-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ปัญหาเกษตร ทางวิทยุ-โทรศัพท์ 22 DEC
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - แตงโมเถาเหี่ยว
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

แตงโมเถาเหี่ยว

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
fivestar
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 28/11/2011
ตอบ: 19

ตอบตอบ: 09/12/2011 8:38 pm    ชื่อกระทู้: แตงโมเถาเหี่ยว ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีค่ะลุงผู้พันคิม

หนูปลูกแตงโมไว้ประมาณ 90 ไร่ค่ะ ตอนนี้อายุประมาณ 1 เดือนเศษ มีเพลี้ยไฟกับไรแดงเข้าทำลายบ้าง
ก็ฉีดด้วยสารเคมีก็พอเอาอยู่ค่ะ แต่อาการที่ทำให้หนูนอนไม่ค่อยหลับ ต้องตื่นขึ้นมาคิดหาทางแก้ไขก็ คือ
"โรคเถาเหี่ยว" ทำใ้ห้เถาแตงโมยุบตายไปเป็นต้นๆ เลย

หนูอยากปรึกษาลุงว่ามีมีวิธีการแก้ไขโรคนี้ได้อย่างไรคะ





.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 09/12/2011 9:20 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

โรคแตงโม




โรคเถาเหี่ยว (ที่เกิดจากเชื้อราฟิวซาเรียม)

แตงโมที่เป็นโรคนี้สีใบจะซีด ใบและเถาจะเหี่ยวจริงบริเวณโคนเถาที่ใกล้กับผิวดิน จะแตกตามยาวและมีน้ำเมือกซึมออกมา
เมื่อผ่าไส้กลางเถาดูจะเห็นภายในเป็นสีน้ำตาล

โรคนี้จะระบาดมากในช่วงแตงโมออกดอก การปลูกซ้ำที่เดิม โรคนี้จะระบาดรุนแรงมาก


โรคราน้ำค้าง
ลักษณะที่มองเห็นได้ คือ เกิดจุดสีเหลืองบนหลังใบ และขยายตัวใหญ่ขึ้น จำนวนจุดสีเหลืองเพิ่มปริมาณมากขึ้น และใต้ใบตรง
ตำแหน่งเดียวกัน จะมีกลุ่มของเชื้อราสีม่วงอมเทาเกาะเป็นกลุ่มอยู่ เชื้อโรคนี้เจริญได้อย่างรวดเร็ว เมื่ออากาศอุ่นและชุ่มชื้น
เมื่อใบแก่ตายเชื้อก็จะไปทำลายใบอ่อนต่อไป เมื่อใบแห้งไปหมดแล้ว

ผลที่เกิดขึ้นมาก็คือ แตงติดผลน้อยและคุณภาพผลแก่ก็ต่ำด้วย สปอร์ของเชื้อรานี้แพร่ระบาดไปโดยลมและโดยแมลงพวกเต่าแตง

สารเคมีที่ใช้ฉีดพ่นได้ผลดี คือ แคปแทน ไซเน็บ มาเน็บ ชนิดใดชนิดหนึ่งอัตราผสมใช้ 1 กรัม ผสมน้ำ 500 ซีซี. (หรือครึ่งลิตร)
หรือ 35-40 กรัม ผสมน้ำ 20 ลิตร (1 ปี๊บ)



http://www.watermelon.ob.tc/5.htm


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 14/12/2011 7:23 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 09/12/2011 9:27 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

โรคเถาเหี่ยวในแตงโม (เกิดจากเชื้อฟิวซาเรียม)

แตงโมที่เป็นโรคนี้สีใบจะซีด ใบและเถาจะเหี่ยวจริงบริเวณโคนเถาที่ใกล้กับผิวดิน จะแตกตามยาวและมีน้ำเมือกซึมออกมา
เมื่อผ่าไส้กลางเถาดูจะเห็นภายในเป็นสีน้ำตาล โรคนี้จะระบาดมากในช่วงแตงโมออกดอก การปลูกซ้ำที่เดิม โรคนี้จะระบาด
รุนแรงมาก

สาเหตุ
- เชื้อรานี้เจริญและทำลายแตงโมได้ดีที่อุณหภูมิระหว่าง 24 - 27 องศาเซลเซียส
- ขณะแตงกำลังเจริญเติบโตมีผนตกติดต่อกันยาวนาน
- การให้ปุ๋ยยูเรียมากเกินไป
- ดินเป็นกรดจัด

การป้องกันและกำจัด
- ป้องกันโดยฉีดพ่น ไตรโคแม็ก อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ให้ทั่วบริเวณผิวดิน ก่อนคลุมพลาสติกดำ
- อย่าปลูกแตงโมซ้ำที่เดิม
- เริ่มคลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยชีวภัณฑ์ป้องกันโรคและเชื้อรา(ปลอดสารพิษ) ไตรโคแม็ก อัตรา 200 กรัม ต่อเมล็ดพันธุ์ 1 กิโลกรัม
ก่อนนำไปปลูก
- กรณีดินเป็นกรดจัด ใช้ปูนขาวใส่ดินเพื่อแก้ความเป็นกรดของดิน ในอัตราไร่ละ 500 กิโลกรัม
- ใช้ชีวภัณฑ์ป้องกันโรคและเชื้อรา(ปลอดสารพิษ) ไตรโคแม็ก อัตรา 80 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นซ้ำทุก ๆ 5-7 วัน เพื่อ
ป้องกันและกำจัดโรค หรือ ใช้สารเคมีโปรคลอราซ ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก ผสมน้ำแล้วฉีดพ่นที่ใบและต้นพืช เมื่อ
พบเห็นว่าโรคพืชเริ่มปรากฏ จะทำให้เชื้อโรคชะงักลง




โรคเถาเหี่ยว (จากเชื้อแบคทีเรีย)
ลักษณะที่มองเห็นในครั้งแรก คือ ใบในเถาจะเหี่ยวลงทีละใบ การเหี่ยวจะเหี่ยวจากปลายเถามาหาโคนเถาในเถาใดเถาหนึ่ง เมื่อเหี่ยว
มาถึงโคนเถาก็จะเหี่ยวพร้อมกันหมดทั้งต้น แต่ใบยังคงเขียวอยู่ และพืชตายในทันทีที่พืชเหี่ยวทั้งต้นสาเหตุของการเหี่ยวก็คือเชื้อแบค
ทีเรียไปอุดท่อส่งน้ำเลี้ยงในต้นแตงโม ถ้าเอามีดเฉือนเถาตามยาวดูจะเห็นว่ากลางลำต้นในเถาฉ่ำน้ำมากกว่า ปกติเชื้อแบคทีเรียนี้
อาศัยอยู่ในตัวของแมลงเต่าแตงต้นแตงโมได้รับเชื้อโรคจากการกัดกินใบของแมลงเต่าแดงนี้ เมื่อเชื้อแบคทีเรียเข้าสู่ต้นแตงโมทาง
แผลที่แมลงเต่ากัดกิน ก็จะเพิ่มปริมาณขึ้นอย่างรวดเร็ว แล้วก็กระจายตัวเข้าสู่ท่อน้ำและอาหารของแตงโม เราอาจป้องกันและรักษาได้
โดยฉีดสารเคมีคาร์บาริล ป้องกันแมลงเต่าแตงและใช้ยาปฏิชีวนะคาซูกะมัยซิน(ชื่อสามัญ) ฉีดพ่นทุกสัปดาห์ ใช้อัตราส่วนผสมตามที่
แจ้งไว้ในซองบรรจุสารเคมีที่จำหน่าย เมื่อพบว่าต้นแตงโมบางส่วนเริ่มเป็นโรคนี้ หรือป้องกันโดย ฉีดพ่น ไตรโคแม็ก อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ
20 ลิตร ให้ทั่วบริเวณผิวดิน



http://www.phkaset.com/default.asp?content=contentdetail&id=1904


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 14/12/2011 7:25 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 09/12/2011 9:39 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ผักตระกูลแตง : โรคที่เกิดกับผักตระกูลแตง


......




พืชตระกูลแตงมีหลายชนิด บางชนิดใช้รับประทานแบบพืชผักบางชนิดรับประทานแบบผลไม้ ไม่ว่าจะเป็นแตงชนิดไหนก็ตาม
มีโอกาสที่จะเป็นโรคชนิดเดียวกันได้ แตงที่รับประทานแบบผลไม้ได้แก่ แตงโม แตงกวา แคนตาลูป แตงไทย แตงที่ใช้เป็น
อาหารจำพวก ผัก ได้แก่ แตงกวา แตงร้าน มะระ ฟักทอง ฟัก แฟง น้ำเต้า ตำลึง บวบ ฯลฯ

จากการสำรวจพบว่าพืชในตระกูลแตงแต่ละชนิดมีโรคระบาดที่สำคัญและเป็นอุปสรรคต่อการปลูกมากหลายโรคด้วยกัน แต่
ละโรคทำลายพืชตระกูลแตงเกือบทุกชนิดและเป็นโรคเดียวกัน ดังนั้นการศึกษาและเรียบเรียงคำแนะนำเรื่องโรคใดโรคหนึ่งและ
วิธีป้องกันกำจัดจึงสามารถใช้รวมไปได้กับพืชทุกชนิดในตระกูลแตง


โรคผักตระกูลแตงและวิธีป้องกันกำจัด
โรคผักตระกูลแตงมีความสำคัญทางเศรษฐกิจไม่แพ้โรคผักของพืชตระกูลอื่น ๆ หรือพืชเศรษฐกิจอื่น ๆ และกำลังจะได้รับการส่งเสริม
ให้พืชบางชนิดในตระกูลนี้ปลูกกันอย่างกว้างขวาง เพื่อใช้ผลิตอาหารกระป๋องสำเร็จรูป เช่น ทำแตงกวาดอง ฯลฯ และเป็นที่แน่นอน
ว่าจะต้องประสพปัญหาเรื่องโรค ซึ่งจะทำให้เกิดความต้องการเอกสารวิชาการเกี่ยวกับรายละเอียดเรื่องโรคและวิธีป้องกันกำจัด เช่น
รายละเอียดเรื่องระดับความเสียหายความรุนแรงของโรค การแพร่ระบาด สาเหตุของโรค สภาพสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเกิดโรค
พาหะนำโรคและวิธีป้องกันกำจัดที่ให้ผลดีที่สุดและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายน้อย การป้องกันกำจัดโรค โดยวิธีใช้สารเคมีฉีดพ่นอาจไม่
ได้ผลเลยและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมากขึ้นโดยไม่จำเป็น เช่น ในกรณี ที่เกิดโรคขาดธาตุอาหารหรือสาเหตุอื่นที่ไม่ใช่เชื้อโรค ดังนั้น
จำเป็นที่จะต้องทราบสาเหตุที่แท้จริงเสียก่อน แล้วจึงจะคัดเลือกวิธีการป้องกันกำจัดที่แท้จริงมาใช้หรืออาจจะต้องใช้วิธีการหลาย ๆ
วิธีเข้าร่วมกันเพื่อให้การป้องกันกำจัดมีประสิทธิภาพสูง โรคจะได้ลดน้อยลง เพื่อที่จะให้การเรียบเรียงสมบูรณ์จึงได้จัดแบ่งโรคของ
ผักตระกูลแตงออกเป็นหมวดหมู่ตามสาเหตุของโรค

โรคปลายผลเน่าเกิดจากขาดธาตุแคลเซียม

โรคปลายผลเน่าแห้งสีดำ (Blossomend rot)
โรคปลายผลเน่าเป็นโรคที่ทำความเสียหายมากกับแตงโม โดยเฉพาะพันธุ์ชาร์ลสตันเกรย์ ซึ่งปลูกไม่แพร่หลายนัก เพราะพันธุ์นี้มีขนาด
ใหญ่มากไม่เป็นที่นิยมของผู้ซื้อ แต่ก็มีข้อดีที่เก็บได้นานกว่าแตงพันธุ์ชูก้าเบบี้ ซึ่งนิยมปลูกกันมากในปัจจุบัน พันธุ์ชูก้าเบบี้เก็บไม่ได้
นานเท่าชาร์ลสตันเกรย์ก็จริงแต่เนื่องจากไม่เป็นโรคนี้และมีขนาดกำลังดี จึงนิยมปลูกกันมาก นอกจากแตงโมแล้ว แตงร้านและแตงกวา
ก็ปรากฎว่าเป็นโรคนี้บ้างเล็กน้อย


ลักษณะอาการของโรค
อาการเหี่ยวเริ่มจากปลายผลเข้ามาต่อมาเนื้อเยื่อจะแห้งแข็งเป็นสีน้ำตาบ เนื่อเยื่อจะยุบเข้าไปและมักจะมีเชื้อราอื่น ๆ มาขึ้นบนเนื้อเยื่อ
ที่ตายแล้วทำให้เกิดอาการเน่าขึ้นภายหลัง

สาเหตุของโรค
โรคนี้เกิดจากการขาดธาตุแคลเซียมและเกี่ยวกับการดูดซึมน้ำของรากแตงโมด้วย สาเหตุทั้งสองมีความสัมพันธ์กันมาก เพราะธาตุ
แคลเซียมจะช่วยให้การดูดซึมที่รากดีขึ้นด้วย แตงโม คงต้องการธาตุนี้มากกว่าพืชอื่น ๆ ในตระกูลเดียวกัน

การป้องกันกำจัด
การปลูกแตงโมควรใช้ปูนขาวใส่ลงในดินสัก 100-150 กิโลกรัมต่อไร่ หรือจะใช้ฉีดพ่นด้วยธาตุแคลเซียม เช่น แคลเซียมคลอไรด์
0.2 % และควรให้น้ำสม่ำเสมอหรือต้องปลูกในที่ ๆ มีน้ำในระดับที่แตงโมจะดูดซึมได้สม่ำเสมอตลอดเวลา

โรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย
1. โรคเหี่ยวเฉาเกิดจากแบคทีเรีย (Bacterial wilt) แตงกวาเป็นโรคนี้มากกว่าอย่างอื่น และแตงโมมีความทนทานต่อโรคนี้สูงมาก
จนเกือบจะไม่พบโรคนี้เลย ถ้ามีโรคนี้ระบาดจะเสียหายเพราะแตงจะเหี่ยวภายในเวลาอันรวดเร็ว

ลักษณะอาการของโรค
อาการเกิดที่ใบโดยแสดงอาการเหี่ยวเป็นบางใบก่อน อาการเหี่ยวลามไปที่ขั้วใบและเถาแตง ทำให้เถาแตงเหี่ยวตายทั้งต้นในเวลา
อันรวดเร็ว เมื่อเหี่ยวมาก ๆ ผลจะเหี่ยวแห้งแล้วต้นพืชจะตาย

การตรวจโรคนี้ใช้วิธีตัดลำต้นที่เป็นโรคตามขวางเพื่อดูเชื้อบักเตรีซึ่งมีลักษณะเป็นของเหลวขุ่นข้นสีเหมือนสีน้ำนม ออกมาจากรอยตัด
บางครั้งไม่พบของเหลวดังกล่าวควรนำไปแช่ในน้ำที่สะอาดถ้าพบของเหลวดังกล่าวไหลออกมาทำให้น้ำขุ่นกว่าเดิมก็แสดงว่าพืชนั้นมี
แบคทีเรียในเนื้อเยื่อพืชก็ต้องนำมาทำการเพาะเลี้ยงเชื้อหาเชื้อบริสุทธิ์

สาเหตุของโรค
โรคนี้เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งแพร่ระบาดโดยแมลงศัตรูพืช

การป้องกันกำจัด
ถอนต้นที่เป็นโรคไปทำลายเสีย กำจัดแมลงที่อาจนำเชื้อโรค


2. โรคใบจุด โรคใบจุดของผักตระกูลแตงที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย มีเชื้อแบคทีเรียเป็นสาเหตุอยู่ 2 ชนิด
ก. โรคใบจุดเกิดจากแบคทีเรีย (Angular leaf spot, Bacterial spot jor Blight) แตงแคนตาลูป แตงโม เป็นโรคนี้มากกว่า
อย่างอื่น ส่วนแตงกวา น้ำเต้า มีความคงทนต่อโรคนี้ต่างกัน

ลักษณะอาการของโรค
อาการเริ่มแรกจะเป็นเป็นจุดฉ่ำน้ำ ขนาดแผลไม่แน่นอน ในที่ ๆ มีอากาศชื้นอาจพบเชื้อแบคทีเรียดูดออกมาที่แผล

เมื่อแผลแห้งจุดของแผลจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและใบจะแห้งร่วงไปในที่สุด อาการของโรคเป็นเฉพาะที่ เช่น ที่กิ่ง ใบ ผล แต่แผลที่ผล
มีขนาดเล็กกว่า ถ้าเป็นมาก ๆ ผลจะร่วง

สาเหตุของโรค
โรคนี้เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Pseudomonas lachrymans (E.F. Smith and Bryan) Carsner

การป้องกันกำจัด
เนื่องจากเชื้อแบคทีเรียอาศัยอยู่ในเศษซากพืชและอยู่ในเมล็ด การป้องกันจึงควรแช่เมล็ดพันธุ์ด้วยน้ำร้อน ประมาณ 55 องศาเซล
เซียส นาน 10 นาที ก่อนปลูก หรือปลูกพืชหมุนเวียน 3 ปี ควรทำลายเศษซากพืชเสียก่อนปลูกพืชและใช้ยาฆ่าแมลงที่อาจนำเชื้อ
โรคมาสู่ต้นพืช

ข. โรคใบจุด (Bacterial leaf-spot)
พืชที่เป็นโรคนี้ได้แก่ แตงกวา ฟักทอง แตงโม น้ำเต้า

ลักษณะอาการของโรค
โรคใบจุดนี้มีอาการเหมือนกับชนิดแรกต่างกันพบโรคเฉพาะที่ใบไม่เป็นที่ผล

สาเหตุของโรค
โรคนี้เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Xanthomonas cucurbitae

การป้องกันกำจัด
ใช้วิธีการป้องกันกำจัดเหมือนชนิดแรก


โรคที่เกิดจากเชื้อรา
1. โรคราน้ำค้าง (Downy mildew)
โรคราน้ำค้างจัดว่าเป็นโรคที่สำคัญของแตงโมทุกพันธุ์รวมทั้งพืชในตระกูลนี้อีกหลายชนิดเช่น แตงกวา แตงร้าน มะระ ฯลฯ ส่วน
พวกตำลึง บวบ ฟักทอง ฟักข้าว ไม่ค่อยพบโรคนี้ระบาด

ลักษณะอาการของโรค
ใบแตงโมมีแผลสี่เหลี่ยมสีน้ำตาลอ่อนประปรายทั่วใบ ทำให้ใบแห้งและเหี่ยวอาการจะปรากฎบนใบแก่โคนเถาก่อน โรคระบาดรวดเร็ว
มากจะทำให้เถาแตงเหี่ยวตายหมดทั้งเถาได้ในเวลาที่อากาศชื้น ด้านท้องใบจะมีกระจุกของราสีขาวหม่นขึ้นบนแผลคล้ายผงแป้ง
โรคมักจะระบาดรุนแรงและรวดเร็ว เมื่อแตงกำลังให้ผล ทำให้เถาแตงตายไปก่อนที่แตงโมจะสุก

สาเหตุของโรค
โรคนี้เกิดจากเชื้อรา Pseudoperonospora cubensis ซึ่งเป็นเชื้อราที่แพร่ระบาดไปในอากาศ

การป้องกันกำจัด
1. คลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยเอพรอน 35 อัตราส่วนยา 1-2 ซองต่อเมล็ดพันธุ์ 1 กก.
2. ใช้ยาริตโตมิล เอ็มเซต 72, วามีน, ชนิดใด
ชนิดหนึ่งฉีดพ่น 5-7 วันต่อครั้ง


2. โรคราแป้ง
โรคราแป้งจัดว่าเป็นโรคที่ทำความเสียหายมากอีกโรคหนึ่งของแตงโมทุกพันธุ์และพืชในตระกูลนี้เกือบทุกชนิดเป็นโรคนี้ได้ง่าย

ลักษณะอาการของโรค
ใบมีราสีขาวจับคล้ายผงแป้งโดยเฉพาะด้านบนใบและตามผล เมื่อเชื้อราเริ่มจับใบใหม่ ๆ มีลักษณะเป็นวงกลมสีขาวซึ่งจะขยายออก
ไปจนคลุมเต็มผิวใบทำให้ใบแห้งกรอบเป็นสีน้ำตาลอาการใบแห้งจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและทำให้ใบแห้งหมดทั้งเถาได้ เถาแตงโมจะ
ทรุดโทรมเร็ว

สาเหตุของโรค
โรคราแป้งเกิดจากเชื้อรา Oidium sp. ซึ่งสร้างสปอร์สีขาวคล้ายผงแป้งจับเคลือบอยู่บนใบและหลุดปลิวแพร่ระบาดไปในอากาศได้ง่าย

การป้องกันกำจัด
1. ควรฉีดพ่นยาป้องกันกำจัดเชื้อรานี้โดยใช้ยากำมะถันผงชนิดละลายน้ำได้ในอัตรา 30-40 กรัม ต่อน้ำ 1 ปี๊บ
2. ใช้ยาคาราเทนหรือมิลเด็กซ์

หมายเหตุ
อัตราส่วนตามข้างสลากการฉีดพ่นยาดังกล่าวต้องฉีดพ่นในเวลาที่ไม่มีแสงแดดหรืออากาศร้อนจัด และใช้ความเข้มข้นต่ำไว้ก่อนจะ
ไม่ทำให้เกิดอาการใบไหม้ ยาชนิดอื่นไม่ให้ผลดีเท่ายาที่กล่าวมาแล้ว


3. โรคแอนแทรกโนส (Anthracnose)
แตงโมทุกพันธุ์เป็นโรคนี้และจัดว่าเป็นโรคที่ระบาดทั่วไป โรคนี้ไม่ทำให้เนื้อใบเสียแต่ทำให้แตงโม มีรสหวานน้อยลงและมีสีอ่อน
กว่าปกติ ยกเว้นแตงแคนตาลูป ซึ่งมีแผลใหญ่และผลเน่าอย่างรวดเร็วและเสียหายมากกว่าแตงพันธุ์อื่น ๆ

ลักษณะอาการของโรค
โรคนี้ทำให้เกิดจุดหรือแผลนูนเล็ก ๆ สีน้ำตาบประปรายทั่วไป แผลดังกล่าวนี้เกิดบนผลแตงโม ทำให้ผลแตงโมมีผิวขรุขระ พันธุ์ที่ไม่
มีความต้านทาน แผลจะขยายใหญ่ขึ้นและเนื้อเยื่อตรงกลางแผลจะยุบต่ำลงไปจากระดับเดิมเล็กน้อย ตรงกลางแผลมีเชื้อราเป็น
หยดเยิ้มสีชมพูอ่อน เรียงเป็นวงกลมซ้อนกันหลายชั้นตามขนาดของแผลที่ขยายใหญ่ขึ้น เช่น แผลบนแตงแคนตาลูป

สาเหตุของโรค
โรคนี้เกิดจากเชื้อรา Colletotrichum lagenarium

การป้องกันกำจัด
ฉีดพ่นยาป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น เบนเลท,เดอโรซาน,ไดโฟลาแทน หรือซินโคโฟล ชนิดใดชนิดหนึ่ง อัตราตามข้างสลากทุก ๆ
5-7 วัน เมื่อเริ่มพบโรคระบาดและเก็บผลที่เป็นโรคทิ้ง เพื่อทำให้มีเชื้อแพร่ระบาดมากขึ้น ยาป้องกันกำจัดเชื้อราเกือบทุกชนิดให้
ผลในการป้องกันกำจัดใกล้เคียงกัน การใส่ปุ๋ยอินทรีย์และกากพืชจำนวนมากมีผลทำให้โรคลดน้อยลงได้มาก



4. โรคเหี่ยว (Fusarium wilts)
แตงโม แตงกวา แตงร้าน แคนตาลูป เป็นโรคนี้ทั่วไปทุกแห่ง พืชอื่น ๆ ในตระกูลเดียวกันนี้มีความต้านทานและคงทนต่อโรคสูง
จึงไม่ใครพบโรคนี้ ความเสียหายเกิดขึ้นมากน้อยแล้วแต่จำนวนต้นที่เหี่ยวตาย แต่จัดว่าเป็นโรคที่สำคัญโรคหนึ่งซึ่งเป็นมากในระยะ
ที่แตงกำลังตกผล ซึ่งอาจจะทำให้ต้นเหี่ยวตายไปก่อนที่จะเก็บผล

ลักษณะอาการของโรค
ใบแก่ที่อยู่ที่โคนเถาแตงจะเริ่มเหลืองและเหี่ยวตายก่อนแล้วลามไปจนถึงปลายเถาบางต้นมีลำต้นแตกช้ำ แตงมักจะเริ่มเหี่ยวจาก
แขนงใดแขนงหนึ่งก่อน แล้วจะแห้งตายหมดทั้งเถาในเวลาต่อมา

สาเหตุของโรค
เกิดจากเชื้อรา Fusarium spp. ซึ่งเป็นเชื้อราที่ชอบอาศัยอยู่ในดินที่เป็นทรายมากและเป็นดินกรด ดินที่ปลูกแตงติดต่อกันหลาย
ปีมักจะมีโรคนี้ระบาดมาก

การป้องกันกำจัด
1. ควรปรับดินด้วยปูนขาวประมาณ 100-150 กก. ต่อไร่ และเมื่อจะปลูกซ้ำ ที่ควรจะใส่ปุ๋ยอินทรีย์ให้มากหลังจากการใส่ปูนขาว
จะช่วยทำให้โรคนี้ลดน้อยลง ถ้าปุ๋ยอินทรีย์จำพวกปุ๋ยคอกหรือมูลสัตว์หายากก็ควรพิจารณาปลูกพืชตระกูลถั่วแซมหรือสลับแล้วไถ
กลบต้นถั่วให้เป็นปุ๋ยพืชสดหรือกากพืชลงไปในดิน และไม่ควรปลูกแตงซ้ำที่เกินกว่า 3 ปี

2. ใช้ยาเทอราโซล หรือเทอราคอลซุปเปอร์เอ็กซ์ อัตราส่วนตามข้างสลากรดโคนต้นให้ชุ่ม

หมายเหตุ
การใส่ปุ๋ยวิทยาศาสตร์มากจะทำให้เป็นโรคนี้มากขึ้น ควรใส่แต่น้อยแต่ใส่หลาย ๆ ครั้ง


5. โรคใบจุด
แตงมีโรคใบจุดเกิดจากเชื้อราต่างกันหลายชนิด มีอาการคล้ายคลึงกัน การระบาดของโรคไม่รุนแรงเหมือนโรคอื่น ๆ โรคใบจุดของ
แตงมีดังต่อไปนี้

5.1 โรคใบจุดของแตงเกิดจากเชื้อออเทอนาเรีย (Alternaria)

ลักษณะอาการของโรค
จุดแผลจะฉ่ำน้ำ มีสีเหลือง และสีของแผลจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล หรือเทากลาง ๆแผลมีสีดำ เมื่อแผลมีขนาดใหญ่ แผลจะเปลี่ยนเป็น
สีน้ำตาลเข้มและพบเชื้อราขึ้นเรียงเป็นวงแหวนกลาง ๆ แผลอาจฉีกขาด ผลของต้นที่เป็นโรคมักจะสุกก่อนกำหนด และอาจพบแผลที่ผล
และที่ลำต้น

สาเหตุของโรค
โรคนี้เกิดจากเชื้อรา Alternaria cucumerina (Ellis and Everhart Elliott)

การป้องกันกำจัด
เนื่องจากเชื้อราอาศัยอยู่ในเศษซากพืช การป้องกันกำจัดจึงควรทำดังนี้

