-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร รายการวิทยุ 1 MAR
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - หมวกกันฝนต้นยางพารา
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

หมวกกันฝนต้นยางพารา

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 23/12/2010 7:06 am    ชื่อกระทู้: หมวกกันฝนต้นยางพารา ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)




หมวกกันฝนต้นยางพารา


หมวกกันฝนต้นยางพารา คิดค้นโดยนายสำเริง แสวงพรหมมณี เกษตรกรสวนยางพารา หมวกกันฝนต้นยางพารานี้ ทำให้เกษตรกรสามารถกรีดยางในช่วงหน้าฝนได้ ทำให้ได้ผลต่อปีเพิ่มขึ้นถึง 100 เปอร์เซ็นต์ คือ สามารถกรีดยางจาก 5 เดือน เพิ่มขึ้นเป็น 10 เดือน

อุปกรณ์ที่ใช้ คือ 1. หมวกกันฝน
2. มีดถากเปลือกไม้
3. ที่เย็บกระดาษ
4. ลวดเย็บกระดาษ ขนาด 3 x 8 mm
5. กาว Magic Glue ตราเพชร
6. แถบพลาสติกขนาด 1.5 นิ้ว


ขั้นตอนการประกอบหมวกกันฝน
1. ทำความสะอาดลำต้นที่จะติดหมวก นำหมวกส่วนที่ 1 (หมวกถ้วย) ประกบเข้ากับต้นยาง ตรงถ้วยยางให้สูงเหนือรอยกรีดใหม่ประมาณ 5 นิ้ว ใช้เครื่องเย็บกระดาษกดลงตรงระหว่างกึ่งกลางก่อน แล้วจึงติดด้านซ้ายและขวา

2. นำหมวกส่วนที่ 2 (หมวกปีก) ประกบติดกับต้นยาง โดยให้คลุมรอบบริเวณรอยกรีด ส่วนปลายด้านขวาให้คาดคร่อมเหนือหมวกส่วนที่ 1 (แล้วแต่ขนาดของต้นยาง) ใช้เครื่องเย็บกระดาษกดลงปลายด้านขวาก่อน ดึงปลายด้านซ้ายให้ครอบลำต้นเพื่อให้ขอบของหมวกแนบเข้ากับลำต้น แล้วจึงใช้เครื่องเย็บกระดาษกดลงอีก 3 จุด โดยเฉลี่ยให้เท่าๆ กัน (อย่ารัดแน่น)

3. ใช้มีดขูดเปลือกเหนือขอบหมวกโดยรอบจากซ้ายมาขวา ไม่ต้องลึกแค่ผิวเรียบก็พอ

4. ทิ้งให้เหงื่อหน้ารอยขูดแห้ง ใช้ไม้พันกาว Magic Glue

5. นำกาวติดเข้ากับมุมด้านขวา ดึงกาวให้พันรอบลำต้นตามรอยขูดมาสุดที่ด้านซ้าย

6. นำแถบพลาสติกขนาด 1.5 นิ้ว ติดลงตามรอยกาว โดยให้ส่วนบนของแถบพลาสติกคลุมอยู่เหนือขอบหมวกกันฝน หลังจากติดเรียบร้อยแล้วใช้นิ้วกดบนแถบพลาสติกที่ติดกาวอยู่ เพื่อให้กาวติดสนิทกับลำต้น สามารถกันฝนซึมรั่ว 100 เปอร์เซ็นต์

หลังติดหมวกเรียบร้อยแล้ว สามารถกรีดยางได้ทันที แม้จะเกิดฝนตกหน้ายางใต้หมวกกันฝนจะไม่เปียกน้ำ ในถ้วยไม่มีน้ำปน ทำให้กรีดยางได้ตลอดหน้าฝน (คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ, 2544:158-159)


http://www.mapculture.org/mambo/index.php?option=com_content&task=view&id=933&Itemid=58
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 23/12/2010 7:12 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)











นวัตกรรมท้องถิ่น ''ร่มยางพารา'' กรีดยางได้แม้วันที่ฝนตก

จากเหตุการณ์สึนามิ ได้สร้างความเสียหายต่อการประกอบอาชีพการลงทุนเลี้ยงหอยแมลงภู่นับแสนบาท อาชีพของครอบครัวอยู่ในสภาพหมดเงินจากการลงทุนเลี้ยงหอย นายประพาส น้ำจันทร์ ในฐานะหัวหน้าครอบครัว เล่าว่า “ในตอนนั้น ตนเองได้นั่งคิดว่า จะหาเงินมาเลี้ยงครอบครัวด้วยวิธีการไหนดี ที่จะสามารถมีรายได้เลี้ยงครอบครัวได้ จึงหันกลับไปมองสวนยางพารา บนเนื้อที่ 13 ไร่ (1.000 ต้น) อายุยาง 8 ปี ซึ่งพอจะเลี้ยงครอบครัวได้ จึงคิดว่าจะทำอย่างไรให้มีรายได้เพียงพอ เพราะลำพังเพียงสวนยางพารา ในปีหนึ่ง ๆ ตัดได้เพียง 3 เดือนเท่านั้น เพราะพื้นที่แถบ จ.ระนอง มีฝนตกชุกตลอดทั้งปี

