-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร ทางรายการวิทยุ 14 MAR
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร ทางรายการวิทยุ 14 MAR
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร ทางรายการวิทยุ 14 MAR

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 14/03/2012 5:40 am    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร ทางรายการวิทยุ 14 MAR ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร ทางรายการวิทยุ 14 MAR

**********************************************************

สร้างสรรสังคม....ส่งเสริมคนดี....พัฒนาชีวิต ให้มีคุณภาพ...

กองทัพบกเพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตรและอาชีพเสริม
ทางสถานีวิทยุ พล.ปตอ. เอเอ็ม 594 เวลา 08.10–09.00 และ 20.05-20.30 ทุกวัน

ผลิตรายการโดย กองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก
กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการครับ

เช่นเคยครับ รายการเรา 1188 สายด่วน 4 ตัว ฝากข้อความ-ฝากคำถาม-ฝากข่าว
ก่อนเริ่มรายการที่ โทรศัพท์มือถือส่วนตัว (081) 913-4986

**********************************************************



จาก : (082) 482-16xx
ข้อความ : ให้ ธาตุรอง/ธาตุเสริม ไม้ผลมากเกินจะทำให้ผลเอ๋อไหม และควรสลับกับแคลเซียม โบรอน.
อย่างไร....ขอบคุณครับ
ตอบ :
ไม่ส่งผลเสียต่อพืช แต่ส่งผลเสียต่อคน เพราะสิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ....
การให้สารอาหารแก่พืชควรถือหลัก "ให้น้อย บ่อยครั้ง"

แนวทางปฏิบัติหนึ่ง คือ การให้ธาตุรอง/ธาตุเสริมแบบสะสมไว้ในดิน ซึ่งต้นพืชจะสามารถนำไปใช้ได้ตลอดเวลา เช่น ธาตุรอง/ธาตุเสริมในปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง

แคลเซียม โบรอน. ช่วยป้องกัน ผลแตก-ผลร่วง กับบำรุงคุณภาพ เพราะฉนั้นควรให้ ณ ช่วงวิกฤตเพื่อป้องกันผลแตกผลร่วงไว้ก่อน แล้วจากนั้นจึงให้แบบตามความเหมาะสมเพื่อสร้างคุณภาพ


------------------------------------------------------------------------------------------------------



จาก : (084) 390-17xx
ข้อความ : เมื่อคืนไนลุงคิมพูดเรื่องไรซ์เบอร์รี่สีชมพู พูดนิดเดียว ฟังแล้วไม่สะใจ อยากให้พูดซ้ำอีก
เช้านี้....ขอบคุณค่ะ
ตอบ :
ขออภัย ยังไม่มีข้อมูลเรื่องนี้เลย ก็พยายามถามกูเกิ้ลอยู่เหมือนกัน แต่ยังหาคำตอบไม่เจอ

------------------------------------------------------------------------------------------------------



จาก : (081) 619-35xx
ข้อความ : ใช้ใบกระท่อม ฟ้าทะลายโจร บอระเพ็ด ผสมกันได้ไหม ไล่เพลี้ยได้ไหม.....
ตอบ :
ใบกระท่อม น่าจะอยู่ในกลุ่มสาร "เบื่อเมา" สำหรับแมลงศัตรูพืช เหมือนยาสูบ ยาฉุน กลอย น้อยหน่า ประมาณนั้น ถ้าไม่กลัวผิดกฏหมายในฐานะผู้ครอบครองก็ใช้ไปเถอะ จะใช้เดี่ยวๆ เป็นสูตรเฉพาะ หรือผสม รวม/ร่วม กับอย่างอื่นเป็นสูตรรวมมิตร ได้ทั้งนั้น

ไล่เพลี้ย....เพลี้ยอะไร
เพลี้ยไก่แจ้, เพลี้ยกระโดด (หลากสี), เพลี้ยแป้ง, เพลี้ยอ่อน, เพลี้ยกระสอบ น่าจะระบุมาหน่อยนะ


------------------------------------------------------------------------------------------------------



