilaging)
เมล็ดกาแฟที่ปอกเปลือกนอกออกแล้ว จะมีเมือก (mucilage) ห่อหุ้มเมล็ดอยู่ซึ่งจะต้องกำจัดออกไป ซึ่งมีวิธีการอยู่ 3 วิธีคือ

2.1 การกำจัดเมือกโดยวิธีการหมักตามธรรมชาติ (Natural Fermentation)เป็นวิธีการที่ปฏิบัติดั้งเดิม โดยนำ เมล็ดกาแฟที่ปอกเปลือกออกแล้วมาแช่ในบ่อซีเมนต์ขนาด 3x1.5x1.2 เมตร มีรูระบายน้ำออกด้านล่าง ใส่เมล็ดกาแฟประมาณ 3/4 ของบ่อ แล้วใส่น้ำให้ท่วมสูงกว่ากาแฟ แล้วคลุมบ่อด้วยผ้าหรือพลาสติกปิดปาก บ่อซีเมนต์ ทิ้งไว้ 24-48 ชั่วโมง ในกรณีที่อุณหภูมิต่ำอากาศหนาวเย็น การหมักอาจจะใช้เวลา 48-72 ชั่วโมง) จากนั้นปล่อยน้ำทิ้งแล้วนำ เมล็ดมาล้างน้ำให้สะอาด นำเมล็ดมาขัดอีกครั้งในตระกล้าที่ตาถี่ ที่มีปาก ตะกร้ากว้าง ก้นไม่ลึกมาก เมื่อขัดแล้วเมล็ดกาแฟจะไม่ลื่นแล้วล้าง ด้วยน้ำสะอาดอีกครั้งก่อนที่จะนำไปตาก

2.2 การกำจัดเมือกโดยการใช้ด่าง (Treatment with alkali) วิธีนี้จะใช้เวลาประมาณไม่เกิน 1 ชั่วโมง (โรบัสต้า 1 ชั่วโมง 30 นาที) โดยการนำเอาโซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) ความเข้มข้น 10% โดยใช้โซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) 1 กิโลกรัม/น้ำ 10 ลิตร เทลงในบ่อซีเมนต์ที่ใช้หมักเมล็ดกาแฟ หลังจากเทเมล็ดกาแฟ ประมาณ 250-300 กิโลกรัม และเกลี่ยให้เสมอกัน จากนั้นใช้ไม้พายกวน เมล็ดกาแฟเพื่อให้สารละลายกระจายให้ทั่วทั้งบ่อประมาณ 30-60 นาที หลังจากทิ้งไว้ 20 นาที แล้วตรวจสอบว่าด่างย่อยเมือกออกหมด หรือหากยังออกไม่หมดให้กวนอีกจนครบ 30 นาที แล้วตรวจสอบอีกครั้ง เมื่อเมือกออกหมดต้องนำเมล็ดกาแฟไปล้างด้วยน้ำสะอาด 3-4 ครั้ง ก่อนนำไปผึ่งแดดให้แห้ง

2.3 การกำจัดเมือกโดยใช้แรงเสียดทาน (Removal fo mucilage by friction)โดยใช้เครื่องปอกเปลือกชื่อ "Aguapulper" สามารถจะกระเทาะเปลือกนอก และกำจัดเมือก ของเมล็ดกาแฟในเวลาเดียวกัน แต่มีข้อเสียคือทำให้เมล็ดเกิดแผล ดังนั้นจึงควรคัดผลกาแฟให้มีขนาดใกล้เคียงกันมากที่สุด เพื่อลดความ เสียหายของเมล็ดให้น้อยลง

3. การตากหรือการทำแห้ง (Drying)
หลังจากเมล็ดกาแฟผ่านการล้างทำความสะอาดแล้วนำเมล็ดกาแฟมาเทลงบนลานตากที่ทำความสะอาดแล้ว หรือเทลงบนตาข่ายพลาสติกบนแคร่ไม้ไผ่ เกลี่ยเมล็ดกาแฟกระจายสม่ำเสมอไม่ควรหนาเกิน 4 นิ้ว ควรที่จะเกลี่ยเมล็ดกาแฟวันละ 2 - 4 ครั้ง จะทำให้เมล็ดแห้งเร็วขึ้น และเวลากลางคืนควรกองเมล็ดเป็นกอง ๆ และใช้พลาสติกคลุมเพื่อป้องกันน้ำฝนหรือน้ำค้าง ใช้เวลาตากประมาณ 7-10 วัน เมล็ดจะมีความชื้นประมาณ 13 %

