-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร ทางรายการวิทยุ 19 JAN
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ปัญหาดินตรึงแร่ธาตุ จนพืชนำไปใช้ไม่ได้
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ปัญหาดินตรึงแร่ธาตุ จนพืชนำไปใช้ไม่ได้

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
twohandcrikky
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 31/07/2011
ตอบ: 47

ตอบตอบ: 19/01/2012 10:19 am    ชื่อกระทู้: ปัญหาดินตรึงแร่ธาตุ จนพืชนำไปใช้ไม่ได้ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ผมกำลังหาข้อมูล ปัญหาดินตรึงแร่ธาตุ จนพืชนำไปใช้ไม่ได้น่ะครับ อยากทราบว่า เขียนเป็นภาษาอังกฤษ ว่ายังไงครับ จะไป search ดู
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 19/01/2012 12:11 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ธาตุอาหารพืชฟอสฟอรัส



แหล่งที่มาของฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในดินมาจากสลายตัวของหินแร่ในดิน


ธาตุฟอสฟอรัสในดินมีกำเนิดมาจากการสลายตัวผุพังของแร่บางชนิดในดิน การสลายตัวของสารอินทรียวัตถุในดินก็จะสามารถปลดปล่อยฟอสฟอรัสออกมาเป็นประโยชน์ต่อพืชที่ปลูกได้เช่นเดียวกับไนโตรเจน ดังนั้น การใช้ปุ๋ยคอกนอกจากจะได้ธาตุไนโตรเจนแล้วก็ยังได้ฟอสฟอรัสอีกด้วย ธาตุฟอสฟอรัสในดินที่จะเป็นประโยชน์ต่อพืชได้จะต้องอยู่ในรูปของอนุมูลของสารประกอบที่เรียกว่า ฟอสเฟตไอออน (H2PO4- และ HPO4-) ซึ่งจะต้องละลายอยู่ในน้ำในดิน สารประกอบของฟอสฟอรัสในดินมีอยู่เป็นจำนวนมาก แต่ส่วนใหญ่ละลายน้ำยาก ดังนั้นจึงมักจะมีปัญหาเสมอว่าดินถึงแม้จะมีฟอสฟอรัสมากก็จริงแต่พืชก็ยังขาดฟอสฟอรัส เพราะส่วนใหญ่อยู่ในรูปที่ละลายน้ำยากนั่นเอง นอกจากนั้นแร่ธาตุต่าง ๆ ในดินชอบที่จะทำปฏิกิริยากับอนุมูลฟอสเฟตที่ละลายน้ำได้ ดังนั้นปุ๋ยฟอสเฟตที่ละลายน้ำได้เมื่อใส่ลงไปดินประมาณ 80-90% จะทำปฏิกิริยากับแร่ธาตุในดินกลายเป็นสารประกอบที่ละลายน้ำยากไม่อาจเป็นประโยชน์ต่อพืชได้ ดังนั้นการใส่ปุ๋ยฟอสเฟตจึงไม่ควรคลุกเคล้าให้เข้ากับดินเพราะยิ่งจะทำให้ปุ๋ยทำปฏิกิริยากับธาตุต่าง ๆ ในดินได้เร็วยิ่งขึ้น แต่ควรจะใส่แบบเป็นจุดหรือโรยเป็นแถบให้ลึกลงไปในดินในบริเวณรากของพืช ปุ๋ยฟอสเฟตนี้ถึงแม้จะอยู่ใกล้ชิดกับรากก็จะไม่เป็นอันตรายแก่รากแต่อย่างใด ปุ๋ยคอกจะช่วยป้องกันไม่ให้ปุ๋ยฟอสเฟตทำปฏิกิริยากับแร่ธาตุในดินและสูญเสียความเป็นประโยชน์ต่อพืชเร็วจนเกินไป



การสูญเสียฟอสฟอรัสโดยการตรึงฟอสฟอรัสในดิน


พืชเมื่อขาดฟอสฟอรัสจะมีต้นแคระแกร็น ใบมีสีเขียวคล้ำ ใบล่าง ๆ จะมีสีม่วงตามบริเวณขอบใบ รากของพืชชะงักการเจริญเติบโต พืชไม่ออกดอกและผล พืชที่ได้รับฟอสฟอรัสอย่างเพียงพอจะมีระบบรากที่แข็งแรงแพร่กระจายอยู่ในดินอย่างกว้างขวาง สามารถดึงดูดน้ำและธาตุอาหารได้ดี การออกดอกออกผลจะเร็วขึ้น




