-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-มหัศจรรย์ ............. ธาตุสังกะสี
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - มหัศจรรย์ ............. ธาตุสังกะสี
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

มหัศจรรย์ ............. ธาตุสังกะสี

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 18/12/2011 9:10 pm    ชื่อกระทู้: มหัศจรรย์ ............. ธาตุสังกะสี ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ลำดับเรื่อง...

1. หน้าที่สำคัญของธาตุสังกะสีในพืช
2. ธาตุสังกะสี สัมพันธ์กับธาตุอาหารอื่นๆ
3. แร่ธาตุสังกะสีในปุ๋ยจำเป็นต่อพืช
4. ปัญหาผลผลิตมันสำปะหลังต่ำ เนื่องจากขาดจุลธาตุสังกะสี
5. สังกะสีจำเป็นต่อพืช ช่วยเร่งการเจริญเติบโตของพืช

6. สังกะสีเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของเซลล์เมมเบรน
7. ธาตุสังกะสีมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับฮอร์โมน
8. สังกะสี แร่ธาตุสำคัญที่ถูกมองข้าม
9. ข้อเท็จจริงของธาตุสังกะสีต่อข้าวสาลี
10. ข้อเท็จจริงของธาตุสังกะสีต่อข้าวโพด

11. ข้อเท็จจริงของธาตุสังกะสีต่อข้าว
12. สังกะสี กรณีศึกษา : ในตุรกี
13. คำตอบเกี่ยวกับบทบาทของธาตุสังกะสีในธาตุอาหารพืช
14. เพิ่ม “สังกะสี” พัฒนาคุณภาพไม้ผลภาคตะวันออก
15. อ้อยกับอาการขาดสังกะสี (Zinc,Zn)

16. ความรู้เรื่องธาตุอาหารพืช สังกะสี
17. วิจัยกว่า 10 ปี แนะใช้ปุ๋ยสังกะสีแก้ปัญหา "มังคุด" คุณภาพตกต่ำ
18. หน้าที่สำคัญของธาตุสังกะสี


---------------------------------------------------------------------------------------------





1. หน้าที่สำคัญของธาตุสังกะสีในพืช

- ช่วยให้พืชแตกใบอ่อนได้ดีขึ้น
- เสริมสร้างเมล็ด
- เสริมสร้างฮอร์โมนต่าง ๆ ในพืช
- เสริมสร้างการสุกการแก่ของผลไม้
- เสริมสร้างความสูงและการยืดของต้น
- ช่วยในการสังเคราะห์โปรตีน

- ช่วยเสริมสร้างให้พืชมีความต้านทานต่อโรคพืชต่าง ๆ
- มีส่วนสำคัญในระบบของเอนไซม์ที่จะไปกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืช
- มีส่วนสำคัญในการเสริมสร้างสารคลอโรฟีลล์(สีเขียว) ของพืช
- มีส่วนสำคัญในการเคลื่อนย้ายพวกคาร์โบไฮเดรตและกระตุ้นการใช้น้ำตาลในพืช
- ทำหน้าที่เสมือนตัวต่อต้านความหนาวเย็น หรือทำหน้าที่เสมือนเป็นผ้าห่มให้แก่ต้นพืชเมื่อมีอากาศหนาวเย็น
- ช่วยให้พืชไม่ชะงักการเจริญเติบโตเมื่อมีอากาศหนาวเย็น

การแสดงอาการของพืชที่ขาดธาตุสังกะสี
- แสดงอาการเหลืองระหว่างเส้นใบ
- เส้นกลางของใบอ่อนจะแตกเป็นเส้นย่อย ๆ
- เกิดจุดสีน้ำตาลที่ใบแก่ ต่อมาจุดสีน้ำตาลจะขยายตัวติดต่อกัน ทำให้ใบเป็นสีน้ำตาล
- พืชจะมีการเจริญเติบโตช้า หรือเติบโตไม่ดีเท่าที่ควร
- ในพืชต้นเล็ก ถ้าขาดอย่างรุนแรงจะทำให้พืชตายได้
- ทำให้การสุกแก่ของผลไม้ช้ากว่าปกติ
- ทำให้ผลผลิตต่ำ

สภาพแวดล้อมที่พืชขาดธาตุสังกะสี
- ในดินที่มีความเป็นกรดเป็นด่าง(pH) 4.0-5.0 และ 7.0 ขึ้นไป
- ในดินที่มีธาตุสังกะสีที่เป็นประโยชน์ต่ำหรือมีปริมาณน้อย
- ในดินที่มีธาตุฟอสฟอรัสมาก
- ในดินที่มีธาตุไนโตรเจนมาก
- ในดินที่ถูกน้ำกัดเซาะมาก รวมทั้งดินที่มีการซึมลึกของน้ำมาก
- ในช่วงที่มีอากาศหนาวเย็น ดินเย็น หรือมีอุณหภูมิต่ำ
- ในดินที่มีการไถลึก 6 นิ้ว
- ในดินที่ใส่ปูนมากเกินไป
- ในดินที่สูญเสียธาตุสังกะสีมากหลังจากเก็บเกี่ยวพืชผลแล้ว


http://www.pukaotong.com/index.php?mo=3&art=197968

-----------------------------------------------------------------------------------------------


2. ธาตุสังกะสี สัมพันธ์กับธาตุอาหารอื่นๆ

ปกติพืชดูดเอาธาตุสังกะสีจากดินได้ต่ำมาก และหากใช้ปุ๋ยไนโตรเจนและฟอสฟอรัสที่มากเกินไป ทำให้พืชดูดธาตุสังกะสี
ได้ยากขึ้น พืชที่ขาดธาตุสังกะสีด้วยเนื่องจากสภาวะที่ก่อให้ขาดธาตุดังกล่าวใกล้เคียงกัน

บทบาทและหน้าที่ที่สำคัญของธาตุสังกะสีในพืชนั้น
พอจะกล่าวสรุปได้ คือ สังกะสีจะมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับฮอร์โมนพืช กล่าวคือ พืชที่ขาดธาตุสังกะสีจะทำให้ปริมาณฮอร์โมน ไอ-เอ-เอ
ในตายอดลดลง ทำให้ตายอดและคอปล้องไม่ขยาย ทำให้ใบออกมาซ้อนๆกัน นอกจากนี้ยังมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับน้ำย่อยของพืชหลาย
ชนิด ในการสร้างอาหารและสังเคราะห์แสง จึงมีผลทางอ้อมในการสร้างส่วนที่สีเขียวของพืช

ในพืชตระกูลส้มอาการขาดธาตุสังกะสี เราเรียกว่า “โรคใบแก้ว” คือใบอ่อนและใบที่อยู่ใกล้ยอดอ่อนจะลีบเล็กเหมือนใบพาย ปลายใบ
แหลมบริเวณระหว่างเส้น ใบจะเหลืองปราศจากคลอโรฟิลล์ ส่วนเส้นใบยังคงมีสีเขียวอยู่อาการรุนแรง คือ ปลายกิ่งจะแห้งตายไป
และลุกลามลงมาเรื่อย จนกระทั่งแห้งตายหมดทั้งกิ่ง ผลส้มจะเล็กกว่าปกติติดผลน้อย รสชาติของส้มไม่ดี

การแก้ไขที่ดีและให้ผลแน่นอน คือ การฉีดพ่นทางใบ ด้วยธาตุอาหารเสริมที่มีธาตุสังกะสีเป็นองค์ประกอบ


http://www.google.co.th/search?source=ig&hl=th&rlz=&q=%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%AE%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%82%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B8%8A+

----------------------------------------------------------------------------------------------


3. แร่ธาตุสังกะสีในปุ๋ยจำเป็นต่อพืช
(Zinc in fertilizers – essential for crops)

ปุ๋ย (Fertilizers)
ปุ๋ยถูกนำมาใช้ในการทำการเกษตร และการทำสวน เพื่อให้พืชและดินได้รับแร่ธาตุที่จำเป็นอย่างเพียงพอ ในดินมักมีแร่ธาตุอยู่ตาม
ธรรมชาติ แต่มักมีในปริมาณที่แตกต่างกัน และโดยส่วนมากมักจะน้อยกว่าปริมาณที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช การขาด
แร่ธาตุในดินเป็นผลมาจากการทำการเพาะปลูกอย่างต่อเนื่อง โดยที่ไม่มีการเติมแร่ธาตุเหล่านี้ให้แก่ดินอย่างเพียงพอ ปัญหานี้มัก
พบมากในประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งการใช้ปุ๋ยเพื่อให้เป็นแหล่งอาการสำหรับพืชยังน้อย ปุ๋ยสามารถเพิ่มแร่ธาตุให้กับดินและช่วย
ในการเจริญเติบโตของพืช มีการนำปุ๋ยมาใช้ในการทำไร่นามามากกว่าร้อยปี และพบว่ามันช่วยเพิ่มปริมาณและคุณภาพของพืช
ผลได้ นอกจากนี้ปุ๋ยยังถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางในการทำสวน ซึ่งทำให้ได้ปริมาณผลผลิตซึ่งเป็นอาหารสำหรับมนุษย์และสัตว์มาก
ขึ้น และคุณภาพดีขึ้นด้วย

ธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการดำรงชีพของพืช (Plant nutrients)
โดยทั่วไปพืชต้องการทั้งสารอาหารหลัก และสารอาหารรอง ซึ่งจำเป็นต่อความสมบูรณ์ต่อการเจริญเติบโตและการสืบพันธุ์
สารอาหารหลักได้แก่ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัสและโพแทสเซียม จะถูกใช้ในปริมาณมาก สารอาหารรองถึงแม้จะต้องการในปริมาณ
เล็กน้อย แต่สำคัญอย่างยิ่งต่อความสมบูรณ์ และการเจริญเติบโตของพืช หนึ่งในสารอาหารรองที่จำเป็นก็คือ สังกะสี

ความสำคัญของสังกะสีต่อพืช (Importance of zinc for plants)
สังกะสีมีความจำเป็นต่อสิ่งมีชีวิตทุกชนิด รวมทั้งพืช สังกะสีเป็นสารที่ช่วยในการทำงานของเอนไซม์ในการทำปฏิกิริยา สังกะสี
มีความจำเป็นอย่างมากสำหรับขบวนการทางชีวเคมีต่างๆ ของพืช ได้แก่
- การสังเคราะห์ด้วยแสง และการสร้างน้ำตาล
- การสังเคราะห์โปรตีน
- การเจริญพันธุ์ และการเพาะด้วยเมล็ด
- การเติบโตอย่างสม่ำเสมอ
- การต้านทานโรค

การขาดสังกะสี (Zinc deficiency)
เมื่อพืชได้รับสังกะสีในปริมาณที่ไม่เพียงพอ การทำงานของระบบชีวเคมีจะถูกทำลาย ซึ่งจะส่งผลต่อความสมบูรณ์และการ
เจริญเติบโตของพืชในทางลบ มีผลให้ปริมาณผลผลิตที่ได้ต่ำ (หรืออาจจะเก็บเกี่ยวผลผลิตไม่ได้) และคุณภาพไม่ดี ในกรณีที่
มีการขาดสังกะสีอย่างรุนแรง จะสามารถสังเกตได้จากอาการต่างๆ เช่น ใบไม้มีสีเหลืองโดยที่เส้นของใบไม้ยังเขียวอยู่ (inter-
veinal chlorosis) ใบไม้มีสีเหลืองแดง (bronzing of chlorotic leaves) ใบไม่มีขนาดเล็กและมีรูปร่างผิดปกติ แคระแกร็น
(stunting) และใบงอกเป็นกระจุก (resetting) อาการแอบแฝง เช่น ผลผลิตลดลงอย่างมาก อาจไม่สามารถตรวจพบเป็นเวลา
หลายปีจนกว่าจะมีการทดสอบดิน หรือวินิจฉัยโรคพืช

จากการศึกษาขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization / FAO) พบ
ว่าสังกะสีเป็นธาตุที่ขาดมากที่สุดธาตุหนึ่งในบรรดาสารอาหารรอง ซึ่งส่งผลกระทบเป็นวงกว้างต่อดินหลายชนิดในหลายพื้นที่การ
เพาะปลูก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเอเชีย แอฟริกา และตะวันออกกลาง นอกจากนี้ยังรวมถึงเม็กซิโก สหรัฐอเมริกา และออสเตรเลีย

พืชหลายชนิดได้รับผลกระทบจากการขาดสังกะสี รวมถึง พืชซึ่งเป็นสินค้าสำคัญของประเทศ เช่น ข้าว ข้าวสาลี ข้าวโพด ข้าว
ฟ่าง และอื่นๆ, ผลไม้ต่างๆ เช่น มะนาว มะกรูด แอปเปิล ฝรั่ง สับปะรด และอื่นๆ, ถั่ว กาแฟ ชา, ผักต่างๆ เช่น ผักกาดแดง มัน
ฝรั่ง มะเขือเทศ และอื่นๆ, พืชที่รับประทานไม่ได้ เช่น ฝ้าย ต้นแฟลกซ์ที่นำมาทำผ้าลินิน และอื่นๆ

พืชไรเป็นแหล่งอาหารและมีผลต่อสุขภาพ (Crop nutrition and health)
พืชไร่เป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของมนุษย์และ
สัตว์ ในประเทศกำลังพัฒนา คนส่วนใหญ่ดำรงชีพด้วยพืชชนิดเมล็ด เช่น ข้าวสาลี ข้าว และข้าวโพด โดยทั่วไปพืชไร่มักจะขาดสังกะสี
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อทำการเพาะปลูกในดินที่ขาดธาตุสังกะสี เกือบ 50% ของพืชชนิดเมล็ดในโลกที่ขาดสังกะสี และประมาณการ
ว่าประมาณ 1 ใน 3 ของประชากาโลกมีความเสี่ยงต่อการขาดสังกะสี ซึ่งมีผลต่อปัญหาสุขภาพ รวมถึงภูมิต้านทานร่างกายต่ำ การ
เจริญเติบโตและพัฒนาการช้า ในเรื่องนี้ การขาดสังกะสีถูกจัดอยู่ในลำดับที่ 5 ของตัวแปรที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นสาเหตุของการ
เกิดโรค สำหรับทั่วโลก การขาดสังกะสีถูกจัดอยู่ในลำดับที่ 11 จากทั้งหมด 20 ตัวแปร องค์การอนามัยโลก (The World Health
Organization / WHO) เชื่อว่าประชากรทั่วโลกที่เสียชีวิต 800,000 คนต่อปี เป็นผลมาจากการขาดสังกะสี และชี้ให้เห็นว่าการ
ขาดสังกะสีมีความเกี่ยวข้องอย่างมากกับการได้รับหรือการดูดซึมสังกะสีที่ไม่เพียงพอจากการอดอาหาร การเพิ่มปริมาณธาตุ
สังกะสีในอาหารพวกพืชไร่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ที่ดินขาดสังกะสีอย่างแพร่หลาย เป็นสิ่งที่ต้องทำเป็นอันดับต้นๆเพื่อที่
จะต่อสู้กับการขาดอาหาร หรือความอดอยาก ในมนุษย์และสัตว์

การแก้ไขปัญหาการขาดสังกะสีในพืชไร่ (Correcting zinc deficiency in crops)
วิธีที่รวดเร็วและคุ้มค่าในการแก้ไขปัญหาการขาดสังกะสีในพืชไร่และดิน คือการใช้ปุ๋ยที่มีธาตุสังกะสีเป็นส่วนผสมอยู่ ธาตุสังกะสี
ที่ใส่ในปุ๋ยแบ่งเป็น 2 ประเภทหลัก คือ

- สารประกอบอนินทรีย์
- สารประกอบอินทรีย์

ในบรรดาสารประกอบอนินทรีย์ สังกะสีซัลเฟตถูกนำมาใช้มากที่สุด สังกะสีซัลเฟตละลายน้ำได้ดีมากมีทั้งในรูปที่เป็นผลึกและเป็น
เม็ด การละลายเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อประสิทธิภาพของปุ๋ย สารประกอบอนินทรีย์สังกะสีอื่นๆ ได้แก่ สังกะสีไนเตรท สังกะสี
ซัลฟอรัส สังกะสีซัลเฟตรูปแบบอื่น และสังกะสีออกไซด์

สารประกอบอินทรีย์สังกะสี โดยเฉพาะคีเลทสังเคราะห์ ได้แก่ Zn-EDTA, Zn-HEDTA, Zinc polyflavonoids และ Zinc
lignosulfonates

สังกะสีอาจถูกนำไปใช้เป็นปุ๋ย single-nutrient หรือธาตุอาหารเสริมในปุ๋ยซึ่งประกอบด้วยธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และ
โพแทสเซียม ธาตุใดธาตุหนึ่งหรือหลายธาตุก็ได้ สังกะสีเป็นธาตุหลักของปุ๋ยพิเศษ ซึ่งมันประกอบด้วยธาตุต่างๆ ทั้งหมดที่จำเป็น
สำหรับพืชไร่แต่ละชนิด แต่ละพื้นที่ และแต่ละเวลา