4. การบรรจุ (Packing)
เมล็ดกาแฟที่ได้ควรเก็บไว้ในรูปของกาแฟกะลา (Parchment Coffee) เพราะจะสามารถรักษาเนื้อกาแฟและป้องกันความชื้นกาแฟได้ดี ควรบรรจุ ในกระสอบป่านใหม่ และควรกลับด้านในของกระสอบป่านออกมา ผึ่งลมก่อนนำไปใช้ เก็บในโรงเก็บที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก ไม่อับชื้น หรือมีกลิ่นเหม็น

5. การสีกาแฟกะลา (Hulling)
กาแฟกะลาที่จะนำไปจำหน่ายควรจะสีเพื่อเอากะลาออกด้วยเครื่องสีกะลา จะได้สารกาแฟ (Green Coffee) ที่มีลักษณะผิวสีเขียวอมฟ้า

การทำสารกาแฟโดยวิธีแห้ง (Dry method หรือ Natural method)
เป็นวิธีการที่ดำเนินการโดยนำเอาผลกาแฟ (Coffee Cherry) ที่เก็บเกี่ยวมาจากต้นแล้วนำมาตากแดด ประมาณ 15-20 วัน บนลานตากที่สะอาดและได้รับแสงแดดเต็มที่ เกลี่ยให้เสมอทั่วกันและ หมั่นเกลี่ยบ่อยครั้ง เมื่อผลแห้งจะมีเสียงของเปลือกกับเมล็ดกระทบกัน จึงนำมาเข้าเครื่องสีกาแฟ (Hulling) แล้วบรรจุในกระสอบที่สะอาด ข้อเสียของวิธีการนี้ คือ สารกาแฟที่ได้จะมีคุณภาพต่ำกว่าการทำ สารกาแฟโดยวิธีหมักเปียก


การคัดเกรดและมาตรฐาน
การคัดเกรด
สารกาแฟ (Green coffee) ที่ผ่านเครื่องสีเอากะลาออกแล้ว จึงนำมาคัดขนาดเพื่อแบ่งเกรด โดยใช้ตะแกรงร่อนขนาดรู 5.5 มิลลิเมตร เพื่อแยกสารกาแฟที่สมบูรณ์ จากสารกาแฟที่แตกหักรวม ถึงสิ่งเจือปน เมล็ดกาแฟที่มีสีดำ (black bean) ซึ่งเกิดจากเชื้อราบางประเภท

ใช้เครื่องอีเล็กทรอนิกส์หรือเครื่องที่ใช้แรงเหวี่ยง (Electronic Coffee Sorting Machine) เพื่อแยกสารกาแฟที่ดีออกจากสารกาแฟที่ไม ่สมบูรณ์


มาตรฐานการแบ่งเกรดของสารกาแฟอาราบิก้าของไทย
เกรดของสารกาแฟอาราบิก้า
เกรด A
- ขนาด ขนาดของเมล็ดตั้งแต่ 5.5 มิลลิเมตรขึ้นไป
- สี สีเขียวอมฟ้า
- เมล็ดแตกหัก มีเมล็ดไม่สมบูรณ์ หรือเมล็ดขนาดเล็กกว่า 5.5 มิลลิเมตร ไม่เกินร้อยละ 13 เมล็ดเสีย มีเมล็ดที่เป็นเชื้อราหรือมีสีผิดปกติ ไม่เกินร้อยละ 1.5
- ความชื้น ไม่เกินร้อยละ 13

เกรด X
- ลักษณะและคุณภาพเหมือนเกรด A ยกเว้นสีซึ่งจะมีสีแตกต่างไปจากสีเขียวอมฟ้า หรือมีสีน้ำตาลปนแดง

เกรด Y
- ลักษณะเมล็ดแตกหักหรือเมล็ดกลมเล็ก ๆ (Pea berries) ที่สามารถลอดผ่านตะแกรงขนาด์ 12.5 (5.5 มิลลิเมตร)
- มีสีเขียวอมฟ้า สิ่งเจือปนไม่เกิน 0.5 %
- ความชื้นไม่เกิน 13 %


การเก็บรักษา (Storage)
- ภาชนะบรรจุควรเก็บในกระสอบป่านใหม่ ปราศจากกลิ่น โดยบรรจุให้เหลือ พื้นที่ปากกระสอบบ้าง ไม่ใส่จนเต็มกระสอบ ควรมีแผ่นป้ายบอกเกรด สารกาแฟ วันที่บรรจุ แหล่งผลิต และน้ำหนัก ณ วันที่บรรจุ

- โรงเก็บควรจะตั้งอยู่ในที่มีอากาศถ่ายเทได้ดี อากาศไม่ร้อน ความชื้นสัมพัทธ์ในโรงเก็บ 60% ไม่ห่างจากฝาผนังและหลังคาประมาณ 0.5-1.0 เมตร

- ตั้งกระสอบที่บรรจุกาแฟบนพื้นที่ที่ทำด้วยไม้ยกสูงจากพื้น 15 ซ.ม.


