-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-หาเกษตร ทางวิทยุ-โทรศัพท์ 11 SEP
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - กรด-ด่าง ของดิน
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

กรด-ด่าง ของดิน

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 10/09/2011 10:32 am    ชื่อกระทู้: กรด-ด่าง ของดิน ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ลำดับเรื่อง....



1. การตรวจวัดค่าความเป็นกรด-เบสของดิน
2. กรดกับด่าง ต่างกันอย่างไร ?
3. ผลกระทบของดินกรดจัดต่อการทำเกษตรกรรม
4. การปลูกพืชในดินด่าง
5. ปัญหาของดินเค็มต่อการทำเกษตรกรรม

6. การปรับปรุงดินเพื่อปลูกต้นไม้ในบริเวณที่อยู่อาศัย
7. ถั่วเขียว แก้ปัญหาขาดธาตุเหล็กใน ”ดินด่าง”.
8. วิจัยปุ๋ยชีวภาพเชิงวิทยาศาสตร์ แก้ปัญหาธาตุเหล็กในดินเป็นพิษ
9. ปัญหาที่เกี่ยวกับทรัพยากรดิน

------------------------------------------------------------------------------




1. การตรวจวัดค่าความเป็นกรด-เบสของดิน (Soil pH)


ความเป็นกรด-เบส หรือค่า พีเอช ของดิน แต่ละชั้นบอกถึงลักษณะดินต้นกำเนิด สารเคมีที่อยู่ในฝนหรือน้ำที่ไหลลงสู่ดิน การจัดการดิน
และกิจกรรมของสิ่งมีชีวิตในดิน (พืช สัตว์ และจุลินทรีย์) เช่นเดียวกับ พีเอช ของน้ำ

พีเอช ของดินวัดโดยใช้ค่าล็อก pH ของดินเป็นตัวบ่งชี้สมบัติทางเคมีของดินและธาตุอาหารในดิน กิจกรรมของสารเคมีในดินส่งผลต่อ พีเอช

พืชแต่ละชนิดก็จะขึ้นได้ในดินที่มี พีเอช ต่างกัน เกษตรกรจึงมักจะใส่สารลงไปในดินเพื่อเปลี่ยนค่า พีเอช ให้เหมาะกับชนิดของพืชที่จะปลูก

พีเอช ของดินยังมีผลต่อ พีเอช ของน้ำใต้ดินหรือแหล่งน้ำอื่นๆ ในบริเวณใกล้เคียง ดังเช่น แม่น้ำ หรือทะเลสาบ ค่า พีเอช ของดินมีค่า
1-14 จำแนกเป็นค่าพิสัยได้ 10 ระดับ ดังนี้ (Soil Survey Division Staff, 1993)







วิธีการตรวจวัด

การเตรียมตัวอย่างดินสำหรับห้องปฏิบัติการ
1. ใช้ตะแกรงร่อนดินเบอร์ 10 (ช่องตะแกรงขนาด 2 มิลลิเมตร) เหนือกระดาษ แล้วเทดินตัวอย่างลงในตะแกรง ใส่ถุงมือยางเพื่อกันไม่
ให้กรดและเบสจากมือของผู้ปฏิบัติไปทำให้ค่า พีเอช ของดิน ผิดไปจากความเป็นจริง

2. ค่อยๆ เขี่ยเบาๆ ทำให้ดินผ่านช่องตะแกรงลงไปบนกระดาษ อย่าดันจนตะแกรงลวดโก่งด้วยการกดดินแรงเกินไป หยิบเอาหินและ
สิ่งปะปนอื่นๆ ออกจากตะแกรงทิ้งไป เก็บรักษาตัวอย่างดินที่ร่อนแล้ว แต่ละชนิดไว้สำหรับการวิเคราะห์อื่นๆ





3. นำดินตัวอย่างที่เอาหินออกแล้วจากกระดาษใต้ตะแกรงร่อนลงในถุงพลาสติกหรือภาชนะที่แห้งและสะอาด ปิดปากภาชนะ และเขียน
ฉลากไว้ที่ถุงเช่นเดียวกับที่เขียนไว้ที่ภาชนะที่ใช้เก็บดินภาคสนาม (เลขที่ชั้นดิน ระดับความลึกชั้นตัวอย่างดิน วันที่ ชื่อจุดศึกษา
ตำแหน่งจุดศึกษา ฯลฯ) ตัวอย่างดินนี้สามารถนำไปใช้ในการวิเคราะห์อื่นๆ ในห้องปฏิบัติการบนฉลาก ให้เขียนชื่อจุดศึกษา เลขที่
ตัวอย่างดิน เลขที่ชั้นดิน ความลึกระดับบนสุดจากผิวดิน ความลึกระดับล่างสุดจากผิวดิน วันที่ที่เก็บตัวอย่างดิน

4. เก็บรักษาตัวอย่างดินนี้ไว้ในที่ที่ปลอดภัย ในที่แห้งจนกว่าจะนำไปใช้



การตรวจวัดค่าความเป็นกรด-เบสของดิน
1. ชั่งตัวอย่างดินที่แห้งและร่อนแล้วมา 20 กรัม เทลงในบีกเกอร์ แล้วเติมน้ำกลั่น 20 หรือ 100 มิลลิลิตร เพื่อให้ได้อัตราส่วนดิน : น้ำ
เท่ากับ 1 : 1 ในกรณีดินร่วนและดินทราย หรืออัตราส่วน 1 : 5 ในกรณีดินเหนียว (ดินในประเทศไทยส่วนใหญ่ใช้อัตราส่วน 1 : 5)

2. ใช้แท่งแก้วคนดินนานเวลา 30 วินาที แล้วพักทิ้งไว้ 3 นาที ทำอย่างนี้ 5 ครั้ง

3. เมื่อคนดินครบ 5 ครั้งแล้ว ตั้งทิ้งไว้จนดินในบีกเกอร์ตกตะกอน จะเห็นน้ำใสๆ อยู่บริเวณด้านบน

4. จุ่มกระดาษวัดค่า พีเอช หรือปากกาวัดค่า พีเอช ที่ปรับค่ามาตรฐาน ลงไปในบริเวณน้ำใสๆ อย่าจุ่มลงไปให้โดนดินด้านล่าง
(ภาพที่ 99) รอจนค่าหยุดนิ่ง แล้วอ่านค่า พีเอช

5. เมื่อวัดค่า พีเอช เสร็จแล้ว ใช้น้ำกลั่นล้างปากกาวัดค่า พีเอช บริเวณส่วนที่สัมผัสกับดินให้สะอาด แล้วใช้กระดาษทิชชูซับให้แห้ง




หมายเหตุ : ก่อนการใช้พีเอชมิเตอร์ต้องมีการเทียบมาตรฐานเครื่องมือ (ดูวิธีการเทียบมาตรฐานจากหลักวิธีการดำเนินการเรื่องน้ำ)



http://www3.ipst.ac.th/globethailand/index.php?option=com_content&view=article&id=59:-soil-ph&catid=38:--soil


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 10/09/2011 5:09 pm, แก้ไขทั้งหมด 6 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 10/09/2011 10:49 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

2. กรดกับด่าง ต่างกันอย่างไร ?


กรดคืออะไร ? ด่างคืออะไร ?
เทียบเคียงสิ่งที่เกิดธรรมชาติ วิธีใช้ วิธีลด เพิ่ม ทำลาย ทั้งสองชนิดมีประโยชน์และโทษอย่างไร ?


เอานิยมทั่วไปก่อนนะครับ
กรดคือสารที่ให้โปรตอนหรือ Hydrogen ion (H+) ส่วนด่าง คือสารที่รับ Proton ดังนั้นจากปฏิกิริยาโดยทั่วไป คือ

การเคลื่อนตัวจาก HA ไป B- เราจึงเรียก HA ว่าเป็นกรด เพราะมันให้ H+ ส่วน B- เป็นด่าง แต่เนื่องจากปฏิกิริยาเคมี เป็นปฏิกิริยาย้อนกลับ
ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อได้กรดใหม่ (HB) และด่างใหม่ (A-) เกิดขึ้นแล้ว ฉะนั้นจึงเรียก HA (ตัวให้ H+) และ A- (ด่างเมื่อ H+ ถูกให้ไป) ว่า
เป็นคู่กรด-ด่าง (Acid-conjugate base pair) ส่วน HB กับ B- ก็เป็นคู่กรด-ด่าง อีกคู่หนึ่ง


อย่างไรก็ตาม น้ำสามารถเป็นได้ทั้งกรดและด่าง ดังตัวอย่างปฏิกิริยา ต่อไปนี้

จากสมการที่ 1 น้ำเป็นด่างเพราะรับ H+ จาก HCl แต่ในปฏิกิริยาของ CO32- กับ H2O ในสมการที่ 2 น้ำจะเป็นกรดเพราะเป็นตัวให้ H+
สารเคมีที่สามารถเป็นได้ทั้งกรดและด่างเช่นนี้ (เช่น HCO3- และ H2O) เรียกว่า Ampholytes จากคุณสมบัติดังกล่าว ทำให้น้ำแตกตัว
อัตโนมัติ นั่นคือ



ค่าคงที่ของสมดุลปฏิกิริยาคือ
แต่เนื่องจาก [H2O] = 1 ในสารละลายเจือจาง เราเขียนสมการโดยไม่คำนึงถึงผลของความแรงอิออนจะได้ว่า เรายังเขียนสมการการแตก
ตัวอัตโนมัติของน้ำอีกแบบหนึ่ง คือ

โดยที่เราเรียกH3O + ว่าhydrated proton หรือ Hydronium ion ซึ่งมีค่าคงที่สมดุล คือ เมื่อ [H2O] = 1 และไม่คิดความแรงอิออน
จะได้ว่า ที่อุณหภูมิ 25° ซ. น้ำจะมีค่า Kw = 1x10-14


ปฏิกิริยากรด-ด่าง (Acid-base Reaction)
ปฏิกิริยากรด-ด่าง มีความสำคัญอย่างยิ่งในงานวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมทางน้ำ โดยปรกติสิ่งมีชีวิตทั้งหลายจำดำรงชีพโดยอาศัยน้ำที่มีสภาพเป็น
กลาง (pH ประมาณ 7) และถ้าสภาพของน้ำดังกล่าวแปรเปลี่ยนไปไม่ว่าจะเป็นกรดหรือด่าง สิ่งมีชีวิตไม่สามารถอยู่ได้ขึ้นอยู่กับความแรงของ
สภาพ กรด/ด่าง และความทนทานของส่งมีชีวิตแต่ละชนิด ในขณะเดียวกันสภาพกรด/ด่าง ของน้ำก็มีผลต่อการละลายของโลหะต่างๆในน้ำ
อีกด้วย ปฏิกิริยา กรด-ด่าง จะเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะนำไปใช้ในการคำนวณเรื่องปฏิกิริยาก่อตะกอนและปฏิกิริยา Oxidation-reduction


เปรียบเทียบสิ่งที่เกิดในธรรมชาติ ในที่นี้ของเปรียบเทียบกับอาหาร เพราะเจอกันอยู่แล้วในชีวิตประจำวันนะครับ


การแบ่งกลุ่มอาหารตามความเป็น กรด-ด่าง
ค่าความเป็น กรด-ด่าง ของอาหารที่จะบรรจุในภาชนะ มีความสำคัญต่อการแปรรูปอาหารด้วยความร้อนสูง ทั้งนี้ เพราะค่าความเป็น กรด-ด่าง
เป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดอุณหภูมิในการฆ่าเชื้อ
จุลินทรีย์ ในกรรมวิธีผลิตอาหารกระป๋อง ความเป็นกรด-ด่าง ในอาหารวัดได้ โดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า พีเอช มิเตอร์ (pH meter) ซึ่งมี
ช่วงตั้งแต่ ๐-๑๔ คือ

ถ้าความเป็นกรด ในอาหารสูงมาก ค่า พีเอช = ๐
ถ้าความเป็นด่างในอาหารสูงมาก ค่า พีเอช = ๑๔
ถ้าอาหารเป็นกลาง ไม่เป็นกรดหรือเป็นด่าง ค่า พี เอช = ๗

นักวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารได้แบ่งกลุ่มอาหารที่บรรจุในภาชนะที่ ปิดสนิทเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ๒ กลุ่ม คือ

