-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ข้าวไทย--รอบรู้เรื่องข้าว
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ข้าวไทย--รอบรู้เรื่องข้าว
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ข้าวไทย--รอบรู้เรื่องข้าว
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3, 4, 5 ... 11, 12, 13  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 07/01/2013 12:28 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ลำดับเร่ือง....


73. ชาวนาธวัชบุรี ตัดใบข้าว เพื่อเพิ่มผลผลิต ดำเนินมาแล้ว 5 ปี
74. การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในนาข้าว
75. เทคนิคการตัดใบข้าวเพื่อเพิ่มผลผลิต

76. การปลูกข้าวกระถาง - พันธุ์ข้าวหอมปทุมธานี 1
77. เตรียมขยายเมล็ดพันธุ์ข้าวปทุมธานี
78. พันธุ์ข้าว บางแตน (Bang)
79. ข้าวหอมมะลิ 105 รวมกลุ่มผลิตเมล็ดพันธุ์คุณภาพ
80. พัทลุง 60 (Phatthalung 60 )

81. พิษณุโลก 2 (Phitsanulok 2)
82. พิษณุโลก 60-2 (Phitsanulok 60-2)
83. แพร่ 1 (Phrae 1)
84. ชื่อพันธุ์ - สกลนคร (Sakon Nakhon)
85. ข้าวเหนียวหอมไม่ไวแสง 'แม่โจ้ 2'

86. เกษตรมหัศจรรย์ ครั้งที่ 4
87. พันธุ์ก่ำดอยสะเก็ด (Kum Doisaket)
88. หอมนิลพะเยา
89. มันปูพะเยา
90. ก่ำมูเซอพะเยา

91. ประโยชน์ข้าวก่ำพะเยา
92. พันธุ์ข้าวส่งเสริมที่ผลิตเพื่อการค้าในปัจจุบัน
93. สุพรรณบุรี 1 (Suphan Buri 1)
94. พันธุ์ข้าว สุพรรณบุรี 2 (Suphan Buri 2)
95. สุพรรณบุรี 3 (Suphan Buri 3)

96. สุพรรณบุรี 60 (Suphan Buri 60)
97. สุพรรณบุรี 90 ( Suphan Buri 90)


---------------------------------------------------------------------------------------------------




73. ชาวนาธวัชบุรี ตัดใบข้าว เพื่อเพิ่มผลผลิต ดำเนินมาแล้ว 5 ปี


คลิกดูครับ วีดิโอ....
http://77.nationchannel.com/video/280059/







ชาวนาธวัชบุรี ตัดใบข้าวเพื่อเพิ่มผลผลิต ดำเนินมาแล้ว 5 ปี
การเพิ่มประสิทธิภาพการผลผลิตข้าวหอมมะลิ ปี 2555/56 ให้ชาวนา ใน 20 อำเภอ 192 ตำบล 2,444 หมู่บ้าน นายวัชเรนทร์
ศิริมงคล เกษตรจังหวัดร้อยเอ็ด มีการประชุมสัมมนานักวิชาการส่งเสริมการเกษตร เกษตรอำเภอ เพื่อการพัฒนาการเพิ่มผลผลิตข้าว
ด้านคุณภาพ ปริมาณ ให้เพียงพอต่อความต้องการของตลาดทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ โดยการนำวิชาการเกษตร ด้าน
การปลูกข้าว นำภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้ามาดำเนินการอย่างเต็มกำลังความสามารถ


วันนี้ (10 สิงหาคม 2555) นายวัชเรนทร์ ศิริมงคล เกษตรจังหวัดร้อยเอ็ด เปิดเผยว่า จากการออกติดตามของนักวิชาการส่งเสริม
การเกษตร หรือเกษตรตำบล ในงานส่งเสริมการเกษตร พบชาวนานำหลักการภภูมิปัญญาชาวบ้าน นายสวาสดิ์ ขันสว่าง อายุ 50 ปี
บ้านเลขที่ 65 หมู่ที่ 2 บ้านอุ่มเม้า ต.อุ่มเม้า อ.ธวัชบุรี จ.ร้อยเอ็ด มีนาข้าว 35 ไร่ ปลูกข้าวหอมมะลิ จำนวน 30 ไร่ โดยการทำ
นาหว่านสำรวย หรือการหว่านข้าวแห้งคอยฝน ชาวภาคอีสานเรียกว่า “การผายข้าว” โดยจะดำเนินการเมื่อเข้าสู่ฤดูฝน เมื่อฝนตกลง
มา 1-2 ครั้ง ประมาณเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม หว่านข้าวในแปลงนาไถกลบ คราด เมล็ดข้าวเจริญเติบโตพร้อมกับวัชพืชควบ
คู่กัน ชาวนาส่วนใหญ่จะใช้สารเคมีป้องกันกำจัดวัชพืช เป็นอันตรายทั้งคนและสัตว์ ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นไร่ละ 350 บาท


นายสวาสดิ์ ขันสว่าง กล่าวว่า ตนเองได้รับคำแนะนำจากนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร พร้อมรับฟังรายการวิทยุการเกษตรเรื่อง
“กิจกรรมการตัดใบข้าวเพื่อเพิ่มผลผลิต” ให้ชาวนา ตนเองดำเนินการทดสอบกิจกรรมการตัดใบข้าวเพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวนาปี พื้นที่
3 ไร่ข้าวที่ปลูกคือ พันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ในปี 2550 นาหว่าน จำนวน 15-20กิโลกรัม กิจกรรมการตัดใบข้าวเป็นเรื่อง
ใหม่ที่ตนเองดำเนินการชาวนาในพื้นที่ต่างเฝ้าดูและกล่าวว่า “ชาวนาคนนี้บ้าตัดในข้าวทิ้ง” ปีแรกผลผลิตเพิ่มขึ้น จาก 25-30
ถังต่อไร่ เป็น 45-50 ถังต่อไร่ ปี 2551 ตนเองทดสอบในพื้นที่อีกจำนวน 7 ไร่ ใส่ปุ๋ย 2 สูตรคือ 16-16-8 และสูตร 46-0-0
จำนวน 4 กระสอบ ตัดใบข้าวอายุ 40-60 วัน


นายสวาสดิ์ ขันสว่าง เล่าให้ฟังว่า การเลือกตัดใบข้าว ต้องตรวจสอบสภาพแปลงนา มีความชุ่มชื้นในดินสามารถปั้นเป็นก้อนดินได้
เพราะนาข้าวของพื้นที่ตำบลอุ่มเม้า เป็นนาอาศัยน้ำฝน ข้าวอายุ 40 วัน คือปลูกข้าวช่วง วันที่ 20-25 มิถุนายน สามารถตัดใบ
ข้าวได้ในต้นเดือนสิงหาคม ให้ตัดชิดดินได้ เก็บเศษใบพร้อมวัชพืช ไปเลี้ยงโคกระบือ หลังการตัด 3 วัน ใบข้าวขึ้นสูงประมาณ 1
คืบ หลังการตัดใบข้าว 10 วัน ใบข้าวสูงประมาณ หัวเข่า หว่านปุ๋ยสูตร 16-16-8 อัตรา 25-30 ก.ก./ไร่ ข้าวได้รับปุ๋ยเจริญเติบโต
ดีมาก เพราะระบบรากแข็งแรง ไม่มีวัชพืชคอยแย่ง ข้างขึ้นสูงท่วมวัชพืช ข้าวมีการแตกกอเพิ่มขึ้นต้นละ 2-5 ต้น/กอหมายถึงรวง
ข้าวเพิ่มขึ้น ข้อสังเกตระยะการตัด “วัชพืช” ต้องออกดอกสุกแก่ประมาณ 80% หากยังไม่ออกดอกข้าวแข่งขันสู้วัชพืชไม่ได้


นายสวาสดิ์ ขันสว่าง เล่าต่อว่า ส่วนการตัดใบข้าวที่อายุ 50-60 วัน ชาวนาต้องสังเกต ให้ดีเพราะข้าวจะมีปล้องแรกหรือปล้องที่สอง
ให้ตัดใบข้าวสูงขึ้นประมาณฝ่ามือตะแคง ใช้เครื่องมือตัดหญ้าแบบสะพาย 1 ไร่ ใช้น้ำมันเบนซินไม่ถึง 1 ลิตร หากใช้สารเคมีป้องกัน
กำจัดวัชพืช ประมาณ 350-400 บาท/ไร่ เป็นอันตรา มีสารพิษตกค้าง สร้างปัญหาสิ่งแวดล้อมหรือระบบนิเวศวิทยา ข้อสำคัญการ
ตัดใบข้าว ควรไม่เกินวันที่ 15 สิงหาคม ของทุกปี


ในปี 2555 กิจกรรมการตัดใบข้าวของชาวนาบ้านอุ่มเม้า ต.อุ่มเม้า อ.ธวัชบุรี ดำเนินการในพื้นที่ 20 ไร่ ของผืนนา 35 ไร่ ข้าวจะแตก
ยอดใหม่อย่างรวดเร็วและแตกกอไปพร้อมๆกัน พร้อมการใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 ข้าวแตกกอสวยงามพร้อมตั้งท้องเตรียมการออกรวง ผลผลิต
ที่ออกมาข้าวแบบตัดใบสามารถคุ้มทุนผลผลิต 50-60 ถัง/ไร่ ขณะทีเพื่อนชาวนาข้างเคียงได้ 30-35 ถัง/ไร่ และมีชาวนา หันมา
ทำข้าวนาตัดจำนวนมาก


นายวัชเรนทร์ ศิริมงคล เกษตรจังหวัดร้อยเอ็ด กล่าวว่า ตนเองมอบหมายให้เกษตรตำบลหรือนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรจัดเก็บข้อมูล
และให้ทำการทดสอบในนาข้าวหอมมะลิ เพื่อเป็นการยืนยันในแปลงทดสอบอีกครั้ง ยืนยันข้อมูล โดยจังหวัดร้อยเอ็ด จะนำเสนอต่อ
นายวันชาติ วงษ์ชัยชนะ ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด มาเป็นยุทธศาสตร์หลักในการส่งเสริมการผลิตข้าวหอมมะลิ ของจังหวัดร้อยเอ็ด
ต่อไป


นายสวาสดิ์ ขันสว่าง กล่าวว่าตนเองรับฟังข่าวสารการเกษตรผ่านหอกระจายข่าว และสถานีวิทยุกระจายเสียง ที่ดำเนินรายการโดย
นายวัชรินทร์ เขจรวงศ์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ ทางวิทยุชุมชนคนเทอดไทย ระบบ FM 106 MHz เวลา 06.00-
07.00น. ทุกวัน นำไปทดลอง ทดสอบดูมีความเป็นจริง เพราะพื้นที่นาข้าวที่ควายลงไปกัดกินต้นข้าว งอกใหม่จะสวยงามและแตก
ตอดีมาก ผลผลิตได้มากกว่า การตัดใบข้าวเป็นกิจกรรมภูมิปัญญาของชาวนาที่เลียนแบบธรรมชาติหรือเลียนแบบจาการที่ควายกัด
กินต้นข้าว ไม่เชื่อทดลองทำดู


********************* วัชรินทร์ เขจรวงศ์ /รายงาน


http://77.nationchannel.com/video/280059/


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 13/01/2013 4:07 pm, แก้ไขทั้งหมด 24 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 07/01/2013 12:41 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

74. การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในนาข้าว


การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในนาข้าว เช่น ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด และวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อปรับปรุงบำรุงดินให้อุดมสมบูรณ์ และเพิ่ม
ผลผลิตข้าวให้สูงขึ้น ทำการค้นคว้าวิจัยระหว่างปี พ.ศ. 2519-2540 ทั้งในดินเหนียว ดินร่วนปนดินเหนียว ดินร่วนเหนียวปนทราย
และดินทราย ที่จังหวัดนครราชสีมา ปทุมธานี พิษณุโลก ราชบุรี สุรินทร์และปัตตานี พบว่าการใช้ปุ๋ยหมักจากฟางข้าว ในนา 2 ปีแรก
ไม่ทำให้ผลผลิตข้าวพันธุ์ กข. 7 เพิ่มขึ้นแต่จะแสดงผลในปีที่ 3 เป็นต้นไป ผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้น ตามอัตราปุ๋ยหมักฟางข้าวที่ใส่และ
จะเพิ่มอีก เมื่อใส่ปุ๋ยหมักฟางข้าวอัตรา 2,000 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมี 8-4-4 กิโลกรัมของ N-P2O5-K2O ต่อไร่ โดย
ใช้ติดต่อกัน 22 ปี ได้ผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้น 89-146 เปอร์เซ็นต์ ปี 2530-2542 ทำการทดลองในดินร่วนปนทรายชุดร้อยเอ็ด
ที่สถานีทดลองข้าวสุรินทร์ พบว่าอัตราปุ๋ยที่เหมาะสมสำหรับข้าว กข. 23 คือใบและกิ่งอ่อน ของต้นกระถินยักษ์อัตรา 1,200 กิโลกรัม
ต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ยไนโตรเจนอัตรา 12 กิโลกรัม N ต่อไร่ ได้ผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้นเป็น 81 เปอร์เซ็นต์ แต่สำหรับข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ
105 อัตราปุ๋ยพืชสดที่ดีที่สุดคือ 600 กิโลกรัมต่อไร่ อัตราปุ๋ยพืชสด 300 กิโลกรัมต่อไร่ใส่ร่วมกับปุ๋ยไนโตรเจน 12 กิโลกรัม N
ต่อไร่ เพิ่มผลผลิตได้ 53 เปอร์เซ็นต์ ในปี 2536-2541 การทดลองระบบการปลูกพืชควบโดยปลูกกระถินยักษ์เป็นแถวคู่ ระยะ
50 x 50 เซนติเมตร ในแนวขวางทางลาดเทของพื้นที่สลับกับพื้นที่ปลูกข้าวสาลี โดยใช้แถบต้นกระถินยักษ์ 1 เมตร ต่อแถบข้าว
สาลี 3 เมตร แล้วตัดต้นกระถินยักษ์สูงจากระดับพื้น 50 เซนติเมตร นำส่วนที่ตัดออกใส่ลงในนาข้าวสาลีร่วมกับการใส่ปุ๋ยเคมีอัตรา
4-4-4 กิโลกรัมของ N-P2O5-K2O ต่อไร่ จะทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น 84 เปอร์เซ็นต์ ปี 2539-2541 ทดลองใช้กากสะเดาเป็น
ปุ๋ยอินทรีย์ ที่ศูนย์วิจัยข้าวอุบลราชธานีและสถานีทดลองข้าวโคกสำโรง อัตรา 500 กิโลกรัมต่อไร่ ทำให้ผลผลิตข้าวพันธุ์ขาว
ดอกมะลิ 105 เพิ่มขึ้น 44 และ 56 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ


ประเทศไทยมีดินเสื่อมโทรม 224.9 ล้านไร่ ดินมีอินทรียวัตถุต่ำกว่า 1.5 เปอร์เซ็นต์ ประมาณ 98.7 ล้านไร่ ดินส่วนใหญ่มี
ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งดินนาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนใหญ่เป็นดินทรายมีอินทรียวัตถุเฉลี่ย 0.56 เปอร์
เซ็นต์ การเพิ่มอินทรียวัตถุโดยการใส่วัสดุอินทรีย์ลงไปในดิน เช่น การไถกลบตอซังข้าว เศษพืช ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก หรือวัสดุเหลือ
ใช้ทางการเกษตร และอุตสาหกรรมจะช่วยในการปรับปรุงบำรุงดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ขึ้น


