-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ยัยเฉิ่ม จะเป็นชาวนา.....
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ยัยเฉิ่ม จะเป็นชาวนา.....
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ยัยเฉิ่ม จะเป็นชาวนา.....
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3, 4, 5 ... 13, 14, 15  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 03/06/2012 12:59 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

คิดนอกกรอบ....แผลงๆ แต่สร้างสรร....


CASE STUDY ยัยเฉิ่ม จะเป็นชาวนา
- ที่นา 25 ไร่ อยู่คนละที่กัน แยกออกเป็น 3 แปลง ทำให้การควบคุมทำได้ยาก
- มีเวลาน้อย เพราะตัวเองมีงานประจำอยู่แล้วจึงมีเวลาสำหรับนาข้าวแค่เสาร์-อาทิตย์ กับวันหยุดราชการเท่านั้น
- ไม่มีแรงงานในครอบครัว ต้องทำทุกอย่างด้วยตัวเองคนเดียว
- จ้างทุกอย่างตั้งแต่ก้าวแรกลงนา ถึงก้าวสุดท้ายกลับเข้าบ้านหลังขายข้าวให้โรงสี
- ที่นาต้องเช่า ค่าเช่าขึ้นอยู่กับเจ้าของนา
- ระบบน้ำแต่ละแปลงนาไม่พร้อม และมีปัญหามากเมื่อต้องแย่งน้ำกับแปลงข้างเคียง
- ก่อนลงมือทำไม่ได้วิเคราะห์ผล (หนี้) จากการทำนา 2-3 รุ่นที่ผ่านมา ว่าอะไรคือต้นเหตุ
- ดินสะสม "เหง้า-ไหล-หัว-เมล็ด" วัชพืช/หญ้า เพราะกำจัดไม่ถูกวิธี มานานติดต่อกันนานกว่า 3 ปี

- เป็นผู้หญิง (สาว-สวย-หมวย-อึ๋ม) คนเดียวของบ้าน ลงไปทำนาท่ามกลางสายตาชายฉกรรจ์

- ฯ ล ฯ



เฮ็ดน่อย สิด้ายหลาย....เฮ็ดหลาย สิด้ายน่อย

กรณีนาข้าว ความหมาย คือ ทำนาบนเนื้อที่น้อยแต่ผลผลิตสร้างรายได้มากกว่าหรือเท่ากับการทำนาบนเนื้อที่ขนาดใหญ่ ตัวแปรสำคัญ คือ ต้นทุนระหว่างแปลงขนาดเล็กกับแปลงขนาดใหญ่ นั่นเอง เช่น....

นาข้าว 25 ไร่ ..... ทำนาแบบเดิม ต้องจ้างแรงงาน ทุกอย่าง-ทุกครั้ง-ทุกขั้นตอน
นาข้าว 10 ไร่ ..... ทำนาประณีต ทำเอง ทุกอย่าง-ทุกครั้ง-ทุกขั้นตอน ได้ด้วยตัวเองเพียงคนเดียว

นาข้าว 25 ไร่ ..... ปุ๋ย/ฮอร์โมน/ยาฆ่าแมลง-ศัตรูพืช/ยาฆ่ายาคุมหญ้า ซื้อทุกอย่าง
นาข้าว 10 ไร่ ..... ปุ๋ย/ฮอร์โมน/ยาฆ่าแมลง-ศัตรูพืช/ยาฆ่ายาคุมหญ้า ทำเองทุกอย่าง

นาข้าว 25 ไร่ ..... ขายให้โรงสี หรือจำนอง ธ.ก.ส. ถูกตัดราคาสาระพัด เหลือแค่ไหนได้แค่นั้น
นาข้าว 10 ไร่ ..... ขายเป็นข้าวปลูกให้แปลงข้างเคียงหรือสีเป็นข้าวกล้องขาย ได้มากกว่าและเก็งตลาดได้ด้วย

นาข้าว 25 ไร่ ..... ความประณีตบรรจงจากแรงงานจ้าง ควบคุมยากหรือควบคุมไม่ได้เลย
นาข้าว 10 ไร่ ..... ความประณีตบรรจงควบคุมได้เพราะทำเอง

นาข้าว 25 ไร่ ..... ปัญหาประเภท "เรื่องไม่เป็นเรื่อง จู้จี้จุกจิกกวนใจจริงเจียว" เกิดขึ้นบ่อยๆ
นาข้าว 10 ไร่ ..... ทุกปัญหาอยู่ที่ความพอใจ เรื่องของมึงเรื่องของมึงเรื่องของมึงเรื่องของมึง เรื่องของกู

นาข้าว 5 ไร่ ...... ทำ "ทุกอย่าง-ทุกครั้ง-ทุกขั้นตอน" คนเดียว ประณีตบรรจง วันละ 5 ไร่ (เสาร์-อาทิตย์)


ต้นทุนและแนวทางลดต้นทุน :
- ค่าปุ๋ยเคมีทางดิน + ค่าหว่าน 30% ของต้นทุนทั้งหมด.....ซื้อ 10 กก. (+ ปุ๋ยน้ำชีวภาพแล้วฉีดลงดิน...ทำเอง ฉีดพ่นเอง)
- ค่าปุ๋ย/ฮอร์โมนทางใบ ..........................................ทำเอง ฉีดพ่นเอง
- ค่าสารเคมี + ค่าฉีด 30% ของต้นทุนทั้งหมด................ใช้สารสมุนไพร (ทำเอง/ฉีดพ่นเอง)
- ค่าแรงงาน 20% ของต้นทุนทั้งหมด......................... ทำเอง
- ค่าเช่าที่ดิน..................................................... จ่าย
- ค่าเมล็ดพันธุ์ ................................................... จ่าย รวมในค่าจ้างรถดำนา
- ค่าไถ ........................................................... ไม่ต้องไถ
- ค่าทำเทือก ..................................................... ทำเอง จ่ายเฉพาะค่าน้ำมัน
- ค่าหว่าน ........................................................ เปลี่ยนเป็นรถดำ
- ค่าสูบน้ำ......................................................... ทำเอง จ่ายเฉพาะค่าน้ำมัน
- ค่าเกี่ยว...........................................................จ่าย จ้างรถเกี่ยวแบบมีถังอุ้มข้าว

หมายเหตุ : รายการลดต้นทุนด้วยการทำเอง...
- ปุ๋ยทางใบ (ไบโออิ-ไทเป-ยูเรก้า-แคลเซียม โบรอน....สูตรอยู่หน้าเวบ)
- ปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง (สูตรอยู่หน้าเวบ)
- สารสมุนไพร (โรค-แมลง-หนอน.....สูตรอยู่ในเวบ)
- แรงงาน คนเดียวหรือในครอบครัว ทำงานระหว่างเสาร์-อาทิตย์ วันละ 5-10 ไร่


นาข้าว 10 ไร่ ได้ 12 เกวียน.....ลงทุน 2 เกวียน ได้กำไร 10 เกวียน
จากประสบการณ์ตรง :
- ทำนาแบบ อินทรีย์นำ-เคมีเสริม-ตามความเหมาะสมของต้นข้าว (นาปี/นาปรัง/ข้าวครึ่งหนึ่ง-หญ้าครึ่งหนึ่ง) 9 ใน 10 ราย ได้ผลผลิต 100 (+)ถัง/ไร่

- ทำนาแบบ ลดปุ๋ยเคมี-เพิ่มปุ๋ยอินทรีย์ และสารปรับปรุงบำรุงดิน-ตามความเหมาะสม..... ลดธาตุหลัก-เพิ่มธาตุรอง/ธาตุเสริม/ฮอร์โมนและอื่นๆ-ตามความเหมาะสมของต้นข้าว (นาปี/นาปรัง/ข้าวครึ่งหนึ่ง-หญ้าครึ่งหนึ่ง) 9 ใน 10 ราย ได้ผลผลิต 100 (+)ถัง/ไร่

- เนื้อที่นา 10 ไร่ ได้ผลผลิต 1 (+) เกวียน/ไร่ รวมส่วนที่(+)แล้วจะได้ประมาณ 12 เกวียน

- ต้นทุนค่าปุ๋ย/ฮอร์โมน (ทางดิน/ทางใบ....ซื้อ) + ต้นทุนจำเป็น (รถดำ/รถเกี่ยว/น้ำมัน) ประมาณ 4,000/ไร่ ..... เนื้อที่ 10 ไร่ x 4,000 = 40,000

- ต้นทุนค่าปุ๋ย/ฮอร์โมน (ทางดิน/ทางใบ....ทำเอง) + ต้นทุนจำเป็น (รถดำ/รถเกี่ยว/น้ำมัน) ประมาณ 2,000/ไร่ ..... เนื้อที่ 10 ไร่ x 2,000 = 20,000

- สารสกัดสมุนไพรทำเอง (สูตรรวมมิตร-สูตรเฉพาะ) แบบทำเช้าใช้เย็น แบบเก็บไว้ได้นาน ช่วยลดต้นทุนค่าสารเคมียาฆ่าแมลง

- ทุกครั้งที่ฉีดพ่นทางใบ ใช้หลักการ "ปุ๋ย/ฮอร์โมน + สารสมุนไพร" ไปพร้อมกันเหมือนทำงานครั้งเดียว ช่วยลดต้นทุน (เวลา-น้ำมัน-แรงงาน) ค่าฉีดพ่น

- ราคาข้าวประมาณ 10,000/ไร่/เกวียน จึงเท่ากับลงทุน 20,000/นา 10 ไร่ นั่นเอง


วิเคราะห์ความเป็นไปได้ :
- ปุ๋ย/ฮอร์โมน ทางใบ ..... ซื้อ ปุ๋ยน้ำชีวภาพ 30-10-10 (100/ล.), ไบโออิ 150/ล., ไทเป 150/ล., 300/ล. ..... ทำเอง ต้นทุนจะลดลง 30 (+)%

- ลดรายจ่ายค่าจ้างแรงงานทุกอย่างด้วยการทำเอง แรงงานสองสามีภรรยา หรือ + ลูก ทำงานเสาร์-อาทิตย์ วันละ 5 ไร่

-


ทฤษฎี นำ การปฏิบัติ V.S. การปฏิบัติ นำ ทฤษฎี
- นาดำ (รถดำ-มือดำ-หยอดเมล็ด) ให้ผลผลิตเหนือกว่านาหว่าน (มือ-เครื่องพ่น) .... ต้นข้าวระยะระหว่างต้น-ระหว่างกอห่าง แตกกอมาก ต้นโต ให้ผลผลิตดี และโรคแมลงน้อย

- ข้าวนาดำต้นใหญ่ขนาดหลอดดูดเฉาก๊วย ข้าวนาหว่านต้นใหญ่ขนาดหลอดดูดยาคูลท์

- ดำด้วยรถดำนา 1,500/ไร่ รวมข้าวปลูก, หยอดเมล็ด ด้วยแรงงานคนเดียวหรือรถไถเล็กลาก ใช้ข้าวปลูก 3-5 กก./ไร่, ดำด้วยมือ ต้องเพิ่มทำแปลงตกกล้ากับต้องจ้างแรงงานหลายคน

- หว่านด้วยมือหรือพ่นด้วยเครื่อง ใช้เมล็ดพันธุ์มาก ใช้แรงงานมาก

- ลงทุนทำเทือกให้ลึกครึ่งหน้าแข้ง แม้ต้นทุนจะสูงกว่าทำเทือกลึกแค่ตาตุ่มแต่ผลผลิตที่ได้จากรุ่นนี้ รุ่นหน้า และรุ่นต่อไปจะดีขึ้นเรื่อยๆ

- ย่ำเทือก 3 รอบ ห่างกันรอบละ 7-10 วัน นอกจากได้ขี้เทือกลึกครึ่งหน้าแข้งแล้วยังกำจัด หญ้า/วัชพืช ได้แล้วกลายเป็นปุ๋ย กับทั้งเป็นการบ่มดินด้วยจุลินทรีย์อีกด้วย ..... ไม่ต้องใช้ยาฆ่ายาคุม หญ้/วัชพืช และส่งผลให้ดินดี

- นาอินทรีย์นำ-เคมีเสริม-ตามความเหมาะสมของต้นข้าว ใช้ปุ๋ยธาตุหลัก 10 กก./ไร่ + ธาตุรอง/ธาตุเสริม/ฮอร์โมน ทางใบ ต้นทุนต่ำกว่าใส่ 46-0-0 (900/กส.)+ 16-20-0 (900/กส.)/ไร่ ..... 46-0-0 (1 กส.) + 16-20-0 (1 กส.) = 100 กก. (1,800/ไร่) ได้ปุ๋ยเพียง 2 ตัว คือ ไนโตรเจน.กับฟอสฟอรัส. เท่านั้น ในขณะที่ต้นข้าวต้องการปุ๋ย 14 ตัว....

-



เกษตรานุสติ :
- ห้ามเชื่อ คนขายปุ๋ยขายยา-คนข้างบ้าน และตาคิม แต่ให้เชื่อคนในกระจก....ปลูกข้าวตามใจข้าว ไม่ใช่ตามใจคน....

- ทำนาปีมีแต่หนี้กับฟาง ทำนาปรังมีแต่ฟางกับหนี้.....

- ปุ๋ยเคมีเพิ่มผลผลิต เมื่อใส่ปุ๋ย 10 กก.ได้ข้าว 100 ถัง แต่ครั้นใส่ปุ๋ย 50 กก. (มากว่า 5 เท่า) ทำไมไม่ได้ 500 ถัง....

- ใส่ 46-0-0 (50 กก.) + 16-20-0 (50 กก.) = 100 กก./ไร่ ได้ปุ๋ยเพียง 2 ตัว คือ P-K ในขณะที่ต้นข้าวต้องการปุ๋ย 14 ตัว (หลัก/รอง/เสริม) ....

- ทำตามคนที่ประสบความล้มเหลว (ไม่รู้ว่าล้มเหลว) จะประสบความล้มเหลวยิ่งกว่า เห็นเขาใส่ปุ๋ย 1 กส. เราต้องใส่ 2 กส. เขาใช้สารเคมีลิตรละ 500 ต้องใช้ลิตรละ 1,000 เพราะต้องการเอาชนะ ..... ทำตามคนที่ประสบความสำเร็จ (รู้ว่าสำเร็จด้วยอะไร) จะประสบความสำเร็จยิ่งกว่า เพราะเอาแนวของเขามาต่อยอด

- ก่อนลงมือทำนาแต่ละรุ่นควรศึกษาส่วนที่ "ต้องเป็น หรือจะเป็น ต้นทุน" ก่อนว่า ต้องจ่ายค่าอะไรบ้าง จ่ายแล้วได้รับผลตอบแทนกลับคืนมาเท่าไหร่ ? คุ้มกันหรือไม่ ? ...

- ราคาข้าวเปลือกชาวนาควบคุมไม่ได้แต่ต้นทุนชาวนาควบคุมได้....ถ้าทำเองครึ่งหนึ่ง-ซื้อครึ่งหนึ่ง หรือทำเอง 100% เท่ากับได้กำไรเพิ่ม ทั้งๆที่ขายปกติ ...