1. ทำลายเศษซากพืชที่เป็นโรค
2. ใช้เมล็ดที่ปราศจากโรค
3. คลุกยาคลุกเมล็ด เช่น ไดเทนเอ็ม 45 ชนิดสีแดงเสียก่อนปลูก
4. ปลูกพืชหมุนเวียน 3 ปี
5. ใช้ยาพวกเดอโรซาน, ไดเท็นเอ็ม45, ไดโฟลาแทน หรือซินโคโฟลฉีดพ่น


5.2 โรคใบจุดเกิดจากเชื้อราเซอคอสปอรา

ลักษณะอาการของโรค
จุดของแผลมีขนาดเล็กเป็นรูปกลมหรือเหลี่ยมมีสีน้ำตาล กลาง ๆ จุด มีสีขาวหรือน้ำตาลอ่อนขอบของแผลมีสีม่วง หรือน้ำตาลอ่อน
ส่วนมากเกิดด้านใบ

สาเหตุของโรค
โรคนี้เกิดจากเชื้อรา Cercospora citrullina Cook

การป้องกันกำจัด
ใช้วิธีเดียวกับโรคที่เกิดจากเชื้อออเทอนาเรีย

6. โรคใบแห้ง (Corynespora blight)
แตงกวาเป็นโรคได้ง่าย

ลักษณะอาการของโรค
ลักษณะของแผลที่ใบจะกลมหรือเหลี่ยมมีสีน้ำตาล กลาง ๆ แผลมีสีเขียวหรือเหลือง เมื่อมีแผลมากและแผลมีขนาดใหญ่ขึ้น
ใบจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและแห้งตาย แผลบนกิ่งก้าน มีลักษณะยาวตามส่วนของพืช ผลที่ถูกเชื้อเข้าทำลายมักจะเป็นผลที่แก่และ
ผลที่มีสีเหลือง ใบหรือผลอ่อนที่มีสีเขียวเชื้อราชนิดนี้จะไม่เข้าทำลาย

สาเหตุของโรค
โรคนี้เกิดจากเชื้อรา Corynespora melonia (Cooke) Lindan

การป้องกันกำจัด
1. ทำลายเศษซากพืชที่เป็นโรคและเศษซากพืชหลังเก็บเกี่ยว
2. ใช้ยาเบนเลท ไดเทนเอ็ม 45 หรือ ไดโฟลาแทน ชนิดใดชนิดหนึ่งในการป้องกันกำจัดแต่จากการทดลองพบว่ายาเบนเลท
ใช้ได้ผลดี



7. โรคดอกเน่า (Choanephora wet-rot)
พืชที่เป็นโรคนี้ได้แก่ น้ำเต้า ฟักทอง และพืชอื่น ๆ

ลักษณะอาการของโรค
บริเวณที่เป็นโรคจะเป็นจุดสีดำขนาดเท่าหัวเข็มหมุด ฉ่ำน้ำและเน่าเละมักเป็นโรคบริเวณยอดอ่อน ๆ และยอดที่กำลังมีดอกโดย
ยอดจะมีสีซีดกว่ายอดปกติ ต่อมายอดและผลอ่อนจะแห้ง ส่วนมากจะพบโรคนี้ในเวลาที่มีฝนตากชุกและมีน้ำค้างหรือหมอกลงจัด

สาเหตุของโรค
โรคนี้เกิดจากเชื้อรา Choanephora cucurbitarum

การป้องกันกำจัด
ใช้ยาซาพรอล หรือไดโฟลาแทน อัตราส่วนตามข้างสลาก ฉีดพ่นทุก ๆ 5-7 วัน



8. โรคผลเน่า
โรคผลเน่าที่พบมากเกิดจากเชื้อรา 2 ชนิด และเป็นมากกับแตงโมและแตงกวา
8.1 โรคผลเน่าเกิดจากเชื้อพิเทียม (Pythium
Fruit rot) ใช้ยาริดโดมิล เอ็มแซด 72 หรือไดโฟลาแทนหรือซาพรอล อัตราส่วนตามข้างสลาก ฉีดพ่นทุก ๆ 5-7 วัน

ลักษณะอาการของโรค
จะพบโรคนี้ทั้งที่ผลและที่ราก อาการที่ผลจะเน่าและมักพบเส้นใยสีขาวของเชื้อราปกคลุมอยู่ที่ผิวของผล ถ้าเกิดที่รากจะทำให้รากเน่า

สาเหตุของโรค
เกิดจากเชื้อรา Pythium spp.


8.2 โรคผลเน่าเกิดจากเชื้อดิพโพเดีย (Diplodia fruit rot)
แตงโมเป็นโรคนี้ได้มากที่สุด นอกจากนี้มีแตงกวา และแคนตาลูป

ลักษณะอาการของโรค
เมื่อกดดูบริเวณขั้วของแตงโมที่เป็นโรคจะบุ๋ม เชื้อราจะเข้าบริเวณขั้วก่อนเนื้อเยื่อที่ติดกับขั้วจะเน่าและฉ่ำน้ำ อาการเน่าเกิดขึ้นเร็วมาก
เมื่อเป็นมาก ๆ ผลแตงจะมีสีดำ ถ้าอากาศชื้น ๆ จะพบเชื้อราสีเทา คลุมอยู่ที่ผล ถ้าพบเป็นโรคในผลที่ยังอ่อนเชื้อราจะเข้ามาบริเวณ
ปลายผล มีอาการเหมือนบริเวณที่ขั้วของผลแตงโมที่ถูกเชื้อชนิดนี้เข้าทำลาย โดยมีสีอ่อนกว่าบริเวณที่ไม่ถูกเชื้อเข้าทำลาย เมื่อแผล
มีขนาดใหญ่สีของแผลจะเข้ม พบเชื้อราบริเวณผิวแตงเห็นได้ชัดเจน ต่อมาผิวแตงจะแห้ง เชื้อราชนิดนี้ทำให้เกิดอาการผลเน่าได้เช่น
เดียวกับเชื้อราชนิดแรกที่กล่าวมาแล้ว

สาเหตุของโรค
เกิดจากเชื้อรา (Diplodia gossypina coke)

การป้องกันกำจัด
1. ฉีดพ่นยาป้องกันกำจัดเชื้อรา
9. โรครากปม

การปลูกแตงโมในที่บางแห่งมีปัญหาโรครากปมระบาดมาก โรคนี้ไม่ทำให้เถาแตงโมตายแต่ก็ทำให้แตงแคระแกรนไม่ใคร่เจริญเติบโต
ทำให้ผลผลิตตกต่ำ

ลักษณะอาการของโรค
ยอดแตงแสดงอาการชูตั้งชันและไม่เจริญยืดยาวออกไป ในเวลากลางวันที่มีอากาศร้อน เถาแตงจะแสดงอาการเหี่ยวและฟื้นเป็น
ปกติในเวลากลางคืนอีก ถ้าถอนต้นแตงตรวจดูจะพบรากบวมเป็นปมขนาดต่าง ๆ กัน ไม่มีรากฝอยซึ่งเป็นสาเหตุให้การดูดอาหาร
และน้ำที่รากไม่เป็นปกติเกิดการอุดตันขึ้นเพราะเชื้อโรคเข้าไปอาศัยอยู่และไปกระตุ้นให้เซลส์ของรากโตและมีระบบเนื้อ
เยื่อรากผิดปกติไป

สาเหตุของโรค
เกิดจากไส้เดือนฝอยชนิดหนึ่ง Meloidogyne spp. ซึ่งตัวเมียจะไชเข้าไปอาศัยอยู่ในราก ทำให้รากบวมโตเป็นปมและแย่ง
อาหารจากราก

การป้องกันกำจัด
1. ใช้ยาฟูราดาน อัตรา 3 กรัม รองก้นหลุมเมื่อปลูก
2. ควรใช้ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยคอกและกากพืชเพื่อปรับปรุงดินจะช่วยลดปริมาณการเป็นโรคลง โดยเฉพาะการปลูกในดินร่วนปนทราย
3. ถอนต้นพืชที่เป็นโรคทิ้งเพื่อกำจัดไข่ตัวเมียที่จะแพร่ระบาดในแปลง

หมายเหตุ
ในดินเหนียวและดินที่มีอินทรีย์วัตถุมาก ๆ ไม่ค่อยเป็นโรคนี้



10. โรคยอดหงิกใบด่าง
โรคยอดหงิกใบด่างของแตงโมและพืชอื่น ๆ เกิดจากเชื้อวิสาซึ่งมีศัตรูจำพวกปากดูดเป็นตัวนำเชื้อโรคให้แพร่ระบาดติดต่อกัน จัดว่า
เป็นโรคที่สำคัญอีกโรคหนึ่ง ทำความเสียหายมากเพราะจะทำให้ต้นที่เป็นโรคไม่ผลิดอกออกผล หรือมีผลเล็กผิดปกติ

ลักษณะอาการของโรค
พืชจะแสดงอาการใบมีสีเขียวและเหลืองด่างลายประปรายทั่วใบและเนื้อใบหยักเป็นคลื่น ใบเล็กลง ยอดตั้งชันและชงักการเจริญ
เติบโต ยอดหก ไม่ผลิดอกออกผลต่อไป

สาเหตุของโรค
โรคนี้เกิดจากเชื้อวิสาที่มีศัตรูจำพวกปากดูดเช่น แมลงหวี่ขาว เพลี้ยไฟและเพลี้ยอ่อนเป็นพาหะนำโรคจากต้นที่เป็นโรคติดต่อไป
ยังต้นดีได้ง่าย เชื้อวิสาของแตงโมมีหลายชนิดซึ่งทำให้เกิดอาการใกล้เคียงกัน

การป้องกันกำจัด
เนื่องจากมีศัตรูพืชเป็นตัวนำโรคจึงต้องป้องกันมิให้มีศัตรูดังกล่าวระบาดโดยการฉีดพ่นยาฆ่าแมลงประเภทดูดซึม เช่น แลนเนท
และเซวิน กำจัดพวกเพลี้ยไฟและเพลี้ยอ่อน และถอนทำลายต้นที่แสดงอาการเป็นโรคออกไปจากไร่ จะช่วยลดโรคนี้หรือป้องกันโรคนี้ได้

หมายเหตุ
ศัตรูพวกนี้มีขนาดเล็กมาก แต่พอจะสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่า เพลี้ยไฟตัวเรียวยาวสีเหลืองอมส้ม เคลื่อนไหวรวดเร็ว ตัวแก่
มีสีดำและบินได้




http://www.thaikasetsart.com/%E0%B8%9C%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B9%E0%B8%A5%E0%B9%81%E0%B8%95%E0%B8%87%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%94/


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 13/02/2014 7:47 am, แก้ไขทั้งหมด 3 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 09/12/2011 9:52 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ประสบการณ์ตรง :

**** โรคพืชในดิน ไฟธอปเทอร์ร่า, พิเทียม, ฟูซาเรียม, สเคลโรเธียม, ไรซ็อคโธเนีย, ไส้เดือนฝอยรากปม, กับอีก
7-8 ตัว ไม่ได้ท่องมา.....โรคพวกนี้ทุกตัวเกิดเองตามธรรมชาติเมื่อดินเป็นกรดจัด ถ้าดินไม่เป็นกรดจะไม่เกิด หรือเกิดแล้ว
ก็ตายเองเมื่อดินหายจากเป็นกรดจัด.....ปกติ เชื้อพวกนี้มี แฝง/แทรก อยู่ในดินอยู่บ้างแล้วตามธรรมชาติ เพีบงแต่สภาพแวด
ล้อม (ค่า พีเอช-น้ำแฉะ) ไม่เหมาะสมจงไม่ขยายพันธุ์เพิ่มจำนวน แต่ถ้าสภาพแวดล้อมเหมาะสมเมื่อไร ก็แพร่ขยายพันธุ์เพิ่ม
จำนวนึ้มาทันที

**** สารเคมีที่ใช้กำจัดเชื้อโรคพวกนี้ แม้จะมีสารออกฤทธิ์ที่ทำลายเชื้อโรคพวกนี้ได้โดยตรงก็จริง แต่มีสถานะเป็น "กรดจัด"
เมื่อใส่ลงไปในดิน เชื้อพวกนี้จะตายทันที จากนั้น 1-2 เดือน ก็จะเกิดเชื้อชุดใหม่ (ตัวเดิม + ตัวใหม่) ขึ้นมา ว่าแล้วก็ใส่สาร
เคมีฆ่าเชื้อโรคลงไปอีก เชื้อโรคก็ตายอีก อีก 1-2 เดือน ก็เกิดอีก เกิดอีกก็ใส่อีก ใส่อีกก็เกิดอีก สลับสับเปลี่ยนเวียน
เป็นงูกินหางอยู่อย่างนี้

**** ดินที่เป็นกรดจัด เหมาะสมต่อการเจริญพัฒนาของจุลินทรีย์เชื้อโรค แต่ไม่เหมาะสมต่อการเจริญพัฒนาของจุลินทรีย์
มีประโยชน์.....นั่นคือ จุลินทรีย์เชื้อโรคจะเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่จุลินทรีย์มีประโยชน์ จะลดจำนวนลงเรื่อยๆ เช่นกัน

**** ดินที่เป็นกรดอ่อนๆ เหมาะสมต่อการเจริญพัฒนาของจุลินทรีย์มีประโยชน์ แต่ไม่เหมาะสมต่อการเจริญพัฒนาของ
จุลินทรีย์เชื้อโรค.....นั่นคือ จุลินทรีย์มีปรโยชน์ จะเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่จุลินทรีย์เชื้อโรค จะลดจำนวนลงเรื่อยๆ
เช่นกัน


หลักการและเหตุผล : เนื่องจากเชื้อโรคพวกนี้เกิดได้เองตามธรรมชาติเมื่อดินเป็นกรดจัด ดังกล่าวแล้ว การใส่สารเคมีฆ่าเชื้อลง
ไปแม้จะทำให้เชื้อโรคตายได้ แต่ดินก็ยังคงเป็นกรดจัดอยู่เหมือนเดิม จึงเกิดเชื้อชุดใหม่ขึ้นได้ ยิ่งใส่สารเคมีลงไปมากเท่าไร ดิน
ยิ่งเป็นกรดจัดมากขึ้นเท่านั้น เพราะตัวสารเคมีเองเป็นกรดจัด จึงเท่ากับใส่กรดลงไปในดิน




.... ไม่มีคนขายสารเคมีคนใด บอกว่า สารเคมีของตัวเองมีสถานะทางเคมีเป็นกรด
แล้วก็ไม่เคยมี (หรืออาจมี) คนซื้อ ถามคนขายว่า สารเคมีตัวนี้มีสถานะทางเคมีเป็น
กรดหรือเป็นด่าง.....