วิธีการให้ปุ๋ยที่มีธาตุสังกะสี (Application methods of zinc fertilizers)
มีหลายวิธีในการให้ปุ๋ยที่มีธาตุสังกะสีแก่พืชไร
และดิน :

- สเปรย์ที่ใบ : เพื่อให้ดูดซึมผ่านทางใบ
- ทางดิน : เพื่อให้ดูดซึมผ่านทางราก
- การให้ปุ๋ยในระบบน้ำ : ให้แร่ธาตุโดยระบบกวน
- ทางเมล็ด : แช่เมล็ดพันธุ์

แต่ละวิธีมีข้อดีต่างกัน ขึ้นกับลักษณะของพืช ดิน ชนิดของปุ๋ยและส่วนประกอบ การใช้หลายวิธีประกอบกันก็สามารถทำได้ และ
อาจได้ผลดีกว่าในเรื่องของคุณภาพและปริมาณ วิธีการให้ปุ๋ยสังกะสีอาจกระทบสมดุลของธาตุที่จำเป็นอื่นๆ ดังนั้นการให้ปุ๋ย
แบบสมดุลด้วยธาตุอาหารหลักและธาตุอาหารรอง ควรปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ ถึงแม้จะกับดินทั่วไปหรือการทดลองปลูกพืช

การใช้ปุ๋ย (The use of fertilizer)
โดยทั่วไปมักใส่ปุ๋ยเพื่อป้องกันการขาดธาตุอาหารในพืชและดิน อย่างไรก็ตาม การใส่ปุ๋ยจะได้ผลดีที่สุดกับดินที่มีความเป็น
ธรรมชาติสูง หรือดินที่มีการบำรุงโดยใช้ปุ๋ย ด้วยภาวะขาดสารอาหารอย่างต่อเนื่อง, การขาดแคลนพืช และการเพิ่มขึ้นของประ
ชากรโลก เพราะฉะนั้นแหล่งอาหารของโลกโดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนา จำเป็นต้องมีการเพิ่มการเพิ่มทั้งคุณภาพและปริมาณ
ของพืชเป็นอย่างมาก เนื่องจากที่ดินที่เหมาะแก่การเพาะปลูกมีอยู่อย่างจำกัด แต่ต้องเพิ่มปริมาณผลผลิต โดยสารอาหารรอง
เป็นตัวแปรหนึ่งที่จำกัดว่าที่ดินเหมาะแก่การเพาะปลูกหรือไม่ ดังนั้นการใส่ปุ๋ยที่มีสารอาหารรองสามารถเพิ่มผลผลิต และเพิ่มความ
อุดมสมบูรณ์ของดิน รวมทั้งคุณภาพผลผลิตได้

สรุป (Conclusion)
สังกะสีในปุ๋ยสามารถเพิ่มทั้งปริมาณและคุณภาพได้เป็นอย่างมาก เมื่อเพิ่มปริมาสังกะสีในพืช อีกทั้งมนุษย์และสัตว์ โดยเฉพาะ
อย่างยิ่ง ในประเทศกำลังพัฒนา ยังได้ประโยชน์จากปริมาณสังกะสีซึ่งเป็นธาตุที่ต้องการมากขึ้นด้วย


http://www.zincinfothailand.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539192836&Ntype=13

-------------------------------------------------------------------------------------------------


4. ปัญหาผลผลิตมันสำปะหลังต่ำ เนื่องจากขาดจุลธาตุสังกะสี

ธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช มีอยู่ 16 ธาตุ แต่มีเพียง 7 ธาตุเท่านั้นที่พืชต้องการใช้ในปริมาณน้อยมาก
และเราเรียกธาตุเหล่านี้ว่า จุลธาตุ (Micronutrient) ได้แก่ เหล็ก (Fe) แมงกานีส (Mn) สังกะสี (Zn) ทองแดง
(Cu) โบรอน (B) โมลิดินัม (Mo) คลอรีน (Cl) แม้ว่าพืชต้องการธาตุเหล่านี้น้อยแต่ก็มีความจำเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งการขาดสังกะสี ในมันสำปะหลังซึ่งในปัจจุบัน เป็นปัญหาของเกษตรกรจำนวนมาก

ความสำคัญของธาตุสังกะสี (Zn)
เป็นส่วนประกอบที่จำเป็นของเอนไซม์หลายชนิด รวมทั้งออกซิเจนและฮอร์โมนในพืชเกี่ยวข้องกับกระบวนการสร้างกรดอิน
โดลอะเซติก (LAA) เป็นธาตุที่จำเป็นต่อการสร้างคลอโรฟิลล์ และการสร้างเมล็ดพืชตลอดจนมีบทบาทในการสังเคราะห์
โปรตีนช่วยส่งเสริมการใช้ประโยชน์ของธาตุฟอสฟอรัสและไนโตรเจนในพืช

ลักษณะอาการขาดธาตุสังกะสีในมันสำปะหลัง
พบเห็นโดยทั่วไปในดินด่าง จะมีลักษณะการยืดต้นช้า พบจุดหรือแถบสีขาว หรือเหลืองบนใบอ่อน ใบอาจย่นหรือเปลี่ยนรูปร่าง
อาจพบจุดแผลเซลล์ตายในใบล่างและอาจรุนแรงทำให้ต้นตาย ส่งผลถึงความอยู่รอด และผลผลิตมันสำปะหลัง

สาเหตุ
• พื้นที่มีการชะล้างพังทลายของหน้าดิน ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ
• ปลูกมันสำปะหลังในที่เดิมเป็นเวลานาน ไม่มีการปลูกพืชหมุนเวียน
• ดินมีความเป็นด่างสูง (pH สูง) หรือดินที่มีแคลเซียม (Ca) สูง
• เกษตรกรใส่ปุ๋ยธาตุอาหารหลักอย่างเดียว


ข้อแนะนำ
- ชุบท่อนพันธุ์ด้วยปุ๋ยสังกะสี (ซิงก์ ซัลเฟต) ละลายน้ำในอัตรา 0.4 กก. ต่อน้ำ 20 ลิตร เป็นเวลา 15 นาทีก่อนปลูก

- ปุ๋ยสังกะสี (ซิงก์ ซัลเฟต) ละลายน้ำอัตรา 0.8 กก. ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทางใบที่อายุ 1, 2 และ 3 เดือนหลังปลูก หรือ
เมื่อต้นมันสำปะหลังแสดงอาการขาดธาตุสังกะสี


ที่มา : ศูนย์วิจัยมันสำปะหลังและผลิตภัณฑ์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
http://web.sut.ac.th/cassava/index.php?name=14cas_plant&file=readknowledge&id=60

http://www.zincinfothailand.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539195801&Ntype=13

-----------------------------------------------------------------------------------------------------

5. สังกะสีจำเป็นต่อพืช ช่วยเร่งการเจริญเติบโตของพืช

สังกะสีนำไปใช้เป็นส่วนผสมในปุ๋ยเพื่อเร่งการเจริญเติบโตของพืช แม้จะในปริมาณที่เล็กน้อยแต่มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการ
สังเคราะห์อาหารของพืช โดยมีผลต่อการสังเคราะห์แสง การผลิตน้ำตาล การสังเคราะห์โปรตีน ความอุดมสมบูรณ์และ
การผลิตเมล็ดพืช ตลอดจนการเติบโตอย่างสม่ำเสมอและสร้างความต้านทานโรคอีกด้วย

พืชไร่หลายชนิดทั้งข้าว ข้าวโพด ถั่ว ชา กาแฟ จะมีความไวต่อภาวะขาดธาตุสังกะสี หากได้รับในปริมาณที่ไม่เพียงพอ
จะทำให้ระบบชีวเคมีถูกทำลาย ซึ่งจะส่งผลให้พืชเจริญเติบโตไม่สมบูรณ์ มีผลผลิตต่ำและคุณภาพไม่ดี เป็นโรคได้ง่าย ในกรณี
รุนแรงจะแคระแกร็น

ดินที่ขาดสังกะสี ถึงแม้จะใช้ปุ๋ยไนโตรเจน ฟอสฟอรัสและโพแทสเซียม (NPK) ก็ไม่สามารถแก้ปัญหาคุณภาพและผลผลิตต่ำ
ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งดินเป็นด่าง (pH สูง) ดินที่มีฟอสฟอรัสสูง หรือ organic carbon สูง และดินที่เป็นที่ลุ่มมีน้ำขังนานๆ

ในหลายประเทศเริ่มผสมสังกะสีในปุ๋ย NPK (มักอยู่ในรูปของผงสังกะสีซัลเฟต ZnSO4) และเรียกว่าปุ๋ย NPK + Zn หรือ
อาจนำ ZnSO4 มาละลายน้ำแล้วนำมาพ่นที่ใบ (Foliar Fertilizing) ตัวอย่างประเทศที่ใช้ปุ๋ย NPK + Zn อย่างจริงจัง เช่น
ตุรกี อเมริกา บราซิล ฟิลิปปินส์ จีนและอินเดีย



http://www.zincinfothailand.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539180906

----------------------------------------------------------------------------------------------------


6. สังกะสีเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของเซลล์เมมเบรน

สังกะสีเป็นจุลธาตุ (micro nutrient) ที่จำเป็นสำหรับพืชธาตุหนึ่ง เนื่องจากสังกะสีเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของเซลล์
เมมเบรน และ เอนไซม์บางชนิด เช่น ดีไฮโดรจีเนส (dehydrogenase) โปรติเนส (proteinase) และ เปปติเดส (pep-
tidase) นอกจากนี้ยังช่วยในการสังเคราะห์โปรตีน

แร่ที่มีธาตุสังกะสีเป็นองค์ประกอบที่พบโดยทั่วไป ได้แก่ สปาเลอไรท์ (ZnS) สมิทซอไนต์(smithsonite : ZnCO3) และ
เฮมิมอร์ไฟต์ [Heminorphite : Zn4 (OH)2 Si2O7 • H2O] เมื่อแร่เหล่านี้สลายผุผัง ก็จะปลดปล่อยสังกะสีออกมาในรูป
ซิงค์ทูไอออน (Zn2+) ซึ่งเป็นรูปที่เป็นประโยชน์ต่อพืชโดยตรง ซึ่งอยู่ในรูปสารละลายดิน บางส่วนจะอยู่ในรูปของไอออนพวก
ที่แลกเปลี่ยนได้อยู่บริเวณผิวของคอลลอยด์ดิน





สังกะสีสามารถทำปฏิกิริยากับอินทรียวัตถุ เกิดเป็นสารประกอบเชิงซ้อนละลายน้ำได้ยาก พืชไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
สังกะสีที่อยู่ในสารละลายดิน พบในปริมาณต่ำมาก ทำให้พืชขาดธาตุสังกะสี เมื่อพืชขาดธาตุสังกะสี จะทำให้การเจริญเติบโตของ
พืชชะงัก ลำต้นแคระแกรน ใบเป็นสีเหลืองและม้วนงอ ส่วนใบล่างจะเป็นแผลสีน้ำตาล ถ้าขาดรุนแรงอาจทำให้ไม่ให้ผลผลิต
หรือตายในที่สุด

พืชที่ขาดธาตุสังกะสีในประเทศไทยที่สำคัญ ได้แก่ ส้มเขียวหวาน ซึ่งใบจะมีลักษณะด่าง เล็กผิดขนาด ใบจะมีสีเขียวอ่อน
หรือสีเหลือง ชาวสวนเรียกว่าเป็นโรค “ใบแก้ว” ถ้าขาดมาก ต้นส้มจะแคระแกรนให้ผลน้อย ผลเล็กและคุณภาพต่ำ

ในข้าวโพดจะเกิดอาการคลอโรซีส (chlorosis) คือ มีแถบสีขาวจนถึงสีเหลืองจาง ๆ เกิดขึ้นระหว่างเส้นใบ ใบแก่จะมีสีม่วง ออก
ไหมและติดฝักช้า ขาดรุนแรงใบแก่จะเป็นสีม่วง แล้วเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล และแห้งตาย

ส่วนในถั่วเหลืองถ้าขาดธาตุสังกะสี จะเกิดจุดสีน้ำตาลที่ใบแก่ เป็นต้น วิธีแก้ไขเมื่อพืชขาดธาตุสังกะสี โดยใช้สารสะลายซิงค์
ซัลเฟต (ZnSO4) ฉีดพ่นทางใบ หรือใส่ลงไปในสารละลายดิน เมื่อพืชเริ่มแสดงอาการ

นอกจากนี้ สามารถที่จะเคลือบเมล็ดด้วยสังกะสีซัลเฟตก่อนปลูก (สุวพันธ์ และคณะ 2532) หรือใช้สังกะสีในรูปของ สังกะสี -
คีเลต ก็จะทำให้พืชใช้สังกะสีจากปุ๋ยได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น


ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเป็นประโยชน์ของธาตุสังกะสี
ธาตุสังกะสี พืชต้องการเพียงเล็กน้อย พืชอาจขาดในระยะแรก เมื่อพืชเจริญเติบโตขึ้น ระบบจะแพร่กระจายได้มากขึ้น อาการ
ขาดสังกะสีก็จะหายไป ปัจจัยสำคัญที่ทำให้พืชได้รับธาตุสังกะสีไม่เพียงพอ ได้แก่ บริเวณที่มีอุณหภูมิต่ำ ความเข้มของแสงต่ำ
และอากาศชื้น พืชจะดูดธาตุสังกะสีได้น้อยลง พีเอช ที่พืชสามารถนำเอาธาตุสังกะสีไปใช้ประโยชน์ได้มากที่สุดจะอยู่ในช่วง 5.5 –
6.0 เมื่อ พีเอช สูงกว่า 6.0 ปริมาณที่เป็นประโยชน์ของธาตุสังกะสีจะเริ่มลดลง จะเห็นได้ว่าดินที่มี พีเอช สูง เช่น อัลคาไล (alka-
line) และดินด่างมักจะมีสังกะสีที่เป็นประโยชน์ได้น้อย ส่วนดินที่เป็นกรดจัดก็สามารถจะขาดธาตุสังกะสี เนื่องจากถูกชะล้าง
ให้สูญหายไปได้ ดินที่มีฟอสฟอรัสค่อนข้างสูง หรือใส่ปุ๋ยฟอสเฟตในอัตราส่วนสูง ฟอสเฟตก็จะไปทำปฏิกริยากับสังกะสีเกิดเป็น
สารประกอบ สังกะสีฟอสเฟต ซึ่งตกตอนละลายน้ำได้ยากพืชไม่สามารถนำเอาไปใช้ได้

นอกจากนี้สังกะสีสามารถทำปฏิกิริยากับดินที่มีอินทรียวัตถุสูงได้แก่ดินพรุ เกิดเป็นสารประกอบอินทรีย์เชิงซ้อนที่ละลายได้ยาก
ทำให้ดินขาดธาตุสังกะสีได้



http://www.nsru.ac.th/e-learning/soil/lesson_9_7.php

-------------------------------------------------------------------------------------------------


7. ธาตุสังกะสีมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับฮอร์โมน

สังกะสีมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับฮอร์โมนพืช กล่าวคือ พืชที่ขาดธาตุสังกะสีจะให้ปริมาณฮอร์โมน IAA ในตายอดลดลง ทำให้ตายอด
และข้อปล้องไม่ขยาย ใบออกมาซ้อน ๆ กัน นอกจากนี้ยังมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับน้ำย่อยของพืชหลายชนิดในการสร้างอาหารและ
สังเคราะห์แสง จึงมีผลทางอ้อมในการสร้างส่วนสีเขียวของพืช

การแก้ไขที่และและให้ผลแน่นอนคือการฉีดพ่นทางใบ ด้วยธาตุอาหารเสริมที่มีธาตุสังกะสีเป็นองค์ประกอบ



http://www.trgreen.co.th/index.php?lay=show&ac=article&Ntype=21

------------------------------------------------------------------------------------------------

8. สังกะสี แร่ธาตุสำคัญที่ถูกมองข้าม


สังกะสี เป็นธาตุที่สำคัญและมีความ จำเป็นยิ่งต่อการดำรงชีพ เพราะเป็นธาตุสำคัญที่ทำให้สิ่งมีชีวิต มีสุขภาพแข็งแรง ไม่ว่าจะเป็น

มนุษย์ สัตว์ พืช หรือแม้แต่จุลินทรีย์ ล้วนแต่ต้องการสังกะสี เพื่อการดำรงชีพทั้งสิ้น แต่น้อยครั้งที่จะมีการพูดถึง สังกะสี