- บันทึกรายการต้นทุนบนฝาบ้าน เรียกว่า "บัญชีข้างฝา" เพื่อให้ทุกคนในบ้านได้เห็นสำหรับเตือนสติให้รู้ว่า นารุ่นนี้ลงทุนไปแล้วเท่าไหร่ ? เมื่อขาย (ราคาประกัน) จะได้กำไร หรือเหลือกำไร หรือขาดทุนเท่าไหร่ ?......

- ฯ ล ฯ


ปรัชญากลับโลก :
ในตำรา : วิชาการ + ประสบการณ์ + เป้าประสงค์ + มูลเหตุจูงใจ + บ้าบ้า
ชีวิตจริง : บ้าบ้า + มูลเหตุจูงใจ + เป้าประสงค์ + ประสบการณ์ + วิชาการ


.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 09/06/2012 8:18 am, แก้ไขทั้งหมด 3 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 03/06/2012 4:17 pm    ชื่อกระทู้: Re: หนักแน่น มั่นคง ไม่หวั่นไหว ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

cherm บันทึก:
หนักแน่น มั่นคง ไม่หวั่นไหว



สวัสดี ค่ะลุงคิม

ชีิวิตยัยเฉิ่ม มีแต่ผู้หวังดีจริงๆ ค่ะ..... ทั้งประธาน อตบ. รองประธาน อบต. หวังดีทั้งน้านนนนน


รอง : ไอ้ขวัญ ถ้าเป็นน้องจะตีให้ตายเลย
ยัยเฉิ่ม : ทำไมหรือค่ะ


รอง : นาข้าวซิิ ทำไมถึงทำอย่างนั้น มีแต่หญ้า ข้าวก็รวงนิดๆ
ยัยเฉิ่ม : โห รอง..... ก็น้ำมันไม่มี เดี๋ยวงวดหน้าทำใหม่ งานนี้รวยแน่ นายกไปวางท่อให้แ้ล้ว


ประธาน : โอ้ย มันจะไปดีได้ยังไง ปุ๋ยไม่ใส่ ใส่แต่ชีวภาพ นาที่ทำชีวภาพนะ ต้องมีน้ำ นี้น้ำก็ไม่มี ปุ๋ยก็ไม่ใส่ มัีนจะไปได้ดียังไง
ยัยเฉิ่ม : ค่ะ ๆๆ รับรองงวดหน้าเต็มที่ค่ะ
COMMENT :
"ปุ๋ยไม่ได้ใส่...." คนพูดคงหมายถึง การใส่ 46-0-0 หรือ 16-20-0 อย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้ง 2 อย่าง อย่างละ 1 กส./ไร่ นี่คือความคิดเก่าของคนรุ่นเก่า ซึ่งในความเป็นจริงใส่แล้ว ทั้งทีมีมากับปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 กับ ใส่เพิ่มเอง 16-16-16 อีก 10 กก./ไร่ กับได้ใส่ แม็กเนเซียม-สังกะสี (เน้น) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม ลงไปอีก.....ฉนี้แล้ว มิดีกว่า 46-0-0 + 16-20-0 อีกหรือ

เกษตรกรจำนวนไม่น้อยรู้จักแต่ "ชีวภาพ หรือ น้ำหมักชีวภาพ" ที่ทำมาจาก "ผักผลไม้" เท่านั้น เพราะได้รับการอบรมสั่งสอนมาอย่างนั้น หากรู้ว่า "น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิงที่ทำมาจาก "ปลาทะเล-เลือด-ไขกระดูก-ขี้ค้างคาว-น้ำมะพร้าว--หมักนานข้ามปี" มิงงหรอกรึ.....ชีวภาพที่ทำมาจาก ผัก-ผลไม้ มีสารอาหารน้อยมากๆ เมื่อเทียบกับชีวภาพระเบิดเถิดเทิง.....ในชีวภาพที่ทำจาก ผัก-ผลไม้ มีเพียงจุลินทรีย์กับสารอาหารสำหรับจุลินทรีย์ประจำถิ่นเท่านั้น

ชนิดและปริมาณสารอาหารที่ได้จากวัสดุส่วนผสมในน้ำหมักชีวภาพ....ปลาทะเลมีมากกว่าปลาน้ำจืด....ปลาน้ำจืดมีมากกว่าหอยเชอรี่....หอยเชอรี่มีมากกว่าผัก-ผลไม้....

กระบวนการหมัก....หมักนาน 3 เดือนได้ธาตุหลัก, หมักนาน 6 เดือนได้ธาตุรอง, หมักนาน 9 เดือนได้ธาตุเสริม, หมักนาน12 เดือนได้ฮอร์โมน....ทั้งหมดทั้งสิ้นนี้เป็น "สารอาหารหรือปุ๋ยอินทรีย์" เพียวๆ แม้ชนิดและปริมาณสารอาหารพืชจะมากกว่า ปลาน้ำจืด-หอยเชอรี่-ผักผลไม้ แต่ก็ถือว่ายังน้อย มิอาจเทียบกับสารอาหารพืชใน "ปุ๋ยสังเคราะห์หรือปุ๋ยเคมี" ได้

น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิงไม่อนุญาติให้เรียกว่า "ปุ๋ย" เพราะมีชนิดและปริมาณสารอาหารไม่เต็มตามกำหนดที่กรมวิชาการเกษตรกำหนด ดังนั้น หากเติม "ปุ๋ยเคมี" ลงไป ทั้งชนิดและปริมาณที่ ถูกต้อง/เหมาะสม ก็น่าจะเรียว่า "ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ" ได้ ใช่หรือไม่

วันนี้ ถ้าชนชั้นผู้นำท้องถิ่นยัง "บ้องตื้น" อย่างนี้ แล้วผู้ตาม (ประชาชน) จะไปทางไหน

ปล่อยให้นำชุมชนบ้าจี้กับ "ชีวภาพตกขอบ" อย่างนั้นต่อไป รอจนกว่าจะมีโอกาสดีๆ ค่อยอรรถธิบายว่า นี่ไม่ใช่ชีวภาพธรรมดาๆ แต่เป็น ชีวภาพ + เคมี ตามความเหมาะสมของพืชอย่างต้นข้าว.....ถ้าโอกาสไม่อำนวยจงอย่าบอก อย่าพูดเด็ดขาด เขาจะหัวเราะเยาะเอา ก็รู้อยู่แล้วว่า "เปลี่ยนทัศนคติคน" น่ะ ยากที่สุด

สำคัญที่ตัวเอง "แม่นสูตร - แม่นหลัการ - ปลูกข้าวตามใจข้าว เชื่อข้าว ไม่ใช่เชื่อคนตามใจคน...." แค่ไหน

จงทำตนเหมือน "คมในฝัก" ระวังนะ ที่ว่าคมในฝัก แต่พอชักออกมา ฝักคมกว่า




รอง : ทำนาต้องดูพันธุ์ข้าวด้วย ถ้านาเราน้ำน้อยก็ใช้พันธุ์ ที่ต้องการน้ำน้อยข้าวจะได้ดี
ยัยเฉิ่ม : รับรองงวดหน้า จะทำให้ดีเลยค่ะ
COMMENT :
ความสำเร็จของการเพาะปลูกขึ้นอยู่กับ "ปัจจัยพื้นฐาน" อันประกอบส่วนด้วย "ดิน-น้ำ-แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล-สารอาหร-สายพันธุ-โรค" ภายใต้การวางแผน "ทุน-ตลาด" เป็นสิ่งสำคัญ

"สายพันธุ์" เป็นเพียงปัจจัยหนึ่งในปัจจัยทั้งหมด.....สายพันธุ์ดี ดีเยี่ยม ดีที่สุดในโลก แต่ถ้า ดินไม่ดี-น้ำไม่ดี-แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาลไม่ดี-สารอาหาร (ปุ๋ย) ไม่ดี-โรครุมเร้า สายพันธุ์ที่ว่าดี ดีที่สุด จะดีได้หรือ

สายพันธุ์ที่ดีที่สุด คือ สายพันธุ์ที่ตลาดต้องการ ไม่ใช่เหรอ.....




.





.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
DangSalaya
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011
ตอบ: 1874

ตอบตอบ: 05/06/2012 11:24 am    ชื่อกระทู้: ยัยเฉิ่ม จะเป็นชาวนา .....หญ้าขี่ข้าว หรือ หญ้าในดงข้าว ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เรียนลุงคิมทราบ

เนื่องจาก ผมมีภารกิจต้องทำด่วน เดี๋ยวจะไม่มีเวลาตอบ ขออนุญาต แซงคิวลุงครับ
การตอบกระทู้คราวนี้คงต้องขออนุญาตตอบยาวครับ ลุงคิมอ่านแล้วก็กรุณาพิจารณา ตัดออก ตามความเหมาะสมนะครับ



เมื่อ 2 มิ.ย.55 ผมผ่านไปธุระทางบางแพ เลยแวะเข้าไปดูนายัยเฉิ่ม ที่โพธาราม เนื่องจากยัยเฉิ่มทำนา อินทรีย์นำ-เคมีเสริม ตามแนวลุงคิมเป็นครั้งแรก (เดิมทำนาเคมี) แล้วเกิดอาการท้อแท้.....ผมติดตามอ่านกระทู้ของยัยเฉิ่มมาตั้งแต่ต้น คอยลุ้นเงียบๆ เพื่อหวังว่ายัยเฉิ่มคงจะปลดหนี้ได้ .... พอบอกว่า ท้อแท้ จากการทำนาตามแนวลุงคิม ถึงกับจะฉีดยาทั้งหญ้าและข้าวทิ้ง ...นา 20 ไร่ ลงทุนไปเท่าไหร่ จะฉีดยาทิ้ง อะโห อะไรมันจะเลวร้ายถึงขนาดนั้นเชียวหรือ

ในฐานะที่เป็นเพื่อนสมาชิก Web ลุงคิมด้วยกัน ไม่รู้จักกันมาก่อนด้วย เมื่อติดต่อกันก็รู้ว่าอยู่ไม่ไกลกันนัก ก็อยากเห็นกับตาว่า ข้าวอินทรีย์ตามแนวลุงคิม มันเป็นยังไง ถึงจะต้องฉีดยาทิ้ง และเพื่อเรียนรู้เป็นแนวทาง เผื่อว่าผมเองอาจเปลี่ยนจากทำสวนมาทำนาดูบ้าง จึงต้องดูจากของจริงให้เห็นกับตา จึงขออนุญาตตามมาดู..

ผมเดินดูจากสภาพนาโดยรวมแล้ว แม้ผมจะไม่เคยทำนามาก่อนก็เห็นว่า การที่หญ้าขี่ข้าว น่าจะเริ่มมาจากการเตรียมดินไม่ดีพอ หญ้าเลยขึ้นแยะ มีปุ๋ยของลุงคิมครบทุกสูตร วางเรียงใต้ถุนบ้านเต็มอัตราศึก พร้อมด้วยปุ๋ยสูตร 16-5-20 (ทำไมใช้ตัวท้ายสูงจัง) แต่อาจใช้ไม่เป็นไปตามความเหมาะสม และคนที่มารับจ้างตั้งแต่ไถ จนถึงทำเทือก ทำไม่ดีเท่าที่ควร ... คนรับจ้าง พ่นปุ๋ย ฉีดสมุนไพร ทำแบบลวกๆ ไม่เต็มใจ เพราะ ยัยเฉิ่ม ไม่ทำนาตามแบบเคมีที่เค้าเคยทำกันมา .... ขณะที่ผมยืนดูอยู่นั้น มีคนขี่รถผ่านมายังว่า ..

..ไอ้ (ชื่อยัยเฉิ่ม)..เอ๊ย ซัด ยูเรีย กับ 16-20-0 เข้าไปเลย งั้นเอ็งจะไม่ได้ข้าวกินแน่ ๆ ..หัวเราะแล้วก็ผ่านไป

ผมนึกในใจว่า ...พ่อง (พ่อมึง) ข้าวใกล้จะเกี่ยวได้อยู่อีกไม่กี่วัน จะให้ใส่ปุ๋ยทางดิน... ยัยเฉิ่ม ยืนงง ไม่พูดไม่ตอบ แต่ชี้ให้ดูนาข้าง ๆใกล้ ๆ กัน

...ทิด ดูนาติด ๆ กันนี้ซี ข้าวเค้าดี๊ดี ... ผมเลยบอกว่า
...หลังจากเกี่ยวแล้วถามเค้าซิว่า ได้ ข้าวกี่เกวียน แล้วลงทุนไปทั้งหมดเท่าไหร่ อยากรู้แค่นั้นแหละ และให้ดูนาติดกันทางตะวันออกโน่น หญ้าท่วมไม่แพ้ของเอ็งเหมือนกัน ...เอาละ ลุงบอก เลยตามเลย ไหน ๆ ก็ไหน ๆ ผสมตามที่ลุงบอกเลย UNITED NATION ใช้สูตรสหประชาชาติเลย + สมุนไพรด้วย นา 20 ไร่ ผสม ครั้งละ 200 ลิตร คูณ 2 = 400 ลิตร น่าจะพอ ...

...2 ถัง พอเหรอทิด ..
.เออน่า ไม่พอผสมใหม่ได้ ..น้ำมีผงปนแยะ คราวหน้าก็หามุ้งไนล่อนเขียวกับผ้ากรอง(ผ้าขาวบาง)เอามากรองผงด้วย...เอาผ้าขะม้าทิดกรองผงซะก่อน รับรองข้าวน้ำหนักดีแน่ ๆ .. ต้องให้สอนหนังสือสังฆราชหรือยังไง ...

.แดดกำลังร่ม ลมสงบ ลูกชาย เอาน้ำปุ๋ยใส่เป้ ติดเครื่องเสร็จ สพายเป้ เร่งเครื่อง 100 % เดินลงนา กวาดมือ 45 องศา ..เฮ้ย ๆ ยอ ๆๆๆ หยุด ๆๆๆๆ แบบนั้น เปลืองปุ๋ยตายห่ะ มิน่าที่บอกว่า จ้างเค้าพ่นแต่ละครั้ง 6 – 8 ถัง 200 ลิตร = 1,200 ถึง 1,600 ลิตร ว๊าว ทั้งหญ้า ทั้งข้าวถึงได้งามระเบิดระเบ้อ (ศัพท์เทคนิดลุงคิมครับ).... เร่งเครื่องแค่ 75 – 80 % พอ แล้วกวาดมือ 90 องศา กวาดให้สุดแขนซ้าย ขวา 2 เครื่องเดินลุยเลยไอ้น้อง ไม่ต้องจี้ให้ใบเปียก แค่เป็นละอองฝอย ๆ ผ่านไปเร็ว ๆ .....