ประเทศไทยปลูกข้าวได้ผลผลิตเฉลี่ยปีละประมาณ 20 ล้านตัน ซึ่งจะมีฟางข้าวประมาณ 10 ล้านตัน ฟางข้าวส่วนนี้จะ
ออกไปจากแปลงนา ทำให้ดินต้องสูญเสียอินทรียวัตถุเป็นปริมาณมากในทุก ๆ ปี ดังนั้น จึงควรนำเอาฟางข้าวมาทำเป็นปุ๋ยหมัก
ใส่กลับลงดินในแปลงนาข้าว เพื่อเพิ่มอินทรียวัตถุให้กับดินและเพิ่มผลผลิตข้าวโดยใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมี นอกจากนี้ยังมีกระถินยักษ์
ซึ่งเป็นพืชตระกูลถั่วยืนต้นที่ขึ้นได้ดี โตเร็ว แตกกิ่งก้านมากมีใบดก ระบบรากลึกทนแล้งได้ดี และมีจุลินทรีย์ตรึงไนโตรเจนจาก
อากาศที่ปมราก จึงเป็นพืชที่เหมาะสมเป็นพืชสดบำรุงดิน การนำเอากระถินยักษ์มาปลูกบนคันนาแล้วตัดเอาใบและกิ่งอ่อนใส่
เป็นปุ๋ยพืชสดในนาข้าว หรือการปลูกกระถินยักษ์ในระบบพืชควบกับข้าวสาลี โดยตัดเอาใบและกิ่งอ่อนกระถินยักษ์เป็นปุ๋ยพืช
สดใช้ได้ตลอดไป โดยใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมีจะเป็นหนทางในการปรับปรุงบำรุงดิน และเพิ่มผลผลิตข้าวสาลีได้ และจากการนำเอา
เมล็ดสะเดามาสกัดเป็นสารกำจัดแมลงศัตรูพืช ทำให้มีกากสะเดา เป็นวัสดุเหลือใช้เมื่อวิเคราะห์พบว่ามีไนโตรเจนมากกว่า 3
เปอร์เซ็นต์ ควรนำมาเป็นปุ๋ยใช้ในนาข้าวได้


วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ได้อัตราปุ๋ยหมักฟางข้าวในการเพิ่มผลผลิตข้าวพันธุ์ไม่ไวต่อช่วงแสงเมื่อใส่อย่างเดียวหรือใส่ร่วมกับปุ๋ยเคมีในระยะยาว

2. เพื่อให้ได้อัตราใบและกิ่งอ่อนกระถินยักษ์ ที่ปลูกบนคันนาเป็นปุ๋ยพืชสดเพิ่มผลผลิตข้าวพันธุ์ไม่ไวต่อช่วงแสงและไวต่อช่วงแสง
เมื่อใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมี

3. เพื่อศึกษาระบบการปลูกพืชควบโดยใช้กระถินยักษ์เป็นปุ๋ยพืชสดร่วมกับการปลูกข้าวสาลีในการเพิ่มผลผลิตข้าวสาลี

4. เพื่อให้ได้อัตรากากสะเดาที่เหมาะสมในการเพิ่มผลผลิตข้าวพันธุ์ไวต่อช่วงแสง

5. เพื่อศึกษาผลการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ (ปุ๋ยหมักฟางข้าว กระถินยักษ์และกากสะเดา) ต่อการเปลี่ยนสมบัติทางกายภาพและเคมี
ของดิน)


ความเป็นมา
ในปีงบประมาณ 2524 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้เห็นความสำคัญในการใส่ปุ๋ยหมักซึ่งเป็นปุ๋ยที่ผลิตจากเศษพืช และ
มูลสัตว์นำมาใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงบำรุงดินและเสริมการใช้ปุ๋ยเคมีให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยให้เกษตรกรใช้
ปุ๋ยหมักที่ผลิตขึ้นเอง ตามโครงการเร่งรัดปรับปรุงบำรุงดินด้วยอินทรียวัตถุ(ปุ๋ยหมัก) เกษตรกร 20 จังหวัดสามารถผลิตปุ๋ยหมัก
ได้ 57.460 ต้น ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 5 (2525-2529) รัฐบาลมีนโยบายในการลดต้นทุนการผลิต
โดยดำเนินงานตามโครงการเร่งรัดปรับปรุงบำรุงดินด้วยอินทรียวัตถุ มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงคุณสมบัติของดิน ส่งเสริมการ
เป็นประโยชน์ของปุ๋ยเคมี ลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมี ส่งเสริมให้เกษตรกรรู้จักการผลิตและการใช้ปุ๋ยหมักรวมถึงการเพิ่มผลผลิต
และรายได้ของเกษตรกร มีเป้าหมายผลิตปุ๋ยหมัก 690,000 ตัน ในพื้นที่ 72 จังหวัดในปี 2530-2534 แผนพัฒนาเศรษฐ
กิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 6 ส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตปุ๋ยหมัก 870,000 ตัน ส่งเสริมการใช้ปุ๋ยพืชสด 32,054 ไร่ ใน
ปี 2534 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้กำหนดนโยบายด้านดินและปุ๋ย โดยเน้นความจำเป็นในการยกระดับความสำคัญของ
การบำรุงดินให้เป็นนโยบายสำคัญ ในปี 2535 - 2539 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 7 ส่งเสริมการทำและ
ใช้ปุ๋ยหมัก 910,000 ตัน ส่งเสริมการผลิตเมล็ดพันธุ์และใช้ปุ๋ยพืชสด จัดอบรมผู้นำเกษตรกร เป้าหมายปรับปรุงบำรุงดิน
ด้วยอินทรียวัตถุ 840,000 ไร่ โดยใช้ฟางข้าว กระถินยักษ์และกากสะเดา และในปัจจุบันรัฐบาลให้ความสำคัญกับการทำ
เกษตรกรรมแบบยั่งยืน จึงต้องสนับสนุนการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในนาข้าวต่อไป



คุณลักษณะดีเด่นของเทคโนโลยี
1. ฟางข้าวเป็นวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเมื่อนำมาทำเป็นปุ๋ยหมักจะทำให้การใช้วัสดุอินทรีย์มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น

2. ปุ๋ยหมักฟางข้าวมีธาตุอาหารพืชปริมาณมากพอสมควร กล่าวคือ มีไนโตรเจน 2.16 เปอร์เซ็นต์ ฟอสฟอรัส 1.18 เปอร์
เซ็นต์ โพแทสเซียม 1.31 เปอร์เซ็นต์ แคลเซียม 2.29 เปอร์เซ็นต์ แมกนีเซียม 0.44 เปอร์เซ็นต์ และซัลเฟอร์ 0.41 เปอร์
เซ็นต์


3. ปุ๋ยหมักฟางข้าวมีอัตราส่วนคาร์บอนและไนโตรเจนต่ำ (C/N = 11.94) ทำให้ไนโตรเจนละลายออกมาเป็นประโยชน์
ต่อข้าวได้เร็ว ปุ๋ยหมักฟางข้าวทำให้สมบัติทางกายภาพของดินดีขึ้น คือ ดินจับตัวเป็นเม็ดมากขึ้น ลดความแข็งของดินและลด
ความหนาแน่นรวม

4. ปุ๋ยหมักฟางข้าวทำให้ดินมีอินทรียวัตถุเพิ่มขึ้น ช่วยดูดปุ๋ยไนโตรเจนจากปุ๋ยเคมีไปใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น ช่วยลดการสูญเสีย
ไนโตรเจน ลดการใช้ปุ๋ยเคมีและช่วยในการเจริญเติบโต มีรากมากขึ้น ดัชนีพื้นที่ใบข้าวเพิ่มขึ้น ทำให้ผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้น

5. การปลูกกระถินยักษ์บนคันนา เพื่อนำมาเป็นปุ๋ยพืชสดในนาข้าว เป็นการนำพื้นที่ที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์

6. กระถินยักษ์มีธาตุอาหารไนโตรเจนสูง 3.7 - 4.3 เปอร์เซ็นต์ และมีธาตุอาหารพืชต่าง ๆ (แคลเซียม แมกนีเซียม
โพแทสเซียม และไนเตรท) ในระดับสูง

7. ใบและกิ่งอ่อนของกระถินยักษ์เพิ่มอินทรียวัตถุให้กับดิน ช่วยปรับปรุงโครงสร้างของดินให้ดีขึ้น รักษาธาตุอาหารในดิน ใบและ
กิ่งอ่อนของกระถินยักษ์ช่วยลดต้นทุนการใช้ปุ๋ยเคมี เพิ่มผลผลิตและคุณภาพของข้าว

8. ระบบการปลูกพืชควบกระถินยักษ์และข้าวสาลี ช่วยในการปรับปรุงบำรุงดินและเพิ่มผลผลิตข้าวสาลี จากการใช้กระถิน
ยักษ์เป็นปุ๋ยพืชสด

9. การใช้กากสะเดาซึ่งเป็นวัสดุเหลือใช้มาเป็นปุ๋ยอินทรีย์กับข้าว ทำให้ดินมีสมบัติทางกายภาพดีขึ้นให้ธาตุอาหารและ
เพิ่มผลผลิตข้าว


การประเมินคุณค่าของเทคโนโลยี
1. การใช้ปุ๋ยหมักฟางข้าวร่วมกับปุ๋ยเคมีติดต่อกัน 20 - 22 ปี ทำให้ผลผลิตข้าวเฉลี่ยเพิ่มขึ้น ปุ๋ยหมักฟางข้าวอัตรา 1,000 กิโล
กรัมต่อไป ร่วมกับปุ๋ยเคมี 8-4-4 กิโลกรัมของ N-P2O5-K2O ต่อไร่ ให้ผลผลิตข้าว กข.7 เพิ่มขึ้น 115 เปอร์เซ็นต์, 99 เปอร์
เซ็นต์ และ 72 เปอร์เซ็นต์ ที่ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก สถานีทดลองข้าวพิมาย และสถานีทดลองข้าวสุรินทร์ ตามลำดับ และผลผลิต
ข้าว กข.7 เพิ่มขึ้น 146 เปอร์เซ็นต์, 117 เปอร์เซ็นต์ และ 89 เปอร์เซ็นต์ เมื่อใช้ปุ๋ยหมักฟางข้าวอัตรา 2,000 กิโลกรัมต่อไป
ร่วมกับปุ๋ยเคมี 8-4-4 กิโลกรัมของ N-P2O5-K2O ต่อไร่ ตามลำดับ

2. การใช้ปุ๋ยหมักฟางข้าวติดต่อกัน 12 ปี ทำให้ดินมีอินทรียวัตถุที่เป็นประโยชน์เพิ่มขึ้น

3. การใช้ปุ๋ยหมักฟางข้าวทำให้สมบัติทางกายภาพของดินดีขึ้นกล่าวคือ ทำให้การจับตัวของเม็ดดินเพิ่มขึ้น ความแข็งของดิน
ลดลง ความหนาแน่นของดินลดลง

4. การใช้ปุ๋ยหมักฟางข้าวช่วยเพิ่มการดูดธาตุอาหารในต้นและเมล็ดข้าว เพิ่มดัชนีพื้นที่ใบ ปริมาณรากและการดูดน้ำของราก

5. ใบและกิ่งอ่อนกระถินยักษ์อัตรา 1,200 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ยไนโตรเจนอัตรา 12 กิโลกรัม N ต่อไร่ เพิ่มผลผลิตข้าว
กข. 23 81 เปอร์เซ็นต์

6. ใบและกิ่งอ่อนกระถินยักษ์อัตรา 300 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ยไนโตรเจนอัตรา 12 กิโลกรัม N ต่อไร่ หรือใบและกิ่งอ่อน
กระถินยักษ์อัตรา 600 กิโลกรัมต่อไร่อย่างเดียวเพิ่มผลผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 53 เปอร์เซ็นต์

7. การใช้กระถินยักษ์ติดต่อกัน 10 ปี ทำให้ดินมีสมบัติทางเคมีและกายภาพดีขึ้น ช่วยให้ข้าวดูดธาตุอาหารจากดินได้มากขึ้น
ปรับปรุงบำรุงดินและเพิ่มอินทรียวัตถุในดินให้สูงขึ้น

8. การปลูกพืชควบระหว่างกระถินยักษ์กับข้าวสาลีร่วมกับปุ๋ยเคมีอัตรา 4-4-4 กิโลกรัมของ N-P2O5-K2O ต่อไร่ ติดต่อกัน
6 ปี ทำให้ผลผลิตข้าวสาลีเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 84 เปอร์เซ็นต์ และอินทรียวัตถุในดินเพิ่มขึ้นด้วย

9. การใส่กากสะเดาอัตรา 500 กิโลกรัมต่อไร่ เพิ่มผลผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในดินทรายปนดินร่วนและดินเหนียวปนทราย
44 และ 56 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ



คำแนะนำวิธีการใช้
1. การทำปุ๋ยหมักฟางข้าว กองฟางข้าวในที่ร่มมีขนาดกอง 2x5 เมตร รดน้ำให้ชุ่มพร้อมกับเหยียบให้แน่นพอสมควร จนกองสูง
ประมาณ 25 เซนติเมตร โรยมูลสัตว์และปุ๋ยยูเรียหรือแอมโมเนียมซัลเฟตเพื่อช่วยให้ฟางข้าวสลายตัวเร็วขึ้น แล้วกองชั้นต่อ ๆ
ไป ทำเช่นเดียวกันจนกองมีความสูง 1.00 -1.50 เมตร โดยใช้ฟางข้าว มูลสัตว์และปุ๋ยเคมีอัตราส่วน 100 ต่อ 10 ต่อ 1 ควร
กลับกองปุ๋ยทุก ๆ เดือน หลังกลับกองปุ๋ยครั้งที่สองแล้ว 2 อาทิตย์ จึงกลับอีกครั้งหนึ่ง จากนั้นกองปุ๋ยหมักก็จะเหมาะแก่การนำ
ไปใช้แล้ว ปกติแล้วปุ๋ยหมักจะมีค่าของคาร์บอน/ไนโตรเจนประมาณ 20

2. ใช้ปุ๋ยหมักฟางข้าวอัตรา 2 ตันต่อไร่ โดยหว่านให้ทั่วแปลงขณะเตรียมดินแล้วไถกลบลงไปในดินทันทีก่อนปักดำข้าว 20 วัน
ใส่ปุ๋ย 16-20-0 ในดินเหนียวหรือ 16-16-8 ในดินทรายอัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ ก่อนปักดำข้าว 1 วัน แล้วคราดกลบและใส่
ปุ๋ยยูเรียอัตรา 10 กิโลกรัมต่อไร่ ที่ระยะกำเนิดช่อดอก สำหรับนาหว่านน้ำตมใส่ปุ๋ย 16-20-0 หรือ 16-16-8 อัตรา 30 กิโล
กรัมต่อไร่ หลังข้าวงอก 30 วัน และใส่ปุ๋ยยูเรียอัตรา 10 กิโลกรัมต่อไร่ ที่ระยะกำเนิดช่อดอก

3. การปลูกกระถินยักษ์เป็นปุ๋ยพืชสดในนาข้าวใช้กระถินยักษ์พันธุ์เปรูหรือ K8 ปลูกบนคันนา ควรเริ่มปลูกในช่วงฤดูฝนหรือใน
ระยะที่ดินมีความชื้นพอ ถ้าเป็นคันนาแคบควรปลูกเป็นแถวเดียวระยะระหว่างต้น 50 เซนติเมตร ถ้าคันนากว้างควรปลูกเป็น
แถวคู่ระยะระหว่างต้น x ระยะระหว่างแถวเท่ากับ 50 x 50 เซนติเมตร การตัดแต่งกิ่งเพื่อทำเป็นปุ๋ยพืชสด ถ้าฝนตกตามปกติ
กระถินยักษ์จะโตเร็ว เริ่มตัดใบและกิ่งอ่อนได้ใน 4-5 เดือนของปีแรก ควรตัดแต่งครั้งแรกเมื่อกระถินยักษ์สูง 2 เมตร โดยตัด
ให้เหลือตอสูงเหนือพื้นดิน 1 เมตร ส่วนของกระถินยักษ์ที่จะนำไปใส่เป็นปุ๋ยปรับปรุงบำรุงดินให้เลือกตัดเอาเฉพาะใบและ
กิ่งอ่อนและตัดแต่งทุก 2 เดือน หรือเมื่อต้นกระถินยักษ์สูง 2 เมตร

