-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร ทางรายการวิทยุ 16 MAR
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - หนุ่มน้อย อยากช่วยแม่ทำนา
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

หนุ่มน้อย อยากช่วยแม่ทำนา

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
ice
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 11/03/2012
ตอบ: 7

ตอบตอบ: 11/03/2012 11:45 am    ชื่อกระทู้: หนุ่มน้อย อยากช่วยแม่ทำนา ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีครับ ลุงคิม ผมเป็นคน ตำบลหวายเหนียว อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี


ที่บ้านแม่มีอาชีพทำนา มีนาอยู่ 20 ไร่ ทำนาโดยใช้สารเคมี มาโดยตลอด ทำให้มีต้นทุนในการทำนาสูง จนถึง
ไร่ละ 5,000 กว่าๆ แต่ผลผลิตข้าว ได้แค่ ประมาณ 17 เกวียนเองครับ ซึงนับวันต้นทุนต่อไร่ ยิงเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
แต่ผลผลิตก็เท่าเดิม ผมเลยอยากช่วยแม่ทำนาโดยไม่อยาก พึ่งพาสารเคมี และอยากได้ความรู้ที่ถูกต้อง ในการ
ทำนาแบบลดต้นทุน ใช้อินทรี นำเคมี


ตั้งแต่ก้าวแรกที่เหยียบลงนาเริ่มลงมือทำ จนถึงก้าวสุดท้ายกลับเข้าบ้านหลังขายข้าวเปลือกได้
เพื่อจะได้เป็น
แนวทาง ให้กับตัวเอง และชาวนาข้างเคียง ด้วยครับ



ขอบคุณลุงคิมครับ

"หนุ่มน้อยอยากช่วยแม่ทำนา"




.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
ice
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 11/03/2012
ตอบ: 7

ตอบตอบ: 11/03/2012 5:27 pm    ชื่อกระทู้: หนุ่มน้อยอยากช่วยแม่ทำนา ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เสริมนิดนึงครับ ตอนนี้ผมหว่านข้าวได้ 10 วันแล้วครับ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
cherm
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 17/11/2011
ตอบ: 237

ตอบตอบ: 12/03/2012 1:23 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีค่ะ หนุ่มน้อย

ยัยเฉิ่ม ขอเป็นกำลังใจ ในการทำนารูปแบบใหม่ ซึ่งการทำนาโดยใช้ อินทรีย์นำเคมีเสิรม นั้น เรื่องขอกำลังใจที่จะต่อสู้กับ
เสียงของคนข้างบ้านนั้น เป็นเรื่องที่ค่อนข้างลำบากมาก เพราะเค้าจะหวังดีกับเราตลอด ว่าต้องปุ๋ยเคมีเท่านั้น ถึงจะได้ผล ต้อง
หว่านข้าวหนาๆ ถึงจะได้กิน และอีกหลายๆอย่าง


ขอเป็นกำลังใจให้นะคะ
ยัยเฉิ่ม จะเป็นชาวนา



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
cherm
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 17/11/2011
ตอบ: 237

ตอบตอบ: 12/03/2012 3:38 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

บ้านของหนุ่มน้อย อยู่หวายเหนียว ก็ไม่ไกลกับไร่กล้อมแกล้มนี่คะ ประมาณ 800 กิโลเองนะคะ ก็สามารถที่จะปรึกษาลุงได้อย่างสบาย

หว่านข้าวได้ 10 วัน ก็ใช้สูตร "เลยตามเลย" ได้เลยนะคะ ยัยเฉิ่มก็ใช่สูตรนี้เหมือนกันคะ ซื้อพวกปุ๋ยชีวภาพกับฮอโมนได้ที่ไร่กล่อมแกล้มจะถูกเงินกว่าที่อืนนะคะ



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11557

ตอบตอบ: 12/03/2012 7:16 pm    ชื่อกระทู้: Re: หนุ่มน้อย อยากช่วยแม่ทำนา ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ice บันทึก:
สวัสดีครับ ลุงคิม

ตั้งแต่ก้าวแรกที่เหยียบลงนาเริ่มลงมือทำ จนถึงก้าวสุดท้ายกลับเข้าบ้านหลังขายข้าวเปลือกได้


"หนุ่มน้อยอยากช่วยแม่ทำนา"
.



จากคำพูด (เขียน) ประโยคนี้ พอจะเดาได้ว่า "คุณคงฟังรายการวิทยุมานานพอสมควร เพราะคำพูดนี้
ลุงคิมพูดแต่ในวิทยุเท่านั้น ยังไม่เคยเขียนลงในเน็ต...."


ในเมื่อคุณฟังรายการวิทยุมานานก็น่าจะได้ยินคำพูดอื่นบ้าง เช่น....

- ขายข้าวได้แสนนึง เหลือเงินเข้าบ้าน 40 บาท.....
- ข้าวนาหว่านต้นเท่าหลอดดูดยาคูลท์ ข้าวนาดำต้นเท่าหลอดดูดเฉาก๊วย....
- ดินต้องมาก่อน ดินต้องมาก่อน และดินต้องมาก่อน....

- ทำนาปีมีแต่หนี้กับฟาง ทำนาปรังมีแต่ฟางกับหนี้.....
- ข้าวต้นสูง (ยาว) รวงสั้น ข้างต้นเตี้ย (สั้น) รวงยาว.....
- โรงสีใหญ่กว่านายกรัฐมนตรี.....

- ทำนาได้ข้าวแต่ละที คิดขายแค่โรงสี กับ ธ.ก.ส. ไม่คิดแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่ม .....
- พืชทั่วโลกต้องการกินปุ๋ย 14 ตัว เรียกว่าปุ๋นครบสูตร เหมือนคนกินอาหารครบ 5 หมู่....
- ใส่ยูเรีย.ได้ N. ใส่ 16-20-0 ได้ N.กับ P. แม้จะใส่ 100 กส./ไร่ ก็ได้แต่ N. กับ P. เพียง 2 ตัวเท่านั้น ....

- ยูเรีย.ล่อเพลี้ยกระโดด....
- ยูเรีย + 16-20-0 ทำให้ข้าวลีบ เป็นท้องปลาซิว ข้าวป่น ไม่ใส ไม่แกร่ง น้ำหนักไม่ดี.....
- ข้าวต้องการปุ๋ย 3:1:1 เพียง 10 กก.ธาตุหลัก/ไร่ นอกนั้นต้องการธาตุรอง/ธาตุเสริม/ฮอร์โมน และอื่นๆ ....

- ธรรมชาติของต้นข้าวตอบสนองต่อปุ๋ยทางใบได้ดีกว่าปุ๋ยทางราก .....
- ต้นข้าวตั้งแต่เกิดถึงเกี่ยว ใช้ปุ๋ยธาตุหลัก 18 กก. ปุ๋ยจำนวนนี้ติดไปกับข้าวเปลือก 2 กก. ที่เหลืออีก 16 กก.อยู่กับฟาง .....
- ให้ปุ๋ยทางใบ 7 วัน/ครั้ง ดี .... ให้ 10 วัน/ครั้ง พอได้ .... ให้ 15 วัน/ครั้ง พอลุ้น.....ให้ 30 วัน/ครั้ง อย่าทำแม่ง.เลย

- ข้าวเป็นพืชที่มีศัตรูพืชมากที่สุดในบรรดาพืชด้วยกัน ในหนังสือศัตรูข้าวหนากว่า 200 หน้า ๆละ 1 รายการศัตรู .....
- ยาฆ่ายาคุมหญ้า ทำให้ต้นข้างชะงัก (งัน) การเจริญเติบโต 7-10 วัน
- ยาฆ่ายาคุมหญ้าทำได้แค่ใบไหม้ พอต้นข้าวเริ่มออกรวง ต้นหญ้าสูงแซงต้นข้าว......