ผมได้แต่ชี้นิ้ว ขออภัยครับลุง...การปรากฎโฉมของผมแค่นี้ก็ดังทั่วหมู่บ้านแล้ว ขืนลงไปช่วยลุยพ่นด้วยอีกมีหวัง ได้ออกหอกระจายข่าว ...ขอลุ้นอยู฿ข้างแปลงก็แล้วกัน


นอกจากนี้แล้ว แรงกดดัน บีบคั้นจากหลาย ๆ อย่างจากรอบข้าง แม้กระทั่งผู้นำชุมชนที่ ยัยเฉิ่ม บอกเล่าให้กับลุงในเว็ป ซึ่งลุงได้ตอบให้ฟัง(อ่าน)แล้ว .....ที่ผมได้รับฟังจากหูตัวเอง คือ คำดูแคลนจากญาติใกล้ชิด ซึ่งผมแก้ต่างเกี่ยวกับทำนาอินทรีย์ให้หลายอย่าง พร้อมทั้ง แสดงตัวอย่างของข้าวกล้องหอมนิล (ตอนนี้ขึ้นราคาเป็น) กก.ละ 120 บาท เกวียนละ 120,000 บาท และข้าวกล้องหอมมะลิแดง กก.ละ 85 บาท เกวียนละ 85,000 บาท และข้าวกล้องอินทรีย์ที่แพงที่สุดเวลานี้คือ ข้าวกล้องพื้นเมืองอินทรีย์ผสมกัน 150 สายพันธุ์ กก.ละ 150 บาท เกวียนละ 150,000 บาท ..(หนึ่งแสนห้าหมื่นบาท)นะครับ ไม่ใช่เกวียนละ 15,000 บาท (หนึ่งหมื่นห้าพันบาท)...ญาติพี่น้องถามว่า ขายได้รึ ทำออกมาแล้วจะขายที่ไหนและมีคนซื้อหรือเปล่า ก็ผม(ในใจนึกว่า ก็กู)ซื้อมาให้นี่ไง มีไม่พอขาย ขอให้มีของเถอะ เดี๋ยวคนซื้อมาเอง เอาไปลองหุงกินได้เลย

ผมดูแล้ว ข้าวในกอหญ้า มันน่าจะดีพอสมควร ผมก็วิจารณ์ไม่ถูก ...ดูจากรูปแล้ว ลุงคิม กรุณา Comment เพิ่มเติมด้วยนะครับ ผมว่ามันน่าจะ 15 เกวียนขึ้น แต่ยัยเฉิ่มมีอาการ วิตกจริต ลังเล ไม่แน่ใจ คิดว่าของคนอื่นดีกว่าของตัวเองอยู่ร่ำไป นอนไม่หลับ (บังเอิญผมไม่ใช่หมอซะด้วย) ...น่าเห็นใจครับ
มาดูรูปกันดีกว่าครับ








รูปที่ 1-6 วันที่ 02-06-12 เวลา 08.04-08.13 น. ระหว่างที่รอให้น้ำค้าง
ระเหยไปอีกหน่อยเพื่อจะพ่นปุ๋ย จะว่า หญ้าขี่ข้าว หรือข้าวขี่หญ้า เป็นตามสภาพที่เห็น





รูปที่ 7 บริเวณที่ยัยเฉิ่มเคยบอกลุงว่า ฉีดยาฆ่าหญ้า หญ้าส่วนยอดแห้ง ส่วนโคน
เขียว แต่ข้าวบริเวณนี้ ซังกะตาย ดูก๊องแก๊ง แต่มีไม่มากนัก เป็นหย่อม ๆ






รูปที่ 8 – 9 ลืมบอกไปว่า เนื่องจากพื้นนา(ผมเดาว่า)คงจะไม่เสมอ ส่วนใหญ่จะมี
น้ำขังในแปลง มากบ้างน้อยบ้าง การแตกกอดีบ้าง ไม่ดีบ้าง ในส่วนที่ไม่มีน้ำขัง พื้น
แค่แฉะ ๆ ข้าวแตกกอดี ดูการแตกกอ และรวงข้าวซีครับ อย่างนี้ว่าข้าวไม่ดีก็ไม่รู้จะ
ว่ายังไงแล้ว ...ผมบอกยัยเฉิ่มว่า ...คราวหน้า ทำดินให้ได้แบบนี้นะ คุมปริมาณน้ำ
ให้ได้เท่านี้ แล้วถ้าใช้เครื่องหยอดเมล็ดข้าวแทนการหว่านได้ จะดีมาก ถ้ามีหญ้าขึ้น
ก็ใช้ Rotary Weeder - เครื่องย่ำหญ้าหรือเครื่องพรวนหญ้า เข็นไประหว่างแถว
กอข้าว มีนจะกดหญ้าจมลงดิน หญ้าคงจะน้อยลง





รูปที่ 10 บริเวณที่ระดับน้ำสูงหน่อยก็มีสภาพแบบนี้ แต่ก็ใช่ว่าข้าวจะไม่ดีจนถึงกับ
จะต้องฉีดยาฆ่าหญ้าทิ้ง เพราะทนแรงกดดันจากชาวบ้านไม่ได้





รูปที่ 11 บริเวณน้ำน้อย ข้าวจะดี บริเวณน้ำมาก ข้าวก็ไม่สู้ดีนัก ลุงคิมจะพูดเสมอ ๆ ว่า
เตรียมดิน ๆๆๆๆ ทำเทือก สามครั้ง แต่ ค่าไถ รวม ค่าทำเทือกสามครั้ง ตกไร่ละ 800 บาท







รูปที่ 12-14 รวงข้าวแบบนี้ ขืนฉีดยาฆ่าหญ้าทิ้ง ก็ไปอยู่ ศรีธัญญา ได้แล้วยัยเฉิ่มเอ๊ย









รูปที่ 15–19 ข้าวออกรวงแบบนี้ เพราะพื้นล่าง มีน้ำเจ๊าะ แจ๊ะ ...ใครทำนา
อินทรีย์ คุมน้ำ คุมหญ้าได้แบบนี้รับรองว่า หมดหนี้ ได้ที่คืนแน่ ๆ





รูปที่ 20 ยังมีบางจุดที่ข้าวเริ่มผสม หรือตากเกสร คงสุกไม่ทันข้าวรุ่นพี่






รูปที่ 21–22 รวงข้าวดูมีน้ำหนักแบบนี้ ผมไม่ทราบว่าจะดีหรือไม่ดีแค่ไหน เนื่อง
จากไม่เคยทำนา






รูปที่ 23–24 เป็นอีกบริเวณหนึ่งที่ข้าวโดนฉีดยาฆ่าหญ้า ทำไปตามแรงปากชาว
บ้าน ....สมมุติว่าถ้าไม่ฉีด แล้วเดินตัดยอดหญ้าพร้อมยอดข้าว ก่อนข้าวตั้งท้อง น่า
จะดีกว่ามั๊ยครับ ...






รูปที่ 25–26 รวงข้าวที่ผมขออนุญาตยัยเฉิ่ม เก็บมาเป็นตัวอย่าง รวงยาวเฉลี่ย 10–
12 นิ้ว แต่ไม่ได้นับเมล็ดในรวงว่ามีกี่เมล็ด น้ำหนักค่อนข้างดี







รูปที่ 27–29 ข้าวจากนาเคมีล้วน ๆ ของนาข้างเคียง ทีบอกให้ยัยเฉิ่มถามหลังเกี่ยว
แล้วว่า ได้กี่เกวียน ลงทุนไปเท่าไหร่





รูปที่ 30 สภาพต้นข้าวและการแตกกอของนาข้างเคียง






รูปที่ 31–32 ต้นอะไรไม่ทราบ ใบเป็นฝอยคล้ายหน่อไม้ฝรั่ง ต้นมีหนาม ขึ้นบน
โคกกลางนา ดูสวยดี คิดว่าจะขุดมาปลูกดูเล่น แต่พอเจอหนาม เลยต้องถอย...ส่วน
ที่เป็นใบสีเขียวนั่น หนามพุงดอครับ ปลูกทำรั้วดีจังเลย





รูปที่ 33 ฮาโหล เค้าบรรยายมาเหนื่อยจัง คอแห้งหิวน้ำ ตัวมารับเค้าด้วยเด้ ตัง
หมด แค่นี้นะ บาย ...เด็กยุค IT , I-Phone , I-Pod , I-Pad แต่ I เป็นคน
PAY ว๊อย


สุดท้ายผม ถามยัยเฉิ่มว่า ข้าวที่ปลูกเป็นข้าวพันธุ์อะไร ...ยัยเฉิ่มตอบว่า พันธุ์
ปทุม ซีโอ ...เพิ่งเคยได้ยินชื่อ ก็เลยต้องค้นหาว่ามันเป็นพันธุ์อะไร

ข้าวพันธุ์ปทุม ซีโอ คือ ข้าว กข31 หรือ RD31 หรือ ปทุมธานี 80
คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ กรมการข้าว มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง ชื่อ กข31
(ปทุมธานี 80) เพื่อแนะนำให้เกษตรกรปลูก เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2550 …

ต่อจากนี้ ก็ต้องรอลุ้นว่า ข้าวของยัยเฉิ่มจะได้ผลมากน้อยเพียงใด ผมขอลุ้นเอาใจ
ช่วยให้ได้เกิน 15 เกวียนขึ้น ครับ



ขอบคุณครับลุงคิม
ขอบคุณครับ ยัยเฉิ่ม ผู้ให้ข้อมูล


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Mister_P
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 20/10/2010
ตอบ: 6

ตอบตอบ: 07/06/2012 1:46 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ติดตามมาระยะหนึ่งแล้ว ขอเป็นกำลังใจให้ฝ่าฟันไปได้
......หนักแน่น.........ไว้ครับ.......

ผมกำลังเริ่มทำนาเหมือนกัน
โดนนกกวนอย่างมาก
ทั้งตอนหว่านแล้ว
และก่อนเก็บเกี่ยว

...จะป้องกันอย่างไรได้บ้างครับ...



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 07/06/2012 6:18 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

Mister_P บันทึก:
ติดตามมาระยะหนึ่งแล้ว ขอเป็นกำลังใจให้ฝ่าฟันไปได้
......หนักแน่น.........ไว้ครับ.......

ผมกำลังเริ่มทำนาเหมือนกัน
โดนนกกวนอย่างมาก
ทั้งตอนหว่านแล้ว
และก่อนเก็บเกี่ยว

...จะป้องกันอย่างไรได้บ้างครับ...

.





นกอะไร ? ลักษณะการเข้าทำลายเป็นแบบไหน ?

เพราะตอนหว่านกับตอนเกี่ยว สภาพ ดิน/น้ำ/ต้นข้าว ในนาไม่เหมือนกัน แล้วนกมันเข้าไปทำลาย (กิน) ข้าวได้ไง....

ขอรายละเอียดเพิ่มเติมหน่อยนะ... หรือ สมช.ท่านใดมีประสบการณ์ตรง เส่าสู่ฟังหน่อยก็ดี.........ว่ามั้ย



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
DangSalaya
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011
ตอบ: 1874

ตอบตอบ: 07/06/2012 8:23 pm    ชื่อกระทู้: ยัยเฉิ่มจะเป็นชาวนา ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ขออนุญาตครับลุง


บังเอิญผมเอาข้าวหอมดอย ขอเมล็ดพันธุ์จากชาวเขาเผ่ามูเซอที่ อ.ปาย ติดต่อกับ อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน ปลูกบนดอยสูงกว่าระดับน้ำทะเล 1,600 เมตร มาทดลองปลูกที่นครปฐม สูงกว่าระดับน้ำทะเล 3 เมตร ทดลองปลูกแค่ 2 - 3 ตารางวาเอง ผลูกบนดินแห้งแบบบนดอย คอยรดน้ำเอาหน่อยเวลานี้ก็กำลังออกรวง เนื่องจากเป็นข้าวพันธุ์พื้นเมือง รวงไม่ใหญ่นัก แต่เนื้อเมล็ดมีเนื้อข้าวเต็ม กำลังคิดว่าจะเขียนกระทู้ลงเว็ปของลุง พอดีกับว่ามีเรื่องนกกินข้าว

ใช่แล้วครับลุง นกลงกินเมล็ดข้าวจริง ๆ นกที่กินข้าวคุณ Mister_P เป็นนกแบบไหนไม่ทราบ แต่ที่กินข้าวของผมเป็นนกตัวเล็ก ๆ ขนาดนกกกระจิบ แต่ตัวสีน้ำตาลไหม้ สีคล้าย ๆ เห็ดโคน ปากออกสีดำ น่ะครับ เดี๋ยวจะดักถ่ายรูปส่งให้ดู แต่ว่า มันมาทำรังอยู่ที่ใกล้ ๆ แปลงข้าวเลย ผมเห็นวิธีทำรังของมันแล้วน่าทึ่งมาก ๆ ผมเลยปล่อยให้มันกิน และข้าวที่ปลูกก็เป็นเพียงการทดลองว่า ข้าวที่เคยปลูกอยู่บนดอยสูง อากาศหนาวเย็นทั้งปี เอามาปลูกที่ราบต่ำ อากาศร้อนตับแล่บ ผลจะเป็นอย่างไร ผลก็คือ ออกรวง มีเนื้อในเมล็ด ลองแกะเปลือกชิมดูก็ยังไม่ได้กลิ่นว่าหอมหรือไม่ มาดูรูปกันเลยนะครับ (ดูรูปข้าวกับรังนกก่อน ส่วนตัวนกจะพยายามดักถ่ายรูปมาให้ดู) ดูเพียงตัวอย่างว่า ข้าวหอมดอยสามารถปลูกในพื้นราบอากาศร้อนได้




รูป-1 27 มีค.55 ปลูกบนโคก ดินแห้ง ๆ อายุประมาณ 1 เดือน




.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 07/06/2012 8:41 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

นกที่เข้ามากินเมล็ดข้าวตอนหว่าน ใช่ "นกเป็ดผี" ไหม ?..... เพราะดินแฉะมีน้ำ นกเป็ดผีเข้ามาหากินได้

ส่วนนกที่เข้ามากินเมล็ดข้าวตอนจะเกี่ยว ก็น่าจะเป็น "นกกระจอก-นกกระจาบ" หรือนกอะไรซักอย่างประมาณนี้ ช่วงนี้นาข้าวแห้ง ไม่มีน้ำ นกเป็ดผีไม่เอา แต่นกอย่างอื่นเอา จะว่าไง.....อันนี้ไม่รู้จริง ๆ


ที่จริงเจ้าของนาน่าจะรู้นะ เพราะนกในนาตัวเองแท้ๆ
ไปดูใหม่ ด้อมๆ มองๆ ย่องแอบเข้าไปดี แล้วถ่ายรูปมาดูกันหน่อยเป็นไร....




