-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ปัญหาเกษตร ทางรายการวิทยุ 28 DEC
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ปัญหาเกษตร ทางรายการวิทยุ 28 DEC
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ปัญหาเกษตร ทางรายการวิทยุ 28 DEC

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 28/12/2011 6:33 pm    ชื่อกระทู้: ปัญหาเกษตร ทางรายการวิทยุ 28 DEC ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร ทางรายการวิทยุ 28 DEC



**********************************************************

สร้างสรรสังคม....ส่งเสริมคนดี....พัฒนาชีวิต ให้มีคุณภาพ...

กองทัพบกเพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตรและอาชีพเสริม
ทางสถานีวิทยุ พล.ปตอ. เอเอ็ม 594 เวลา 08.10–09.00 และ 20.05-20.30 ทุกวัน

ผลิตรายการโดย กองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก
กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการครับ

เช่นเคยครับ รายการเรา 1188 สายด่วน 4 ตัว ฝากข้อความ-ฝากคำถาม-ฝากข่าว
ก่อนเริ่มรายการที่ โทรศัพท์มือถือส่วนตัว (081) 913-4986

*********************************************************




จาก : (081) 743-21xx
ข้อความ : ทุเรียนออกดอก บำรุงดอกอย่างไรไม่ให้แตกใบอ่อน ? .......นครนายก
ตอบ :

ช่วงกำลังมีผลอยู่บนต้นแล้วแตกใบอ่อน จะทำให้ให้เกิดการแย่งอาหารระหว่างใบกับผล ส่งผลเสียต่อผลดังนี้....
- แตกใบอ่อนช่วงหลังดอกบาน (สัปดาห์ที่ ๓-๕) ทำให้ผลเล็กร่วง
- แตกใบอ่อนช่วงหลังดอกบาน (สัปดาห์ที ๕-๘) ทำให้รูปทรงผลบิดเบี้ยว
- แตกใบอ่อนช่วงหลังดอกบาน (สัปดาห์ที่ ๑๐-๑๒) ทำให้เนื้อด้อยคุณภาพ เป็นเต่าเผา เนื้อแกร็น เนื้อสามสีไม่น่ารับประทาน
- ลักษณะทุเรียนที่กำลังจะแตกใบอ่อนระหว่างมีผล ให้สังเกตเยื่อหุ้มตาเริ่มเจริญ หรือระยะหางปลา ให้ยับยั้งการแตกใบอ่อนด้วย 13-0-46 (150-300 กรัม)/น้ำ 20 ล.1 ครั้งก่อน ถ้าพบว่ายังจะแตกใบอ่อนอีกหรือกดไม่อยู่ก็ให้ฉีดซ้ำอีกครั้งด้วยอัตราเดิม นอกจากนี้การให้ "ธาตุรอง/ธาตุเสริม" สม่ำเสมอระหว่างมีผล นอกจากจะช่วยบำรุงผลให้ได้คุณภาพดีแล้ว ยังช่วยกดใบอ่อนได้อีกด้วย

แนวทางแก้ไข :
1. ระยะที่ยอดมีการพัฒนาโดยเยื่อหุ้มตาเริ่มเจริญหรือที่ชาวสวนเรียกว่า “ระยะหางปลา” ฉีดพ่นด้วยปุ๋ยทางใบสูตร “13-0-46 (150-300 กรัม)/น้ำ 20 ล.” ให้ทั่วทรงพุ่ม 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน

2. ฉีดพ่นปุ๋ยทางใบสูตร “0-52-34 (100 กรัม)/น้ำ 20 ล.” เพื่อป้องกันการแตกใบอ่อน และเร่งการแก่ของใบ

3. ใช้สารเคมี “ไดเมทโธเอท (40-50 ซีซี.)/น้ำ 20 ล.” ฉีดพ่น สามารถควบคุมใบอ่อนได้ดีมาก โดยเฉพาะทุเรียนพันธุ์หมอนทอง

4. ใส่ปุ๋ยทางรากสูตร “8-24-24” หรือ “9-26-26” เพื่อเพิ่มปริมาณแป้ง-น้ำตาล ลดปริมาณไนโตรเจนทั้งในดินและในต้น

5. ควบคุมการแตกใบอ่อนโดยให้ “ธาตุรอง/ธาตุเสริม” ในรูปอาหาร “ทางด่วน” ทุก 5-7 วัน เพื่อเพิ่มปริมาณธาตุอาหารทั้งต่อใบอ่อนและผลอ่อน