- รัฐหลุยเซียร์น่า สหรัฐ อเมริกา รัฐนี้รัฐเดียวใหญ่กว่าประเทศไทย ปลูกข้าวทั้งรัฐ ข้าวหอมแจ๊สแมน กำเนิดที่นี่ ชาวนาหลุยเซียร์น่าทำนาไม่เผาฟาง เป็นนาแบบ อินทรีย์นำ-เคมีเสริม-ตามความเหมาะสมของต้นข้าว ทำมานานนับ 100 ปีแล้ว จึงให้สงสัยว่า คนไทยที่ไปเรียนอเมริกา นักวิชาการ นักการเมือง ไปดูงาน เขาไปเรียนไปดูอะไรกัน.....

- ศ.ดร.สอนในมหาวิทยาลัยเกษตร ยังปล่อยให้ พ่อแม่ญาติพี่น้อง ในหมู่บ้านตัวเองเผาฟาง.....

- ทำนาข้าวตามใจข้าว ไม่ใช่ตามคนขายปุ๋ย.....
- ห้ามเชื่อข้างบ้าน ห้ามเชื่อคนขายปุ๋ย แต่ให้เชื่อคนในกระจก.....
- ทำตามคนที่ล้มเหลวจะล้มเหลวยิ่งกว่า ทำตามคนที่สำเร็จจะสำเร็จยิ่งกว่า....
- ทำอย่างเดิมจะล้มเหลวยิ่งกว่าเดิม.....

- .................. ฯลฯ ..........................



ยังไม่สายเกินไปถ้าจะเข้ามาสู่แนวทางที่ถูกต้อง แม่นสูตร-แม่นหลักการ

จงคิดอยู่เสมอว่า ทำอย่างไร ทุกอย่างจึงจะ ดี/ดีขึ้น/ดีกว่า/ดีที่สุด/เหนือกว่าดีที่สุด จากที่เป็นอยู่ขณะนี้

พ่อแม่เลี้ยงเรามา ส่งเสียเราเรียน จนเป็นหนี้เป็นสิน ลำยากแสนสาหัส ถึงวันนี้เป็นหน้าที่ของคนเป็นลูกที่ต้องกอบกู้สถานะครอบครัว ล้างหนี้ เอาโฉนคืนมา หาโฉนดเพิ่ม

พ่อแม่ไม่ได้ร่ำเรียนมาจึงไม่แปลกที่ท่านไม่รู้ แต่เมื่อเราเคยร่ำเคยเรียนมา อาจารย์ที่โรงเรียนได้สอน "วิธีเรียน" (เน้นย้ำ....วิธีเรียน) ให้แล้ว เมื่อจะทำการเกษตรแม้ไม่ได้เรียนวิชาการเกษตรมาโดยตรง แต่รู้วิธีเรียนมาแล้ว ก็เรียนด้วยตัวเอง เรียนแบบ "ปฏิบัติ นำ - ทฤษฎีวิชาการ เสริม" ก็ได้




.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 13/03/2012 9:04 pm, แก้ไขทั้งหมด 4 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11557

ตอบตอบ: 13/03/2012 7:37 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การคิดเชิงวิจารณญาณ (critical thinking)

เป็นกระบวนการทางจิตสำนึกเพื่อวิเคราะห์ หรือ ประเมินข้อมูล ในคำแถลง หรือ ข้อเสนอที่มีผู้แถลงหรืออ้างว่าเป็นความจริง การคิดเชิงวิจารณญาณเป็นรูปแบบของกระบวนการที่สะท้อนให้เห็นความหมายของคำแถลง (statement) และการตรวจสอบหลักฐานที่ได้รับการไต่ตรองด้วยเหตุและผล แล้วจึงทำการตัดสินคำแถลงหรือข้อเสนอที่ถูกอ้างว่าเป็นความจริงนั้น

การคิดเชิงวิจารณญาณอาจทำได้จากการรวบรวมข้อมูล การสังเกตการณ์ ประสบการณ์ หลักแห่งเหตุและผล และ/หรือการสื่อความ การคิดเชิงวิจารณญาณต้องมีพื้นฐานของคุณค่าเชิงพุทธิปัญญาที่สูงเลยไปจากการเป็นเพียงการแบ่งเนื้อหาที่รวมไปถึง ความกระจ่างชัด ความแม่นยำ ความต้องตรงเนื้อหา หลักฐาน ความครบถ้วนและความยุติธรรม

ความหมายหรือนิยามการคิดเชิงวิจารณญาณมีมากมายและหลากหลาย แต่ส่วนใหญ่ไปในแนวเดียวกันคือการใช้เหตุผล หลักฐานและตรรกะมาวิเคราะห์ให้แน่ชัดก่อนลงความเห็นหรือตัดสิน

พระพุทธเจ้าได้ใช้วิธีการสอนที่อาจนับเป็นการคิดเชิงวิจารณญาณที่เรียกว่า "ปุจฉาวิสัชนา" ด้วยการให้พระสงฆ์ใช้ "วิจารณญาน" ถามตอบซักไซ้ไล่เลียงค้านกันไปมาจนได้คำตอบซึ่งอาจถือได้ว่าเป็นการคิดเชิงวิจารณญาณ โดยทรงให้หลักแห่งความเชื่อที่ไม่งมงายไว้ในพระสูตรชื่อ กาลามสูตร


ศัพท์มูลวิทยา
คำว่า "critical thinking" นับเป็นคำใหม่ที่เพิ่งนำมาใช้ไม่นานมานี้ด้วยความหมายดังข้างต้น ดังนั้น จึงยังเป็นที่ถกเถียงกันว่าควรใช้ว่า"การคิดเชิงวิจารณญาณ" "การคิดเชิงวิจารณ์" หรือ "การคิดเชิงวิพากษ์" ตามความหมายของพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายของคำ "วิพากษ์" ว่าเป็นการตัดสินหรือการพิพากษา แต่ในขณะเดียวกัน นิยามของ "critical thinking" ในบทความนี้บ่งว่าไม่ใช่การตัดสิน แต่เป็นความเห็นสรุปที่สมเหตุผลที่สุด ณ ขณะนั้นที่พร้อมที่จะเปลี่ยนได้ตามข้อมูลใหม่ที่วิเคราะห์ถูกต้องมาหักล้างได้เสมอ ดังนั้น บทความนี้จึงใช้วลี "การคิดเชิงวิจารณญาณ" ไปก่อน

ภาพรวม
ภายใต้กรอบแห่ง “ความน่าสงสัย” (skepticism) กระบวนการคิดเชิงวิจารณญาณเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับการสืบหาข้อมูลและการประเมินข้อมูลเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อสรุปหรือคำตอบที่เชื่อถือได้ การคิดเชิงวิจารณญาณประกอบด้วย “ตรรกะที่ไม่เป็นทางการ” (informal logic) ผลการวิจัยด้านการรับรู้เชิงจิตวิทยา (cognitive psychology) ทำให้นักการศึกษาเริ่มเชื่อมากขึ้นว่าสถาบันการศึกษาทุกแห่งควรเน้นการสอนทักษะการคิดเชิงวิจารณญาณให้มากขึ้นแทนการสอนให้เรียนรู้แบบท่องจำ

กระบวนการของการคิดเชิงวิจารณญาณสามารถตอบสนองประเด็นและสถานการณ์ได้หลายๆ อย่างและทำให้เราสามารถสืบเสาะหาสิ่งเชื่อมโยงระหว่างกันได้ด้วย ดังนั้น การคิดเชิงวิจารณญาณจึงเป็นตัวสร้างระบบช่องความคิดต่างๆ ที่สัมพันธ์กับความรู้ เช่น วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ ประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยาเศรษฐศาสตร์ หลักเหตุผลทางศีลธรรม และปรัชญา