..... ไม่มีคนขายสารเคมีคนใด บอกว่า ก่อนผสมสารเคมีกับน้ำ ต้องปรับค่า พีเอช.
น้ำให้เป็นกรดอ่อนๆก่อนทุกครั้ง เพราะคนขายสารเคมีไม่รู้ (แกล้งไม่รู้) หลักเคมี
เบื้องต้น ที่ว่า "กรด + ด่าง = เกลือ + น้ำ" แล้วก็ไม่เคยมี (หรืออาจมี) คนซื้อ
ถามคนขายด้วยว่า สารเคมีตัวนี้เมื่อผสมน้ำแล้ว จะเสื่อมสภาพไหม.....

..... ด้วยหลักวิชาเคมีเบื้องต้น ที่ว่า "กรด + ด่าง = เกลือ + น้ำ" จึงสรุปได้ว่า
1) สารเคมีที่ใช้กำจัดเชื้อโรคในดิน เสื่อมสภาพไปแล้วเมื่อได้ผสมกับน้ำ .
2) ตัวสารเคมีเองเป็นกรดจัด เมื่อใส่ลงไปในดินจึงทำให้ดินเป็นกรดจัดไปด้วย....


แนวทางแก้ไข :
- ใช้สารออกฤทธิ์ที่มีค่า พีเอช ไม่เป็นกรด ในการฆ่าเชื้อโรค
- ปรับค่า พีเอช ของดินไม่ให้เป็นกรด
- ปรับโครงสร้างดิน ไม่ให้เอื้อต่อการเป็นกรดจัด และไม่ให้เป็นแหล่งอาศัยของเชื้อโรค

การปฏิบัติ :
- ใช้ "น้ำ 100 ล. + น้ำปูนใส 1 ล. + สารสมุนไพรกำจัดเชื้อรา 1-2 ล." ราดรดลงดิน ทั่วทรงพุ่ม โชกๆ 2-3 วัน ติดต่อกัน
- พูนดินโคนต้นหรือแปลงปลูกให้สูงขึ้น ป้องกันน้ำขังค้าง
- บำรุงต้นให้สมบูรณ์ เพื่อให้เกิดภูมิต้านทานภายในต้น
- ใส่ เสริม/เติม/เพิ่ม จุลินทรีย์มีประโยชน์
- ใส่ เสริม/เติม/เพิ่ม แหล่ง อาหาร/พลังงาน สำหรับจุลินทรีย์ประจำถิ่น

หมายเหตุ :
- น้ำปูนใส : น้ำ 100 ล. + ปูนขาว หรือปูนกินหมาก (ขาว-แดง) 5 กก. คนให้เข้ากันดี ทิ้งไว้ 24 ชม.ให้ปูนนอนก้น .....
ใช้ส่วนที่เป็นน้ำใส ..... น้ำปูนใสเป็นด่าง เมื่อลงไปในดินจะเกิดปฏิกิริยา กรด + ด่าง = เกลือ + น้ำ ทำให้ดินหายจากการ
เป็นกรดจัดได้

- สมุนไพรที่มีสารออกฤทธิ์กำจัดเชื้อรา (ทั้งในดินและเหนือดิน) ได้แก่ เปลือกมังคุด ว่านน้ำ พริก หมาก ขิง ข่า ขมิ้นชัน
กานพลู ชะพลู (สมุนไพรรส ฝาด/เผ็ด ทุกชนิด)



เพลี้ยไฟ-ไรแดง :
สองตัวนี้เหมือนปาท่องโก๋ กอดกันแน่นตึ๊บ สลับเวลาหากิน แต่มาตอนเที่ยงวันเหมือนกัน
เพลี้ยไฟ. มาตอนเที่ยง อากาศร้อน แดดจัด 100%
ไรแดง. ก็มาตอนเที่ยง อากาศร้อนอบอ้าวเหมือนก่อนฝนตก ไม่มีแดดหรือแดดน้อย

เพลี้ยไฟ........................ ขอบใบหงิกขึ้น
ไรแดง.......................... ขอบใบหงิกลง

ใช้สมุนไพรตัวเดียวกัน....สาบเสือ สะเดา ฟ้าทะลายโจร บอระเพ็ด ยาสูบ-ยาฉุน ดาวเรือง ได้ทั้งนั้น แม้แต่ "น้ำเปล่า" ก็ใช้ได้
แต่มีข้อแม้ ต้องฉีดพ่น "ตอนเที่ยง" เท่านั้น เพราะน้ำจะไปชะล้างตัวเพลี้ยไฟ-ไรแดง ให้ร่วงหล่นจากใบ ตายไปเอง....ที่อาฟริกา
ใช้ "ฉี" กำจัดอั้ยเจ้าสองตวนี้ได้ ไม่เห็นต้องใช้สารเคมีเลย ว่ามั้ย



.

.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 14/12/2011 7:39 am, แก้ไขทั้งหมด 5 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
fivestar
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 28/11/2011
ตอบ: 19

ตอบตอบ: 10/12/2011 9:03 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ขอบคุณมากค่ะคุณลุงผู้พัน

ต้นที่เหี่ยวจะเกิดบริเวณที่ท่อเมนรั่วซึมค่ะ และค่า pH. ของดินหนูเคยวัดได้ 4.1 ค่ะ

หากหนูปลูกครั้งต่อไป หนูหว่านด้วยยิปซั่มดีไหมคะ แล้วหว่านเป็นแถบ (ร่องแตงโม) หรือหว่านกระจายดีคะ
ต้องหว่านมากน้อยแค่ไหนคะ





.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
mongkol
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 29/06/2010
ตอบ: 134

ตอบตอบ: 11/12/2011 8:00 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

จากข้อมูลที่บอกว่าเป็นบริเวณท่อเมนรั่ว นั้นคือ ปัจจัยที่มากจากน้ำมากไปทำให้
ดินขาดอากาศ รากพืชต้องการอากาศหายใจจึงจะดูดน้ำและอาหารได้

การจะใช้ยิปซั่มมาแก้จะได้ผล แต่ควรแก้ตรงสาเหตุที่ทำให้ดินขาดอากาศจากน้ำมากไปด้วย
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 11/12/2011 12:07 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อีกเหตุปัจจัยหนึ่งที่ไม่ควรมองข้าม คือ "ปลูกซ้ำที่" น่าจะ (เน้นย้ำ....น่าจะ) แบ่งพื้นที่เป็น 2 หรือ 3 แปลง สลับแปลงปลูก
ระหว่างที่ปลูกแปลงหนึ่ง ก็ให้ทำการ "ปรับดินและบ่มดิน" แปลงที่ไม่ได้ปลูก

แตงโมเป็นพืชอายุสั้นฤดูกาลเดียว การปรับแก้ปัญหาดิน แม้จะปรับแก้ได้ แต่ต้นต้องชงักการเจริญเติบโต ถึงต้นไม่ตายให้
ผลผลิต ก็เป็นผลผลิตที่คุณภาพไม่ดี.....

คิดดู อายุต้นแตงโม ตั้งแต่เริ่มปลูก ถึงเก็บเกี่ยวต้องใช้ระยะเวลากี่วัน (นับเป็นวัน)การที่ต้อนชะงักการเจริญเติบโตเพียง 10-20 วัน
เท่ากับกี่เปอร์เซ็นต์ หรือเศษส่วนเท่าไหร่ ของอายุต้นแล้ว.....ไม่เหมือน พริก-มะเขือ ที่อายุต้นข้ามปี ช่วงหนึ่งของอายุต้นอาจจะ
ชะงักการเจริญเติบโต แต่หลังจากฟื้นต้นได้เขาก็จะให้ผลผลิตชุดใหม่เหมือนเดิมได้

เป็นไปได้ไหม ถอนต้นนั้นทิ้งไปเลย เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค กระทั่งลามไปทั่วแปลง.....เชื้อพวกนี้ ไหลไปกับน้ำได้ด้วยนะ



***** เนื้อที่ตั้ง 90 ไร่ บริหาร การผลิต- การตลาด ยังไง เล่าสู่ฟังบ้างซี่.....
***** เคยคิดทำ "แตงโมแจ๊คพ็อต" บนเนื้อที่
1-2 ไร่ บ้างไหม ? .....




.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 14/12/2011 7:41 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
fivestar
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 28/11/2011
ตอบ: 19

ตอบตอบ: 11/12/2011 12:37 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)







กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
fivestar
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 28/11/2011
ตอบ: 19

ตอบตอบ: 11/12/2011 8:08 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การบริหารการผลิต ใช้แรงงานต่างประเทศทั้งหมด 20 กว่าคนค่ะ
ทุกคนมีหน้าที่ประจำของตัวเอง รดน้ำก็รดอย่างเดียว ฉีดยาก็ฉีดอย่างเดียว

การตลาด ส่งพ่อค้าคนกลางขนเข้าตลาดไทอย่างเดียวค่ะ

ราคา ขึ้นกับพ่อค้าคนกลาง และอุปสงค์ อุปทานค่ะ

คุณภาพ ใหญ่ไว้ก่อนได้เปรียบค่ะ


....แตงโมแจ๊คพ๊อตเป็นอย่างไรค่ะ





.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
mongkol
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 29/06/2010
ตอบ: 134

ตอบตอบ: 13/12/2011 9:12 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ระดับนี้ต้องมีประสบการณ์ไม่น้อย เข้าใจเรื่อง demand-supply น่าจะเป็นคนรุ่นใหม่

ที่บริษัทมีนักวิชาการมากประสบการณ์เรื่องแตงโม..... สนใจโทรปรึกษาได้
ชื่อคุณสุวัจชัย (081) 917-1613 .... ลูกไร่อาแปะสุ่ยกวง สุพรรณบุรี รู้จักเขาดี






.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
fivestar
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 28/11/2011
ตอบ: 19

ตอบตอบ: 14/12/2011 5:45 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ช่วงนี้แตงไม่ค่อยโตเลยค่ะ ไม่รู้ว่าอากาศหนาวเลยขาดสังกะสีหรือเปล่า พอดีเห็นว่า "ซุปเปอร์เ็อ็น" (โซตัส) มี Zn ผสมอยู่ด้วย
และโบรอน 400 (โซตัส) ก็มี Zn อยู่ด้วย เลยไม่ได้ใส่เพิ่ม อย่างนี้ฉีดครั้งต่อไปต้องใส่เพิ่มไหมคะ



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 15/12/2011 11:57 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

คิม ซา กัสส์. คนเดียว (จากประสบการณ์ตรงของตัวเอง) เท่านั้น ที่กล้าพูดแบบ "ฟันธง" ว่า วิชาการเกษตรยากที่สุด ในบรรดา
วิชาการทั้งหลายที่ เรียน/สอน ในทุกระดับสถานศึกษากันอยู่ทุกวันนี้ และวิชาที่ยากที่สุดในวิชาการเกษตร คือ วิศวเคมี.....สูตรปุ๋ยไง

คิม ซา กัสส์. กล้าสอนแบบฟันธงเรื่องนี้แก่ลูกๆ นศ.วิทยาลัยเกษตรกรรมสิงห์บุรี ที่มาฝึกงาน ต่อหน้า อ.เอกชัย (อาจารย์ปกครอง) ที่นั่ง
ฟังอยู่ด้วย.....ต่อมา อ.เอกชัยฯ ได้ยืนยันว่า "จริง" หลังจากได้คุยกับอาจารย์สอนวิศวะมาแล้วว่า "เกษตร ยากกว่า วิศวะ" จริงหรือ....
อาจารย์สอนวิศวะก็ว่า "ถูกต้อง....วิศวะยากตรงไหน ก็เพราะคนเรียนยกย่องว่ามันยากกันเองต่างหาก....ในวิศวะมีตัวเลข พิสูจน์สเปคได้
ผิดสเปคก็คัดออก ไม่เอา เปลี่ยนใหม่ แค่นี้ก็จบแล้ว.....แต่เกษตร ไม่มีตัวเลข ไม่มีสูตรสำเร็ จะรู้ได้ก็ต่อเมื่อเอาเข้าห้อง LAB เท่านั้น การ
เอาเข้าห้อง LAB เป็นสิ่งเกินความสามารถของผู้ปฏิบัติระดับเกษตรกรจะพึงกระทำได้....

วิชาเกษตรยากที่สุด แต่มีทางออก.....แม้ไม่ง่ายอย่างที่คิด แต่ก็ไม่ยากอย่างที่กลัว

คำว่า "ยาก" จะสิ้นไป ถ้าเราช่างสังเกตุสักหน่อยแล้ววิเคราะห์หาเหตุและผล เพราะผลต้องมาจากเหตุเสมอ....ถ้าเรามีความฉลาดแล้ว
เฉลียวใจสักนิด สงสัย-สงสัย ค่อยๆพิจารณาว่า ใช่/ไม่ใช่-ถูก/ผิด โดยมีพืชเป็นศูนย์กลาง นั่นคือ ปลูกพืขตามใจพืช ไม่ใช่ตามใจคน แล้ว
ความยากก็จะเป็นความง่าย

ปลูกแตงโม : รู้แตงโม ให้กระจ่าง แต่อย่างเดียว - แต่ให้เชี่ยว ชาญเกิด จะเกิดผล .... เตรียมข้อมูล "วิชาการ + ประสบการณ์"
ทุกมิติที่เกี่ยวเนื่องกับ "ปัจจัยเพื่อการเพาะปลูกแตงโม" ให้พร้อม ครบทุกมิติ ..... ก่อนปลูกแตงโม ศึกษาส่วนที่จะเป็นปัญหา พร้อมกับ
เตรียมมาตรการป้องกันไว้ก่อน

ในธรรมขาติไม่มีตัวเลข และไม่มีสูตรสำเร็จ ในโลกเกษตรประกอบด้วย เก่ง + เฮ็ง....เก่ง 1 ส่วน เอ็ง 3 ส่วน....