ปรับปรุงล่าสุดเมื่อ :
2008-12-21



http://it.doa.go.th/vichakan/news.php?newsid=9


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 24/04/2013 7:16 am, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 23/04/2013 12:27 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

กาแฟเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีอนาคตไกล





มองไปรอบตัวทุกวันนี้เห็นมีคนดื่มกาแฟกันทั่ว มีร้านขายกาแฟ มีรถขายกาแฟ ในห้างร้านต่างๆ ก็มีกาแฟขาย คนขับรถเดินทางไกล บอกว่าพึ่งกาแฟแก้ง่วง นักเรียน นักศึกษาอ่านหนังสือ มีกิจกรรมเล่นเกม จนดึกก็พึ่งกาแฟ จริงหรือเปล่าไม่รู้ว่า เหล้าทำให้นอนหลับ กาแฟทำให้ตื่น ทุกครั้งเลยที่ต้องพยายามหลีกเลี่ยงการดื่มกาแฟสำหรับคนเป็นโรคเบาหวานด้วย แต่เราก็เป็นแค่คนส่วนน้อยที่ต้องหลีกเลี่ยง คนส่วนใหญ่เขาดื่มกาแฟกันเป็นประจำ เข้าที่ทำงาน เห็นถือคนละถ้วย คนละแก้ว ดูเหมือนว่า คนที่รู้จัก คุ้นหน้าจะเป็นคนที่ดื่มกาแฟกันกว่า 90% คงไม่ผิดอะไรที่กาแฟจะเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีอนาคตไกล

กาแฟที่มีปลูกกันในประเทศไทยและในอาเซียนได้แก่ พันธุ์โรบัสต้า และพันธุ์ อาราบิก้า ผลผลิตกาแฟของโลก มีประมาณ 8 ล้านตัน เป็นกาแฟอาราบิก้า 62% พันธุ์โรบัสต้า 38% ของประเทศไทยมีผลผลิตคิดเป็น 0.52% ของโลก บ้านเรามีพื้นที่ปลูกกาแฟกว่า 300,000 ไร่ ให้ผลผลิต 41,000 ตัน เป็นกาแฟโรบัสต้า 35,000 ตัน และ อาราบิก้า 6,000 ตัน ความต้องการบริโภคภายในประมาณ 67,000 ตันก็คือผลิตได้ไม่พอกับความต้องการใช้ บางส่วนต้องนำเข้าจากต่างประเทศ กาแฟอาราบิก้ามีปลูกมากที่จังหวัดเชียงราย เป็นกาแฟพื้นที่สูงมีร้านขายกาแฟสดทั่วไปหอมอร่อยส่วนกาแฟโรบัสต้า มีอยู่พื้นที่ล่าง ที่อุตรดิตถ์ก็มีเยอะแถบในสวนทุเรียน ลางสาด ใช่กาแฟโรบัสต้าทั้งนั้น มีมากที่จังหวัดภาคใต้ ระนอง สุราษฎร์ธานี ชุมพร ในระยะนี้กาแฟพันธุ์โรบัสต้าถูกตัดโค่นทำลายทิ้งไปเยอะ มียางพาราเข้าไปแทนที่หมด แต่กาแฟอาราบิก้าเพิ่มขึ้น แต่ก็เพิ่มได้ไม่มากเพราะมีข้อจำกัด เรื่องพื้นที่ที่เหมาะสมจะปลูกได้และทางเหนือเชียงราย น่าน เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน มีพืชอื่นที่ดีกว่ากาแฟปลูกอยู่หลายชนิดการขยายพื้นที่ปลูกจึงทำได้น้อย