รศ.ดร.เอมอร วสันตวิสุทธิ์ ที่ปรึกษา สถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล คณะกรรมการที่ปรึกษาด้านโภชนาการธาตุสัง
กะสีนานาชาติ หรือ IZincc กล่าวว่า ไม่มีสิ่งมีชีวิตใดที่อยู่ได้โดยปราศจากสังกะสี ซึ่งจะพบในทุก ๆ ส่วนของร่างกาย ทั้งในเนื้อเยื่อ
กระดูก ของเหลว และเซลล์ต่าง ๆ เนื่องจาก
สังกะสี จะถูกใช้ในการสร้างเซลล์ จึงยิ่งมีความสำคัญมากต่อสตรีมีครรภ์ โดยเฉพาะการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ นอกจากนี้
สังกะสี ยังมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตใน ทารก เด็ก และวัยรุ่น ทั้งความสูง น้ำหนัก และการสร้างกระดูก สร้างเซลล์ผิว
หนังใหม่ ที่สำคัญ สังกะสี ยังมีความสำคัญต่อระบบเจริญพันธุ์ของสตรี สามารถช่วยบรรเทาอาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นก่อนมีประจำ
เดือน ส่วนในผู้ชาย สังกะสี ยังช่วยป้องกันต่อมลูกหมาก ช่วยรักษาปริมาณและความสามารถในการเคลื่อนที่ของอสุจิอีกด้วย

การขาดธาตุสังกะสี เป็นปัญหาในหลายประเท
ศที่กำลังพัฒนา ภาวะการขาดธาตุ สังกะสี จะนำไปสู่การเจ็บป่วย โดยเฉพาะโรค ท้องร่วงและโรคปอดบวม ส่งผลให้เด็กมีอัตรา
การตายสูง นอกจากนั้นยังทำให้ร่างกายเด็กแคระแกร็น ขณะเดียวกัน พืชที่ได้รับ
ธาตุสังกะสีไม่เพียงพอ จะทำให้พืชเจริญเติบโต
ไม่สมบูรณ์ ผลผลิตต่ำ คุณภาพไม่ดี เป็นโรคได้ง่าย ไม่เติบโตหรือแคระแกร็น

ตามปกติแล้ว ร่างกายเราจำเป็นต้องได้รับธาตุสังกะสีทุก ๆ วัน โดยเด็กทารก ควรได้รับวันละประมาณ 5 มิลลิกรัม (มก.) เด็ก 10
มก. ผู้หญิง 12 มก. ผู้ชาย 15 มก. สตรีมีครรภ์ หรือมารดาที่อยู่ในช่วงให้นมบุตร จะต้องได้รับธาตุสังกะสีในปริมาณที่มากขึ้น
เพื่อพัฒนาทารกในครรภ์ หรือทารกแรกเกิด ธาตุสังกะสี มีมากในหอยนางรม 25 มก. เนื้อแดง 5.2 มก. ถั่ว 3 มก. สัตว์ปีก
1.5 มก. ไข่ไก่ 1.3 มก. ผลิตภัณฑ์จากนม 1.2 มก. ธัญพืช, ขนมปัง 1 มก. ปลา 0.8 มก. น้ำ ตาล, ผลไม้แช่อิ่ม 0.6 มก.
ผักกาดดอง, ผักเขียว 0.4 มก. มันฝรั่ง 0.3 มก.

รศ.ดร.เอมอร กล่าวถึงวิธีเพิ่มธาตุสังกะสี ให้กับทุกคนได้โดยการใส่ธาตุอาหารหลัก NPK ให้กับพืชที่เราปลูก เพราะนอกจาก
จะทำให้พืชเจริญเติบโตได้อย่างแข็งแรงและมีคุณภาพแล้ว ธาตุสังกะสีในพืช จะ เข้าสู่ร่างกายของผู้บริโภคได้เลย โดยสามารถ
ใส่ได้ทั้งข้าว พืชผัก หรือผลไม้ ซึ่งในหลายประเทศ ได้เริ่มผสมธาตุสังกะสีลงในปุ๋ย NPK แล้วทั้งในอเมริกา และยุโรป ซึ่งประเทศ
ไทยก็ควรจะให้ความสำคัญกับเรื่องนี้อย่างจริงจัง.



http://www.zincinfothailand.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539197244&Ntype=1

--------------------------------------------------------------------------------------------

9. ข้อเท็จจริงของธาตุสังกะสีต่อข้าวสาลี

สังกะสี : จุลธาตุที่จำเป็นต่อการเพิ่มผลผลิต และคุณค่าทางโภชนาการของข้าวสาลี


คำนำ
ข้าวสาลีเป็นพืชที่ปลูกกันแพร่หลายมากที่สุดในโลก มีพื้นที่ปลูกมากกว่า 240 ล้านเฮคตาร์ นอกจากนี้ ข้าวสาลียังจัดเป็นพืชอาหาร
ที่สำคัญที่สุดสำหรับมนุษยชาติ ในประเทศแถบเอเชีย พลังงานที่บริโภคเข้าไปในแต่ละวันมากกว่า 50 % ส่วนใหญ่มาจากข้าวสาลี
ซึ่งจัดว่าเป็นพืชอาหารหลักที่มีความสำคัญมากที่สุดเป็นอันดับสองในประเทศแถบนี้ โดยทั่วไปในเขตพื้นที่ที่ดินมีการขาดธาตุสังกะสี
อย่างรุนแรง ประชาชนในเขตเหล่านี้จะขาดธาตุสังกะสีเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศที่มีการบริโภคธัญพืชเป็นอาหารหลัก ดังนั้น
จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการปรับปรุงธัญพืชให้มีปริมาณธาตุสังกะสีที่เพียงพอ

การขาดธาตุสังกะสีจัดเป็นปัญหาวิกฤติต่อการผลิตข้าวสาลี และเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่าสังกะสีเป็นจุลธาตุที่มีการขาดมากที่สุดใน
ดินที่ใช้ปลูกธัญพืช ซึ่งมีผลให้การเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวสาลีลดลงอย่างรุนแรง (รูปที่ 1) เกือบ 50% ของดินปลูกข้าว
สาลีทั่วโลกจะมีปริมาณธาตุสังกะสีที่พืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้น้อยมาก การคงอยู่ของการขาดธาตุสังกะสีในดินอย่างกว้าง
ขวางเป็นเหตุให้เกิดการสูญเสียอย่างมากทั้งในด้านเศรษฐกิจของเกษตรกร (สำหรับมนุษย์ และสัตว์เลี้ยง) และคุณค่าทางโภชนา
การของผลผลิตเมล็ดธัญพืชลดลงอย่างเห็นได้ชัด ตัวอย่างเช่น การใช้ Diethylene Triamine Pentaacetic Acid
(DTPA) – extractable zinc เพื่อวัดค่าความเข้มข้นของธาตุสังกะสีในดิน พบว่าผลผลิตเมล็ดข้าวสาลีในเขตอนาโตเลียกลางที่
ลดลง 5% ถึง 554% เป็นผลเนื่องมาจากดินขาดธาตุสังกะสี



รูปที่ 1


การทดสอบดินที่ขาดธาตุสังกะสี
การทดสอบดินจัดเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการรวบรวมข้อมูลสภาวะของธาตุสังกะสีในดิน การวัดค่า DTPA-extractable zinc
เป็นวิธีที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในการทดสอบดิน เพื่อใช้เป็นตัวตัดสินสภาวะของธาตุสังกะสีในดิน โดยทั่วไปดินที่มีค่า DTPA- extra-
ctable zinc น้อยกว่า 0.5 ppm จัดว่ามีความเป็นไปได้ที่จะเกิดการขาดธาตุสังกะสี การใส่ปุ๋ยสังกะสีลงในดินที่มีค่า DTPA-
extractable zinc น้อยกว่า 0.25 ppm จะทำให้ผลผลิตเมล็ดข้าวสาลีเพิ่มขึ้น (มากกว่า 20%) ในแปลงทดสอบต่างๆ ที่ดำเนิน
การในประเทศอินเดียได้มีข้อมูลบ่งชี้ว่า การปลูกข้าวสาลีในดินที่มีค่า DTPA-extractable zinc น้อยกว่า 0.6 ppm จะให้
ผลตอบสนองในทางบวก เมื่อมีการใส่ปุ๋ยสังกะสีในอัตรา 5 กิโลกรัมสังกะสี/เฮคตาร์ (ประมาณ 25 กิโลกรัมของ ZnSO4.7H2O/
เฮคตาร์) เช่นเดียวกับในประเทศจีนที่มีการปลูกข้าวสาลี-ข้าวโพดในระบบพืชหมุนเวียน พบว่ามีความต้องการปุ๋ยสังกะสีเพิ่มขึ้นเนื่อง
จากความไม่สมดุลของธาตุอาหาร และการสูญเสียของธาตุสังกะสีในดินอย่างมากจากการปลูกพืชพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูง


การทดสอบพืชและการวิเคราะห์การขาดธาตุสังกะสี
ปฏิกิริยาของต้นข้าวสาลีที่แสดงลักษณะการขาดธาตุสังกะสีมากที่สุดคือ ความสูงและขนาดของใบที่ลดลง ตามมาด้วยการเกิด
อาการจุดไหม้สีน้ำตาล-ขาวบนใบที่มีอายุขนาดกลาง (ใบเพสลาด) และเมื่อการขาดธาตุสังกะสี เพิ่มรุนแรงมากขึ้น อาการจุด
ไหม้ จะแพร่ขยายไปทั่วใบมักพบความเสียหายเกิดขึ้นบริเวณกลางใบซึ่งแสดงลักษณะไหม้เกรียม “scorched” ให้เห็น (รูป
ที่ 2) โดยส่วนใหญ่ใบที่แสดงอาการขาดธาตุสังกะสีเช่นนี้จะมีค่าความเข้มข้นของธาตุสังกะสีต่ำกว่า 10-12 ppm ความเข้มข้นที่
จุดวิกฤตของธาตุสังกะสีในใบหรือส่วนยอดทั้งหมดในระยะการเจริญเติบโตของข้าวสาลี (โดยไม่คำนึงถึงความแปรปรวนทาง
พันธุกรรม) จะมีค่าอยู่ประมาณ 15-17 ppm ในแหล่งที่มีการขาดธาตุสังกะสี พบว่าความเข้มข้นของธาตุสังกะสีในเมล็ดข้าวสาลี
จะต่ำกว่า 15-20 ppm ในระหว่างข้าวสาลีสายพันธุ์ต่างๆ สายพันธุ์ Durum จะมีความไวต่อการขาดธาตุสังกะสีอย่างมาก จึง
สามารถใช้เป็นตัวชี้วัดที่ดีในเขตที่ยังคงพบว่ามีการขาดธาตุสังกะสีอยู่ โดยพืชจะแสดงอาการขาดธาตุสังกะสีให้เห็นก่อนและ
รุนแรงมากขึ้น ภายใต้สภาวะที่ดินมีการขาดน้ำ



รูปที่ 2


การแก้ปัญหาการขาดธาตุสังกะสี
การแก้ปัญหาการขาดธาตุสังกะสีสามารถทำได้ง่ายๆ โดยการใช้ ZnSo4.7H2O หรือ ZnO ใส่ลงในดิน ZnSO4 (ซิงก์ซัลเฟต)
จัดเป็นแหล่งให้ธาตุสังกะสีที่ใช้กันทั่วไปในการแก้ปัญหาการขาดธาตุสังกะสีในการปลูกพืช เนื่องจากมีราคาถูก ส่วน ZnO (ซิงก์
ออกไซด์) สามารถใช้เป็นแหล่งให้ปุ๋ยสังกะสีได้เช่นกัน อัตราใส่ธาตุสังกะสีในดินจะผันแปรอยู่ระหว่าง 10-100 กิโลกรัม ZnSO4.
7H2O/เฮคตาร์

การให้ปุ๋ยสังกะสีทางใบให้ผลในการแก้ปัญหาการขาดธาตุสังกะสีได้เช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตาม ในการเพิ่มผลผลิตเมล็ดธัญพืช
การให้ธาตุสังกะสีทางดินจะมีผลมากกว่าการให้ทางใบ สำหรับอัตราการให้ธาตุสังกะสีทางใบจะผันแปรอยู่ระหว่าง 2.5-10
กิโลกรัม ZnSO4.7H2O ต่อเฮคตาร์

ในกรณีที่ต้องการเพิ่มความเข้มข้นของธาตุสังกะสีในเมล็ดธัญพืช การให้ธาตุสังกะสีทางใบจะให้ผลดีกว่าการให้ทางดิน

ในปัจจุบันการเพิ่มความเข้มข้นของธาตุสังกะสีในเมล็ดธัญพืช จัดว่าเป็นความสำคัญเร่งด่วนของโลก เพื่อช่วยลดปัญหาทางสุขภาพ
ของประชากรที่ขาดธาตุสังกะสีมากกว่าหนึ่งพันล้านคน เนื่องจากข้าวสาลีเป็นพืชที่มีปริมาณความเข้มข้นของธาตุสังกะสีในตัวของ
มันเองน้อยอยู่แล้ว หากนำมาปลูกในพื้นที่ที่ขาดธาตุสังกะสี จึงยิ่งทำให้ความเข้มข้นของธาตุสังกะสีในเมล็ดข้าวสาลีลดลงมากขึ้น

ดังนั้นการใส่ปุ๋ยสังกะสีแก่ต้นข้าวสาลีทางดินและหรือทางใบ จึงเป็นหลักการที่สำคัญสำหรับการผลิตพืชที่ดีขึ้น รวมทั้งให้ผลต่อสุขภาพ
ที่ดีขึ้นของมวลมนุษย์



ที่มา : Micronutrients in Agriculture, SSSA Books , edited by J.J. Mortvedt , F.R. Cox, L.M. Shuman and R.M. Welch, 1991; Cakmak, I and Braun, H.J. 1999. Zinc deficiency and genotypic variation in wheat. In: Applying Physiology to Wheat Breeding.

http://www.zincinfothailand.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539249974&Ntype=10

-----------------------------------------------------------------------------------------------


10. ข้อเท็จจริงของธาตุสังกะสีต่อข้าวโพด

บทบาทที่สำคัญของธาตุสังกะสีต่อการเพิ่มผลผลิตและคุณค่าทางโภชนาการที่ดีขึ้นของข้าวโพด


คำนำ
ในบรรดาธัญพืชทั้งหมด ข้าวโพดจัดว่าเป็นธัญพืชที่ดีที่สุดในด้านการให้ผลผลิตโดยรวมของโลกและความสามารถในการให้ผล
ผลิตเมล็ดต่อพื้นที่ปลูกในปัจจุบันพื้นที่มากกว่า 150 ล้านเฮคตาร์ ใช้ในการปลูกข้าวโพด ข้าวโพดเป็นธัญพืชที่มีความสำคัญมาก
ที่สุดสำหรับใช้ในการเลี้ยงสัตว์ และยังใช้เป็นอาหารหลักสำหรับประชากรหลาย
ร้อยล้านคนในแถบเอเชีย แอฟริกา และลาติน
อเมริกา และยังจัดว่าเป็นแหล่งให้พลังงานและธาตุอาหารที่สำคัญสำหรับประชาชนในชนบทที่อาศัยอยู่ในประเทศกำลังพัฒนา
อย่างไรก็ตามข้าวโพดเป็นพืชที่มีปริมาณโปรตีน และธาตุอาหารรอง โดยเฉพาะธาตุสังกะสีในปริมาณที่น้อยมาก ดังนั้นในประเทศ
ที่มีการบริโภคข้าวโพดในปริมาณที่สูง จะพบว่ามีการขาดแคลนทางโภชนาหารของธาตุอาหารรองโดยเฉพาะธาตุสังกะสีสูงตาม
ไปด้วย การเพิ่มคุณค่าของข้าวโพดโดยการเพิ่มปริมาณของธาตุสังกะสีให้สูงขึ้น จึงเป็นการท้าทายต่อความเจริญก้าวหน้าของ
โลก เพื่อช่วยเหลือให้ประชาชนที่บริโภคข้าวโพดเป็นอาหารหลักมีชีวิตที่ดีขึ้น แม้ว่าข้าวโพดจะเป็นพืชที่มีความสามารถในการ
ให้ผลผลิตเมล็ดต่อพื้นที่ปลูกสูงมาก แต่ก็เป็นพืชที่จะได้รับผลกระทบอย่างสูงจากสภาพของดินและภูมิอากาศที่เลวร้าย เช่น
สภาวะแห้งแล้ง และการขาดธาตุอาหารของดิน นอกจากนี้ข้าวโพดยังจัดเป็น พืชที่ไวต่อการขาดธาตุสังกะสีเช่นเดียวกับข้าว
สาลีพันธุ์ Durum และข้าว (รูปที่ 1)

