-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร ทางรายการวิทยุ 12 MAR
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ข้าวเหนียวดำพันธุ์ลืมผัว-ข้าวขึ้นน้ำพันธุ์ขาวบ้านนา
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ข้าวเหนียวดำพันธุ์ลืมผัว-ข้าวขึ้นน้ำพันธุ์ขาวบ้านนา

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
hearse
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 08/01/2010
ตอบ: 110

ตอบตอบ: 12/03/2012 10:24 pm    ชื่อกระทู้: ข้าวเหนียวดำพันธุ์ลืมผัว-ข้าวขึ้นน้ำพันธุ์ขาวบ้านนา ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ข้าวเหนียวดำพันธุ์ลืมผัว-ข้าวขึ้นน้ำพันธุ์ขาวบ้านนา 432





นายชัยฤทธิ์ ดำรงเกียรติ อธิบดีกรมการข้าว ให้ข้อมูลว่า กว่าที่กรมการข้าวจะรับรองพันธุ์ข้าว 2 พันธุ์ คือ ข้าวเหนียวดำพันธุ์ลืมผัว และข้าวขึ้นน้ำพันธุ์ขาวบ้านนา 432 ใช้เวลากว่าสิบปี เพราะต้องผ่านการวิจัยในศูนย์วิจัยข้าวของกรมการข้าว ทดลองในแปลงนาเกษตรกร การสนับสนุนให้ศูนย์ผลิตเมล็ดพันธุ์เพื่อตอบสนองความต้องการของเกษตรกร และการแปรรูปผลผลิตจากข้าวสองพันธุ์นี้



ข้าวสองพันธุ์นี้จะมีลักษณะแตกต่างกัน โดยข้าวเหนียวดำพันธุ์ลืมผัว ผลงานของ ดร.อัจฉราพร ณ ลำปาง เนินพลับ และคณะ จากศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก และศูนย์วิจัยข้าวแพร่ สำนักวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว


ข้าวเหนียวดำพันธุ์ลืมผัว (อร่อยจากภรรยากินเพลินลืมเก็บไว้ให้สามีรับประทาน)



ข้าวเหนียวดำพันธุ์ลืมผัว เป็นข้าวไร่ข้าวเหนียวนาปี ไวต่อช่วงแสง อายุเบา เก็บเกี่ยวประมาณ วันที่ 15-30 ตุลาคม ลักษณะทรงกอตั้ง ต้นแข็งไม่ล้มง่าย เมล็ดมีกลิ่นหอม ผิวมัน และนุ่มเหนียว ผลผลิตเฉลี่ย 343 - 455 กิโลกรัมต่อไร่ ลักษณะเด่น เมล็ดมีคุณค่าทางโภชนาการสูงที่โดดเด่น ได้แก่ แอนโทไซยานิน แกมมา โอไรซานอล โอเมกา 3 โอเมกา 6 วิตามินอี แคลเซียม แมงกานีส เป็นต้น

ข้าวกล้องเมื่อหุงสุก มีกลิ่นหอม ลักษณะสัมผัสเมื่อแรกเคี้ยวจะกรุบ หนึบ ภายในนุ่มเหนียว พื้นที่แนะนำ สภาพไร่ที่มีความสมบูรณ์ของดินดี ที่ระดับความสูงประมาณ 400-800 เมตรจากระดับน้ำทะเล ข้อควรระวัง ข้าวพันธุ์นี้อ่อนแอต่อโรคไหม้ โรคขอบใบแห้ง เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและเพลี้ยกระโดดหลังขา

ท่านอธิบดีชัยฤทธิ์ กล่าวย้ำว่า “ข้าวเหนียวดำพันธุ์ลืมผัวมีคุณภาพทางโภชนาการสูงและหลากหลาย คาดว่าอีกประมาณหนึ่งปีจะสามารถชี้ชัดได้ว่าข้าวพันธุ์นี้จะมีลักษณะทางยาทางใดทางหนึ่งที่โดดเด่นที่สุด ขณะนี้มีเอกชนบางแห่งสนใจข้าวพันธุ์นี้ ทางกรมการข้าวกำลังส่งเสริมให้ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวผลิตเมล็ดพันธุ์ให้เกษตรกรที่สนใจ และคาดว่าข้าวพันธุ์นี้จะมีสรรพคุณทางยาที่โดดเด่นอีกพันธุ์หนึ่ง”

พัฒนาพันธุ์โดยนักวิจัยของศูนย์วิจัยข้าวปราจีนบุรี โดย คุณอุดมพรรณ พรหมนารท และคณะ ข้าวพันธุ์นี้เริ่มคัดเลือกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 ปลูกคัดเลือกคัดพันธุ์มาเรื่อยๆ กระทั่งได้พันธุ์ที่มีลักษณะที่ต้องการ ลักษณะประจำพันธุ์ ข้าวขึ้นน้ำไวต่อช่วงแสง ออกดอกประมาณวันที่ 10-14 พฤศจิกายน ลำต้นสูงประมาณ 218 เซนติเมตร ขึ้นอยู่กับระดับน้ำ สามารถขึ้นน้ำและปลูกได้ดีในนาน้ำลึกมากกว่า 1 เมตร มีช่วงเก็บเกี่ยวประมาณวันที่ 10-14 ธันวาคม ข้าวขาวบ้านนา 432 ให้ผลผลิตเฉลี่ย 449 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งสูงกว่าพันธุ์พลายงามปราจีนบุรีถึง 33%

สำหรับคุณภาพการหุงข้าวพันธุ์นี้มีปริมาณอมิโลสค่อนข้างสูง ข้าวสุกร่วนและแข็ง จึงเหมาะสำหรับการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เส้น ได้แก่ เส้นหมี่และเส้นขนมจีนคุณภาพเส้นมีลักษณะเหนียวนุ่ม

นับได้ว่าข้าวขึ้นน้ำพันธุ์ขาวบ้านนา 432 เหมาะสำหรับพื้นที่นาน้ำลึกมากกว่า 1 เมตร ที่มีน้ำท่วมขังนานกว่า 1 เดือน จึงเหมาะสำหรับพื้นที่น้ำลึกในเขตที่ราบลุ่มภาคกลางและภาคตะวันออก โดยเฉพาะเขตพื้นที่ข้าวขึ้นน้ำ อำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี และอำเภอปากพลี อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก อย่างไรก็ตามจากการทดลองพบว่า ข้าวพันธุ์นี้ค่อนข้างอ่อนแอต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และโรคขอบใบแห้ง


ที่มา http://www.kehakaset.com/index.php?


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©