-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-นิทานน้ำเน่า "คนไม่แพ้คน (โว้ย....)"
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร รายการวิทยุ 29 SEP.... ยางพาราใบไหม้, ลูกพลับลูกพรุน, อกร่องสุกเนื้อเละ, เฟื่องฟ้าไม่ออกดอก, พริกใบหงิก, มะนาววงปูนใบเหลือง, ข้าวหัวหงอก, ฟักทองไม่ติดลูก, ข้าวออกรวง, บอนไซ, ย่ำเทือกประณีต
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร รายการวิทยุ 29 SEP.... ยางพาราใบไหม้, ลูกพลับลูกพรุน, อกร่องสุกเนื้อเละ, เฟื่องฟ้าไม่ออกดอก, พริกใบหงิก, มะนาววงปูนใบเหลือง, ข้าวหัวหงอก, ฟักทองไม่ติดลูก, ข้าวออกรวง, บอนไซ, ย่ำเทือกประณีต

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11559

ตอบตอบ: 29/09/2013 8:57 pm    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร รายการวิทยุ 29 SEP.... ยางพาราใบไหม้, ลูก ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

size=18] ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร รายการวิทยุ 29 SEP [/size]

AM 594 เวลา 08.10-09.00 & 20.05-20.30 ทุกวัน และ FM 91.0 (07.00-08.00) วันอาทิตย์

********************************************************************

สวัสดีครับ ท่านผู้ฟังที่เคารพ
กองทัพบกเพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตร และอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดยกองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก

@@ สนับสนุนรายการโดย ...
... บ.นิมุติ เอ็นจิเนียริ่ง เครื่องย่อยเศษพืช (02) 322-9175-6
... ยิบซั่มธรรมชาติ เฟอร์มิกซ์--- ธาตุรอง/ธาตุเสริม มัลติแชมป์ (089) 144-1112
... และ บ.มายซัคเซส อะโกร--- ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, กาวเหนียวดักแมลง มายฟิกส์, กลิ่นล่อแมลงวันทอง ฟลายแอต, สารเสริมฤทธิ์สารสมุนไพร ไบโอเจ๊ต, ถังฉีดพ่นรุ่นใหม่ ใช้แบตเตอรี่ (081) 910-5034

กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการครับ เช่นเคยครับ รายการเรา 1188 สายด่วน 4 ตัว ฝากข้อความ-ฝากคำถาม-ฝากข่าว ก่อนเริ่มรายการที่ โทรศัพท์มือถือส่วนตัว (081) 913-4986

---------------------------------------------------------------------------------------------------------


ตัวแทนจำหน่าย ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง, ไบโออิ, ไทเป, ยูเรก้า. (อินทรีย์ – เคมี)

1) ชมรม (ใหญ่) ใกล้ไฟแดง สี่แยกบางแพ ราชบุรี (089) 814-3204
2 )“คุณชาตรี” (081) 841-9874 ทรัพย์ทวีการเกษตร ชัฎป่าหวาย สวนผึ้ง ราชบุรี (ส่งทาง ปณ.)

3) ร.ต.ต.นันท์สุรัตน์ (089) 821-8273 ต.จรเข้เผือก ด่านมะขามเตี้ย กาญจนบุรี (สั่งทาง ปณ.)
4) “คุณล่า” (081) 944-8494 ทุกวันจันทร์ ตลาดนัดวัดอมรญาติ ดำเนินสดวก ราชบุรี

5) “คุณประเสริฐ” (080) 110-4645 บ.เขาดิน หนองแขม เดิมบางนางบวช สุพรรณบุรี
6) “คุณอรุณ” ในร้านโครงการหลวง ตลาด อตก.

7) “คุณพรพรรณ” (089) 814-7944 พลชัยเกษตรชีวภาพ ตลาดนัดธนบุรี ถ.เลียบคลองทวีวัฒนา
8 ) “คุณน้ำส้ม” (085) 055-7706 ชมรมฯ สาขาศาลายา หน้า ม.มหิดล พุทธมณฑลสาย 4 (ส่งทาง ปณ.)

-------------------------------------------------------------------------------------------------------


จาก : สมช. สวพ. FM. 91.0 (07.00 – 08.00 / อาทิตย์)
ข้อความ : (เปิดรายการ) ..... เดือนหน้า ต.ค. ต่อ พ.ย. ปลายฝนต้นหนาว ไม้ผลประเภทออกดอกหน้าหนาว (ธ.ค. ต่อ ม.ค.) ให้บำรุงทางใบด้วย แม็กเนเซียม-สังกะสี. กับ แคลเซียม โบรอน. ควบคู่กับทางรากใส่ 8-24-24 จะช่วยให้ออกดอกดี ....

ถาม : กล้วย 5 เดือน ใบเหลืองเน่า แก้ไขอย่างไร....?

ตอบ :
- ลักษณะอาการนี้ภาษาวิชาการเรียกว่า “โรคตายพราย” เป็นเชื้อไวรัส ปัจจุบันในโลกนี้ยังไม่มีสารเคมีใด ไม่มีสารสมุนไพรใด กำจัดเชื้อโรคตัวนี้ได้ เป็นแล้วเป็นเลย ถ้าผ่าต้นดูข้างในจะเห็นเนื้อในเน่า

- เกิดเองตามธรรมชาติเมื่อดินเป็นกรดจัด เนื่องจากน้ำขังค้าง (ฝนตกบ่อย) หรือใส่กรดลงไป (ย่าฆ่าหญ้า สารเคมี ปุ๋ยเคมีเหลือตกต้างในดิน)

- ให้ตัดกล้วยต้นนั้นทิ้ง ขุดดินปากหลุมปล่อยตากแดด เอาหญ้าแห้งคลุมแล้วเผาฆ่าเชื้อ หยุดปลูกกล้วยแต่ให้ปลูกพืชอื่นแทนเพื่อตัดวงจรชีวิตเชื้อโรคตัวนี้

-------------------------------------------------------------------------------------------------------



จาก : สมช. สวพ. FM. 91.0 (07.00 – 08.00 / อาทิตย์)
ข้อความ : ยางพารา เป็นโรคใบไหม้ แก้ไขอย่างไร.....?

