-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ข้าวไทย--รอบรู้เรื่องข้าว
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ข้าวไทย--รอบรู้เรื่องข้าว
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ข้าวไทย--รอบรู้เรื่องข้าว
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 5, 6, 7 ... 11, 12, 13  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11563

ตอบตอบ: 21/01/2013 7:39 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ลำดับเรื่อง....

123. ข้าวกล้องเพาะงอก
124. 10 พันธุ์ข้าวหอม
125. การคัดเลือกพันธุ์ข้าว

126. การปรับปรุงและพัฒนาพันธุ์ข้าว
128. ผลกระทบของสภาพอากาศหนาวเย็น...กับการปลูกข้าว
127. อุณหภูมิต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว
129. ปลูกข้าวกระทบภัยหนาว
130. การปลูกข้าวต้นเดียว (SRI) แบบอินทรีย์

131. ทำนาแบบหยอดน้ำตม
132. พันธุ์ข้าวนาปีภาคกลาง เมื่อ 40 ปีก่อน
133. การปลูกข้าวไร่ ให้ได้ผลผลิตสูง
134. รวมพันธุ์ข้าวไทย บทที่ 1 ข้าวไวต่อช่วงแสง
135. รวมพันธุ์ข้าวไทย บทที่ 2 ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง

136. ประเภทของข้าว (ไวแสง-ไม่ไวแสง-เบา-กลาง-หนัก-ลุ่ม-ดอน-ไร่-สวน-เมือง-ชลฯ)
137. “ธัญสิริน” พันธุ์ข้าวเหนียวพันธุ์ใหม่ นามพระราชทาน
138. ข้าวพันธุ์ บือพะทอ
139. ข้าวพันธุ์ บือโป๊ะโละ
140. ข้าวหอมมะลิ : มหัศจรรย์แห่งพันธุกรรมข้าวไทย

141. ข้าวสาลีไทย : อาหารเพื่อสุขภาพ
142. ข้าวสาลี
143. การปลูกข้าวสาลี
144. ข้าวสาลีพันธุ์ สะเมิง 2 (Samoeng 2)
145. ข้าวสาลีพันธุ์ สะเมิง 1 (Samoeng 1)

146. ข้าวสาลีพันธุ์ แพร่ 60 (Phrae 60)


---------------------------------------------------------------------------------------------------




ข้าวกล้องหอมนิลเพาะงอก (1 kg.)

Price per Unit (piece) : ฿149.00
Ask a question about this product

http://www.b-herbs.com/index.php?page=shop.product_details&flypage=flypage.tpl&product_id=110&category_id=19&option=com_virtuemart&Itemid=228&lang=en&vmcchk=1&Itemid=228


---------------------------------------------------------------------------------------------------------


ข้าวกล้องเพาะงอก(ข้าวฮางงอก)
ขนาด 20 กรัม บรรจุ 10 ซอง



ส่วนผสม :
- ข้าวเพาะงอก 6 ชนิด
- ข้าวหอมมะลิเพาะงอก
- ข้าวหอมมะลิแดงเพาะงอก
- ข้าวหอมนิลเพาะงอก
- ข้าวเหนี่ยวเพาะงอก
- ข้าวก่ำเพาะงอก
- ข้าวหอมปทุมเทพเพาะงอก
- น้ำตาลจากผลไม้ (ฟรุกโตส)
- ธัญพืชรวมทั้งหมด 7 ชนิด

สารกาบ้า คือ อะไร ?...มีประโชน์อย่างไร....?
สารกาบ้า GABA = Gamma aminobutyric Acid
เป็นสารอะมิโนชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นในกระบวนการการงอกของเมล็ด สารกาบ้าที่อยู่ในเมล็ดข้าวจะเพิ่มขึ้นเมื่อข้าวงอกและจะเพิ่มถึง
15 เท่า เมื่อข้าวงอกมีอายุ 1-2 วัน หลังจากนั้นสารกาบ้าก็จะลดลงเรื่อยๆ

1. สารกาบ้า จะทำหน้าที่เป็นสื่อประสาทส่วนกลางและเป็นสารสื่อประสาทประเภทยับยั้งทำหน้าที่รักษาสมดุลในสมอง ทำให้ผ่อน
คลาย นอนหลับ นอกจากนี้ยังช่วยกระตุ้นต่อมไร้ท่อซึ่งทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนที่ช่วยการเจริญเติบโตและป้องกันไขมันชื่อ” ลิโพ
โทรปิค” ( Lipotropic)

2. สารกาบ้ายังช่วยทำให้ระดับฮอร์โมนในร่างกายสม่ำเสมอชะลอความแก่ชราควบคุมระดับน้ำตาลและคลอเลสเตอรอลในกระแส
เลือดร่วมทั้งขับเอ็นไซม์เพื่อขจัดสารพิษออกจากร่างกาย กระตุ้นการขับน้ำดีเสื่อม ในวงการแพทย์มีการใช้สารกาบ้ารักษาโรคเกี่ยว
กับประสาท เช่น โรควิตกกังวน โรคนอนไม่หลับ และโรคลมชัก นอกจากสารกาบ้าที่มีในข้าวฮางแล้ว ข้าวฮางยังมีสารต่างๆ ที่มี
ประโยชน์ต่อร่างกายอีกหลายชนิด เช่น

3. โปรตีนในข้าวฮาง มี 6 -12
4. ธาตุแมงกานีส ช่วยต้านอนุมูลอิสระ
6. วิตามินช่วยเผาผลาญพลังงานได้อย่างหมดทำให้ไม่อ้วน
7. แร่ธาตุไนอะซีน ช่วยให้ผิวหนังยืดหยุ่น (ทำให้เป็นหนุ่มเป็นสาว) และระบบประสาทไว
8. เส้นใยสูงกว่าข้าวขาวอย่างน้อย 3-8 เท่า มีประโยชน์ต่อระบบขับถ่าย

9. ช่วยป้องกันโรคเบาหวาน ตับอ่อนจะมีการผลิตอินซูลีนในระดับที่สมดุลระหว่างการกินกับการใช้น้ำตาลของร่างกาย การกินข้าว
ฮางจึงเหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน

10. ในข้าวฮางยังมีวิตามิน อี. แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก ซีเลเนียม ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟัน ธาตุเหล็กสร้างเม็ดเลือดแดง
ป้องกันโลหิตจาง ซึ่งธาตุอาหารเหล่านี้จะมีมากกว่าข้าวขาว

วิธีชง : ฉีกซอง แล้วเติมน้ำร้อน หรือน้ำอุ่น 1 ถ้วย (ประมาณ 150 cc.) พร้อมดื่ม

http://www.thaiherbdd.com/?i=31&p=102


----------------------------------------------------------------------------------------------


ข้าวหอมมะลิเพาะงอก

ราคา : 80.00 บาท
สินค้าจากจังหวัด : ยโสธร
ระดับดาว : 5 ดาว ( ปี2553)
ขนาด : 15.00 X 6.00 X 25.00 เซนติเมตร
น้ำหนัก : 1,000.00 กรัม



สถานที่จำหน่าย :
วิสาหกิจชุมชนส่งเสริมเกษตรอินทรีย์นาดีน้อย
161 หมู่ 12 บ้านนาดีน้อย ต.นาสะไมย์ อ.เมือง จ.ยโสธร 35000
ติดต่อ : นายประยูร ทองโสม
โทร : (087) 241-7232
โทรสาร : -
อีเมล: -
เว็บไซต์ : -

http://www.otoptoday.com/otop/120927141035

--------------------------------------------------------------------------------------------------



ข้าวกล้องงอกไรซ์เบอร์รี่




รายละเอียด :
ข้าวกล้องไรซ์เบอร์รี่เกิดจากข้าวลูกผสมระหว่างข้าวเจ้าหอมนิล กับ ข้าวหอมมะลิ 105 มีลักษณะ สีม่วงดำ...เมล็ดเรียวยาว..
หอมนุ่ม มีจุดเด่นคือเป็นข้าวที่ปริมาณสารต้านอนุมูลอิสสระสูงมากกว่า พืชตระกลู berry รวมทั้งมีวิตามินอี โฟเลท โอเมก้า-3
ในระดับที่สูง ดังนั้นการรับประทานข้าวกล้องไรซ์เบอร์รี่จึงช่วยต้านอนุมูลอิสระ นอกจากนี้ การรับประทาน ข้าวกล้องงอกไรซ์
เบอร์รี่ร่วมกับธัญพืช ผัก และ ผลไม้สีเข้มอื่น ๆ จะช่วยเสริมคุณภาพของการต้านอนุมุลอิสระได้ดีมากขึ้น ข้าวกล้องงอกไรซ์เบอร์รี่
เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการดูแลสุขภาพและผู้ที่ห่วงใยสุขภาพ...ที่จะทานเป็นประจำ

คุณสมบัติ
ข้าวกล้องงอกไรซ์เบอร์รี่ เป็นข้าวกล้องงอกมีปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระที่สูงมากวัดเป็นค่า orac ได้ถึง 134 umole TE/g
รวมทั้งมีคุณค่าทางโภชนาการ มีวิตามิน อี. มีโฟเลท โอเมกา-3 เบตาแคโรทีนที่สูง และ มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ

รหัสสินค้า : 3307766
วันที่อัพเดท : 21-05-54 18:24
ร้านค้า : ทิพยโอสธ
ราคา : 117 บาท

http://www.taradplaza.com/product/3307766

------------------------------------------------------------------------------------------------------


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 27/01/2013 2:58 pm, แก้ไขทั้งหมด 31 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11563

ตอบตอบ: 22/01/2013 7:11 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

124. 10 พันธุ์ข้าวหอม



ชื่อข้าว : มะลิแดง
ชนิดข้าว : ข้าวเจ้า, นาปี
ลักษณะพันธุ์ : ต้นสูงประมาณ 125 ซม. ใบสีเขียว แตกกอดี รวงยาว คอรวงยาว ติดเมล็ดดี เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง ข้าวกล้องสีแดง
คุณภาพการขัดสี : ดี
คุณภาพการหุงต้ม : นุ่ม มีกลิ่นหอม ต้านทานโรคและแมลง เหมาะสมกับการผลิตแบบอินทรีย์ เก็บเกี่ยวปลายเดือนพฤศจิกายน




ชื่อข้าว : มะลิดำ
ชนิดข้าว : ข้าวเจ้า นาปี
ลักษณะพันธุ์ : ต้นสูง 125 ซม. แผ่นใบใหญ่ ใบยาวสีเขียวคลุมวัชพืชได้ดี เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง ข้าวกล้องสีดำรูปร่างเรียว ยาว
คุณภาพการการหุงต้ม : นุ่ม เหนียว กลิ่นหอมอ่อน
สรรพคุณทางยา : มีธาตุเหล็กสูง ข้าวกล้องสีดำ ใช้ประโยชน์จากสีดำทำสีผสมอาหารได้ เก็บเกี่ยวปลายเดือนพฤศจิกายน



ชื่อข้าว : นางมลหอม
ชนิดข้าว : ข้าวเจ้า นาปี
ลักษณะพันธุ์ : ทรงกอตั้ง ต้นสูงประมาณ 130 เซนติเมตร ลำต้นสีเขียว แผ่นใบสีเขียว ใบมีขนบ้าง ปล้องสีเหลือง
ลำต้นค่อนข้างแข็ง คอรวงยาว ระแง้ถี่ การติดเมล็ดดี รวงยาวประมาณ 28 เซนติเมตร เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง
ข้าวกล้องสีขาว เรียว ท้องไข่น้อย
คุณภาพการหุงต้ม : ข้าวสุก ร่วน มีกลิ่นหอม เก็บเกี่ยวกลางเดือนธันวาคม




ชื่อข้าว : ปทุมเทพ
ชนิดข้าว : ข้าวเจ้า นาปรัง,นาปี
ลักษณะพันธุ์ : เป็นข้าวเจ้าหอม ปลูกได้ทั้งนาปีและนาปรัง อายุการเก็บเกี่ยว 110-125 วัน ทรงกอตั้ง แตกกอดีมาก
ใบสีเขียว มีขน ใบธงยาว รวงอยู่ใต้ใบ เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง มีหางสั้นบางเมล็ด ผลผลิต 800-900 กิโลกรัมต่อไร่
คุณภาพเมล็ด : คล้ายข้าวขาวมะลิ 105
คุณภาพการหุงต้ม : ข้าวสุก นุ่ม ค่อนข้างเหนียว มีกลิ่นหอม อ่อน ต้านทานโรคไหม้ และ โรคขอบใบแห้ง




ชื่อข้าว : ขาวตาเคลือบ
ชนิดข้าว : ข้าวเจ้า นาปี
ลักษณะพันธุ์ : ทรงกอตั้ง แตกกอดี ความสูงประมาณ 130 เซนติเมตร ลำต้นสีเขียว ใบสีเขียว แผ่นใบมีขน ลำต้น
แข็งปานกลาง ข้อต่อใบสีเขียว ปล้องสีเขียว รวงยาวประมาณ 26 เซนติเมตร การติดเมล็ดปานกลาง คอรวงสั้น เมล็ด
ข้าวเปลือกสีฟาง ข้าวกล้องสีขาว เมล็ดเรียว เป็นท้องไข่น้อย
คุณภาพข้าวสุก : นุ่ม ร่วน มีกลิ่นหอมเล็กน้อย เก็บเกี่ยวต้นเดือนธันวาคม




ชื่อข้าว : พวงเงิน
ชนิดข้าว : ข้าวเจ้า นาปี
ลักษณะพันธุ์ : ทรงกอตั้ง ลำต้นสีเขียวใบใหญ่ และยาวสีเขียว แผ่นใบมีขน ต้นสูง 155 เซนติเมตร ลำต้นค่อนข้างแข็ง
ปล้องสีเหลืองอ่อน รวงยาวประมาณ 30 เซนติเมตร ระแง้ถี่ การติดเมล็ดดี คอรวงยาว เมล็ดร่วงง่าย ข้าวเปลือกสีฟาง
เมล็ดยาว ข้าวกล้องสีขาว
คุณภาพการหุงต้ม : นุ่ม มีกลิ่นหอมเล็กน้อย เก็บเกี่ยวปลายเดือนพฤศจิกายน




ชื่อข้าว : เหนี่ยวดำ ใบดำ
ชนิดข้าว : ข้าวเหนียว นาปี
ลักษณะพันธุ์ : ทรงกอตั้ง ลำต้นสีม่วง แผ่นใบสีม่วง สีปล้องเส้นม่วง ต้นสูง 130 เซนติเมตร ต้นแข็งปานกลาง รวงยาว
ประมาณ 26 เซนติเมตร การติดเมล็ดปานกลาง คอรวงยาว เมล็ดข้าวเปลือกสีม่วง-ดำ ข้าวกล้องสีม่วงดำ เมล็ดค่อนข้างป้อม
คุณภาพการหุงต้มข้าวสุก : นุ่ม เหนียว มีกลิ่นหอม เก็บเกี่ยวกลางเดือนพฤศจิกายน




ชื่อข้าว : โสมาลี
ชนิดข้าว : ข้าวเจ้า นาปี
ลักษณะพันธุ์ : การแตกกอดี ทรงกอแผ่ ต้นสูงประมาณ 135 เซนติเมตร ลำต้นสีเขียว ใบสีเขียว แผ่นใบมีขนเล็กน้อย
ปล้องสีเหลืองอ่อน รวงยาวประมาณ 28 เซนติเมตร ระแง้ถี่ การติดเมล็ดแน่น คอรวงยาว ข้าวเปลือกสีฟาง เมล็ดเรียวยาว
ข้าวกล้องสีขาว ใส มีเลื่อมมัน จมูกเล็ก การเก็บเกี่ยวปลายเดือนพฤศจิกายน ลำต้นอ่อน ล้มง่าย เมล็ดร่วงง่าย
คุณภาพหุงต้ม : ข้าวสุกเหนียวนุ่ม และมีกลิ่นหอม




ชื่อข้าว : ประดู่แดง
ชนิดข้าว : ข้าวเจ้า นาปี
ลักษณะพันธุ์ : ทรงกอแผ่ ต้นสูงประมาณ 130 เซนติเมตร ใบสีเขียว แผ่นใบมีขนบ้าง แตกกอดี ลำต้นแข็งปานกลาง
ปล้องสีเหลืองอ่อน ออกรวงประมาณต้นพฤศจิกายน รวงยาวประมาณ 28 เซนติเมตร คอรวงยาว ระแง้ถี่ การติดเมล็ดปาน
กลาง ข้าวเปลือกสีน้ำตาลแดง ข้าวกล้องสีขาว รูปร่างเมล็ดข้าวกล้องเรียว
คุณภาพการหุงต้ม : ข้าวสุกนุ่ม และมีกลิ่นหอมเล็กน้อย




ชื่อข้าว : เหลืองเลาขวัญ
ชนิดข้าว : ข้าวเจ้า นาปี
ลักษณะพันธุ์ : ต้นสูง 135 เซนติเมตร ลำต้นค่อนข้างแข็ง ใบใหญ่ยาว คลุมวัชพืชได้ดี แผ่นใบสีเขียว ใบมีขนเล็กน้อย รวง
ยาวประมาณ 28 เซนติเมตร คอรวงยาว ระแง้ถี่ การติดเมล็ดปานกลาง ข้าวเปลือกสีน้ำตาล ข้าวกล้องสีขาว เรียว ท้องไข่น้อย
คุณภาพการหุงต้ม : ข้าวสุก ร่วน มีกลิ่นหอมเล็กน้อย ทนแล้งได้ดี เก็บเกี่ยวกลางเดือนธันวาคม



http://www.khaokwan.org/seeds.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11563

ตอบตอบ: 22/01/2013 9:13 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

125. การคัดเลือกพันธุ์ข้าว

การปรับปรุงพันธุ์ข้าว มีหลายวิธีได้แก่ การรวบรวมข้าวพันธุ์ดีจากที่อื่นมาปลูกขยาย การคัดเลือกพันธุ์ การผสมพันธุ์ข้าวและ
การปลูกคัดเลือกหลังการผสมเพื่อให้ได้ข้าวพันธุ์ใหม่ การฉายรังสี เป็นต้น ซึ่งมูลนิธิข้าวขวัญได้นำเสนอเทคนิคการคัดเลือก
พันธุ์ข้าวโดยวิธีการคัดข้าวกล้อง ซึ่งชาวนาและผู้สนใจทั่วไปสามารถเรียนรู้และนำไปปรับใช้ในไร่นาของตนเองได้

การคัดเลือกพันธุ์ข้าววัตถุประสงค์หลักเพื่อรักษาความบริสุทธิ์ของพันธุ์ข้าวนั้นๆไว้ซึ่งได้แก่ ความสูง ลักษณะทรงกอ สีใบ
สีเมล็ด ชนิดข้าวเหนียวหรือข้าวเจ้า เป็นต้น ลักษณะประจำพันธุ์ข้าวแต่ละพันธุ์อาจเปลี่ยนแปลงได้หากชาวนาใช้พันธุ์เดิม
ปลูกต่อเนื่องกันโดยไม่มีการคัดเมล็ดพันธุ์ สาเหตุอาจเกิดการผสมข้าม





พันธุ์โดยธรรมชาติที่เรียกว่า ข้าวกลายพันธุ์ นอกจากนั้นยังมีหลายสาเหตุ เช่น ข้าวเรื้อในนาติดมากับรถเกี่ยวหรือปนมากับ
เมล็ดพันธุ์ข้าวปลูก ลักษณะที่แตกต่างกันนั้นสามารถคัดเลือกให้เป็นพันธุ์ที่บริสุทธิ์ได้ ซึ่งการคัดพันธุ์ของชาวนาแบบเดิม
นั้นคัดจากต้นข้าวที่สมบูรณ์ ความสูงสม่ำเสมอ รวงยาว การติดเมล็ดดี ระแง้ถี่ การให้ผลผลิตดี ไม่มีโรค แมลงรบกวนเป็นต้น
การคัดเลือกวิธีนี้จะคัดเลือกจากลักษณะที่สังเกตเห็นจากภายนอกเปลือกเท่านั้น แต่พบว่ายังมีปัญหาคุณภาพภายในเมล็ด
เช่น การเป็นท้องไข่ ความมันวาว สีของข้าวกล้องไม่ตรงตามพันธุ์ เป็นต้น









มูลนิธิข้าวขวัญได้พัฒนาต่อยอดจากวิธีการคัดเลือกข้าวแบบดั้งเดิมเป็นการคัดเลือกพันธุ์จากข้าวกล้อง พบว่าสามารถแก้ไข
ปัญหาคุณภาพข้าวได้ นอกจากนั้นและยังสามารถเพิ่มผลผลิตต่อไร่ได้อีกด้วย และได้ขยายผลสู่เครือข่ายต่างๆที่เข้าร่วมอบรม
ในโครงการปราชญ์ชาวบ้าน โรงเรียนชาวนาในโครงการของมูลนิธิฯและผู้สนทั่วไป ตั้งแต่ปี 2547-ปัจจุบัน


http://www.khaokwan.org/selection.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11563

ตอบตอบ: 22/01/2013 9:21 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

126. การปรับปรุงและพัฒนาพันธุ์ข้าว


ข้าวเป็นพืชที่คนไทยบริโภคเป็นอาหารหลักประจำวัน คนในสังคมไทยมีวิถีชีวิตที่เกี่ยวข้องกับข้าวตั้งแต่เกิดจนตาย จนอาจ
กล่าวได้ว่าข้าวเป็นพืชที่มีความสำคัญกับสังคมไทยทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และวัฒนธรรม มาช้านาน ข้าว
ที่บริโภคกันภายในประเทศเกือบทั้งหมดมาจากการเพาะปลูกของชาวนาไทยและแม้ว่าประเทศจะได้พัฒนาทางด้านอุต
สาหกรรมและเทคโนโลยีไปมาก แต่การทำนาปลูกข้าวยังถือว่ามีความสำคัญในการผลิตภาคการเกษตรเป็นอันดับต้นๆ

การทำนาปลูกข้าวของชาวนาจากอดีตจนถึงปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องเทคโนโลยีการทำนาไปจากเดิม จาก
เทคโนโลยีการทำนาแบบพื้นบ้านได้ปรับเปลี่ยนมาเป็นการทำนาด้วยเทคโนโลยีเกษตรสมัยใหม่ เน้นการใช้ปุ๋ยเคมีและ
สารเคมีเกษตรจำนวนมาก ส่งผลกระทบต่อระบบการผลิตและวิถีชีวิตของชาวนาดังเช่นกรณีของการพัฒนาพันธุ์ข้าวสมัย
ใหม่ เพื่อให้ตอบสนองต่อระบบการตลาด

การพัฒนาพันธุ์ข้าวจึงเน้นผลผลิตต่อไร่สูงสุดและสามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี ทำให้ชาวนาต้องใช้ปุ๋ยในปริมาณสูงขึ้น ขณะ
ที่ราคาปุ๋ยเคมีก็เพิ่มขึ้นสูงทุกปี อีกทั้งพันธุ์ข้าวสมัยใหม่ที่พัฒนาขึ้นก็มักจะมีความอ่อนแอต่อโรค ชาวนาในระบบเกษตร
สมัยใหม่ก็มักจะจัดการปัญหาด้วยการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชควบคู่กันไป ส่งผลต่อสุขภาพและค่าใช้จ่ายที่มากขึ้น สิ่งสำคัญ
ประการหนึ่งคือการพัฒนาพันธุ์ข้าวตามระบบเกษตรสมัยใหม่ ที่แม้จะได้ข้าวพันธุ์ดีแต่ก็ได้ทำให้ต้นทุนเรื่องเมล็ดพันธุ์ข้าวของ
ชาวนาเพิ่มขึ้นเพราะมีส่วนส่งเสริมให้ชาวนาหันไปซื้อพันธุ์ข้าวปลูก
แทนการเก็บพันธุ์ไว้ใช้เองที่เคยทำมาแต่เดิมเหล่านี้ล้วนแต่ทำให้ต้นทุนการผลิตของชาวนาสูงขึ้นเป็นเงาตามตัว




การพัฒนาพันธุ์ข้าวในลักษณะนี้จึงมุ่งตอบสนองต่อความต้องการของตลาด และระบบที่เป็นเกษตรเคมี มากกว่าให้
ตอบสนองต่อความต้องการของชาวนา

ยิ่งไปกว่านั้นในปัจจุบันการทำธุรกิจเมล็ดพันธุ์ข้าวภาคเอกชนบริษัทธุรกิจเมล็ดพันธุ์กำลังเข้ามามีบทบาทในการทำตลาด
เมล็ดพันธุ์ข้าว ที่มุ่งจะผูกขาดเทคโนโลยีเมล็ดพันธุ์และทำกำไรจากการขายเมล็ดพันธุ์ รวมทั้งปัจจัยการผลิตอื่นๆ ในลักษณะ
ครบวงจร ทำให้ชาวนามีทางเลือกที่จำกัดในการผลิต และนับวันจะทำให้ชาวนาพึ่งตนเองได้น้อยลง

ความสำคัญของการเรียนรู้เรื่องเทคนิคการปรับปรุงและพัฒนาพันธุ์ข้าวที่ให้ชาวนามีส่วนร่วม จึงเป็นงานที่มีความท้าทายต่อ
ชาวนาทุกคนที่มีความสนใจเพราะเป้าหมายของการปรับปรุงและพัฒนาพันธุ์ข้าวก็เพื่อให้เกิดการฟื้นฟูความรู้ของชาวนา
และพัฒนาความรู้ เทคนิคต่างๆในการพัฒนาพันธุ์ข้าวที่มาจากชาวนาเอง ให้ตอบสนองต่อระบบการผลิตของชาวนาได้
อย่างเหมาะสม สามารถลดต้นทุนการทำนา ชาวนามีทางเลือกในการพึ่งตนเองจากอาชีพการทำนา มีวีถีชีวิตที่ดีขึ้น และ
สามารถเป็นชาวนาได้อย่างมีศักดิ์ศรี



http://www.khaokwan.org/improving.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11563

ตอบตอบ: 22/01/2013 1:29 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

127. อุณหภูมิต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว


“อุณหภูมิในเวลากลางคืนที่เพิ่มขึ้น ๑ องศาเซลเซียส จะเกิดอะไรขึ้น กับต้นข้าว” !?