เราอาจแบ่งการคิดเชิงวิจารณญาณได้เป็นสองลักษณะได้แก่
ชุดของทักษะการรับรู้ (cognitive skill) และ ความสามารถและการใช้ทักษะนั้นๆ เพื่อเป็นแนวทางแห่งประพฤติกรรม

การคิดเชิงวิจารณญาณไม่เป็นเพียงการหาและการเก็บรวบรวมข้อมูล หรือการเป็นเพียงผู้มีทักษะแต่ไม่ได้ใช้อย่างสม่ำเสมอ การคิดเชิงวิจารณญาณจึงไม่ใช่เป็นเพียงการฝึกฝนทักษะเพื่อการไม่ยอมรับรองผลเพียงอย่างเดียว


กรรมวิธีของการคิดเชิงวิจารณญาณ
การคิดเชิงวิจารณญาณมีขั้นตอนการคิดที่มีประโยชน์ดังนี้
- การจำแนกความเห็นในประเด็นปัญหาจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องและการจัดเก็บข้อโต้แย้งที่มีตรรกะที่สนับสนุนในแต่ละฝ่าย
- แตกข้อโต้แย้งออกเป็นส่วนๆ ตามเนื้อหาของคำแถลงและดึงเอาเนื้อหาส่วนเพิ่มเติมที่มีความหมายตรงนัยของคำแถลง
- ตรวจสอบคำแถลงและความหมายตามนัยเหล่านี้เพื่อหาความขัดแย้งในตัวเอง
บ่งชี้เนื้อหาการอ้างที่ขัดแย้งกันในบรรดาข้อถกเถียงต่างๆ ที่มีแล้วจึงใส่น้ำหนักหรือคะแนนให้ข้ออ้างนั้นๆ
- เพิ่มน้ำหนักเมื่อข้ออ้างมีหลักฐานสนับสนุนที่เด่นชัด โดยเฉพาะการมีเหตุมีผลที่สอดคล้องกัน หรือมีหลักฐานจากแหล่งใหม่ๆ หลายแหล่ง ลดน้ำหนักเมื่อข้ออ้างมีความขัดแย้งกัน
- ปรับน้ำหนักขึ้นลงตามความสอดคล้องของข้อมูลกับประเด็นกลาง จะต้องมีหลักฐานสนับสนุนที่เพียงพอสำหรับใช้ในการตัดสินข้ออ้างที่ไม่น่าเชื่อถือ หรือมิฉะนั้น จะต้องไม่นำประเด็นการกล่าวอ้างดังกล่าวมาประกอบการตัดสิน ประเมินน้ำหนักด้านต่างๆ ของข้ออ้าง
- ผังมโนภาพ (Mind maps) เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสำหรับการจัดรูปและการประเมินค่าข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ในขั้นสุดท้าย เราอาจกำหนดน้ำหนักเป็นตัวเลขสำหรับแต่ละแขนงของแผนที่ในใจ

การคิดเชิงวิจารณญาณไม่ใช่สิ่งที่ใช้ประกันว่าได้บรรลุถึงความจริง หรือ ข้อสรุปที่ถูกต้องแล้ว ประการแรก เราอาจไม่สามารถหาข้อมูลที่ถูกต้องได้ ซึ่งโดยข้อเท็จจริงแล้ว ข้อมูลที่มีความสำคัญอาจยังไม่มีการค้นพบ หรือยังเป็นข้อมูลที่ยังไม่มีใครรู้ว่าเป็นอะไร ประการที่สอง ความลำเอียงของคนการปิดบังหรือถ่วงประสิทธิภาพในการเก็บ ประเมินข้อมูลที่มีอยู่แล้ว

การเอาชนะความลำเอียง
เพื่อลดความลำเอียง ผู้คิดจะต้องมีมาตรการต่างๆ เพื่อใช้ในกระบวนการของการคิดเชิงวิจารณญาณ แทนที่จะตั้งคำถามว่า “เรื่องนี้มีประเด็นที่ค้านกับความเชื่อของเราหรือไม่” ควรถามว่า “ประเด็นนี้มีความหมายอย่างไร”

ในขั้นแรกๆ ของการเก็บรวบรวมและประเมินข้อมูล สิ่งแรกสุดที่ผู้คิดจะต้องทำคือ “การไม่ด่วนตัดสิน” (เหมือนที่ทำในการอ่านนิยายหรือดูภาพยนตร์) วิธีการนี้รวมถึงการสำเหนียก (perceptive) มากกว่าการตัดสิน (judgmental) นั่นคือการหลีกเลี่ยงการเลื่อนไหลจากใช้การมองกว้างไปสู่การตัดสิน ในคำเทคนิคของ "เอ็ดเวิร์ด เดอโบโน ในหมวกความคิด 6 ใบ” ใช้ หมวกขาว หรือหมวกน้ำเงิน สำหรับการคิด และชะลอการคิดแบบหมวกดำ ไว้ในระยะหลัง


เราพึงตระหนักถึงข้อข้อผิดพลาดที่มักเกิดขึ้นกับตนเองได้แก่
การยอมรับว่าทุกคนมีความลำเอียงอยู่ในจิตใต้สำนึก และมักจะตั้งคำถามที่จะนำไปสู่การตัดสินที่นึกไว้แล้ว ยอมรับการไร้อัตตา และควรตั้งทีท่าเป็นคนถ่อมตัว
ย้อนนึกถึงความเชื่อมั่นเดิมๆ ที่เคยมีและถูกหักล้างไปด้วยจริงหรือความถูกต้อง
ยอมรับว่าทุกคนยังมี จุดบอด อยู่มากทั้งๆ ที่รู้แล้ว เราจะขจัดความลำเอียงได้อย่างไร ทั้งๆ ที่ยังไม่รู้ว่าอะไรเป็นอะไร คำตอบที่เป็นไปได้อาจเป็นได้ว่า ด้วยการอิงการคิดเชิงวิจารณญาณไว้กับ “แนวคิดมนุษย์” (concept of man – Erich Fromm) ซึ่งอาจทำให้เห็นการคิดเชิงวิจารณญาณและการสร้างสมจรรยาบรรณที่มั่นคงสร้างองค์รวมทั้งหมดขึ้นมา แต่เป็นองค์รวมซึ่งยังคงจำกัดอยู่ ยังขาดการสนับสนุนจากแนวคิดของมวลมนุษย์

ในท้ายที่สุด อาจต้องใช้คำถามแบบโสกราตีส และ กรรมวิธีโสกราตีส (Socratic method) สำหรับการประเมินข้อขัดแย้งที่ถามคำถามแบบเปิด เช่น


สิ่งนี้มีความหมายว่าอย่างไร.....
- ข้อสรุปได้มาอย่างไร
- เชื่อได้อย่างไรว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้อง
- แหล่งข้อมูลที่ใช้มาจากใหน
- ถ้าผิดจะเกิดอะไรขึ้น
- ให้บอกแหล่งหรือบุคคลอ้างอิงที่เห็นแย้งพร้อมกับคำอธิบายสักสองราย
- ทำไมประเด็นนี้จึงมีความสำคัญ
- จะรู้ได้อย่างไรว่าคนๆ นั้นพูดความจริง
- คำอธิบายที่เป็นทางเลือกอื่นสำหรับประเด็นนี้มีอะไรบ้าง