ตอบ :
- ขาด ธาตุรอง/ธาตุเสริม อย่างรุนแรง แก้ไขโดยให้ทางใบสม่ำเสมอ
- เป็นเชื้อรา เกิดมากในช่วงหน้าฝน ใช้สมุนไพร “เผ็ดจัด” ฉีดพ่นบ่อยๆ เก็บใบแก่ที่ร่วงเผาทิ้งเพื่อกำจัดต้นตอของเชื้อ

- เสริมภูมิต้านทานต้นโดยใส่อินทรีย์วัตถุ ยิบซั่ม ปุ๋ยคอก ให้น้ำหมักชีวภาพสูตรไหนก็ได้ที่มีทั้งสารอาหารสำหรับยางพารา จุลินทรีย์ และสารอาหารสำหรับจุลินทรีย์ประจำถิ่น

-------------------------------------------------------------------------------------------------------



จาก : สมช. สวพ. FM. 91.0 (07.00 – 08.00 / อาทิตย์)
ข้อความ : ลูกพรุนปลูกในเมืองไทยได้ไหรือไม่.....?

ตอบ :
- ลูกพลับ-ลูกพรุน-ลูกไหน คือ ตัวเดียวกัน .... ลูกพลับ คือ ผลไม้กินสด เมื่อเอาลูกพลับไปตากแดด เรียกว่า ลูกพรุน (ลูกพรุน คือ ลูกพลับตากแห้ง) ส่วนลูกไหน (น่าจะเขียนว่า “หนัย” เป็นภาษาจีน แปลว่า ลูกพลับ)

– ที่ปลูกๆ กันเรียกว่าต้นพลับนั้น ลูกที่ออกมาก็เรียกว่าลูกพลับ เริ่มต้นจากโครงการหลวงแล้วส่งเสริมให้เกษตรกรปลูก ปลูกกันมากในเขตภาคเหนือที่สภาพอากาศหนาวเย็น ออกดอกราวเดือน มี.ค. ผลแก่เก็บเกี่ยวได้ราวเดือน ส.ค.

– แง่คิดหนึ่ง คือ ยางพาราจากภาคไต้ขึ้นไปปลูกที่เชียงรายได้, กาแฟอาราบิก้าจากภาคเหนือ กาแฟโรบัสต้าจากภาคไต้ เอามาปลูกที่กาญจนบุรีได้, กับอีกหลายๆพืชที่ไม่คาดคิดมาก่อนว่า สามารถปลูกต่างถิ่นได้ เพราะฉะนั้น หากจะปลูกต้นพลับบ้างก็น่าจะได้ ... แม้แต่อินทผลัม มะกอกโอลีฟ ไม้ทะเลทรายแท้ๆ เดี๋ยวนี้ปลูกกันเกลื่อนประเทศไทย ผลผลิตดีไม่แพ้ถิ่นฐานเดิมด้วย

-------------------------------------------------------------------------------------------------------



จาก : สมช. สวพ. FM. 91.0 (07.00 – 08.00 / อาทิตย์)
ข้อความ : ขี้วัวใส่ต้นพืชได้หรือไม่.....?

ตอบ :
- โถ .... พ่อเจ้าประคุณ ขี้วัวก็คือปุ๋ยมูลสัตว์หรือปุ๋ยคอก นอกวัวแล้ว ควาย ไก่ หมู เป็ด ช้าง ม้า ค้างคาว นกพิราบ นกกะทา กับทุกชนิดสัตว์ ขี้ที่ถ่ายออกมาคือ ปุ๋ยมูลสัตว์หรือปุ๋ยคอกทั้งสิ้น แม้แต่ที่คนขับถ่ายออกมาก็ถือว่าเป็นปุ๋ยมูลสัตว์หรือปุ๋ยคอกเหมือนกัน

- คำว่า ”ปุ๋ย” หมายถึง “สารอาหารของพืช” โดยนัยแล้วก็เหมือนกับสารอาหารคน เพียงแต่ตั้งชื่อเรียกต่างกันเท่านั้น .... สรุป : คน/สัตว์ เรียกว่าอาหาร, พืชเรียกว่า ปุ๋ย

- ในมูลสัตว์แต่ละชนิดมีสารอาหารพืชแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับอาหารที่สัตว์นั้นๆกิน กับระบบย่อยอาหารภายในร่างกายของสัตว์ เช่น วัวไล่ทุ่งกับวัวเนื้อวัวนม, ขี้วัวกับขี้ไก่ขี้ค้างคาวขี้นกกะทา .... ในความแตกต่างของสารอาหารจากมูลสัตว์แต่ละชนิด ย่อมมีผลต่อการเจริญเติบโตของพืชด้วย เพราะฉนั้น เมื่อจะใช้ปุ๋ยมูลสัตว์หรือปุ๋ยคอกจึงควรใช้มูลสัตว์หลายๆอย่างผสมกัน

– ในมูลสัตว์มีเปอร์เซ็นต์เนื้อสารอาหารพืชไม่มาก แต่ข้อดีของมูลสัตว์ คือ ทำให้ดินดี มีจุลินทรีย์มาก เมื่อใส่ลงไปในดินแล้วทำให้ดินดี เมื่อดินดีก็จะทำให้ปุ๋ยเคมีเกิดประสิทธิภาพ แม้จะใส่น้อยก็ทำให้พืชเจริญเติบโตได้ ตรงกันข้าม หากดินไม่ดีซึ่งเกษตรกรทั่วไปเรียกว่า “ดินไม่กินปุ๋น-ดินตาย” แบบนี้ถึงใส่ปุ๋ยเคมีลงไปมากๆก็ไม่เกิดประสิทธิภาพ ทำให้สิ้นเปลืองเงิน แถมทำให้ดินเสียหนักขึ้นอีก เพราะฉะนั้นจึงควรใช้ปุ๋ยมูลสัตว์ กับ ปุ๋ยเคมี ร่วมกันหรือผสมผสาน

-------------------------------------------------------------------------------------------------------



จาก : สมช. สวพ. FM. 91.0 (07.00 – 08.00 / อาทิตย์)
ข้อความ : มะม่วงอกร่อง สุกแล้วเนื้อในเละ เป็นเพราะอะไร .....?