รูปที่ 1 : เปรียบเทียบการเจริญเติบโตของข้าวสาลีที่ปลูกบนดินที่ขาดธาตุ Zn (มีค่า DTPA- Zn ประมาณ 0.1 มก./ดิน 1
กก.) ที่มีการใส่ปุ๋ยสังกะสี 50 กก.ZnSO4.7H2O/เฮคตาร์ และไม่ใส่ปุ๋ยในแปลงทดลองของสถาบันทางการเกษตรนานาชาติ
Bahri Dagdas เมือง Konya อนาโตเลียกลาง


ลักษณะอาการขาดธาตุและความเข้มข้นของธาตุสังกะสีในใบ
อาการขาดธาตุสังกะสีในข้าวโพดที่พบเห็นโดยทั่วไป ส่วนใหญ่พบว่าใบอ่อนจะแสดงอาการเกิดเป็นแถบสีขาวหรือเหลืองขนานไป
กับเส้นกลางใบ ปล้องมีขนาดสั้นลง มีจุดแห้งและแดงเกิดขึ้นในลำดับต่อไป (รูปที่ 2) ใบที่แสดงอาการขาดธาตุสังกะสีดังแสดง
ในรูปที่ 2 จะมีธาตุสังกะสีอยู่ 8-10 ppm ของน้ำหนักแห้ง โดยทั่วไปปริมาณความเข้มข้นของธาตุสังกะสีถ้ามีค่าต่ำกว่า 15 ppm
จะจัดว่ามีการขาดธาตุสังกะสี ในบางครั้งผลผลิตของข้าวโพดที่ลดลงที่เป็นผลจากการขาดธาตุ Zn อาจไม่แสดงอาการให้เห็น
เช่นนี้ เช่นเดียวกันในพืชชนิดอื่นๆซึ่งมีเอกสารข้อมูลที่บันทึกไว้แล้ว การขาดธาตุ Zn ที่ไม่ปรากฏอาการให้เห็นนี้ บางกรณีอาจ
มีผลทำให้ผลผลิตลดลงได้ถึง 40%


การทดสอบดิน
การใช้สาร diethylene triamine pentaacetic acid ในการสกัดธาตุสังกะสี (DTPA-extractable zinc) เป็นวิธีที่ใช้
กันอย่างแพร่หลาย สำหรับใช้วัดสภาวะของธาตุสังกะสีในดิน การวิเคราะห์และทดสอบดินที่แตกต่างกันดำเนินการในสหรัฐ
อเมริกา และอินเดีย โดยการปลูกข้าวโพดในดินเหล่านี้ พบว่าความเข้มข้นของค่า DTPA-Zn ในดินจะมีความสัมพันธ์อย่างมาก
กับการดูดซึมธาตุ Zn ของราก และรายงานผลส่วนใหญ่พบว่าความเข้มข้นที่จุดวิกฤติที่เป็นประโยชน์ของค่า DTPA-Zn อยู่
ในช่วงระหว่าง 0.5 – 0.7 ppm พบบ่อยว่าข้าวโพดที่ปลูกในดินที่มีค่า DTPA-Zn น้อยกว่า 0.5 ppm จะแสดงการตอบสนอง
ต่อการใส่ปุ๋ยสังกะสี โดยให้ผลผลิตเมล็ดที่เพิ่มขึ้น ในเขตอนาโตเลียกลาง (ตุรกี) ซึ่งเป็นแหล่งที่ดินมีการขาดธาตุสังกะสีอย่าง
รุนแรง (มีค่า DTPA – Zn : 0.1 ppm) การปลูกพืชที่เหมาะสมและให้ผลผลิตที่ดีในพื้นที่เหล่านี้ จะเป็นไปไม่ได้เลย หากไม่มี
การใส่ธาตุสังกะสีลงในดิน (ดูรูปที่ 1)


การแก้ปัญหาการขาดธาตุสังกะสี
โดยทั่วไปจะใช้ซิงค์ซัลเฟต (ZnSO4) และซิงค์อ๊อกไซด์ (ZnO) สำหรับใส่ปุ๋ยสังกะสีให้กับพืช มีรายงานหลายชิ้นแสดงให้
เห็นว่าผลผลิตเมล็ดข้าวโพดสามารถเพิ่มขึ้นได้ถึง 50 % เมื่อมีการใส่ปุ๋ยสังกะสี 10 กิโลกรัม/เฮคตาร์ ทั้งในรูปของ ZnSO4
หรือ ZnO จากข้อมูลดังกล่าวการวางแผนการสร้างสมดุลในการใช้ปุ๋ยจึงต้องมีการเติมปุ๋ยสังกะสีลงไปด้วย เนื่องจากการทดลอง
ในแปลงทดลองในหลายประเทศโดยเฉพาะในประเทศอินเดีย แสดงผลให้เห็นว่าผลผลิตเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อมีการผสมธาตุ
Zn เข้าไปในแผนการสร้างสมดุลของปุ๋ยด้วย เนื่องจากการปลูกข้าวโพดพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูง จะทำให้ธาตุสังกะสีในดินที่พืชสามารถ
นำไปใช้ประโยชน์ได้ลดลงอย่างมาก ผู้ปลูกข้าวโพดจึงจำเป็นต้องมีการใส่ปุ๋ยสังกะสี หรือปุ๋ย NPK ที่ผสมธาตุสังกะสีลงไป
ด้วยให้แก่ต้นข้าวโพด เพื่อทำให้ข้าวโพดยังคงให้ผลผลิตสูงและได้ผลตอบแทนที่ดี

มีรายงานมากมายได้แสดงให้เห็นว่าธาตุฟอสฟอรัสเป็นตัวชักนำให้เกิดการขาดธาตุสังกะสี จึงจำเป็นต้องมีการวางแผนการใช้
ธาตุสังกะสีผสมเข้าไปในปุ๋ยด้วย เมื่อมีการใส่ปุ๋ยฟอสฟอรัสแก่พืชในปริมาณที่มากเป็นประจำ ปุ๋ยฟอสฟอรัสในอัตราที่สูงจะ
ไปยับยั้งการทำงานของเชื้อราไมโครไรซ่า Mycorrhizae ในราก(Mycorrhizae เป็นเชื้อราที่มีความสัมพันธ์กับราก โดยมี
ส่วนช่วยส่งเสริมให้รากมีการดูดซึมธาตุ Zn ในดินได้ดีขึ้น)

โดยทั่วไปการให้ธาตุสังกะสีในดินจะให้ผลในการเพิ่มผลผลิตเมล็ดได้ดีกว่าการให้ปุ๋ยทางใบ อย่างไรก็ตามการให้ปุ๋ยทางใบ
สามารถช่วยปรับปรุงความเข้มข้นของธาตุสังกะสีในเมล็ดซึ่งจะส่งผลดีต่อสุขภาพของมนุษย์ การบริโภคข้าวโพดเป็นอาหาร
หลักอย่างต่อเนื่องจะมีผลเชื่อมโยงกับการขาดธาตุสังกะสีของประชากรมนุษย์ ดังนั้นการใส่ปุ๋ยสังกะสีในดินและ/หรือบนใบ
ไม่เพียงแต่จะทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นแต่ยังช่วยเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการของเมล็ด สำหรับมวลมนุษย์อีกด้วย



ที่มา : Micronutrients in Agriculture , SSSA Books, edited By J.J. Mortvedt , F.R. Cox, L.M. Shuman and R.M. Welch, 1991

http://www.zincinfothailand.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539265978&Ntype=10

-------------------------------------------------------------------------------------------------



11. ข้อเท็จจริงของธาตุสังกะสีต่อข้าว

คำนำ
ระบบการผลิตข้าวมีความแตกต่างกันอย่างมากในด้านความถี่ของการปลูกพืชและผลผลิต ตั้งแต่การปลูกข้าวแบบนาปีครั้งเดียว
ในพื้นที่เขตอาศัยน้ำฝนบนที่ลุ่มและที่ดอน ซึ่งจะให้ผลผลิตต่ำ (1-3 ตัน/ เฮคตาร์) จนกระทั่งถึงปลูกข้าวแบบ 3 ครั้งต่อปีพื้นที่
เขตชลประทาน ซึ่งจะให้ผลผลิตเพิ่มสูงขึ้นถึง 15-18 ตัน/เฮคตาร์/ปี การปลูกข้าวในพื้นที่ลุ่มที่มีระบบชลประทานมีพื้นที่ปลูกที่
เก็บเกี่ยวได้ประมาณ 80 % ของพื้นที่ปลูกข้าวทั่วโลก ให้ผลผลิตรวม 92 % ของการผลิตข้าวทั้งหมด เพื่อเป็นการคงไว้ซึ่งจำนวน
ประชากรที่เพิ่มขึ้น การผลิตข้าวโดยรวมทั้งหมดจะต้องเพิ่มขึ้น 25% ในอีก 20 ปีข้างหน้า นอกจากนี้ข้าวยังเป็นแหล่งให้พลังงาน
มากถึง 80% ของพลังงานทั้งหมดที่บริโภคเข้าไปของประชาชนจำนวน 3.3 พันล้านคนในแถบเอเชีย

การปลูกข้าวให้ได้ผลผลิตสูงและมีสารอาหารมากต้องมีการปรับปรุงความสมดุลของธาตุอาหารพืชทั้งธาตุอาหารหลักและธาตุ
อาหารรอง(จุลธาตุ) พื้นที่มากกว่า 2 ใน 3 ของพื้นที่ปลูกข้าวทั่วโลกจะเป็นดินนาน้ำตม ซึ่งเป็นดินชนิดที่มีปริมาณธาตุสังกะสีที่
พืชนำไปใช้ประโยชน์ได้ต่ำมาก


ความสมดุลของธาตุอาหารพืช
การปลูกข้าวให้ได้ผลผลิตสูง ธาตุอาหารพืชต้องมีเพียงพอและมีความสมดุลกัน หากเป็นไปได้ควรมีการวิเคราะห์พืชและดิน เพื่อ
ใช้ประโยชน์สำหรับเป็นตัวชี้แนะในการกำหนดการวางแผนในการให้ปุ๋ยแก่พืช การขาดธาตุอาหารหรือการใช้ปุ๋ยที่ไม่มีความสมดุล
จะมีผลทำให้ผลผลิตลดลงได้ เมื่อไม่นานมานี้ได้มีงานวิจัยที่แสดงผลการลดลงของผลผลิตข้าวอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อธาตุสังกะสีมี
น้อยกว่าปริมาณที่เพียงพอ (ตารางที่ 1)


ตารางที่ 1 : ผลผลิตข้าวที่มีการใส่และไม่ใส่ธาตุสังกะสีที่เพียงพอ




ผลการทดลองในเรือนกระจกในพื้นที่ 140 แห่งโดยใช้ดินจาก 17 จังหวัดในประเทศจีน พบว่า 49%ของดินเหล่านี้ ขาด
ธาตุสังกะสี เมื่อทำการปลูกข้าวหลายๆ พันธุ์ พบว่าผลผลิตเฉลี่ยที่ได้มีเพียง 75% ของผลผลิตสูงสุดที่ควรได้ และการทดลอง
นี้ยังแสดงให้เห็นว่าผลผลิตจะลดลงอย่างรุนแรงเมื่อดินมีการขาดธาตุสังกะสี


การเกิดการขาดธาตุสังกะสี
การขาดธาตุสังกะสีจัดว่าเป็นจุลธาตุที่ก่อให้เกิดความผิดปกติอย่างกว้างขวางมากที่สุดในข้าว การขาดธาตุสังกะสีจะเพิ่มมากขึ้น
เมื่อมีการแนะนำให้ใช้ พันธุ์ข้าวพันธุ์ใหม่ และการปลูกข้าวหลายครั้งต่อปี ทำให้เพิ่มการเคลื่อนย้ายธาตุสังกะสีออกไปจากดิน
มากขึ้น ดินที่มีแนวโน้มที่จะขาดธาตุสังกะสีได้แก่ดินดังต่อไปนี้

- ดินที่เป็นกลาง และดินด่างคาร์บอเนตที่ประกอบด้วยธาตุไบคาร์บอเนตสูงในดินเหล่านี้ (ซึ่งพบแพร่กระจายอยู่ทั่วไปในอินเดีย
และบังกลาเทศ) จะพบการขาดธาตุสังกะสีเสมอ พร้อมๆ กับการขาดธาตุซัลเฟอร์

- ดินที่มีการปลูกพืชอยู่ตลอดเวลา และในอดีตที่ผ่านมามีการใส่ปุ๋ย N P และ K (โดยไม่มีธาตุสังกะสีผสมอยู่ด้วย) ในปริมาณที่มาก

- ดินนาข้าวที่มีน้ำท่วมขังเป็นเวลานาน (เช่น การปลูกข้าว 3 ครั้งในหนึ่งปี หรือการปลูกข้าวในพื้นดินที่ปล่อยทิ้งไว้ และมีการ
ระบายน้ำไม่ดีพอในช่วงที่ไม่มีการเพาะปลูก)

- ดินที่มีธาตุฟอสฟอรัสที่พืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้สูง





ธาตุสังกะสี
ในพื้นที่ที่ดินที่วิเคราะห์ได้รับการยืนยันว่ามีการขาดธาตุสังกะสี หรือในบริเวณที่คาดว่ามีการขาดธาตุสังกะสี ควรมีการใส่ธาตุ
สังกะสีในรูปของซิงก์ซัลเฟต ซิงก์ออกไซด์ หรือ ซิงก์คลอไรด์ ในดินประมาณ 5-10 กิโลกรัม/เฮคตาร์ ก่อนทำการหว่าน
เมล็ดข้าว หรือก่อนการย้ายกล้าปลูก ธาตุสังกะสีสามารถผสมรวมเข้าไปกับปุ๋ยเม็ด NPK หรือผสมเข้าไปในระหว่างการคลุกเคล้า
แม้ว่าจะมีข้อมูลว่าธาตุสังกะสีที่ใส่ลงในดินจะคงอยู่ได้เป็นเวลาหลายปี แต่ภายใต้สภาวะที่ดินมีการขาดธาตุสังกะสีอย่างรุนแรง
หรือภายใต้สภาพการจัดการที่มีการปลูกพืชที่ให้ผลผลิตสูงอยู่ตลอดเวลา ควรมีการใส่ปุ๋ยสังกะสีทุกๆ ปี


ความสมดุลระหว่างธาตุสังกะสีในพืชและโภชนาการของมนุษย์
การขาดธาตุสังกะสีในร่างกายมนุษย์ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ง่ายต่อการเกิดโรค โดยเฉพาะการติดเชื้อในระบบหายใจ
และโรคท้องร่วง ซึ่งเป็นสาเหตุการตายมากที่สุด 2 อันดับแรกของเด็กอายุ 1 เดือน ถึง 5 ขวบ ในแถบเอเชียใต้ และเอเชีย
ตะวันออกเฉียงใต้

ในการศึกษาวิจัยที่ดำเนินการในหมู่บ้าน 4 แห่งในประเทศบังกลาเทศ โดยการวิเคราะห์จากตัวอย่างของเมล็ดข้าวและเส้น
ผมของคน พบว่าระดับของธาตุสังกะสีในเส้นผมมีความสัมพันธ์ในทางบวก กับระดับของธาตุสังกะสีในเมล็ดข้าว ดังนั้นการปรับ
ปรุงให้มีส่วนประกอบของธาตุอาหารสังกะสีในข้าว จะมีผลให้เกิดประโยชน์ทางโภชนาการต่อมวลมนุษย์ เมื่อผนวกเข้ากับ
การปรับปรุงพันธุ์พืช การจัดการดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ที่เหมาะสม จะช่วยสนับสนุนเป้าหมายในการเพิ่มส่วนประกอบธาตุ
สังกะสีในเมล็ดข้าวสำหรับปรับปรุงโภชนาการที่ดีของมนุษย์
ทุกๆ ปี



http://www.zincinfothailand.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539265967&Ntype=10

----------------------------------------------------------------------------------------------------


12. สังกะสี กรณีศึกษา : ในตุรกี

กรณีศึกษา : ความสำเร็จกับปุ๋ยสังกะสีที่แคว้นอานาโตเลียกลาง


คำนำ
ช่วงต้นปี ค.ศ.1990 ข้าวสาลีที่ปลูกที่แคว้นอานาโตเลียกลาง ซึ่งเป็นพื้นที่หลักที่ผลิตธัญพืชมากที่สุดในประเทศตุรกี (4.5
ล้านเฮคตาร์) ได้แสดงอาการใบเหลืองซีดและมีจุดไหม้ ทำให้ลดการเจริญเติบโตของส่วนยอดและที่สำคัญที่สุด คือทำให้
ผลผลิตลดลง