จากการครุ่นคิด นายประพาส บอกว่าสิ่งหนึ่งที่จุดประกายความคิดของเขา ในตอนนั้นเป็นช่วงหน้าฝนพอดี ตนเองนั่งอยู่หน้าบ้าน เห็นคนกางร่มผ่านไปมา จึงมีความคิดว่า ถ้าหากจะกางร่มให้ต้นยางพารานั้น จะทำอย่างไรดี จากความคิดเกิดเป็นคำถาม หลังจากนั้นนายประพาสเริ่มค้นหาวิธีการกางร่มให้ต้นยางพารา เพื่อใช้สวมรอบลำต้นยางพาราเหนือตำแหน่งหน้ายาง ป้องกันฝนและความชื้นไม่ให้ไหลเปียกหน้ายางซึ่งจะนำไปสู่ปัญหาติดโรคของต้นยางพารา เริ่มต้นทดลองกางร่มให้ยางพารา วิธีการแรกได้ทดลองนำไม้ไผ่ มาสานทำโครงลักษณะคล้ายหมวกงอบ แต่ใช้ไม่ได้ เพราะไม้ไผ่พอแห้ง ทำให้กรอบ พอถูกลมพัด ทำให้เสียรูปทรง

วิธีการที่ 2 ได้ทดลองนำหวายมาสานทำโครง แต่เนื่องจากหวายมีความอ่อนตัว พอลมพัดทำให้เสียรูปทรงเช่นเดียวกับไม้ไผ่ วิธีการที่ 2 ก็ไม่ประสบผลสำเร็จ... นายประพาสได้ทดลองหาวิธีการกางร่มให้ต้นยางเป็นเวลา 3 เดือน จึงเกิดความคิดว่าน่าจะทดลองทำโครงกับลวด วิธีที่ 3 นี้ จึงทดลองทำโครงร่มยางกับลวด และใช้ขี้ชัน (ยาเรือ) มาติดบนพลาสติกที่ประกอบกับโครงร่มยางแล้ว แต่เมื่อขี้ชันแห้งจะแตก ทำให้น้ำฝนซึมผ่านได้ จึงลองหาซื้อกาวที่มีคุณสมบัติกันซึมมาใช้ พบว่าใช้ได้ผลดี น้ำไม่ไหลซึม

และจากการทดลองทำร่มยางพารา ทั้ง 3 วิธี นายประพาสสรุปว่า วิธีการที่ 3 ใช้ได้ดี มีลมพัดก็ไม่ทำให้เสียรูปทรง กันฝน ได้ 5 ปีแล้วที่นายประพาส กางร่มให้ต้นยางพาราทำให้สามารถกรีดยางในช่วงหน้าฝนได้ ส่งผลให้ได้น้ำยางเพิ่มขึ้นมากถึง 100 เปอร์เซ็นต์ต่อปี คือ สามารถกรีดยางจากเดิม ภายใน 1 ปีสามารถกรีดยาง ได้เพียง 3 เดือนเท่านั้น แต่หลังจากทำร่มยาง สวนยางพาราของนายประพาส สามารถกรีดยางพาราได้เพิ่มขึ้นเป็น 8 เดือน ใน 1 ปี ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้นจากเดิม

ก่อนทำร่มยางพารา กรีดยางได้ประมาณ 10 วันต่อเดือน (ในฤดูฝน) าด ปลี่ยน หรือซ่อมแซมรายได้ต่อวัน ประมาณ 1,500 บาท (คำนวณราคายางพาราแผ่นกิโลกรัมละ50 บาท) เฉลี่ยรายได้ต่อเดือนก่อนทำร่มยางพาราประมาณ 15,000 บาท หลังจากทำร่มยางพารา กรีดยางได้ 21 วันต่อเดือน (ในฤดูฝน) รายได้ต่อวันประมาณ 1,500 บาท (คำนวณราคายางพาราแผ่นกิโลกรัมละ50 บาท) เฉลี่ยรายได้ต่อเดือนหลังทำร่มยางพารา ประมาณ 31,500 บาท การเปรียบเทียบจำนวนวันที่สามารถกรีดยางได้ก่อนและหลังกางร่มให้ต้นยาง ทำให้เกษตรกรชาวสวนยางรายนี้มีรายได้เพิ่มขึ้น จากความเพียรพยายาม จนสามารถเลี้ยงดูครอบครัวของตนเองได้

นายประพาส เล่าว่า “ที่ผ่านมาลองผิด มากกว่าลองถูก ได้เรียนจากประสบการณ์ของตนเองปัจจุบันมีชาวสวนยางที่สนใจ มาเรียนรู้วิธีการทำร่มยาง บ้างก็ให้ไปช่วยกางร่มให้ต้นยางให้ดูเป็นตัวอย่างถึงในสวนยางเลยที่เดียว มีคนเคยมาถาม ไปสอนให้เค้า.ทำไมไม่คิดเงิน ผมถือว่า ความรู้เป็นวิทยาทาน เมื่อมีคนนำความรู้กลับไปทำจริง ๆ ผมรู้สึกดีใจ เพราะการทำร่มยางพารา หรือการทำงานใดนั้นต้องมีความตั้งใจ มีความพยายาม และต้องมีความอดทนด้วย จึงจะประสบผลสำเร็จ”