.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
cherm
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 17/11/2011
ตอบ: 237

ตอบตอบ: 07/06/2012 9:24 pm    ชื่อกระทู้: ขอบคูณสำหรับกำลังใจ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดี ค่ะ

ขอบคุณสำหรับกำลังใจ
ยัยเฉิ่ม จะหนักแน่น แนวแน่ ในการทำนาแบบอินทร๊ย์นำ เคมีเสริม

นายัยเฉิ่ม ช่วง ที่หว่านข้าว ก้จะมีนก มาลงกินหอยเชอย์รี หรือไม่ก็ใส่เดือน ทำความเสียหายบ้างเหมือนกัน แต่ไม่มาก ก็ไช่วิธีส่งเสียงไล่ ธรรมดานี้แหละค่ะ

แต่เพือ่นบ้านข้างเคียง จะใช่ลูกระเบิด อย่าเพิ่งตกใจนะคะ เป็นลูกระเบิดเด็กๆนะค่ะ มีชนวนจุด แล้วก้โยนไปในนา เสียงดังมาก นกตกใจก็จะหนีไป

และอีกวิธีหนึ่ง ก็ใช่แผ่นซีดีเก่า มาร้อยเป็นราว ผูกไว้ที่นา อันนี้ไม่รับรองว่าได้ผลหรือเปล่า นัยว่านกมาเห็นเงาตัวเองใหญ่โต ก็คงเกิดอาการกลัว

หรือวิธีโบราณเก่าแก่ที่ทำกันมาเนิ่นนาน ก็คือ หุ่นไล่กา แต่สมัยนี้ไม่มีอีกา จะไล่นกอย่างอื่นได้หรือเปล่าคงต้องลองทำดูค่ะ



ยัยเฉิ่ม จะเป็นชาวนา


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
DangSalaya
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011
ตอบ: 1874

ตอบตอบ: 07/06/2012 11:39 pm    ชื่อกระทู้: ยัยเฉิ่มจะเป็นชาวนา ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ขออภัย ไฟฟ้าดับ ....รอเป็นชั่วโมงกว่าไฟจะมา ขอส่งต่อครับ....


รูป-2 – วันที่ 21 เมย.55 ข้าวเริ่มแตกกอ



lรูป-3,4 – วันที่ 21 เมย.55 การแตกกอจากข้าว 1 เมล็ด



รูป – 5, 6 – วันที่ 21, 22 เมย.55 บางต้นเริ่มออกรวง



รูป – 7, 8 เริ่มมีเนื้อข้าว ....แปลงทดลองปลูก



รูป- 9 - ข้าวในดงมะเขือพวง กับดงพริก ...
รูป 10 - ทำเลียนแบบชาวมูเซอปลูกข้าวดอย แล้วปลูกพริกในแปลงไปด้วยกัน นัย
ว่าเกี่ยวข้าวเสร็จเก็บพริกต่อ แต่มะเขือพวงชาวมูเซอไม่มี มันขึ้นเองผมเลยรดน้ำพ่น
ปุ๋ยต้นสูงเลย 2 เมตร



รูป 11, 12 – ความงามของรวงข้าวท่ามกลางอากาศร้อนระอุ


รูป 13 พริก มะเขือ ข้าว รวมอยู่ด้วยกัน ที่เห็นศาลอยู่ข้างหน้าคือที่ ๆ นกกินข้าวมา
ทำรัง ห่างแปลงข้าวไม่ถึง 10 เมตร



รูป 14, 15 – มองจากบนบ้าน มีคลองกว้าง 10 เมตรกว่า อยู่ข้างหน้า ฝนตกสอง
สามครั้ง น้ำเริ่มสูงขึ้นแล้ว เสียวครับ และรูป 14 ข้าวดอย ไบโออิ ไทเป ยูเรก้า แคล
เซี่ยม-โบร่อน หลังพายุฝน ต้นตั้งโด่เด่แบบนี้ครับ


รูป 16 ใครบอกว่าข้าวจากดอยสูงมาปลูกพื้นราบไม่ได้กินเมล็ด ผมเถียงขาดใจเลย
เซียนปลูกข้าวที่เก่งที่สุดในหมู่บ้านที่ผมอยู่ แพ้พนันเบียร์ผมมาแล้ว 1 ลัง เงียบกริบ
เลยแหละ



รูป 17,18 ต้นอะไรไม่ทราบ ขึ้นเองอยู่ข้างศาล ใบคล้ายต้น ตะกู ผมเลยปล่อยเอา
ไว้ ใบใหญ่ดีคงให้ร่มเงาดี



รูป 19 ให้สังเกตใบที่ห่อแล้วมีอะไรแทงทะลุใบเป็นจุด ๆ นะครับ
รูป 20 – ดูใกล้ ๆ เข้ามาอีกนิด จะเห็นใบที่ถูกอะไรแทงทะลุออกมาชัดขึ้น



รูป 21 22– สิ่งที่ถูกใบม้วนแล้วมีอะไรแทงทะลุออกมาคือนกที่ผมบอกมาทำรังอยู่
ตรงนี้ครับ สุดยอด มีแค่ปากแหลม ๆ 1 ปาก กับสองตีน สองตัวผัวเมียช่วยกันทำรัง
เพื่อลูกน้อย ม้วนใบโดยที่ใบไม่ขาด แล้วปากคาบกิ่งไม้เล็ก ๆ แทงทะลุใบออกมา
ยึดเกี่ยวโยงกันเอาไว้ ใบไม้ไม่มีที่เกาะ เวลาทำต้องกระพือปีกบินตลอดเวลา กว่าจะ
ทำรังเสร็จ ไข่แทบจะหลุด

ขอประทานโทษ ผม สองมือ สองเท้า ยอมครับ แม้กระทั่งจะถ่ายรูปรังให้ดูชัด ๆ ยัง
ต้อง มือหนึ่งค่อย ๆจับรังไม่ให้ชำรุด อีกมือกดชัตเตอร์ ภาพเลยสั่นไปหน่อย ขอ
ผลัดไว้ก่อน จะถ่ายมาให้ดูชัด ๆ

ด้วยประการะฉะนี้ ผมเลยปล่อยให้นกคู่นี้กินข้าวหอมดอยที่ผมปลูกทดลองด้วย
ความเต็มใจอย่างยิ่ง

ไม่แต่เพียงแค่นี้นะครับ บ้านผม นกชอบมาทำรังออกลูกครับ



รูป 23 24– นกปรอดมาทำรังที่ต้นโป๊ยเซียนข้างทางเดิน



รูป 25 26 ลูกสาวเอามือไปแหย่ยังไม่หนีเลย กลับมองดูด้วยความสงสัย... เอ็ง
ทำอะไรของเอ็งหว่า ...ดูแววตานกซีครับ ไม่ได้แสดงความหวาดระแวงเลยแม้แต่
น้อย ....เมตตาธรรมค้ำจุนโลก เป็นเรื่องของการพึ่งพาอาศัยและแบ่งปัน ต่างคน
ต่างอยู่ ต่างคนต่างก็มีวิถีของการดำรงชีวิต ตามแนวทางของตัวเอง ...บ้านผมนก
แยะครับ ยิ่งตอนรดน้ำต้นไม้ด้วยแล้ว นกออกมาอาบน้ำเจี๊ยวจ๊าวไปหมด เอา
มะละกอสุกตั้งไว้บนโต๊ะหน้าบ้าน ไม่ถึงชั่วโมง เศษมะละกอกระจายเต็มโต๊ะ นก
เอี้ยง นกสาลิกา นกปรอด ...

ขอถามลุงครับว่า นกที่กินข้าว ตามที่ผมอธิบายมาเรียกนกอะไรครับ ลืมบอกไปว่า
เสียงมันร้อง ปรี๊ด ๆๆๆๆ





.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 08/06/2012 7:13 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ขอถามลุงครับว่า นกที่กินข้าว ตามที่ผมอธิบายมาเรียกนกอะไรครับ ลืมบอกไปว่า
เสียงมันร้อง ปรี๊ด ๆๆๆๆ


ร้อง ปรี๊ด ๆๆๆๆ เหรอ.....นกหวีด (ว่ะ) .....





.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 08/06/2012 1:51 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เทคนิคนาข้าว : แก้ปัญหาภาวะจำยอม ไม่ให้เกิดปัญหา (1)

ปัญหาของ "ยัยเฉิ่ม จะเป็นชาวนา" ต่อนาข้าวผืนนี้ เท่าที่วิเคราะห์มูลเหตุแห่งปัญหาตามข้อความที่เจ้าของนาโพสมาแล้ว พอสรุปได้....
1. มีระยะเวลาน้อยในการเตรียมดิน มีเวลาไม่ถึง 1 เดือน
2. ต้องเร่งทำให้ ทัน/พร้อม กับนาแปลงข้างเคียง เพื่อให้เกี่ยวพร้อมกับแปลงอื่น
3. แปลงนาอยู่ท้ายน้ำ ได้น้ำเป็นแปลงสุดท้าย บางครั้งได้มาก บางครั้งได้น้อย
4. แรงงาน/เวลา มีน้อยในการทำงานแต่ละครั้ง ทำได้แค่ เสาร์-อาทิตย์-วันหยุดราชการ เท่านั้น
5. ควบคุมคนรับจ้างให้ทำตามสั่งไม่ได้
6. ประสบการณ์ในการทำนาน้อย
7. ประสบการณ์ "แม่นสูตร-แม่นหลัก" เกี่ยวกับนาข้าวน้อย
8. คติเตือนใจ.....หากปล่อยให้ลูกจ้างขี่คอ จะได้แต่หญ้าขี่ข้าว เพราะฉนั้น ลูกจ้างต้องทำตามคำสั่งของนายจ้างเท่านั้น


ปัญหาและการแก้ปัญหา :
- การเตรียมดิน (ทำเทือก) ด้วยการไถกลบฟาง เพื่ออาศัยฟางเป็นอินทรีย์วัตถุนั้น ต้องพึ่งพาจุลินทรีย์ในการย่อยสลายฟางเป็นหลักเท่านั้น ซึ่งในการนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมี "เวลา" กับ "สภาพแวดล้อม" ที่เหมาะสมสำหรับจุลินทรีย์ หากกระบวนการย่อยสลายฟางโดยจุลินทรีย์ยังไม่เรียบร้อยจะเกิดแก๊สไข่เน่า (ไฮโดรเจน ซัลไฟด์) เป็นเหตุให้ต้นข้าวเกิดอาการ "เมาตอซัง" (เหลือง-โทรม-ชงักการเริญเติบ)


ในธรรมชาติไม่มีตัวเลขและไม่มีสูตรสำเร็จ ดังนั้น การที่จะกำหนดระยะเวลาสำหรับจุลินทรีย์ในการย่อยสลายฟาง ทำให้ฟางเปลี่ยนสถานะเป็นสารปรับปรุงบำรุงดินที่เหมาะสมต่อการปลูกข้าวได้ จึงไม่อาจทำได้ ทุกอย่างทุกขั้นตอนต้องดำเนินไปตามกฏเกณท์ทางธรรมชาติเท่านั้น



เมื่อมีระยะเวลาน้อยสำหรับจุลินทรีย์ในการย่อยสายฟาง แนวทางแก้ไขสามารถทำได้ ดังนี้
1. ลดปริมาณฟางลงโดยการนำออก จากฟาง (ฟาง + วัชพืช) ที่มีอยู่เดิมให้เหลือเพียง 1/4 หรือ 1/2 ของจำนวนทั้งหมด

2. หลังจากนำฟางส่วนเกินออกแล้วปล่อยน้ำเข้านา ความลึกประมาณครึ่งหน้าแข้งแล้วใส่ "น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 (3 ล.) + 16-16-16 หรือ 25-7-7 หรือ 16-8-8 สูตรใดสูตรหนึ่ง อัตรา 10 กก./ไร่ สาดให้ทั่วแปลง.....กรณีนี้อาจะ เพิ่ม/เสริม/เติม/บวก จุลินทรีย์หน่อกล้วย หรือจุลินทรีย์ย่อยสายฟางโดยเฉพาะ (ทำเอง) อย่างใอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างก็ได้ลงไปด้วยก็ได้

3. สาดน้ำหมักชีวภาพฯ แล้ว ปล่อยทิ้งไว้ 7-10 วัน เพื่อให้เวลาแก่จุลินทรีย์ทำการย่อยสลายฟางและเศษซากอินทรีย์วัตถุอื่นๆ

4. ครบกำหนด 7-10 วันแล้วตรวจสอบแก๊ซไฮโดรเจน ซัลไฟด์.ในดิน โดยเดินย่ำลงไปบนตอซังฟาง ขณะเหยียบย่ำลงไปนั้นจะมีแก๊สเป็นฟองผุดเกิดขึ้นกับมีกลิ่นออกมาให้รู้สึก......

**** ถ้าฟางเปื่อยดี (รู้ได้ด้วยเท้า หรือใช้มือสัมผัส) กับกลิ่นไม่เหม็นจนเวียนหัว หรือมีกลิ่นหอมฟางหมัก/ดินหมัก หรือไม่มีกลิ่นอะไรเลย แสดงว่า กระบวนย่อยสลายฟางเรียบร้อยแล้ว พร้อมทำนาขั้นตอนต่อไป (ทำเทือก) ได้....

**** ถ้าฟางยังไม่เปื่อยหรือมีกลิ่นเหม็น แสดงว่ากระบวนการย่อยสลายยังไม่เรียบร้อย แก้ไขด้วยการปล่อยน้ำในแปลงออกพร้อมกับปล่อยน้ำใหม่เข้าเพื่ออาศัย "น้ำใหม่ไล่น้ำเก่า" เมื่อน้ำใหม่แทนที่น้ำเก่าทั่วแปลงแล้วใส่เพิ่ม "จุลินทรีย์หน่อกล้วย หรือจุลินทรีย์ย่อยสลายฟาง" อัตรา 3-5 ล./ไร่

หมายเหตุ :
- ในน้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิงมีทั้งจุลินทรีย์และสารอาหารสำหรับจุนทรีย์ประจำถิ่น
- กรณีใส่น้ำหมักฯ แล้วกระบวนการย่อยสลายฟางยังไม่เรียร้อย ต้องปล่อยน้ำเก่าออกให้น้ำใหม่เข้าไปแทนที่นั้น ควรปล่อย น้ำออก-น้ำเข้า ช้าๆ หรือพอประมาณ แบบนี้สารอาหารพืช (อินทรีย์ + เคมี) ในน้ำหมักฯ จะไม่ไหลไปกับน้ำ เนื่องจาก ถพ. ของน้ำหมักฯ มากกว่าน้ำ น้ำหมักฯ จึงจมอยู่ใต้น้ำ กับบางส่วนซึมแทรกลงไปในเนื้อดิน หรือบางส่วนของฟาง/วัชพืชแล้ว
- จุลินทรีย์หน่อกล้วย/จุนทรีย์ย่อยสลายฟางโดยเฉพาะ (ทำเอง คุณภาพชัว์กว่า) หากไม่มีจริงๆ แนะนำให้ใช้ "กากน้ำตาล" เปล่าๆ อัตรา 1 ล./ไร่ ละลายน้ำตามความเหมาะสมแล้วสาดให้ทั่วแปลง ทั้งนี้ กากน้ำตาลจะไปเป็นแหล่งพลังงาน (สารอาหาร) สำหรับจุลินทรีย์ประจำถิ่นให้ปฏิบัติการต่อไป

5. ทำเทือก.....ใช้รถไถโรตารี่ ตีเทือก 1 รอบ โดยตี 3 เที่ยวติดต่อกันในวันเดียวกันนั้นเลย ตีให้เทือกละเอียด ด้วยความประณีตที่สุด ยิ่งลึกยิ่งดี เนื้อดินทุกตารางนิ้วต้องเป็นขี้เลน.....ขั้นตอนนี้ ถ้าหยิบขี้เทือกขึ้นมาดมจะรู้สึกว่ามีกลิ่นหอม