ถ้าเราจะส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกกาแฟมากยิ่งขึ้น เราควรพิจารณาเรื่องสภาพพื้นที่ปลูกก่อนสมมุติว่าจะส่งเสริมพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์ต้องดูว่าพื้นที่ไหนเหมาะสม ปลูกแล้วจะให้ผลผลิตดีคุ้มค่าโดยดูว่าพื้นที่นั้นปลูกพืชอื่นที่ให้ผลตอบแทนดีอยู่แล้วมีหรือไม่ กาแฟเป็นพืชยืนต้นประเภทไม้พุ่มอายุยืนหลายปีเก็บเมล็ดเป็นผลผลิตคือเก็บลูกกาแฟนำมาตากแห้ง คั่ว บด จนเป็นกาแฟที่ชงดื่ม หรือเป็นเมล็ดกาแฟที่ส่งไปแปรรูปเป็นกาแฟยี่ห้อต่างๆ เรื่องพันธุ์กาแฟทั้งอาราบิก้า และโรบัสต้า มีข้อจำกัดเกี่ยวพันกับสถานที่ปลูก อาราบิก้าเป็นกาแฟเมืองหนาวปลูกในที่สูงกว่าระดับน้ำทะเล 700 เมตร ขึ้นไป มีอุณหภูมิระหว่าง 15-25 องศาเซลเซียส มีความชื้นสัมพันธ์มากกว่า 60% มีปริมาณฝนไม่ต่ำกว่า 1500 มิลลิเมตรต่อปี มีฝนกระจาย 5 – 8 เดือน พันธุ์แนะนำคือ อาราบิก้าเชียงใหม่ 80 สายพันธุ์คาดิมอร์ CIFC7963 มีแหล่งพันธุ์ดีที่ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ศูนย์บริการวิชาการเชียงราย (ดอยวาวี) ศูนย์พืชสวนเพชรบูรณ์ ศูนย์พืชสวนดอยมูเซอ จังหวัดตาก ถ้าจะปลูกพันธุ์นี้ในพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์ดูเหมือนจะไม่ได้เลย เพราะอุตรดิตถ์ความเย็นไม่พอ อาราบิก้าไม่ให้ผลผลิต ส่วนโรบัสต้านั้นสบายมาก มีที่ลับแลและอำเภอเมือง เยอะอยู่สามารถขยายไปได้ในอีกหลายพื้นที่ มากพื้นที่ด้วย ก็ให้สังเกตว่าที่ไหนปลูกทุเรียน ลางสาด ลองกองได้ กาแฟก็ปลูกได้





ในอีกไม่นานนี้ประเทศไทยจะเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ผลผลิตกาแฟจะทะลักแลกเปลี่ยนหมุนเวียนกันได้ทั่ว ที่จริงแล้วกาแฟได้มีบทบาทในเวทีตลาดการค้าเสรี อาเซี่ยนมาเป็นสิบกว่าปีแล้ว ผลผลิตมีมากระดับอาเซียนคือประเทศเวียดนาม อันดับ 1 อินโดนีเซีย อันดับ 2 ไทย อันดับ 3 ลาว อันดับ 4 ฟิลิปปินส์ อันดับ 5 ผลผลิตรวม 1.9 ล้านตัน คิดเป็น 23% ของโลก ไทยเรา 0.52% ของโลกจะขยายอย่างไรให้ได้สัก 1% ก็จะดี ที่อุตรดิตถ์เคยคิดจะขยายส่งเสริมให้ปลูกกันเมื่อหลายปีก่อน แต่เนื่องจากเป็นการวางแผนที่ผิดพลาดของ CEO ต้องโยนผิดนี้ให้ท่านก็แล้วกัน ไปเชื่อหลักการที่ไหนไม่รู้ ไม่เชื่อหลักเกษตรศาสตร์ บวกกับหลักเศรษฐ- ศาสตร์ ก็เลยต้องบอกว่าล้มเหลว 100 % ไม่ต้องโทษใครหรอก โทษดินฟ้าอากาศอุตรดิตถ์ที่ไม่เป็นใจให้กาแฟอาราบิก้าเจริญพันธุ์ก็แล้วกัน.

อดุลย์ศักดิ์ ไชยราช



http://www.thainews70.com/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%9F%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B8%8A%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88/
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 23/04/2013 1:35 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สถานที่ท่องเที่ยวเชิงเกษตร


ดอยช้างอะคาเดมี่ บ้านดอยช้าง ต.วาวี อ.แม่สรวย จ.เชียงราย

สถานที่สำคัญของดอยช้าง ได้แก่ บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเป็น 1 ใน 9 แห่งของไทย ใกล้ๆ กันมีสวนสมุนไพรเฉลิมพระเกียรติ มีศิลาศักดิ์สิทธิ์ที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสมเด็จพระพุทธสิกชี อันเป็นที่เคารพสักการะของชาวดอย นั่งรถขึ้นไปอีกไม่ไกลนักก็มีจุดชมวิวที่มองลงมาจะเห็นหมู่บ้านดอยช้าง เห็นเชียงรายในอีกมุมหนึ่งด้วย ระหว่างทางจะเห็นทั้งต้นกาแฟ ดอกนางพญาเสือโคร่งหรือซากุระ ดอกลำโพง เพลินตาตลอดทางเลย แม้ทางจะขรุขระก็ตาม

กลับลงมาที่ดอยช้างอะคาเดมี่ ก็เริ่มต้นฟังบรรยายความรู้เกี่ยวกับกาแฟจากอาจารย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่เชี่ยวชาญทางด้านนี้โดยเฉพาะ ได้ความรู้มากมายเลยทีเดียว ไม่ใช่แค่ทฤษฏีอย่างเดียวภาคปฏิบัติก็สนุกสนานน่าดู ใครไม่เคยเห็นผลกาแฟ ก็จะได้เห็น ได้เก็บก็คราวนี้แหละ