จากการติดตามผล จากคนที่สนใจ มาขอคำแนะนำ การทำร่มยาง นายประพาส บอกว่า มี 2 รายที่นำความรู้กลับไปลงมือทำมากว่า 2 ปีแล้ว คือนายไพโรจน์ ยิ้มเยาะ เกษตรกร หมูที่ 1 บ้านบางมัน มีต้นยางพารา ประมาณ 500 ต้น และนายอำพร อินตัน เกษตรกรสวนยางพาราชาวตำบลบางหิน อ.กะเปอร์ จ.ระนอง นำความรู้ไปทดลองทำกับต้นยางพารา ประมาณ 300 ต้น ซึ่งปัจจุบันเกษตรกรทั้งสองราย สามารถกรีดยางแม้วันที่ฝนตกเช่นเดียวกับสวนของนายประพาส

วัสดุที่ใช้
1. ลวด เบอร์ 12 และเบอร์17 กิโลกรัมละ 54 บาท
2. พลาสติกดำชนิดบาง ม้วนละ 1,500 บาท
3. กาวซิลิโคน หลอดละ 95 บาท
4. ยางในรถจักรยานยนต์ หาได้จากร้านซ่อมรถในท้องถิ่น

ขั้นตอนวิธีการ
1. สำรวจขนาดต้นยางพาราในสวน ว่ามีต้นเล็กกี่ต้น ต้นใหญ่กี่ต้น

2. ตัดลวดเบอร์ 17 ทำโครงบน ความยาวตามขนาดเส้นรอบวงของต้นยางพารา ต้นยางพาราขนาดกลาง ตัดลวดโครงบน ยาวประมาณ 105 ซม. ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอายุของต้นยางพาราแต่ละแปลง นำโครงบนมาขด ระยะห่างประมาณ 2 นิ้ว โค้งให้วงกลมอยู่ด้านนอก

ตัดลวด เบอร์ 17 ทำก้านร่มยาง ความยาว 35-40 ซม.

3. นำลวดก้านมาประกอบเข้ากับโครงบน

4. ตัดลวดเบอร์ 12 ขนาด ความยาว 2.5 เมตร ทำขอบล่าง มาประกอบเข้ากับก้านร่มยาง

5. ตัดพลาสติกดำชนิดบาง ขนาด 1 เมตร × 1 เมตร พับเป็นรูปสามเหลี่ยม แล้วตัดมุม 1 ข้างให้มาจดกึ่งกลางพลาสติก ก่อนประกอบให้ทากาวรอบต้นยาง ห่างจากขอบบน ประมาณ1 นิ้ว แล้วนำพลาสติกมาประกอบรอบโครงร่มยางพารา

6. นำยางในรถมาตัดเป็นเส้น เพื่อพันทับพลาสติกรอบต้นยาง เพื่อป้องกันไม่ให้พลาสติกหลุด

7. เมื่อประกอบตามขั้นตอนแล้ว เราต้องมาเก็บริมพลาสติกพันเข้ากับลวดขอบล่าง โดยใช้วิธีเย็บแม็ก เก็บริมให้เรียบร้อย เป็นอันว่าเสร็จ หนึ่งต้น ซึ่งการประกอบตั้งแต่ขั้นตอนแรกนั้นจะต้องมาประกอบกับต้นยางพารา

แปลงยางพาราของ คุณประพาส ที่ได้กางร่มให้ยางพารา จำนวน 1,000 ต้น เฉลี่ยแล้วในปีแรกลงทุนต้นละ 25 บาท ส่วนปีถัดมาจะมีค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนพลาสติกร่มยางเท่านั้น ซึ่งจะต้องเปลี่ยน หรือซ่อมแซมในกรณีที่พลาสติกขาด ส่วนโครงลวดร่มยาง ใช้ได้ 4- 5 ปี จึงค่อยทำโครงร่มยางใหม่

คุณประพาส ยังเล่าต่ออีกว่า ตลอดระยะเวลา 5 ปี ที่ได้ทำร่มยาง ตัดยางได้ปกติเหมือนหน้าแล้ง ส่วนแปลงสวนยางพาราที่ไม่ได้ทำนั้นตัดเลยในช่วงหน้าฝน ทำให้เจ้าของสวนยางพาราแปลงข้าง ๆ ก็สนใจอยากทำด้วย แต่การทำร่มยางต้องใช้เวลานาน และต้องใช้ความอดทน ตั้งแต่ขั้นตอนแรกจนกว่าจะประกอบเสร็จในแต่ละต้น คุณประพาสยังกล่าวอีกด้วยว่า การลงทุนทำร่มยางพารา ลงทุนไปตัดยางไม่กี่เช้าก็ได้คืน “ผมคิดว่าปลูกยางตั้งแต่ต้นเท่านิ้วก้อย รอตั้ง 7 ปี ยังรอได้ เราลงทุนทำร่มยาง ไม่กี่วันเราก็ได้คืนทุนแล้ว”

นี่คือสิ่งที่เกิดจากการใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์ของนายประพาส น้ำจันทร์ ที่มีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจในครัวเรือน และยังขยายผลสู่ชาวสวนยางพาราที่สนใจในชุมชน ที่นายประพาส น้ำจันทร์ บอกว่า ความรู้คือ วิทยาทาน สิ่งนี้เองที่สร้างความภาคภูมิใจให้เกษตรกรรายนี้.