(..... SOME BODY SAID.....ปีนี้ รุ่นนี้ประสบความสำเร็จ ประกาศไปทั่ว 8 บ้าน 9 ตำบลว่า ข้าแก่ง-ข้าเก่ง.....ครั้นปีใด รุ่นใด
ไม่ประสบความสำเร็จ บอกว่า ดวงไม่ดี.....ถามว่า เก่งกับดวง มันอันเดียวกันหรือ ?....)

เพราะปัจจัยพื้นฐาน "ดิน-น้ำ-แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล-สารอาหาร-สายพันธุ์-โรค-ฯลฯ" เป็นตัวกำหนด ถ้าปัจจัยใดปัจจัยหนึ่ง
เพียงปัจจัยเดียว ไม่เหมาะสม ไม่ถูกต้องตรงตามความต้องการของพืช ย่อมส่งผลต่อพัฒนาการของพืชเสมอ



ร่ายมาซะยาวหยียด ก็เพื่อปูพื้นฐาน ก่อนให้คำตอบ....


COPY......ช่วงนี้แตงไม่ค่อยโตเลยค่ะ ไม่รู้ว่าอากาศหนาวเลยขาดสังกะสีหรือเปล่า พอดีเห็นว่า "ซุปเปอร์เ็อ็น" (โซตัส) มี Zn ผสม
อยู่ด้วย และโบรอน 400 (โซตัส) ก็มี Zn อยู่ด้วย เลยไม่ได้ใส่เพิ่ม อย่างนี้ฉีดครั้งต่อไปต้องใส่เพิ่มไหมคะ


บอกแล้วไง....พืชไม่รู้จักยี่ห้อ ไม่รู้จักโฆษณา ไม่รู้จักเข้าของสูตร ไม่รู้จักลดแลกแจกแถม....พืชรู้จักแต่เนื้อในว่า คือ อะไร เท่านั้น

ปุ๋ยยี่ห้อที่คุณว่า มีเพียง "ความน่าเชือถือสูง" เท่านั้น เพราะเป็นสินค้ามาตรฐานอเมริกาที่มีตลาดอยู่ทั่วโลก กับอีกหลายปัจจัยที่บ่งบอก
ความน่าเชื่อถือ.....

คุณเคยเฉลียวใจบ้างไหม.....ปุ๋ยทุกตัว ทุกสูตร ทุกยี่ห้อ ทุกบริษัท เขาทำสูตรไว้สำหรับใช้ทั่วๆไป ภายใต้สภาวะอากาศปกติ
เป็นสูตรกลางๆ เพื่อให้ขายได้ทั้งปี ขายได้ทั่วประทศ ขายได้ทั้งในประเทศไทย และประเทศข้างเคียงที่สภาวะอากาศเหมือนหรือ
คล้ายกัน เขาคงไม่ปรุงสูตรสำหรับเฉพาะ อากาศร้อน-ร้อนจัด หรือ อากาศหนาว-หนาวจัด หรอกมั้ง นั่นมันผิดหลักการค้า .....
นั่นคือ ปุ๋ยที่ซื้อมาเป็นปุ๋ยสำหรับพืชในสภาวะอากาศปกติ เมื่อสภาวะอากาศไม่ปกติ (รุนแรง) ก็ใช้ไม่ได้ผล เป็นเรื่องธรรมดา

ในเมื่อสภาวะอากาศมีผลโดยตรงต่อพัฒนาการของแตงโม (พืชทุกชนิด....ข้อมูลแท้ๆ ทางวิชาการ) เพราะฉนั้นคุณต้องใช้
"สูตรฤดูหนาว" หรือ "สูตรฤดูแล้ง" จึงจะได้ผล แต่สูตรแบบนี้บริษัทยัษ์ใหญ่ ระดับมาตรฐานอเมริกายังไม่ทำออกมาขาย แล้ว
คุณจะว่ายังไง.....ทำไมไม่สอบถามตรงไปที่บริษัทล่ะ ดูซิเขาจะตอบว่าไง นี่ก็เรียกว่า ฉลาดแล้วเฉลียว ได้เหมือนกัน

ในความเป็นจริงนั้น Zn มีความจำเป็นสำหรับพืชทั้งร้อนและหนาว แต่ต้องร้อนหรือหนาวแบบปกติๆ ไม่ใช่ร้อนขนาด 40 (+) องศา ซ.
หรือหนาวขนาด 10 องศา (-) ซ. แบบนี้เขาเรียกว่าสภาวะวิกฤติหรือวิปริตแล้ว

ตามหลักวิชาการก็บอกว่า ธาตุ Zn ช่วยบำรุงพืชให้แข็งแรง สู้กับสภาพอากาศวิปริตทั้งร้อนและหนาวได้ แต่ในปุ๋ยที่คุณใช้ เขา
ใส่ Zn เพียงสำหรับพืชในสภาพอากาศปกติเท่านั้น เพราะฉนั้น คุณต้อง "เพิ่ม" Zn ลงไป คราวนี้ถามต่อว่า "เพิ่มเท่าไหร่
หรือ เพิ่มอย่างไร" นี่ไงจึงถามว่า คุณกล้าสอบถามย้อนไปที่บริษัทผู้ ผลิต/จำหน่าย ไหม ?



จำได้ไหม "วิชาการ + ประสบการณ์" คราวนี้กลับทิศเป็น "ประสบการณ์ + วิชาการ" ทำงี้.....
วิธีที่ 1. ...... น้ำ 100 ล. (พีเอช 6.0) + ปุ๋ยที่คุณใช้ตามอัตราข้างขวด + สังกะสี ซัลเฟต 25-50 กรัม
วิธีที่ 2. ...... น้ำ 100 ล. (พีเอช 6.0) + สังกะสี ซัลเฟต เดี่ยวๆ 25-50 กรัม สลับกับ ปุ๋ยสูตรที่คุณใช้ ตามอัตราข้างขวด

หมายเหตุ :
- ใช้แล้ว ได้ผล/ไม่ได้ผล นี่คือ ..... ประสบการณ์นำ-วิชาการเสริม
- ใชสังกะสี ซัลเฟต เพราะเป็นสังกะสีสำหรับทางใบโดยเฉพาะ และให้ผลเร็ว
- สังกะสี.ที่ดีที่สุดสำหรับภูมิอากาศประเทศไทย คือ สังกะสี อะมิโน คีเลต....(ที่ไหนก็มีขายยกเว้นบ้านคุณ.....O.K. ?)


*** ไม่รับประกัน ได้ผล/ไม่ได้ผล เพราะลุงคิมไม่ได้เป็นแตงโม ผู้ที่จะให้คำตอบได้ดีที่สุด คือ แตงโม....ลองถามมันดู ***



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 15/12/2011 7:24 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

fivestar บันทึก:

การบริหารการผลิต ใช้แรงงานต่างประเทศทั้งหมด 20 กว่าคนค่ะ
ทุกคนมีหน้าที่ประจำของตัวเอง รดน้ำก็รดอย่างเดียว ฉีดยาก็ฉีดอย่างเดียว

การตลาด ส่งพ่อค้าคนกลางขนเข้าตลาดไทอย่างเดียวค่ะ

ราคา ขึ้นกับพ่อค้าคนกลาง และอุปสงค์ อุปทานค่ะ

คุณภาพ ใหญ่ไว้ก่อนได้เปรียบค่ะ


....แตงโมแจ๊คพ๊อต เป็นอย่างไรคะ ?



ราคาแตงโมกินรี เบอร์ใหญ่ เฉลี่ยรายเดือน ประจำปี 2554
เดือน..........เฉลี่ย...........สูงสุด...........ต่ำสุด
ม.ค. ....... 17.62 ....... 18.00 ....... 16.00
ก.พ. ....... 16.21 ........ 18.00 ....... 16.00
มี.ค. ....... 16.00 ......... 16.00 ...... 16.00
เม.ย. ...... 15.93 ......... 20.00 ....... 15.00
พ.ค. ....... 16.06 ......... 18.00 ....... 16.00
มิ.ย. ....... 16.03 ......... 17.00 ....... 16.00
ก.ค. ....... 10.52 ......... 16.00 ........ 8.00
ส.ค. ....... 16.71 ......... 18.00 ....... 10.00
ก.ย. ....... 17.83 ......... 19.00 ....... 15.00
ต.ค. ....... 19.00 ......... 19.00 ....... 19.00
พ.ย. .......... - ............... - ............. -
ธ.ค. ....... 18.00 .......... 18.00 ....... 18.00


ราคาแตงโมจินตหรา เบอร์ใหญ่ เฉลี่ยรายเดือน ประจำปี 2554
เดือน...........เฉลี่ย............สูงสุด............ต่ำสุด
ม.ค. ........ 17.62 ......... 18.00 ......... 16.00
ก.พ. ........ 16.14 ......... 18.00 ......... 16.00
มี.ค. ........ 16.00 ......... 16.00 ......... 16.00
เม.ย. ....... 15.93 ......... 20.00 ......... 15.00
พ.ค. ........ 16.07 ......... 18.00 ......... 16.00
มิ.ย. ......... 16.03 ........ 17.00 ......... 16.00
ก.ค. ......... 10.58 ........ 16.00 ......... 10.00
ส.ค. ......... 16.71 ........ 18.00 ......... 10.00
ก.ย. ......... 17.83 ........ 19.00 ......... 15.00
ต.ค. ......... 19.00 ........ 19.00 ......... 19.00
พ.ย. ........... - ............... - ............... -
ธ.ค. ......... 18.00 ........ 18.00 ......... 18.00


ราคาแตงโมตอปิโด เบอร์ใหญ่ เฉลี่ยรายเดือน ประจำปี 2554
เดือน...........เฉลี่ย............สูงสุด............ต่ำสุด
ม.ค. ........ 17.97 ......... 18.00 ........ 17.00
ก.พ. ........ 18.14 ......... 20.00 ........ 18.00
มี.ค. ........ 18.00 ......... 18.00 ........ 18.00
เม.ย. ....... 17.74 ......... 20.00 ........ 17.00
พ.ค. ........ 17.50 ......... 20.00 ........ 16.00
มิ.ย. ........ 18.07 ......... 20.00 ......... 18.00
ก.ค. ........ 14.39 ......... 18.00 ......... 14.00
ส.ค. ........ 17.73 ......... 20.00 ......... 14.00
ก.ย. ........ 20.00 ......... 20.00 ......... 20.00
ต.ค. ........ 22.00 ......... 22.00 ......... 22.00
พ.ย. ........... - ............... - ............... -
ธ.ค. ....... 18.50 ......... 20.00 .......... 18.00

ที่มา :
http://www.taladsimummuang.com/dmma/portals/pricelistitem.aspx?id=010212010


ราคาสินค้าเกษตร ตลาดไท ประจำวัน....
http://www.talaadthai.com/price/default_new.php?gettid=1&getdate=&pageno=1&selday=&selmonth=&selyear=




แตงโมแจ็คพ็อต คือ แตงโมที่เก็บผลผลิตขายได้ใน วัน/ช่วง ราคาแพงสุด
ยิ่งถ้าได้ไซส์ เกรด เอ. จัมโบ้. ขึ้นห้าง. ด้วยแล้ว ราคายิ่งแพงขึ้นอีก เรียกว่า "ใหญ่กว่าเป็นต่อ" ไง

วางแผนการปลูกใหม่ ปลูกวันไหน (วันในปฏิทิน) แล้วจะเก็บขายได้ ณวันที่ (ในปฏิทิน) ที่เราต้องการ

กับถ้าเป็น แตงโมไร้เมล็ด. แตงโมสี่เหลี่ยม. แตงโมสามเหลี่ยมหัวใจ. ราคาจะขนาดไหน

เลิก - เลิก - เลิก.....ทำแบบเดิมเดิม ทำแบบข้างบ้าน ได้แล้ว ทำไปก็แค่นั้น ไม่ขาดทุนก็กำไรนิดหน่อย

ไม่รู้ต้องเรียน ไม่เป็นต้องหัด ..... รู้แล้ว เป็นแล้ว อยู่กับเราตลอดชีวิต ถ่ายทอดให้ลูกหลานได้ด้วย

ไม่มีใครช่วยเราได้ ถ้าเราไม่ช่วยตัวเอง.....ถ้าไม่ออกจากปลักความคิดเดิมๆ วิธีการเดิมๆ ชีวิตนี้ไม่มีอะไรดีชึ้นเลย



.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 18/12/2011 8:27 am, แก้ไขทั้งหมด 5 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
fivestar
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 28/11/2011
ตอบ: 19

ตอบตอบ: 15/12/2011 8:38 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ขอบคุณค่ะลุงผู้พัน

ตอนนี้กำลังปรับกลยุทธ์ เปิดตำราแบบอุตลุตเลยค่ะ เพราะธรรมชาติไม่มีสูตรสำเร็จจริงๆ

แตงโมปลูกให้ออกเดือนตุลา แสดงว่าต้องปลูกปลายฝนเดือนสิงหา ตลอดเวลาที่ปลูกจะเจอฝนเต็มๆ
ซึ่งทำยากมากและเสี่ยงต่อการขาดทุนสูงค่ะลุงผู้พัน