๑. กลุ่มอาหารที่เป็นกรด (acid foods) คือ อาหารที่มีค่า พี เอช ต่ำกว่า ๔.๕ ส่วนมากเป็นพวกผลไม้ เช่น สับปะรด ส้ม หรือผักที่มีรสเปรี้ยว
เช่น มะเขือเทศ กระเจี๊ยบแดง เป็นต้น อุณหภูมิที่ใช้ในการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ คือ ๑๐๐ ° ซ.ทั้งนี้เพราะจุลินทรีย์ที่เจริญและขยายพันธุ์ได้
ในอาหารที่เป็นกรด เป็นชนิดที่ไม่ทนความร้อน

๒. กลุ่มอาหารที่เป็นกรดต่ำ (low acid foods) คือ อาหารที่มีค่า พีเอช ๔.๕ หรือสูงกว่า ส่วนมากจะเป็นอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ และผักต่างๆ
เช่น เนื้อ หมู ปลา ข้าวโพดฝักอ่อน หน่อไม้ฝรั่ง เป็นต้น อุณหภูมิที่ใช้ในการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ คือ ๑๑๖ องศา ซ. หรือ ๑๒๑ องศา ซ. ทั้งนี้
แล้วแต่ส่วนประกอบและคุณลักษณะของอาหารที่บรรจุในกระป๋อง


วิธีเก็บ
ตอบเป็นหลักการทั่วไปว่า กรดและด่างไม่ควรเก็บไว้ด้วยกัน การเก็บแยก ต้องกันการหกรั่วที่ทั้งสองจะไหลมาปนกันได้ เช่น มีอะไรกั้น มีถาด
รองรับ ทำอะไรก็ได้ที่ไม่ให้มันมาหกปนกันได้ ความรุนแรงขึ้นอยู่กับปฏิกิริยาที่เกิดเมื่อมันผสมกัน แล้วแต่ความเข้มข้นและปริมาณ

วิธีใช้ผมจะเน้นเรื่องการปรับน้ำที่เป็นกลางให้เป็นกรดอ่อน ๆ นะครับ (pH = 7 ให้เป็น pH = 5) เพราะฉะนั้นผมจะเน้นเรื่องของกรด

กรด (Acid) สามารถแบ่งได้หลายประเภทตามแหล่งกำเนิด ดังนี้ครับ (เรามักเรียกชื่อกรดแบบทับศัพท์โดยส่วนใหญ่ลงท้ายเสียง –ic หรือ
อิก เช่น ไฮโดรคลอริก ฟอร์มิก บอริก บางตัวอาจจะลงท้ายด้วย – ous หรือ อัส เช่น ไนตรัส ซัลฟูรัส เป็นต้น)

1. กรดอินทรีย์ (Organic Acid) เป็นกรดที่ได้มาจากสิ่งมีชีวิต ก็คือ จากพืชและสัตว์ กรดพวกนี้มีส่วนที่แสดงความเป็นกรดหรือ
เป็นตัวปล่อย ไฮดดรเจนอิออน ก็คือส่วนที่เรียกว่ากลุ่ม คาบอกซี่ลิก (Carooxylic Group, -COOH คือ มี C คาร์บอน 1 ตัว,
O ออกซิเจน 2 ตัว และ H ไฮโดรเจน 1 ตัว) เช่น กรดฟอร์มิก หรือที่เรียกว่ากรดมด, กรดอะมิโน ที่เป็นหน่วยย่อยของโปรตีน, กรด
น้ำส้มหรือกรดอะซิติก รวมทั้งกรดไขมันต่างๆด้วยครับ

2. กรดแร่ หรือกรดอะนินทรีย์ (Inorganic Acid) เป็นกรดที่ได้จากสิ่งไม่มีชีวิต มีสองกลุ่มย่อยๆ

2.1 กลุ่มัไฮโดรแอซิด (Hydro Acid) เป็นกรดที่มีไฮดรเจนอิออน H+ กับธาตุอื่นๆ อีก 1 ตัว เช่น กรดไฮโดรคลอริก (HCl สัญลักษณ์
แบบนี้ก็ประกอบด้วย H คือ ไฮโดรเจนรวตัวกับ Cl ย่อมาจาก คลอรีน ครับ)

2.2 กรดออกซี่ (Oxy Acid) เป็นกรดที่ประกอบด้วยธาตุ 3 ตัวเป็น ส่วนใหญ่ คือ มี H ไอโดรเจน และ O ออกซิเจนและธาตุอื่น อีก 1
ตัว เช่น กรดซัลฟูริก (H2SO4 คือมี H ไฮโดรเจน 2 ตัว, S ซัลเฟอร์ 1 ตัว และ O ออกซิเจน 4 ตัว), กรดไนตริก (HNO3 คือ มี H
ไฮโดรเจน 1 ตัว, N ไนโตรเจน 1 ตัว และ O ออกซิเจน 3 ตัว))

เกณฑ์ของอาหารจาก 4.4 - 4.6 เป็นเกณฑ์ ใช้เชื้อ Clostridium Botulinum เป็นเกณฑ์ครับ ปกติถ้ามันอยู่ที่ 4.6 ลงมา (กรด)
มันก็จะไม่งอกครับ ที่เรากลัวคือ เรากลัวมันงอก ตอนมันงอกจะสร้างสารพิษทำลายระบบประสาทและถึงตายออกมาได้ ตัวอย่างที่
เห็นๆ ก็หน่อไม้กระป๋องครับ

ขอบคุณครับ



http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=7bc828db17fec850


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 10/09/2011 4:00 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 10/09/2011 3:03 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

3. ผลกระทบของดินกรดจัดต่อการทำเกษตรกรรม


ดินกรดจัดมีผลกระทบต่อการทำเกษตรกรรมอย่างมาก เนื่องจากดินมีปฏิกิริยาเป็นกรดรุนแรง ทำให้สภาพทางกายภาพ เคมีและชีววิทยา
เปลี่ยนแปลงไป ทำให้ไม่เหมาะสมต่อการปลูกพืช เนื่องจากปลูกพืชได้น้อยชนิดและผลผลิตที่ได้ต่ำไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน ปัญหาของ
ดินกรดจัดต่อการทำเกษตรกรรมพอสรุปได้ดังต่อไปนี้


1. ความเป็นพิษของธาตุบางชนิด
ในดินที่มีสภาพเป็นกรดจัด ธาตุอลูมินัม เหล็ก และ แมงกานีส จะละลายน้ำออกมาได้มาก ไม่พบปัญหาการขาดธาตุ อลูมินัม เหล็ก
แมงกานีส แต่มักพบอาการเป็นพิษธาตุอลูมินัม เหล็ก และ แมงกานีสแทน ตัวอย่างเช่น อาการของพืชที่รับธาตุอลูมินัมมากเกินไป
จะไปยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์ ยับยั้งการเกิดเอมไซม์ที่เกี่ยวข้องกับผนังเซลล์ ทำให้รากไม่เจริญเติบโต ในส่วนของธาตุแมงกานีส
จะทำให้รากจะมีสีน้ำตาล ใบแก่เป็นรอยด่าง ขอบใบมีสีขาวซีด (chlorosis) พืชบางชนิดอาจจะมีสีขาวระหว่างเส้นแขนงใบ ในดิน
กรดจัดสภาพน้ำขังปริมาณความเข้มข้นของไฮโดรเจนซัลไฟด์มีมาก เนื่องจากมีปริมาณอินทรียวัตถุสูงและกิจกรรมของจุลินทรีย์
ในดินบางชนิดเพิ่มขึ้น ทำให้รากพืชเน่า หรืออ่อนแอเกิดโรคได้


2. ความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารในดินลดน้อยลง
ในสภาพดินกรดจัดจะทำให้ธาตุอาหารพืชที่สำคัญเปลี่ยนแปลงไป จากรูปที่เป็นประโยชน์ต่อพืชได้ง่ายไปอยู่ในรูปที่ไม่เป็นประ
โยชน์หรือมีความเป็นประโยชน์น้อยลง ตัวอย่างเช่น ธาตุไนโตรเจน ความเป็นกรดของดินไม่มีผลโดยตรงต่อความเป็นประโยชน์ของ
ธาตุไนโตรเจนต่อพืช แต่มีผลทางอ้อม คือ ในดินกรดจัดแบคทีเรียจะทำงานได้ช้าลง ส่วนเชื้อราจะทำงานได้ดีกว่าแบคทีเรีย โดย
เฉพาะแบคทีเรียพวกที่เกี่ยวข้องกับขบวนการตรึงไนโตรเจนจากอากาศโดยตรง ทำให้ดินขาดธาตุไนโตรเจนได้ จึงควรปรับสภาพ
ปฏิกิริยาดินให้เป็นกลางหรือกรดอ่อน ๆ โดยการใส่ปูนเพื่อยกระดับพีเอชให้สูงเป็น 6.5–7.0 เสียก่อนจึงจะปลูกพืชได้ผล ใน
ส่วนของธาตุฟอสฟอรัส ดินกรดจัด พีเอช ต่ำกว่า 5 จะทำให้เหล็กและอะลูมินัมละลายออกมามากขึ้น จะเป็นทำปฎิกิริยา
กับฟอสฟอรัสที่อยู่ในดินเกิดเป็นสารประกอบเชิงซ้อนของเหล็กและอะลูมินัม (Fe-P และ Al-P) ที่ละลายน้ำได้ยาก พืชไม่
สามารถนำเอาไปใช้ประโยชน์ได้ เรียกขบวนการนี้ว่า การตรึงฟอสฟอรัส (phosphorus fixation) ดังนั้น การใส่ปุ๋ย
ฟอสฟอรัสในดินกรดจัด จึงต้องปรับสภาพกรดในดินเสียก่อน และในส่วนของธาตุโปตัสเซียม คัลเซียม และแมกนีเซียม ใน
สภาพดินเป็นกรดจัดจะมีปริมาณโปตัสเซียมด้วยคัลเซียมและแมกนีเซียมค่อนข้างต่ำ


หลักการปรับปรุงดินกรดจัดเพื่อใช้ในการปลูกพืช
ดินกรดจัดที่มีพีเอชต่ำกว่า 4 ถ้าต้องการปลูกพืชจะต้องมีการปรับปรุงดินให้ดินมีความเป็นกรดลดลง เพื่อให้พืชสามารถให้ผลผลิต
คุ้มค่าต่อการลงทุน ซึ่งมีวิธีการดังต่อไปนี้

1. การรักษาระดับน้ำใต้ดิน ให้อยู่เหนือชั้นดินที่มีสารประกอบไพไรต์ หรือพยายามไม่ให้สารประกอบไพไรต์ทำปฎิกิริยากับออกซิเจน
เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดกรดซัลฟิวริกเพิ่มขึ้น

2. การใช้น้ำชะล้างความเป็นกรด เป็นวิธีที่ง่ายแต่ต้องทำต่อเนื่อง ไม่ให้ดินแห้ง กาiใช้น้ำชะล้างดินจะทำให้ค่าพีเอชเพิ่มขึ้น ความ
เป็นกรดจะลดน้อยลงและลดความเป็นพิษของเหล็กและ อลูมินัมลง

3. การใส่ปูน เป็นวิธีการที่ง่าย แต่ค่อนข้างยุ่งยากในเวลาปฎิบัติ เนื่องจากต้องใช้ปูน เป็นจำนวนมาก และต้องใช้ควบคู่ไปกับการ
ใช้น้ำชะล้างและควบคุมน้ำใต้ดินแต่วิธีนี้ใช้ได้ผล มากที่สุด

4. การปรับสภาพพื้นที่ พื้นที่ที่พบดินกรดจัดส่วนใหญ่อยู่ในที่ราบลุ่มระบายน้ำ ค่อนข้างยากต้องมีการปรับสภาพพื้นที่ที่นิยมมี 2 วิธี
คือ ปรับระดับผิวหน้าดิน นิยมใช้กับการปลูกข้าว โดยปรับระดับผิวหน้าดินให้ลาดเอียง เพื่อสามารถระบายน้ำออกไปยังคลอง
ชลประทานได้สะดวก และการยกร่องปลูกพืช นิยมใช้กับการปลูกพืชไร่ พืชผัก ไม้ผล และไม้ยืนต้น ต้องมีการชลประทานที่ดี
เพื่อระบายน้ำออกเมื่อน้ำในร่องเป็นกรดจัด