ที่มา : รวบรวมจาก สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เล่มที่ 18

http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet6/envi2/subsoil/phos.htm
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 19/01/2012 12:33 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ดินเปรี้ยว ควรปรับปรุงแก้ไขก่อนปลูกพืช


พืชมักจะเจริญเติบโตได้ดีในสภาวะดินที่เป็นกลางหรือกรดอ่อนๆ คือดีที่สุดควรมีค่าพีเอชอยู่ระหว่าง 5.8 - 6.3

บางคนอาจจะงุนงงสงสัย ว่าดินเปรี้ยวคืออะไร มีลักษณะอาการเป็นอย่างไร มีผลอย่างไรต่อการปลูกพืช ดินเปรี้ยวหรือดินกรดจัด ส่วนใหญ่เป็นลักษณะของดินเหนียวที่มีกรดกำมะถันอยู่มากในชั้นดิน โดยชั้นดินที่ลึกลงไปประมาณฟุตหรือประมาณสองหน้าจอบจะสังเกตุเห็นมีจุดสีเหลือง สีน้ำตาล พืชที่ปลูกบนพื้นที่ดินเปรี้ยวจะมีการเจริญเติบโตช้า สภาพต้นจะเตี้ยแคระแกร็น ใบไหม้ ไม่ตอบสนองต่อการใส่่ปุ๋ย ผลผลิตถดถอย อ่อนแอต่อโรคและแมลง สภาพดินโดยรวมจะแน่นแข็งเนื่องจากโครงสร้างทางด้านระบบนิเวศน์ไม่เอื้อต่อการเจริญเติบโตของจุลิทรีย์ ขาดสิ่งมีชีวิตเข้ามาทำกิจกรรมหนุนเนื่อง ส่งผลให้พืชเจริญเติบโตแบบแร้นแค้น

ดินเปรี้ยว ส่วนหนึ่งเกิดจากพฤติกรรมการใช้ปุ๋ยเคมีมาเป็นระยะเวลานานและสาเหตุทั่วไปเกิดจากการทับถมของตะกอนน้ำกร่อยหรือซากของอินทรียวัตถุที่ทับถมกันเป็นเวลายาวนาน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นบริเวณที่เคยได้รับอิทธิพลจากน้ำทะเลท่วม ถึงมาก่อน (เช่น บริเวณที่เคยเป็นป่าชายเลน และบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำใหญ่ๆ ) โดยจุลินทรีย์ในดิน จะเปล่ียนสารประกอบพวกกำมะถันในน้ำทะเลให้เป็นแร่ไพไรท์ (สารประกอบของเหล็กและกำมะถัน ) สะสม อยู่ในสภาพนํ้าขังต่อมาเมื่อฝั่งทะเลยื่นออกไปเรื่อยๆ และถ้ามีการระบายน้ำออกไปจนทำให้ดินแห้ง ก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมี แร่ไพไรท์จะถูกเปลี่ยนแปลงไป ในที่สุดจะได้กรดกำมะถันซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ดิน้ป็นกรดจัดและมักจะพบสารประกอบของเหล็กที่สําคัญตัวหนึ่งคือ "จาโรไซท์" ที่มีสีเหลืองคล้ายฟางข้าว ซึ่งเราใช้เป็นสิ่งสังเกตุลักษณะของดินเปรี้ยว หรือจะสังเกตุอีกวิธีหนึ่งจากตัวเลขที่ใช้น้ำยาตรวจและเทียบสี (Test Kids) โดยค่าที่อยู่ตรงเลข 7 คือ เป็นกลาง มากกว่า 7 เป็นด่าง น้อยกว่า 7 เป็นกรดยิ่งมีค่าน้อยมากเท่าไดก็เป็นกรดมากขึ้นเท่านั้น