จากการพบอาการผิดปกติของใบข้าวสาลีนี้ จึงได้มีการประเมินหาสาเหตุ และความเป็นไปได้ของดินในที่ต่างๆ และปัจจัยของ
สภาพแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อปัญหาที่พบในข้าวสาลี เช่น การขาดน้ำ การเกิดโรคความร้อน ความเป็นพิษของธาตุโบรอน
และการขาดจุลธาตุ เป็นที่รู้กันว่าดินในเขตที่มีความชื้นและอินทรียวัตถุต่ำ มีค่า pH และแคลเซียมคาร์บอเนตสูง ปัจจัย
เหล่านี้จะส่งผลให้มีการขาดธาตุสังกะสีในดินที่พืชจะนำไปใช้ประโยชน์ได้
โครงการวิจัยธาตุสังกะสี

การทดลองในแปลงทดลองที่เสร็จสมบูรณ์แล้ว ดำเนินการโดย Mr.Mufit Kalayci ที่สถาบันวิจัยทางการเกษตร
Transitional Zone เมือง Eskisehir โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงให้เห็นผลของจุลธาตุชนิดต่างๆ ต่อข้าวสาลี และข้าวบาร์เลย์
ผลการทดลองในแปลงครั้งแรก พบว่าการใส่ปุ๋ยสังกะสีมีผลทำให้ผลผลิตเมล็ดธัญพืชเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ และไม่
พบอาการเหลืองซีด หรือจุดไหม้บนใบพืช (รูปที่ 1) การใส่ปุ๋ยสังกะสีจะทำให้ผลผลิตเมล็ดข้าวสาลี และข้าวบาร์เลย์เพิ่ม
ขึ้นโดยเฉลี่ยประมาณ 55% ในขณะที่จุลธาตุชนิดอื่นมีผลน้อยมากจนถึงไม่มีผลต่อผลผลิตเลย เพื่อที่จะค้นคว้าหาสาเหตุ
ที่แฝงอยู่ของปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของข้าวสาลีในระยะยาว โครงการความร่วมมือระหว่างสถาบัน จึง
ได้เกิดขึ้นและมีการดำเนินการในระหว่างปี ค.ศ. 1993-1997 ในแคว้นอานาโตเลียกลาง เช่นเดียวกับโครงการ NATO-
funded Zinc ภายใต้การนำของ Professor Ismail Cakmak ซึ่งเป็นการรวมเอานักวิทยาศาสตร์ และนักวิชาการเกษตร
จากมหาวิทยาลัย Cukurova , สถาบันวิจัยทางการเกษตร Transitional Zone เมือง Eskisehir, ศูนย์วิจัยเกษตรนานาชาติ
Bahri Dagdas เมือง Konya และ CIMMYT-Ankara พบว่าผลการทดลองในหลายๆพื้นที่ให้ผลเป็นที่น่าพอใจ โดยผลผลิต
เมล็ดข้าวสาลีที่เพิ่มขึ้นเป็นผลมาจากการใส่ปุ๋ยสังกะสี ในบางพื้นที่ซึ่งดินมีธาตุสังกะสีที่พืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
น้อยมาก ผลผลิตเมล็ดข้าวสาลีจะต่ำมาก และให้ผลไม่คุ้มค่าทางเศรษฐกิจ (เช่น ให้ผลผลิต 250 กก./เฮคตาร์) การใส่ปุ๋ย
สังกะสีในดินเหล่านี้ จะมีผลทำให้การเจริญเติบโตสูงขึ้น และให้ผลผลิตเมล็ดข้าวสาลีเพิ่มขึ้นอย่างมากมาย 6-8 เท่า
จากเดิมให้ผลผลิต 250 กก./เฮคตาร์ เป็น 2,000 กก./เฮคตาร์

นอกจากพื้นที่ดังกล่าวแล้วยังมีพื้นที่อีกจำนวนหนึ่งในแคว้นอานาโตเลียกลาง ที่ผลการใส่ปุ๋ยสังกะสี จะทำให้ผลผลิตเมล็ดข้าว
สาลีเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 20% และไม่พบอาการใบเหลืองซีด หรือจุดไหม้บนใบข้าวสาลี นอกจากนี้ยังมีข้อมูลแสดงให้เห็น
ว่า ผลผลิตที่เพิ่มขึ้นจากการใส่ปุ๋ยสังกะสีจะเด่นชัดมากขึ้นเมื่อปลูกในพื้นที่เขตเกษตรน้ำฝน มากกว่าในเขตชลประทาน
จึงเป็นตัวบ่งชี้ได้ว่าพืชจะแสดงความไวอย่างมากต่อการขาดธาตุสังกะสีภายใต้สภาวะที่ขาดน้ำ


ประโยชน์จากการใช้ปุ๋ยสังกะสี
จากผลของการใช้ปุ๋ยสังกะสีต่อผลิตผลข้าวสาลีในแคว้นอานาโตเลียกลาง ส่งผลให้เกษตรกรและอุตสาหกรรมปุ๋ยเพิ่มความ
สนใจในการนำปุ๋ยสังกะสีมาใช้ในการเกษตรเป็นผลให้มีการผลิต และใช้ปุ๋ยที่ผสมธาตุสังกะสีในปริมาณที่เพิ่มขึ้น ในแคว้น
อานาโตเลียกลาง และเขตอื่นๆ ของประเทศตุรกี ในบรรดาบริษัทปุ๋ยในประเทศตุรกี บริษัทอุตสาหกรรมเคมีและปุ๋ย TOROS
เป็นแห่งแรกที่ตอบสนองต่อผลของโครงการนี้ และได้ทำการผลิตปุ๋ย NP และ NPK ที่มีส่วนผสมของธาตุสังกะสีอยู่ด้วย
1% ต่อมาบริษัทปุ๋ยอื่นๆ จึงได้เริ่มทำการผลิตปุ๋ยผสมธาตุสังกะสี เช่น บริษัท Gubretas และบริษัท Bagfas ในปัจจุบัน
เกือบ 15 ปี หลังจากปัญหาการขาดธาตุสังกะสีได้มีการตรวจพบปริมาณการใช้ปุ๋ยผสมธาตุสังกะสีในประเทศตุรกี ได้เพิ่ม
ขึ้นจากการไม่ได้ใช้เลย (ศูนย์) ในปี ค.ศ.1994 มาเป็น 400,000 ตัน/ปี ในปัจจุบัน (รูปที่ 2)


จากผลดังกล่าว CIMMYT-Ankara (The International Maize and Wheat Improvement Center –
ศูนย์ปรับปรุงข้าวโพดและข้าวสาลีนานาชาติ) และกระทรวงเกษตร ได้มีการคาดการณ์ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจที่ได้
รับจากการใช้ปุ๋ยสังกะสีในการปลูกพืชประมาณ 100 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี


ผลตอบแทนจากการลงทุน
การทดลองปลูกข้าวสาลี 4 สายพันธุ์ในเขตชลประทาน พบว่าผลผลิตข้าวสาลีเพิ่มขึ้นระหว่าง 29-355% ผลผลิตเพิ่มขึ้นเฉลี่ย
58% ค่าเฉลี่ยของมูลค่าที่เพิ่มขึ้น/เฮคตาร์ ของข้าวสาลี 4 สายพันธุ์อยู่ที่ 477 เหรียญสหรัฐ ถ้าคำนวณโดยให้ผลผลิตเพิ่ม
ขึ้น 20% ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่จะได้กำไรจากผลผลิตในระยะยาวจากการใช้ปุ๋ยสังกะสี เกษตรกรสามารถคาดหมายได้ว่า
จะมีรายได้เพิ่มขึ้น 123 เหรียญสหรัฐ/เฮคตาร์


ผลกระทบต่อโภชนาการของมนุษย์
การใช้ปุ๋ยสังกะสีมีผลทำให้ปริมาณธาตุสังกะสีในเมล็ดข้าวสาลีเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ประชากรที่มีรายได้ต่ำในประเทศตุรกีได้
รับธาตุสังกะสีที่บริโภคเข้าไปในแต่ละวันในปริมาณที่มากขึ้น ข้าวสาลีจัดเป็นแหล่งของพลังงานหลักที่บริโภคเข้าไปในแต่
ละวัน โดยเฉลี่ยข้าวสาลีอย่างเดียวจะให้พลังงานถึง 45% ของพลังงานที่บริโภคเข้าไปในแต่ละวันของประชากรในระดับประเทศ
และเป็นไปได้ที่จะให้พลังงานถึง 75% ในบางพื้นที่ในเขตชนบท การใช้ปุ๋ยผสมธาตุสังกะสี (เกษตรชีวภาพ) จะใช้แก้ปัญหา
การขาดธาตุสังกะสีในประชากรได้อย่างรวดเร็ว

ในปัจจุบันประชาชนจำนวนมากเชื่อมั่นว่า ธัญพืชจัดเป็นแหล่งของพลังงานหลักที่บริโภคเข้าไปในแต่ละวัน ดังนั้นจึงมุ่งหวัง
ว่าโครงการ NATO-Zinc ซึ่งมีการใช้เกษตรดีที่เหมาะสมจะนำมาใช้ในการจัดการกับสุขภาพของสาธารณชนได้ ในขณะ
เดียวกันการปรับปรุงการผลิตพืชสามารถนำไปปรับใช้กับพื้นที่อื่นๆ ของโลกที่มีการขาดธาตุสังกะสีได้เช่นกัน องค์การ IFA
(สมาคมปุ๋ยนานาชาติ) ได้ยอมรับความสำเร็จของโครงการนี้ต่อโภชนาการของมนุษย์ และการผลิตพืชในประเทศตุรกี
โดยการมอบรางวัล International Crop Nutrition ให้ด้วย

“การริเริ่มดำเนินการที่แคว้นอานาโตเลียกลาง เป็นหนึ่งในตัวอย่างแรกของโลกที่ใช้ระบบเกษตรดีที่เหมาะสมในการจัดการ
ปัญหาสุขภาพของสาธารณชน เช่นเดียวกับการปรับปรุงการผลิตพืช และประสบความสำเร็จอย่างมากในการจัดหารูปแบบ
สำหรับประเทศอื่นๆ มีดินทั่วโลกอีกจำนวนมากที่ขาดธาตุสังกะสีมากกว่าจุลธาตุชนิดอื่นๆ ประมาณ 50% ของประชากรโลก
ประสบปัญหาจากการขาดธาตุเหล็กและสังกะสี ซึ่งสามารถจัดการแก้ไขโดยการลงทุนที่ได้รับผลตอบแทนวิธีนี้” – สมาคม
อุตสาหกรรมปุ๋ยนานาชาติ



คำขอบคุณ
IZA ขอขอบคุณ Dr.Ismail Cakmak มหาวิทยาลัย Sabanci (ตุรกี) สำหรับความช่วยเหลือในการจัดพิมพ์ผลงานกรณี
ศึกษาครั้งนี้ รวมทั้งการสนับสนุนด้านเอกสารวิชาการ ตารางข้อมูล และรูปภาพ


เอกสารอ้างอิง (References)
-Bagci, SA., Ekiz, A. and Cakmak, I.2007 : Effects of zinc deficiency and drought on grain yield of field-grown wheat cultivars in Central Anatolia. J Agron Crop Sci, 193:198-206.

-Cakmak, I. 2008:Enrichment of cereal grains with zinc: Agronomic or genetic biofortification? Plant and Soil, 302:1-17

-Cakmak, I. , Yilmaz, A. ,Ekiz, H. ,Torun, B., Erenoglu, B. and Braun HJ. 1996: Zinc Deficiency as a critical nutritional problem in wheat production in Central Anatolia. Plant Soil, 180:165-172

-Cakmak, I., Kalayci, M., Ekiz, H., Braun, HJ. And Yilmaz A. 1999: Zinc deficiency as an actual problem in plant and human nutrition in Turkey: A NATO-Science for Stabillity Project. Field Crop Res., 60: 175-188.

-Cakmak, I.2005: Identification and correction of widespread zinc deficiency in Turkey,A success story. IFS Proceedings No.552, International Fertillizer Society, York.UK, pp 1-28

-Eyupoglu, F., Kurucu, U. 1994: Status of plant available micronutrients in Turkish soils (in Turkish). Annual Report, ReportNo: R-118. Soil and Fertillizer Research Institute,Ankara, 25-32.

-Phillips, M.R., 2006: Economic benefits from using micronutrients for the farmer, Rio Tinto Borax.UK, pp.5-6

-Sillanpaa, M. 1982: Micronutrients and the nutrient status of soils: FAO Soils Bulletin 48. Food and Agriculture Organization of the United Nations, Rome, 75-82.


http://www.zincinfothailand.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539265979&Ntype=10

----------------------------------------------------------------------------------------------


13. คำตอบเกี่ยวกับบทบาทของธาตุสังกะสีในธาตุอาหารพืช

ความสำคัญของธาตุสังกะสี
ธาตุสังกะสีเป็นจุลธาตุที่มีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตและการพัฒนาของพืช สัตว์ และมนุษย์ เป็นจุลธาตุที่มีความต้องการ
ในปริมาณน้อย แต่มีความจำเป็นอย่างมากต่อการทำงานในระบบต่างๆ ธาตุสังกะสีมีบทบาทสำคัญต่อระบบทางชีวเคมี เช่น ดูแล
รักษาโครงสร้างทางชีวเคมีของผนังเซลล์ให้สมบูรณ์ ช่วยในการสังเคราะห์โปรตีนโดยตรง และการแสดงออกทางพันธุกรรม
ในระหว่างธาตุโลหะทั้งหมด ธาตุสังกะสีเป็นธาตุที่มีความต้องการมากที่สุดสำหรับใช้เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาการทำงานของโปรตีน
โปรตีนที่มีธาตุสังกะสีเกาะอยู่จะมีปริมาณเกือบ 10% ของโปรตีนทั้งหมดในระบบชีวเคมี ถ้าปริมาณธาตุสังกะสีที่สามารถนำ
ไปใช้ประโยชน์ได้มีไม่เพียงพอ จำนวนของขบวนการทางสรีระวิทยาและการพัฒนาจะถูกทำให้แย่ลงอย่างรวดเร็ว มีผลกระทบ
ต่อระบบสุขภาพของร่างกายมนุษย์และสัตว์อย่างเห็นได้ชัด เช่น ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง การทำงานของสมองเลวลง
และเกิดผลเสียอย่างรุนแรงต่อการเจริญเติบโต และให้ผลผลิตของพืชที่ปลูก


ความสำคัญของการขาดธาตุสังกะสีในพืช
ธาตุสังกะสีเป็นจุลธาตุที่มีปัญหาการขาดมากที่สุดในโลก โดยเฉพาะในพืชธัญพืช เกือบ 50% ของดินที่ใช้ในการเพาะปลูก
ทั่วโลกมีปริมาณธาตุสังกะสีที่พืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้น้อยมาก พืชที่ปลูกในพื้นที่ที่มีการขาดธาตุสังกะสี จะมีผลทำ
ให้ผลผลิตลดลง และส่วนของพืชที่บริโภคได้จะมีความเข้มข้นของธาตุสังกะสีในปริมาณที่ต่ำมาก (เช่น ในเมล็ดธัญพืช)
ดังนั้น การขาดธาตุสังกะสีจึงเป็นปัญหาทางโภชนาการที่รุนแรงต่อสุขภาพของมวลมนุษย์ โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนา
ซึ่งบริโภคธัญพืชเป็นอาหารหลัก


ดินที่มีความเสี่ยงสูงที่เป็นเหตุให้พืชขาดธาตุสังกะสี
สภาพของดินที่ทำให้เกิดการขาดธาตุสังกะสีมากที่สุด จะมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งหรือมากกว่า ดังต่อไปนี้
- มีปริมาณธาตุสังกะสีต่ำ (เช่น ดินทรายที่มีอินทรีย์วัตถุต่ำ)
- ดินที่มีค่า pH เป็นกลางหรือเป็นด่าง (ดินด่างคาร์บอเนต)
- ดินที่มีความเข้มข้นของเกลือสูง (เช่น ดินเค็ม)
- มีค่า pH ต่ำ วัตถุต้นกำเนิดดินที่มีการสลายตัวของหิน และแร่สูง เช่น ดินในเขตร้อน
- ดินที่มีส่วนประกอบของซากพืชและสัตว์ (ดินอินทรีย์)
- ดินที่มีฟอสเฟตสูง
- ดินที่มีน้ำท่วมขังเป็นเวลานาน หรือดินนาน้ำขัง (ดินนาน้ำตม)


สภาพภูมิอากาศที่ส่งผลให้พืชขาดธาตุสังกะสี
- ความแห้งแล้ง : การขาดธาตุสังกะสีจะเพิ่มมากขึ้นภายใต้สภาพที่น้ำในดินขาดแคลน เนื่องจากทำให้การเคลื่อนที่ และปริมาณ
ของธาตุสังกะสีในดินที่พืชสามารถดูดไปใช้ประโยชน์ได้ลดลง