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 15/12/2011 9:05 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ก็เพราะ "ฝน" นี่แหละ ถึงทำให้คนไม่กล้าปลูกแตงโมไงล่ะ ในขณะที่คนกินแตงโมเขารออยู่ .... เชื่อมั้ย คนเราแพ้ชนะกันที่โอกาส
ทำไมไม่ทำวิกฤติให้เป็นโอกาส

ใช้ เทคโนโลยีชาวบ้านนำ เทคโนโลยีวิชาการเสริม สองเทคโนผสมผสานกัน เอาชนะฝนให้ได้.....ในโลกนี้ไม่มีใครเก่งกว่าใคร
มีแต่คนที่ใจถึงกว่าเท่านั้น.....ไม่คิดใหม่ทำใหม่ แล้วจะได้สิ่งใหม่ๆที่ดีกว่าเดิมได้ยังไง

เนื่อที่ตั้ง 60 ไร่ ตัดมาแค่ไร่เดียว ทำโรงเรือนกันน้ำฝน ออกแบบให้หลังคา ปิด-เปิด ได้ ทำระบบแปลงปลูกแบบ ซ้ำที่-ไม่ซ้ำดิน คือ
ปลูกในถุง แล้วยกถุงหนีน้ำ กรณีที่น้ำท่วม ถ้าน้ำไม่ท่วมก็ไม่ต้องยกถุง เพียงแต่ทำสันแปลงให้สูงๆ หน่อย เลี้ยงเถาให้เลื้อยขึ้นบน
เอาต้นละ 1 ผล บำรุงให้ได้ เกรด เอ.จัมโบ้. ก็น่าจะ (เน้นย้ำ...น่าจะ) ได้ โถ....แบบนี้ รุ่นเดียวก็ได้ทุนคืนแล้ว

คิดดู....แตงโม แดง/เหลือง, ไร้เมล็ด, สามเหลี่ยม-สี่เหลี่ยม 1 ไร่แจ็คพ็อต รายได้เท่ากับแตงโมแดงธรรมดาๆ ในฤดูกาล 10-20 ไร่
แล้วจะไปทนเหนือยทำ 60 ไร่ ทำไม

เกษตรพอเพียง ตามแนวพระราชดำริ ไม่ได้สอนให้ปฏิเสธเทคโนโลยี แต่สอนให้ใช้เทคโนโลยีให้เป็น ใช้อย่างคุ้มค่า ต้องมุ่งมั่น
ทำให้ดีขึ้นกว่าที่ทำอยู่ ณ วันนี้ ต้อง พัฒนา/ปรับปรุง/เปลี่ยนแปลง ตัวเอง ทำให้สิ่งที่ทำกำลังอยู่นั้นดีขึ้น ดีขึ้น อย่างมีหลักการและ
เหตุผล ยืนอยู่บนขาของตัวองได้


ความยากจนในกลุ่มเกษตรกรทุกวันนี้ เกิดจากเกษตรกรไม่เปิดใจรับเทคโนโลยีใหม่ๆ ทั้งเทคโนโลยีชาวบ้าน ทั้งเทคโนโลยี
วิชาการ เอาแต่ทำตามประเพณี เคยทำยังก็ทำยังงั้น ข้างบ้านทำยังไงก็ทำตาม ทำตามคนที่ล้มเหลว ทำตามกระแส รู้ทั้งรู้ เห็นก็เห็น
คนที่เขาทำแล้วประสบความสำเร็จ แต่ก็ยังปฏิเสธ นอกจากไม่ทำตามแล้วยังหาว่าเขา "บ้า" ซะอีกแน่ะ....แบบนี้ก็สมควรจนต่อไป
หรอก ว่ามั้ย

สังคมโลกปัจจุบันเป็น "โลกแห่งการเรียนรู้" ผู้ที่มีข้อมูลทางวิชาการและข้อมูลทางประสบการณ์มากกว่าย่อมประสบความสำเร็จมากกว่า
การเรียนไม่จำเป็นต้องไปนั่งฟังครูสอนในสถานศึกษา แปลงเกษตร คือ แหล่งเรียนรู้ที่ดีที่สุด ครูสอนที่ดีที่สุด คือ คนในกระจก. การเรียน
ลัด เรียนรู้ด้วยตัวเอง เรียนรู้จากประสบการณ์ของตัวเองของคนอื่น ทั้งที่ล้มเหลวและสำเร็จ เรียนรู้จากคิดเองทำเอง แล้วนำมาวิเคราะห์
เราน่าจะทำแบบไหน

ทำแบบเดิม คงไม่มีอะไรดีกว่าเดิม เพราะความเป็นธรรมชาติเดิมเปลี่ยนแปลงไป ผลรับที่ได้น่าจะเลวร้ายไปกว่าเดิม
นั่นคือ ถอยหลัง ไม่ใช่ก้าวหน้า

ทำตามคนที่ล้มเหลวจะล้มเหลวยิ่งกว่า เพราะไม่รู้สาเหตุแห่งความล้มเหลว เช่น ข้างบ้านใส่ปุ๋ย 1 กส. ตัวเองต้องใส่ 2 กส.
หวังจะให้ได้มากกว่าข้างบ้าน

ทำตามคนที่ประสบความสำเร็จ จะประสบความสำเร็จยิ่งกว่า เพราะรู้แล้วว่าเขาทำอย่างไร ก็จะเอาวิธีนั้นมาต่อยอดกับของตัวเอง
นี่คือ ประสบความสำเร็จยิ่งกว่า


***** NOBODY TOO OLD TO LEARN*****





.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
fivestar
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 28/11/2011
ตอบ: 19

ตอบตอบ: 16/12/2011 8:56 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)





กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 17/12/2011 10:32 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

วิเคราะห์ปัญหาโรคแตงโม โดยอ่าน LINE ธรรมชาติ..."


รูปแปลงเกษตรแบบนี้น่าจะเรียกว่า "ลานวัด" มากกว่าแปลงพืชหรือสวนเกษตร ที่นี่ดู สะอาด-เลี่ยน-เตียน-โล่ง ตามหลักนิยม
(ผิดผิด) ในการทำการเกษตรของเกษตรกรไทยว่า สวนต้องสะอาด ไม่มีวัชพืชแย่งอาหาร แบบนี้ "คนชอบ" แต่ต้นพืช "ไม่ชอบ"
เพราะมันผิดหลักธรรมชาติ ..... เกษตร คือ ธรรมชาติ และธรรมชาติ คือ ความหลากหลาย.... ธรรมชาติ คือ ระบบของการอยู่
ร่วมกัน พึ่งพาซึ่งกันและกัน ด้วย "วิถีแห่งสมดุล" ซึ่งมีทั้งเกื้อกูลกันและทำลายล้างกัน..... เปรียบเสมือน มนุษย์-สัตว์ ที่ไม่อาจ
ดำรงชีวิอยู่ได้ด้วยตัวเองเดี่ยวๆ มนุษย์ต้องประกอบด้วยสารพัดเผ่าพันธุ์ สัตว์ก็ต้องประกอบด้วยสารพัดชนิดพันธุ์ ลักษณะอาการ
สารพัดสายพันธุ์ ทำให้เกิดการเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ทำให้อยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืนกับทั้ง การทำลายซึ่งกันและกัน ทำให้เกิดพัฒนา
การ เพื่อไปสู่ความยั่งยืน

ดังนั้นในแปลงแตงโมควรต้องมีพืชอื่น แซม-แทรก บ้างตามความเหมาะสมของแตงโม ...... คำว่า "ความเหมาะสม" ในที่นี้หมายถึง
การมีพืชอื่นเป็นเพื่อน (ประมาณนี้) แก่แตงโม โดยแตงโมเป็นผู้ได้รับผลประโยชน์สูงสุด นั่นคือ เราจะต้องเป็นผู้จัดสรรพื้นที่ให้พืชอื่น
อยู่บ้าง

การมีพืชอื่น แซม/แทรก โดยพืชอื่นนั้นจะคายน้ำออกมาทำให้เกิดความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศ ส่งผลดีต่อแตงโม .... กรณีพืช แซม/แทรก
แย่งอาหารแตงโม สามารถแก้ไขหรือป้องกันได้โดยการจัดระยะหรือตำแหน่งปลูกให้ระบบรากห่างกัน ทั้งนี้ ระบบรากของแตงโมกับระบบราก
ของพืช แซม/แทรก ไม่ยาวจนเกินควบคุมได้


แตงโมเป็นพืชอวบน้ำ เขาต้องการน้ำลอด 24 ชม. ตั้งแต่เกิดจนตาย ....สังเกตุ ต้น-ใบ ใหญ่-หนา-อวบ กับปริมาณน้ำในผล นี่คือ
ลักษณะเบื้องต้นของพืชอวบน้ำ .... แตงโม-แคนตาลูป ต้องการน้ำจากทางรากวันละ 1.4 ล. กับต้องการน้ำทางใบ โดยคนสเปร์ยให้
กับน้ำในอากาศ (ความชื้นสัมพัทธ์) วันละ 0.4 ล. ..... ข้อมูล/ นศ.สจล.ฝึกงานที่อิสราเอล.

แตงโมแปลงนี้ เนื้อดินเป็นดินทรายร่วน (เหมือนทะเลทราย) นอกจากไม่อุ้มน้ำแล้วน้ำยังระเหยหายไปในอากาศในเวลาอันรวดเร็ว
ด้วย......การปรับปรุงบำรุงดิน สร้างดินให้พร้อมอย่างแท้จริงก่อนลงมือเพาะปลูก นอกจากรุ่นแรกจะได้ทุนคืนแล้ว ยังผลทางบวก
ไปยังรุ่นหน้า ถึงรุ่นต่อๆไป หรือแม้แต่จะเลิกปลูกแตงโม เปลี่ยนไปปลูกพืชอื่น ก็จะได้อานิสงจากดินดีนี้ด้วย เท่ากับเป็นการลงทุน
ครั้งเดียว แล้วหากินไปนานเลย

ในเนื้อดิน "ไม่มี" อินทรีย์วัตถุ นั่นหมายถึง ไม่มีสารอาหารอินทรีย์ ไม่มีจุลินทรีย์ผู้สร้างสารอาหารอินทรีย์ ไม่มีตัวอุ้มน้ำทั้งเพื่อให้รากดูด
ไปกินและสร้างความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศเลย.....เทคนิคเพาะปลูกพืชที่ถูกต้องที่สุด คือ อินทรีย์นำ-เคมีเสริม ตามความเหมาะสมของ
แตงโม.... นั่นคือ ปลูกแตงโมต้องตามใจแตงโม ไม่ใช่ตามใจคน

ดินไม่ดี เพียงอย่างเดียวแต่ส่งผลเสียต่อแตงโมหลายประการ อาทิ
- เป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค (ไฟธอปเทอร์ร่า. พิเทียม. ฟูซาเลียม. สเคลโรเทียม. ไรซ็อคโฑเนีย. รากปม. ฯลฯ เกิดเองตาม
ธรรมชาติ)
- ต้นไม่สมบูรณ์ ให้ผลผลิไม่ดี (คุณภาพ/ปริมาณ) ต้นทุนค่า ปุ๋ย/สารเคมี สูญเปล่า
- ดินดี ปัญหาทุกอย่างที่เกิดจากดินไม่ดี จะไม่เกิดขึ้นเลย

พืชปลูกบนดิน เพราะฉนั้นดินต้องมาก่อน ดินดีสำเร็จแล้วกว่าครึ่ง ดินเป็นแหล่งกำเนิดทุกอย่างของพืช

ดินที่มีสารอาหารอินทรีย์จะตอบสนองต่อปุ๋ยเคมีดี ให้เพียงน้อยนิด แตงโตก็จะโตได้โตดี โตวันโตคืน โตจนข้างบ้านอิจฉา ..... ตรงกัน
ข้าม ถ้าดินไม่ดี ไม่มีอินทรีย์วัตถุ ดินจะตรึงปุ๋ยเคมีเอาไว้ ไม่ปล่อยให้พืชเอาไปกินได้ แม้จะใส่มากเท่าไหร่พืชก็ไม่ได้กิน ปุ๋ยเคมีที่เหลือ
อยู่ในดินเนื่องจากพืชไม่ได้เอาไปกินนั้น จะเปลียนรูปทางเคมี ทำให้ดินเป็นพิษ ส่งผลเสียต่อต้นแตงโมในทุกรูปแบบ ที่เรียกว่า "ล้มเหลว"
นั่นเอง

จุลินทรีย์ คือ ผู้อารักขาพืช อย่างแท้จริง.....
- จุลินทรีย์ช่วยปรับสภาพโครงสร้างดิน (พีเอช-โปร่ง ร่วนซุย น้ำ อากาศผ่านสะดวก)
- จุลินทรีย์สร้างสารอาหารอินทรีย์ (หลัก/รอง/เสริม/ฮอร์โมน และอื่นๆ) จากอินทรีย์วัตถุ
- จุลินทรีย์ช่วยปลดปล่อยปุ๋ยเคมีให้ออกมาช้าๆ ทันต่อการเอาไปกินของพืช
- จุลินทรีย์สร้างสาร "ท็อกซิก" เพื่อกำจัดเชื้อโรคพืชในดิน
-
(สมาคมอารักขาพืช แห่งประเทศไทย กรรมการบริหาสมาคมล้วนแต่ ปริญญาโท ปริญญาเอก อารักขาพืชด้วยสารเคมียาฆ่าแมลง
เท่านั้น ..... สไตล์นี้ มัน อารักขากรรมการ อารักขาธุรกิจสารเคมียาฆ่าแมลงชัดๆ.....)