“รูปซ้ายบน: ลานตากกาแฟหน้าอะคาเดมี่, รูปขวาบน: หมู่บ้านดอยช้าง, รูปซ้ายล่าง: ที่พักในอะคาเดมี่,




“รูปซ้าย: ผลกาแฟสีเหลือง, รูปขวา: ตระกร้าแบบนี้แหละใช้เอาไปเก็บกาแฟ”




“รูปซ้ายบน: ตากกาแฟ, รูปขวาบน: เมล็กที่เพิ่งแกะเปลือกออก, รูปซ้ายล่าง: ต้นกาแฟ, รูปขวาล่าง: ผลกาแฟบนต้น”




“รูปซ้าย: ผลกาแฟบนต้น, รูปขวา: ผลกาแฟแบบนี้ที่เก็บกัน”




“รูปซ้าย: เทผลกาแฟลงตะกร้าบนเครื่องชั่ง, รูปขวา: ชั่งกาแฟขาย”
“ผลกาแฟที่สุก”
กาแฟที่สุก จะมีสีแดงคล้ายผลเชอร์รี่ เมื่อแกะเปลือกออกจะมีเนื้อรสหวานๆ หลังจากนั้นก็จะสีเปลือกออกจากเมล็ด เอาเมล็ดที่ยังไม่กะเทาะกะลา (เปลือกก่อนเมล็ด) ไปตากจนแห้ง จนมาสีกะลา แล้วก็ต้องมานั่งเลือกเมล็ดกาแฟเมล็ดต่อ เมล็ด กาแฟจะมีการคั่วหลายระดับความเข้มของกาแฟก็อยู่ที่การคั่วนี้แหละ




“รูปซ้าย: อุปกรณ์ในการชงกาแฟแบบต่างๆ, รูปขวา: ลงมือชงกาแฟ”



http://aong1403.blogspot.com/2012_08_01_archive.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 23/04/2013 1:51 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เคยลิ้มรสไหม ? "กาแฟลาว" รสชาติดีติด 1 ใน 3 ของโลก





ที่ราบสูง Bolaven(โบลาเวน) เมืองปากซอง ประเทศลาว หรือ ที่คนลาวเรียกว่า ภูเพียงบอละเวน ถือเป็นแหล่งปลูกกาแฟ "อาราบิก้า" ที่ได้รับการยอมรับว่าติดอันดับ 1 ใน 3 ของโลก ด้วยลักษณะเด่น "รสชาติหอม อร่อย"

ซึ่งสาเหตุที่กาแฟของลาว มีคุณภาพที่ดี เพราะว่า ที่ราบสูงโบลาเวน ซึ่งมีอาณาเขตครอบคลุมแขวงสาละวัน เซกอง จำปาสัก และอัตตะปือ เหมาะแก่การปลูกกาแฟมากที่สุดในโลก เนื่องจากอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลถึง 1,200 เมตร อากาศที่เย็นสบายตลอดทั้งปี เป็นดินภูเขาไฟ ซึ่งมีแร่ธาตุที่เหมาะสมต่อการปลูกกาแฟ

สำหรับความเป็นมาของการปลูกกาแฟนี้ เกิดจากช่วงที่ฝรั่งเศส ยังยึดครองประเทศลาวอยู่ คือ เมื่อต้นศตวรรษที่ 20 นั้น ได้นำกาแฟทั้งพันธุ์โรบัสต้าและอราบิก้า เข้ามาปลูก และหลังจากฝรั่งเศสถูกไล่ออกไปแล้ว ชาวลาว ก็มีการสืบทอดการปลูกกาแฟนี้อยู่ โดยส่วนใหญ่ส่งไปยังประเทศฝรั่งเศสและเวียดนาม

ดังนั้นในปัจจุบัน"กาแฟ" จึงเป็นสินค้าส่งออกอันดับต้นๆ ของประเทศลาว ทั้งในรูปแบบวัตถุดิบ และ สำเร็จรูป ดังนั้นวันนี้ "ตลาดของกาแฟลาว" จึงน่าจับตามองอย่างยิ่ง