5. การเลือกชนิดของพืชที่ปลูก กรมพัฒนาที่ดินได้ทำการศึกษาพืชที่เหมาะสมในดินกรดจัดได้ดังต่อไปนี้ คือ ข้าว พันธุ์ข้าวที่ทน
ทานต่อสภาพดินกรดจัดได้ดี ได้แก่พันธุ์ ลูกแดง ไข่มด รวงยาว เป็นต้น ซึ่งให้ผลผลิต 20–40 ถังต่อไร่ ในส่วนของพืชล้มลุก
ไม่มีพืชชนิดใดสามารถขึ้นหรือให้ผลผลิตจนครบวงจร แต่ถ้าดินกรดจัดได้รับการแก้ไขก็สามารถปลูกพืชล้มลุกได้หลายชนิด เช่น
พืชผัก ได้แก่ ถั่วฝักยาว แตงกวา ผักกาดขาว ผักกวางตุ้ง และพริกชี้ฟ้าเป็นต้น ในส่วนของพืชไร่ ได้แก่ ถั่วเขียว ถั่วลิสง กล้วย
ถั่วเหลือง และยาสูบ เป็นต้น ในส่วนของไม้ยืนต้น ไม้ยืนต้นที่ขึ้นได้ดีในดินกรดจัดได้แก่ ไม้เสม็ด ต้นสาคู กระถินเทพา
และยูคาลิบตัส เป็นต้น




ความหมายของดินด่าง
ดินด่างเกิดจากวัตถุต้นกำเนิดดินที่เป็นด่าง เช่น หินปูน ดินประเภทนี้จะมีเบสิกแคตไอออนที่แลกเปลี่ยนได้สูง นอกจากนั้นยัง
จะมีอนุภาคของคัลเซียมคาร์บอเนต หรือแมกนีเซียมคาร์บอเนตปะปนอยู่ในดินด้วย หากดินมีอนุภาคปูนเทียบเท่ากับคัลเซียม
คาร์บอเนต 10–200 กรัมต่อดิน 1 กิโลกรัม เมื่อหยดกรดไฮโดรคลอริกเจือจาง 0.1 โมลาร์ ลงไปจะปรากฏฟองให้เห็น
ดินนั้นเรียกว่าดินเนื้อปูนหรือดินแคลคาเรียส (calcareous soils) ดินด่างเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ ดังนี้

1. เกิดจากสภาพแห้งแล้ง ในบริเวณที่มีปริมาณฝนน้อย ไม่มากพอที่จะชะละลายเอาเกลือต่าง ๆ รวมทั้งคัลเซียมและแมกนีเซียม
คาร์บอเนต ทำให้ดินบริเวณนั้นมีการสะสมหินปูน โดยเฉพาะอย่างยิ่งดินที่มีวัตถุต้นกำเนิดเป็นพวกคัลเซียมและแมกนีเซียม
คาร์บอเนต

2. เกิดจากระดับน้ำใต้ดินสูง เมื่อน้ำใต้ดินมีคัลเซียมไบคาร์บอเนตละลายอยู่ก็จะถูกเคลื่อนย้ายขึ้นมาสะสมอยู่บนดิน โดยมา
กับน้ำที่ระเหยขึ้นมายังผิวดินและตกตะกอนเป็นคัลเซียมคาร์บอเนตในดินบนนั้น

การสะสมเกลือคัลเซียม แมกนีเซียม หรือโซเดียมไบคาร์บอเนต ในดิน ทำให้ดินมี พีเอช สูงขึ้น การที่ดินด่างมีพีเอชสูงขึ้นก็เนื่อง
จากปฏิกิริยาไฮโดรไลซีสของแคตไอออนที่แลกเปลี่ยนได้หรือเกลือบางชนิดที่เป็นด่าง เช่นคัลเซียมคาร์บอเนต และแมกนี
เซียมคาร์บอเนตในปูนหรือในโซเดียมคาร์บอเนต ปฏิกิริยาการเพิ่มพีเอชเนื่องจากแคตไอออนที่แลกเปลี่ยนได้เกิดปฏิกิริยาไฮ
โดรไลซีส ซึ่งแสดงด้วยสมการ




ในปฏิกิริยานี้ไฮโดรเจนไอออนจะถูกดูดซับอยู่ที่ผิวของคอลลอยด์ดิน ในสารละลายดินจึงมี โซเดียมไอออน และไฮดรอกไซด์
ไอออนเพิ่มขึ้น พีเอช ของดินจึงสูงขึ้น ดังนั้น ดินก็จะมีปฏิกิริยาดินเป็นด่าง โซเดียมไอออน และ โปตัสเซียมไอออน ซึ่งดูดซับ
อยู่ที่คอลลอยด์ดินด้วยแรงที่น้อยกว่า คัลเซียมไอออนและ แมกนีเซียมไอออน ก็จะถูกไฮโดรไลซ์ได้มากกว่า ก่อให้เกิดสภาพ พีเอช
ที่สูงกว่า สารประกอบพวก คัลเซียมคาร์บอเนต แมกนีเซียมคาร์บอเนต หรือ โซเดียมคาร์บอเนต เมื่อเกิดไฮโดรไลซีสจะเกิดปฏิ
กิริยาดังสมการ



ไฮโดรเจนไอออนจากน้ำจะทำปฏิกิริยากับคาร์บอเนตเกิดไฮโดรเจนคาร์บอเนต(HCO3-) ส่วนไฮดรอกไซด์ไอออน จะไม่
ทำปฏิกิริยากับคัลเซียมไอออนดังนั้น สารละลายก็จะเป็นด่าง ปฏิกิริยาไฮโดรไลซีสของคัลเซียมคาร์บอเนตหรือแมกนีเซียม
คาร์บอเนต มักถูกกำจัด เนื่องจากสมบัติที่ละลายน้ำได้ยาก ดังนั้นจึงทำให้ดินมีพีเอชไม่สูงกว่า 8.0–8.2 ในกรณีของดินที่
มีโซเดียมคาร์บอเนตมักมีพีเอชสูงกว่านี้คืออยู่ในช่วง 10.0 – 10.5 ซึ่งสัมพันธ์กับสมบัติการละลายของ โซเดียมคาร์บอเนต
ที่ละลายได้มากกว่าคัลเซียมคาร์บอเนตหรือ แมกนีเซียมคาร์บอเนต




http://www.nsru.ac.th/e-learning/soil/lesson_8_3.php


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 10/09/2011 4:00 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 10/09/2011 3:10 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

4. การปลูกพืชในดินด่าง


ในประเทศไทยมีดินด่างประมาณ 800,000 ไร่ ได้แก่ ชุดดินลพบุรี ชุดดินบ้านหมี่ ชุดดินโคกกระเทียม เป็นต้น โดยกระจายอยู่
ในพื้นที่บริเวณจังหวัดลพบุรีและสระบุรี การปลูกพืชในดินประเภทนี้อาจมีปัญหาการขาดธาตุอาหารบางชนิด เช่น ฟอสฟอรัส
เหล็ก และแมงกานีส นอกจากนี้ดินยังมีสมบัติทางกายภาพของดินไม่ค่อยเหมาะสม คือ ในสภาพแห้งดินจะแตกระแหงและ
ระบายน้ำไม่ดี ดังนั้นการปลูกพืชในดินด่างจึงจำเป็นต้องเลือกพืชที่เหมาะสมและใส่ปุ๋ยบางชนิดที่ขาดแคลนดังนี้

1. เลือกปลูกพืชที่เหมาะสม พืชบางชนิดชอบสภาพดินเนื้อปูน เช่น ข้าวโพดและถั่วลิสง การปลูกพืชทั้งสองชนิดจึงกระจายอยู่
ในบริเวณดินประเภทนี้ซึ่งเป็นแหล่งปลูกที่สำคัญแหล่งหนึ่งของประเทศไทย นอกจากนั้นยังปลูกผลไม้บางชนิดได้ผลดี เช่น ขนุน
น้อยหน่า และมะพร้าว ในบริเวณที่ลุ่มใช้ทำนาปลูกข้าวได้เช่นกัน

2. การใส่ปุ๋ย หากพืชที่ปลูกในดินประเภทนี้แสดงอาการขาดธาตุเหล็กหรือสังกะสี อาจให้ปุ๋ยในรูปสารละลายเกลือของธาตุ
ดังกล่าว หรือให้ปุ๋ยทางใบซึ่งธาตุอาหารจะอยู่ในรูปสารคีเลต จะช่วยแก้ปัญหาการขาดจุลธาตุได้ทันท่วงที

3. ปรับปรุงสมบัติทางกายภาพของดิน โดยการไถพรวนและใส่ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมด้วย
ดินเค็มปัจจุบันประเทศไทยมีการแพร่กระ
จายของดินเค็มเพิ่มขึ้นทุกๆปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณภูมิอากาศแบบแห้งแล้งและกึ่งแห้งแล้ง ตามชายฝั่งทะเลดินมักจะมีการ
สะสมเกลือมากกว่าดินที่อยู่ห่างทะเล ส่วนดินบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะมีดินเค็มสะสมอยู่บริเวณกว้าง เนื่องจากอดีต
บริเวณนั้นสันนิฐานว่าเคยเป็นทะเลมาก่อนเมื่อเวลาผ่านไปหลายพันล้านปีเกิดการทับถมจนกลายเป็นพื้นดินขึ้นมาทำให้มีเกลือ
สะสมในดินเป็นจำนวนมาก จนเป็นอุปสรรคต่อการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการเกษตร ดินเกลือ หมายถึงดินที่มีเกลือสะสมอยู่เป็น
จำนวนมากสามารถละลายน้ำได้ดี จนทำให้พืชไม่สามารถเจริญเติบโตได้ดี


ดินเกลือแบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆดังนี้
1. ดินเค็ม (saline soil) หมายถึง ดินที่มีปริมาณเกลืออยู่สูง และละลายน้ำได้ง่าย หรือมีโซเดียมที่แลกเปลี่ยนได้มีปริมาณสูง
จนเป็นอันตรายต่อการเจริญเติบโตของพืช ถ้าพิจารณาในด้านการนำไฟฟ้า (electrical conductivity หรือ EC)
ของสารละลายดินเค็มที่อิ่มตัวด้วยน้ำ (soil saturation extract) มีค่ามากกว่า 4 m.mho/cm และมีค่า SAR (sodium
adsorption ratio) ต่ำกว่า 15 และมีค่า พีเอช ของดินต่ำกว่า 8.5

2. ดินโซดิก (sodic soil) หมายถึง ดินที่มีปริมาณเกลืออยู่สูง และละลายน้ำได้ง่าย หรือมีโซเดียมที่แลกเปลี่ยนได้มีปริมาณ
สูงมากจนเป็นอันตรายต่อการเจริญเติบโตของพืช ถ้าพิจารณาในด้านการนำไฟฟ้า (electrical conductivity : EC)
ของสารละลายดินเค็มที่อิ่มตัวด้วยน้ำ (soil saturation extract) มีค่าต่ำกว่า 4 m.mho/cm และมีค่าอัตราส่วนการ
ดูดซับโซเดียม ( sodium adsorption ratio : SAR) สูงกว่า 15 และมีค่า พีเอชของดินสูงกว่า 8.5

3. ดินเค็มโซดิก (saline sodic soil) หมายถึง ดินที่มีปริมาณเกลืออยู่สูงมาก และละลายน้ำได้ง่าย หรือมีโซเดียมที่แลก
เปลี่ยนได้มีปริมาณสูงมากจนเป็นอันตรายต่อการเจริญเติบโตของพืช ถ้าพิจารณาในด้านการนำไฟฟ้า (electrical conductivity
หรือ EC) ของสารละลายดินเค็มที่อิ่มตัวด้วยน้ำ (soil saturation extract) มีค่ามากกว่า 4 m.mho/cm และมีค่าอัตรา
ส่วนการดูดซับโซเดียมสูงกว่า 15 และมีค่า พีเอช ของดินต่ำกว่า 8.5

พืชโดยทั่วไปเจริญเติบโตได้น้อยลงเมื่อความเค็มของดินเพิ่มขึ้น และพืชทนเค็มเท่านั้นที่เจริญในดินเค็มได้ดี เนื่องจากดินมี
การสะสมเกลือมากหรือน้อยแตกต่างกัน จึงมีผลต่อการเจริญเติบโตของพืชแตกต่างกันด้วย การจำแนกระดับความเค็มของดิน
โดยพิจารณาจากผลกระทบต่อพืช แสดงไว้ในตารางที่ 8.2

ตารางที่ 8.2 ระดับความเค็มของดินและอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตของพืช



สาเหตุการเกิดดินเค็ม
ดินเค็มเป็นดินที่ไม่เหมาะสมต่อการปลูกพืช ปัจจุบันดินเค็มได้กระจายเพิ่มขึ้นในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง สาเหตุการเกิด
ดินเค็มที่สำคัญมีดังต่อไปนี้