6. วันรุ่งขึ้นหลังตีเทือกเสร็จให้ลงมือ หว่าน/ดำ ได้ตามอัทธยาศรัย


การบริหารเวลา :
- กรณีทำนาดำด้วยรถดำนา ให้นัดหมายกับรถดำนาถึง "วันดำ" ที่แน่นอน แล้วนับวันย้อนหลังจากวันดำถึงวันเริ่มเตรียมดินว่าเป็นระยะเวลากี่วัน แล้วจัดเวลาสำหรับจุลินทรีย์ให้นานที่สุดเท่าที่จำนวนวันจะพึงมีให้

3. หลัง หว่าน/ดำ จำเป็นต้องใช้ยาฆ่า-ยาคุมหญ้า ก็ให้ใช้ตามปกติ หลังฉีดพ่นยาฆ่า-ยาคุมแล้ว 3-4 วัน ให้ฉีดพ่น "แม็กเนเซียม-สังกะสี-ยูเรีย-กลูโคส" (ไบโออิ + กลูโคส) สลับกับ "แคลเซียม โบรอน + กลูโคส) เพื่อฟื้นฟูต้นข้าว อย่างละ 2 รอบ ห่างกันรอบละ 3-5 วัน

(หมายเหตุ : การฉีดยาฆ่า-ยาคุมหญ้าจะทำให้ทั้งต้นหญ้าและต้นข้าวชงักการเจริญเติบโต (หญ้ากับข้าว คือ พืชตระกูลเดียวกัน) เพียงแต่หญ้า/วัชพืชได้รับผลกระทบมากกว่า ในขณะที่ต้นข้าวแม้จะได้รับผลกระทบเช่นกัน แต่ไม่รุนแรงเท่าหญ้า/วัชพืช.....การบำรุงต้นข้าวหลังฉีดพ่นยาฆ่า-ยาคุม ต้นข้าวได้รับสารอาหาร แต่ต้นหญ้า/วัชพืชไม่ได้รับด้วย ต้นข้าวจึงเร่งโตได้ก่อนต้นหญ้า/วัชพืช.....พึงระลึกเสมอว่า ในโลกนี้ไม่มี ย่าฆ่า-ยาคุม ยี่ห้อใดๆ ที่ฉีดพ่นใส่ หญ้า/วัชพืช ตามอัตราใช้บนฉลากแล้วทำให้ หญ้า/วัชพืช ตายได้ อย่างดีแค่ใบไหม้ หรือชงักการเจริญเติบโตชั่วคราวเท่านั้น ..... สังเกตุ ต้นข้าวระยะกล้า ถึง แตกกอ มักไม่มี หญ้า/วัชพืช โตขึ้นมาให้เห็น ครั้นเมื่อต้นข้าวถึงระยะ ออกรวง-น้ำนม จะมีต้น หญ้า/วัชพืช โตสูงแซงต้นข้าวขึ้นมาให้เห็น.....)


สรุป :
- บ่มดิน + ย่อยสลายฟางด้วยน้ำหมักชีวภาพฯ 7 หรือ 10 หรือ 15 วัน เท่าที่มีเวลา
- ไถดินด้วยโรตารี่ 1 รอบ (3 เที่ยว) แล้ว หว่าน/ดำ ในวันรุ่งขึ้น
- หลังใช้ ยาฆ่า-ยาคุม แล้ว 3 วันให้บำรุงต้นข้าวเพื่อฟื้นฟูสภาพหลังชงักการเจริญเติบโต



"เทือก" คือสิ่งสำคัญที่สุดสำหรับนาข้าว....ดินดี ได้แล้ว กว่าครึ่ง


.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 09/07/2012 9:09 pm, แก้ไขทั้งหมด 3 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 08/06/2012 1:52 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เทคนิคนาข้าว : แก้ปัญหาภาวะจำยอม ไม่ให้เกิดปัญหา (2)

ภาวะจำยอม 1 ...... ต้นทุน ค่าเช่าที่นา
ภาวะจำยอม 2 ...... ต้นทุน ค่าน้ำมันสูบน้ำ
ภาวะจำยอม 3 ...... ต้นทุน ค่า ดำ/หว่าน
ภาวะจำยอม 4 ...... ต้นทุน ค่า รถเกี่ยว
ภาวะจำยอม 5 ...... ต้นทุน ค่า ปุ๋ย/ฮอร์โมน/ยา
ภาวะจำยอม 6 ...... ต้นทุน ค่าแรง
ภาวะจำยอม 7 ...... ต้นทุน ค่าเรื่องไม่เป็นเรื่อง เรื่องโลกแตก

หลักคิดเบื้องต้นในการลดต้นทุน :
- ทำเอง ช่วยลดต้นทุนได้ 50-75% ของต้นทุนจริง
- ซื้อ/ใช้ ถูกต้อง ช่วยลดต้นทุนได้ 25-50% ของต้นทุนจริง
- จ่ายเพิ่มเพื่อคุณภาพของผลผลิตที่เพิ่มขึ้น
- ยึดถือหลัก "เศรษฐศาสตร์การลงทุน" เสมอ

- สร้างมูลค่าเพิ่ม โดย....
1. ทำนาดำเพื่อขายเป็นข้าวปลูก (.....ทำนาดำแบบประณีต เลือกสายพันธุ์ที่แปลงนารอบข้างนิยม)
2. ทำ ปุ๋ย/ฮอร์โมน/ยา ใช้เอง ให้เห็นเป็นตัวอย่างแล้วขายให้แปลงข้างเคียง
3. ข้าวเปลือกจากแปลงสีเป็นข้าวกล้อง ข้าวกล้องงอก ขายส่ง/ขายปลีก
4. ฯลฯ



ทหารนโปเลียน ประเภท 1 .................... ฉลาด - ขยัน
ทหารนโปเลียน ประเภท 2 .................... ฉลาด - ขี้เกียจ
ทหารนโปเลียน ประเภท 3 .................... โง่ - ขยัน
ทหารนโปเลียน ประเภท 4 .................... โง่ - ขี้เกียจ

ทหารนโปเลียน ประเภท 5 ..................... ไม่โง่ - ไม่ฉาด แต่ไม่เป็นตัวของตัวเอง


ชาวนายุคใหม่ :
ไม่เชื่อคนขายปุ๋ย/ขายยา ไม่เชื่อข้างบ้าน ไม่เชื่อตาคิม
................... แต่เชื่อคนในกระจก ....................





.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 08/06/2012 5:20 pm, แก้ไขทั้งหมด 6 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
cherm
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 17/11/2011
ตอบ: 237

ตอบตอบ: 08/06/2012 3:40 pm    ชื่อกระทู้: อย่าไว้ใจ และอย่าขี้เกียจ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดี ค่ะลุงคิม

ยัยเฉิ่ม ขอบคุณลุงคิมค่ะ ยัยเฉิ่มจะก๊อปป๊ แล้วไปถ่ายเอกสารขยายขนาดไปติดข้างฝาบ้าน จะได้ทำให้ถูกตามขึ้นตอน

นาข้าวจะเกี่ยวประมาณวันที่ 14 มิ.ย. 55 ก็ไปดูนาทุกวัน เมื่อวานตอนเย็นฝนตกหนัก รีบไปดูข้าว ล้มหรือไม่ล้ม ลุ้นกับลูกชาย ขี่รถไปดูทั้งฝนตกหนักๆ นั่นแหละ ผลปรากฎว่า ไม่ล้ม เพียงแค่ลู่ไปตามลม (แอบมองแปลงข้าง ล้มแต่ก็ไม่มากเท่าไร)

ไม่แน่ใจ ฝนหยุดตกไปดูใหม่อีกรอบ ก็ไม่ล้ม แต่สิ่งที่มองเห็น ยอดใบทำไมแดง ละหว่า แดงเป็นหย่อมๆ ไม่เยอะ

เอาแล้ว ก....ผลของการขี้เกียจ ไม่ฟังคำลุงคิมบอก ฉีดพ่นฮอโมนทุกครั้งต้องผสมสารสมุนไพรลงไปด้วย

ฉีดพ่นสองครั้งหลังไม่ได้ผสมเลย เพราะคิดว่าไม่เป็นไรแล้วมั้ง ต้นข้าวแข็งแรงดี แปลงข้างๆเค้าเป็นกัน ฉีดกันหลายหนแต่เราไม่เป็น คงไม่ต้องแล้วแหละ

ยังไม่มีใครบอกได้ว่าเกิดจากอะไร ลักษณะของต้นข้าว ปลายใบจะใหม้เป็นสี่น้ำตาลเข้ม มองใกล้จะเป็นสีแดง นาแปลงที่ยัยเฉิ่มไปเมียงมอง เมื่อวันก่อน (6 มิย.55) ยังไม่มีการระบาด แต่เมื่อวาน(7 มิ.ย.55) แดงไปทั้งแปลง แต่ของยัยเฉิ่มมีแค่ประมาณ 2 เปอร์เซนต์ในนาข้าว ผลของการะบาด เมล็ดข้าวจะลาย ราคาจะเสีย เมื่อนาครั้งที่แล้วของยัยเฉิ่มก็เป็น ยัยเฉิ่มมาใช้ปุ๋ยของลุงตอนข้าวเป็นน้ำนมแล้ว ข้าวก็ไม่เสียหาย ของคนอื่นเสียหายมาก

ยัยเฉิ่ม ก็เลยมั่นใจที่จะทำตามแ่นวทางลุง

ที่นี้แหละจะได้ท่องให้ขึ้นใจว่า "แม่นสูตร-แม่นหลักการ" อย่าขี้เกียจ อย่านึกว่า จะต้องอย่างนั้น อย่างนี้ ต้นข้าวพูดด้วยใบ บอกด้วยราก


ขอบคุณลุงค่ะ
ยัยเฉิ่ม จะเป็นชาวนา


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Mister_P
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 20/10/2010
ตอบ: 6

ตอบตอบ: 08/06/2012 6:47 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เรียน...ลุงคิม


นกมากินตอนหว่านข้าว เป็นนกพิราบครับ
นกมากินก่อนเกี่ยวข้าว เป็นกระติ๊บครับ
อย่างหลังหนักกว่าครับ

ใช้คนไล่ก็หนีแปลงหน้าไปแปลงหลัง
ใช้ลูกประทัดก็บินหนีไปเดี๋ยวก็มา
ใช้ข่ายดักก็ไม่กลัว

ใช้ทั้ง 3 อย่างผสมกัน ไล่ทุกวัน
กินข้าวไปก็เยอะ.........ไม่รู้จะป้องกันอย่างไร

ได้บ้าง..นกกินบ้าง...ก็เลยแบ่งๆกันไป
เผื่อมีผู้รู้ท่านอื่นๆ มีประสบการณ์ แนะนำได้นะครับ




.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 09/06/2012 7:14 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

Mister_P บันทึก:


เรียน...ลุงคิม


นกมากินตอนหว่านข้าว เป็น นกพิราบ ครับ
นกมากินก่อนเกี่ยวข้าว เป็น กระติ๊บ ครับ
อย่างหลังหนักกว่าครับ
ตอบ :
ทั่วๆไปที่เขาทำนาหว่าน ตอนหว่านเมล็ดข้าว ลักษณะดินในแปลงนา เนื้อดินเป็นเลนเรียกว่า "ขี้เทือก" ผิวดินมีน้ำ

นิสัย "นกพิลาบ" เท่าที่เคยเห็น จะไม่ลงไปเดินในดินเลนที่มีน้ำนี่นา

ถ้างั้น คุณคงหว่านเมล็ดข้าวบนพื้นดินแห้งๆ (ข้าวไร่) ทำนาแบบรอน้ำฝน หรือไม่ก็หว่านแล้วไถซ้ำกลบเมล็ดพันธุ์ข้าว.....ใช่ไหม ?

ถ้าเป็นแบบนี้ก็เอาน้ำใส่ ทำเทือกมีน้ำหล่อผิวหน้าดิน นกพิลาบคงไม่ลงมั้ง.....แต่ถ้าดินเป็นเลน มีน้ำผิวดิน นกพิลาบยังลงไปลุยได้ยังกะ นกกระยาง นกปากห่าง นกฟาร์มิงโก้ ละก็ ยอมมันเถอะ




ส่วน "นกกระติ๊บ" อันนี้บอกตามตรง "ไม่รู้จัก" ชื่อนี่เป็นภาษาพื้นบ้านหรือเปล่า.....ที่รู้ๆ เห็นมีก็แต่ "นกกระจาบ" เท่านั้นที่ลงกินเมล็ดข้าวครั้งละฝูงใหญ่ๆ ลงทีเล่นข้าวหมดเป็นแปลงๆ ...... ส่วนนกระจอก นกกระจิบ จะลงครั้งละฝูงเล็กๆ ไม่กระทบกระเทือนเมล็ดข้าว

มีบางคนเอา "แผ่น ซีดี" ไปแขวนไว้ตามแปลงนา แสงสะท้อนจากแผ่น ซีดี. เข้าตานก นกจะหนี.....เขาว่างั้น เท็จจริงไม่ประจักษ์



ฝึกเหยี่ยวจับนกแบบมองโกลซี่ เหยี่ยว จับนก-ไล่นก ไปหมดแล้วขายเหยี่ยวได้ตัวละหลายแสน ดีกว่าปลูกข้าวซะอีก





.



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
DangSalaya
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011
ตอบ: 1874

ตอบตอบ: 09/06/2012 10:05 pm    ชื่อกระทู้: ยัยเฉิ่มจะเป็นชาวนา ......อีเหยี่ยว....อีเหี่ยว ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เหยี่ยวมองโกลที่ลุงคิมบอก ฝึกดี ๆ เก่ง ๆ ตัวเป็นแสน... แต่เหยี่ยวของผม ไม่ต้องฝึก แต่เก่งทุกอย่าง ตาไว มือไว กระดิกตัวนิดหน่อยโดนกรงเล็บ ปากไวอีกต่างหาก ...

ตอนแรกก็เป็นอีเหยี่ยว แต่ตอนนี้เป็นอีเหี่ยว ตอนซื้อตัวเป็นแสน แต่ตอนนี้ แลกของเก่าจะได้ถ้วยน้ำปลาซักใบจะได้หรือเปล่ายังไม่แน่ .....

ขออนุญาตลาไปเดินสายทางอีสาน 20 วันครับ ถ้าผ่านกุดชุม ยโสธร หากมีเวลาจะแวะไปเยี่ยม ตุ๊หล่าง คนทำนาข้าวอินทรีย์เกวียนละแสนสอง ...