ต้นข้าวในนาจะเจริญเติบโตได้ดีเพียงใดและให้ผลผลิตมากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ
อาทิ ปริมาณน้ำ ธาตุอาหารในดิน คุณภาพของเมล็ดพันธุ์ ฯลฯ
ทว่าข้อมูลล่าสุดจากสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ (IRRI) ระบุว่า
อุณหภูมิที่สูงขึ้นในยามค่ำคืนก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยเช่นกัน

หลังจากปลูกข้าวในแปลงทดลองใกล้สถานีตรวจวัดอากาศในประเทศฟิลิปปินส์
ที่มีการบันทึกข้อมูลอุณหภูมิอย่างต่อเนื่องนานหลายปี
โดยควบคุมให้ต้นข้าวในแต่ละแปลงได้รับน้ำ ธาตุอาหาร และปัจจัยจำเป็นอื่นๆ เท่ากัน
จะแตกต่างกันก็เพียงปริมาณของแสงอาทิตย์ซึ่งถูกกำหนดให้เป็นตัวแปรต้น
เคนเนท แคสส์แมน ศาสตราจารย์ด้านเกษตรศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเนบราสกา
ซึ่งเป็นนักวิจัยร่วมในโครงการทดลองดังกล่าว ก็ออกมาสรุปว่า

“อุณหภูมิในเวลากลางคืนที่เพิ่มขึ้น ๑ องศาเซลเซียส
ทำให้ผลผลิตข้าวลดลงถึง ๑๐ เปอร์เซ็นต์”

เพราะอากาศที่ร้อนต่อเนื่องจากกลางวันขยายไปถึงกลางคืน
ทำให้ระบบการหายใจของต้นข้าวเป็นไปอย่างยากลำบาก
จึงต้องใช้พลังงานมากขึ้นในการหายใจ
สุดท้ายก็กระทบถึงการลดลงของละอองเกสรและผลผลิตข้าว

ทั้งนี้ งานวิจัยดังกล่าวยังไม่สามารถฟันธงได้ว่า อุณหภูมิที่สูงขึ้นในช่วงเวลากลางคืน
เป็นผลสืบเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของปริมาณก๊าซเรือนกระจกเพียงอย่างเดียว
เนื่องจากการสะสมความร้อนในชั้นบรรยากาศเหนือเขตชุมชนเมือง
หรือย่านอุตสาหกรรมก็อาจเป็นปัจจัยเกื้อหนุนได้ด้วยเช่นกัน

ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศอินเดียช่วยสะท้อนภาพที่สอดคล้องกับผลวิจัยอยู่พอสมควร
ทั้งข้อมูลจากสถาบันอุตุนิยมวิทยาเขตร้อนของอินเดียที่ระบุว่า
อุณหภูมิช่วงเวลากลางคืนเพิ่มขึ้นประมาณ ๐.๒ องศาเซลเซียสในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา
และตัวเลขจากองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติระบุว่า
ผลผลิตข้าวของอินเดียตั้งแต่ปี ค.ศ. ๑๙๕๐-๒๐๐๐
ซึ่งเพิ่มขึ้นประมาณ ๓ เท่าตัวจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการเกษตร
กลับเริ่มมีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา

กรณีตัวอย่างนี้นำมาซึ่งความวิตกกังวลต่อความมั่นคงทางอาหารในประเทศแถบเอเชียที่มีประชากรหนาแน่น
อุณหภูมิยามค่ำคืนในบ้านเรามีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร
และจะกระทบต่อผลผลิตข้าวหรือไม่…จึงเป็นสิ่งที่น่าค้นหาคำตอบไม่แพ้กัน

ตีพิมพ์ครั้งแรกใน “โลกใบร้อน”


http://social.tourismthailand.org/showthread.php?t=351&page=1


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 22/01/2013 1:46 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11563

ตอบตอบ: 22/01/2013 1:37 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

128. ผลกระทบของสภาพอากาศหนาวเย็น...กับการปลูกข้าว

กรมอุตุนิยมวิทยา ได้คาดหมายลักษณะอากาศช่วงฤดูนาวของประเทศประมาณกลางเดือนตุลาคม 2550 ถึงประมาณกลาง
เดือนกุมภาพันธ์ 2551 โดยที่ฤดูหนาวของประเทศไทยตอนบนจะเริ่มประมาณกลางเดือนตุลาคม และฤดูหนาวของจังหวัด
ในเขตภาคเหนือตอนล่างและภาคกลาภาคกลาง ได้แก่ จังหวัดอุทัยธานี นครสวรรค์ ชัยนาท กาญจนบุรี ลพบุรีและสระบุรี
อากาศจะเริ่มหนาวเย็นประมาณ เดือนพฤศจิกายน เป็นต้นไป จะมีอากาศหนาวเย็นและมีหมอกบางในตอนเช้า โดยเฉพาะ
เดือน ธันวาคม และเดือนมกราคมจะมีอากาศหนาวกับมีหมอกหนาในบางวัน และกลางเดือนกุมภาพันธ์อากาศจะอุ่นขึ้น
และทำให้มีอากาศร้อนในตอนกลางวัน ซึ่งในช่วงฤดูหนาวจะมีฝนตกน้อย อาจเกิดความแห้งแล้งโดยเฉพาะพื้นที่แล้งซ้ำซาก
นอกเขตชลประทาน

อนึ่งสภาพอากาศหนาวเย็นกระทบกับการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวที่ปลูก ซึ่งปัญหาที่พบเกษตรกรที่ปลูกข้าวในช่วง
ฤดูหนาวต้นข้าวที่ออกรวงในช่วงที่มีอุณหภูมิต่ำเกินไป ในช่วงเดือนพฤศจิกายน- ธันวาคม

หากมีอุณหภูมิลดลงติดต่อกันมากกว่า 1-4 องศาเซลเซียส ในช่วงที่ข้าวออกรวงจะทำให้เกิดปัญหาข้าวผสมไม่ติดเมล็ด
ข้าวลีบ ผลผลิตของข้าวอาจลดลงได้

ปัจจุบัน มีพันธุ์ข้าวออกมาใหม่ ๆมากมาย ไม่ว่าจะเป็นพันธุ์ข้าวที่ของทางราชการหรือพันธุ์ข้าวของเอกชนตั้งชื่อเอง เกษตรกร
ที่มีความประสงค์จะปลูกข้าวในช่วงที่มีสภาพอากาศหนาวเย็น ต้องคำนึงถึง

การเลือกพันธุ์ที่มีความต้านทานสภาพอากาศเย็น โดยที่จะต้องรู้ลักษณะเด่นของพันธุ์ข้าว ที่สามารถต้านทานสภาพอากาศ
หนาวเย็น สำหรับพันธ์ข้าวที่อ่อนแอต่อสภาพอากาศหนาวเย็น ได้แก่ พันธุ์ชัยนาท 1 ปทุมธานี 1 พิษณุโลก 2 และพันธุ์
ชัยนาท 80 (กข29) ซึ่งล้วนเป็นพันธุ์ที่มีคอรวงสั้น เมื่ออากาศหนาวเย็นจะทำให้รวงโผล่ไม่พ้นกาบใบ ปลายรวงในส่วนที่
เหนือกาบใบธงจะตั้ง และไม่โน้มรวง เมล็ดในส่วนนี้จะลีบบางเมล็ด จนถึงเกือบหมดรวง ส่วนโคนรวงถึงกลางรวงที่ถูกห่อหุ้ม
ด้วยกาบใบธงเมล็ดจะลีบหมด

โดยที่เมล็ดลีบสาเหตุเนื่องจากข้าวไม่ผสมเกสร อุณหภูมิที่มีผลกระทบต่อผลผลิตของข้าวโดยในช่วงกลางคืนอุณหภูมิที่ต่ำ
กว่า 15 องศาเซลเซียส ในระยะเวลา 10-14 วัน ก่อนการออกดอก และอุณหภูมิที่วิกฤติที่มีผลกระทบต่อการผสมเกสรข้าว
คือ 15-20 องศาเซลเซียส ทำให้เมล็ดข้าวลีบ

เพราะฉะนั้น ในช่วงนี้ ควรเลือกปลูกพันธุ์ข้าวที่มีลักษณะคอรวงยาว ทนสภาพอากาศหนาวเย็นเช่น พันธุ์สุพรรณบุรี 1 เป็นต้น

ประเสริฐ วิชชากรวิวัฒน์

โดน สะแกกรัง


http://www.gotoknow.org/posts/144564
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11563

ตอบตอบ: 22/01/2013 1:54 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

129. ปลูกข้าวกระทบภัยหนาว

นายชัยฤทธิ์ ดำรงเกียรติ รองอธิบดีกรมการข้าว เปิดเผยว่า ขณะนี้เริ่มเข้าสู่ฤดูหนาวแล้ว หลายพื้นที่สภาพ อากาศเริ่มมีอุณหภูมิ
ลดลง กรมการข้าวมีความเป็นห่วงเกษตรกรที่ปลูกข้าวจะประสบกับปัญหา “ข้าวกระทบหนาว” ไม่ได้ผลผลิตเต็มที โดยพันธุ์ข้าว
ที่มีความอ่อนแอต่อสภาพอากาศหนาวเย็น ได้แก่ พันธุ์พิษณุโลก 2 ซึ่ง สามารถเกิดขึ้นได้กับข้าวทุกระยะ ดังนั้นเกษตรกรควรหมั่น
ตรวจแปลงนาและสังเกตความผิดปกติของต้นข้าว เพื่อเตรียมรับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไดอย่างทันท่วงที

สำหรับอาการของต้นข้าวที่ได้รับผลกระทบ หากเกิดกับข้าวอยู่ในระยะกล้าจะทำให้ต้นข้าวชะงักการ เจริญเติบโต แคระแกรน
ใบเหลือง และอาจหยุดการเจริญเติบโตจนถึงตายได้ในกรณีที่อุณหภูมิลดต่ำลงมาก ถ้าเกิดในระยะออกดอกหรือระยะผสมเกสร
จะทำให้การผสมไม่ติดและเกิดเมล็ดลีบมาก

รองอธิบดีกรมการข้าว กล่าวว่า เกษตรกรที่เตรียมจะปลูกข้าวในขณะนี้ ควรติดตามสภาพอากาศจาก กรมอุตุนิยมวิทยาอย่าง
ใกล้ชิด เนื่องจากข้าวที่ปลูกอาจจะประสบปัญหาชะงักการเจริญเติบโต นอกจากนี้ควร หลีกเลี่ยงการใช้พันธุ์ข้าวพิษณุโลก 2
โดยสามารถใช้พันธุ์อื่นที่สามารถทนสภาพอากาศหนาวได้ดีกว่า เช่น กข31 ( ปทุมธานี 80), พันธุ์ กข41, พันธุ์ กข43,
และชัยนาท 1 เพราะทนหนาวได้ดีกว่า ส่วนข้าวที่ชะงักการเจริญเติบโตในขณะที่อุณหภูมิยังไม่สูงขึ้นควรชะลอการใส่ ปุ๋ยจน
กว่า อุณหภูมิจะสูงอยู่ในระดับปกติ เนื่องจากข้าวจะไม่ตอบสนองต่อปุ๋ยในภาวะอากาศหนาวเย็นเมื่ออุณหภูมิปรับ สูงขึ้น
ตั้งแต่ 20 องศาเซลเซียสขึ้นไปแล้วข้าวจึงจะมีการเจริญเติบโตและตอบสนองต่อปุ๋ยได้ดี

ขณะนี้กรมการข้าวได้ทำการสำรวจเมล็ดพันธุ์ข้าวที่อยู่ในสต็อกของศูนย์วิจัย ข้าว และโรงสีชุมชน ซึ่งประเมินว่าจะได้เมล็ด
พันธุ์ข้าว 25,000 ตัน นำไปแจกให้กับเกษตรกรที่ประสบปัญหาน้ำท่วม หลังจากน้ำลดแล้วประมาณ 2 ล้านไร่ในพื้นที่ทั่วประเทศ

นอกจากนี้ กรมการข้าวได้ให้ศูนย์วิจัยข้าว ออกไปแนะนำเกษตรกร ที่อาจจะประสบปัญหาข้าวกระทบภัยหนาว ขณะนี้ปัญหา
น้ำท่วม และเพลี้ยกระโดเบาบางลง แต่ที่ห่วงมาก คือ ปัญหาแปลงนาหลังน้ำลดลงแล้ว จะใส่ปุ๋ยเคมีไม่ถูกต้องตามความ
เหมาะสม สำหรับการปลูกข้าวในช่วงนี้ต้องระวังเป็นพิเศษ เพระหน้าหนาวจะหนาวยาวมาก พันธุ์ข้าวที่ไม่แนะนำเลย คือ พันธุ์
พิษณุโลก 2, พันธุ์ กข29, และพันธุ์ปทุมธานี 1 ให้งดการปลูกช่วงหน้าหนาวโดยเด็ดขาด ถ้าเป็นไปได้ขอให้ปลูกข้าวใน
ช่วงเดือนธันวาคม เพราะข้าวจะไปออกดอกช่วงเดือนกุมภาพันธุ์ 2554 ข้าวจะเติบโตต่อเนื่องและให้ผลผลิตได้ดี



http://www.biothai.net/news/6096
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11563

ตอบตอบ: 22/01/2013 2:06 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

130. การปลูกข้าวต้นเดียว (SRI) แบบอินทรีย์

โดย monmai





การปลูกข้าวต้นเดียว System of Rice Intensification (SRI: เอส อาร์ ไอ) เป็นวิธีการจากมาดากัสการ์ ศรีลังกา กัมพูชา
สู่การทดลองครั้งสำคัญบนผืนนาไทย การปักเดี่ยว ซึ่งประหยัดเมล็ดพันธุ์ ช่วยให้ต้นข้าวแสดงศักยภาพเต็มที่ใน การแตกกอและ
ออกรวง

เทคนิคการปลูกข้าวต้นเดี่ยวโดยใช้แหนแดงและปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพในการปลูกข้าวต้นเดี่ยว

การปลูกข้าวในระบบประณีต (System of Rice Intensification; SRI) คือ การจัดการพืช การจัดการดิน และการจัดการน้ำ
ร่วมกัน เพื่อให้เกิดประโยชน์และประสิทธิภาพสูงสุด โดยเฉพาะการเพิ่มผลผลิตข้าว ซึ่งการผลิตข้าวในระบบของ มทส. เป็นการ
ประยุกต์และปรับปรุงมาจากวิธีการผลิตข้าวในระบบ SRI ของ Dr.Norman Uphoff และคณะ จึงเน้นเรื่องการใช้ปุ๋ยอิน
ทรีย์เป็นปัจจัยหลัก ซึ่งได้แก่ แหนแดง ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ โดยให้พื้นที่ปลูกข้าวมีน้ำขัง ประมาณ 2-5 ซ.ม. เพื่อให้สามารถเลี้ยง
แหนแดงได้

แหนแดง (Azolla) เป็นพืชน้ำเล็กๆ พวกเฟิร์นพบเจริญเติบโตอยู่บนผิวน้ำในที่มีน้ำขังในเขตร้อนและอบอุ่น มีคุณสมบัติเป็น
ทั้งปุ๋ยพืชสดและปุ๋ยชีวภาพ

ความเหมาะสมของแหนแดงในการใช้เป็นปุ๋ยพืชสดในนาข้าว
- แหนแดงสามารถเจริญเติบโตและขยายปริมาณได้รวดเร็ว
- สามารถเลี้ยงแหนแดงได้ให้เจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีไนโตรเจนต่ำ
- แหนแดงมีธาตุไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบอยู่สูง (3-5%)
- แหนแดงสลายตัวได้รวดเร็ว ใช้ระยะเวลาสั้นในการผลิตปุ๋ยให้กับข้าว




ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ (Bioorganic Fertilizer) หมายถึง ปุ๋ยที่เกิดจากกระบวนการผลิตปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยชีวภาพพร้อมๆกัน และ
นำมาผสมกันในขั้นตอนสุดท้าย กระบวนการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพในระบบนี้จะต่างจากการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ทั่วๆไป เนื่องจากการ
ผลิตปุ๋ยในระบบนี้จะใช้อุณหภูมิในระหว่างกระบวนการหมักสูงมาก จนสามารถฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นเชื้อก่อโรคทั้งในคน สัตว์ และ
พืช ตลอดจนเมล็ดวัชพืชที่ติดมากับมูลสัตว์

ในการผลิตปุ๋ยชีวภาพนั้น ได้ทำการคัดเลือกจุลินทรีย์ที่มีคุณสมบัติในการเป็นปุ๋ยที่มีคุณภาพ ซึ่งได้แก่ Plant Growth Promoting
Rhizobacteria (PGPR) ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่มีความสามารถในการตรึงไนโตรเจนและผลิตออกซินได้ นอกจากปุ๋ยชีวภาพในกลุ่ม
PGPR แล้วยังได้นำเชื้อราปฏิปักษ์ ไตรโคเคอร์มา (Trichoderma harzianum) ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่มีความสามารถในการย่อย
สลายวัสดุอินทรีย์ และยับยั้งการทำลายเชื้อราที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรครากเน่าโคนเน่าในพืชใส่ลงไปในปุ๋ยดังกล่าวด้วย


ขั้นตอนการผลิตข้าวโดยการใช้แหนแดง และปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ ในระบบการปลูกข้าวต้นเดี่ยวแบบประณีต

1. การเพาะกล้าสำหรับการผลิตข้าวในระบบ SRI

จากผลการทดลองในฟาร์มเกษตรอินทรีย์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีมีขั้นตอนและวิธีการในการเพาะกล้าดังต่อไปนี้
1. ใช้กระบะพลาสติกที่มีรูขนาดเล็กบรรจุด้วยขี้เถ้าแกลบที่เปียกชื้นจากการรดน้ำให้อยู่ตัว จากนั้นทำการเกลี่ยหน้าให้เรียบ
(สามารถเพาะในแปลงขนาดเล็กได้)

2. โรยเมล็ดพันธุ์ข้าวที่แช่น้ำ 12 ช.ม. และห่อผ้า 1-2 คืน จนเมล็ดเริ่มมีรากงอก (เช่นเดียวกับการแช่เมล็ดสำหรับตกกล้า) โดย
ทำการโรยเมล็ดข้าวให้สม่ำเสมอ

3. โรยขี้เถ้าแกลบกลบบางๆ หนาประมาณ 1 ซม. ทำการรดน้ำให้ชุ่ม

4. วางกระบะกล้าไว้ในที่ร่ม เช่นในโรงเรือนเพาะชำ ใต้หลังคา หรือที่มีลมพัดผ่านได้ เมื่ออายุต้นกล้าได้ 5 วัน ให้นำออกตากแดด
และเมื่ออายุได้ 8 วัน สามารถนำไปปลูก ในแปลงปลูกได้ ไม่ควรให้อายุกล้าเกิน 15 วัน เพราะรากกล้าจะยาวมากเกินไป การเพาะกล้า
โดยวิธีนี้จะทำให้สามารถถอนกล้าไปปลูกได้ง่าย และเคลื่อนย้ายสะดวก สามารถยำไปได้ทั้งกระบะและวางไว้ใกล้ๆ กลับแปลงปลูก
ทำให้ไม่เสียเวลาในการถอน และเคลื่อนย้าย แต่ถ้าเพาะในแปลงเพาะกล้าให้หว่านเมล็ดบางๆ

5. พื้นที่เพาะปลูก 1 ไร่ ใช้เมล็ดพันธุ์ 1 กก.


2. การถอนกล้า และการขนย้ายต้นกล้า
- ควรทำการย้ายปลูกกล้าที่อายุประมาณ 8-15 วัน และยังคงให้เมล็ดข้าวติดอยู่
- ในกรณีเพาะในถาดสามารถยกถาดไปยังแปลงปลูกได้เลย
- กรณีเพาะกล้าในแปลงควรทำการถอนทีละน้อยย้ายปลูกทันที
- ถอนต้นกล้าเบาๆตรงโคนต้น ใช้เครื่องมือเล็กๆ เช่น เกรียง หรือเสียม ขุดให้ลึกถึงใต้ราก ควรระวังอย่าให้ต้นกล้าหลุดออกจากเมล็ด
พันธุ์ และให้มีดินเกาะรากไว้บ้าง

- ระหว่างการย้ายกล้าต้องทำอย่างเบามือ ไม่ควรทิ้งกล้าไว้กลางแดดและรีบนำกล้าไปปักดำทันที (ภายใน 15-30 นาที)
- ควรทำการปักดำกล้าที่ถอนให้แล้วเสร็จภายในเวลาครึ่งชั่วโมง
- ไม่ควรล้างรากหรือให้รากกล้าแห้งก่อนทำการปักดำ


3. การเตรียมแปลงปลูก และการปลูกข้าวต้นเดี่ยว
1. ปล่อยน้ำเข้าแปลงทิ้งไว้ 1 คืน ทำการหว่านปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพตามปริมาณที่ต้องการ
2. ใช้รถไถเดินตามตีดินให้เป็นโคลน โดยให้ระดับน้ำลึก 3-5 ซ.ม.
3. ทำการหว่านแหนแดง ประมาณ 1 กก./พื้นที่ 10 ตร.ม. ทิ้งไว้ 7-10 วัน
4. หลังจาก 7-10 วัน ให้ไถกลบแหนแดงลงแปลงปลูกและทำให้ดินมีลักษณะเป็นโคลน
5. นำเครื่องมือ ซึ่งทำจากท่อ PVC ลากขนานไปกับคันนาให้เป็นส้นตรงในแนวเดียวกันให้เต็มพื้นที่แปลงปลูกเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส
6. นำข้างที่เพาะไว้ในกระบะเพาะ มาปลูกตรงรอยตัดของสี่เหลี่ยม โดยใช้นิ้วกรีดดินในแนวราบลึกไม่เกิน 1 เซนติเมตร ต้นข้าวจะต้อง
ตั้งฉากกับแนวราก เป็นรูปตัว “L” (L-shape) และหลังจากการทำการปักดำ 1-2 วัน ให้ทำการปล่อยน้ำเข้าแปลงปลูกในระดับน้ำ
ลึกประมาณ 2 ซ.ม. และทำการปล่อยแหนแดงให้ทั่วแปลงในอัตรา 10% ของพื้นที่


4. การดูแลรักษาแหนแดง และระดับน้ำในแปลงปลูก
- ทำการหว่านแหนแดงเพิ่มหลังจากการปักดำ 1-2 (หลังการใส่น้ำในแปลงข้าว)
- ควรให้ระดับสูงประมาณ 2 ซม.ในครั้งแรก เพื่อป้องกันวัชพืชและการเพิ่มกระจายตัวของแหนแดงจากนั้นให้รักษาระดับน้ำไว้ประมาณ
5 ซ.ม.
- หว่านปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ ครั้งที่ 2 เมื่อข้าวอายุได้ 30 วัน



5. การปักดำ
นำต้นกล้ามาปักดำอย่างเบามือ ใช้นิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้จับโคนราก แล้วนำไปปักให้รากอยู่ในแนวนอนลึกประมาณ 1 เซนติเมตร
ปักดำกล้าทีละต้น ให้มีความห่างของระยะต้นไม่น้อยกว่า 25 เซนติเมตรเท่าๆกัน จนเหมือนสี่เหลี่ยมจัตุรัส (ควรปักดำในระยะห่าง
30 x 30 เซนติเมตร สำหรับแปลงนาขนาดเล็ก หรือ 40 x 40 เซนติเมตร สำหรับแปลงนาขนาดใหญ่)



6. การจัดการน้ำ
1. การปล่อยให้ข้าวเจริญเติบโตในดินที่แห้งสลับเปียกทำให้ข้าวสามารถดึงออกซิเจนจากอากาศได้โดยตรง และรากของต้นข้าว
สามารถงอกยาวออกเพื่อหาอาหาร

2. การปล่อยให้มีน้ำท่วมขังในแปลง ทำให้ซากพืชเน่าเปื่อย และก่อให้เกิดก๊าซมีเทนปลดปล่อยขึ้นไปในชั้นบรรยากาศ
ทำให้โลกร้อนขึ้น

3. การปล่อยให้ต้นข้าวเจริญเติบโตในน้ำท่วมขัง ทำให้รากต้นข้าวต้องสร้างถุงลมเล็กๆ เพื่อดูดออกซิเจนจากผิวดินทำให้การส่ง
อาหารไปสู่หน่อและใบถูกรบกวน รากข้าวจะหายใจลำบาก



7. การกำจัดวัชพืชควรมีการกำจัดวัชพืชอย่างน้อย 3 ครั้ง แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม
ครั้งที่ 1 เมื่ออายุข้าว 10 วัน
ครั้งที่ 2 เมื่ออายุข้าว 25-30 วัน
ครั้งที่ 3 เมื่ออายุข้าว 50-60 วัน

ทั้งนี้การกำจัดวัชพืช สามารถใช้เครื่องมือทุ่นแรง ทางที่เหมาะสมและดีที่สุดจึงเป็นการถอนด้วยมือนั่นเอง

นอกจากนี้การจัดน้ำเข้าออกอย่างสม่ำเสมอ หรือเอาฟางคลุมแปลงจะช่วยกำจัดวัชพืชได้ดี


สำหรับการกำจัดศัตรูของข้าว เช่น ปู หอยเชอรรี่ทำได้โดยการเลี้ยงกบ เลี้ยงเป็ดในนาข้าว แต่เมื่อข้าวออกรวง
จะต้องห้ามเป็ดเข้านาโดยเด็ดข้าว หรือทำน้ำหมักชีวภาพฉีดพ่น 1-2 ครั้งก็เพียงพอ



สำหรับวิธีการป้องกันนก
ทำได้โดยการขึงเชือกเทปล้อมรอบแปลงนา เมื่อลมพัดจะทำให้เกิดเสียงดัง แล้วนกจะไม่มารบกวน ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ชาวนาในญี่ปุ่น
และมาดากัสการ์ใช้กัน เรียกว่า คราดหมุน ซึ่งในขณะที่ไถทับวัชพืช จะเป็นการพรวนดินไปในตัว ช่วยเพิ่มอากาศในดิน ส่วนซากวัช
พืชจะกลายเป็นปุ๋ยหมักสำหรับต้นข้าวอย่างดี แต่เมื่อทดลองไถพรวนใช้กับดินทางภาคอีสาน นั้นไม่เหมาะสม เนื่องจากดินเป็นดิน
ทราย



เหตุใด ปลูกข้าวต้นเดียวจึงได้ผลผลิตดีกว่า
1. การใช้กล้าอายุสั้นและปักดำต้นเดียว
2. ต้นกล้าที่มีอายุ 8-12 วัน หรือมีใบเล็กๆสองใบ และยังมีเมล็ดข้าวอยู่ จะช่วยให้ประสิทธิภาพในการเจริญเติบโตดีและการผลิต
หน่อจะมีมาก
3. การใช้กล้าต้นเดียวปักดำ จะช่วยในการแพร่ขยายของราก สามารถดูดซับธาตุอาหารได้ดีกว่าปลูกกล้าหลายต้น
4. การปักดำให้ปลายรากอยู่ในแนวนอน ปลายรากจะชอนไชลงดินได้ง่ายและทำให้ต้นข้าวตั้งตัวได้เร็ว
5. การปักดำในระยะห่างช่วยให้รากแผ่กว้างและได้รับแสงแดดมากขึ้น ง่ายต่อการกำจัดวัชพืช และประหยัดเมล็ดพันธุ์ ทำให้ข้าว
แตกกอใหญ่



สรุปข้อดีของการปลูกข้าวต้นเดี่ยวร่วมกับแหนแดงและปุยอินทรีย์ชีวภาพ
1. ใช้เมล็ดพันธุ์น้อย
2. สามารถลดต้นทุนการผลิตจากการใช้ปุ๋ยเคมี โดยการใช้แหนแดงแทน
3. สามารถเพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุในดิน
4. เพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ดินที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะจุลินทรีย์กกลุ่มส่งเสริมการเจริญเติบโต
5. ประหยัดน้ำ
6. กำจัดวัชพืชและข้าวปนได้ง่าย
7. อายุการเก็บเกี่ยวเร็วกว่าปกติ 10-15 วัน
8.จำนวนการแตกกอสงกว่าปกติ 2-3 เท่า
9. เปอร์เซ็นต์การสูญเสียจากข้าวลีบน้อยกว่าวิธีการผลิตแบบปกติ
10. ผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้น 50-70%




http://www.monmai.com/%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A7sri/
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11563

ตอบตอบ: 22/01/2013 2:47 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

131. ทำนาแบบหยอดน้ำตม

โดย monmai





- ทำนาหยอดน้ำตม ต้นทุนต่ำ กำไรสูง ลดต้นทุน เพิ่มรายได้
- ข้าวสวย เป็นแถว ไม่ต้องปักดำ ไม่ต้องหว่าน ไม่ต้องจ้างรถดำ
- ข้าวไม่ต้องพักฟื้นระหว่างย้ายปักดำ ไม่ถูกรบกวน เติบโตต่อเนี่อง
- ลดการใช้ปุ๋ย ปัจจัยการผลิต อายุข้าวเก็บเกี่ยวได้ไวกว่า ต้นข้่าวสวย เป็นแถวเหมือนนาดำ
- ข้าวแข็งแรงเป็นธรรมชาติ


