-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางรายการวิทยุ 4 JAN
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - สเปรย์น้ำทางใบ
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

สเปรย์น้ำทางใบ

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
PP
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 29/03/2010
ตอบ: 13

ตอบตอบ: 03/01/2012 11:18 am    ชื่อกระทู้: สเปรย์น้ำทางใบ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

หวัดดีปีใหม่ครับลุงคิม

ลุงคิมครับ ผมเป็นห่วงต้นยางที่เพิ่งปลูกหน้าฝนที่ผ่านมา (ที่อีสาน) ไม่มีปัญญาไปรดน้ำช่วงนี้ ดินก็แห้ง
กว่าฝนจะมาก็คงอีกหลายเดือน

อยากถามลุงคิมว่า ถ้าสเปรย์ให้น้ำทางใบจะช่วยได้ไหมครับ หรือปล่อยไว้เฉยๆ





.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 04/01/2012 7:19 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

- ต้นพืชทุกชนิดในโลกนี้ (รวมยางพาราด้วย) กินอาหารได้ 2 ทาง คือ ปากใบ กับ ปลายราก

- สารอาหารประเภทให้ทางใบ เข้าสู่ต้นพืชได้ทั้งทางปากใบ และทางปลายราก ส่วนสารอาหารทางรากเข้าสู่ต้นโดยทางรากได้ทางเดียว เข้าทางปากใบไม่ได้

- สารอาหารที่ให้ทางใบแล้วส่วนหนึ่งตกลงพื้นดินโคนต้น โดยเจตนาหรือไม่เจตนาก็แล้วแต่ พืชก็จะได้รับทั้ง 2 ทาง ย่อมส่งผลให้อัตราการเจริญเติบโตของพืชดีกว่าได้รับสารอาหารทางเดียว

- ลองนึกดู ฝนตก น้ำฝนเปียกใบหล่นลงพื้น มาก/น้อย แล้วแต่ปริมาณน้ำฝน ต้นยางพาราหรือต้นอะไรก็แล้วแต่สภาพต้นจะเขียวสด มีชีวิตชีวาต่างจากไม่มีฝน ราวหน้ามือหลังมือ

- ที่จริงหัวสปริงเกอร์ ใช่ว่าจะมีแต่แบบหัวหมุนพ่นน้ำออกมาเท่านั้นก็หาไม่ แบบโอเวอร์เฮดก็เป็นสปริงเกอร์เหมือนกัน นั่นคือ อาจพิจาณาเลือกสปริงเกอร์แบบโอเวอร์เฮดใช้กับยางพาราก็ได้

- ด้วยหัวสปริงเกอร์แบบไหนก็สุดแท้ ทุกครั้งที่พ่นน้ำออกไป แทนที่มีแต่น้ำเปล่าๆ ก็ทำให้เป็น "น้ำ + ปุ๋ย + ยา" ซะ น่าจะได้ประโยชน์มากกว่านะ

- เกษตรพอเพียงตามแนวพระราชดำริ มิได้ให้ปฏิเสธเทคโนโลยี หรือเครื่องทุ่นแรง แต่ทรงแนะนำให้ "ใช้ให้เป็น - ใช้ให้คุ้มค่า" ต่างหาก.....จำได้ไหม ไม่ได้ทรงแนะนำให้ทอผ้าใส่เอง....




.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 05/01/2012 7:26 am, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 04/01/2012 7:20 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

**** รู้ยางพารา ให้กระจ่าง แต่อย่างเดียว....แต่ให้เชี่ยว ชาญเถิด จะเกิดผล ****


เกษตรานุสติ :
- ไม่มีพืชใดในโลกที่ไม่ต้องการน้ำ และไม่มีเทคโนโลยีใดในโลกมาแทนน้ำได้
- ภูมิศาตร์ภาคใต้ "ฝนแปด - แดดสี่" แต่ภูมิศาสตร์อิสาน "ฝนสี่ - แดดแปด" ดังนั้นยางพราราภาคใต้ปลูกแล้วไม่ให้น้ำก็ได้
- ยางพาราที่ได้น้ำตามความเหมาะสมย่อมโต และให้ผลผลิตดีกว่ายางพาราที่ขาดน้ำ
- ภาคใต้มีทะเล ในลมทะเลย่อมมีธาตุอาหารพืชหลายอย่างที่มาจากทะเล ส่งผลให้พืชเจริญเติบโตดี แต่อิสานไม่มีทะเล จึงต้องจัดหาสารอาหารตัวนั้นให้แทน