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
cherm
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 17/11/2011
ตอบ: 237

ตอบตอบ: 13/06/2012 9:31 pm    ชื่อกระทู้: ลุ้น และตื่นเต้นค่ะ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีค่ะลุงคิม
สวัสดีทุกๆๆคนค่ะ


พรุ่งนี้ (14 มิ.ย.55) ยัยเฉิ่ม จะเกี่ยวข้าวแล้วค่ะ ลุ้น และตื่นเต้นจังเลยค่ะ ผลจะออกมาอย่างไรนะ

จะ ขาดทุนหรือกำไร จะพอลบคำพูดต่างๆ ของผู้หวังดีได้มากน้อยแค่ไหน

ถึงผลจะออกมาอย่างไร ยัยเฉิ่มก็ไม่คิดที่จะเลิกทำนาตามแนวทางของลุงหรอกค่ะ อินทรีย์นำ เคมีเสริม
ตามความเหมาะสม ของต้นข้าว


ปุ๋ยถูก....................................ใช้ผิด
ปุ๋ยผิด....................................ใช้ถูก
ปุ่ยผิด....................................ใช้ผิด

ปุ๋ยถูก....................................ใช้ถูก


ไม่ใด้เชื่อใครแม้แต่ตาคิม ให้เชื่อคนในกระจก
ไม่เชื่อลุงคิมหรอกค่ะ แต่จะทำตามแนวทางลุงค่ะ

พรุ่งนี้ผลเป็นประการใด จะแจ้งให้ทราบนะคะ


ยัยเฉิ่ม จะเป็นชาวนา ค่ะ


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 14/06/2012 7:42 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

วาดภาพออกไหม เคยบอกว่า....

- การปลูกพืช (ทุกพืช) มีขั้นตอน แต่ละขั้นตอนมีพัฒนาการของตัวเอง การทำข้ามขั้นตอน หรือละเว้นบางขั้นตอน ย่อมส่งผลถึงพัฒนาการของพืชนั้น.....เปรียบดั่ง ใส่เสื้อต้องติดรังดุม ถ้าติดรังดุมเม็ดแรกผิด จะส่งผลให้เม็ดต่อๆไปผิดด้วย สุดท้ายทำให้เสื้อที่ใส่ไม่สวย


- ในธรรมชาติไม่มีตัวเลขและไม่มีสูตรสำเร็จ ..... ปลูกข้าวตามใจข้าว ไม่ใช่ตามใจคน.....บำรุงเต็มที แต่จะให้ได้ผลเต็มที่ ไฉน


- ทำตามคนที่ล้มเหลวจะล้มเหลวยิ่งกว่า เพราะไม่รู้ว่าเขาล้มเหลวเพราะอะไร เห็นเขาใส่ปุ๋ย 1 กส.ต้องใส่ 2 กส. หวังเอาชนะ หวังโอ้อวดว่า ข้าฯก็รู้ ข้าฯก็เป็น.....แต่ถ้าทำตามคนที่สำเร็จจะสำเร็จยิ่งกว่า เพราะรู้แล้วว่าเขาทำอย่างไร แล้วเอาวิธีของเขามาต่อยอดเป็นวิธีของตัวเอง


- ดิน คือ ปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญที่สุดในการปลูกข้าว.....ดินดีประสบความสำเร็จแล้วกว่าครึ่ง.... ระหว่าง "ขี้เทือกลึกแค่ตาตุ่ม--ขี้เทือกลึกครึ่งหน้าแข้ง--ขี้เทือกลึกท่วมหัวเข่า--ดินมีกลิ่นหอม--ดินมีกลิ่นเหม็น" มีผลต่อการเจริญเติบโตอย่างไรของต้นข้าว .... ดินดี คือ ดินที่มีอิทรีย์วัตถุและจุลินทรีย์


- โฆษณาปุ๋ยเคมีบอกว่า ปุ๋ยเคมีเพิ่มผลผลิต.....ใส่ปุ๋ยเคมี 10 กก./ไร่ ได้ข้าว 100 ถัง แล้วที่ใส่ปุ๋ยเคมี 50 กก. (มากกว่า 5 เท่า) ใยจึงไม่ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น 5 เท่า เป็น 500 ถัง/ไร่ เล่า


- ต้นข้าว (พืชทุกชนิด) ต้องกินสารอาหาร (ปุ๋ย) 14 ตัว เรียกว่า "ครบสูตร" การใส่ 46-0-0 (1 กส.) +16-20-0 (1 กส.) รวม 100 กก.(2 กส.) แต่ได้สารอาหาร (ปุ๋ย) สำหรับต้นข้าวเพียง 2 ตัว (N-P) เท่านั้น ใช่หรือไม่ ?


- ต้นข้าวที่เขียวด้วยยูเรีย.เป็นเขียวลวงตา เพราะจะเขียวอยู่ได้ไม่กี่วันแล้วจะเหลืองโทรมอย่างเก่า ต้องใส่ยูเรีย.อีก และใส่ทุกครั้ง รวมหลายครั้งต่อรุ่น นอกจากทำให้สิ้นเปลืองเงินทุนแล้วยังส่งผลให้ ...... 1) ต้นข้าวอ่อนแอ ใบบาง ลำต้นนิ่ม เป็นเหตุให้ศัตรูพืช (โรค-แมลง-หนอน) ชอบ .... 2) ต้นสูง เมื่อต้นโตขึ้นจึงล้มง่าย .... 3) ต้นข้าวมีการเจริญเติบโตทางลำต้นและใบมาก เรียกว่าบ้าใบหรือเฝือใบ ออกรวงน้อย.... 4) ข้าวเปลือกที่ได้ เมล็ดลีบ-เป็นท้องปลาซิว-ไม่แข็ง ไม่แกร่ง ไม่มีน้ำหนัก-ใช้ทำพันธุ์ไม่ได้ ..... 5) ฯลฯ


- ต้นข้าวที่ได้รับยูเรีย.มากๆ หรือมากเกินความจำเป็นจะมีลักษณะอาการ ใบบาง เขียวจาง แกนใบอ่อนนิ่ม ลำต้น (โคน) แบน/นิ่ม ช่วงเช้า 6-9 โมงใบธงจะโค้งลงทสอบโดยเอาท้องแขนกดลงที่ปลายใบจะไม่รู้สึกเจ็บ แต่ใบนั้นจะอ่อนลู่ลงตามแรงกด


- ปุ๋ยแม็กเนเซียม. ช่วยให้ ใบใหญ่-หนา-เขียวเข้ม-เขียวทนนาน-ผนังเซลล์แกร่ง ศัตรูพืชไม่ชอบ ไปจนถึงวันเกี่ยว .... ปุ๋ยสังกะสี.ช่วยสร้างแป้ง เสริมการออกดอกรวง .....ต้นข้าวที่ได้รับปุ๋ย 2 ตัวนี้อย่างเหมาะสมสม่ำเสมอตั้งแต่ต้นเริ่มเกิด (เมล็ดงอก) จะมีลักษณะอาการ ใบใหญ่ เขียวเข้ม หนา แกนใบแข็ง ลำต้น (โคน) กลมแข็งแน่น ช่วงเช้า 6-9 โมงใบธงไม่โค้งลงแต่ยังตั้งตรงได้ตามปกติ ทดสอบโดยเอาท้องแขนกดลงที่ปลายใบจะรู้สึกเจ็บ และใบไม่อ่อนลู่ลง


- ข้าวต้นยาว (สูง) รวงสั้น ข้าวต้นสั้น (เตี้ย) รวงยาว.....ข้าวต้นเล็กเท่าหลอดดูดยาคูลท์ จะได้รวงเล็กสั้น เมล็ดน้อย คุณภาพต่ำ แต่ข้าวที่ต้นใหญ่เท่าหลอดดูดเฉาก๊วย จะได้รวงยาว เมล็ดมาก คุณภาพสูง


- ข้าวนาหว่าน ที่หว่านด้วยเมล็ดมากๆ ทำให้ได้จำนวนต้นมากเท่าจำนวนเมล็ด การมีลำต้นมากๆ ทำให้ต้นข้าวขึ้นเบียดกัน ส่งผลโดยตรงเป็นเหตุให้ ต้นเล็ก-การแตกกอ-ไม่ดี-ได้รับแสงแดดน้อย นอกจากนี้ในแปลงมีความชื้นสูง ส่งผลโดยตรงเป็นเหตุให้ โรค/แมลง/ศัตรูพืช มากอีกด้วย .....ความคิดของชาวนาที่ว่า ต้นข้าว 1 ต้นหมายถึง 1 รวง แม้จะเป็นความจริง แต่ชาวนาไม่คิดเลยว่า 1 รวงที่ได้นั้นเป็นรวงที่ไม่มีคุณภาพ


- อาชีพทำนาเหมือนกับอาชีพอื่นๆ ที่ต้องลงทุนแล้วขายให้ได้ราคาขายมากกว่าลงทุน ดังนั้น ก่อนก้าวแรกเหยียบย่างลงไปในแปลงนา ควร ศึกษา/วางแผน สิ่งที่จะเป็นปัญหาก่อน ให้รู้ว่าอะไรจะเป็นปัญหาบ้าง (ทั้งที่เคยเกิดขึ้นกับตัวเอง และเคยเกิดกับแปลงข้างเคียง) ก็ให้ป้องกันปัญหานั้นไม่ให้เกิด แบบป้องกันล่วงหน้า ครั้นเมื่อลงมือทำ ระหว่างที่ทำแล้วไม่เกิดปัญหา การทำนั้นๆย่อมประสบความสำเร็จ ตรงกันข้าม หากมองแต่ความสำเร็จ โดยไม่ใส่ใจกับนานาปัญหา (ปัญหาโลกแตก ปัญหาเรื่องไม่เป็นเรื่อง) ทั้งๆที่เคยเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า ทั้งของเราของเขา แบบนี้นอกจากจะไม่ประสบความสำเร็แล้วยังเกิดอาการต๊อแต๊อีกด้วย


- นาข้าวที่ได้ผลผลิต 100 /ไร่ ใช้ปุ๋ยประมาณ 20 กก.ธาตุหลัก (งานวิจัยจุฬาลงกรณ์) หลังจากเกี่ยวแล้วธาตุหลักติดไปกับเมล็ดข้าว 2 กก. ที่เหลืออีก 18 กก.อยู่ที่ฟางและเศษซากต่างๆของต้นข้าว ดังนั้น การไถกลบฟางแล้วฟางถูกย่อยสลายก็จะได้ธาตุหลัก 18 กก. กลับคืนมา


- ต้นข้าวในนาหว่าน ใบจะได้รับแสงแดดไม่เต็มที่เพราะต้องเบียดแย่งกันกับต้นข้างเคียง การที่ใบได้รับแสงแดดไม่เต็มที่เป็นเหตุให้กระบวนการสังเคราะห์อาหารทำได้ไม่เต็มที่ ระบบพัฒนาการของต้นมีอุปสรรค ผลพวงเหล่านี้เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ต่นอ่อนแอ ขาดภูมิต้านทาน แล้วส่งผลขึ้นสุดท้าย คือ คุณภาพของผลผลิต (ข้อมูล : IRRI)


- ต้นข้าวตอบสนองต่อปุ๋ยธาตุหลักทั้ง 3 ตัว (N-P-K) อัตราส่วน 3:1:1 หรือ 2:1:1 ในช่วงการเจริญเติบโต 2 ระยะ คือ ระยะกล้า กับ ระยะแตกกอ-ตั้งท้อง เท่านั้น (ข้อมูล : IRRI)


-


-

............................... ยังไม่จบ .................

หมายความว่าอย่างไร.....?



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
cherm
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 17/11/2011
ตอบ: 237

ตอบตอบ: 20/06/2012 9:25 pm    ชื่อกระทู้: รออ่านอยู่ค่ะ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดี ค่ะ ลุงคิม

ยัยเฉิ่ม ขอรายงานการเก็บเกี่ยวข้าวค่ะ

อย่างที่ลุงบอกไว้ไม่ผิดเลยค่ะ ติดกระดุมผิดเสียแต่เม็ดแรก เม็ดต่อไปก็ผิดไปเรื่อยๆ
ยัยเฉิ่มได้ข้าวน้อยมากค่ะ แต่ไม่ขาดทุน ได้กำไรนิดหน่อย ผู้หวังดีทั้งหลาย ก็ขาด
คะเน ว่า ยัยเฉิ่มคงขาดทุนย่อยยัย พูดให้ยัยเฉิ่มรู้สึกผิดที่ไม่ทำตามเขา

แต่ยัยเฉิ่ม ก็รุ้สึกเฉยๆ ต่อเสียงที่ได้ยิน ยัยเฉิ่มก็ยังคงแนวแน่ ที่จะทำตามแนวทางลุง
เพราะคิดว่า ถ้าครั้งหน้า เราติดกระดุมถูกเสียแต่เม็ดแรก ยัยเฉิ่มคงเป็นนางเองแน่นอนค่ะ

ยัยเฉิ่ม รออ่านที่ลุง บอกว่ายังไม่จบ นะคะ



ขอบคูณค่ะ
ยัยเฉิ่ม จะเป็นชาวนา ค่ะ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 22/06/2012 5:45 am    ชื่อกระทู้: Re: รออ่านอยู่ค่ะ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

cherm บันทึก:
สวัสดี ค่ะ ลุงคิม

ยัยเฉิ่ม ขอรายงานการเก็บเกี่ยวข้าวค่ะ

อย่างที่ลุงบอกไว้ไม่ผิดเลยค่ะ ติดกระดุมผิดเสียแต่เม็ดแรก เม็ดต่อไปก็ผิดไปเรื่อยๆ
ยัยเฉิ่มได้ข้าวน้อยมากค่ะ แต่ไม่ขาดทุน ได้กำไรนิดหน่อย ผู้หวังดีทั้งหลาย ก็คาด
คะเน ว่า ยัยเฉิ่มคงขาดทุนย่อยยัย พูดให้ยัยเฉิ่มรู้สึกผิดที่ไม่ทำตามเขา

แต่ยัยเฉิ่ม ก็รุ้สึกเฉยๆ ต่อเสียงที่ได้ยิน ยัยเฉิ่มก็ยังคงแนวแน่ ที่จะทำตามแนวทางลุง
เพราะคิดว่า ถ้าครั้งหน้า เราติดกระดุมถูกเสียแต่เม็ดแรก ยัยเฉิ่มคงเป็นนางเองแน่นอนค่ะ

ยัยเฉิ่ม รออ่านที่ลุง บอกว่ายังไม่จบ นะคะ



ขอบคูณค่ะ
ยัยเฉิ่ม จะเป็นชาวนา ค่ะ





ที่ว่า "ยังไม่จบ-ยังไม่จบ" นั่นน่ะ จนถึงวันนี้แล้ว ถ้าเขียนต่อก็คือยังไม่จบ ถ้าไม่ได้เขียนต่อก็คือจบแล้ว ประมาณนี้.....บอกแล้วไง ในโลกนี้ใครจะ "ขี้เกียจ"
เท่าตาคิม....เรื่องขี้เกียละขยัน เรื่องโง่ละฉลาด.....ประมาณนี้



เอาเรื่องใหม่ คนละเรื่องเดียวกันดีกว่า (ถามเอง ตอบเอง) เมื่อวานนี้ 21 มิ.ย. ไปงานศิษย์เก่าที่ ร.ร.โคกกะเทียม วิทยาลัย ลพบุรี หลังจากไม่ได้ไปมากว่า 10 ปี แต่งานคราวนี้ไปเพราะเพื่อนร่วมรุ่น ทั้งเพื่อนหญิงเพื่อนชาย เรียกร้องมา "มึงต้องไป มึงต้องไป...." ก็เลยไปให้มันหน่อย