4. การใส่กระถินยักษ์เป็นปุ๋ยพืชสดในนาข้าว ใช้ใบและกิ่งอ่อนของกระถินยักษ์หว่านในแปลงปลูกข้าวแล้วไถกลบก่อนปักดำ
ข้าว 15 วัน โดยใช้ใบและกิ่งอ่อนอัตรา 1,200 กิโลกรัมต่อไร่ ใส่ปุ๋ยไนโตรเจนอัตรา 12 กิโลกรัม N ต่อไร่ (ยูเรีย 26 กิโล
กรัมต่อไร่) ที่ระยะกำเนิดช่อดอก สำหรับข้าวพันธุ์ไม่ไวต่อช่วงแสง ส่วนข้าวพันธุ์ไวต่อช่วงแสงใช้ใบและกิ่งอ่อนของกระถิน
ยักษ์หว่านแล้วไถกลบก่อนปักดำข้าว 15 วัน โดยใช้ใบและกิ่งอ่อนอัตรา 300 กิโลกรัมต่อไร่ และใส่ปุ๋ยยูเรียอัตรา 12 กิโล
กรัม N ต่อไร่ (ยูเรีย 26 กิโลกรัมต่อไร่) ที่ระยะกำเนิดช่อดอกหรือใช้ใบและกิ่งอ่อนกระถินยักษ์อัตรา 600 กิโลกรัมต่อไร่
อย่างเดียวก่อนปักดำข้าว 15 วัน

5. การปลูกกระถินยักษ์ร่วมกับข้าวสาลี โดยปลูกกระถินยักษ์ในปีแรก โดยปลูกเป็นแถบ 2 แถวคู่ระยะ 50 x 50 เซนติเมตร
ขวางความลาดเทของพื้นที่สลับกับแถบของข้าวสาลีในอัตราส่วนกระถินยักษ์กว้าง 1 เมตร ข้าวสาลีกว้าง 3 เมตร ในปีที่ 2
และปีต่อ ๆ ไป ตัดกระถินยักษ์ส่วนที่เกิน 50 เซนติเมตร ใส่เป็นปุ๋ยพืชสดในพื้นที่ปลูกข้าวสาลีร่วมกับการใช้ปุ๋ย 15-15-15
อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ ที่ระยะหลังข้าวสาลีงอก 20 วัน และตัดกระถินยักษ์ส่วนที่เกิน 50 เซนติเมตร ใส่เป็นปุ๋ยพืชสดในพื้น
ที่ปลูกพืชหลัก เช่น ข้าวไร่ เป็นต้น ปลูกสลับกับข้าวสาลี

6. ใส่กากสะเดา อัตรา 500 กิโลกรัมต่อไร่ ไถกลบก่อนปักดำข้าว 1 สัปดาห์




การเผยแพร่
เผยแพร่โดยกลุ่มงานวิจัยความอุดมสมบูรณ์ของดินและปุ๋ยข้าวและธัญพืชเมืองหนาว กองปฐพีวิทยา กรมวิชาการเกษตร
ลาดยาว จตุจักร กทม. 10900. หรือ โทร 02-5797515



http://www.moac.go.th/ewt_news.php?nid=438&filename=index
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 07/01/2013 12:56 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

75. เทคนิคการตัดใบข้าวเพื่อเพิ่มผลผลิต


โดยว่าที่ ร.ท. ทองพูน หม่องแฉ นักวิชาการเกษตร
องค์การบริหารส่วนตำบลพนมไพร อำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด


อาชีพ หลักของคนไทย 80% คือ อาชีพทำการเกษตรโดยเฉพาะการทำนาถือว่าเป็นหัวใจสำคัญที่ สุดของการทำการเกษตร
แต่เนื่องจากว่าเกษตรกรได้ปลูกข้าวมานาน การปรับปรุงบำรุงดินให้คืนสภาพเดิมมีน้อยมากนั่นคือดินขาดความอุดมสมบูรณ์ การ
เผาตอซังหรือการเผานายิ่งทำให้เกิดผลเสียกับดินมากกว่าผลดีที่จะได้รับ เพราะเป็นการเผาจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์และยังเผา
ทำลายสัตว์เล็กๆในดิน ดินที่ถูกเผาก็จะแห้ง, แข็ง ดินจะตายปลูกพืชๆก็จะไม่เติบโต, พืชแคระแกรนการใช้ปุ๋ยเคมีในปริมาณที่
มากก็จะทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น และถ้ามีการใช้อย่างต่อเนื่องดินก็จะเสียเช่นกัน


การตัดใบข้าวเพื่อเพิ่มผลผลิตของข้าวก็เป็นอีกวิธีการหนึ่งที่จะช่วยลดต้น ทุนการผลิตได้ เพราะใบข้าวที่ถูกตัดออกก็จะ
เน่าเปื่อยกลายเป็นปุ๋ยให้แก่ต้นข้าวได้เป็น อย่างดี


ขั้นตอนการตัดใบข้าว
1. ถ้าทำนาในช่วงเดือนพฤษภาคม ให้ทำการตัดใบข้าว 3 ครั้งดังนี้
1.1 ตัดครั้งที่ 1 ต้นเดือนกรกฎาคม
1.2 ตัดครั้งที่ 2 ต้นเดือนสิงหาคม
1.3 ตัดครั้งที่ 3 ต้นเดือนกันยายน (ไม่ควรเกินวันที่ 5 กันยายน จะเป็นการเสี่ยงเกินไปเพราะช่วงเวลาดังกล่าวข้าวจะออกใบใหม่
ได้ทันและจะ เริ่มตั้งท้องประมาณวันที่ 20 -25 กันยายน)


สำหรับการตัดครั้งที่ 3 ให้ระมัดระวังและสังเกตุเป็นพิเศษ ถ้าไม่มั่นใจ คือก่อนจะทำการตัดใบข้าวให้ทำการผ่าต้นข้าวดูก่อน
ถ้าต้นข้าวเริ่มตั้งท้อง (ต้นข้าวจะมีลักษณะกลมมีข้อปล้อง ) ห้ามตัดใบข้าวอย่างเด็ดขาด

2. ถ้าทำนาก่อนเดือนพฤษภาคมให้ทำการตัดใบข้าวในช่วงเดียวกัน แต่ให้ระวังในการตัดใบข้าวในช่วงที่ 3 เพราะต้น
ข้าวจะแก่ลำต้นข้าวจะแข็งและตั้งท้องเร็วกว่าปกติเล็กน้อย

3. ให้ทำการใส่ปุ๋ยตามระยะการปลูกข้าวปกติ


วิธีการตัดใบข้าว
1. การใช้เครื่องตัดหญ้าชนิดสะพายหลังที่มีใบมีดคมๆ โดยตัดที่ตำแหน่งเหนือสะดือของต้นข้าว(สูงกว่าซอกกาบใบของต้นข้าว )

2. ในกรณีการใช้เคียวเกี่ยวใบข้าว ให้วางเคียวขนานกับพื้นดินการเกี่ยวใบออกจะได้ระดับและความสูงสม่ำเสมอกัน

3. ใช้ได้ผลดีทั้งข้าวนาดำและนาหว่านแต่ข้าวนาหว่านการตัดใบข้าวจะทำได้ลำบากเพราะต้นข้าวจะถี่



ข้อควรระวัง
1. ข้าวกำลังตั้งท้องห้ามตัดใบอย่างเด็ดขาด

2. พื้นที่ปลูกข้าวที่มีลักษณะเสี่ยง เช่น พื้นที่ลุ่มน้ำท่วมได้ง่าย,พื้นที่ดอนหรือแห้งแล้งจัด เพราะพืชอาจจะโดนน้ำท่วมในกรณี
ที่ฝนมาเร็วและอาจจะแห้งตายในกรณีที่ฝนทิ้งช่วง(ควรฟังพยากรณ์อากาศด้วย)

3. ห้ามตัดใบข้าวในช่วงข้าวเกิดโรคระบาดเพราะเชื้อโรคอาจจะเข้าทางรอยแผลหรือไป กับน้ำซึ่งจะทำให้โรคระบาดได้เร็วขึ้น


ข้อดีของการตัดใบข้าว
1. ลดปริมาณของใบข้าว,ตัดใบข้าวแก่ที่ไม่มีประโยชน์ทิ้งทำให้ต้นข้าวแข็งแรงไม่ล้มง่าย
2. ช่วยกำจัดวัชพืช(หญ้า)ได้ เป็นการตัดวงจรของวัชพืชได้เป็นอย่างดี
3. ช่วยลดการระบาดของโรค – แมลงศัตรูพืชบางชนิดได้
4. ใบข้าวที่ตัดออกจะย่อยสลายกลายเป็นปุ๋ยได้อย่างดีหรือจะนำไปใช้เลี้ยงสัตว์ก็ได้
5. ทำให้ข้าวมีผลผลิตเพิ่มมากขึ้นเมล็ดข้าวมีน้ำหนักขายได้ราคา
6. ช่วยลดต้นทุนในการผลิต เช่น ปุ๋ย , ยาป้องกันกำจัดโรค – แมลง , ยาปราบศัตรูพืช
7. แสงแดดสามารถส่องถึงพื้นน้ำ/ดิน อากาศในดินระบายได้ดีทำให้เกิดการสร้างแหล่งอาหารตามธรรมชาติได้ดี เช่น
แพลงต้อน/ไรน้ำ
8. การเก็บเกี่ยวง่ายไม่มีวัชพืชเจือปนกับเมล็ดข้าว
9. เมื่อนำไปจำหน่ายจะได้ราคาที่สูงขึ้นเพราะเมล็ดข้าวสะอาดปราศจากสิ่งเจือปน


หมายเหตุ
1. การคิดระยะการตัดใบข้าวใช้ข้าวหอมมะลิเป็นหลัก ข้าวชนิดอื่นปรับระยะการตัดใบตามความเหมาะสม
2. การตัดใบข้าวจะตัด 1- 2 ครั้งก็ได้แต่ไม่ควรเกิน 3 ครั้ง ( ให้สังเกตุถ้าใบข้าวคลุมหญ้าได้ ก็ไม่ต้องตัดใบข้าวอีก )


สนใจเทคนิคการตัดใบข้าวสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
ว่าที่ ร.ท. ทองพูน หม่องแฉ
อบต. เด่นราษฎร์ อ.หนองฮี จ.ร้อยเอ็ด
มือถือ 0876355911







http://fws.cc/aggri4/index.php?topic=8.0
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 07/01/2013 2:17 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

76. การปลูกข้าวกระถาง - พันธุ์ข้าวหอมปทุมธานี 1





การปลูกข้าวกระถาง
- พันธุ์ข้าวหอมปทุมธานี 1

ลักษณะพันธุ์
- ข้าวเจ้าหอมปทุมธานี 1
- เป็นพันธุ์ข้าวเจ้านาสวน ไม่ไวต่อช่วงแสง สามารถปลูกได้ ทั้งนาปีและนาปรัง ต้นสูงประมาณ 104 - 133 ซ.ม. ทรงกอ
ตั้งตรง แตกกอเก่ง ต้นอ่อน ล้มง่าย ไม่ควรปลูกแล้วเก็บเกี่ยวช่วงฝนชุก เพราะข้าวจะล้ม ต้องคำนวณวันเก็บเกี่ยวดีๆ อายุ
การเก็บเกี่ยว 115-120 วัน ควรเก็บเกี่ยวระยะพลับพลึง ไม่ควรปล่อยให้งอมจนเกินไป เพราะข้าวจะไม่มีน้ำหนักและเมื่อ
สีเป็นข้าวสารเมล็ดจะแตกง่าย ผลผลิตประมาณ 650-774 กกต่อไร่ แต่แถวบ้านย่านรังสิต ทำได้ 800-1000 กก ต่อไร่

คุณภาพข้าวสุก
- ค่อนข้างเหนียวนุ่ม มีกลิ่นหอม คล้ายข้าวขาวดอกมะลิ 105



แช่เมล็ดพันธุ์ 24 ชม. น้ำขึ้นห่มใความชื้น 48 ชม.




เตรียมดิน ใส่ภาชนะที่ไม่มีรู ถ้าได้ดินเลน จะดีมาก ถ้าไม่มี
ก็นำดินแช่น้ำ ใช้ชุ่มแล้วเอาน้ำออก แล้วปลาดหน้าดินให้เรียบ




หว่านข้าวลงในกระถางที่เตรียมดินเรียบร้อยแล้ว




ต้นข้าวอายุ 5 วัน



ต้นข้าวอายุ 10 วัน


8. เมื่อข้าวได้อายุ 20, 40, และ 60 วัน ให้ใส่ปุ๋ย สูตร 16-20-0 หรือ สูตรเสมอ อะไรก็ได้ เท่าที่หาได้ ใส่เท่าไหร่
นั้น ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของต้นข้าวเนื่องจากดินแต่ละที่มีความอุดมสมบูรณ์ไม่เท่ากัน ถ้าเป็นดินเลนจะใส่ปุ๋ยน้อยมาก

9. ข้าวพันธ์นี้ใบมักจะเป็นสีเหลือง กาบใบแห้ง เป็นเชื้อราเก่ง ต้องคอยดูแล ถ้าเป็นเชื้อราก็ฉีดยากันเชื้อรา
10. ข้าวจะเริ่มออกรวงเมื่อข้าวมีอายุ ไ้ด 85-90 วัน ข้าวพันธุ์นี้จะออกรวงช้าอายุยืน
11. เมื่อเมล็ดข้าวสุกเหลืองประมาณ 1 ใน 3 ของรวงก็เทน้ำออก
12. รอวันเก็บเกี่ยวเมื่อข้าวสุกหมดรวง ประมาณ 115-120 วัน
13. ถ้านำเมล็ดข้าวทำพันธุ์ต่อ ก็นำเมล็ดข้าวมาตากแดดจนแห้ง แล้วเก็บไว้ 1 เดือน จึงจะนำไปปลูกได้


ที่มา : http://ricegrower.blogspot.com/2011/07/1.html




http://www.inseedang.net/index.php?option=com_content&view=article&id=207:--1&catid=45:2012-03-27-09-54-18&Itemid=103
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 07/01/2013 2:37 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

77. เตรียมขยายเมล็ดพันธุ์ข้าวปทุมธานี


กรมส่งเสริมการเกษตรเตรียมขยายเมล็ดพันธุ์ข้าวปทุมธานี

ข้าวปทุมธานี 1 เป็นข้าวพันธุ์ใหม่ที่ได้รับการรับรองจากสถาบันวิจัยข้าว กรมวิชาการเกษตร ลักษณะของข้าวปทุมธานี 1
เป็นพันธุ์ข้าวต้นค่อนข้างเตี้ย ความสูงประมาณ 104-133 เซนติเมตร ลำต้นแข็งแรง กอตั้ง ปล้อง กาบใบและใบมีสีเขียว ใบ
ธงยาว ตั้งตรง ใบแก่ช้า คอรวงสั้น รวงแน่นปานกลาง มีอายุเก็บเกี่ยวประมาณ 112-125 วัน

ให้ผลผลิตเฉลี่ยประมาณ 609 กิโลกรัม/ไร่

ใกล้เคียงกับพันธุ์ข้าวสุพรรณบุรี 90 แต่สูงกว่าพันธุ์ข้าวคลองหลวง 1 ประมาณ ร้อยละ 7 คุณสมบัติเด่นของข้าวปทุมธานี 1 คือ
เมื่อสีแล้วได้ข้าวสารเมล็ดเรียวยาว หุงสุกแล้วนุ่มเหนียวเหมือนข้าวหอมมะลิ 105 แต่กลิ่นหอมจะน้อยกว่า สามารถปลูกเป็น
ข้าวนาปรังได้ ต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล โรคไหม้ โรคขอบใบแห้งและเพลี้ยกระโดดหลังขาว

จากลักษณะเด่นข้างต้น ข้าวปทุมธานี 1 จึงเป็นข้าวพันธุ์ใหม่ที่เหมาะสำหรับปลูกในเขตพื้นที่ชลประทาน ลุ่มน้ำเจ้าพระยา แทน
ข้าวชัยนาท 1 สุพรรณบุรี 1 สุพรรณบุรี 90 ซึ่งแม้ว่าพันธุ์ข้าวเหล่านี้จะให้ผลผลิตต่อไร่ค่อนข้างสูง แต่ก็ประสบปัญหาการระบาด
ของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและผลผลิตที่ได้เป็นข้าวคุณภาพต่ำ ส่งผลให้ราคาตกต่ำในช่วงต้นฤดูการผลิตด้วย ปัจจุบันกรมวิชา
การเกษตรผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวปทุมธานี 1 ได้ 110 ตัน เป็นเมล็ดพันธุ์หลัก ส่งมอบให้กรมส่งเสริมการเกษตรเพื่อทำการส่ง
เสริมและกระจายพันธุ์ดีสู่เกษตรกร