- ปลูกยางพารา ตามใจยางพารา ไม่ใช่ตามใจคน.....ตามคนที่สำเร็จ จะสำเร็จด้วย ตามคนที่ล้มเหลว ล้มเหลวด้วย
- เกษตรกรยุคใหม่ ทำเกษตรแบบ "เทคโนโลยีวิชาการ + เทคโนโลยีชาวบ้าน"
- เกษตรพอเพียงตามแนวพระราชดำริ มิได้สอนให้ปฏิเสธเทคโนโลยี แต่ทรงสอนให้ "ใช้ให้เป็น-ใช้ให้คุ้มค่า-ให้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด"

- น้ำ คือ ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ต้นยางพาราโต ถ้าไม่ให้น้ำเขา แล้วเขาจะโตได้อย่างไร
- น้ำ คือ ปัจจัยหนึ่งที่ต้นยางใช้สร้างน้ำยาง ถ้าไม่ให้น้ำเขา แล้วเขาจะเอาน้ำทีไหนไปสร้างน้ำยาง
- จากน้ำเปล่าๆเป็น "น้ำ + สารอาหาร" ให้ไปพร้อมกัน ในเวลาเดียวกัน ให้แบบ เช้ารอบ-ค่ำรอบ-ค่ำรอบ-เช้ารอบ ได้ด้วยแรงงานเพียงคนเดียว ในเวลาชั่วโมงเดียว/1-5-10 ไร่ ทำได้ด้วยเครื่องทุ่นแรงเท่านั้น



ธาตุหลัก ปุ๋ยทางใบ กก.ละ 100 บาท ผสมน้ำได้ครั้งละ 500 ล. ให้ต้น
ยางพารา (เปิดกรีดแล้ว) ได้ครั้งละ 10 ต้น ต้นทุนเฉลี่ยต้นละ 10 บาท
ต้นยางพาราได้รับทั้งทางใบและทางราก

ธาตุรอง/ธาตุเสริม ให้ทางใบ กก.ละ 500 (-) บาท ผสมน้ำได้ครั้งละ
1,000 ล. ให้ต้นยางพารา (เปิดกรีดแล้ว) ได้ครั้งละ 50 ต้น ต้นทุนเฉลี่ย
ต้นละ 5 บาท ต้นยางพาราได้รับทั้งทางใบและทางราก

ธาตุหลัก ปุ๋ยทางราก กส.ละ 800 บาท ให้ต้นยางพารา (เปิดกรีดแล้ว)
ได้ครั้งละ 10 ต้น ต้นทุนเฉลี่ยต้นละ 80 บาท ยางพารา 50 ต้น ต้องใช้
5 กส. รวมต้นทุน 4,000 บาท .... ต้นยางพาราได้แต่ธาตุหลักอย่างเดียว

***แบบไหน ต้นทุนต่ำกว่า ต้นยางพาราได้สารอาหารครบมากกว่า***



ปุจฉา วิสัชนา :
- สปริงเกอร์แบบหัวหมุน อยู่ที่โคนต้น ใช้งานให้น้ำเปล่าอย่างเดียว เมื่อจะให้ปุ๋ยทางรากก็หว่านเม็ดปุ๋ยไปก่อน แล้วเปิดน้ำสปริงเกอร์ตามเพื่อละลายปุ๋ย นี่คือ ทำงาน 2 ครั้ง.....ทำไมไม่ละลายปุ๋ยแล้วปล่อยไปพร้อมกับน้ำสปริงเกอร์ นี่คือ ทำงานครั้งเดียว..... นอกจากปุ๋ยทางรากแล้ว ปุ๋ยคอกละลายน้ำ (กรองกากออก),กระดูกป่นละลายน้ำ (กรองกากออก), ยิบซั่ม, อื่นๆละลายน้ำ ตามความเหมาะสมหรือความจำเป็นสำหรับยางพารา ทุกอย่างผ่านไปกับสปริงเกอร์พร้อมกันครั้งเดียวด้วยแรงงานคนเดียว......ถามว่า ได้หรือไม่ ?