บรรยากาศงานที่เกี่ยวกับ ร.ร.-ศิษย์เก่า ก็เหมือนๆกับงาน ศิษย์เก่า-ร.ร. ทั่วๆไป แต่งานที่ไม่น่าจะเป็นงาน เรียกว่า "งานเข้า" นี่สิ

...... ท่ามกลางเพื่อน (รุ่นพี่รุ่นน้อง) อาจารย์ที่เคยสอน อาจารย์ปัจจุบันที่กำลังสอน พูดคุยกันด้วยภาษา โคกกะเทียม-โคกกะเทียม นั้น วันนั้นทั้งวันมี สมช.รายการวิทยุโทร.เข้ามาปรึกษาปัญหาเกษตร 3-4 สาย บางรายรับสายแล้วก็ตอบข้อซักามเดี๋ยวนั้น ท่ามกลางสายตาของคนในวงสนทนาว่า นี่คือ ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร เคสนี้ลุงคิมถือว่า "ปกติ" เพราะเจอประจำทุกวันเวลาอยู่แล้ว แต่มีอยู่เคสหนึ่งที่ "ปกติอย่างไม่ปกติ" ...... เรื่องของเรื่องมีอยู่ว่า

สมช. : ตอนนี้ลุงคิมอยู่ที่ไหนคะ ?
ลุงคิม : อยู่ในงานศิษย์เก่าที่ ร.ร.โคกกะเทียม วิทยาลัย ลพบรี

สมช. : ฉักก็คนลพบุรีเหมือนกัน อยู่อำเภอเมือง แล้ว ร.ร.นี้อยู่อำเภออะไร ?
ลุงคิม : (ชัก งง...) ไฮ....แกอยู่อำเภอเมือง ไม่รู้จัก ร.ร.โคกกะเทียม ได้ไง เสียชื่อหมด ว่าแต่ว่า ถามทำไม

สมช. : จะไปหา ไปปรึกษาเรื่องนาข้าว
ลุงคิม : งั้นก็มาที่ ร.ร.โคกกะเทียม นี่แหละ มาเร็วๆนะ ตอนนี้ยังไม่เที่ยง บ่ายแก่ๆฉันก็เผ่นแล้ว

(กรณีศึกษาเรื่องนี้ที่น่าวิเคราะห์ก็คือ .... อยู่อำเภอเมืองมาตั้งแต่เกิด แต่ไม่รู้จัก ร.ร.โคกกะเทียม วิทยาลัย ซึ่งเป็น ร.ร.รัฐบาล ในจำนวนไม่กี่แห่งของ อำเภอเมือง ลพบุรี.... เวลาระหว่างงานศิษย์เก่า ไม่น่าจะเหมาะสมต่อการปรึกษาปัญหาเกษตร .....หลังจากนัดหมายกันทางโทรศัพท์ ใช้เวลาเพียง10 นาที ก็มาง ร.ร.โคกกะเทียมฯ แสดงว่าอยู่ไม่ไกล แล้วทำไมไม่รู้จัก ร.ร.โคกกะเทียม..... )


งานนี้มากัน 5 คน....แม่อายุราว 50, ลูกชายอายุราว 30, ลูกสาว 2 คนอายุราว 25 กับหลานชายอายุราว 6-7 ขวบ.......

สมช. : (แม่พูดก่อน) ฉันฟังรายการลุงคิมมาเกือบ 10 ปี ฟังทั้งเช้าทั้งค่ำ ก็เลยอยากมาปรึกษา
ลุงคิม : (ยังไม่ให้คำตอบ แต่กวาดสายมองหน้าแม่สลับหน้าลูก แล้วเลี่ยงไปสนใจหลานชาย....เข้ามาหาตาซิ มาหวัดดีตา แล้วพูดเล่น โตขึ้นเป็นตุ๊ด จะโดนเตะ.....)

สมช. : (ยิงคำถามก่อน) ข้าวหว่านมาเดือนกว่าตอนนี้ใบมันเหลืองแต่เหลืองเป็นบางจุด เพิ่งทำแบบไถกลบฟางรุ่นนี้รุ่นแรกครับ
ลุงคิม : อันนี้บอกได้เลย เมาตอซัง...ไหนว่าฟังมาตั้ง 10 ปี ลุงคิมก็พูดเรื่องข้าวเมาตอซังอยู่บ่อยๆ ไม่ใช่เหรอ

สมช. : ก็ฟังนั่นแหละค่ะ แต่ไม่เข้าใจ โถ...คนแก่นี่คะ ความจำ ความคิด อะไรก็ไมค่อยมี
ลุงคิม : (มองไปที่ลูก 3 คน) เป็นหน้าที่ของ "มึง" ทั้ง 3 คน ที่ต้องทำแทนแม่

สมช. : (ลูกชายถาม) ใช้ยาอะไรแก้ครับ
ลุงคิม : (ยังไม่ตอบแต่มองไปที่คนเป็นแม่) ขอโทษ ถามจริง ทำนา 140 ไร่ ตอนนี้เป็นหนึ้เท่าไหร่

สมช. : (แม่ตอบ) 6-7 แสน หนี้ ธ.ก.ส. ร้านขายปุ๋ย สหกรณ์ กับนอกระบบ
ลุงคิม : แต่ละรุ่น แต่ละรุ่น ใส่ปุ๋ยเยอะไหม

สมช. : ยูเรียไร่ละกระสอบ, 16-20-0 อีกไร่ละกระสอบ นี่ใส่น้อยนะ คนอื่นใส่เยอะกว่านี้อีก กับค่ายาฆ่าแมลงอีกต่างหาก
ลุงคิม : (คำนวนในใจ ยูเรีย 140 กส. 16-20-0 อีก 140 กส. รวม 280 กส. ราคา กส.ละ 900 เป็นเงินมหาศาล).... อื้อฮือ นี่ใส่กันบ้าเลือดเลยนะ ที่จริงนาข้าว 140 ไร่ กินปุ๋ยแค่ไร่ละ 20 กก. เพราะฉนั้น 140 ไร่ ใช้ปุ๋ยแค่ 2,800 กก. ก็แค่ 3 ตัน 60 กระสอบ เท่านั้น ...นี่ใส่ลงไป 280 กระสอบ จะว่าไม่บ้าเลือดได้ไง

สมช. : (งง คิดตัวเลขตามไม่ทัน)
ลุงคิม : ลุงคิมก็พูดบ่อยๆไม่ใช่เหรอ แกใส่ปุ๋ย 280 กระสอบ 14,000 กิโล ได้ปุ๋ยแค่ 2 ตัว ตัวหน้ากับตัวกลางเท่านั้น แต่ต้นข้าวต้องการกินปุ๋ย 14 ตัว ฮอร์โมน วิตามินอีกต่างหาก หรือว่าอีก 12 ตัว ไม่ใช่ปุ๋ย แม้แต่ฮอร์โมน วิตามิน ต้นข้าวไม่กิน

สมช. : (ยังงงอยู่ แล้วพูดเสียงอ่อยๆ) ก็ได้ยิน แต่ไม่รู้จะทำยังไง
ลุงคิม : อ้าว ก็ซื้อมาให้เขาซี่ เอาเงินค่ายูเรีย กับ 16-20-0 นั่นแหละมาซื้อตัวนี้ แล้วก็จ่ายไม่มากเท่ายูเรีย 16-20-0 ด้วย

สมช. : ปุ๋ยลุงคิมมีขายที่ลพยุรีไหมคะ
ลุงคิม : ไม่มี ไม่วางเอเย่นต์ เราขายตรงผู้ใช้เลย ไม่ต้องไปแบ่งเปอร์เซ็นต์ให้เอเย่นต์

สมช. : ถ้าจะซื้อ ต้องทำยังไงคะ
ลุงคิม : ทำไมต้องซื้อด้วย นาตั้ง 140 ไร่ ทำเอง คุ้มเกินคุ้ม ทำไม่เป็นก็ให้อั้ยลูกชายนี่ไปเรียนที่ไร่กล้อมแกล้ม อยู่เป็นลูกมือลุงคิม หัดทำจนกว่าจะเป็น ทำเป็นแล้ว รู้แล้ว ความรู้นี้จะอยู่กับเราไปตลอดชีวิต สอนให้ลูกหลานต่อได้ด้วย ไม่ดีกว่าเหรอ เก่งแล้ว ทำใช้ ทำขายแปลงข้างเคียงยังได้

สมช. : ปัญหา มันไม่มีเวลาซิคะ
ลุงคิม : ก็แล้วแต่

สมช. : (ลูกชายถาม) แล้วข้าวเมาตอซังวันนี้มีทางแก้ไขไหมครับ
ลุงคิม : ก็พอมี เอางี้ วันนี้พรุ่งนี้ ไขน้ำเก่าออกให้หมดเหลือติดดินแต่รอยตีนวัวตีนควาย แล้วเอาจุลินทรีย์หน่อกล้วย 3-4 ลิตร/ไร่ ปรับหัวฉีดให้เม็ดน้ำใหญ่ๆ ฉีดพ่นลงดินโดยตรงให้ทั่วแปลง ซัก 2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน อันนี้แก้ปัญหาแก๊สไข่เน่า ส่วนบำรุงต้นข้าวให้ แม็กเนเซียม + สังกะสี + ยูเรีย ฉีดพ่นทางใบซัก 2-3 รอบ ห่างกันรอบละ 3 วัน ระหว่างนี้ต้นข้าวไม่ได้สารอาหารจากรากเพราะดินมีปัญหาก็จะได้จากทางใบแทน

สมช. : (ลูกสาวถาม) แล้วเราจะไปหาซื้อปุ๋ยพวกนี้ได้ที่ไหนคะลุง ?
ลุงคิม : (มองหน้าลูกชาย.....ถามด้วยสายตา)

สมช. : (ลูกชายตอบ) ไม่เป็นไร เดี๋ยวไปที่ร้าน แล้วบอกเถ้าแก่สั่งให้ก็ได้
ลุงคิม : (ดูนาฬิกาที่โทรศัพท์) วันนี้เวลาน้อยนะ ความรู้วิชาการเรื่องมันมาก เรียนกัน 10 นาทีไม่จบหรอก วันนี้ไปจัดการตามที่ลุงคิมบอกก่อน เอาน้ำเก่าออกให้หมด ทิ้งไว้ซัก 2 อาทิตย์ ตรวจสอบแก๊ซไข่เน่าซัก 2 รอบ ถ้าดินไม่มีกลิ่นเหม็นถึงเอาน้ำเข้า ระหว่างตรวจสอบแก๊ซไข่เน่าก็ให้ปุ๋ยทางใบที่ว่าไปพลางๆซัก 2-3 รอบ ไม่ต้องหว่านปุ๋ยทางดิน งานนี้ รอดคือรอด ไม่รอดคือไม่รอด

สมช. : (แม่ถาม) ไม่มีวิธีอื่นเลยหรือคะ ?
ลุงคิม : อาจจะมีแต่ลุงคิมไม่รู้ วันนี้รู้แค่นี้ ที่สำคัญ อย่าใส่สารเคมีอะไรทั้งสิ้น มันไม่คุ้ม เหมือนเผาบ้านฆ่าหนู ใส่สารเคมีแล้วแก๊ซไข่เน่าหาย แต่ดินตายดินเสีย แล้วต้นข้าวก็ตายตาม ถึงไม่ตายก็ไม่โต .... O.K. ไหม ?

(.....ในนิยายเศร้าซ้ำซากเรื่องนี้ค่อนข้างยาว ที่ไม่ได้เขียนบอกยังมีอีกเยอะพะเรอเกวียน.....นา 140 ไร่ ได้ข้าว 70-80 ถัง/ไร่....ทุนที่จ่ายทั้งจ้างและซื้อคิดเป็นข้าวที่ขายได้ 120 ไร่ เท่ากับเหลือกำไรเพียง 20 ไร่.....ฯลฯ)



................................................จ. จ. จ. (จำใจจบ).............................................


.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 25/06/2012 6:59 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
cherm
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 17/11/2011
ตอบ: 237

ตอบตอบ: 25/06/2012 3:18 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีีค่ะลุงคิม


ยัยเฉิ่ม อ่านแล้วก้คงเหมือนชาวนาอีกค่อนประเทศที่ทำนาแบบทำตามกัน ไม่มีความรู้ มีแต่ประสบการณ์ ที่ทำตามกันมา ไม่รู้ว่าพืชต้องการสารอาหารกี่ตัว

อย่างยัยเฉิ่มนะวันนี้ ก็คงมีความรู้เพียงน้อยนิด แต่ก็พยายามที่จะปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงการทำนาแบบดังเดิม คือ เชื่อข้างบ้าน - เชื้อคนขายปุ๋ย


การที่จะก้าวข้ามความคิดดังเดิม จะก้าวข้ามความคิดเห็นเดิมๆ ที่พูดกรอกหูให้ฟังทุกวัน ต้องหว่านข้าวหนาๆๆ ต้องใส่ยุเรีย ต้องใส่ปุ๋ยสูตรเสมอ ต้องฉีดยาฆ่าหญ้า ต้องอย่างนั้น อย่างนี้ มันก็ค่อนข้างยากมากนะค่ะลุง

แต่ ณ วันนี้ ถึงยัยเฉิ่มจะได้ข้าวน้อย แต่ก็ยังมุ่งมั่นที่จะทำตามแนวทางลุง และก็จะหาความรู้เพิ่มเติมให้ได้มากที่สุดเท่าที่่จะทำได้

นาข้าวรุ่นต่อไป........
1. วางแผน



.......................... ยังไม่จบ .......................




