-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ปัญหาเกษตร ทางวิทยุ-โทรศัพท์ 22 DEC
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ด้วงแรดกินมะพร้าว
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ด้วงแรดกินมะพร้าว

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
mana1908
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 23/09/2011
ตอบ: 1

ตอบตอบ: 21/12/2011 9:54 pm    ชื่อกระทู้: ด้วงแรดกินมะพร้าว ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ลุงคิมครัับขอสอบถามวิธีปราบหรือป้องกัน ด้วงแรดกินมะพร้าวโดยไม่ใช้สารเคมี ทั้งต้นอ่อนและต้นแก่ ด้วยครับ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 21/12/2011 10:08 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)


ด้วงแรดมะพร้าว ตัวเมีย....


http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=maykurokuro&group=1



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 21/12/2011 10:15 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)












ด้วงแรดมะพร้าว ตัวเต็มวัยมีลำตัวสีน้ำตาลแดงเกือบดำ มีขนสีน้ำตาลอ่อนที่ด้านข้างของส่วนหัว อก ขา และด้านล่างของลำตัว

- เพศผู้มีเขาคล้ายนอแรดที่ส่วนหัวค่อนข้างยาว
- เพศเมียคล้ายกับเพศผู้ แต่มีเขาสั้น และที่ส่วนปลายของท้องด้านล่างมีขนหนาแน่นกว่าในเพศผู้

เขตแพร่กระจาย พบกว้างขวางในเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ขนาด 37-45 มิลลิเมตร

การเพาะเลี้ยง
เนื่องจากด้วงตัวเต็มวัยเป็นแมลงศัตรูพืชพบเจาะกินยอดอ่อนมะพร้าว และปาล์มน้ำมัน ทำให้ยอดมะพร้าวที่แตกออกมาเห็น
ใบหักเสียหาย ทางมะพร้าวและปาล์มที่ตัดกองไว้ในสวนเป็นแหล่งเพาะอาศัยของด้วง โดยการวางไข่ และเมื่อฟักเป็นหนอนก็
จะเจริญเติบโตกัดกินอยู่ด้านล่าง หรือกินอยู่ในตอมะพร้าว

ด้วงชนิดนี้หาง่ายพบทั่วไปแม้ในเมือง เป็นด้วงที่เหมาะสำหรับมือใหม่ที่จะลองเลี้ยง เพราะเลี้ยงง่ายมาก อาหารที่ใช้เลี้ยงหนอนกว่าง
สามารถเติมขุยมะพร้าวลงไปด้วยเพื่ิอลดค่าใช้จ่ายจากไม้ผุบดลงไปได้ มูลที่หนอนถ่ายออกมาไม่เป็นก้อนแน่นเหมือนกับมูลของ
กว่างชน ไข่ทรงกลมเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3-4 มิลลิเมตร และฟักภายใน 7-8 วัน มีผู้รายงานไว้ว่าหนอนมีอายุประมาณ 3-4
เดือน

อย่างไรก็ตาม หนอนที่เก็บมาจากราชบุรีปลายปี 2551 เลี้ยงด้วงอาหารด้วงกว่างมีอายุ 5-7 เดือนใกล้เคียงกับกว่างชนมาก ดักแด้
นาน 1 เดือน เพิ่งออกมาเป็นตัวเต็มวัยหลายตัวในขณะนี้



http://www.google.co.th/imgres?imgurl=http://www.malaeng.com/blog/tmp/2009/07/o-rhinoa.jpg&imgrefurl=http://www.malaeng.com/blog/%3Fp%3D6786&usg=__ROg7ZOk-etg-GS4aJZ-QTzVWzDg=&h=469&w=700&sz=87&hl=th&start=38&sig2=UThwISxjuJmKBBA5swhR4A&zoom=1&tbnid=HU-DhliCRRCCWM:&tbnh=94&tbnw=140&ei=GvbxTpX7E4arrAfX8NHPDw&prev=/search%3Fq%3D%25E0%25B8%2594%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%25A7%25E0%25B8%25A2%25E0%25B9%2581%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%2594%2B%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25B1%25E0%25B8%2594%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25B4%25E0%25B8%2599%25E0%25B8%25A2%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%2594%25E0%25B8%25A1%25E0%25B8%25B0%25E0%25B8%259E%25E0%25B8%25A3%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A7%26start%3D20%26hl%3Dth%26sa%3DN%26tbm%3Disch%26prmd%3Divns&itbs=1