- สปริงเกอร์แบบหัวหมุน อยู่ที่โคนต้น ทำงานได้เฉพาะพื้นดินโคนต้น หากยามใดต้องการทำงานบนต้น (ทางใบ) ต้องฉีดพ่นด้วยเครื่องมือตางหาก นี่คือ ทำงาน 2 ครั้ง แต่ได้ประโยชน์ครั้งเดียวคือ ครั้งที่ทำ

- ปรับ/ย้าย หัวสปริงเกอร์ที่โคนต้น ขึ้นไปอยู่บนต้น เหนือยอด 50 ซม.-1 ม. น้ำที่พ่นออกมาจากหัวสปริงเกอร์ไปโดนใบ จากใบบนตกลงมาใบล่าง ถัดลงมาเรื่อยๆ จนถึงใบล่างสุด แล้วลงสู่พื้นดินได้.....ถามว่า เหมือนฝนตก ใช่หรือไม่ ?

(..... บางคนบอกว่า ติดหัวสปริงเกอร์บนยอดต้นไม้สูงแล้วน้ำไม่พ่น งั้นถามว่า....1) ตึกใบหยก สูง 60-70 ชั้น ชั้นบนสุดน้ำฝักบัวพ่นออกมาได้ไง..... 2) อดีต ที่ไร่กล้อมแกล้ม มะม่วงติดสวนมา ต้นสูงเท่าสันจั่วบ้าน 2 ชั้น ราว 8-10 ม. ติดหัวสปริงเกอร์เหนือยอด ต้นละ 2 หัว พ่นน้ำออกมาได้ไม่ต่างกับฝนตก.....ดังนั้นที่ว่า สปริงเกอร์เหนือยอด พ่นน้ำไม่ออก เพราะติดตั้งไม่เป็น.....)

- สปริงเกอร์ ระบบกะเหรี่ยง ที่ไร่กล้อมแกล้ม ใช้ปั๊มไฟฟ้า 3 แรงม้า..... หัวสปริงเกอร์เหนือพื้น 3-4 ม. ทำงานได้ครั้งละ 40 หัว รัศมีพ่นน้ำ 4-5 ม. ..... หัวสปริงเกอร์เหนือยอดไม้ สูง 8-10 ม. ทำงานได้ครั้งละ 20 หัว รัศมีพ่นน้ำ 4-5 ม.

(..... กรณีสวนยางพารา เปิดกรีดแล้ว ใช้ปั๊มสเตจ ดันน้ำด้วยเครื่องยนต์ต้นกำลัง 10-12 แรงม้า หรือเครื่องรถยนต์ 4 สูบ, 6 สูบ น่าจะได้ครั้งละ 50-100 ต้น ด้วยเวลาเพียง 30 นาที ได้เนื้อที่กว่า 100 ไร่ โดยแรงงานคนเดียว น้ำที่ต้นยางพาราได้รับยิ่งกว่าฝนตกหนักอีกด้วย....."

*** ปลูกยางพารา อยากให้ต้นโต อยากได้น้ำยางต้องให้น้ำ น้ำน้ำน้ำและน้ำ เท่านั้น ไม่มีน้ำต้องหามาให้ได้ ซื้อน้ำก็ต้องลงทุน

*** ยางพาราต้องการน้ำ ภาคใต้มีฝนเป็นน้ำให้ ภาคอิสานไม่มีฝนก็ต้องตักน้ำรดหรือสายยางฉีดน้ำให้เขา......ได้มั้ย ไหวมั้ย ทันมั้ย

*** มีน้ำแล้ว เลือกใช้เทคโนโลยีเครื่องทุ่นแรงสำหรับให้น้ำให้เหมาะสมและคุ้มค่าลงทุน เพื่อประสิทธิภาพ ประสิทธิผลของเนื้องาน และประหยัด ต้นทุน-เวลา-แรงงาน

*** ลงทุนครั้งเดียว ใช้งานได้ 10-20 ปี (ตั้งแต่เริ่มปลูก ถึง ตัดต้นขาย) เปรียบเทียบกับทำงานด้วยแรงงานคน เนื้องานที่ออกมาอย่างไหนดีกว่ากัน


คลิก....
http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&p=15235&sid=a9900ceaf6ac14fd0e6fe41ffef82384#15235
เยอะแยะเรื่องยางพารา....อ่านมากๆ รู้มากๆ คุยกับใคร ๆจะได้ว่าพูดมีหลักการ ไม่ใช่ขี้โม้.....


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©