จาก : (081) 673-49xx
ข้อความ : อยากทำมะม่วงนอกฤดู ขอให้ลุงคิมแนะนำเทคนิคการราดสารด้วยครับ.....คนไม่มีเน็ต
ตอบ :
เมื่อก่อนเคยมีข้อมูลเรื่อง "การฉีดสารพาโคลบิวทาโซล" เข้าลำต้น ซึ่งวิธีนี้ดีที่ไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับดิน ทำให้สารได้แสดงประสิทธิภาพเต็มที่โดยไม่มีปฏิกิริยาทางเคมีกับดิน และที่สำคัญ คือ ไม่ส่งผลเสียต่อดินซึ่งอาจจะไปสร้างผลกระทบต่อพืชอื่นในบริเวณใกล้เคียงอีกด้วย

ให้น่าเสียว่า ไม่รู้ไปเก็บข้อมูลเรื่องนี้ไว้ที่ไหน เอาไว้หาเจอแล้วจะอามาเล่าสู่กันฟัง


ราดสารพาโคลบิวทาโซล

พาโคลบิวทาโซล คือ ฮอร์โมนยับยั้งการเจริญเติบโต มีประสิทธิภาพในการหยุดการพัฒนาทางต้น ทำให้ต้นหยุดการเจริญเติบโตทางใบหรือหยุดการแตกใบอ่อน หลังจากต้นได้สะสมอาหารเพื่อการออกดอก (แป้งและน้ำตาล) ไว้เต็มที่แล้ว ในขณะที่ระบบพัฒนาการของต้นซึ่งต้องดำเนินไปอย่างต่อเนื่องนั้น เมื่อไม่อาจพัฒนาให้เป็นยอดหรือใบได้จึงพัฒนาเป็นดอกแทน การใช้ฮอร์โมนยับยั้งการเจริญเติบโตบังคับต้นไม่ให้แตกใบอ่อนแต่ออกดอกแทนเป็นการทรมานต้นโดยตรง หากต้นถูกทรมานมากๆย่อมมีโอกาสโทรมแล้วตายได้ ดังนั้นการใช้ฮอร์โมนบังคับมะม่วงให้ออกดอกได้โดยต้นไม่โทรมและได้ผลผลิตดีจึงควรทำตามขั้นตอน ดังนี้

1. สภาพต้นต้องสมบูรณ์เต็มที่ ผ่านการบำรุงแบบให้มีสารอาหารกินตลอด 24 ชม.ต่อเนื่องมาแล้วหลายๆปี

2. การบริหารจัดการด้านปัจจัยพื้นฐานการเกษตร (ดิน-น้ำ-แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล-ปุ๋ย-พันธุ์-โรค)ถูกต้องตรงตามความต้องการทางธรรมชาติที่แท้จริง

3. อายุต้นเป็นสาวเต็มที่ และเคยให้ผลผลิตมาแล้วไม่น้อยกว่า 2-3 รุ่น

4. อัตราใช้สารพาโคลบิวทาโซลชนิด 10 เปอร์เซ็นต์ ต่ออายุต้น
- อายุต้น 2-4 ปี อัตราใช้ 20-40 ซีซี./ต้น
- อายุต้น 5-6 ปี อัตราใช้ 60-80 ซีซี./ต้น
- อายุต้น 7-8 ปี อัตราใช้ 80-100 ซีซี./ต้น

5. ใช้ในอัตราเข้มข้นเกินช่อดอกที่ออกมาจะเป็นกระจุกไม่ติดเป็นผลแต่ถ้าใช้อัตราต่ำเกินไปก็จะไม่ได้ผล หรือแทงช่อดอกช้ากว่ากำหนดมากหรืออาจแตกใบอ่อนแทนก็ได้

6. ราดสารฯ เมื่อใบเพสลาด (ใบพวงหรือใบกลางอ่อนกลางแก่)ได้ผลแน่นอนกว่าราดสารฯ ช่วงใบแก่แล้ว

7. สารพาโคลบิวทาโซลชนิดผงให้ละลายในแอลกอฮอร์ ชนิดน้ำให้ละลายในน้ำกลั่น คนให้แตกตัวดีก่อนแล้วจึงผสมกับน้ำเปล่า.....น้ำเปล่าที่ใช้ผสมควรปรับค่ากรดด่าง 6.0-6.5 เพื่อหลีกเลี่ยงปฏิกิริยา "กรด + ด่าง = เกลือ + น้ำ" ซึ่งจะทำให้สารฯ เสื่อมประสิทธิภาพ