ขอบคุณภาพ:
http://slowboat.teamworkz.asia
http://beijingvisitor.blogspot.com



http://m.tnews.co.th/news.php?hotID=50977
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 23/04/2013 1:58 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

http://www.mglobemall.com/contents/dining/id/2009/


"กาแฟขี้ชะมด" กาแฟที่แพงที่สุดในโลก


สวัสดีเช้าวันจันทร์อันแสน..สดใสค่ะเพื่อน ๆ เช้านี้เพื่อน ๆ คนไหนได้สัมผัสลมเย็น ๆ กันบ้างเอ๋ย..อากาศดีดีแบบนี้ ถ้าได้กาแฟร้อนหอม ๆ สักแก้วคงจะดีไม่น้อยเลย.. ทำให้ เจนัวร์ นึกถึงกาแฟที่คนทั้งโลกต่างกล่าวนามกันว่า เป็นกาแฟที่อร่อย และดีที่สุดในโลก..นั้นก็คือ "กาแฟขี้ชะมด" วันนี้เรามาทำความรู้จักเจ้ากาแฟขี้ชะมดกันดีกว่าค่ะ

"กาแฟขี้ชะมด" หรือ Kopi Luwak โคปิ ลูแว็ค เป็นกาแฟโรบัสต้าชนิดหนึ่ง และเป็นกาแฟแพงที่สุดในโลก เนื่องจากขบวนการผลิตอันยุ่งยาก แปลกประหลาด มีออกสู่ต้องตลาดประมาณปีละ 500 ปอนด์ต่อปี ทำให้มันมีราคาประมาณกิโลกรัมละ 41,000 บาท และสามารถผลิตได้เพียงไม่กี่แห่งบนโลกนี้








ในศตวรรษที่ 18 เมื่อชาวดัทช์ยึดเกาะสุมาตรา และเกาะชวา เป็นอาณานิคม เรียกว่า Dutch East Indies พวกเขาได้ยึดเรือกสวนไร่นาเพื่อทำการเกษตรกรรมบนเกาะ ในช่วงราวปี ค.ศ. 1830-1870 หนึ่งในการ เกษตรบนเกาะก็คือไร่กาแฟ ซึ่งชาวดัทช์ได้ห้ามชาวนาและชาวพื้นเมืองเด็ดผลกาแฟสุกจากต้นไปใช้เอง แต่ชาวพื้นเมืองก็มีความต้องการที่จะดื่มกาแฟสด จึงได้พยายามหาวิธีลักลอบเด็ดผลกาแฟ



(ที่มา : coffeedd.com)


จนกระทั่งต่อมา ชาวพื้นเมืองพบว่าสัตว์ชนิดหนึ่งที่เรียกว่า "ลูวะ" กินผลกาแฟและถ่ายมูลออกมาเป็นเมล็ดกาแฟเต็มเมล็ดโดยไม่ได้ย่อยสลาย พวกเขาจึงเก็บมูลเหล่านั้น ทำความสะอาด คั่ว และบดเพื่อนำมาทำเป็นกาแฟ และพบว่ามีรสชาติแปลกใหม่ ไม่มีความขม จึงเป็นที่นิยมในหมู่ชาวพื้นเมืองอย่างมาก ต่อมาชื่อเสียงของกาแฟชนิดนี้ก็ได้แพร่กระจายไปจนกระทั่งชาวดัทช์เองเสนอให้ราคาแก่ผู้ที่เก็บขี้ชะมดได้สูงมาก นั่นเป็นที่มาของกาแฟขี้ชะมด จะเห็นว่าด้วยความหายากและการผลิตที่ยากลำบาก "กาแฟขี้ชะมด" จึงมีราคาแพงมาก แม้แต่ในสมัยยุคล่าอาณานิคม และในปัจจุบันนั่นเอง ซึ่งประเทศที่ผลิตได้ก็มีดังต่อไปนี้


ประเทศอินโดนีเซีย ที่เกาะสุมาตรา (Sumatra) , เกาะจาวา ( Java ) เกาะสุลาเวสี ( Sulawesi )
ประเทศฟิลิปปินส์ ( จะเรียกกาแฟชนิดนี้ว่า Kape Alamid )
ประเทศทิมอร์ ( จะเรียกกาแฟชนิดนี้ว่า kafé-laku )
ประเทศเวียดนาม ( จะเรียกกาแฟชนิดนี้ว่า weasel coffee )





ขบวนการผลิต โคปิ ลูแว็ค ( Kopi Luwak )