นายประพาส น้ำจันทร์
บ้านเลขที่ 10/1 หมู่ที่ 1 บ้านบางมัน ต.นาคา
อ.สุขสำราญ จ.ระนอง 85120



http://www.vijai.org/Activity_detail.asp?topicid=817
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 23/12/2010 7:19 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)







สร้างหมวกครอบ-ใช้แก๊สเร่ง งานวิจัย"สวนป่า"เพิ่มค่าน้ำยาง

คมชัดลึก : แม้สักทองจะทำรายได้หลักให้แก่องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้(อ.อ.ป.) องค์กรรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งรับผิดชอบดูแลสวนป่าทั่วประเทศมาอย่างยาวนาน หากแต่ปัจจุบันยางพารากลับมีแนวโน้มที่สร้างรายได้ให้แก่องค์กรแห่งนี้มากขึ้นเรื่อยๆ หลังสักทองมีปัญหาเกี่ยวกับการตัดสางและการจำหน่าย อันเนื่องมาจากนโยบายของรัฐบาล

จากข้อมูลผลผลิตยางพาราของสวนป่าทองผาภูมิ อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี ซึ่งเป็นสวนป่าต้นแบบในการผลิตยางพาราให้แก่สวนป่าในสังกัดอ.อ.ป.ทั่วประเทศ พบว่าเฉพาะในปี 2552 ที่ผ่านมา สวนป่าทองผาภูมิมีรายได้จากการจำหน่ายผลผลิตยางพารามูลค่าทั้งสิ้น 21,542,258.94 บาท มียางพาราที่ปลูกและกรีดได้แล้วจำนวน 44,989 ต้น บนเนื้อที่กว่า 1,534 ไร่ ซึ่งขณะนี้กรีดได้แล้วเกือบทุกโซน

"ทางสวนเริ่มมีรายได้จากยางพารามาตั้งแต่ปี 46 ซึ่งเป็นปีแรกที่เราเริ่มกรีดได้ เพราะยางพาราต้องใช้เวลาประมาณ 6-7 ปีกว่าจะเริ่มกรีดได้ ถ้าดูจากตัวเลขรายได้ตั้งแต่ปี 46 จนถึงปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 87.192 ล้านบาท และเราประมาณการไว้ว่าในปี 2557 สวนป่าทองผาภูมิจะมีรายได้จากผลผลิตยางพาราอยู่ที่ประมาณ 115.200 ล้านบาท" เชี่ยวชาญ พิบูลย์ หัวหน้าสวนป่าทองผาภูมิให้ข้อมูลระหว่างนำคณะสื่อมวลชนเยี่ยมสวนป่ายางพารา

เขาระบุว่า การจัดการสวนยางพารานั้น นอกจากควบคุมการกรีดยางพาราและผลิตยางพาราแผ่นดิบให้เป็นไปตามแผนการดำเนินการรายปีแล้ว ทางสวนป่ายังได้ทดลองวิจัยที่เกี่ยวข้องกับยางพาราอย่างต่อเนื่อง อย่างเช่น การทดลองติดร่มกันฝนให้แก่ต้นยางพาราและการใช้แก๊สเร่งน้ำยางสำหรับต้นยางพาราที่มีอายุมากใกล้จะโค่นทิ้ง ทั้งนี้เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีปริมาณมากและคุณภาพสูง อีกทั้งยังเป็นตัวอย่างให้แก่เกษตรกรในละแวกใกล้เคียงสวนป่าสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ด้วย

หัวหน้าสวนป่าคนเดิมระบุอีกว่า ในการเก็บเกี่ยวผลผลิตยางพารา ทางสวนป่าดำเนินการจ้างชาวบ้านในหมู่บ้านป่าไม้เป็นผู้กรีดยางพาราและทำแผ่น โดยจัดสรรส่วนแบ่งตอบแทนผู้กรีดยางในอัตราส่วน 60:40 และ 75:25 ในส่วนของเบอร์กรีดที่ติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มผลผลิตยางพารา ซึ่งขณะนี้มีผู้รับจ้างกรีดยางพาราให้แก่สวนป่าฯ จำนวนทั้งสิ้น 55 ครอบครัว