การมุ่งสู่การสรุป
มุมมองที่เป็นประโยชน์ในการคิดเชิงวิจารณญาณเกี่ยวพันถึง “ใบมีดโกนของอ็อกแคม” (Occam's Razor) หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “หลักการแห่งความตระหนี่ถี่ถ้วน” ซึ่งกล่าวไว้ว่าเราไม่ควรตั้งสมมุติฐานมากเกินความจำเป็น หรืออีกนัยหนึ่งคือ “การทำให้เรียบง่าย” โดยธรรมชาติของกระบวนการ การคิดเชิงวิจารณญาณไม่มีความเป็นที่สิ้นสุด เราอาจมาถึงข้อสรุปเบื้องต้นได้หากมีการประเมินหลักฐานมาแล้ว อย่างไรก็ดี ข้อสรุปทุกครั้งควรจะต้องเปิดช่องให้มีการประเมินได้อีกเมื่อมีข้อมูลเพิ่มเติม

การคิดเชิงวิจารณญาณในห้องเรียน
ในระบบการศึกษาของประเทศอังกฤษมีการกำหนดการคิดเชิงวิจารณญาณไว้เป็นวิชาเรียนสำหรับนักเรียนวัย 17-18 ปี ซึ่งนักเรียนสามารถเลือกสอบในหัวเรื่อง “ความเป็นที่น่าเชื่อถือได้ของหลักฐาน” (Credibility of Evidence) หรือ “การประเมิน/การสร้างข้อโต้เถียง” (Assessing/Developing Argument) นักเรียนทั่วไปถือว่าวิชาในส่วนนี้สนุกและเป็นประโยชน์เพราะสามารถรู้เรื่องและปฏิบัติได้หลังการเข้าเรียนเพียงไม่กี่ครั้ง

สำหรับประเทศไทยในปัจจุบัน เป็นที่ยอมรับกันว่าทักษะการคิดเชิงวิจารณญาณของประชาชนโดยรวมลดลงมาก ประชาชนถูกชักจูงและหลงเชื่อการบอกเล่าหรือเชื่อปรากฏการณ์เหนือธรรมชาติได้ง่าย แม้ส่วนใหญ่จะนับถือพุทธศาสนาแต่ก็มิได้ตระหนักถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าที่สอนให้คิดเชิงการคิดเชิงวิจารณญาณ คือ ปุจฉาวิสัชนา และการสอนไม่ให้เชื่อในสิ่ง "เขาว่ามา" ให้สืบสวนไต่ตรองให้รอบคอบก่อนจึงค่อยเชื่อ การสอนการคิดเชิงวิจารณญาณในโรงเรียนชั้นมัธยมปลายดังที่ประเทศอังกฤษปฏิบัติอยู่จึงน่าจะเป็นสิ่งจำเป็นรีบด่วน

คำคม
วิลเลี่ยม แกรแฮม ซัมเนอร์ ได้เสนอข้อสรุปที่เป็นประโยชน์ยิ่งเกี่ยวกับการคิดเชิงวิจารณญาณ

การคิดเชิงวิจารณญาณคือการตรวจสอบและการทดสอบประเด็นของคำเสนอทุกประเภทที่ผ่านเข้ามาขอการยอมรับ เพื่อดูว่าคำเสนอนั้นตรงกับความเป็นจริงหรือไม่ ความสามารถในการคิดเชิงวิจารณญาณเป็นผลที่เกิดจากการศึกษาและการฝึกฝน จนเป็นนิสัยและเป็นพลังทางใจ การคิดเชิงวิจารณญาณเป็นเงื่อนไขสำคัญแห่งความผาสุขของปวงชน เป็นสิ่งมนุษย์ทั้งหญิงและชายพึงฝึกฝนให้ชำนาญ การคิดเชิงวิจารณญาณคือหลักประกันที่สามารถปกป้องการบิดเบือน การหลงละเมอ การหลอกลวง การเชื่อผีสางและการหลงผิดของเราและสิ่งล้อมรอบตัวเรา




คำวิจารณ์ มิอาจตัดสินคน
— ขงจื๊อ
ไม่มีประโยชน์ที่จะไปโทษกระจกเงา ใบหน้าของท่านต่างหากที่ขี้เหร่

— นิรนาม
การคิดเชิงวิจารณญาณได้รับการยอมรับว่ามีความสำคัญในการพัฒนาบุคลากรระดับสูงของประเทศต่างๆ ทั่วโลกเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในโลกาภิวัฒน์ ทุกประเทศตื่นตัวนำการคิดเชิงวิจารณญาณบรรจุเป็นวิชาหรือส่วนของการเรียนการสอนในหลักสูตรการศึกษาตั้งแต่ชั้นระดับประถมถึงอุดมศึกษา

ด้วยกระแสแห่งความการยอมรับที่แพร่หลาย นิยามของการคิดเชิงวิจารณญาณจึงหลากหลาย ข้อความข้างล่างนี้คือนิยามที่รวบรวมจากแหล่งต่าง ที่มาของนิยามปรากฏตามโยงที่อยู่ที่ท้ายของแต่ละนิยาม


นิยามของการคิดเชิงวิจารณญาณ
โดยที่แนวคิดเกี่ยวกับการคิดเชิงวิจารณญาณเพิ่งเป็นที่แพร่หลายและมีความสำคัญต่อสังคมแห่งโลกไร้พรมแดนมากขึ้นเป็นลำดับ จึงมีผู้เขียนหนังสือและมีการเปิดสอนวิชานี้อย่างแพร่หลายตามมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั่วโลก ดังนั้นความหมายและนิยามของ "การคิดเชิงวิจารณญาณ" จึงมีความหลากหลายดังนิยามที่ได้รวมรวมไว้ข้างล่างนี้ ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ศึกษาเห็นภาพที่กว้างขึ้น แหล่งที่มาได้ให้ไว้ที่ท้ายของแต่ละนิยามแล้ว

การคิดเชิงวิจารณญาณหมายถึง ชนิดของกิจกรรมทางจิตที่แจ่มแจ้ง แม่นยำและมีความมุ่งหมายที่ชัดเจน ปกติจะเกี่ยวโยงกับการแก้ปัญหาที่ซับซ้อนในโลกของความเป็นจริง เป็นการสร้างทางแก้ปัญหาเชิงซ้อน เป็นการหยิบยกความแตกต่าง การสังเคราะห์และบูรณาการข้อมูลข่าวสาร ชูความแตกต่างระหว่างข้อเท็จจริงกับความเห็น หรือการอนุมาณศักยภาพของผลที่จะตามออกมา แต่การคิดเชิงวิจารณญาณยังโยงไปถึงกระบวนการประเมินคุณภาพในความคิดของตนเองได้ด้วย

การคิดเชิงวิจารณญาณหมายถึง ความสามารถในการประเมินข้อมูลและความเห็นอย่างมีระบบ มีเป้าหมายที่ชัดเจนและถูกต้องและด้วยวิธีการที่มีประสิทธิภาพ

การคิดเชิงวิจารณญาณ คือ เครื่องมือที่จำเป็นยิ่งยวดเพื่อการตัดสินหรือลงความเห็นด้ววิธีสืบเสาะ กำหมดเป้าหมายที่ถูกต้องชัดเจนและการบังคับตนเองไม่ให้ถูกชักจูง เพื่อให้ได้มาซึ่งการแปลความหมาย การวิเคราะห์ การประเมินและการลงความเห็นตลอดจนการอธิบายพยานหลักฐานหรือสิ่งอ้างอิง แนวคิด วิธีการ การกำหนดกฎเกณฑ์หรือบริบทของข้อพิจารณาที่เป็นที่มาของข้อสรุป ความเห็น หรือข้อตัดสิน