โดยแนวทางการกระจายพันธุ์ดีนั้นทางกรมส่งเสริมการเกษตรได้จัดตั้งโครงการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมพันธุ์ดี (ปทุมธานี 1) ขึ้น
วางเป้าหมายการจัดทำแปลงขยายพันธุ์ข้าว จำนวน 9,000 ไร่ ดำเนินการในจังหวัดสุพรรณบุรี 4,000 ไร่ อุตรดิตถ์ 800 ไร่
นครสวรรค์ 400 ไร่ พิษณุโลก ตาก ชัยนาท กำแพงเพชร สุโขทัย เพชรบูรณ์ พิจิตร ลพบุรี และสระบุรี จังหวัดละ 400 ไร่
โดยคาดว่าจะได้ผลผลิตจำนวน 5,400 ตัน และสามารถขยายเป็นพันธุ์ปลูกในรุ่นต่อไปได้ 360,000 ไร่

นายสมศักดิ์ สุริโย ผู้อำนวยการกองส่งเสริมพืชไร่นา เปิดเผยถึง การดำเนินงานการกระจายพันธุ์ข้าวปทุมธานี 1 ว่า กรมส่ง
เสริมการเกษตรจะใช้หลักเกณฑ์ตามโครงการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวชุมชนเป็นหลัก แต่เพิ่มกิจกรรมที่เหมาะสม ใช้ตลาดนำการผลิต
คือ ผลิตเป็นเมล็ดพันธุ์ โดยศูนย์ขยายพันธุ์พืชเข้ามารับซื้อและหรือผลิตเมล็ดข้าวเปลือกให้สมาคมโรงสีข้าวจังหวัดเป็นผู้รับซื้อ
ในกรณีที่ทำเป็นเมล็ดพันธุ์ไม่ได้ และให้มีการเชื่อมโยงระบบการผลิตและการตลาดตามข้อตกลง โดยกลุ่มเกษตรกรที่ร่วมโครง
การ (45 กลุ่ม) ทำข้อตกลงร่วมกับศูนย์ขยายพันธุ์พืชและสมาคมโรงสีข้าวจังหวัด

การใช้หลักเกณฑ์ตามโครงการเมล็ดพันธุ์ข้าวชุมชนนั้น จะดำเนินการผ่านศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล โดย
กรมส่งเสริมการเกษตรสนับสนุนปัจจัยการผลิต ได้แก่ เมล็ดพันธุ์ปุ๋ย สารเคมี ให้กลุ่มเกษตรกรที่เข้าโครงการและจะรับซื้อผล
ผลิตที่ได้มาตรฐานมาทำเป็นเมล็ดพันธุ์ทั้งหมด สำหรับรายได้จะหักค่าใช้จ่ายที่เป็นมูลค่าของปัจจัยการผลิตมาเข้ากองทุนหมุน
เวียนในการจัดซื้อปัจจัยการผลิตให้เกษตรกรรายอื่น ๆ ต่อไป ส่วนหลักเกณฑ์การคัดเลือกเกษตรกรนั้น จะคัดเลือกเกษตรกร
ที่มีศักยภาพในการดำเนินการและสมัครใจเข้าร่วมโครงการ พร้อมกับมีพื้นที่อยู่ในเขตชลประทานกลุ่มละ 20-30 คน พื้นที่ 200
ไร่ ที่ติดต่อหรืออยู่ในบริเวณเดียวกัน เพื่อความเหมาะสมในการถ่ายทอดความรู้แบบกลุ่ม มีการคัดเลือกหัวหน้ากลุ่ม โดยให้หัวหน้า
กลุ่มทำหน้าที่ควบคุมดูแลสมาชิก เป็นวิทยากรประจำกลุ่ม และบริหารจัดการกิจกรรมกลุ่มด้วย ส่วนศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการ
เกษตรประจำตำบลจะรับผิดชอบเรื่องการจัดการปัจจัยการผลิต การอบรมเกษตรกร และการถ่ายทอดเทคโนโลยีในทุกขั้นตอน
การผลิต ส่วนการใช้การตลาดนำการผลิตและการเชื่อมโยงระบบการผลิตกับการตลาดนั้น จะมีข้อตกลงกันล่วงหน้าระหว่างกลุ่ม
เกษตรกรผู้ผลิตกับศูนย์ขยายพันธุ์พืชกรมส่งเสริมการเกษตรและสมาคมโรงสีข้าวจังหวัด ถึงการรับซื้อผลผลิต ซึ่งในรายละเอียด
จะครอบคลุมถึงเงื่อนไขการดูแล

แปลงนา มาตรฐานเมล็ดพันธุ์ ซึ่งหากเกษตรกรสามารถผลิตได้ตรงมาตรฐานเมล็ดพันธุ์ ศูนย์ขยายพันธุ์พืชจะรับซื้อผลผลิตทั้ง
หมด ในราคาเท่ากับข้าวหอมมะลิ 105 ในท้องตลาด แต่หากผลผลิตที่ได้ไม่เข้าเกณฑ์มาตรฐานเมล็ดพันธุ์ทางสมาคมโรงสีข้าว
จังหวัดจะรับซื้อผลผลิตดังกล่าวในราคาต่ำกว่าการขายเป็นเมล็ดพันธุ์ 500 บาทต่อเกวียน ซึ่งการดำเนินการในขณะนี้กรม
ส่งเสริมการเกษตรได้พื้นที่และเกษตรกรที่ร่วมโครงการเรียบร้อยแล้ว และพร้อมที่จะหว่านข้าวปทุมธานี 1 ในช่วงสัปดาห์แรก
ของเดือนสิงหาคมนี้

สำหรับประโยชน์ที่จะได้รับหลังเสร็จสิ้นโครงการ เกษตรกรสามารถผลิตเมล็ดพันธุ์ได้ไร่ละ 600 กิโลกรัม ๆ ละ 7 บาท เป็น
เงิน 4,200 บาทต่อไร่ รวม 9,000 ไร่ มีรายได้เฉลี่ยรวม 37.8 ล้านบาท และจะได้เมล็ดข้าวพันธุ์ดี 5,400 ตัน สามารถ
เป็นพันธุ์ขยายได้ในพื้นที่ 360,000 ไร่ ซึ่งจะผลิตข้าวหอมคุณภาพดีได้จำนวน 216,000 ตัน คิดเป็นมูลค่า 1,296 ล้านบาท
ในปีต่อไป


อมรทิพย์ ภิรมย์บูรณ์ : รายงาน
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กองเกษตรสัมพันธ์ กรมส่งเสริมการเกษตร



http://library.uru.ac.th/webdb/images/aa62.htm
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 07/01/2013 2:50 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

78. พันธุ์ข้าว บางแตน (Bang)

ชื่อพันธุ์
- บางแตน (Bang Taen)

ชนิด
- ข้าวเจ้า

คู่ผสม
- SPR60 / ไออาร์60 // ไออาร์64

ประวัติพันธุ์
- ได้จากการผสมพันธุ์แบบ 3 ทางระหว่างข้าวลูกผสมชั่วที่ 1 ของพันธุ์สุพรรณบุรี 60 และ ไออาร์60 กับ ไออาร์64
ที่สถานีทดลองข้าวชัยนาท ในฤดูนาปี พ.ศ. 2532 ปลูกคัดเลือกจนได้สายพันธุ์ CNT89020-9-2-2-3

การรับรองพันธุ์
- คณะกรรมการบริหาร กรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2547














ลักษณะประจำพันธุ์
- เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 110 เซนติเมตร
- ไม่ไวต่อช่วงแสง
- อายุเก็บเกี่ยว 90–95 วัน ถ้าปลูกในช่วงเดือนพฤศจิกายน ถึง มีนาคม และ 110-115 วัน ถ้าปลูกในช่วงเดือน
พฤษภาคม - สิงหาคม
- ทรงกอตั้ง ฟางแข็ง ใบสีเขียว ใบธงตั้งตรง รวงยาว คอรวงยาว ระแง้ถี่
- เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง
- ระยะพักตัว ประมาณ 5 สัปดาห์
- เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.28 x 7.57 x 1.86 มิลลิเมตร
- ปริมาณอมิโลส 26.24 %
- คุณภาพข้าวสุก ร่วน ค่อนข้างแข็ง

ผลผลิต
- ประมาณ 705 กิโลกรัมต่อไร ในฤดูนาปี่
และประมาณ 827 กิโลกรัมต่อไร ในฤดูนาปรัง่


ลักษณะเด่น
- ต้านทานต่อโรคไหม้ เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และเพลี้ยจักจั่นสีเขียว ที่จังหวัดปราจีนบุรี

ข้อควรระวัง
- ไม่ต้านทานต่อโรคกาบใบแห้ง และโรคไหม้คอรวง จึงควรระมัดระวังเมื่อนำไปปลูกในพื้นที่ที่มีโรคนี้เคยระบาด
- ไม่ต้านทานโรคไหม้และเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในภาคเหนือตอนล่าง ไม่ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในภาคกลาง

พื้นที่แนะนำ
- นาน้ำฝนโดยเฉพาะพื้นที่นาน้ำลึกในภาคตะวันออก ที่มีการชลประทานสนับสนุนการปลูกข้าวหลังน้ำลด (นาปี – นาปรัง)
- นาน้ำลึกในจังหวัดปราจีนบุรีที่ปรับระบบการปลูกข้าว เป็น นาปรัง – นาปรัง(ก่อนน้ำท่วม – หลังน้ำลด) เว้นพื้นที่นาว่างเปล่า
ในช่วงน้ำท่วมสูงสุดเพื่อเลี่ยงความเสียหาย



http://kkn-rsc.ricethailand.go.th/rice/pedigree/02/Bang_Taen.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 07/01/2013 5:32 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

79. ข้าวหอมมะลิ 105 รวมกลุ่มผลิตเมล็ดพันธุ์คุณภาพ



นิตยา อินทอง นักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ

ข้าวหอมมะลิ 105 เมล็ดพันธุ์คุณภาพ พื้นที่จัดรูปที่ดินฯ น้ำอูน สกลนคร

การจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เป็นการต่อยอดระบบชลประทานที่มีอยู่ อันได้แก่ ระบบคลองส่งน้ำ สายใหญ่ สายซอย ซึ่งเปรียบ
เสมือนเส้นเลือดใหญ่ในการกระจายน้ำ แต่การกระจายน้ำให้เข้าถึงในระดับไร่นาอย่างมีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องอาศัยเส้นเลือด
ฝอยหรือการจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม

จังหวัดสกลนคร เป็นจังหวัดที่กรมชลประทานได้เข้ามาทำการจัดรูปที่ดินฯ โดยจัดตั้งโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาน้ำอูน ซึ่ง
เป็นโครงการชลประทานขนาดใหญ่แห่งหนึ่งในจำนวนหลายโครงการของการพัฒนาแหล่งน้ำในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
เพื่อกักเก็บและแพร่กระจายน้ำให้แก่พื้นที่เพาะปลูก ซึ่งช่วยขจัดปัญหาการขาดแคลนน้ำในช่วงขาดฝนและในฤดูแล้ง รวมทั้ง
บรรเทาอุทกภัยในลุ่มน้ำอูนและลุ่มน้ำห้อยปลาหางตอนล่างของลุ่มน้ำสงคราม

โครงการจัดรูปที่ดินฯ น้ำอูน จังหวัดสกลนคร จะอาศัยน้ำจากอ่างเก็บน้ำของเขื่อนน้ำอูน เป็นแหล่งน้ำต้นทุนในการกระจายสู่
พื้นที่โครงการ ซึ่งประกอบด้วย 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอพังโคน อำเภอพรรณานิคม และอำเภอเมือง ในเขตโครงการส่งน้ำและ
บำรุงรักษาน้ำอูน 203,000 ไร่

พื้นที่การเกษตรที่ได้รับการจัดรูปที่ดินฯ ได้กลายสภาพคล้ายโรงงานอุตสาหกรรมที่สามารถผลิตพืชผลการเกษตรได้ตลอด
เวลา อย่างน้อยที่สุด ก็สามารถทำการเกษตรได้ปีละ 2 ครั้ง

การจัดรูปที่ดินฯ พื้นที่ตำบลช้างมิ่ง อำเภอพรรณานิคม โดยมีน้ำต้นทุนจากเขื่อนน้ำอูนเข้ามาสนับสนุนในการทำการเกษตร ส่ง
ผลทำให้พื้นที่ระหว่างต้นน้ำ กลางน้ำ ในพื้นที่อำเภอพรรณานิคมมีน้ำอุดมสมบูรณ์ สามารถทำการเกษตรได้ โดยเฉพาะ
อาชีพทำนาที่เดิมเคยทำได้ปีละ 1 ครั้ง มาเป็นปีละ 2 ครั้ง

คุณไพศาล เรืองสวัสดิ์ ประธานกลุ่มผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว เล่าให้ฟังว่า พื้นที่ตำบลช้างมิ่ง อำเภอพรรณานิคม ส่วนใหญ่จะใช้ทำ
การเกษตรปลูกพืช และเลี้ยงสัตว์ ซึ่งพืชหลักที่ปลูกนั้นจะเป็นข้าว โดยแต่ละปีพื้นที่บริเวณตำบลช้างมิ่งจะทำนาได้เพียง
ปีละครั้ง แต่หลังจากมีการจัดรูปที่ดินฯ ได้น้ำต้นทุนจากเขื่อนน้ำอูนเข้ามาสนับสนุน ทำให้พื้นที่อำเภอพรรณานิคมสามารถปลูก
พืชได้ตลอดทั้งปี โดยเฉพาะการทำนาปลูกข้าวที่เดิมเคยทำได้ปีละ 1 ครั้ง ก็ทำได้เพิ่มเป็นปีละ 2 ครั้ง

คุณไพศาล เล่าต่อว่า ในอดีตเกษตรกรที่ปลูกข้าวในชุมชนส่วนใหญ่จะทำเก็บไว้เพื่อบริโภคมากกว่าที่จะผลิตเพื่อจำหน่าย
เนื่องจากแต่ละปีการทำนาปลูกข้าวจะทำได้ปีละ 1 ครั้ง เพราะเนื่องจากปัจจัยการผลิต ทั้งเมล็ดพันธุ์ สภาพดินในพื้นที่ สภาพ
ลมฟ้าอากาศที่ยังไม่เอื้ออำนวยเท่าที่ควร ผลผลิตแต่ละปีก็มีน้อย จำเป็นต้องเก็บไว้บริโภคภายในครอบครัวให้ได้ตลอดปี
ทำให้การผลิตเพื่อจำหน่ายยังไม่เกิดขึ้นในชุมชนเท่าที่ควร ถึงมีก็เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ยังไม่หลากหลายเหมือนทุกวันนี้

การจัดรูปที่ดินฯ ก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นในระดับไร่นาที่เปรียบเสมือนเส้นเลือดฝอยที่ซอกซอนเข้าถึงพื้นที่ได้อย่าง
มีประสิทธิภาพด้วยคูส่งน้ำ พร้อมทั้งคูระบายน้ำและถนน ทำให้น้ำเข้าถึง ส่งผลต่อการทำนาปลูกข้าวของเกษตรกรในพื้นที่
ตำบลช้างมิ่ง ซึ่งรวมถึงบ้านตาลเลียน สามารถปลูกข้าวได้ปีละ 2 ครั้ง คือนาปีและนาปรัง