พืชตระกูลแตงที่สมบูรณ์ จะต้องไม่มีใบร่วงตั้งแต่ใบแรกโคนเถา ถึงใบสุดท้ายปลายยอดหรือร่วงน้อยที่สุด 1-2-3 ใบเท่านั้น กับลักษณะ
ใบต้อง ใหญ่-หนา-เขียวเข้ม-เส้นใบชัดเจน-หูใบอ้วน-ระยะห่างระหว่าใบต่อใบเหมาะสม

แปลงปลูกในโรงเรือน ไม่มีพืชอื่น แซม/แทรก เพราะภายในโรงเรือนสามารถควบคุม ความชื้นสัมพัทธ์ อุณหภูมิ และสายลม ให้อยู่ภาย
ใต้ความเหมาะสมของแตงโมได้

แปลงปลูกกลางแจ้ง ต้องให้มีน้ำหล่อ (ชุ่ม-โชก-แฉะ) ในร่องระหว่างแปลงปลูก กับทั้งให้มีวัชพืชขึ้น ประปราย-หนาแน่น ทั้งน้ำในร่อง
ที่ระเหยขึ้นมา กับวัชพืชคายน้ำออกมา จะเป็นตัวช่วยสร้างความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศได้เป็นอย่างดี

จัดระเบียบวัชพืชในร่องให้เหมาะสม เมื่อผลแตงโมโตขึ้นมา ให้ไปอยู่ในดงวัชพืช โดยมีวัสดุรองรับไม่ให้ผิวแตงโมสัมผัสพื้นดิน แบบนี้
นอกจากจะได้ผลแตงโมที่มีคุณภาพแล้ว ยังช่วยป้องกันโรคแมลงศัตรูพืชได้อีกด้วย

เกษตรพอเพียง ตามแนวพระราดำริ มิได้ให้ปฏิเสธเทคโนโลยี แต่ทรงสอนให้ "ใช้เป็น-คุ้มค่า" เมื่อเทียบระหว่าง "ต้นทุน-รายได้"
ในรูปของ "เศรษฐศาตร์การลงทุน" .... การทำแบบเดิมๆ ด้วยเทคโนโลยีพื้นบ้าน ด้วยต้นทุนเท่าเดิมหรือสูงกว่าเดิม แต่ผลผลิตที่ได้
กลับได้เท่าเดิมหรือด้อยกว่าเดิม นี่คือ "อยู่กับที่" ซึ่งเท่ากับ "ถอยหลัง" นั่นเอง

แตงโม 60 ไร่ แปลงนี้ ผลผลิตขายส่งตลาดไทย (เกรดคละ....เดา) ได้ราคาอย่างที่ได้ หากพัฒนาเทคนิคการผลิต ให้ได้ผล
ผลิตส่วนหนึ่งขายส่งตลาด อตก. หรือตลาดเยาวราช. หรือตลาดซอยทองหล่อ. หรือขายส่งโงแรม. หรือขายส่งตามออร์เดอร์
หรือขายให้นักเที่ยว ชม-ชิม-ชอป ถึงสวน น่าจะ (เน้นย้ำ...น่าจะ) ได้ราคาดีกว่านี้



คิดแบบคนไม่มีปริญญา (ลุงคิม) ถ้าส่งออกไม่ได้ เศรษฐกิจชาติไม่โต....ว่ามั้ย


วันนี้ ไต้หวัน ฮ่องกง จีน ญี่ปุ่น ยังต้องการแตงโมไทยอีกมาก แต่เกษตรกรไทยไม่มีศักยภาพในการผลิตให้ได้เกรดตามที่ตลาด
ต่างประเทศต้องการ




.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
fivestar
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 28/11/2011
ตอบ: 19

ตอบตอบ: 17/12/2011 9:05 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ขอบคุณค่้ะลุงผู้พัน

ข้อแนะนำที่ลุงให้มานั้นถูกต้องทั้งหมด แต่แก้ไขอะไรไม่ทันแล้วค่ะลุง เพราะถึงเวลานี้อายุของแตงโมมันผ่านมาครึ่งชีวิตแล้วค่ะ
คงต้องรอรุ่นต่อไป หนูจะเอาประสบการณ์ในครั้งนี้และข้อชี้แนะของลุงไปใช้ในรุ่นหน้าค่ะ



กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 20/12/2011 1:32 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

กระทู้ยกมา ........ เหตุผล :

- เป็นเรื่องแตงโมเหมือนกัน
- จากเจ้าของกระทู้เริ่มต้น คนเดียวกัน
- สมช.อ่าน จะได้ตามเรื่องแบบ "ต่อ" กัน
- ไม่รกเว้บ....

ลุงคิมครับผม....


http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=posting&mode=editpost&p=19564&sid=6a84b84dde136b8e0b441ece1d2f32b1


----------------------------------------------------------------------------------------------




แตงโมกำลังจะล้นตลาด

เข้ามาแจ้งข่าวค่ะ เผื่อใครที่คิดจะปลูกแตงโมช่วงนี้ได้รับทราบเอาไว้

บริษัทผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์แตงโมแห่งหนึ่ง ได้แจ้งข่าววงในมาว่า หลังสถานการณ์น้ำท่วมที่ผ่านมา บริษัทได้จำหน่ายเมล็ดพันธุ์
แตงโมออกไปแล้ว 7 ตัน (7,000 กก.) หากมีการปลูกทั้งหมดจะได้เนื้อที่ทั้งหมดกว่าแสนไร่ และหากผลิตดังกล่าวออกมา
พร้อมกันประมาณเดือน ก.พ.-มี.ค ชาวสวนคงได้รับผลกระทบเรื่องราคาอย่างแน่นอน

จึงนำข่าวนี้มาบอกต่อเพื่อเป็นแนวทางประกอบการตัดสินใจปลูกแตงโมในช่วงนี้ค่ะ



fivestar




.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 20/12/2011 3:48 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 20/12/2011 3:24 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)





ประเทศไทยมีพื้นที่ ปลูกแตงโมทั้งหมด 26,086 ไร่ แยกเป็น
- แตงโมเนื้อ 25,888 ไร่ คือแตงโมทั่วไปที่ปลูกเพื่อเก็บผลแก่ (บริโภคเป็นผลไม้)
- แตงโมเมล็ด 194 ไร่ คือแตงโมที่ปลูกเพื่อให้เมล็ด
- แตงโมอ่อน 4 ไร่ คือแตงโมที่ปลูกเพื่อเก็บผลอ่อน


สถานการณ์ในปัจจุบันของแตงโมโดยทั่วไป
การผลิตแตงโม จะมีผลผลิตออกมามากที่สุด ในช่วงปลาย เดือนพฤศจิกายน-กลางเดือนธันวาคม โดยจะเป็นแตงโมที่ปลูกตามกาล
สำหรับแตงโม ที่ปลูกหลังจาก การทำนา ผลผลิตจะออกสู่ตลาด ราวเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม

สภาพ แวดล้อมที่เหมาะสมในการปลูกแตงโม
แตงโมปลูกได้ดีในดินร่วนปนทราย ทั่วทุกภาคของประเทศ สภาพความเป็นกรด-ด่างของดิน ที่ pH (พี เอช เค้าเขียนตัวพีเล็ก(p)
กับตัวเอชใหญ่ (H) นะ ตำราหลายเล่มยังเขียนผิดอยู่) ระหว่าง 5.5-6.8 สภาพแปลงควรระบายน้ำได้ดี

พันธุ์ ที่ส่งเสริม
พันธุ์เบา คือพันธุ์ ซุการ์เบบี้ ลักษณะผลทรงกลม ผิวสีเขียวเข้ม เนื้อแดง เป็นพันธุ์ที่นิยมกันมานานแล้ว

พันธุ์ลูกผสมต่างๆ ได้แก่ แตงโมเหลือง แตงโมแดง เป็นแตงโมทรงผลกลม รสชาติหวาน สีเนื้อแดง หรือ เหลือง ตามความต้องการ
ของตลาด

ช่วงเวลาปลูกที่เหมาะสม
แตงโมปลูกได้ ตั้งแต่ต้นเดือนพฤศจิกายน ไปจนถึงเดือนมีนาคม

การปลูกแตงโม
ให้แต่ละหลุมในแถวห่างกัน 90 เซนติเมตร ส่วนแถวของแตงให้ห่างจากกัน เท่ากับความยาวของราก ประมาณ 2-3 เมตร แล้วขุด
หลุมในดินทรายให้ลึกประมาณ 50 เซนติเมตร ส่วนดินเหนียว ให้ลึกประมาณ 10 เซนติเมตร ใส่ปุ๋ยคอกคลุกเคล้า กับดินบน ใส่
รองก้นหลุม 4-5 ลิตร ทิ้งไว้ 1 วัน แล้วจึงปลูก โดยหยอดหลุมละ 5 เมล็ด



[img]


ปุ๋ยและการให้ปุ๋ยแตงโม
- ปุ๋ยคอก การใส่ปุ๋ยคอกให้แก่แตงโมก็มีความสำคัญมาก เพราะปุ๋ยคอกช่วยทำให้ดินร่วนโปร่ง ช่วยทำให้ดินมีธาตุอาหารมากขึ้น
แล้วยังช่วยทำให้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์อยู่ในสภาวะสมดุลเป็นประโยชน์ต่อพืชมากขึ้นด้วย ควรใส่ปุ๋ยคอกในพื้นที่ปลูกจริง อัตราไร่
ละ 2-4 ตัน

- ปุ๋ยวิทยาศาสตร์หรือปุ๋ยเคมี ควรใช้ปุ๋ยเคมีอัตราส่วน 1 : 1 : 2 ซึ่งได้แก่ปุ๋ยเคมี สูตร 10-10-20 เป็นต้น หรือใช้ปุ๋ยสูตรใกล้เคียง
ได้ เช่น ปุ๋ยสูตร 13-13-21 ใส่ในอัตราไร่ละ 100-150 กิโลกรัม จะตัดสินใจใส่ปุ๋ยมากหรือน้อยก็ต้องดูความอุดมสมบูรณ์ของดิน
และราคาแตงโมประกอบกันด้วย ปกติแล้วจะใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ประมาณ 120-150 กก./ไร่ต่อฤดูปลูก

- ผู้ปลูกแตงโมส่วนใหญ่ยังนิยมใส่ปุ๋ยเคมี ลงบนผิวดิน โดยหว่าน หรือวางเป็นกระจุกหน้าดิน แล้วรดน้ำเพื่อให้ปุ๋ยละลายน้ำลง
ไปสู่รากแตงดม การใส่ปุ๋ยวิธีดังกล่าวนี้ เป็นวิธีที่จะทำให้เปลืองปุ๋ยมาก รากพืชจะได้รับธาตุไนโตรเจนกับโปแตสเซียมจากปุ๋ยเคมี
เท่านั้น แต่จะไม่ได้รับธาตุฟอสฟอรัสจากปุ๋ยเคมีนั้นเลย หรือได้รับก็ได้รับเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เพราะตามปกติธาตุฟอสฟอรัสจะ
ไม่เคลื่อนย้ายจากผิวหน้าดินลงไปสู่รากแตงโมแต่อย่างใด ซึ่งธาตุฟอสฟอรัสนั้นก็เป็นธาตุที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของแตงโม
มากพอสมควรทีเดียว

- ฉะนั้น การใส่ปุ๋ยเคมี จึงควรใส่ไว้ใต้ดินเป็นกลุ่ม ๆ เช่น ใส่รองก้นหลุมก่อนปลูก หรือใส่ไว้ใต้ผิวดินห่างจากโคนต้นแตงโม สัก 1
ฟุต ใส่เป็นกลุ่ม แตงโมจะได้รับปุ๋ยอย่างเต็มที่

- ตารางต่อไปนี้เป็นตารางการใส่ปุ๋ยให้กับต้นแตงโมโดยแยกแม่ปุ๋ยเดี่ยว ๆ ใส่ตามความต้องการตามธรรมชาติของแตงโม

ต้องคำนึงถึงอยู่เสมอว่า รากแตงโมส่วนใหญ่เดินตามแนวนอนขนานกับผิวดิน และเถาของมัน ฉะนั้นการใส่ปุ๋ยหลังปลูกควรใส่ที่
ปลายราก และต้องไม่ใส่มากจนปุ๋ยเข้มข้นเกินไป และต้องให้ปุ๋ยอยู่ในรูปที่ค่อย ๆ ละลายน้ำ เพื่อให้รากดูดซับเอาไปใช้ได้พอดี


เวลาของการใส่ปุ๋ยเพิ่มภายหลังปลูก
- การใส่ปุ๋ยเสริมครั้งที่ 1 ใส่แบบโรยรอบต้นด้วยยูเรีย ใส่เมื่อต้นแตงโมมีใบจริงประมาณ 5 ใบ (ปุ๋ยยูเรียโรยที่ผิวดินได้)

- การใส่ปุ๋ยเสริมครั้งที่ 2 ใส่ปุ๋ยยูเรียด้านข้างแถวของต้นแตงโมใส่เมื่อเถาแตงโมทอดยาวได้ประมาณ 1 ฟุต ควรพรวนดินก่อน
แล้วจึงใส่ปุ๋ยแล้วปิดคลุมด้วยฟาง

- การใส่ปุ๋ยเสริมครั้งที่ 3 ใส่ปุ๋ยยูเรียและโปแตสเซียมคลอไรด์ โดยใส่ด้านข้างแถวของต้นแตงโม ใส่เมื่อเถาแตงโมมีความยาว
ได้ประมาณ 7 ฟุต หรือประมาณ 90 เซนติเมตร (ปุ๋ยทั้งสองชนิดนี้โรยบนผิวดินได้)