ขั้นตอนโดยสรุปการทำนาหยอดน้ำตม
1. เตรียมดินทำเทือก ปรับพื้นที่นาให้สม่ำเสมอ
2. ระบายน้ำส่วนเกินออกจากนา แต่อย่าให้ผิวดินแห้ง อย่าให้มีบริเวณน้ำขัง (พยายามอย่าให้เป็นเลนลึกเกิน 5 นิ้ว)
3. เตรียมเมล็ดพันธุ์ข้าวมาเพาะให้งอก (แช่ 24 ชม. บ่ม 24 ชม.) อย่าให้รากยาวเกินไป อัตราเมล็ดพันธุ์ 6-10 กก./ไร่
4. ก่อนการหยอด ให้ผึ่งเมล็ดพันธุ์ที่เพาะงอกแล้วในที่ร่มประมาณ 10-15 นาที เพื่อให้กระจายตัวได้ง่าย
5. เติมเมล็ดพันธุ์ในกระบอกลูกกลิ้งแต่ละลูก (ประมาณ 2 กก./กระบอก) อย่าให้เกิน 2 ใน 3 ของความจุ
6. หยอดข้าวในแปลงนา โดยใช้ความเร็วในการลากสม่ำ​เสมอ
7. ห้ามปล่อยน้ำเข้าในแปลงนาในช่วง 2-3 วันหลังหยอดข้าว เพื่อให้รากแทงลงดิน
8. ควบคุมระดับน้ำในแปลงนาตามความสูงของต้นข้าว เพื่อควบคุมวัชพืช
9. สามารถใช้เครื่องพรวนหญ้า (Rotary Weeder) เพื่อกำจัดวัชพืชและพรวนดินในร่องนาได้


การทำนาหยอดน้ำตม
การทำนาหยอดน้ำตมที่จะให้ได้ผลดีนั้น จะต้องปรับพื้นที่นาให้สม่ำเสมอ มีคันนาล้อมรอบและสามารถควบคุมน้ำได้ การเตรียม
ดินก็ปฏิบัติเช่นเดียวกับการเตรียมดินในนาดำ หลังการเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว ควรปล่อยให้เมล็ดข้าวที่ร่วงหล่นในนามีเวลางอกเป็นต้นข้าว
เพื่อลดปัญหาข้าวเรื้อ หรือข้าววัชพืชในนา แล้วจึงไถดะ แล้วปล่อยน้ำเข้าพอให้ดินชุ่มอยู่เสมอ ประมาณ 5-10 วัน เพื่อให้เมล็ด
วัชพืช งอกขึ้นมาเป็นต้นอ่อนเสียก่อนจึงปล่อยน้ำเข้านา แล้วทำการไถแปรและคราด หรือใช้ลูกทุบตี จะช่วยทำลายวัชพืชได้ หาก
ทำเช่นนี้ 1-2 ครั้ง หรือมากกว่านั้น โดยทิ้งระยะห่างกันประมาณ 4-5 วัน หลังจากไถดะไถแปร และคราดเสร็จเรียบร้อยแล้ว
ขังน้ำไว้ประมาณ 3 สัปดาห์ เพื่อให้ลูกหญ้าที่เป็นวัชพืชน้ำ เช่น ผักตบ ขาเขียด ทรงกระเทียม ผักปอดและพวกกกเล็ก เป็นต้น
งอกเสียก่อน จึงคราดให้ละเอียดอีกครั้งหนึ่ง ลูกหญ้าจะหลุดลอยไปติดคันนาใต้ทางลม ก็จะสามารถช้อนออกได้หมด เป็นการ
ทำลายวัชพืชวิธีหนึ่ง เมื่อคราดแล้วจึงระบายน้ำออกและปรับเทือกให้สม่ำเสมอ สำหรับผู้ที่ใช้ลูกทุบหรืออีขลุก ย่ำฟางข้าว
ให้จมลงไปในดินแทนการไถ หลังจากย่ำแล้วควรเอาน้ำแช่ไว้ ใส่ปุ๋ยคอก และน้ำหมักจุลินทรีย์ ช่วยให้ฟางเน่าเปื่อยจนหมด
ความร้อนเสียก่อน อย่างน้อย 1 อาทิตย์ แล้วจึงย่ำใหม่ เพราะแก๊สที่เกิดจากการเน่าเปื่อยของฟางจะเป็นอันตรายต่อต้นข้าว จะ
ทำให้รากข้าวดำไม่สามารถหาอาหารได้ หลังจากนั้นจึงระบายน้ำออกเพื่อปรับเทือก

การปรับพื้นที่นาหรือการปรับเทือกให้สม่ำเสมอ จะทำให้ควบคุมน้ำได้สะดวก การงอกของข้าวดีเติบโตสม่ำเสมอ เพราะ
เมล็ดข้าวมักจะตายถ้าตกลงไปในแอ่งหรือหลุมที่มีน้ำขัง เว้นแต่กรณีดินเป็นกรดจัดละอองดินตกตะกอนเร็วเท่านั้นที่ต้นข้าวสามารถ
ขึ้นได้ แต่ถ้าแปลงใหญ่เกินไปจะทำให้น้ำเกิดคลื่น ทำให้ข้าวหลุดลอยง่าย และข้าวรวมกันเป็นกระจุก ไม่สม่ำเสมอ นอกจาก
นั้นการปรับพื้นที่ให้สม่ำเสมอ ยังช่วยควบคุมการงอกของเมล็ดวัชพืช ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญของการทำนาหยอดน้ำตมอีกด้วย
การปรับพื้นที่ทำเทือก ควรทำก่อนหว่านข้าวหนึ่งวัน เพื่อให้ตะกอนตกดีเสียก่อน แล้วแบ่งกระทงนาออกเป็นแปลงย่อยๆ ขนาด
กว้าง 3-5 เมตร ยาวตามความยาวของกระทงนา ทั้งนี้แล้วแต่ความสามารถของคนหว่าน ถ้าคนหว่านมีความชำนาญอาจแบ่ง
ให้กว้าง การแบ่งอาจใช้วิธีแหวกร่อง หรือใช้ไหกระเทียมผูกเชือกลากให้เป็นร่องก็ได้ เพื่อให้น้ำตกลงจากแปลงให้หมด และ
ร่องนี้ยังใช้เป็นทางเดินระหว่างหว่านข้าว หว่านปุ๋ย และพ่นสารเคมีได้ตลอดแปลง โดยไม่ต้องเข้าไปในแปลงย่อยได้อีกด้วย


การเตรียมเมล็ดพันธุ์
โดยจะนำเมล็ดข้าวไปแช่น้ำ 1 คืน แล้วนำผ้าไปคลุมไว้อีก 2 คืน เมื่อเมล็ดข้าวเริ่มงอก ก็จะนำไปหยอดในที่นา


อัตราเมล็ดพันธุ์
อัตราเมล็ดพันธุ์ที่ใช้ในการทำนาหยอดน้ำตม ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ กล่าวคือ ถ้ามีการเตรียมดินไว้ดี มีเทือกอ่อนนุ่ม พื้นดิน
ปรับได้ระดับ เมล็ดที่ใช้เพียง 6-10 กิโลกรัมต่อไร่ ก็เพียงพอที่จะทำให้ได้ผลผลิตสูง


การหยอด
1. การหยอดด้วยมือ
การหยอดให้เดินหยอด ให้เอาไม้บาง คัดแถวดิน ให้เลื่อนออกไป เพื่อเอามือสอดเข้าไปหยิบได้ ซ้าย 3 ขวา 3 ก็ได้หกเม็ด
หยอดซ้ายขวาพร้อมกันทีละ 2 เม็ด โดยหยอดเม็ดดินลงไปตรงที่ผูกเชือกสีไว้ แล้วอีก 2 แล้วอีก 2 แล้ว ทำซ้ำอีก อีก 6 เม็ด
และอีก 6 เม็ด

การหยอด 63 = 18 หลุม จะใช้เวลาประมาณ 30 วินาที เท่านั้น
การเดินนี้ควรมีเชือกขึงที่ผูกระยะ 75 ซม เป็นเครื่องหมายด้วย จะได้แนวข้าวที่ตรง ใครแขนยาวอาจหยอดไม้ละ 8 หลุมก็ได้นะ
แต่แขนต้องยาว 175 ซม.


2. การหยอดด้วยเครื่องหยอด
สำหรับโครงสร้างของเครื่อง จะประกอบด้วยต้นฐานรองรับส่วนกลไกหยอดเมล็ดพันธุ์ ใช้วัสดุที่เป็นเหล็กเพื่อรองรับส่วนกลไก
หยอดเมล็ดพันธุ์ ที่ใช้วัสดุเป็นท่อพลาสติกเส้นผ่าศูนย์กลาง 6 นิ้ว นำมาตัดเป็นท่อนยาว 13 ซม. แล้วเจาะเป็นรูครึ่งวงกลมจำนวน
12 รู และส่วนที่ประกอบใช้ สแตนเลสทำเป็นรูปกล่อง โดยท่อนพลาสติกจะหมุนแล้วตักเมล็ดพันธุ์ข้าวจาก กล่องสเตนเลส ลงแปลงปลูก





สำหรับในส่วนขับเคลื่อน ประกอบไปด้วยวงล้อขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 110 ซม. มีเพลาติดกับล้อโซ่พร้อมสเตอร์ทำหน้าที่เป็น
ต้นกำลังให้ส่วนของกลไกการหยอดเมล็ดทำงาน ส่วนการบังคับการทำงานจะใช้วิธีการล็อกแผ่นเหล็กสองแผ่นเข้าหากัน มีสลัก
บังคับให้ส่วนกลไกหยอดเมล็ดทำงาน หรือหยุดทำงานได้ โดยสามารถใช้เครื่องนี้ร่วมกับรถไถเดินตาม



การดูแลรักษา
การทำนาหยอดน้ำตม จะต้องมีการดูแลให้ต้นข้าวงอกดีโดยพิจารณาถึง
1. พันธุ์ข้าว การใช้พันธุ์ข้าวนาปีซึ่งมีลำต้นสูง ควรจะทำการหว่านข้าวให้ล่า ให้อายุข้าวจากหว่านถึงออกดอกประมาณ 70-80 วัน
เนื่องจากความยาวแสงจะลดลง จะทำให้ต้นข้าวเตี้ยลง เนื่องจากถูกจำกัดเวลาในการเจริญเติบโตทางต้นและทางใบ ทำให้ต้นข้าว
แข็งขึ้นและไม่ล้มง่าย สำหรับข้าวที่ไม่ไวแสงหรือข้าวนาปรังไม่มีปัญหา เพียงแต่กะระยะให้เก็บเกี่ยวในระยะฝนทิ้งช่วง หรือหมดฝน
หรือหลีกเลี่ยงไม่ให้ข้าวบางพันธุ์ เช่น ปทุมธานี 1 ออกดอกในฤดูหนาวเป็นต้น

2. ระดับน้ำ การจะผลผลิตข้าวให้ได้ผลผลิตสูงการควบคุมระดับน้ำเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะตั้งแต่เริ่มหว่านจนข้าวแตกกอ ระดับน้ำ
ไม่ควรเกิน 5 เซนติเมตร เมื่อข้าวแตกกอเต็มที่ ระดับน้ำอาจเพิ่มสูงขึ้นได้ เพื่อจะได้ไม่ต้องสูบน้ำบ่อยๆ แต่ไม่ควรเกิน 10 เซนติเมตร
เพราะถ้าระดับน้ำสูงจะทำให้ต้นข้าวที่แตกกอเต็มที่แล้ว เพิ่มความสูงของต้น และความยาวของใบ โดยไม่ได้ประโยชน์อะไร เป็น
เหตุให้ต้นข้าวล้ม เกิดการทำลายของโรคและแมลงได้ง่าย

การปลูกข้าวแบบเป็นแถว (Straight Row Direct Seeding) โดยใช้เครื่องหยอดแถวข้าวงอก (Rice Drum Seeder)เป็นการ
นำข้อดีของการทำนาดำและนาหว่านมาใช้ มีประโยชน์และข้อดี ดังนี้
- ลดขุั้นตอน ลดต้นทุนการเพาะกล้า ดำนา
- ข้าวไม่ช้ำในขั้นตอนการย้ายกล้า ปักดำ
- ใช้น้ำในการทำนาน้อยกว่านาดำ
- ใช้เมล็ดพันธุ์น้อยกว่านาหว่าน
- ต้นข้าวมีระยะห่างระหว่างต้นเหมือนนาดำเครื่อง
- แตกกอได้มาก ไม่แย่งอาหารกัน ได้รับแสงแดดเต็มที่
- ต้นข้าวไม่แข่งกันสูง โอกาต้นล้มน้อยลง
- จัดการหญ้าวัชพืชได้ง่าย ด้วย เครื่องพรวนดิน/กำจัดหญ้า (Rotary Weeder) ลดการใช้ยาฆ่าหญ้า
- แปลงนามีสุขอนามัยที่ดี โปร่ง โล่ง โรคพืช แมลงน้อย ลดการใช้ยาฆ่าแมลง
- เดินตรวจแปลงนาได้ง่าย
- ต้นข้าวสม่ำเสมอทั่วแปลงนา เติบโต ออกรวง เมล็ดข้าวสุกสม่ำเสมอพร้อมกัน
- ลดการสูญเสียในขั้นตอนการเก็บเกี่ยว เมื่อเทียบกับนาหว่าน




http://www.monmai.com/%e0%b8%97%e0%b8%b3%e0%b8%99%e0%b8%b2%e0%b9%81%e0%b8%9a%e0%b8%9a%e0%b8%ab%e0%b8%a2%e0%b8%ad%e0%b8%94%e0%b8%99%e0%b9%89%e0%b8%b3%e0%b8%95%e0%b8%a1/
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11563

ตอบตอบ: 23/01/2013 7:14 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

131.


ชื่อพันธุ์
- น้ำสะกุย 19 (Nam Sa-gui 19)

ชนิด
- ข้าวเจ้า

ประวัติพันธุ์
- ได้จากการรวบรวมพันธุ์โดยนายสมพงษ์ บุญเย็น พนักงานเกษตร เมื่อปี พ.ศ.2507 จำนวน 300 รวง จากอำเภอเมือง
จังหวัดกาฬสินธุ์ แล้วนำไปคัดเลือกแบบคัดพันธุ์บริสุทธิ์ ตามสถานีทดลองข้าวต่างๆ จนได้สายพันธุ์ น้ำสะกุย 445-4-19

การรับรองพันธุ์
- คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ ให้ใช้ขยายพันธุ์ เมื่อ ปี พ.ศ. 2511






ลักษณะประจำพันธุ์
- เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 143 เซนติเมตร
- ไวต่อช่วงแสง
- ข้อต่อระหว่างกาบใบและตัวใบสีม่วง แตกกอดี ทรงกอแผ่เล็กน้อย เมล็ดข้าวยาวเรียว
- ข้าวเปลือกสีฟางก้นจุด
- อายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 4 พฤศจิกายน
- ระยะพักตัวของเมล็ด ประมาณ 3 สัปดาห์
- เมล็ดข้าวเปลือก ยาว x กว้าง x หนา = 10.5 x 2.5 x 2.0 มิลลิเมตร
- เมล็ดข้าวกล้อง ยาว x กว้าง x หนา = 7.7 x 2.2x 1.8 มิลลิเมตร
- ปริมาณอมิโลส 30-31 %
- คุณภาพข้าวสุก ร่วน แข็ง

ผลผลิต
- ประมาณ 499 กิโลกรัมต่อไร่


ลักษณะเด่น
- แตกกอดี ลำต้นแข็ง อายุเบาเหมาะสมกับพื้นที่ฝนหมดเร็ว
- คุณภาพการสีดี ได้เมล็ดข้าวสารใส เลื่อมมัน
- ต้านทานเพลี้ยจักจั่นสีเขียว ค่อนข้างต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

ข้อควรระวัง
- ไม่ต้านทานโรคไหม้ โรคใบจุดสีน้ำตาล โรคขอบใบแห้ง และโรคใบสีส้ม
- ไม่ต้านทานแมลงบั่ว

พื้นที่แนะนำ
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ


http://www.brrd.in.th/rvdb/index.php?option=com_content&view=article&id=34:nam-sa-gui-19&catid=30:photosensitive-lowland-rice&Itemid=53


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 23/01/2013 9:13 am, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11563

ตอบตอบ: 23/01/2013 7:16 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

132. พันธุ์ข้าวนาปีภาคกลาง เมื่อ 40 ปีก่อน


ประเทศไทย เป็นเมือง "อู่ข้าว อู่น้ำ" ในอดีตชาวนาไทยมีพันธุ์ข้าวนาปีมากมายกระจายอยู่ในทุกภาค แต่เมื่อรูปแบบการผลิต
เปลี่ยนไป จากการผลิตข้าวนาปี (ปีละ 1 ครั้ง) เป็นข้าวนาปรัง (ปีละหลายครั้ง) ประกอบกับได้เกิดสถานีทดลองข้าวเพื่อเน้นหา
พันธุ์ข้าวลูกผสมที่สนองตอบต่อปุ๋ยเป็นสำคัญ ทำให้เกิดการละเลยข้าวพันธุ์พื้นเมืองดั้งเดิม จนข้าวพันธุ์ที่มีอยู่อย่างอุดมในอดีตสูญ
หายไปจากท้องถิ่นอย่างน่าเสียดายยิ่ง แม้จะมีเกษตรกรบางกลุ่มได้เล็งเห็นคุณค่าของข้าวพันธุ์พื้นเมือง หันกลับไปแสวงหาข้าว
พันธุ์ดั้งเดิมมาปลูกเพื่อการอนุรักษ์ ก็สามารถเสาะหาพันธุ์ข้าวมาได้แต่เพียงส่วนน้อยเท่านั้นเอง แต่ก็ยังนับว่าเป็นการดีที่ความคิดดัง
กล่าวมีก่อนที่พันธุ์ข้าวดั้งเดิมจะสูญหายไปหมด

ใน "เทคโนโลยีชาวบ้าน" ฉบับนี้ เราจะลองมาย้อนรอยดูว่า เมื่อ 40 ปีที่แล้ว ในภาคกลางของไทยเรามีพันธุ์ข้าวอะไรบ้างที่ชาวนา
นิยมปลูกกัน บางทีหากจะไปสอบถามข้อมูลที่กรมการข้าวกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ก็อาจจะไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับชื่อพันธุ์ข้าว
ให้ค้นคว้าแล้วก็ได้ ข้อมูลที่จะนำมารื้อฟื้นความหลังนี้ ผู้เขียนได้มาจากหนังสือ "รายงานผลการวิจัย เรื่อง ภาวะหนี้สินและการค้าข้าว
ของชาวนาภาคกลาง ประเทศไทย พ.ศ. 2510/2511" ซึ่งสำรวจโดยศาสตราจารย์ ดร.อุทิศ นาคสวัสดิ์ โดยทุนของสำนักงานสภา
วิจัยแห่งชาติ ร่วมกับ ยูซอม (USOM) ซึ่งหน่วยงานหลังนี้เป็นหน่วยงานของสหรัฐอเมริกาที่มาตั้งอยู่ในประเทศไทยยุคโน้น


พันธุ์ข้าวที่สำรวจในครั้งนั้น ได้สำรวจใน 15 จังหวัด ด้วยกัน ได้แก่
1. สุพรรณบุรี (บางปลาม้า เมือง ศรีประจันต์ อู่ทอง สองพี่สอง สามชุก และเดิมบางนางบวช)
2. นครสวรรค์ (ตาคลี ท่าตะโก หนองบัว ชุมแสง ลาดยาว บรรพตพิสัย ไพศาลี และพยุหะคีรี)

3. พระนครศรีอยุธยา (เสนา ผักไห่ วังน้อย นครหลวง ท่าเรือ อุทัย และมหาราช)
4. ฉะเชิงเทรา (บางปะกง เมือง พนมสารคาม
บ้านโพธิ์ บางคล้า และบางน้ำเปรี้ยว)

5. พิจิตร (ตะพานหิน โพธิ์ทะเล สามง่าม บางมูลนาค และโพธิ์ประทับช้าง)
6. ลพบุรี (บ้านหมี่ ท่าวุ้ง เมือง และโคกสำโรง)

7. พระนคร (หนองจอก บางเขน พระโขนง และลาดกระบัง)
8. ชัยนาท (สรรค์บุรี สรรพยา และวัดสิงห์)

9. สระบุรี (บ้านหมอ หนองแซง เมือง และแก่งคอย)
10. ปทุมธานี (ลาดหลุมแก้ว เมือง สามโคก และธัญบุรี)

11. เพชรบูรณ์ (เมือง หล่มสัก และหล่มเก่า)
12. สมุทรปราการ (บางพลี บางบ่อ และเมือง)

13. ปราจีนบุรี (เมือง และศรีมหาโพธิ์)
14. อ่างทอง (วิเศษชัยชาญ โพธิ์ทอง สามโก้ และป่าโมก) และ

15. ราชบุรี (ดำเนินสะดวก ปากท่อ และบ้านโป่ง)


ในรายงานฉบับดังกล่าว มีการสำรวจหลายเรื่องด้วยกัน เช่น จำนวนน้ำฝน อุณหภูมิ โครงการชลประทาน เนื้อที่นาต่อฟาร์ม ผลผลิต
ข้าวต่อไร่ (นาดำและนาหว่าน) หนี้สิน ค่าใช้จ่ายในการขายข้าว และราคาข้าว เป็นต้น ตัวอย่างเช่น ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ของนาดำ
ได้ 27.99 ถัง ของนาหว่านได้ 19.54 ถัง เป็นต้น แต่ในที่นี้เราสนใจจะดูกันเรื่องพันธุ์ข้าวที่สำรวจได้ ส่วนเรื่องอื่นๆ เราจะละไว้ก่อน



พันธุ์ข้าวที่ชาวนานิยมใช้เพาะปลูก 23 พันธุ์แรก ได้แก่ พันธุ์ขาวตาแห้ง ขาวเศรษฐี พวง (มีหลายชนิด เช่น พวงจอก พวงหางจอก
พวงเงิน พวงทอง ฯลฯ) สามรวง ขาวกอเดียว ก้อนแก้ว ขาวห้าร้อย ขาวมะลิ หลวงประทาน ขาวพวง ขาวสะอาด นางเขียว นางมล
ปิ่นแก้ว ขาวเมล็ดเล็ก เล็บมือนาง ก้นจุด เทวดา ห้ารวง เจ๊กเชย พวงนาค ทองมาเอง และมะลิทอง

พันธุ์ข้าวที่ชาวนานิยมใช้มากที่สุด (คิดเป็นเปอร์เซ็นต์) ได้แก่ ขาวตาแห้ง ก้อนแก้ว นางมล สามรวง และขาวกอเดียว แต่หากคิดเป็น
พื้นที่เพาะปลูกสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ ขาวตาแห้ง ขาวเศรษฐี ขาวพวง สามรวง และขาวกอเดียว

ข้าวพันธุ์อื่น (นอกเหนือจาก 23 พันธุ์ ที่เอ่ยชื่อมาแล้ว) ได้แก่ ข้าวพันธุ์ก้นดำ ก้นแดง ก้นใหญ่ กอเดียว กอเดียวเบา กอเดียวหนัก
เกษตร ค. เก้ารวง กาบแดง กาบเขียว กะโหลก กลางปี กระจุดหนัก ก้อนทอง กอกลาง แก่นจันทร์ เกวียนหัก กาบหมาก เกสร กำหมาก
เขียวหอม เขียวเบา เขียวหนัก เขียวทุ่ง ขี้ตมขาว ขำเล็กเตี้ย เขียวเม็ดเล็ก เขียว เขาดี แขกเบา เขี้ยวงู ขอนแก่น ไข่แมงดา ขนาย

เขียวนกกระลิง ไข่จิ้งหรีด ขาวกระบี่ ขาวก้นจุด ขาวกอ ขาวโกต ขาวแก้ว ขาวกีต้า ขาวกลางปีหลวง ขาวเกษตร ขาวกำจร ขาวกระโทก
ขาวกด ขาวกุหลาบ ขาวขจร ขาวขี้ตบ ขาวขัดเบา ขาวโคก ขาวคัด ขาวคุด ขาวคลองสิบ ขาวงอ ขาวงาช้าง ขาวเจ็กแก้ว ขาวจำปา
ขาวชีต้า ขาวดี ขาวดง ขาวตาหลั่ง ขาวตาหุย ขาวตาผุด ขาวตาเล็ก ขาวตาสี ขาวตาปาน ขาวตาอู๋ ขาวตาหง ขาวตาโม้ ขาวตาพุฒ

ขาวตาเพชร ขาวตาปิ่น ขาวตายิ้ม ขาวตราสังข์ ขาวตะวันขึ้น ขาวทับทิม ขาวทดลอง ขาวทองรากชาย ขาวนางมล ขาวน้ำผึ้ง
ขาวนาวา ขาวนาแขก ขาวนางเข็ม ขาวเหนียว ขาวน้ำมนต์ ขาวนางชม ขาวนวล ขาวบุญมา ขาวบางกะปิ ขาวบัวทอง ขาวนางกระ
ขาวบางเขน ขาวใบศรี ขาวบางเตย ขาวประกวด ขาวป้อม ขาวประเสริฐ ขาวปากกระบอก ขาวปลาไหล ขาวปลุกเสก ขาวปอ

ขาวปิ่นแก้ว ขาวปากยัง ขาวป่า ขาวเปลือกบาง ขาวปุ้น ขาวปากหม้อ ขาวป่วน ขาวฝุ่น ขาวพัฒนา ขาวพลายงาม ขาวพวงทอง
ขาวพวงเบา ขาวพราหมณ์ ขาวพยอม ขาวพรต ขาวโพธิ์ ขาวเม็ดยาว ขาวแม้ว ขาวเม็ดเล็กเตี้ย ขาวเม็ดแตง ขาวมงคล ขาวมะลิหนัก
ขาวมะลิเบา ขาวมะลิพวง ขาวเมืองกรุง ขาวม้าแขก ขาวยายง้อย ขาวยายแก้ว ขาวยายมูล ขาวรวงยาว ขาวไร่ ขาวรวง ขาวรวงเดียว

ขาวรังสิต ขาวลาว ขาวราชวัตร ขาวโหร่ง ขาวเหลือง ขาวหลง ขาวลูกค้า ขาวหลวง ขาวละออ ขาวละยอง ขาวลอย ขาวลอยมา
ขาวลอดช่อง (ไม่ใช่ลอดช่อง) ขาวเหลืองกะโหลก ขาววัด ขาวสุพรรณ ขาวสูง ขาวสมุทร ขาวสวน ขาวสายบัว ขาวสร้อยพร้าว ขาวแสวง

ขาวสมยัง ขาวส่งเค็ม ขาวสะโด ขาวเสมอ ขาวใหญ่ ขาวหอมลำไย ขาวหล่ม ขาวหาง ขาวหอมทอง ขาวหินกอง ขาวหอมือเคียว
(หอ-มือ-เคียว ชื่อชอบกลดี) ขาวหอม ขาวอากาศ ขาว ขาวอุทัย ขาวอัปสร และขาวอำไพ

งาช้าง เจ็ดรวง จำปาหนัก จำปา จำปาจีน จำปาทอง จำปาขาว จะนึง จำปาศักดิ์ จำปากลาง จำปาดะ จำปาเป๋ จุกมอญ เจ็กเฮง
เจ็กสี เจ็กสะกิด เจ็กกวาดน้อย เจ็กกระโดด เจ้าดอก เจ้าสงวน เจ้าพาน จำวัด จ้าวน้อย จ้าวเสวย จะแดงน้อย ช่อพยอม ช่อมะม่วง

ช่อมะกอก ช้างลาก ช่อฟ้า ชมเชย ชุใบหนัก ซังเหนียว ซังเหลือง ซ่อนใบ ดออีปุ่น ดอกมะลิ ดาบหัก ดอกขะนาก ดอกดู๋ ดอเซ ดอปี
ดำเห็น ดำป่าสัก ตาโสม ตาแก้ว ตาอ่อง ตะเภาล่ม ตะพาบ ตาเฉื่อย ตะเภาแก้ว ตาเจียน แตงกวา ใต้ใน เถากู้ ทองรากชาย