8. ก่อนลงมือราดสารฯ ให้เปิดหน้าดินนำเศษพืชคลุมโคนต้น (ถ้ามี)ทั่วบริเวณทรงพุ่มโคนต้นออกก่อน แล้วรดน้ำบริเวณที่จะราดสารฯ ล่วงหน้า 1วันให้ดินชุ่มชื้นดี

9. มะม่วงอายุต้นต่ำกว่า 5 ปี ให้ราดชิดและรอบโคนต้น อาจจะทำร่องรอบโคนต้นก่อนแล้วราดน้ำละลายสารแล้วลงในร่องนั้นก็ได้.........มะม่วงอายุต้นมากกว่า 5 ปี ให้ราดทั่วพื้นที่บริเวณทรงพุ่มด้านใน 1 ส่วน ราดชายพุ่มบริเวณที่มีปลายรากฝอยอยู่จำนวนมาก 3 ส่วน

10. หลังจากราดสารฯ แล้วต้องระดมให้น้ำเต็มที่แบบวันต่อวัน 3-5 วันติดต่อกัน

11. หลังจากราดสารฯ 1-1 เดือนครึ่ง ถ้าสภาพอากาศอำนวย มะม่วงพันธุ์เบาหรือพันธุ์ทะวายก็จะแทงช่อดอกออกมาและ 2-2 เดือนครึ่ง มะม่วงพันธุ์หนักหรือมะม่วงปีจึงจะแทงช่อดอก....ถ้าครบกำหนดที่มะม่วงควรจะแทงช่อดอกได้แล้วแต่ยังไม่ออกให้เปิดตาดอกด้วย 13-0-46 หรือ 13-0-46 + 0-52-34(สูตรใดสูตรหนึ่ง)ตามความเหมาะสม

12. ถ้าราดสารฯ และเปิดตาดอกแล้วดอกไม่ออกห้ามราดซ้ำรอบสอง เพราะการราดซ้ำอีกครั้งไม่ได้ทำให้มะม่วงออกดอกแต่กลับทำให้ต้นโทรมหนักยิ่งขึ้น

13. ไม่ควรราดสารฯ แบบปีต่อปี เพราะสารฯ ที่ราดลงไปแต่ละครั้งที่ตกค้างอยู่ในดินยังออกฤทธิ์ต่อได้อย่างน้อย 1-2 รุ่นการผลิต ในปีรุ่งขึ้นของการผลิตถ้าต้นสมบูรณ์ดีให้บำรุงสะสมอาหารเพื่อการออกดอกแล้วปรับ ซี/เอ็น เรโช.ดีๆก็สามารถเปิดตาดอกได้เลย แต่ถ้าต้นไม่สมบูรณ์หรือโทรมมากจะต้องระงับการราดสารฯ เด็ดขาดอย่างน้อย 2-3 ปี

14. ไม่ควรขายพันธุ์ (ตอน/ทาบ)จากต้นแม่ที่ราดสารฯ เพราะกิ่งพันธุ์ที่ได้เมื่อนำไปปลูกจะเจริญเติบโตช้ามาก

15. ดอกและผลที่ออกมาหลังราดสารฯ จะต้องได้รับการบำรุงโดยเฉพาะ ธาตุอาหาร-ฮอร์โมน ทั้งทางรากและทางใบมากกว่าต้นที่มีดอกและผลออกมาด้วยวิธีบำรุงตามปกติ

16. ในเนื้อดินที่ราดสารฯ ลงไป สารจะตกค้างนาน เมื่อเลิกปลูกมะม่วงแล้วปลูกพืชใหม่ (ทุกชนิด)ลงไป พืชใหม่จะไม่โตหรือโตช้ามากๆจนบางครั้งนั่งหลุมตายไปเลยก็มี

หมายเหตุ :
การราดสารพาโคลบิวทาโซลเป็นการบังคับแบบทรมานต้น นอกจากทำให้ต้นโทรมแล้วยังต้องทำแบบปีเว้นปี หรือทำปีเว้น 2 ปี ทำให้เสียเวลาและโอกาส แต่หากเปลี่ยนวิธีการมาเป็นบังคับแบบบำรุงให้ต้นสมบูรณ์สูงสุด นอกจากจะไม่ทำให้ต้นโทรมแล้วยังมีโอกาสสร้างผลผลิตได้ทุกปีอีกด้วย


http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=76&page=2


------------------------------------------------------------------------------------------------------




.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©