ด้วงงวงมะพร้าวใหญ่มีสารรวมกลุ่มอยู่ในตัว

http://www.google.co.th/imgres?imgurl=http://kanchanapisek.or.th/kp6/BOOK19/pictures/s19-185-1.jpg&imgrefurl=http://kanchanapisek.or.th/cgi-bin/show2.cgi/kp6/BOOK19/pictures/s19-185-1&usg=__wch6TGuT-tKRodDVti5-8lvZYpQ=&h=225&w=291&sz=14&hl=th&start=11&sig2=BVyZdz3SRDIP5Qr2RYnBsg&zoom=1&tbnid=kbI-mkif5QwDuM:&tbnh=89&tbnw=115&ei=dDLzTriTB8bRrQfWw-DQBA&prev=/search%3Fq%3D%25E0%25B8%2594%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%25A7%25E0%25B8%2587%25E0%25B8%2587%25E0%25B8%25A7%25E0%25B8%2587%25E0%25B8%25A1%25E0%25B8%25B0%25E0%25B8%259E%25E0%25B8%25A3%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A7%26hl%3Dth%26sa%3DX%26tbm%3Disch%26prmd%3Divns&itbs=1



หนอนด้วงงวงมะพร้าว

http://www.google.co.th/imgres?imgurl=http://img94.imageshack.us/img94/7092/65107448.jpg&imgrefurl=http://www.malaeng.com/webboard/index.php%3Faction%3Dprofile%3Bu%3D7485%3Bsa%3DshowPosts&usg=__GPQW1jlO_8KjN425MSYk28-o7bw=&h=194&w=259&sz=9&hl=th&start=16&sig2=tF2AVyzsoeDAqgmn98ONPQ&zoom=1&tbnid=Me6jB76eAfksjM:&tbnh=84&tbnw=112&ei=dDLzTriTB8bRrQfWw-DQBA&prev=/search%3Fq%3D%25E0%25B8%2594%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%25A7%25E0%25B8%2587%25E0%25B8%2587%25E0%25B8%25A7%25E0%25B8%2587%25E0%25B8%25A1%25E0%25B8%25B0%25E0%25B8%259E%25E0%25B8%25A3%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A7%26hl%3Dth%26sa%3DX%26tbm%3Disch%26prmd%3Divns&itbs=1


.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 22/12/2011 8:42 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 22/12/2011 1:54 pm    ชื่อกระทู้: Re: ด้วงแรดกินมะพร้าว ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

mana1908 บันทึก:


ลุงคิมครัับ.....

ขอสอบถาม วิธีปราบหรือป้องกัน ด้วงแรดกินมะพร้าว โดยไม่ใช้สารเคมี ทั้งต้นอ่อนและต้นแก่ ด้วยครับ

ตอบ :
- ด้วงแรดกินมะพร้าว กินส่วนต้นอ่อนที่คอ (ยอด) ของต้นมะพร้าว โดยเจาะเข้าจากเปลือกของต้นบริเวณโคนทาง (ก้านใบ) เข้าไป
รูเข้าขนาดอาจเท่าปลายนิ้วก้อยหรือเล็กกว่า เมื่อเข้าไปถึงข้างในแล้วจะคว้านกินเนื้อในจนเป็นโพรงโต ทำให้มะพร้าวไม่สามารถส่งน้ำ
เลี้ยงขึ้นไปเลี้ยงต้นได้ ลำต้นส่วนนั้นจะมีแต่เปลือกไม่มีเนื้อใน สุดท้ายยอดก็หักกลายเป็น "มะพร้วยอดด้วน"

- มะพร้าว เป็น พืชตระกูลปาล์ม พืชในกลุ่มนี้ได้แก่ ปาล์มน้ำมัน ปาล์มประดับ ตาล ลาน หมาก จาก นั่นหมายคามว่า สามารถโดนเจ้า
ด้วงตัวนี้เข้าทำลาย (กิน) ได้เหมือนๆกัน โดยไม่มีข้อยกเว้น.....นอกจาก "ด้วงแรด" แล้ว ยังมี "ด้วงงวง" อีกตัวหนึ่งที่เจาะกินยอดมะพร้าว
เหมือนกัน

- การกำจัดแบบฆ่าตัวด้วงโดยตรง เป็นเรื่องง่ายแต่ทำยาก โดยการใช้สารเคมีหรือสารพิษอะไรก็ได้ ใส่เข้าไปที่โคนทางใบ ด้วงตัว
ไหนโดนเข้าไปเป็นตายทั้งนั้น ปัญหามันอยู่ที่ โคนทางมันอยู่สูง คนต้องปีนต้นมะพร้าวขึ้นไปหยอดสารพิษ หยอดที่โคนทางทุก
ทาง ตั้งแต่ทางล่างสุดถึงบนสด หยอดครั้งหนึ่งอยู่ได้นาน 7-10 วัน สารพิษเสื่อมต้องปีนขึ้นไปหยอดใหม่ ถ้ามะพร้าวต้นเดียวคงพอทำ
ได้ แต่ถ้ามะพร้าวทั้งสวน เป็นร้อยเป็นพันต้น ปีนต้นมะพร้าวทุกวันๆ ไม่ช้าไม่นาน
คงตกต้นมะพร้าวแน่