ตอบ :
- มะม่วงทุกสายพันธุ์เกิดลักษณะอาการนี้ได้เหมือนกันหมด เนื่องจากเก็บตอนแก่เกิน หรือเริ่มสุกคาต้น (ห่ามหรือสุกปากตะกร้อ) ลักณะอาการสุกแบบนี้เหมาะสำหรับ “กินเปล่า” ไม่เหมาะกับ “ข้าวเหนียวมูล” เพราะเนื้อในนิ่มแต่เนื้อนอกแข็งกรอบ หวานไม่สนิท หรือหวานอมเปรี้ยว

- ต้องการมะม่วงกินสุก เนื้อในติดเมล็ด ถึง เนื้อติดเปลือก สุกเท่ากัน ต้องเก็บขณะผลแก่ 85-90% บนต้น แล้วนำมาบ่ม

- บ่มมะม่วงด้วยใบขี้เหล็ก ใบแจง จะช่วยให้ผลสุกเท่ากันทั่วผล และทุกผลในถังบ่มเดียวกันสุกเหมือนๆกัน

-------------------------------------------------------------------------------------------------------



จาก : สมช. สวพ. FM. 91.0 (07.00 – 08.00 / อาทิตย์)
ข้อความ : เฟื่องฟ้ากระถาง ไม่ออกดอก แก้ไขอย่างไร....?

ตอบ :
- สังเกตุเฟื่องฟ้าริมรั้วในชนบท ไม่เคยให้น้ำ ยิ่งแล้งยิ่งออกดอก นั่นคือ ไม่ต้องการน้ำมาก

- เฟื่องฟ้าในกระถางน้ำมาก คนให้ + เทวดาให้ แก้ไขโดยยกกระถางให้สูงจากพื้น 1-2 ฝ่ามือ เพื่อสะเด็ดน้ำในถัง งดน้ำ (ทั้งคนให้และเทวดาให้) เด็ดขาด จนกว่าจะใบสลด สังเหตุใบสลดช่วงบ่ายโมงถึงบ่าย 4 โมง ติดต่อกัน 3 วัน จากนั้นใส่ปุ๋ยเคมี 8-24-24 (1-2 ช้อนกาแฟ) ละลายน้ำรดโคนต้น แล้วรดน้ำต่อทุกวัน ๆละครั้ง เมื่อต้นเฟื่องฟ้าฟื้นขึ้นมาได้ จะแตกยอดใหม่แล้วออกดอกตามมา ดอกออกมาแล้วให้น้ำน้อยๆ พอหน้าดินชื้น 2-3 วันต่อครั้ง

-------------------------------------------------------------------------------------------------------



จาก : สมช. สวพ. FM. 91.0 (07.00 – 08.00 / อาทิตย์)
ข้อความ : ลีลาวดี กิ่งเน่า ยอดเหลือง แก้ไขอย่างไร....?

ตอบ :
- ต้นไม้พูดด้วยใบบอกด้วยราก อาการนี้ถ้าแหวกหน้าดินดูรากจะพบว่ารากเริ่มเน่า นี่คือ “โรครากเน่า” นั่นเอง

- สาเหตุเกิดจากดินเป็นกรด เพราะน้ำขังค้าง เนื่องจากฝนตกบ่อย น้ำไม่ออกแต่ขังค้างทั้งบนดินไต้ดินบริเวณโคนต้น แก้ไขโดยการ พรวนดิน-พูนดิน โคนต้น พร้อมกับใส่ยิบซั่ม ปุ๋ยคอก ปุ๋ยอินทรีย์ลงไป ช่วงฝนตกบ่อยไม่ต้องให้น้ำ

-------------------------------------------------------------------------------------------------------



จาก : สมช. สวพ. FM. 91.0 (07.00 – 08.00 / อาทิตย์)
ข้อความ : พริกใบหงิก ไม่มีแมลงอะไรรบกวน แก้ไขอย่างไร....?

ตอบ :
- เกิดจาก เพลี้ยไฟ-ไรแดง เข้าทำลาย ตัวเล็กมาก เล็กกว่าปลายเข็ม มองไม่เห็นหรอก ต้องใช้แว่นส่องพระดูจึงจะเห็น

- แมลงปากกัดปากดูด 2 ตัวนี้ มาตอนเที่ยงวัน วันไหนแดดจัดเพลี้ยไฟจะมา วันไหนไม่ดีแดดแต่อากาศร้อนไรแดงจะมา การกำจัดใช้ “น้ำเปล่า หรือ น้ำ + สมุนไพรเผ็ดจัด” แต่มีข้อแม้ต้องฉีดตอนเที่ยง จึงจะได้ผล

- ลักษณะใบที่เพลี้ยไฟทำลาย ขอบใบจะงอขึ้น ถูกไรแดงทำลาย ขอบใบจะงอลง
- แมลง 2 ตัวนี้เป็นพาหะนำเชื้อไวรัส เมี่อต้นพริกได้รับเชื้อไวรัสแล้ว ใบจะหงิกงอ เหลือง เล็ก ต้นไม่โตต่อ ให้ผลผลิตต่ำ ไม่ช้าก็ตาย

-------------------------------------------------------------------------------------------------------



จาก : สมช. สวพ. FM. 91.0 (07.00 – 08.00 / อาทิตย์)
ข้อความ : มะนาวในวงปูน ยอดเหี่ยว ใบเหลือง แก้ไขอย่างไร....?

ตอบ :
- สาเหตุเพราะ .... 1) ขาดสารอาหารอย่างรุนแรง ..... 2) น้ำขังค้างที่ก้นวงปูนจนรากเน่า