ทองรากทราย ทองจำวัด ทองตามี ทองงาม หินทอง ทูลฉลอง น้ำผึ้ง นกกะริงเบา เนินเขียว นครภัณฑ์ น้ำค้าง นาสวน นางกลอง
นางหงษ์ นางอาย นางสมบุญ นางงาม บุญมา เบาสุพรรณ บางเขน บางปะกง บางโพธิทอง บางกระเบียน บางตะเคียน บางมูลนาค
บางตะกุย บางญวน และบางสะแก

บ้านโนน บ้านโพด บ้านคลอง บุญตา บุญเกิด บุญมี บุนนาค เบาขาว เบื่อน้ำ ใบลด ประดู่ยืน แปดรวง ปิ่นทอง ป้อม ป่าดอง ผลมะเฟือง
พวงหางจอก พวงหนัก พวงจอก พูนสรวง พันธุ์เกษตร แพลอย พวงมาลัย พวงฉลอง พระยาชม พวงเงิน พวงทอง พวงหางหมู

พระยาดอน พระปฐม แพร่ พ่อใหญ่ พวงแก้ว พันเม็ด พระยาหนอง โพธิทอง พวงเงินหนัก พวงเงินเบา พิมพ์สวรรค์ พวงพยอม เฟืองเหลือง
ญี่ปุ่น เมืองเลย แม่ล้างญวน (น่าจะเป็น "แม่ร้างญวน") เม็ดเล็กเตี้ย เม็ดยาว มะลิวัลย์ มะลิกลาง มะลิซ้อน มะลิเลื้อย แม่หม้าย

แม่หม้ายอกแตก เม็ดข้าว มะก้วน ยักคิ้วรวง รวงยาว รวงเดียว แรกนาขวัญ รวงใหญ่ รักซ้อน ลูกนก หล่มหนัก เล็กร้าง แหลมไผ่
แลกนาขวัญ (อาจจะเป็นพันธุ์เดียวกับ "แรกนาขวัญ" ก็ได้) ลอยสำเภา ลูกผึ้ง หลวงแจก ล้อยุ้ง แหลมในสี ลอย ล้นครก หลวงหวาย
ลากชาย ลืมแกง เหลืองประทิว เหลืองใหญ่ เหลืองกลาง เหลืองทอง เหลืองอ่อน เหลืองหอม เหลืองขมิ้น เหลืองเตี้ย เหลือง

เหลืองพวง เหลืองระแหง เหลืองก้นจุด เหลืองกระบ้าง เหลืองเกษตร เหลืองกอเดียว เหลืองโกฐ เหลืองข้าวรวง เหลืองควายล่า
เหลืองตาบึ้ง เหลืองตาครัว เหลืองตาพลวง เหลืองทองเผา เหลืองทองย้อย เหลืองที่หนึ่ง เหลืองทราย เหลืองนาขวัญ เหลืองนวลแตง

เหลืองน้ำเค็ม เหลืองบางแก้ว เหลืองเบา เหลืองบิด เหลืองปากนก เหลืองพันธุ์ทอง เหลืองพม่า เหลืองพรหม เหลืองไฟลาน เหลืองมะฟง
เหลืองระแหงเบา เหลืองไร่ เหลืองหลง เหลืองหลวง เหลืองลาย เหลืองลพบุรี และเหลืองอารี

แววนกยูง สามกะพ้อ สะแกดึง สวนใหญ่ สองรวงเบา สร้อยข้าว สองทะนาน สามรวงตัด สี่รวง สร้อยดง สายบัว สีชมพู สุพรรณรวงทอง
สองรวงหนัก สาวกอ เสือลาก สีนวล สองรวง สะพานหนอง ศรีอุทัย ฟ้ามือ สาล สวะลอย สร้อยขิง หอมทอง หอม หอมมะลิ หอมน้ำผึ้ง

หอมละออ หางเหน นางนกยูง หางหมา หกรวง ห้ารวง หินซ้อน หอมใหญ่ หนักเหนือ ห้าเซียน หอมสวน หางจอก หมกกล้วย มังคุด
มะดิน มกตาล มาลออง มิ่งขวัญ มะน้ำ ข้าวก้นจุด ข้าวกู้หนี้ ข้าวเกษตร ข้าวกลอง ข้าวกลางปีหลวง ข้าวแก้ว ข้าวขาว ข้าวขาวสะอาด

ข้าวเขียว ข้าวขาวหลวง ข้าวข้อมือหัก ข้าวคัด ข้าวโค้ง ข้าวดู้ดี้ ข้าวตกหลิน ข้าวทิพย์ ข้าวที่หนึ่ง ข้าวนาเมือง ข้าวนาสวน ข้าวน้ำค้าง
ข้าวนครชัยศรี ข้าวเหนียวดำ ข้าวเหนียว ข้าวเหนียวนวลแตง ข้าวเหนียวสาวน้อย ข้าวเหนียวซาวนึ่ง ข้าวเหนียวเหลือง ข้าวเหนียวทองคัด

ข้าวเหนียวกาบอ้อย ข้าวเหนียวหล่ม ข้าวเหนียวกระดูกช้าง ข้าวเหนียวก้านพลู ข้าวเหนียวญี่ปุ่น ข้าวเหนียวจังหวัดเลย ข้าวเหนียวหล่มสัก
ข้าวเหนียวมโนราห์ ข้าวเหนียวพันธุ์นาสวน ข้าวเหนียวกระเบียงร้อน ข้าวเหนียวดอกจาน ข้าวเหนียวกลางปี ข้าวเหนียวหัวหมาก
ข้าวเหนียวปากลัด ข้าวเหนียวแดงวัว

ข้าวใบสี ข้าวเบา ข้าวเบาที่หนึ่ง ข้าวใบรอบ ข้าวบ้านนา ข้าวป้อม ข้าวพวงเบา ข้าวพวงหนัก ข้าวฟางลอย ข้าวแม้ว ข้าวเม็ดเล็ก
ข้าวเมืองกาญจน์ ข้าวไร่ ข้าวรอดหนี้ ข้าวล่า ข้าวล้นยุ้ง ข้าวลอย ข้าวลอยเหลือง ข้าวลอยบุญมา ข้าวสามเดือน ข้าวสารี ข้าวสาวงาม
ข้าวสี่เดือน ข้าวห้าร้อย ข้าวหางหงษ์ ข้าวหอม ข้าวหลวง ข้าวหนักเหนือ ข้าวเหลืองเตี้ย ข้าวเหลืองน้อย ข้าวเหลืองเบา และข้าวเหลือง



พันธุ์ข้าวที่ยกมานี้มีการเรียกชื่อตามปากชาวบ้าน ข้าวที่มีชื่อคล้ายกันแต่อยู่คนละจังหวัด อาจจะเป็นข้าวพันธุ์เดียวกันก็ได้ ผู้เขียนเป็น
ลูกชาวนาแถบเหนือของอำเภออู่ทอง คุ้นเคยกับชื่อข้าวพันธุ์ขาวตาแห้ง สามรวง ขาวกอเดียว ก้อนแก้ว ขาวมะลิ หลวงประทาน นางมล

ปิ่นแก้ว เจ๊กเชย และพันธุ์เหลืองอ่อน ทุกวันนี้ (2550) ข้าวขาวตาแห้งแถบบ้านจร้า (ใหม่-เก่า) และหนองโคก อำเภออู่ทอง จังหวัด
สุพรรณบุรี ยังเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี (ข้าวพื้นแข็ง)




ราคาข้าวเปลือกรับซื้อ ณ หน้าโรงสี ในปี 2511/2512 สูงสุดในเดือนสิงหาคม 2511 เกวียนละ 1,200 บาท และราคาต่ำสุดใน
เดือนมีนาคม 2512 เกวียนละ 1,057 บาท ถัวเฉลี่ยทั้งปี เกวียนละ 1,095 บาท

เรื่องราวของพันธุ์ข้าวพื้นบ้านเมื่อ 40 ปีก่อน ก็ขอจบลงแต่เพียงแค่นี้ ใครที่กำลังคิดจะอนุรักษ์พันธุ์ข้าวดั้งเดิมอาจจะใช้เป็น "เข็มทิศ"
เพื่อเสาะแสวงหาพันธุ์ข้าวที่ยังหลงเหลืออยู่ได้ดีกว่าการค้นหาแบบคนตาบอด


โดย ไพบูลย์ แพงเงิน
จากหนังสือเทคโนโลยีชาวบ้าน


http://pre-rsc.ricethailand.go.th/knowledge/14.htm
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11563

ตอบตอบ: 23/01/2013 11:04 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

133. การปลูกข้าวไร่ ให้ได้ผลผลิตสูง





ดาวน์โหลดเป็นไฟล์ภาพขนาดใหญ่
คลิก...
http://www.hrdi.or.th/media/detail/1652/


.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 24/01/2013 12:06 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11563

ตอบตอบ: 24/01/2013 12:03 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

134. รวมพันธุ์ข้าวไทย

บทที่ 1 พันธุ์ข้าวนาสวน ไวต่อช่วงแสง



ชื่อพันธุ์ : 1. กข5 (RD5)

ชนิด : ข้าวเจ้า

คู่ผสม : พวงนาค 16 / ซิกาดิส

ประวัติพันธุ์ : ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์พวงนาค 16 ของไทยกับพันธุ์ซิกาดิส ของอินโดนีเซีย ได้ผสมพันธุ์และคัดพันธุ์แบบ
สืบตระกูลที่สถานีทดลองข้าวบางเขน เมื่อปี พ.ศ.2508 จนได้สายพันธุ์ BKN6517-9-2-2

การรับรองพันธุ์ : คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ให้ใช้ขยายพันธุ์เป็นพันธุ์รับรองเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2516

ลักษณะประจำพันธุ์ : เป็นข้าวเจ้าต้นสูง สูงประมาณ 145 เซนติเมตร เป็นพันธุ์ข้าวไวต่อช่วงแสงเล็กน้อย เหมาะที่จะปลูกเป็นข้าวนาปี
ถ้าปลูกตามฤดูกาลจะเก็บเกี่ยวได้ปลายเดือนพฤศจิกายน แต่ถ้าปลูกในฤดูนาปรังหรือไม่ปลูกตามฤดูกาล อายุจะอยู่ระหว่าง 140-160
วัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเดือน ลำต้นสีม่วง มีรวงยาว ต้นแข็งไม่ล้มง่ายปลูก ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 6 สัปดาห์ เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง
ก้นจุดท้องไข่น้อย




ชื่อพันธุ์ : 2. กข6 (RD6)

ชนิด : ข้าวเหนียว

ประวัติพันธุ์ : ได้จากการปรับปรุงพันธุ์ โดยการใช้รังสีชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์ โดยใช้รังสีแกมมาปริมาณ 20 กิโลแรด อาบเมล็ด
พันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 แล้วนำมาปลูกคัดเลือกที่สถานีทดลองข้าวบางเขนและสถานีทดลองข้าวพิมาย จากการคัดเลือกได้ข้าว
เหนียวหลายสายพันธุ์ในข้าวชั่วที่ 2 นำไปปลูกคัดเลือกจนอยู่ตัวได้สายพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูงสุดคือ สายพันธุ์ KDML105'65-G2U-
68-254 นับว่าเป็นข้าวพันธุ์ดีพันธุ์แรกของประเทศไทย ที่ค้นคว้าได้โดยใช้วิธีชักนำพันธุ์พืชให้เปลี่ยนกรรมพันธุ์โดยใช้รังสี

การรับรองพันธุ์ : คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2520

ลักษณะประจำพันธุ์ : เป็นข้าวเหนียว สูงประมาณ 154 เซนติเมตร ไวต่อช่วงแสง ทรงกอกระจายเล็กน้อย ใบยาวสีเขียวเข้ม ใบธงตั้ง
เมล็ดยาวเรียว เมล็ดข้าวเปลือกสีน้ำตาล อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 21 พฤศจิกายน ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 5 สัปดาห์




ชื่อพันธุ์ : 3. กข8 (RD8)

ชนิด : ข้าวเหนียว

คู่ผสม : เหนียวสันป่าตอง*2 / ไออาร์ 262

ประวัติพันธุ์ : ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์เหนียวสันป่าตอง กับพันธุ์ไออาร์ 262 ในปี พ.ศ.2509 แล้วผสมกลับไปหาพันธุ์
เหนียวสันป่าตองอีกครั้งหนึ่ง ในปี พ.ศ.2510 โดยผสมพันธุ์และคัดเลือกที่สถานีทดลองข้าวบางเขนได้สายพันธุ์ BKN6721
เมล็ดพันธุ์ผสมชั่วที่ 2 ถูกส่งไปให้สถานีทดลองข้าวขอนแก่นทำการปลูกคัดเลือกต่อ และได้เปลี่ยนชื่อคู่ผสมตามรหัสของสถานีเป็น
สายพันธุ์ KKN6721 สถานีทดลองข้าวขอนแก่นได้ทำการคัดเลือกและปลูกเปรียบเทียบผลผลิต จนได้สายพันธุ์ KKN6721-5-7-4

การรับรองพันธุ์ : คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2521

ลักษณะประจำพันธุ์ : เป็นข้าวเหนียว สูงประมาณ 150 เซนติเมตร ไวต่อช่วงแสง อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 23 พฤศจิกายน ลำต้นและใบ
สีเขียวเข้ม ใบธงตั้ง ฟางแข็ง ชูรวงอยู่เหนือใบ เมล็ดข้าวค่อนข้างป้อม ลำต้นแข็งเมล็ดข้าวเปลือกสีเหลือง ระยะพักตัวของเมล็ด
ประมาณ 3 สัปดาห์



ชื่อพันธุ์ : 4. กข13 ( RD13 )

ชนิด : ข้าวเจ้า

คู่ผสม : นางพญา 132 / ผักเสี้ยน 39

ประวัติพันธุ์ : ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์นางพญา 132 กับพันธุ์ผักเสี้ยน 39 ที่สถานีทดลองข้าวบางเขน ในปี พ.ศ.2507 แล้ว
นำข้าวพันธุ์ผสมชั่วที่ 2 ไปปลูกคัดเลือกที่สถานีทดลองข้าวควนกุฎ จังหวัดพัทลุง จนได้สายพันธุ์ BKN6402-352

การรับรองพันธุ์ : คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2521

ลักษณะประจำพันธุ์ : เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 160 เซนติเมตร ไวต่อช่วงแสง ลำต้นตั้งตรง สีเขียว ใบธงตก ชูรวงอยู่เหนือใบ ระแง้
ถี่ อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 26 กุมภาพันธ์ เมล็ดข้าวเปลือกสีน้ำตาล ท้องไข่ปานกลาง ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 3 สัปดาห์




ชื่อพันธุ์ : 5. กข15 (RD15)

ชนิด : ข้าวเจ้า

ประวัติพันธุ์ : ได้จากการปรับปรุงพันธุ์ โดยการใช้รังสีชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์ โดยใช้รังสีแกมมาปริมาณ 15 กิโลแรด อาบ
เมล็ดพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในปี พ.ศ. 2508 แล้วนำมาปลูกคัดเลือกที่สถานีทดลองข้าวต่างๆ ในภาคเหนือ และภาคตะวัน
ออกเฉียงเหนือ จนได้สายพันธุ์ KDML 105'65G1U-

การรับรองพันธุ์ : คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2521

ลักษณะประจำพันธุ์ : เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 140 เซนติเมตร ไวต่อช่วงแสง อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 10 พฤศจิกายน ลำต้นและใบสี
เขียวอ่อน ใบธงทำมุมกับคอรวง รวงอยู่เหนือใบ ใบยาว ค่อนข้างแคบเมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง ปลายบิดงอเล็กน้อย ระยะพักตัว
ของเมล็ดประมาณ 7 สัปดาห์ เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.1 x 7.5 x 1.7 มิลลิเมตร



ชื่อพันธุ์ : 6. กข27 (RD27)

ชนิด : ข้าวเจ้า

คู่ผสม : ขาวตาอู๋ / ขาวตาแห้ง 17

ประวัติพันธุ์ : ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์ขาวตาอู๋ กับ พันธุ์ขาวตาแห้ง 17 ที่สถานีทดลองข้าวบางเขน เมื่อปี พ.ศ. 2504
แล้วทำการคัดเลือกและปลูกเปรียบเทียบผลผลิตจนได้สายพันธุ์ BKN6113-79

การรับรองพันธุ์ : คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรองเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2524

ลักษณะประจำพันธุ์ : เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 160 เซนติเมตร ไวต่อช่วงแสง อายุเก็บเกี่ยวประมาณ วันที่ 10 ธันวาคม มีลำต้นและ
ใบสีเขียว ทรงกอค่อนข้างตั้ง ต้นใหญ่ และใบยาว เมล็ดค่อนข้างป้อม ข้าวเปลือกสีฟาง ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 8 สัปดาห์
ท้องไขน้อย เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา= 2.3 x 7.5 x 1.8 มิลลิเมตร




ชื่อพันธุ์ : 7. กำผาย 15 (Gam Pai 15)

ชนิด : ข้าวเหนียว

ประวัติพันธุ์ : ได้จากการรวบรวมพันธุ์โดยพนักงานเกษตรอำเภอ จากอำเภอเมือง จังหวัดลำพูน เมื่อ พ.ศ. 2493-2494 จำนวน
99 รวง และปลูกเปรียบเทียบพันธุ์ที่สถานีทดลองข้าวพาน และสถานีทดลองข้าวสันป่าตอง ระหว่าง พ.ศ.2500-2505 คัดเลือก
ได้สายพันธุ์ กำผาย 30-12-15

การรับรองพันธุ์ : คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ ให้ใช้ขยายพันธุ์เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2505

ลักษณะประจำพันธุ์ : เป็นข้าวเหนียวต้นสูง สูงประมาณ 168 เซนติเมตรไวต่อช่วงแสงอายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 30 พฤศจิกายน
ระยะพักตัวของเมล็ด ประมาณ 6 สัปดาห์ เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.8 x 7.2 x 2.0 มิลลิเมตร



ชื่อพันธุ์ : 8. เก้ารวง 88 (Gow Ruang 8Cool

ชนิด : ข้าวเจ้า

ประวัติพันธุ์ : ได้จากการรวบรวมพันธุ์โดยพนักงานเกษตร จากอำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี เมื่อปี พ.ศ. 2493-2494 จำนวน
203 รวง แล้วนำไปคัดเลือกแบบคัดพันธุ์บริสุทธิ์ตามสถานีทดลองข้าวต่างๆ จนได้สายพันธุ์ เก้ารวง 17-2-88

การรับรองพันธุ์ : คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ ให้ใช้ขยายพันธุ์ เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2505

ลักษณะประจำพันธุ์ : เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 140 เซนติเมตร ไวต่อช่วงแสง ลำต้นและใบสีเขียวเข้ม เมล็ดข้าวรูปร่างเรียวยาว ข้าว
เปลือกสีฟาง อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 21 พฤศจิกายน ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 8 สัปดาห์ เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา
=2.2 x 7.3 x 1.7 มิลลิเมตร ปริมาณอมิโลส 22-26% คุณภาพข้าวสุก ร่วน นุ่ม



ชื่อพันธุ์ : 9. ขาวดอกมะลิ 105 (Khao Dawk Mali 105)

ชนิด : ข้าวเจ้าหอม

ประวัติพันธุ์ : ได้มาโดยนายสุนทร สีหะเนิน เจ้าพนักงานข้าว รวบรวมจากอำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา เมื่อ พ.ศ.2493-2494
จำนวน 199 รวง แล้วนำไปคัดเลือกแบบคัดพันธุ์บริสุทธิ์ (Pure Line Selection) และปลูกเปรียบเทียบพันธุ์ที่สถานีทดลองข้าวโคกสำโรง
แล้วปลูกเปรียบเทียบพันธุ์ท้องถิ่นในภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จนได้สายพันธุ์ขาวดอกมะลิ 4-2-105 ซึ่งเลข 4
หมายถึง สถานที่เก็บรวงข้าว คือ อำเภอบางคล้า เลข 2 หมายถึงพันธุ์ทดสอบที่ 2 คือ ขาวดอกมะลิ และเลข 105 หมายถึง แถวหรือรวงที่
105 จากจำนวน 199 รวง

การรับรองพันธุ์ : คณะกรรมการการพิจารณาพันธุ์ ให้ใช้ขยายพันธุ์เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2502

ลักษณะประจำพันธุ์ : เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 140 เซนติเมตร ไวต่อช่วงแสง ลำต้นสีเขียวจาง ใบสีเขียวยาวค่อนข้างแคบ ฟางอ่อน ใบธง
ทำมุมกับคอรวง เมล็ดข้าวรูปร่างเรียวยาว ข้าวเปลือกสีฟาง อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 25 พฤศจิกายน เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา
= 2.1 x 7.5 x 1..8 มิลลิเมตร ปริมาณอมิโลส 12-17% คุณภาพข้าวสุก นุ่ม มีกลิ่นหอม



ชื่อพันธุ์ : 10. ขาวตาแห้ง 17 (Khao Tah Haeng 17)

ชนิด : ข้าวเจ้า

ประวัติพันธุ์ : เป็นพันธุ์ข้าวพื้นเมืองที่ชนะการประกวดเมื่อ พ.ศ.2499 แล้วนำไปปลูกคัดเลือกแบบคัดพันธุ์บริสุทธิ์ ตามสถานีทดลองข้าว
ต่างๆ ทั่วประเทศ คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ให้ใช้ขยายพันธุ์เมื่อ พ.ศ.2499 แต่เนื่องจากไม่ต้านทานโรคไหม้ จึงได้ยกเลิกไปเมื่อ
พ.ศ.2506 และได้นำกลับมาขยายพันธุ์ใหม่ ในปี พ.ศ.2508 เนื่องจากเป็นพันธุ์ข้าวที่มีคุณภาพดี โรงสีรับซื้อและให้ราคาดี จึงเป็นที่
นิยมปลูกของชาวนามาโดยตลอด

การรับรองพันธุ์ : คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ ให้ใช้ขยายพันธุ์ เมื่อปี พ.ศ.2499 และ พ.ศ.2508

ลักษณะประจำพันธุ์ : เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 150 เซนติเมตร ไวต่อช่วงแสง ลำต้นสีเขียว กอแผ่กระจาย แตกกอดี เมล็ดข้าวมีรูปร่างเรียว
ยาวข้าว เปลือกสีเหลืองจาง อายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 20 ธันวาคม ระยะพักตัวของเมล็ด ประมาณ 8 สัปดาห์ เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x
หนา = 2.3 x 7.5 x 1.8 มิลลิเมตร




ชื่อพันธุ์ : 11. ขาวปากหม้อ 148 (Khao Pahk Maw 148)

ชนิด : ข้าวเจ้า

ประวัติพันธุ์ : ได้จากการรวบรวมพันธุ์โดยนายทอง ฝอยหิรัญ พนักงานเกษตร จากอำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี เมื่อปี พ.ศ.2495-2496
จำนวน 196 รวง แล้วนำมาคัดเลือกแบบคัดพันธุ์บริสุทธิ์ตามสถานีทดลองข้าวต่างๆ จนได้สายพันธุ์ขาวปากหม้อ 55-3-148

การรับรองพันธุ์ : คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ ให้ใช้ขยายพันธุ์เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2508

ลักษณะประจำพันธุ์ : เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 140 เซนติเมตร ไวต่อช่วงแสง ลำต้นสีเขียว แตกกอดี ทรงกอตั้งตรง ใบกว้างและยาว
เมล็ดมีรูปร่างเรียวยาว ข้าวเปลือกสีฟาง อายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 3 ธันวาคม ระยะพักตัวของเมล็ด ประมาณ 6 สัปดาห์ เมล็ดข้าวกล้อง
กว้าง x ยาว x หนา = 2.3 x 7.6 x 1.9 มิลลิเมตร



ชื่อพันธุ์ : 12. ข้าวเจ้าหอมพิษณุโลก 1 (Khao' Jow Hawm Phitsanulok 1)

ชนิด : ข้าวเจ้า

คู่ผสม : ขาวดอกมะลิ 105 / LA29'73NF1U-14-3-1-1// IR58

ประวัติพันธุ์ : ได้จากการผสมพันธุ์ 3 ทาง ระหว่างพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 และสายพันธุ์ LA29'73NF1U-14-3-1-1 กับIR58 ที่
สถานีทดลองข้าวสุพรรณบุรี ในปี พ.ศ. 2525-2526พ.ศ. 2528-2533 นำไปปลูกคัดเลือกที่ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก ตั้งแต่ชั่วที่
2-7 จนได้สายพันธุ์ SPRLR83228-PSL-32-1

การรับรองพันธุ์ : คณะกรรมการบริหารกรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 30 กันยายน 25

ลักษณะประจำพันธุ์ : เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 160 เซนติเมตร ไวต่อช่วงแสง อายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 25 พฤศจิกายน ลำต้นสูง ทรงกอตั้ง
ฟางแข็งปานกลาง ใบสีเขียว ใบธงเอน คอรวงยาว รวงแน่นปานกลาง ระแง้ถี่ เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 11
สัปดาห์ เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.1 x 7.4 x 1.7 มิลลิเมตร




ชื่อพันธุ์ : 13. เฉี้ยงพัทลุง (Chiang Phatthalung)

ชนิด : ข้าวเจ้า

ประวัติพันธุ์ : เป็นข้าวพันธุ์พื้นเมือง มีชื่อเดิมหลายชื่อได้แก่ ขาวกาหวิน เปอร์วิต ขาวมาเล บางแก้ว นายเฉี้ยง ทองเรือง เกษตรกร
อำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง ได้นำข้าวพันธุ์นี้จากอำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง ไปปลูกที่ตำบลบ้านใหม่ อำเภอระโนด เป็นครั้งแรก
เมื่อปี พ.ศ. 2517 เพื่อแก้ปัญหาความแห้งแล้ง ฝนทิ้งช่วงปลายฤดู และเป็นที่นิยมปลูกแพร่หลายในเวลาต่อมา ในปี พ.ศ. 2530
สถานีทดลองข้าวปัตตานีได้เก็บรวบรวมข้าวพันธุ์ดังกล่าวจากแปลงนาเกษตรกรในอำเภอระโนด จังหวัดสงขลา และทำการคัดเลือก
แบบหมู่ จนได้สายพันธุ์เฉี้ยงพัทลุง

การรับรองพันธุ์ : คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์แนะนำ เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2537

ลักษณะประจำพันธุ์ : เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 150 เซนติเมตร ไวต่อช่วงแสง อายุเก็บเกี่ยว ประมาณกลางเดือนมกราคมใบสีเขียว
ใบธงแผ่เป็นแนวนอน คอรวงยาว รวงยาวปานกลาง ระแง้ค่อนข้างถี่ เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 1 สัปดาห์
เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.1 x 6.7 x 1.6 มิลลิเมตร มีท้องไข่ปานกลาง



ชื่อพันธุ์ : 14. ชุมแพ 60 (Chum Phae 60)

ชนิด : ข้าวเจ้า

คู่ผสม : กำผาย 41/ เหลืองทอง 78

ประวัติพันธุ์ : ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่าง พันธุ์กำผาย 41 และพันธุ์เหลืองทอง 78 ที่สถานีทดลองข้าวสันป่าตอง ในปี 2504 ปลูก
ศึกษาพันธุ์ เปรียบเทียบผลผลิตภายในสถานีและระหว่าง สถานีในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จนได้สายพันธุ์ SPT6118-34

การรับรองพันธุ์ : คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2530

ลักษณะประจำพันธุ์ : เป็นพันธุ์ข้าวเจ้า สูงประมาณ 160-180 เซนติเมตร ไวต่อช่วงแสง อายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 27 พฤศจิกายน
ลำต้นและใบสีเขียว กอตั้งตรง แตกกอดี ต้นแข็งไม่ล้มง่าย ใบแคบยาว ใบธงตก รวงและคอรวงยาว เมล็ดเรียวยาวร่วงยาก มีท้อง
ไข่ปานกลาง ข้าวเปลือกสีฟาง สาแหรกสีน้ำตาล และมีขนสั้น ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 9 สัปดาห์ เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x
ยาว x หนา = 2.3 x 7.6 x 1.8 มิลลิเมตร ปริมาณอมิโลส 27.35 % คุณภาพ
ข้าวสุก ร่วน แข็ง