การคิดเชิงวิจารณญาณ คือ กระบวนการรับรู้ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการสะท้อนความคิดและการอดทน (ต่อการหาความกระจ่าง) ในความคลุมเครือไม่ชัดเจนซึ่งมีลักษณะประจำดังนี้
- มีวินัยและชี้นำตนเอง
- หันเหไปทางการสืบค้น วิเคราะห์และวิจารณ์
- ใช้วิธีแก้ไขปัญหาแบบหลายมิติและหลายตรรกะมากกว่าการแก้แบบมิติเดียว ตรรกะเดียว หรือ ใช้ความรู้คิดยาวไปทางเดียว จะต้องใช้ความสามารถสร้างทางเลือกหลายทางที่นำไปสู่การชั่งใจตัดสินที่ปราศจากการเอนเอียง

การคิดเชิงวิจารณญาณ คือ การสะท้อนความคิดที่มีเหตุผลโดยการพุ่งประเด็นไปเน้นที่การตัดสินใจที่จะเชื่อหรือตัดสินใจที่จะกระทำในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง กล่าวให้ชัดก็คือการประเมินในความจริง ความแม่นยำ และ/หรือคุณค่าของความรู้หรือข้อถกเถียงที่ได้รับ ในการนี้ต้องการการวิเคราะห์ความรู้หรือความเชื่อที่ได้รับรู้มาอย่างระมัดระวัง ตรงจุด เกาะติดและเป็นรูปธรรมที่มีเหตุผล เพื่อให้สามารถตัดสินได้ว่าสิ่งนั้นๆ จริงหรือมีคุณค่าจริงหรือไม่


การคิดเชิงวิจารณญาณ คือ กระบวนการประเมินข้อเสนอหรือสมมุติฐานที่ได้รับแล้วทำการไตร่ตรองตัดสินบนพื้นฐานแห่งพยานหลักฐานที่นำมาสนับสนุน ตัวอย่าง: พิจารณาตาม 5 ขั้นตอนของการคิดเชิงวิจารณญาณ

- เรากำลังถูกบอกให้เชื่อหรือยอมรับอะไร ?
- สมมุติฐานในเรื่องนี้คืออะไร ?
- มีพยานหลักฐานใดที่ใช้สนับสนุนในเรื่องนี้ ?

- หลักฐานนี้เชื่อถือได้และหนักแน่นแล้วหรือ ?
- มีทางเลือกอื่นใดอีกหรือไม่สำหรับใช้ในการตีความพยานหลักฐานนี้
- มีหลักฐานเพิ่มเติมอื่นใดอีกหรือไม่ที่จะนำมาช่วยประเมินทางเลือกเหล่านั้น
- ข้อสรุปใดที่มีเหตุผลมากที่สุดตามพยานหลักฐานและคำอธิบายของทางเลือก



การคิดเชิงวิจารณญาณ คือ การเจาะมุ่งเฉพาะจุด การจัดรูปความคิดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ อย่างมีความสัมพันธ์กันในระหว่างความคิดต่างๆ ในหลักฐานที่แน่ชัดและในความแตกต่างระหว่างข้อเท็จจริงกับความเห็น

การคิดเชิงวิจารณญาณ คือ ความมุ่งมั่นยึดติดกับการตรวจสอบหลักฐานที่สนับสนุนความเชื่อ ทางแก้ปัญหา หรือข้อสรุปการยอมรับ การคิดเชิงวิจารณญาณหมายถึงความสามารถในการคิดอย่างกระจ่าง การวิเคราะห์และการมีให้เหตุผลอย่างมีตรรกะ

การคิดเชิงวิจารณญาณ คือ การแสดงให้เห็นถึงหรือความต้องการการวิเคราะห์อย่างระมัดระวังก่อนการตัดสิน

การคิดเชิงวิจารณญาณ คือ การให้เหตุผลและการวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ ที่รวมถึงการตะล่อมและการมีตรรกะในของการคิดที่อยู่ในระดับสูง

การคิดเชิงวิจารณญาณ คือ การเก็บเกี่ยวทักษะเชิงวิเคราะห์ที่จะช่วยให้นิสิตนักศึกษามีความสามารถในการแก้แนวคิดหรือปัญหาต่างๆ ที่ซับซ้อนได้

การคิดเชิงวิจารณญาณ คือ เซทที่ซับซ้อนของทักษะการรับรู้ที่ต้องใช้ในการแก้ปัญหาและการพิจารณาสิ่งต่างๆ อย่างมีปัญญาและนวัตกรรม

การคิดเชิงวิจารณญาณ คือ กระบวนการที่ท้าทายให้บุคคลใช้การไตร่ตรอง เหตุผล การคิดอย่างมีหลักเพื่อรวบรวม แปลความหมายและประเมินข้อมูลข่าวสารเพื่อให้สามารถตัดสิน กระบวนการนี้เกี่ยวข้องกับการคิดที่ล่วงเลยไปมากกว่าการให้เหตุผลเพียงอันเดียวสำหรับนำมาใช้ในการตัดสินว่าทางเลือกใดเหมาะสมที่สุด

การคิดเชิงวิจารณญาณ คือ ทักษะที่สำคัญที่สุดสำหรับการศึกษาในมหาวิทยาลัยและสถาบันที่สูงกว่านั้น เป็นการค้นหาความหมายที่อยู่เบื้องใต้ของคำแถลง กวีนิพนธ์ บทบรรณาธิการ รูปภาพ การโฆษณา หรือข้อเขียนใดๆ ด้วยการใช้การวิเคราะห์ นักคิดเชิงวิจารณ์จะแยกคำแถลงหรือข้อเขียนนั้นออกเป็นส่วนๆ เพื่อค้นหาความหมาย ความสัมพันธ์และสมมุติฐานอาจอาจถูกฝังไว้ในนั้นต่อไป

การคิดเชิงวิจารณญาณคือหนทางแห่งการตัดสินที่ต้องใช้การไตร่ตรองอย่างระมัดระวังว่าจะยอมรับ บอกปัดหรือพักคำแถลงนั้นไว้ก่อน

การคิดเชิงวิจารณญาณ คือ กระบวนการที่มีเหตุผลและที่สะท้อนถึงการชั่งใจตัดสินในสิ่งต่างๆ กระบวนการนี้ให้ความสำคัญในความเป็นเอกเทศและกึ่งเอกเทศในการตัดสินใจ การคิดเชิงวิจารณญาณยังรวมถึงความสามาถในการจัดการกับความคลุมเครือซึ่งเป็นสิ่งที่มีประจำในบทบาทและประสบการณ์ของมนุษย์ทั่วไป


การคิดเชิงวิจารณญาณ คือ กระบวนการที่มีระบบการใช้ปัญญาเพื่อการวางแนวความคิด การประยุกต์ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์และ/หรือประเมินข้อมูลด้วยทักษะที่กระตือรือล้นด้วยการสังเกต การเข้าไปมีประสบการณ์ การสะท้อนกลับ การให้เหตุผลและ/หรือด้วยการสื่อ เพื่อใช้เป็นแนวทางไปสู่ความเชื่อหรือการปฏิบัติ

การคิดเชิงวิจารณญาณไม่ใช่การเสาะหาหรือการคงไว้ซึ่งข้อมูลแบบธรรมดาทั่วไป ไม่ใช่เป็นการพัฒนาเซทเฉพาะของทักษะ และ/หรือการประยุกต์ทักษะเหล่านั้นซ้ำๆ โดยปราศจากประเมินผลลัพธ์เชิงวิจารณ์

การคิดเชิงวิจารณญาณครอบคลุมถึงองค์ประกอบของเหตุผลทั้ง 8 นั่นคือ ความมุ่งหมาย จุดความเห็น คำถามของประเด็น ข้อมูลข่าวสาร การแปลความหมายและการอนุมาน แนวคิดหรือมโนทัศน์ ข้อสมมติ การชี้บ่งเป็นนัยและผลที่จะตามมา