การให้น้ำ และการดูแลรักษาแปลง
ตามธรรมชาติต้นแตงโมต้องการผิวดินชุ่มชื้น แต่ไม่ถึงกับแฉะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตอนที่ผลแตงโมกำลังเจริญเติบโต เป็นตอน
ที่ต้นแตงโมต้องการน้ำมากการให้ความชุ่มชื้นแก่ดินในแปลงควรให้ทั้งแปลงเพื่อป้องกันไม่ให้หน้าดินแห้งแข็งและจับปึก ซึ่ง
จะทำให้ดินขาดอากาศอ๊อกซิเจน ถ้าดินขาดอากาศเมื่อใด รากแตงโมจะหยุดชะงักการเจริญเติบโตเมื่อนั้น ซึ่งหมายถึงว่าต้นแตงโม
จะได้รับน้ำ และธาตุอาหารอยู่ในขอบเขตที่จำกัดไปด้วย ดินที่ขาดน้ำแล้วแห้งแข็งทำให้ขาดอากาศไปด้วยนั้นคือดินเหนียว และ
ดินที่ค่อนข้างหนัก ส่วนดินทรายและดินร่วนทราย รากแตงโมจะไม่ขาดอากาศ แม้ว่าจะขาดน้ำก็ตาม ดินร่วนทรายและดินทรายสามารถ
ไถพรวนในหน้าดินลึกมาก ๆ ได้ เพื่อให้สามารถยึดจับความชื้นที่เราให้ไว้ได้มากขึ้น ส่วนดินเหนียวนั้นไม่สามารถไถพรวนให้ลึก เท่าดิน
ทราย หรือดินร่วนทรายได้ เพราะเนื้อดินทั้งเหนียวและแน่นอุ้มน้ำไว้ในตัวได้มากกว่าดินทราย แต่ก็คายน้ำออกจากผิวดินได้ไวมาก และ
ดูดซับความชื้นได้ตื้นกว่าดินทราย หรือดินร่วนทราย จึงทำให้ต้องให้น้ำกับต้นแตงโมที่ปลูกในดินเหนียวมากกว่า คือต้องให้น้ำอย่างน้อย
5 วันครั้ง หรือรดน้ำทุกวัน ๆ ละครั้ง

ประโยชน์ของการคลุมด้วยฟาง
ตามธรรมชาติต้นแตงโมต้องการผิวดินชุ่มชื้น แต่ไม่ถึงกับแฉะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตอนที่ผลแตงโมกำลังเจริญเติบโต เป็นตอนที่ต้น
แตงโมต้องการน้ำมากการให้ความชุ่มชื้นแก่ดินในแปลงควรให้ทั้งแปลงเพื่อป้องกันไม่ให้หน้าดินแห้งแข็งและจับปึก ซึ่งจะทำให้ดิน
ขาดอากาศอ๊อกซิเจน ถ้าดินขาดอากาศเมื่อใด รากแตงโมจะหยุดชะงักการเจริญเติบโตเมื่อนั้น ซึ่งหมายถึงว่าต้นแตงโมจะได้รับน้ำ
และธาตุอาหารอยู่ในขอบเขตที่จำกัดไปด้วย ดินที่ขาดน้ำแล้วแห้งแข็งทำให้ขาดอากาศไปด้วยนั้นคือดินเหนียว และดินที่ค่อน
ข้างหนัก ส่วนดินทรายและดินร่วนทราย รากแตงโมจะไม่ขาดอากาศ แม้ว่าจะขาดน้ำก็ตาม ดินร่วนทรายและดินทรายสามารถไถพรวน
ในหน้าดินลึกมาก ๆ ได้ เพื่อให้สามารถยึดจับความชื้นที่เราให้ไว้ได้มากขึ้น ส่วนดินเหนียวนั้นไม่สามารถไถพรวนให้ลึก เท่าดินทราย
หรือดินร่วนทรายได้ เพราะเนื้อดินทั้งเหนียวและแน่นอุ้มน้ำไว้ในตัวได้มากกว่าดินทราย แต่ก็คายน้ำออกจากผิวดินได้ไวมาก และ
ดูดซับความชื้นได้ตื้นกว่าดินทราย หรือดินร่วนทราย จึงทำให้ต้องให้น้ำกับต้นแตงโมที่ปลูกในดินเหนียวมากกว่า คือ ต้องให้น้ำอย่าง
น้อย 5 วันครั้ง หรือรดน้ำทุกวัน ๆ ละครั้ง

การจัดเถาแตงโม
ถ้าปล่อยให้เถาแตงโมเลื้อยและแตกแขนงไปตามธรรมชาติเถาแตงของแต่ละต้นก็จะเลื้อยทับกัน และซ้อนกันจนหนาแน่นทำให้
ผลผลิตลดน้อยลง สืบเนื่องมาจากแมลงช่วยผสมเกสรได้ไม่ทั่วถึงเพราะไม่อาจแทรกหาดอกได้ทั้งหมด ฉะนั้น เมื่อเถาแตงโม
เจริญเติบโตไปจนมีความยาว 1-2 ฟุต ควรได้มีการจัดเถาให้เลื้อยไปในทางเดียวกันและตัดเถาให้เหลือไว้ต้นละ 4 เถา เถาที่เป็น
เถาแขนงก็จะแตกแขนงต่อไปได้อีกเรื่อย ๆ จึงควรริดแขนงที่ไม่จำเป็นเหล่านั้นออก ให้คงเหลือไว้ต้นละ 4 เถา ซึ่งเป็นเถาที่สมบูรณ์
ที่สุดไว้ตามเดิม

การช่วยผสมเกสรด้วยมือ (การต่อดอก)
ผู้ปลูกแตงโม มักประสบปัญหาแตงโมไม่ติดผล เนื่องจากไม่มีแมลงช่วยผสม เพราะใช้สารฆ่าแมลงฉีดพ่นต้นแตงโมมากไปและไม่
เลือกเวลาฉีด ทำให้แมลงที่ช่วยผสมเกสร เช่น ผึ้งถูกสารฆ่าแมลงตายหมด จึงเกิดปัญหาไม่มีผึ้งช่วยผสมเกสรจึงต้องใช้คนผสม
แทน เราสามารถผสมพันธุ์แตงโมได้ตั้งแต่เวลา 06.00 น. ถึง 10.00 น. หลังจากเวลา 10.00 น. ไปแล้ว ดอกตัวเมียจะหุบและ
ไม่ยอมรับการผสมเกสรอีกต่อไป การผสมด้วยมือทำได้โดยเด็ดดอกตัวผู้ที่บานมาปลิดกลีบดอกสีเหลืองของดอกตัวผู้ออกเสียก่อน
จะเหลือแต่อับเรณู ซึ่งมีละอองเกสรตัวผู้เกาะอยู่ทั่วไป จากนั้นจึงคว่ำดอกตัวผู้ลงบนดอกตัวเมียให้อับเรณูของดอกตัวผู้ แตะสัมผัสกับ
เกสรตัวเมียโดยรอบให้ละอองเกสรตัวผู้สีเหลืองจับอยู่บนเกสรตัวเมียทั่วกันทั้ง
ดอกก็เป็นอันเสร็จสิ้นการผสมซึ่งวิธีนี้ชาวบ้าน
เรียกว่า "การต่อดอก"
- การต่อดอกโดยเด็ดดอกตัวผู้ที่กำลังบานแล้วปลิดกลีบดอกสีเหลืองออกไห้หมด
- นำดอกตัวผู้ที่ปลิดกลีบดอกออกแล้วคว่ำลงนดอกตัวเมีย


การปลิดผลทิ้ง
เลี้ยงแตงโมไว้เถาละ 1 ลูก
แตงโมผลแรกที่เกิดจากเถาหลัก ส่วนใหญ่มีขนาดเล็กและคุณภาพต่ำ เราควรปลิดทิ้งตั้งแต่ลูกยังเล็ก ๆ และแตงที่มีลักษณะผลบิด
เบี้ยวก็ควรปลิดทิ้งด้วย ขนาดที่ปลิดทิ้งไม่ควรปล่อยให้โตเกินลูกปิงปอง หรือผลฝรั่ง แตงที่ปลิดทิ้งนี้สามารถขายเป็นผลแตงอ่อน
ได้ และตลาดยังนิยมอีกด้วย ควรเลี้ยงต้นแตงโมไว้เถาละลูกจะดีที่สุด เถาแตงโมเถาหนึ่ง ๆ อาจติดเป็นผลได้หลายผล ให้เลือกผล
ที่มีก้านขั้วผลขนาดใหญและรูปทรงผลได้รูปสม่ำเสมอทั้งผลไว้ ซึ่งจะทำให้ผลแตงโมมีขนาดใหญ่และมีคุณภาพสูง เพราะขนาดก้าน
ขั้วผลมีความสัมพันธ์กับขนาดของผล ถ้าก้านขั้วผลใหญ่ ผลก็จะใหญ่ ถ้าก้านขั้วผลเล็กผลก็จะเล็ก


การปฏิบัติต่อผลแตงโม ภายหลังผสมติดแล้ว
ดอกตัวเมียของแตงโม ที่ได้รับการผสมเกสรอย่างสมบูรณ์ก็จะเจริญเติบโตอย่างสม่ำเสมอติดต่อกันไปวันต่อวัน เมื่อผลแตงโมมี
ขนาดเท่ากับกะลามะพร้าว ควรเอาฟางรองใต้ผล เพื่อไม่ให้ผิวผลสัมผัสกับดินโดยตรง ควรจะกลับผลแตงโมให้ด้านที่สัมผัสฟางถูก
แสงแดดก่อนเก็บเกี่ยว 10 วัน เพื่อให้ผลแตงมีสีสม่ำเสมอทั่วทั้งผล จะทำให้แตงโมมีรสหวานมากขึ้นอีก


การเก็บผลแตงโม
แตงโมเป็นพืชชนิดหนึ่ง ที่ผลแก่แล้วไม่แสดงอาการว่าสุกงอมให้เห็นเหมือนผลมะเขือเทศ หรือพริก ซึ่งจะเปลี่ยนสีเป็นสีแดง
หรือไม่เหมือนกับมะม่วง ซึ่งทั้งเปลี่ยนสีแล้วยังมีกลิ่นหอมด้วย ฉะนั้นการดูว่าแตงโมแก่เก็บได้หรือยัง จึงต้องพิถีพิถันมากกว่าปกติ
อีกเล็กน้อย คือ

- คาดคะเนการแก่ของผลแตงโมด้วยการนับอายุ ซึ่งขึ้นอยู่กับพันธุ์ของแตงโม และอุณหภูมิของอากาศ
- แตงโมพันธุ์เบา (ชูการ์เบบี้ ผลกลมสีเขียวคล้ำ) จะแก่เก็บได้ภายหลังดอกบาน ประมาณ 35-42 วัน
- แตงโมพันธุ์หนัก (ชาร์ลสตันเกรย์ผลยาวสีเขียวอ่อนมีลาย) จะแก่เก็บได้ภายหลังดอกบานประมาณ 42-45 วัน
- คาดคะเนการแก่ของผล ด้วยการดูลักษณะที่พบได้ทั่วไปเมื่อแตงโมแก่
- มือเกาะที่อยู่ใกล้กับขั้วของผลมากที่สุดเปลี่ยนเป็นสีเหลืองและแห้งเป็นบางส่วนจากปลายมาหาโคน

- วัดความแก่อ่อนของผลแตงโมได้จากการดีดฟังเสียงหรือตบผลเบา ๆ ฟังเสียงดูถ้ามีเสียงผสมกันระหว่างเสียงกังวานและเสียงทึบ แตง
จะแก่พอดี (แก่ 75%) มีเนื้อเป็นทรายถ้าดีดแล้วเป็นเสียงกังวานใส แสดงว่าแตงยังอ่อนอยู่ ถ้าดีดแล้วเสียงทึบเหมือนมีลมอยู่ข้างใน
แตงจะแก่จัดเกินไปที่ชาวบ้านเรียกว่า "ไส้ล้ม" (แต่วิธีนี้ใช้ไม่ได้กับผลแตงที่เป็นโรคเถาตาย ควรเก็บผลตอนบ่ายไม่ควรเก็บผล
ตอนเช้าเพราะจะทำให้ผลแตงแตกได้

- สังเกตนวลของผล ถ้าจางลงกว่าปกติแสดงว่าแตงเริ่มแก่


โรคและศัตรูพืชแตงโม.....(คลิก ลิงค์อ้างอิง)




ภาพนี้ทดลองปลูกแตงโมที่คลุมด้วยตาข่ายชนิดต่างๆ













http://www.surin.rmuti.ac.th/websurin/suriyon/index.php?option=com_content&view=article&id=20&Itemid=30

http://www.surin.rmuti.ac.th/websurin/suriyon/index.php?option=com_content&view=article&id=20&Itemid=30







.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
fivestar
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 28/11/2011
ตอบ: 19

ตอบตอบ: 21/12/2011 12:44 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

kimzagass บันทึก:
กระทู้ยกมา ........ เหตุผล :

- เป็นเรื่องแตงโมเหมือนกัน
- จากเจ้าของกระทู้เริ่มต้น คนเดียวกัน
- สมช.อ่าน จะได้ตามเรื่องแบบ "ต่อ" กัน
- ไม่รกเว้บ....

ลุงคิมครับผม....


.


เอาข่าววงในที่เกษตรกรน้อยคนจะรู้มาบอกต่อ ลุงผู้พันกลับบอกว่ารกเว้ปฯ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 21/12/2011 6:07 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

fivestar บันทึก:
kimzagass บันทึก:
กระทู้ยกมา ........ เหตุผล :

- เป็นเรื่องแตงโมเหมือนกัน
- จากเจ้าของกระทู้เริ่มต้น คนเดียวกัน
- สมช.อ่าน จะได้ตามเรื่องแบบ "ต่อ" กัน
- ไม่รกเว้บ....

ลุงคิมครับผม....


.


เอาข่าววงในที่เกษตรกรน้อยคนจะรู้มาบอกต่อ ลุงผู้พันกลับบอกว่ารกเว้ปฯ



ลุงคิมหมายถึง "เรื่องเดียวกัน จาก สมช.คนเดียวกัน" เอามารวมไว้ในกระทู้เดียวกันแล้วก็เดินเรื่องไปตามเพลง

แต่ถ้าเป็น "เรื่องเดียวกัน แต่จาก สมช.คนละคน" โดย สมช.คนใหม่ตั้งกระทู้ขึ้นมาใหม่ ก็แยกไว้คนละกระทู้ เมื่อมี COMMENT มาอีก
ก็ต่อท้ายไปเรื่อยๆ

ลุงคิม "มือใหม่ อ่อนหัด" มากๆ เรื่อง NET ผิด/ถูก - ดี/ไม่ดี ยังไง แนะนำได้นะ



.




.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©