ชื่อพันธุ์ : 15. นางพญา 132 (Nahng Pa-yah 132

ชนิด : ข้าวเจ้า

ประวัติพันธุ์ : ได้จากการรวบรวมข้าวพันธุ์พื้นเมือง จากอำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อปี พ.ศ. 2493 แล้วนำ
ไปปลูกคัดเลือกแบบคัดพันธุ์บริสุทธิ์ตามสถานีทดลองข้าวต่างๆ จนได้สายพันธุ์ นางพญา 37-30-132

การรับรองพันธุ์ : คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ ให้ใช้ขยายพันธุ์ เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2505

ลักษณะประจำพันธุ์ : เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 175 เซนติเมตร ไวต่อช่วงแสง ลำต้นและใบสีเขียว แตกกอดี คอรวงยาว เมล็ดข้าว
มีรูปร่างเรียวยาว ข้าวเปลือกสีฟาง อายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 16 กุมภาพันธ์ ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 3 สัปดาห์ เมล็ดข้าวกล้อง
กว้าง x ยาว x หนา = 2.2 x 7.6 x 1.7 มิลลิเมตร ปริมาณอมิโลส 28-32%คุณภาพข้าวสุก ร่วน แข็ง



ชื่อพันธุ์ : 16. นางมล เอส-4 (Nahng Mon S-4)

ชนิด : ข้าวเจ้า

ประวัติพันธุ์ : ได้มาจากการรวบรวมพันธุ์ข้าวพื้นเมือง จากตำบลรังสิต อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี เมื่อ พ.ศ. 2493 นำมาปลูก
คัดเลือกแบบคัดพันธุ์บริสุทธิ์ในสถานีทดลองข้าวต่างๆ จนได้สายพันธุ์ที่ดีที่สุด

การรับรองพันธุ์ : คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ให้ใช้ขยายพันธ์เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อ พ.ศ. 2499,2504,2508

ลักษณะประจำพันธุ์ : เป็นข้าวเจ้า ต้นสูงประมาณ 140 เซนติเมตร ไวต่อช่วงแสง ลำต้นสีเขียว ใบกว้าง รวงใหญ่และยาว เมล็ดรูป
ร่างยาวเรียว ข้าวเปลือกสีฟาง อายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 26 พฤศจิกายน ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 5 สัปดาห์ เมล็ดข้าวกล้อง
กว้าง x ยาว x หนา = 2.4 x 7.7 x 1.8 มิลลิเมตร ปริมาณอมิโลส 19 % คุณภาพข้าวสุก นุ่ม มีกลิ่นหอม



ชื่อพันธุ์ : 17. น้ำสะกุย 19 (Nam Sa-gui 19)

ชนิด : ข้าวเจ้า

ประวัติพันธุ์ : ได้จากการรวบรวมพันธุ์โดยนายสมพงษ์ บุญเย็น พนักงานเกษตร เมื่อปี พ.ศ.2507 จำนวน 300 รวง จากอำเภอ
เมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ แล้วนำไปคัดเลือกแบบคัดพันธุ์บริสุทธิ์ ตามสถานีทดลองข้าวต่างๆ จนได้สายพันธุ์ น้ำสะกุย 445-4-19

การรับรองพันธุ์ : คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ ให้ใช้ขยายพันธุ์ เมื่อ ปี พ.ศ. 2511

ลักษณะประจำพันธุ์ : เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 143 เซนติเมตร ไวต่อช่วงแสง ข้อต่อระหว่างกาบใบและตัวใบสีม่วง แตกกอดี ทรง
กอแผ่เล็กน้อย เมล็ดข้าวยาวเรียว ข้าวเปลือกสีฟางก้นจุด อายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 4 พฤศจิกายน ระยะพักตัวของเมล็ด ประมาณ 3
สัปดาห์ เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.2 x 7.7 x 1.8 มิลลิเมตร ปริมาณอมิโลส 30-31 % คุณภาพข้าวสุก ร่วน แข็ง



ชื่อพันธุ์ : 18. เผือกน้ำ 43 (Peuak Nam 43)

ชนิด : ข้าวเจ้า

ประวัติพันธุ์ : ได้จากการรวบรวมข้าวพันธุ์พื้นเมือง จากอำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี แล้วนำไปปลูกคัดเลือก แบบคัดพันธุ์
บริสุทธิ์ จนได้สายพันธุ์เผือกน้ำ 184-5-43

การรับรองพันธุ์ : คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ ให้ใช้ขยายพันธุ์ เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2511

ลักษณะประจำพันธุ์ : เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 166 เซนติเมตร ไวต่อช่วงแสง ลำต้นและใบสีเขียว แตกกอมาก รวงใหญ่ คอรวงยาว
เมล็ดข้าวเรียวยาว ข้าวเปลือกสีฟาง ท้องไข่ปานกลางอายุ เก็บเกี่ยว ประมาณ 22 กุมภาพันธ์ ระยะพักตัวของเมล็ด ประมาณ 4
สัปดาห์ เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา
= 2.1 x 7.1 x 1.7 มิลลิเมตร ปริมาณอมิโลส 24-27%



ชื่อพันธุ์ : 19. ปทุมธานี 60 (Pathum Thani 60)

ชนิด : ข้าวเจ้า

คู่ผสม : ดอกมะลิ 70*2 / ไชนีส 345

ประวัติพันธุ์ : ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์ดอกมะลิ 70 กับสายพันธุ์ไชนีส 345 เมื่อ ปี พ.ศ.2501 ที่สถานีทดลองข้าวสัน
ป่าตอง และนำไปปลูกคัดเลือกในสถานีทดลองข้าวภาคกลาง จนได้สายพันธุ์ SPT5837-400

การรับรองพันธุ์ : คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรองเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2530

ลักษณะประจำพันธุ์ : เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 159 เซนติเมตร ไวต่อช่วงแสง อายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 25 พฤศจิกายน ลำต้น
และใบสีเขียว มีขนบนใบ รวงแน่น ระแง้ถี่ คอรวงยาว เมล็ดเรียวยาว ท้องไข่น้อย เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง ระยะพักตัวของเมล็ด
ประมาณ 5 สัปดาห์ เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.3 x 7.5 x 1.8 มิลลิเมตร ปริมาณอมิโลส 27-32 % คุณ
ภาพข้าวสุก ค่อนข้างร่วน มีกลิ่นหอม



ชื่อพันธุ์ : 20. พวงไร่ 2 (Puang Rai 2 )

ชนิด : ข้าวเจ้า

ประวัติพันธุ์ : ได้จากการรวบรวมพันธุ์พื้นเมือง โดยนายประวิทย์ สายทอง และ นายชัยทัศน์ นิจจสาร พนักงานเกษตร จาก
อำเภอเมือง จังหวัดเพชราบุรี จำนวน 85 รวง นำไปคัดเลือกแบบคันพันธุ์บริสุทธิ์ ตามสถานีทดลองข้าวต่างๆ จนได้สาย
พันธุ์ พวงไร่ 20-55-2

การรับรองพันธ์ : คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ ให้ใช้ขยายพันธุ์ เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อ 13 มิถุนายน 2511

ลักษณะประจำพันธุ์ : เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 170 เซนติเมตร ไวต่อช่วงแสง ลำต้นและใบสีเขียว ต้นสูง กอแผ่ เมล็ดข้าว
เปลือกสีฟาง อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 6 กุมภาพันธ์ ท้องไข่น้อย ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 4 สัปดาห์ เมล็ดข้าวกล้อง
กว้าง x ยาว x หนา = 2.3 x 7.5 x 1.9 มิลลิเมตร ปริมาณอมิโลส 28-30 %



ชื่อพันธุ์ : 21. พัทลุง 60 (Phatthalung 60)

ชนิด : ข้าวเจ้า

ชื่อคู่ผสม : กข13 / กข7

ประวัติพันธุ์ : ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์ กข13 และพันธุ์ กข7 ที่สถานีทดลองข้าวควนกุฎ (ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง)
ในปี พ.ศ. 2520 ปลูกคัดเลือกจนถึงชั่วที่ 5 ที่สถานีทดลองข้าว นครศรีธรรมราช จนได้สายพันธุ์ KGTLR77003-3-NSR-1-1

การรับรองพันธุ์ : คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2530

ลักษณะประจำพันธุ์ : เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 156 เซนติเมตร ไวต่อช่วงแสง อายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 6 -13 มกราคม ต้น
ค่อนข้างแข็ง ล้มยาก มีรวงแน่น ระแง้ถี่ เมล็ดมาก รวงยาวและใหญ่ คอรวงยาว เมล็ดค่อนข้างป้อม ท้องไข่ปานกลาง ข้าว
เปลือกสีฟาง อาจมีกระน้ำตาล



ชื่อพันธุ์ : 22. พิษณุโลก 3 (Phitsanulok 3)

ชนิด : ข้าวเจ้า

คู่ผสม : กข27 / LA29’73-NF1U-14-13-1-1

ประวัติพันธุ์ : ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์ กข27 และสายพันธุ์ LA29’73-NF1U-14-13-1-1 ในปี พ.ศ. 2525 ที่
สถานีทดลองข้าวสุพรรณบุรี ปลูกคัดเลือกจนได้สายพันธุ์ SPRLR82129-PSL-148-3-2

การรับรองพันธุ์ : คณะกรรมการบริหารกรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2545

ลักษณะประจำพันธุ์ : เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 167 เซนติเมตร ไวต่อช่วงแสง อายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 1-10 ธันวาคม กอตั้ง
ใบสีเขียว รวงแน่น ระแง้ถี่ คอรวงยาว ต้นแข็ง เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 9 สัปดาห์ เมล็ดข้าวกล้อง
กว้าง x ยาว x หนา = 2.1 x 7.4 x 1.7 มิลลิเมตร ปริมาณอมิโลส 23.6 % คุณภาพข้าวสุก ร่วน นุ่ม



ชื่อพันธุ์ : 23. พิษณุโลก 60-1 (Phitsanulok 60-1)

ชนิด : ข้าวเจ้า

คู่ผสม : ขาวดอกมะลิ 105 / นางมล เอส-4 / / ไออาร์26

ประวัติพันธุ์ : ได้จากการผสม 3 ทาง ระหว่างพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 และพันธุ์นางมล เอส-4 กับพันธุ์ ไออาร์26 ที่สถานี
ทดลองข้าวสุพรรณบุรี ในปี พ.ศ. 2516-2517 ปลูกคัดเลือกจนได้สายพันธุ์ SPR7419-179-4-1

การรับรองพันธุ์ : คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2530

ลักษณะประจำพันธุ์ : เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 140-160 เซนติเมตร ไวต่อช่วงแสง อายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 30 พฤศจิกายน
-15 ธันวาคม ลำต้นแข็งสีเขียวอ่อน ใบสีเขียวแคบ ยาวปานกลาง ใบธงสั้น รวงยาว ระแง้ถี่ เมล็ดยาวเรียว ข้าวเปลือกสีฟาง
ท้องไข่น้อย ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 7-8 สัปดาห์ เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว xหนา = 2.2 x 7.3 x 1.7 มิลลิ
เมตร ปริมาณอมิโลส 17 %




ชื่อพันธุ์ : 24. ลูกแดงปัตตานี (Look Daeng Pattani)

ชนิด : ข้าวเจ้า

ประวัติพันธุ์ : ได้จากการเก็บรวบรวมข้าวพันธุ์พื้นเมือง จากบริเวณชายฝั่งซึ่งน้ำทะเลท่วมถึง และพื้นที่ที่มีสภาพเป็นดิน
เปรี้ยวจากตำบลกำช่า ตำบลบางเขา และตำบลตุยง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี เมื่อปี พ.ศ. 2528 นำไปปลูกทดสอบ
ในเรือนทดลอง พร้อมทั้งปลูกศึกษาและ คัดเลือกพันธุ์ที่สถานีทดลองข้าวปัตตานี

การรับรองพันธุ์ : คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์ แนะนำ เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2537

ลักษณะประจำพันธุ์ : เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 160 เซนติเมตร ไวต่อช่วงแสง อายุเก็บเกี่ยว ประมาณ มกราคม - กุมภาพันธ์
ต้นค่อนข้างแข็ง ใบสีเขียวอ่อน และตั้งตรง ใบธงแผ่เป็นแนวนอน รวงยาว ระแง้ถี่ เมล็ดข้าวเปลือกสีน้ำตาลแดงเข้ม
ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 4 สัปดาห์ เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.5 x 7.5 x 1.8 มิลลิเมตร ท้อง
ไข่ค่อนข้างมาก ปริมาณอมิโลส 25 %



[/list]
ชื่อพันธุ์ : 25. เล็บนกปัตตานี (Leb Nok Pattani)

ชนิด : ข้าวเจ้า

ประวัติพันธุ์ : ได้จากการเก็บรวบรวมข้าวพันธุ์พื้นเมือง ที่นิยมปลูกทางภาคใต้ โดยนักวิชาการ จากสถานีทดลองข้าวปัตตานี
เมื่อปี พ.ศ. 2527 จำนวน 307 พันธุ์ จาก 107 อำเภอ 14 จังหวัด ปลูกคัดเลือกพันธุ์แบบหมู่และคัดเลือกพันธุ์บริสุทธิ์ จน
ได้สายพันธุ์เล็บนก (PTNC84210)

การรับรองพันธุ์ : คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์แนะนำ เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2537

ลักษณะประจำพันธุ์ : เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 170 เซนติเมตร ไวต่อช่วงแสง อายุเก็บเกี่ยว ประมาณกุมภาพันธ์ ใบธงแผ่
เป็นแนวนอน คอรวงยาว รวงยาวแน่น ระแง้ถี่ เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง ก้นจุด ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 3 สัปดาห์ เมล็ด
ข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.1 x 6.0 x 1.7 มิลลิเมตร ท้องไข่ปานกลาง ปริมาณอมิโลส 26 % คุณภาพข้าวสุก
ร่วน นุ่ม



ชื่อพันธุ์ : 26. หางยี 71 (Hahng Yi 71)

ชนิด : ข้าวเหนียว

ประวัติพันธุ์ : ได้จากการรวบรวมพันธุ์ โดยพนักงานข้าว จากอำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร เมื่อปี พ.ศ. 2506 ปลูกคัด
เลือกแบบคัดพันธุ์บริสุทธิ์ตามสถานีทดลองข้าวต่างๆ จนได้สายพันธุ์ หางยี 563-2-71

การรับรองพันธุ์ : คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ ให้ใช้ขยายพันธุ์ เมื่อ พ.ศ. 2511

ลักษณะประจำพันธุ์ : เป็นข้าวเหนียว สูงประมาณ 152 เซนติเมตร ไวต่อช่วงแสง ปลูกได้เฉพาะฤดูนาปี ลำต้นสีเขียว
ใบแคบ และยาว สีเขียวเข้ม รวงอ่อนมีระแง้แผ่ออกคล้ายตีนนกเมล็ด ข้าวยาวเรียวข้าวเปลือกสีน้ำตาล อายุเก็บเกี่ยว
ประมาณ 4 พฤศจิกายน ระยะพักตัวของเมล็ด ประมาณ 1 สัปดาห์ เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.1 x 7.1
x 1.8 มิลลิเมตรคุณภาพข้าวสุก เหนียวนุ่ม



ชื่อพันธุ์ : 27. เหมยนอง 62 เอ็ม (Muey Nawng 62 M)

ชนิด : ข้าวเหนียว

ประวัติพันธุ์ : ได้จากการรวบรวมพันธุ์โดยเจ้าหน้าที่ของสถานีกสิกรรมแม่โจ้ เมื่อปี พ.ศ. 2494 และนายมณี เชื้อวิโรจน์
เจ้าหน้าที่วิชาการ สถานีทดลองข้าวสันป่าตอง นำมาปลูกคัดเลือกและเปรียบเทียบพันธุ์ในสถานีทดลองข้าวต่างๆ ใน
ภาคเหนือ จนได้พันธุ์เหมยนอง 62 เอ็ม

การรับรองพันธุ์ : คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ให้ใช้ขยายพันธุ์ เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2502

ลักษณะประจำพันธุ์ : เป็นข้าวเหนียว สูงประมาณ 150 เซนติเมตร ไวต่อช่วงแสง ลำต้นและขอบใบสีม่วง แต่เมื่อแก่จะเปลี่ยน
เป็นสีเขียว กอค่อนข้างแผ่ เมล็ดสั้นป้อม ข้าวเปลือกสีฟางกระน้ำตาล ก้นจุด อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 20 พฤศจิกายน ระยะพัก
ตัวของเมล็ด ประมาณ 1 สัปดาห์ เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.9 x 6.6 x 2.0 มิลลิเมตร



ชื่อพันธุ์ : 28. เหนียวสันป่าตอง (Niaw San-pah-tawng)

ชนิด : ข้าวเหนียว

ประวัติพันธุ์ : ได้จากการคัดเลือกข้าวเจ้าสายพันธุ์เหลืองใหญ่ 10-137-1 ซึ่งกลายพันธุ์เป็นข้าวเหนียว โดยนายมณี เชื้อวิโรจน์
เจ้าหน้าที่วิชาการ สถานีทดลองข้าวสันป่าตอง นำไปปลูกคัดพันธุ์ใหม่ จนได้พันธุ์เหนียวสันป่าตอง 137-1-16

การรับรองพันธุ์ : คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ ให้ใช้ขยายพันธุ์เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อ วันที่ 6 พฤษภาคม 2505

ลักษณะประจำพันธุ์ : เป็นข้าวเหนียว สูงประมาณ 150 เซนติเมตร ไวต่อช่วงแสงทรงกอแฝเล็กน้อย ต้นค่อนข้างแข็ง
รวงยาว เมล็ดยาวเรียว เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.1 x 7.2 x 1.3 มิลลิเมตร ข้าวเปลือกสีน้ำตาล อายุเก็บ
เกี่ยวประมาณ 26 พฤศจิกายน ระยะพักตัวของเมล็ด ประมาณ 6 สัปดาห์ คุณภาพข้าวสุก เหนียว นุ่ม



ชื่อพันธุ์ : 29. เหนียวอุบล 1 (Niaw Ubon 1)

ชนิด : ข้าวเหนียว

คู่ผสม : เหนียวสันป่าตอง* 2 / ไออาร์262

ประวัติพันธุ์ : ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์เหนียวสันป่าตอง และพันธุ์ ไออาร์262 ในปีพ.ศ.2509 แล้วผสมกลับ
ไปหาพันธุ์เหนียว สันป่าตองอีกครั้งหนึ่ง ในปี พ.ศ.2510 ที่สถานีทดลองข้าวบางเขน ทำการคัดเลือกต่อที่สถานี
ทดลองข้าวอุบลราชธานี จนได้สายพันธุ์ UBN6721-11-1- 6(3)

การรับรองพันธุ์ : คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2526

ลักษณะประจำพันธุ์ : เป็นข้าวเหนียว สูงประมาณ 145 เซนติเมตร ไวต่อช่วงแสงอายุเก็บเกี่ยว ประมาณกลางเดือน
พฤศจิกายน ทรงกอตั้งตรง แตกกอดี ต้นและใบสีเขียวเข้ม ใบธงตั้ง เมล็ดยาวเรียว ข้าวเปลือกสีฟาง ระยะพักตัวของ
เมล็ดประมาณ 7 สัปดาห์ เมล็ดข้าวกล้อง ยาว 7.52 มิลลิเมตร กว้าง x ยาว x หนา = 2014 x 7.52 x1.78 มิล
ลิเมตร คุณภาพข้าวสุก เหนียว นุ่ม




ชื่อพันธุ์ : 30. เหนียวอุบล 2 (Niaw Ubon 2)

ชนิด : ข้าวเหนียว

คู่ผสม : SPT7149-429-3 / IR21848-65-3-2

ประวัติพันธุ์ : ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างสายพันธุ์ SPT7149-429-3 และIR21848-65-3-2 ที่สถาบันวิจัยข้าว
นานาชาติ เมื่อปี พ.ศ. 2525 ปลูกคัดเลือกที่ศูนย์วิจัยข้าวอุบลราชธานีจนได้ สายพันธุ์ IR43070-UBN-501-2-1-1-1

การรับรองพันธุ์ : คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อ วันที่ 18 มีนาคม 2541

ลักษณะประจำพันธุ์ : เป็นพันธุ์ข้าวเหนียว สูงประมาณ 118 เซนติเมตร ไวต่อช่วงแสง อายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 15 พฤศจิ
กายนทรงกอแผ่ ต้นแข็ง ใบสีเขียวเข้ม กาบใบสี เขียว ใบธงตั้งตรง รวงแน่นปานกลาง คอรวงสั้น เมล็ดข้าวเปลือก
สีน้ำตาล ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 3 สัปดาห์ เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.2 x 7.2 x 1.8 มิลลิเมตร



ชื่อพันธุ์ : 31. เหลืองประทิว 123 (Leuang Pratew 123)

ชนิด : ข้าวเจ้า

ประวัติพันธุ์ : ได้จากการรวบรวมพันธุ์โดยพนังงานเกษตร จากเกษตรกรในอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี เมื่อปี พ.ศ.
2498-2499 ปลูกคัดเลือกแบบคัดพันธุ์บริสุทธิ์ตามสถานีทดลองข้าวต่างๆ จนได้สายพันธุ์ เหลืองประทิว 126-8-123

การรับรองพันธุ์ : คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ ให้ใช้ขยายพันธุ์ เมื่อปี พ.ศ.2508

ลักษณะประจำพันธุ์ : เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 150 เซนติเมตร ไวต่อช่วงแสง ลำต้นและใบสีเขียว ใบกว้างและยาว
คอรวงยาว ข้าวเปลือกสีเหลือง เมล็ดยาวเรียว อายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 19 ธันวาคม ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 6 สัปดาห์
เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.3 x 7.6 x 1.8 มิลลิเมตร ปริมาณอมิโลส 29-32 % คุณภาพข้าวสุก ร่วน แข็ง




ชื่อพันธุ์ : 32. เหลืองใหญ่ 148 (Leuang Yai 148)

ชนิด : ข้าวเจ้า

ประวัติพันธุ์ : ได้จากการรวบรวมพันธุ์เหลืองใหญ่จากเกษตรกรในอำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ โดยนายพรม
ยานะ พนักงานเกษตรอำเภอ เมื่อปี พ.ศ.2499-2501 คัดเลือกแบบคัดพันธุ์บริสุทธิ์ ที่สถานีทดลองข้าวสันป่าตอง
จนได้สายพันธุ์ เหลืองใหญ่ 228-2-148

การรับรองพันธุ์ : คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ ให้ใช้ขยายพันธุ์ เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2511

ลักษณะประจำพันธุ์ : เป็นพันธุ์ข้าวเจ้า สูงประมาณ 160 เซนติเมตร ไวต่อช่วงแสง ลำต้นและใบสีเขียว ลำต้นเล็ก
ใบธงค่อนข้างตั้ง เมล็ดข้าวเปลือกสีเหลือง อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 25 พฤศจิกายน ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 6
สัปดาห์ เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.6 x 7.8 x 1.8 มิลลิเมตร ปริมาณอมิโลส 30-31% คุณภาพ
ข้าวสุก ร่วน แข็ง



ชื่อพันธุ์ : 33. เข็มทองพัทลุง (Khem Tawng Phatthalung)
ชนิด : ข้าวเจ้า

ประวัติพันธุ์ :ได้จากการรวบรวมพันธุ์ข้าวพื้นเมือง จากตำบลท่ามิหรำ อำเมือง จังหวัดพัทลุง แล้วนำไปปลูกคัดเลือก
แบบคัดพันธุ์บริสุทธิ์ จนได้สายพันธุ์เข็มทอง PTLC97001-4-2

การรับรองพันธุ์ : คณะกรรมการบริหารกรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2547

ลักษณะประจำพันธุ์ : เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 173 เซนติเมตร ไวต่อช่วงแสง อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 14 กุมภาพันธ์ ต้นสูง
ทรงกอตั้ง ฟางแข็ง ไม่ล้ม รวงแน่นปานกลาง ระแง้ถี่ ระยะพักตัวประมาณ 2 สัปดาห์ เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x
หนา = 2.19 x 9.94 x 1.57 เซนติเมตร ปริมาณอมิโลส 24.1% เมล็ดข้าวสาร สีขาวใส ประมาณ 548 กิโลกรัมต่อไร่
ต้านทานโรคใบจุดสีน้ำตาล และโรคขอบใบแห้งปานกลาง ไม่ต้านทานโรคไหม้ และโรคใบสีส้ม




ชื่อพันธุ์ : 34. ข้าวหลวงสันป่าตอง (Khao' Luang San-pah-tawng)

ชนิด : ข้าวเจ้า

ประวัติพันธุ์ : ได้จากการรวบรวมพันธุ์พื้นเมืองของเกษตรกรบ้านปางม่วง ต. แจ้ซ้อน อ. เมืองปาน จ. ลำปาง ปลูก
ศึกษาพันธุ์และเปรียบเทียบผลผลิตที่สถานีทดลองข้างสันป่าตอง และทดสอบพันธุ์ในพื้นที่โครงการพัฒนาพื้นที่รอย
ต่อ อ. เมือง อ.เมืองปาน และ อ. แจ้ห่ม จ. ลำปาง ในปี 2541 – 2546

การรับรองพันธุ์ : คณะกรรมการบริหาร กรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2547

ลักษณะประจำพันธุ์ : ข้าวเจ้าไวต่อช่วงแสง อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 15-17 พฤศจิกายน กอตั้ง แตกกอมาก ลำต้นตรง แข็ง
ไม่ล้มง่าย รวงยาว ระแง้ถี่ คอรวงยาว เมล็ดสีฟางกระน้ำตาล เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.93 x 7.11 x
2.07 มิลลิเมตร ปริมาณอมิโลส 14.26 % คุณภาพข้าวสุก นุ่ม เหนียว



ชื่อพันธุ์ :35. แก่นจันทร์ (Gaen Jan)

ชนิด : ข้าวเจ้า

ประวัติพันธุ์ : ได้จากการเก็บรวบรวมพันธุ์ข้าวพื้นเมืองจากเกษตรกรในอำเภอกระบุรี จังหวัดระนองเมื่อปี พ.ศ.2509 ทำ
การปลูกคัดเลือกพันธุ์แบบคัดพันธุ์บริสุทธิ์ จนได้สายพันธุ์ แก่นจันทร์707-2-23

การรับรองพันธุ์ : คณะกรรมการวิจัยและพัฒนา กรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2526

ลักษณะประจำพันธุ์ : เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 165 เซนติเมตร ไวต่อช่วงแสง อายุเก็บเกี่ยวประมาณปลายเดือนมกราคม
ถึงปลายเดือนกุมภาพันธ์ ลักษณะทรงกอแบะ ต้นแข็ง ใบสีเขียว ใบธงเอน รวงยาวมาก ระแง้ถี่ เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง
ระยะพักตัว ประมาณ 5-6 สัปดาห์ เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.16 x 7.06 x 1.58 มิลลิเมตร ปริมาณอมิโลส
30-31%



http://waraporn2009.blogspot.com/


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 24/01/2013 5:08 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11563

ตอบตอบ: 24/01/2013 12:05 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

135. รวมพันธุ์ข้าวไทย

บทที่ 2 พันธุ์ข้าวนาสวน ไม่ไวต่อช่วงแสง




ชื่อพันธุ์ : 1. กข1 (RD1)