- ความเข้มข้นของแสงสูง : มีผลทำให้พืชที่ขาดธาตุสังกะสีอ่อนแออย่างมาก เนื่องจากไปเพิ่มการสร้างอนุมูลอิสระอย่างรุนแรง
ในเซลล์ที่ขาดธาตุสังกะสี

- อุณหภูมิของดินต่ำ : ส่งผลให้เพิ่มพัฒนาการการขาดธาตุสังกะสี โดยไปยับยั้งการดูดซึมธาตุสังกะสีของราก


อาการขาดธาตุสังกะสีที่ปรากฏให้เห็น
ส่วนใหญ่อาการขาดธาตุสังกะสีจะปรากฏให้เห็นบนใบอ่อน หรือใบที่มีอายุขนาดกลาง (ใบเพสลาด) อาการที่เห็นเด่นชัด คือ

- ใบเหลืองซีด ..... ใบจะเปลี่ยนสีจากเขียวปกติไปเป็นสีเขียวอ่อนหรือเหลือง เนื่องจากปริมาณคลอโรฟิลด์ในใบลดลง
หรือเกิดปฏิกิริยา oxidation ของคลอโรฟิลด์ โดยทั่วไปการเกิดใบเหลืองซีด จะเกิดขึ้นระหว่างเส้นใบในพืชใบเลี้ยงเดี่ยว
(ธัญพืชและหญ้า) และระหว่างเส้นใบของพืชใบเลี้ยงคู่ (พืชใบกว้าง)

- เกิดจุดแห้งบนใบ .....เกิดในพื้นที่ใบที่มีอาการเหลืองซีด เนื่องจากการตายของเนื้อเยื่อพืช ในข้าวสาลี จุดแห้งจะพบมาก
บนใบเพสลาด

- ใบมีสีบรอนซ์ ..... พัฒนามาจากการเกิดจุดสีน้ำตาลแดง/รอยแผลบนใบ ส่วนมากพบในใบข้าว

- ใบอยู่รวมเป็นกระจุก ...... เกิดเมื่อส่วนปล้องของลำต้นในพืชใบเลี้ยงคู่ไม่มีการยืดตัว ส่งผลให้ใบมาอยู่รวมกันเป็นกระจุก
แทนที่จะแพร่กระจายไประหว่างข้อเหมือนในพืชที่สมบูรณ์ ส่วนใหญ่พบในต้นไม้ผล

- ต้นแคระแกรน......ลดการยืดตัวของลำต้น
- ใบมีขนาดเล็ก ..... อาจเรียกว่า “ใบเล็ก”
- ใบผิดปกติ ..........ใบจะแคบ และ/หรือ ขอบใบหยักเป็นคลื่น แทนที่จะเหยียดตรง

เมื่อเปรียบเทียบอาการขาดธาตุสังกะสีของพืชกับธาตุอาหารหลักและจุลธาตุชนิดอื่นๆทั้งหมด จะพบว่าอาการที่แสดงการขาด
สังกะสีจะพบเสมอๆทั้งบนใบอ่อน และใบเพสลาด ส่วนการขาดธาตุทองแดง ธาตุเหล็ก และธาตุแมงกานิส ส่วนใหญ่จะแสดง
อาการให้เห็นบนใบอ่อนมากกว่า ในขณะที่การขาดธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โปแตสเซียม และแมกนีเซียม จะแสดงให้เห็น
บนใบแก่

การพิจารณาปริมาณความเข้มข้นที่จุดวิกฤติที่แสดงว่าดินและเนื้อเยื่อพืชขาดธาตุสังกะสี
วิธีการวัดค่าของ Diethylene Triamine Pentaacetic Acid (DTPA)-extractable zinc เป็นวิธีที่ใช้กันแพร่หลาย
ในการใช้วิเคราะห์ความเข้มข้นของธาตุสังกะสีในดิน โดยปกติถ้าดินมีค่า DTPA- extractable zincน้อยกว่า 0.5 ppm แสดง
ว่าดินมีการขาดธาตุสังกะสี การใส่ปุ๋ยสังกะสีลงในดินที่มีค่า DTPA- extractable zinc น้อยกว่า 0.25 ppm
จะมีผลทำให้ผลผลิตพืชเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด สำหรับในพืชปริมาณความเข้มข้นที่จุดวิกฤติของธาตุสังกะสีบนใบที่แสดงว่าพืช
ขาดธาตุสังกะสีจะอยู่ในช่วงระหว่าง 15-20 ppm ใบที่ขาดธาตุสังกะสีจะแสดงอาการให้เห็นเด่นชัด เช่น จุดไหม้บนใบข้าว
สาลี ใบข้าวมีสีบรอนซ์ หรือใบมีขนาดเล็กลงในไม้ผล ซึ่งโดยทั่วไปจะมีปริมาณ
ความเข้มข้นของธาตุสังกะสีต่ำกว่า 10-12
ppm สำหรับพื้นที่ที่มีการขาดธาตุสังกะสี พบว่าปริมาณความเข้มข้นของธาตุ
สังกะสีในเมล็ดธัญพืชที่ปลูกในบริเวณนี้
จะต่ำกว่า 15-20 ppm


วิธีการจัดการกับดินที่ขาดธาตุสังกะสี
ดินที่ขาดธาตุสังกะสีสามารถแก้ไขได้อย่างง่ายดาย โดยการใส่ปุ๋ยสังกะสีในดินเพื่อให้พืชได้รับธาตุสังกะสีอย่างเพียงพอ มีการ
ใช้สารประกอบสังกะสีหลายชนิดเป็นปุ๋ยเพื่อให้ธาตุสังกะสีแก่ดินและพืช แต่สารประกอบสังกะสีซัลเฟต จัดเป็นสารประกอบ
ที่นำมาใช้เป็นปุ๋ยให้ธาตุสังกะสีอย่างแพร่หลายมากที่สุด เนื่องจากสภาพของดินโดยทั่วไปมีความแตกต่างกันมาก และมีโอกาสที่
จะขาดธาตุสังกะสีได้วิธีที่ดีที่สุด ถ้าเป็นไปได้ที่จะใช้ในการจำแนก และจัดการกับดิน คือการวิเคราะห์ปริมาณธาตุสังกะสีในดิน
และพืช อัตราการใส่ปุ๋ยสังกะสีในดินจะแตกต่างกันตั้งแต่ 10-100 กิโลกรัม. ZnSO4.7H2O/เฮคตาร์ นอกจากนี้ปุ๋ย
สังกะสีสามารถใส่ลงในดินหลังจากทำการใส่ปุ๋ย NPK ตามปกติ ปุ๋ย NPK และปุ๋ย
ยูเรียที่มีธาตุสังกะสีผสมอยู่ด้วย 1%
สามารถหาได้ง่ายในหลายๆ ประเทศ


ความสำคัญในการวางแผนการสร้างสมดุลต่อความสมบูรณ์ของดิน
การใส่ธาตุอาหารที่เพียงพอ และสมดุลเป็นสิ่งจำเป็นในการผลิตและดูแลรักษา เพื่อให้พืชให้ผลผลิตสูงสุด ซึ่งจะมีผลให้ได้รับผล
กำไรสูงสุดเช่นกัน เมื่อพิจารณาถึงกลุ่มจุลธาตุ ธาตุสังกะสีจัดว่ามีความจำเป็นเช่นเดียวกับธาตุอาหารพืชชนิดอื่นๆ ไม่ว่าจะใน
ปริมาณที่มากหรือน้อยก็ตาม สภาวะการขาดธาตุสังกะสีมักพบเกิดขึ้นเสมอๆ เมื่อปริมาณธาตุอาหารขาดความสมดุล ทำให้ผล
ผลิตและรายได้ลดลง เนื่องจากธาตุสังกะสีในดินที่พืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้มีการสูญเสียไปในปริมาณมาก จากการปลูก
พืชพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูง การวางแผนการสร้างสมดุลของปุ๋ยจึงต้องมีการใส่ธาตุสังกะสีลงไปด้วย


การจัดการกับดินที่ขาดธาตุสังกะสี
เป็นที่รู้กันว่าแนวความคิดในการนำ 4R Nutrient Stewardship Concept มาใช้ในการจัดการปุ๋ยจัดเป็นนวัตกรรมใหม่
ที่ดีที่สุด (Best management practices-BMP’s) ซึ่ง 4R’s คือตัวแทนของแหล่งที่ดี (Right Source), อัตราที่ถูก
ต้อง (Right Rate), เวลาที่ดี (Right Time) และสถานที่เหมาะสม (Right place) ในการใช้จัดการความอุดมสมบูรณ์
ของดิน และสามารถนำไปปรับใช้ในการจัดการธาตุอาหารพืชทั่วไป หรือปุ๋ยชนิดพิเศษได้ด้วย แนวความคิดนี้จะช่วยให้เกษตร
กรและบุคคลทั่วไปได้เข้าใจว่าจะทำอย่างไรในการสนับสนุนให้มีการจัดการ การใช้ปุ๋ยในการเกษตรอย่างถูกต้องเหมาะสมและ
ยั่งยืน ตัวอย่างเช่น ผู้ผลิตพืชและที่ปรึกษาได้นำแนวความคิด 4R Nutrient Stewardship Concept มาใช้ในการ
เลือกแหล่ง-อัตรา-เวลา และสถานที่ที่ดีและผสมผสานกับผลงานวิจัยของนักวิชาการเกษตรที่ประสบความสำเร็จแล้ว
มาใช้ในการปลูกพืช



http://www.zincinfothailand.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539265973&Ntype=10

----------------------------------------------------------------------------------------------------


14. เพิ่ม “สังกะสี” พัฒนาคุณภาพไม้ผลภาคตะวันออก

หลังพบพื้นที่กว่าร้อยละ 50 ประสบปัญหา

สังกะสี ไม่ใช่มีประโยชน์ต่อภาคอุตสาหกรรมเท่านั้น สังกะสียังเป็นธาตุอาหารที่สำคัญต่อการสังเคราะห์แสงและการ
เจริญเติบโตของพืชด้วย

พื้นที่สวนผลไม้ภาคตะวันออกที่จริงไม่ขาด “ธาตุสังกะสี” แต่ความไม่รู้ของเกษตรกรทำให้เกิดปัญหาดังกล่าว ที่
ส่งผลอย่างคาดไม่ถึง

บริษัท ผาแดงอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้ผลิตแร่สังกะสีเพื่อถลุงเป็นโลหะสังกะสีแท่งบริสุทธิ์สำหรับภาค อุตสาหกรรม
ได้จัดกิจกรรมเยี่ยมชมสวนผลไม้จังหวัดจันทบุรี เผยแพร่คุณประโยชน์ของสังกะสีในด้านธาตุอาหารที่มีความสำคัญต่อพืช
โดยนักวิจัยพบว่า พื้นที่เกษตรกรรมภาคตะวันออกซึ่งปลูกไม้ผลกว่าร้อยละ 50 มีปัญหาขาดธาตุสังกะสี หลังเกษตรกรเพิ่ม
ธาตุสังกะสีทางใบ ทำให้ผลผลิตดีขึ้น

คุณ ชิตชัย ทวีพาณิชย์ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายทรัพยากรบุคคลและบริหารงานกลาง
บริษัท ผาแดงอินดัสทรี จำกัด (มหาชน)
กล่าวว่า แม้ว่าผลิตภัณฑ์ของบริษัทจะใช้ประโยชน์ในภาคอุตสาหกรรมเป็นส่วนใหญ่ แต่สังกะสียังมีความสำคัญต่อภาค
เกษตรกรรมด้วยเช่นกัน เพราะเป็นธาตุอาหารที่ช่วยทำให้พืชสังเคราะห์แสงและเจริญเติบโตได้ดียิ่ง ขึ้น กิจกรรมครั้งนี้มุ่ง
ส่งเสริมความรู้เรื่อง “สังกะสีที่มีความสำคัญต่อพืช” หลังจากที่ได้จัดกิจกรรม
“สังกะสีสำคัญต่อสุขภาพ” ไปแล้ว เมื่อ
ปลายปี 2552

รศ.ดร.สุมิตรา ภู่วโรดม ผู้เชี่ยวชาญการวิเคราะห์ดินและพืช จากคณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า
เจ้าคุณทหารลาดกระบัง ซึ่งดำเนินงานวิจัยช่วยเกษตรกรพัฒนาคุณภาพผลไม้ในพื้นที่ภาคตะวันออก กล่าวว่า จากการทำงาน
วิจัยเพื่อศึกษาความต้องการธาตุอาหารและการวิเคราะห์ดินและพืชใน สวนผลไม้ภาคตะวันออก เป็นระยะเวลา 12 ปี นั้น เริ่ม
ต้นจากการศึกษาทุเรียนก่อน ต่อมาได้สังเกตเห็นปัญหาของสวนมังคุดในภาคตะวันออก ที่ส่วนใหญ่เกือบร้อยละ 50 มีอาการ
ขาดธาตุสังกะสี คือ มีใบขนาดเล็กปะปนกับใบใหญ่จำนวนมาก ทำให้การสังเคราะห์แสงเพื่อผลิตอาหารเลี้ยงลำต้นไม่สมบูรณ์
ภาวะดังกล่าวเกิดจากสาเหตุของฟอสฟอรัส (P) ที่สะสมในดินมีปริมาณมาก จึงเป็นอุปสรรคสำคัญที่ขัดขวางไม่ให้พืชดูดธาตุ
สังกะสีมาบำรุงต้นได้ ทั้งนี้ มาจากความเข้าใจผิดของเกษตรกรที่คิดว่า การใส่ปุ๋ย P จะช่วยเร่งดอก ทำให้ติดลูกดี และคิดว่าธาตุ
อาหารพืชมีแค่เพียงปุ๋ย N-P-K เท่านั้น โดยใส่ปุ๋ยสูตรเดิมมานับสิบๆ ปี หลังจากได้แนะนำเกษตรกรให้ฉีดพ่นปุ๋ยสังกะสีผ่าน
ทางใบมังคุด ทำให้ใบมีขนาดใหญ่สม่ำเสมอทั้งต้น พร้อมกันนี้ยังได้แนะนำให้เกษตรกรให้ธาตุอาหารอื่นๆ แก่พืชอย่าง
เหมาะสม เพื่อปรับปรุงลักษณะผลและรสชาติควบคู่กันไปด้วย ส่งผลให้ผลผลิตมังคุดมีคุณภาพดีขึ้นมาก เป็นที่ต้องการ
ของตลาดทั้งในและต่างประเทศ

คุณสงวน บุญญฤทธิ์ เกษตรกรรายหนึ่งของกลุ่มปรับปรุงคุณภาพมังคุดเพื่อการส่งออก กล่าวว่าหลังจากได้ทำตามคำแนะนำ
ของ ดร.สุมิตรา มาอย่างต่อเนื่อง ทำให้สามารถคัดผลผลิตมังคุดเพื่อการส่งออก จากร้อยละ 30 ของผลผลิตทั้งหมด เพิ่ม
ขึ้นเป็น ร้อยละ 90 ในปัจจุบัน โดยมังคุดจะมีขนาดผลตั้งแต่ 90 กรัม ขึ้นไป ผิวมัน ไม่มีกระ เปลือกบาง เนื้อขาว รสชาติหวาน
ไม่เป็นเนื้อแก้ว ยางไหล ซึ่งขณะนี้ตลาดต่างประเทศทั้งญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและจีน มีความต้องการสูงมาก อีกทั้งจำหน่ายได้ใน
ราคาสูงเป็นที่น่าพอใจ มีต้นทุนการผลิตต่ำลง โดยลดการใช้ปุ๋ยที่ไม่จำเป็น

รศ.ดร.สุมิตรา ภู่วโรดม กล่าวทิ้งท้ายว่า สังกะสี เป็นธาตุอาหารที่พืชต้องการเพียงเล็กน้อย แต่มีความสำคัญมากและขาด
ไม่ได้ เช่นเดียวกับธาตุอาหารอื่นๆ การปลูกไม้ผลให้มีรสชาติดีต้องรู้จักให้ธาตุอาหารที่เหมาะสม เพราะพืชแต่ละชนิดต้อง
การธาตุอาหารที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งเป็นเรื่องยากและซับซ้อนที่จะเข้าใจได้แตกฉาน งานวิจัยที่ลึกพอจึงจะให้คำตอบแก่เกษตรกรได้

ถามข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อ บริษัท ผาแดงอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) ส่วนประชาสัมพันธ์ โทร. (02) 695-9499 ต่อ 9408-9


สังกะสี มีความจำเป็นกับพืชอย่างไร
- สังกะสี เป็นแร่ธาตุที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช เป็นองค์ประกอบของโครงสร้าง และทำงานร่วมกับเอ็นไซม์หลายชนิด
เพื่อให้กระบวนการต่างๆ ในพืชดำเนินไปด้วยดี