การคิดเชิงวิจารณญาณ คือ กระบวนการทางจิตที่ใช้ในการวิเคราะห์หรือประเมินข้อมูล ข้อมูลดังกล่าวอาจเก็บรวบรวมจากการสังเกตการณ์ ประสบการณ์ การใช้เหตุผล หรือจากการสื่อความ การคิดเชิงวิจารณญาณมีพื้นฐานของมันเองทางคุณค่าแห่งพุทธิปัญญาที่ล้ำลึกไปจากการแบ่งเรื่องราวโดยรวมถึง ความกระจ่างแจ้ง ความแม่นยำ การมีพยานหลักฐาน การครบถ้วนและการมีความยุติธรรม



หน้านี้แก้ไขล่าสุดเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2555 เวลา 21:15 น.
อนุญาตให้เผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ แบบแสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน อาจใช้เงื่อนไขอื่นร่วมด้วย ดูรายละเอียดเงื่อนไขการใช้งาน
Wikipedia® เป็นเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของมูลนิธิวิกิมีเดีย องค์กรไม่แสวงผลกำไร



http://th.wikipedia.org


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 20/06/2017 7:29 pm, แก้ไขทั้งหมด 4 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11557

ตอบตอบ: 13/03/2012 7:43 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ก ร ะ บ ว น ก า ร คิ ด



ความจำเป็นที่ต้องพัฒนากระบวนการคิด/ ความสามารถในการคิด
การรู้จักคิดหรือคิดเป็นเป็นองค์ประกอบที่สำคัญยิ่งของการดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง คิดเป็นช่วยให้ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น ดูเป็นฟังเป็น กินเป็น ใช้เป็น บริโภคเป็น คบหาสมาคมเป็น และการคิดทำให้คนฉลาด

การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียน ให้มีความสามารถทางด้านการคิด วิเคราะห์เป็นไปตามกรอบ กฎหมาย หลักสูตร ดังนี้

พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ. ศ. 2542 มาตรา 24 การจัดกระบวนการเรียนรู้ ให้ สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง...ฝึกทักษะกระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์ และการประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา....จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็น ทำเป็น รักการอ่านและเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง

หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544 กำหนดจุดหมายของหลักสูตร เป็นคุณลักษณะของผู้เรียน... ข้อ 2 มีความคิดสร้างสรรค์ ใฝ่รู้ใฝ่เรียน รักการอ่าน รักการเขียนและรักการค้นคว้า ...ข้อ 4 มีทักษะและกระบวนการโดยเฉพาะทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ทักษะการคิด การสร้างปัญญาและทักษะในการดำเนินชีวิต กำหนดเกณฑ์การผ่านช่วงชั้นและการจบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ข้อ 2).ผู้เรียนต้องผ่านการประเมินการอ่าน คิด วิเคราะห์ และเขียนให้ได้ตามที่สถานศึกษากำหนด

มาตรฐานการศึกษาชาติ ด้านผู้เรียน ...มาตรฐานที่ 4 มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ มีวิจารณญาณ มีความคิดสร้างสรรค์ คิดไตร่ตรอง และมีวิสัยทัศน์ เป็นมาตรฐานที่ผลการประเมินคุณภาพต่ำกว่ามาตรฐานอื่น


ความหมายของการคิด
การคิด เป็นกลไกของสมองที่เกิดขึ้นตลอดเวลาซึ่งเป็นไปตามธรรมชาติของมนุษย์ที่ใช้ในการสร้างแนวความคิดรวบยอดด้วยการจำแนกความแตกต่าง การจัดกลุ่มและการกำหนดชื่อเรื่องเกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่ได้รับ กระบวนการที่ใช้ในการแปลความหมายของข้อมูล รวมถึงการสรุปอ้างอิงด้วยการจำแนกรายละเอียด การเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของข้อมูลที่ได้รับ ซึ่งข้อมูลที่นำมาใช้อาจจะเป็นความจริงที่สัมผัสได้ หรือเป็นเพียงจินตนาการที่ไม่อาจสัมผัสได้ ตลอดจนเป็นกระบวนการที่เกี่ยวกับการนำกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ไปประยุกต์ใช้ได้อย่างมีเหตุผลและเหมาะสม การคิดเป็นผลที่เกิดขึ้นจากการที่สมองถูกรบกวนจากสิ่งแวดล้อม สังคมรอบตัว และประสบการณ์ดั้งเดิมของมนุษย์

การคิด เป็นกระบวนการของสมองโดยใช้ประสบการณ์มาสัมผัสกับสิ่งเร้าและข้อมูล หรือสิ่งแวดล้อมเพื่อแก้ปัญหา แสวงหาคำตอบ ตัดสินใจหรือสร้างสรรค์สิ่งใหม่
การคิด เป็นพฤติกรรมที่เกิดในสมองเป็นนามธรรม ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า การที่จะรู้ว่ามนุษย์คิดอะไร คิดอย่างไร จะต้องสังเกตจากพฤติกรรมที่แสดงออก หรือคำพูดที่พูดออกมา

การคิดวิเคราะห์ หมายถึงความสามารถในการจำแนกแยกแยะองค์ประกอบต่าง ๆ ของสิ่งใด สิ่งหนึ่ง ซึ่งอาจเป็นวัตถุสิ่งของเรื่องราว หรือเหตุการณ์และหาความสัมพันธ์เชิงเหตุผลระหว่างองค์ประกอบเหล่านั้น เพื่อค้นหาสภาพความเป็นจริง หรือสิ่งสำคัญของสิ่งที่กำหนดให้

คิดเป็นหรือคิดอย่างเป็นระบบ หมายถึงการแสวงหาแนวทางตอบข้อสงสัยบางประการ โดยนำเอาข้อมูลความรู้ ประสบการณ์ต่าง ๆ ที่มีอยู่มาจัดวางในกระบวนการคิดอย่างเหมาะสม โดยใช้วิธีคิดที่เมาะสม เพื่อให้ได้มาซึ่งผลลัพธ์ที่ดีที่สุด


สมองกับการเรียนรู้
มนุษย์สามารถเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้ ต้องอาศัยสมองและระบบประสาท ซึ่งรับสัญญาณตามเส้นประสาทมาจากอวัยวะรับสัมผัสทั้ง 5 จากการสัมผัส มองเห็น ได้ยิน ได้รส กลิ่น ถ้าผู้เรียนมีความสนใจต้องการเรียนรู้จะมีการเปลี่ยนแปลงของสารเคมีในสมอง การหลั่งสารเคมีสะสม จะเกิดกระแสไฟฟ้าเชื่อมต่อกัน ถ้าการเชื่อมต่อมั่นคง การเรียนรู้ก็จะชัดเจน ถ้าประสบการณ์ไม่ดีเป็นการรับรู้ไม่ต่อเนื่อง ไม่เชื่อมต่อกับความรู้เดิม ไฟฟ้าต้องจุดประกายใหม่ การเรียนรู้ก็ไม่สมบูรณ์ หรือไม่ถูกต้อง ชัดเจน โดยแนวคิดเกี่ยวกับสมองทำให้ รู้ว่าความรู้ไม่ใช่สิ่งตายตัวแน่นอนที่ถูกถ่ายทอด ทุกคนรู้เหมือนกัน แต่ความรู้ถูกรับ รวม เลือก หลอมในสมองของคน คนสามารถสร้างความรู้ใหม่จากความรู้เดิม และการเรียนรู้สอนกันตรง ๆ ไม่ได้ คนเรียนรู้ด้วยตนเองจากกระบวนการของสมอง ซึ่งจะกำหนดควบคุมกลไกเกี่ยวกับความคิด อารมณ์ความรู้สึกความสนใจและการแสดงออก มีหลักการเบื้องต้น แบ่งการทำงานของสมองเป็น 6 ขั้นตอน/ ระดับ เป็นระดับของสมรรถภาพทางด้านความรู้ความคิด (cognitive domain)