ชนิด : ข้าวเจ้า

คู่ผสม : เหลืองทองนาปรัง / ไออาร์8

ประวัติพันธุ์ : ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์พื้นเมืองเหลืองทองนาปรัง กับ ไออาร์8 ผสมพันธุ์ที่สถานีทดลองข้าว
บางเขนในฤดูนาปรังปี พ.ศ.2509 โดยนายวรวิทย์ พาณิชพัฒน์ แล้วทำการคัดเลือกแบบสืบตระกูลจนได้สาย
พันธุ์ BKN6617-56-1-2 ซึ่งเป็นข้าวเจ้าพันธุ์ผสมพันธุ์แรกที่ปลูกได้ตลอดปี

การรับรองพันธุ์ : คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ให้ใช้ขยายพันธุ์เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2512

ลักษณะประจำพันธุ์ : เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 115 เซนติเมตร ไม่ไวต่อช่วงแสง อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 130 วันลำต้นและ
ใบสีเขียวอ่อน ใบธงตั้งตรง เมล็ดเรียวยาว เมล็ดข้าวเปลือกสีฟางระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 3 สัปดาห์ ท้องไข่น้อย
เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.2 x 7.1 x 1.8 มิลลิเมตร ปริมาณอมิโลส 29-30% คุณภาพข้าวสุกร่วน แข็ง



ชื่อพันธุ์ : 2. กข2 (RD2)

ชนิด : ข้าวเหนียว

คู่ผสม : กำผาย15 * 2 / ไทชุง เนทีฟ 1

ประวัติพันธุ์ : ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างข้าวเหนียวพันธุ์กำผาย 15 กับข้าวพันธุ์ไทชุง เนทีฟ 1 จากไต้หวัน และผสม
กลับไปหาพันธุ์กำผาย 15 หนึ่งครั้งโดยผสมพันธุ์ที่สถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ (IRRI) ประเทศฟิลิปปินส์ แล้วนำ
พันธ์ผสมขั่วที่ 3 เข้ามาทำการคัดเลือกในประเทศไทย จนได้สายพันธุ์ IR253-4-1-2-1 ซึ่งเป็นข้าวเหนียวพันธุ์ผสม
พันธุ์แรกที่ปลูกได้ตลอดปี

การรับรองพันธุ์ : คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ให้ใช้ขยายพันธุ์เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2512

ลักษณะประจำพันธุ์ : เป็นข้าวเหนียว สูงประมาณ 115 เซนติเมตร ไม่ไวต่อช่วงแสง ใบสีเขียว กาบใบสีเขียวอ่อน เมล็ดข้าว
เปลือกสีฟางอ่อน อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 130 วัน ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 4 สัปดาห์ เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x
หนา = 2.6 x 7.2 x 1.9 มิลลิเมตร




ชื่อพันธุ์ : 3. กข3 (RD3)

ชนิด : ข้าวเจ้า

คู่ผสม: เหลืองทองนาปรัง / ไออาร์8

ประวัติพันธุ์ : ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์พื้นเมืองเหลืองทองนาปรัง กับ ไออาร์8 ซึ่งเป็นพ่อแม่ เดียวกับ กข1 แต่
กข3 แตกต่างจาก กข1 ที่มีใบธงยาวกว่ามาก และเปลือกเมล็ดสีน้ำตาล โดยผสมพันธุ์ข้าวที่สถานีทดลองข้าวบางเขน
ในฤดูนาปรัง ปี พ.ศ.2509 ทำการคัดเลือกแบบสืบตระกูล จนได้พันธุ์ผสมขั่วที่ 5 ได้สายพันธุ์ BKN6617-12-2-2

การรับรองพันธุ์ : คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ให้ใช้ขยายพันธุ์เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2512

ลักษณะประจำพันธุ์ : เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 100 เซนติเมตร ไม่ไวต่อช่วงแสง ลำต้นและใบสีเขียว เมล็ดเรียวยาว เมล็ด
ข้าวเปลือกสีน้ำตาล อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 128 วัน ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 3 สัปดาห์ เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว
x หนา = 2.2 x 7.2 x 1.8 มิลลิเมตร ท้องไข่น้อย ปริมาณอมิโลส 29-31% คุณภาพข้าวสุกร่วน แข็ง




ชื่อพันธุ์ : 4. กข4 (RD4)

ชนิด : ข้าวเหนียว

คู่ผสม : เหลืองทองนาปรัง / ไออาร์8//ดับเบิ้ลยู1252 /// กข2

ประวัติพันธุ์ : ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์พี่น้องของ กข1 (เหลืองทองนาปรัง / ไออาร์8 สายพันธุ์ 17-1) กับพันธุ์ ดับเบิ้ลยู
1252 (หรือ อีเค1252) จากอินเดีย ซึ่งต้านทานแมลงบั่ว แล้วนำลูกผสมชั่วแรกผสมกับพันธุ์ กข2 เพื่อให้ได้ลักษณะข้าวเหนียว
และคัดเลือกตามสถานีทดลองข้าวต่างๆ จนได้สายพันธุ์ BKN6805-22-13

การรองรับพันธุ์ : คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ให้ใช้ขยายพันธุ์เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2516

ลักษณะประจำพันธุ์ : เป็นข้าวเหนียว สูงประมาณ 115 เซนติเมตร ไม่ไวต่อช่วงแสง ลำต้น กาบใบ และขอบใบสีม่วง เมล็ด
ยาวเรียว ข้าวเปลือกสีน้ำตาลเข้ม อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 127 วัน ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 4 สัปดาห์ เมล็ดข้าวกล้อง
กว้าง x ยาว x หนา = 2.4 x 7.3 x 1.8 มิลลิเมตร คุณภาพข้าวสุก แข็ง



ชื่อพันธุ์ : 5. กข7 (RD7)

ชนิด : ข้าวเจ้า

คู่ผสม : ซี4-63 // เก้ารวง 88 / ซิกาดีส

ประวัติพันธุ์ : ได้จากการผสม 3 ทาง ระหว่างพันธุ์เก้ารวง 88 ของประเทศไทย และพันธุ์ชิกาดิส จากประเทศอินโดนีเชีย กับ
พันธุ์ ซี4-63 จากประเทศฟิลิปปินส์ โดยผสมพันธุ์เมื่อปี พ.ศ. 2510 ที่สถานีทดลองข้าวสุพรรณบุรี คัดเลือกและทดสอบผล
ผลิตในสถานีทดลองข้าวหลายแห่ง จนได้สายพันธุ์ SPR6726-134-2-26

การรับรองพันธุ์ : คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ให้ใช้ขยายพันธุ์เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2518

ลักษณะประจำพันธุ์ : เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 115 เซนติเมตร ไม่ไวต่อช่วงแสงอายุเก็บเกี่ยวประมาณ 125 วัน เมล็ดข้าว
เปลือกสีฟาง ท้องไข่น้อย ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 1 สัปดาห์ เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา =2.3 x 7.2 x
1.8 มิลลิเมตร ปริมาณอมิโลส 24-28 % คุณภาพข้าวสุก ร่วน นุ่ม




ชื่อพันธุ์ : 6. กข9 (RD9)

ชนิด : ข้าวเจ้า

คู่ผสม : ชัยนาท 3176 / ดับเบิ้ลยู 1256 // กข2

ประวัติพันธุ์ : ได้จากการผสม 3 ทาง ระหว่างสายพันธุ์ ชัยนาท3176 (เหลืองใหญ่34 *2 / ไทชุง เนทีฟ 1) กับพันธุ์
ดับเบิ้ลยู1256 (หรือ อีเค1256) จากประเทศอินเดีย และพันธุ์ กข2 ของไทย เริ่มผสมพันธุ์เมื่อปี พ.ศ.2511 ในระยะ
แรกได้นำไปทดลอบผลผลิตในภาค เหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในสถานีทดลองข้าวต่างๆ เพื่อทดสอบความ
ต้านทาน ต่อแมลงบั่ว และเมื่อมีปัญหาการระบาดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและเพลี้ยจักจั่นสีเขียวในภาคกลาง จึงได้นำ
ข้าวสายพันธุ์นี้มาทดสอบผลผลิตในสถานีทดลองข้าวภาคกลาง จนได้สายพันธุ์ BKN6809-74-4

การรองรับพันธุ์ : คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ให้ใช้ขยายพันธุ์เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2518

ลักษณะพันธุ์ : เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 105 เซนติเมตร ไม่ไวต่อช่วงแสง ทรงกอตั้งตรง สีเขียวเข้ม ฟางแข็งไม่ล้มง่าย เมล็ด
ข้าวเปลือกสีฟาง อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 115-125 วัน ท้องไข่น้อย ระยะฟักตัวของเมล็ดประมาณ 5 สัปดาห์ เมล็ดข้าวกล้อง
กว้าง x ยาว x หนา = 2.3 x 7.2 x 1.8 มิลลิเมตร ปริมาณอมิโลส 29-31%




ชื่อพันธุ์ : 7. กข10 (RD10)

ชนิด : ข้าวเหนียว

ประวัติพันธุ์ : ได้จากการปรับปรุงพันธุ์ โดยการชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์ โดยใช้รังสีนิวตรอนเร็ว ปริมาณ 1 กิโลแรด อาบ
เมล็ดข้าวพันธุ์ กข1 เมื่อปี พ.ศ.2512 ปลูกคัดเลือกที่สถานีทดลองข้าวบางเขน จนได้สายพันธุ์ RD1'69-NF1U-G6-6
หลังจากนั้นได้นำไปปลูกเปรียบเทียบผลผลิตที่สถานีทดลองข้าวในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

การรับรองพันธุ์ : คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร ให้ใช้ขยายพันธุ์เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน
2524

ลักษณะประจำพันธุ์ : เป็นข้าวเหนียว สูงประมาณ 115 เซนติเมตร ไม่ไวต่อช่วงแสงอายุเก็บเกี่ยวประมาณ 130 วัน ทรงกอ
ตั้งตรง ลำต้นสีเขียวเข้ม ใบค่อนข้างกว้าง รวงอยู่ใต้ใบธง ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 5 สัปดาห์ เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง
เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.3 x 7.6 x 1.8 มิลลิเมตร คุณภาพข้าวสุก เหนียวนุ่ม




ชื่อพันธุ์ : 8. กข11 (RD11

ชนิด: ข้าวเจ้า

คู่ผสม : ไออาร์661 / ขาวดอกมะลิ 105

ประวัติพันธุ์ : ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์ไออาร์661 กับพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 เมื่อปี พ.ศ.2512 ที่สถานีทดลอง
ข้าวหันตรา แล้วนำมาคัดเลือกที่สถานีทดลองข้าวบางเขน คัดจนได้พันธุ์ผสมเบอร์ ดับเบิ้ลยูพี153

การรับรองพันธุ์ : คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตรให้ใช้ขยายพันธุ์เป็นพันธุ์รับรองเมื่อวันที่ 13 มกราคม
2520

ลักษณะประจำพันธุ์ : เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 115 เซนติเมตร ไม่ไวต่อช่วงแสง ทรงกอตั้งตรง สีเขียวเข้ม ฟางแข็ง ใบธงยาว
ปานกลาง แตกกอมาก เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 135 วัน ท้องไข่ปานกลาง ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ
4 สัปดาห์ เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.37 x 7.6 x 1.8 มิลลิเมตร ปริมาณอมิโลส 29-32 % คุณภาพข้าวสุก
ร่วน แข็ง




ชื่อพันธุ์ : 9. กข21 (RD21)

ชนิด : ข้าวเจ้า

คู่ผสม : ขาวดอกมะลิ 105 / นางมลเอส-4 // ไออาร์26
\
ประวัติพันธุ์ : ได้จากการผสม 3 ทางระหว่างขาวดอกมะลิ 105 และ นางมล เอส -4 กับ ไออาร์26 ที่สถานีทดลองข้าว
สุพรรณบุรี เมื่อพ.ศ.2517ปลูกคัดเลือกที่สถานีทดลองข้าวสุพรรณบุรี จนได้สายพันธุ์ SPR7419-86-2-5 ซึ่งเป็น
พันธุ์แรกที่ต้านทานโรคใบหงิกและให้ผลผลิตค่อนข้างสูง

การรับรองพันธุ์ : คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตรให้ใช้ขยายพันธุ์เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน
2525

ลักษณะประจำพันธุ์ : เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 100-125 เซนติเมตร ไม่ไวต่อช่วงแสง อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 120-130 วัน
ลำต้นใหญ่ แต่ค่อนข้างอ่อน รวงแน่น อยู่ใต้ใบธง เมล็ดข้าวเปลือกสีฟางกระน้ำตาล ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 4 สัปดาห์
ท้องไข่น้อย เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.3 x 7.3 x 1.8 มิลลิเมตร ปริมาณอมิโลส 17-20 % คุณภาพข้าวสุก นุ่ม




ชื่อพันธุ์ : 10. กข23 (RD23)

ชนิด: ข้าวเจ้า

คู่ผสม : กข7 / ไออาร์32 // กข1
\
ประวัติพันธุ์ : ได้จากการผสม 3 ทางระหว่าง กข7 และ ไออาร์32 กับ กข1 ที่สถานีทดลองข้าวสุพรรณบุรี เมื่อปี พ.ศ.2521
แล้วปลูกคัดเลือกจนได้สายพันธุ์ SPRLR76002-168-1-4

การรับรองพันธุ์ : คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร ให้ใช้ขยายพันธุ์เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน
2524

ลักษณะประจำพันธุ์ : เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 115-120 เซนติเมตร ไม่ไวต่อช่วงแสง อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 125 วัน ลำต้น
และใบมีสีเขียวอ่อน ใบธงตั้ง และค่อนข้างยาว รวงอยู่ใต้ใบ แตกกอดี ข้าวเปลือกสีฟาง ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 5 สัปดาห์
ท้องไข่น้อย ปริมาณอมิโลส 25-30 % คุณภาพข้าวสุก ร่วน นุ่มเมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.2 x 7.3 x 1.8 มิล
ลิเมตร



ชื่อพันธุ์ : 11. กข25 (RD25)

ชนิด : ข้าวเจ้า

คู่ผสม : ขาวดอกมะลิ 105 / ไออาร์2061-213-2-3-3 // ขาวดอกมะลิ 105 / ไออาร์ 26

ประวัติพันธุ์ : ได้จากการผสมซ้อนระหว่างคู่ผสมของพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 และพันธุ์ไออาร์2061-213-2-3-3 กับคุ่ผสม
ของพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 กับ ไออาร์26 ที่สถานีทดลองข้าวบางเขน เมื่อ พ.ศ.2518 ปลูกคัดเลือกที่สถานีทดลอง
ข้าวชัยนาท และสถานีทดลองข้าวรังสิต จนได้สายพันธุ์ BKNLR75091-CNT-B-RST-40-2-2

การรับรองพันธุ์ : คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตรให้ใช้ขยายพันธุ์เป็นพันธุ์รับรองเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน
2524

ลักษณะประจำพันธุ์ : เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 100 เซนติเมตร ไม่ไวต่อช่วงแสง อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 90-100 วัน ลำต้น
ตั้งตรง ฟางค่อนข้างแข็ง ใบสีเขียวอ่อน รวงอยู่ใต้ใบ ข้าวเปลือกสีฟาง ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 4 สัปดาห์ ท้องไข่
ปานกลางเมล็ดข้างกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.2 x 7.3 x 1.7 มิลลิเมตร ปริมาณอมิโลส 25 % คุณภาพข้าวสุก ร่วน นุ่ม



ชื่อพันธุ์ : 12. ข้าวเจ้าหอมคลองหลวง 1 (Khao’ Jow Hawm Khlong Luang 1)

ชนิด : ข้าวเจ้า

คู่ผสม : นางมล เอส-4 / ไออาร์841-85-1-1-2

ประวัติพันธุ์ : ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์นางมล เอส-4 กับสายพันธุ์ ไออาร์841-85-1-1-2 ที่สถานีทดลองข้าว
คลองหลวง ปลูกคัดเลือกจนได้สายพันธุ์ KLG83055-1-1-1-2-1-4

การรับรองพันธุ์ : คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2540

ลักษณะประจำพันธุ์ : เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 110 เซนติเมตร ไม่ไวต่อช่วงแสง อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 118 วัน
เมื่อปลูกในฤดูนาปรัง และ 125 วัน ในฤดูนาปี ทรงกอตั้ง ฟางแข็ง ใบสีเขียว ใบธงยาวปานกลาง และ ค่อนข้างตั้ง
คอรวงสั้น รวงยาวแน่น และระแง้ถี่ เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 5-6 สัปดาห์ เมล็ดข้าว
กล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.3 x 7.8 x 1.8 มิลลิเมตร ปริมาณอมิโลส 18-19 % คุณภาพข้าวสุก นุ่ม เหนียว
และหอม




ชื่อพันธุ์ : 13. ข้าวเจ้าหอมสุพรรณบุรี (Khao' Jow Hawm Suphan Buri)

ชนิด : ข้าวเจ้า

คู่ผสม : SPR84177-8-2-2-2-1 / SPR85091-13-1-1-4 // ขาวดอกมะลิ 105

ประวัติพันธุ์ : ได้จากการผสม 3 ทางระหว่างlสายพันธุ์ SPR84177-8-2-2-2-1 และ SPR85091-13-1-1-4 กับ
พันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ที่สถานีทดลองข้าวสุพรรณบุรี เมื่อปี พ.ศ.2532 ปลูกคัดเลือกจนได้สายพันธุ์ SPR89111-
17-2-2-2-2

การรับรองพันธุ์ : คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์แนะนำเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2540

ลักษณะประจำพันธุ์ : เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 126 เซนติเมตร ไม่ไวต่อช่วงแสง อายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 120 วัน ทรง
กอตั้ง ฟางแข็ง ใบสีเขียว ใบธงตั้งตรง รวงยาวและคอรวงยาว เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ
3-4 สัปดาห์ เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.1 x 7.7 x 1.8 มิลลิเมตร ปริมาณอมิโลส 18-19 % คุณภาพ
ข้าวสุก นุ่ม เหนียว และหอม



ชื่อพันธุ์ : 14. ชัยนาท 1 (Chai Nat 1)

ชนิด : ข้าวเจ้า

คู่ผสม : IR13146-158-1 / IR15314-43-2-3-3 // BKN6995-16-1-1-2

ประวัติพันธุ์ : ได้จากการผสม 3 ทาง ระหว่างสายพันธุ์ IR13146-158-1 และสายพันธุ์ IR15314-43-2-3-3 กับ
BKN6995-16-1-1-2 ที่สถานีทดลองข้าวชัยนาท เมื่อ พ.ศ. 2525 ปลุกคัดเลือกจนได้สายพันธุ์ CNTBR82075-
43-2-1

การรับรองพันธุ์ : คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรองเมื่อวันที่9 กันยายน 2536

ลักษณะประจำพันธุ์ : เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 113 เซนติเมตรไม่ไวต่อช่วงแสงอายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 121-130 วัน
ทรงกอตั้ง ใบสีเขียว ใบธงค่อนข้างยาวตั้งตรง คอรวงสั้น รวงยาวและแน่น ระแง้ค่อนข้างถี่ ฟางแข็งเมล็ดข้าวเปลือกสี
ฟาง ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 8 สัปดาห์ เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.1 x 7.7 x 1.7 มิลลิเมตร
ปริมาณอมิโลส 26-27 % คุณภาพข้าวสุก ร่วน แข็ง



ชื่อพันธุ์ : 15. ชัยนาท 2 (Chai Nat 2)

ชนิด : ข้าวเจ้า

คู่ผสม : หอมพม่า (GS.No.3780 ) / IR11418-19-2-3

ประวัติพันธุ์ : ได้จาการผสมพันธุ์แบบผสมเดี่ยวระหว่างข้าวเจ้าพันธุ์หอมพม่า (GS.No. 3780) ซึ่งเป็นข้าวหอม
พันธุ์พื้นเมืองจากจังหวัดกาญจนบุรี กับสายพันธุ์ IR11418-19-2-3 จากสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ (IRRI) ที่สถานี
ทดลองข้าวชัยนาท ใน พ.ศ.2530 ปลูกคัดเลือกพันธุ์แบบสืบตระกูล จนได้สายพันธุ์ CNT87040-281-1-4

การรับรองพันธุ์ : คณะกรรมการบริหาร กรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2547

ลักษณะประจำพันธุ์ : เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 83-95 เซนติเมตร ไม่ไวต่อช่วงแสง อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 103–
105 วัน ทรงกอแบะ ใบสีเขียวเข้ม ใบธงเป็นแนวนอน รวงแน่นปานกลาง ระแง้ถี่ คอรวงยาว ต้นแข็ง ไม่ล้ม ใบค่อน
ข้างแก่เร็ว เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง



ชื่อพันธุ์ : 16. ปทุมธานี 1 (Pathum Thani 1)

ชนิด : ข้าวเจ้า

คู่ผสม : BKNA6-18-3-2 / PTT85061-86-3-2-1

ประวัติพันธุ์ : ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างสายพันธุ์ BKNA6-18-3-2 กับสายพันธุ์ PTT85061-86-3-2-1 ที่ศูนย์
วิจัยข้าวปทุมธานี ในปี พ.ศ. 2533 ปลูกคัดเลือกจนได้สายพันธุ์ PTT90071-93-8-1-1

การรับรองพันธุ์ : คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรองเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม
2543

ลักษณะประจำพันธุ์ : เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 104-133 เซนติเมตร ไม่ไวต่อช่วงแสง อายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 104-
126 วัน ทรงกอตั้ง ใบสีเขียวมีขน กาบใบและปล้องสีเขียว ใบธงยาว ทำมุม 45 องศากับคอรวง รวงอยู่ใต้ใบธง
เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง มีขน มีหางเล็กน้อย ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 3-4 สัปดาห์ เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x
ยาว x หนา = 2.1 x 7.6 x 1.7 มิลลิเมตร ปริมาณอมิโลส 15-19 %คุณภาพข้าวสุก นุ่ม เหนียว มีกลิ่นหอมอ่อน


เขียนโดย นางสาววราภรณ์ พลอยบ้านแพ้ว



http://waraporn2009.blogspot.com/


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 24/01/2013 8:57 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11563

ตอบตอบ: 24/01/2013 5:10 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

136. ประเทภของข้าว





พันธุ์ข้าวที่ปลูกกันในประเทศไทยในอดีตมีความหลากหลายมาก และแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ แต่ปัจจุบันพันธุ์ข้าวที่ปลูก
กันทั่วไปมีอยู่ไม่กี่ชนิด พันธุ์ข้าวส่วนหนึ่งที่เคยมีอยู่แต่เดิมได้สูญหายไปในหลายๆ พื้นที่ เนื่องจากสภาพการทำนาเพื่อตอบ
สนองต่อตลาดทำให้เกษตรกรต้องหันมาปลูกข้าวจำนวนไม่กี่สายพันธุ์ตามที่ตลาดต้องการ พันธุ์ข้าวที่มีการเก็บรวบรวมและ
จำแนกไว้แล้วโดยหน่วยงานของกรมวิชาการเกษตรมีประมาณ 5,000 กว่าสายพันธุ์ พันธุ์ข้าวมีการจำแนกออกในหลายลักษณะ
การจำแนกหลักๆ ที่สำคัญ คือ


1. จำแนกตามฤดูกาลปลูกข้าวหรือสภาพของแสงแดด แบ่งเป็น
1.1 ข้าวไวแสง หมายถึง ข้าวที่มีช่วงเวลาของการออกดอกที่แน่นอน เป็นข้าวที่ปลูกในฤดูนาปีเท่านั้น ข้าวจะออกดอกในช่วงที่
เวลากลางวันสั้นกว่ากลางคืน จึงต้องปลูกในฤดูฝนเพื่อให้ออกดอกช่วงฤดูหนาวที่มีช่วงเวลากลางวันสั้นกว่า 12 ชั่วโมง อาจจะ
จำแนกย่อยออกได้เป็นข้าวที่ไวต่อแสงมาก ข้าวที่มีความไวต่อแสงน้อย ซึ่งจะมีช่วงเก็บเกี่ยวที่ต่างกัน ข้าวพันธุ์พื้นเมืองส่วน
ใหญ่จัดเป็นข้าวไวแสง

1.2 ข้าวไม่ไวแสง หมายถึง ข้าวที่ออกดอกตามอายุเก็บเกี่ยวของข้าวโดยไม่ขึ้นอยู่กับช่วงแสง เป็นข้าวที่ปลูกในฤดูนาปรัง
สามารถปลูกได้ตลอดปีถ้ามีน้ำเพียงพอ และปลูกได้ดีในฤดูร้อนเพราะมีช่วงแสงมากกว่าฤดูอื่น อายุการปลูกจนถึงเก็บเกี่ยว
ประมาณ 110-115 วัน


2. จำแนกตามสภาพการเก็บเกี่ยว แบ่งเป็น
2.1 ข้าวเบา เป็นข้าวที่ใช้ระยะเวลาปลูกจนถึงเก็บเกี่ยวสั้น ถ้าเป็นข้าวไวแสงจะเก็บเกี่ยวได้ในช่วงเดือน กันยายน-ตุลาคม
ของทุกภาค ยกเว้นภาคใต้ และสามารถแบ่งย่อยออกได้อีกเป็นข้าวค่อนข้างเบา ข้าวเบา และข้าวเบามาก

2.2 ข้าวกลาง เป็นข้าวที่ปลูกโดยใช้ระยะเวลาปานกลาง ถ้าเป็นข้าวไวแสงจะเก็บเกี่ยวได้ในช่วงประมาณเดือนตุลาคม-พฤศ
จิกายนของปี

2.3 ข้าวหนัก เป็นข้าวที่ปลูกโดยใช้เวลานาน ถ้าเป็นข้าวไวแสงจะเก็บเกี่ยวในช่วงประมาณเดือนธันวาคม-มกราคม และยัง
แบ่งย่อยออกได้อีก เป็นข้าวค่อนข้างหนัก ข้าวหนัก และข้าวหนักมาก


3. จำแนกตามสภาพพื้นที่ปลูกหรือสภาพแวดล้อมเป็นเกณฑ์
3.1 ข้าวไร่ เป็นข้าวที่ปลูกโดยอาศัยสภาพน้ำฝนตามธรรมชาติในพื้นที่ไร่หรือพื้นที่ดอน ไม่มีการเก็บกักน้ำในแปลงนา
ใช้การปลูกโดยการหยอดหรือโรยเมล็ดข้าวแห้ง พันธุ์ข้าวไร่ส่วนมากจะทนต่อความแห้งแล้งได้ดี

3.2 ข้าวนาสวน เป็นข้าวที่ปลูกกันทั่วไปในพื้นที่ที่มีน้ำขัง มีการเก็บกักน้ำไว้ในแปลงนา ปลูกได้ที่ระดับน้ำลึก 1 เซนติเมตร
แต่ไม่เกิน 50 เซนติเมตร การปลูกข้าวนาสวนแบ่งย่อยได้ 2 แบบ

- ข้าวนาน้ำฝน เป็นข้าวที่ปลูกฤดูนาปี อาศัยน้ำฝนตามธรรมชาติ พันธุ์ข้าวที่ใช้ส่วนใหญ่ เป็นข้าวพันธุ์พื้นเมืองหรือข้าวที่มี
การคัดพันธุ์มาจากข้าวพันธุ์พื้นเมือง เป็นข้าวที่มีคุณภาพ เมล็ดดี แต่มักจะต้นสูงล้มง่าย

- ข้าวนาชลประทาน เป็นข้าวที่ปลูกในเขตนาชลประทาน ปลูกได้ทั้งนาปีและนาปรังพันธุ์ ข้าวที่ใช้ส่วนมากเป็นพันธุ์ข้าวที่
พัฒนาขึ้นมาใหม่ ให้ผลผลิตสูงในระบบการทำนาที่ใช้ปุ๋ยเคมี