6. ควบคุมการให้น้ำหรือลดปริมาณน้ำอย่าให้มากเกินไปและอย่าให้ขาดน้ำ เพื่อป้องกันการแตกใบอ่อนเร็วเกินไป

7. การไว้ผลบนต้นมากๆ เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ป้องกันการแตกใบอ่อนระหว่างมีผลอยู่บนต้นได้

8. ใช้สาร “พาโคลบิวทาโซล ชนิด 10% (100-150 ซีซี.)/น้ำ 20 ล.” ฉีดพ่นที่ใบสามารถควบคุมการแตกใบอ่อนได้ แต่หลังจากฉีดพ่นพาโคลบิวทาโซลไปแล้วต้องให้น้ำและธาตุอาหารเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า จากอัตราเคยให้ตามปกติ

9. ใช้สาร “เมพิควอท คลอไรด์ ชนิด 50% (20 ซีซี.)/น้ำ 20 ล.” ฉีดพ่นทางใบ 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 10-15 วันช่วงที่มีฝนตกชุกเพื่อลดปริมาณออกซินในต้นไม่ให้ขึ้นไปสู่ยอดซึ่งจะทำให้ต้นแตกใบอ่อนได้ ก็สามารถควบคุมใบอ่อนได้เช่นกัน....หรือใช้ “พาโคลบิวทาโซล ชนิด 10% (50 ซีซี.)/น้ำ 100 ล.” ฉีดพ่นให้เปียกโชกทั้งใต้ใบบนใบลงถึงพื้น 1 ครั้ง หลังฝนตกใบแห้ง หลังจากฉีดพ่นแล้ว 10 วัน ให้น้ำจนดินชุ่ม 3 วันติดต่อกัน ก็สามารถยับยั้งการแตกใบอ่อนได้เช่นกัน

http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=55

-------------------------------------------------------------------------------------------------





จาก : (089) 667-32xx
ข้อความ : อยากให้เล่าเรื่อง มะเขือคางกบ-คางเขียด ที่คนซื้อกับคนกินไม่ชอบ ดิฉันปลูกมะเขือคางกบ
ใกล้เก็บขายได้แล้ว.....ขอบคุณ สระบุรี
ตอบ :
มะเขือเปราะที่ไร่กล้อมแกล้ม หะแรกก็ไม่ได้คิดหรอกว่าจะลงพันธุ์อะไร ดูรูปลูกมะเขือบนซองเมล็ดพันธุ์แล้วเห็นว่า เป็นพันธุ์ที่เคยกินก็ซื้อมา กระทั่งมันโตมีลูกให้กินได้ เก็บมากินก็ว่า "มะเขือ คือ มะเขือ" ม่เห็นจะต่างกันตรงไหน ส่วนหนึ่งเก็บส่งให้คนรับซื้อที่มารับถึงสวน จึงรู้ว่านั่นคือมะเขือพันธุ์ "คางกบ" คนกินไม่ชอบ เขาชอบแต่พันธุ์ "คางเขียด" เลยให้ไปฟรีๆ 2 กก. เอาทดลองตลาด

(....คางกบ.ขนาดลูดใหญ่กว่าคางเขียด.เล็กน้อย ส่วน สี-ลาย-ทรงกลม-ขั้ว-กลิ่น-รส เหมือนกันหมด.....)

ผ่านไป 3 วัน คนรับซื้อมาที่สวนอีกครั้ง เพื่อมารับผลผลิตตัวใหม่ (ถั่วฝักยาว ถั่วพู) พร้อมกับรายงานว่า คางกบ.วางแผง 3 วัน ขายไม่ออก สู้คางเขียด.ไม่ได้ วันเดียวหมด วันเดียวหมด ..... เอาละ รับทราบแล้วสั่งรื้อทิ้ง เปลี่ยนคางกบ.เป็นคางเขียด. ตามหลัก การตลาด นำ การผลิต