1. เกิดจากการสลายตัวหรือผุพังของหินและแร่ที่มีสารประกอบที่มีเกลือเป็นองค์
ประกอบ เนื่องจากขบวนการทางเคมีและ
กายภาพ เกลือเหล่าอาจจะละลายอยู่ในน้ำใต้ดิน เมื่อน้ำระเหยโดย แสงแดดหรือ ถูกพืชนำขึ้นมาใช้ เกลือก็สามารถกลับขึ้น
มาสะสมอยู่บนผิวดินได้

2. เกิดจากอิทธิพลของน้ำทะเล เมื่อน้ำทะเลไหลหรือซึมขึ้นมาถึงพื้นที่บางแห่ง เมื่อน้ำระเหยออกไป จะเหลือเกลือทับถม
อยู่ในดิน พบได้บริเวณแถบชายฝั่งทะเล

3. เกิดจากใต้ดินมีชั้นของหินเกลือหรือเกลือที่อยู่ในระดับน้ำใต้ดินที่อยู่ตื้นๆ เมื่อน้ำซึม
ขึ้นมาบนดินก็จะนำเกลือขึ้นมาด้วย
หลังจากที่น้ำระเหยแห้งไปแล้ว จะทำให้เกลือเหลือสะสมอยู่บนดินได้

4. เกิดจากการใช้น้ำชลประทาน น้ำชลประทานจากแหล่งต่าง ๆ มักมีเกลือละลายอยู่จำนวนหนึ่งไม่มากก็น้อย เนื่องจาก
กิจกรรมของมนุษย์บางอย่าง เช่น การระบายน้ำเสียจากชุมชนหรือโรงงานอุตสาหกรรมลงสู่แม่น้ำลำคลอง เป็นต้น

5. ลมทะเลอาจพัดพาเอาเกลือมาตกบนผืนแผ่นดิน และสะสมกันนานเข้าจนมีจำนวนมากในพื้นที่นั้น

6. เกิดจากการใส่ปุ๋ยเคมีมากเกินไป เช่น ปุ๋ยไนโตรเจนชนิดต่าง ๆ

7. พื้นที่บางแห่งเป็นที่ต่ำ ทำให้น้ำไหลมารวมกัน ซึ่งน้ำอาจมีเกลือละลายอยู่ด้วย พอ
น้ำระเหยไปก็จะมีเกลือสะสมอยู่


การกระจายของดินเค็มในประเทศไทย
ดินเค็มในประเทศไทยแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ ดินเค็มบก และดินเค็มชายทะเล ตัวอย่างดินเค็มบก ได้แก่ ดินเค็ม
ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและดินเค็มภาคกลาง ดินเค็มชายทะเลได้รับอิทธิพลจากการขึ้นลงของน้ำทะเลโดยตรง ดินเค็ม
แต่ละประเภทมีสาเหตุการเกิด ชนิดของเกลือ การแพร่กระจายขยายอาณาเขต และวิธีการจัดการที่แตกต่างกัน

1. ดินเค็มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ดินเค็มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เกิดเนื่องจากเกลือรูปโซเดียมคลอไรด์ (NaCl) โดยมีแหล่งจากหินเกลือใต้ดินและหรือน้ำ
ใต้ดินเค็มและการสลายตัวของหินทราย หินดินดาน ดินเค็มในภูมิภาคนี้มีประมาณ 17.8 ล้านไร่ กระจายอยู่ในพื้นที่จังหวัด
นครราชสีมา ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ชัยภูมิ บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีษะเกษ ยโสธร อุบลราชธานี สกลนคร หนองคาย
อุดรธานีและนครพนม (ตารางที่ 8.3) ลักษณะของดินเค็มที่สังเกตได้คือ จะเห็นคราบเกลือเกิดขึ้นตามผิวดิน และมักเป็น
ที่ว่างเปล่าไม่มีการทำเกษตรกรรม ส่วนบริเวณที่ไม่ปรากฏคราบเกลือจะเห็นวัชพืชทนเค็ม เช่น หนามปี และวัชพืชที่ชอบเกลือ
เช่น หนามแดง ขึ้นปัญหาโดยทั่วไปของเกษตรกรในเขตดินเค็ม คือ ปลูกพืชไม่ค่อยได้ ผลผลิตต่ำ พืชบางชนิดที่ขึ้นได้ก็
จะมีลักษณะบางอย่างเปลี่ยนแปลงไป เช่น ใบหนาขึ้น มีสารพวกไขเคลือบหนาขึ้น พืชส่วนมากที่ต้นแคระแกร็น ไม่แตกกอ
ใบแสดงอาการซีดขาวแล้วไหม้ตายในที่สุด สาเหตุของการเกิดการแพร่กระจายดินเค็มภาคตะวันออกเฉียงเหนือมาจากธรรมชาติ
เช่น หินหรือแร่สลายตัวหรือผุพังและเปลี่ยนคุณสมบัติอยู่กับการสลายตัวไปกับน้ำแล้วซึมลงสู่ชั้นล่างแล้วกลับขึ้นมาสะสมอยู่
บนดินชั้นบนอีกโดยน้ำที่ซึมขึ้นมาได้ระเหยแห้งไปโดยแสงแดดหรือถูกพืชนำไปใช้ ในส่วนของ น้ำใต้ดินเค็มอยู่ระดับตื้นใกล้
ผิวดิน เมื่อน้ำซึมขึ้นบนดินจะนำเกลือขึ้นมาด้วย หลังจากที่น้ำระเหยแห้งไปแล้วจะทำให้มีเกลือเหลือสะสมอยู่บนดินได้ บาง
แห่งเป็นที่ต่ำเป็นเหตุให้น้ำไหลมารวมกัน น้ำแหล่งนี้ส่วนมากจะมีเกลือละลายอยู่ด้วย เมื่อน้ำระเหยไปจะมีเกลือสะสมอยู่พื้นที่
แห่งนี้อาจเป็นหนองน้ำหรือทะเลทรายมาก่อนก็ได้

ตารางที่ 8.3 พื้นที่และการกระจายของดินเค็มในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ


สาเหตุจากการกระทำของมนุษย์ เช่น การทำนาเกลือ โดยการสูบน้ำเค็มขึ้นมาตากหรือวิธีขูดคราบเกลือจากผิวดินมาต้ม เกลือที่
อยู่ในน้ำทิ้งจะมีปริมาณมากพอที่จะทำให้พื้นที่บริเวณใกล้เคียงกลายเป็นพื้นที่ดินเค็มหรือแหล่งน้ำเค็มได้ การสร้างอ่างเก็บน้ำ
บนดินเค็ม หรือมีน้ำใต้ดินเค็ม จะทำให้อ่างเก็บน้ำนั้นและพื้นที่บริเวณรอบ ๆ อ่างกลายเป็นน้ำเค็มและดินเค็ม การตัดไม้ทำลาย
ป่าหรือการปล่อยให้พื้นที่บริเวณที่มีศักยภาพในการแพร่กระจายเกลือให้ว่างเปล่าทำให้เกิดดินเค็มแพร่ไปยังบริเวณเชิงเนิน ซึ่ง
ส่วนใหญ่เป็นนาข้าว

2. ดินเค็มภาคกลาง
เกิดจากสาเหตุธรรมชาติ เช่น ได้รับอิทธิพลจากน้ำขึ้นน้ำลงของน้ำในแม่น้ำ ซึ่งน้ำทะเลหนุนทำให้เกิดน้ำกร่อย การทับถม
ของตะกอนน้ำกร่อยและตะกอนน้ำเค็มเป็นเวลานาน หรือเกิดจากน้ำใต้ดินที่ไหลผ่านแหล่งเกลือแล้วไปโผล่ในที่ดินไม่เค็มที่
อยู่ต่ำกว่าทำให้ดินบริเวณที่ต่ำกว่ากลายเป็นดินเค็ม ส่วนสาเหตุที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ เช่น การสูบน้ำเค็มมาใช้ การ
ขุดดินเพื่อยกร่องทำสวน การสร้างเขื่อนเก็บกักน้ำเหนือพื้นที่แหล่งเกลือ และการใช้ปุ๋ยเคมีมากเกินไป ล้วนเป็นสาเหตุให้ดินเค็ม
แพร่กระจายอยู่ในบริเวณจังหวัดสุพรรณบุรี นครปฐม อ่างทอง สิงห์บุรี กาญจนบุรี ราชบุรี อยุธยา ลพบุรี อุทัยธานี ชัยนาท
สมุทรสาคร สมุทรสงคราม เพชรบุรี บางจังหวัดอาจมีปัญหาดินเค็มชายทะเลร่วมด้วย

3. ดินเค็มชายทะเล
ดินเค็มชายทะเลกระจายอยู่ตามลุ่มน้ำและสันดอนปากแม่น้ำตลอดชายฝั่งทะเลของประเทศไทย ซึ่งมีพื้นที่รวบรวมโดยกอง
สำรวจดิน กรมพัฒนาที่ดิน ประมาณ 2 ล้านไร่ สาเหตุของการเกิดดินเค็มประเภทนี้เนื่องจากการได้รับอิทธิพลจากการขึ้นลง
ของน้ำทะเลโดยตรง ดินที่น้ำทะเลท่วมถึงและเป็นตะกอนของน้ำทะเลหรือน้ำกร่อยล้วนมีโอกาสเป็นดินเค็มทั้งสิ้น



http://www.nsru.ac.th/e-learning/soil/lesson_8_4.php


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 10/09/2011 4:01 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 10/09/2011 3:15 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

5. ปัญหาของดินเค็มต่อการทำเกษตรกรรม


โดยทั่วไปการใช้พื้นที่ดินเค็มเพาะปลูกจะมีปัญหา ผลผลิตลดลงและมีคุณภาพต่ำ เพราะดินเค็มมีปริมาณเกลือที่ละลายน้ำ
ได้มากเกินไปจนเป็นอันตรายต่อพืช ความเค็มของดินมีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของพืช พืชจะเกิดอาการ
ขาดน้ำและได้รับพิษจากธาตุที่เป็นส่วนประกอบของเกลือที่ละลายออกมามาก เช่น โซเดียมและคลอไรด์ นอกจากนี้ความ
เค็มยังมีผลทำให้เกิดความไม่สมดุลของธาตุอาหารบางชนิด เช่น โบรอน สังกะสี เป็นต้น


ดินเค็มมีองค์ประกอบของเกลือที่เกิดจากการรวมตัวของไอออนของโซเดียม คัลเซียม แมกนีเซียม และคลอไรด์ ซัลเฟต
ไบคาร์บอเนตและไนเตรต ความเค็มมีผลในการลดการเจริญเติบโตของพืชเนื่องจากพืชลดการดูดน้ำและธาตุอาหารและ
ลดขบวนการเมแทบอลิซึมโดยตรง ส่วนผลโดยอ้อมจะทำให้โครงสร้างของดินไม่ดี น้ำซึมช้า การถ่ายเทอากาศลดลง การ
ใช้พื้นที่ดินเค็มปลูกข้าวพบว่าเกลือต่าง ๆ ที่เป็นองค์ประกอบของดินเค็มเป็นพิษต่อการเจริญเติบโตของข้าว โดยมีผลทำ
ให้ผลผลิตลดลง พืชที่มีระบบรากตื้น เช่น ข้าว หญ้า จะได้รับผลกระทบมากกว่าพืชที่มีระบบรากที่ลึกกว่าอาการของพืชที่
ได้รับผลกระทบจากความเค็มของดิน ใบจะมีลักษณะสีน้ำเงินอมเขียว เนื่องจากมีวัตถุคล้ายขี้ผึ้งมาเคลือบให้หนาขึ้นและ
มองเห็นได้ง่ายกับพืชพวกผักกาด ถั่วและหญ้า พวกธัญพืชจะมีสีออกสีแดงที่ใบ ไม้ยืนต้นจะพบขอบใบไหม้ การไหม้เกิด
จากมีโซเดียมและคลอไรด์มาสะสมอยู่ที่ใบ


การปรับปรุงดินเค็มและดินโซดิกเพื่อการเกษตร
ดินเค็มและดินเค็มโซดิกเป็นดินที่มีปริมาณโซเดียมละลายออกมาเป็นจำนวนมาก ทำให้เป็นอันตรายต่อการเจริญเติบโต
ของพืช ถ้าตัองการใช้พื้นที่ดินเค็มและดินเค็มโซดิกทำการปลูกพืชจะต้องมีวิธีการปรับปรุงดินเค็มและดินโซดิก ได้หลายวิธี
ดังต่อไปนี้

1. การใช้อินทรียวัตถุ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด แกลบ ใบไม้แห้ง ฟางข้าว ขี้เลื่อย ร่วมกับการไถพรวน