- มะมาวเป็นไม้ใหญ่ยืนต้นกินผล อายุ 30-40-50 ปี ระบบรากมากแผ่กระจายทั่วพื้นที่ สารอาหารธรรมชาติจากนอกวงปูนเข้าไปหารากมะนาวในกระถางไม่ได้ ส่วนรากมะนาวในกระถางก็ออกไปไม่ได้ ในเมื่อมะนาวต้องการสารอาหาร (ปุ๋ย) 14 ตัว แต่คนปลูกให้ไม่ครบ จึงทำให้ต้นมะนาวขาดสารอาหารอย่างรุนแรง .... วงปูนที่ปลูกมะนาว ก้นวงปูนปิดตายป้องกันน้ำเข้า แต่น้ำข้างในก็ออกไม่ได้ น้ำที่รดให้ลงไปรวมกันอยู่ที่ก้นวงปูน กลายน้ำเป็นขังค้าง เมื่อนำขังค้างมะนาวก็รากเน่า เมื่อรากเน่าก็เกอดอาการยอดเหี่ยว ใบเหลือง นี่เป็นผลมาจากรากเน่า ชัดเจน .... การปลูกมะนาวในวงปูน วัตถุประสงค์เพื่อควบคุมน้ำแล้วให้ออกดอกในเดือน ต.ค. ซึ่งจะได้ผลแก่ช่วงเดือน เม,ย. เป็นมะนาวหน้าแล้งราคาดี การควบคุมน้ำ คือ งดน้ำ (ปรับ ซี/เอ็น เรโช) ในช่วงเดือน ส.ค. – ก.ย. โดยใช้พลาสติกปิดปากวงปูน ไม่ให้น้ำฝนตกลงไปเด็ดขาด กระทั่งเปิดตาดอกแล้วจึงเอาพลาสติกปิดวงปูนออก ถ้าก้นวงปูนปิดสนิท น้ำเข้าไม่ได้ ออกไม่ได้ การควบคุมน้ำจึงส่งผลเสียต่อระบบรากมะนาวในที่สุด .... อยากบอกว่า มะนาววงปูนเป็นกระแสรซะมากกว่า เอาจริงๆเข้า ต้นไม่โต อายุสั้น ให้ผลผลิตน้อย .... แนวทางแก้ปัญหาที่ดีที่สุด คือ ทำแปลงแบบลูกฟูก สันแปลงสูงๆ สูงกว่าสถิติน้ำท่วมสูงสุดในพื้นที่ 30-50 ซม. สันแปลงแบบนี้นอกจากไม่อุ้มน้ำแล้ว ยังควบคุมปริมาณน้ำไต้รากได้อีกด้วย

-------------------------------------------------------------------------------------------------------



จาก : สมช. สวพ. FM. 91.0 (07.00 – 08.00 – อาทิตย์)
ข้อความ : ชมพู่มะเหมี่ยวดอกร่วง แก้ไขอย่างไร....?

ตอบ :
- ขาดปุ๋ย และฮอร์โมนบำรุงดอก

- ช่วงนี้หน้าฝน บำรุงดอกด้วย 0-52-34 ถ้าเป็นช่วงแล้ง บำรุงดอกด้วย 15-30-15 โดยให้สลับกับ แคลเซียม โบรอน หางกันรอบละ 5-7 วัน เริ่มให้ตั้งแต่ดอกตูม จนกว่าจะติดเป็นผล

- หน้าฝนน้ำมาก ธรรมชาติต้นไม้ผล ถ้ามีดอกหรือผลเล็ก จะสลัดดอกหรือผลเล็กทิ้ง แล้วแตกยอดใหม่แทน เพราะฉะนั้น ช่วงมีดอกก็ต้องใส่ปุ๋ยทางราก 8-24-24 ร่วมด้วย เปิดหน้าดินโคนต้น ทำช่องทางระบายน้ำอย่าให้ขังค้างโคนต้น

- การบำรุงต้นแบบ “สะสมควมสมบูรณ์” ตั้งแต่ก่อนออกดอกหรือตลอดปี ทั้งช่วงที่มีดอกผลและไม่มีดอกผลบนต้น ช่วยให้ต้นสมบูรณ์แข็งแรง เลี้ยงดอกเลี้ยงลูกได้ดี

-------------------------------------------------------------------------------------------------------



จาก : สมช. สวพ. FM. 91.0 (07.00 – 08.00 / อาทิตย์)
ข้อความ : ข้าวหัวหงอก แก้ไขอย่างไร.....?

ตอบ :
- เกิดจากแมลงปากกัดปากดูด กัดกินเยื่อที่ผิวใบจนเหลือแต่เนื้อในของใบ ชาวนาเรียกว่า “ข้าวหัวหงอก” แก้ไขด้วยการฉีดสารสมุนไพร “เผ็ดจัด-ขมจัด” ต้องทำตั้งแต่ก่อนเกิดระบาด เมื่อระบาดแล้วต้องฉีดพ่นถี่ขึ้น อาจจะวันเว้นวัน อย่างน้อย 2-3 รอบ ก็พอช่วยได้บ้าง

- ในนาหว่านที่ต้นข้าวขึ้นถี่ เบียดกันแน่น มีโอกาสเกิดโรคนี้และโรคอื่นๆง่ายกว่าข้าวนาดำ ที่ต้นข้าวขึ้นห่างๆ
- การใส่ยูเรียมากเกิน ระดับน้ำในนาสูง ทำให้ต้นช้าวอวบ ก็เป็นตัวล่อให้ศัตรูพืชเข้าหา
- ข้าวเป็นพืชที่มีศัตรูพืชมากที่สุด มากถึง 200 รายการ

-------------------------------------------------------------------------------------------------------



จาก : สมช. สวพ. FM. 91.0 (07.00 – 08.00 / อาทิตย์)
ข้อความ : ฟักทองไม่ติดลูก แก้ไขอย่างไร.....?

ตอบ :
- เพราะดอกไม่ได้รับการผสม ดอกฟักทองพร้อมรับการผสมตอน 9 โมงถึงเที่ยง เนื่องจากหน้านี้ฝนชุก แมลงธรรมชาติโดยเฉพาะผึ้งไม่ออกหากิน จึงใม่มีแมลงช่วยผสมเกสรให้ แนวทางแก้ไข คือ ช่วยผสมด้วยมือ เอาเกสรดอกตัวผู้ไปผสมให้กับเกสรดอกตัวเมีย ก็จะช่วยให้ดอกตัวเมียนั้นกลายเป็นผลได้ .... ฟักทอง 1 ต้น เอาผลเดียวเท่านั้น การช่วยผสมเกสรด้วยมือจึงไม่ใช่เรื่องยุ่งยาก .... สำคัญแต่ว่า ดอกไหนตัวผู้ ? ดอกไหนตัวเมีย ? ดอกที่พร้อมรับการผสมลักษณะเป็นอย่างไร ? วิธีผสมทำอย่างไร ? เท่านั้นต่างหาก

-------------------------------------------------------------------------------------------------------



จาก : สมช. สวพ. FM. 91.0 (07.00 – 08.00 / อาทิตย์)
ข้อความ : เยอบิร่า ฝนชุกก้านดอกหัก ที่ใบมีจุดเหลือง แก้ไขอย่างไร....?