1. ความรู้ ความจำ เป็นการทำงานขั้นต่ำสุดของสมอง อารมณ์และความสนใจมีผลต่อความจำ สมาธิ การเรียนรู้ สติปัญญา และการทำงานของสมอง เน้นคำถาม ใคร ทำอะไร ที่ไหน โดยไม่มีการประยุกต์ใช้ เช่น เมืองหลวงของไทยชื่ออะไร

2. ความเข้าใจ ความจำและความเข้าใจ เป็นกระบวนการคิดอย่างง่ายและมักไปด้วยกัน เน้นคำถามทำไม โดยให้ สรุป อธิบาย บรรยาย แยกแยะ ตีความ หาความต่าง ประมาณ ขยายความ

3. การนำไปใช้ เป็นการนำข้อมูลไปประยุกต์ใช้ของสมอง เน้นคำถามเพื่อแก้ปัญหา ทดลอง คำนวณ ทำให้สมบูรณ์ ตรวจสอบ หรือค้นพบ โดยให้ ใช้ข้อมูล ใช้กฎ ใช้ทฤษฎี แสดง คำนวณ ทดสอบ แก้ปัญหา ค้นหา เปลี่ยน ขยายความ

4. การวิเคราะห์ เป็นการใช้สมองซีกซ้ายเป็นหลัก เป็นการคิดเชิงลึก จำแนก แยกแยะ คิดละเอียดจากเหตุไปผล เชื่อมโยงความสัมพันธ์ในเชิงเหตุและผล เพื่อเข้าใจ รู้ความแตกต่าง เปรียบเทียบความเหมือน ความต่าง ข้อดี ข้อเสีย การวิเคราะห์อาจเป็นเรื่องใกล้ตัวหรือเป็นสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น มี 3 ลักษณะ วิเคราะห์ส่วนประกอบ วิเคราะห์ความสัมพันธ์ วิเคราะห์หลักการ โดยให้ จำแนก แยกแยะ จัดลำดับ อธิบาย เปรียบเทียบ เลือก อธิบาย

5. การสังเคราะห์ เป็นการคิดใหม่ ประดิษฐ์สิ่งใหม่ จากการรวบรวมส่วนประกอบย่อยผสมผสานกลมกลืนจนกลายเป็นสิ่งใหม่ที่มีเอกลักษณ์และคุณสมบัติต่างไปจากเดิม หรือคิดสร้างแนวคิดใหม่ โดยให้ สร้างใหม่ จัดระเบียบ ทำให้เป็นรูปแบบทั่วไป –หาสูตร วางแผน เขียนใหม่ในรูปอื่น

6. การประเมิน เป็นการคิดตัดสินใจ โดยใช้ข้อมูลเปรียบเทียบกับมาตรฐานหรือเกณฑ์ เป็นทักษะการคิดชั้นสูง โดยให้ เปรียบเทียบ หาคุณค่า จัดลำดับ สร้างทางเลือก สนับสนุน สรุปความ อธิบาย แยก



มิติของการคิด
เป็นการวิเคราะห์การคิดเพื่อพัฒนา เป็น 6 มิติ หากเกิดขึ้นอย่างครบถ้วนและมีคุณภาพก็จะส่งผลให้การคิดนั้นมีคุณภาพตามไปด้วย

1. ข้อมูลหรือเนื้อหาที่ใช้ในการคิด แบ่งเป็น 3 ด้าน คือ ข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง ข้อมูลเกี่ยวกับสังคม และสิ่งแวดล้อม และข้อมูลวิชาการ ข้อมูลมากจะเอื้อต่อการคิด

2 คุณสมบัติที่เอื้อต่อการคิด ได้แก่ ความเป็นผู้มีใจกว้าง เป็นธรรม ใฝ่รู้กระตือรือร้นช่างวิเคราะห์ ผสมผสาน ขยัน กล้าเสี่ยง อดทน มีความมั่นใจในตนเองและมีมนุษยสัมพันธ์ดี

3. ทักษะการคิด มี 2ระดับ คือ ทักษะการคิดพื้นฐานและทักษะการคิดชั้นสูง การคิดพื้นฐาน เป็นทักษะเบื้องต้น ไม่ซับซ้อนเป็นพื้นฐานต่อการคิดระดับสูง เช่น ทักษะการสื่อความหมาย การฟัง การอ่าน การจำ การพูด การเขียน ทักษะการคิดที่เป็นแกน เป็นทักษะทั่วไปที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น การสังเกต การสำรวจ การตั้งคำถาม การจัดลำดับ การเปรียบเทียบ การสรุปอ้างอิง การตีความ แปลความ การให้เหตุผล การสรุป การขยายความ ทักษะการคิดชั้นสูง ใช้ทักษะพื้นฐานซับซ้อน เช่น การวิเคราะห์ สังเคราะห์ การประเมินผล การจัดระบบความคิด การค้นหาแบบแผน การสร้างความรู้

4. ลักษณะการคิด เป็นเป้าหมายของการคิด แยกแยะการคิดตามผลของการคิดที่เกิดขึ้น เช่น คิดคล่อง คือคิดอย่างรวดเร็ว ให้ได้ข้อมูลจำนวนมาก คิดหลากหลาย คือ คิดให้ได้ข้อมูลหลายประเภท นอกจากนี้ยังมี คิดละเอียด คิดชัดเจน คิดอย่างมีเหตุผล คิดถูกทาง คิดกว้าง คิดลึกซึ้ง คิดไกล

5. กระบวนการคิด เป็นการคิดที่ต้องดำเนินการไปเป็นลำดับขั้นตอน ต้องอาศัยทักษะการคิดหรือลักษณะการคิดจำนวนมาก กระบวนการคิดที่สำคัญ เช่น กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ กระบวนการคิดแก้ปัญหา กระบวนการคิดริเริ่มสร้างสรรค์ กระบวนการตัดสินใจ เป็นต้น

6. การควบคุมและการประเมินการคิดของตนเอง หมายถึงการรู้ถึงความคิดของตนเองในการกระทำ หรือการประเมินการคิดของตนและใช้ความรู้นั้นในการควบคุมหรือปรับการกระทำ เรียกว่าการคิดอย่างมียุทธศาสตร์ ‘strategic thinking’ ซึ่งครอบคลุม การวางแผนการควบคุม กำกับการกระทำของตนเอง การตรวจสอบความก้าวหน้า และการประเมินผล

กระบวนการคิด
เป็นการคิดที่ต้องดำเนินตามลำดับขั้นตอน มีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ
- จุดมุ่งหมายของกระบวนการ
- ลำดับขั้นตอน
- การปฏิบัติตามขั้นตอน

กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
เป็นกระบวนการเพื่อให้ได้ความคิดที่รอบคอบ สมเหตุสมผล ผ่านการพิจารณาปัจจัยรอบด้านอย่างกว้างไกล ลึกซึ้ง และผ่านการพิจารณาไตร่ตรองทั้งด้านคุณ-โทษ และคุณค่าที่แท้จริงของสิ่งนั้นมาแล้ว มีขั้นตอน ดังนี้
1. สังเกต
2. ทำความกระจ่างชัดในข้อมูล
3. คาคะเนคำตอบ
4. จัดกระทำข้อมูล
5. สรุปข้อมูลโดยใช้เหตุผล

กระบวนการคิดแก้ปัญหา
เป็นความพยายามที่จะไปให้ถึงเป้าหมาย โดยดำเนินการอย่างเป็นระเบียบ ไม่สับสน และสามารถแก้ปัญหาอย่างได้ผล มีขั้นตอน ดังนี้