2 วางแผนปรับพื้นที่และคูระบายน้ำโดยปรับพื้นที่แล้วแบ่งเป็นแปลงย่อยทำคันดินรอบแปลงย่อยและทำคูระบายน้ำออกไป
ให้พ้นแปลงเพื่อลดระดับน้ำใต้ดิน

3. จัดหาแหล่งน้ำที่มีคุณภาพ เช่น น้ำฝน น้ำชลประทาน ให้เพียงพอตลอดฤดูปลูก

4. ปลูกพืชบำรุงดิน เช่น โสนคางคก โสนอินเดีย หรือโสนนา เป็นปุ๋ยพืชสดก่อนการปลูกข้าว เพื่อเพิ่มอินทรียวัตถุลงในดิน

5. การใช้วัสดุคลุมดิน ภายหลังเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วไม่ควรปล่อยให้หน้าดินว่างเปล่าเพราะจะเป็นการเร่งการระเหยของน้ำ
ในดินซึ่งเท่ากับเป็นการเร่งการสะสมเกลือที่ผิวดิน การคลุมดินอาจใช้เศษพืช เช่น ฟางข้าว ซึ่งเป็นวัสดุต้นทุนต่ำ จะช่วยป้อง
กันไม่ให้แดดส่องกระทบผิวดินโดยตรง จึงลดการระเหยของน้ำจากดินได้

6. การวางแผนระบบปลูกพืช ภายหลังเก็บเกี่ยวพืชแล้วถ้าดินยังมีความชื้นอยู่เพียงพอควรปลูกพืชที่สองตาม ซึ่งพืชที่ปลูก
ควรเป็นพืชทนเค็มและทนแล้ง เช่น มะเขือเทศ มันเทศ กระเจี๊ยบแดง คำฝอย และอื่น ๆ ตามความเหมาะสม

7. ใช้สารเคมีบางชนิดช่วยในการปรับปรุงดินเค็มเช่นยิบซั่มโดยคัลเซียมไอออน
(Ca2 +) จะเข้าไปแทนที่ โซเดียม
ไอออน (Na+) ดังสมการ

8. การเลือกพืชที่ปลูกให้เหมาะสมกับระดับความเค็มของดิน แสดงไว้ในตารางที่ 8.4


ตารางที่ 8.3 ความทนเค็มของพืชเศรษฐกิจบางชนิด



สรุป
ดินกรดจัดหมายถึง ดินที่เคยมี กำลังมี หรืออาจมีกรดซัลฟิวริก (H2SO4) อยู่ในชั้นหน้าตัดของดิน (soil profile) ซึ่งมี
ความเป็นกรดเป็นด่าง ต่ำกว่า 4 และมักพบจุดประสีเหลืองฟางข้าว ที่เรียกว่า จาโรไซต์ อยู่บริเวณดินชั้นล่างและมีปริมาณซัลเฟต
สูง จึงเป็นอุปสรรคต่อการทำเกษตรกรรม การเกิดดินกรดจัดในประเทศไทยแบ่งออกเป็น 2 กระบวนการคือ กระบวนการเกิด
วัตถุต้นกำเนิดดินกรดจัด และ กระบวนการเกิดดินกรดจัด ดินกรดจัดมีผลกระทบต่อการทำเกษตรกรรมอย่างมากในด้าน ความ
เป็นพิษของธาตุบางธาตุ และ ความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารในดินกรด ดินกรดจัดที่มีพีเอชต่ำกว่า 4 ถ้าต้องการปลูกพืช
จะต้องมีการปรับปรุงดินให้ดินมีความเป็นกรดลดลง เพื่อให้พืชสามารถให้ผลผลิตคุ้มค่าต่อการลงทุน ซึ่งมีวิธีการดังต่อไปนี้

1. การรักษาระดับน้ำใต้ดิน
2. การใช้น้ำชะล้างความเป็นกรด
3. การใส่ปูน
4. การปรับสภาพพื้นที่
5. การเลือกชนิดของพืชที่ปลูก


ดินด่างเกิดจากวัตถุต้นกำเนิดดินที่เป็นด่าง เช่น หินปูน คัลเซียมคาร์บอเนต และ แมกนีเซียมคาร์บอเนต ทำให้ดินมีค่า พีเอช
สูงกว่า 7 ดินประเภทนี้จะมีเบสิกแคตไอออนที่แลกเปลี่ยนได้สูง การเกิดดินด่างเกิดจาก สภาพที่แห้งแล้ง ระดับน้ำใต้ดินสูง
ดังนั้นการปลูกพืชในดินด่างจึงจำเป็นต้องเลือกพืชที่เหมาะสมและใส่ปุ๋ยบางชนิดที่ขาดแคลนดังนี้คือ เลือกปลูกพืชที่เหมาะสม
การใส่ปุ๋ย และปรับปรุงสมบัติทางกายภาพของดินและใส่ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมด้วย


ดินเค็มหมายถึงดินมีโซเดียมอยู่เป็นจำนวนมาก ดินเกลือแบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆดังนี้ ดินเค็ม (saline soil) ดินโซดิก
(sodic soil) และ ดินเค็มโซดิก (saline sodic soil) การเกิดดินเค็มมีหลายสาเหตุคือ เกิดจากการสลายตัวหรือผุพัง
ของหินและแร่ที่มีสารประกอบที่มีเกลือเป็นองค์ประกอบ เกิดจากอิทธิพลของน้ำทะเล และเกิดจากใต้ดินมีชั้นของหินเกลือหรือ
เกลือที่อยู่ในระดับน้ำใต้ดิน เกิดจากการใช้น้ำชลประทาน เกิดจากลมทะเลอาจพัดพาเอาเกลือมาตกบนผืนแผ่นดินและสะสมกัน
นานเข้าจนมีจำนวนมากในพื้นที่นั้น และ จากการใส่ปุ๋ยเคมีมากเกินไป


คำถามทบทวน
1. ลักษณะที่สำคัญของดินกรดจัดเป็นอย่างไรบ้างอธิบาย
2. กระบวนการเกิดดินกรดจัดมีกี่กระบวนการอะไรบ้าง
3. ปัจจัยที่สำคัญต่อการสะสมไพไรต์มีอะไรบ้างอธิบาย
4. ปัญหาของดินกรดจัดในการทำเกษตรกรรมของประเทศไทยมีอะไรบ้าง
5. เมื่อเกษตรกรมีปัญหาที่ทำกินเป็นดินกรดจัดควรที่จะแนะนำปรับปรุงดินกรดจัดอย่างไรบ้างเพื่อให้เหมาะสมต่อการปลูกพืช
6. ดินด่างและดินเค็มมีความหมายว่าอย่างไรบ้าง
7. เปรียบเทียบดินด่างกับดินเค็มในแง่ของการนำไปปลูกพืชว่าเหมือนหรือต่างกันอย่างไรบ้าง
8. ถ้าต้องการใช้ดินด่างเพาะปลูกพืชให้ไดผลผลิตที่คุ้มค่าต่อการลงทุนจะมีวิธีการจัดการ
อย่างไรบ้าง
9. ปัจจุบันดินในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีการกระจายของดินเค็มเพิ่มมากขึ้นเนื่องมาจาก
สาเหตุใดบ้าง
10. การปรับปรุงดินเค็มให้เหมาะสมต่อการเพาะปลูกจะมีการจัดการดินเค็มอย่างไรบ้าง





http://www.nsru.ac.th/e-learning/soil/lesson_8_5.php


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 10/09/2011 4:01 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 10/09/2011 3:43 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

6. การปรับปรุงดินเพื่อปลูกต้นไม้ในบริเวณที่อยู่อาศัย


ดินในบริเวณที่อยู่อาศัยแถบที่ราบลุ่มกรุงเทพฯ นี้ จะต้องมีการถมดินให้สูงเพื่อปลูกที่อยู่อาศัย ดินที่ใช้ถมที่มักจะเป็นดินที่นำมาก
จากบริเวณรอบกรุงเทพฯ นี้เอง ซึ่งพอจะแบ่งชนิดของดินออกได้ดังนี้คือ

ดินที่ใช้ถมที่เป็นดินชั้นบน คือ หน้าดิน เป็นดินที่ขุดมาจากท้องนาตรงผิวๆ ดิน ดินนี้มีสีดำเข้ม มองเห็นแตกต่างจากดินชั้นบน
อย่างเด่นชัด แต่ดินที่มีอินทรีย์วัตถุสูงมีอาหารธาตุของพืช เป็นต้นว่า N , P และ K สูง ดินนี้ลึกประมาณ 6-8 นิ้ว หรือหนึ่ง
หน้าจอบ โดยทั่วๆ ไปดินชนิดนี้ไม่มีปัญหาในการปลูกพืชทั้งไม้ยืนต้นและไม้ล้มลุก นอกจากดินบางแห่งซึ่งเป็นดินกรด จัด
เป็นดินเปรี้ยว สังเกตการเป็นดินกรดจัดได้โดยดูจากพืชไม่ยอมขึ้น หรือก็ไม่งาม หรือหลังจากฝนตกใหม่ๆ ถ้าแรกน้ำที่ขังอยู่
ใสสะอาดดี แสดงว่าดินนั้นเป็นดินกรดจัด ดินชนิดนี้จะต้องมีการแก้ไขปรับปรุง จึงจะใช้ปลูกพืชได้


ดินที่ใช้ถมเป็นดินชั้นล่าง ซึ่งโดยทั่วไปดินชั้นล่างมักจะมีสีจางกว่าดินชั้นบน อาหารธาตุของพืชโดยเฉพาะอย่างยิ่งไนโตรเจน
มีน้อยกว่าดินชั้นบนและมีไม่เพียงพอสำหรับการเจริญเติบโตของพืช P และ K มีอยู่ในดินชั้นล่างเหนือดินชั้นบน แต่ดินชั้นล่างมี
สีดำจัดก็มีลักษณะ หรือคุณสมบัติเหนือดินบน แต่ถ้าดินชั้นล่างนั้นเป็นดินที่มีสีแดงปนน้ำตาลหรือสีน้ำตาลปนเหลืองอยู่ทั่วๆ ไป
ดินชนิดนี้มักเป็นดินที่มีกรดจัด ไม่เหมาะแก่การปลูกพืช นอกจากนั้นแล้ว อาหารธาตุของพืชพวก N , P และ K ต่ำ และมีสาร
พวกอลูมิเนียมละลายออกมามากถึงกับเป็นพิษกับต้นพืชไม้ยืนต้น ไม้ดอกประดับ และหญ้าแทบจะไม่ขึ้น จะต้องมีการปรับปรุง
แก้ไขเป็นอย่างดี จึงจะใช้ปลูกพืชต่างๆ ได้


ดินที่ใช้ถมที่เป็นทรายขี้เป็ด หรือทรายละเอียด ทรายชนิดนี้ประชาชนนิยมใช้ถมที่กันมาก เพราะราคาถูก ถมแล้วไม่ยุบ ดีมาก
สำหรับสิ่งปลูกสร้าง แต่สำหรับการเกษตรแล้วไม่ดีเลย ดินชนิดนี้มีอาหารธาตุของพืชต่ำมาก หรืออาจไม่มีเลยก็เป็นได้ การที่
จะใช้ดินชนิดนี้ปลูกพืชในบริเวณบ้านจะต้องมีการปรับปรุงเป็นอย่างมาก หรือถ้าจะให้ดีควรถมทรายเฉพาะตรงที่ที่จะปลูกสิ่งก่อ
สร้างหรือทางรถยนต์ในบ้าน ที่อื่นๆ ควรจะถมด้วยหน้าดินหรือดินชั้นบน อย่างน้อยจะต้องถมหน้าดินสูงสักหนึ่งฟุตถึงครึ่งเมตร


ดินที่ถมด้วยเศษเหลือจากสิ่งก่อสร้าง เป็นต้นว่าซีเมนต์ที่ใช้โบกผนัง ที่ตกลงมาแห้งกับพื้น หรือวัสดุที่เหลือจากการก่อสร้าง
อื่นๆ วัสดุนี้ถ้าใช้ถมที่แล้ว ปลูกพืชจะมีปัญหามาก แต่ถ้าถมที่แล้ว ถมดินทับด้วยดินชั้นบนให้สูงสักหนึ่งฟุต หรือครึ่งเมตรก็จะ
หมดปัญหาไป