3.3 ข้าวนาเมือง ข้าวขึ้นน้ำ หรือข้าวฟางลอย เป็นข้าวที่ปลูกในฤดูนาปี พันธุ์ข้าวส่วนมากเป็นพันธุ์พื้นเมือง หรือพันธุ์ข้าวที่
คัดมาจากพันธุ์พื้นเมือง ตัวอย่างเช่น ปิ่นแก้ว 56, เจ็กเชย 159, เล็บมือนาง, 111. พันธุ์ข้าวเหล่านี้สามารถยืดปล้องตาม
ระดับน้ำได้ มีการแตกแขนงและรากที่ข้อ ทนต่อสภาพน้ำท่วมขังเป็นเวลานาน รวมทั้งสภาพแห้งแล้งได้ดี แต่ผลผลิตจะต่ำ
กว่านาน้ำฝน



http://www.khaokwan.org/rice.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 27/01/2013 12:03 pm, แก้ไขทั้งหมด 3 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11563

ตอบตอบ: 25/01/2013 1:36 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

137.“ธัญสิริน” พันธุ์ข้าวเหนียวพันธุ์ใหม่ นามพระราชทาน


เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2553 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทานนามข้าว “ธัญสิริน” ซึ่งพัฒนา
โดยหน่วยปฏิบัติการค้นหาและใช้ประโยชน์ยีนข้าว ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับสำนักวิจัยและพัฒนา
ข้าวกรมการข้าว และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พัฒนาสายพันธุ์ข้าวเหนียวต้านทานโรคไหม้ โดยใช้เครื่อง
หมายโมเลกุลในการคัดเลือกร่วมกับการปรับปรุงพันธุ์แบบวิธีมาตรฐาน จนได้ข้าวเหนียวที่มีคุณภาพใกล้เคียงกับพันธุ์ กข 6
แต่มีความต้านทานโรคไหม้ ซึ่งเริ่มพัฒนาตั้งแต่ปี 2545 ใช้เวลาในการพัฒนาประมาณ 4 ปี

เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2553 ดร.วีระชัย วีระเมธีกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ ดร.ธีรยุทธ
ตู้จินดา นักวิจัยหน่วยปฏิบัติการค้นหาและใช้ประโยชน์ยีนข้าว ไบโอเทค ร่วมแถลงข่าวแก่สื่อมวลชน ถึงการได้รับพระ
มหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ทรงพระราชทานนามข้าวเหนียวพันธุ์ใหม่ “ธัญสิริน”
ซึ่งมาจากคำว่า “ธัญ” ที่แปลว่าข้าว และพระนาม “สิรินธร” ถือเป็นข้าวพันธุ์แรกที่ได้รับพระราชทานนามจากสมเด็จพระเทพ
รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

พันธุ์ข้าวเหนียว กข 6 ถือเป็นข้าวที่มีการเพาะปลูกเป็นหลัก ข้าวเหนียวที่เรากินส่วนใหญ่เป็นข้าวพันธุ์นี้ แต่เป็นข้าวที่มีความ
อ่อนแอ มักจะเกิดโรคไหม้ซึ่งเป็นปัญหาหลักของพื้นที่นาน้ำฝน ทำให้เกิดความเสียหายเป็นวงกว้างประจำทุกปี ส่งผลกระทบ
ต่อความมั่นคงทางอาหารและรายได้ของเกษตรกร ดังนั้น จึงมีการนำเทคโนโลยีชีวภาพมาปรับปรุงพันธุ์ข้าวเหนียว กข 6
โดยพัฒนาเครื่องหมายทางพันธุกรรมที่ควบคุมลักษณะสำคัญ คือ ความสามารถต้านทานโรคไหม้ ทำให้ได้ตัวอย่างเมล็ด
พันธุ์ข้าวส่วนหนึ่งมาแจกจ่ายให้แก่เกษตรกรเพาะปลูก ลักษณะเด่นของสายพันธุ์นี้คือ ลำต้นแข็งแรงทนการหักล้ม ให้ผล
ผลิตอยู่ที่ 800 กิโลกรัมต่อไร่ ลดเปอร์เซ็นต์ข้าวหัก โดยพื้นที่ปลูกที่เป็นออร์แกนิกส์ สามารถให้ ผลผลิตได้ถึง
1,000 กิโลกรัมต่อไร่







ที่ผ่านมา เมล็ดพันธุ์ข้าวธัญสิริน นำไปทดลองปลูกในนาข้าวของเกษตรกร 5 จังหวัด ได้แก่ น่าน เชียงราย ลำปาง
ชัยภูมิ และสกลนคร โดยปลูกแทนข้าวเหนียวพันธุ์ กข6 เดิม ในช่วงเวลา 3 ปี พบว่าสามารถลดความเสียหายในนาข้าว
ได้ถึง 30%


http://www.biotec.or.th/th/index.php/info-center/news/news2553/370-2010-12-17-07-34-32


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 27/01/2013 1:25 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11563

ตอบตอบ: 25/01/2013 6:33 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

138. ข้าวบือพะทอ





ข้าวบือพะทอเป็นพันธุ์ข้าวที่ปลูกในที่นาพื้นที่สูง เป็นพันธุ์พื้นเมือง ชนิดข้าวเจ้าไวต่อช่วงแสง เก็บเกี่ยวประมาณวันที่ 24-27
ตุลาคม ต้นสูงประมาณ 154-156 เซนติเมตร ต้านทานโรคไหม้ ต้านทานโรคเมล็ดด่าง ทนต่ออากาศหนาวบนที่สูง ปลูกได้ดีตั้ง
แต่ระดับความสูง 1,000-1,200 เมตร เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง ให้ ผลผลิตเฉลี่ย 440-500 กิโลกรัมต่อไร่ ข้าว
สุกอ่อนนุ่ม ไม่ต้านทานเพลี้ยกระโดดหลังขาว โรคใบสีส้ม และโรคใบสีแสด

ลักษณะประจำพันธุ์ : ทรงกอแบะ สีของปล้อง กาบใบและใบสีเขียว ใบมีขน ใบธงตั้งปานกลางทำมุม 45 องศา คอรวงยาว รวง
แน่นปานกลาง ความยาวของกลีบรองดอกสั้น จำนวนรวงต่อตารางเมตร 208 รวง จำนวนเมล็ดดีต่อรวง 143 เมล็ด เมล็ดข้าว
เปลือกสีฟาง น้ำหนักเมล็ดข้าวเปลือก 1,000 เมล็ด 20.91 กรัม เมล็ดข้าวเปลือกยาว 10.40 มิลลิเมตร กว้าง 2.88 มิลลิเมตร
หนา 2.86 มิลลิเมตร เมล็ดข้าวกล้องรูปร่างเรียว สีของข้าวกล้องค่อนข้างทึบ ขนาดเมล็ดข้าวกล้อง ยาว 7.25 มิลลิเมตร
กว้าง 2.52 มิลลิเมตร หนา 1.83 มิลลิเมตร เมล็ดมีระยะพักตัวสั้นประมาณ 1 สัปดาห์ ข้าวสุกมีลักษณะอ่อนนุ่ม ปริมาณอมิโลส
10.20 เปอร์เซ็นต์.



http://www.dailynews.co.th/agriculture/175818


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 27/01/2013 1:29 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11563

ตอบตอบ: 27/01/2013 12:06 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

139. ข้าวพันธุ์ บือโป๊ะโละ

พันธุ์ข้าวพื้นเมืองของกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอในจังหวัดแม่ฮ่องสอน

นงนุช ประดิษฐ์ (1)


บทคัดย่อ
บือโป๊ะโละ เป็นข้าวนาที่สูงพันธุ์พื้นเมืองของกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ ที่ใช้ปลูกกันอย่างแพร่หลาย และมีความสำคัญ
ด้านความมั่นคงทางอาหารบนพื้นที่สูงในจังหวัดแม่ฮ่องสอน

ปี พ.ศ.2551 ศูนย์วิจัยข้าวแม่ฮ่องสอนทำการสำรวจและเก็บตัวอย่างพันธุ์ข้าวบือโป๊ะโละในจังหวัดแม่ฮ่องสอน จำนวน 93
พันธุ์ จากแหล่งปลูกที่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางระหว่าง 505-1,303 เมตร พบว่าข้าวบือโป๊ะโละเป็นข้าวพื้นเมืองที่
ปลูกมานานตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีการเก็บรักษาจากบรรพบุรุษและปลูกสืบต่อกันมาหลายชั่วอายุคน

ข้าวบือโป๊ะโละถูกเรียกจากลักษณะเมล็ดที่กลมๆ และใหญ่ ซึ่งมีการจำแนกเป็น 3 ชนิด โดยเรียกตามลักษณะของเมล็ดข้าว
ได้แก่
บือโป๊ะโละเมล็ดใหญ่
บือโป๊ะโละเมล็ดกลาง และ
บือโป๊ะโละเมล็ดเล็ก
มีการปลูกชนิดเดียวหรือทั้ง 2 ชนิด หรือทุกชนิด

นอกจากการปลูกในนายังพบว่ากะเหรี่ยงสกอร์บางหมู่บ้านปลูกในสภาพไร่ โดยเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า บือโปงโลง ข้าวพันธุ์
บือโป๊ะโละ มีข้อดี คือ ให้ผลผลิตสูงเมื่อปลูกบนพื้นที่สูงที่มีอากาศหนาวเย็น ลำต้นแข็ง ไม่ล้มง่าย รวงใหญ่ เมล็ดใหญ่ อายุ
ปานกลาง นวดง่าย คุณภาพการหุงต้มข้าวสุกร้อนและข้าวสุกเย็นอ่อนนุ่ม รสชาติอร่อย หุงขึ้นหม้อ ค่อนข้างต้านทานต่อ
โรคและแมลงดีกว่าพันธุ์อื่น ปลูกได้ในทุกสภาพพื้นที่ แต่บางพื้นที่ยังพบปัญหาโรคไหม้คอรวง แมลงบั่ว เพลี้ยกระโดดหลัง
ขาว หนอนกอ และต้นสูง ล้มง่ายในพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์มาก

เกษตรกรจะทำการคัดพันธุ์เมื่อมีข้าวพันธุ์อื่น ข้าวแดงปน หรือปลูกไปแล้ว 4-5 ปี บนพื้นที่สูงมีการอนุรักษ์ และจะสืบทอด
จนถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน แต่บางหมู่บ้านที่อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางไม่เกิน 700 เมตร มีการปลูกพันธุ์บือโป๊ะโละลดลง

เนื่องจากสามารถปลูกข้าวพันธุ์ กข21 ซึ่งให้ผลผลิตสูง และบางหมู่บ้านปลูกข้าวพันธุ์ กข21 ทั้งหมดเมื่อปลูกเปรียบเทียบ
ผลผลิต ในปี พ.ศ. 2552 พบว่า

ข้าวนาที่สูงพันธุ์บือโป๊ะโละมีวันออกดอกระหว่างวันที่ 16 กันยาน-13 ตุลาคม ความสูงระหว่าง 94-200 เซนติเมตร
จำนวนรวงต่อกอ 7-17 รวงต่อกอ และให้ผลผลิตแตกต่างกัน บือโป๊ะโละ แม่นาจางเหนือ ให้ ผลผลิตสูงสุด
845 กิโลกรัม ต่อไร่
ไม่แตกต่างจากบือโป๊ะโละพันธุ์ที่ให้ผลผลิตรองลงมา จำนวน 50 พันธุ์ ซึ่งให้ ผล
ผลิตระหว่าง 650-831 กิโลกรัม
ต่อไร่ แต่แตกต่างจากบือโป๊ะโละพันธุ์อื่น จำนวน 42 พันธุ์
(315-644 กิโลกรัมต่อไร่)

ปี พ.ศ. 2553 พบว่า ข้าวนาที่สูงพันธุ์บือโป๊ะโละ มีวันออกดอกระหว่าง 17-26 ตุลาคม ความสูงระหว่าง 153-146 เซนติ
เมตร จำนวนรวงต่อกอ 8-15 รวงต่อกอและให้ผลผลิตแตกต่างกัน บือโปะโละแม่ละ 1 ให้ผลผลิตสูงสุด 741 กิโลกรัมต่อไร่
ไม่แตกต่างทางสถิติจากพันธุ์ที่ให้ผลผลิตรองลงมา จำนวน 26 พันธุ์ ซึ่งให้ผลผลิตระหว่าง 591-715 กิโลกรัมต่อไร่

แต่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับบือโป๊ะโละพันธุ์อื่น จำนวน 66 พันธุ์ (144-581 กิโลกรัมต่อไร่) คุณสมบัติทางเคมี
เป็นข้าวที่มีปริมาณอมิโลสต่ำกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ซึ่งข้าวสุกนุ่ม จำนวน 83 พันธุ์ และมีปริมาณอมิโลสมากกว่า 20 เปอร์เซ็นต์
ซึ่งข้าวสุกค่อนข้างร่วน จำนวน 10 พันธุ์ และพบว่าเป็นข้าวหอม ข้าวสุกเหนียวและนุ่ม จำนวน 4 พันธุ์ คือ บือโป๊ะโละห้วยมะบวบ
1, บือโป๊ะโละห้วยมะบวบ 2, บือโป๊ะโละมะหินหลวง และบือโป๊ะโละแม่ลาก๊ะ 4


1) ศูนย์วิจัยข้าวแม่ฮ่องสอน อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน 50150 โทร 0-5361-7144




http://www.brrd.in.th/main/index.php?option=com_content&view=article&id=627:bue-po-lo-karen-landrace-rice-in-mae-hong-son-province&catid=73:new200355&Itemid=37


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 30/01/2013 9:28 am, แก้ไขทั้งหมด 4 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11563

ตอบตอบ: 27/01/2013 12:23 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

140. ข้าวหอมมะลิ : มหัศจรรย์แห่งพันธุกรรมข้าวไทย







คนจีนมีสุภาษิตว่าด้วยเรื่องการกินอยู่บทหนึ่งว่าก่อนตายต้องกินอาหารสี่อย่าง ถึงจะมิอายฟ้าดิน คือ หอยเป๋าฮื้อ รังนก หูฉลาม
และข้าวหอมมะลิ ข้าวหอมมะลิเป็นข้าวเชื้อชาติไทย ถือกำเนิดในเมืองไทย ปัจจุบันได้รับการกล่าวขวัญว่าเป็นข้าวอร่อยที่สุด
ในโลก ทุกวันนี้ข้าวไทยส่งข้าวหอมมะลิไปขายที่ประเทศจีนมากที่สุด เพราะชาวจีนชื่นชอบรสชาติและกลิ่นหอมของข้าวมะลิ
ข้าวหอมมะลิเป็นข้าวไทยพันธุ์พื้นเมืองชนิดหนึ่ง ที่ชาวบ้านแถบเมืองชลบุรีเป็นผู้ค้นพบ 50 กว่าปีก่อน มีสีขาวเหมือนดอกมะลิ
และมีกลิ่นหอมเหมือนใบเตย (ไม่ใช่กลิ่นหอมเหมือนดอกมะลิที่เข้าใจกัน) ไม่เฉพาะคนไทยเท่านั้น ชาวต่างประเทศก็
นิยมกินข้าวหอมมะลิมากขึ้นเรื่อย ๆ จนทุกวันนี้ประมาณข้าวไทยส่งออกปีล่ะ 5 ล้าน กว่าตัน เกือบครึ่งหนึ่งเป็นข้าวหอมมะลิ
ข้าวหอมมะลิโด่งดังจนบริษัทขายข้าวในสหรัฐอเมริกาบริษัทหนึ่ง ตั้งชื่อยี่ห้อข้าวชนิดที่มีกลิ่นเหมือนข้าวโพดคั่วว่า จัสมาติ
ไรซ์ เลียนแบบ จัสมิน ไรซ์ จนมีการประท้วงจนมีข้าวเกรียวกราวไปทั่วโลก ต่อไปนี้เป็นเรื่องราวของข้าวหอมมะลิตั้งแต่เป็นเมล็ด
พันธุ์จนออกเป็นร่วงเป็นเมล็ดพราว ถูกบรรจุใส่ถูก ใส่กระสอบเดินทางไปทุกมุมโลก



จากปิ่นแก้วถึงดอกมะลิ
“ประเทศไทยเป็นแหล่งพันธุกรรมข้าวอันอุดมสมบรูณ์และมีความหลากหลาย ชาวนาไทยสมัยก่อน คือ นักวิจัยการเกษตร
รุ่นแรกที่คัดเลือก ปรับปรุงพันธุ์ให้เหมาะสมกับการปลูกในแต่ล่ะท้องถิ่น โดยพัฒนาพันธุ์จากข้าวป่าซึ่งเป็นแหล่งพันธุกรรมอย่างดี
ในการปรับปรุงพันธุ์ข้าว โดยเฉพาะการสร้างพันธุ์ให้ต้านทานโรค แมลง หรือทนทานต่อสภาพแวดล้อม เพราะธรรมชาติของ
ป่าจะมีระยะเวลาในการฟักตัวนานแรมปีเพื่อความอยู่รอดหากเมล็ดข้าวป่ารวงสู่ดินในสภาพที่ไม่เอื้ออำนวยจะสามารถอยู่ในดิน
ได้นาน เกือบปีเพื่อรอฝน คนโบราณจึงปรับปรุงพันธุ์ข้าวที่ปลูกจากข้าวป่านั้นเอง หากยังไม่มีการรวบรวมพันธุ์อย่างเป็นทางการ
จึงกระทั่งถึงราชการที่ 5 ก่อนหน้านั้นเราส่งข้าวไปขายยุโรปผ่านบริษัทของอินเดีย แล้วมีข่าวว่าข้าวไทยขายสู้ข้าวอินเดียไม่ได้
เพราะข้าวไทยส่วนมากแตกหัก แต่ข้าวที่อินเดียเมล็ดยาวสวยกว่า ช่วงเวลานั้นราชการที่ 5 เสด็จประพาสยุโรป พระองค์ทรง
ตั้งข้อสังเกตว่า ชาวนาไทยอาจปลูกข้าวหลายพันธุ์มากเกินไป ไม่มีการคัดแยกเมล็ดพันธุ์ พระองค์ท่านทรงมองการณ์ไกล
จึงทรงมีพระราชดำริให้เกษตรกรนำพันธุ์ข้าวพื้นเมืองมาประกวดกันเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2450 ที่อำเภอธัญบุรี พันธุ์ข้าวที่
ส่งประกวดนั้นทางการได้นำมาปลูกเพื่อคัดเลือกพันธุ์ที่มีคุณภาพเมล็ดดีจนได้เป็นข้าวพันธุ์ดีแนะนำให้เกษตรกรปลูก พันธุ์
ข้าวชุดแรกที่รัฐบาลแนะนำในปี พ.ศ. 2479 คือข้าวพวงเงิน ตามประวัติได้มาจากขุนพิบาล ตลิ่งชัน ธนบุรี ข้าวทองระย้าดำ
ได้มาจากนายปิ๋ว บางน้ำเปรี้ยวฉะเชิงเทรา ข้าวน้ำดอกไม้ได้มาจากนายมา ลาดกระบังพระนคร และพันธุ์ข้าวปิ่นแก้ว
ซึ่งได้ตัวอย่างมาจากนายจวน ศรีราชา ชลบุรี มีความยาวหลังจากสีแล้ว 8.4 มิลลิเมตร ข้าวพันธุ์ปิ่นแก้วมีชื่อเสียงโด่งดัง
เพราะไปชนะเลิศการประกวดพันธุ์ข้าวของโลกที่ประเทศแคนาดา “ ดร.สงกรานต์ จิตรากร ผู้เชี่ยวชาญพันธุ์ข้าวแห่งสถาบัน
วิจัยข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เล่าถึงการพัฒนาข้าวไทยในอดีต

ต่อมาระหว่าง พ.ศ. 2493-2495 มีการรวบรวมพันธุ์ข้าวพื้นเมืองทั่วประเทศอย่างจริงจัง เพื่อค้นหาข้าวพันธุ์ดีแนะนำให้
เกษตรกรปลูก ผลจาการประเมินลักษณะเมล็ดและการคัดเลือกจากพันธุ์ข้าวประมาณ 6, 000 ตัวอย่าง ก็ได้ข้าวพันธุ์
ดีหลายพันธุ์ที่ใช้แนะนำให้เกษตรกรปลูก ในจำนวนนี้มีพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ซึ่งต่อมาเลือกกันว่า ข้าวหอมะลิ รวมอยู่ด้วย

ข้าวขาวดอกมะลิ 105 พบครั้งแรกในท้องที่แหลมประดู่ อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี โดยนายจรูญ ตัณฑาวุฒ ได้นำมา
ปลูกไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2488 จนกระทั่ง พ.ศ. 2493 กรมการข้าว กระทรวงเกษตรฯ ได้ดำเนินการรวบรวมข้าวพันธุ์
ของประเทศ พนักงานข้าวอำเภอบางคล้ารวบรวมรวงข้าวจากอำเภอบางคล้าจำนวน 199 รวงมาเพาะเป็นต้นข้าวเรียง
เป็นแถวได้ 199 แถว แล้วปรากฏว่าต้นข้าวแถวที่ 105 ดีที่สุด มีเมล็ดข้าวยาวเรียว ขาวใส มีกลิ่นหอม จึงเอาแถวที่ 105
มาเป็นแม่พันธุ์และกลายเป็นข้าวหอมมะลิที่ปลูกกันทั่วประเทศในเวลานี้ แต่ต้องเข้าใจในเดิมนั้น ชื่อของเค้าไม่ได้หมายความ
ว่าหอมเหมือนดอกมะลิ และมีกลิ่นหอมเหมือนใบเตย ต่อมาเรียกเพี้ยนไปจึงกลายเป็นข้าวหอมมะลิ ข้าวพันธุ์นี้นิยมปลูกเป็น
ข้าวนาปี เพราะข้าวขาวมะลิเป็นข้าวที่ไวต่อแสง” ดร.สงกรานต์อธิบาย

ข้าวที่ไวต่อแสงหมายถึงพันธุ์ข้าวที่จะออกดอกในวันที่กลางคืนยาวกว่ากลางวันเท่านั้น ซึ่งก็คือฤดูหนาว ข้าวที่ปลูกในฤดูนาปี
ส่วนใหญ่จะเป็นข้าวที่ไวต่อแสง ส่วนข้าวนาปรังเป็นข้าวที่ไม่ไวต่อแสง ปลูกได้ตลอดปีในเดือนใดก็ได้ เมื่อพันธุ์เหล่านี้อายุ
ครบกำหนด ก็จะออกดอกรวงไว้ให้เก็บเกี่ยวได้

“ข้าวที่ไวต้องแสงจะออกดอกเมื่อใกล้หน้าฝนต่อหน้าหนาว เดือนตุลาก็เริ่มออกดอกแล้ว หน้าหนาวนั้นจะมืดเร็วช่วงแสง
กลางวันจะน้อยกว่า 12 ชั่วโมง เราถึงเรียกข้าวว่าเป็นพืชวันสั้น แต่พันธุ์ข้าวที่ไม่ไวต่อแสงนั้นแม้แสงจะมากกว่าหรือน้อยกว่า
12 ชั่วโมงแต่ล่ะวันก็ไม่มีผล ปลูกได้ทั้งปี” คุณสุเทพ ลิ้มทองกุล ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยข้าวให้ความกระจ่าง

ตามนโยบายข้าวประจำปี 2537-2544 กำหนดเขตการปลูกข้าวขาวหอมมะลิ 105 เพื่อการส่งออกใน 10 จังหวัด ได้แก่
นครราชสีมา บุรีรัมย์ ยโสธร ร้อยเอ็ด สกลนคร ศรีสะเกษ สุรินทร์ อุดรธานี และอุบลราชธานี



แหล่งอ้างอิง : กรมวิชาการเกษตร. 2541. ข้าว...วัฒนธรรมแห่งชีวิต. สถาบันวิจัยข้าว กรมวิชาการเกษตร. หน้า 102-104.



http://www.brrd.in.th/main/index.php?option=com_content&view=article&id=770:2012-11-21-07-00-15&catid=61:rice-knowledge&Itemid=77


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 27/01/2013 1:30 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11563

ตอบตอบ: 27/01/2013 12:28 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

141. ข้าวสาลีไทย : อาหารเพื่อสุขภาพ



ข้าวสาลีชนิดใช้ทำขนมปัง Bread Wheat



ข้าวสาลีชนิดใช้ทำมักกะโรนี Durum Wheat


ข้าวสาลีเป็นธัญพืชเมืองหนาวที่สามารถปลูกได้ในประเทศไทย และเจริญเติบโตได้ดีในสภาพแวดล้อมที่มีอากาศหนาวเย็น
จึงเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ภาคเหนือตอนบนซึ่งมีอากาศหนาวเย็นในฤดูหนาว และเป็นพืชทางเลือกหนึ่งที่สามารถนำมาส่ง
เสริมให้เกษตรกรปลูกร่วมระบบกับพืช ปลูกอื่นในฤดูหนาว ข้าวสาลีที่ปลูกได้มีทั้งชนิดใช้แป้งทำขนมปัง Bread Wheat
และ ชนิดใช้แป้งทำมักกะโรนี Durum Wheat

แต่ข้าวสาลีพันธุ์รับรองที่มีอยู่ในปัจจุบันเป็นข้าวสาลีชนิดใช้แป้งทำขนม ปัง สามารถปลูกได้ทั้งในสภาพไร่และสภาพนา
อาศัยน้ำชลประทาน นับวันข้าวสาลีเป็นธัญพืชเมืองหนาวที่มีบทบาทต่อชีวิตประจำวันของคนไทยมาก ยิ่งขึ้น โดยเฉพาะใน
เมืองใหญ่ ซึ่งชีวิตประจำวันเป็นไปในลักษณะเร่งรีบ อุปนิสัยการบริโภค ต้องการเวลาในการปรุงอาหารที่รวดเร็ว ประกอบ
กับข้าวสาลีมีคุณค่าทางโภชนาการสูง มีปริมาณโปรตีนสูง และคาร์โบไฮเดรต ในกลุ่มที่เรียกว่า Photosugar ซึ่งใช้เป็น
อาหารเสริม ปัจจุบันข้าวสาลีพันธุ์รับรองยังมีอยู่น้อย โดยเป็นพันธุ์ส่งเสริมแก่เกษตรกร จำนวน 6 พันธุ์ ได้แก่ พันธุ์
สะเมิง 1, สะเมิง 2, แพร่ 60, ฝาง 60 อินทรี 1 และอินทรี 2 และการให้ผลผลิตยังมีความแปรปรวนสูงขึ้นกับสภาพภูมิ
อากาศ การวิจัยและพัฒนาข้าวสาลีที่ผ่านมา จะมุ่งเน้นหาพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูงและมีคุณภาพตรงตามความต้องการของ
อุตสาหกร รมเบเกอรี่ แต่ปัจจุบันมีการตื่นตัวในด้านสุขอนามัย มีการใช้ประโยชน์จากข้าวสาลีเพื่อเป็นอาหารเสริมสุขภาพ
มากขึ้น จึงได้เกิดโครงการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวสาลีในเขตภาคเหนือตอนบนเพื่อยก ระดับผลผลิตและพัฒนาผลิตภัณฑ์
จากข้าวสาลี ในด้านการพัฒนาพันธุ์พบว่ามีข้าวสาลีหลายสายพันธุ์ที่มีแนวโน้มให้ผลผลิตสูง กว่าข้าวสาลีพันธุ์ฝาง 60 เช่น
FNBW8112-2-3, SMGBWS85701, LARTC-BWS 95113, UBNBWS90017, SMGBWS87121,
FNBW8310-1-SMG-1-1-1, LARTC-WS95025 และ LARTC-BWS95204



บทความโดย นางสุธีรา มูลศรี นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ
ศูนย์วิจัยข้าวสะเมิง


http://www.brrd.in.th/main/index.php?option=com_content&view=article&id=577:new140355-2&catid=61:rice-knowledge&Itemid=77


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 27/01/2013 4:58 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11563

ตอบตอบ: 27/01/2013 12:35 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

142. ข้าวสาลี


ข้าวสาลีเป็นพืชอาหารที่สำคัญที่สุดชนิดหนึ่งของประชากรโลก ผลผลิตทั่วโลกในปี พ.ศ. 2535 มีถึงกว่า 567 ล้านตัน
ผู้ผลิตสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา คานาดา รัสเชีย และจีน ในประเทศไทยมีการปลูกบ้างบนที่สูงในภาคเหนือ แต่ส่วน
ใหญ่ (6 แสนตันต่อปี) ได้จากการนำเข้า

ข้าวสาลีเป็นพืชในวงศ์เดียวกับไผ่ (ดูไผ่ตง) ตะไคร้ หญ้าและธัญพืช เช่น ข้าวโพด ข้าวบาร์เลย์ และข้าว มีถิ่นกำเนิดในแถบ
ตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย ซึ่งในบริเวณนั้นมีการปลูกข้าวสาลีมาเป็นเวลานานกว่า 10,000 ปีแล้ว ข้าวสาลีที่ปลูก
เพื่อเป็นอาหารในปัจจุบันมีมากกว่า 25,000 พันธุ์ ซึ่งล้วนแต่ได้มาจากการปรับปรุงพันธุ์โดยมนุษย์ ข้าวสาลีขนมปัง (bread
wheat) มีปริมาณโปรตีนในเมล็ดประมาณ 11-15% และมีสัดส่วนโปรตีน กลูเต็น (gluten) สูง ทำให้เหมาะที่จะใช้ทำขนม
ปัง สำหรับในการทำเส้นมักโรนี สปาเก็ตตี้ และบะหมี่ ต้องใช้แป้งที่มีปริมาณโปรตีนสูงเช่นกัน คือประมาณ 12% แต่ได้จาก
ข้าวสาลีอีกชนิดหนึ่ง เรียกว่า ข้าวสาลีมักโรนี (durum wheat) ส่วนข้าวสาลีสำหรับทำขนม อบอื่นๆ เช่น เค้ก คุกกี้
และพาย มีปริมาณโปรตีนในเมล็ดประมาณ 10% และมีกลูเต็นน้อย


ชื่อไทย
ข้าวสาลี

ชื่อสามัญ
Wheat

ชื่อพฤกษศาสตร์
Triticum aestivum L. และ Triticum turgidum L.