1. ปลูกกาแฟในที่ที่มีสัตว์ที่เรียกว่า ชะมดสายพันธ์เอเซีย (Asia Palm Civet) แต่ชาวพื้นเมืองจะเรียกชะมด ชนิดนี้ว่า "ลูแว็ค"
2. เม็ดกาแฟสุกชะมดมากิน เม็ดกาแฟที่สุก
3. เมื่อชะมดกินเม็ดกาแฟเข้าไป กรดและเอนไซม์ในกระเพาะอาหารของชะมดทำปฏิกิริยาทางเคมี คล้ายกับการหมัก(Fermentation)
4. รอชะมดถ่ายมูลออกมา แล้วตามเก็บ แต่สามารถรวบรวมได้ค่อนข้างง่าย เนื่องจากชะมดมีนิสัยขับถ่ายในสถานที่เดิมๆ เสมอ
5. นำมูลที่ได้มาเลือกเฉพาะเม็ดกาแฟ
6. นำเม็ดกาแฟที่ได้ไปตากให้แห้ง
7. นำเม็ดกาแฟที่ตากแห้งดีแล้วมาคั่วจนแห้งสนิด เป็นอันจบขบวนการผลิต โคปิ ลูแว็ค


แมสสิโม มาร์โคเน ยังค้นพบว่า กระบวนการย่อยอาหารของชะมด ต้องผ่านแบคทีเรียและ เอนไซม์ในท้องของชะมด เป็นกรรมวิธีเดียวกับการหมักกาแฟแบบหนึ่งที่เรียกว่า "การหมักเปียก" และยังใช้แบคทีเรียชนิดเดียวกันด้วย คือ แบคทีเรียแล็กติกเอซิด มาร์โคเนมั่นใจว่าการหมักกาแฟเปียกน่าจะให้ผลใกล้เคียงกับกาแฟที่ผ่านการย่อยในท้องของชะมดแต่ยังอยู่ในขั้นตอนการทดลองความพยายามเลียนแบบ โคปิ ลูแว็ค ( Kopi Luwak )

แมสสิโม มาร์โคเน นักวิจัยแห่งมหาวิทยาลัยออนแทรีโอ ประเทศแคนาดา ใช้เวลาสืบเสาะอยู่นานกว่าจะพบว่า ในป่าแห่งหนึ่งของประเทศเอธิโอเปีย มีชะมดกัดกินกาแฟ แต่จากการทดสอบรสชาติก็ยังด้อยกว่าของอินโดนิเซีย เนื่องจากเป็นชะมดต่างพันธุ์กัน

ทำไมกาแฟ โคปิ ลูแว็ค ( Kopi Luwak ) จึงอร่อย ??
1. ขบวนการย่อยอาหารของชะมด ทำให้โปรตีนในเมล็ดกาแฟแตกตัวเป็นโมเลกุลขนาดเล็ก เวลานำเมล็ดกาแฟชนิดนี้ไปคั่วบดจะมีกลิ่นหอมเป็นพิเศษ

2. ขบวนการย่อยอาหารของชะมด ทำให้โปรตีนบางชนิดในเม็ดกาแฟ ถูกสกัดออกเมื่อนำไปคั่วแล้ว กาแฟจะมีรสชาติขมน้อยลงนิดหน่อย

3. มันผลิตจากอึของชะมด แต่สำหรับใครที่ชื่นชอบกาแฟ แล้วอยากลิ้มลองรสชาติของเจ้ากาแฟขี้ชะมด เจนัวร์ ขอกระซิบว่า ..เมืองไทยมีขายแล้วนะคร้า.. ที่ร้าน กาแฟดอยช้าง ถึงแม้ราคาค่อนข้างจะสูงสักนิด ขอบอกว่ารสชาติคุ้มค่ากับราคามาก ๆ เจนัวร์ คอนเฟิร์ม!!



(ที่มา : Doichang)

เรียบเรียงข้อมูลโดย : เจนัวร์
ขอขอบคุณข้อมูล : phairintr.readyplanet.org
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 23/04/2013 9:52 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.






คลิกที่ "ดาวน์โหลดเป็นไฟล์ภาพขนาดใหญ่"
http://www.hrdi.or.th/media/detail/1645/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%9F%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E/

.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 24/04/2013 7:08 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 23/04/2013 10:04 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เวียดนาม-ปลูกกาแฟด้วยสารอาหารชีวภาพ





ปี 2555 เวียดนามส่งออกกาแฟมากที่สุดในโลกแต่กลับประสบปัญหา เนื่องจากร้อยละ 30 ของพื้นที่ปลูกกาแฟทั้งหมดยังให้ผลผลิตน้อยและมีคุณภาพต่ำ ซึ่งปัญหาดังกล่าวอาจเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 50 ในอีก 10 ปีข้างหน้า หากไม่มีการพัฒนาวิธีการปลูกกาแฟให้มีประสิทธิภาพ

ผู้เชี่ยวชาญจึงได้พัฒนาฮอร์โมนพืช หรือสารอาหารชีวภาพ ที่ช่วยเร่งการเจริญเติบโตของต้นกาแฟ ซึ่งถือเป็นวิธีการปลูกกาแฟแบบยั่งยืน เหมาะกับสภาพอากาศที่แปรปรวน