ตอบ :
- ก้านดอกหักเพราะน้ำหนักน้ำฝน ให้มีซาแลนบังด้านบน

- ใบมีจุดเหลือง เกิดจากเชื้อรา เรียกว่า “โรคใบจุด” แก้ไขด้วยการฉีดพ่นสารสมุนไพร “เผ็ดจัด” บ่อยๆ หรือฉีดพ่นทุกครั้งหลังฝนตก

- เชื้อโรคตัวนี้เกิดเองในดินเมื่อดินเป็นกรดจัด เกิดแล้วปลิวตามลมไปเกาะที่ใบพืช แล้วซึมเข้าไปในเนื้อใบพืช แก้ไขด้วยการ พรวนดิน-พูนดี ใส่ยิบซั่ม ปุ๋ยอินทรีย์ ทำช่องทางระบายน้ำ อย่าให้ขังค้าง เพื่อป้องกันดินเป็นกรด

-------------------------------------------------------------------------------------------------------



จาก : สมช. สวพ. FM. 91.0 (07.00 – 08.00 / อาทิตย์)
ข้อความ : มะรุม 3 เดือน ใบเหลือง ลามไปต้นอื่นด้วย แก้ไขอย่างไร....?

ตอบ :
- อาการใบเหลือง เกิดจากดินเป็นกรด เนื่องจากฝนชุก น้ำขังค้างโคนต้น เกิดที่ต้นแรกแล้วลามต่อไปยังต้นอื่นๆ แก้ไขด้วยการ พรวนดิน-พูนดินโคนต้น ใส่ยิบซั่ม ปุ๋ยอินทรีย์ ให้น้ำหมักชีวภาพ ทำช่องทางระบายน้ำอย่าให้ขังค้าง

-------------------------------------------------------------------------------------------------------



จาก : สมช. สวพ. FM. 91.0 (07.00 – 08.00 / อาทิตย์)
ข้อความ : ชมพู่มีหนอน แก้ไขอย่างไร....?

ตอบ :
- นั่นคือ “หนอนแมลงวันทอง” แก้ไขด้วยการ “ห่อผล” เท่านั้น เริ่มห่อเมื่อขนาดผลทรงระฆัง (ภาษาชาวสวนชมพู่) การห่อผลนอกจากป้องกันแมลงวันทองแล้ว ยังช่วยบำรุงผลให้มีคุณภาพดีด้วย ถ้าไม่ห่อผลถึงจะไม่มีแมลงวันทองก็กินไม่ได้ เพราะเนื้อแข็ง

- ผลไม้ 3 ชนิด ถ้าไม่ห่อจะไม่ได้กิน คือ ชมพู่ กระท้อน ฝรั่ง

-------------------------------------------------------------------------------------------------------



จาก : สมช. สวพ. FM. 91.0 (07.00 – 08.00 / อาทิตย์)
ข้อความ : ข้าวระยะออกรวง ให้ปุ๋ยตัวไหน .....?

ตอบ :
- ถ้าแค่รวงเริ่มออก เรียกว่า หางแย้-หางปลาทู ให้ฮอร์โมนไข่สูตรที่มีปุ๋ยเคมีร่วมด้วย 2-3 ครั้ง ห่างกันครั้งละ 5-7 วัน .... ทางที่ดีควรให้ตั้งแต่ช่วง “ตั้งท้อง” จึงจะดี

- ถ้ารวงออกมาถึงระยะ “ตากเกสร” แล้ว งดการฉีดพ่นทุกชนิด เพราะจะทำให้เกสรเปียก ผสมไม่ติด
– ระยะนี้ควรมีน้ำน้อยๆ ระดับรอยตีนวัวตีนควาย จะช่วยให้การออกรวงดี

- จับงานด้านเกษตรมา 20 ปี วันนี้บอกได้เลยว่า ชาวนาไทยยังปลูกข้าวไม่เป็น ยิ่งทำยิ่งเป็นหนี้ นายกสมาคมชาวนาแห่งประเทศไทยบอกว่า ต้นทุนทำนาข้าวไร่ละ 8,000, คุณประพัทธ์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกร บอกว่า ต้นทุนนาข้าวไร่ละ 3,000 มีคนทำได้เยอะแยะ, คุณไชยพร ชาวนาที่สุพรรณบุรี บอกว่า ต้นทุนนาข้าวไร่ละ 1,000 เพราะเขาทำอยู่ทุกวันนี้, ครั้นวิเคราะห์วิธีการทำนาของทุกคนแล้ว ถ้า ปุ๋ย-ยา-ฮอร์โมน ทำเอง จ้างแรงงานให้น้อยที่สุด บอกได้เลยว่า ต้นทุนนาข้าวไร่ละ 600 เท่านั้น .... รวมกลุ่มทำนาได้ข้าวมาแล้วแปรรูป ต้นน้ำ-กลางน้ำ-ปลายน้ำ มูลค่าตันละ 180,000 ก็มีคนทำได้อยู่ฉะเชิงเทรา แต่ชาวนาเราขายข้าวให้ โรงสี จำนอง ธ.ก.ส. เท่านั้น วันนี้ไม่มีราคาประกัน ข้าวเหลือตันละ 7,000 ไม่ขาดทุนก็ไม่ได้กำไร ก็ไม่รู้เหมือนกันว่า ทำไมชาวนาไม่มองข้าวตันละ 180,000 ทั้งๆที่อยู่ข้างบ้านตัวเองนั่นแหละ

-------------------------------------------------------------------------------------------------------



จาก : สมช. สวพ. FM. 91.0 (07.00 – 08.00 / อาทิตย์)
ข้อความ : มะละกอลูกเล็กร่วง แก้ไขอย่างไร.....?

ตอบ :
- เกิดจากโรคมีเชื้อ คือ เชื้อรา แก้ไขด้วยการใช้สารสมุนไพร “เผ็ดจัด” กับเกิดจากโรครากเน่า เนื่องจากฝนชุก น้ำขังค้างโคนต้น แก้ไขด้วยการ พรวนดิน-พูนดิน โคนต้น ใส่ยิบซั่ม ปุ๋ยอินทรีย์ ให้น้ำหมักชีวภาพ ทำช่องทางระบายน้ำอย่าให้ขังค้าง

- เกิดจากโรคไม่มีเชื้อ คือ ขาดธาตุรอง/ธาตุเสริม อย่างรุนแรง แก้ไขด้วยการให้ธาตุรอง ธาตุสริม ทางใบสม่ำเสมอ

– มะละกอตอบสนองต่อน้ำหมักชีวภาพดีมาก ให้ไปเถอะ เดือนละครั้ง เดี๋ยวดีเอง

-------------------------------------------------------------------------------------------------------



จาก : (080) 339-2347xx
ข้อความ : ลุงคิม ลองพูดเรื่องไม้บอนไซบ้างซิครับ ผมเกิดแนวคิดจะทำบ้าง ฝนตกยังไม่หยุดเลย ....