พืชมักจะเจริญเติบโตได้ดีในสภาวะดินที่เป็นกลางหรือกรดอ่อนๆ คือดีที่สุดควรมีค่าพีเอชอยู่ระหว่าง 5.8 - 6.3 ซึ่งจะช่วยทำให้แร่ธาตุและสารอาหารต่างๆที่สะสมอยู่ในดินละลายออกมาเป็นประโยชน์ต่อพืชหรือช่วยให้รากพืชหาอาหารดูดกินได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย แต่ถ้าปล่อยปละละเลยไม่มีการตรวจวัดค่าความเป็นกรดหรือด่างของดินก่อนปลูกก็จะเกิดความเสี่ยงสูงเมื่อปลูกบนพื้นที่ที่เป็นดินเปรี้ยวเพราะจะทำให้พืชเจริญเติบโตช้า ฟอสฟอรัสจะถูกจับตรึง รากสั้นหาอาหารได้ไม่ไกล สารอาหารในกลุ่มเหล็ก ทองแดงละลายออกมามากจนเป็นพิษต่อพืช ไนโตรเจนถูกปลดปล่อยสูญเสียไปโดยง่าย วิธีการแก้ไขควรใช้กลุ่มของวัสดุปูนอย่างเช่น ปูนเปลือกหอย ปูนมาร์ล ปูนเผา ปูนขาว โดโลไมท์ ฟอสเฟต (ปูนดีและมีประโยชน์เมื่อดินเปรี้ยวหรือเมื่อพืชขาดแคลเซียม แต่ปูนไม่มีซิลก้า, ไม่มีความสามารถในการจับตรึงปุ๋ยให้เป็นปุ๋ยละลายช้า จึงไม่ควรใช้อย่างพร่ำเพรื่อ) โดยค่อยๆใส่ทีละน้อยก่อนโดยสังเกตุเปรียบเทียบจากค่าพีเอชเป็นหลัก ไม่ต้องใส่ทีเดียวมากเกินไป เดี๋ยวจะกลายเป็นสะเทิ้นด่างแทนแล้วจะแก้ยากกว่าเดิมเข้าไปอีก ใช้วิธีการใ่ส่น้อยแต่ใส่บ่อยๆจะดีกว่า



มนตรี บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ. Www.thaigreenagro.com
http://www.gotoknow.org/blogs/posts/474299


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 19/01/2012 1:00 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 19/01/2012 12:59 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ความเป็นกรด-ด่างของดิน


สภาพความเป็นกรด-ด่างของดินนั้นเราสามารถตรวจสอบได้ ปกติเรามักใช้บอกความเป็นกรด-ด่างด้วยค่าที่เรียกว่า พีเอช หรือนิยมเขียนสัญลักษณ์เป็นภาษาอังกฤษ pH ความหมายของค่าพีเอชนี้ขออธิบายดังนี้ ช่วงของพีเอชของดินโดยทั่วไปจะมีค่าอยู่ระหว่างประมาณ ๓.๐-๙.๐ ค่า pH 7.0 บอกถึงสภาพความเป็นกลางของดิน กล่าวคือ ดินมีตัวที่ทำให้เป็นกรดและตัวที่ทำให้เป็นด่างอยู่เป็นปริมาณเท่ากันพอดี ค่าที่ต่ำกว่า ๗.๐ เช่น ๖.๐ บอกสภาพความเป็นกรดของดิน ในกรณีนี้เมื่อดินมี pH 6.0 เราก็จะทราบว่าดินเป็นกรดอย่างอ่อน มีสภาพเป็นกรดมากกว่าดินที่มี pH 7.0 (เป็นกลาง) สิบเท่า ค่า pH ของดินยิ่งลดลงเท่าใดสภาพความเป็นกรดก็รุนแรงยิ่งขึ้นเท่านั้น ดินที่มี pH 5.0 จะเป็นกรดมากกว่า pH 6.0 สิบเท่าและมากเป็น ๑๐๐ เท่าของดินที่มี pH 7.0 แต่ละค่าของ pH ที่ต่างกันหนึ่งหน่วยจะบอกความเป็นกรดที่แตกต่างกันสิบเท่า เช่นเดียวกับดินที่มี pH สูงกว่า ๗.๐ ก็จะบอกสภาพความเป็นด่างของดินยิ่งมีค่าสูงกว่า ๗.๐ เท่าใด ความเป็นด่างก็ยิ่งสูงขึ้นเท่านั้น และจะเป็นด่างมากขึ้นเป็นสิบเท่าต่อความแตกต่างกันหนึ่งหน่วยของค่า pH ระดับความรุนแรงของความเป็นกรด-ด่างของดินสามารถบอกได้จากค่าของ pH ดังนี้

ค่าของ pH ของดินสามารถวัดได้ด้วยเครื่องวัดความเป็นกรด ในภาคสนามสามารถใช้ชุดตรวจสอบชนิดใช้น้ำยาเปลี่ยนสีตรวจสอบเรียกว่า pH Test Kit หรือชุดตรวจสอบ pH