ส่งเสริมพันธุ์ข้าว ปลูกข้าวคุณภาพ
ด้วยความพร้อมของพื้นที่นี้เอง ศูนย์ขยายเมล็ดพันธุ์พืชที่ 18 กรมส่งเสริมการเกษตร จึงได้เข้ามาส่งเสริมให้เกษตรกรในพื้นที่
ปลูกข้าวหอมมะลิ 105 เพื่อใช้ทำเป็นเมล็ดพันธุ์ เพิ่มจากการผลิตข้าวเพื่อเก็บไว้บริโภคและจำหน่าย เนื่องจากการผลิตเมล็ด
พันธุ์ข้าวหอมมะลิ 105 จะขายได้ราคาดีกว่าการทำนาปลูกข้าวทั่วไป อีกทั้งยังได้ข้าวคุณภาพเก็บไว้บริโภคได้อีกด้วย

พื้นที่นากว่า 1,200 ไร่ ของบ้านตาลเลียน ได้ปรับเปลี่ยนมาใช้ทำนาผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิ 105 จำหน่าย โดยมีสมาชิก
เข้าร่วมจัดตั้งเป็นกลุ่มผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวกว่า 147 คน ส่งให้กับศูนย์ขยายเมล็ดพันธุ์พืชที่ 18 กรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อนำ
ไปคัดเลือกพันธุ์บริสุทธิ์ ก่อนนำออกไปส่งเสริมให้กับเกษตรกร



เตรียมพื้นที่ดี แก้ปัญหาวัชพืช-ข้าวปน
การผลิตจะมีกระบวนการที่ยากกว่าการทำนาปกติทั่วไป เริ่มตั้งแต่การเตรียมดินเพาะปลูกจะต้องใช้เครื่องจักรกลการเกษตรเข้ามา
ช่วยเตรียมดินก่อนจะนำต้นกล้าที่เตรียมไว้ลงไปปักดำแทนการหว่าน เพื่อช่วยลดปัญหาของข้าวปน ตลอดจนปัญหาของวัชพืช
ข้าวดีด ข้าวเด้ง ที่เป็นปัญหาหลักของเกษตรกรทั่วๆ ไป

การผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิ 105 คุณไพศาลบอกว่า ต้องวางแผนการผลิตให้ดี โดยการเตรียมดินจะต้องให้ความสำคัญเป็น
อันดับต้นของกระบวนการผลิต

"การทำนาข้าวเพื่อผลิตเป็นเมล็ดพันธุ์ ค่อนข้างจะมีกระบวนการที่ยุ่งยากกว่าการทำนาทั่วไป โดยเฉพาะการเตรียมดิน ต้องไถพลิก
หน้าดิน 1 ครั้ง ตีดิน 2 รอบ เพื่อให้เศษฟางที่ปะปนและวัชพืชที่อยู่ในพื้นดินตาย สามารถช่วยลดปัญหาข้าวดีด ข้าวเด้ง
ที่รบกวนก็จะหมดลงได้"

หลังจากการเตรียมดินเสร็จสมบูรณ์ คุณไพศาล จะเริ่มนำต้นกล้าลงปลูกโดยใช้วิธีการปักดำแทนการหว่าน เพราะเนื่องจากการปัก
ดำจะได้ต้นข้าวที่แข็งแรง กอแข็ง สมบูรณ์ ผลผลิตมีคุณภาพและปริมาณมากกว่าการทำนาหว่าน

การดูแลและการให้ปุ๋ย คุณไพศาล บอกว่า จะคอยเดินดูต้นข้าวว่ามีศัตรูธรรมชาติมารบกวนหรือไม่ อีกทั้งคอยกำจัดวัชพืชที่ขึ้นใน
บางวัน ส่วนปุ๋ยที่ใช้จะเป็นปุ๋ยคอกและปุ๋ยชีวภาพผสมกันในช่วงที่ข้าวตั้งกอ

ส่วนการเก็บเกี่ยว คุณไพศาลจะใช้รถเกี่ยวนวดข้าวมาช่วยเก็บผลผลิตเหมือนกับการเก็บเกี่ยวข้าวทั่วไป ซึ่งผลผลิตเฉลี่ยแต่ละไร่
ที่ได้ ประมาณ 70-80 ถัง (600-700 กิโลกรัม) จำหน่ายให้กับศูนย์ เพื่อนำไปคัดเลือกพันธุ์ให้บริสุทธิ์ ในราคากิโลกรัมละ
25 บาท ทำให้เกษตรกรมีรายได้ 15,000-17,000 บาท/ไร่ เมื่อนำมาหักลบกับต้นทุนการผลิต รวมทุกอย่าง ประมาณไร่ละ
3,300 บาท ทำให้เกษตรกรมีรายได้หลังหักลบค่าใช้จ่าย ไร่ละ 12,000-14,500 บาท

สำหรับการซื้อ-ขายนั้น ทางศูนย์จะมีโควต้ารับซื้อข้าวของเกษตรกรรายละ 400 กิโลกรัม ส่วนที่เหลือเกษตรกรจะนำไป
สีเป็นข้าวสารเก็บไว้บริโภคในครัวเรือน

"ในระยะ 4-5 ปี ที่ผ่านมา มีน้ำท่าจากเขื่อนน้ำอูนอุดมสมบูรณ์ดี ทำให้พื้นที่สามารถใช้ปลูกข้าวได้ตลอดทั้งปี ไม่ว่าจะเป็นนาปี
นาปรัง ยกเว้นช่วงไหนแล้งจริงๆ กรมชลประทานประกาศงดส่งน้ำทำนาปรัง เกษตรกรก็จะหันไปปลูกพืชฤดูแล้ง เช่น มะเขือเทศ
ถั่วลิสง มันฝรั่ง และข้าวโพด แทน" คุณไพศาลกล่าวทิ้งท้าย


"ฐานะของชาวบ้านที่นี่ไม่ยากจน ทุกคนมีข้าวกินตลอดปี ครบทุกมื้อ สามารถส่งลูกเรียนได้"




http://info.matichon.co.th/techno/techno.php?srctag=05034151255&srcday=2012-12-15&search=no
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 11/01/2013 3:52 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)


80.




ชื่อพันธุ์
- พัทลุง 60 (Phatthalung 60 )

ชนิด
- ข้าวเจ้า

ชื่อคู่ผสม
- กข13 / กข7

ประวัติพันธุ์
- ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์ กข13 และพันธุ์ กข7 ที่สถานีทดลองข้าวควนกุฎ (ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง) ในปี พ.ศ. 2520
ปลูกคัดเลือกจนถึงชั่วที่ 5 ที่สถานีทดลองข้าว นครศรีธรรมราช จนได้สายพันธุ์ KGTLR77003-3-NSR-1-1

การรับรองพันธุ์
- คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2530













ลักษณะประจำพันธุ์
- เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 156 เซนติเมตร
- ไวต่อช่วงแสง
- อายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 6 -13 มกราคม

- ผลผลิตประมาณ 457 กิโลกรัมต่อไร่

- ต้นค่อนข้างแข็ง ล้มยาก มีรวงแน่น ระแง้ถี่ เมล็ดมาก รวงยาวและใหญ่ คอรวงยาว เมล็ดค่อนข้างป้อม ท้องไข่ปานกลาง
- ข้าวเปลือกสีฟางมีกระน้ำตาล
- เมล็ดข้าวเปลือก ยาว x กว้าง x หนา = 9.7 x 2.7 x 2.0 มิลลิเมตร


http://www.brrd.in.th/rvdb/index.php?option=com_content&view=article&id=44:phatthalung-60&catid=30:photosensitive-lowland-rice&Itemid=53


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 11/01/2013 4:24 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 11/01/2013 4:04 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

81.


ชื่อพันธุ์
- พิษณุโลก 2 (Phitsanulok 2)

ชนิด
- ข้าวเจ้า

คู่ผสม
- CNTLR81122-PSL-37-2-1 / SPRLR81041-195-2-1 // ไออาร์56

ประวัติพันธุ์
- ได้จากการผสมพันธุ์ 3 ทาง ระหว่างสายพันธุ์ CNTLR81122-PSL-37-2-1 และ SPRLR81041-195-2-1 กับ
ไออาร์56 ที่ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก ปี พ.ศ. 2533-2534 ปลูกคัดเลือกจนได้สายพันธุ์ PSL91014-16-1-5-1

การรับรองพันธุ์
- คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรองเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2543









ลักษณะประจำพันธุ์
- เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 114 เซนติเมตร
- ไม่ไวต่อช่วงแสง
- อายุเก็บเกี่ยว 119-121 วัน
- ทรงกอตั้ง ใบสีเขียวเข้ม ใบธงตั้ง รวงแน่นปานกลาง ระแง้ค่อนข้างถี่ คอรวงสั้น ฟางแข็ง ใบแก่ช้า
- เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง
- ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 8 สัปดาห์
- เมล็ดข้าวเปลือก ยาว x กว้าง x หนา = 10.5 x 2.5 x 1.9 มิลลิเมตร
- เมล็ดข้าวกล้อง ยาว x กว้าง x หนา = 7.9 x 2.1 x 1.6 มิลลิเมตร
- ปริมาณอมิโลส 28.6 %
- คุณภาพข้าวสุก ร่วน แข็ง

ผลผลิต
- ประมาณ 807 กิโลกรัมต่อไร่


ลักษณะเด่น
- ผลผลิตสูง และมีเสถียรภาพในการให้ผลผลิต
- ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยกระโดดหลังขาว และเพลี้ยจักจั่นสีเขียว
- คุณภาพการสีดี ท้องไข่น้อย

ข้อควรระวัง
- ไม่ต้านทานโรคไหม้ และโรคใบหงิก
- ไม่ต้านทานแมลงบั่ว
- เมล็ดค่อนข้างร่วงง่าย

พื้นที่แนะนำ
- ทุกภาคในเขตชลประทาน



http://www.brrd.in.th/rvdb/index.php?option=com_content&view=article&id=82:phitsanulok-2&catid=34:non-photosensitive-lowland-rice&Itemid=55


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 21/01/2013 10:28 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 11/01/2013 4:14 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

82.




ชื่อพันธุ์
- พิษณุโลก 60-2 (Phitsanulok 60-2)

ชนิด
- ข้าวเจ้า

คู่ผสม
- กข1/ BR51-91-6 // SPR6726-134-124 / ไออาร์34

ประวัติพันธุ์
- ได้จากการผสมซ้อน ระหว่างคู่ผสมของพันธุ์ กข1 กับพันธุ์บีอาร์ 51-91-6 และคู่ผสมของสายพันธุ์ SPR6726-134-124
กับพันธุ์ ไออาร์34 ที่สถานีทดลองข้าวสุพรรณบุรี เมื่อปี พ.ศ. 2519-2520 ปลูกคัดเลือกจนได้สายพันธุ์ SPRLR77034-
PSL-17-1-1-1

การรับรองพันธุ์
- คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่
30 กันยายน 2530









ลักษณะประจำพันธุ์
- เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 120-130 เซนติเมตร
- ไม่ไวต่อช่วงแสง
- อายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 130-140 วัน
- ลำต้นสีเขียวตั้งตรง กอแน่น ใบสีเขียวเรียวยาว มีขนเล็กน้อย ใบธงแคบสั้นและตั้ง รวงยาวอยู่ใต้ใบธง ระแง้ถี่ เมล็ดร่วง
ยากปานกลาง
- ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 8-9 สัปดาห์
- เมล็ดข้าวเปลือก ยาว x กว้าง x หนา =2.4 x 9.8 x 1.9 มิลลิเมตร
- เมล็ดข้าวเปลือก ยาว x กว้าง x หนา = 7.3 x 2.1 x 1.7 มิลลิเมตร
- ปริมาณอมิโลส 29.6 %
- คุณภาพข้าวสุก ร่วน แข็ง

ผลผลิต
- ประมาณ 700-780 กิโลกรัมต่อไร่


ลักษณะเด่น
- ผลผลิตสูง
- คุณภาพการสีดี เลื่อมมัน แกร่ง ท้องไข่น้อย
- ต้านทานโรคกาบใบเน่า และค่อนข้างต้านทานโรคไหม้ และโรคขอบใบแห้ง
- ค่อนข้างต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
- ตอบสนองต่อปุ๋ยสูง

ข้อควรระวัง
- ไม่ต้านทานโรคกาบใบแห้ง
- ไม่ต้านทานไส้เดือนฝอย
- ปลูกในฤดูนาปรังอายุหนักกว่า และให้เปอร์เซ็นต์ต้นข้าวน้อย

พื้นที่แนะนำ
- เหมาะที่จะปลูกในฤดูนาปี เขตชลประทานภาคกลางและภาคเหนือตอนล่าง


http://www.brrd.in.th/rvdb/index.php?option=com_content&view=article&id=84:phitsanulok-60-2&catid=34:non-photosensitive-lowland-rice&Itemid=55
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 12/01/2013 6:57 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

83.



ชื่อพันธุ์
- แพร่ 1 (Phrae 1)

ชนิด
- ข้าวเหนียว

คู่ผสม
- ไออาร์2061-214-3-14-8 / กข4

ประวัติพันธุ์
- ได้จากการผสมพันธุ์ ระหว่าง ไออาร์2061-214-3-14-8 กับพันธุ์ กข4 ที่สถานีทดลองข้าวขอนแก่น ในฤดูแล้ง
ปี พ.ศ.2518 ปลูกคัดเลือกที่ศูนย์วิจัยข้าวแพร่ จนได้สายพันธุ์ KKNLR75052-PRE-40-1-1-1

การรับรองพันธุ์
- คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็น พันธุ์รับรองเมื่อวันที่
17 มิถุนายน 2537









ลักษณะประจำพันธุ์
- เป็นข้าวเหนียว สูงประมาณ 120 เซนติเมตร
- ไม่ไวต่อช่วงแสง
- อายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 130 วัน
- ทรงกอตั้ง ต้นแข็ง ใบสีเขียวมีขน ใบแก่ช้า กาบใบและปล้องสีเขียว ใบธงตั้ง คอรวงยาว รวงยาว และแน่น ระแง้ค่อนข้างถี่
- เมล็ดขาวเปลือกสีน้ำตาล และมีขน ยอดเมล็ดสีฟาง
- ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 6 สัปดาห์
- เมล็ดข้าวเปลือก ยาว x กว้าง x หนา = 10.5 x 3.0 x 2.2 มิลลิเมตร
- เมล็ดข้าวกล้อง ยาว x กว้าง x หนา = 7.4 x 2.4 x 1.8 มิลลิเมตร
- คุณภาพข้าวสุก เหนียวค่อนข้างนุ่ม

ผลผลิต
- ประมาณ 685 กิโลกรัมต่อไร่


ลักษณะเด่น
- ให้ผลผลิตสูง และตอบสนองต่อการใช้ปุ๋ยดี
- ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
- ต้านทานโรคไหม้ ค่อนข้างต้านทานโรคขอบใบแห้ง และโรคใบหงิก

ข้อควรระวัง
- ค่อนข้างอ่อนแอต่อแมลงบั่ว
- ไม่ต้านทานเพลี้ยกระโดดหลังขาว

พื้นที่แนะนำ
- ภาคเหนือตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ



http://www.brrd.in.th/rvdb/index.php?option=com_content&view=article&id=86:phrae-1&catid=34:non-photosensitive-lowland-rice&Itemid=55
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 12/01/2013 7:07 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

84. ชื่อพันธุ์ - สกลนคร (Sakon Nakhon)

ชนิด
- ข้าวเหนียว

คู่ผสม
- หอมอ้ม / กข10

ประวัติพันธุ์
- ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์หอมอ้ม กับพันธุ์ กข10 ที่สถานีทดลองข้าวขอนแก่น เมื่อปี พ.ศ. 2525 ปลูกคัดเลือก
ที่สถานีทดลองข้าวสกลนครจนได้สายพันธุ์ KKNUR82003-SKN-69-1-1 การรับรองพันธุ์ - คณะกรรมการบริหาร
กรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์แนะนำ เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2543








ลักษณะประจำพันธุ์
- เป็นข้าวเหนียว สูงประมาณ 123-146 เซนติเมตร
- ไม่ไวต่อช่วงแสง
- อายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 128 วัน
- ทรงกอตั้ง ปล้องและกาบใบสีเขียว มีขนบนใบ ใบธงตั้งตรง
- การร่วงของเมล็ดปานกลาง
- รวงแน่นปานกลาง
- เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง
- ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 3 สัปดาห์
- เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.2 x 7.8 x 1.8 มิลลิเมตร