ตอบ :
- บอนไซ หรือ ต้นไม้แคระ นิยมกันมากและมีชื่อเสียงที่สุด คือ บอนไซญี่ปุ่น จนเรียกได้ว่าเป็นต้นตำรับ “บอนไซ” แปลว่า “ถาด” หมายถึงต้นไม้ยืนต้นเอามาปลูกในถาด อาจเป็นเพราะพื้นที่การเจริญเติบโตทางรากมีน้อยหรือถูกจำกัด หรือเป็นเองตามธรรมชาติ เรียกว่า ลักษณะด้อยทางพันธุกรรม จึงทำให้ขนาดต้นเล็ก แต่มีดอกออกผลได้ เหมือนคนแคระ เกิด-กิน-แก่-เจ็บ-ตาย-ขยายพันธุ์ ได้ .... ไม้บอนไซไม่ได้หมายถึงต้นเล็ก สูงแค่คืบมือ ศอกแขน วาแขน เท่านั้น ต้นโตสูงขนาด 2-3-4-5 ม. ก็เป็นบอนไซได้ ทั้งนี้ดูจากอายุและลักษณะการเจริญเติบโต (ต้น-ใบ-ดอก-ผล)

.... ตะโกบอนไซ ย่านพยุหคีรี นครสวรรค์ อายุ 100 ปี สูง 3-5 ม. ก็เป็นบอนไซ
....ไม้บอนไซ จากธรรมชาติที่นิยม คือ มะสัง ตะโก ข่อย
.... ย่านชายทะเลชุมพร มีการจับกุมคนขะโมยขุดบอนไซ ที่เกิดแล้วอยู่เองตามธรรมชาติ อายุนับ 100 ปี
.... เคยเห็นในรูป ไต้หวันทำมะม่วง ชมพู่ บอนไซ ในกระถาง ออกลูกได้ด้วย

.... เคยเห็นในรูป เกษรตรกรอาฟริกา บิดรากแก้วมะละกอ 180 องศา แต่ไม่ขาด เอาลงปลูก ยึดต้นไว้อย่าให้รากที่บิดคืนตัว มะละกอต้นนั้นจะโตช้า สูงแค่เมตรเดียว แต่ออกดอกติดลูกได้ดกแล้วก็ดีเหมือนปติ นี่ก็บอนไซเหมือนกัน

.... ตะโกบอนไซ รอบองค์พระที่พุทธมณฑล ของสมาคมบอนไซ แห่งประเทศไทย ต้นดำเพราะใช้ “หมึกจีน” ทาที่เปลือกลำต้น

ปัจจัยที่ทำให้ไม้แคระ :
1. กระถาง-ดิน-ราก :
กระถางที่ใช้ใส่บอนไซ ที่นิยมกันและถือเป็นรูปแบบ คือ เป็นกระถางตื้นแบนคล้ายถาด ตรงกับคำญี่ปุ่น “บอน” แปลว่า “ถาด” ส่วนรูปแบบนั้นอาจจะเป็นสี่เหลี่ยม กลม รูปไข่ ขนาดเล็กใหญ่ตามความเหมาะสมของไม้บอนไซ เมื่อกระถางเล็กพื้นที่จำกัด ดินที่ในกระถางมีปริมาณน้อย ความจุของกระถางจึงสัมพันธ์กับปริมาณของดินและรากของต้นไม้ที่ปลูก ก่อนปลูกจึงต้องประมาณให้ได้สมส่วนกัน คือ ให้ได้ปริมาณพอเพียงที่รากจะหาอาหารได้ พอที่จะอยู่ได้ ไ ม่มากเกินจนไม้เติบโตงอกงามเกินไป หรือน้อยเกินไปจนต้นไม้ขาดอาหาร ไม้จึงถูกบังคับให้ต้นแคระแกรนได้อย่างคงที่ ดังนั้นเมื่อปลูกไว้นานๆ จนรากกินดินไปเกือบหมด ก็จำเป็นต้องเปลี่ยนกระถางเปลี่ยนดิน ตัดเล็มรากให้น้อยลง

2. การตัดแต่ง :
การตัดแต่งบอนไซเป็นการบังคับไม่ให้ต้นไม้โตเกินไป และป้องกันไม่ให้เกิดการผิดสัดส่วน เสียหรือเปลี่ยนรูปทรง การดูแลตัด เล็ม กิ่งใบจึง ต้องทำอยู่เสมอ

3. การให้น้ำ :
การให้น้ำบอนไซจะต้องให้ทุกวัน และควบคุมปริมาณน้ำที่ให้แต่ละกระ ถางให้พอ เหมาะ การวางกระถางบอนไซต้องอยู่ในที่โล่ง เพื่อให้ได้รับแสงแดดอย่างพอเพียง มีลม อากาศถ่ายเทอย่างดี ดังนั้น เมื่อไม้ตากแดดตากลม ตลอดวัน ดินในกระถางจะแห้งเร็ว การให้น้ำมากเกินไปก็จะทำให้บอนไซโตเร็ว หรือดินแฉะเกินไปทำให้รากเน่าได้ แต่ถ้าขาดน้ำบอนไซก็จะเหี่ยวเฉาตายในที่สุด

4. แสงแดด :
บอนไซที่ปลูกจนอยู่ตัวแล้ว ควรตั้งไว้ในที่ๆ แสงแดดส่องได้ตลอดวัน แสงแดดช่วยเจริญเติบโตของต้นไม้ก็จริง แต่ในเวลาเดียวกันก็ช่วยบังคับไม่ให้สูงเร็วเกินไป และเป็นการช่วยให้ลำต้นแข็งแกร่ง ใบเขียวจัด และขนาดใบเล็กลง .... การทำชั้นวางโดยให้ความสูงของแต่ละชั้นลดหลั่นกัน หรือมีแท่นรองสูงพอประมาณ จะเป็นการสะดวกต่อการดูแลต้นไม้แต่ละต้นได้ทั่วถึง และยังทำให้ไม้ดูเด่นสวยงามอีกด้วย ต้นไม้ที่อยู่ในที่ร่มมาก ย่อมสูงชะลูด ทำให้รูปลักษณะบอนไซเสียไป