กลยุทธเอาชนะด้วงงวง :
1. ใช้ "ทรายก่อสร้าง" ใส่ที่โคนทาง ทางละ 1 กำมือ ทุกทาง.....ทรายจะอยู่ที่โคนทางตลอดไป จนกว่าทางนั้นจะเหี่ยวแห้ง ร่วง
ลงมาเองตามธรรมชาติ เมื่อด้วงแรดจะเจาะเข้าไปในต้น ต้องมุดทรายเข้าไป ทรายก็จะเข้าซอกคอ สร้างความรำคาญอย่างมาก ทั้ง
รำคาญทั้งเจ็บ (ประมาณนั้น) ด้วงแรดจะพยายามขยับคอเพื่อสลัดทราย ทรายก็ไม่หลุดแต่กลับเข้ามากขึ้น ด้วงยิ่งขยับคอ ทรายยิ่งเข้า
สุดท้ายคอด้วงก็ขาด.....บ่อยครั้งที่พบด้วงแรดหลายตัวคอขาดตายในทรายโคนทางมะพร้าว นี่คือประสิทธิภาพของทรายที่เหนือกว่าสาร
เคมีหรือสารพิษใดๆ

2. ด้วงแรดขยายพันธุ์โดยการออกไข่ จากไข่ฟักเป็นตัวหนอน จากหนอนเข้าดักแด้ จากดักแด้นั้นจึงกลายเป็นแมลง หรือตัว
ด้วงต่อไป......ใช้ "ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 8-24-24 อัตรา 2-3 ล./ไร่/1-2 เดือน ราดรดพื้นดินโคนต้น ถึง ทั่วแปลง

นอกจาก ราดรดลงดินแล้ว ให้ฉีดพ่นใส่ลำต้นและบนยอดด้วย ซึ่งอาจจะมีไข่และดักแด้ของด้วงแรดอาศัยอยู่ ให้น้ำหมักฯ ไปขัง
ค้างอยู่ที่โคนทาง ก็สามารถกำจัดวงจรชีวิของด้วงแรดได้ด้วย

การนำเศษซากพืชแห้งออก เพื่อไม่ให้ด้วงแรดเข้าอาศัยเป็นแหล่งวางไข่ก็เป็นอีกมตรการหนึ่งที่พึงปฏิบัติ



ในระเบิดเถิดเทิงฯ มี.....
- สารท็อกซิก. ทำให้ไข่แมลงฝ่อจนไม่อาจฟักออกมาป็นต้นหนอนได้
- จุลินทรีย์. ทำให้หนอนไม่ลอกคราบ หนอนจะตายในคราบ
- สารสารท็อกซิก.ที่เป็นพิษต่อแมลงโดยตรง กับมีกลิ่นที่แมลงไม่ชอบ ด้วงแรดตัวแม่ก็จะหนีไป ไม่เข้าวางไข่

สรุป : เมื่อด้วงแรดไม่มีทายาท ตัวรุ่นพ่อรุ่นแม่ตาย ก็จะไม่มีด้วงรุ่นใหม่เกิดขึ้นมาแทน สุดท้ายด้วงแรดก็หมดไปเอง


หมายเหตุ :
- ในปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิงมีสารอาหารสำหรับมะพร้าว (เคมี--แม็กเนเซียม, สังกะสี, ธาตุรอง/ธาตุเสริม.....อินทรีย์ทั่วไป--ไข
กระดูก, เลือด, ขี้ค้างคาว, น้ำมะพร้าว, นม......อินทรีย์จากปลาทะเล--แม็กเนเซียม, แมงกานิส, สังกะสี, โซเดียม และฮอร์โมน)
ซึ่งเหมาะสำหรับมะพร้าว และพืชในตระกูลเดียวกันเป็นอย่างมาก

- มะพร้าวเป็นพืชอยู่กับทะเล แม้น้ำใต้ดินจะไม่ใช่น้ำทะเล แต่ลมทะเลที่พัดเข้ามา ย่อมมีสารอาหาร (แม็กเนเซียม แมงกานิส สังกะสี
โซเดียม) จากทะเลแฝงปะปนมาด้วย

- เทคนิคการให้เกลือแกง อัตรา 1 กก./ต้น/ปี (แบ่งให้ 2 ครั้งๆละ 1/2 กก. ต่อ 6 เดือน) โดยละลายน้ำราดพื้นดินทั่วแปลง (ในเกลือ
ทะเลมีโซเดียม มะพร้าวชอบ) นอกจากทำให้ต้นสมบูรณ์ ให้ผลผลิตดีทั้งคุณภาพและปริมาณแล้ว ยังทำให้สภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม
ต่อการอาศัยของด้วงแรดอีกด้วย ...... ยิงนก 1 ตัว ได้กระสุน 2 นัด

- ด้วงแรด - ด้วงงวง เป็นแมลงที่ลักษณะการทำลายมะพร้าวคล้ายกัน ดังนั้น จึงสามารถใช้วิธีการเดียวกันนี้ได้







.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©