ชื่อวงศ์
POACEAE

แหล่งกำเนิดและการกระจายพันธุ์
ตะวันออกกลาง

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
พืชพวกหญ้า ไม้ล้มลุกอายุหนึ่งปี สูง 40-150 เซนติเมตร แตกกอแน่น ลำต้นเรียบ มีข้อและปล้อง 4-7 ปล้องมีขนาดใหญ่
ขึ้นจากโคนไปปลาย ใบเดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบรูปแถบ กว้าง 1-3 เซนติเมตร ยาว 15-40 เซนติเมตร เขี้ยวใบเป็นแผ่น หูใบบาง
ใบเกลี้ยงหรือมีขน ช่อดอกแบบช่อเชิงลด เรียงสองแถว แกนกลางช่อหยักไปมา ยาว 5-15 เซนติเมตร ช่อดอกย่อยแบน ซ้อน
ทับกันเป็นแถวด้านข้างของแกนช่อดอก ดอกมีรูปร่าง ขนาด และความหนาแน่นแตกต่างกันตามพันธุ์ ตรงปลาย กาบช่อย่อย
เป็นสัน 1 สัน เกิดจากเส้นใบยื่นเป็นปีกแหลม กาบล่างมีรยางค์แข็งยาวได้ถึง 16 เซนติเมตร ดอกสมบูรณ์เพศ ผลแบบผลธัญ
พืช มีร่องตามยาว สีน้ำตาลแดง เหลือง ขาว หรือสีปนกัน

Triticum aestivum L. คือ ข้าวสาลีขนมปัง และ Triticum turgidum L. คือข้าวสาลีมักโรนี

ผลิตผลและผลิตภัณฑ์
ขนมปัง แป้งสาลี มักโรนี สปาเก็ตตี้ พาสต้า บะหมี่ (ดูบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป) ขนมอบ

ส่วนของพืชที่นำมาใช้ประโยชน์
ผลธัญพืช



ข้อมูลจาก กรีนไฮเปอร์มาร์ท : สารานุกรมผลิตผลและผลิตภัณฑ์จากพืช ในซุปเปอร์มาร์เก็ต, 2546
คำอธิบายศัพท์พฤกษศาสตร์โดย รองศาสตราจารย์วิยดา เทพหัตถี ศศิวิมล แสวงผล เชฏฐ์ สาทรกิจ ทยา เจนจิตติกุล
โดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย และ ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล



อภิชัย อารยะเจริญชัย



http://www.sc.mahidol.ac.th/wiki/doku.php?id=%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B5


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 27/01/2013 2:14 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11563

ตอบตอบ: 27/01/2013 12:43 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

143. การปลูกข้าวสาลี


ข้าวสาลีเป็นธัญพืชเมืองหนาวชนิดหนึ่งที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศเป็นอย่างยิ่ง เพราะต้องนำเข้าปีละเป็น
จำนวนมาก เช่น ในปี พ.ศ. 2532 ไทยได้นำเข้าแป้งข้าวสาลีทั้งสิ้น 334,621 ตัน คิดเป็นมูลค่าถึง 1,748 ล้านบาท
และยังมีแนวโน้มการนำเข้าเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เพราะการผลิตในประเทศยังไม่เพียงพอ

การส่งเสริมเพิ่มผลผลิตข้าวสาลี โดยกรมส่งเสริมการเกษตรกับบริษัทเอกชนผู้ค้าแป้งข้าวสาลีภายในประเทศ 4 บริษัท
ได้ดำเนินการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกข้าวสาลีให้มากยิ่งขึ้น โดยให้การสนับสนุนด้านการซื้อผลผลิตในราคาประกัน เพื่อ
ให้เกษตรกรมีความมั่นใจและหันมาปลูกข้าวสาลีให้มากเพื่อลดการนำเข้าได้ทางหนึ่ง รวมทั้งเป็นการเพิ่มรายได้ให้แก่
เกษตรกรในช่วงฤดูแล้ง

ข้าวสาลีเป็นพืชที่ต้องการอากาศหนาวเย็น ทนต่อสภาพแห้งแล้งได้ดี ปลูกได้ในสภาพไร่ที่อาศัยน้ำฝน หรือปลูกในเขต
ชลประทานที่ดินมีการระบายน้ำได้ดี


พันธุ์ที่เหมาะสม :
ปัจจุบันพันธุ์ที่ส่งเสริมให้เกษตรกรเพาะปลูกมี 3 พันธุ์ คือ สะเมิง 1 เหมาะสำหรับปลูกในที่ดอนของภาคเหนือที่มีสภาพ
อากาศหนาวเย็น มีอายุ 100 วัน สะเมิง 2 สามารถปรับตัวได้ดีภายใต้สภาพอากาศที่แปรปรวน จึงเหมาะที่จะใช้ปลูกใน
สภาพไร่อาศัยน้ำฝนและในสภาพนาที่ค่อนค้างมีน้ำจำกัด มีอายุ 90 วัน อินทรีย์ 1 สามารถปรับตัวได้ดีภายใต้สภาพอา
กาศแปรปรวน ทนแล้ง ทนต่อการทำลายของหนอนกอ เหมาะสมที่จะใช้ปลูกทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ฤดูกาลปลูก :
ในสภาพไร่อาศัยน้ำฝน ช่วงที่เหมาะสมที่สุดอยู่ระหว่างวันที่ 10-20 ตุลาคม ไม่ควรปลูกเร็วเกินไปเพราะอากาศร้อน จะ
ทำให้เกิดโรคง่าย และหากปลูกช้าเกินไปข้าวสาลีจะกระทบแล้ง ในสภาพนา ช่วงที่เหมาะสมที่สุดประมาณ 15 พฤศจิกายน
แต่ไม่ควรปลูกล่าเกิน 15 ธันวาคม

ดินที่เหมาะสม :
ดินที่เหมาะสมกับการปลูกข้าวสาลี จะต้องมีการระบายน้ำดี ดินเหนียวจัด หรือมีชั้นดินดานที่มีการระบายน้ำเลว รวมทั้งดิน
ที่เป็นกรดจัดและเค็มจัด ไม่เหมาะสมจะใช้ปลูกข้าวสาลี ดังนั้นพื้นที่ซึ่งจะใช้ปลูกข้าวสาลีควรมีลักษณะดังนี้ 3.1 ดินมี
การระบายน้ำได้ดี ในขณะเดียวกันก็มีความสามารถในการอุ้มน้ำได้ดี ซึ่งได้แก่ ดินร่วนหรือดินร่วนปนทราย 3.2 มีความ
ชื้นในดิน หรือมีแหล่งน้ำที่แน่นอนอย่างน้อย 30 วัน หลังปลูกข้าวสาลี 3.3 แปลงปลูกข้าวสาลีไม่ควรขัดแย้งกับแปลง
ปลูกพืชอื่นข้างเคียงเกี่ยวกับ ระบบการให้น้ำ การให้น้ำควรปล่อยตามร่องและระบายออกได้สะดวกและรวดเร็ว

การเตรียมพื้นที่ :
การเตรียมแปลงปลูกข้าวสาลี ควรเริ่มทันทีหลังเก็บเกี่ยวพืชแรกออกจากแปลง ทั้งนี้เพื่อป้องกันการเจริญเติบโตของวัชพืช
และเป็นช่วงที่ดินยังมีความชื้นอย่างพอเพียง การเตรียมดินโดยทั่ว ๆ ไปมี 2 ลักษณะ คือ 4.1 มีการพลิกดิน ขุดดิน
ด้วยจอบแล้วย่อยดินโดยใช้จอบสับ ใช้รถแทรกเตอร์ไถดะ และไถแปร เพื่อให้ดินแตกย่อย ปรับที่ให้เรียบ 4.2 ไม่มีการ
พลิกดิน ได้แก่ การปลูกโดยหยอดเมล็ดเป็นหลุมในตอซังข้าว หรือตัดตอซัง ยกแปลงปลูกแบบกระเทียม ขุดดินจากร่อง
เกลี่ยบนแปลง เปิดร่องโรยเมล็ดเป็นแถว



วิธีปลูก :
ปลูกได้หลายวิธีตามความเหมาะสมของสภาพพื้นที่ โดยใช้อัตราเมล็ดพันธุ์ไร่ละ 20 กิโลกรัม

การปลูกในสภาพไร่ :
1. การปลูกในสภาพที่สูงลาดชัน จะใช้วิธีกระทุ้ง หยอดแบบข้าวไร่ หยอดหลุมละ 5-6 เมล็ด ระยะห่างระหว่างแถว 20 ซม.
(2 ฝ่ามือ)

2. การปลูกในสภาพที่ดอน ไถพลิกดิน 1 ครั้ง ย่อยดินด้วยจานพรวน แล้วปลูกได้ 2 วิธี คือ
- โรยเป็นแถว เปิดร่องโดยใช้จอบสับดิน หรือใช้คราดซี่ไม้หรือคราดซี่เหล็ก ให้มีความลึก 3-5 ซม. ระยะระหว่างร่อง
20-25 ซม. โรยเมล็ดพร้อมปุ๋ยตามความยาวของแปลง จากนั้นกลบด้วยเท้าหรือจอบ
- หว่านพรวนกลบ ควรปลูกในช่วงที่ผิวดินมีความชื้นเพียงพอต่อการงอกของต้นกล้า หว่านเมล็ดให้สม่ำเสมอทั่วแปลง
แล้วพรวนกลบ




การปลูกในสภาพนา :
1. ปลูกแบบโรยเป็นแถวบนแปลง หลังจากไถและคราดดินแล้วเปิดร่องลึกประมาณ 5 ซม. โรยเมล็ดพร้อมปุ๋ยตาม
ความยาวของแปลง ระยะห่างระหว่างร่องหรือแถวประมาณ 20 ซม. กลบเมล็ดให้ฝังในดินลึก 3-5 ซม.



2. ปลูกแบบหว่านแล้วยกร่องกลบ หลังจากไถดะและคราดดินแล้ว หว่านเมล็ดข้าวสาลีพร้อมปุ๋ยรองพื้นให้ทั่วแปลง แล้ว
ยกแปลงและทำร่องน้ำ ดินที่ถูกยกขึ้นมาทำแปลงจะกลบเมล็ดข้าวสาลีและปุ๋ยได้พอดี

3. ปลูกแบบหว่านแล้วคราดกลบ วิธีนี้เหมาะกับพื้นที่เป็นกระทงนาขนาดเล็ก ดินต้องร่วนระบายน้ำได้สะดวก ทำการไถ
ขณะดินมีความชื้นพอที่เมล็ดจะงอกได้ ทำการหว่านแล้วคราดกลบ

4. ปลูกแบบไม่ไถ ตัดตอซัง ยกแปลง หว่านเมล็ดพร้อมปุ๋ยทั่วแปลง ถากหญ้ากำจัดวัชพืชกลบทิ้งไว้ 2 วัน แล้วใช้
ฟางกลบ (สำหรับวิธีนี้ทางหวัดน่านได้ทำการทดสอบ ปรากฏว่าให้ผลดี) เป็นการประหยัดเวลา แรงงานและลดต้นทุน
การเตรียมดิน

การใส่ปุ๋ย :
การปลูกข้าวสาลีให้ได้ผลผลิตสูงและคุณภาพดี เกษตรกรควรใส่ปุ๋ยเคมี 2 ครั้ง คือ ปุ๋ยรองพื้น ควรใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15
หรือ 16-20-0 คลุกเมล็ดพร้อมปลูก อัตราไร่ละ 30 กิโลกรัม ปุ๋ยแต่งหน้า ใช้สูตร 21-0-0 อัตราไร่ละ 20 กิโลกรัม ใส่
หลังข้าวสาลีงอกแล้ว ประมาณ 15-20 วัน

การให้น้ำ :
ข้าวสาลีไม่ทนต่อสภาพน้ำขัง หรือดินเปียกชื้นได้ยาวนาน การให้น้ำหลังหยอดเมล็ดจึงค่อนข้างอันตราย ถ้าปลูกใน
สภาพดินมีความชื้นเหมาะสม การให้น้ำครั้งแรกควรให้เมื่อข้าวสาลีงอกได้ประมาณ 10 วัน ระยะวิกฤตที่ต้นข้าวสาลีไม่
ควรขาดน้ำ ได้แก่
1. ระยะที่ต้นข้าวสาลีกำลังแตกรากจากข้อใต้ดิน (10 วัน หลังเมล็ดงอก)
2. ระยะเริ่มสร้างรวงอ่อน (25-30 วัน หลังเมล็ดงอก)
3. ระยะผสมเกสร
4. ระยะสร้างเมล็ด (15 วัน หลังผสมเกสร) ในสภาพน้ำจำกัด การให้
น้ำ 2 ครั้ง ในช่วง 30 วันแรก ข้าวสาลีจะให้ผลผลิตในระดับที่น่าใจ

การตรวจสอบความต้องการน้ำของข้าวสาลี :
สามารถตรวจสอบได้โดยขุดดินลึกประมาณ 10 ซม. หรือบริเวณใต้ผิวดินใกล้บริเวณราก กำมือปั้นดิน หากเมล็ดดินจับ
ตัวกันได้ไม่แตกออกจากกัน แสดงว่ามีความชื้นเพียงพอไม่ต้องให้น้ำ ถ้าหากดินที่บีบไม่จับตัวต้องให้น้ำทันที

การ ป้องกัน/กำจัด วัชพืช :
1. เตรียมดินโดยไถพรวนและคราดหลายครั้ง 2. หากปลูกเป็นแถวใช้จอบถากระหว่างแถว 3. ใช้สารบิวตาคลอร์
หรืออลาคลอร์ในอัตราตามคำแนะนำ

การ ป้องกัน/กำจัด ศัตรูชข้าวสาลี :
โรคใบจุดสีน้ำตาล ต้นกล้าจะมีแผลสีน้ำตาลเข้มที่ราก ที่ต้นใบด้านล่าง ป้องกันโดยใช้สารเคมีคลุกเมล็ด เช่น ไวตาแวก 0.3%
หรือ ไดเทนเอ็ม 45 อัตรา 3 ช้อนแกงต่อน้ำ 1 ปี๊บ โรคกล้าแห้งและโคนเน่า ต้นข้าวสาลีเหี่ยวและมีสีเหลือง บริเวณโคนต้น
จะพบเส้นใยสีขาว และเมล็ดกลมสีขาวน้ำตาล หากพบขุดต้นและดินบริเวณรอบต้นออก แล้วโรยปูนขาวบริเวณที่พบ

การ ป้องกัน/กำจัด หนู :
- ใช้เหยื่อพิษออกฤทธิ์เร็ว เช่น ซิงค์ฟอสไฟด์ ผสมข้าวสารอัตรา 1 : 99 วางรอบแปลงหรือช่องทางเดินห่างกันจุดละ 15 ตัว
- หลังจากนั้นวางเหยื่อพิษออกฤทธิ์ช้า เช่น ราคูมินผสมเหยื่อ อัตรา 1 : 99 โดยน้ำหนัก ใส่กระบอกไม้ไผ่แล้ววางห่างกัน
จุดละ 20 ตัว ตามช่องทางเดิน แล้วเติมเหยื่อทุก 15 วัน

การเก็บเกี่ยว และทำความอาด :
เก็บเกี่ยวเมื่อต้นข้าวสาลีแห้งเป็นสีฟาง เมล็ดแข็ง เนื้อขนจะเปราะ เกี่ยวด้วยเคียว วางรายบนตอซัง ตากให้แห้ง 2-3 แดด
มัดฟ่อนด้วยตอก แล้วเอามานวดด้วยเครื่องนวดข้าวธรรมดา โดยปรับความเร็วให้สูงขึ้นเล็กน้อย หรือนวดด้วยแรงคนโดยฟาด
กับแครไม้หรือกระบุงใหญ่ (ครุ) หรือใช้ไม้ทุบรวงให้เมล็ดร่วงออกมา แล้วฝัดด้วยกระด้งหรือเครื่องสีฝัด บรรจุกระสอบเก็บ
ไว้ในที่ร่ม อากาศถ่ายเทสะดวก




การเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ :
ต้องตากเมล็ดพันธุ์ให้แห้งสนิทมากที่สุด แต่อย่าให้โดนแสงแดดที่จัดจ้าโดยตรง แล้วเก็บในภาชนะปิด หรือเก็บในกระสอบ
แล้วนำไปเก็บรักษาในยุ้งฉางที่อากาศถ่ายเทได้ง่ายและกันฝน นก และหนูได้ด้วย เนื่องจากเมล็ดพันธุ์ของข้าวสาลีจะเป็น
เมล็ดที่ไม่มีเปลือกหุ้มทำให้มีโอกาสถูกทำลายจากแมลงศัตรูในโรงเก็บ เช่น ด้วงงวงข้าว ดังนั้นการตรวจสอบเมล็ดพันธุ์
บ่อย ๆ ทุก ๆ เดือน ถ้าพบการทำลายของแมลงศัตรู ควรรีบเอาออกมาทำความสะอาดและผึ่งแดดอีกครั้ง




http://www.doae.go.th/library/html/detail/rice/rice.htm


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 27/01/2013 2:34 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11563

ตอบตอบ: 27/01/2013 2:22 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

144.



ชื่อพันธุ์
- สะเมิง 2 (Samoeng 2)

ชนิด
- ข้าวสาลีชนิดใช้แป้งทำขนมปัง

คู่ผสม
- (Yaktana54 x Norin10 – Briver) Yaqui542

ประวัติพันธุ์
- มีกำเนิดจากโครงการปรับปรุงพันธุ์ร่วมกันระหว่างกระทรวงเกษตรเม๊กซิโกกับมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ ได้จากการ
ผสมพันธุ์ 3 ทาง ระหว่างพันธุ์ Yaktanar54 พันธุ์ Norin10 กับพันธุ์ Briver แล้วนำลูกผสมที่ได้ไปผสมกับ
Yaqui54 อีก 2 ครั้งซึ่งเป็นพันธุ์ผสมที่รัฐบาลเม๊กซิโกประกาศใช้เป็นพันธุ์ดี ชื่อพันธุ์ โซโนร่า64 (SONORA64)
เมื่อปี พ.ศ.2507 เป็นข้าวสาลีขนมปัง (Bread Wheat) ได้นำมาปลูกในประเทศไทย ปี พ.ศ.2510 และได้ปลูก
ทดสอบมาเรื่อยๆ พบว่าปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมต่างๆ ได้ดี

การรับรองพันธุ์
- คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็น พันธุ์รับรองเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2526









ลักษณะประจำพันธุ์
- เป็นข้าวสาลี สูงประมาณ 70 เซนติเมตร
- อายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 110 วัน
- ใบมีขนาดยาว ทรงกอตั้ง มุมของใบจากพื้นดินมากกว่า 60 องศา สีเขียวปานกลาง หูใบสีเขียวปานกลาง รวงมีหาง
- เมล็ดสีน้ำตาลแดง ขนาดปานกลาง รูปร่างป้อม มี % เมล็ดลีบ เมล็ดหักน้อยมาก น้ำหนัก 1,000 เมล็ด 41.4 กรัม
- เมล็ดมีขนาดยาว 6.44 มิลลิเมตร
- อัตราการสกัด เมล็ดเป็นแป้ง 72%
- มีปริมาณโปรตีนในเมล็ด 11.92%

ผลผลิต
- ประมาณ 450 กิโลกรัมต่อไร่


ลักษณะเด่น
- สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี
- โปรตีนค่อนข้างสูง
- ให้ผลผลิตสูง
- แป้งมีความยืดหยุ่นปานกลาง มีสีคล้ำ
- คุณภาพแป้งอยู่ในเกณฑ์ที่ใช้ทำขนมปังได้

ข้อควรระวัง
- ต้นเตี้ยเกินไป
- ไม่ต้านทานโรคราสนิมใบ

พื้นที่แนะนำ
- ภาคเหนือของประเทศไทย


http://www.brrd.in.th/rvdb/index.php?option=com_content&view=article&id=59:samoeng-2&catid=42:wheat&Itemid=65
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11563

ตอบตอบ: 27/01/2013 2:36 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

145.

ชื่อพันธุ์
- สะเมิง 1 (Samoeng 1)

ชนิด
- ข้าวสาลี ชนิดใช้แป้งทำขนมปัง

คู่ผสม
- Lerma Rojo64 / Sonora64

ประวัติพันธุ์
- ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างข้าวสาลีพันธุ์เลอร์มาโรโฮ64 กับ โซโนร่า64 โดยโครงการปรับปรุงพันธุ์ร่วมกันระหว่าง
สถาบันวิจัยเกษตรแห่งชาติเม๊กซิโก (INIA) กับศูนย์ปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดและข้าวสาลีนานาชาติ (CIMMYT) จน
ได้พันธุ์ผสมพันธุ์ดีชื่อ อิเนีย66 (INIA66) เป็นข้าวสาลีขนมปัง (Bread Wheat) ได้นำเข้ามาทดลองปลูก
ในประเทศไทยที่สถานีทดลองพืชสวนฝางจังหวัดเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ.2510 ต่อมาได้ปลูกทดลองที่สถานีทดลอง
ข้าวไร่และธัญพืชเมืองหนาวสะเมิง

การรับรองพันธุ์
- คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2526







ลักษณะประจำพันธุ์
- ต้นสูงประมาณ 80 – 90 เซนติเมตร
- อายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 115 วัน
- หูใบสีแดง รวงมีหาง ทรงกอราบ (มุมของใบจากพื้นดินน้อยกว่า 45 องศา)
- เมล็ดสีน้ำตาลแดงขนาดใหญ่ รูปร่างวงรี มีเปอร์เซ็นต์เมล็ดลีบ เมล็ดหักน้อยมาก น้ำหนัก 1,000 เมล็ด 42.3 กรัม
- เมล็ดมีขนาดยาว 7.25 มิลลิเมตร
- อัตราการสกัดเมล็ดเป็นแป้ง 70%
- มีอัตราโปรตีนในเมล็ด 11.82%

ผลผลิต
- ประมาณ 330 กิโลกรัมต่อไร่


ลักษณะเด่น
- สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี
- ค่อนข้างต้านทานโรคราสนิม
- แป้ง เมื่อนวดแล้วขึ้นดี มีความยืดหยุ่นดี
- คุณภาพใช้ทำขนมปัง และทำแป้งเอนกประสงค์ได้ดี

ข้อควรระวัง
- ต้นค่อนข้างเตี้ย

พื้นที่แนะนำ
- ภาคเหนือของประเทศไทย



http://www.brrd.in.th/rvdb/index.php?option=com_content&view=article&id=3:samoeng-1&catid=42:wheat&Itemid=65
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11563

ตอบตอบ: 27/01/2013 2:46 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

146.


ชื่อพันธุ์
- แพร่ 60 (Phrae 60)

ชนิด
- ข้าวสาลี ชนิดใช้แป้งทำขนมปัง

คู่ผสม
- S308 / BAIJO66 โดยที่ BAIJO66 = Sonora64 // Tezanos Pintos Precoz / Nainari60

ประวัติพันธุ์
- ข้าวสาลีแพร่ 60 เดิมคือ ข้าวสาลีพันธุ์ UP262 ซึ่งเป็นข้าวสาลีขนมปัง โดยมีการปรับปรุงพันธุ์ที่มหาวิทยาลัย
Pantnagar รัฐอุตรประเทศ (Uttar Pradesh)ประเทศอินเดีย เป็นลูกผสมระหว่างพันธุ์S308 และ BAIJO66
พันธุ์ BAIJO66 มาจากการผสม 3 ทางของพันธุ์ Sonora64 // Tezanos Pintos Precoz / Nainari60
ได้นำมาปลูกโดย CIMMYT ในปี พ.ศ. 2523–2524 ในชื่อพันธุ์ UP262 ในปี พ.ศ. 2528-2529 ทำการศึกษา
พันธุ์และปลูกเปรียบเทียบ ผลผลิตทั้งในสภาพนา และสภาพไร่ในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือรวมทั้ง
ปลูกทดลองหาระยะเวลา การปลูก ทดสอบอัตราปุ๋ย และทดสอบระบบการปลูกพืช ข้าว-ข้าวสาลี

การรับรองพันธุ์
- คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็น พันธุ์รับรองเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2530







ลักษณะประจำพันธุ์
- เป็นข้าวสาลี สูงประมาณ 85 เซนติเมตร
- อายุเก็บเกี่ยว 97 วัน
- ลำต้นสีเขียวตั้งตรง ใบค่อนข้างเรียว แผ่นใบกว้างปานกลาง สีเขียวเข้ม ก้านรวงตรง
- เมล็ดมีรูปร่างรูปไข่ สีเหลืองนวล น้ำหนัก 1,000 เมล็ด 42 กรัม
- ปริมาณโปรตีนในเมล็ด 10 – 11%

ผลผลิต
- ประมาณ 285 กิโลกรัมต่อไร่


ลักษณะเด่น
- ทนทานต่อสภาพอากาศร้อนและแห้งแล้งได้ดี
- เจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ
- ค่อนข้างต้านทานโรคราสนิมใบ
- เป็นแป้งชนิดเอนกประสงค์ แต่เหมาะสำหรับทำคุกกี้ ปาท่องโก๋ และโรตี

พื้นที่แนะนำ
- ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เหมาะสำหรับใช้ปลูกร่วมระบบข้าว ข้าวสาลี โดยปลูกตามหลังข้าวนาปี
และพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ



http://www.brrd.in.th/rvdb/index.php?option=com_content&view=article&id=57:phrae-60&catid=42:wheat&Itemid=65
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 5, 6, 7 ... 11, 12, 13  ถัดไป
หน้า 6 จากทั้งหมด 13

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©