5. ลม :
ควรตั้งบอนไซไว้ในที่ๆ มีลมโกรกอยู่เสมอ สังเกตได้ว่าต้นไม้ที่ขึ้นอยู่บนภเขา และริมฝั่งทะเล ยืนต้านลมแรง ต้นไม้เหล่านี้มักไม่สูง และมีรูปทรงผิดธรรมชาติ ลมจึงช่วยควบคุมให้บอนไซไม่ให้โตเกินไป แต่การที่มีลมโกรกอยู่ตลอดเวลาก็จะทำให้ดินแห้งเร็ว จึงต้องคอยสังเกต และแก้ปัญหาด้วยการพรมน้ำให้เมื่อเห็นว่าหน้าดินเริ่มแห้ง

http://www.bonsaibaan.com/?mo=3&art=212228


ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่นิยมการเลี้ยงบอนไซกันมากในปัจจุบัน ได้แบ่งลักษณะบอนไซออกตามรูปทรงที่ตกแต่งให้เป็นแบบต่างๆ ตามลักษณะของลำต้น 5 ชนิด และแบ่งย่อยอีกหลายแบบ

1. Chokkan : ลักษณะบอนไซที่มีส่วนของลำต้นตั้งตรง ทำมุมกับแนวระดับประ มาณ 90 องศา เป็นมุมตั้งฉาก
2. Tachiki : ลักษณะบอนไซที่มีส่วนของลำต้นเอนไปทางซ้ายและขวาข้างใดข้างหนึ่งเล็กน้อย ซึ่งจะคงรูปแบบแนวตั้งตรงของลำต้น ซึ่งพุ่มใบที่แตกออกมาทั้งสองข้างไม่เท่ากัน

3. Shakan : ลักษณะบอนไซที่มีลำต้นเอนจากแนวระดับมาทางด้านข้างมากขึ้น โดยทำมุมกับแนวระดับประมาณ 45 องศา

4. Han-kengai : เป็นบอนไซที่มีลักษณะลำต้นเอนพับลงเกือบจดบริเวณปากกระถาง
5. Kengai : เป็นบอนไซที่มีลักษณะลำต้นเอนห้อยย้อยต่ำกว่าปากกระถาง ส่วนยอดเลื้อยกลับไปกลับมา ต่ำกว่าปากกระถาง

คลิก :
http://www.gotoknow.org/posts/480331
ลักษณะต้นฉบับของไม้บอนไซ....

http://www.gotoknow.org/posts/328354
ไม้บอนไซ และไม้ดัด....

http://play.kapook.com/photo/show-110563
บอนไซ ต้นไม้มหัศจรรย์ อันแสนงดงาม....

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------



จาก : (089) 287-37xx
ข้อความ : ลุงคิมครับ ช่วยพูดเรื่อง ย่ำเทือกแบบประณีต เพื่อกำจัดวัชพืช เพื่อนผมเล่าให้ฟัง แต่ไม่รู้เรื่อง อย่าเพิ่งรำคาญผมนะครับ....

ตอบ :
@@ หลักการและเหตุผล :
- วัชพืช คือ พืชที่ไม่ต้องการ .... ในนาข้าวหมายถึง ต้นพืชทุกชนิดที่ไม่ใช่ต้นข้าวและไม่มีประโยชน์ต่อต้นข้าว รวมทั้งต้นข้าวที่เกิดต่างรุ่นกับต้นข้าวส่วนใหญ่ในแปลงก็ถือว่าเป็นวัชพืชด้วย

– ธรรมชาติของวัชพืชที่เกิดจากเมล็ด เมื่อเกิดขึ้นมาแล้วลำต้นถูกทำลาย วัชพืชต้นนั้นจะตายแล้วไม่มีโอกาสงอกใหม่ได้อีกเลย

- ธรรมชาติของวัชพืชที่เกิดเป็นหน่อจาก “หัว/ไหล/เหง้า” ซึ่ง หัว/ไหล/เหง้า คือ รากสะสมอาหาร เมื่อต้นถูกทำลาย ไม่มีใบสังเคราะห์อาหารได้ ต้นจะกินอาหารที่สะสมไว้ รอจนกว่าจะมีโอกาสงอกแล้วเกิดป็นต้นและใบสังเคราะห์อาหารต่อไปได้ แต่ถ้าต้นหรือใบที่งอกใหม่ก็ถูกทำลายซ้ำอีก ต้นก็ต้องกินอาหารที่สะสมไว้นั้นอีก เมื่อถูกทำลายซ้ำแล้วซ้ำเล่า ต้นได้ใช้อาหารที่สะสมไว้ครั้งแล้วครั้งเล่า จนกระทั่งอาหารที่สะสมไว้หมด วัชพืชต้นนั้นก็ตาย

- การใช้สารกำจัดวัชพืช (ยาฆ่า ยาคุม) ทุกชนิด ไม่สามารถกำจัดวัชพืชให้ตายอย่างสิ้นเชิงได้ ได้ผลเพียงระยะสั้น คือ “ใบไหม้” เท่านั้น ไม่ช้าไม่นานแค่เดือนเดียวก็งอกขึ้นมาใหม่ เจริญ เติบโตดีกว่าเก่า ....

สังเกตุ : ฉีดยาฆ่ายาคุมในนาข้าวระยะกล้า ช่วง 1 เดือนแรกดูเหมือนจะไม่มีต้นวัชพืชใดๆขึ้นมาให้เห็นเลย ครั้นต้นข้าวถึงระยะ แต่งตัว/ต้นกลม/ตั้งท้อง หรือประมาณ 1-2 เดือนหลังฉีดยาฆ่ายาคุม จะเห็นบรรดาต้นวัชพืชสารพัดชนิดสูงแซงต้นข้าวขึ้นมาให้เห็นเต็มทั้งแปลง

– การใช้เครื่องในการเตรียมดินทำนา เช่น รถไถ โรตารี่/ผานสาม/ผานเจ็ด/ผานหัวหมู ไถดิน 1-2 รอบ หรือการใช้ ลูกทุบ/อีขลุบ ย่ำ 1-2 รอบ ไม่สามารถกำจัดวัชพืชได้ ตรงกันข้าม กลับเป็นการพรวนดินช่วยให้วัชพืชเหล่านั้นเจริญเติบโตเร็วขึ้น