ดินที่ถมด้วยเลนตามท่องร่องสวน ดินที่ลอกท้องร่องนี้มักเป็นดินที่มีเศษเหลือของพืชและสัตว์เน่าเปื่อยผุพังทับถมกันอยู่เป็น
เวลานาน การเน่าเปื่อยผุพังจวนจะสมบูรณ์อยู่แล้ว เมื่อลอกท้องร่องขึ้นมาถมที่ก็สามารถปลูกพืชได้เลย

ดินที่ถมด้วยเลนตมตามคลองที่อยู่อาศัยมีน้ำเสีย ดินชนิดนี้บางแห่งไม่มีปัญหา แต่บางแห่งมีปัญหามาก เพราะมีสารที่เป็น
พิษต่อการเจริญเติบโตของพืชสะสมอยู่ สารที่เป็นพิษบางชนิดก็สามารถทำลายได้ แต่บางชนิดไม่สามารถทำลายได้ จะต้องมี
การปรับปรุงแก้ไขจึงจะสามารถใช้ปลูกพืชได้


กาปรับปรุงแก้ไขดินที่ใช้ปลูกพืชในบริเวณที่อยู่อาศัย
ดินชั้นบนหรือหน้าดิน เป็นดินที่มีอาหารธาตุของพืชอุดมสมบูรณ์สูงอยู่แล้ว นอกจากบางแห่งที่เป็นดินเปรี้ยวจัด สามารถปรับ
ปรุงแก้ไขได้โดยการใส่ปูนขาว หรือปูนมาร์ล โดยใส่ประมาณครึ่งกิโลกรัมต่อดินดินหนึ่งตารางเมตร แล้วขุดดินผสมคลุกเคล้า
ให้เข้ากันดี พร้อมกับรดน้ำให้ชุ่ม ปล่อยทิ้งไว้ 2-3 อาทิตย์ ก็สามารถใช้ปลูกพืชได้ ถ้าจะใช้ปลูกพวกไม้ดอกไม้ประดับ หรือผัก
สวนครัว ก็ควรจะเพิ่มปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยเทศบาล 1-2 บุ้งกี๋ ต่อ 1 ตารางเมตร และขุดดินผสมคลุกเคล้าให้เข้ากันดีแล้ว
ปลูกพืชได้เลย ปุ๋ยอินทรีย์ที่กล่าวถึงนี้ นอกจากจะให้อาหารธาตุของพืชแล้ว ช่วยทำให้ดินร่วนซุย อุ้มน้ำไว้ให้กับต้นพืชอีกด้วย

ดินชั้นล่างที่สีน้ำตาลปนเหลือง มักเป็นดินกรดจัด การปรับปรุงโดยการใส่ปูนขาวประมาณ 1-2 กิโลกรัม ต่อ 1 ตารางเมตร
แล้วขุดดินผสมคลุกเคล้า รดน้ำให้ชุ่ม ปล่อยทิ้งไว้ 2-3 อาทิตย์ จึงจะใช้ปลูกพืช ถ้าปลูกพืชอย่างอื่นก็ควรผสมปุ๋ยอินทรีย์ลง
ไปด้วย ดินชนิดนี้มีอาหารธาตุของพืชต่ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ธาตุไนโตรเจนมีน้อยมาก ส่วนฟอสฟอรัส และโปรแตสเซียม
มีอยู่บ้าง แต่เนื่องจากการจัดอาหารธาตุของพืช พวกฟอสฟอรัสและโปรแตสเซียมจึงถูกปลดปล่อยออกมาให้กับต้นพืชน้อย
เมื่อมีการแก้ไขปรับปรุง โดยการใส่ปูนขาว ความเป็นประโยชน์ของฟอสฟอรัสและโปรแตสเซียมมีมากขึ้น ส่วนอาหารธาตุ
ของพืชไนโตรเจนจำเป็นต้องใส่

ดินที่ถมด้วยทรายขี้เป็ด ดินทรายขี้เป็ดนี้มีอาหารของพืชน้อยมาก ปรับปรุงให้เหมาะกับการปลูกพืชโดย การใส่ปุ๋ยคอก
หรือปุ๋ยอินทรีย์อื่นๆ หรือปุ๋ยวิทยาศาสตร์ สูตรที่มีไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโปรแตสเซียมในระดับเท่าๆ กัน ปุ๋ยคอกหรือ
ปุ๋ยหมักควรจะใส่ 3-4 บุ้งกี๋ ต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร แล้วขุดดินให้ปุ๋ยคอกกับดินผสมกันให้ดี แล้วใช้ปลูกพืชได้เลย ส่วน
ปูนขาวไม่จำเป็นต้องใส่ เพราะดินนี้ไม่ใช่ดินเปรี้ยว

ดินที่ถมด้วยวัสดุที่เหลือจากการก่อสร้าง วัสดุที่เหลือจากการก่อสร้างนี้มักจะมีซีเมนต์แห้งปนอยู่ ซีเมนต์แห้งนี้เป็นพิษกับต้น
พืช มีฤทธิ์เป็นด่างอย่างแรง แก้ไขได้โดยใส่กำมะถันผง จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับจำนวนซีเมนต์ กำมะถันผง 1 ส่วน ควร
จะแก้ซีเมนต์แห้งได้ 6-7 ส่วน เมื่อใส่กำมะถันผงแล้ว จะรดน้ำให้ชุ่ม แล้วทิ้งไว้ 3-4 อาทิตย์ ก็ใช้ปลูกพืชได้ การแก้ทิ้งระยะ
เวลานานและเสียค่าใช้จ่ายสูง จึงไม่แนะนำให้ใช้วิธีนี้ ที่ควรจะทำก็คือ เมื่อใช้วัสดุที่เหลือจากการก่อสร้างถมที่แล้ว ใช้หน้า
ดินถมที่ทับ ถ้าใช้เป็นดินทำสนามหญ้าปลูกพืชล้มลุก ก็ควรจะถมดินทับอย่างน้อย 1 ฟุต แต่ถ้าเป็นไม้ยืนต้น เช่น มะม่วง
ควรจะเป็น 2-3 ฟุต



http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs1-1_2.htm
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 10/09/2011 4:48 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

7. ถั่วเขียว แก้ปัญหาขาดธาตุเหล็กใน ”ดินด่าง”.


ดินด่างเป็นดินที่พบส่วนใหญ่ในบริเวณเทือกเขาสูงตอนกลาง และที่ราบภาคกลางของประเทศไทย ซึ่งได้รับอิทธิพลจากตะกอนแม่น้ำ
และทะเล ทำให้มีการสะสมธาตุอาหารต่างๆ และมีอินทรียวัตถุค่อนข้างสูง ดินจึงมีความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก แต่ก็
มักมีการสะสมของแคลเซียมคาร์บอเนตในเนื้อดินในปริมาณมาก ทำให้เกิดแร่ดินเหนียวประเภทมอนต์โมริลโลไนท์ สังเกตได้
จากในฤดูฝน ดินมีการขยายตัวหรือพองตัวสูง แต่ในฤดูร้อน ดินหดตัวและแตกระแหงอย่างเด่นชัด คือ มีการยืดและหดตัวสูง

สำหรับชุดดินที่มีคุณสมบัติเป็นด่าง (pH 7.0-8.5) ได้แก่ ชุดดินตาคลีและชุดดินลพบุรี ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 3 ล้านไร่
โดยหนึ่งในสามของพื้นที่ (ประมาณ 1 ล้านไร่) เป็นแหล่งปลูกถั่วเขียวผิวมันที่สำคัญ คือ จังหวัดเพชรบูรณ์ กำแพงเพชร นครสวรรค์
ลพบุรี สระบุรี พิจิตร พิษณุโลก สุโขทัย อุตรดิตถ์ และอุทัยธานี

พันธุ์ถั่วเขียวผิวมันที่เกษตรกรในจังหวัดดังกล่าวนิยมปลูก คือ “พันธุ์กำแพงแสน 2″ ซึ่งมีลักษณะเด่นประจำพันธุ์ ได้แก่ ฝักอยู่เหนือ
ทรงพุ่ม อายุเก็บเกี่ยวสั้น ให้ผลผลิตต่อไร่สูงกว่าถั่วเขียวผิวมันพันธุ์อื่นๆ สามารถปลูกได้ตลอดปี ต้านทานต่อโรคใบจุดและราแป้ง
อย่างไรก็ตาม พันธุ์กำแพงแสน 2 มักแสดงอาการอ่อนแอต่อการขาดธาตุเหล็กอย่างชัดเจนที่บริเวณใบยอด โดยพื้นที่ใบมีสีขาว
ซีดหรือที่เรียกว่าอาการใบซีดขาว หรือ “คลอโรซิส” (chlorosis) ใบเล็ก หนา หยาบกระด้าง และถ้าอาการรุนแรงมาก จะมีอาการ
ตายจากยอดลงมา ในขณะที่ใบล่างยังเขียวอยู่ ซึ่งผลที่เกิดจากการขาดธาตุเหล็กในถั่วเขียวพันธุ์กำแพงแสน 2 ทำให้ลำต้นแคระ
แกร็น ผลผลิตต่อไร่ลดลง 30-80% เมื่อเทียบกับพื้นที่ที่ไม่มีการสะสมของแคลเซียมคาร์บอเนตในเนื้อดิน เนื่องจากธาตุอาหารที่
สะสมในดินชนิดนี้จะถูกพืชนำออกมาใช้ได้น้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งธาตุเหล็กซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืช
โดยพืชต้องการธาตุเหล็กมาใช้ในการสร้างคลอโรฟิลล์และเอนไซม์ต่างๆ ที่ใช้ในกระบวนการสังเคราะห์แสง

ศ.ดร.พีระศักดิ์ ศรีนิเวศน์ เมธีวิจัยอาวุโส สกว. จากภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพง
แสน เปิดเผยว่า การแก้ปัญหาการขาดธาตุเหล็กของถั่วเขียวพันธุ์กำแพงแสน 2 ที่เพาะปลูกในดินด่าง เกษตรกรสามารถฉีดพ่น
ต้นถั่วเขียวด้วย Fe-DTPA และ Fe-EDTA ซึ่งเป็นสารประกอบเหล็กคีเลท ทำให้อาการใบซีดขาวหายเป็นปกติหรือดีขึ้น และ
ทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นด้วย

อย่างไรก็ตาม การแก้ปัญหาการขาดธาตุเหล็กโดยใช้สารประกอบเหล็กคีเลท ไม่เป็นที่นิยมของเกษตรกร เพราะสารประกอบเหล่า
นี้มีราคาแพง และไม่เหมาะสมจะใช้กับพื้นที่ปลูกขนาดใหญ่ ดังนั้น ศ.ดร.พีระศักดิ์ และคณะ จึงได้ดำเนินการปรับปรุงพันธุ์ถั่วเขียว
กำแพงแสน 2 ที่เกษตรกรนิยมปลูก ให้ทนทานต่อการขาดธาตุเหล็ก เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาดังกล่าวให้แก่เกษตรกร โดยได้
รับการสนับสนุนด้านงบประมาณจากฝ่ายวิชาการ สำนักงานสนับสนุนกองทุนวิจัย (สกว.) และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

”ประยูร ประเทศ” และ “รัตนากร กฤษณชาญดี” นักวิจัยร่วมทีม กล่าวถึงการวิจัยนี้ว่าได้รวบรวมเชื้อพันธุกรรมถั่วเขียวและพันธุ์การ
ค้าทั้งในและต่างประเทศ จำนวน 241 พันธุ์ ปลูกทดสอบในแปลงที่มีดินด่าง ณ ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ อ.ตากฟ้า จ.นครสวรรค์
เพื่อทำการคัดเลือกหาพันธุ์ถั่วเขียวที่ทนทานต่อการขาดธาตุเหล็ก โดยคัดเลือกจากอาการขาดธาตุเหล็กที่แสดงออกและการวัด
ปริมาณคลอโรฟิลล์ พบพันธุ์ถั่วเขียวที่ทนทาน จำนวน 196 พันธุ์ และอ่อนแอต่อการขาดธาตุเหล็ก จำนวน 45 พันธุ์ แต่วิธีการคัด
เลือกที่ใช้มีข้อจำกัด คือ ไม่สะดวกในการปฏิบัติงาน ทั้งยังไม่สามารถควบคุมสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง กล่าวคือ

(1) การกระจายของแคลเซียมคาร์บอเนตในดินมักไม่สม่ำเสมอ
(2) ปริมาณน้ำในดินมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงค่าความเป็นกรดเป็นด่างในดิน
(3) อาการขาดธาตุที่เกิดขึ้นอาจจะไม่ได้เกิดจากการขาดธาตุเหล็กเพียงธาตุเดียว
(4) เสียค่าใช้จ่ายสูง