1. ร ะ บุ ปั ญ ห า
2. วิ เ ค ร า ะ ห์ ส า เ ห ตุ ข อ ง ปั ญ ห า
3. แ ส ว ง ห า ท า ง แ ก้ ปั ญ ห า ห ล า ย ๆ ท า ง
4. เ ลื อ ก ท า ง แ ก้ ปั ญ ห า ที่ ดี ที่ สุ ด
5. ล ง มื อ ดำ เ นิ น ก า ร แ ก้ ปั ญ ห า ต า ม วิ ธี ก า ร ที่ เ ลื อ ก ไ ว้
6. ร ว บ ร ว ม ข้ อ มู ล
7. ป ร ะ เ มิ น ผ ล



กระบวนการตัดสินใจ
เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นเมื่อบุคคลตกอยู่ในภาวะที่ต้องเลือกอย่างใดอย



http://images.thursetc.multiply.multiplycontent.com


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 20/06/2017 7:30 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
ice
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 11/03/2012
ตอบ: 7

ตอบตอบ: 13/03/2012 9:20 pm    ชื่อกระทู้: หนุ่มน้อยอยากช่วยแม่ทำนา ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ขอบคุณลงคิม และ คุณยัยเฉิ่ม มากครับ สำหรับคำแนะนำ

ผมจะปฏิบัติ ตามอย่างเคร่งครัดครับ ....

ผมอยากทำให้ชาวนาข้างเคียง ได้เห็นว่าการทำนา "อินทรีย์นำ เคมีเสริม" ได้ผลผลิตดีกว่า นาเคมี
และเป็นการลดต้นทุน แต่ต้องทำเป็นตัวอย่างให้เห็นเขาถึงจะเชื่อ เขาจะได้ไม่ไปทำตาม คนขายยา
คนขายปุ๋ย อีกครับ Rolling Eyes Rolling Eyes Rolling Eyes [/img]




.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
ice
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 11/03/2012
ตอบ: 7

ตอบตอบ: 15/03/2012 12:53 pm    ชื่อกระทู้: หนุ่มน้อยอยากช่วยแม่ทำนา ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีครับลุงคิม

ตอนนี้นาข้าวที่บ้านผม อายุได้ 20 วันแล้วครับ ถามหน่อยครับว่าควร

+ ควรจะฉีด ยา บำรุงแบบ อินทรี ตัว ยา ไหนบ้างครับ

+ แม่บอกว่าจะใส่ปุ๋ยยูเรีย สมควรใส่หรือป่าวครับ ใช้สูตร ยา ของลุงคิมฉีดพ่นทางใบแทนได้ได้ไหมครับ



ขอบคุณครับ



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11557

ตอบตอบ: 15/03/2012 2:10 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เอายา "พาราเซตตามอล" ดีไหม......แก้ปวดหัวน่ะ....

ปุ๋ย - ฮอร์โมน - ยา มันคนละตัวแล้วก็ตนละเรื่องกันนะ แยกให้ออก

ปุ๋ย - ฮอร์โมน คือ สารบำรุง สร้างการเจริญเติบโต
ยา คือ สาร ป้องกัน/กำจัด โรค ที่ต่อต้านการเจริญเติบโต

ลุงคิมไม่ใช่คนเรื่องมาก จู้จี้จุกจิกกวนใจจริงเจียว เพียงแต่อยากให้อะไรๆ มันถูกต้องตามหลักสากลบ้าง

ศัพท์เทคนิคหรือคำพูดที่ชาวบ้านใช้สื่อสารกันนั้น ชาวบ้านในหมู่บ้านเดียวกันอาจจะรู้เรื่อง แต่ถ้าเป็นต่างหมู่บ้าน บางครั้งก็รู้เรื่อง บางครั้งก็ไม่รู้เรื่อง เขาเรียกว่า "ภาษาพื้นบ้าน หรือภาษาท้องถิ่น" ไงล่ะ..... ในเมื่อลุงคิมไม่ได้อยู่หมู่บ้านเดียวกับคุณ แล้วลุงคิมจะรู้เรื่องด้วยไหมเนี่ย และเมื่อต่างคนต่างไม่รู้เรื่อง เพราะสื่อกันคนละภาษา แล้วเราจะรู้เรื่องกันได้ยังไง

สังเกตุชาวบ้านไหม....
ธาตุหลัก N-P-K ชนิดเม็ด อยู่ในกระสอบ ประเภทให้ทางรากเท่านั้นที่ชาวบ้านเรียกว่า "ปุ๋ย" แต่ถ้าเป็น N-P-K ชนิด เกร็ด/น้ำ/ผง อยู่ใน กล่อง/ขวด/ซอง ประเภทให้ทางใบ ชาวบ้านจะเรียกว่า "ยา" ......แล้วมันยาแก้โรคอะไรล่ะ

ธาตุรอง Ca Mg S Fe Cu Zn Mn Mo B Si Na ฯลฯ ชาวบ้านก็เรียกว่า "ยา" อีก ..... แล้วมันยาแก้โรคอะไรล่ะ

ว่ามั้ย....การเกษตรบ้านเรา มันเป็นเกษตรแบบ "กลับหัว กลับหาง" สิ่งที่ถูกบอกว่าผิด สิ่งที่ผิดบอกว่าถูก.....ปลูกพืชตามใจคนขายปุ๋ย ขายยา แต่ไม่ตามใจพืช....เกษตรกรไทยมีควาามรู้เรื่องเกษตรแค่โฆษณา.....

อาหารพืช (ปุ๋ย) ประกอบด้วย ธาตุอาหาร 14 ตัว ใส่ครบแล้วขายลิตรละ 300 บาท ก็น่าจะ O.K. แล้วอั้ยที่ขายกันลิตรละ 3,000 หรือไม่ก็ลิตรละ 10,000 น่ะ มันใส่อะไร ขายดิบขายดี คนซื้อช่วยเชียร์แทนคนขาย....นี่คือ "จุดจน" ของเกษตรกร ใช่หรือไม่ ?

เกษตรกรไทย โกหกตัวเอง จนกระทั่งเชื่อตัวเอง.... (ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล)



เห็นบอกว่าจะนำกลุ่มชาวบ้าน แบบนี้จะไหวเหรอ....
ทุกคำถามที่ถามมา มีคำตอบอยู่ในเว้บนี้แล้ว แม้แต่ "แม่สั่ง...." ก็บอกวิธีแก้ไขด้วย


ระวังนะ ไปสอนชาวบ้าน โดย "ไม่แม่นสูตร ไม่แม่นหลักการ" แล้วชาวบ้านบอกย้อนกลับมาว่า
- ทำก่อนซี่ ถ้าดีทำตาม....
- เอ็งบ้าของเอ็งไปคนเดียวเถอะ.....
- ยังงั้ย ยังงัย กูก็ไม่เชื่อ ใส่ปุ๋ยน้อยๆ แล้วจะเอาข้าวเยอะๆ ได้ยังไง....
- ฯลฯ

แล้วคุณจะเกิดอาการ "ต๊อแต๊" ......
สุดท้าย ผลเสียจะมาตกที่ลุงคิม.....

บอกแล้วไง ห้ามเชื่อข้างบ้าน ห้ามเชื่อคนขายปุ๋ยขายยา ห้ามเชื่อลุงคิม แต่ให้เชื่อคนในกระจก.....ว่าแต่คนในกระจกมีอะไรให้เชื่อได้บ้าง....



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
ice
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 11/03/2012
ตอบ: 7

ตอบตอบ: 15/03/2012 6:12 pm    ชื่อกระทู้: หนุ่มน้อยอยากช่วยแม่ทำนา ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ขอบคุณมากครับผม สำหรับคำแนะนำลุงคิม

ก่อนอื่น ผมจะต้อง แม่นศัพท์-แม่นสูตร-แม่นหลักการ ก่อน ...... อิอิ






Very Happy Very Happy Very Happy
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©