- พืชที่ได้รับธาตุสังกะสีไม่เพียงพอ จะส่งผลให้การเจริญเติบโตไม่สมบูรณ์ มีผลผลิตต่ำ คุณภาพไม่ดีและเป็นโรคง่าย ถ้าขาด
สังกะสีรุนแรงจะทำให้แคระแกร็น

- พืชที่พบสังกะสีมาก ได้แก่ ถั่วเมล็ดแห้ง งา ธัญพืชทุกชนิด ผักใบเขียวและผลไม้สด

- จากผลการสำรวจพบว่า เกือบร้อยละ 50 ของดินทั่วโลกที่ใช้เพาะปลูก เป็นดินที่ขาดธาตุสังกะสี

- ในประเทศไทยพบว่า ปัญหาดินขาดธาตุสังกะสีนั้น ส่วนใหญ่ไม่ได้เกิดจากภาวะทางธรรมชาติ แต่เป็นผลจากการใช้ปุ๋ยที่ไม่
เหมาะสมและไม่มีประสิทธิภาพ

- พื้นที่ปลูกผลไม้ในภาคตะวันออกพบว่า ดินไม่ขาดธาตุสังกะสี แต่พืชดูดไปใช้ไม่ได้ เพราะมีปริมาณธาตุฟอสฟอรัส (P) ในดิ
นสะสมอยู่เป็นจำนวนมาก จึงต้องให้ธาตุสังกะสีโดยการฉีดพ่นผ่านทางใบ

- ลักษณะการขาดธาตุสังกะสีของต้นมังคุด จะแสดงอาการทางใบ ซึ่งจะมีขนาดเล็ก แคระแกร็น ส่งผลให้การสังเคราะห์อาหาร
ไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ได้ไม่ดี ทำให้ผลผลิตมีคุณภาพไม่ดี

- ผลมังคุด 1 ลูก ขนาด 80 กรัม มีสารอาหารประกอบด้วยแร่ธาตุต่างๆ ทั้ง โพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม เหล็ก
แมงกานีส ทองแดง อย่างครบถ้วน โดยมีสังกะสี ประมาณ 0.1 มิลลิกรัม



http://soclaimon.wordpress.com/category/%E0%B8%84%E0%B8%B3%E0%B9%81%E0%B8%99%E0%B8%B0%E0%B8%99%E0%B8%B3%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B8%8A/%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81-%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%94/

---------------------------------------------------------------------------------------------



15. อ้อยกับอาการขาดสังกะสี (Zinc,Zn)





การขาดธาตุสังกะสีนั้นจะแสดงอาการที่ใบอ่อนของอ้อย ซึ่งจะพบว่ามีแถบสีเหลืองถึงสีขาวตลอดทั้งความยาวของใบ
โดยที่กลางใบและแนวเส้นใบนั้นยังคงเป็นสีเขียว ยกเว้นเมื่อมีการขาดธาตุ สังกะสีอย่างรุนแรง




รอยแผลสีแดงนั้นเป็นสัญญาณเตือนที่เห็นได้บ่อย ซึ่งรอยแผลนั้นอาจจะมีการเข้าทำลายของเชื้อราสาเหตุโรคด้วย
ซึ่งจะเข้าซ้ำในรอยแผลที่เกิดจากการขาดธาตุสังกะสี





การขาดธาตุสังกะสีอย่างรุนแรงนั้นมีความไม่แน่นอน ลักษณะอาการอาจจะเพิ่มมากขึ้นในดินที่เป็นด่างและเมื่อดินด้านล่าง
ซึ่งมีธาตุสังกะสีอยู่ต่ำถูกพลิกขึ้นมาอยู่ด้านบน

อาการ
อ้อยที่ขาดสังกะสีจะมีแผลเป็นรอยขีดสีจางบนแผ่นใบ มีแถบสีซีดจางทั้ง 2 ข้างของเส้นกลางใบ แต่ไม่แผ่ไปถึงขอบใบ
ยกเว้น กรณีแสดงอาการรุนแรงสีซีดจางจะเริ่มต้นจากเส้นใบเป็นทางยาวแถวๆขอบใบ โดยเริ่มจากยอดถึงกึ่งกลางใบ ระยะ
แรกระหว่างเส้นใบยังเขียวอยู่ แต่ต่อมาใบทั้งใบจะมีสีซีดจนถึงฐานใบ ใบจะสั้นตรงกลางใบจะกว้าง และแผ่นใบ 2 ข้างไม่เท่ากัน
ถ้ารุนแรงมากใบจะแห้ง การแตกกอลดลง ปล้องสั้น ลำอ้อยจะผอม เล็กอาจจะสูญเสียความเต่ง หรือความยืดหยุ่น

บทบาท
สังกะสีมีความจำเป็นต่อขบวนการสังเคราะห์สารเร่งการเจริญเติบโตของอ้อย เช่น ไอเอเอ ปฏิกิริยาของ enzyme ต่างๆ
จะมากน้อยต่างกันขึ้นกับปริมาณสังกะสีทำหน้าที่เป็น catalyst ในปฏิกิริยาเพิ่มออกซิเจนของพืชสีเขียวต่างๆ มีความ
สำคัญคือ การสร้างคลอโรฟิล และกิจกรรมต่างๆในขบวนการสังเคราะห์แสงของอ้อย

การแก้ไข
อ้อยต้องการสังกะสีในปริมาณค่อนข้างมาก จากการวิเคราะห์ใบอ้อยที่ปกติจะพบปริมาณสังกะสี 15-50 ppm ดั้งนั้นอ้อย
ที่มีปริมาณสังกะสีต่ำกว่า 15 ppm จะถือเป็นค่าวิกฤต ที่ต้องใส่สังกะสีเพิ่มรูปปุ๋ย เช่น สังกะสีซีเลท (14% Zn) สังกะสี
คลอไรด์ (30% Zn) สังกะสีออกไซด์ (50-80% Zn) และสังกะสีซัลเฟต (22-30% Zn)

http://oldweb.ocsb.go.th/udon/Udon12/01/01.114.htm

-----------------------------------------------------------------------------------------------------


16. ความรู้เรื่องธาตุอาหารพืช สังกะสี

สังกะสีเป็นจุลธาตุ (micro nutrient) ที่จำเป็นสำหรับพืชธาตุหนึ่ง เนื่องจากสังกะสีเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของ
เซลล์เมมเบรนและ เอนไซม์บางชนิด เช่น ดีไฮโดรจีเนส (dehydrogenase) โปรติเนส (proteinase) และ เปปติเดส
(peptidase) นอกจากนี้ยังช่วยในการสังเคราะห์โปรตีน แร่ที่มีธาตุสังกะสีเป็นองค์ประกอบที่พบโดยทั่วไป ได้แก่ สปาเลอไรท์
(ZnS) สมิทซอไนต์(smithsonite : ZnCO3) และ เฮมิมอร์ไฟต์ [Heminorphite : Zn4 (OH)2 Si2O7 •
H2O] เมื่อแร่เหล่านี้สลายผุผัง ก็จะปลดปล่อยสังกะสีออกมาในรูปซิงค์ทูไอออน (Zn2+) ซึ่งเป็นรูปที่เป็นประโยชน์ต่อพืช
โดยตรง ซึ่งอยู่ในรูปสารละลายดิน บางส่วนจะอยู่ในรูปของไอออนพวกที่แลกเปลี่ยนได้อยู่บริเวณผิวของคอลลอยด์ดิน


สังกะสีสามารถทำปฏิกิริยากับอินทรียวัตถุ เกิดเป็นสารประกอบเชิงซ้อนละลายน้ำได้ยาก พืชไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
สังกะสีที่อยู่ในสารละลายดิน พบในปริมาณต่ำมาก ทำให้พืชขาดธาตุสังกะสี

เมื่อพืชขาดธาตุสังกะสี จะทำให้การเจริญเติบโตของพืชชะงัก ลำต้นแคระแกรน ใบเป็นสีเหลืองและม้วนงอ ส่วนใบล่างจะเป็น
แผลสีน้ำตาล ถ้าขาดรุนแรงอาจทำให้ไม่ให้ผลผลิต หรือตายในที่สุด พืชที่ขาดธาตุสังกะสีในประเทศไทยที่สำคัญ ได้แก่
ส้มเขียวหวาน ซึ่งใบจะมีลักษณะด่าง เล็กผิดขนาด ใบจะมีสีเขียวอ่อน หรือสีเหลือง ชาวสวนเรียกว่าเป็นโรค “ใบแก้ว” ถ้าขาด
มากต้นส้มจะแคระแกรนให้ผลน้อย ผลเล็กและคุณภาพต่ำ ในข้าวโพดจะเกิดอาการคลอโรซีส (chlorosis) คือ มีแถบสีขาว
จนถึงสีเหลืองจาง ๆ เกิดขึ้นระหว่างเส้นใบ ใบแก่จะมีสีม่วง ออกไหมและติดฝักช้า ขาดรุนแรงใบแก่จะเป็นสีม่วง แล้วเปลี่ยน
เป็นสีน้ำตาล และแห้งตาย ส่วนในถั่วเหลืองถ้าขาดธาตุสังกะสี จะเกิดจุดสีน้ำตาลที่ใบแก่ เป็นต้น

วิธีแก้ไขเมื่อพืชขาดธาตุสังกะสี โดยใช้สารสะลายซิงค์ซัลเฟต (ZnSO4) ฉีดพ่นทางใบ หรือใส่ลงไปในสารละลายดิน เมื่อพืช
เริ่มแสดงอาการ นอกจากนี้ สามารถที่จะเคลือบเมล็ดด้วยสังกะสีซัลเฟตก่อนปลูก (สุวพันธ์ และคณะ 2532) หรือใช้สังกะสีใน
รูปของ สังกะสี - คีเลต ก็จะทำให้พืชใช้สังกะสีจากปุ๋ยได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเป็นประโยชน์ของ
ธาตุสังกะสี ธาตุสังกะสี พืชต้องการเพียงเล็กน้อย พืชอาจขาดในระยะแรก เมื่อพืชเจริญเติบโตขึ้น ระบบจะแพร่กระจายได้มาก
ขึ้น อาการขาดสังกะสีก็จะหายไป

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้พืชได้รับธาตุสังกะสีไม่เพียงพอ ได้แก่ บริเวณที่มีอุณหภูมิต่ำ ความเข้มของแสงต่ำ และอากาศชื้น พืชจะ
ดูดธาตุสังกะสีได้น้อยลง พีเอชที่พืชสามารถนำเอาธาตุสังกะสีไปใช้ประโยชน์ได้มากที่สุดจะอยู่ในช่วง 5.5 – 6.0 เมื่อ พีเอช
สูงกว่า 6.0 ปริมาณที่เป็นประโยชน์ของธาตุสังกะสีจะเริ่มลดลง จะเห็นได้ว่าดินที่มี พีเอชสูง เช่น อัลคาไล (alkaline) และ ดินด่าง
มักจะมีสังกะสีที่เป็นประโยชน์ได้น้อย ส่วนดินที่เป็นกรดจัดก็สามารถจะขาดธาตุสังกะสี เนื่องจากถูกชะล้างให้สูญหายไปได้ ดิน
ที่มีฟอสฟอรัสค่อนข้างสูง หรือใส่ปุ๋ยฟอสเฟตในอัตราส่วนสูง ฟอสเฟตก็จะไปทำปฏิกริยากับสังกะสีเกิดเป็นสารประกอบ สังกะสีฟอส
เฟต ซึ่งตกตอนละลายน้ำได้ยากพืชไม่สามารถนำเอาไปใช้ได้ นอกจากนี้สังกะสีสามารถทำปฏิกิริยากับดินที่มีอินทรียวัตถุสูงได้
แก่ดินพรุ เกิดเป็นสารประกอบอินทรีย์เชิงซ้อนที่ละลายได้ยาก ทำให้ดินขาดธาตุสังกะสีได้


http://charitphomkum-amin999.blogspot.com/2011/09/blog-post_5215.html

--------------------------------------------------------------------------------------------------


18. หน้าที่สำคัญของธาตุสังกะสี


พืชที่ต้องการสังกะสีเป็นจำนวนมากเมื่อเทียบกับธาตุอาหารเสริมพืชอื่นๆ และสะสมไว้ที่ใบอ่อนมากกว่าใบแก่ สังกะสีเป็นส่วนสำคัญในการสร้างฮอร์โมน ไอเอเอ. (Indole Acetic Acid) กรดอะมิโนและโปรตีนในพืช ฮอร์โมน ไอเอเอ. จะทำหน้าที่

1. กระตุ้นการขยายเซลล์ และการเจริญเติบโตของลำต้น
2. กระตุ้นให้มีการแบ่งเซลล์เพื่อการเจริญเติบโต
3. กระตุ้นการแตกรากโดนเฉพาะในกิ่งปักชำ
4. กระตุ้นการแตกใบอ่อน

การทำงานของธาตุสังกระสี
สังกะสีจะทำงานประสานร่วมกับแมงกานีส ในการช่วยให้พืชเจริญเติบโตเป็นปกติ สังกะสีส่งเสริมการสร้างฮอร์โมน จิบเบอเรลลิน (Gibberellin) ในพืชซึ่งกระตุ้นการแตกใบอ่อนและการทำให้เซลล์ของพืชยาวขึ้น สังกะสีเป็นส่วนประกอบของ คลอโรฟิลล์ (Chlorophyl) หรือสีเขียวของพืช สังกะสีมีส่วนสำคัญในการสร้างแป้งในเมล็ดข้าว ช่วยให้เมล็ดเกร่ง สังกะสีช่วยให้พืชมีความต้านทานต่อโรคพืชต่างๆ สังกะสีช่วยให้พืชเจริญเติบโตได้ปกติในอากาศหนาวเย็น

การแสดงอาการของพืชที่ขาด ธาตุสังกะสี
แสดงอาการเหลืองระหว่างใบ ใบอ่อนจะมีเส้นกลาง ใบแตก เป็นเส้นย่อยๆ เกิดจุดน้ำตาลที่ใบแก่ ต่อมาจุดสีน้ำตาลจะขยายติดกัน ทำให้เป็นสีน้ำตาลทั้งใบ การเจริญเติบโตช้า ทำให้ผลผลิตสุกแก่ช้ากว่าปกติในพืช ต้นเล็ก ถ้าขาดรุนแรง จะทำให้พืชตายได้ ผลผลิตจะตกต่ำ



ความสำคัญของสังกะสีต่อพืชชนิดต่างๆ

พืชไร่ นาข้าว ข้าวโพด ...... แก้อาการใบและต้นเหลืองและแดง ในช่วงฤดูหนาว
แก้อาการใบเหลืองซีด ผลผลิตลดต่ำลง

มันสำปะหลัง ...... ช่วยให้การสะสมแป้ง เพิ่มน้ำหนักผลผลิตต่อไร่ ลดการสูญเสียแป้งช่วงการปลูกข้ามปี (อาการมันกินหัวตัวเอง)

ถั่วลิสง ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ..... เพิ่มการติดฝัก สร้างแป้งและการสะสมอาหาร



พืชอุตสาหกรรม
ยางพารา ....... ทำให้พืชแข็งแรง ทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล ลดความเสียหายต่อการกระทบร้อนกระทบหนาวในปัญหา การปลูกในที่ลาดชัน จะช่วยสร้างโครงสร้างของรากและลำต้นที่แข็งแรง

ปาล์มนํ้ามัน ...... เพิ่มปริมาณน้ำมันต่อต้น ช่วยให้ผลดก ลดการสูญเสีย จากการเปลี่ยนฤดูฝนถึงหนาว และฤดูหนาวถึงร้อน



พืชสวนครัว
คะน้า และผักตระกูลกะหล่ำ หอมกระเทียม ....... สร้างความสมบูรณ์ของใบ และลำต้น ใบเขียวเข้ม ต้านทานโรค เพิ่มผลผลิตต่อไร่ ลดปัญหาโรคระบาดจาก ความอ่อนแอของพืชในช่วงเปลี่ยนฤดู ช่วยให้สีเข้มขึ้นและกลิ่นดีขึ้น

พริก มะเขือ มะเขือเทศ ...... สร้างใบและลำต้นที่สมบูรณ์ ใบเข้ม ช่วยการติดดอก และผลลดการหลุดล่วง เพิ่มผลผลิต ทั้งคุณภาพและปริมาณ

แตงโม แตงกวา มะระ แคนตาลูป เมล่อน ..... สร้างใบและเถาที่สมบูรณ์ ทำให้ได้ผลผลิตที่มีรสชาติ สีและกลิ่นดี ตรงตามความต้องการของตลาด




ไม้ผล
ส้ม มะนาว ......ใบเขียวสด ลดใบแก้วในส้ม เพิ่มผลผลิต

มะม่วง ...... ใบเขียว ช่อดอกดก ผสมติด รสชาติดี น้ำหนักดี

ทุเรียน มังคุด เงาะ ลองกอง ลางสาด น้อยหน่า องุ่น ...... เพิ่มผลผลผลิต สร้างใบเขียวสมบูรณ์ ต้านทานโรค ลดปัญหาต้นโทรม สร้างสมดุลในการติดดอก ทำให้ติดลูกดก เพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ ธาตุฟอสฟอรัส (P)