ด้วยเหตุนี้ คณะผู้วิจัยจึงได้นำเครื่องหมายโมเลกุล (molecular marker หรือ DNA marker) มาช่วยคัดเลือกด้วย โดยเฉพาะ
เครื่องหมายโมเลกุลแบบเอเอฟแอลพี ซึ่งจากผลจากการวิจัยพบ 2 เครื่องหมาย คือ E-ACC/M-CTG และ E-ACT/M-CTA ใน
พันธุ์ที่ทนทานต่อการขาดธาตุเหล็กจำนวน 143 และ 148 พันธุ์จาก 196 พันธุ์ ตามลำดับ ผลที่ได้จากการทดสอบในแปลงร่วมกับ
เทคนิค เอเอฟแอลพี สามารถนำมาตัดสินใจเลือกพันธุ์ที่ทนทานต่อการขาดธาตุเหล็ก และมีลักษณะอื่นๆ ที่ดีร่วมด้วย โดยพันธุ์ที่ถูก
คัดเลือกเพื่อนำมาใช้เป็นคู่ผสมในการปรับปรุงพันธุ์กำแพงแสน 2 ให้ทนทานต่อการขาดธาตุเหล็ก คือ พันธุ์ NM10-12-1 จาก
ประเทศปากีสถาน

จากนั้น คณะผู้วิจัยได้สร้างประชากรจากคู่ผสมระหว่างพันธุ์กำแพงแสน 2 กับ พันธุ์ NM10-12-1 ได้สายพันธุ์บริสุทธิ์ 108 สาย
พันธุ์ นำไปปลูกทดสอบในแปลง ณ ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ เพื่อตรวจสอบอาการขาดธาตุเหล็ก โดยใช้พันธุ์กำแพงแสน 2 และ
พันธุ์ NM10-12-1 เป็นตัวเปรียบเทียบ

ผลที่ได้จากการทดสอบครั้งนี้ พบพันธุ์ที่ทนทานต่อการขาดธาตุเหล็ก จำนวน 65 สายพันธุ์ และพันธุ์ที่อ่อนแอต่อการขาดธาตุ
เหล็ก จำนวน 43 สายพันธุ์ หลังจากนั้นได้ทำการคัดเลือกพันธุ์ทนทานต่อการขาดธาตุเหล็กที่มีลักษณะเด่นและผลผลิตใกล้
เคียงกับพันธุ์กำแพงแสน 2 ซึ่งงานในส่วนนี้ได้ดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว คาดว่าจะสามารถแจกจ่ายพันธุ์กำแพงแสน 2 ที่ทน
ทานต่อการขาดธาตุเหล็กให้กับเกษตรกรนำไปขยายพันธุ์ต่อได้ภายในปี 2553



http://soclaimon.wordpress.com/2011/07/11/%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B8%81-%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%9E/
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 10/09/2011 4:55 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

8. วิจัยปุ๋ยชีวภาพเชิงวิทยาศาสตร์ แก้ปัญหาธาตุเหล็กในดินเป็นพิษ


ทุกวันนี้ปุ๋ยอินทรีย์ที่วางจำหน่ายนั้น พบว่าส่วนใหญ่ไม่ค่อยได้มาตรฐานนัก ซึ่งจากการสุ่มตรวจสอบคุณภาพปุ๋ยอินทรีย์ที่วางจำหน่าย
ของกรมส่งเสริมสหกรณ์ ที่ผ่านมานั้น จากจำนวน 93 ตัวอย่าง พบว่ามีเพียง 7 ตัวอย่างที่ได้มาตรฐาน

ฉะนี้ เพื่อเป็นทางเลือกให้เกษตรกรชาวสวน อาจารย์ดำรงศักดิ์ แก้ววงษ์ไหม ผู้ทรงคุณวุฒิ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยา
ลัยราชภัฏรำไพพรรณี ได้ร่วมกับชาวบ้านตำบลเกาะช้าง จังหวัดตราด "ผลิตปุ๋ยชีวภาพเชิงวิทยาศาสตร์" ใช้ โดยองค์การบริหาร
การพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.) สนับสนุนทุน

อาจารย์ดำรงศักดิ์ บอกว่า แรกเริ่มนั้นเข้ามาที่ชุมชนสลักคอก เพื่อแก้ปัญหาน้ำเน่าเสีย หลังคลุกคลีอยู่กับกลุ่มชาวบ้านช่วงหนึ่งจึงรู้ว่า
ที่นี่นอกจากน้ำมีปัญหาการปลูกพืชยังได้ผลผลิตไม่ดี ต่อมาจึงร่วมกับ นางพัชรินทร์ ผลกาด ประธานกลุ่มและชาวบ้านพื้นที่ หมู่ 4 ต.
เกาะช้างใต้ แก้ปัญหาด้วยการลองผิดลองถูก พร้อมทั้งแนะนำให้รู้ว่า "ต้นไม้ต้องการอะไร"

โรคต่างๆที่เกิดขึ้น ทั้งสวนส้มโอพันธุ์ขาวใหญ่ และทองดี มังคุด ยางพารา มะนาว มาจากสาเหตุใด ควบคู่กับนำตัวอย่างดินส่งตรวจ
ที่สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ให้ผลว่า ธาตุเหล็กหากอยู่ในดินมากจนถึงระดับที่เป็นพิษ ซึ่งหากค่าเ
กิน 300 ไมโครกรัม/กิโลกรัม จะส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโต ผลิตผลของพืช และจากการส่งตรวจดินที่เกาะช้างใต้พบว่ามีธาตุ
เหล็กค่าอยู่ที่ 1,200 ไมโครกรัม/กิโลกรัม ซึ่งสูงกว่ามาก

แล้วร่วมกับชาวบ้านทำปุ๋ยหมัก แต่เกิดการเน่า หลังปรับสูตรเห็นว่ามีสปอร์ขึ้น ได้เอาไปใส่ต้นส้มโอ ประมาณ 1 เดือน ผลที่ได้คือต้น
ส้มโองามรสชาติดีและในช่วงนี้ยังมีผลิตผลส่งขายมะนาวออกผล 3 รอบ แต่สวนยางพารายังมีปัญหาเชื้อรา หน้ายางแข็งตาย ใบ
ไม่งาม ดินในสวนมีความแข็ง จึงเอาปลาซึ่งในพื้นที่มีอยู่จำนวนมากมาหมักร่วมกับเศษผักนาน 20 วัน แล้วนำไปผสมอัตราส่วนต่างๆ
หากใช้น้ำหมักปลาปริมาณมากกว่านั้นจะทำให้ใบพืชไหม้ ซึ่งที่เหมาะสมคือ 5 ลิตร/ปุ๋ย 1 ตัน แต่แก้ปัญหาโรคราใบจุดไม่ได้


ดังนั้นจึงนำแร่ "เพอร์ไลต์" เป็นหินภูเขาไฟ มีคุณสมบัติช่วยปรับสภาพดินให้เป็นกลาง ดูดซับสารพิษตกค้าง แก้ปัญหาดินเป็นกรด
ด่าง ทำให้ดินร่วนซุย ปรับสภาพโครงสร้างดินให้ดีขึ้น ปลดปล่อยธาตุต่างๆ ลดการคายน้ำช่วยให้ผนังเซลล์พืชแข็งแรงต้านทานโรค
ป้องกันการเจาะของไร รา เพลี้ย และหอยที่เพิ่งวางไข่ ฯลฯ มาใส่ปริมาณ 25 กก./ปุ๋ยหมัก 1 ตัน ทดลองใส่อยู่ 75 วัน

ปัญหาก็ยังไม่หมดไป ดังนั้น ได้นำเชื้อรา "อาร์-บัสคูล่าร์ไมโครไรซ่า" ร่วมกับ จุลินทรีย์ละลายฟอสเฟต ซึ่งทางกรมวิชาการเกษตร
ผลิต และจากการศึกษาพบว่า เชื้อราดังกล่าวจะมีมากในรากพืช โดยเฉพาะ ผักบุ้ง จึงให้เกษตรกรปลูกพืชดังกล่าว เพื่อนำดินส่วน
รากอัตรา 5 ขีด ผสมกับปุ๋ยหมักหลังนำไปใส่สามารถ แก้ปัญหาโรคใบเหลืองร่วง หน้ายางแข็ง ไม้ผลสร้างใบอ่อนขึ้นใหม่ ทุกวันนี้
จากเดิมที่เคยซื้อปุ๋ยปีละ 80,000 บาท ตอนนี้เหลือเพียง 5,000 บาท ผลผลิตน้ำยางที่ได้เพิ่มขึ้น 30 เปอร์เซ็นต์ (ต้นยางมีอายุ
15 ปี)

ดร.นาฬิกอติภัค แสงสนิท รักษาการผู้อำนวยการ อพท. เผยว่า ทาง อพท.มีพื้นที่พิเศษที่ประกาศไว้เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวอย่าง
ยั่งยืนขึ้นในหลายพื้นที่ ซึ่งเกาะช้างเป็นหนึ่งในจำนวนนี้ จากการที่มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี สถาบันการศึกษาเป็นหนึ่งใน
ภาคีการพัฒนามีองค์ความรู้ และมีพื้นที่ทำการวิจัยพัฒนาเฉพาะทาง ได้เข้าไปแก้ปัญหาทรัพยากรในท้องถิ่น ชีวิตความเป็นอยู่ของ
ประชาชน ซึ่งนับเป็นหัวใจสำคัญ ที่นอกจากแก้ปัญหาด้านต้นทุนการเกษตรยังเป็นการฟื้นฟูวิถีชีวิตเพื่อรองรับ การท่องเที่ยวที่จะ
กลับคืนมาอีกครั้งอย่างยั่งยืน โดยที่ชาวบ้านมีส่วนร่วมคิด ลองผิด แก้ปัญหากันเองถือเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง

สำหรับเกษตรกรรายใดสนใจรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถติดต่อสอบถามได้ที่โทร.08–4362–5091, 08–1759–3870
ทุกวันในเวลาที่เหมาะสม.



ที่มา : หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
http://www.thairath.co.th/content/edu/100457

http://www.phtnet.org/news53/view-news.asp?nID=290
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 10/09/2011 5:07 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

9. ปัญหาที่เกี่ยวกับทรัพยากรดิน



ปัญหาเกี่ยวกับดินที่พบในแต่ละพื้นที่ มีหลายประการ เช่น

1. ดินขาดความอุดมสมบูรณ์
สาเหตุสำคัญที่ทำให้ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ เช่น การเพาะปลูกพืชแบบซ้ำซาก การเพาะปลูกและเตรียมดินอย่างไม่ถูกวิธี
ดินเกิดกษัยการ หรือการพังทลายของดิน (Soil Erosion)

2. ดินมีสภาพเป็นกรด ด่าง หรือเกลือ
ดินกรดหรือดินที่มีสภาพเป็นกรด ( Acid Soil ) หมายถึง ดินที่มีปฏิกิริยาทางเคมีเป็นกรดทั่วๆ ไป หรือมีค่าความเป็นกรด
เป็นด่าง( pH ) ต่ำกว่า 7ดินด่าง หรือดินที่มีสภาพเป็นด่าง ( Alkaline Soils ) หมายถึงดินที่มีปฏิกิริยาทางเคมีเป็นด่าง
มีความเป็นกรดเป็นด่างมากกว่า 7

3. ดินอินทรีย์หรือดินพรุ ดินอินทรีย์ (Organic Soils) หมายถึง ดินที่เกิดจากการสลายตัวเน่าเปื่อยผุพังของพืชพรรณไม้
ตามธรรมชาติที่ขึ้นอยู่ในแอ่งที่ลุ่มน้ำแช่ขัง ล้มตายทับถมกันเป็นเวลานานนับพันปีจน เป็นชั้นหนา ซากพืชที่เกิดจากการทับ
ถมกันนี้ จะมีสีน้ำตาลแดงเข้ม หรือสีน้ำตาลคล้ำจนถึงดำ มีอินทรียวัตถุเป็นองค์ประกอบอยู่มากกว่า 20 % ดินชั้นล่าง
เป็นดินเหนียวมีสภาพเป็นกรดจัด สำหรับคำว่า ” พรุ ” จะหมายถึงบริเวณที่ลุ่มมีน้ำขังอยู่ตลอดปีมีพืชพรรณขึ้นอยู่และตายทับ
ถมกันเป็นเวลานานหลายพันปี เกิดเป็นชั้นดินที่มีอินทรียวัตถุ ุุล้วนๆ ความหนาของชั้นดินไม่แน่นอน แต่ใจกลางพรุจะหนา
มากที่สุด