ความเป็นกรด-ด่างของดินมีผลทั้งโดยตรงและโดยอ้อมต่อการเจริญเติบโตของพืชที่ปลูกอยู่ในดิน แต่จะขอกล่าวโดยสรุปเป็นสังเขปเท่านั้น

ความเป็นกรดของดินจะมีสภาพเหมือนกับกรดอย่างอ่อน เช่น กรดน้ำส้มสายชู ตัวที่แสดงความเป็นกรดคือ ไฮโดรเจนไอออน (H+) ซึ่งมีอิทธิพลอย่างมากในการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญทางเคมีของดิน กล่าวคือ ทำให้มีการละลายตัวของธาตุหรือสารต่างๆ ในดินออกมา บ้างก็เป็นประโยชน์ บ้างก็อาจเป็นพิษต่อพืช เช่น ถ้าดินเป็นกรดรุนแรงจะทำให้มีธาตุพวกอะลูมิเนียม แมงกานีส และเหล็ก ละลายออกมาอยู่ในน้ำในดินมากเกินไป จนเกิดเป็นพิษขึ้นแก่พืชที่ปลูกได้ แมงกานีสและเหล็กแม้จะเป็นธาตุอาหารพืชที่สำคัญ แต่พืชต้องการในปริมาณน้อย ถ้ามีสะสมอยู่ในดินมากจนเกินไปก็จะเกิดเป็นพิษขึ้นกับพืชได้ ดินที่มีค่าพีเอช (pH) ต่ำกว่า ๔.๕ ลงไปเรามักพบปัญหาดังกล่าวข้างต้น

ความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารต่างๆ ในดินที่พืชจะดึงดูดเอาไปใช้ได้ง่ายและมากน้อยแค่ไหน ขึ้นอยู่กับสภาพหรือระดับ pH ของดินเป็นอย่างมาก ธาตุอาหารพืชที่มีอยู่ในดินจะคงสภาพที่เป็นประโยชน์ต่อพืชได้ง่าย และมีปริมาณมากที่ pH ช่วงหนึ่ง ถ้าดินมี pH สูงหรือต่ำกว่าช่วงนั้นๆ ก็เปลี่ยนสภาพเป็นรูปที่ยากที่พืชจะดึงดูดเอาไปใช้เป็นประโยชน์ได้ เช่น ธาตุฟอสฟอรัสจะอยู่ในรูปของสารละลายที่พืชดึงดูดไปใช้ได้ง่าย เมื่อดินมี pH อยู่ระหว่าง ๖.๐-๗.๐ ถ้าดินมี pH สูง หรือต่ำกว่าช่วงนี้ ความเป็นประโยชน์ของธาตุฟอสฟอรัสในดินก็ลดน้อยลง เพราะไปทำปฏิกิริยากับแร่ธาตุต่างๆ ในดินได้ง่ายขึ้น และแปรสภาพเป็นสารประกอบที่ละลายน้ำยาก ปุ๋ยฟอสเฟตที่เราใส่ลงไปในดินจะเป็นประโยชน์ต่อพืชที่ปลูกได้มากที่สุดก็เมื่อดินมี pH อยู่ในช่วงดังกล่าว ปุ๋ยฟอสเฟตที่ใส่ลงไปในดินจะไม่เป็นประโยชน์ต่อพืชทั้งหมด แต่จะสูญเสียไปโดยทำปฏิกิริยากับแร่ธาตุต่างๆ ในดิน แปรสภาพเป็นสารประกอบที่ละลายน้ำยากเสียกว่า ๘๐% ซึ่งเราเรียกว่าฟอสเฟตถูกตรึง ปุ๋ยฟอสเฟตจะถูกตรึงได้ง่ายและมากขึ้นไปกว่านี้ได้อีก ถ้าดินมี pH สูงหรือต่ำกว่าช่วง pH ดังกล่าวข้างต้น