- ล่อให้งอกแล้วย่ำทำลาย ทั้งนี้ ในตัววัชพืชมีสารอาหารที่ได้ไปจากนาข้าว เมื่อเน่าสลายปุ๋ยเหล่านั้นจะออกมา เรียกว่า “ปุ๋ยพืชสด” จากปุ๋ยพืชสดธรรมดา ปรับ/เปลี่ยน ให้เป็น “ปุ๋ยพืชสด ซุปเปอร์” โดยการใส่ เสริม/เติม/เพิ่ม/บวก อะไรก็ได้ที่เป็นทั้งสารอาหาร มีจุลินทรีย์ตามสั่ง และเป็นสารอาหารบำรุงจุลินทรีย์ประจำถิ่น

@@ ขั้นตอนย่ำเทือกประณีต :
1. หลังเกี่ยวข้าวเสร็จ เกลี่ยฟางให้เสมอกันทั่วแปลง ปล่อยทิ้งไว้ตากแดด 10-15 แดดจัดเพื่อให้ฟางแห้ง

2. ไถดะด้วยผานสาม พลิกดินล่างขึ้นบน พลิกดินบนลงล่าง ปล่อยทิ้งไว้ ตากแดด10-15 แดดจัด .... ขั้นตอนนี้ ฟาง/วัชพืช ส่วนหนึ่งที่ถูกพลิกลงล่างจะเริ่มถูกย่อยสลาย ส่วนวัชพืชประเภทสู้แล้งได้จะงอกขึ้นมา

3. ปล่อยน้ำเข้าเจ๊าะแจ๊ะหน้าดินหรือพอหน้าดินชื้น ทิ้งไว้ 5-7-10 วัน เพื่อล่อให้วัช พืชงอก ..... ขั้นตอนนี้ ให้สำรวจปริมาณวัชพืชที่งอกขึ้นมาให้เห็นแล้วว่ากี่เปอร์เซ็นต์ เพื่อใช้เปรียบเทียบกับหลังย่ำเทือกแต่ละรอบๆ

4. ปล่อยน้ำเข้าสูงท่วมตอซัง หรือครึ่งหน้าแข้ง ใส่ยิบซั่ม เฟอร์มิกซ์, ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, กระดูกป่น, ใส่น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 (2-3 ล.) + 16-8-8 (10 กก.) / ไร่ ผสมน้ำตามต้องการกับพื้นที่ 1 ไร่ ละลายน้ำหมักฯ กับปุ๋ยให้เข้ากันดี สาดให้ทั่วแปลง แล้วลงมือย่ำเทือก .... การใส่ปุ๋ยอินทรีย์แต่เนิ่นๆ เพื่อเป็นการให้เวลาแก่จุลินทรีย์ในการย่อยสลายเศษซากวัชพืช ฟาง และปรับสภาพโครงสร้างดิน

5. ก่อนลงมือย่ำเทือก ครั้งที่ 1 ให้สำรวจจำนวนวัชพืชทั้งหมดว่ามีเท่าไร แล้วย่ำเทือกประณีต ย่ำ 3 รอบใน 1 กระทง ย่ำแล้วทิ้งไว้ 7-10 วัน เพื่อเปิดเวลาให้วัชพืชที่ยังสามารถงอกได้ งอกขึ้นมา ....

ก่อนลงมือย่ำเทือก ครั้งที่ 2 สำรวจจำนวนวัชพืชว่ามีเท่าไร วัชพืชน่าจะหายไปราว 50% เมื่อเทียบกับก่อนลงมือย่ำเทือก แล้วย่ำเทือกประณีต ย่ำ 3 รอบใน 1 กระทง ทิ้งไว้ 7-10 วัน เตรียมย่ำต่อ.... ก่อนลงมือย่ำเทือก ครั้งที่ 3 ให้สำรวจจำนวนวัชพืชว่ามีเท่าไร วัชพืชน่าจะหายไปอีกราว 50% เทียบกับก่อนย่ำรอบ 2 แล้วย่ำเทือกประณีตต่อ ย่ำ 3 รอบใน 1 กระทง ทิ้งไว้ 7-10 วัน เตรียมย่ำต่อ ....

6. ย่ำเทือกครั้งที่ 3 แล้ว สำรวจจำนวนวัชพืชว่ามีเท่าไร วัชพืชน่าจะหายไป 70-80-90 % เมื่อเทียบกับก่อนลงมือยำเทือกรอบแรก จังหวะนี้ให้พิจารณาจะย่ำเทือกต่อเพื่อกำจัดวัชพืชเป็นครั้งที่ 4 หรือย่ำเทือกรอบสุดท้ายแล้วลงมือปลูก (หว่าน/ดำ/หยอด)

7. กำจัดวัชพืชหลัง
– ในแปลงนา .... มีข้อแม้ว่าต้องทำ “นาดำ” เท่านั้น เพื่อให้มีช่องว่างทางเดินสำหรับคนเดินลงไปถอนด้วยมือ
- บนหัวคันนา .... วัชพืชบนคันนาเมื่อโตขึ้น เริ่มมีดอก ใช้ไม้เรียวฟาดก้านดอกให้หัก ดอกนั้นก็ไม่เจริญเติบโตจนเป็นเมล็ดขยายพันธุ์ต่อได้


หมายเหตุ :
- "ย่ำ" หมายถึงการใช้ "ลูกทุบ หรือ อีขลุบ" โดยไม่มีการไถทั้งผานจานหรือผานหมุน เพราะการไถเพียง 1-2 รอบ แล้วย่ำเทือก 1 รอบ ไม่สามารถกำจัดวัชพืชได้ แต่กลับกลายเป็นพรวนดินให้วัชพืชงามกว่าเก่า

- ก่อนลงมือย่ำทุกรอบให้สังเกตุปริมาณวัชพืชว่ายังมีหรือเหลือ มาก/น้อย แค่ไหน
- บริหารเวลาโดยเตรียมเวลาสำหรับย่ำเทือก 1 เดือน ล่วงหน้าที่ต้อง หว่าน/ดำ หรือ รับน้ำ พร้อมแปลงข้างเคียง

- การเสียเวลากำจัดวัชพืชแบบย่ำเทือกประณีต นอกจากได้ผล (ไม่มีวัชพืช) รุ่นนี้แล้ว ยังส่งผลไปถึงรุ่นหน้า และรุ่นต่อไปอีกด้วย ทั้งนี้ รุ่นหน้าหรือรุ่นต่อไป การกำจัดวัชพืชจะง่ายขึ้น อาจจะย่ำเทือกเพียงรอบเดียวก็ได้

----------------------------------------------------------------------------------------


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©