ผลผลิต
- ประมาณ 467 กิโลกรัมต่อไร่


ลักษณะเด่น
- เป็นข้าวเหนียวไม่ไวต่อช่วงแสง อายุสั้นกว่าพันธุ์ กข10
- ปลูกได้ทั้งในสภาพนาดอน นาชลประทาน และสภาพไร่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- คุณภาพข้าวสุก เหนียวนุ่ม มีกลิ่นหอม ใกล้เคียง กข6

ข้อควรระวัง
- ไม่ต้านทานโรคไหม้ โรคขอบใบแห้ง
- ไม่ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

พื้นที่แนะนำ
- พื้นที่นาดอน นาชลประทาน และสภาพไร่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ



ขอขอบคุณข้อมูลจาก
กรมการข้าว

Retrieved from "http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B9%8C%E0%B8%AA%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A3"


http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B9%8C%E0%B8%AA%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A3
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 12/01/2013 7:20 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

85. ข้าวเหนียวหอมไม่ไวแสง 'แม่โจ้ 2'





ถ้าพูดถึงเรื่องของผลผลิตข้าวในปีที่ผ่านมาก็พบว่า หลายพื้นที่ต้องได้รับผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วม ส่งผลให้นาข้าวที่กำลัง
ใกล้จะเก็บเกี่ยวต้องได้รับความเสียหาย และเกษตกรเองก็ต้องได้รับผลกระทบขาดทุน บางรายถึงกับต้องสิ้นเนื้อประดาตัว ล่าสุด
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้คิดค้นงานวิจัย "ข้าวเหนียวหอมต้นเตี้ย ไม่ไวต่อช่วงแสงสายพันธุ์แม่โจ้ 2" ที่จะช่วยส่งเสริม
ให้เกษตรกรนำพันธุ์ข้าวไปปลูกสร้างรายได้ แต่ทั้งนี้ผลงานวิจัยดังกล่าวอยู่ในช่วงของการทดลองสถานีสุดท้าย ก่อนจะนำไปเผยแพร่
ต่อไป

ผศ.ดร.วราภรณ์ แสงทอง อาจารย์สาขาพันธุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เปิดเผยว่า งานวิจัยดังกล่าวได้ร่วมกับ
ทีมงานนักศึกษาระดับปริญญาตรีและปริญญาโท สาขาพืชไร่ คณะผลิตกรรมการเกษตร และสาขาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทยา
ศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในการทดลอง โดยต้องใช้เวลาในการทดลองและปรับปรุงพันธุ์นานถึง 7 ปี

โดยใช้ข้าวเจ้าพันธุ์ปทุมธานี 1 เป็นพันธุ์รับ และข้าวเหนียวพันธุ์ กข.6 เป็นพันธุ์ให้ ใช้วิธีผสมกลับ และใช้เครื่องหมายโมเลกุล
ช่วยในการคัดเลือก ซึ่งเป็นวิธีใหม่ และกำลังได้รับความนิยมอยู่ในขณะนี้ ซึ่งวิธีการดังกล่าวจะช่วยย่นระยะเวลาในการปรับปรุง
พันธุ์จนประสบความสำเร็จได้ข้าวเหนียวต้นเตี้ยไม่ไวต่อช่วงแสง และต้านทานต่อการหักล้ม ง่ายต่อการใช้รถเก็บเกี่ยว แก้ปัญหา
ด้านแรงงาน และช่วยเพิ่มมูลค่าให้ข้าวเหนียว รวมทั้งยังสามารถต้านทานต่อโรคและแมลง เหมาะกับเกษตรที่สามารถนำไป
เพาะปลูกในช่วงฤดูนาปีและนาปรังได้ ทั้งนี้งานวิจัยดังกล่าวประสบความสำเร็จจนได้รับรางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้นระดับดีเด่น
ด้านเกษตรศาสตร์และอุตสาหกรรมการเกษตร ประจำปี 2555 จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

ผศ.ดร.วราภรณ์ เผยต่อว่า ปกติแล้วการปรับปรุงพันธุ์รูปแบบเดิมจะใช้เวลาค่อนข้างนานกว่าสิบปี แต่งานวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีผสม
กลับและการคัดเลือกยีนด้วยเครื่องหมายโมเลกุลซึ่งเป็นเทคนิคที่กำลังได้รับความนิยมของแวดวงวิชาการด้านพันธุกรรมในปัจจุ
บัน เพื่อช่วยเรื่องความแม่นยำและย่นระยะเวลาในการปรับปรุงพันธุ์ได้มาก โดยเฉพาะลักษณะที่ต้องการโดยคำนึงถึงความต้อง
การที่เป็นประโยชน์แก่เกษตรกร เช่น เลือกลักษณะยีนควบคุมความเป็นข้าวเจ้าและยีนเรื่องความหอมของข้าวหอมมะลิ และ
ลักษณะต้นเตี้ยไม่ไวต่อช่วงแสง ซึ่งสามารถใช้เป็นพันธุ์ทางเลือกสำหรับเกษตรกรที่ต้องการปลูกข้าวเหนียวหอมในฤดูนาปรัง
เพราะ กข.6 ไม่สามารถปลูกได้ในฤดูนาปรัง”

ดังนั้น “ข้าวเหนียวหอมต้นเตี้ยไม่ไวต่อช่วงแสงสายพันธุ์แม่โจ้ 2” จึงมีคุณสมบัติสำคัญคือ
- ไม่ไวต่อช่วงแสงสามารถปลูกได้ทั้งในฤดูนาปีและนาปรัง
- ความสูงประมาณ 90-120 เซนติเมตร
- ลักษณะต้นเตี้ยช่วยต้านทานต่อการหักล้มและง่ายต่อการใช้รถเก็บเกี่ยวแก้ปัญหาการขาดแรงงานเก็บเกี่ยว

ความเป็น “ข้าวเหนียวหอม” ช่วยเพิ่มมูลค่าให้ข้าวเหนียว เนื่องจากสายพันธุ์แม่โจ้ 2 มีกลิ่นหอม ซึ่งโดยปกติข้าวหอมจะมีราคา
สูงเพราะเป็นที่นิยมของผู้บริโภคมากกว่า ที่สำคัญคือมีความต้านทานต่อโรคและแมลงในระดับเดียวกับข้าวเจ้าพันธุ์ปทุมธานี 1
ซึ่งจัดว่ามีความต้านทานต่อโรคและแมลงอยู่แล้ว จึงช่วยลดการใช้สารเคมีลง” และเหมาะกับเกษตรกรที่จะนำไปเพาะปลูก
สร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ข้าว เนื่องจากปีที่ผ่านมาเกษตกรผู้ปลูกข้าวต้องได้รับผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วมจนทำให้นาข้าวได้
รับความเสียหาย

ทั้งนี้ “ข้าวเหนียวหอมต้นเตี้ยแม่โจ้ 2” ขณะนี้กำลังอยู่ในการทดลองปลูกสถานีสุดท้ายก่อนเผยแพร่พันธุ์ให้เกษตรกรที่สนใจ
ต่อไป เกษตรกรท่านใดสนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ หรือโทรสอบถามได้ที่
0-5387-5287 ในวันและเวลาราชการ



(หมายเหตุ : ข้าวเหนียวหอมไม่ไวแสง 'แม่โจ้ 2' - ทนโรคเหมาะปลูกนาปีและนาปรัง : โดย ... ประภาภรณ์ เครืองิ้ว)


http://www.komchadluek.net/detail/20120228/124081/%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%AB%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B9%84%E0%B8%A7%E0%B9%81%E0%B8%AA%E0%B8%87'%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B9%82%E0%B8%88%E0%B9%892'.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 13/01/2013 6:48 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

86. เกษตรมหัศจรรย์ ครั้งที่ 4


ปีนี้จัดหนัก!!! กรมการข้าวเตรียมโชว์ข้าวมงคล 85 สายพันธุ์ ข้าวพันธุ์ใหม่





ใกล้เปิดฉาก“เกษตรมหัศจรรย์ ครั้งที่ 4” ปีนี้จัดหนัก!!!


กรมการข้าวเตรียมโชว์ข้าวมงคล85 สายพันธุ์ ข้าวพันธุ์ใหม่
จากการวิจัยข้าวอินทรีย์และข้าวจีไอ ฯลฯ


เป็นที่รู้กันดีว่าประเทศไทยเป็นผู้ผลิตและส่งออกข้าวเป็นอันดับต้นๆ ของโลก บวกกับยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศตามแผน
อาชีพและรายได้แก่เกษตรกร รวมทั้งความมั่นคงด้านอาหารและพลังงาน เพื่อสร้างเศรษฐกิจไทยให้เข้มแข็งสามารถแข่งขัน
ได้อย่างยั่งยืนในเวทีโลก

กรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงได้ร่วมกับเครือมติชน โดยนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน และนิตยสารเส้นทาง
เศรษฐี เตรียมจัดงาน “เกษตรมหัศจรรย์ ครั้งที่ 4” ภายใต้แนวคิด ”คุณค่าพืชพันธุ์ธัญญาหาร” เพื่อให้ความรู้ด้านการพัฒนา
เกษตรไทยและนำเสนอความมหัศจรรย์ของพืชพันธุ์ไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของคุณค่าทางอาหารและสรรพคุณทางยา
ซึ่งจะช่วยผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลาง (hub) การผลิตและตอบสนองความต้องการด้านอาหารในฐานะครัวของโลก ที่สำคัญ
งานนี้ยังเป็นการต่อยอดจากการจัดงานเกษตรมหัศจรรย์ครั้งที่ 3 “ข้าวของพ่อ วิถีพอเพียง” เมื่อปีที่ผ่านมา (ชมภาพ) ซึ่ง
ประสบความสำเร็จได้รับความสนใจจากเกษตรกรรุ่นใหม่และประชาชนทั่วไปเป็นอย่างมาก

กิจกรรมที่น่าสนใจในงานเกษตรมหัศจรรย์ครั้งที่ 4 จะมีมากมาย เป็นต้นว่า กิจกรรมร่วมเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
“กษัตริย์แห่งเกษตร” นิทรรศการ เสวนาให้ความรู้ การเชิดชูผู้นำเกษตรกร การสาธิตถึงสรรพคุณพืชผลไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
“นิทรรศการของกรมการข้าว” ซึ่งจะจัดแสดงข้าวมงคล 85 สายพันธุ์ อาทิ หลวงประทาน หอมชลสิทธิ์ ปิ่นแก้ว เข็มเงิน
ฯลฯ พร้อมคัดเลือก 20 ข้าวพันธุ์ดีมาให้ชิมฟรีเช่นเดียวกับครั้งที่แล้ว นอกจากนี้จะมีการจัดแสดงข้าวพันธุ์ใหม่จากการวิจัย,
ข้าวอินทรีย์และข้าว จีไอ และการแปรรูปข้าว เป็นต้น

งานเกษตรมหัศจรรย์ครั้งที่ 4 ”คุณค่าพืชพันธุ์ธัญญาหาร” จะมีขึ้นในวันที่ 20-24 กุมภาพันธ์ 2556 ที่ เอ็มซีซี ฮอลล์ เดอะมอลล์ บางกะปิ



http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1357879086&grpid=no&catid=03&subcatid=0300


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 13/01/2013 11:55 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 13/01/2013 11:23 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

87. พันธุ์ก่ำดอยสะเก็ด (Kum Doisaket)


พันธุ์ข้าวก่ำพะเยา
พันธุ์ก่ำพะเยา
หอมนิลพะเยา
มันปูพะเยา
ก่ำมูเซอพะเยา











รศ.ดร.ดำเนิน กาละดี หัวหน้าหน่วยวิจัยข้าวก่ำ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เล่าว่า ได้รับอนุมัติจากมหาวิทยาลัย
เชียงใหม่ ให้จัดตั้งเป็นหน่วยวิจัยข้าวก่ำ ภายใต้การดูแลของสถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อรวบรวมและอนุรักษ์
พันธุกรรมข้าวก่ำพื้นเมืองของไทยมาตั้งแต่ปี 2539 ปฏิบัติงานด้านการรวบรวมและวิจัยในเชิงวิทยาศาสตร์มาโดยตลอด คณะผู้วิจัยได้
เพียรพยายามรวบรวมพันธุ์ข้าวก่ำพื้นเมืองจากแหล่งปลูกข้าวต่างๆ ทั่วประเทศ จำนวน 42 พันธุ์ จากการดำเนินงานปรับปรุงพันธุ์ใน
อดีตจนถึงปัจจุบัน กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ให้การยอมรับและขึ้นทะเบียนเป็นพันธุ์พืชใหม่คือ ข้าวเหนียวดำ
พันธุ์ก่ำดอยสะเก็ด และพันธุ์ก่ำอมก๋อย ตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. 2518 นอกจากนี้ ได้ดำเนินการจดสิทธิบัตรผลิตภัณฑ์ อัน
เนื่องมาจากผลงานวิจัยข้าวก่ำ ในชื่อผลิตภัณฑ์ว่า กรรมวิธีผลิตข้าวก่ำมอลล์ กรรมวิธีผลิตข้าวก่ำมอลล์เฟลกค์ ข้าวก่ำมอลล์เอกแพน
หรือเอกซ์ทรูด และผลิตภัณฑ์ที่ได้จากวิธีนี้

เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2549 คุณประโยชน์เชิงโภชนาการศาสตร์เกษตร คือข้าวก่ำมีสารต้านอนุมูลอิสระ แอนโทไซยานิน และแกมมา
โอซานอล ซึ่งสารต้านอนุมูลอิสระมีผลที่ดีต่อสุขภาพ ช่วยป้องกันโรคหัวใจ ลดคอเลสเตอรอล ลดน้ำตาลในเส้นเลือด ยับยั้งการเจริญ
เติบโตของเซลล์มะเร็งกระเพาะ ยับยั้งการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร และยับยั้งการรวมตัวของเกล็ดเลือด ในด้านการเป็นสมุนไพรที่
เกิดจากภูมิปัญญาท้องถิ่นที่น่าเชื่อถือคือ ใช้เป็นสมุนไพรสำหรับหญิงที่ตกเลือดในขณะคลอดบุตร ใช้ทำเป็นข้าวหลามรักษาโรคท้อง
ร่วง ใช้ข้าวก่ำผสมกับดินประสิว ช่วยรักษาโรคหิด ฯลฯ ในอนาคต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จะสามารถผลิตข้าวก่ำที่มีคุณภาพ
ทั้งในด้านโภชนาการศาสตร์เกษตร ด้านโภชนาการสุขภาพ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญของการอนุรักษ์ข้าวก่ำ ข้าวพื้นเมืองของไทยที่มีคุณ
ภาพ เป็นการพัฒนาข้าวก่ำให้สามารถแข่งขันในตลาดเสรีได้อย่างภาคภูมิใจ



สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ หน่วยวิจัยข้าวก่ำ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โทร. (053) 944-045
งานประชาสัมพันธ์ (084) 043-3806

คุณค่าทางอาหารของข้าวก่ำ นอกจาก
ไขมัน (Total FAT) 4.6
คาโบไฮเดรต (Carbohydrate) 25.5
ไฟเบอร์ (Fiber) 16.6
วิตามินเอ (Vitamin A) 0.38
วิตามินเอ (Vitamin B1) 36.67
วิตามินเอ (Vitamin B2) 17.1
แคลเซี่ยม (Calcium) 3.25
เหล็ก (Iron) 15.33



http://blackrice.cddphayao.com/index.php?option=com_content&view=article&id=8&Itemid=25


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 13/01/2013 11:56 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 13/01/2013 11:39 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

88. หอมนิลพะเยา



หอมนิลพะเยา(05/52)