ลำไย ลิ้นจี่ ..... ช่วยบำรุงต้นและใบให้สมบูรณ์ ดอกดก ติดผลดี รสชาติดี สีสวย น้ำหนักดี



http://www.bkgmax.com/kaset/know.html

-------------------------------------------------------------------------------------------------


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 30/12/2011 12:30 pm, แก้ไขทั้งหมด 7 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 22/12/2011 9:26 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

17. วิจัยกว่า 10 ปี แนะใช้ปุ๋ยสังกะสีแก้ปัญหา "มังคุด" คุณภาพตกต่ำ


ธาตุสังกะสี เป็นหนึ่งในธาตุอาหารจำเป็นของพืช แต่วันนี้ "มังคุด" ที่ได้ชื่อว่าเป็นราชินีผลไม้ของไทย กำลังประสบกับ
ภาวะขาดแคลนธาตุสังกะสีอย่างรุนแรง จนส่งผลกระทบต่อผลผลิตมังคุดส่งออก


เมื่อปี 2540 รศ.ดร.สุมิตรา ภู่วโรดม นักวิจัยสาขาเทคโนโลยีการผลิตพืช คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยี
พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) เริ่มสังเกตพบว่า สวนผลไม้ในภาคตะวันออกของไทยส่วนใหญ่ ขาดธาตุสังกะสี
โดยเฉพาะมังคุดและทุเรียน ที่แสดงอาการขาดธาตุสังกะสีให้เห็นมากกว่าผลไม้
ชนิดอื่นๆ จึงเริ่มศึกษาวิจัยเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว
ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา


"สังกะสีเป็น 1 ใน 16 ธาตุอาหารจำเป็นของพืชที่ต้องได้รับ หากขาดไปจะทำให้พืชจะเจริญเติบโตได้ไม่ครบวงจรชีวิต เช่น อาจ
ไม่มีดอก ไม่ออกผล หรือหากได้รับธาตุสังกะสีไม่เพียงพอ พืชจะแสดงอาการผิดปกติออกมา ได้แก่ ใบเล็กและแข็ง ข้อใบสั้น
ทำให้ใบรวมกันเป็นกระจุก ส่งผลให้พืชทำการสังเคราะห์ด้วยแสงได้ไม่เต็มที่ ทำให้การเจริญเติบโตหยุดชะงัก อ่อนแอ และเป็น
โรคง่าย ซึ่งพบในพืชผลหลายชนิดในภาคตะวันออก โดยเฉพาะมังคุดและทุเรียนที่พบมากกว่าผลไม้อื่น" รศ.ดร.สุมิตรา อธิบาย
แก่ทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTVผู้จัดการออนไลน์ และสื่อมวลชนระหว่างเข้าเยี่ยมชมสวนมังคุดส่งออกของเกษตรกรใน จ.จันทบุรี
ที่จัดโดยบริษัท ผาแดงอินดัสทรี จำกัด เมื่อวันที่ 27 พ.ค. ที่ผ่านมา


นักวิจัย สจล. กล่าวต่อว่า จากการศึกษาวิจัยพบว่า การขาดธาตุสังกะสีของพืชในภาคตะวันออกเกิดส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการใส่
ปุ๋ยฟอสฟอรัสมากเกินไปเป็นเวลายาวนานจากความไม่รู้ของเกษตรกร เนื่องจากเชื่อว่าการใส่ปุ๋ยเอ็น-พี-เค (N-P-K) ตามปกตินัน
เพียงพออยู่แล้ว และเมื่อใช้ปุ๋ยสูตรดังกล่าวมากเกินไปจะทำให้มีฟอสฟอรัส (P) ในดินสูง ซึ่งฟอสฟอรัสในดินจำนวนมากนั้นจะไป
ขัดขวางการดูดซับธาตุสังกะสีในดินของพืช ส่งผลให้พืชที่เจริญเติบโตบริเวณนั้นขาดธาตุสังกะสีได้


การแก้ปัญหาพืชขาดธาตุสังกะสีสามารถทำได้โดยการให้ปุ๋ยสังกะสีเพิ่มในดิน แต่เนื่องจากสวนผลไม้ในภาคตะวันออกมีฟอสฟอรัส
ในดินสูงมาก การให้ปุ๋ยสังกะสีในดินจึงไม่มีผลใดๆ และอาจต้องใช้เวลายาวนานหลายสิบปีจึงจะทำให้ฟอสฟอรัสในดินลดลงจน
หลือปริมาณที่เหมาะสมโดยที่ไม่ต้องใส่ปุ๋ยฟอสฟอรัสเพิ่มเข้าไปอีก


ฉะนั้นต้องให้ปุ๋ยสังกะสีโดยวิธีฉีดพ่นทางใบแทน โดยให้ฉีดพ่นปุ๋ยสังกะสีทุกครั้งเมื่อมังคุดเริ่มแตกใบอ่อนจะสามารถช่วยให้ใบใหม่
ไม่ขาดธาตุสังกะสี พืชแข็งแรง ออกดอกสม่ำเสมอ ผลใหญ่ เปลือกมีผิวสวย เรียบเนียน และไม่มีคราบน้ำยางเกาะติดที่ผิวเปลือก


รศ.ดร.สุมิตรา เผยอีกว่ายังมีปัญหาสำคัญที่ยังพบมากในผลผลิตมังคุดคือ มังคุดเป็นเนื้อแก้ว และยางไหล ซึ่งเกิดจากมังคุดได้
รับน้ำฝนมากเกินไปจนทำให้เซลล์ของเนื้อมังคุดแตกและกลายเป็นเนื้อแก้ว ส่วนปัญหายางไหลเกิดจากท่อน้ำยางแตกเมื่อมีแรง
ดันมากเกินไป ซึ่งวิธีแก้ปัญหาคือเกษตรกรต้องเก็บเกี่ยวมังคุดให้ได้ก่อนเริ่มเข้าฤดูฝน แต่เมื่อไม่สามารถทำดังนั้นได้ จึงจำเป็นต้อง
ทำให้มังคุดมีความแข็งแรงพอที่จะทนทานต่อสภาวะดังกล่าวได้


"ธาตุสังกะสีช่วยให้พืชมีความสมบูรณ์แข็งแรงได้ในระดับภาพรวม แต่จากการศึกษาพบว่าธาตุแคลเซียมสามารถช่วยเพิ่มความแข็งแรง
ให้กับเซลล์เนื้อมังคุดและท่อน้ำยางได้ โดยขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการวิจัยการเพิ่มแคลเซียมให้มังคุดในปริมาณที่เหมาะสมเพื่อลด
ปัญหาเนื้อแก้วและยางไหล ซึ่งจะทำให้มังคุดมีคุณภาพดียิ่งขึ้น" รศ.ดร.สุมิตรา เผย ซึ่งนักวิจัยได้รับทุนวิจัยต่อเนื่องจาก คณะเทค
โนโลยีการเกษตร สจล. และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยในการศึกษาความต้องการธาตุอาหารของพืชในสวนมังคุด ทุเรียน
และสละ ตั้งแต่ปี 2541 ถึงปัจจุบัน


ด้านนางสงวน บุญญฤทธิ์ เกษตรกรเจ้าของสวนมังคุดรายหนึ่งใน จ.จันทบุรี ที่ครอบครัวทำสวนมังคุดมายาวนานร่วม 50 ปี บนพื้นที่
ราว 150 ไร่ และเป็นเกษตรกรรายแรกๆ ที่เริ่มหันมาสนใจการเพิ่มธาตุสังกะสีให้มังคุด เปิดเผยว่า ก่อนหน้าที่ รศ.ดร.สุมิตราจะ
เข้ามาทำวิจัย ผลผลิตมังคุดเริ่มไม่ค่อยดี


แต่หลังจากทดลองฉีดพ่นปุ๋ยสังกะสีให้มังคุดตามคำแนะนำของนักวิจัยก็พบว่าผลผลิตมังคุดเริ่มมีคุณภาพดีขึ้น ผลใหญ่ขนาด
ตั้งแต่ 70-90 กรัมขึ้นไป ผิวมัน เปลือกบาง ไม่เป็นกระ เนื้อขาวสวย รสชาติหวาน ไม่ค่อยพบเนื้อแก้วหรือยางไหลมากเหมือน
แต่ก่อน


จากเดิมที่สามารถส่งออกได้เพียงประมาณ 30% ปัจจุบันส่งออกมังคุดได้มากกว่า 70% โดยตลาดส่วนใหญ่อยู่ในจีน ญี่ปุ่น สหรัฐฯ
และยุโรป แต่กว่าจะประสบผลสำเร็จได้ขนาดนี้ ต้องใช้เวลานานประมาณ 6 ปี


อย่างไรก็ตาม อุปสรรคสำคัญในการแก้ปัญหามังคุดขาดธาตุสังกะสี ที่นักวิจัยต้องเผชิญคือ ความไม่เชื่อถือจากเกษตรกร เนื่องจาก
เกษตรกรส่วนใหญ่มักเชื่อตามความรู้สึกของตนเอง เชื่อตามวิธีเดิมที่ปฏิบัติมาเป็นเวลานาน


รศ.ดร.สุมิตรา จึงแนะนำว่า สิ่งที่เกษตรกรควรทำคือนำตัวอย่างดินไปวิเคราะห์อย่างสม่ำเสมอเพื่อให้รู้ปริมาณธาตุอาหารที่ควร
เติมลงในดิน และนำตัวอย่างใบมังคุดวิเคราะห์เพื่อให้รู้ว่าพืชขาดธาตุอาหารใดบ้าง จะได้ให้ปุ๋ยพืชที่มีธาตุอาหารเหมาะสมและ
ครบถ้วน


นอกจากนั้น รศ.ดร.สุมิตรา ยังให้ความรู้เพิ่มเติมว่า สังกะสีเป็นธาตุอาหารจำเป็นต่อพืช และเป็นธาตุอาหารจำเป็นต่อมนุษย์เช่น
กัน และมีรายงานวิจัยว่าการขาดธาตุสังกะสีและวิตามินเอจะส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์มากที่
สุด โดยผู้ที่ขาดธาตุสังกะสีจะมีร่างกายแคระแกร็น ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ป่วยเป็นโรคง่าย และมีผลต่อระบบการทำงานในสมอง


ดังนั้นการบริโภคอาหารที่มีแร่ธาตุสังกะสีในปริมาณที่เหมาะสมจะช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ ซึ่งธาตุสังกะสีพบมากในเนื้อสัตว์ ปลา ข้าว
ธัญพืช รวมทั้งผักสีเขียว และการให้ปุ๋ยสังกะสีในมังคุดหรือพืชอาหารอื่นๆ ยังช่วยลดอาการขาดธาตุสังกะสีในมนุษย์ได้ด้วยเช่นกัน




http://www.manager.co.th/science/ViewNews.aspx?NewsID=9530000079440

---------------------------------------------------------------------------------------------------


18. หน้าที่สำคัญของธาตุสังกะสี


พืชที่ต้องการสังกะสีเป็นจำนวนมากเมื่อเทียบกับธาตุอาหารเสริมพืชอื่นๆ และสะสมไว้ที่ใบอ่อนมากกว่าใบแก่ สังกะสีเป็นส่วนสำคัญ
ในการสร้างฮอร์โมน ไอ.เอ.เอ (Indole Acetic Acid) กรดอะมิโนและโปรตีนในพืช ฮอร์โมน ไอ.เอ.เอ จะทำหน้าที่

1. กระตุ้นการขยายเซลล์ และการเจริญเติบโตของลำต้น
2. กระตุ้นให้มีการแบ่งเซลล์เพื่อการเจริญเติบโต
3. กระตุ้นการแตกรากโดนเฉพาะในกิ่งปักชำ
4. กระตุ้นการแตกใบอ่อน


การทำงานของธาตุสังกระสี
สังกะสีจะทำงานประสานร่วมกับแมงกานีส ในการช่วยให้พืชเจริญเติบโตเป็นปกติ สังกะสีส่งเสริมการสร้างฮอร์โมน จิบเบอเรลลิน
(Gibberellin) ในพืชซึ่งกระตุ้นการแตกใบอ่อนและการทำให้เซลล์ของพืชยาวขึ้น สังกะสีเป็นส่วนประกอบของ คลอโรฟิลล์ (Chlo-
rophyl) หรือสีเขียวของพืช สังกะสีมีส่วนสำคัญในการสร้างแป้งในเมล็ดข้าว ช่วยให้เมล็ดเกร่ง สังกะสีช่วยให้พืชมีความต้านทาน
ต่อโรคพืชต่างๆ สังกะสีช่วยให้พืชเจริญเติบโตได้ปกติในอากาศหนาวเย็น


การแสดงอาการของพืชที่ขาด ธาตุสังกะสี
แสดงอาการเหลืองระหว่างใบ ใบอ่อนจะมีเส้นกลาง ใบแตก เป็นเส้นย่อยๆ เกิดจุดน้ำตาลที่ใบแก่ ต่อมาจุดสีน้ำตาลจะขยายติด
กัน ทำให้เป็นสีน้ำตาลทั้งใบ การเจริญเติบโตช้า ทำให้ผลผลิตสุกแก่ช้ากว่าปกติในพืช ต้นเล็ก ถ้าขาดรุนแรง จะทำให้พืชตายได้
ผลผลิตจะตกต่ำ



ความสำคัญของสังกะสีต่อพืชชนิดต่างๆ
พืชไร่ นาข้าว ข้าวโพด .......แก้อาการใบและต้นเหลืองและแดง ในช่วงฤดูหนาว แก้อาการใบเหลืองซีด ผลผลิตลดต่ำลง

มันสำปะหลัง ....... ช่วยให้การสะสมแป้ง เพิ่มน้ำหนักผลผลิตต่อไร่ ลดการสูญเสียแป้งช่วงการปลูกข้ามปี (อาการมันกินหัวตัวเอง)

ถั่วลิสง ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ...... เพิ่มการติดฝัก สร้างแป้งและการสะสมอาหาร

พืชอุตสาหกรรม
ยางพารา ....... ทำให้พืชแข็งแรง ทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล ลดความเสียหายต่อการกระทบร้อนกระทบหนาวใน
ปัญหา การปลูกในที่ลาดชัน จะช่วยสร้างโครงสร้างของรากและลำต้นที่แข็งแรง

ปาล์มนํ้ามัน ...... เพิ่มปริมาณน้ำมันต่อต้น ช่วยให้ผลดก ลดการสูญเสีย จากการเปลี่ยนฤดูฝนถึงหนาว และฤดูหนาวถึงร้อน


พืชสวนครัว
คะน้า และผักตระกูลกะหล่ำ หอมกระเทียม ....... สร้างความสมบูรณ์ของใบ และลำต้น ใบเขียวเข้ม ต้านทานโรค เพิ่มผลผลิตต่อ
ไร่ ลดปัญหาโรคระบาดจาก ความอ่อนแอของพืชในช่วงเปลี่ยนฤดู ช่วยให้สีเข้มขึ้นและกลิ่นดีขึ้น

พริก มะเขือ มะเขือเทศ ....... สร้างใบและลำต้นที่สมบูรณ์ ใบเข้ม ช่วยการติดดอก และผลลดการหลุดล่วง เพิ่มผลผลิต ทั้ง
คุณภาพและปริมาณ

แตงโม แตงกวา มะระ แคนตาลูป เมล่อน .....สร้างใบและเถาที่สมบูรณ์ ทำให้ได้ผลผลิตที่มีรสชาติ สีและกลิ่นดี ตรงตามความ
ต้องการของตลาด


ไม้ผล
ส้ม มะนาว ..... ใบเขียวสด ลดใบแก้วในส้ม เพิ่มผลผลิต

มะม่วง ..... ใบเขียว ช่อดอกดก ผสมติด รสชาติดี น้ำหนักดี

ทุเรียน มังคุด เงาะ ลองกอง ลางสาด น้อยหน่า องุ่น ...... เพิ่มผลผลผลิต สร้างใบเขียวสมบูรณ์ ต้านทานโรค ลดปัญหาต้นโทรม
สร้างสมดุลในการติดดอก ทำให้ติดลูกดก เพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ ธาตุฟอสฟอรัส (P)

ลำไย ลิ้นจี่ ...... ช่วยบำรุงต้นและใบให้สมบูรณ์ ดอกดก ติดผลดี รสชาติดี สีสวย น้ำหนักดี



http://www.bkgmax.com/kaset/know.html

--------------------------------------------------------------------------------------------------------


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 30/12/2011 9:02 am, แก้ไขทั้งหมด 3 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 27/12/2011 4:48 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

...
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©