ธาตุอาหารพืชพวกจุลธาตุ (micronutrients) เช่น สังกะสี เหล็ก แมงกานีส โบรอน เป็นต้น จะละลายออกมาอยู่ในสภาพที่เป็นประโยชน์ต่อพืชได้ง่าย และมีอยู่ในดินอย่างพอเพียงกับความต้องการของพืช เมื่อดินมี pH เป็นกรดอย่างอ่อนถึงกรดปานกลางมากกว่าเมื่อดินมี pH เป็นกลางหรือเป็นด่าง แต่ในทางตรงกันข้ามธาตุอาหารโมลิบดินัม จะเป็นประโยชน์ต่อพืชได้ดีขึ้น ถ้าดินมี pH เป็นกลางถึงด่างอย่างอ่อน อย่างไรก็ตามเมื่อสรุปความเสียเปรียบและได้เปรียบระหว่างความเป็นกรดและเป็นด่างของดินแล้ว ดินที่เหมาะสำหรับปลูกพืชควรจะมี pH อยู่ในช่วงเป็นกรดอย่างอ่อนถึงเป็นกรดปานกลาง

ความสำคัญของ pH ของดินยังเกี่ยวข้องอยู่กับการทำงานที่เป็นประโยชน์ของจุลินทรีย์ต่างๆ ในดินด้วย ปกติสารประกอบอินทรีย์ต่างๆ ในดินจะเน่าเปื่อยผุพังได้ก็โดยที่มีจุลินทรีย์ต่างๆ เข้าย่อยทำลาย ขณะที่สารอินทรีย์พวกนี้กำลังสลายตัวก็จะปลดปล่อยธาตุอาหารต่างๆ ออกมาซึ่งรากพืชสามารถดึงดูดไปใช้ได้ พวกปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก เมื่อใส่ลงไปในดินแล้วทำให้พืชงอกงามดีขึ้นนั้น ก็เนื่องจากจุลินทรีย์พวกนี้เข้าย่อยและทำให้ปุ๋ยคอกสลายตัว และปลดปล่อยธาตุอาหารออกมาเป็นประโยชน์ต่อพืชอีกทีหนึ่ง การที่ปุ๋ยคอกมีผลต่อการเจริญเติบโตของพืชได้ช้ากว่าปุ๋ยเคมี ก็เนื่องด้วยเหตุที่ปุ๋ยคอกต้องรอให้จุลินทรีย์เข้าย่อยให้สลายตัวเสียก่อน ซึ่งผิดกับปุ๋ยเคมีเมื่อละลายน้ำแล้วพืชก็สามารถดึงดูดเอาธาตุอาหารจากปุ๋ยไปใช้ได้ทันที จุลินทรีย์ต่างๆ ที่เข้าย่อยสลายปุ๋ยคอกและสารอินทรีย์ต่างๆ ตลอดจนฮิวมัสในดินนั้นจะทำงานได้เต็มที่และมีประสิทธิภาพ เมื่อ pH ของดินอยู่ระหว่าง pH 6-7 ถ้าดินเป็นกรดรุนแรงถึงกรดรุนแรงมาก จุลินทรีย์ในดินจะทำงานได้ช้าลง ปุ๋ยคอกและสารอินทรีย์ในดินจะสลายตัวและเป็นประโยชน์ต่อพืชได้ช้ามาก

เมื่อดินเป็นกรดรุนแรงและกรดรุนแรงมากนั้น มักจะพบว่าพืชที่ปลูกไม่เจริญเติบโต และงอกงามเท่าที่ควร เราสามารถแก้ไขดินที่เป็นกรดมากจนเกินไปนี้ (pH ต่ำกว่า ๕.๐) ให้มีระดับ pH สูงขึ้น ได้โดยการใส่สารประกอบพวกปูนขาว (Ca(OH2)) หินปูนที่บดละเอียดเป็นฝุ่น (CaCO3) และปูนมาร์ล (marl) ซึ่งเป็นสารประเภทเดียวกันกับหินปูน สารประกอบพวกนี้เมื่อใส่ลงไปในดินจะมีฤทธิ์เป็นด่างและจะเข้าไปทำปฏิกิริยากับกรด ทำให้สารพวกกรดในดินลดน้อยลง และมีสารพวกด่างสูงขึ้น




http://guru.sanook.com/encyclopedia/%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%99/
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 19/01/2012 1:01 pm    ชื่อกระทู้: Re: ปัญหาดินตรึงแร่ธาตุ จนพืชนำไปใช้ไม่ได้ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

twohandcrikky บันทึก:
ผมกำลังหาข้อมูล ปัญหาดินตรึงแร่ธาตุ จนพืชนำไปใช้ไม่ได้น่ะครับ อยากทราบว่า เขียนเป็นภาษาอังกฤษ ว่ายังไงครับ จะไป search ดู



ภาษาอังกฤษไม่ทราบ.....ทราบแต่ภาษาไทย




.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©