"ข้อดีในการใช้หมวกครอบก็เพื่อป้องกันหน้ายางถูกทำลายช่วงหน้าฝนหรือถ้าฝนตกไม่หนักมากก็สามารถกรีดได้ ส่วนการใช้แก๊สเร่งน้ำยาง เราก็ทำอยู่ แต่ใช้กับต้นยางพาราที่มีอายุมากใกล้จะโค่นแล้ว ซึ่งทั้งสองวิธีได้ผลดีมาก ขณะนี้ก็ได้นำแนวคิดนี้ไปยังสวนป่าอื่นๆ ที่ปลูกยางพารา โดยเฉพาะทางภาคอีสานขณะนี้ก็มีหลายสวนป่าที่ยางพาราใกล้เริ่มกรีดแล้ว" เชี่ยวชาญย้ำชัด

ด้าน บุญหลาย ปิ่นใจ ชาวบ้านใน ต.ห้วยเขย่ง อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี ผู้รับจ้างกรีดยางพาราสวนป่าทองผาภูมิมากว่า 7 ปี เผยว่ารับจ้างเป็นคนงานของสวนป่าแห่งนี้มากว่า 10 ปี แต่มาเริ่มรับจ้างกรีดยางเมื่อ 5 ปีมานี้เอง ยอมรับว่าหลังจากรับจ้างกรีดยางให้แก่สวนป่า ทำให้มีชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้นมาก โดยเฉพาะในช่วงยางราคาดี มีรายได้เฉลี่ยวันเกือบ 2,000 บาท หลังแบ่งรายได้กับทางสวนป่าแล้ว

"ทางสวนแบ่งให้กรีดประมาณ 12 ไร่ ได้ยางวันละ 30-40 แผ่น ในหนึ่งปีก็กรีดได้ตลอด ยกเว้นช่วงหน้าฝนที่ฝนตกหนักและหน้าร้อนเดือนเมษา ช่วงต้นยางพาราผลัดใบ ก็จะไม่มีรายได้จากตรงนี้ ก็จะไปรับจ้างทำงานอื่นแทน เดือนหนึ่งจะขายยางแผ่น 2 ครั้ง โดยทางสวนป่าจะเป็นผู้ดำเนินการเองทั้งหมด" ลูกจ้างสวนป่าคนเดิมกล่าวอย่างภูมิใจ

หมวกครอบต้นยางพาราป้องกันฝนและการใช้แก๊สเร่งน้ำยาง นับเป็นอีกทางเลือกในการเพิ่มผลผลิตยางพารา อันเป็นผลมาจากการทดลองวิจัยของสวนป่าทองผาภูมิมาอย่างยาวนานนั่นเอง

"สุรัตน์ อัตตะ"

http://www.komchadluek.net/detail/20100525/60258/%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%A7%E0%B8%81%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%9A-%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%8A%E0%B8%AA%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%84%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%87.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 23/12/2010 9:09 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)




ยางพารายืนต้นตายสนิทที่อีสาน "เลย" บทเรียนล้ำค่า ก่อนส่งเสริม


คมชัดลึก : จากกรณีต้นยางพาราที่ปลูกในโครงการขยายพื้นที่ปลูกยางพารา 1 ล้านไร่ ในภาคอีสาน และต้นยางพาราที่เกษตรกรปลูกเองนอกโครงการยืนต้นตายสนิท เนื่องจากได้รับผลกระทบจากความแห้งแล้งอย่างรุนแรง ในช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม 2553 ถึงขนาดในพื้นที่ จ.เลย มีต้นยางพารายืนต้นตายกว่า 2 หมื่นไร่ จากจำนวนยางพาราที่ปลูกทั้งหมดกว่า 7.4 แสนไร่ และบางแห่งแม้ต้นยางจะมีอายุ 5 ปีแล้ว ยังยืนต้นอีกนั้น นับเป็นปรากฏการณ์ที่ไม่ค่อยได้เห็นบ่อยนัก

เนื่องเพราะจากความเป็นจริงที่เคยพบเห็นมา ยางพาราถือเป็นไม้ยืนต้นที่ทนต่อสภาพแห้งแล้งได้ดีพอสมควร จะเห็นได้ในพื้นที่ทางภาคใต้ และภาคตะวันออก แม้จะมีการปลูกยางพาราที่ใช้ต้นกล้าในลักษณะที่เป็นตาเขียว คือหลังจากติดตา พอใบแตกใบก็ถอนไปปลูกทันทีโดยไม่ต้องไปเพาะชำในถุงดำ และไม่ต้องรอให้แตกใบถึง 2 ฉัตร แต่เมื่อปลูกไปแล้ว มีฝนตกในปริมาณที่เพียงพอเพียง 1-2 ครั้ง ต้นยางพาราจะงอกงามจนถึงวันที่กรีดน้ำยางได้ ขณะที่ยางพาราที่ปลูกใน จ.เลย ใช้ต้นกล้าที่เพาะชำในถุง และปลูกแล้ว 2-4 ปี พอเจอสภาพแล้งกลับยืนต้นอย่างไม่น่าเชื่อ