ข้าวหอมนิลเป็นข้าวจ้าวที่ได้รับการคัดเลือกและพัฒนาจนได้ข้าวที่มีเมล็ดข้าวเรียวยาว สีม่วงเข้ม สีเป็นข้าวกล้องเมื่อหุงสุกจะนุ่ม
เหนียว หอม ข้าวสารหุงสุกมีสีม่วงอ่อน นุ่ม และมีกลิ่นหอมเช่นกัน คุณสมบัติที่สำคัญของข้าวหอมนิลคือ ข้าวกล้องมีโปรตีนสูงถึง
12.5 เปอร์เซ็นต์ ปริมาณคาร์โบไฮเดรต 70 เปอร์เซ็นต์ ปริมาณ amylose 16 เปอร์เซ็นต์ และยังประกอบไปด้วยธาตุ
เหล็ก สังกะสี ทองแดง แคลเซียม และโพแทสเซียม ซึ่งสูงกว่าข้าวขาวดอกมะลิ " ข้าวหอมนิล ในสารอาหารของข้าวมีโปรตีน
ธาตุเหล็ก และสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งมีมากกว่าข้าวโดยทั่วไปถึง 7 เท่า ลดความเสี่ยงของโรคมะเร็ง ใยอาหารในข้าวกล้อง
หอมนิลยังช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้อีกด้วย


ประโยชน์ต่อร่างคุณค่าทางอาหารของข้าวหอมนิล
1. วิตามิน บี1 บี 2 และ บีรวม วิตามินอี
2. ธาตุเหล็ก สังกะสี ทองแดง แคลเซียม โพแทสเซียม (โดยเฉพาะธาตุเหล็กสูงกว่าข้าวกล้องทั่วไป 30 เท่า)
3. โปรตีน 12.5% (มากกว่าข้าวกล้องทั่วไป)
4. คาร์โบไฮเดรต (ต่ำกว่าข้าวกล้องทั่วไป จึงกินแล้วไม่อ้วน)
5. สารต้านอนุมูลอิสระ สูงกว่าข้าวกล้องทั่วไป 7 เท่า
6. เส้นใยอาหาร

ประโยชน์ข้าวหอมนิล
1. วิตามิน บี1 ป้องกันเหน็บชา และช่วยการทำงานของระบบประสาท
2. วิตามิน บี2 ป้องกันโรคปากนกกระจอก และ ช่วยเผาผลาญอาหาร
3. ไนอาซีน ช่วยการทำงานของระบบประสาท และระบบผิวหนัง
4. แร่ธาตุเหล็ก แม็กนีเซียม ฟอสฟอรัส แคลเซียม ช่วยเสริมสร้าง กระดูกและฟันป้องกันโรคโลหิตจาง ป้องกันไม่ให้เป็นตะคริว
5. เส้นใย ช่วยให้ถ่ายสะดวก ป้องกันมะเร็งลำไส้ ซับไขมัน ช่วยลดระดับคลอเรสเตอรอล ป้องกันโรคไขมันสะสมในเส้นเลือด
6. คาร์โบไฮเดรต ให้พลังงานต่อร่างกาย
7. โปรตีน เสริมสร้าง ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ


นอกจากนี้ ข้าวพันธุ์นี้ยังมี สารแอนโทไซยานิน ที่ช่วยทำให้เส้นผมดกดำ นุ่มสลวยไม่แตกปลาย ช่วยบำรุงรากผมให้แข็งแรง
กระตุ้นให้ผมมีสีเข้มขึ้น ชะลอกการเกิดผมหงอกก่อนวัยและธาตุเหล็กที่มีอยู่ในข้าวหอมนิลนี้ ทานเข้าไปในร่างกายสามารถดูดซึม
ได้เลย (บางพันธุ์ แม้จะมีธาตุเหล็ก แต่ทานแล้วร่างกายไม่สามารถดูดซับก็ไม่มีประโยชน์)

ข้อมูลจาก : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ , มหาวิทยาลัยมหิดล และศูนย์ไบโอเทคกายทั้งสิ้น

ผู้ผลิต/จำหน่าย วิสาหกิจชุมชน กลุ่มบ้านชาวนาข้าวก่ำพะเยา เลขที่ 59 ม. 8 ต. หงส์หิน อ. จุน จ. พะเยา 56150
โทร. 054- 896062 มือถือ 086-1157131



http://blackrice.cddphayao.com/index.php?option=com_content&view=article&id=8&Itemid=25&limitstart=2


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 13/01/2013 11:57 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 13/01/2013 11:43 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

89. มันปูพะเยา



มันปูพะเยา

ข้าวมันปู เป็นข้าวพันธุ์หนึ่งที่มีเยื่อหุ้มเปลือกข้าวเป็นสีแดงแบบสีมันปู จัดเป็นข้าวกล้องหรือข้าวซ้อมมือชนิดหนึ่ง มีไขมันในปริมาณ
เดียวกับข้าวกล้อง ซึ่งสูงกว่าข้าวขัดสีประมาณเท่าหนึ่ง มีสารที่เรียกว่าเคโรทีนที่จะเปลี่ยนเป็นวิตามินเอในร่างกายสูงกว่าข้าว
ขัดสี ชาวจีนเรียก ข้าวแดง หรือชื่อพื้นเมือง อั้งคั่ก นอกจากเป็นข้าวยังผลิตออกมาในรูปยีสต์สีแดงใช้ประกอบอาหารและเป็นสมุน
ไพรรักษาโรค บ้านเรานำข้าวแดงเมืองจีนหรืออั้งคั่กมาเป็นสีผสมอาหารเพื่อให้สีแดง เช่น เต้าหู้ยี้ หมูแดง เนื้อแดง

คุณประโยชน์ สูงกว่าข้าวขัดสีขาว สารอาหารที่มีอยู่ในข้าวแดงก็มี แป้ง ไขมัน โปรตีน ฟอสฟอรัส และธาตุเหล็กในปริมาณที่สูง
อย่างมาก ทองแดง, วิตามิน เอ, วิตามินบี, บี2, วิตามิน ซี





สรรพคุณ ป้องกันโรคหัวใจ ป้องกันโรคแขนขาไม่มีกำลังวังชา รักษาอาการมือเท้าบวมมีผื่นขึ้น ป้องกันโรคนอนไม่หลับ รักษาระบบ
ย่อยอาหารที่ไม่ปกติ มีลมในท้อง และลำไส้ คนชรารับประทานข้าวแดงได้บ่อยครั้งก็จะดีอย่างมาก แต่เนื่องจากข้าวแดงย่อยยาก
นำไปต้มเป็นข้าวต้มจะดีกว่า ทั้งเป็นอาหารเพิ่มเลือดที่ดีมากสำหรับผู้หญิงที่เป็นโรคโลหิตจาง


ผู้ผลิต/จำหน่าย วิสาหกิจชุมชน กลุ่มบ้านชาวนาข้าวก่ำพะเยา เลขที่ 59 ม. 8 ต. หงส์หิน อ. จุน จ. พะเยา 56150
www. Blackrice phayao.com โทร. 054- 896062 มือถือ 086-1157131



http://blackrice.cddphayao.com/index.php?option=com_content&view=article&id=8&Itemid=25&limitstart=3


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 13/01/2013 11:58 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 13/01/2013 11:46 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

90. ก่ำมูเซอพะเยา



ก่ำมูเซอพะเยา


เป็นข้าวเหนียวดำพันธุ์พื้นเมืองโบราณ ปลูกตามไหล่เขาสูง 900 – 1,500 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลในหุบเขาและได้นำมาปลูก
ในพื้นที่นาราบลุ่ม เมื่อปี 2552 ที่กลุ่มบ้านชาว จำนวน 10 ไร่ เพื่อเป็นยาสมุนไพร แก้โรคปวดตามข้อตามตัวและผู้ที่มีเลือดข้น
มีสารแกมม่า โอไรซานอลสูงกว่าข้าวธรรมดาถึง 3 เท่าตามธรรมชาติ และเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่าโดยกระบวนการเพาะงอก
(germination) และเพิ่มสารกาบา ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่นิยมใช้ในปัจจุบัน นอกจากนี้ยังมีสารที่ให้ประโยชน์ทาง
ยา คือ แอนโทไซยานิน ซึ่งเป็นสารสีม่วงในเมล็ดข้าวก่ำ


ประโยชน์ของสารไซยานิน
- มีคุณสมบัติยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งในปอด


ประโยชน์ของสารแอนโทไซยานิน
- ช่วยในการหมุนเวียนกระแสโลหิต
- เป็นสารanti-oxidantซึ่งทำปฏิกิริยาต่อต้านสารอนุมูลอิสระของเซลล์ในร่างกาย
- ชลอการเสื่อมสภาพของเซลล์ในร่างกาย ประโยชน์ของสารกาบา
- เป็นneurotransmitterและช่วยป้องกันโรคเกี่ยวกับระบบประสาทเช่นโรคอัลไซเมอร์โรคลมชัก
- ช่วยให้รู้สึกสงบลดอาการวิตกกังวลและช่วยรักษาโรคนอนไม่หลับ
- เพิ่มอัตราการเผาผลาญของเซลล์สมอง
- ลดความดันโลหิต
- ยับยั้งและป้องกันการเกิดเซลล์มะเร็ง และมะเร็งในลำไส้


ประโยชน์ของสารแกมม่า
-โอไรซานอล
- กระตุ้นต่อมไร้ท่อให้ขับฮอร์โมนอย่างสม่ำเสมอโดยเฉพาะฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนในเพศชายให้อยู่ในระดับคงที่ให้สัมพันธ์
กับฮอร์โมนในการเจริญเติบโต
- มีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ
- ลดคอเลสเตอรอลในเส้นเลือด
- กระตุ้นให้ตับสร้างสารอินซุลิน
- ลดอาการผิดปกติในวัยใกล้หมดประจำเดือน
- ส่งเสริมการดูดซึมแคลเซียมที่มีอยู่ในข้าวโดยเฉพาะจากข้าวเพาะงอก

คุณค่าทางโภชนาการต่อข้าวก่ำดอยมูเซอเพาะงอกแห้ง100กรัม
โปรตีน 11.75 % ใยอาหาร 1.39 %
ไขมัน 3.84 % คาร์โบไฮเดรทที่ละลายได้ 84.28 %
แทนนิน 0.0014 % วิตามิน อี 1,415 มิลลิกรัม
เบตาแคโรทีน 48 มิลลิกรัม เหล็ก 3.9 มิลลิกรัม
สังกะสี 2.2 มิลลิกรัม Gamma amino butyric 14 มิลลิกรัม

http://blackrice.cddphayao.com/index.php?option=com_content&view=article&id=8&Itemid=25&limitstart=4


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 13/01/2013 11:59 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 13/01/2013 11:52 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

91. ประโยชน์ข้าวก่ำพะเยา








ประโยชน์ข้าวก่ำพะเยา :
1. แอนโทไซยานิน* (Anthocyanin )
มีคุณสมบัติในการต้านการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน (antioxidant) ช่วยการหมุนเวียนของกระแสโลหิต ชะลอการเสื่อมของ
เซลล์ร่างกาย โดยเฉพาะ Anthocyanin ชนิดพบในข้าวสีม่วงกลุ่มอินดิก้า (indica type) (ซึ่งก็รวมข้าวก่ำไทย) คือ
cyanindin 3-glucoside ก็ได้พิสูจน์แล้วว่ามีคุณสมบัติในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งปอด


2. แกมมาโอไรซ่านอล* (Gamma Oryzanol)
นอกจากจะมีคุณสมบัติเป็นการต้านการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน เช่นเดียวกันแล้ว ยังสามารถลด Cholesterol, Triglyceride
และเพิ่มระดับของ high density lipoprotien (HDL) ในเลือด และยังมีผลต่อการทำงานของต่อมใต้สมอง ยับยั้งการหลั่ง
กรดในกระเพาะอาหาร และยับยั้งการรวมตัวของเกล็ดเลือด ลดน้ำตาลในเลือด และเพิ่มระดับของฮอร์โมนอินซูลิน ของคนเป็น
โรคเบาหวานชนิดที่ 2 นอกจากนี้ยังมีหน้าที่ต้านการหืนของไขมันในรำข้าว และของนมผงไขมันเต็ม



http://blackrice.cddphayao.com/index.php?option=com_content&view=article&id=3&Itemid=17
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 13/01/2013 2:07 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

92. พันธุ์ข้าวส่งเสริมที่ผลิตเพื่อการค้าในปัจจุบัน

พันธุ์ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง :
• ชัยนาท 1
• สุพรรณบุรี 1
• สุพรรณบุรี 3 (ดอนเจดีย์)
• พิษณุโลก 2
• ปทุมธานี 1
• กข29 (ชัยนาท 80)
• กข31 (ปทุมธานี 80)
• สันป่าตอง 1


พันธุ์ข้าวไวต่อช่วงแสง :
• ขาวดอกมะลิ 105
• กข15
• พิษณุโลก 3
• กข6


--------------------------------------------------------------------------------

พันธุ์ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง ชัยนาท 1



ข้าวเจ้าไม่ไวต่อช่วงแสง อายุ 110 วัน

ลักษณะเด่น
• เมล็ดยาว คุณภาพดี

ข้อควรระวัง
ไม่ต้านทานโรคขอบใบแห้ง และเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
ไม่ทนต่ออากาศหนาวเย็นในช่วงข้าวตั้งท้อง และออกดอก

--------------------------------------------------------------------------------


พันธุ์ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง สุพรรณบุรี 1



ข้าวเจ้าไม่ไวต่อช่วงแสง อายุ 115 วัน

ลักษณะเด่น
• ผลผลิตสูง ค่อนข้างต้านทานโรค และเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในสภาพธรรมชาติ
• ทนต่ออากาศหนาวเย็นในภาคกลางและภาคเหนือตอนล่าง

ข้อควรระวัง
ไม่ต้านทานโรคขอบใบแห้ง โรคไหม้ และใบจุดสีน้ำตาลในภาคเหนือตอนล่าง
ล้มง่าย

--------------------------------------------------------------------------------


พันธุ์ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง สุพรรณบุรี 3



ข้าวเจ้าไม่ไวต่อช่วงแสง อายุ 110 วัน

ลักษณะเด่น
• ผลผลิตสูง
• ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
• ทนต่ออากาศหนาวเย็นในภาคกลางและภาคเหนือตอนล่าง

ข้อควรระวัง
ไม่ต้านทานโรคใบจุดสีน้ำตาล และโรคเมล็ดด่าง
ระยะแตกกอสูงสุดข้าวมักแสดงอาการใบเหลือง ให้ใส่ปุ๋ยแต่งหน้าลดอาการ

--------------------------------------------------------------------------------


พันธุ์ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง พิษณุโลก 2



ข้าวเจ้าไม่ไวต่อช่วงแสง อายุ 105 -110 วัน

ลักษณะเด่น
ผลผลิตสูง เมล็ดยาว คุณภาพดี
ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
ต้นแข็งไม่ล้ม

ข้อควรระวัง
ไม่ต้านทานโรคขอบใบแห้ง โรคเมล็ดด่าง และโรคดอกกระถิน
ไม่ทนต่ออากาศหนาวเย็นในช่วงข้าวตั้งท้อง และออกดอก

--------------------------------------------------------------------------------


พันธุ์ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง ปทุมธานี 1




ข้าวเจ้าไม่ไวต่อช่วงแสง อายุ 110 -115 วัน

ลักษณะเด่น
• มีกลิ่นหอม คุณภาพข้าวสุกเหมือนข้าวขาวดอกมะลิ 105
• ต้านทานโรคไหม้และโรคขอบใบแห้ง

ข้อควรระวัง
ไม่ทนต่ออากาศหนาวเย็นในช่วงข้าวตั้งท้อง และออกดอก
ไม่เหมาะที่จะปลูกฤดูนาปรังในเขตภาคเหนือเพราะจะกระทบอากาศร้อนจัดในช่วงข้าวออกดอก ทำให้คุณภาพการสีต่ำ

--------------------------------------------------------------------------------


พันธุ์ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง กข29 (ชัยนาท 80)




ข้าวเจ้าไม่ไวต่อช่วงแสง อายุ 95 -105 วัน

ลักษณะเด่น
• อายุสั้น เหมาะสำหรับพื้นที่ที่ทำนาปีละ 3 ครั้ง พื้นที่ที่ขาดแคลนน้ำ หรือต้องเร่งทำนาก่อนน้ำท่วม
• ผลผลิตสูง ต้นแข็งไม่ล้ม
• ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลดี และค่อนข้างต้านทานโรคขอบใบแห้ง

ข้อควรระวัง
• ไม่ทนต่ออากาศหนาวเย็นในช่วงข้าวตั้งท้อง และออกดอก ไม่ควรปลูกข้าวพันธุ์นี้ ในช่วง กลางเดือน ก.ย. - ปลาย พ.ย.