4. ดินทรายจัด (Sandy Soils) หมายถึง ดินที่มีเนื้อดินเป็นดินทรายหรือดินทรายปนดินร่วนเกิดเป็นชั้นหนามากกว่า 50
เซ็นติเมตร เนื้อดินประกอบด้วยเม็ดทรายล้วน ๆ มีขนาดค่อนข้างหยาบ มีความโปร่งตัวน้ำไหลซึมผ่านลงไปในดินล่างได้สะดวก
ไม่สามารถอุ้มน้ำหรือเก็บความชื้นไว้ในดินได้ ธาตุอาหารพืชถูกชะล้างไปได้ง่าย จึงทำให้มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ปลูกพืชไม่
ค่อยจะได้ผล

5. ดินตื้น (Shallow Soils) หมายถึง ดินที่มีลูกรัง ศิลาแลง ก้อนกรวดหรือเศษหินเป็นจำนวนมากอยู่ในดินตื้นกว่า 50
เซนติเมตร หรือเป็นชั้นของหิน ที่กีดขวางการชอนไชของรากพืช ทำให้ปริมาณของเนื้อดินน้อยลง จนขาดแหล่งเก็บความชื้น
และธาตุอาหารสำหรับพืช เป็นอุปสรรคไม่เหมาะสมกับการ ปลูกพืชเศรษฐกิจต่างๆ

6. มลพิษในดิน หมายถึง ภาวะที่ดินได้รับสารปนเปื้อนในปริมาณที่มากกว่าอัตราการสลายตัวหรือการเสื่อมฤทธิ์ของสารนั้น
จนทำให้เกิดการสะสมของสารพิษหรือเชื้อโรคต่าง ๆซึ่งก่อให้เกิดอันตรายต่อการ เจริญเติบโตและการเจริญพันธุ์ของสิ่ง
มีชีวิตในระบบนิเวศนี้


สาเหตุและผลกระทบของมลพิษทางดิน ปัญหาที่เกิดขึ้นบนดิน แยกได้เป็นสองประเภทคือ

1. สภาพธรรมชาติ ได้แก่ สภาพที่เกิดตามธรรมชาติของบริเวณนั้น ๆ เช่น บริเวณที่มีเกลือใน ดินมาก หรือบริเวณที่ดินมีความ
หนาแน่นน้อย เป็นต้นทําให้ดินบริเวณนั้นไม่เหมาะ แก่การเจริญเติบโตของพืช ปรากฏการณ์ธรรมชาติบางอย่าง เช่น
พายุน้ำท่วมก็ทําให้ ดินทรายถูกพัดพาไปได้สิ่งปฏิกูลที่มีชีวิต ซึ่งได้แก่ สิ่งมีชีวิตที่อยู่ในดินหรือถูก ใส่ในดินทําให้ดินเสียได้
โดยอาจเป็นตัวก่อโรคหรือก่อความกระทบกระเทือนต่อ ความเป็นอยู่ของสิ่งมีชีวิต

2. การกระทําของมนุษย์ ส่วนมากมักเกิดเนื่องจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ มุ่งแต่จะดัดแปลง ธรรมชาติเพื่อหวังผลประโยชน์
อย่างใดอย่างหนึ่งโดยไม่คํานึงถึงผลเสียที่เกิดขึ้นภายหลัง ดังตัวอย่างต่อไปนี้

1. การใช้สารเคมีและสารกัมมันตรังสี สารเคมี ได้แก่ ยาฆ่าแมลง ยาปราบศัตรูพืช สารเคมีเหล่านี้บางชนิดไม่สะสมในดิน
เพราะแบคทีเรียในดินทําลายได้แต่พวกคลอริเนทเตด ไฮโดรคาร์บอน (chlorinated hydrocarbon) และ
สารประกอบ คลอริเนทเตด ฟีนอกซี (chlorinated phenoxy) บางชนิดคงทนในดินเพราะแทรกในตะกอนหรือดินเหนียว
ได้ดีทําให้แบคทีเรียทําลายได้ ยาก ยาปราบวัชพืชบางชนิด เช่น ยาฆ่าแมลงประเภทดีดีที และดีลดริน ทนทานต่อการถูก ทํา
ลายในดินมาก จึงสะสมเพิ่มปริมาณในห่วงโซ่อาหารตามลําดับขั้นต่าง ๆ โดยถ่ายทอด ผ่านกันเป็นขั้น ๆ ส่วนสารเคมีจาก
โรงงานหรือสถานวิจัยต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นน้ำายาเคมี หรือโลหะที่เป็นเศษที่เหลือทิ้งหลังจากแยกเอาสิ่งที่ต้องการออกแล้ว
เช่น โรงงานถลุง โลหะต่าง ๆ หรือโรงงานแยกแร่ รวมทั้งสารกัมมันตังรังสีต่าง ๆ เช่น พวกที่มากับฝุ่น กัมมันตรังสีจากการ
ทดลองระเบิดปรมาณู จากของเสียที่ทิ้งจากโรงงาน และสถานวิจัยที่ ใช้กัมมันตรังสี สารเคมีเหล่านี้บางชนิดเป็นอันตรายต่อ
สิ่งมีชีวิตโดยตรงบางชนิดเปลี่ยน สภาวะของดินทําให้ดินเป็นกรดหรือด่าง พืชจึงไม่เจริญเติบโต

2. การใส๋ปุ๋ย เมื่อใส่ปุ๋ยลงในดิน สิ่งที่คาดว่าจะเกิดขึ้นก็คือ การสะสมของสารเคมีโดย เฉพาะอย่างยิ่งไนโตรเจน ฟอสฟอรัส
และโพแทสเซียม การสะสมนี้อาจถึงขั้นเป็นพิษได้ ปุ๋ยบางชนิดที่นิยมใช้กันมาก เช่น แอมโมเนียมซัลเฟต จะถูกแบคทีเรียในดิน
ย่อยสลาย ในปฏิกิริยารีดักชันได้ก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ ซึ่งเป็นอันตรายต่อระบบการหายใจ ของรากพืช ทําให้ดูดแร่ธาตุต่าง ๆ
ได้น้อยลง

3. น้ำชลประทาน ดินเป็นพิษจากน้ำชลประทานได้เนื่องจากน้ำที่มีตะกอนเกลือ และสาร เคมีอื่น ๆ รวมทั้งยาฆ่าแมลงปะปนมาด้วย
เพราะน้ำไหลผ่านบริเวณต่าง ๆ ยิ่งถ้าไหลผ่าน บริเวณที่ดินอยู่ในสภาพที่ถูกกัดกร่อนได้ง่าย บริเวณที่มีเกลือมาก ๆ และมีการใช้
ยาปราบ ศัตรูพืชกันอย่างกว้างขวางแล้ว น้ำก็จะยิ่งทําให้ดินที่ได้รับการทดน้ำนั้นมีโอกาสได้รับ สารพิษมากขึ้น นอกจากนี้น้ำ
ชลประทานทําให้ดินเป็นพิษอีกได้ โดยเมื่อทดน้ำชลประทานเข้า ไปในไร่นาหรือบริเวณใดก็ตาม น้ำจะไหลซึมลงสู่เบื้องล่าง
ละลายเอาเกลือซึ่งสะสมในดิน ชั้นล่าง ๆ ขึ้นมาปะปนในดินชั้นบน เมื่อหยุดการทดน้ำ น้ำที่ขังที่ผิวดินบนระเหยแห่งไป น้ำที่เต็ม
ไปด้วยเกลือก็จะเคลื่อนขึ้นสู่ดินบนแทน และเมื่อน้ำแห่งไปก็จะเหลือส่วนที่เป็นเกลือ สะสมอยู่ที่ส่วนของผิวดิน

4. การใช้ยาปราบศัตรูพืชและสัตว์ ดินบริเวณที่มีการเพาะปลูกสะสมสารพิษจากยาปราบ ศัตรูพืชมากกว่าบริเวณอื่น ๆ ยาปราบ
ศัตรูพืชบางชนิดเมื่อคลุกเคล้าลงในดินแล้วจะเกิด ปฏิกิริยาเคมีขึ้นและสูญหายไปจากดิน แต่บางชนิดคงทนต่อการสลายตัวและ
สะสมอยู่ ในดินเป็นเวลานาน ๆ เช่นประเภทที่มีตะกั่วอาเซนิก ทองแดง หรือปรอทผสมอยู่ สาร เหล่านี้มีครึ่งชีวิต (half life
= เวลาที่ฤทธิ์ของยาปราบศัตรูพืชจะหมดไปครึ่งหนึ่งเมื่อผสม คลุกเคล้ากับดิน) สูงถึง 10-30 ป. รองลงไปได้แก่พวกดีลดริน
บีเอชซี เป็นต้น

5. การทิ้งขยะมูลฝอยและของเสียต่าง ๆ ลงในดินขยะส่วนใหญ่จะสลายตัวให้สารประกอบ อินทรีย์ และอนินทรีย์มากมาย
หลายชนิดด้วยกันแต่ก็มีขยะบางชนิดที่สลายตัวยาก เช่น วัสดุที่ทําด้วยผ้าฝ้าย หนัง พลาสติก โลหะ ขยะประเภทนี้ถ้าทําลาย
โดยการ เผาจะเหลือเกลือ โดยเฉพาะเกลือไนเตรตสะสมอยู่เป็นจํานวนมาก แล้วละลายไปตาม น้ำ สะสมอยู่ในบริเวณใกล้
เคียงการทิ้งของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม โรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ เป็นแหล่งผลิตของเสียที่สําคัญยิ่ง โดยเฉพาะของ
เสียจาก โรงงานที่มีโลหะหนักปะปน ทําให้ดินบริเวณนั้นมีโลหะหนักสะสมอยู่มาก โลหะหนักที่สําคัญได้แก่ ตะกั่ว ปรอท และ
แคดเมี่ยม สําหรับในประเทศไทยเท่านั้นที่มี รายงานพบว่าการเสื่อมคุณภาพของดินเนื่องจากตะกั่ว คือโรงงานถลุงตะกั่วจาก
ซากแบตเตอรี่เก่าที่ตําบลครุใน อําเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ได้นําเอากาก ตะกั่วหรือเศษตะกั่วที่ไม่ใช้ประโยชน์
มาถมทําถนน ทําให้ดินบริเวณนั้นเกิดสภาพ เป็นพิษ เป็นอันตรายต่อพืชและผู้บริโภค(สุมาลี พิตรากุล 2532:257) ของเสีย
จากสัตว์ การเสื่อมคุณภาพของดินเนื่องจากของเสียจากสัตว์นั้นพบมากในบริเวณที่ เลี้ยงสัตว์เป็นจํานวนมาก เพราะสิ่งขับถ่าย
ของสัตว์ที่นํามากองทับถมไว้ทําให้จุลินทรีย์ ย่อยสลายได้เป็นอนุมูลไนเตรต และอนุมูลไนไตรต์ ถ้าอนุมูลดังกล่าวนี้สะสมอยู่มาก
ในดินบริเวณนั้นจะเกิดเป็นพิษได้

6. การเพาะปลูก ดินที่ใช้ในการเพาะปลูกเป็นเวลานาน ๆ โดยมิได้คํานึงถึงการบํารุงรักษา อย่างถูกวิธีจะทําให้แร่ธาตุในดินถูก
ใช้หมดไป จนในที่สุดไม่อาจปลูกพืชได้อีก

7. การหักร้างถางป่า เป็นผลทําให้เกิดความเสียหายกับดินได้ทําให้ดินปราศจากพืชปกคลุม หรือไม่มีรากของพืชยึดเหนี่ยว เกิด
การสูญเสียหน้าดินและเกิดการพังทลายได้ง่าย ในที่สุดบริเวณนั้นจะกลายเป็นที่แห้งแล้ง เมื่อมีฝนตกก็จะเกิดพายุอย่างรุนแรงแล
ะมีน้ำท่วมฉับพลันได้ ดังตัวอย่างความเสียหายในจังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อเดือน ธันวาคม พ.ศ. 2531 ความเสียหายในจังหวัด
ชุมพรและประจวบคีรีขันธ์ เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2532 (สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2535:77-7Cool




จัดทำโดย ครูอรุณีย์ วงษ์ศรีปาน
โรงเรียนร่อนพิบูลย์เกียรติวสุนธราภิวัฒก์ อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช
Copyright (c) 2008 Miss.Arunee
Wongsripan. All rights reserved.

http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/nakhonsithamrat/arunee_w/cheevit/sec02p03.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©