นายเพิก เลิศวังพง ประธานชุมชนสหกรณ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ปีนี้ภาวะภัยแล้งค่อนข้างรุนแรง โดยเฉพาะในภาคอีสาน ทำให้ยางพารายืนต้นตายจำนวนมาก ซึ่งจากข้อมูลจากสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางในจังหวัดต่างๆ ของภาคอีสาน ยืนยันมาว่า มีต้นยางพารายืนต้นในพื้นที่หลายจังหวัด แต่ที่มากที่สุดคือในพื้นที่ จ.เลย เป็นส่วนยางพาราที่อยู่ภายใต้การดูแลของ สกย.จังหวัดเลย มีต้นยางพารายืนต้นตายในพื้นที่กว่า 7,000 ไร่ นอกจากนั้นยังมีต้นยางพาราที่เกษตรกรปลูกเองตามอำเภอต่างๆ อีกจำนวนมากเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม ในภาคตะวันออกในปีนี้พบว่ามีสวนยางพาราในพื้นที่ จ.ตราด กว่า 10 ไร่ และบางส่วนใน จ.จันทบุรี มีต้นยางพาราตายเช่นกัน แต่เป็นการตายจากโรคระบาด ซึ่งกำลังตรวจสอบดูว่าเป็นโรคเดียวกันกับที่เคยเกิดในประเทศบราซิลหรือไม่ เกษตรกรได้แจ้งหน่วยงานรับผิดชอบแล้ว โดยเฉพาะกรมวิชาการเกษตร แต่ดูเหมือนว่าจะไม่ค่อยสนใจเท่าไรนัก

นายทรงศักดิ์ ประจงจัด นายกสมาคมชาวสวนยาง จ.เลย กล่าวว่า จากการสำรวจทางราชการทราบมาว่า ในพื้นที่ จ.เลย มีพื้นที่ปลูกยางทั้งหมด 7.4 แสนไร่ ในจำนวนนี้ปรากฏว่าในช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม 2553 ที่ผ่านมา มีต้นยางพารายืนต้นตายกระจัดกระจายในพื้นที่ต่างๆ กว่า 2 หมื่นไร่ ที่พบมากที่สุดคือ พื้นที่ อ.ผาขาว อ.วังสะพุง อ.นาด้วง และ อ.เมือง จ.เลย ส่วนใหญ่เป็นต้นยางพาราที่มีอายุตั้ง 1-2 ปี จะตายมากที่สุด ในส่วนที่เกษตรกรปลูกในโครงการขยายพื้นที่ปลูกยางพารา 1 ล้านไร่ ในระยะแรกไม่มีปัญหา เกษตรกรสามารถกรีดได้แล้ว จะมีบ้างที่ปลูกรุ่นสุดท้ายที่ปลูกในปี 2549 แต่น้อยมาก

"ของผมต้นโตปลูกมา 2-3 ปี ก็ตายเหมือนกัน ราว 20-30 ต้น ที่เหลือผมรดน้ำทัน จึงรอดไป แต่ที่ผมเพิ่งปลูกใหม่กว่า 10 ไร่ เสียทั้งหมดเลย" นายทรงศักดิ์ กล่าวและว่า สาเหตุที่ต้นยางพาราตายนั้น มาจากความแห้งแล้งในช่วงเดือนมีนาคม 2553 ซึ่งเป็นช่วงที่ต้นยางพาราผลัดใบ พอเริ่มแตกยอดอ่อน ใบยางต้องการน้ำสูง จึงดูดน้ำในลำต้นจนหมด ขณะที่น้ำในดินแห้ง รากไม่สามารถดูดน้ำไปเลี้ยงลำต้นได้ ทำให้ต้นยางยืนตายทั้งต้น แต่ไม่ใช่ตายทั้งสวน แต่ตายเป็นย่อมๆ สลับกันเท่านั้น"

ขณะที่ นายหล้า พรหมมาศ ประธานกลุ่มสหกรณ์กองทุนสวนยางผาน้อย อ.วังสะพุง จ.เลย กล่าวว่า ขณะนี้มีสมาชิกของกลุ่มสหกรณ์ได้รับความเดือดร้อนจากภัยแล้งเป็นอย่างมาก เนื่องจากยางพาราที่ปลูกในโครงการขยายพื้นที่ปลูกยางพารา 1 ล้านไร่ เกิดอาการยืนตายไปดื้อๆ อย่างกรณีของนายสุดท้าย ไพรยา เกษตรกรหมู่ 14 ต.ผาน้อย อ.วังสะพุง ซึ่งเข้าร่วมโครงการปี 2548 ปลูกยางจำนวน 2,500 ต้น ได้รับความเสียหาย 1,073 ต้น ปัจจุบันแม้ฝนเริ่มตกลงมาแล้ว แต่ต้นยางก็ไม่มีทีท่าว่าจะฟื้นขึ้นแต่อย่างใด