ยัยเฉิ่ม จะเป็นชาวนา





.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
cherm
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 17/11/2011
ตอบ: 237

ตอบตอบ: 26/06/2012 8:58 pm    ชื่อกระทู้: เปรียบเทียบ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีค่ะ ลุงคิม

ตอนนี้ยัยเฉิ่ม ไถพรวนดินนาเรียบร้อยแล้ว ตอนแรกว่าจะเอาน้ำหมักระเบิดลงก่อน แล้วค่อยไถพรวนแต่เวลาไม่ทัน เนื่องจากมีเวลาแค่เสาว์อาทิต ถ้าทิ้งดินไว้ก็กลัวว่าจะแห้งเกิน ไถไม่ได้ จึงคิดว่าเวลาน้ำเข้านาค่อยเอาใส่

นางวดนี้ ยัยเฉิ่ม จะดำนาค่ะ
เพียงแค่ยัยเฉิ่มคิดว่าจะดำแค่นั้นแหละค่ะ ผู้ประสงค์ดีทั้งหลาย ก็เข้ามาแทรกแซงความคิด ทั้งๆที่ยังไม่ได้ลงมือทำ
1. นาดำลงทุนมากว่านาหว่าน
2. ต้องใช้น้ำมาก คุมน้ำไม่อยู่ หญ้าจะขี่ข้าว ไม่ได้กินเหมือนครั้งนี้อีกแหละ
3. เสียดายพื้นนา ที่เป็นช่องว่างระหว่างต้น
4. ถ้ารวมข้าวในพื้นที่เดียวกัน นาดำแตกกอดี แต่ถ้ารวมนับต้นกันแล้ว นาหว่านได้จำนวนต้นมากกว่า
5. นาหว่าน จะมีปัญหาเรื่องนกกระยางและนกปากห่างลงนา ถ้ามันเหยียบไปแล้วก็ต้องดำใหม่


เปรียบเทียบเงินลงทุนนาดำ และนาหว่าน ในพื้นที่ 25 ไร่
นาหว่าน :
1. ค่าทำเทือกนา ปั่นและย่ำเทือก 1 รอบ 11,250.- บาท
2. ค่าข้าวปลูก 2.5 ถัง ต่อไร่ (600x25) 15,000.- บาท
3. ค่าจ้างหว่านข้าว ไร่ละ 70 บาท (70x25) 1,750.- บาท
รวม 27,900.- บาท

นาดำ :
1. ค่าจ้างไถ ปั่น ย่ำ 1 รอบ 17,400.- บาท
2. ค่าจ้างดำพร้อมเมล็ดพันธ์ (1350x25) 23,750.-บาท
รวมเป็นเงิน 41,150.-บาท


ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นเป็นแบบนี้ ลุงมีความคิดเห็นอย่างไรคะ สมควรที่จะทำอย่างไหนดี

ยังไม่สามารถคำนวน ค่าใช่จ่ายเกี่ยวกับปุ๋ยและยาฆ่าแมลงได้ในส่วนของน่าหว่าน และนาดำ ถ้าหากใช้แบบดังเดิม



ขอบคุณลุงค่ะ


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Sombutt
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 19/05/2011
ตอบ: 84

ตอบตอบ: 27/06/2012 12:22 am    ชื่อกระทู้: เปรียบเทียบนาดำ นาหว่าน นาหยอด ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีครับลุงคิม และ ยัยเฉิ่ม


สมบัติ เชียงราย หายไปนาน เนื่องจากอยู่ในระยะเข้าดักแด้ (พักร้อน) ครับ ก็ขอแสดงความยินดีที่ยัยเฉิ่มบอกว่า คราวที่แล้วขายข้าวแล้วทำกำไรได้นิดหน่อย เรียกว่าไม่ขาดต้นทุน เพียงแต่ขาดทุนกำไร ไม่เป็นไร สู้ใหม่ ขออนุญาตออกความเห็นนิดนึง

ที่ยัยเฉิ่มเปรียบเทียบต้นทุน นาดำ กับ นาหว่าน จะเห็นว่า นาดำมีต้นทุนสูงกว่านาหว่าน คือ

นาหว่าน
ค่าพันธุ์ข้าว + ค่าหว่าน 25 ไร่เป็นเงิน 15,000 + 1,750 = 16,750

นาดำ
ค่าพันธุ์ข้าว + ค่าเพาะกล้า+ค่าดำ ..... 25 ไร่เป็นเงิน 15,000 + 8,750 = 23,750

ผลต่าง คือ 7,000 บาท


ทำไมไม่ทำนาหยอดล่ะน้องหนู ....
ถ้าทำนาหยอด 25 ไร่จะใช้เมล็ดพันธุ์แค่ 150 กก.หรือ 6 กระสอบ (ไร่ละไม่เกิน 6 กก.) เป็นเงินค่าเมล็ดพันธุ์เพียง 3,600 บาทเท่านั้นและ ค่าจ้างหยอด ไร่ละ 400 บาท 25 ไร่ก็เป็นเงิน 10,000 บาท

รวมแล้วก็จะเป็นเงิน 10,000 + 3,600 = 13,600

ถูกกว่าและดีกว่านาหว่าน 3,150 บาท และถูกกว่าดำนาด้วยเครื่อง 10,150 บาท



อีกอย่างหนึ่ง คุณแน่ใจได้อย่างไรว่า พันธุ์ข้าวที่จ้างเค้าเพาะกล้าเป็นพันธุ์ข้าวบริสุทธิ์ตรงตามสายพันธุ์ตามที่คุณต้องการ และปลอดจากข้าวปลอมปน ....ผมไม่เชื่อครับ ..... อย่ามาบ่นให้ฟังที่หลังก็แล้วกันว่า ทำไมข้าวปนแยะจัง ทิดแดง บอกว่า คนทำนาข้างบ้านนครปฐม จ้างรถมาดำนาปีเดียว เลิกเลย กำลังฟ้องร้องกันอยู่ว่า ใช้พันธุ์ข้าวไม่ตรงตามข้อตกลง และมีข้าวดีด ข้าวเด้ง ข้าวนก และหญ้าขึ้นปนมาก เกี่ยวแล้วไม่ได้เนื้อเลย ....ไม่มีใครเค้าจ้างรถดำนากันแล้วละป้า นอกจากว่าจะดำเอง

ถ้าอยากทำนาหยอด ลองใช้นิ้วสัมผัส กดเบอร์โทรไปหา คุณศักดิ์ชัย 080-603-0488 คนที่ลุงคิมเคยเอาเครื่องหยอดเมล็ดข้าวมาลงให้ดูนั่นแหละ เครื่องหยอดเมล็ดข้าวของคุณศักดิ์ชัย Work และใช้งานง่ายที่สุดในบรรดาเครื่องหลอดเมล็ด เพราะสามารถบังคับให้เมล็ดข้าวออกมาได้ 3-5 เมล็ดต่อหลุม ใช้แรงงานคน ๆ เดียว (ไม่ต้องเสียค่าเลี้ยงข้าวให้สิ้นเปลืองอีกต่างหาก) ระยะห่างระหว่างต้น ก็ 25-30 ซม. ระหว่างแถว 25-30 ซม. ซึ่งจะพอดีกับการที่จะใช้เครื่อง Rotary Weeder ลงไปย่ำ ถ้าเผื่อว่ามีหญ้าขึ้นในขณะที่ข้าวต้นยังเล็ก

ถ้าใช้ข้าวปทุม CO จะแตกกอได้ถึงหลุมละ 60 ต้น หรือมากกว่า



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
DangSalaya
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011
ตอบ: 1874

ตอบตอบ: 27/06/2012 6:22 pm    ชื่อกระทู้: เปรียบเทียบนาดำ นาหว่าน นาหยอด ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เรียนลุงคิมทราบ
และสวัสดี ยัยเฉิ่ม หญิงนักสู้แห่งโพธาราม


ขออนุญาตแสดงความเห็น ที่ยัยเฉิ่มเปรียบเทียบ ต้นทุนการทำนาหว่านกับนาดำ เพียงแค่เริ่มต้นจ้างเค้าหว่านกับจ้างเค้าดำ ต้นทุนก็ต่างกันแล้ว


ก่อนอื่น อยากขอให้ยัยเฉิ่มเปิดกระทู้ใหม่ดีมั๊ยครับภายใต้หัวข้อว่า ยัยเฉิ่มจะเป็นชาวนา ภาค 2 (สู้สุดชีวิต)

ขอแก้ไขข้อมูลครับ .......ยัยเฉิ่มคำนวณผิด ทิดบัติลอกตามยัยเฉิ่ม ทิดแดงหลับหูหลับตาทำตามเลยผิดพลาดตาม ตัวเลขก็เลยผิดพลาดไปด้วย ยัยเฉิ่มคำนวณไว้ ค่าจ้างดำ พร้อมเมล็ดพันธุ์ 1,350 X 25 = 23,750 ที่ถูกต้องคือ 33,750 ต้นทุนหายไปตั้งหมื่น ขอแก้ไขใหม่ครับ

ต้นทุนจ้างหว่าน / จ้างดำนา เนื้อที่ 25 ไร่
ต้นทุนที่จ้างเค้าหว่าน 15,000 + 1,750 = 16,750 ต้นทุนไร่ละ 670 บาท
ต้นทุนที่จ้างเค้าดำ(1,350 X 25) = 33,750 ต้นทุนไร่ละ 1,350 บาท
ต่างกันไร่ละ 680 บาท 25 ไร่ ก็ = 17,000 บาท
ไหนจะมีค่าเลี้ยงข้าว ค่ากระทิงแดง ค่า ฯลฯ อีกต่างหาก อย่างน้อยก็ไม่น้อยกว่า 500 – 1,000

สมมุติว่า ถ้าจะทำโดยวิธีหยอดเมล็ด โดยจ้างเค้ามาหยอด ต้นทุนจะต่ำลงมั๊ย ลองคำนวณดู
ค่าเมล็ดพันธุ์ใช้หยอด 1 ไร่ใช้เมล็ดพันธุ์ไม่เกิน 8 กก. 25 ไร่ ก็ใช้เมล็ดพันธุ์ 200 กก. = ใช้เมล็ดพันธุ์ 8 กระสอบ(กส.ละ 25 กก.) ๆ ละ 625 บาท ค่าเมล็ดพันธุ์ก็ = 5,000 บาท
ค่าจ้างหยอดไร่ละ 400 x 25 ก็ = 10,000 + 5,000 รวม = 15,000 ต้นทุนไร่ละ 600 บาท
เทียบกับจ้างหว่าน = 16,750 – 15,000 = 1,750
เทียบกับจ้างดำ = 33,750 – 15,000 = 18,750

จำนวนเงินต้นทุนที่แตกต่างกันเห็น ๆ อยู่ เป็นเงินไม่น้อยเลย ผลต่างค่าจ้างดำ กับค่าจ้างหยอด ก็เท่าราคาข้าวเกินกว่า 1 เกวียนแล้ว ถ้าหากต้องการจะล้างหนี้ ก็คิดตรองดูให้ดีนะน้องนะ การจ้างหยอดเมล็ด ใช้คน ๆ เดียว 25 ไร่จะใช้เวลาไม่เกิน 3 วัน ถ้ามีคนคอยช่วยกรอกข้าวใส่กระบอกจะเร็วขึ้น ค่าเลี้ยงอาหารวันละ สามมื้อ ค่าบุหรี่หนึ่งซอง สามวันคงไม่เกิน ห้าร้อย ....สนใจลองใช้นิ้วอันอ่อนนิ่มกดเบอร์โทร 080 – 603-0448 ติดต่อคุณศักดิ์ชัย คนที่ลุงคิมเคยเอารูปมาลงในเว็ป ซึ่งคิดว่า เป็นเครื่องหยอดเมล็ดใช้กับนาดินเหนียวที่เหมาะสมที่สุด สามารถคุมเมล็ดข้าวให้หล่นจากเครื่องได้ 3 – 5 เมล็ดต่อหลุม ระยะห่างของต้น และระยะแถว ไม่เกิน 25-30 ซม ระยะแถวกว้างพอที่จะใช้เครื่อง Rotary Weeder (เครื่องย่ำหญ้า)ลงไปย่ำหญ้าในขณะที่ต้นข้าวยังเล็กอยู่ได้

นอกจากนี้ ขอบอกว่า ไม่เชื่อใจในเมล็ดพันธุ์ที่จ้างเค้าตกกล้าเพื่อเอามาดำ เพราะมีคนโดนย้อมแมวมาแล้วว่า คนรับจ้างดำนา จะใช้พันธุ์ข้าวปน เพื่อทำกำไรให้มากที่สุด ผลผลิตที่ได้จะถูกกดราคาเนื่องจากมีข้าวปน .....ขอเตือน ยัยเฉิ่ม ว่าก็อย่ามาโอดครวญให้ฟังทีหลังก็แล้วกัน จะไม่มีหัวเข่าให้เช็ดน้ำตาเพราะหนี้ไม่หลุด
สุดท้าย ขอบอก ข้าวพันธุ์ปทุม ซีโอ คือข้าว กข31 หรือ RD31 หรือ ปทุมธานี 80 เป็นข้าวที่แตกกอดี เคยมีคนทำได้สูงสุด 1,160 กก.ต่อไร่ แต่ไม่ได้บอกว่า ลงทุนค่าปุ๋ย ค่ายา ไปเท่าไหร่ เพราะฉะนั้น การที่จะทำข้าวพันธุ์นี้แบบ ธรรมดา ๆ ทำได้ไร่ละเกวียน – 100 ถัง หรือ 1,000 กก.ก็นับว่าเก่งแล้ว
มาต่อกันอีกนิดว่า

จากการจ้างหว่าน (16,750) จ้างรถดำนา (33,750) และจ้างหยอดเมล็ด (15,000) ก็มาลองคิดว่า

ถ้าลงทุนซื้อเครื่องหยอดเมล็ดซะเองเลย ราคาเครื่อง + ค่าขนส่ง ก็ประมาณ 5,000 เป็นการลงทุนครั้งเดียว ถ้าหลังการใช้งานดูแลรักษาดี ๆ เครื่องน่าจะใช้งานได้ซัก 5 ปี ตัดค่าเสื่อมเป็นต้นทุนปีละพัน น่าจะคุ้มกว่าหรือไม่ หรืออยากจะตัดค่าเสื่อมครั้งเดียวก็ เท่ากับว่า

ค่าเมล็ดพันธุ์ นาหยอด 8 กระสอบ = 5,000 + ค่าเครื่องหยอด 5,000 = 10,000 ต้นทุนลดลงไปอีกบานตะกูดเลย พอปีหน้า ก็ตัดค่าเครื่องหยอดออกไปได้แล้ว หรือจะซื้อทีเดียวสามเครื่องก็ไม่มีใครว่า ตำรวจไม่จับอย่างที่ลุงคิมบอก นา 25 ไร่ ถ้ามี 3 เครื่อง หยอดวันเดียวเสร็จ + ต้นทุนค่าเครื่อง 15,000 + ค่าเมล็ดพันธุ์อีก 5,000 = 20,00 ถูกกว่าจ้างรถดำนา ( 33,750 – 20,000 = 13,750) ผลต่าง 13,750 ใช้เป็นค่าปุ๋ยได้สบาย ๆ เลย

ทีนี้ ในการหยอดเมล็ด ครั้งหนึ่งได้แปดแถว ได้เนื้อที่ 3 งาน นา 25 ไร่ ก็ = 100 งาน ถ้าปีนี้มีเครื่องเดียวก็ใช้เวลาหยอดไม่เกิน 3 วัน ๆ ละ 8 ไร่กับอีก 100 วากว่า ๆ ถ้ามี 3 เครื่อง หยอดวันเดียวเสร็จตามที่บอกข้างต้น ถ้าขี้เกียจหยอดเองก็จ้างคนมาช่วยหยอด ค่าแรงวันละ 300 / คน สามคนก็ 900 + ค่าอาหารหวานคาวคงไม่เกิน 500



.....โชคดีไอ้น้อง สวัสดี ขอบคุณครับลุง




.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย DangSalaya เมื่อ 30/06/2012 9:37 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
DangSalaya
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011
ตอบ: 1874

ตอบตอบ: 29/06/2012 9:15 am    ชื่อกระทู้: ยัยเฉิ่มจะเป็นชาวนา ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ข้อมูลผิดพลาด แก้ไขใหม่แล้ว ย้อนไปเปิดอ่านท้ายหน้า 4 ครับ.

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย DangSalaya เมื่อ 30/06/2012 9:45 am, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3, 4, 5 ... 13, 14, 15  ถัดไป
หน้า 4 จากทั้งหมด 15

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©