ส่วนที่เมืองดักลัค จัดเทศกาลกาแฟขึ้นเพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรหันมาปลูกกาแฟแบบยั่งยืน โดยใช้ฮอร์โมนพืชเร่งผลผลิต ซึ่งเจ้าของไร่กาแฟคนนี้กล่าวว่า ปลูกกาแฟด้วยวิธีนี้มา 1 ปีแล้ว และฮอร์โมนดังกล่าวช่วยเร่งการเจริญเติบโตของต้นกาแฟ ทั้งยังให้ผลผลิตเมล็ดใหญ่และมีคุณภาพอีกด้วย

นอกจากนี้ ประธานสมาคมกาแฟและโกโก้แห่งเวียดนาม ยังแนะด้วยว่า กาแฟที่ผ่านการรับรองคุณภาพตามมาตรฐาน VietGAP จะทำให้ราคาที่สูงขึ้น โดยปัจจุบันเวียดนามส่งออกกาแฟอยู่ที่ราคาตันละประมาณ 900-1,200 บาท ซึ่งถือว่าถูกกว่าประเทศอื่นๆ


http://www.krobkruakao.com/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7/69795/%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A1-%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%9F%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 24/04/2013 6:51 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.

@@ บำรุงแบบ “8 ขั้นตอนบำรุงไม้ผล” :

คลิก.
http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=23
กาแฟ....


@@ บำรุงแบบเหมาจ่าย :
- ระยะต้นเล็ก ยังไม่ให้ผลผลิต :
.... ทางใบ : แม็กเนเซียม. สังกะสี. (ไบโออิ) + ยูเรีย จี. สลับ แคลเซียม โบรอน. 20 วัน/ครั้ง
.... ทางราก : ยิบซั่ม กระดูกป่น ขี้วัวขี้ไก่ ใบไม้แห้งหญ้าแห้ง คลุมโคนต้นหนาๆ ปีละ 2 ครั้ง, ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 เดือนละครั้ง, ให้น้ำสม่ำเสมอ ถ้าขาดน้ำใบไหม้ แห้ง

- ระยะต้นโต ให้ผลผลิตแล้ว (เปิดตาดอก – บำรุงผล – เก็บเกี่ยว) :
.... ทางใบ : “น้ำ 200 ล. + น้ำส้มสายชู 200 ซีซี. + ฮอร์โมนไข่ไทเป 100 ซีซี. + ไบโออิ 100 ซีซี. + สมุนไพร 1-2 ล.” สลับ แคลเซียม โบรอน. ทุก 20 วัน
.... ทางราก : ยิบซั่ม กระดูกป่น ขี้วัวขี้ไก่ ใบไม้หญ้าแห้งคลุมโคนต้นหนาๆ ปีละ 2 ครั้ง, ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 8-24-24 (+8-24-24 ต้นละ 100 กรัม) เดือนละครั้ง, ให้น้ำสม่ำเสมอ ถ้าขาดน้ำใบไหม้ แห้ง


@@ การปลูกต้นกาแฟ การเก็บ การแปรรูปจนกระทั่งได้กาแฟรสชาดที่ดีไม่ใช่เรื่องง่าย เมื่อไม่พร้อมก็เปลี่ยนรูปแบบธุรกิจ จากขายกาแฟสำเร็จรูป ปลูกเอง-เก็บเอง-แปรรูปเอง-ชงเอง-ขายเอง ครบวงจรจนกระทั่งพร้อมดื่มพร้อมขาย มาเป็นขายบรรยากาศกาแฟ โดยเอากาแฟสูตรต่างๆทั่วโลกมาชงขาย ไม่ว่าจะเป็น เอสเปสโซ่. อเมริกาโน่, คาปูซิโน่. ตุงฮู. สามล้อ.

@@ กาแฟเป็นอาหารของคนมีเงิน นอกจากรสชาดของอาหารปากแล้ว รสชาดของอาหารตาและความรู้สึกในการจิบกาแฟก็มีส่วนด้วย ทำสวนท่องเที่ยวเชิงเกษตรเอาธรรมชาติมาเป็นจุดขาย จะเป็นเกษตรแบบไหนก็ว่าไป ให้ลูกค้าจิบกาแฟไต้ซุ้มต้นกาแฟ

@@ บราซิล ไต้หวัน มี COFFEHOUSE ขายดิบขายดี ต้องจองคิวล่วงหน้า ลูกค้าผู้ชายติดกาแฟง็อมแง็ม .... เหมือนหัวลำโพง เยาวราช มี TEASHOP ลูกค้าติดน้ำชาง็อมแง็ม

@@ ว่ามั้ย เทคโนโลยีที่ยากที่สุด คือ เทคโนโลยีการตลาด


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©