อีก 3 วันต่อมา คนรับซื้อคนเดิมมาที่สวนเหมือนเดิม แล้วบอกว่า คงกบ.อย่าเพิ่งรื้อ- อย่าเพิ่งรื้อทิ้ง คนกินบอกว่าอร่อย-อร่อยกว่าคางเขียด....คงเขียด.เปลือกเหนียว เนื้อบาง เมล็ดมาก เมล็ดดำ แต่คางกบ.เปลือกกรอบเนื้อหนา ไส้ต้น เมล็ดอ่อน.....คงเขียด.ฝากแผงได้แค่ 2 วัน เหี่ยวแล้ว คางกบ.ฝากแผง 4-5 วัน ทุกอย่างยังดีเหมือนเดิม คนกินบอกว่า "คางกบ" อร่อยกว่า "คางเขียด" .....ว่าแล้วสั่งคางกบ.รับไม่อั้นมีเท่าไหร่เอาหมด



วิเคราะห์ตามหลักการและเหตุผล :
คำว่า "คางกบ - คางเขียด" เป็นภาษาพื้นบ้านหรือภาษาถิ่นใช้เรียกกันเอง ไม่อาจนำมาเป็นมาตรฐานได้ ในขณะที่ภาษาวิชาการเรียกว่า "มะเขือเปราะ"

เหตุที่คางเขียด.เคยคุณภาพดีเพราะเป็นต้นสาว บำรุงแบบ "เคมีนำ อินทรีย์เสริม" ใส่แต่ปุ๋ยสูตรเสมอ ใส่มาก ใส่เกิน ต้นได้แต่ N-P-K ไม่เคยได้ TE หรือ HOMONE ใดๆเลยตลอดอายุตั้งแต่เกิด ครั้นต้นแก่มากขึ้น ต้นจึงโทรม ผลผลิตจึงด้อยลงทั้งคุณภาพและปริมาณ

เหตุที่คางกบ.คุณภาพดีตามแบบของมะเขือ เพราะบำรุงด้วยระบบ อินทรีย์นำ-เคมีเสริม ตามความเหมาะสมของมะเขือ ให้สารอาหาร หลัก/รอง/เสริม/ฮอร์โมนและอื่นๆ ครบถ้วน

งานนี้คนขายมะเขือ ไม่รู้/ไม่เข้าใจ ธรรมชาติหรือการบำรุงของมะเขือ คนกินพันธุ์ไหนแล้วว่าดีก็คือดี ดีเพราะสายพันธุ์ ไม่เกี่ยวกับการบำรุงแต่อย่างใด อันนี้ไม่ใช่ความของคนขายซะทีเดียว คนขายต้องตามใจคนซื้อ อะไรที่คนซื้อว่าดีก็เอามาขาย ก็เท่านั้นเอง



ประสบการณ์ตรงสอนให้พบว่า ผักอินทรีย์เพียวๆ หรืออินทรีย์นำ-เคมีเสริม เล็กน้อย ตามความเหมาะสมและจำเป็น ใช้สารสมุนไพร ป้องกัน/กำจัด โรคและแมลง เปรียบเทียบกับผักเคมีเพียวๆ ใช้สารเคมียาฆ่าแมลงเต็มร้อย ไม่มีอินทรีย์หรือใช้น้อยมากจนไม่เพียงพอตามความเหมะสมหรือจำเป็นของมะเขือ

**** อินทรีย์นำ - เคมีเสริม ...... ต้นสมบูรณ์ โทรมช้า ทำให้รอบการเก็บเกี่ยวผลผลิตมากขึ้น คุณภาพ (ขนาด-สี-กลิ่น-รส-เนื้อ-เมล็ด) ดี ระยะเวลาฝากแผงได้นาน 5-7 วัน โดยคุณภาพไม่เสีย

**** เคมีนำ - อินทรีย์เสริม ..... ต้นสมบูรณ์แค่ระยะแรกจากนั้นก็โทรม อายุต้นสั้นทำให้รอบการเก็บเกี่ยวผลผลิตน้อย ผลผลิตดีแต่ช่วงแรกๆเมื่อต้นยังสาว ครั้นต้นแก่เริ่มโทรมคุณภาพเริ่มด้อย ปริมาณเริ่มลด ระยะเวลาฝากแผงได้นานแค่ 2-3 วันเท่านั้น

**** มะเขือ อินทรีย์นำ-เคมีเสริม ตามความเหมาะสมและจำเป็นสำหรับมะเขือ ต้นทำต่ำ (เท่าที่มะเขือกินจริง) ผลผลิตเพิ่มทั้งปริมาณ คุณภาพ อายุฝากแผงนานกว่า อายุต้นยืนนาน และจำนวนรอบเก็บเกี่ยวมากขึ้น


-------------------------------------------------------------------------------------------------




.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©