--------------------------------------------------------------------------------


พันธุ์ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง กข31 (ปทุมธานี 80)




ข้าวเจ้าไม่ไวต่อช่วงแสง อายุ 110 วัน

ลักษณะเด่น
• ต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดหลังขาว ค่อนข้างต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล โรคขอบใบแห้ง โรคใบจุดสีน้ำตาล และโรคเมล็ดด่าง
• ผลผลิตสูง

ข้อควรระวัง
• อ่อนแอต่อโรคไหม้ โรคใบหงิก และโรคใบสีส้ม

--------------------------------------------------------------------------------



พันธุ์ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง สันป่าตอง 1




ข้าวเหนียวไม่ไวต่อช่วงแสง อายุ 120 -125 วัน

ลักษณะเด่น
• ผลผลิตสูง
• ต้านทานโรคไหม้และโรคขอบใบแห้ง
• ปลูกได้ตลอดปี

ข้อควรระวัง
ไม่ต้านทานโรคใบสีส้ม
ไม่ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและบั่ว

--------------------------------------------------------------------------------


พันธุ์ข้าวไวต่อช่วงแสง ขาวดอกมะลิ 105




ข้าวเจ้าไวต่อช่วงแสง เก็บเกี่ยว 20 – 25 พ.ย.

ลักษณะเด่น
• มีกลิ่นหอม คุณภาพการหุงต้มและรับประทานดี
• ทนแล้ง ทนดินเค็มและดินเปรี้ยว

ข้อควรระวัง
ไม่ต้านทานโรคไหม้ โรคขอบใบแห้ง
และเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

--------------------------------------------------------------------------------


พันธุ์ข้าวไวต่อช่วงแสง กข15




ข้าวเจ้าไวต่อช่วงแสง เก็บเกี่ยว 10 พฤศจิกายน

ลักษณะเด่น
• มีกลิ่นหอม คุณภาพข้าวการรับประทานเหมือนขาวดอกมะลิ 105
• อายุเบา
• ทนแล้งพอสมควร

ข้อควรระวัง
ไม่ต้านทานโรคไหม้ โรคขอบใบแห้ง
ไม่ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และบั่ว

--------------------------------------------------------------------------------


พันธุ์ข้าวไวต่อช่วงแสง พิษณุโลก 3




ข้าวเจ้าไวต่อช่วงแสง เก็บเกี่ยว 5-10 ธันวาคม

ลักษณะเด่น
• ผลผลิตสูง
• คุณภาพการสีดี
• ต้นแข็ง ไม่ล้มง่าย
• ข้าวสุกนุ่ม

ข้อควรระวัง
ไม่ต้านทานโรคไหม้ โรคขอบใบแห้ง และเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

--------------------------------------------------------------------------------


พันธุ์ข้าวไวต่อช่วงแสง กข6




ข้าวเหนียวไวต่อช่วงแสง เก็บเกี่ยว 20 พฤศจิกายน

ลักษณะเด่น
• คุณภาพการหุงต้มและรับประทานดี มีกลิ่นหอม

ข้อควรระวัง
ไม่ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
ไม่ต้านทานโรคไหม้ โรคใบหงิก โรคคอรวงเน่า และโรคใบจุดสีน้ำตาล



http://www.brrd.in.th/rkb/seed/index.php-file=content.php&id=4.htm


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 20/01/2013 6:46 am, แก้ไขทั้งหมด 5 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 13/01/2013 2:42 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

93.


ชื่อพันธุ์
- สุพรรณบุรี 1 (Suphan Buri 1)

ชนิด
- ข้าวเจ้า

คู่ผสม
- IR25393-57-2-3 / กข23 // IR27316-96-3-2-2 /// SPRLR77205-
3-2-1-1 / SPRLR79134-51-2-2

ประวัติพันธุ์
- ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างลูกผสมชั่วที่ 1 ของ IR25393-57-2-3 / กข23 // IR27316-96-3-2-2 และลูกผสม
ชั่วที่ 1 ของ SPRLR77205-3-2-1-1 / SPRLR79134-51-2-2 ที่สถานีทดลองข้าวสุพรรณบุรี เมื่อปี พ.ศ.2528 ปลูก
คัดเลือกจนได้สายพันธุ์ SPRLR85163-5-1-1-2

การรับรองพันธุ์
- คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรองเมื่อวันที่
28 ตุลาคม 2537








ลักษณะประจำพันธุ์
- เป็นข้าวเจ้านาสวน สูงประมาณ 125 เซนติเมตร
- ไม่ไวต่อช่วงแสง
- อายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 120 วัน
- ทรงกอตั้ง ต้นแข็งไม่ล้ม ใบสีเขียวเข้ม มีขน กาบใบและปล้องสีเขียว ใบธงยาวค่อนข้างตั้งตรง คอรวงยาว รวงค่อนข้างแน่น
- เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง
- ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 22 วัน
- เมล็ดข้าวเปลือก ยาว x กว้าง x หนา = 10.0 x 2.4 x 2.0 มิลลิเมตร
- เมล็ดข้าวกล้อง ยาว x กว้าง x หนา = 7.3 x 2.2 x 1.8 มิลลิเมตร
- ปริมาณอมิโลส 29 %
- คุณภาพข้าวสุก ร่วน แข็ง

ผลผลิต
- ประมาณ 806 กิโลกรัมต่อไร่


ลักษณะเด่น
- ผลผลิตสูง
- ตอบสนองต่อการใช้ปุ๋ย
- ต้านทานโรคไหม้ โรคขอบใบแห้ง และต้านทานโรคใบหงิก และโรคใบสีส้ม ในสภาพธรรมชาติ
- ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และเพลี้ยกระโดดหลังขาว

ข้อควรระวัง
- พบโรคใบขีดสีน้ำตาลในระยะออกรวง อาจเป็นสาเหตุของโรคเมล็ดด่างได้

พื้นที่แนะนำ
- ทุกภาคในเขตชลประทาน


http://www.brrd.in.th/rkb/varieties/index.php-file=content.php&id=76.htm
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 13/01/2013 3:14 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

94. พันธุ์ข้าว สุพรรณบุรี 2 (Suphan Buri 2)


ชื่อพันธุ์
- สุพรรณบุรี 2 (Suphan Buri 2 )

ชนิด
- ข้าวเจ้า

คู่ผสม
- กข23 / ไออาร์60

ประวัติพันธุ์
- ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่าง กข23 กับไออาร์ 60 ที่สถานีทดลองข้าว สุพรรณบุรี
เมื่อปี พ.ศ. 2526 ปลูกคัดเลือกจนได้สายพันธุ์ SPRLR83260-143-1-1

การรับรองพันธุ์
- คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2537








ลักษณะประจำพันธุ์
- เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 122 เซนติเมตร
- ไม่ไวต่อช่วงแสง
- อายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 115 วัน
- ทรงกอตั้ง ใบสีเขียวมีขน การแก่ของใบปานกลาง กาบใบและปล้องสีเขียว
ใบธงยาวปานกลางและค่อนข้างตั้งตรง คอรวงยาว รวงยาว ระแง้ค่อนข้างถี่
- เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง มีขน
- ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 6 สัปดาห์
- เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.2 x 7.3 x 1.8 มิลลิเมตร
- ปริมาณอมิโลส 22-23 %
- คุณภาพข้าวสุก ร่วน นุ่ม

ผลผลิต
- ประมาณ 700 กิโลกรัมต่อไร่


ลักษณะเด่น
- อายุเก็บเกี่ยวสั้น
- ตอบสนองต่อการใช้ปุ๋ยดี
- คุณภาพการสีดี
- ต้านทานโรคไหม้ และโรคขอบใบแห้ง ทนทานต่อโรคใบหงิก และ โรคใบสีส้ม ในสภาพธรรมชาติ
- ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

ข้อควรระวัง
- ไม่ต้านทานโรคใบขีดสีน้ำตาลระยะออกรวง และโรคกาบใบเน่า ใน สภาพธรรมชาติ

พื้นที่แนะนำ
- เขตพื้นที่ปลูกข้าวนาชลประทานของภาคกลาง ภาคตะวันออก และ ภาคตะวันตก


http://kkn-rsc.ricethailand.go.th/rice/pedigree/02/Suphan_Buri_2.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 13/01/2013 3:29 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

95.


ชื่อพันธุ์
- สุพรรณบุรี 3 (Suphan Buri 3)

ชนิด
- ข้าวเจ้า

คู่ผสม
- Basmati370*3 / กข7 // IR68

ประวัติพันธุ์
- ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างลูกผสมกลับครั้งที่ 2 (BC2) ของ Basmati370*3/กข7 กับพันธุ์ IR68 ที่ศูนย์วิจัยข้าว
สุพรรณบุรี ในฤดูนาปรัง พ.ศ.2533 ปลูกคัดเลือกจนได้สายพันธุ์ SPR90008-58-1-1-3

การรับรองพันธุ์
- คณะกรรมการบริหาร กรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2549











ลักษณะประจำพันธุ์
- เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 114 เซนติเมตร
- ไม่ไวต่อช่วงแสง
- อายุเก็บเกี่ยว 115 - 120 วัน
- ลักษณะทรงกอตั้ง ต้นแข็ง ใบสีเขียว ใบธงค่อนข้างตั้ง
- เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง
- ระยะพักตัวของเมล็ดพันธุ์ ประมาณ 5 สัปดาห์
- เมล็ดข้าวเปลือก ยาว x กว้าง x หนา = 10.7 x 2.5 x 2.1 มิลลิเมตร
- เมล็ดข้าวกล้อง ยาว x กว้าง x หนา = 7.5 x 2.1 x 1.8 มิลลิเมตร
- ท้องไข่น้อย
- ปริมาณอมิโลสสูง (28.3%)
- คุณภาพข้าวสุก ร่วน แข็ง ประเภทข้าวเสาไห้

ผลผลิต
- ประมาณ 772 กิโลกรัมต่อไร่


ลักษณะเด่น
- ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ดีกว่าพันธุ์สุพรรณบุรี 1
- ต้านทานโรคไหม้และโรคขอบใบแห้ง
- ให้ผลผลิตสูงใกล้เคียงกับพันธุ์สุพรรณบุรี 1

ข้อควรระวัง
- ไม่ต้านทานโรคใบสีส้ม และโรคใบจุดสีน้ำตาลในสภาพธรรมชาติ

พื้นที่แนะนำ
- นาชลประทานภาคกลางที่ทำนาต่อเนื่อง และพื้นที่ที่มีปัญหาการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล



http://www.brrd.in.th/rvdb/index.php?option=com_content&view=article&id=92:suphan-buri-3&catid=34:non-photosensitive-lowland-rice&Itemid=55


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 20/01/2013 6:51 am, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 13/01/2013 3:40 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

96. สุพรรณบุรี 60 (Suphan Buri 60)



ชื่อพันธุ์
- สุพรรณบุรี 60 (Suphan Buri 60)

ชนิด
- ข้าวเจ้า

คู่ผสม
- เหลืองทองนาปรัง / ซี4-63 / / ไออาร์48

ประวัติพันธุ์
- ได้จากการผสม 3 ทาง ระหว่างพันธุ์เหลืองทองนาปรัง และ ซี4-63 กับพันธุ์ ไออาร์48 ที่สถานีทดลองข้าวสุพรรณบุรี
ในฤดูนาปี 2523 และ นาปรัง 2524 ปลูกคัดเลือกจนได้สายพันธุ์ SPRLR81074-61-1-1

การรับรองพันธุ์
- คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2530





ลักษณะประจำพันธุ์
- เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 133 เซนติเมตร
- ไม่ไวต่อช่วงแสง
- อายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 120-122 วัน
- ใบสีเขียวเข้ม ทรงกอตั้ง รวงแน่น ระแง้ถี่ คอรวงสั้น เมล็ดรูปร่างเรียว ยาว ท้องไข่น้อย
- เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง
- ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 4 สัปดาห์
- เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.2 x 7.5 x 1.8 มิลลิเมตร
- ปริมาณอมิโลส 23 -25 %
- คุณภาพข้าวสุก ร่วน นุ่ม

ผลผลิต
- ประมาณ 700 กิโลกรัมต่อไร่


ลักษณะเด่น
- ผลผลิตสูง
- คุณภาพเมล็ดดี
- คุณภาพการสีดี
- ตอบสนองต่อปุ๋ยสูง
- ต้านทานโรคใบสีส้ม และโรคไหม้
- ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยจักจั่นสีเขียว

ข้อควรระวัง
- ไม่ต้านทานโรคใบจุดสีน้ำตาล และโรคกาบใบแห้ง

พื้นที่แนะนำ
- เขตชลประทานภาคกลาง ภาคตะวันตก และภาคตะวันออก


http://kkn-rsc.ricethailand.go.th/rice/pedigree/02/Suphan_Buri_60.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 13/01/2013 3:47 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

97.

ชื่อพันธุ์
- สุพรรณบุรี 90 ( Suphan Buri 90)

ชนิด
- ข้าวเจ้า

คู่ผสม
- กข21 / IR4422-98-3-6-1 / / กข11 / กข23

ประวัติพันธุ์
- ได้จากการผสมซ้อนระหว่างลูกผสมชั่วที่ 1 ของ กข21 และ IR4422-98-3-6-1 กับลูกผสมชั่วที่ 1 ของ กข11 และ
กข23 ที่ สถานีทดลองข้าวสุพรรณบุรีเมื่อปี พ.ศ. 2524 ปลูกคัดเลือกจนได้สายพันธุ์ SPRLR82216 -26-1-3

การรับรองพันธุ์
- คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2534







ลักษณะประจำพันธุ์
- เป็นพันธุ์ข้าวเจ้า สูงประมาณ 120 เซนติเมตร
- ไม่ไวต่อช่วงแสง
- อายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 120 วัน
- ทรงกอตั้ง ใบสีเขียวเข้ม ใบธงยาว ค่อนข้างตั้งตรง
- คอรวงยาว รวงยาว แน่น ระแง้ถี่ ต้นแข็ง เมล็ดยาวเรียว
- เมล็ดข้าวเปลือก ยาว x กว้าง x หนา = 10.1 x 2.7 x 2.0 มิลลิเมตร
- เมล็ดข้าวกล้อง ยาว x กว้าง x หนา = 7.4 x 2.2 x 1.8 มิลลิเมตร
- ปริมาณอมิโลส 25-28 %
- คุณภาพข้าวสุก ร่วน แข็ง

ผลผลิต
- ประมาณ 600 กิโลกรัมต่อไร่


ลักษณะเด่น
- ต้านทานโรคไหม้ โรคขอบใบแห้ง และต้านทานโรคใบหงิก
และโรค ใบสีส้ม ในสภาพธรรมชาติ
- ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และเพลี้ยจักจั่นสีเขียว

ข้อควรระวัง
- พบโรคใบขีดสีน้ำตาลในระยะข้าวออกรวง
- ออกรวงไม่สม่ำเสมอ
- ไม่ควรใช้ปุ๋ยไนโตรเจนเกินอัตรา 12 กิโลกรัมไนโตรเจนต่อไร่ เพราะจะทำให้ต้นข้าว อ่อนแอต่อการเข้าทำลายของโรคและแมลง

พื้นที่แนะนำ
- ภาคกลาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแหล่งที่มีการระบาดของ เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล โรคใบหงิก โรคใบสีส้ม และโรคไหม้



http://www.brrd.in.th/rvdb/index.php?option=com_content&view=article&id=95:suphan-buri-90&catid=34:non-photosensitive-lowland-rice&Itemid=55


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 20/01/2013 6:52 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3, 4, 5 ... 11, 12, 13  ถัดไป
หน้า 4 จากทั้งหมด 13

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©