"โครงการขยายพื้นที่ปลูกยางพารา 1 ล้านไร่ เป็นโครงการที่ดี ที่ภาครัฐได้นำมาส่งเสริมให้แก่เกษตรกรในภาคอีสานได้ปลูก เพราะถือเป็นความหวังของเกษตรกรที่จะได้ลืมตาอ้าปากได้อย่างยั่งยืน อย่างของผมเข้าร่วมโครงการเมื่อปี 2547 ในพื้นที่ 10 ไร่ ปลูกยางพาราได้ 760 ต้น ผมดูแลและจัดการอย่างดี ทำให้ต้นยางเจริญเติบโตดี ได้ขนาดมาตรฐาน สามารถเปิดกรีดตั้งแต่อายุ 5 ปี กรีดวันเว้นวัน ตอนนี้ทำยางแผ่นได้วันละ 25 แผ่น แม้จะประสบภัยแล้ง แต่ผมติดตั้งระบบน้ำจึงไม่มีปัญหา อย่างไรก็ตาม เมื่อภาครัฐได้ดำเนินโครงการนี้แล้ว ใคร่ขอวิงวอนให้ภาครัฐและผู้ที่เกี่ยวข้องได้มีการติดตาม ประเมินผลโครงการนี้ด้วย อย่างปัจจุบันเกษตรกรได้รับความเสียหาย ภาครัฐควรเร่งรัดหาแนวทางแก้ไขและจัดเป็นนโยบายอย่างเร่งด่วนด้วย" นายหล้า กล่าว

กรณีที่ต้นยางพารายืนต้นตายเพราะภัยแล้งใน จ.เลย นั้น เป็นตัวอย่างที่ดีอีกตัวอย่างหนึ่ง ที่จะให้เกษตรกรและหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องน่าจะนำมาเป็นกรณีศึกษา ก่อนที่จะตัดสินใจส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกยางพาราในแต่ละพื้นที่ในอนาคตได้เป็นอย่างดี

ทางออก"ติดตั้งระบบน้ำยด"
นายมนตรี คงตระกูลเทียน ประธานคณะผู้บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ร่วม กลุ่มธุรกิจพืชครบวงจร เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) เปิดเผยว่า เนื่องจากปีนี้เกิดภาวะแห้งแล้งอย่างรุนแรง นับว่าเป็นปัญหากับภาคการเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกษตรกรผู้ปลูกข้าว และยางพารา ซึ่งแม้ว่ายางพาราเป็นพืชยืนต้น แต่วันนี้ต้องประสบกับปัญหาต้นยางพาราของเกษตรกรในภาคอีสานเกิดยืนต้นตายจำนวนมาก

อย่างไรก็ตาม บริษัทเจริญโภคภัณฑ์เมล็ดพันธุ์ เห็นปัญหาที่เกิดขึ้น จึงดำเนินการวางระบบการติดตั้งระบบน้ำหยดให้แก่สวนยางพาราของเกษตรกร ซึ่งถือว่าเป็นทางออกของชาวสวนยางที่จะแก้ปัญหาเรื่องแล้งได้ อย่างที่ผ่านมา เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2552 ได้วางน้ำหยดในสวนยางปลูกใหม่จำนวน 70 ไร่ ในพื้นที่ ต.ลำไทรโยง อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ เวลาผ่านไป 13 เดือน ต้นยางมีความเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว และโตสม่ำเสมอ วัดเส้นรอบวงที่ 15 ซม. หากเทียบกับยางที่ปลูกรุ่นเดียวกันแต่ไม่ได้วางระบบน้ำหยดแล้ว มีอัตราการเจริญเติบโตที่เร็วกว่าเท่าตัว

"วันนี้ราคายางดีมาก ถือเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ เมื่อเกษตรกรเปิดกรีดได้แล้วจะมีรายได้เฉลี่ยปีละ 2-3 หมื่นบาทต่อไร่ เมื่อเทียบกับการลงทุนติดตั้งระบบน้ำหยดให้กับสวนยางแล้ว 1 ไร่ ใช้เงินลงทุนประมาณ 6,000 บาท เกษตรกรควรลงทุนในการติดตั้งระบบน้ำหยดให้แก่สวนยางแล้วจะก่อให้เกิดประโยชน์คือสามารถเปิดกรีดได้เร็วขึ้น ให้ผลผลิตสูง และการบริหารจัดการสวนยางก็ง่ายด้วย” นายมนตรี กล่าว

ดลมนัส กาเจ

http://www.komchadluek.net/detail/20100816/69976/69976.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 23/12/2010 9:11 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ชาวสวนยางวังสะพุง จัดพิธีฌาปนกิจต้นยาง หลังยืนต้นตายเพราะภัยแล้ง

(20/08/2553)


เลย - เกษตรกรชาวสวนยางบ้านผาน้อย อำเภอวังสะพุง จังหวัด กว่า 300 คนทำพิธีฌาปนกิจต้นยางหลังยืนต้นตายเพราะภัยแล้ง พร้อมทวงถามค่าชดเชยที่รัฐบาลเคยรับปากจะจ่ายให้ 920 บาทต่อไร่ โดยในพิธีนิมนต์พระมาสวดมาติกา บังสุกุลให้เหมือนงานศพคนทุกขั้นตอน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 10.00 น.วันนี้ (19 ส.ค.) ชาวบ้านบ้านผาน้อยประมาณ 300 คน รวมตัวกันที่วัดศรีมงคล บ้านกลาง หมู่ 13 ตำบลผาน้อย อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย เพื่อร่วมงานฌาปนกิจศพ หรือ เผาศพต้นยางพารา ที่ตายจากภัยแล้งในโครงการยางล้านไร่ และยังไม่ได้รับการช่วยเหลือจากรัฐบาล

ทั้งนี้ เป็นผลสืบเนื่องจากสถานการณ์ความแห้งแล้งในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ต้นยางพาราในพื้นที่จังหวัดเลย โดยเฉพาะอำเภอวังสะพุง บ้านผาน้อยนั้นล้มตายเป็นจำนวนมาก เกษตรกรบางรายประสบปัญหาต้นยางตายนับพันต้น เป็นการสูญเสียอันยิ่งใหญ่สำหรับเกษตรกรผู้ปลูกยางพารา โดยต้นยางพาราเหล่านั้นจะสามารถกรีดน้ำยางขายได้ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า

นายหล้า พรหมมาศ ประธานสหกรณ์สวนยางพาราบ้านผาน้อย กล่าวว่า งานนี้ที่จัดขึ้นเพื่อต้องการสืบชะตาต้นยางพาราของชาวบ้านผาน้อย ที่ประสบกับภาวะภัยแล้งยืนต้นตายในปีนี้ นับ20,000 ต้น มีเกษตรกรที่ได้รับความเดือดร้อนกว่า 550 คน ที่เป็นสมาชิกสหกรณ์สวนยางผาน้อย อำเภอวังสะพุง

การจัดพิธีสืบชะตาดังกล่าวมีเป้าหมายเพื่อเป็นการปลอบขวัญและให้กำลังใจ เกษตรกรผู้ที่สูญเสียยางพาราที่ปลูกและต้องการให้ภาครัฐบาลได้รับรู้ความเดือดร้อนของเกษตรกร ว่าเดือดร้อนแค่ไหน เป็นการทวงถามภาครัฐ ในเรื่องของค่าชดเชย 920 บาทต่อไร่ ที่เกษตรยังไม่ได้รับ

นอกจากนี้ ทางเกษตรกรเองก็ต้องการให้รัฐบาล ขุดบ่อบาดาล เพื่อบรรเทาปัญหาการขาดน้ำในฤดูแล้ง เพื่อนำน้ำไปใช้ในภาคเกษตรและสวนยางพารา ไม่ให้ยางพาราที่เหลือนั้น ตายอีกในปีต่อไป

สำหรับพิธีสืบชะตาดังกล่าวได้มีการนิมนต์พระจากวัดศรีมงคล มาร่วมสวดมาติกาบังสุกุล และร่วมไว้อาลัยต้นยาง เหมือนกับงานศพของคนทุกขั้นตอน



ที่มา : ผู้จัดการออนไลน์ (วันที่ 20 สิงหาคม 2553)


http://www.rubberthai.com/rubberthai/index.php?option=com_content&view=article&id=1701:20082553&catid=10:2010-05-04-03-57-14
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
muslimvoicetv
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 23/02/2012
ตอบ: 2

ตอบตอบ: 02/03/2012 12:33 am    ชื่อกระทู้: หมวกกันฝนต้นยางพารา กรีดได้แม้ฝนตก กรีดแล้วฝนตกเก็บน้ำยางได้ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

http://www.muslimvoicetv.com/ncontent/news.php?nid=7013
จะดีแค่ไหน? หากเย็นนี้ฝนตก เช้ามากรีดยางได้ หรือดีแค่ไหนในขณะที่กรีดอยู่ - กรีดเสร็จแล้ว ฝนตกลงมา แต่เราสามารถเก็บน้ำยางได้ (ต้องหมวกกันฝนต้นยางพารา ช่วยสิ่งนี้ได้)



http://www.muslimvoicetv.com/ncontent/news.php?nid=7013

นวัฒกรรมใหม่ของการกรีดยางพาราของพี่น้องชาวสวนยางพารา หมวกกันฝนต้นยางพารา แม้ว่าฝนจะตก แม้ว่าแดดจะออก พายุเข้าหนักหนาเพียงใด ฤดูใหนๆ ก็สบายใจได้กับ หมวกกันฝนต้นยางพารา

สนใจสินค้ากรุณติดต่อ 082-3607513 (รับตัวแทนจำหน่ายทั่วประเทศ)



หมวกกันน้ำฝนเข้าหน้ายางและถ้วยรับน้ำยาง

ผลิตจากยางสังเคราะห์พิเศษจึงไม่แตกหักง่ายๆ
สินค้าใช้งานได้มากกว่า 10 ปี


ผลิตสินค้าเองภายในประเทศไทย
http://www.muslimvoicetv.com/ncontent/news.php?nid=7013
ถ้าต้นยางมีขนาด 6 นิ้ว ให้ใช้หมวก เบอร์ 8 โดยให้ + ไป 2 นิ้วจากขนาดของเส้นรอบวงของต้นยาง
มีเบอร์ 6 - 12 นิ้ว

ยินดีต้อนรับตัวแทนจำหน่ายทั่วประเทศ
082-3607513


คำค้นหา : หมวกกันฝนต้นยางพารา, paracap, ยางพารา, ต้นยางพารา, ยาง, ถ้วยรองน้ำยาง, ยางพาราไทย
http://www.muslimvoicetv.com/ncontent/news.php?nid=7013
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©